1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2...

Preview:

Citation preview

บทที่ 1 บทนํา

1.1 ความนํา

ประชากรสวนใหญของประเทศไทย ประกอบอาชีพการเกษตร เชน การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว การ

ประมง เปนตน การทําการเกษตรมีมาตั้งแตโบราณ โดยอาศัยการถายทอดความรูเกีย่วกับการทําการเกษตรสู

ลูกหลาน ซ่ึงการทําการเกษตรจะใชแรงงานคนเปนหลัก และปจจุบันมีการพัฒนาเครื่องทุนแรงมาชวยใน

การทํางาน ดังนั้นเกษตรกรจงึควรมีความรูเกี่ยวกับงานชาง เชน ชางไม ชางปูน ชางโลหะ ชางไฟฟา เปนตน

เพื่อที่เกษตรกรจะไดนําความรูทางดานงานชางมาใชสรางที่พักอาศัย สรางและซอมแซมเครื่องมือ เครื่องทุน

แรงและอุปกรณตาง ๆ ที่ชวยในการทําการเกษตร จากที่กลาวมาขางตนจึงมีคําศัพทคําหนึ่งที่ใชเรียกกันวา

“ชางเกษตร” ซ่ึงหมายถึง ผูที่มีความรูความสามารถทางดานงานไม งานคอนกรีต งานโลหะ งานไฟฟา หรือ

ทุกสาขาอาชีพของชางที่จําเปน เพื่อการสราง การซอมแซม เครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตร

ในประเทศไทยสถาบันการศกึษาตาง ๆ เชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลยัเกษตรและเทคโนโลยี เปนตน ไดใหความสําคัญทางการศึกษาใน

สาขาวิชาที่เกี่ยวของกับงานชางเกษตรโดยจดัวิชาชางเกษตรไวในหลักสูตรการศึกษา เพื่อใหนักศึกษาที่เรียน

ทางสายเกษตรศาสตรมีความรูทางสาขาวิชาชาง และไดเปดหลักสูตรเฉพาะดาน เชน ชางเกษตร ชางกล

เกษตร เครื่องมือทุนแรงการเกษตร เกษตรกลวิธาน และวิศวกรรมเกษตร เปนตน โดยแตละสาขาวิชามี

จุดมุงหมายที่แตกตางกัน สาขาวิชาชางเกษตรและสาขาวิชาชางกลเกษตร มีจุดมุงหมายเพื่อผลิตบุคลากรที่

สามารถซอมแซมเครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตร สาขาวิชาเกษตรกลวิธาน มีจุดมุงหมายเพื่อผลิต

บุคลากรใหมคีวามสามารถใชงาน ควบคมุ เครื่องจักรกล เครื่องมือทุนแรงสําหรับการเกษตร และสาขาวิชา

วิศวกรรมเกษตร มุงใหผูเรียนสามารถออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลเกษตร การแปรรูปผลิตผลทางการ

เกษตร สวนหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของกับเครื่องมือทางการเกษตร เชน กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการ

เกษตร กองสงเสริมวิศวกรรมเกษตร กรมสงเสริมการเกษตร กระทรงเกษตรและสหกรณ ไดทาํหนาที่ใน

การวิจยัและพฒันาเครื่องจักรกลเกษตรของประเทศ จดัฝกอบรมใหความรูแกเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการ

การจัดซื้อและซอมแซมบํารุงรักษาเครื่องมอืและอุปกรณทางการเกษตรที่ถูกตอง

2

1.2 ความสําคัญของเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือทางการเกษตร เปนเครื่องมืออุปกรณที่ใชสําหรับการทําการเกษตร โดยมีอุปกรณตนกาํลังที่

สําคัญ คือ รถแทรกเตอร (Tractor) เพื่อใชในการฉุดลากเครื่องมือประกอบตาง ๆ เชน ไถเตรียมดนิ เครื่องมือปลูก เครื่องมือควบคุมและกําจดัวัชพืช และเครื่องมือเก็บเกี่ยว เปนตน เครือ่งมือและอุปกรณที่ใชในการเกษตรมีจุดประสงคหลักในการทํางานเพื่อลดความเมื่อยลา ลดความนาเบื่อหนาย และลดเวลาในการทํางาน สามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตได เชน การเพิ่มผลผลิตขาวนอกจากจะทําโดยการขยายพื้นที่การเพาะปลูกหรือเพิ่มจํานวนครั้งของการเพาะปลกูตอปใหมากขึ้นแลว การนําเทคโนโลยกีารผลิตมาใชในกระบวนการตาง ๆ ของการผลิตขาวเปนสิ่งที่จําเปน เชน การใชเมล็ดขาวพันธุดีที่ใหผลผลิตสูง ตานทานโรคและแมลง การใชปุยและสารเคมีปราบศัตรูพืช การจัดการน้ําถูกวิธี และการใชเครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสม เปนตน ส่ิงตาง ๆ เหลานี้นับเปนปจจัยสําคัญทีจ่ะชวยใหไดผลผลิตของขาวสูงยิ่งขึ้น กระบวนการเพาะปลูกขาวอาจแบงออกได 5 ขั้นตอนใหญ ๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกีย่ว และการนวด จะเห็นไดวาในแตละกระบวนการนั้น หากมีการนําเครื่องมืออุปกรณมาใชก็จะชวยใหเกษตรกรผูผลิตขาวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไดมากขึ้น ซ่ึงชวยลดระยะเวลาและความเมื่อยลาในการทํางานลง ทํางานไดทันตอฤดูกาล ลดคาใชจายดานแรงงาน ตลอดจนลดการสูญเสียในขั้นตอนการเก็บเกีย่วและการนวดลงได ซ่ึงการนําเครื่องจักรกลเกษตรมาชวยในการทํางานจะสามารถอํานวยประโยชนทางการเกษตรไดดังนี ้

• ชวยทุนแรง ลดความเหนื่อยยากของเกษตรกร และทดแทนแรงงานจากปญหาการขาดแคลน

แรงงานในภาคการเกษตร

• ลดตนทุนการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรกลเกษตรสามารถทํางานไดมากกวาในระยะเวลาที่เทากัน

และชวยลดความเสียหายของผลผลิตเมื่อเกิดภัยธรรมชาต ิ

• ประหยดัเวลา สามารถทํากิจกรรมทางการเกษตรไดทนัเวลา ทันฤดกูาล แมในพื้นที่เพาะปลูก

ขนาดใหญ

• ชวยเพิ่มปริมาณการผลิต เนือ่งจากใชเวลาทํากิจกรรมทางการเกษตรนอยลง ทําใหสามารถผลิต

หรือเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตไดเร็วขึ้น จึงทําใหสามารถผลิตไดหลายครั้งตอปในพื้นทีเ่ทาเดมิ

• ชวยปรับปรุงและรักษาคุณภาพของผลผลิต สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไดทันตามชวงเวลาที่

เหมาะสม ลดการสูญเสียและรักษาคณุภาพของผลผลิต การขนสง และการเก็บรักษาทําไดรวดเร็วทําใหคง

คุณภาพอยูไดนาน

3

1.3 ประวัติความเปนมาของเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือการเกษตรจะรวมความถึงเครื่องจกัรกลหรือเครื่องทุนแรงฟารม ซ่ึงหมายถึงเครื่องจักรใด ๆ

ที่ใชในการเกษตรไมวาจะมขีนาดเล็กหรือขนาดใหญ ใชตนกําลังไดทั้งแรงงานคน แรงงานสัตว เครื่องยนต

หรือรถแทรกเตอร ซ่ึงเครื่องมือการเกษตรนี้จะเรยีกกนัวา “เครื่องจักรกลเกษตร” (Agriculture Machinery)

สวนมากจะใชรถแทรกเตอรที่ใชเปนตนกําลัง รถแทรกเตอรถือเปนเครื่องจักรกลตนกําลังสําหรับเครื่องจักร

กลเกษตรที่มีความสําคัญอยางยิ่ง เนื่องจากรถแทรกเตอรจะมีประสิทธภิาพการทํางานสูง ประหยดัคาใชจาย

ความปลอดภยัสะดวกสบายตอการปฏิบัติงาน ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันรถแทรกเตอรยังมีความสําคัญตอ

การเกษตรอยางมาก

ป ค.ศ. 1769 เจมส วัตต (James Watt) ไดประดิษฐเครื่องจักรไอน้ําเปนผลสําเร็จ หลังจากนั้น 100 ป

ตอมาเกิดสงครามในอเมริกา จึงมีความตองการเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อมาใชในการทําการเกษตร ไดนํา

เครื่องจักรไอน้ําผลิตกําลัง โดยใชสายพานขับเครื่องนวด เครื่องจักรไอน้ําดังกลาวไมสามารถเคลื่อนที่ดวย

ตนเองไดตองใชมาหรือลาในการลากจูงไปยังที่ตาง ๆ ในป ค.ศ. 1870 นักประดิษฐไดคิดคนระบบคลัช เกียร

และโซ สําหรับขับเคลื่อนลอหลังใหเคล่ือนที่ มีอุปกรณบังคับเลี้ยว โดยในป ค.ศ. 1880 เกษตรกรไดซ้ือรถ

แทรกเตอรเครือ่งจักรไอน้ําเพื่อใชในการนวด และการไถเตรียมดิน

ภาพที่ 1.1 การเคลื่อนยายเครื่องจักรไอน้ําโดยใชมาลาก ท่ีมา : Engine & Tractor Power

4

การพัฒนาเครือ่งยนตสันดาปภายในที่สําคญัเกิดขึ้นเมื่อ บิว เดอ โรชาส ( Beau de Rochas) วิศวกร

ชาวฝร่ังเศส ไดคิดหลักการสําคัญ 4 ประการ ที่จะทําใหเครื่องยนตทาํงานไดอยางมีประสิทธิภาพ มีหลักการ

ดังนี ้

• หองเผาไหมจะตองมีอัตราสวนพืน้ที่ผิวตอปริมาตรนอยที่สุดเทาที่จะเปนไปได

• ขบวนการขยายตัวจะตองเกดิขึ้นอยางรวดเร็ว

• แรงอัดที่จุดเริ่มตนของการขยายตวัจะตองสูง

• จังหวะการขยายตัวจะตองยาวนาน

หลักการสองขอแรก เปนการทําใหเกดิการถายเทความรอนจากหองเผาไหมนอยที่สุด ในขณะที่

สองขอหลังเปนการผลิตงานจากจังหวะการขยายตัวใหมากที่สุด

ภาพที่ 1.2 รถแทรกเตอรที่มเีครื่องจักรไอน้ําเปนเครื่องตนกําลัง ท่ีมา : Engine & Tractor Power

นักประดษิฐหลายคนไดใชหลักการของโรชาส ทําการสรางเครื่องยนต แตเปนผลสําเร็จครั้งแรก

โดยนักประดษิฐชาวเยอรมนั ช่ือ นิโคลัส ออตโต (Nicolaus Otto) ในป ค.ศ. 1876 ไดนําเสนอแบบจําลอง

ในสองปตอมา เครื่องยนตที่ใชเรียกวา “เครื่องยนต 4 จังหวะ” ( Four stroke cycle engine) ประกอบดวย

จังหวะดดู จังหวะอัด จังหวะงาน และจังหวะคาย ซ่ึงเปนตนแบบทีไ่ดใชกนัมาทกุวันนี ้

5

เครื่องยนตของออตโต จะมจีังหวะงาน 1 คร้ัง เมื่อเพลาขอเหวีย่งหมุน 2 รอบ ซ่ึงถือวาประสิทธิภาพ

การไดงานนอย จึงไดทําการทดลองสรางเครื่องยนต 2 จงัหวะ (Two stroke cycle engine) โดยไมมกีารอัดตัว

ในสามปตอมาหลังจากออตโตสรางเครื่องยนตส่ีจังหวะ เซอร ดูกอลด เคลิรก (sir Dugald Clerk) ทําการ

สรางเครื่องยนตสองจังหวะโดยไมมกีารอัดตัวแตไมประสบผลสําเร็จเนื่องจากมีกลไกที่ยุงยาก ตอมา โจเซฟ

เดย (Joseph Day) ไดออกแบบสรางเครื่องยนตสองจังหวะขึ้นใหมในป ค.ศ. 1891 โดยใชการอัดตัวของแกส

ในเพลาขอเหวี่ยง เพื่อปมเขาในกระบอกสูบ เครื่องยนตดังกลาวจะมชีองไอดีและไอเสียที่ผนังกระบอกสูบ

เครื่องยนตสองจังหวะจึงมจีงัหวะการทํางานคือ จังหวะที่ 1 เปนจังหวะดูดกับจังหวะอัด และจงัหวะที่ 2

เปนจังหวะงานและจังหวะคาย เครื่องยนตดังกลาวไดมีใชกันอยางแพรหลายเรื่อยมา ปจจุบันไดมีการยกเลิก

การผลิตเครื่องยนตสองจังหวะไปแลวเนื่องจากประสิทธภิาพการเผาไหมต่ํา ทําใหปลอยกาซเสยีออกมาสู

บรรยากาศจึงเปนมลพิษตอส่ิงแวดลอม

ในป ค.ศ. 1906 บริษัท คัชฮแมน (Cushman) จํากัด ไดผลิตเครื่องยนตสองจังหวะ 2 สูบ จุดระเบดิ

ดวยประกายไฟใชกับรถแทรกเตอร

ในป ค.ศ. 1982 ดร. รูดลอฟท ดีเซล (Dr. Rudolph Diesel) วิศวกรเครือ่งกลชาวเยอรมัน ไดประดิษฐ

เครื่องยนตที่ทาํการออกแบบใหจดุระเบดิดวยน้าํมันเชื้อเพลิง โดยการทําใหเกิดความรอนจากการอัดตัวที่สูง

เครื่องยนตตนกําเนิดของดีเซลจะใชผงถานหิน แตสามารถเปลี่ยนไปใชเชื้อเพลิงเหลวไดโดยงาย อะดลอฟท

บุช (Adolph Busch) เปนบุคคลแรกที่ประดิษฐเครื่องยนตดีเซลในเมอืงเซนตหลุยส มิซซูรี สหรัฐอมริกาใน

ป ค.ศ. 1986 แตยังไมไดนํามาใชกับรถแทรกเตอรเพื่อการเกษตร

ในป ค.ศ. 1980 โรงงานผลิตรถแทรกเตอร เร่ิมทําการผลิตโดยใชเครื่องยนตสันดาปภายใน บิตเตอร

( ฺBitter) ไดทําการเปรียบเทยีบการพัฒนาเครื่องยนตแกสกับเครื่องจักรไอน้ําที่ใชกับรถแทรกเตอร วินนเิพก

แทรกเตอร (Winnipeg Tracter) ไดออกวารสารรายงานประจําป ตั้งแต ค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1912 รายงาน

เกี่ยวกับความเหมาะสมในการใชเครื่องยนตแกสกับเครื่องจักรไอน้ําในการทํางานในสนาม เครื่องยนตแกส

ตองการคนควบคุมการทํางานเพียงคนเดยีว ในขณะที่เครื่องจักรไอน้ําตองการคนทีม่ีพละกําลังมากที่จะตอง

เติมเชื้อเพลิงและน้ําลงหมอตม บริษัท อินเตอรเนชั่นแนลฮาเวทเตอร (International Harvester) จํากัด ได

พัฒนาเครื่องจกัรไอน้ําติดรถแทรกเตอรที่มกีารทํางานจังหวะปด ในปลายป ค.ศ. 1924 แตไมไดผลิตเพื่อ

จําหนาย

6

ภาพที่ 1.3 รถแทรกเตอรที่มเีครื่องยนตเผาไหมภายในเปนตนกําลัง ท่ีมา : Engine & Tractor Power

ในป ค.ศ. 1910 ถึง ป ค.ศ. 1920 โรงงานผลิตไดเร่ิมตนผลิตรถแทรกเตอรที่มีขนาดเล็กและน้ําหนกั

นอยแทนรถแทรกเตอรเดิมที่มีขนาดใหญ และในชวงเวลานี้ไดมกีารพัฒนาระบบถายทอดกําลัง ระบบจุด

ระเบิด คารบเูรเตอร และกรองอากาศ บางโรงงานไดผลิตและจําหนายรถแทรกเตอรที่มีการบังคับเลี้ยวที่

ลอหลัง และขับเคลื่อนลอหนา รถแทรกเตอรบางคันมีเพียง 2 ลอ

ในป ค.ศ. 1920 รถแทรกเตอรไดผลิตออกมาจําหนาย มีหลายคันไมสามารถใชงานไดดี อี. เอฟ

โครซิเออร (E.F Crozier) เกษตรกรชาวเนบลาสกา (Nebraska) เปนผูหนึ่งที่ประสบปญหาดังกลาว ไดรอง

เรียนไปยังวารสารเนบลาสกา (Nebraska Journal) ทางวารสารจึงไดสงเรื่องที่รองเรียนตอไปยังหนวยงานที่

ทําหนาที่ทดสอบรถแทรกเตอรของรัฐเนบลาสกา (Nebraska Tractor Test Law) ในป ค.ศ. 1919 ตองการให

ทางมหาวิทยาลัยเนบลาสกาทําการทดสอบรถแทรกเตอรที่ผลิตจากโรงงานกอนที่จะจําหนาย ซ่ึงทางหนวย

เนบลาสกาไดยอมรับความคดิดังกลาว และไดทํามาตรฐานในการเปรียบเทียบรถแทรกเตอร เปนผลทําใหมี

การปรับปรุงการออกแบบรถแทรกเตอรมากยิ่งขึ้น

7

การพัฒนาที่สําคัญของรถแทรกเตอรมีในชวงปลายป ค.ศ. 1920 ไดมีการผลิตรถแทรกเตอรอเนก

ประสงค เพื่อใชสําหรับการไถเตรียมดิน และการปลกูพืช สามารถฉุดลากไถขนาดใหญที่มีน้าํหนักมาก

สรางอุปกรณตอเพลาอํานวยกําลัง (Power Take Off หรือ PTO) เพื่อใชขับอุปกรณภายนอกรถแทรกเตอร

สมาคมวิศวกรรมเกษตรสหรฐัอเมริกา America Society of Agricultural Engineering (ASAE) ไดกําหนด

มาตรฐานเพลาอํานวยกําลังในป ค.ศ. 1925

ในป ค.ศ. 1930 ไดมีการผลิตลอยางสําหรับรถแทรกเตอรทดแทนลอเหล็กที่ใชกับรถแทรกเตอร

สามารถเพิ่มความเร็วของรถแทรกเตอรในสนามหรือบนถนนหลวงและมีการแนะนําการตอพวงอุปกรณกับ

รถแทรกเตอร 3 จุด

ในป ค.ศ. 1940 ถึง ป ค.ศ. 1950 มีระบบไฮดรอลิค ระบบสตารทเครื่องยนต พัฒนาเบาะนั่ง และส่ิง

อ่ืน ๆ ในรถแทรกเตอร ทําใหการใชงานรถแทรกเตอรสะดวกสบายมากขึ้น มีการใชเครื่องยนตดีเซลใน

ป ค.ศ. 1960 และปจจุบนัรถแทรกเตอรสวนใหญจะใชเครื่องยนตดีเซล และในป ค.ศ. 1970 รถแทรกเตอร

ขับเคลื่อนส่ีลอ (Four Wheel Drive) มีใชจาํนวนมากขึ้น

ภาพที่ 1.4 รถแทรกเตอรขับเคลื่อนส่ีลอ (John deere. Series 9030.)

ท่ีมา : Deere & Company , 2009 [ออนไลน].

8

1.4 การพัฒนาเครื่องมือการเกษตร เครื่องจักรกลเกษตรไดถูกประดิษฐและพฒันามาตั้งแตมนุษยรูจกัการทําการเกษตร เร่ิมจากเครือ่งทุน

แรงงาย ๆ สําหรับใชแรงงานของตนเอง จากนัน้ก็พฒันาใหใชกับแรงงานของสัตวจนกระทั่งมาถึงยุคที่ใช

เครื่องตนกําลัง ในปจจุบันประเทศที่เจรญิทางดานการเกษตรไดใชเครื่องจักรกลเกษตรที่ทันสมัย ซ่ึงมีขนาด

ใหญและเทคโนโลยีสูง เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของการใชเครื่องจักรกลเกษตร แตบางครั้งเครื่องจักรกล

เกษตรที่พัฒนาขึ้นก็ไมสามารถที่จะใชไดกบัทุกภูมิประเทศ อยางเชนประเทศไทยเครื่องจักรกลเกษตรขนาด

ใหญและมีประสิทธิภาพสูงไมสามารถนํามาใชไดเพราะขอจํากัดเรื่องสภาพพื้นที ่ เนื่องจากเกษตรกรไทย

สวนใหญจะมพีื้นที่ถือครองไมมากพอที่จะไดคาตอบแทนคุมคากับการลงทุนใชเครื่องจักรกลเกษตร กอรป

กับวิธีการเพาะปลูก การจดัการแปลง และการเตรียมดนิที่ไมดีพอ ซ่ึงจะทําใหเครื่องจักรกลเกษตรที่นํามาใช

งานไมไดประสิทธิภาพเทาทีค่วร

การพัฒนาเครือ่งจักรกลเกษตรไดกาวหนาไปมาก นอกจากจะมกีารประดิษฐใหสะดวกเหมาะสม

กับการใชงานมากขึ้นแลว ยงัมีการนําเทคโนโลยีมาประยุกตใชในระบบควบคุมตาง ๆ การใชคอมพิวเตอร

และอุปกรณอิเล็คทรอนิคสมาใชในงานเกษตร เชน การใชอุปกรณเซ็นเซอร (Senser) การใชระบบควบคุม

อัตโมัติ (RFID) การใชระบบขอมูลสารสนเทศทางภูมศิาสตร (GPS) การใชเครือ่งควบคุมความสูงการ

ทํางาน การควบคุมทิศทางของระบบการใหน้ําแกพืชแบบสปริงเกลอร (Sprinkler) อุปกรณอัตโนมตัิควบคมุ

ระดับของเมล็ดในเครื่องเก็บเกี่ยวขนาดใหญ และอุปกรณอัตโนมัติควบคุมปริมาณการฉีดพนสารเคมีกําจัด

วัชพืช และโปรแกรมคอมพวิเตอรเพื่อการจัดการเครื่องจกัรกลเกษตรสาํหรับการเก็บเกี่ยวขาว เปนตน การ

วิจัยและพฒันาสิ่งตาง ๆ เหลานี้ กเ็พื่อใหเครื่องจกัรกลเกษตรทีป่ระดิษฐใหมาทํางานไดอยางรวดเร็วมี

ประสิทธิภาพสูง และลดการใชแรงงานดานการเกษตรทีป่ระสบปญหาขาดแคลนเรื่อย ๆ จากเทคโนโลยีการ

ผลิตจนถึงเทคโนโลยกีารเกบ็เกี่ยวไดมีบทบาทมากยิ่งขึ้นอยางกาวกระโดดในสองทศวรรษที่ผานมา ดังนัน้

งานดานวิศวกรรมเกษตร จึงมีความสําคญัมากขึ้นที่จะชวยพัฒนาประเทศที่มีอาชีพทางการเกษตรเปนหลัก

การนําเครื่องมือทุนแรงหรือเครื่องจักรกลเกษตรมาใชในกิจกรรมทางการเกษตรนั้นไดเปนที่ตระหนัก และ

ใชกันอยางแพรหลายในประเทศทางยุโรปและทวีปอเมริกามาเปนเวลาชานาน เนื่องจากแถบนี้มพีืน้ที่ขนาด

ใหญ สามารถทํางานไดอยางเต็มพื้นที่และใหผลผลิตสูง และกลุมประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใตซ่ึง

เปนกลุมประเทศที่มีการทําเกษตรกรรมมาก และเปนประเทศที่กําลังพฒันา การนําเครื่องจักรทุนแรงมาใช

9

งานในการเกษตร สามารถเพิ่มผลผลิต และยกระดับฐานะความเปนอยูของเกษตรกรอยางเห็นไดชัด ดังนัน้

การผลิตบุคลากรที่สามารถรองรับงานดานเกษตรกรรมทีเ่กี่ยวของกับขอจํากัดของเวลา สภาพภูมิอากาศ

รวมถึงการจัดการเรื่องการใชเครื่องจักรกลเกษตร และเครื่องมือทุนแรงในการที่จะทํางานใหเสร็จทันเวลา

กอนที่ผลผลิตจะไดรับความเสียหายจากภยัธรรมชาติจะเปนการลดความเสียหาย ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพ

และคุณภาพในการผลิตทางการเกษตรอีกดวย ชวยแบงเบาภาระในการขาดแคลนแรงงานและแกปญหาการ

จัดการแรงงานในชวงเวลาที่ตองการใชแรงงานมาก

การนําเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญมาใชงานเกษตรกรรม ในประเทศทางเอเชียตะวนัออกเฉียงใต

ยังมีจํานวนไมมากนักเนื่องจากมีราคาแพงและเทคโนโลยีคอนขางสูง และพื้นทีก่ารเกษตรยังไมอยูในสภาพ

ที่เหมาะสม อยางไรก็ตามการพัฒนาและววิัฒนาการทางเทคโนโลยีของเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญ ได

มีการถายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พฒันาแลวมาสูประเทศในแถบนี้ ทําใหเกิดการพัฒนาและสราง

เครื่องจักรกลขนาดกลางและขนาดเล็กขึน้ ดังจะเห็นไดจากความเจรญิ และการเกดิอุตสาหกรรมขนาดยอม

อยางรวดเรว็ของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ เชน โรงงานผลิตรถแทรกเตอรขนาดเล็ก รถไถเดินตามกําลังไม

เกิน 25 แรงมา โรงงานผลิตเครื่องมือเตรียมดิน โรงงานผลิตเครื่องมือปลูกพืช และโรงงานผลิตเครื่องมือ

แปรสภาพผลผลิต ทั้งที่ใชกับเครื่องยนตขนาดเล็กและใชกับแรงสัตว ประเทศที่เจริญอยางรวดเรว็กวา

ประเทศอื่นจนกลายเปนประเทศอุตสาหกรรมอยางเชนประเทศญี่ปุนจดัวาเปนประเทศที่ใหการสงเสริม

และพัฒนาเครื่องมือทางการเกษตรอยางจริงจัง โดยมกีารจัดตั้งสถาบันเครื่องจักรกลทางเกษตรนานาชาต ิ

ในภูมภิาคแถบเอเชียตะวนัออกเฉียงใต นอกจากนี้ประเทศอินเดียมกีารวิจยั และพัฒนาเครื่องจกัรกลเกษตร

ขนาดเล็ก ใชสัตวลากใหมปีระสิทธิภาพดีขึ้น ที่สถาบันวิจยั ICRISAT (International Crop Research

Institute for the Semi-Arid Tropics) ตอมาประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทยและประเทศอื่น ๆ สงเสริม

และพัฒนาการนําเครื่องจักรกลเขามาใชในงานทางเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น และงานดานเกษตรกลวิธานมี

ความจําเปนตอการใชงานและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรในประเทศไทยอยางมาก

ในชวงป พ.ศ. 2452 ถึง ป พ.ศ. 2454 กระทรวงเกษตราธิการ ไดนํารถแทรกเตอรจากตางประเทศ

เขามาใชสาธิตเผยแพรในงานแสดงนิทรรศการเกษตรและพาณิชย ซ่ึงจัดขึ้นเปนครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ

พ.ศ. 2453 มีการทดลองใชในพื้นที่นาแถบรังสิต ปรากฏวาไมสามารถใชงานในสภาพดินนาประเทศไทยได

อีกทั้งยังมีราคาแพงจึงไมมกีารนําเขาจากตางประเทศอีก จนกระทั่ง หมอมเจา สิทธิพร กฤษดากร ไดนํารถ

10

แทรกเตอรมาใชงานสวนตัวท่ีบางเบิด จังหวัดประจวบคิรีขันธ ปรากฏวาสามารถใชงานไดด ีจึงเริ่มมีการสั่ง

เขามาใชงานบางแตคอนขางนอย เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ ปพ.ศ. 2453 ถึงป พ.ศ. 2492 ซ่ึงอาจกลาว

ไดวาเปนชวงการบุกเบิกของการใชเครื่องจักรกลเกษตรในการทําการเกษตรแบบใหมของประเทศ มีการ

กอตั้งโรงเรียนทางการเกษตร และนําเครื่องจักรกลเกษตรจากตางประเทศ เชน รถแทรกเตอร เครื่องมือ

อุปกรณเตรียมดินชนิดตาง ๆ ไดแก ไถหวัหมู ไถจาน ไถสิ่ว ไถดินดาน ไถยกรอง พรวนจาน พรวนซี ่

พรวนหมนุโรตารี่ พรวนผสม คราด และลูกกลิ้ง เปนตน เครื่องมอือุปกรณในการปลูกพืชตาง ๆ ไดแก

เครื่องดํานา เครื่องหวานเครื่องปลูกพืชเปนระยะ เครื่องหยอดเมล็ด เปนตน เครื่องมืออุปกรณในการ

บํารุงรักษาพืช ไดแก เครื่องใหปุยชนิดแหง เครื่องหวานปุยเม็ด เครื่องโรยปุยเม็ด เครื่องใหปุยน้ํา เครื่องให

ปุยแบบกาซ เครื่องพรวนกําจัดวัชพืช เครื่องพนสารเคมี เครื่องสูบน้ํา และระบบการใหน้ําแกพืช เปนตน

เครื่องมือเก็บเกี่ยวตาง ๆ ไดแก เครื่องเกีย่ววางราย เครื่องเกี่ยวนวดขาว เครื่องตดัออย เครื่องเกี่ยวหญา

อาหารสัตว และเครื่องขุดมันสําปะหลัง เปนตน มาทาํการสอน ทาํใหมีการเผยแพรความรูวิชาการเกษตร

ทางดานเกษตรกลวิธานในประเทศไทยใหกวางขวางยิ่งขึน้ อยางไรกต็ามการใชเครือ่งจักรกลเกษตรในการ

ทําเกษตรแบบใหมในชวงนีก้็ไมประสบผลสําเร็จเทาที่ควร เพราะเกษตรกรไมนยิมใชกันเลยเนือ่งจากราคา

เครื่องจักรกลเกษตรยังมีราคาแพง แตก็เปนจุดเริ่มตนทีสํ่าคัญในการนําไปสูการพฒันาในระยะตอมา

ในป พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2512 กอนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไดเร่ิมมกีารสงเสริมใหเกษตรกรปลูกพืชชนิดใหม ๆ เชน แตงโม ขาวโพด ฝาย พืชผักและผลไมตาง ๆ เปนตน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มมีการใชรถแทรกเตอรขนาดใหญ และเครื่องมืออุปกรณตาง ๆ เพื่อชวยในการบุกเบิกพืน้ที่ และเตรียมดินเพื่อปลูกพืชใหม ๆ ในชวงนีท้ําใหเกษตรกรไทยรูจักการใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมมากขึ้น และมกีารสั่งรถแทรกเตอร และเครื่องมือทางเกษตรพรอมอุปกรณตาง ๆ เขามาใชมากขึ้น แตก็มีเกษตรกรเพียงจํานวนนอยเทานัน้ทีส่ามารถจัดซื้อรถแทรกเตอรไวใชงานเองได หนวยงานของรัฐไดเร่ิมมีความสนใจการสั่งเครื่องนวดและเครือ่งเก็บเกีย่วนวดเขามา เพื่อศึกษาการใชงานและพัฒนาการเกษตรของประเทศมากขึ้น ในป พ.ศ. 2497 ทางรัฐบาลไดกอตั้งกรมการขาวขึ้น โดยมีกองวิศวกรรมเปนหนวย งานหนึ่งมหีนาที่รับผิดชอบในการวิจัย พฒันา และเผยแพรใหมกีารใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมสําหรับการทํานา การจัดตัง้กองวิศวกรรมนี้ทําใหมกีารวิจัยและพฒันาเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม ซ่ึงก็มีเครื่องจักรกลเกษตรที่วจิัยและพัฒนาประสบความสําเร็จแลว เชน รถแทรกเตอรควายเหล็ก เครื่องสูบน้ําเทพฤทธิ์ เครื่องสีขาว และเครื่องเก็บเกีย่วพืช เปนตน ซ่ึงมีโรงงานเอกชนไดนาํแบบไปผลิตจําหนายแกเกษตรกรในราคาที่ถูกกวาเครื่องจักรกลเกษตรที่นําเขาจากตางประเทศ

11

อยางไรก็ตาม เครื่องจักรกลเกษตรและอุปกรณที่ส่ังเขาจากตางประเทศยังมีราคาแพงมาก เมื่อเทยีบ

กับรายไดของเกษตรกร แตเนื่องจากมีการขยายพืน้ที่เพาะปลูกมาก ทาํใหเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญมี

ความจําเปนอยางมากสําหรบังานบุกเบิกพืน้ที่ใหม จึงมีการนําเขารถแทรกเตอรขนาดใหญและขนาดกลาง

ซ่ึงสวนใหญมาจากประเทศอังกฤษ ในอตัราที่เพิ่มสูงขึ้นอยางรวดเร็ว จากสถิติของกรมศุลกากร ปรากฏวา

ในป พ.ศ. 2500 มีการนําเขารถแทรกเตอรขนาดใหญ 267 คัน และ เพิ่มขึ้นเปน 2,610 คัน ในป พ.ศ. 2513

โดยรถแทรกเตอรเหลานี้ สวนใหญจะเปนของนายทุน ซ่ึงซ้ือไวรับจางเปดพืน้ที่เพาะปลูกใหม และเตรียม

ดินใหกับเกษตรกร แมวาการขยายตวัของการใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมจะอยูในวงแคบ แตเนื่องจาก

ขั้นตอนของการเพาะปลูกพชืชนิดใหม ๆ จําเปนตองใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม ทั้งภาครัฐและเอกชน

จึงไดดําเนินการเพื่อพัฒนาและเรงรัดใหมกีารใชเครื่องจกัรกลเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทางภาครัฐได

ตระหนกัถึงความจําเปนของเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม จึงไดจัดตัง้งบประมาณดําเนินการโครงการและ

กิจกรรมหลายอยางที่จะเผยแพรและสงเสริมใหมีการใชเครื่องจักรกลเกษตรอยางกวางขวาง เชน จัดตั้ง

หนวยบริการเครื่องจักกลเกษตรแกเกษตรกร การจัดตั้งศูนยฝกอบรมการใชและการซอมแซมบํารุงรักษา

เครื่องจักรกลเกษตร การจัดสินเชื่อจากทางราชการสําหรับจัดซื้อรถแทรกเตอร และการวิจัยพัฒนา

เครื่องจักรกลเกษตร เปนตน จากการที่ไดจัดตั้งกองวศิวกรรมขึ้นภายในกรมการขาวในป พ.ศ. 2498 เพื่อ

รับผิดชอบงานดานวิจยัพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรของประเทศนั้น ทาํใหเร่ิมมีตนแบบเครื่องจักรกลเกษตรที่

เหมาะสมกับสภาพการเกษตรกรรมของประเทศมากขึ้น และดวยความพยายามของกองวิศวกรรมและ

โรงงานเอกชน ทําใหเกษตรกรสามารถจัดซื้อเครื่องจักรกลเกษตรที่มปีระสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสมไวใช

งานเองได งานวิจยัของทางราชการในชวงระยะนั้น เนนเฉพาะเครื่องจักรกลเกษตรสําหรับที่ลุม และพื้นที่

ชลประทานเทานั้น โดยเนนดานเครื่องมือเตรียมดิน และชลประทาน ทําใหยังมีแบบและชนิดเครื่องจักรกล

เกษตรที่ใหเกษตรกรเลือกใชงานอยูนอย อยางไรก็ตามงานวิจยัและพัฒนาในชวงระยะเวลานัน้ก็เหมาะสม

กับสภาพการเกษตรกรรมของประเทศ ซ่ึงเพาะปลูกขาวในที่ลุมเปนหลัก

จากความพยายามของภาครฐัและเอกชนในการวจิัยและพัฒนาในชวงดังกลาว และถึงแมจะมีการ

สาธิตและเผยแพรเครื่องจักรกลเกษตรอื่น ๆ อีกหลายชนิดก็ตาม แตการใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมที่

นิยมใชกันอยางแพรหลายก็มเีพียงรถแทรกเตอรและเครื่องสูบน้ําเทานั้น จึงอาจกลาวไดวา การพฒันาใน

ระยะนี้เปนไปอยางเชื่องชาและไมประสบผลสําเร็จเทาที่ควร

12

นับตั้งแตป พ.ศ. 2513 เปนตนมา เปนชวงของการขยายตัวในการใชเครื่องจักรกลเกษตร ซ่ึงเปนผล

มาจากการที่กรมการขาวประสบความสําเร็จในการผลิตขาวพันธุ กข. ที่ใหผลผลิตสูง และเกษตรกรนิยม

ปลูกขาวพันธุนี้กันอยางแพรหลาย โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตชลประทานสามารถปลูกขาวไดปละมากกวา

1 คร้ัง และพื้นที่ที่ทําการเพาะปลูกขาวปละ 2 คร้ังก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการขยายเขตของโครงการ

ชลประทาน แตความนยิมการปลูกขาวปละ 2 คร้ังนี้กต็องเผชิญกับปญหาเรื่องชวงเวลาของฤดูกาลตอเนื่อง

ระหวางการปลูกพืชคร้ังแรก และการปลกูพืชคร้ังที่สอง ซ่ึงมีชวงเวลาสั้นและปญหาเรื่องแรงงานไมเพยีง

พอที่จะดําเนินงานใหแลวเสร็จทันฤดูกาล โดยเฉพาะในชวงระยะเตรียมดิน และการเก็บเกีย่วที่ตอเนื่องกัน

การเตรียมดนิโดยใชแรงงานสัตวนั้นชาไมทันตอเวลา ดังนั้นการขยายตวัของการใชเครื่องจักรกลเกษตรจึง

เร่ิมจากเครื่องมือและอุปกรณสําหรับเตรียมดิน ซ่ึงมีลักษณะการใชอยู 2 ลักษณะ คือการใชรถแทรกเตอร

ขนาดใหญที่ส่ังเขามาจากตางประเทศหรือประกอบภายในประเทศ สวนใหญใชเครื่องยนตระหวาง 70 – 80

แรงมา สวนมากจะใชในลักษณะบริการรับจาง อุปกรณที่ใชจะเปนไถจาน ซ่ึงใชเตรียมดินสําหรับพืชไร

หรือการทํานาหวานในทีแ่หง ในระยะแรกรถแทรกเตอรรับจางนี้จะตระเวนรับจางไปตามจังหวัดตาง ๆ ถา

มีชวงเวลาเตรยีมดินที่ตอเนือ่งกันจะตองใชคนขับผลัดเปลี่ยนวนัละ 3 คน และทํางานวันละ 18 ช่ัวโมง ซ่ึง

ทํารายไดใหแกเจาของและคนขับเปนอยางมาก แตเครือ่งก็ชํารุดเสียหายในเวลาสั้น จากการที่เกษตรกรมี

ความตองการใชรถแทรกเตอรรับจางกันมาก ยอมแสดงใหเห็นวาเกษตรกรสวนใหญเห็นความสําคัญและ

ประโยชนของเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมแลว การใชรถแทรกเตอรขนาดเล็กที่มีกาํลังเครื่องยนตระหวาง

6 – 25 แรงมา ทั้งแบบ 4 ลอ และ 2 ลอ หรือที่เรียกกนัวา “รถไถเดินตาม” รถแทรกเตอรขนาดนี้สวนใหญใช

ในนาที่ลุมและเหมาะสําหรบัพื้นที่ประมาณ 25 – 30 ไร เปนรถแทรกเตอรที่มีทั้งที่ส่ังเขาจากตางประเทศ

และผลิตขึ้นเองภายในประเทศ แตสวนมากจะนิยมใชรถแทรกเตอรที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ เกษตรกรสวน

ใหญที่เพาะปลูกปละ 2 คร้ัง จะใชในการเตรียมดินแทนแรงงานสัตว และใชเครื่องยนตสําหรับหมุนเครื่อง

สูบน้ําดวย

ตั้งแตที่เกษตรกรสามารถทํานาและเพาะปลูกพืชอ่ืนไดปละมากกวา 1 คร้ัง การใชเครื่องจักรกล

เกษตรกเ็พิ่มขึน้อยางรวดเร็ว ตามรายงานของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรจํานวนการใชรถไถเดนิตามใน

ป พ.ศ. 2518 มีประมาณ 90,000 คัน ไดเพิ่มขึ้นเปนประมาณ 400,000 คัน ในป พ.ศ. 2528 และ ป พ.ศ.

2533 มีประมาณ 660,685 คัน นอกจากนี้กม็ีการแนะนําเผยแพรและผลิตเครื่องจักรกลเกษตรใหม ๆ เพิ่มขึ้น

13

อีกหลายชนดิ เชน เครื่องนวดขาว เครื่องสีขาว เครื่องกะเทาะขาวโพด เครื่องปลูก เครื่องเกี่ยวขาว และรถ

แทรกเตอร 4 ลอเล็ก เปนตน จนปจจุบนักลาวไดวาในแถบภูมภิาคนี้ ประเทศไทยมีการใชเครื่องจักรกล

เกษตรอยูในระดับสูงมาก รองจากประเทศญี่ปุน เกาหลี และไตหวัน เทานั้น นอกจากนีก้ารพัฒนา

เครื่องจักรกลเกษตรของประเทศไทยไดพฒันากระบวนการผลิตเปนระบบอุตสาหกรรม การนําเทคโนโลยี

จากตางประเทศมาใชในการออกแบบและพัฒนาเครื่องจกัรกลเกษตรในประเทศ การวิจัยและพัฒนาเพื่อการ

แกไขปญหาการใชเครื่องจักรกลเกษตรจากหนวยงานภาครัฐและเอกชน จึงทําใหเครื่องจักรกลเกษตรของ

ประเทศไทยมกีารพัฒนาอยางตอเนื่องจนทีเ่ปนที่ยอมรับของเกษตรกรในปจจุบนั

1.5 แนวโนมเครื่องจักรกลเกษตรในอนาคต จากความเจรญิกาวหนาดานเทคโนโลยีในยุคปจจุบนั ไดมีการนําเทคโนโลยีตาง ๆ มาใชประกอบการ

ดํารงชีวิตมากขึ้น และไดมีนาํมาใชงานในดานตาง ๆ การติดตอส่ือสาร และระบบอินเตอรเน็ต (Internet) ที่

ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลก กอรปกับแรงงานในภาคการเกษตรลดลงจึงมีการพัฒนาเครื่องจักรกล เครื่องมือ

ทุนแรง และอปุกรณทางการเกษตรใหมีความสามารถในการทํางานมากขึ้น โดยมีการติดตั้งเครื่องมือส่ือสาร

ระบบวิทยุกับเครื่องมือการเกษตร เพื่อตรวจสอบถึงการทํางาน การซอมแซม และบํารุงรักษา รถแทรกเตอร

ก็มีความเรว็สูงขึ้นสามารถวิ่งบนถนนหลวงและใชงานไดดี มีจอภาพแสดงผล (Monitor) ติดตั้งเครื่องมือวัด

ตรวจสอบสภาพการทํางาน และหองคนขบัติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จึงมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ภาพที่ 1.5 หองคนขับที่มีจอภาพแสดงผล และอุปกรณอํานวยความสะดวกในการทาํงาน

14

ภาพที่ 1.6 แสดงเครื่องจักรกลเกษตรที่มีความสามารถในการทํางานสูงในยุคปจจุบัน ท่ีมา :Deere & Company , 2009 [ออนไลน].

แนวโนมในอนาคต เครื่องมือทางการเกษตร รถแทรกเตอรตนกําลัง อาจจะใชพลังงานอื่นทดแทน

พลังงานเชื้อเพลิง เชน พลังงานแสงอาทิตย เชื้อเพลิงไบโอดีเซล เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เชื้อเพลิงจากชีวมวล

เปนตน การพัฒนาเครื่องยนตที่สามารถใชแหลงพลังงานไดสองชนิดที่เรียกวาเครื่องยนตลูกผสม (Hybrid)

คือ สามารถใชไดทั้งน้ํามันเชื้อเพลิงและไฟฟา สามารถใชงานไดหลายประเภท เชน การใชงานภาคสนาม

บรรทุก ขนสง และการโดยสารได

1.6 สรุป

ชางเกษตรเปนสาขาหนึ่งของอาชีพเกษตร ทําหนาที่ในการซอมแซม และดูแลบํารุงรักษาเครื่องมือทาง

การเกษตร ซ่ึงจะตองศึกษาเรียนรูในสาขาวิชาชางตาง ๆ เชน สาขาชางโลหะเพื่อใหสามารถใชเครื่องมือ

เกี่ยวกับโลหะในการตัด เจาะ จับยดึ เชื่อม สาขาชางไม เพื่อใหใชเครื่องมือเกี่ยวกับงานไม การตัดไม การตอ

ไม การเขาไม สาขาชางปูน เพื่อใหมีความรูและสามารถใชงานทางดานการผสมคอนกรีต การเทคอนกรีต

15

การกอผนังอิฐ สาขาชางไฟฟา เพื่อใหมีความรูและสามารถติดตั้งและซอมแซมอุปกรณไฟฟาเบื้องตนได และจะตองใชงานทางชางอยางปลอดภยั สามารถปองกันอันตรายจากการใชเครื่องมอืทางชางได ในอนาคต

เครื่องมือทางการเกษตรสามารถใชงานไดอยางเอนกประสงค มีความสามารถสูง ประหยัดพลังงานและ

เวลา ดังนั้นผูที่ทํางานเกีย่วของทางดานการเกษตร ทั้งเกษตรกรและนักศึกษาจะตองติดตามศึกษา และรับรูเทคโนโลยีที่ใชกับการเกษตร เพื่อการใชงานการดูแลรักษา และการซอมบํารุง และปจจุบันโลกไดพัฒนา

ระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถติดตอส่ือสารไดอยางรวดเร็วดวยเทคโนโลยี 3G

(3rd Generation) ระบบคอมพิวเตอรสามารถทํางานไดรวดเร็ว ซ่ึงไดนํามาใชกับเครื่องจักรกลเกษตรทําให

การทํางานของเครื่องจักรกลเกษตรมีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจึงจําเปนตองมีการศึกษาเรียนรูใหทนัสมัยอยู

เสมอ