Rama III Arts at Phaichayonphonsep Ratchaworawihan Monastery

Preview:

DESCRIPTION

วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร, รัชกาลที่ 3, กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ, ศิลปกรรมไทยผสมจีน, เครื่องถ้วยจีน, อิทธิพลศิลปะจีน

Citation preview

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3

วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

สิตาน

ัน เพ

ียรวา

นิช

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 1

วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3

รูปแบบศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3

ARTS OF KING RAMA III

4 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 5

ลักษณะของรปูแบบศลิปกรรมในรชักาลที ่3 นัน้ ถอืเป็นการเปลีย่นแปลง

รูปแบบการก่อสร้างครั้งส�าคัญในงานสถาปัตยกรรมไทยที่มีการศึกษาและ

กล่าวถึงมากที่สุดคือ การสร้างอาคารที่มีลักษณะของอิทธิพลจีน เรียกว่า

แบบพระราชนิยม หรอื แบบนอกอย่าง คอื มกีารปรับเปลีย่นโครงสร้างของหลงัคา

โดยเฉพาะหน้าบนั ท�าเป็นงานก่ออฐิถอืปูน ไม่ประดบัช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์

ส่วนหน้าบันน้ันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายแบบจีน และที่ส�าคัญคือ

มกีารเพ่ิมเสาพาไลรบัน�า้หนกัด้านข้าง โดยตวัเสาพาไลนีม้กัเป็นทรงสีเ่หลีย่มขนาด

ใหญ่ ท�าให้สามารถรบัน�า้หนกัส่วนหลงัคาได้เป็นอย่างดี ไม่มกีารประดบับนหัวเสา

เป็นผลให้รูปแบบศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 นั้นสามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่ทั้งด้าน

กว้าง ด้านยาว และสูงได้

6 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

จุดประสงค์ในการสร้างวัด

THE PURPOSE OF BUILDING

8 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 9

สมยัรชักาลที ่3 นัน้ รปูแบบศลิปกรรมแบบพระราชนยิมมีความแพร่หลาย

ได้มีการสร้างวัดเป็นจ�านวนมาก จึงส่งผลให้ขุนนางได้น�ารูปแบบพระราชนิยมมา

สร้างตามพระองค์เช่นกัน โดยจุดประสงค์ในการสร้างนั้น เป็นพระราชนิยมส่วน

พระองค์ที่มีการติดต่อค้าขายกับจีน จึงน�าเอาศิลปะจีนมาใช้ และมีความเลื่อมใส

ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

10 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ความหมายชือ่ "ไพชยนต์ พลเสพย์ ราชวรวหิาร"

THE MEANING OF PHAICHAYON PHONSEP RATCHAWORAWIHAN

12 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 13

นามของวัดนี้ที่ว่า “ไพชยนต์พลเสพย์” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยาด�ารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า คงเป็นนามใหม่เดิมเมื่อแรกสร้าง

ในสมัยรัชกาลที่ 2 เห็นจะเรียกว่า วัดกรมศักดิ์ หรือ วัดปากลัด เมื่อถึงรัชกาลที่

3 คงจะเรียกว่า วัดวังหน้า เมื่อวิเคราะห์ค�า “ไพชยนต์” ดูหมายจะเอาบุษบกนั้น

เป็นนิมิต และค�าว่า “พลเสพย์” มาจากสร้อยพระนามของกรมพระราชวังบวร-

มหาศักดิพลเสพ ดังนั้นนาม “ไพชยนต์พลเสพย์” คงเป็นนามที่พระบาทสมเด็จฯ

พระจอมเกล้าฯ เจ้าอยูห่วัทรงขนานนามขึน้ ส่วนทีม่คี�าว่า “ราชวรวหิาร” นัน้ เป็น

ไปตามท�าเนียบพระอารามหลวงชนิดชั้นโทในภายหลัง

14 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ประวัติวัด

A HISTORY OF PHAICHAYON PHONSEP TEMPLE

16 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 17

วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2365 เมื่อแรกสร้าง

กรมหมื่นศักดิพลเสพ คงจะได้เป็นพระธุระอุปการะมาตลอด และเมื่อกรมหม่ืน

ศักดิพลเสพ ได้ทรงด�ารงต�าแหน่ง กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาล

ที่ 3 วัดนี้ก็คงจะมีความส�าคัญมากข้ึนและคงจะมีฐานะเป็นพระอารามหลวงใน

รัชกาลนี้ ประกอบทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิยมใน

การสร้างวัด ถึงกับมีค�าพังเพยเล่าสืบต่อกันมาว่า “ในรัชกาลที่ 1 ใครรบทัพจับศึก

เก่ง ก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ 2 ใครเป็นนักเลงกลอน ก็เป็นคนโปรด ในรัชกาล

ที่ 3 ใครสร้างวัดวาอาราม ก็เป็นคนโปรด” เพราะฉะนั้น วัดไพชยนต์พลเสพย์ ก็

คงจะรุง่เรอืงมากในรชักาลท่ี 3 นี ้นอกจากนีย้งัมหีลกัฐานอยูใ่นหมายรบัสัง่ รชักาล

ที ่3 เรือ่งการบรูณะซ่อมแซมพระอารามนีว่้า “มรีบัสัง่ให้เอาทองค�าเปลว ไปจ่ายให้

ช่างรักปิดเสาเม็ดราวเทียนในพระอุโบสถ กระจังเสามุขเด็จหน้าหลังพระวิหาร

ใหญ่” ในรัชกาลต่อๆ มาไม่มีหลักฐานว่าวัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์หรือไม่”

วดัน้ีคงรุง่เรอืงมากในสมัยรชักาลที ่3 ซึง่มหีลกัฐานว่าได้รับการบรูณะในสมยันี ้และ

ลกัษณะทางสถาปัตยกรรม ศลิปกรรมหลายอย่างบ่งบอกว่าเป็นแบบพระราชนยิม

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุโบสถ และวิหาร วัดนี้ได้รับการบูรณะแล้ว

แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้

18 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ

INTERSTING ARCHITECTURE

20 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 21

สถาปัตยกรรมทีน่่าสนใจกเ็ริม่ตัง้แต่ ตวัวหิารด้านนอกซึง่เป็นลกัษณะแบบ

พระราชนิยม ซึ่งเราจะเห็นเสาพาไลตั้งล้อมรอบ เมื่อลองสังเกตรอบตัวอาคารจะ

พบว่าแผนผังของวิหารนั้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเป็นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนทั้ง

หลัง ปิดล้อมทั้ง 4 ด้าน ส่วนทรงของหลังคานั้นเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด ทรงจั่ว

มุงกระเบื้องดินขอ หลังคามี 3 ตับ และเป็นปีกนกรอบอาคาร

22 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 23

24 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ประวัติวิหาร

HISTORY OF VIHAN

26 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 27

วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2365 มีอายุ

เกือบ 200 ปี เป็นศิลปกรรมแบบพระราชนิยม รูปทรงอาคารเป็นอาคารแบบ

ก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกคู่กับอุโบสถ โดยมีการบูรณะล่าสุดเมื่อป ี

พ.ศ. 2533

28 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ประวัติผู้สร้าง

HISTORY MAKER

30 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 31

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ หรือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า

กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรุโณทัย เป็น

พระราชโอรสล�าดับท่ี 17 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติ

แต่เจ้าจอมนุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2328

พระองค์เจ้าอรุโณทัย ได้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นศักดิพลเสพ ใน พ.ศ. 2350 ทรง

ก�ากับราชการกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ

พ.ศ. 2363 มีข่าวพม่าจะยกทัพเข้ามาตีไทย ทรงเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลไปตั้งที่

เมืองเพชรบุรี ท�าศึกร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งยกทัพไปตั้งที่เมืองราชบุร ี

และกาญจนบุรี เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2367 จึงทรงอุปราชาภิเษกกรมหมื่นศักดิพลเสพ

เป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ด�ารงต�าแหน่ง

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

32 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ศิลปกรรมที่น่าสนใจ

INTERESTING ARTS

34 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 35

ศลิปกรรมทีน่่าสนใจของวหิารหลงันีม้หีลายอย่างด้วยกนั สิง่แรกทีส่งัเกต

เห็นได้คือ หน้าบันวิหาร ซึ่งอยู่ด้านบนสุดของอาคารมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ตกแต่งด้วยลาดลายทิวทัศน์ผสมกับลายดอกไม้และประดับประดาด้วยกระเบื้อง

เคลือบสีแบบจีน เมื่อมองลงมาเราจะเห็นคันทวยติดอยู่ตามเสาทุกต้นของอาคาร

มีลักษณะเป็นไม้แกะสลักซึ่งมีความงดงามอย่างยิ่ง ส่วนตัวอาคารด้านซ้ายและ

ขวาน้ันจะมีบานหน้าต่างซึ่งประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบแบบจีนผสมกันซุ้ม

ปนูป้ันแบบฝร่ัง ลวดลายบนบานหน้าต่างนัน้จะเป็นลายเมฆไหลแบบจนี และด้าน

หน้าและด้านหลังของคารจะมีประตูด้านละ 2 ช่อง ซึ่งประดับประดาลวดลายเช่น

เดยีวกันกบัหน้าต่าง ส่วนลายบนบานประตนูัน้จะเป็นลวดลายมงักรด้ันเมฆแบบจีน

ซึ่งมีความสวยงามมาก และทางขึ้นประตูทั้ง 4 ด้านนั้นจะมีรูปจ�าหลักหินสิงโตจีน

ตั้งอยู่ เพื่อแสดงถึงความมั่นคงแข็งแรงและสง่างาม

36 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 37

38 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

จิตรกรรมที่น่าสนใจ

INTERESTING PAINTING

40 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 41

เมื่อเราเข้ามาภายในวิหาร เราจะเห็นพระประธานปางมารวิชัยหน้าตัก

กว้าง 1 วา 16 นิ้ว มีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรยืนอยู่คู่กันทางด้านหน้า

ท่ีฐานชุกชีเป็นที่บรรจุอัฐิของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพและบุคคลอื่นๆ

ในราชตระกูล อีกทั้งเราจะพบว่าทุกรอบด้านภายในตัวอาคารนั้นประดับประดา

ด้วยจิตรกรรมแบบไทยผสมจีน มีอายุเกือบ 200 ปี บางส่วนนั้นหลุดลอกไปตาม

กาลเวลา ส่วนผนังด้านบนที่อยู่เหนือประตูหน้าต่างขึ้นไปนั้น เจาะเป็นช่องเพื่อ

ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ

42 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 43

ภาพจติรกรรมภายในวหิารเป็นภาพเล่าเรือ่งเกีย่วกบัพุทธประวตั ิทศชาติ

ชาดก และไตรภูม ิเริม่จากพืน้ทีร่ะหว่างช่องประตแูละหน้าต่างทุกด้าน จะเขยีนเป็น

ภาพทศชาติชาดก ผนังด้านทิศใต้เป็นเรื่อง เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณ-

สามชาดก เนมิราชชาดก ภรูทิตัชาดก จนัทกมุารชาดก นารทชาดก และวฑิรูชาดก

ต่อเนื่องไปผนังด้านหน้าพระประธานเป็นเรื่องมโหสถชาดก ส่วนผนังทางทิศ

เหนือและด้านหลังพระประธาน เป็นชาดกเรื่องสุดท้ายที่มีเนื้อเรื่องยาวที่สุด คือ

พระเวสสันดรชาดก ท�าให้ใช้พื้นท่ีห้องภาพมากกว่าชาดกเรื่องอื่น ผนังส่วนบนท่ี

อยู่บริเวณเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไป ด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิแสดง

รายละเอียดของสวรรค์

44 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 45

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วัดไพชยนต์พลเสพย์ฯชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วัดไพชยนต์พลเสพย์ฯชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สิตานัน เพียรวานิช© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สิตานัน เพียรวานิช© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สิตานัน เพียรวานิช

สงวนลิขสิทธิ์สงวนลิขสิทธิ์

พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงและออกแบบโดย สิตานัน เพียรวานิชเรียบเรียงและออกแบบโดย สิตานัน เพียรวานิชเรียบเรียงและออกแบบโดย สิตานัน เพียรวานิชออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SawrabunPSK 16 pt.ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SawrabunPSK 16 pt.ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SawrabunPSK 16 pt.

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษาหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษาหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Recommended