Asean cities2

Preview:

Citation preview

ภาพรวมของความเชื่อมโยงของเมืองหลักที่สำคัญในอาเซียน

บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย 30 พฤษภาคม 2558

ด้วยระบบนิเวศน์ ชาติพันธ์ อารยธรรม ขนบธรรมเนียม

ประเพณีที่ผูกพันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้พื้นที่เอเชียอาคเนย์หรืออาเซียนมีความเชื่อมโยงกันมายาวนาน นับตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ก่อนที่ส่วนของเกาะต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะแยกออกจากแผ่นดินใหญ่กันไป วิวัฒนาการของเมือง

เป็นนวัตกรรมของมนุษยชาติ ต่อจากวิวัฒนาการของสภาพแวดล้อม ความคิด ความเชื่อ สังคมและเศรษฐกิจ

การเกิดขึ้นของชุมชนเมือง นครรัฐ และอาณาจักร

ชุมชนเมือง นครรัฐ และอาณาจักร ที่รวมของมนุษยชาติ

และกิจกรรมต่างๆ เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ

ทั่วโลก นับแต่การค้นพบเมืองเจริโค ที่คาดว่าเป็นเมืองในประวัติศาสตร์เมื่อ 7,000 ปีมาแล้ว ในสมัยนีโอลิทิค

– ปลายยุคหิน – ที่มนุษย์หยุดวิถีชีวิตจากการร่อนเร่ ล่าสัตว์ และอาหาร เป็นชุมชนเกษตรกรรม สร้างชุมชน

LOCATION OF ANCIENT CITIES oldest cities: (5) Jericho; (4) Tell Abu Hureyra;

(3) Catal Huyuk; (10) Mehrgarh; (8) Cities of Mesopotamia

ต่อจากนั้นมนุษยชาติได้เข้าสู่กระบวนการสร้างนวัตกรรมของการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งรวมถึงงานสถาปัตยกรรม ศิลป หัตถกรรม

อุตสาหกรรม การสร้างองค์กรชุมชน ศาสนา กฎ ระเบียบ

ภาษา และอักษร จนเป็นวัฒนธรรมและอารยธรรมต่อมา

เมื่อย้อนไปในอดีตเพื่อพิจารณาความเป็นเมือง และความสัมพันธ์ของเมือง มีประเด็นชวนคิดคือ

เมืองเป็นศูนย์กลางของชุมชน รัฐ และเครือข่ายของภูมิภาค เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการของเมือง และกระบวนการเป็นเมือง เป็นส่วนของอารยธรรม Civilization (Civil = Civic = City)

เป็นการขับเคลื่อนให้เกิดอารยธรรม มีวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างอารยธรรม ช่วยพัฒนาการของคนและวิถีชีวิต ในกระบวนการสร้างอารยธรรมนี้ มีการทำงานร่วมกันเป็นชุมชนโดยการจัดระเบียบสังคม เป็นโครงสร้างสังคมและการเมือง

Urban Revolution

เป็นวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ ต่อจาก

พัฒนาการของร่างการมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของสภาวะแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ

ผลของ Urban Revolution

เกิดชุมชนเมืองตามที่ต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะตามลุ่มน้ำ

หรือที่ที่มีชัยภูมิ และเกิดความคิด ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และวัตรปฏิบัติ

มีเครือข่ายในความสัมพันธ์ ทางศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม การค้าขาย ในระดับภูมิภาค และระดับโลก

เช่น Silk Road และอื่นๆ

ชุมชนอาเซียน

เป็นกลุ่มเครือข่ายชุมชนเมืองกลุ่มหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย

คือ อินเดีย จีน ซึ่งหนึ่งในสามเครือข่ายของโลก (กลุ่มยุโรปเมดิเตอร์เรเนียน เมโสโปเตเมีย อัฟริกา อินเดีย และจีน) ในยุคต้นของประวัติศาสตร์ความเป็นเมือง

เครือข่ายนี้ประกอบด้วย อินเดีย เอเชียอาคเนย์ สลาฟ

นอร์ดิค จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อันเป็นเครือข่ายภูมิภาคด้านการค้า ศาสนา และวัฒนธรรม

จวบจนถึงทุกวันนี้

เมื่อมีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนในด้านต่างๆ ในปี พ.ศ. นี้ ผู้นำของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้มีข้อตกลงและพันธะสัญญาที่จะพัฒนาร่วมร่วมกันด้านต่างๆ

เช่น

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน 10 ประเทศ

(ASEAN : ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIAN NATIONS)

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง

(GMS : GREATER MEKONG SUBREGION)

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง

(ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy)

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT – GT : Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle)

ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ

(BIMSTEC: Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation)

ความเป็นเมืองของอาเซียนจะมีประชากรเมืองเพิ่มขึ้นมาก

ในอีก 35 ปี จะมีประชากรเมืองของ ASEAN + อินเดียและจีน เพิ่มขึ้นปีละ 25 ล้านคน

ทั้งนี้ ความเป็นเมืองในเอเชียจะสูงกว่าภูมิภาคอื่นในโลก โดยที่เมืองใหญ่หรือจะเรียกว่า “อภิมหานคร” (เมืองนี้มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน)

จำนวน 22 เมือง จากจำนวนทั้งสิ้น 37 เมือง จะอยู่ในเอเชีย คิดเป็นจำนวนประชากรเมืองในปี ค.ศ. 2020 ทั้งสิ้น 200 ล้านคน เพิ่มจากจำนวน 40 ล้าน

คน ในปี 2010 (สหประชาชาติ)

เมืองทุกขนาดทั้งมหานคร เมืองขนาดกลาง และขนาดเล็ก จะเพิ่มจำนวนขึ้น

โดยเฉพาะเมืองเล็กที่มีขนาดประชากรน้อยกว่า 500,000 คน มีประชากรนับเป็นสองในสามของประชากรเมืองของ ASEAN ซึ่งเหมือนกับขนาดเมืองในยุโรปแต่ขนาดแตกต่างจากสหรัฐอเมริกา (OECD)

อย่างไรก็ตามร้อยละ 40 ของแรงงานในเอเชีย ยังเป็นแรงงานในภาคมหานคร

(จำนวนแรงงานทั้งสิ้น 700 ล้านคน)

แต่เมืองยังคงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นที่ตั้งของภาคอุตสาหกรรมและการบริการ เป็น

เหตุให้ดึงดูดแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่เมือง

ในปี ค.ศ. 2010 UN HABITAT รายงานว่า ประชากรเมืองในเอเชียกว่าร้อยละ 30 อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด คิดเป็นจำนวนผู้อาศัยอยู่ใน

ชุมชนแออัดประมาณ 505.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรชุมชนแออัดของโลก

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าพิจารณาในการพัฒนาที่อยู่อาศัยคุณภาพชีวิต สถานภาพทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม การให้บริการทางสังคมของประชากรเมืองในอนาคต

ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีเมืองสำคัญ และเมืองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการต่อประชาชนในลักษณะต่าง ๆ อยู่หลายรูปแบบ โดยแบ่งได้เป็น

2 รูปแบบ คือ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริการและการบริหารจัดการสำหรับประชาชนโดยทั่วไป และเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ มีกิจกรรมเฉพาะเป็นพิเศษ

เช่น เมืองอุตสาหกรรม ศูนย์กลางการศึกษา วิจัย

ศูนย์กลางการขนส่ง ศูนย์กลาง / แหล่งท่องเที่ยว

เมืองชายแดน

สำหรับภูมิภาคนี้มีเมืองหลักของภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเงิน

การค้า การบริการระดับภูมิภาคและระดับโลกจำนวน 6 เมือง หรือมหานคร ได้แก่

กรุงเทพมหานคร (ปริมณฑล), สิงคโปร์,

กัวลาลัมเปอร์, มนิลา, จาการ์ต้า และโฮจิมินท์ซิตี้

นอกจากนี้มีเมืองขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ ในระดับประเทศ กล่าวคือ เป็นนครหลวงของประเทศ

ศูนย์กลางของอาเซียน และพื้นที่ในและระหว่างประเทศอีกหลายเมืองที่มีลักษณะเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ เศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรมและความมั่นคงของประเทศและภูมิภาค เช่น เวียงจันทน์,

หลวงพระบาง, พนมเปญ, ฮานอย, ดานัง, ย่างกุ้ง,

ปีนัง, บันดาร์ เสรี เบกาวัน และบาหลี เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดกลุ่มเมือง โดยพิจารณาความเป็นศูนย์กลาง ในการบริการ เป็น 5 กลุ่ม คือ เมืองมหานคร, เมืองลำดับที่ 1, เมืองลำดับที่ 2, เมืองลำดับที่ 3, และเมืองลำดับที่ 4 ตามลำดับความสลับซับซ้อน ความหลากหลายในการเป็นศูนย์กลาง จากการให้บริการพื้นฐานแก่ชุมชนจนถึงการให้บริการระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก

การบูรณาการภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ให้เป็นหนึ่งเดียวกันในอนาคตอันใกล้นี้ สามารถพิจารณาความเชื่อมโยงของภูมิภาค ทางด้านเศรษฐกิจ

สังคม วัฒนธรรม และภูมินิเวศน์ ดังต่อไปนี้

สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่แบ่งออกเป็น พื้นที่ต่อเนื่องบนคาบสมุทรอินโดจีนและเกาะใหญ่น้อยของประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และบูรไน อยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร มีระบบนิเวศน์ที่ต่อเนื่องกัน มีทรัพยากรธรรมชาติ พืชพันธุ์และสัตว์ ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ที่สุดของโลก

อย่างไรก็ตาม พื้นที่หลายแห่งของภูมิภาคได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย ไฟป่า แผ่นดินไหว และสึนามิ อนึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศในภูมิภาคจะส่งผลถึงระดับน้ำทะเลที่อาจสูงขึ้นประมาณ 0.50 เมตร ถึง 1.00 เมตร ในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า

สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนในภูมิภาคว่าเป็นหน่วยทางวัฒนธรรมเดียวกัน ทั้งภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะต่างๆ มีความสัมพันธ์ระหว่างกันทุกด้าน ทั้งศิลป วัฒนธรรม และศาสนา ตลอดจนการเมือง แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลของจีนและอินเดีย

แต่มีพัฒนาการทางศิลป วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา จารีตประเพณี เป็นของภูมิภาคอย่างเห็นได้ชัด ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม อันเป็นงานสร้างสรรค์ มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น เป็นมรดกของชาติต่างๆ สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

รากฐานทางศิลป วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ศาสนา และภาษา ที่ใช้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแตกต่างกันที่ลักษณะเฉพาะถิ่นเท่านั้น เช่น

ภาษามาเลย์ ที่ใช้กันในบูรไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ภาคใต้ของไทย กัมพูชา และเวียดนาม

ภาษาไท ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย จีนตอนใต้ เวียดนาม รัฐไทใหญ่ของพม่า ลาว และบางส่วนของกัมพูชา

ชาติพันธุ์ต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์

ความเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เหล่านี้ยังเป็นความเชื่อมโยงผูกพันในลักษณะของภูมิภาค ที่ควรจะต้องสืบสานความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในอนาคต

ณ ปัจจุบัน ประเทศในภูมิภาคนี้มีข้อตกลงและพันธสัญญาที่จะเชื่อมโยงและบูรณาการทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน

โดยจะมีแกนเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตามที่ได้กำหนดไว้ในผังประเทศไทย พ.ศ.2600 ที่น่าสนใจคือ แกนเชื่อมโยงดังกล่าวนี้

เป็นแกนเชื่อมโยงของการค้าขายในอดีตมาแล้วทั้งสิ้น ตั้งแต่ยุคที่เริ่มตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองและนครรัฐ อันมีศูนย์กลางอยู่ที่อาณาจักรพุกาม ทวาราวดี ศรีวิชัย พระนครกัมพูชา ในยุคสมัยประวัติศาสตร์ต่างๆ กันเป็นลำดับ ความเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การปกครอง ยังคงอยู่ในแนวแกนเศรษฐกิจที่กำหนดใหม่ทั้งสิ้น แม้ว่า เมืองที่เป็นศูนย์กลางอาจเปลี่ยนไปบ้าง

เที่ยวบินทั่วโลก 11:00 GMT

เที่ยวบินระหว่างเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เอเชียตะวันออก 14:00 เวลาไทย

เที่ยวบิน ภายใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 14:00 เวลาไทย

สนามบินที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลก: ปี 2556

สนามบินที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลก: ม.ค. 2558

เส้นทางการขนส่งทางเรือและ ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด (โดยปริมาณสินค้า)

ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด (โดยตันขนส่งสินค้า)

ข้อตกลงและพันธสัญญาทางเศรษฐกิจ

แนวคิดโครงส้าง เพื่อการพัฒนา พื้นที่ประเทศไทย

ผังนโยบาย การพัฒนา

พื้นที่ประเทศไทย พ.ศ. 2600

โครงข่าย การเดินทาง ทางอากาศ

ผังแนวแกน การเชื่อมโยง กับต่างประเทศ

ผังการจ้ดลำดับ ความสำคัญ

ของเมืองในช่วง ปี พ.ศ. 2600

ผังนโยบาย ระบบเมือง ประเทศไทย พ.ศ. 2600

ผังนโยบาย อุตสาหกรรมประเทศไทย พ.ศ. 2600

ผังนโยบาย การท่องเที่ยวประเทศไทย พ.ศ. 2600

กลุ่มพื้นที่หลักของประเทศในการพัฒนาต่อเนื่อง• ภาคเหนือตอนบน • ภาคเหนือตอนล่าง • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง • ภาคกลาง • ภาคตะวันออก • ภาคมหานคร • ภาคตะวันตก • ภาคใต้ตอนบน • ภาคใต้ตอนล่าง

ความเชื่อมโยงหรือการบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาร่วมกันมีเงื่อนไขสำคัญ คือ

• มีการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรกันอย่างทั่วถึง

• สมาชิกของกลุ่มควรได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน

• ผู้ที่มีความเจริญก้าวหน้ามีโอกาสช่วยเหลือผู้ที่ล้าหลัง

• เกิดความสมานฉันท์ในพื้นที่

• เกิดการพัฒนาอย่างมีสมดุลและยั่งยืน

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะบัณฑิตอาสาสมัคร ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖

“การพัฒนาประเทศก็ตาม การพัฒนาตนเองก็ตาม   จำเป็นที่จะใช้ความร่วมมือ

เพราะว่าคนที่มีความรู้ในด้านวิชาการอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นคนที่มีความรู้ทั่วทุกอย่าง ต้องอาศัยซึ่งกันและกันต้องแลกเปลี่ยน

ความรู้ให้ซึ่งกันและกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่อยู่คนเดียว…”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จออก มหาสมาคม ในงานพระราชพิธี

เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙

“ทุกวันนี้ ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล

ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี

ข้อสำคัญ เราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้เปลืองไปโดยไร้ประโยชน์

หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่การระมัดระวังใช้ด้วยความประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชา

เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว”

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ คณะที่ปรึกษาเยาวชนและเยาวชนดีเด่น ณ ศาลาผกาภิรมย์ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓

“...คำว่า “พัฒนา” ก็หมายถึงทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ทำให้บ้านเมืองมั่นคงมีความเจริญ ความหมายของการพัฒนาประเทศนี้ก็เท่ากับ ตั้งใจที่จะทำให้ชีวิตของแต่ละคนมีความปลอดภัย มีความเจริญ

มีความสุข ฉะนั้น จึงเข้าใจได้ว่า การพัฒนาทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ และความ

พอใจของแต่ละบุคคลในประเทศ...”