118
ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองของประชาชน จังหวัดหนองคาย A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING PHRADHATU OF BUDDHISTS : A CASE STUDY OF PHRADHATU LANONG IN NONGKHAI PROVINCE พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เที่ยงธรรม) วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๓

A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองของประชาชน จังหวัดหนองคาย

A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING PHRADHATU OF BUDDHISTS : A CASE STUDY OF PHRADHATU

LANONG IN NONGKHAI PROVINCE

พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เที่ยงธรรม)

วิทยานิพนธน้ีเปนสวนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๓

Page 2: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองของประชาชน จังหวัดหนองคาย

พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เที่ยงธรรม)

วิทยานิพนธน้ีเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบณัฑิต

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๓

(ลิขสิทธิ์เปนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

Page 3: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING PHRADHATU

OF BUDDHISTS : A CASE STUPA STUDY OF PHRADHATU LANONG IN NONGKHAI PROVINCE

PHRAPALAD VIDYA SIRIBHADDO (THIANGTHAM)

A Thesis Submitted In Partial Fulfillment of The Requirement for The Degree of

Master of Arts (Buddhist Studies) Graduate School

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Bangkok, Thailand

C.E. 2010

(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

Page 4: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองของประชาชน จังหวัดหนองคาย ผูวิจัย : พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เท่ียงธรรม) ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑติ (พระพุทธศาสนา) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ : พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ป.ธ. ๖, พธ.บ. (ภาษาไทย), M.A.

(Ling), M.A. (Pali & Bud), Ph.D. (Pali & Bud) : พระมหาบาง เขมานนฺโท, ป.ธ. ๕, B.A., M.A. (Bud), M.A. (Phil), Ph.D. (Phil) : ดร.ประยูร แสงใส, ป.ธ. ๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., (Ed) P.G.Dip. in Journalism, Ph.D. (Education)

วันสําเร็จการศึกษา : ๒ เมษายน ๒๕๕๔

บทคัดยอ

วิทยานิพนธนี้ มีวัตถุประสงค ๑) เพ่ือศึกษาประวัติความเปนมาเกี่ยวกับการสรางพระธาตุหลาหนองจังหวัดหนองคาย ๒) เพ่ือศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย

ผลการวิจัยพบวา

พระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย เปนพระธาตุท่ีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ คือพระธาตุพระบาทกํ้าขวา (เบ้ืองขวา) สรางเม่ือ พ.ศ. ๘ โดยพระอรหันตท้ัง ๕ รูป ตอมาพระเจาไชยเชษฐาธิราชไดสรางเจดียใหญครอบไวในพุทธศตวรรษท่ี ๒๑ และพระธาตุหลาหนอง ไดพังทลายลงในแมน้ําโขง เม่ือ พ.ศ. ๒๓๙๐ ประชาชนจังหวัดหนองคายไดสรางพระธาตุหลาหนองจําลองข้ึนทดแทนเม่ือป พ.ศ. ๒๕๔๘

ประชาชนจังหวัดหนองคายมีความเช่ือวา พระธาตุหลาหนอง เปนเจดียท่ีพระอรหันตบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจริง และองคพระธาตุมีความศักดิ์สิทธ์ิ มีอิทธิฤทธ์ิปาฏิหาริย ดลบันดาลใหผูท่ีศรัทธาแคลวคลาดปลอดภัย และเปนสิริมงคลตอตัวเอง

Page 5: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

พิธีกรรมการบูชาพระธาตุ คือ การบวงสรวง จุดบ้ังไฟถวาย แขงเรือยาวถวาย ถวายปราสาทผ้ึง การลอยอังคาร และการไหลเรือไฟ พิธีกรรมดังกลาว เม่ือไดสืบทอดกันมาจนกลายเปนประเพณีท่ีจะตองปฏิบัติทุกป แตในปจจุบันมีรูปแบบและวิธีการท่ีเปล่ียนไปตามยุคสมัย จากการสักการบูชากลายเปนการประกวดแขงขันกันโดยมีเงินรางวัลเปนตัวลอในท่ีสุด

Page 6: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

Thesis Title : A Study of the Beliefs and Rite for Worshipping Phradhatu of Buddhists : A Case Study of Phradhatu Lanong in Nongkhai Province

Researcher : Phrapalad Vidya Siribhaddo (Thiangtham) Degree : Master of Arts (Buddhist Studies) Thesis Supervisory Committee : Phramaha Pramuan Thanadatto, Pali VI, B.A. (Thai), P.G. Dip. in I.P.R. (Phi.&Religion), M.A.(Ling.), M.A.(Pali&Bud.), Ph.D.(Pali&Bud.) : Phramaha Bang Khemanando, Pali V, B.A. M.A.(Phil),

M.A. (Bud), Ph.D. (Phil) : Dr. Prayoon Saengsai (Pali IV, B.A., M.A. (Ed.), P.G. Dip.

(Journalism), Ph.D.(Ed.) Date of Graduation : April 2, 2011 ABSTRACT

The main purposes of this thesis were to study a history of worshiping the great Phradhatu and Phradhatu Lanong of Buddhists in the Nongkhai province, and the beliefs and rite about Phradhatu Lanong on Buddhists in the Nongkhai province.

The result of the present study was found that Phradhatu Lanong in the Nongkhai province was a pagoda to contain the Buddha’s relics-the relics of his right foot made by five Arahants. Later, the Chaiyachettharat king established a big pagoda to cover a dhatu. Phradhatu Lanong was ruin and went down into the Khong River in 1847. Then, it was reproduced in 2004.

Buddhists in the Nongkhai province believed that Phradhatu Lanong was a pagoda to contain the real Buddha’s relics. It had auspicious power, and miracle to save believers from danger and to give them the prosperity.

The rite of worshiping Phradhatu Lanong that was practiced form generation to generation was Rocket festival, competition of a long boat and giving, Prasatphueng Remain ash

Page 7: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

Floating and Illuminated Boat Procession. This rite was derived from generation to generation till it became a tradition that was organized in every year. In the present time, there was a change of practice from worship to competition.

Page 8: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธนี้ สําเร็จลุลวงไปดวยดี ดวยความเมตตายิ่งของอาจารยท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ ไดแก พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร. ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. และ ดร.ประยูร แสงใส คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ ซ่ึงไดกรุณาใหคําแนะนําตรวจแกขอบกพรองตาง ๆ ใหสมบูรณท่ีสุด ผูวิจัยมีความซาบซ้ึงในความเมตตากรุณาของอาจารยเปนอยางยิ่ง ขออนุโมทนาและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ดวย

ผูวิจัย ขอขอบคุณคณาจารยและเจาหนาท่ี ศูนยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแกน ท่ีกรุณาใหคําแนะนํา และตรวจรูปแบบวิทยานิพนธใหถูกตองสมบูรณตามรูปแบบของงานวิจัย ขอขอบคุณเจาหนาท่ีหองสมุดวิทยาเขตขอนแกน และวิทยาเขตหนองคาย ท่ีไดใหความเอ้ือเฟอและอํานวยความสะดวกในการศึกษาคนควาขอมูล หนังสือ ตํารา วิทยานิพนธ รายงานการวิจัย และเอกสารตาง ๆ ท่ีเกี่ยวของกับงานวิจัย

ผูวิจัย ขอขอบคุณและขออนุโมทนา เจาของผลงานประพันธ ตํารา หนังสือ งานวิจัย และเอกสารท่ีเกี่ยวของ ท่ีผูวิจัยใชเปนเอกสารสําหรับอางอิง เพื่อศึกษาคนควา รวบรวมและเรียบเรียงในการเขียนวิทยานิพนธ ขอขอบคุณครูบาอาจารยทุกทาน ท่ีไดถายทอดวิชาความรูใหผูวิจัยต้ังแตอดีตถึงปจจุบัน ท่ีจะลืมมิไดขอขอบคุณพระมหาเถระและญาติโยม ท่ีกรุณาใหขอมูลท่ีเปนประโยชนตองานวิจัย

ทายท่ีสุด ผูวิจัย ขอขอบคุณพระสงฆสามเณร และญาติโยมชาวคุมวัดนาฬิกวนาวาส ท่ีใหความอุปถัมภดวยดีเสมอมา ขออนุโมทนาขอบคุณทุก ๆ ทานท่ีมีสวนและเปนกําลังใจใหผูวิจัยทําวิทยานิพนธใหสําเร็จลงได เพื่อความเจริญรุงเรืองและความม่ันของพระพุทธศาสนาสืบตอไป

พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เท่ียงธรรม) กุมภาพันธ ๒๕๕๔

Page 9: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

สารบัญ

เร่ือง หนา

บทคัดยอภาษาไทย ก บทคัดยอภาษาอังกฤษ ค กิตติกรรมประกาศ จ สารบัญ ฉ สารบัญภาพ ซ บทที่ ๑ บทนํา ๑ ๑.๑ ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ๑ ๑.๒ วัตถุประสงคของการวิจัย ๒ ๑.๓ ขอบเขตการวิจัย ๒ ๑.๔ นิยามศัพทเฉพาะทีใ่ชในการวิจัย ๓ ๑.๕ ทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยที่เก่ียวของ ๓ ๑.๖ วิธีดําเนินการวิจัย ๙ ๑.๗ ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ ๑๐

บทที่ ๒ ประวัติการสรางพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย ๑๑ ๒.๑ เมืองหลาหนอง (คาย) ๑๑

๒.๒ ประวตัพิระธาตุหลาหนอง ๑๒ ๒.๓ ความสําคัญของพระธาตุหลาหนอง ๑๘ ๒.๔ การสรางพระธาตุหลาหนองจําลอง ๒๑ บทที่ ๓ ความเช่ือ และพิธีกรรมการบูชาพระธาตุหลาหนอง ของประชาชนจังหวัดหนองคาย ๒๔ ๓.๑ ความเชื่อเก่ียวกับองคพระธาตุหลาหนอง ๒๔ ๓.๑.๑ ดานประวตัิศาสตร ๒๗ ๓.๑.๒ ดานศาสนพิธ ี ๒๙ ๓.๑.๓ ดานศิลปกรรมและสถาปตยกรรม ๓๑ ๓.๑.๔ ดานขนบธรรมเนียมประเพณี ๓๓

Page 10: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓.๑.๕ ดานบุคคลและวัตถุที่เก่ียวของ ๓๔ ๓.๑.๖ ดานจิตใจ ๓๖ ๓.๒ พิธีกรรมการบูชาองคพระธาตุหลาหนอง ๓๗ ๓.๒.๑ ประเพณีบุญบั้งไฟ ๓๘ ๓.๒.๒ พิธีบวงสรวงองคพระธาต ุ ๔๑ ๓.๒.๓ พิธีถวายปราสาทผึ้ง ๔๓ ๓.๒.๔ การแขงขนัเรือยาว ๕๐ ๓.๒.๕ พิธีการลอยอังคาร ๕๗ ๓.๒.๖ ประเพณีไหลเรือไฟ ๕๙ บทที่ ๔ สรุปผลการวิจัย และขอเสนอแนะ ๖๔ ๔.๑ สรุปผลการวิจัย ๖๔ ๔.๒ ขอเสนอแนะ ๖๖

บรรณานุกรม ๖๘ ภาคผนวก ๗๕ ก. ภาพประกอบกิจกรรมและผูใหขอมูลสัมภาษณ ๗๖ ข. คํากลาวบชูาพระธาตุหลาหนอง ๙๗ ค. หนังสือขอความรวมมือตอบแบบสัมภาษณ ๙๙

ง. แบบสัมภาษณผูใหขอมูล ๑๐๒ ประวตัิผูวิจยั ๑๐๗

Page 11: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

สารบัญภาพ

ภาพที่ หนา

๑) พระธาตุหลาหนององคเดิม ๗๗ ๒) พระธาตหุลาหนององคจริงและองคจําลอง ๗๗ ๓) พระธาตหุลาหนององคจําลอง ๗๘ ๔) พระธาตหุลาหนององคจําลอง ๗๘ ๕) พระธาตหุลาหนองในชวงฤดูแลง ๗๙ ๖) พุทธศาสนิกชนกําลังบชูาพระธาตุกลางลํานํ้าโขง ๗๙ ๗-๘) ประเพณีแขงขันเรือยาวเทศกาลออกพรรษา ๘๐ ๙) ภาพลายเสนของนายฟรองชีวการนิเยร ชาวฮอลันดา ๘๑ ๑๐) ประชาชนรวมชมการแขงขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา ๘๑ ๑๑) นําปราสาทผ้ึงไปถวายองคพระธาตหุลาหนองในเทศกาลออกพรรษา ๘๒ ๑๒) กําลังแกะลายหยวกฐานปราสาทผึ้ง ๘๒ ๑๓) พิธีบวงสรวง โดย นายทรงพล โกวทิยสิริกุล นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย ๘๓ ๑๔) พิธีบวงสรวงเพื่อขอสรางพระธาตุหลาหนองจําลอง ๘๓ ๑๕) ขบวนแหบุญบั้งไฟวัดธาตุ ในวันขึน้สิบหาค่ําเดือนหกของทุกป ๘๔ ๑๖) พิธีจุดบัง้ไฟบูชาองคพระธาตบุรเิวณทุงหนองตั๋ว ตําบลวัดธาตอํุาเภอเมือง ๘๔ ๑๗) ปราสาทผึ้งจากชุมชนตางๆ เขารวมบูชาองคพระธาตุหลาหนอง ๘๕ ๑๘) ภาพในเดือนมีนาคม มองเห็นฐานพระธาตุกลางน้ําอยางชัดเจน ๘๕ ๑๙) พิธีบวงสรวงพระธาตหุลาทอง (องคจริง) เพ่ือขออนุญาตสรางองคจําลองเม่ือ พ.ศ.๒๕๔๘ ๘๖ ๒๐) นายวงคศักด์ิ สวัสด์ิพานิช ผูวาราชการจังหวัดหนองคาย เขารวมพิธีบวงสรวงสรางพระธาตุองคจําลอง ป พ.ศ. ๒๕๔๘ ๘๖ ๒๑) เคร่ืองบวงสรวงทีใ่ชในการประกอบพิธ ี ๘๗ ๒๒) นายทรงพล โกวิทสิริกุล นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย

เปนประธานในพิธีบวงสรวง ๘๗ ๒๓) ชางกําลังทําปราสาทผึ้ง ๘๘ ๒๔) สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษ ี (คาํบอ อรุโณ) ๘๘ ๒๕) สัมภาษณ พระสุนทรธรรมดา (บุญเลิศ เขมจาโร) ๘๙ ๒๖) สัมภาษณ พระครูสุภกิจโกศล (ประมล สุภาจาโร) ๘๙

Page 12: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๗) สัมภาษณ พระครูโพธิสารกิจ (นารถ ยโสธโร) ๙๐ ๒๘) สัมภาษณ พระครูสุตรัตนาภรณ (สุดใจ วรญาโณ) ๙๐ ๒๙) สัมภาษณ สะอาด แสงรัตน ๙๑ ๓๐) สัมภาษณ สี ภาษาเวทย ๙๑ ๓๑) สัมภาษณ เวียง ศรีพล ๙๒ ๓๒) สัมภาษณ สงวน ดวงลาดนา ๙๒ ๓๓) สัมภาษณ ทัศพงษ ถิ่นชมพู ๙๓ ๓๔) สัมภาษณ สุรพงษ วิสุทธิ์ศรี ๙๓ ๓๕) สัมภาษณ เตชิต จันทรใบ ๙๔ ๓๖) สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ ๙๔ ๓๗) สัมภาษณ สมคิด ไชยวงศ ๙๕ ๓๗) สัมภาษณ เวียง ศรีพล ๙๕ ๓๙) สัมภาษณ วิเชียร แสงใสย นักวชิาการวัฒนธรรม ๙๖

Page 13: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

บทที ่๑

บทนํา

๑.๑ ความเปนมาและความสําคัญของปญหา

ประเทศไทยไดรับวัฒนธรรมมาจากพระพุทธศาสนาเปนอันมาก ทั้งทางดานคุณธรรม จริยธรรม และการดําเนินชีวิตโดยใชหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเปนที่ยึดเหน่ียวจิตใจ มีการประกอบพิธีกรรมตางๆ เพ่ือแสดงความที่ตนนั้นนับถือพระพุทธศาสนา บางที่ไดแสดงความเคารพศรัทธาศาสนาโดยสรางพระธาตุเจดีย และนําพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองคมาประดิษฐานในพระธาตุเจดียน้ัน มีการสันนิษฐานวา พระปฐมเจดียเปนพระธาตุแรกที่มีการสรางขึ้นในประเทศไทย และไดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในยุคตอมาไดมีการสรางพระธาตุขึ้นในหลายท่ี เชน พระบรมธาตุไชยา พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุพนม เปนตน และมีความเชื่อวา พระอรหันตทั้ง ๕ องคไดอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว ๖ แหง๑ คือ

๑) พระธาตุหอผา หอแพ (พระธาตุเขี้ยวฝาง ๔ องค) เมืองหาดทรายฟอง ประเทศลาว

๒) พระธาตุหลวง (พระธาตหัุวเหนา ๒๙ องค) เมืองเวียงจันทน ประเทศลาว ๓) พระธาตุพนม (พระอุรังคธาตุ : หนาอก ) จังหวัดนครพนม ๔) พระธาตุบงัพวน (พระธาตุบังคล : กระเพาะอาหาร) จังหวัดหนองคาย ๕) พระธาตุโพนจิกเวียงงัว (พระธาตุเขี้ยวฝาง ๓ องค) จังหวัดหนองคาย ๖) พระธาตุหลาหนอง (พระธาตุฝาเทา ๙ องค) จังหวัดหนองคาย

จังหวัดหนองคายเปนอีกสถานที่หน่ึงที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเปนอัน

มาก และมีปูชนียสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเปนที่เคารพศรัทธา เปนเคร่ืองยึดเหนี่ยว

๑ พระธรรมราชานุวัตร (แกว อุทุมมาลา), อุรังคนิทาน, พิมพครั้งท่ี ๑๐, (กรุงเทพมหานคร : นีลนาราการพิมพ, ๒๕๓๐), หนา ๙๔.

Page 14: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

จิตใจของชาวหนองคาย หลายแหง เชน พระธาตุบังพวน พระธาตุหลาหนองหรือพระธาตุกลางนํ้าและพระธาตุโพนจิกเวียงงัว เปนตน๒

พระธาตุหลาหนองหรือพระธาตุกลางนํ้า สันนิษฐานวา สรางขึ้นเม่ือป พ.ศ. ๘ และถูกแม นํ้าโขงกัดเซาะพังทลายลงเม่ือตอนเย็นวันศุกร ขึ้น ๙ ค่ํา เดือน ๙ ปมะเมีย พุทธศักราช ๒๓๙๐ จุลศักราช ๑๒๐๙๓ และพระธาตุหลาหนองเปนพระเจดียที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยูบนบกดานใตตัวเมือง บริเวณตําบลพระธาตุ อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีเน้ือที่มากกวารอยไร ถือเปนพระธาตุที่สําคัญและ เปนที่เคารพสักการะของประชาชนจังหวัดหนองคายและประชาชนจังหวัดใกลเคียง รวมถึงประเทศเพื่อนบาน จึงไดมีการจัดประเพณีปฏิบัติตอองคพระธาตุเจดียสืบทอดกันมา ประกอบดวยประเพณีบุญบั้งไฟ พิธีบวงสรวงองคพระธาตุ พิธีถวายปราสาทผึ้ง การแขงขันเรือยาว การลอยอังคารและการไหลเรือไฟ แตเพราะเหตุที่ไมสามารถนําพระธาตุองคเดิมขึ้นมาได และพระธาตุองคเดิมทําการสักการะไดยาก ประชาชนในจังหวัดหนองคายจึงไดมีการสรางพระธาตุจําลองขึ้นดวยแรงศรัทธาและเพื่อความสะดวกในการสักการะของประชาชน

ดังน้ัน ผูวิจัย จึงมีความสนใจที่จะศึกษาประวัติความเปนมา ความเชื่อ พิธีกรรมในองคพระธาตุหลาหนอง อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ที่มีตอประชาชนจังหวัดหนองคาย เพ่ือประโยชนตอการศึกษาและการปฏิบัติตอพระบรมสารีริกธาตุใหถูกตองสืบตอไป

๑.๒ วัตถุประสงคของการวิจัย

๑.๒.๑ เพ่ือศึกษาประวัติความเปนมาเก่ียวกับพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย

๑.๒.๒ เพ่ือศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย

๑.๓ ขอบเขตการวิจัย

ในการศึกษาวิจัยในครั้งน้ี เปนการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) มุงศึกษาประวัติความเปนมาเกี่ยวกับพระธาตุหลาหนอง ความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย และศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field Research) โดย

๒ สํานักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหนองคาย, โครงการกอสรางพระธาตุหลาหนอง, (หนองคาย: โรงพิมพมิตรไทย, ม.ป.ป.), หนา ๑. ๓ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๘๐.

Page 15: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

การสัมภาษณเก่ียวกับประวัติ ความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับองคพระธาตุหลาหนอง จากพระมหาเถระ พระเถระและปราชญในพ้ืนที่ชุมชนเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จํานวน ๒๔ รูป/คน

๑.๔ นิยามศพัทเฉพาะท่ีใชในการวิจัย

ความเชื่อ หมายถึง สิ่งที่ประชาชนจังหวดัหนองคายใหความศรัทธาเลื่อมใสตอองคพระธาตุหลาหนอง

พิธีกรรม หมายถึง พิธีกรรมอันเก่ียวกับการบูชาองคพระธาตุหลาหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย

พระธาตุหลาหนอง คือ พระธาตุที่ถูกนํ้าเซาะและพังทลายอยูในกลางแมนํ้าโขง ใกลกับเทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

พระธาตุหลาหนองจําลอง คือ พระธาตุที่ประชาชนจังหวัดหนองคายสรางขึ้นเพ่ือสักการะบูชา

๑.๕ ทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยทีเ่ก่ียวของ การทบทวนเอกสารและงานวิจัย ที่เก่ียวของกับความเชื่อเรื่องพระธาตุ ผูวิจัยได

รวบรวมขอมูลที่เก่ียวของมาสรุปโดยแบงออกเปน ๒ กลุม ไวดังน้ี ๑.๕.๑ ตําราและเอกสารที่เก่ียวของ พระคัมภีรถูปวงศ ตํานานวาดวยการสรางพระสถูปเจดีย กลาวถึงพระเจาอโศก

มหาราชสรางพระสถูป ๘๔,๐๐๐ องค๔ วา วันหน่ึง พระเจาอโศกมหาราชประทับยืนอยูที่ชองพระแกล ไดทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณรผูไดรับการฝกหัดอบรมมาดีแลว มีอากัปกิริยาเรียบรอย มีความสงบเสงี่ยมทุกอิริยาบถ เดินมาถึงหนาพระลานหลวง ทรงมีพระหฤทัยเลื่อมใสและโปรดปรานนิโครธสามเณร นิมนตเขาวัง ถวายภัตตาหาร และสนทนาธรรมดวย และใหสามเณรนิมนตพระภิกษุมาฉันภัตตาหารทุกวันเพ่ิมขึ้นถึงวันละ ๖ หม่ืนองค ตอมาไดสรางวิหารถึง ๘ หม่ืน ๔ พัน กับพระเจดีย ถึง ๘ หม่ืน ๔ พันองค ใน ๘ หม่ืน ๔ พันเมือง ทั่วชมพูทวีป โดยชอบธรรมฝายเดียว หาไดสรงสรางโดยมิชอบธรรมไม

๔ พระคัมภีรถูปวงศ ตํานานวาดวยการสรางพระสถูปเจดีย, มปท, มปป.

Page 16: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

พระธรรมราชานุวัตร (แกว อุทุมมาลา ป.ธ. ๖) ไดกลาวไวในอุรังคนิทาน ตํานานพระธาตุพนม (พิสดาร)๕ วาราชวงศลานชางอุปถัมภการปฏิสังขรณคร้ังที่ ๒ และปฏิสังขรณคร้ังที่ ๓ พระธาตุหนองคายพังลงแมนํ้าโขง

พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต) กลาวถึงพระอรหันต ๕ องค นําพระบรมสารีริกธาตุมาสรางไวที่พระธาตุเมืองหนองคาย๖ วาในการบรรจุประดิษฐานพระธาตุหัวเหนา ๒๗ องคน้ัน มาพิจารณาดูคงจะแบงพระธาตุหัวเหนาออกไปสองสวนเหมือนกันกับพระธาตุแขวฝาง แบงเปนสองสวน พระธาตุหัวเหนาถาจะแบงคงไดดังน้ี พระธาตุแขวฝาง เวียงงัว พระโค ๓ องค หอแพ ๔ องค รวมเปน ๗ องค พระธาตุฝาพระบาทกํ้าขวาไมไดแบงบรรจุไวที่พระธาตุหนองคายทั้งหมด ๙ องค และพระธาตุหัวเหนา แบงตามตํานานเวียงจันทน ไดดังนี้ พระธาตุหลวง ๑๔ องค พระธาตุบังโพน ๑๓ องค ถาแบงตามตํานานพระธาตุพนม ดังนี้ พระธาตุหลวง ๑๕ องค พระธาตุบังโพน ๑๔ องค เพราะตํานานทั้งสองยังขัดแยงกันอยู

พระราชปรีชาญาณมุนี (นวน เขมจารี ป.ธ. ๖) กลาวถึงพระธาตุหลาหนอง๗ วา พระมหาธาตุ (เจดีย) ที่ปรากฏประดิษฐานอยู ณ ทามกลางแมนํ้าโขง เคยเปนปูชนียสถานของวัดมหาธาตุ ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย บัดน้ีพังไปอยูกลางแมนํ้าโขงแลว พระมหาธาตุน้ัน ยังคงปรากฏตั้งมุมฐานที่กอดวยดินอิฐแบบลายสอง สูงพนผิวนํ้าในหนาแลงประมาณ ๓ เมตร โดยทอดปลายนอนไปตามทิศใตของแมนํ้าโขง (แตเปนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทิศตะวันออก) มีประเพณีการสักการะบูชาดวยปราสาทผึ้ง และแขงขันเรือยาวถวาย

สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงคราชานุภาพ๘ ไดกลาวไวในตํานานพระพุทธเจดียวา อันพระสถูป (ซ่ึงเรามักเรียกกันแตวา “พระเจดีย” เชนที่ชอบสรางตามวัด) น้ันมีประเพณีสรางสําหรับบรรจุอัฐิธาตุมาแตกอนพุทธกาล ไมเฉพาะแตสําหรับบรรจุอัฐิธาตุของพระเจาจักรพรรด์ิเทาน้ัน สถูปที่สรางบรรจุอัฐิธาตุบุคคลอ่ืน ๆ ก็มีดังปรากฏในคัมภีรอรรถกถา ธรรมบท วาพระพาหิยะเปนพุทธสาวก ถูกโคชนถึงมรณภาพ พระพุทธองคโปรดใหสรางสถูปบรรจุอัฐิธาตุไวมีเปนตัวอยาง ถาวาตามโบราณวัตถุที่ตรวจพบในอินเดีย ถึงพวกที่ถือศาสนาอ่ืนเชน พวกเดียรถียนิครนถ ก็สรางสถูปบรรจุอัฐิธาตุของศาสดาจารยเปนทํานอง

๕ พระธรรมราชานุวัตร (แกว อุทุมมาลา), อุรังคนิทาน. พิมพครั้งท่ี ๑๐(กรุงเทพมหานคร : นีล

นาราการพิมพ, ๒๕๓๐) ๖ พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต) , ครบรอบ ๙๐ ปของพระธรรมไตรโลกาจารย. (หนองคาย : โรงพิมพมิตรไทย, ๒๕๓๙).

๗ พระราชปรีชาญาณมุนี (นวน เขมจารี), สมณศักดิ์กอนมรณภาพเปน พระธรรมปริยัติมุนี. ประวัติพระมหาธาตุ (เจดีย) กลางนํ้า อําเภอเมืองหนองคาย. (หนองคาย : โรงพิมพมิตรไทย, ๒๕๔๒).

๘ สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธเจดีย. ( ธนบุรี :โรงพิมพรุงวัฒนา, ๒๕๑๓), หนา ๖.

Page 17: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

เดียวกัน พิเคราะหดูตามลักษณะพระสถูปที่สรางตั้งแตโบราณ เห็นวาสถูปชั้นเดิมที่เดียวก็จะเปนแตพูนดินขึ้นเปนโคกตรงที่ฝงอัฐิธาตุ อยางที่เรากอพระทราย

ศ.ธรรมรัตน๙ ไดกลาวไววา พระธาตุ หมายถึง พระอัฐิของพระพุทธเจาพระปจเจก

พุทธเจา และพระอรหันต ซ่ึงหากเปนอัฐิของพระพุทธเจา จะเรียกวา พระบรมสารีหรือพระบรมธาตุ แตถาเปนอัฐิของพระอรหันตจะเรียกวาพระธาตุ แตโดยทั่วไปแลวจะเรียกโดยรวมวาพระธาตุ แตสําหรับคําวา พระธาตุ ในที่น้ี จะมีความหมายถึงสวนสําคัญของพระสถูป หรือพระปรางคที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุไวภายในที่เรียกวา พระธาตุเจดีย โดยพระธาตุเจดียแตละแหงจะมีตํานานเลาขานถึงมูลเหตุการณสรางซ่ึงสัมพันธกับการเสด็จโปรดสัตวของพระพุทธเจาในดินแดนตาง ๆ และมีขอสังเกตวา สถานที่ใดที่มีการสรางพระบรมธาตุเจดียก็มักจะกลายเปนเมืองสําคัญในเวลาตอมา

น. ณ ปากนํ้า๑๐ ไดกลาวไววา สถูป มาจากคําบาลีวา ถูปะ คือมูลดินเปนกอง นาจะเกิดจากการเผาศพแลวรวบรวมเถาถานเปนกองไวแลวเอาดินเอาหินมาทับไวเปนเนินสูงเปนเครื่องหมายใหเห็นชัด เดิมสมัยกอนน้ันการกอมูลดิน สูงเปนประเพณีที่นิยมมานาน ลวงมาสมัยพุทธกาลก็ยังคงนิยมสืบตอกัน โดยสรางสถูปสําหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอังคารของพระพุทธองค

ปญญา เทพสิงห๑๑ ไดกลาวไววา สถูปมีชื่อเรียกอีกอยางวา “เจดีย” ทั้งสถูปและเจดียหากมองในแงรูปแบบโครงสรางไมแตกตางกัน แตหากมองในแงความหมายจะตางกัน ความหมายเดิมของสถูปน้ันเปนสถานที่สรางขึ้นเพ่ือบรรจุกระดูกหรืออัฐิของผูลวงลับไปแลวเพื่อใหผูเคารพนับถือไดสักการบูชา ดังเชนเม่ือคร้ังพระพุทธเจาปรินิพพาน มีกษัตริยเมืองตาง ๆ เขารวมพิธีถวายพระเพลิงและขอรับพระบรมสารีริกธาตุ (อัฐิ) ไปสักการบูชาประจําเมือง จึงไดสรางสถูปไวสําหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สวนเจดียหรือไจติยะ หมายถึง สิ่งที่สรางขึ้นเพ่ือระลึกถึงหรือเพ่ือเคารพบูชา

๙ ศ.ธรรมรัตน, พระบรมธาตุศักดิ์สิทธ์ิ. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมิตรสัมพันธกราฟฟค

,๒๕๕๑), หนา ๑๓-๑๕. ๑๐ น. ณ ปากน้ํา, สยามศิลปะ จิตรกรรมและสถูปเจดีย. (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพเมือง

โบราณ, ๒๕๓๘), หนา ๒๐๓. ๑๑ ปญญา เทพสิงห, ศิลปะเอเชีย. (กรุงเทพมหานคร : บรษัทแอคทีฟ พริ้นท จํากัด, ๒๕๔๘),

หนา ๒๕.

Page 18: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

ปลาย บูรพาทิศ๑๒ ไดกลาวไววา พระบรมธาตุเจดีย คือ เจดียที่สรางขึ้นเพ่ือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสวนตาง ๆ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา พระบรมสารีริกธาตุน้ีใน ตํานานมูลศาสนาซึ่งพระเถระชาวลานนาไดรจนาไวแตโบราณกลาววา “กูน้ีจักหนานิพพานแลว ศาสนากูบกวางขวางนัก เหตุธาตุกูทั้ง ๗ ประการ คือวา กระดูกหนาผาก เขี้ยวทั้ง ๔ และกระดูกดานมีด ๒ อันนี้ อยาใหแตกใหยอมเถิด ธาตุอันกวางน้ีจงแตกจงยอยเทาเม็ดถั่วถิม (ถั่วเขียว) เทาเม็ดขาวสารหักก่ิง เทาเม็ดพรรณผักกาด เพ่ือใหคนทั้งหลายฝูงอันประกอบดวยศรัทธา เอาไป อุปฏฐากบูชาในที่อยูแหงตนเพื่อเปนเหตุใหไดถึงสุคติแกเขาเถิด”

พระมหาสมชาย ธีรปภาโส (บุญเกลี้ยง) ไดศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเชื่อเรื่องพระบรมสารีริกธาตุในสังคมไทย”๑๓ ผลการวิจัยสรุปไดวา พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อวาพระบรมสารีริกธาตุสูงยิ่ง และเชื่อม่ันในอานุภาพของพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยูในพระสถูปเจดีย ผู มีพระบรมสารี ริกธาตุไวสักการบูชาจะมีความสุขความเจริญในชีวิต ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงพยายามปฏิบัติตนใหบริสุทธิ์เพ่ือบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เพราะเช่ือวาพระบรมสารีริกธาตุเปนสิ่งแทนองคพระพุทธเจา

พระมหามนตรี วลฺลโภ (ปอมสุข) ไดศึกษาวิจัยเรื่อง “อิทธิพลของวัตถุมงคลที่มีตอสังคมไทยในปจจุบัน”๑๔ ผลจากการวิจัยสรุปไดวา “ทัศนคติและความเชื่อในสังคมไทย มีความเช่ือเรื่องวัตถุมงคล เชื่อในอานุภาพของวัตถุมงคลที่ไดรับการปลุกเสก และเชื่อวาวัตถุมงคลเปนเรื่องของพระพุทธศาสนา จึงไดยอมรับและศรัทธาตอวัตถุมงคลอยางสนิทใจ ทั้งยังทําใหเกิดความเชื่อตอความขลังและศักด์ิสิทธิ์ ในดานพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ตอวัตถุมงคลวาจะชวยคุมครองใหรอดปลอดภัย

พระมหาสมจินต สมฺมาปฺโญ ไดศึกษาเรื่อง พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุกับคนไทย๑๕'ไดกลาวไววา คําวา "พระธาตุ" มีความหมายเหมือนกับคําวา "ธาตุ" แตมีขอพิเศษออกไปก็คือเปนสวนตางๆ ของรางกายคนที่บรรลุธรรม มีจิตใจบริสุทธิ์ หมดกิเลสเปนพระ

๑๒ ปลาย บูรพาทิศ, พระบรมธาตุและวัตถุมงคล. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมิตรสัมพันธ, ๒๕๕๑), คํานํา.

๑๓ พระมหาสมชาย ธีรปภาโส (บุญเกล้ียง), “การศึกษาเชิงวิเคราะหความเชื่อเรื่องพระบรมสารีริกธาตุในสังคมไทย”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖) บทคัดยอ.

๑๔ พระมหามนตรี วลฺลโภ (ปอมสุข), อิทธิพลของวัตถุมงคลท่ีมีตอสังคมไทยในปจจุบัน. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), บทคัดยอ.

๑๕ พระมหาสมจินต สมฺมาปฺโญ, พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุกับคนไทย. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗), บทคัดยอ.

Page 19: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

อรหันตซ่ึงเหลือจากการถูกเผา บางทีเรียกวา "พระอรหันตธาตุ"พระสาวก สาวิกาของพระพุทธเจา (หมายรวมถึงพระปจเจกพุทธเจา และอุบาสก อุบาสิกาผูเปนอรหันตดวย) คําวา "พระบรมสารีริกธาตุ" หมายถึงกระดูกของพระพุทธเจา(พระสัมมาสัมพุทธเจา) เผาชนทั้งหลายในอดีตถือวา กระดูกคนเปนสิ่งศักด์ิสิทธิ์ ประเพณีนิยมในพระพุทธศาสนาไมวาจะในยุคของพระพุทธเจาองคไหน นับตั้งแตพระพุทธเจาพระนามวาทีปงกรมาจนถึงพระพุทธเจาพระนามวาโคดม การเก็บกระดูกไวบูชาสักการะปรากฏใหเห็นอยูทั่วไป

พระมหาประสพฤกษ จารุวาโท (รัตนยงค) ไดศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะหแนวความคิดเร่ืองการบูชาในพระพุทธศาสนา”๑๖ เกิดผลจากการศึกษา ไดขอสรุปวา “การบูชาเปนหลักธรรมสําคัญประการหนึ่ง ที่พระพุทธเจาตรัสวา เปนมงคลอันสูงสุด พ้ืนฐานของการบูชา เกิดจากมนุษยเห็นปรากฏการณทางธรรมชาติ เชื่อวาเปนอํานาจของสิ่งที่มองไมเห็น จึงเกิดกลัวภัย หวังความปลอดภัยในชีวิตจึงทําการออนวอนบูชา แตคําวาศรัทธา คือความเชื่อ ความเลื่อมใส เปนอีกสาเหตุหน่ึงที่ทําใหมีการบูชา แตความเชื่อ ความเลื่อมใสน้ันตองอาศัยปญญาเปนเคร่ืองกํากับ

พระชุติพนธ อานนฺโท (นามสมุทร) ทําการศึกษาเรื่อง อิทธิพลของเจดียในพระพุทธศาสนาที่มีผลตอสังคมไทย๑๗ พบวา การสรางเจดียน้ัน ไดวิวัฒนาการมาจากการจัดศพของผูตาย ซ่ึงเดิมมีการฝงอยางเดียว สวนการเผานั้นเพ่ิงจะมีขึ้นภายหลังเม่ือมนุษยมีความเชื่อวาคนที่ตายไปแลวจะไมกลับฟนคืนชีพขึ้น จึงไดมีการเผาศพขึ้น แตก็ยังเก็บเถาถานและอัฐิบรรจุไวในเนินดินหรือในเจดีย เพ่ือการสักการบูชา หรือเพ่ือเปนอนุสาวรียเตือนใจแกผูที่ยังมีชีวิตอยู การสรางพระเจดียในพระพุทธศาสนามีลักษณะใหญ ๒ แบบ คือ(๑) แบบทรงโองคว่ํา มีแตรปกอยูบนยอด (๒) แบบสี่เหลี่ยม ซ่ึงมีลักษณะคลายเทวาลัยในศาสนาฮินดู

ประเสริฐ จันทนหอม ไดศึกษาเรื่อง วิวัฒนาการเจดียประธานสมัยสุโขทัย๑๘ พบวา กระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และศาสนา มีผลกระทบตอรูปแบบของเจดีย โดยเฉพาะกระแสแนวคิดของการเผยแพรศาสนาในแตละยุค และหลักธรรมที่ชนชั้นปกครองมา

๑๖ พระมหาประสพฤกษ จารุวาโท (รัตนยงค), การศึกษาเชิงวิเคราะหแนวความคิดเรื่องการบูชาใน

พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐), บทคัดยอ.

๑๗ พระชุติพนธ อานนฺโท (นามสมุทร), อิทธิพลของเจดียในพระพุทธศาสนาท่ีมีผลตอสังคมไทย. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒),บทคัดยอ.

๑๘ ประเสริฐ จันทนหอม, วิวัฒนาการเจดียประธานสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธสถาปตยกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐), บทคัดยอ.

Page 20: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

เผยแพรในสังคม อันแสดงถึงความตองการในเชิงศีลธรรมและคุณธรรมในแตละยุคสมัย ของสังคมชาวสุโขทัย มีผลกระทบตอการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเจดียมาโดยตลอด พระสถูปเจดียสมัยสุโขทัยสรางขึ้นมีตนกําเนิดแนวคิดมาจากคัมภีรอรรถกถาที่แตงในลังกาและพุกาม คือ"คัมภีรไตรภูมิพระรวง" ที่เรียบเรียงขึ้นโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย พระสถูปเจดียสมัยสุโขทัยเปนภาพจําลองของจักรวาลวิทยา ในทรรศนะของชาวสุโขทัย ดวยกลวิธีทางสถาปตยกรรม ผานระเบียบแนวความคิด ระบบสัญลักษณและแบบแผนพิธีกรรม เพ่ือปลูกจิตสํานึกรูทางปญญาของผูพบเห็นใหระลึกถึงคําสอน หรือหลักธรรมที่เปนรากฐานและเปนที่นิยมของสังคม

สุพจน ทองเนื้อขาว ไดศึกษาถึงความเชื่อเก่ียวกับพระธาตุขามแกน ตําบลบานขาม อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแกน๑๙ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบวา ประเพณีและพิธีกรรมที่เก่ียวกับพระธาตุขามแกน มี ๓ แบบคือ ประเพณีพิธีกกรมประชําป ประเพณีพิธีกรรมสวนบุคคลและประเพณีพิธีกรรมสวนรวม ซ่ึงประเพณีพิธีกรรมทั้ง ๓ แบบน้ี เปนความเชื่อเก่ียวกับพระพุทธศาสนา เก่ียวกับความเชื่อพ้ืนบาน ซ่ึงเปนลัทธิพราหมณและฮีต ๑๒ เปนสําคัญ การทําบุญในฮีต ๑๒ น้ันเปนงานบุญเก่ียวเน่ืองจากพระพุทธศาสนา สวนพิธีกรรมพ้ืนบานเก่ียวเนื่องกับลัทธิพราหมณ คือ พิธีการถวายสักการะแดองคพระธาตุ เพราะเชื่อวามีดวงวิญญาณที่ศักด์ิสิทธิ์สิงสถิตอยู

พิบูลย ลิ้มพานิชย๒๐ ไดกลาไววา สถูปกับเจดียมีความหมายแตกตางกันคือสถูปหมายถึง เฉพาะสิ่งกอสรางในทางสถาปตยกรรม แตเจดียน้ันมีความหมายกวางกวาสถูป คือไมไดหมายถึงเฉพาะสิ่งกอสรางในทางสถาปตยกรรมเทาน้ัน แตคําวา เจดีย ยังมีความหมาย รวมถึงวัตถุสิ่งของตาง ๆ ที่ควรแกการสักการบูชาทุกอยาง เชน พระพุทธรูป วิหาร ตนโพธิ์ เปนตน สวนเจดีย ที่มีความหมายตรงกับสถูป ก็คือ เจดียประเภทธาตุเจดีย ซ่ึงมีลักษณะเปนสิ่งกอสรางในทางสถาปตยกรรมเหมือนกับสถูป ดังนั้น สถูปก็แบบเจดียที่เปนธาตุเจดียจึงใชเรียกแทนกันได

๑๙

สุพจน ทองเน้ือขาว, ความเชื่อเก่ียวกับพระธาตุขามแกน ตําบลบานขาม อําเภอนํ้าพอง จังหวัดขอนแกน. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๔๑), บทคัดยอ.

๒๐ พิบูลย ล้ิมพานิชย, อิทธิพลของพระพุทธศาสนาท่ีมีตอการสรางเจดียในสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธพุทธศาตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙), หนา๑๑.

Page 21: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

เชฏฐะ ถิรทินรัตน ไดศึกษาถึงพระบรมสารีริกธาตุมหาสถาน๒๑ พบวา พระบรมสารีริกธาตุที่มีผลตอวัฒนธรรมของพุทธศาสนิกชนชาวไทยอยางมาก โดยมีประวัติศาสตรสืบทอดมาอยางยาวนาน ตั้งแตคร้ังการเขามาของพุทธศาสนาจากชมพูทวีปสูดินแดนสยามประเทศ ที่รูจักกันในสมัยน้ันวา “สุวรรณภูมิประเทศ” และเราชาวพุทธก็ยึดถือปฏิบัติตอพระบรมสารีริกธาตุอยางดีเสมอมา ปรากฏเปนหลักฐานทั้งเอกสาร และโบราณวัตถุ-สถานมากมายที่ยังคงหลงเหลือรองรอยแหงความรุงเรืองของพุทธศาสนา นอกจากน้ีชาวพุทธยังไดถือเปนประเพณีปฏิบัติสืบมาอยางตอเน่ือง ทั้งน้ีเน่ืองจากความเชื่อที่วาการไดบูชาพระบรมสารีริกธาตุเปรียบไดกับการไดเขาเฝาพระพุทธเจาตอหนาพระพักตรน่ันเอง

ณัฏฐ เชาวนพูนผล ไดศึกษาถึงพฤติกรรมผูบริโภคในการเชาบูชาพระธาตุจําลอง 12 ปนักษัตรในเขตอําเภอเมืองเชียงใหม จังหวัดเชียงใหม๒๒ พบวา ปจจัยที่มีอิทธิพลตอการตัดสินใจเชาบูชาพระธาตุมากที่สุดคือ ปจจัยดานความเลื่อมใสและศรัทธาในองคพระธาตุ รองลงมาคือ ปจจัยดานความนาเชื่อถือของผูจัดทําและปจจัยดานความหลากหลายขององคพระธาตุ ตามลําดับ เม่ือพิจารณาปจจัยดังกลาวขางตน จําแนกตามเพศ อายุ และอาชีพแลวพบวา กลุมตัวอยางมีความคิดเห็นไมแตกตางกันกลาวคือ ปจจัยที่มีอิทธิพลตอการตัดสินใจเชาบูชาพระธาตุมากที่สุดคือ ปจจัยดานความเลื่อมใสและศรัทธาในองคพระธาตุ

๑.๖ วิธีดําเนินการวิจัย

วิธีดําเนินการวิจัย มีดังน้ี

๑.๖.๑ ขอมูลปฐมภูมิ (Primary Source) เปนการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) เปนการศึกษาขอมูลเชิง

จริยธรรมซึ่งมีปรากฏเปนขอมูลปฐมภูมิ คือ อุรังคนิทาน

๒๑ เชฏฐะ ถิรทินรัตน, พระบรมสารีริกธาตุมหาสถาน. วิทยานิพนธสถาปตยกรรมศาสตร

มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐), หนา ๑๔๗. ๒๒ ณัฏฐ เชาวนพูนผล, พฤติกรรมผูบริโภคในการเชาบูชาพระธาตุจําลอง 12 ปนักษัตรในเขตอําเภอ

เมืองเชียงใหม จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม, ๒๕๕๑), บทคัดยอ.

Page 22: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐

๑.๖.๒ ขอมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ไดแกแหลงขอมูล หนังสือ ตํารา เอกสาร ที่มีผูประพันธเก่ียวกับประวัติของพระธาตุ

เว็บไซด ตลอดจนงานวิจัยตาง ๆ ที่เก่ียวของและจําเปนตอการวิจัย ๑) การศึกษาภาคสนาม เปนการศึกษาจากการสังเกต การสัมภาษณบุคคลที่

เก่ียวของ คือกลุมเปาหมาย เก่ียวกับประวัติความเปนมาของการสรางและการบูชาพระธาตุหลาหนอง และกลุมตัวอยาง เก่ียวกับความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับพระธาตุหลาหนอง ทําการวิเคราะหขอมูล และสรุปขอมูลตามหลักวิชาการ โดยใชแบบสัมภาษณที่ผูวิ จัยสรางขึ้น สัมภาษณในเชิงลึก แลวนํามาวิเคราะหและสรุปผล รวบรวมนําเสนอผลการวิจัย

๒) เคร่ืองมือที่ใชในการวิจัย แนวทางการสัมภาษณในครั้งน้ี ผูวิจัยไดใชแบบสัมภาษณเปนเคร่ืองมือในการเก็บขอมูล โดยใหผูเชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหาและภาษากอนนําไปใชสัมภาษณประชากรกลุมเปาหมาย มีการจดบันทึก ใชเคร่ืองบันทึกเสียงประกอบการสัมภาษณ กลองถายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เปนเคร่ืองมือ

๓) การวิเคราะหขอมูล ไดนําผลท่ีไดจากการสัมภาษณจากการบันทึกเทปและถอดเทปที่บันทึกเสียงไว รวมทั้งเอกสารตําราท่ีเก่ียวของ นํามาเรียงลําดับและแยกแยะขอมูล วิเคราะหขอมูลที่ไดมา เรียบเรยีงผลการศึกษา นํามาสรุปการวิจัย และจัดทําขอเสนอแนะ

๑.๗ ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ

๑.๗.๑ ทําใหทราบประวัติความเปนมาเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย

๑.๗.๒ ทําใหทราบถึงความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองท่ีมีตอประชาชนจังหวัดหนองคาย

Page 23: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

บทที่ ๒

ประวัติการสรางพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย

พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยมีความผูกพันกับองคพระธาตุ ซ่ึงมีความสัมพันธทางสังคมและวัฒนธรรม องคพระธาตุเปนศูนยรวมจิตใจของประชาชนทุกภูมิภาคในประเทศไทย ถือวาเปนสัญลักษณแทนองคพระพุทธเจา อันเปนศิลปกรรมที่เกิดขึ้นกอนการสรางพระพุทธรูป ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพระธาตุเจดียที่สําคัญหายแหง พระธาตุในเขตภาคอีสานโดยมากแลวไดรับอิทธิพลมาจากศิลปะของอาณาจักรลานชาง เพราะวาดินแดนภาคอีสาน หรือตะวันออกเฉียงเหนือของไทยบางสวนก็เคยอยูภายใตอิทธิพลของลานชางมากอน ถึงแมวาในปจจุบันจะมีการบูรณะซอมแซมใหม แตก็ยังพอมีเคาโครงเดิมปรากฏอยู เชน พระธาตุพนม พระธาตุศรีสองรักษ และพระธาตุขามแกน สวนจังหวัดหนองคายมีพระธาตุที่สําคัญคือ พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว และพระธาตุหลาหนอง ซ่ึงจะไดกลาวถึงประวัติและความสาํคญัของพระธาตุหลาหนองที่มีตอประชาชนจังหวัดหนองคาย ดังน้ี

๒.๑ เมืองหลาหนอง (คาย) พระพุทธศาสนาเขามาสูดินแดนประเทศไทย เม่ือประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกัน

กับประเทศลังกา ดวยการสงพระสมณทูตไปเผยแผพระพุทธศาสนาในประเทศตาง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภของพระเจาอโศกมหาราช กษัตริยอินเดีย ในขณะน้ันประเทศไทยรวมอยูในดินแดนที่เรียกวาสุวรรณภูมิ ซ่ึงมีขอบเขตกวางขวาง มีประเทศรวมกันอยูในดินแดนสวนนี้ไมนอยกวา ๗ ประเทศ ไดแก ไทย พมา ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซ่ึงสันนิษฐานวามีใจกลางอยูที่จังหวัดนครปฐมของไทย เน่ืองจากไดพบโบราณวัตถุที่สําคัญ เชนพระปฐมเจดีย และรูปธรรมจักรกวางหมอบเปนหลักฐานสําคัญ แตพมาก็สันนิษฐานวามีในกลางอยูที่เมืองสะเทิม ภาคใตของพมา พระพุทธศาสนาเขามาสูสุวรรณภูมิในยุคน้ี นําโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุงเรืองมาตามลําดับ

การตั้งถิ่นฐานในชวงพุทธศตรวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ๑ สมัยทวารวดี มีหลักฐานทางศิลปกรรมของเจนละปะปนอยูในชวงกลางสมัยทวารวดีพบอิทธิพลศิลปะขอมและลพบุรีในชวงสมัยทวารวดีปลาย (พุทธศตวรรษ ที่ ๑๖-๑๙)

๑ พินิจ จารุสมบัติ, หนองคาย, (กรุงเทพมหานคร : มังกรการพิมพ (๑๙๙๔) จํากัด, ๒๕๔๐), หนา

๑๕๓.

Page 24: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๒

(ก) เวียงคํา-เวียงคุก เวียงคุกอยูที่อําเภอเมืองติดเขตอําเภอทาบออยูตรงขามเมืองเวียงคํา (เมืองซายฟอง) ทางฝงลาว ทั้งสองเมืองน้ีนาจะเปนเมืองเดียวกัน เพราะพบหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุรวมสมัยกัน ชื่อเวียงคําปรากฏอยูในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ วา “เบื้องตะวันออกเทาฝงของเวียงจันทน-เวียงคํา เปนที่แลว”

(ข) เวียงงัว ปรากฏชื่อน้ีอยูในตํานานพระอุรังคธาตุ สันนิษฐานวาเปนพ้ืนที่ในตําบลบานฝาง อําเภอเมือง นอกจากนั้นนิทานเรื่อง ทาวบารส - นางอุสา ก็มีอยูวา เมืองของทาวบารสอยูที่เมืองปะโค เวียงคุก

(ค) เวียงนกยูง อยูติดกับหวยโมงในเขตกิ่งอําเภอโพธิ์ตาก มีเสมาหินยุคทวาราวดี อยูเปนจํานวนมาก ชื่อปากโมงหรือหวยโมง มีตามในตํานานพระอุรังคธาตุกลาววา "หม่ืนนันทอาราม มีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งอยูปากหวยนกยูง หรือปากโมงก็เรียก" อยูในเขตอําเภอรัตนวาป มีเสมาหินขนาดใหญเหลืออยูชิ้นหนึ่งชาวบานเรียกวา เจาพอเปงจาน มีอายุในสมัยทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ฐานใบเสมา มีอักษรปลลวะอินเดียจารึกไว มีรองรอยเมืองโบราณอยูทั่วบริเวณริมแมนํ้าโขง เปนแนวยาวถึง ๘๐ กิโลเมตร เม่ือขุดลงไปใตดินบริเวณนี้จะพบซากกองอิฐอยูมาก สันนิษฐานวา นาจะเปนเมืองโบราณขนาดใหญ

(ง) เมืองหลาหนอง – หนองคาย หลักฐานเกาแกที่สุดของเมืองหลาหนองคือ พระธาตุหนองคาย อายุใกลเคียงกันกับพระธาตุบังพวน ตามตํานานพระอุรังคธาตุ เมืองลาหนอง หรือเมืองหลาหนองเปนเมืองเดียวกัน ในสมัยตอมาคําวาคายนาจะมีที่มาจากคายบกหวาน อันเปนที่ตั้งของกองทัพไทย คร้ังที่ยกมาตีเมืองเวียงจันทน คายน้ีตั้งอยูบริเวณริมหนอง ซ่ึงมีตนบกหวานขึ้นอยู จึงเรียกวา คายบกหวาน และไดกลายมาเปนชื่อหนองคาย สวนองคพระธาตุหนองคาย ถูกกระแสน้ําในแมนํ้าโขงกัดเซาะตลิ่งพังทําใหจมลงไปอยูในแมนํ้าโขง

๒.๒ ประวัติพระธาตุหลาหนอง

ชาวไทยแถบลุมแมนํ้าโขง เม่ือกอนเปนอาณาเขตของแควนพวน มีเมืองจันทบุรี (เวียงจันทน) เปนศูนยกลางเรียกสิ่งกอสรางในรูปของเจดียวา ธาตุ ดังนั้น พระเจดียองคที่อยูกลางลํานํ้าโขงจึงถูกเรียกวา พระธาตุกลางนํ้า๒

ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจาเสด็จเขาสูพระปรินิพพาน มัลลกษัตริยผูครองกรุง กุสินาราไดชวยกันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแลว เจาเมืองตางๆ มีประสงคที่จะไดพระบรมสารีริกธาตุไปไวบูชา จนเกือบจะเกิดสงครามแยงชิงพระบรมธาตุขึ้น โทรณพราหมณไดฟงการทะเลาะกันของเหลากษัตริย จึงไดเขาไปหาม เพราะเหลากษัตริยลวนเปนศิษยของตน โดยกลาววา พระพุทธองคทรงเทศนาสอนใหทุกคนมีขันติธรรม เราทําการสูรบกันเพ่ือแยงชิงพระ

๒ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๘๒ – ๑๘๓.

Page 25: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๓

สารีริกธาตุของพระองคยอมไมควร เราควรที่จะแบงใหเปน ๘ สวนเทาๆ กัน เหลากษัตริยจึงใหโทรณพราหมณเปนคนแบง๓โดยไดคนละ ๒ ทะนาน สวนตนไดซอนเอาพระทักษิณฑาฒธาตุไวในผาโพกศีรษะ แตสมเด็จอมรินทราลงมาถือเอาพระทักษิณฑาฒธาตุจากผาโพกศีรษะของโทรณพราหมณไปบูชาโดยไมรูตัว ทําใหโทรณพราหมณไดเพียงทะนานทองที่ตวงพระสารีริกธาตุไปบูชา สวนกษัตริยโมริยนครมาในภายหลังจึงไดเพียงพระอังคารไปทําสักการบูชา

พ.ศ. ๒๑๘ พระเจาอโศกขึ้นครองราชยแหงแควนมคธ มีความดุรายและโหดเหี้ยมเปนอยางยิ่ง จนไดรับฉายาวา จัณฑาโศก แปลวาอโศกผูดุราย๔ ตอมาเม่ือไปรบที่แควนกาลิงคะ มีผูบาดเจ็บลมตายจํานวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบรอย จึงทรงนิมนตนิโครธสามเณรแสดงธรรมโปรด นิโครธสามเณรแสดงธรรม จึงเกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอยางแรงกลา ตอมาไดฟงพระธรรมจากพระสมุทระทรงสงกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเขาถึงพระรัตนตรัย พระองคทรงทํานุบํารุงพุทธศาสนา ทรงเปนกษัตริยพระองคแรกท่ีทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชยอยู และเลิกการแผอํานาจในการปกครอง มาใชหลักพุทธธรรมปกครอง ทรงอุปถัมภพระโมคคัลลีบุตรติสสะใหทําการสังคายนาพระไตรปฎกคร้ังที่ ๓ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร๕ ตอมาทรงโปรดเกลาใหสรางบอนํ้า ที่ พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกตนไม เ พ่ือจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะ ตามหลักพุทธธรรม ตอจากน้ันก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน ๔ แหง เปนผูแรกและทรงสถาปนาใหเปนเปนสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาตอมา และรับสั่งใหสรางสถูป ๘๔,๐๐๐ องค บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไวในที่ตางๆ ทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร๖ นับวาพระองคเปนอัครศาสนูปถัมภพระพุทธศาสนาอยางแทจริง

พระเจาอโศกมหาราชไดทรงสงสมณะทูตไปเผยแพรศาสนา โดยแบงเปน ๙ สาย สายท่ี ๘ มาเผยแพรที่สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเปนสมณะทูต และยังดินแดนตางๆ ทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ซ่ึงรวมถึงดินแดนที่เปนที่ตั้งของประเทศไทยในปจจุบัน๗ และไดมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปดวยทุกสาย ทําใหพระบรมสารีริกธาตุ

๓ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส, พระปฐมสมโพธิกถา. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเล่ียง

เชียงจงเจริญ, ๒๕๑๔), หนา ๔๑๑ – ๔๑๓. ๔ พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), จารึกอโศก. (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๔๐), หนา ๔๐. ๕ เรื่องเดียวกัน, หนา ๔๒. ๖ ทศพล จังพานิชยกุล, พระธาตุเจดียมรดกล้ําคาของเมืองไทย. (กรุงเทพมหานคร : คอมมา,

2546). หนา ๑๐. ๗ พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), เรื่องเดียวกัน, หนา ๔๓.

Page 26: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๔

กระจายไปในนานาประเทศตั้งแตบัดน้ันมา การสงพระธรรมทูตออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในสมัยพระเจาอโศกมหาราชเปนเหตุทําใหพระบรมสารีริกธาตุกระจายไปสูประเทศตางๆ๘

สาเหตุประการตอมาที่ทําใหพระบรมสารีริกธาตุกระจายไปสูประเทศตางๆ คือ พวกพอคานานาชาติของฝากของขวัญ (เคร่ืองบรรณาการ) เก่ียวกับพระพุทธศาสนาที่นิยมไปใหกันในหมูนักปกครองและพอคาวาณิชในสมัยโบราณ คือ๙

(๑) คัมภีรพระพุทธศาสนา (๒)พระพุทธรูป/พระสถูปเจดีย (๓)พระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุ และ (๔)พระธาตุเขี้ยวแกว การเขามาเผยแพรพุทธศาสนาน้ัน มีมาทั้งทางนามธรรม คือ พระธรรมคําส่ังสอน

และวัตถุธรรม คือ พระสถูปเจดีย และพระบรมสารีริกธาตุสถูปเจดียตนแบบ ที่มีหลักฐานอยูจนถึงปจจุบัน คือ สถูปที่สาญจิ๑๐ และสรางไวในพุทธศตวรรษที่ ๕ โดยตัวสถูปเปนรูปทรงกลมคลายขันตักนํ้า หรือโอคว่ําในไทยปรากฏที่วัดชัยบาดาล จังหวัดสระบุรี หรือสถูปศิลาที่จังหวัดนครปฐม สถูปทรงกลมแบบโอคว่ําที่วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย๑๑

จากการที่พระเจาอโศกไดสงพระเถระออกเผยแผพระพุทธศาสนาตามที่ตางๆ โดยพระเถระเหลาน้ันจะนําพระบรมสารีริกธาตุมาดวย จึงสันนิฐานไดวาพระบรมสารีริกธาตุเขามาสูประเทศไทยแบงตามยุคไดดังน้ี๑๒

ยุคที่ ๑ เขามาโดยการนําของพระโสณเถระ กับพระอุตตรเถระตั้งแตตนพุทธศตวรรษที่ ๔ ทางดินแดนสุวรรณภูมิ ลุมแมนํ้าเจาพระยาโดยสรางพระปฐมเจดียบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได และในพุทธศตวรรษที่ ๔ – ๖ พุทธศาสนาไดเผยแพร เขามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปจจุบัน

ยุคที่ ๒ นําเขามาราวพุทธศตวรรษที่ ๖ โดยพระมหากัสสปเถระนําเอาพระอุรังคธาตุมาบรรจุไวที่แควนโคตรบูรณ (พระธาตุพนม) นําพระบรมสารีริกธาตุบางสวนถวายแกพระเจาอชุตราช แควนโยนกทําการประดิษฐานไวที่ดอยตุง เม่ือพ.ศ. ๕๖๑ ที่จังหวัดเชียงราย ใน

๘ ทองดี หรรษคุณารมณ, พระบรมสารีริกธาตุ. (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพระบรมธาตุในพระ

สังฆราชูปถัมภ, 2546), หนา ๑๔. ๙ ณัฏฐภัทร จันทวิช. พระบรมสารีริกธาตุ. (กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2539), หนา ๗. ๑๐ สมควร พละกลา, ประวัติพระธาตุขามแกน. (ขอนแกน : ศิริชัยการพิมพ, ๒๔๙๙), หนา ๕. ๑๑ ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะหจากหลักฐานทางโบราณคดี,

(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพอักษรสมัย, 2542), หนา 156. ๑๒ กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย, อโศกมหาราช. พิมพครั้งท่ี ๒, (กรุงเทพมหานคร : ศยาม,

๒๕๒๖), หนา ๓๐.

Page 27: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๕

คราวที่พระมหากัสสปเถระเขามาน้ัน ไดมีสามเณร ๓ รูป ติดตามมาดวย คือ สามเณรพุทธรักขิต สามเณรธรรมรักขิตะ สามเณรสังฆรักขิตะ

คร้ังตอมาพระพุทธรักขิตไดรับเจามหารัตนะ กับเจาจุลรัตนะโอรสของพระเจาอินถปตถนครมาบวชศึกษาศาสนาอยูใกลเมืองจันทบุรี (เวียงจันทน)๑๓ ซ่ึงหม่ืนกลางโฮง ไดสรางวัดหอแพใหอยูพระธรรมรักขิตะรับเจามหาสุวรรณปราสาทกับเจาจุลสุวรรณปราสาทโอรสพระยาจุลมณีพรหมทัตมาบวชบําเพ็ญธรรมอยูที่เวียงงัว (วัดธาตุโพนจิกเวียงงัว ตําบลปะโค อําเภอเมือง จังหวัดหนองคายในปจจุบัน) หม่ืนกลางโฮงไดสรางวัดและวิหารถวายอีกแหงหน่ึง คือ วัดยอดแกวในตําบลเวียงคุก อําเภอเมือง จังหวัดหนองคายในปจจุบัน พระสังฆรักขิตะรับเอาเจาสังขวิชชโอรสกําพราพระยาสุริยวงศาสิทธิเดชเจาเมืองสาเกต (เมืองรอยเอ็ดประตู หรือจังหวัดรอยเอ็ดในปจจุบัน) ที่เกิดบั้งไฟระเบิดเกิดเปนหนองน้ําใหญ คือ หนองพลาญชัย เปนหนองน้ําแรก และผูคนซึ่งนําโดยเจาสังฆวิชัย อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหมที่บริเวณที่ราบลุมแมนํ้าโขง ซ่ึงเดิมมีหนองน้ําใหญและไดตั้งชื่อวา “เมืองหลาหนอง” แปลวา หนองน้ําใหมหรือสุดทาย โดยถือนิมิตหนองพลาญชัยเปนแหงแรกมาบวชในพระพุทธศาสนาบําเพ็ญธรรมอยูที่วัดพ่ีเลี้ยงนางนมสรางใหอยูจนสําเร็จเปนพระอรหันต ปจจุบัน คือ วัดธาตุในเทศบาลเมืองหนองคาย๑๔ และไดสรางพระธาตุเมืองหลาหนองขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุฝาพระบาทขวา ๙ องค ในอุโมงคหิน

คร้ันเม่ือพระภิกษุทั้ง ๕ รูป ไดบําเพ็ญเพียรจนสําเร็จเปนพระอรหันตและมีนามตามลําดับวา พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังขวิชชเถระ

พระอรหันตทั้ง ๕ รูปไดติดตามพระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต และพระสังฆรักขิตไปยังเมืองราชฤคหแลวไดนําพระบรมสารีริกธาตุกลับมายังสุวรรณภูมิดวย จํานวน ๔๕ องค โดยแยกที่ประดิษฐาน๑๕ คือ

พระธาตุหัวเหนา ๒๙ องค ประดิษฐานไวที่ภูเขาลวง ปจจุบันคือที่พระธาตุบังพวน อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

พระธาตุเขี้ยวฝาง ๗ องค ประดิษฐานที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว ๓ องค และที่พระธาตุหอผาหอแพอีก ๔ องค

พระธาตุพระบาทก้ําขวา (เบื้องขวา) อีก ๙ องค พระมหาสังขวิชชเถระไดนําไปประดิษฐานไวที่พระธาตุเมืองหลาหนองซึ่งหมายถึงพระธาตุกลางนํ้าในปจจุบัน

๑๓ ทองดี หรรษคุณารมณ, เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๗. ๑๔ พินิจ จารุสมบัติ, เรื่องเดียวกัน, หนา ๒๐๑. ๑๕ กวี ศรีสวรรค, นมัสการหลวงพอพระใส ชมพระธาตุบังพวน. ไทยรัฐ ฉบับวันท่ี ๒๓

มิถุนายน ๒๕๓๒, หนา ๗.

Page 28: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๖

คร้ันตอมา เจดียองคน้ีไดพังทลายลงในแมนํ้าโขง เน่ืองจากตลิ่งพังเพราะอยูในเขตใกลแมนํ้าทําใหเกิดการกัดเซาะ ซ่ึงปรากฏหลักฐานวา พระธาตุหลาหนองไดพังทลายลงในแมนํ้าโขง เม่ือวันขึ้น ๙ ค่ํา เดือน ๙ ปมะแม พ.ศ. ๒๓๗๐ ร.ศ. ๖๖ ค.ศ. ๑๘๔๗ โดยพังทอดองคลงตามลํานํ้าโขง ดานฐานรับการไหลปะทะของแมนํ้าโผลมุมฐาน ๑ ดาน ซ่ึงเม่ือนํ้าโขงลดระดับลงในฤดูแลงจะเห็นฐานเจดียโผลสูงประมาณ ๓ – ๔ เมตร สํานักงานโบราณคดีใตนํ้า จังหวัดจันทบุรีไดมาทําการงมสํารวจ ซ่ึงพบหลักฐานที่นาสนใจดังน้ี

พระธาตุหนองคาย หรือ พระธาตุกลางน้ํา เดิมชื่อพระธาตุหลาหนอง๑๖ เปนพระธาตุที่หักพังอยูกลางลํานํ้าโขง เปนที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝาพระบาทเกาพระองคตามตํานานอุรังคธาตุ หรือตํานานพระธาตุพนม จากการสํารวจใตนํ้าของหนวยโบราณคดีภาค ๗ พบวาองคพระธาตุมีฐานกวางดานละ ๑๗.๒ เมตร ยอมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ ๒๘.๕ เมตร หักออกเปน ๓ ทอน สันนิษฐานวานาจะสรางในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๒ เน่ืองจากมีรูปรางคลายพระธาตุบังพวน

ในหนังสืออุรังคธาตุ หรือตํานานพระธาตุพนม ตอนหนึ่งไดกลาวถึงการสรางพระธาตุหลาหนองวา พระธาตุองคน้ีสรางโดยพระอรหันต ๕ องค ประกอบดวย พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังฆวิชัยเถระ ที่ลวนเปนศิษยพระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต พระสังฆรักขิต พระอรหันตทั้ง ๓ องค

พระอรหันตทั้ง ๕ ไดอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจา จากประเทศอินเดียมาพรอมกันและไดอัญเชิญไปประดิษฐานไวพรอมกัน ๖ แหง๑๗ คือ

(๑) พระธาตุหอผาหอแพ บานทรายฟอง เมืองหาดทรายฟอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(๒) พระธาตุหัวเหนา ๒๙ องค บรรจุไวที่พระธาตุหลวงเวียงจันทน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(๓) พระอุรังคธาตุ หรือพระธาตุหนาอก บรรจุไวที่พระธาตุพนม อําเภอธาตุพนม จังหวดันครพนม

(๔) พระธาตุบังคล หรือกระเพาะอาหาร บรรจุไวที่พระธาตุบังพวน วัดพระธาตุบังพวน อําเภอเมืองหนองคาย

(๕) พระธาตุเขี้ยวฝาง ๗ องค บรรจุไวที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว อําเภอเมืองหนองคาย

๑๖ เรื่องเดียวกัน. หนา ๑๙๕. ๑๗ เรื่องเดียวกัน. หนา ๑๙๘.

Page 29: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๗

(๖) พระธาตุฝาพระบาทเบื้องขวา ๙ องค บรรจุไวที่พระธาตุเมืองลา หรือ พระธาตุหลาหนอง อําเภอเมืองหนองคาย โดยพระธาตุหลาหนองนี้ตั้งอยูกลางบริเวณวัดธาตุ หรือวัดสิริมหากัจจายน ชุมชน วัดธาตุ เทศบาลเมืองหนองคาย

เม่ือ พ.ศ. ๒๑๐๙ พระเจาไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ มหาราชแหงอาณาจักรลานชางไดสรางเจดียครอบกออิฐถือปูนฐานกวาง ๑๕.๘๐ เมตร สูง ๓๓ เมตร ศิลปะแบบลานชางตอมาแมนํ้าโขงไดไหลกัดเซาะฝงขวาถึงมหาธาตุเจดียจนทรุดเอียงในวันศุกรขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๙ พ.ศ. ๒๓๙๐ เม่ือตั้งเมืองหนองคาย พ.ศ. ๒๓๗๑ แลว ๑๙ ป และกระแสน้ําไดกัดเซาะตลิ่งพังทลายไปอีกจนหางจากฝงขวาแมนํ้าโขงประมาณ ๑๘๐ เมตร ในปจจุบัน

องคพระธาตุหลาหนองน้ีมีขนาดใกลเคียงกับองคเจดียพระธาตุพนม อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซ่ึงบริเวณวัดธาตุแหงนี้มีพ้ืนที่ไมต่ํากวา ๑๐๐ ไร และตั้งอยูริมฝงแมนํ้าโขง พอถึงฤดูนํ้าหลากแมนํ้าโขงที่ไหลเชี่ยวกรากจะกัดเซาะตลิ่งบริเวณวัดธาตุจนพังทลายหายไป ซ่ึงตามประชุมพงศาวดาร ภาค ๗๐ ไดบันทึกไววา นํ้าโขงกัดเซาะตลิ่งพังเขาไปจนถึงองคพระธาตุหลาหนอง และพระธาตุไดพังลงในแมนํ้าโขง เม่ือวันศุกร ขึ้น ๕ ค่ํา เดือน ๙ เวลาใกลค่ํา ร.ศ.๖๖ จ.ศ.๑๒๐๙ พ.ศ. ๒๓๙๐

กอนที่องคพระธาตุหลาหนองจักพังทลายลงในแมนํ้าโขงนั้น ไดมีมร.อองรี มูโอต นักสํารวจชาวฝรั่งเศส๑๘ รับงานราชภูมิศาสตรสมาคมอังกฤษที่เดินทางมาสํารวจแมนํ้าโขงและวาดภาพนครวัด นครธม ประเทศกัมพูชา เผยแพรใหชาวโลกไดรับรูน้ัน ไดมายังเมืองหนองคายเพ่ือวาดภาพพระธาตุเมืองหลาหนองที่กําลังเอียงทรุดตั้งแตป พ.ศ. ๒๓๙๐ เอาไว

จากการสํารวจของคณะสํารวจอินโดจีนในอาณาจักรลานชาง โดยนายฟรองชีวการนิเยร ชาวฮอลันดา ไดวาดภาพลายเสนขององคพระธาตุหลาหนองไว เม่ือป พ.ศ. ๒๔๑๑ พรอมบรรยายวา “ปรมิดหรือองคพระธาตุตั้งอยูบนพ้ืนที่รูปคร่ึงวงกลมที่ถูกตัดขาดจากฝงแมนํ้าดานขวาหรือฝงไทย โดยปรมิดแหงน้ีถูกนํ้าพัดขาดจากที่ตั้งเดิมบนริมฝงสิบปมาแลว และยังเอียงลงสูนํ้าราวกับเรืออัปปางที่พรอมจะจมลง”

หนวยอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดลอมและศิลปกรรมทองถิ่นจังหวัดหนองคาย (โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร) โดยอาจารยวินิจ พลพิทักษ๑๙ หัวหนาหนวยฯ อาจารยสิทธิพร ณ นครพนม กรรมการผูทรงคุณวุฒิ ไดติดตอ นายภิรมย จีนะเจริญ อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร ซ่ึงมีภริยาเปนชาวหนองคาย ใหสงนายเอิบเปรม วัชรากร หัวหนาหนวยโบราณคดีใตนํ้าและคณะมาสํารวจพระธาตุองคน้ี เม่ือเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ผลการสํารวจพบวา

๑๘ http://www.sophiaportal.com/forums/index.php?showtopic=๑๐๓,(๒๕ กันยายน ๒๕๕๓). ๑๙ สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ, หัวหนาหนวยอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติส่ิงแวดลอม และ

ศิลปกรรมทองถ่ินจังหวัดหนองคาย, ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 30: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๘

๑. องคพระธาตุ ลมตะแคงไปตามสายน้ําดานทิศตะวันออกเฉียงเหนือและแตกหักออกเปน ๓ สวน สวนแรก คือ มุมฐานที่พนผิวนํ้า และที่จมอยู ความกวางของฐานรวมกัน ๑๕.๘๐ เมตรพอดี ทั้งยังสรางดวยอิฐถือปูนทั้งองคตางกับเจดียอ่ืน ซ่ึงกออิฐถือปูนเปนกรอบแลวอัดดวยดินใหแนน

๒. สวนที่จมอยูใตนํ้าตอจากบัลลังกถึงปลายที่หักยาว ๗๓๒ เซนติเมตร มีลวดลายปูนปนประดับ คาดวาเปนเรือนธาตุสวนกลาง

๓. สวนยอดพระธาตุไมสามารถสํารวจได เพราะมีเนินทรายสูงกลบทับ เน่ืองจากการหมุนยอนวนกลับของกระแสน้ําและทราย ปะทะฐานองคพระธาตุจนทับถมเปนเนินสูงมาเปนเวลาชานาน

๒.๓ ความสําคัญของพระธาตุหลาหนอง ประชาชนจังหวัดหนองคายตั้งแตคร้ังอดีตมาจนถึงปจจุบันนั้น ตางใหความสําคัญ

ตอองคพระธาตุหลาหนองเปนอันมาก เพราะเปนเสมือนตัวแทนองคพระพุทธเจา การไดกระทําสักการบูชาองคพระธาตุหลาหนอง จึงเหมือนไดเขาเฝาพระพุทธเจาตอหนาพระพักตร แตสิ่งสําคัญเหนือกวาการนําดอกไมธูปเทียนกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ๒๐ ก็คือ การไดระลึกนึกถึงพระพุทธคุณ และพระธรรมคุณ อันจะนอมนําจิตใจของผูที่ระลึกถึงใหม่ันคงในการกระทําความดี เพ่ือถวายเปนพุทธบูชาซ่ึงหากไดระลึกถึงพุทธพจนที่วา “ผูใดแล จะเปนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม เปนผูปฏิบัติธรรมสมควรแกธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู ผูน้ันยอมชื่อวาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตดวยการบูชาอยางยอด” เห็นไดวา พระองคทรงยกยองวาการบูชาพระองคดวยการประพฤติ ปฏิบัติชอบ ดํารงตนอยูในธรรม เปนการบูชาอยางยอด เหนือกวาการบูชาดวยอามิสใดๆ ทั้งปวง”๒๑ องคพระธาตุหลาหนอง จึงมีความสําคัญตอการดํารงวิถีชีวิตของประชาชนจังหวัดหนองคาย ดังน้ี

ดานสังคม ๑. พระบรมสารีริกธาตุเปนเครื่องแสดงถึงพระกายหรือพระธรรมของพระพุทธองค

การบูชาพระบรมสารีริกธาตุจึงเปนการระลึกในพระพุทธ คุณและพระธรรมคุณอันจะยังใหคนในสังคมดํารงอยูในความดี

๒. เปนหลักใหประชาชนในจังหวัดหนองคายไดยึดถือ และเหนี่ยวนําจิตใจของคนในหลากหลายที่มาหลายวัฒนธรรมใหเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน

๒๐ ณัฏฐภัทร จันทวิช. เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๐. ๒๑ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๑.

Page 31: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๙

ดานศิลปวัฒนธรรม

๑. ชีวิตขององคพระธาตุหลาหนองขึ้นอยูกับสิ่งศักด์ิสิทธิ์ทั้งหลายท่ีบรรจุไวภายใน การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไวภายในจึงเปนการนําชีวิตมาสูอิฐดินหรือวัสดุที่มาสรางองคพระธาตุหลาหนองนั้น

๒. และเนื่องจากองคพระธาตุหลาหนองเหมือนกับสิ่งมีชีวิต ชางไทยผูสรรสรางศิลปกรรมอันเก่ียวเนื่องกับพระพุทธศาสนาจึงทุมเทท้ังแรงกายและจิตใจรังสรรคพุทธศิลปอันวิจิตรบรรจงเพื่อใหผูที่สักการะบูชาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และมีความปติที่จะยึดถือในพระธรรมของพระพุทธองค

พระธาตุหลาหนอง เปนที่เคารพสักการะของประชาชนจังหวัดหนองคาย และชาวบานไดจัดงานประเพณีเก่ียวกับพระธาตุในทุกป คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ เดือน ๖ เพ่ือจุดถวายองคพระธาตุ ในวันแรม ๑ ค่ํา เดือน ๖ พิธีบวงสรวงองคพระธาตุ วันขึ้น ๑๔ ค่ํา เดือน ๑๑ ถวายปราสาทผึ้ง วันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๑ และการแขงเรือยาว รวมถึงการไหลเรือไฟในวันออกพรรษาเปนประจําทุกป๒๒ สวนการลอยอังคารน้ันไมมีการกําหนดวาจะมีการลอยเม่ือใด การลอยอังคารน้ันจะข้ึนอยูที่ญาติของผูที่ตายแลววาจะกําหนดขึ้นวันใด แตถึงอยางไรก็ตามการลอยอังคารจะตองเวียนรอบองคพระธาตุ ๓ รอบกอนแลวจึงลอยได แตทุกอยางที่กลาวมานั้นลวนทําขึ้นเพ่ือถวายเปนพุทธบูชา ประเพณีดังกลาวน้ันจะเห็นไดวาองคพระธาตุหลาหลองมีความสําคัญเปนอยางมาก ดังปรากฏได ดังน้ี๒๓

๑. พระอรหันตทั้ง ๕ ไดอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสวนฝาพระบาทเบื้องขวา ๙ องคของพระพุทธเจาจากประเทศอินเดียมาบรรจุไวในพระธาตุหลาหนอง อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

๒. พระธาตุหลาหนองไดสรางขึ้นพรอมกันกับพระธาตุที่สําคัญ คือ พระธาตุพนม พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุหอผาหอแพ และพระธาตุหลวงเวียงจันทน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

๓. องคพระหลาหนองเปนพระมหาสถูปเจดียที่สําคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย แสดงใหเห็นถึงความเผยแผและความตั้งม่ันในพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคายแหงน้ี

๔. ในสมัยโบราณ บรรดาประชาชนในจังหวัดหนองคายและชาวสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความเชื่อถือสืบตอกันมาวา ถาใครมีโอกาสมากราบไหวพระธาตุ

๒๒ สัมภาษณ พระครูโพธิสารกิจ (นารถ ยโสธโร), เจาคณะตําบลในเมือง เขต ๓ เจาอาวาสวัด

โพธิ์ศรี, ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔. ๒๓ เรื่องเดียวกัน

Page 32: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๐

หนาหนองอันศักด์ิสิทธิ์ ทําบุญกุศล ถวายเครื่องสักการบูชา สวดมนตสาธยายคัมภีรพระธรรมและเจริญเมตตา ภาวนา จิตใจจะสงบเยือกเย็นอยางนาอัศจรรย

๕. มีปรากฏการณประหลาดในชวงวันออกพรรษาของทุกปจักมีดวงไฟลอยพุงขึ้นมาจากกลางแมนํ้าโขงบริเวณที่พระธาตุหลาหนองจมอยู รวมทั้งในบริเวณใกลเคียง ชาวบานจึงเรียกดวงไฟนี้วา บั้งไฟพญานาค เพราะทําหนาที่ดูแลรักษาพระธาตุไดทําการสักการะองคพระบรมธาตุ

๖. องคพระธาตุหลาหนอง เปนศูนยรวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะประชาชนจังหวัดหนองคาย องคพระธาตุหลาหนองน้ันถือเปนศูนยรวมกิจกรรมทุกชนิดของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไมวาจะเปนกิจกรรมที่เก่ียวกับการเมือง การปกครอง ศาสนา การศึกษา และพาณิชกรรม ก็ลวนถือเอาองคพระธาตุหลาหนองเปนศูนยกลางทั้งสิ้น

ดังน้ัน พระธาตุหลาหนองจึงถือวามีบทบาทที่สําคัญตอประชาชนที่อาศัยอยูในจังหวัดหนองคายทั้งในดานของการประพฤติปฏิบัติตามหลักประเพณีตางๆ โดยยึดองคพระธาตุเปนจุดศูนยกลาง เชน ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแขงเรือยาว การลอยอังคาร หรือแมแตการไหลเรือเปนตน ยึดองคพระธาตุเปนสําคัญ เม่ือเปนเชนนี้จึงสามารถสรุปความสําคัญขององคพระธาตุหลาหนองไดดังน้ี

๑. เปนหลักในการดําเนินชีวิต ประชาชนจังหวัดหนองคายไดยึดเอาองคพระธาตุหลาหนองน้ีเปนเครื่องยึดเหน่ียวทางจิตใจ เพราะเชื่อวาในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณน้ันไดรวมอยูในองคพระธาตุหลาหนอง ถาผูใดไดมากราบไหวและสักการบูชาอยูเปนประจําจักทําใหชีวิตมีความเจริญรุงเรือง รวมถึงเปนกําลังใจในการดําเนินชีวิต เม่ือจิตคิดในสิ่งที่ไมดีองคพระธาตุหลาหนองนี้จักเปนเคร่ืองเตือนจิตใจของผูน้ันใหละในสิ่งที่ไมดี

๒. เปนหลักประเมินคุณคาแหงความประพฤติ หมายความวา องคพระธาตุหลาหนองเปนเคร่ืองวัดคุณธรรม จริยธรรมของผูที่หม่ันการกราบไหวบูชา และประพฤติปฏิบัติตามเปนนิตย เปนแรงผลักดันใหเกิดกําลังใจ เกิดการสรางสรรค ความสามัคคี โดยมีความเชื่อม่ันในสิ่งที่ตนเองเคารพคือองคพระธาตุหลาหนอง และไมมีความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ โดยมุงปฏิบัติเพ่ือการบรรลุคุณธรรมที่ตั้งไว

Page 33: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๑

๒.๕ การสรางพระธาตุหลาหนองจําลอง จังหวัดหนองคาย เปนจังหวัดที่มีพระพุทธศาสนาเปนแบบแผนในวิถีชีวิตของ

ประชาชน จะเห็นไดจากมีพระธาตุ และพระพุทธรูปที่ประชาชนใหความเคารพนับถือมากมาย ไมวาจะเปนพระธาตุพังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุหลาหนอง หลวงพอพระใส พระเจาองคตื้อ หลวงพอพระใหญ เปนตน๒๔ สําหรับองคพระธาตุหลาหนอง มีความสําคัญทางดานประวัติศาสตรการกอตั้งเมืองหนองคาย และศูนยรวมจิตใจของประชาชนจังหวัดหนองคายเปนอยางมากจากอดีตจนถึงปจจุบัน๒๕ ทําใหจังหวัดหนองคายเปนเมืองที่มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตของประชาชนจังหวัดหนองคายจะเก่ียวเนื่องกับการทําบุญตลอด ประชาชนจังหวัดหนองคายจึงมีความรมเย็นเปนสุขใครที่มาอยูจังหวัดหนองคาย ไมปรารถนาที่จะยายไปที่อ่ืน๒๖

พระธาตุหลาหนองไดถูกสรางขึ้นโดยพระอรหันต เพ่ือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุฝาพระบาทขวา จํานวน ๙ องค ไวในอุโมงคหิน บริเวณริมฝงแมนํ้าโขง ตอมาพระเจาไชยเชษฐาธิราชท่ี ๑ แหงอาณาจักรลานชางไดสรางเจดียครอบ กระแสนํ้าไดกัดเซาะตลิ่งและไดพังทลายลง ในป พ.ศ. ๒๓๙๐ หลังจากตั้งเมืองหนองคายแลว ๑๙ ป ตอมาจังหวัดหนองคายไดสรางพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้น ในป พ.ศ. ๒๕๔๘

พระธาตุเมืองหลาหนองหรือพระธาตุกลางนํ้า (จําลอง)๒๗ แหงน้ี ไดกอสรางขึ้นเพ่ือเทิดพระเกียรติแดสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เน่ืองในวาระมิ่งมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ในปพุทธศักราช ๒๕๔๗ และเพ่ือระลึกถึงความรวมมือรวมใจของประชาชนชาวไทยและชาวลาวในอดีต ซ่ึงพระธาตุเมืองหลาหนององคจริงไดถูกกระแสนํ้ากัดเซาะตลิ่งทําใหองคพระธาตุที่ประดิษฐานอยูบนริมฝงแมนํ้าโขงเปนอันตองพังลงสูแมนํ้าโขง เม่ือประมาณป พ.ศ. ๒๓๙๐ ดังนั้น เพ่ือเปนอนุสรณใหอนุชนรุนหลังไดรําลึกถึงความสัมพันธของประชาชนสองฝงโขงที่สืบทอดมายาวนาน

องคการบริหารสวนจังหวัดหนองคายรวมมือกับเทศบาลเมืองหนองคายและประชาชนประชาชนจังหวัดหนองคายรวมทั้งผูมีจิตศรัทธา จึงไดริเร่ิมโครงการกอสรางพระธาตุเมืองหลาหนอง (จําลอง) ขึ้นพรอมกอสรางเข่ือนปองกันตลิ่ง รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศนบริเวณริมฝงแมนํ้าโขง โดยไดรับความรวมมือในการออกแบบกอสรางจากกรมโยธาธิการและผังเมือง และไดรับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมสงเสริมการปกครองสวนทองถิ่น ประกอบพิธีบวงสรวง

๒๔ สัมภาษณ สะอาด แสงรัตน, ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๕ สัมภาษณ บัวรอง วงละคร. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๖ สัมภาษณ เตชิด จันทรใบ, ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๗ สัมภาษณ ทรงพล โกวิทศิริกุล, นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย, ๑๘

ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 34: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๒

วางศิลาฤกษ เม่ือวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ พ.ศ.๒๕๔๘ และทําการประดิษฐานพระธาตุรวมทั้งสิ่งศักด์ิสิทธิ์ที่ผูมีจิตศรัทธานํามามอบให โดยไดบรรจุไวในยอดพระธาตุองคน้ี เม่ือวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กอสรางแลวเสร็จในปพุทธศักราช ๒๕๔๙๒๘

ลักษณะของพระธาตุไดจําลองแบบมาจากองคพระธาตุหลาหนององคที่ลมลงในแมนํ้าโขง โดยไดนําภาพที่นายฟรองชีวการนิเยร ชาวฮอลันดา๒๙ ไดวาดภาพลายเสนขององคพระธาตุหลาหนองไวกอนที่พระธาตุจะลมลงไป รวมถึงการนําเอาศิลปะสมัยลานชางและแบบมาจากพระธาตุบังพวนในการสราง แลวบรรจุชิ้นสวนพระธาตุองคจริงเขาไวขางใน องคพระธาตุหลาหนองมีสวนสูงตั้งแตฐานถึงปลายบัวยอดฉัตร ๑๕ เมตร สวนกวาง ๑๐ x ๑๐ เมตร พรอมทั้งการเสริมสรางเสถียรภาพตลิ่งและปองกันการกัดเซาะตลิ่งตลอดความยาว 194 เมตร และงานตกแตงปรับปรุงสภาพภูมิทัศนโดยรอบ

เน้ือที่โดยรอบองคพระธาตุหลาหนองจําลองมีประมาณ ๔ ไร ๓ งาน ๒๙ วา สาเหตุในการสรางองคพระธาตุจําลองนั้น เน่ืองจากองคพระธาตุหลาหนองนั้น เปนที่เคารพสักการะของประชาชนในเขตจังหวัดหนองคายและประเทศเพื่อนบาน เม่ือพังทรายลงไปในแมนํ้าโขง ผูที่ตองการทําการสักการะน้ันจะตองนําเรือลงไปทําสักการะในแมนํ้าโขง หรือบางคนไมสามารถที่จะลงไปสักการะท่ีพระธาตุได จึงไดนําเครื่องสักการะวางไวที่ริมตลิ่งบาง โยนลงไปในแมนํ้าโขงบาง๓๐ และในเวลาน้ําหลากไมสามารถที่จะลงไปสักการะหรือเปนการลําบากในการสักการะ เม่ือเปนเชนนี้ ประชาชนจังหวัดหนองคายและเทศบาลเมืองหนองคายจึงไดมีการสรางองคพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้น ไดนิมนตพระเกจิอาจารยชื่อดังมาทําการวางศิลาฤกษในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ พ.ศ.๒๕๔๘๓๑ และกอสรางแลวเสร็จในปพุทธศักราช ๒๕๔๙

องคพระธาตุหลาหนองจําลองนั้น จะประกอบดวยสวน ๗ สวน๓๒ และมีสวนที่สําคัญ ๓ สวน คือ ฐานสวนลางจะประดิษฐานองคพระสังกัจจายนจําลอง ซ่ึงเดิมที่องคจริงไดประดิษฐานในที่แหงน้ี เพ่ือที่จะใหผูที่มาสักการะไดกราบไหว รวมถึงบริเวณฐานดานลางน้ัน ยังสามารถประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาไดอีกมากมาย เชน การปฏิบัติธรรม การทําวัตรสวดมนต เปนตน สวนที่ ๒ ขององคพระธาตุเปนโครงเวาบริเวณสวนกลางจะเปนสถานที่เวียนเทียน ทางขึ้นองคพระธาตุชั้นที่ ๒ น้ัน จะมีบันไดขึ้นทั้ง ๔ ทิศ สวนบนยอดฉัตรจะมีลักษณะเปนรูปสามเหลี่ยมไดประดิษฐานองคพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจาไว

๒๘ สัมภาษณ ยุทธนา ศรีตะบุตร. นายกองคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย. ๑๗ มีนาคม

๒๕๕๔. ๒๙ พินิจ จารุสมบัติ, เรื่องเดียวกัน, หนา ๒๑๙. ๓๐ สัมภาษณ สาคร ปริวัติ. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. ๓๑ สัมภาษณ ทรงพล โกวิทศิริกุล, เรื่องเดียวกัน ๓๒ สัมภาษณ สุวิทย ย่ิงยง. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

Page 35: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๓

ดังน้ัน พระธาตุหลาหนองเกิดขึ้นจากพระอรหันต ๕ องคไดนําพระสารีริกธาตุของพระพุทธองคมาประดิษฐานในแถบลุมแมนํ้าโขง ตอมาพระเจาไชยเชษฐาธิราชไดบูรณะองคพระธาตุหลาหนอง ประมาณปพ.ศ. ๒๓๙๐ ไดถูกนํ้ากัดเซาะและพังทลายลงไป เชื่อวาชาวเมืองหนองคายเห็นความลําบากของผูที่มาสักการะและในเวลาน้ําหลากไมสามารถที่จะมองเห็นไดจึงไดสรางองคพระธาตุหลาหนองขึ้นในป พ.ศ. ๒๕๔๘ และสรางเสร็จในเวลาตอมา

จากการกลาวขางตนนั้น เปนการกลาวถึงประวัติความเปนมาและความสําคัญของพระธาตุหลาหนอง รวมถึงมูลเหตุในการสรางองคพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้นเพ่ือที่จะอํานวยใหประชาชนผูที่ตองการแสวงบุญไดสักการะไดงายขึ้น สวนความเชื่อและพิธีกรรมเก่ียวกับองคพระธาตุน้ันจะไดกลาวในบทตอไป

Page 36: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

บทที่ ๓

ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับพระธาตุหลาหนอง ของประชาชนจังหวัดหนองคาย

ประเพณีพิธีกรรมเปนพฤติกรรมที่แสดงออกของคนในสังคมแตละสังคม ซ่ึงคนสวนใหญใหการยอมรับ แลวนํามาเปนแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ เพ่ือกอใหเกิดผลดีตอการดําเนินชีวิต ประเพณีพิธีกรรมตองมีการส่ังสม และสืบทอดกันมาเปนเวลานาน โดยมีความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา คานิยม สภาพความเปนอยูของคนในสังคมแตละยุคแตละสมัยเปนตัวกําหนด ฉะนั้นแลวความเชื่อ ประเพณีพิธีกรรมใดๆ จะคงอยูไดตองมีการปรับเปลี่ยนไปตามเง่ือนไขของเวลาดวยเชนกัน ดังเชนพิธีกรรมในจังหวัดหนองคาย เปนตน

๓.๑ ความเชื่อเก่ียวกับองคพระธาตุหลาหนอง พระธาตุหลาหนองเปนจุดศูนยกลางหรือเปนสถาบันทางความเชื่อเก่ียวกับ

พระพุทธศาสนาถือผีอันเปนรากฐานประเพณีวัฒนธรรมด้ังเดิมของประชาชนในจังหวัดหนองคาย ดังน้ันพระธาตุหลาหนองจึงมีบทบาทอยางสําคัญในระบบสังคมของกลุมชนที่มีความนับถือและเชื่อถือในความคิดความเชื่อของผูคนโดยทั่วไป ซ่ึงเชื่อกันวาองคพระธาตุหลาหนองน้ันมีพญานาคทําหนาที่ในการเฝาคุมครองปกปกรักษา และมีการบูชาองคพระธาตุในวันออกพรรษา โดยจะปลอยลูกไฟฟุงขึ้นมาจากนํ้า โดยรูจักในนามของบั้งไฟพญานาค๑ และองคพระธาตุหลาหนองยังเปนจุดศูนยกลางและสถาบันทางความเชื่อแกประชาชนที่วา สามารถที่จะอํานวยผลใหเกิดความอุดมสมบูรณและสกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทางธรรมชาติแกประชาชนจังหวัดหนองคายได ดังน้ันวิถีชีวิตและพฤติกรรมของประชาชนโดยเฉพาะผูที่อยูในชุมชนใกลเคียงไดเคารพนับถือองคพระธาตุหลาหนอง และมีความใกลชิดเก่ียวกับองคพระธาตุหลาหนองเปนอยางยิ่ง ไมวาความอุดมสมบูรณของพืชพันธุธัญญาหาร และแมแตกิจกรรมตางๆ ทั้งในของสังคมโดยสวนรวมและกิจกรรมสวนตนยอมนึกถึงองคพระธาตุเปนสําคัญ๒ มีผูกลาววา หากประชาชนทานใดไมประพฤติปฏิบัติอยูในกรอบประเพณี โดยเฉพาะไมนับถือองคพระธาตุ

๑ สัมภาษณ พระสุนทรธรรมธาดา (บุญเลิศ เขมจาโร). รองเจาคณะจังหวัดหนองคาย. ๒๓

ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒ สัมภาษณ ทองวัน โยธวงค. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

Page 37: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๕

ดวยแลว บุคคลผูน้ันจะกลายเปนฝปอบ ซ่ึงเปนสิ่งที่สังคมไมใหการยอมรับบุคคลนั้นและบุคคลน้ันจะตองไดรับการลงโทษจากสังคมในที่สุด๓

ประชาชนจังหวัดหนองคายนอกจากจะมีความเชื่อเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองแลว ประชาชนจังหวัดหนองคายยังมีความเชื่อเก่ียวกับพระสารีริกธาตุที่บรรจุอยูในองคพระธาตุหลาหนองดวย ซ่ึงพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยูน้ันเปนพระธาตุพระบาทก้ําขวาของพระพุทธเจา ประชาชนจึงมีความศรัทธาและความเชื่อตอพระธาตุหลาหนอง และพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไวในองคพระธาตุน้ัน เพราะมีความเชื่อวา๔

๑ . ไดบูชาพระพุทธเจาโดยตรง เพราะเชื่อวาบุคคลใดมีจิตเลื่อมใสบูชาพระพุทธเจาดวยอามิสบูชา คือการบูชาดวยดอกไม ของหอม ธูป เทียน เปนตน ยอมจะไดเสวยผลทั้งในชาติน้ีและชาติหนา

การกราบไหวบูชาพระบรมสารีริกธาตุหรือในพระเจดียที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เปนพุทธานุสสติกรรมฐาน เทากับไดเขาเฝาตอพระพักตรพระพุทธเจาโดยตรง อานิสงสน้ันมีมากมายมหาศาล ทําใหจิตใจเราเบิกบาน แจมใส เปนกุศล จิตจะสะอาดผองใสขึ้นเรื่อยๆ๕ บานที่มีพระบรมสารีริกธาตุบูชาและมีการปฏิบัติบูชา อยูในศีลในธรรมเปนประจํา บนหลังคาบานจะสวางไสว มีเทพ พรหมเทวดา มารวมกราบไหวโมทนาบุญ คอยดูแลรักษาคุมครองพระบรมสารีริกธาตุและคนในบาน ใหอยูเย็นเปนสุข มีความเจริญกาวหนาทั้งในทางโลกและทางธรรม บางคนก็มีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาเพ่ิมไดอีกดวย แตถาใครมีไวไดมาแลวไมสนใจ หรือเอาไปเก็บไวในที่ต่ํา ไมสมควร ก็เสด็จหนีไปอยูกับคนอ่ืนที่เคารพนับถือกราบไหวศรัทธาทานไดเชนกัน๖

๒. ไดสืบตออายุพระพุทธศาสนา เพราะชาวพุทธมีความเชื่อที่วา เม่ือมีพระบรมสารีริกธาตุและการสรางพระธาตุเพ่ือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแลว ถือเปนสถานที่ที่ไดทําการบูชาองคพระพุทธเจา ยิ่งมีองคพระธาตุมากเพียงใด ถือวาสถานที่น้ันเปนเจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนา และใหสืบตอพระพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรืองสืบตอไป

ความเชื่อเก่ียวกับพระธาตุหลาหนองน้ัน นอกจากที่กลาวมาขางตน ประชาชนยังใหความเชื่อเก่ียวกับอานุภาพของพระธาตุ เชื่อในอํานาจสิ่งศักด์ิสิทธิ์ รวมถึงการเคารพกราบไหว เพ่ือตองการใหสิ่งศักด์ิสิทธิ์ที่มีอยูในองคพระธาตุน้ันไดคุมครองรักษาตนใหแคลวคลาด

๓ สุรพล ดําริหกุล, วาระสารเร่ือง สังคมขอยขาชวงใชองคพระธาตุพนมเมืองโบราณ. ๑๔

(๓) (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๓๑), หนา ๑๑๗ – ๑๑๙. ๔ สัมภาษณ พระมหาบุญชู ฐิตสํวโร. เจาอาวาสวัดศิริมหากัจจายน . ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. ๕ สัมภาษณ ทองวัน โยธะวงค. เรื่องเดียวกัน ๖ สัมภาษณ พระสุนทรธรรมธาดา (บุญเลิศ เขมจาโร).เรื่องเดียวกัน

Page 38: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๖

ปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย๗ ซ่ึงสิ่งศักด์ิสิทธิ์ที่เกิดขึ้นจากองคพระธาตุน้ัน อาจเกิดจากสาเหตุหลักคือ

๑. พุทธานุภาพ ความเชื่อม่ันในพระพุทธคุณ ที่ทรงบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสาสวะทั้งปวง และทรงประกอบดวยพระคุณ ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระปญญาคุณ

๒. ธรรมานุภาพ คือพลังอานุภาพของพระธรรม คําส่ังสอนของพระพุทธเจาที่มีปรากฏอยูตามบทสวดมนตตางๆ

๓. สังฆานุภาพ คืออานุภาพแหงพระอริยสงฆและพระสงฆที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายและมีการแผเมตตาจิตมาสูสรรพสัตวทั้งหลาย

๔. ปุญญานุภาพ คือ อานุภาพของการทําบุญกุศล คุณงามความดี รวมถึงการกระทําที่ใหผลในทางที่ดีของบุคคลตางๆ

๕. เทวานุภาพ คือ อานุภาพแหงเทวดาที่ชาวพุทธตางมีความเชื่อม่ันวาจะตองไดรับการรักษาจากเทวดาอยูเสมอ๘

สาเหตุสําคัญทั้ง ๕ ประการนี้ เปนสิ่งที่ประชาชนทั้งหลายมีความเชื่อและเลื่อมใสศรัทธาวาจะใหการปกปกรักษา จึงสิ่งเหลาน้ีจักรวมอยูในพระธาตุที่ไดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจาไว ซ่ึงพระธาตุหลาหนองยอมไดรับความเชื่อเชนน้ันดวย เพราะเหตุที่พระธาตุหลาหนองไดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสวนธาตุฝาพระบาทเบื้องขวา ๙ องค เอาไว

จากความเชื่อเก่ียวกับองคพระธาตุหลาหนองดังกลาวมานี้ ถือเปนแรงจูงใจใหประชาชนไดประพฤติปฏิบัติตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา ซ่ึงเก่ียวกับการปฏิบัติตอส่ิงที่ตนเคารพนับถือและบูชาและไดสรางสิ่งประดิษฐานอยางงดงามและม่ันคงคือองคพระธาตุหลาหนองนั้นเอง

จากการกลาวมาแลว จะเห็นไดวา องคพระธาตุหลาหนองมีความผูกพัน มีความเชื่อและอิทธิพลตอการดําเนินวิถีชีวิตความเปนอยูของประชาชนจังหวัดหนองคายมาเปนเวลาชานานทั้งในดานตางๆ ดังน้ี

๗ สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษี (คําบอ อรุโณ). ท่ีปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย เจาอาวาส

วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง). ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๘ พระมหาเชิด เจริญรัมย, พระเครื่องกับสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีทัศนะของนักวิชาการ

พุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาศึกษา. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๑), หนา๑๖๔.

Page 39: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๗

๓.๑.๑ ดานประวัติศาสตร

ตามตํานานพระอุรังคธาตุ ไดแสดงใหเห็นวา พระพุทธศาสนาไดเผยแผเขามาในดินแดนลุมนํ้าโขงตอนกลางรวมถึงจังหวัดหนองคาย ในชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๓ แสดงใหเห็นวาชุมชนที่ตั้ง อยูบริเวณจังหวัดหนองคายมีมาตั้งแตยุคกอนประวัติศาสตร ตั้งแตยังไมปรากฏนามเมืองหนองคาย โดยมีการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมแบบชาวพุทธ จนกระทั่งมีหลักฐานทางโบราณคดี เชน ศิลาจารึก โบราณสถานตางๆ๙ พัฒนาการทางประวัติศาสตรเมืองหนองคาย ปรากฏชื่อบานนามเวียง และมีความสัมพันธสอดคลองกับตํานานการสรางพระธาตุในจังหวัดหนองคาย ดังน้ี

เวียงคุก เปนเมืองเกาแกอยูปากนํ้าหวยคุก และมีเนินเขาเล็ก ๆ จะพบเห็นวัดวาอารามมากมาย บางแหงมีพระพุทธรูปปรากฏใหเห็นตามริมฝงแมนํ้าโขง ปจจุบันคือตําบลเวียงคุก เปนที่ตั้งของพระธาตุบังพวน และวัดที่มีพระธาตุหลายวัด เชน วัดยอดแกว วัดเทพพล๑๐ เวียงคําตั้งอยูคนละฝงแมนํ้าโขงของเวียงคุก ปจจุบันคือเมืองหาดทรายฟอง ประเทศลาว เปนที่ตั้งของพระธาตุหอผาหอแพ ปจจุบันยังไมมีการยันยืนไดวาพระธาตุหอผาหอแพตั้งอยู ณ บริเวณใด แตเมืองหาดทรายฟองมีปรากฏอยูในปจจุบัน๑๑ คือ เวียงงัว ตามตํานานนิทานพ้ืนบานเรื่องนางอุษาทาวบารส เมืองปะโค หรือเวียงงัว เปนเมืองของทาวบารส ปจจุบันคือตําบลปะโค เปนที่ตั้งของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว สําหรับเมืองหนองคายอันเปนที่ตั้งของพระธาตุหลาหนอง ไมปรากฏช่ือหนองคายมากอน แตเปนหมูบานตั้งอยูริมบึงหนองคาย เรียกวาบานไผ

ศรีศักร วัลลิโภดม ไดกลาวไวในหนังสือตํานานอุรังคธาตุกับความคิดคํานึงทางโบราณคดีในพระธาตุพนม๑๒ วา พ้ืนที่ภาคอีสานมีแองอารยธรรมคือแองโคราชและแองสกลนคร มีหนองหานเปนศูนยกลาง จึงสรุปวาหนองคาย – เวียงจันทน พัฒนามาจากแองสกลนคร สันนิฐานวานาจะเรียกวา “แองอารยธรรมที่ ๓” โดยมีเหตุผลสนับสนุนสองเหตุผล

เหตุผลแรกหนองคายมีแองหรือปากนํ้าที่ไหลลงสูแมนํ้าโขงจํานวนมาก เชน หวยโมง หวยซวย หวยหลวง เปนตน

๙ เติม วิภาคยพจนกิจ, ประวัติศาสตรอีสาน. (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,

๒๕๓๐), หนา ๑๗. ๑๐ สัมภาษณ ทองวัน โยธะวงค, ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. ๑๑ สัมภาษณ สุวิทย ย่ิงยง, ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. ๑๒ ศรีศักร วัลลิโกดม, ตํานานอุรังคธาตุกับความคิดคํานึงทางโบราณคดีในพระธาตุพนม.

(กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ, ๒๕๑๘), หนา ๑๐.

Page 40: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๘

เหตุผลที่สอง มุขปาฐะ เชน ตํานานอุรังคธาตุ เรียกดินแดนแถบหนองคาย-เวียงจันทนวา “แควนสุวรรณภูมิ” เพราะพระพุทธศาสนาเจริญรุงเรืองในแถบน้ําโขง มีวัดและเจดียเปนจํานวนมาก ไมวาจะเปนพระธาตุหลวงเวียงจันทน พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุหลาหนอง”๑๓

จากขอความขางตน ผูวิจัยมีความเห็นวา พระพุทธศาสนาถือเปนสวนหนึ่งในการดําเนินวิถีชีวิตความเปนอยูของประชาชนจังหวัดหนองคาย อันมีองคพระธาตุหลาหนองเปนศูนยรวม มีแมนํ้าโขงเปนแหลงทํามาหากินและเสนทางในการสัญจร องคพระธาตุหลาหนองตามตํานานสรางใน พ.ศ.๘ ตอมาพระเจาไชยเชษฐาธิราชแหงอาณาจักรลานชางสรางเจดียครอบองคพระธาตุองคเดิม ใน พ.ศ. ๒๑๐๓ องคพระธาตุไดตั้งอยูในริมฝงแมนํ้าโขง ซ่ึงในแตละปแมนํ้าโขงที่ไหลเชี่ยวในบริเวณนั้นไดกัดเซาะและไดพังทลายลงใน พ.ศ. ๒๓๙๐ จากขอความดังกลาว จะเห็นวาจังหวัดหนองคายเปนเมืองเกาแก เดิมเปนสวนหนึ่งของอาณาจักรลานชาง สันนิฐานวาจังหวัดหนองคายนาจะมีศูนยกลางอยูที่เมืองเวียงจันทนโดยมีเหตุผลที่วา พระเจาไชยเชษฐาธิราชสรางและบูรณะเจดียและพระพุทธรูปที่สําคัญๆ ไมวาจะเปนพระธาตุหลวงเวียงจันทน พระธาตุพังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุหลาหนอง พระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม พระเจาองคตื้อเวียงจันทน พระเจาองคตื้อหนองคาย รวมทั้ง พระสุก พระเสริม พระใส๑๔ พระไชยเชษฐาธิราช วัดศรีเมืองหนองคาย และยังมีวัดพระไชยเชษฐา ตําบลกวนวัน อีกแหงหน่ึงที่ปรากฏชื่อพระไชยเชษฐา แตไมมีหลักฐานยืนยัน ตามจารึกพระธาตุศรีสองรักบันทึกไววา พ.ศ. ๒๑๐๓ กษัตริยสองพระองค คือ พระเจาไชยเชษฐาธิราช แหงเมืองจันทะบุรี (เวียงจันทน) กับพระมหาจักรพรรดิ แหงเมืองกรุงศรีอโยธยา (อยุธยา) เจริญสัมพันธไมตรี โดยสรางพระธาตุศรีสองรักเปนสัญลักษณ แตเมืองหนองคายกอตั้งในป พ.ศ. ๒๔๔๑ และยกฐานะเปนจังหวัดหนองคายในป พ.ศ. ๒๔๕๘ สําหรับเมืองหนองคายอันเปนที่ตั้งของพระธาตุหลาหนอง ไมปรากฏชื่อหนองคายมากอน แตปรากฏชื่อหมูบานตั้งอยูริมบึงหนองคาย เรียกวาบานไผ ปจจุบันมีบานหนองไผ ตําบลหาดคํา๑๕ อยูหางจากพระธาตุหลาหนอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก สันนิษฐานวานาจะเปนที่ตั้งเมืองหนองคายในอดีต และที่ไดชื่อวาหนองคาย นาจะมาจากคําวา หนอง มาจากช่ือพระธาตุหลาหนอง ซ่ึงเปนหนองสุดทายสําหรับบรรพบุรุษที่มาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณแหงนี้ สวนคําวา คาย นาจะมาจาก คําวา คาย ซ่ึงเปนคายทหารตั้งอยูในสมัยกอน เรียกวาคายบกหวาน จึงเรียกวา เมืองหนองคาย ตอมาคําวาคาย สําเนียง

๑๓ เรื่องเดียวกัน. ๑๔ พระเทพรัตนโมลี, ประวัติพระธาตุบังพวน. พิมพครั้งท่ี ๘ (ม.ป.ท., ๒๕๓๖), หนา ๘. ๑๕ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๐.

Page 41: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๒๙

เปลี่ยนเปนคาย จึงมีชื่อเปนเมืองหนองคาย โดยมีสถานที่สนับสนุนในปจจุบันคือ ถนนทาคาย พระธาตุหลาหนอง บึงหนองคาย ตําบลคายบกหวาน บานหนองไผ๑๖

พระธาตุหลาหนองตามตํานานอังคธาตุบันทึกไววา พระธาตุหลาหนองสรางขึ้นตั้งแตสมัยหลังพุทธกาล แตตามประวัติศาสตรพระเจาอโศกมหาราช สงสมณทูต คือ พระโสณเถระกับพระอุตรเถระ มาประกาศพระศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิในตนพุทธศตวรรษที่ ๔ (พ.ศ.๔๐๐) แสดงใหเห็นวา พระพุทธศาสนาไดเขามาในดินแดนแถบน้ีกอนที่พระเจาอโศกมหาราชจะเผยแผพระพุทธศาสนา และดินแดนบริเวณจังหวัดหนองคาย มีประชาชนอยูอาศัยตั้งแตสมัยพุทธกาลแลว

๓.๑.๒ ดานศาสนพิธี

ศาสนพิธีเก่ียวเนื่องกับพระธาตุหลาหนอง จะมีหอหลวงพอพระธาตุอยูสองแหง คือบริเวณริมฝงแมนํ้าโขงที่พระธาตุพังลงและในบึงหนองคาย๑๗ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ของทุกป จะมีพิธีบวงสรวงองคพระธาตุ ชาวบานเรียกวาบุญเบิกบวงเบิกบาน๑๘ พิธีสําคัญของวันดังกลาวคือ การลงนางเทียม๑๙ ขาทาสบริพารขององคพระธาตุที่เปนผูหญิงจักแตงกายดวยชุดแดง โพกผาแดง พากันฟอนรําบวงสรวงองคพระธาตุ และจะมีผูหญิงคนหนึ่งทําหนาที่เปนนางเทียม แลวใหขาทาสบริพารขององคพระธาตุทั้งหลาย สอบถามนางเทียมเก่ียวกับวิถีชีวิตความเปนอยูแตละปวาเปนอยางไร เชน เร่ืองการประกอบอาชีพโดยเฉพาะการทําไรทํานา ฟาฝนเปนอยางไร ซ่ึงการเสี่ยงทายของนางเทียมที่ผานมา ปรากฏวาตรงตามคําทํานายเปนสวนมาก๒๐

ในพิธีบวงสรวงพระธาตุ มีพิธีสําคัญอีกประการหนึ่ง คือการถวายเครื่องบูชาองคพระธาตุ๒๑ ขาทาสบริพารขององคพระธาตุ หลังจากที่ประกอบอาชีพทํามาหากินในแตละป จะตองแบงสิ่งของที่ไดมา เพ่ือนํามาถวายองคพระธาตุ เชน ประกอบอาชีพทํานา พอถึงวันเพ็ญเดือน ๖ จะตองนําขาวเปลือกมาถวายองคพระธาตุที่หอพระธาตุทั้งสองแหง คือบริเวณริมฝงโขงที่พระธาตุพังลงและในบึงหนองคายแลวแตความสะดวก ซ่ึงปฏิบัติกันมาตั้งแตบรรพบุรุษ มีอยูบางปที่ขาทาสบริพารบางคนไมนําส่ิงของมาถวายองคพระธาตุ ก็เกิดเหตุอาเพท มีคนตายเปน

๑๖ ศรีศักร วัลลิโกดม, แหลงอารยธรรมอีสาน. (กรุงเทพมหานคร : มติชน, ๒๕๓๓), หนา ๑๙. ๑๗ สัมภาษณ บัวรอง วงละคร, ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๑๘ สัมภาษณ สงวน ดวงลาดนา, สมาชิกสภาเทศบาลเมืองหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๑๙ สัมภาษณ สมศรี แกวคุณเมือง, ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๐ สัมภาษณ สุรพงษ วิสุทธิ์ศรี, ชาวพุทธจังหวัดหนองคาย, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๑ สัมภาษณ เวียง ศรีพล, ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 42: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๐

จํานวนมาก๒๒ ชาวบานสวนมากเชื่อวาเปนเพราะอํานาจบารมีขององคพระธาตุ จึงพากันนําสิ่งของมาถวายในปตอมา ปรากฏวาชาวบานอยูเย็นเปนสุข ไมเกิดเหตุรายแตประการใด พิธีกรรมการถวายสิ่งของแดองคพระธาตุจึงปฏิบัติกันมาตราบเทาทุกวันนี้

ศาสนพิธีที่เก่ียวของกับองคพระธาตุหลาหนอง โดยเฉพาะงานนมัสการองคพระธาตุหลาหนอง ไมปรากฏดังงานนมัสการพระธาตุอ่ืน ๆ ที่นิยมจัดการในวันเพ็ญเดือน ๓ เพราะเหตุที่องคพระธาตุไดพังทลายลงเปนเวลาเกือบ ๓๐๐ ป ซ่ึงเปนเวลาประมาณ ๓ ชั่วอายุคน แตระยะเวลาที่องคพระธาตุยังไมพังทลาย ไมสามารถยืนยันไดวามีการจัดงานนมัสการองคพระธาตุหรือไม แตหลังจากไดสรางพระธาตุจําลองขึ้น เม่ือป พ.ศ. ๒๕๔๘ ไดมีแนวคิดในการจัดงานนมัสการองคพระธาตุ แตยังไมมีขอสรุปวาจะจัดในวันเพ็ญเดือน ๖ หรือวันเพ็ญเดือน ๓ คาดวาในอนาคตอีกไมนาน จะมีงานนมัสการองคพระธาตุหลาหนอง เปนงานประจําปตอไป๒๓

จากขอความขางตน ผูวิ จัยพบวา ไมมีงานนมัสการองคพระธาตุหลาหนองเชนเดียวกับพระธาตุอ่ืนๆ เชน พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย เปนตน ที่นิยมทํากันในวันเพ็ญ เดือน ๓ นาจะมาจากสาเหตุที่วาองคพระธาตุหลาหนองไดพังทลายลงตั้งแต พ.ศ. ๒๓๙๐ ทําใหไมมีสัญลักษณที่จะประกอบศาสนพิธีได เม่ือไมมีสัญลักษณประชาชนที่ไมอยูในใกลเคียงกับองคพระธาตุ แทบจะไมรูวามีองคพระธาตุหลาหนองอยูในที่น้ัน เพราะในฤดูนํ้าหลาก นํ้าจะทวมองคพระธาตุ ตอมามีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ แมนํ้าโขงลดลงฐานขององคพระธาตุโผลขึ้นเหนือนํ้า สื่อไดนําเสนอถึงองคพระธาตุมากขึ้น ทําใหคนในชุมชนไดใหความสนใจองคพระธาตุมากขึ้น

๒๒ พระอริยานุวัตร เขมจารี, คติความเชื่อของชาวอีสาน. (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘), หนา ๑ – ๓. ๒๓ สัมภาษณ พระสุนทรธรรมธาดา (บุญเลิศ เขมจาโร), รองเจาคณะจังหวัดหนองคาย, ๒๓

ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 43: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๑

๓.๑.๓ ดานศิลปกรรมและสถาปตยกรรม

พระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย เปนเจดียบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในระยะเวลาใกลเคียงกับพระธาตุพนม พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว ในปจจุบันมีเพียงพระธาตุโพนจิกเวียงงัวเทาน้ันที่ยังไมพังทลายลง๒๔ สําหรับพระธาตุหลาหนอง การพังทลายลงแตกตางกับพระธาตุอ่ืน เพราะพังทลายลงในแมนํ้าโขงเปนเวลากวา ๓๐๐ ปมาแลว จึงไมสามารถหาหลักฐานที่จะบอกถึงศิลปกรรมและสถาปตยกรรมได แตสันนิษฐานวาพระธาตุหลาหนองมีขนาดใกลเคียงกับพระธาตุพนม และมีบริเวณวัดไมต่ํากวา ๑๐๐ ไร๒๕ จากการสํารวจของคณะสํารวจอินโดจีนในอาณาจักรลานชาง โดยฟรองชีวการนิเยร ชาวฮอลันดา ไดวาดภาพลายเสนขององคพระธาตุหลาหนองไว เม่ือป พ.ศ. ๒๔๑๑ พรอมบรรยายวา “ปรมิดหรือองคพระธาตุตั้งอยูบนพ้ืนที่รูปคร่ึงวงกลมที่ถูกตัดขาดจากฝงแมนํ้าดานขวาหรือฝงไทย โดยปรมิดแหงนี้ถูกนํ้าพัดขาดจากท่ีตั้งเดิมบนริมฝงสิบปมาแลว และยังเอียงลงสูนํ้าราวกับเรืออัปปางที่พรอมจะจมลง”

จากการสํารวจของกลุ มงานโบราณคดี ใต นํ้ า สํา นักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ ๔ กรมศิลปากร เม่ือป พ.ศ. ๒๕๓๘ พบวา องคพระธาตุจมอยูกลางแมนํ้าโขงหางจากฝงไทย ๑๘๐ เมตร กอดวยอิฐถือปูน ลมตะแคงไปตามกระแสน้ํา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีฐานเหลี่ยมมุมฉาก โดยดานหนึ่งโผลขึ้นมาเหนือนํ้าเพียงคร่ึงฐาน สถาปตยกรรมที่เหลืออยูเปนชั้นฐานเขียง ๒ ชั้น ฐานสี่เหลี่ยมยอเก็จตอขึ้นมาอีก ๔ ชั้น จึงเปนเรือนธาตุ ตอดวยบัวลูกแกวอีก ๒ ชั้น ความสูงของเจดียเฉพาะสวนที่สัมผัสได ๑๒.๒๐ เมตร ความกวางของพระธาตุชั้นลางสุด ๑๕.๘๐ เมตร๒๖

สถาปตยกรรมที่สําคัญของพระธาตุหลาหนอง คือ เปนพระธาตุตันกออิฐถือปูนทั้งองค สวนพระธาตุอ่ืนๆ สวนมากจะอัดใหเต็มดวยดิน สภาพขององคพระธาตุหักเปนสามทอน พบเพียงสวนฐานและสวนกลาง สวนยอดเนินทรายจะกลบไมสามารถคนพบได๒๗ แตเปนที่นาสังเกตวา องคพระธาตุลมลงกลางน้ําเปนเวลานาน แตยังปรากฏใหเห็นถึงความสมบูรณ และ

๒๔ สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ,หัวหนาหนวยอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติส่ิงแวดลอมและ

ศิลปกรรมทองถ่ินจังหวัดหนองคาย, ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๕ สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษี (คําบอ อรุโณ), ท่ีปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย เจาอาวาส

วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง), ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๖ สัมภาษณ พระครูสุภกิจโกศล. เจาอาวาสวัดลําดวนและท่ีปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย.

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔. ๒๗ สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ, หัวหนาหนวยอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติส่ิงแวดลอมและ

ศิลปกรรมทองถ่ินจังหวัดหนองคาย, ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 44: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๒

ความม่ันคงแข็งแรง อาจเปนเพราะภูมิปญญาของคนโบราณในเรื่องสถาปตยกรรม หรืออาจเปนเพราะความศักด์ิสิทธิ์ขององคพระธาตุก็เปนได๒๘

สถาปตยกรรมที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชไดกอสราง “พระธาตุโลกจุฬามณี พระธาตุบังพวน พระธาตุหอแพ พระธาตุเมืองลาเมืองหนอง (พระธาตุหลาหนอง) พระธาตุศรีโคตตะปอง พระธาตุอิงฮัง พระธาตุพนม และพระธาตุเชิงชุม รูปลักษณะคลายกันหมด”๒๙

ผูวิจัยมีความเห็นวา องคพระธาตุหลาหนองที่พระอรหันตนําพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุ มีแนวคิดเก่ียวกับลักษณะขององคพระธาตุมี ๒ แนวคิด๓๐ คือ แนวคิดแรก พระธาตุมีลักษณะเปนอุโมงค สวนแนวคิดที่สอง องคพระธาตุมีลักษณะเปนเจดีย ผูวิจัยสันนิษฐานวา องคพระธาตุนาจะมีลักษณะในรูปแบบทั้งสองประการ เพราะเหตุที่ พระอรหันตไดนําพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไวในอุโมงคใตดินแลวสรางเจดียครอบไวเพ่ือใหเปนสัญลักษณใหเห็น ตอเม่ือสมเด็จพระเจาไชยเชษฐาธิราช ไดสรางเจดียใหญครอบอีกคร้ังหนึ่ง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และพังทลายลงใน ป พ.ศ.๒๓๙๐ องคพระธาตุแหงนี้สรางมาแลวประมาณ ๒๐๐ ป ซ่ึงระยะเวลาในการสรางใกลเคียงกับพระธาตุพนม พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว๓๑ จะเห็นวา พระธาตุพนม กับพระธาตุบังพวน พังลงแลว และบูรณะองคพระธาตุเสียใหม ยังคงเหลือเพียงองคพระธาตุโพนจิกเวียงงัวเทาน้ันที่ยังคงสภาพเดิม ยังไมพังลงมา ถาสมมติวาองคพระธาตุหลาหนองไมไดถูกกระแสแมนํ้าโขงกัดเซาะใหพังทลาย องคพระธาตุจะพังหรือไม ผูวิจัยเห็นวา องคพระธาตุไมนาจะพัง เพราะลักษณะของพระธาตุตัน ไมไดอัดดวยดินตรงกลางองค ตั้งแตองคพระธาตุพังลงแมนํ้าโขงถึงปจจุบันเกือบ ๓๐๐ ปแลว ความสมบูรณขององคพระธาตุยังมีปรากฏอยู ซ่ึงแสดงใหเห็นถึงสถาปตยกรรมในอดีตที่อาศัยภูมิปญญาของปราชญชาวบานที่กอสรางเจดียไดอยางม่ันคงแข็งแรง ซ่ึงจะเห็นวาการสรางองคพระธาตุหลาหนอง มีการเลือกทําเล การเลือกวัสดุ การเลือกฤกษยาม การกําหนดทิศทาง การกําหนดสัดสวน และความงามของเจดีย เปนอยางดี

๒๘ สัมภาษณ พระครูสุตรัตนาภรณ (สุดใจ วรญาโณ), เจาคณะตําบลมีชัย, ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๒๙ พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต), ครบรอบ ๙๐ ป. (หนองคาย : โรงพิมพมิตรไทย,

๒๕๓๙), หนา ๙๑. ๓๐ มานิต วัลลิโภดม และคนอื่น ๆ. พระธาตุพนม ดวยขอเขียนและบทความ.

(กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ, ๒๕๑๘), หนา ๔๖. ๓๑ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร. ประมวลภาพประวัติศาสตรพระธาตุพนมและภาพโบราณวัตถุ

คามหาศาล ในกรุพระธาตุพนม. (กรุงเทพมหานคร : กรุงสยาม, ๒๕๒๒), หนา ๓๔.

Page 45: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๓

๓.๔.๔ ดานขนบธรรมเนียมประเพณี พระธาตุหลาหนอง มีอิทธิพลตอวิถีชีวิตประชาชนจังหวัดหนองคาย และประเทศ

ลาวบริเวณลุมแมนํ้าโขงเปนอยางมาก เน่ืองจากตั้งอยูริมฝงแมนํ้าโขงและพังทลายลงในแมนํ้าโขง กอใหเกิดขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติกันมาเปนเวลาชานาน ประกอบดวยประเพณีบุญบั้งไฟเดือน ๖ จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖๓๒ ประเพณีแขงขันเรือยาวบูชาองคพระธาตุ จัดขึ้นเปนประจําทุกๆ ป ปละ ๓ คร้ัง ในวันหอขาวนอย (ขาวประดับดิน) วันหอขาวใหญ (สลากภัต) และวันออกพรรษา๓๓ ประเพณีการถวายปราสาทผึ้ง จักมีขึ้นในวันออกพรรษา (วันเพ็ญเดือน ๑๑) การลอยอังคาร ลอยเพ่ือที่ตองการใหวิญญาณของผูที่ลวงลับไปนั้นไดเปนสวนหนึ่งในการดูแลรักษาองคพระธาตุหลาหนอง โดยไมไดมีหลักเกณฑวาตองลอยวันไหน ขึ้นอยูที่ผูมีความประสงคจะลอย สวนประเพณีไหลเรือไฟน้ัน ประชาชนจังหวัดหนองคายไดจัดขึ้นเปนประจําทุกปในชวงเทศกาลออกพรรษา จะเร่ิมไหลตั้งแต ขึ้น ๑๔ ค่ํา – แรม ๑ ค่ํา เดือน ๑๑

จากขอความดังกลาว ผูวิจัยพบวา เม่ือมีการสรางพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้น ในป พ.ศ. ๒๕๔๘ ซ่ึงโดดเดนเปนสงาริมฝงแมนํ้าโขง ผูที่เดินทางมายังจังหวัดหนองคาย จะตองไปสักการบูชา ก็จะไดทราบประวัติความเปนมาขององคพระธาตุมากขึ้น เพ่ือเปนการเผยแผและประชาสัมพันธใหประชาชนทั่วไปไดรูจักองคพระธาตุยิ่งๆ ควรจะมีการจัดงานนมัสการองคพระธาตุหลาหนอง ในวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกๆ ป เชนเดียวกับพระธาตุอ่ืน เพราะเด่ียวนี้มีองคพระธาตุจําลองเปนสัญลักษณแลว

มีการบวงสรวงพระธาตุ บุญบั้งไฟเดือน ๖ บุญแขงเรือยาว วันหอขาวนอย (ขาวประดับดิน) หอขาวใหญ (ขาวสากหรือสลากภัต) และการถวายปราสาทผึ้ง วิเคราะหไดวา พิธีที่เก่ียวเนื่องกับพระธาตุทั้งหมดเกิดจากการบนบานที่ชาวบานในชุมชนไดทําขึ้น เพ่ือขอพรจากองคพระธาตุ เม่ือประสบกับสิ่งที่ตนปรารถนาแลว ก็จะทําการตอบแทนในสิ่งที่ตนคิดวาเหมาะสม พอปฏิบัติสืบๆ กันมาจึงกลายเปนประเพณีไปในที่สุด๓๔ ซ่ึงประเพณีเหลาน้ีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแตโบราณกาล แตปจจุบันไดมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย การบวงสรวงพระธาตุ มีการจัดพิธีอันยิ่งใหญ มีพราหมณมาเปนเจาพิธี ผูเขารวมพิธีตองแตงชุดขาว มีเคร่ืองบวงสรวงเปนอาหารหวานคาว เหลาบุหร่ี๓๕ ประเพณีบุญบั้งไฟ จากเดิมที่จุดเพ่ือบูชาองคพระธาตุ ก็ยายสถานที่จุดเพ่ือแขงขันกันเปนเวลาหลายวัน แตก็คงเหลือบั้งไฟเสี่ยงที่จุดบริเวณพระธาตุเทาน้ัน ประเพณีการแขงเรือยาวเดิมมีจุดประสงคเพ่ือใหเกิดความสามัคคีของชาวบานคุมตางๆ และ

๓๒ สัมภาษณ แดง เจริญ, ชาวพุทธจังหวัดหนองคาย, ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. ๓๓ สัมภาษณ บัวรอง วงละคร, ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๓๔ สวิง บุญเจิม, มรดกอีสาน. พิมพครั้งท่ี ๒๐, (อุบลราชธานี : สํานักพิมพมรดกอีสาน,

๒๕๔๙), หนา ๖๒๐. ๓๕ สัมภาษณ เวียง ศรีพล, ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 46: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๔

เพ่ือบูชาองคพระธาตุ แตในปจจุบันชาวบานไมมีสวนรวม เพราะเรือแตละลําตองการแขงขันเพ่ือชิงรางวัล จึงจําเปนตองหาฝพายที่เปนมืออาชีพมาพาย และมีคาจางเปนการตอบแทน การถวายปราสาทผึ้ง ก็มีการประกวดแขงขัน และมีเงินรางวัลให การลอยอังคารนั้นจะใชไดกับทุกคนที่มีความประสงคที่จะลอย เพราะตองการที่จะใหผูที่เปนที่รักของตนไดเปนสวนหนึ่งขององคพระธาตุและเปนผูรักษาองคพระธาตุ สวนการไหลเรือไฟ ตามปกติแลวจัดแบบเลียบงายทําขึ้นเพ่ือบูชาองคพระธาตุเทาน้ัน แตปจจุบันนี้ที่การเปลี่ยนแปลงเปนการจัดขึ้นเพ่ือดึงดูดนักทองเที่ยวใหมาเที่ยวชมและยึดหลัดเศรษฐกิจเปนหลักแทน กลาวไดวา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เก่ียวเน่ืองกับองคพระธาตุหลาหนอง ไมวาจะเปนการบวงสรวง บุญบั้งไฟ บุญแขงเรือยาว การถวายปราสาทผึ้ง การลอยอังคารและการไหลเรือไหลนั้นลวนใชประเพณีเปนเคร่ืองมือในการจัดงาน แตวัตถุประสงคจริงแลว เปนการประกวดแขงขัน เพ่ือหวังผลตอบแทนคือ รางวัลน้ันเอง๓๖

๓.๑.๕ ดานบุคคลและวัตถุที่เก่ียวของ

องคพระธาตุหลาหนอง มีความเช่ือและอิทธิพลตอบุคคล สถานที่ และวัตถุที่เก่ียวของของชาวจังหวัดหนองคายตั้งแตอดีต ถึงปจจุบัน ดังตอไปน้ี

เชื่อกันวา การกอสรางพระธาตุหลาหนอง เปนพระอรหันตทั้ง ๕ คือ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลประสาทเถระ และพระสังฆวิชัยเถระ ไดอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไวพรอมกัน ๖ แหง คือ พระธาตุหอผาหอแพ เมืองหาดทรายฟอง ประเทศลาว พระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทน ประเทศลาว พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย พระธาตุโพนจิกเวียงงัว จังหวัดหนองคาย และพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย สําหรับพระสังฆวิชัยเถระ เปนพระเจาผูสืบเชื้อสายจากเมืองรอยเอ็ด ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยูที่เมืองลาหนอง หรือหลาหนอง

การบูรณปฏิสังขรณ สมเด็จพระเจาไชยเชษฐาธิราช แหงอาณาจักรลานชาง พระองคไดสรางเจดียครอบอุโมงคที่บรรจุพระบรมสารี ริกธาตุโดยพระอรหันตทั้ง ๕๓๗ นอกจากน้ันไดสรางและบูรณะวัดตามพงศาวดาร คือ สรางพระธาตุโลกจุฬามณี (พระธาตุหลวงเวียงจันทน) สรางอุโมงคโลมธาตุพระอรหันต (วัดพุทธวงศา) สรางเจดียครอบธาตุเกาที่หวย พังพวน (เจดียพระธาตุบังพวน) บูรณะพระธาตุเมืองมรุกขนคร บูรณะพระธาตุพนม สรางพระธาตุ

๓๖ สัมภาษณ พระครูอินทวรธรรม (อภินันท อินฺทโชโต). เจาอาวาสวัดหายโศก จังหวัด

หนองคาย. ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔. ๓๗ พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต) ครบรอบ ๙๐ ป, อดีตเจาอาวาสวัด, (หนองคาย :

โรงพิมพมิตรไทย, ๒๕๓๙), หนา ๙๑.

Page 47: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๕

อิงฮัง เมืองสุวรรณเขต สรางพระธาตุศรีสองรัก สรางพระเจาองคตื้อ เมืองเวียงจันทน และพระเจาองคตื้อ เมืองหนองคาย สรางและหลอพระพุทธรูปเรียกวา พระสุก พระเสริม พระใส

พระสังกัจจายน เปนพระพุทธรูปกออิฐขนาดใหญ หนาตักกวางประมาณ ๓ เมตร ประดิษฐานอยูพรอมกับองคพระธาตุ เดิมเรียกวา วัดปากนา ตอมาเรียกวาวัดธาตุ๓๘ เม่ือองคพระธาตุพังทลายลง คณะสงฆและชาวบานเกรงวาตลิ่งจะพังมาถึงองคพระสังกัจจายน จึงอัญเชิญไปประดิษฐานไวที่วัดโพนคอ (ปจจุบันคือวัดสิริมหากัจจายน) ซ่ึงอยูหางจากวัดธาตุไปทางทิศใต ประมาณ ๓๐๐ เมตร

ดอนเพธาตุ หรือบะเพธาตุ คือสถานท่ีที่คาดหมายวาจะสรางองคพระธาตุหลาหนอง แตไดยกเลิกไป ปจจุบันอยูบริเวณขางการเคหะแหงชาติหนองคาย๓๙ ดอนดินจ่ี หรือบะดินจ่ี คือสถานที่นําดินมาเผาเพ่ือกอสรางพระธาตุ ปจจุบันอยูบริเวณขางศาลาแกวกู

ในชวงเทศกาลออกพรรษาของแตละป เปนชวงที่นํ้าขึ้นจะมีปรากฏการณเกิดขึ้นบริเวณองคพระธาตุ เปนคลื่นนํ้า ประชาชนเชื่อวาเปนพญานาคที่เปนบริวารดูแลองคพระธาตุมาแสดงตนใหเห็น ซ่ึงสอดคลองกับปรากฏการณบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นในจังหวัดหนองคายเทาน้ัน

ยอดฉัตรพระธาตุหลาหนอง กอนที่พระธาตุจะลม ไดนํามาเก็บไวที่ดานหลังขององคหลวงพอพระสังกัจจายน เม่ือเคลื่อนยายหลวงพอพระสังกัจจายนไปวัดโพนคอ วัดสิริมหากัจจายนในปจจุบัน ก็ยายยอดฉัตรไปดวย เม่ือมีการสรางพระธาตุหลาหนองจําลอง จึงไดนํายอดฉัตรดังกลาวไปบรรลุไวในฐานพระธาตุ๔๐

ผูวิจัยสันนิษฐานวา องคพระธาตุหลาหนองมีความเกี่ยวของกับบุคคลผูมีบุญญาบารมี เริ่มตนจากพระอรหันตที่นําพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุ สมเด็จพระเจาไชยเชษฐาธิราช ผูมีศรัทธาบําเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนา ปรารถนาการบรรลุธรรมในอนาคตชาติ ที่สรางเจดียใหญครอบองคพระธาตุหลาหนอง มีประวัติความเปนมาสอดคลองและเกี่ยวเนื่องกับเจดียสําคัญ ๆ ไมวาจะเปนพระธาตุหลวงเวียงจันทน พระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว และสอดคลองกับความเปนมาของจังหวัดหนองคาย แตเปนที่นาสังเกตวาการสรางเจดียขนาดใหญกับพระพุทธรูปขนาดใหญ จะไมอยูในวัดหรืออารามเดียวกัน แตเจดียพระธาตุหลาหนอง มีคูกับพระพุทธรูปขนาดใหญ คือ องคพระสังกัจจายน และเมื่อมีเจดียขนาดใหญ จะตองมีเจดียบริวารเปนจํานวนมาก ดังเชน เจดียพระธาตุบังพวน ที่มีสัตตมหาสถาน เปน

๓๘ สัมภาษณ สี ภาษาเวทย, ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๓๙ สัมภาษณ สงวน ดวงลาดนา, ขาราชการบํานาญจังหวัดหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๔๐ สัมภาษณ พระมหาบุญชู ฐิตสํวโร, เจาอาวาสวัดสิริมหากัจจายน, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

Page 48: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๖

บริวาร เจดียพระธาตุโพนจิกเวียงงัว มีพระธาตุหัวงัว เปนบริวาร แตเจดียพระธาตุหลาหนอง ไมปรากฏเจดียบริวารในพื้นที่วัดที่เหลืออยู หรือวาพังทลายลงไปพรอมกันแลว

๓.๑.๖ ดานจิตใจ

ดานจิตใจพบวา มนุษยมีความตองการที่พ่ึงอันประเสริฐ จึงทําใหมนุษยนอกจากอาศัยการพ่ึงพาคนอ่ืน ทรัพยสิน ความรู กําลังความคิด และพลังอํานาจจากคนอ่ืน ยังตองมองหาที่พ่ึงอะไรบางอยางที่อาจจะเปนที่พ่ึงซ่ึงพิเศษ สามารถทําไดมากกวากฎเกณฑของธรรมชาติ และมักพบเจอกันโดยปกติ ซ่ึงไดแก ที่พ่ึงเปนสิ่งศักด์ิสิทธิ์ทั้งหลาย๔๑ องคพระธาตุหลาหนองท่ีพังทลายลงกลางแมนํ้าโขงในปจจุบัน เปนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเปนศูนยรวมจิตใจของประชาชนลุมนํ้าโขง ทั้งฝงไทยและฝงลาว โดยเฉพาะอยางยิ่งประชาชนจังหวัดหนองคาย และผูที่เดินทางผานจังหวัดหนองคาย มักพบเห็นสิ่งอัศจรรยปรากฏอยูเสมอ น่ันคือแกวเสด็จ ซ่ึงสวนมากมักปรากฏในวันออกพรรษา๔๒

ในสมัยกอน การเดินทางนิยมเดินทางทางเรือโดยใชแมนํ้าโขงเปนเสนทางสัญจร เม่ือเรือผานบริเวณองคพระธาตุ ก็จะบีบแตร ผูที่อยูในเรือทั้งหมดก็จะพนมมือไหวองคพระธาตุ เพ่ือแสดงความเคารพและขอผานองคพระธาตุ ในขณะเดียวกันก็จะขอพรตอองคพระธาตุ ใหการเดินทางแคลวคลาดปลอดภัย และเพื่อความเปนสิริมงคลตอตัวเองและคณะ๔๓ เม่ือประชาชนจังหวัดหนองคายประสบเหตุการณอันไมพึงปรารถนา เปนตนวาลูกหลานตกน้ํา จมนํ้า เกิดอุบัติเหตุ ก็จะมากราบไหวขอใหองคพระธาตุชวยปดเปาเหตุไมพึงปรารถนานั้น ในขณะเดียวกันเม่ือตองการสิ่งที่พึงปรารถนา ก็มากราบไหวขอพรใหสิ่งที่ตนปรารถนาประสบผลสําเร็จ ผูที่จะเดินทางไกลไปประกอบอาชีพ ไปศึกษาเลาเรียน ก็ตองเดินทางไปกราบไหวขอพรและขอลาตอองคพระธาตุ เพ่ือใหคุมครองการเดินทาง โดยสวัสดิภาพปลอดภัยตลอดการเดินทาง และประสบผลสําเร็จในการประกอบภารกิจของตน เม่ือประสบสิ่งปรารถนาแลว ก็จะนําเหลาขาวมาสักการะองคพระธาตุตามความเชื่อของคนในสมัยน้ัน๔๔

จากขอความดังกลาว ผูวิจัยมีความเห็นวา พระธาตุหลาหนองเปนที่เคารพสักการะเปนศูนยรวมทางจิตใจของประชาชนจังหวัดหนองคาย รวมทั้งประชาชนนครหลวงเวียงจันทน มาเปนเวลาชานาน แตเปนที่นาสังเกตวา ในจังหวัดหรือชุมชนหนึ่ง อาจจะมีที่พ่ึงทางใจหลาย

๔๑ แสง จันทรงาม, ศาสนศาสตร, พิมพครั้งท่ี ๒, (กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช,

๒๕๓๔), หนา ๒๗. ๔๒ สัมภาษณ เจียมใจ เทศศรีเมือง, ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. ๔๓ สัมภาษณ พระครูโพธิสารกิจ (นารถ ยโสธโร), เจาอาวาสวัดโพธิ์ศรี และเจาคณะตําบลใน

เมืองเขต ๓, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๔๔ สัมภาษณ เจียมใจ เทศศรีเมือง. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

Page 49: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๗

อยางประกอบกันก็ได อยางจังหวัดหนองคาย ที่พ่ึงทางจิตใจที่เปนเจดียที่สําคัญๆ ก็มีพระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุหลาหนอง ที่เปนพระพุทธรูป มีหลวงพอพระใส หลวงพอพระเจาองคตื้อ หลวงพอพระใหญ นอกจากน้ันยังมีศาลหลักเมืองและสิ่งอ่ืนๆ เปนจํานวนมาก สําหรับพระธาตุหลาหนอง มีความสําคัญทางประวัติศาสตรเปนที่เคารพสักการะตอผูที่ประกอบอาชีพ และสัญจรไปมาตามลําแมนํ้าโขง ประชาชนจังหวัดหนองคายสวนหนึ่งแทบจะไมรูจัก จะเปนที่รูจักในสวนที่มีภูมิลําเนาอยูใกลเทาน้ัน เน่ืองจากวาไดพังทลายลงไปในแมนํ้าโขงเปนเวลานาน พอมีการสรางพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้น ทําใหประชาชนจังหวัดหนองคาย จึงเริ่มใหความสนใจและความสําคัญขององคพระธาตุมากขึ้น

๓.๒ พิธีกรรมการบูชาองคพระธาตุหลาหนอง

จังหวัดหนองคาย เปนจังหวัดที่มีพระพุทธศาสนาเปนแบบแผนในดําเนินวิถีชีวิตความเปนอยูของประชาชน จะเห็นไดจากการมีองคพระธาตุและพระพุทธรูปที่ประชาชนใหความเคารพนับถือมากมาย ไมวาจะเปนพระธาตุพังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุหลาหนอง หลวงพอพระใส พระเจาองคตื้อ หลวงพอพระใหญ เปนตน๔๕ สําหรับองคพระธาตุหลาหนอง มีความสําคัญทางดานประวัติศาสตรเริ่มตั้งแตการกอตั้งเมืองหนองคายและเปนศูนยรวมจิตใจของประชาชนจังหวัดหนองคายเปนอยางมากตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน ทําใหจังหวัดหนองคายเปนเมืองที่มีการดําเนินวิถีชีวิตความเปนอยูและความผูกพันกับพระพุทธศาสนา การดําเนินวิถีชีวิตของประชาชนจังหวัดหนองคายจักเก่ียวเนื่องกับการทําบุญตลอดเวลา เปนเหตุใหประชาชนจังหวัดหนองคายมีความรมเย็นเปนสุข ใครที่เขามาอยูจังหวัดหนองคายจึงไมปรารถนาที่จะยายไปที่อ่ืน๔๖

พระธาตุหลาหนองถูกสรางขึ้นโดยพระอรหันต เพ่ือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุฝาพระบาทขวา จํานวน ๙ องค ไวในอุโมงคหินบริเวณริมฝงแมนํ้าโขง ตอมาพระเจาไชยเชษฐาธิราชท่ี ๑ แหงอาณาจักรลานชางไดสรางเจดียครอบ กระแสนํ้าไดกัดเซาะตลิ่งและไดพังทลายลงในป พ.ศ. ๒๓๙๐ หลังจากตั้งเมืองหนองคายแลว ๑๙ ป ตอมาจังหวัดหนองคายไดสรางพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้น ในป พ.ศ. ๒๕๔๘ การบริหารดูแลพระธาตุหลาหนองในปจจุบัน เปนความรวมมือของ ๓ ชุมชน คือ ชุมชนใตธาตุ ชุมชนวัดธาตุ ชุมชนปาพราว ชมุชนละ ๕ คน๔๗

พระธาตุหลาหนองนั้น เม่ือเปนที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย มีการประกอบกิจกรรมตางๆ เพ่ือทําการบูชาองคพระธาตุ เม่ือทําเปนประจําทุกป เปนเหตุใหพิธีกรรม

๔๕ สัมภาษณ สะอาด แสงรัตน, ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๔๖ สัมภาษณ เตชิด จันทรใบ, ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๔๗ สัมภาษณ สาคร ปริวัติ, ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

Page 50: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๘

ตางๆ น้ันกลายเปนประเพณีที่ประชาชนจังหวัดหนองคายไดปฏิบัติตอพระธาตุหลาหนอง ซ่ึงประเพณีและพิธีกรรมตางๆ ประกอบดวย

๓.๒.๑ ประเพณีบุญบั้งไฟ

ภาคอีสานเปนภาคที่มีจารีตประเพณีเปนของตนเองมานาน ซ่ึงเปนการแสดงถึงความเจริญอยางยิ่งของชาวอีสาน เปนประเพณีที่มีความสําคัญตอวิถีชีวิตของชาวอีสานประเพณีบุญบั้งไฟเปนประเพณีที่เปนการสรางขวัญและกําลังใจในการเตรียมพรอมประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชาวอีสานทําการเกษตรแบบพึ่งธรรมชาติโดยอาศัยนํ้าฝน ปไหนฝนแลงหรือฝนไมตกตองตามฤดูกาล ชาวอีสานจะไดรับความเดือดรอนอยางหนัก ฝนจึงเปนเหมือนชีวิตจิตใจของชาวอีสาน

ชาวอีสานมีความเชื่อในการเคารพนับถือเทพเจาที่ปกปองคุมครอง มนุษยจึงมีการทําพิธีบวงสรวงเพื่อวิงวอนเทพเจา หรือดวงวิญญาณใหชวยปกปองคุมครองเภทภัยใหแกตัวเอง เพ่ือเปนขวัญและกําลังใจไมใหเกิดความทอถอย และเชื่อวามนุษยติดตอกับพญาแถนได ซ่ึงชาวอีสานใหเคารพเกรงกลัวตอพญาแถนเปนอันมากจึงใชวิธีจุดบั้งไฟ เพ่ือบอกพญาแถนใหชวยเหลือในเรื่องน้ํา๔๘ ซ่ึงประชาชนจังหวัดหนองคายมีการเลาถึงตํานานของพญาแถนใหประชาชนท่ีอยูในจังหวัดหนองคายและจังหวัดใกลเคียงหรือนักทองเที่ยวที่มาดูบังไฟพญานาคไดรูประวัติความเปนมาและความสําคัญของพญาแถนในวันออกพรรษาของทุกป

บุญบั้งไฟเปนงานสําคัญของชาวอีสานกอนลงมือทํานา ดวยความเชื่อวาเปนการขอฝนเพื่อใหฝนตกตองตามฤดูกาล ขาวกลาในนาอุดมสมบูรณ ประชาชนอยูอยางมีความสุข๔๙ ในงานจะมีการแหบั้งไฟและจุดบั้งไฟ เพราะเชื่อวาเปนการสงสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถนใหสงนํ้าฝนลงมา ระหวางที่มีการจุดบั้งไฟชาวบานจะมีการเซ้ิงอยางสนุกสนาน การทําบุญบั้งไฟนับเปนการชุมนุมที่สําคัญของคนในทองถิ่นที่มารวมงานบุญกันอยางสนุกสนานเต็มที่ มีการนําสัญลักษณทางเพศมาลอเลียนในขบวนแหบั้งไฟ โดยไมถือวาเปนเรื่องหยาบคาย การทําบุญบั้งไฟนี้ บางทีจะตรงกับประเพณีบุญวันวิสาขบูชาดวย๕๐

เม่ือถึงเดือนหกตามประเพณีในฮีต ๑๒ ครอง ๑๔ ซ่ึงเปนเทศกาลบุญบั้งไฟ ปราชญในหมูบานหรือชุมชนจักกําหนดวันที่จะทําบุญประเพณีบั้งไฟใหคนในหมูบานไดทราบ รวมถึงผูที่มีหนาที่ไปประกาศใหคนในหมูบานใกลเคียงใหทราบเพ่ือมาเที่ยวงานประเพณีแต

๔๘ สวิง บุญเจิม, เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๓๙. ๔๙ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๔๐. ๕๐ สาร สาระทัศนานันท, ฮีตสิบสอง – คองสิบส่ี. พิมพครั้งท่ี ๔, (เลย : รวมใจการพิมพ, ๒๕๓๐),

หนา ๔๗.

Page 51: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๓๙

เน่ินๆ อีกทั้งยังตองมีผูที่มีหนาที่ตอนรับผูมารวมงานดวย ในการจัดบุญบั้งไฟนั้นไดกําหนดวันงานเปน ๓ วัน ประกอบดวยวันสุกดิบ วันประชุมร่ืนเริง และวันจุดบั้งไฟ โดยในวันสุกดิบน้ันผูที่มีหนาที่ตอนรับแขกตางก็ไดลงมือปลูกผาม หรือกระทอมเล็กๆ เปนโรงรอบตามลานวันซึ่งเปนที่จุดบั้งไฟ สําหรับผูที่เปนแขกมาประชุมกันซึ่งในปจจุบันสถานที่จุดบั้งไฟมักจะเปนบริเวณทุงนามากกวา กอนวันงานบางครั้งจักมีการนําบั้งไฟขนาดเล็กแบกหรือหาม มีกระปอง ฉิ่งฉาบ แคน ก๊ับแกบ เสียงดังไปตามถนน ตั้งแตเชาถึงเย็น พอถึงบานใครก็หยุดแลวยืนเซิ้งบั้งไฟพรอมกับตีปบ หรือกระปองไปดวย เจาของบานก็จะออกมาตอนรับดวยความเต็มใจ๕๑ แลวใหขนม เหลา หรือเงินแกพวกเซิ้งเปนการทําบุญ กลุมผูเซ้ิงก็จะเคลื่อนยายไปยังบานอ่ืนตอไปการเซ้ิงบั้งไฟจึงเปนการละเลนอยางสนุกสนาน ฟอนรําเปนจังหวะไปดวย การเซ้ิงบั้งไฟจะแบงเปน ๓ กลุม๕๒ คือ

๑) พวกเซิ้งใชศัพทสูงเพ่ือความสวยงาม จะมีตนเสียงนํากอน กลุมผูเซ้ิงจะรองถูกตองตามจังหวะของเสียงกลอง ทวงทํานองอยางมีกฎเกณฑ สวนใหญจะเปนกลุมคนสาวหนาตาดี

๒) พวกเซิ้งใชศัพทธรรมดา เพ่ือเปนการหาทุนในการจัดงาน จะมีหมอกลองตุมหมอแคน หมอพิณ หมอเซิ้ง คณะหนึ่งจะมีอยางมากไมเกิน ๑๐ คน เคร่ืองแตงตัวจะเปนเสื้อผาเกาๆ รมเกา หมวกเกา เสื้อดํา หรือใชชุดพ้ืนเมือง ซ่ึงขึ้นอยูกับความสะดวก

๓) พวกเซ้ิงใชศัพทหยาบโลน สัปดน ตลก หรือเซ้ิงกินเหลา จะแตงตัวแบบตลกคะนอง เขียนหนา แตงตัวตางๆ ใชดินหมอทาหรือนุงเตี่ยว และมีเคร่ืองจําลองชายหญิงประเภทตางๆ

ในพิธีกรรมน้ีไดมีการนําสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันอยางเต็มที่และมีธรรมเนียมถือปฏิบัติกันมาวา ในพิธีแหบั้งไฟนี้ ถาบานเรือนใครไมมีสุราไวสําหรับเลี้ยงแขกที่ไปในงาน ผูซ่ึงเปนแขกก็มีอํานาจที่จะเก็บริบเอาของของเจาของบานน้ันไปขึ้นหรือแลกเอาสุราที่แหงอ่ืนได โดยไมมีความผิดนับวาประเพณีน้ีแสดงถึงจิตใจอันโอบออมอารีของชาวไทยภาคอีสานด้ังเดิม๕๓

คร้ันรุงขึ้นวันที่ ๒ ของงาน บรรดาพวกที่ทําพิธีบั้งไฟตางคนก็นําบั้งไฟของตนไปพักเตรียมไวพรอมกันที่ศาลาการเปรียญ ฝายพวกที่มีหนาที่ตอนรับแขกก็รับแขก พิธีของแขกก็มีธรรมเนียมคือ ตองมากันเปนขบวนคือมีคนตีกลอง และตีฆองนําหนา มีพระและสามเณรตาม

๕๑ เรื่องเดียวกัน, หนา ๔๙. ๕๒ พวงชมพู ไชยอาลา, “การส่ือสารเพ่ือสืบทอดประเพณีบุญบ้ังไฟในชุมชนชนบท”, วิทยานิพนธ

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หนา ๕๖. ๕๓ สัมภาษณ เวียง ศรีพล. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 52: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๐

และตอนสุดทายก็เปนชาวบานทั่วไป ในขบวนจะมีแคนเปาหรือดนตรีอ่ืนๆ เปาหรือบรรเลงเพื่อความครึกคร้ืน

เม่ือถึงบริเวณลานวัด เหลาเจาภาพหรือพวกที่มีหนาที่ตอนรับแขกก็ออกมาเชื้อเชิญ นําหนาพวกแขกไปยังผามของตน ซ่ึงจัดรับรองไวที่วัดน้ัน ขณะเม่ือแขกไปถึงผามนั้น ก็จะตีกลองเปนอาณัติสัญญาณวาแขกทั้งหลายไดมาถึงที่พักแลว

สําหรับพวกหนุมๆ ที่รวมขบวนมาดวยนั้น สวนมากจะมารื่นเริงรองรําทําเพลงผสมปนเปกันไประหวางเจาของทองที่ และคนทองที่อ่ืนๆ สลับกันไป บางก็นําสุรามาเลี้ยงดูกันครั้นถึงกําหนดเวลาทายกก็ไปนิมนตทานสมภารวัด หรือพระคุณเจา เจาคณะจังหวัด เจาคณะอําเภอน้ันๆ ขึ้นไปบนแครแหไปรอบๆ วัด ถามีนาคจะบวชในวันน้ัน ก็เอานาคขึ้นแหตาม

อน่ึงในพิธีแหบั้งไฟนั้น ถาบุคคลใดหรือหมูบานใด มีความประสงคจะสรงน้ําภิกษุรูปน้ันๆ ก็ใหมีการแหพระรูปน้ันออกนําหนานาคนั้นอีกทีหน่ึง การสรงน้ําพระ ของตางๆ ที่ชาวบานรวมทําบุญก็มีอัฏฐบริขารตางๆ เชน เตียงนอน เสื่อ และหมอนอิง ฯลฯ๕๔

เม่ือแหบั้งไฟเวียนไปจนครบ ๗ รอบแลวจึงหยุดพักเอาบั้งไฟไปเก็บรักษาไวยังศาลาการเปรียญตามเดิม ตอนนี้ขบวนแหทั้งหลายก็จะหยุดพักชั่วคราว เพ่ือรับประทานอาหารด่ืมสุรากันอยางเต็มที่ พอเลี้ยงดูกันเสร็จแลวก็ตางเลนเตนรําทําเพลงอีก และมีการเส็งกลองดวย คือเอากลองมาพวกละคูตั้งลงใกลๆ กันแลวผลัดเปลี่ยนกันคนตีๆ ทีละคน ตีจนเต็มๆ แรงพรอมๆ กันทั้งสองพวก ถากลองของผูใดมีเสียงดังกวาก็นับวาเปนฝายชนะ ฝายพวกที่ชนะน้ันก็จะโหรองแลวเตนรําทําเพลงไปตางๆ นาๆ๕๕ เปนการแสดงวากลองของตัวมีเสียงดัง แลวก็หามกลองน้ันไปเที่ยวแขงเสียงกับพวกอ่ืนๆ ตอไปอีก เลนกันจนเวลารุงสวางแลว ตางก็นําบั้งไฟมาแหไปตามรอบๆ วัดอีกจนกระทั่งถึงเวลาจุดบั้งไฟ

จากน้ันก็จะเอาบั้งไฟขึ้นเกยพาดบนรานสูงประมาณ ๑๕ วา ซ่ึงปลูกไวเปนรานสําหรับจุดบั้งไฟ แลวจุดทีละอันๆ ในขณะท่ีจุดน้ันพรรคพวกตางคนตางระดมตีกลอง ฆองพรอมกบเตนรําโหรองกันอยางสน่ันหวั่นไหว เพ่ือเอาใจชวยบั้งไฟของตนถาบั้งไฟของผูใดหรือบานใดขึ้นสูงสุด พวกนั้นก็จะพากันกระโดดโลดเตนดีอกดีใจอยางที่สุด ผูที่ทําบั้งไฟนั้นจะมีหนาตามาก เขาจะจับคนทําบั้งไฟแหแหนและเวียนไปรอบๆ ในลานวัดน้ันอยางเคารพนับถือ

สวนบั้งไฟของผูใดหรือบานใดจุดแลวแตก หรือขึ้นไมเต็มที่เจาของและพรรคพวกที่รวมขบวนแหน้ัน ก็จะเสียชื่อเสียงโดยปริยาย คนทําบั้งไฟจะตองหลบใหทันไมเชนน้ันจะถูกพวกที่รวมขบวนแหน้ันจับคลุกโคลนตม หรือไมก็แหแลวนําไปโยนบกใหขัดยอกนิดหนอย ซ่ึงเปนธรรมเนียมสั่งสอนกลายๆ วา คนน้ีแหละทําใหฉันขายหนา แตทําเปนเคล็ดพิธีเทาน้ัน ไมใช

๕๔ สวิง บุญเจิม, เรื่องเดียวกัน, ๖๔๑. ๕๕ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๔๕.

Page 53: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๑

โกรธทําใหถึงกับเจ็บปวดสาหัส ทั้งนี้เพ่ือความสนุกสนาน และเพื่อเชื่อมความสามัคคีระหวางพวกตน๕๖ เม่ือจุดบั้งไฟหมดทุกลําแลวก็มีพิธีร่ืนเริงกันอีก แลวทําบุญเลี้ยงพระเปนครั้งสุดทาย เสร็จแลวก็แยกยายพากันกลับบานปหนาฟาใหมก็กลับมาอีก เปนประเพณีที่สืบตอกันมาจนถึงปจจุบันนี้ แตบางสวนก็มีการดัดแปลงเพื่อใหเขากับยุคสมัยปจจุบัน

๓.๒.๒ พิธีบวงสรวงองคพระธาตุหลาหนอง

การบวงสรวงคือ พิธีการทางพุทธศาสนา ที่ทานโบราณคณาจารยไดกระทํา เพ่ือเปนการยอมรับนับถือทานผูมีพระคุณยิ่งใหญในชีวิต มีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาทุกๆ พระองค พระปจเจกพุทธเจาทุกๆ พระองค พระอริยสงฆสาวก เทพไทเทวา คุณบิดามารดา อาจารยทุกๆ พระองค ทุกๆ ชาติ รวมทั้งพระภูมิเจาที่ ทานทาวจาตุรมหาราชท้ัง ๔ ทานพระยายมราช เคารพทานผูเปนใหญในทั้ง ๓ โลก๕๗

บวงสรวง คนสวนมักเขาใจผิดคิดวาเปนพิธีการของพราหมณ บวงสรวงเปนภาษาพราหมณสมัยพุทธกาลก็เปนภาษาบาลี สวนภาษาไทยแปลวา ยอมรับนับถือทานผูมีพระคุณ คือ พระรัตนตรัย พรหม เทวา ผูเปนใหญดูแลโลก ดูแลคุมครองผูที่มีบุญบารมี ไมใหไดรับอันตรายจากอุบัติเหตุ จากผูราย หรือจากภัยธรรมชาติ การบวงสรวงเปนพิธีการบูชาพระคุณความดีของทานที่มีคุณงามความดีตอสรรพสัตวทั้ง ๓ โลก๕๘

จุดประสงคของการบวงสรวงมีมากมายหลายขอแลวแตจุดประสงคของแตละทานที่จะบวงสรวงเพื่ออะไร ก็ตั้งจิตอธิษฐานอัญเชิญทานผูเปนใหญ หรือทานผูมีพระคุณ ถาศาสนาพราหมณก็บูชา พระพรหม เทวาอารักษ ถาเปนชาวพุทธก็อัญเชิญทานผูเปนใหญสูงสุด คือองคพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจา พระปจเจกพุทธเจา พระโพธิสัตวเจา พระอริยสาวกทุกๆ พระองคเบื้องบนพระนิพพาน คุณบิดามารดาทุกๆ ชาติ เทพเจา พระพรหมเทวดาที่ดูแลคุมครองปองกันทั้ง ๓ โลก๕๙

เม่ือพระองคทานเสด็จมาแลวตามที่เราตั้งใจอัญเชิญดวยความเคารพนับถือดวยใจจริง ขอใหทานชวยเหลืองานใหญๆ ที่เราจะทํา เชนสรางวัด สรางบาน สรางตึก เปนตน ก็ทําใหผีวิญญาณ คนสัตวรายไดเห็นพระทานมา ไดโมทนา ยินดี เม่ือไดเห็นแสงสวางจากทานผู

๕๖ สัมภาษณ สวาง โยธาศรี, ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔. ๕๗ โครงการจัดสรางพระบรมรูปและเหรียญท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจาอยูหัว

ภูมิพลอดุลยเดช, พิธีบวงสรวง, http://king_statue.nida.ac.th/th/index, (๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓). ๕๘ เกษร สุทธจิต จันทรประภาพ, ทําไมตองมีพิธีบวงสรวง, http://board.palungjit.com/f

๑๗,(๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓), ๕๙ ขาวสดออนไลน, พิธีบวงสรวง, http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?

newsid=TVRJM๐๕UazRNakF๕Tnc๙PQ,(๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓).

Page 54: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๒

บริสุทธิ์ มีปญญาบารมี มีความสุขสดชื่น โลกก็ไมวุนวายเดือดรอนจนเกินไป สรรพสัตวจะอยูรวมกันอยางรมเย็น

คุณประโยชนของการบวงสรวงมีมากมายหลายขอ พอสรุปเปนขอใหญๆ ไดดังน้ี๖๐ ๑) เปนการปฏิบัติบูชา ดวย กาย วาจา ใจ เปนพุทธานุสสติ เปนการบูชาแบบพิธี

การเทิดพระเกียรติของทานผูมีพระคุณยิ่งใหญไพศาล คือองคพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาทุกๆ พระองค พระปจเจกพุทธเจาทุกๆ พระองค พระโพธิสัตวเจาทุกๆ พระองค พระธรรม พระอริยสงฆสาวกทุกๆ พระองค คุณพอ คุณแมทุกๆ ชาติ คุณครูอาจารยทุกๆ ชาติ เทพเทวาอารักษผูรักษาโลกนี้ทุกๆ พระองค๖๑

๒) เปนการมอบกายถวายชีวิต เปนลูกศิษยขององคพระตถาคตเจาอยางเปนพิธีการ

๓) เพ่ือสงเคราะหสรรพสัตวทุกดวงจิตในโลกมนุษย ตั้งแต เปรต ผี วิญญาณพเนจร คนใหพนทุกข พนอันตราย และใหโลกอยูรมเย็นเปนสุข จากอานิสงสผลบุญของการบวงสรวงที่สรรพสัตวไดโมทนากับกุศลผลบุญ

๔) สรรพสัตวทั้งหมดทุกดวงจิตวิญญาณ ทั้งผีและคนไดเห็นพระฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการขององคสมเด็จพระทรงสวัสด์ิโสภาคยที่ไดโปรดเมตตาทรงเสด็จมาเปนองคพระประธานของการบวงสรวง ก็มีจิตปติ ยินดี สดชื่น เบิกบาน มีความสุข พนจากทุกขบาปกรรม

๕) เปนการสะเดาะเคราะหของโลกมนุษยซ่ึงมีแตความเดือดรอนวุนวาย จากภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคภัยไขเจ็บ อุบัติเหตุตางๆ ภัยเศรษฐกิจ เปนตน๖๒ เน่ืองจากบาปกรรมของคน สัตว รวมทั้งภูตผีวิญญาณมากมายหลายลานที่คนมองไมเห็นผี คือจิตวิญญาณของคนที่ตายแลว แตไมไปไหนยังคงเวียนวนอยูในโลก เพราะความลุมหลงในรางกายตนเอง รางกายคนรัก ทรัพยสมบัติของตน จึงไมพนจากการเปนผี

๖) เปนงานพุทธาภิเษก ดวยการขอพระบารมี พระผูมีพระภาคเจาไดเมตตาใหวัตถุมงคลทุกชนิดมีพลังพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพและพระสังฆานุภาพ เพ่ือปกปกรักษาปองกันอันตราย และชวยใหผูไดวัตถุมงคลไปบูชา มีจิตกาวหนา เขาถึงพระธรรม ไดรวดเร็ว

๖๐ จ. เปรียญ (นามแฝง), ประเพณีพิธีมงคลไทยอีสาน. (กรุงเทพมหานคร : อํานวยสาสน,

๒๕๒๙), หนา ๙๑. ๖๑ สัมภาษณ สมศรี แกวคุณเมือง. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๖๒ สัมภาษณ อําพร ฐามะพรรณ. ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย. ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔.

Page 55: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๓

ข้ันตอนพิธี ๑) ควรทําปละคร้ัง นิยมทําตอนเชา ไหวพระกลาวอัญเชิญพระผูมีพระภาคเจาทุกๆ

พระองค พระปจเจกพุทธเจาทุกๆ พระองค พระโพธิสัตวเจาทุกๆ พระองค พระอริยสงฆเจา คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย เทพพรหมผูเปนใหญดูแลโลก รวมทั้งทานทาวมหาราชทั้ง ๔ พระภูมิเจาที่ แมพระธรณี แมพระคงคา แมพระโภสพ รุกขเทวดา ทั่วชั้นฟา ชั้นดินทุกๆ พระองค ขออันเชิญมาทั้งหมด

๒) กลาวคําบูชาพระรัตนตรัย ๓) กลาวขอขมาตอพระรัตนตรัย ๔) ตั้งจิตอธิษฐานปฏิญาณตนเปนพุทธมามกะ ๕) กลาวขอพรในสิ่งที่ปรารถนาแลวแตทานตั้งใจจะทําอะไร ถวายสังฆทาน ทําบุญ

วิหารทาน ธรรมทาน ๖) ทําสมาธิ ๕ นาที ๗) ถวายสังฆทาน ทําบุญ ๘) แผเมตตาอุทิศสวนกุศลขอฝากไปกับพระฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการขององค

สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาไปยัง นรกโลก มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ขอใหสรรพสัตว ทุกดวงจิตหลุดพนจากภัยอันตราย มีความสุขสดชื่น และหลุดพนจากการเวียนวายตายเกิดโดยสิ้นเชิง๖๓

๓.๒.๓ พิธีถวายปราสาทผึ้ง

งานแหปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของประชาชนหนองคาย เปนประเพณีที่เรียบงายไมจัดใหญโตและปฏิบัติตอเน่ืองเหมือนจังหวัดสกลนคร หรือจังหวัดอ่ืนๆ แตการพัฒนารูปแบบปราสาททรงโบราณ เปนทรงตะลุม ทรงหอผ้ึงแบบโบราณยังไมพัฒนา เปนรูปทรงปราสาทผึ้งดังกลาวยอมเกิดแงคิดในหลายประเด็นโดยเฉพาะในดานรูปแบบและเนื้อหา วามีการอนุรักษประยุกตดัดแปลงหรือสรางใหม อยางไร ประเด็นดังกลาวไมควรขามไป

๖๓ จ. เปรียญ (นามแฝง), เรื่องเดียวกัน,หนา ๙๕.

Page 56: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๔

เพ่ือความเขาใจผูวิจัยจึงขอนําเรื่องราวของปราสาทผึ้งมาร้ือฟนใหทบทวนกันโดยสรุปยอ ดังน้ี๖๔

๑. ยุคตนผ้ึง - หอผ้ึง ชาวหนองคายในบางทองถิ่นมีความเชื่อกันวา การทําตนผึ้ง ดอกผ้ึง ทําเพ่ือ

เปนพุทธบูชาใหกุศลแกผูลวงลับไปแลว ดังนั้นเม่ือมีญาติพ่ีนอง เพ่ือนฝูงในหมูบานหรือผูที่ตนนับถือถึงแกวายชนมลงจึงพากันไปชวยงานศพ (งานเฮือนดี) เทาที่จะชวยงานได ดังมีคํากลาว วา “ผูหญิงหอขาวตม ตัดตอก บีบขาวปุน ผูชายหักหอผึ้ง”๖๕

คําวา หักหอผึ้ง ก็คือ การหักตอกทําตนผึ้งน่ันเอง กลาวกันวาในการไปชวยงานศพ หรืองานบุญแจกขาวน้ันผูชายจะตองนําพราติดตัวมาดวย ทั้งน้ีเพราะตองใชทํางานทุกอยาง นับแตถากไมตัดฟนและจักตอกทําตนผึ้ง หอผ้ึง ตนผึ้ง ซ่ึงทําจากตนกลวยขนาดเล็ก ตัดใหยาวพอสมควร แตงลําตน กาน ทําขาหยั่งสามขาใหยึดตนกลวยเขาไว เม่ือตั้งไดแลว จากน้ันจึงนําขี้ผึ้งมาเคี่ยวใหหลอมเหลวเพื่อใสลงในแมพิมพ ซ่ึงแมพิมพน้ันทําจากผลไม เชน ผมสิมลี (สิมพี, สมพอดี, โพธิสะเล) นอกจากน้ียังอาจใหผลมะละกอขนาดเล็กควานภายในแตงใหเปนดอกเปนแฉกตามตองการ จากน้ันจึงนํามาพิมพลงจุมขี้ผึ้งแลวยกขึ้น นําไปแชนํ้า ขี้ผึ้งจะหลุดออกจากพิมพเปนดอกดวงตามแบบแมพิมพที่กําหนดรวดลายเอาไว

กอนนําดอกผ้ึงไปติดที่กานกลวยหรือตนกลวย ชางที่ทําตนผึ้งจะห่ันหัวขม้ินใหเปนแวนกลมใชไมกลัดเสียบแวนขม้ินรองดอกผ้ึง เพ่ือมิใหดอกผ้ึงออนตัวจนเสียรูปทรง การทําตนผึ้ง จะตองทําใหเสร็จกอนวันเก็บอัฐิธาตุของผูตาย ในวันเก็บอัฐิ ญาติพ่ีนองจะนําตนผึ้งไปดวยหลังจากใชกานกลวยคีบอัฐิมาทําเปนรูปคน กลบธาตุก็จะนําตนผึ้งมาวางที่กองอัฐิ พระสงฆชักบังสุกุลกลบธาตุ กอนที่จะนําอัฐิไปบรรจุในสานที่อันเหมาะสมตอไป ตนผึ้งจึงใหเพ่ือพิธีกรรมดังกลาว

หอผ้ึงมีความเก่ียวพันกับตนผึ้งอยางใกลชิดและเปนตนกําเนิดของการแหปราสาทผึ้งในปจจุบัน หอผ้ึงมีลักษณะเปนทรงตะลุม ทําโครงดวยไมไผจักตอกผูกเสริมดวยกาบกลวยกานกลวย โครงหอผึ้งจะทําเปนรูปสี่เหลี่ยม ๒ ชั้นตอกัน คลายเอวขันธหรือเอวพานภายในโครงไม จะโปรง เพ่ือใหบรรจุเคร่ืองอัฐบริขารไดทั้ง ๒ ชั้น เปนที่หนาสังเกตที่วาหอผึ้งจะมี ๒ รูปแบบ ตางกันเล็กนอย คือ บางแหงทําหอ ๒ ชั้น มีขนาดไลเลี่ยกันแตบางแหงทําชั้นลางใหญกวางชั้นบนเหนือเอวขันธทําทรงขนาดเล็กใหรับกับฐานลางใหดูพองาม

การประดับหอผึ้ง ยังนิยมประดับดอกผ้ึงตามโครงกาบกลวย กานกลวย แมจะมีการแทงหยวกเปนลวดลายบางแลวก็ยังไมเนนความงดงามของลายหยวกกลวยเปนสําคัญ หอผ้ึง

๖๔ ประเพณีไทย, ประเพณีแหปราสาทผึ้ง, http://www.prapayneethai.com/th/tradition/

north_east/view.asp?id=๐๕๐๘,(๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓). ๖๕ สัมภาษณ สาคร ปริวัติ. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

Page 57: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๕

ดังกลาวจะทําใหเปนคานหามเพื่อใชแหไปถวายวัด สวนประกอบสําคัญยังเปนโครงซ่ึงทําดวยตอกไมไผอยู จึงยังเรียกการทําหอผึ้ง แตเดิมก็ยังคงทําควบคูไปกับการทําตนผึ้ง กลาวคือ ประเพณีชาวอีสานถือวา เม่ือถึงวันทําบุญ ถวายทานแกผูตายในงานแจกขาว เม่ือถวาย ภัตตาหารแกพระสงฆแลว ก็ถวายหอผึ้งเพ่ืออุทิศสวนกุศลแกผูวายชนม ดังมีคําถวายถึง ปราสาทผึ้งตอนหนึ่งวา "…อิมานิ มะยัง ภัณเต มะธุปุปผะ ปะสาทัง"๖๖

แมวาการถวายหอผึ้ง จะกระทําอยูในงานแจกขาว แตชาวอีสานในหมูบานตางๆ ก็ยังถือวาควรจัดงานอุทิศสวนกุศลใหผูวายชนมในชวงวันนออกพรรษา ดังน้ันจึงนิยมหาก่ิงไม หนามไผ มาสุมบริเวณที่เผาศพ มิใหสัตวมาขุดคุย พรอมปกไมก้ันรั้วคอกไว

การถวายหอผึ้งแกภิกษุสงฆไมมีกฎเกณฑตายตัววาจะทําหอผึ้งจํานวนกี่หอ บางแหงลูกหลานผูตายก็จะทําเปนของตนเอง คนละ ๑ หอ บางแหงถือวาจะตองชวยกัน ทําถวายพระสงฆใหครบทุกวัดที่นิมนตมาสวดมนตเย็น การฉลองหอผ้ึงหลังจากสวดมนตเย็น มีเทศนาใหเกิดบุญกุศล แลวมีการฉลองสนุกสนานรื่นเริง วันรุงเชาจึงถวายอาหารพระสงฆ แลวถวายหอผึ้งเปนเสร็จพิธี๖๗

๒. ยุคปราสาทผ้ึงทรงหอ

ปราสาทผ้ึงทรงหอเล็กๆ มี ๒ รูปแบบ๖๘ คือ ทรงหอมียอดประดับหลังคาและปราสาททรงสิม หรือศาลพระภูมิที่มีขนาดเตี้ยปอมกวาชนิดแรก แตไมมีหลังคาเรียงขึ้นเปนยอดปราสาทชนิดหลังน้ีพบเห็นในสกลนคร ปราสาทผึ้งในยุคน้ีประกอบดวย

๑) ปราสาททรงหอมียอดประดับหลังคาแหลมสูง

ปราสาทผ้ึงแบบนี้ไดพัฒนาการทําโครงใหเปนโครงไม โดยใชไมเน้ือออนทําเปน ๔ เสา ทาสีหรือพันดวยกระดาษสี เคร่ืองบนทําเปนหลังคาคลายหมากแตงหนาจ่ัวดวยหยวกกลวยประดับดอกผ้ึง ปลายหลังคามีไมไผเหลาใหแหลมประดับหยวกกลวยติดดอกผ้ึงลดหลั่นขนาดตามลําดับ

แมชาวอีสานจะเรียก "ตนผึ้ง" แตรูปทรงที่ทําขึ้นก็เปนทรงปราสาทดังปรากฏในพระนิพนธสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพกลาวไวเม่ือเสด็จมาถึงพระธาตุพนม เม่ือวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๕๐ วา

๖๖ สัมภาษณ พระครูสุตรัตนาภรณ (สุดใจ วรญาโณ). เจาคณะตําบลมีชัย. ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๖๗ สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษี (คําบอ อรุโณ). ท่ีปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย เจาอาวาส

วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง). ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๖๘ เรื่องดียวกัน.

Page 58: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๖

“...มีราษฎรตําบลใกลเคียงพากันมาหามากตอมาก เหมือนอยางมีนักขัตฤกษสําหรับป และตระเตรียมกันแหปราสาทผึ้ง และจุดดอกไมเพลิง ใหอนุโมทนาดวยเวลาบาย ๔ โมง ราษฎรแหปราสาทผึ้งและบองไฟเปนกระบวนใหญเขาประตูชานชาลา พระเจดียดานตะวันตก แหประทักษิณองคพระธาตุสามรอบกระบวนแหน้ัน คือ ผูชายและเด็กเดินขางหนาหมูหน่ึง แลวมีพิณพาทยตอไปถึงบุษบก แลวมีรถบองไฟ ตอมามีปราสาทผึ้งคือ แตกหยวกกลวยเปนรูปทรงปราสาทแลวมีดอกไม ทําดวยขี้ผึ้งเปนเคร่ืองประดับ มีพิณพาทย ฆองกลอง แวดลอมแหมาและมีชายหญิง เดินตามเปนตอนๆ กันหลายหมูและมีกระจาดประดับประดาอยางกระจาดผาปาหอยดวยไสเทียนและไหมเข็ด เม่ือกระบวนแหเวียนครบสามรอบแลวไดนําปราสาทผ้ึงไปตั้งถวายพระมหาธาตุ ราษฎรก็ยังน่ังประชุมกันเปนหมูๆ ในลานพระมหาธาตุคอยขาพระพุทธเจาจุดเทียนนมัสการ แลวรับศีลดวยกันพระสงฆ มีพระครูวิโรจนรัตโนบลเปนประธานเจริญพระพุทธมนต เวลาค่ํามีการเดินเทียนและจุดบองไฟ ดอกไมพุม และมีเทศนกัณฑหน่ึง …”๖๙

๒) ปราสาทผ้ึงทรงสิมหรือทรงศาลพระภูมิ

ปราสาทผึ้งทรงนี้ ลดความสูงลงไมสูงเทาชนิดแรก หลังคาเปลี่ยนไป มีเจาจ่ัวสี่ดานคลายเปนทรงจตุรมุขเหมือนสิมของวิหารทั่วไป สันนิษฐานวา ปราสาทชนิดน้ีออกแบบตามลักษณะของสิมพ้ืนบานในภาคอีสาน การประดับตกแตงยังใชวิธีการแทงหยวกประดับปานลม ชอฟาใบระกา พรอมดอกผึ้งตัดหยวกตามสวนตางๆ ทั้งสวนบนและสวนลาง เชน เสาฐาน ภายในตัวประสาท นอกจากน้ียังวางเครื่องธรรมทานภายในปราสาท ชางพ้ืนบานบางรายแทงกาบกลวยเปนพระธรรมจักร ประดับดอกผึ้งติดไวแทนสัญลักษณพุทธศาสนา

๖๙ จังหวัดหนองคาย, วิถีชีวิตประเพณีทองถิ่น, http://kanchanapisek.or.th/kp๘/culture/sgk/file

๑/l๓_๑.html. (๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓๗).

Page 59: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๗

๓. ยุคปราสาทผ้ึงเรือนยอด

พระธรรมมงคลรังษี๗๐ กลาวถึง “ประวัติการทําปราสาทผ้ึง” วาแตเดิมเม่ือมีชุมชนเกิดขึ้นรอบๆ วัดสิริมหากัจจายน (วัดธาตุ) ประชาชนบางตําบล เชน ตําบลหาดคํา ไดรับหนาที่เปนผูรักษาปฏิสังขรณองคพระธาตุหลาหนองที่เรียกวา “ขาพระธาตุ” ครัวเหลาน้ีไมตองเสียเงินสวนใหหลวง ตอมาพระเถระผูเปนเจาคณะตําบลโพธิ์ชัย ตอนมีลูกศิษยและประชาชนในตําบลใกลเคียงเลื่อมใสมากขึ้น จึงไดเชิญชวนเจาอาวาสและประชาชนที่อยูในตําบลใกลเคียง คือ ตําบลกวนวัน ตําบลหนองกอมเกาะ ตําบลมีชัย เปนตน เขามารวมเปนขาพระธาตุดวย และแมวาในเวลาตอมาไดมีการยกเลิกหมูบานขาพระธาตุใหทุกคนเสียภาษีแกทองถิ่นแลวก็ตาม แตชาวบานรอบนอกๆ ก็ยังมีประเพณีทําบุญถวายพระธาตุ ในชวงขางขึ้น เดือน ๑๑ ของทุกป ในชวงวันขึ้น ๑ ค่ํา ถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ํา เปนชวงนําขาวเมาและตนผึ้งมาถวายองคพระธาตุหลาหนองโดยมีความหมายถึงการขอลาองคพระธาตุไปอยูในนาเก็บเก่ียวขาว

ในชวงเวลาเดียวกันที่กลุมชาวนาคุมรอบนอกเทศกาลทําตนผึ้งถวายองคพระธาตุ กลุมชาวเมืองในเขตเทศบาลก็ทําปราสาทผ้ึงเปนทรงปราสาทถวายเชนเดียวกัน โดยกําหนดในวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๑ เปนวันถวายปราสาทผึ้ง จึงดูคลายกับเปนการแขงขันกัน จนถึงราว พ.ศ .๒๔๙๕ – ๒๔๙๖ จึงไดมีการประชุมที่วัดสิริมหากัจจายน (วัดธาตุ) ใหจัดปราสาทผ้ึงโครงไมจตุรมุขแทนปราสาทผึ้งแบบเดิม และตนผึ้งแบบโบราณ จึงทําใหการแขงขันระหวางชาวเมืองในเขตเทศบาลกับนอกเขตเทศบาลยุติลง

ก) ลักษณะรูปทรงปราสาทหรือยอด

รูปแบบปราสาทผึ้งที่ทําดวยไมไผเหลาเปนเสน หรืออาจทําดวยโครงไมระแนงมีดอกผ้ึงประดับตามกาบกลวย ซ่ึงใชศิลปะการแทงหยวกไดเปลี่ยนไปจากเดิมในราว พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๖ โดยคณะกรรมการจัดงานประกวดปราสาทผึ้ง เทศบาลหนองคายเห็นวาไมสามารถพัฒนารูปแบบลวดลายองคประกอบใหวิจิตรพิสดารได จึงไดเปลี่ยนเปนการทําปราสาทผึ้งโดยทําปราสาทเปนโครงไม เปนทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอดหรือที่เรียกวา “กุฎาคาร” ๗๑ ตัวอาคารทั้งสี่ดานตอเปนมุขยี่นออกไปมี ขนาดเทากัน บางแหงสรางปราสาท ๓ หลัง ติดกัน นอกจากน้ียังเนนความประณีตในการตกแตงลวดลายตัวปราสาท เชน กําแพงแกว หนาบัน ชอฟา ใบระกา นาคสะดุง โดยใชศิลปกรรมไทย หรือศิลปะผสมระหวางลายไทยและลวดลายใน

๗๐ สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษี (คําบอ อรุโณ), เจาอาวาสวัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง และท่ี

ปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย, ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๗๑ นิเวศน เสมอพิทักษ, ปราสาทผึ่ง, http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/

nongkha/niwait-s/sec๐๑p๐๒.html, (๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓).

Page 60: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๘

ทองถิ่นอีสาน จะเห็นไดวา ประเพณีแหตนผึ้งดังกลาว เปนเรื่องราวท่ีมีคติความเชื่อมาจากงานบุญแจกขาวโดยเฉพาะ

การทําปราสาทผึ้งสวนมากในอีสานนิยมทํากันมาแตโบราณ ดวยเหตุผลหรือคติที่วา๗๒

(๑) เพ่ืออุทิศสวนกุศลใหแกบรรพบุรุษผูที่ลวงลับไปแลว (๒) เพ่ือตั้งความปรารถนาไวหากเกิดในภพมนุษยขอใหมีปราสาทราชมณเฑียร

อาศัยอยูดวยความม่ังมีศรีสุข ถาเกิดในสวรรคขอใหมีปราสาทอันสวยงาม มีนางฟาแวดลอมเปนบริวารจํานวนมาก

(๓) เพ่ือรวมพลังสามัคคีทําบุญทํากุศลรวมกัน พบปะสนทนากันฉันทพ่ีนอง (๔) เพ่ือเปนการประกาศหลักศีลธรรม ทางบุญทางกุศลใหปรากฏโดยชาวคุมวัด

ตางๆ รวมกับขาราชการ พอคา ประชาชน บริจาคเงินตามศรัทธาพรอมกัน ทําปราสาทผ้ึง กําหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเปนวันจัดงาน วันแรกแขงขันเรือยาว วันที่สองแหปราสาทผึ้ง วันที่สามทําบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร

จากขอมูลขางตน เปนเพียงสวนหนึ่งของประเพณีการแหปราสาทผึ่ง ซ่ึงเดิมทีเปนการอุทิศสวนกุศลใหแกผูลวงลับไปและไดมีการประยุกตใหมีความสวยงามมากขึ้นในรูปแบบตางๆ และนํามาถวายองคพระธาตุเพ่ือเกิดความดีงามแกชีวิตและชุมชนของตน ซ่ึงการแหปราสาทผ้ึงนั้นเปนประเพณีประจําจังหวัดหนองคาย เพ่ือเปนการอุทิศสวนกุศลใหแกผูที่ลวงลับประการหนึ่ง และที่สําคัญคือ การแหปราสาทผึ้งเพ่ือนําไปบูชาองคพระธาตุหลาหนอง (พระธาตุกลางนํ้า) ประการหนึ่ง ซ่ึงเปนการสรางปราสาทแบบโบราณโดยมีหลักการในการทําดังน้ี๗๓

(๑) การทําโครงไม โดยการเลือกรูปแบบ ออกแบบใหโครงไมมีสัดสวนสวยงามทั้งน้ีโดยใชชางไมที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะโครงไมเหลาน้ี มักใชเพียง ๔ – ๕ ปก็จะเปลี่ยนหรือ ขายใหผูอ่ืน

(๒) การออกแบบลวดลายที่ใชประดับสวนตางๆ พรอมทั้งการใชสีซ่ึงจะตองคิดไวอยางพรอมมูล

(๓) การแกะลวดลาย และการพิมพจากดินน้ํามัน หรือวัสดุทางวิทยาศาสตรอ่ืน ๆ กอนทําแมพิมพ

๗๒ วิสันต ทาวสูงเนิน, ประเพณีพื้นบาน ตํานานพื้นเมือง. (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวีทีเอส,

๒๕๔๒), หนา๔๗. ๗๓ ปรีชา พิณทอง, ประเพณีโบราณอีสาน. พิมพครั้งท่ี ๔, (อุบลราชธานี : โรงพิมพศิริธรรม,

๒๕๓๐), หนา ๘๒.

Page 61: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๔๙

(๔) การหลอขี้ผึ้ง – การแกะขี้ผึ้งตามแบบที่กําหนดไวในขั้นตอนนี้ อาจใชทั้งขี้ผึ้งแท ขี้ผึ้งผสม หรือสารวิทยาศาสตร ทั้งน้ีแลวแตความชํานาญของชางแตละแหงแตโดยทั่วๆ ไปมักใชการหลอขี้ผึ้งออนลงในแมพิมพ แลวลอกออกตกแตงใหขี้ผึ้งมีลวดลายเดนชัดหรือตัดสวนที่ไมตองการออก

(๕) การประดับตกแตงตามดวยอาคารปราสาทดวยการใชเข็มหมุด ใหหัวแรงไฟฟาเชื่อมใหยึดติดกัน

ข) มูลเหตุแหงการทําปราสาทผ้ึง ตามหลักฐานทางพุทธศาสนา พอประมวลมาดังน้ี

๑. มูลเหตุที่เรียกวาปราสาท ปรากฏในหนังสือธรรมบท ภาค ๖ เร่ืองยมกปาฏิหาริย๗๔ ตอนพระพุทธเจาเสด็จจํา

พรรษาที่ ๗ บนสวรรค ดาวดึงสชั้น ๒ ประทับที่ปณฑุกัมพลสีลาอาสน ทรงแสดงพระอภิธรรมปฎกแกพระมารดาไดดวงตาเห็นธรรม คร้ันวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๑ ซ่ึงเปนวันมหาปวารณาออกพรรษา พระพุทธเจาตรัสอําลาพระอินทร เพ่ือเสด็จลงสูเมืองมนุษย พระอินทรจึงนิรมิตบันได ๓ ชนิดคือ (๑) บันไดทองคําอยูเบื้องขวา เพ่ือใหเทวดาลงมา (๒) บันไดเงินอยูเบื้องซาย เพ่ือใหมหาพรหมลงมา (๓) บันไดแกวมณีอยูตรงกลาง เพ่ือใหพระพุทธเจาเสด็จลงมา

โดยเชิงบันไดทั้ง ๓ ตั้งอยูที่ประตูเมืองสังกัสสนครถิ่นมนุษย หัวบันไดตั้งอยูที่ยอดเขาสีเนรราช บนสวรรค ดาวดึงส กอนเสด็จลงพระพุทธเจาประทับยืนบนยอดเขาสีเนรุนาททํายมกปฏิหาริย โดยทรงแลดูเบื้องบนปรากฏ มีเนินเปนอันเดียวกันถึงพรหมโลก ทรงดูแลขางลาง ก็ปรากฏมีเนินเปนอันเดียวกัน ตอนนี้เองพวกเทวดา มนุษย พรหม ครุฑ สัตวนรก ตางมองเห็นเหมือนอยูเฉพาะหนา พระพุทธเจาทรงเปลงรัศมีสวางไสวไปทั่วทุกแหง ทั้งหมดเกิดจิตใจเลื่อมใสปรารถนาเปนพระพุทธเจาหมดทุกคน คร้ันแลวพระพุทธเจาก็เสด็จลงทางบันไดแกวมณีตรงกลาง ทาวมหาพรหมกั้นเฉวตฉัตร ทาวสุยามถือพัดวาลวีชนี พวกเทวดาลงทางบันไดทองคํา เบื้องขวามีนักฟอน นักดนตรีติดตาม พวกมหาพรหมลงทางบันไดเงิน เบื้องซายมีมาตุลีเทพบุตรถือดอกไมของหอมติดตาม คร้ันเสด็จถึงประตูเมืองสังสะนคร ทรงประทับพระบาทเบื้องขวากอน และเรียกสถานที่น้ีวา "อจลเจตียสถาน" สืบมา ทรงทอดพระเนตรรอบทิศอีกคร้ังเปนคร้ังที่ ๒ พวกเทวดา มนุษย นาค ครุฑ สัตวนรก ตางชื่นชมในพระบารมีของพระพุทธเจา และเกิดความเลื่อมใสในบุญกุศลเปนอยางยิ่ง ตอนนี้เองเกิดจิตนาการมองเห็นปราสาทวิมานสวยงามใครอยากไปอยู จึงรูชัดวา การที่จะไปอยูในปราสาทสวยงามไดน้ัน จะตองสรางบุญสรางกุศล ประพฤติปฏิบัติอยูในหลักธรรม ทําบุญใสบาตรสรางปราสาทกองบุญขึ้นในเมืองมนุษย

๗๔ สมเด็จพระสมณเจากรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๖ (แปล) , พิมพครั้งท่ี

๓๒, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หนา ๙๐ – ๙๔.

Page 62: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๐

เสียกอนจึงจะไปได จากน้ันมาจึงพากันคิดสรางสวรรคทําปราสาท ใหมีรูปลักษณะคลายปราสาทวิมานบนสวรรค มีเสา มีหอง มีหนาพรหม ชอฟา ใบระกา หางหงษ จตุรมุข บันได มียอด มีมณฑป ลวดลายวิจิตรสวยงามตามยุคตามสมัยสืบตอกันมา ความจริงคําวาปราสาทน้ี ถาเปนของชาวบานเรียกวาบานของเศรษฐีเรียกวา คฤหาสน ของ พระเจาแผนดิน เรียกวา ปราสาทราชวัง ของพระภิกษุเรียกวา กุฏิวิหาร ของผีเรียกวา หอผี ของหลักเมืองเรียกวา หอหลักเมือง อยูบนสวรรคเรียกวา ปราสาทวิมาน เปรียบเทียบกับการกินขาว คนสามัญเรียกวา รับประทาน คนที่บวชเปนพระภิกษุเรียกวา ฉัน

๒. มูลเหตุที่เอาผึ้งมาทําปราสาทผ้ึง

มีปรากฏในหนังสือธรรมบทภาค ๑ ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี๗๕ ตอนพระพุทธเจาเสด็จไปจําพรรษาที่ควงไมสาละใหญ ณ ปารักขิตวัน ใกลบานปาริไลยกะในพรรษาที่ ๙ โดยชางปาริไลยกะกับลิงเปนผูอุปฏฐาก ไมมีมนุษยอยูเลย ตลอด ๓ เดือน ชางจัดนํ้ารอนนํ้าเย็นผลไมลิงนํารวงผึ้งมาถวาย เม่ือพระองคทรงรับแลวก็เสวย ลิงเห็นก็ดีใจมาก ขึ้นไปจับก่ิงไมเขยาเพราะความดีใจบังเอิญก่ิงไมหักตกลง ตอไมแทงอกลิง ลิงตายไปเกิดเปนเทพบุตรบนปราสาทวิมาน สูง ๓๐ โยชนบนสวรรค คร้ันถึงวันมหาปรารณาออกพรรษา พระพุทธเจาตรัสส่ังลาชางแลวก็เสด็จเขาสูเมืองโกสัมพีตอไป ชางคิดถึงพระพุทธเจามากหัวใจแตกตาย ไดเกิดในปราสาทสูง ๓๐ โยชน พระพุทธเจาทรงนึกถึงความดีของชางและลิงที่เฝาอุปฏฐากตลอดพรรษา ๓ เดือน จึงทรงนําเอาผึ้งรวงนั้นมาเปนดอกไมประดับในโครงปราสาทตามจิตนาการ

๓.๒.๔ การแขงขันเรือยาว การแขงเรือยาวเปนประเพณีหนานํ้าของคนไทยเปนการละเลนในยามน้ําหลากที่สืบ

ทอดมาแตโบราณ และมักมีการแขงเรือควบคูไปกับการทําบุญ ปดทอง ไหวพระและงานกฐิน ชวยสรางบรรยากาศใหงานบุญครึกคร้ืนขึ้น

ประเพณีแขงเรือยาว เปนการละเลนที่สอดคลองกับวิถีชีวิตความเปนอยูของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยูอาศัยใกลนํ้า ในชวงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบานเวนวางจากการทําไรทํานา เปนโอกาสที่หนุมสาวไดพบปะเกี้ยวพาราสีกัน ไดเห็นฝไมลายมือของชายอกสามศอก ไดเห็นความสามัคคีพรอมเพรียงของเหลาหนุมฝพาย การแขงเรือมักมีการเลนเพลงเรือ เพลงปรบไก เพลงครึ่งทอน และสักวาโตตอบกันระหวางหนุมสาว๗๖ หลังการแขงเรือยาว

๗๕ สมเด็จพระสมณเจากรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธัมมปทัฏฐกถา ภาค๑ (แปล), พิมพครั้งท่ี

๓๒, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕), หนา ๕๓ – ๕๖. ๗๖ ปรีชา พิณทอง, เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๐๐.

Page 63: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๑

เปนการใชฝปากไหวพริบและความเปนเจาบทเจากลอนโตตอบเก้ียวพาราสีกัน ไดแสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผูดูมีทั้งอยูบนตลิ่ง และท่ีพายเรือกันไปเปนหมู ตางสนุกสนานกันทั่วหนา๗๗

ประเพณีการแขงเรือพายมีมาตั้งแตอดีตกาล ของไทยนี้สืบไดตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยา ซ่ึงมักจัดกันในเดือน ๑๑ และถือเปนพระราชพิธีประจําเดือน มูลเหตุที่ถือเอาเดือน ๑๑ เปนเดือนที่ตองแขงเรือยาวเพราะในเดือน ๑๑ น้ันน้ําเหนือไหลบาลงมา จนกระทั่งคนสมัยกอนเอยขานเปนคํากลอนจนติดปากวา "เดือนสิบเอ็ดนํ้านอง เดือนสิบสองน้ําทรง" ทั้งน้ีเพราะเดือน ๑๑ นํ้าทวมเต็ม พอถึงเดือน ๑๒ นํ้าจะทรงตัวและคอยๆ ลดลงตามลําดับ๗๘ แตในสมัยปจจุบันยอมขึ้นอยูกับธรรมชาต ิปใดที่นํ้าไมยอมลดลงในเดือน ๑๒ ยอมกระทบกระเทือนถึงการเก็บเก่ียวขาวในนาของประชาราษฎร ฉะนั้น เรื่องเก่ียวกับนํ้าน้ีพระมหากษัตริยไทยในสมัยโบราณจึงถือเปนพระราชพิธี ตองกระทํา เรียกวา "พิธีไลนํ้า" (พิธีไลนํ้าเปนพิธีของพราหมณกระทําในเดือน ๑๑) ในฤดูนํ้าทวมน้ีประชาชนก็มีการแขงเรือ ซ่ึงถือเปนกีฬาของไทยสมัยโบราณอยางหน่ึงแตจะเร่ิมยุคใดสมัยใดยงัไมปรากฏหลักฐานที่แนชดั

การแขงเรือมีปรากฏอยูในคําใหการของชาวกรุงเกา พระราชนิพนธของสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ๗๙ กลาวถึงการแขงเรอืในสมัยกรุงศรีอยุธยา เปนพระราชพิธีเดือนสิบเอ็ดเดือนสิบสอง หรือพระราชพิธีอาสวยยทุธ คือการแขงเรือของพระเจาแผนดินวา “พระเจากรุงศรีอยุธยาทรงเรือพระที่น่ังก่ิงลําหน่ึง พระอัครมเหสีทรงลาํหน่ึง แขงเรือกัน แลวโปรดใหเสนาอํามาตยทั้งหลายแขงเรือกันโดยลําดับ พระราชพิธีน้ีทํากันเม่ือขึ้น ๑๔ ค่ํา จนแรม ๓ ค่ํา รวม ๓ วัน พระเจากรุงศรีอยุธยาจะทรงเครื่องขาวพระมหามงกุฎทําดวยเงิน เวลากลางคืนพระเจากรุงศรีอยุธยาจะเสด็จลงลอยประทีปอุทิศถวายพระพุทธเจา แลวเสด็จลงเรือพระที่น่ังประทับเยือนไปในเรือ พรอมดวยเสนาอํามาตยอันประดับประทีปแหเสด็จรอบพระนคร มีการเลี้ยงลูกขุนและขาราชกรทั้งปวง เสด็จไปพระราชทานพระกฐินตามพระอารามในกรุง” จากพระราชพิธีน้ีจะเห็นวา การแขงเรอืเปนประเพณีที่มีมาแตคร้ังกรุงศรีอยุธยา และแมจะลวงมาจนถงึสมัยรัตนโกสินทร การแขงเรือและการเลนเพลงก็ยังมีเลนกันอยูในเทศกาลไหววัดหรืองานปดทองพระ ของวัดที่ตั้งอยูริมฝงแมนํ้า เสภาเร่ืองขุนชางขุนแผน ซ่ึงเปนพระราชนิพนธทีพ่ระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยรชักาลที่ ๒ แหงกรุงรัตนโกสินทร ไดทรงนิพนธขึ้นรวมกับกวีในสมัยของพระองคตอนจระเขเถรกวาดกัดคนไหวพระวัดปาโมก วา

๗๗ ประกอบ โชประการ, วิวัฒนาการทางขนมประเพณีไทย. (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร,

๒๕๑๓), หนา ๑๔. ๗๘ พูนพิสมัย ดิศกุล, ประเพณีไทย. (กรุงเทพมหานคร : บํารุงนุกูลกิจ, ๒๕๑๔), หนา ๕๐. ๗๙ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชนุภาพ, “ตํานานพระปริตร” ในประชุมพระราชนิพนธเกี่ยวกับ

ตํานานพระพุทธศาสนา. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพรุงเรืองธรรม, ๒๕๑๔), หนา ๒๐๗ – ๒๑๐.

Page 64: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๒

“เปนเทศกาลชาวบานมาไหวพระ เสียงเอะอะเรือแพออกจะแออัด แขงกันไปมาอยูหนาวัด บางซัดเพลงปรบไกใสเพลงเรอื นางสาวสาวโออวดประกวดกัน หมสีสันมวงไหมลวนใสเสื้อ เอาโตกตั้งทั้งคูอยูทายเรือ บางปูเสื่อปูหนังตั้งหมอนอิง เจาหนุนหนุมรุนรักสนุกมาทุกบาน คาดเพดารตลอดลาํทําทุกส่ิง ปูเสื่อออนหมอนวางตั้งอิง พายเที่ยวเก้ียวผูหญิงรอบรอบไป เรือจําพวกขี้เมาขวดเหลาวาง โตะจีนตั้งกลางเอาแกลมใส เอาดอกดาวเรืองรอยหอยหูไว ลวนแตตดัผมใหมใสขาวมา เจาเณรพระสงฆลงเรือโขน ยาวโยนเกรียวกราวอยูฉาวฉา ยังพวกสาวสาวชาวแมคา ผัดผากันไรใสเสื้อแพร ขายกลวยทอดสมขนมจีน เอาโตกตีนชางตั้งไวแตงแง ผูคนบนวัดก็อัดแอ เรือพวงกันเปนแพออกแซเซ็ง พวกหัวไมลอยชายออกกรายกรีด เหน็บมีดขวานคร่ําทํากาเกง

เขาในวัดยัดเยียดเบียดตะเบ็ง สาวสาวกลัวนักเลงลงนาวาฯ”๘๐

จากบทเสภานี้ไดสะทอนใหเห็นบรรยากาศของหนานํ้าหรือฤดูนํ้าหลากของแมนํ้า

เจาพระยาไดดีวา เปนเทศกาลงานใหญที่ชาวบานไมวาใกลไกลจะมารวมทําบุญเทศกาลไหวพระแขงเรือ เลนเพลงเรือกันเปนที่สนุกสนาน และเปนโอกาสของหนุมสาวที่จะไดพบปะเก้ียวพาราสีกัน แมวาเสภาน้ีจะเขียนบรรยายถึงบรรยากาศของผูคนที่มารวมงานไหวพระวัดปาโมก จังหวัดอางทอง ซ่ึงผานพนมาเปนเวลานานนับรอยปแลวก็ตาม แตการแขงเรือ การเลนเพลงเรือในงานไหววัด หรือไหวพระก็ยังคงมีเหลืออยู แตมีบางสิ่งบางอยางที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา เชน การแขงเรือซ่ึงมักจะมีการเลนเพลงเรือ เพลงปรบไก เพลงครึ่งทอน และสักวาโตตอบกันหลังการแขงเรือ การที่ชาวบานพายเรือกันไปเปนหมูไปดูการแขงขันไปไหวพระแลวปลอยเรือ

ลอยตามกระแสน้ําโดยเกาะเรือติดกันเปนหมูรองเพลงเลนเรือเปนที่สนุกสนานก็หมดไป๘๑

เปลี่ยนเปนนั่งเรือยนต เรือเคร่ืองไป ซ่ึงเปนความสะดวกยุคสมัย และแมแตการแขงเรือเพ่ือความสนุกสนาน เพ่ือความสามัคคี ก็ยังมีอามิสสินจางรางวัลเขามาเก่ียวของอยูดวย ทั้งน้ีเปนเพราะคานิยมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและ ยุคสมัยน่ันเอง

ในประวัติศาสตรสมัยกรุงศรีอยุธยามีกลาวไวตอนหนึ่งวา ในแผนดินของพระเอกาทศรถไดโปรดใหมีการแขงเรือของพวกทหารขึ้น การแขงเรือคร้ังน้ันมีจุดประสงคในการซอม

๘๐ จิราภรณ ภัทราภานุภัทร, สถานภาพการศึกษาเร่ืองคติความเชื่อของไทย. (กรุงเทพมหานคร

: โครงการไทยศึกษา ฝากวิชาการ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘), หนา ๑๕๘. ๘๑ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชนุภาพ, เรื่องเดียวกัน, หนา ๒๑๔.

Page 65: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๓

ฝพาย และมีการใหรางวัลแกเรือที่ชนะดวย กองทัพเรือที่เขมแข็งที่สุดของไทยเราก็คงจะไดแก

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช๘๒

ซ่ึงเรือเร็วที่ใชในสมัยน้ันไดแก เรือยาวที่เราเห็นอยูในปจจุบัน คือ เม่ือคร้ังพระยาจีนจันตุคิดหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถก็ใชเรือเร็วออกติดตามจนทัน และไดรบกันเปนสามารถ

เม่ือบาทหลวงเดอชัวซีย ผูชวยราชทูตของพระเจาหลุยสที่ ๑๔ ไดเขามาในแผนดินสมเด็จพระนารายณมหาราช ตามจดหมายเหตุรายวัน กลาวถึงการแขงเรือหลวงตอนหน่ึงวา... "เรือพระที่น่ังน้ันวิจิตรรจนา สงางามยิ่งนัก สุดที่จะพรรณนาในใหทานฟงโดยถวนถี่ ไดมีฝพายประจําเรือประมาณ ๕๐ คน ถือพายปดทองทุกคน พระเจากรุงสยามทรงเครื่องฉลองพระองคลวนแลวไปดวยเพชรพลอย ผีพายใสเสื้อและสวมหมวกสีทอง เคร่ืองประดับก็ปดทอง

ดวยเหมือนกัน ขาพเจาจะพรรณาใหทานฟงวาพยุหโดยชลมารค คร้ังน้ีเปนพิธีอะไรกันแน..”๘๓

"พระเจากรุงสยามเสด็จประทับทรงสําราญพระอิริยาบถ ณ พระตําหนักที่ประทับ

แหงหน่ึงและเสวยพระกระยาหารที่ตําหนักน้ัน พอเสวยแลวโปรดฯ ใหเรือขุนนางที่ยศเสมอกันเขาเทียบเปนคูๆ พายแขงกันไปยังกลุม ถาเรือลําใดถึงพระตําหนักที่ราชวังกรุงศรีอยุธยากอนก็จะไดรับพระราชทาน รางวัลอยางงาม การแขงเรือน้ีเปนสิ่งที่นาดูมาก ฝพายทุกคนมีความชํานิชํานาญ พายเรือคลองแคลววองไวยิ่งนัก การแขงเรือคร้ังน้ี ฝพายตองพายเรือทวนน้ําขึ้นไปตามแมนํ้าใหญเรือพระที่น่ังที่ทรงของพระเจากรุงสยาม ถึงกอนฝพายจึงไดรับพระราชทานรางวัลคน

ละ ๑ ชั่ง การแขงเรือครั้งน้ีมีระยะ ๒ ลีก"๘๔

การเสด็จประพาสบางนางอิน (บางปะอิน) ของพระเจาอยูหัวคร้ังน้ีทางราชการรูวา

ตองมีการแขงเรืออยางแนนอน ฉะน้ันตางก็หาฝพายที่มีฝมือเขมแข็งลงเรือ เพ่ือจะไดรับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจาอยูหัว ความสําคัญของขอความนี้จึงนาจะเปนขอสนับสนุนไดวา พระเจาแผนดินในสมัยโบราณนิยมการแขงเรือเปนอยางมากทีเดียว

การแขงเรือในบางกรณีดูเหมือนเปนการเสี่ยงทายเรือมากกวาสนุกสนาน ดังในพระราชนิพนธของสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ในพระราชพิธีสิบสองเดือนวา พระราชพิธีเดือนสิบเอ็ดในกฎมณเฑียรบาลวามีพิธีแขงเรือ ความพิสดารในกฎมณเฑียรบาล กลาวไดดังน้ี

"เดือนสิบเอ็ด การอาษยุธพิธี มีโหมงครุมซายขวาระบํามโหรทึกอินทเภรีดนตรี เชาทรงพระมหามงกุฎราชาปโภค ตอนกลางวันทรงพระสุพรรณมาลา ตอนเย็นทรงพระมาลาสุกหรํ่าสะพักชมพู สมเด็จพระอัครมเหสีพระภรรยาทรงพระสุวรรณมาลานุงแพรลายทองทรงเสื้อ

๘๒ พูนพิสมัย ดิศกุล, เรื่องเดียวกัน, หนา ๕๘. ๘๓ ทะนงศักด์ิ ตนวงศ, ประวัติและพัฒนาการของการแขงขันเรือยาวไทย. วิทยานิพนธการศึกษา

มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๓๕), หนา ๕๑. ๘๔ เรื่องเดียวกัน, หนา ๕๓.

Page 66: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๔

พระอัครชายาทรงพระมาลาราบนุงแพรดารากรทรงเสื้อ พระสนมใสสนองเกลาสะพักสองบา สมรรถไชยเรือตน ไกรสรมุขเรือสมเด็จพระอัครมเหสีสมรรถไชยไกรสรมุขเปนเรือเสี่ยงทาย ถา

สมรรถไชยแพไซร ขาวเหลือเกลืออ่ิม สุขเกษมเปรมประชา ถาสมรรถไชยชนะไซร จะมียุค"๘๕

จะเห็นวาเรือสมรรถไชยและเรือไกรสรมุขเปนเรือเสี่ยงทายตามกลาว แตความจริง

หาไดเปนเชนนั้นไม เรือสมรรถไชยเปนเรือตน ซ่ึงเปนเรือของพระเจาแผนดิน เรือไกรสรมุขเปนเรือของพระอัครมเหสี ฉะนั้นการเสี่ยงทายเรือไกรสรมุขตองชนะเสมอไป เพราะเปนการปลอบขวัญประชาชน และแสดงถึงความเอาอกเอาใจตอพระมเหสีดวย

จะเห็นไดวา ประเพณีการแขงเรือยาวตามประเพณีหลวงสมัยโบราณที่ไดกระทํากันมาตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยา พอมาถึงกรุงรัตนโกสินทรประเพณีน้ีไมมีการปฏิบัติกัน แตก็ไมถึงกับหายสาบสูญไป มีการแขงขันกันบาง สําหรับการแขงเรือสมัยรัตนโกสินทรที่ตองมีการจารึกไวในประวัติศาสตร คือ การแขงเรือวังหลวง กับวังหนา แตการแขงขันครั้งนั้นไมบริสุทธิ์ ถือวามีเลหเหลี่ยมเกือบทําใหเกิดเร่ืองยุงยาก

เรื่องมีอยูวา ในแผนดินสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก ไดมีการแขงเรือระหวางวังหลวงกับวังหนาขึ้น คร้ังหน่ึงเรือวังหลวงชื่อทองปลิว เรือวังหนาชื่อ มังกร เม่ือจับคูเทียบฝพายกันแลวเห็นวาทัดเทียมกันจะแขงขันกันไดก็ตกลง แตกอนที่จะมีการลงมือแขงขันไดมีขาราชการหลวงผูหน่ึงสืบทราบวา ทางวังหนาเลนไมซ่ือ จึงไดนําความขึ้นกราบบังคมทูลวากรมพระราชวังบวรฯ จัดฝพายที่แข็งแรงซอนไว เวลาแขงจะเอาพวกนี้ออกพายแขง เม่ือไดทรง

ทราบจึงมีพระดํารัสวา วิธีการเลนอยางน้ีจะเลนดวยอยางไร จึงใหเลิกการแขงเรือคราวน้ันเสีย๘๖

ประเพณีการแขงเรือยาว๘๗เปนการเลนในฤดูนํ้าหลากที่ชาวบานวางเวนจากงาน

ประจํา พอใกลเดือนสิบเอ็ด ชายหนุมในละแวกบานที่วัดประจําหมูบานของตน มีเรือแขงก็จะดูคึกคักเปนพิเศษ ในตอนบายจะไดยินเสียงกลองรัวดังกองไปตามคุงนํ้าเพ่ือเปนสัญญาณบอกใหรูวาถึงเวลาที่ฝพายประจําเรือของวัดประจําหมูบานจะตองไปรวมชุมนุมกันเพ่ือซอมพายไวแขงขันกับเรือของวัดในหมูบานอ่ืน ในงานเทศกาลที่กําลังจะมาถึง เรือแขงของวัดแตละหมูบานถือเปนศักด์ิศรีของวัดของหมูบาน ฉะน้ัน “เรือแขง” หรือที่เรียกกันวา “เรือยาว” ของแตละวัดจะไดรับการบํารุงรักษาตกแตงใหงดงามและอยูในสภาพที่พรอมที่จะแขงขันไดเสมอ

๘๕ พระมหาปรีชา ปริฺญาโณ, ประเพณีโบราณไทยอีสาน. พิมพครั้งท่ี ๕, (อุบลราชธานี : โรง

พิมพศิริธรรม, ๒๕๒๕) ,หนา ๓๔. ๘๖ เจาพระยาทิพากรวงศ, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร. (กรุงเทพมหานคร: พระจันทร

ทาพระ, ๒๕๒๖), หนา ๑๒. ๘๗ จังหวัดพิจิตร, เรือยาวไทย. (นครสวรรค : นิวสเสรีนคร, ๒๕๓๓), หนา ๘.

Page 67: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๕

เรือแขงที่ชาวบานแถบลุมแมนํ้าโขงใชแขงกันชาวบานมักจะเรียกติดปากวา “เรือยาว” ตามลักษณะของเรือที่มีความยาวมาก บางลํานับเปนสิบวาก็มี เรือยาวเปนเรือที่ขุดทําขึ้นจากตนซุงที่มีขนาดใหญและยาว โดยนําซุงทั้งตนมาขุดเปนเรือใหมีลักษณะคลายกาบกลวยสวนหัวและทายจะเปนเรียวเล็ก เม่ือขุดซุงเปนเรือโกลนคือพอเปนรูปเปนรางแลว จะใชไฟลนเพ่ือถวงสวนบนของเรือใหกวางแบะออกตามขนาดที่ตองการ แลวจึงจะวางกระดูกงูวางกงเรือติดกาบใสกระทง สวนหัวและทายเรือจะตอเสริมใหเชิดงอนเรียวเล็กดูสวยงาม สวนหัวเรือที่ถือวา

เปนสวนสําคัญที่เรียกวา “โขนเรือ” ๘๘

มักจะถอดแยกออกจากตัวเรือได เม่ือเรือเรียบรอยแลวตองติดกระทงหรือใสที่น่ังสําหรับฝพาย โดยใชไมแผนกวางประมาณ ๑๐ น้ิว วางขวางเปนชวงๆ ไปตามลําเรือหางกันพอประมาณใหฝพายน่ังหอยขาไดอยางสบาย เรือยาว ลําหน่ึงๆ จะจุฝพายไดตั้งแต ๒๐ – ๕๐ ฝพายขึ้นไป

การตอเรือยาวตองใชความรูความชํานาญมาก ชางตอเรือจะตองรูจักลักษณะของเรือเปนอยางดีตองรูวารูปรางอยางไรเรือถึงจะสวยและแลนเร็วเวลาพายโคงเวาอยางไรจึงจะนําใหเรือแหวกน้ําแหวกคลื่นไดดี สิ่งเหลาน้ีเปนความพิถีพิถันของชางตอเรือซ่ึงมักจะเปนผูเฒาที่มีอายุมากมีประสบการณในการแขงขันเรือมามาก และไดเรียนรูลักษณะของเรือมาจากการสังเกตจากประสบการณของตน ชางสวนมากจะเปนผูที่มีจิตใจรักและชอบในเรือยาวและการแขงเรือ

ยาวเปนชีวิตจิตใจ๘๙

สืบเนื่องจากจังหวัดหนองคาย เปนจังหวัดชายแดนอยูตรงขามกับสาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแมนํ้าโขงเปนเสนก้ันพรมแดนและเปนชุมทางการคาขายทางน้ําที่สําคัญทั้งในอดีตจนถึงปจจุบัน

การแขงขันเรือยาวประเพณีจังหวัดหนองคาย ดําเนินการจัดติดตอกันมาตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๑๐ เพราะความผูกพันกับแมนํ้าโขงเสนเลือดใหญที่หลอเลี้ยงชาวจังหวัดมานาน เพ่ือรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของทองถิ่นลุมแมนํ้าโขง และสรางความสัมพันธระหวางประเทศ รวมถึงการบูชาพระธาตุหลาหนองซึ่งเปนพระธาตุคูประชาชนจังหวัดหนองคายและเปนพระธาตุที่ประชาชนจังหวัดหนองคายใหความเคารพเปนอยางมาก การแขงเรือในจังหวัดหนองคายจึงมีทีมเรือทั้งจากจังหวัดหนองคายเอง จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดรอยเอ็ด จังหวัดอํานาจเจริญ และจังหวัดสกลนคร รวมถึงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเขารวมการแขงขัน๙๐ ทําใหเกิดเปนเอกลักษณและความภาคภูมิใจของประชาชนจังหวัดหนองคายเปนอยางยิ่ง

๘๘ สัมภาษณ สะอาด แสงรัตน. ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย. ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๘๙ สัมภาษณ สวาง โยธาศรี, ราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔. ๙๐ สัมภาษณ ยุทธนา ศรีตะบุตร. นายกองคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย. ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔.

Page 68: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๖

กอนที่จะทําการแขงขั้นแขงเรือน้ัน เปนประเพณีที่ชาวจังหวัดหนองคายสรางขึ้นและสืบเน่ืองจากเปนการสักการบูชาคุณของพระธาตุหลาหนองที่คอยปกปกรักษาชาวจังหวัดหนองคายใหมีแตความสุขสงบ เรือทุกลําจะตองมาจอดทําการสักการบูชาองคพระธาตุหลาหนองทุกลํา โดยจะมีหมอพราหมณที่เปนปราชญในชุมชนเปนผูกลาวนําการขอขมาและสักการะองคพระธาตุ โดยใหทุกคนผูที่เขาทําการแขงขันวาตาม เพ่ือเปนการรักษาทั้งผูที่เขารวมการแขงขัน เพราะเหตุที่นํ้าโขงจะไหลเสี่ยวและแรงจึงอาจเปนอันตรายตอผูเขารวมการแขงขันไดและเปนการขอขมาตอองคพระธาตุที่บางทีอาจจะมีการลวงเกินโดยไมไดตั้งใจ

การขอพระราชทานพระราชานุญาต อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” จารึกถวยรางวัล

เม่ือวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๔๔ องคการบริการสวนจังหวัดหนองคาย๙๑ รวมกับเทศบาลเมืองหนองคาย และชมรมกีฬาจังหวัดหนองคาย ไดกําหนดจัดงานโครงการแขงขันเรือยาวประเพณีไทย – ลาว ประจําป ๒๕๔๔ ซ่ึงจัดขึ้นเปนประจําทุกปติดตอกันเปนเวลาไมนอยกวา ๒๐ ป และไดขอพระราชทานราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยยอ “สธ” จารึกที่ถวยรางวัล เพ่ือมอบแกผูชนะเลิศในการแขงขันเรือยาวประเพณีไทย – ลาว ระหวางวันที่ ๗ – ๙ กันยายน ๒๕๔๔ ณ บริเวณริมฝงแมนํ้าโขงหนาวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) จังหวัดหนองคาย ผานทางสํานักงานจังหวัดหนองคาย

วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ องคการบริการสวนจังหวัดหนองคายไดรับแจงจากสํานักงานจังหวัดหนองคายพรอมสําเนาหนังสือจากสํานักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๘/๒๐๒๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ ๒๕๔๔ โดยแจงวา สํานักราชเลขาธิการ โดยกองงานในพระองคสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไดนําความกราบบังคมทูลทราบฝาละอองพระบาทแลว พระราชทานพระราชานุญาต ใหใชขอความจารึกที่ถวยรางวัลเพ่ือดําเนินการแขงขันเรือประเพณีไทย – ลาวได และเม่ือดําเนินการตามโครงการเสร็จแลว ใหรายงานสรุปผลการแขงขันใหจังหวัดทราบภายใน ๗ วัน

นับตั้งแตน้ันเปนตนมา องคการบริการสวนจังหวัดหนองคายรวมกับเทศบาลเมืองหนองคายไดมีการจัดการแขงขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ชิงถวยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จนถึงปจจุบัน เพ่ือสืบสารประเพณีอันดีงามไว และเปนการบูชาองคพระธาตุหลาหนองรวมถึงการขอขมาในการลวงเกินพระธาตุที่ชาวบาน และชุมชนไดหาปลา ทําสวนผักในบริเวณนั้นดวย

๙๑ สัมภาษณ ยุทธนา ศรีตะบุตร, นายกองคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย, ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔.

Page 69: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๗

๓.๒.๕ พิธีการลอยอังคาร

คําวา “อังคาร” น้ัน หมายถึง ถานไม ถานเผา ถานไฟที่กําลังปะทุอยู ใน คําวัดหมายถึงเถาถานของศพที่เผาแลว แตมักเขาใจกันวาหมายถึงอัฐิหรือ

กระดูกของคนตายที่เผาแลว และเม่ือทําพิธีเก็บอัฐิและทําบุญเสร็จแลวนิยมรวบรวมอังคารหอดวยผาขาวหรือใสโถแลวหอดวยผาขาวนําไปทิ้งแมนํ้าหรือทะเลตอนที่มีรองนํ้าลึก๙๒ โดยเชื่อวาจะทําใหผูตายไดอยูในสถานที่อันรมเย็นๆ โดยไมมีใครมารบกวน เรียกการกระทําอยางนั้นวา ลอยอังคาร

พิธีการลอยอังคารน้ัน สันนิษฐานวา นาจะไดรับคตินิยมมาจากอินเดีย เพราะเหตุที่คนอินเดียถือวา แมนํ้าคงคาเปนแมนํ้าศักด์ิสิทธิ์ชําระบาปได ดวยเหตุน้ีการเผาศพจึงชอบที่จะนํามาเผากันที่ริมแมนํ้าคงคากันมาก ทั้งน้ีก็เพียงเพ่ือจะไดนํากระดูกและเถาถานทิ้งลงแมนํ้าแหงน้ี เพราะมีความเชื่อที่วา ถาไมไดสัมผัสกับนํ้าในแมนํ้าคงคาแลวก็จะไมไดขึ้นสวรรค หรือไมหมดบาป๙๓

สําหรับประเทศไทยนั้น ไดมีการบันทึกในพงศาวดารกลาวถึงพิธีการลอยอังคาร โดยเฉพาะการลอยพระอังคารของบรรดาเจานายตางๆไวอยางชัดเจน และสืบเนื่องมากระทั่งกรุงรัตนโกสินทร อยางไรก็ตาม ดังที่กลาวมาแลววา พิธีการลอยอังคารนั้นนาจะมีที่มาจากอินเดีย ก็ยังคงมีความซับซอนไปอีกชั้นหนึ่ง โดยเชื่อวานาจะมาจากอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเปนหลัก เหตุเพราะถาเปนคติทางพุทธแลว มักจะนิยมเผาศพแลวเอาอัฐิธาตุ (กระดูก) ฝงและกอกองดินหรือกองหินตรงที่ฝง ซ่ึงเรียกกันวา “สถูป” ดังเชนอังคารที่เปนเถาถานจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจา โมริยกษัตริยไดนําไปบรรจุไวในสถูปที่สรางขึ้นเปนพิเศษเพ่ือสักการบูชา ที่เมืองปปผลิวัน เรียกวา “อังคารสถูป”๙๔

ดังนั้นประเทศไทยจึงรับเอาวัฒนธรรม ประเพณีน้ีมาทั้งสองทาง คือ ทั้งฮินดู และ

พุทธ กลาวคือสําหรับทางพุทธ ถาเปนคนชั้นสูงก็จะกอพระเจดียบรรจุอัฐิธาตุ ถาเปนคนชั้นลางก็เปนแตเพียงฝงอัฐิธาตุหรือเอาไปกองทิ้งไวโคนตน สวนพระอังคารหรือถานที่เผาพระศพ ก็จะ

๙๒ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, นํ้าเปนบอเกิดแหงวัฒนธรรมไทย. (กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนา

พานิช จํากัด, ๒๕๒๙), หนา ๑๔. ๙๓ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๕. ๙๔ กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย, อโศกมหาราช. พิมพครั้งท่ี ๒, (กรุงเทพมหานคร : ศยาม, ๒๕๒๖),

หนา ๒๔.

Page 70: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๘

เชิญไปลอยปลอยไปในแมนํ้าตามคติทางฮินดู เพ่ิงมาเลิกลอยพระอังคาร เปลี่ยนเปนบรรจุเม่ือ รัชกาลที่ ๕๙๕ มาน้ีเอง

สําหรับการลอยอังคารไมเพียงแตเปนการฝากคนที่เรารักไวกับแมพระคงคา เทพยดาผูรักษาน้ํา และเพื่ออภิบาลดวงวิญญาณของผูน้ันเทาน้ัน แตเปนเสมือนสัญลักษณของการละวางสิ่งทั้งปวง ทั้งรางกาย เม่ือสังขารทั้งหลายแตกดับกลับสูธาตุตางๆ ที่มาประชุมกัน เหลือเพียงผงธุลี ฝากไวในอากาศ ในดิน ในน้ํา๙๖

ความมุงหมาย ถือคตินิยมวาผูลวงลับไปแลวจะมีความรมเย็นเปนสุข แมเกิดในภพใดๆ ขอใหอยูเปนสุข มีความสงบรมเย็น เหมือนนํ้ามีแตความชุมเย็น

เคร่ืองใชในพิธี๙๗ สําหรับบูชาแมยานางเรือ ดอกไมสด ๑ กํา หรือพวงมาลัย ๑ พวง ธูป ๙ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เลม พานเล็ก ๑ ใบ ( ใสดอกไมธูปเทียน ขณะบูชาแมยานางเรือ ) เชือก ๑ เสน (สําหรับมัดธูป ดอกไมที่เสาหัวเรือ)

สําหรับบูชาเจาแมนที-ทาวสีทันดร กระทงดอกไม ๗ สี ๑ กระทง ธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เลม พานโตก ( ขนาดกลาง ) วางกระทงดอกไม ๗ สี ๑ ใบ สําหรับไหวอังคารบนเรือ ลุงใสอังคาร และผาขาวสําหรับหอลุง พวงมาลัย ๑ พวง ดอกมะลิ กลีบกุหลาบ หรือดอกไมอ่ืนๆ (สําหรับผูรวมพิธีโรยบนอังคาร) นํ้าอบไทย ๑ ขวด ดอกกุหลาบเทาจํานวนคนรวมพิธี ธูปเทียนเครื่องทองนอย ๑ ชุด (หรือธูป ๑ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เลม พรอมกระถางธูปเชิงเทียน ๑ ชุด) สายสิญจน ๑ มวน พานโตกขนาดกลาง (รองลุงอังคาร) ๑ ใบ พานกนลึกขนาดเล็ก ( ใสดอกไมตางๆ ) ๑ ใบ พานกนตื้น (ใสเงินเหรียญ) ๑ ใบ๙๘

วิธีลอย เม่ือกลาวบูชาหรือกลาวฝากอังคารกับเจาแมนที – ทาวสีทันดร เสร็จแลวพิธีการ

เชิญทุกคนยืนขึ้นไวอาลัยประมาณ ๑ นาที๙๙ - ประธานฯ โยนเงินเหรียญ (ตามสมควร) ลงทะเลหรือแมนํ้าที่ทําพิธี เพ่ือซ้ือที่ตาม

ธรรมเนียมแลวลงบันไดเรือทางกาบซาย ลอยกระทงดอกไม ๗ สีโดยใชมือประคองคอยๆ วางบนผิวนํ้าโดยใหผูรวมพิธีทุกคนถือสายสิญจนดวย

๙๕ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๖. ๙๖ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๗. ๙๗ สัมภาษณ อําพร ฐามะพรรณ, ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย, ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔. ๙๘ สัมภาษณ พระครูอินทวรธรรม (อภินันท อินฺทโชโต), เจาอาวาสวัดหายโศก จังหวัดหนองคาย,

๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔. ๙๙ สัมภาษณ พระครูอินทวรธรรม (อภินันท อินฺทโชโต). เจาอาวาสวัดหายโศก จังหวัดหนองคาย.

๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔.

Page 71: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๕๙

- หากกาบเรือสูงจากผิวนํ้ามากเกินไป และไมมีบันไดลงเรือ ใหใชสายสิญจนทําเปนสาแหรก ๔ สาย จํานวน ๒ สาแหรก คือใสกระทงดอกไม ๗ สี ๑ สาแหรก และใสหอลุงอังคาร ๑ สาแหรกหยอนลงไป (หามโยน)

- เม่ือหอลุงอังคารลงสูผิวนํ้าแลวใหโรยดอกกุหลาบ ธูปเทียนตามลงไปและสิ่งของสําหรับไหวบูชาที่เหลือทั้งหมดก็ใหโรยตามลงไปดวย

- เรือวนซาย ๓ รอบ

ถึงแมความเชื่อโดยทั่วไปเกี่ยวกับการลอยอังคารจะเปนเรื่องการลางบาปใหแกดวงวิญญาณของผูที่ลวงลับไป และจะทําใหผูที่ลวงลับไปนั้นไดไปเกิดบนสวรรคตามแนวคิดของศาสนาพราหมณ – ฮินดู นอกจากแนวความเชื่อดังกลาวแลวน้ัน ประชาชนจังหวัดหนองคายและจังหวัดใกลเคียงที่มีความเคารพและศรัทธาในองคพระธาตุหลาหนอง และมีความเชื่อที่วา เม่ือนําเอากระดูกและเถาที่เผาแลวน้ันมาลอยอังคารที่แมนํ้าโขงและลอยที่องคพระธาตุแลวจะทําใหผูที่ลวงลับน้ันจะไปเกิดเปนบริวารที่คอยพิทักษรักษาองคพระธาตุ

๓.๒.๖ ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟเปนประเพณีที่ประชาชนจังหวัดหนองคายมีความภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษไดยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแตโบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีวาเน่ืองมาจากการสักการบูชาพระรอยพระบาท การบวงสรวงองคพระธาตุหลาหนอง และการระลึกถึงพระคุณของพระแมคงคา การขอฝน การเอาไฟเผาความทุกข และการบูชาพระพุทธเจา

ประเพณีการไหลเรือไฟบางที่เรียกวา " ลองเรือไฟ " " ลอยเรือไฟ " หรือ "ปลอยเรือไฟ" ซ่ึงเปนลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทําดวยทอนกลวยไมไผหรือวัสดุที่ลอยนํ้า มีโครงสรางเปนรูปตางๆ ตามตองการ เม่ือจุดไฟใสโครงสรางเปลวไฟจะลุกเปนรูปรางตามโครงสรางน้ัน ในปจจุบันไดมีการพัฒนาเรือไฟใหสวยงามขึ้นโดยใชเทคโนโลยีเขามาประกอบดวย เดิมทีน้ันการทําเรือไฟจะใชตะเกียงน้ํามันจุดไฟ แตในปจจุบันไดหันมาใชไฟฟาเปนสวนประกอบแทน สวนโครงสรางเดิมใชวัสดุที่เปนไมที่ไดจากธรรมชาติ แตปจจุบันไดเปลี่ยนมาเปนโครงเหล็กเพ่ือใหรูปรางของเรือมีสวนประกอที่สวยงาม งานประเพณีไหลเรือไฟ ประชาชนจังหวัดหนองคายจะนิยมปฏิบัติกันในชวงเทศกาลออกพรรษาในวันขึ้น ๑๔ ค่ํา เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ํา เดือน ๑๑ ของทุกป เปนเวลา ๓ วัน เพ่ือใหนักทองเที่ยวที่มาดูปรากฏการธรรมชาติที่รูจักในนามวา บั้งไฟพญานาค ไดชม

คติและความเชื่อเกี่ยวกับการไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เปนพิธีกรรมอยางหนึ่งที่เก่ียวเนื่องในพุทธศาสนาตามคติความ

เชื่อ ซ่ึงประเพณีน้ีไมปรากฏหลักฐานวาถือปฏิบัติกันมาตั้งแตเม่ือใด เขาใจวาพิธีกรรมนี้ยึดถือกันมาเปนประเพณีที่จัดขึ้นเฉพาะทองถิ่นในบางจังหวัดเทาน้ัน และจังหวัดที่จะประกอบ

Page 72: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๐

ประเพณีน้ีไดจังหวัดน้ันจะตองมีแมนํ้าหรือลํานํ้า เทาที่ปรากฏจังหวัดที่มีประเพณีน้ีจะมีแนวทางปฏิบัติที่คลายๆ กัน หรืออาจมีแตกตางกันบางเล็กนอยตามความเชื่อของทองถิ่น

ในดานความเชื่อเก่ียวกับการบูชารอยพระพุทธบาท ที่ประทับไวริมฝงแมนํ้านัมมทานที ในแควนทักษิณาบท ประเทศอินเดียนั้นเชื่อวา

ในคร้ังที่พญานาคไดทูลอาราธนาพระพุทธเจาไปแสดงธรรมในพิภพของนาค เม่ือเสด็จกลับพญานาคไดทูลขอใหพระองค ประทับรอยพระบาทไว ณ ริมฝงแมนํ้านัมมทานที พระองคจึงไดประทับรอยพระบาทไวตามความประสงคของพญานาค รอยพระบาทที่ทรงประทบัไวน้ีเปนที่เคารพ ของเทวดามนุษยตลอดจนถึงสัตวทั้งหลาย ผูซ่ึงตองการบุญกุศล เหตุน้ีการไหลเรือไฟ๑๐๐ จึงถือวาเพ่ือบูชารอยพระพุทธบาทซ่ึงมีคําบูชาวา

" อะหัง อินิมา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคุะตุ "

แปลวา ขาพเจาขอนอมบูชารอยพระบาทของพระมุนีเจา อันประดิษฐานอยู ณ หาดทรายแหงแมนํ้านัมมทานทีโพนดวยประทีปน้ี ขอใหการบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจาดวยประทีป ในครั้งน้ีจงเปนไปเพื่อประโยชน เพ่ือความสุขแกขาพเจาทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

ประเพณีไหลเรือไฟเทาที่จัดกันขึ้น มีจังหวัดนครพนม สกลนคร เลย หนองคาย ศรีษะเกษ มหาสารคาม อุบลราชธานี และในแขวงตางๆ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ตั้งอยูริมแมนํ้าโขงและลํานํ้าสาขา เชน ที่หลวงพระบาง เมืองดอนโขง แขวงจําปาศักด์ิ ฯลฯ

พระครูสุภกิจโกศล๑๐๑ ไดกลาวถึงประเพณีไหลเรือไฟไววา เดิมทีการไหลเรือไฟเปนพิธีกรรมที่ชาวบานไดทํากันโดยใชวัสดุในทองถิ่น เชนนําไมมาตีเปนโครงสรางในรูปแบบที่ตองการ แลวนํากระบอกหรือตะเกียงใชนํ้ามันแลวนํามาจุดไฟและลอยที่แมนํ้าโขง เพื่อบูชาองคพระธาตุหลาหนองที่จมอยูในกลางแมนํ้าโขง เม่ือป พ.ศ. ๒๕๔๐ ไดมีนักทองเที่ยวแหมาดูบั้งไฟพญานาคที่จังหวัดหนองคายเปนจํานวนมาก ทางจังหวัดหนองคายรวมกับองคการทองเที่ยวแหงประเทศไทยไดจัดใหมีประเพณีที่ยิ่งใหญ โดยมีการแขงขันความสวยงามของเรือไฟ และไดนําโครงสรางที่เปนเหล็กและใชไฟฟามาเปนตัวชวยใหเรือไฟมีแสงสวางมากขึ้นและมีความสวยงามมากขึ้น

๑๐๐ คําผล กองแกว, การศึกษาประเพณีไหลเฮือไฟ. (อุบลราชธานี : ศูนยศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัย

ครูอุบลราชธานี, ๒๕๒๔), หนา ๓๔. ๑๐๑ สัมภาษณ พระครูสุภกิจโกศล (ประมล สุภาจาโร), เจาอาวาสวัดลําดวนและท่ีปรึกษาเจาคณะ

จังหวัดหนองคาย, ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔.

Page 73: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๑

พระธรรมมงคลรังษี๑๐๒และพระครูสุภกิจโกศลกลาวถึงแนวความเชื่อในการไหลเรือไฟไวตรงกัน คือ

๑. ความเชื่อเก่ียวกับการบูชารอยพระพุทธบาท มีความเชื่อวา ในครั้งที่พญานาคไดทูลอาราธนาพระพุทธองคไดเสด็จไปแสดงธรรมในภพนาคกอนเสด็จกลับภพโลก พญานาคไดทูลขอใหพระองคประทับรอยพระบาทไวที่หาดทรายริมฝงแมนํ้านัมมทานที รอยพระบาทที่พระองคประทับไวน้ี ตอมาไดเปนที่กราบไหวสักการบูชาของเหลาเทวดา มนุษยและสัตวทั้งหลาย การไหลเรือไฟจึงเชื่อวาทําเพ่ือบูชารอยพระพุทธบาท

๒. ความเช่ือเก่ียวกับวันพระเจาเปดโลก การไหลเรือไฟถือเปนการบูชาพระพุทธเจา ในวันที่พระพุทธเจาเสด็จจากเทวโลกลงมาสูเมืองมนุษย หลังจากที่พระพุทธเจาเสด็จขึ้นไปประจําพรรษาเปนปที่ ๗ บนสวรรคชั้นดาวดึงส และทรงแสดงอภิธรรมปฎกโปรดแกพระพุทธมารดาเปนการตอบแทนพระคุณมารดา จนกระทั่งบรรลุธรรมชั้นโสดาบัน คร้ันวันขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ ซ่ึงเปนวันมหาปวารณาออกพรรษา พระองคก็เสด็จลงสูเมืองมนุษยทรงประทับยืนบนยอดเขาสิเนรุราชทําโลกนิวรณปาฏิหาริย ทําใหสวรรค มนุษยและนรกตางมองเห็นซ่ึงกันและกัน เรียกวันนี้วา "วันพระเจาเปดโลก" ในบางทองถิ่นจะมีการทําปราสาทผ้ึงรวมกับการทําเรือไฟในวันน้ัน

๓. ความเชื่อเก่ียวกับการขอขมาและรําลึกถึงพระคุณของพระแมคงคา นอกจากนั้นยังมีความเชื่อในการทําเรือไฟที่แตกตางออกไปอีก แตกลาวโดยรวมแลวพิธีไหลเรือไฟนี้มักผูกพันและเกี่ยวของกับไฟแทบทั้งสิ้น รวมทั้งประเพณีอ่ืนๆ เชน งานแหเทียนเขาพรรษา งานบุญบั้งไฟ การจุดไตประทีป สิ่งเหลาน้ีอาจจะสอดคลองกับความเชื่อของคนอีสานท่ีมีความเชื่อวา "ไฟจะชวยเผาผลาญมลายความชั่วรายและขจัดปดเปาความทุกขยาก ความทุกขเข็ญใหหนีพนไป"

๔. ความเชื่อเก่ียวกับการบูชาและขอขมาองคพระธาตุหลาหนอง ประชาชนหนองคายมีความเช่ือวา พระธาตุหลาหนองเปนตัวแทนขององคพระพุทธเจา เพราะไดประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระองคไว และเชื่อวาองคพระธาตุชวยรักษาประชาชนที่อยูในจังหวัดหนองคายใหอยูอยางสงบและมีทรัพยากรที่สมบูรณเพราะเกิดจากองคพระธาตุ จึงตองมีการบูชาคุณและขอขมาที่บางทีอาจมีชาวบานออกหาปลาและทําสวนในที่ใกลแลวไดลวงเกินไปจึงตองมีการขอขมาดวย

การประกอบพิธีไหลเรือไฟ ชาวอีสานสวนใหญจะจัดทําขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๑ ซ่ึงเปนวันมหาปวารณาออกพรรษา แตจังหวัดหนองคายไดประกอบประเพณีน้ีใชเวลาถึง ๓

๑๐๒ สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษี (คําบอ อรุโณ) , เจาอาวาสวัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง และท่ี

ปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย, ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 74: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๒

วัน เพ่ือดึงดูดน้ันทองเที่ยว แตบางจังหวัดอาจจัดในวันแรม ๑ ค่ํา เดือน ๑๑ พิธีการด้ังเดิมน้ัน (ชุมชนเล็กๆยังมีการปฏิบัติกันอยู) พอใกลจะถึงวันออกพรรษา ภิกษุสามเณรของแตละคุมวัดจะบอกกลาวชาวบานชวนกันมาจัดเตรียมทําเรือไฟลวงหนากอน ๒ - ๓ วัน โดยจัดหาตนกลวยและลําไมไผที่หางายๆ ในหมูบานมาจัดทําเปนโครงเรือไฟงายๆ พอที่จะใหลอยนํ้าได แผงที่วางสิ่งของอาจทําดวยการสานไมไผสวนที่ยกสูงขึ้นจากสวนที่เปนแพเล็กๆ ความยาวของแพประมาณ ๔ – ๕ วา เวลาเพลก็มีการถวายภัตตาหารเพล และเลี้ยงบรรดาแรงงานชาวบานที่มาชวยทําเรือไฟจนกระทั่งเรือไฟแลวเสร็จ ในวันนั้นมีการเลนตางๆ เพ่ือความสนุกสนานในชวงบาย พอค่ําสนธยาชาวบานจะทําขนมหรือส่ิงของที่ตองการบริจาคทานใสลงไปในเรือ เวลาค่ําก็จุดไฟใหสวางโดยที่เชื้อไฟไดแกขี้ไต (ขี้กระบอง – ภาษาอีสาน) โรยรอบเรือในกาบกลวยที่แกะมาวางไวในเรือ หรือบางแหงใชขี้ไตที่เปนมัดผูกติดกับโครงเรือแลวจุดรายรอบลําเรือ จากน้ันก็ผลักเรือใหออกไปกลางนํ้าลองลอยไปเร่ือยๆ แลวแตจะไปลอยติดฝงตรงไหน ซ่ึงหากมีผูพบเห็นก็จะสามารถเก็บสิ่งขอที่พอจะใชไดนําไปใชตอไป

การไหลเรือไฟที่จังหวัดหนองคาย๑๐๓ มีการฟนฟูเพ่ือจัดทําเปนประเพณีในอีกรูปลักษณะหนึ่งตามกระแสของการสงเสริมการทองเที่ยว เพ่ือใหถือเปนงานระดับประเทศ เปนการพัฒนางานประเพณีใหสอดคลองกับสภาพสังคมปจจุบัน เนนรูปแบบเรือไฟเพ่ือการนําเสนอที่สวยงาม ทวาก็ยังสืบทอดวิธีการด้ังเดิมไวโดยมีการจัดทําเรือไฟแบบเกาเปนตนแบบกระทําพิธีไหลกอนที่จะตามมาดวยเรือไฟที่เนนความสวยงามของรูปรางและรูปแบบดวงไฟ เรือไฟทุกลําที่ชุมชนตางๆ ไดนําขึ้นนั้น เม่ือถึงเวลาพกค่ําก็จะนําเรือไฟมารวมกันที่บริเวณชุมชนวัดธาตุ ซ่ึงเปนที่ตั้งของพระธาตุหลาหนอง แลวทําพิธีการบวงสรวงองคพระธาตุ โดยเรือทุกลําจะตองนําธูปเทียนมาสักการะองคพระธาตุ เม่ือเสร็จพิธีจะไดนําเรือไฟลอยทวนกระแสน้ําโขงขึ้นไปยังสะพานมิตรภาพไทย – ลาว เพ่ือโชวความสวยงามของเรือไฟแตละลํา ซ่ึงไดมีการปฏิบัติสืบตอมาเปนประจําทุกป

จังหวัดหนองคาย มีขนบธรรมเนียมประเพณีหลากหลายซ่ึงไดรับความเชื่อมาจากพระธาตุหลาหนอง ไมวาจะเปนบุญบั้งไฟ บุญแขงเรือยาว บุญประสาทผ้ึง การลอยอังคาร และการไหลเรือไฟ แตเปนที่นาสังเกตวา ไมมีประเพณีที่ยิ่งใหญและเปนเอกลักษณของประชาชนจังหวัดหนองคาย แตปรากฏวามีเหตุการณนาอัศจรรยเกิดขึ้นในระยะเวลาไมนานมานี้ น่ันก็คือปรากฏการณบั้งไฟพญานาคที่ประชาชนจังหวัดหนองคายสวนหนึ่งเชื่อวามีพญานาคมาคอยปกปองคุมครององคพระธาตุหลาหนองที่อยูกลางแมนํ้าโขง เพราะมักปรากฏวามีคลื่นน้ําคลายพญานาคเกิดขึ้นเกือบทุกปบริเวณองคพระธาตุในชวงเทศกาลออกพรรษา๑๐๔

๑๐๓ สัมภาษณ วิเชียร แสงไสย, นักวิชาการวัฒนธรรม, ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. ๑๐๔ เรื่องเดียวกัน.

Page 75: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๓

ผูที่ประกอบอาชีพและทํามาหากินตามลํานํ้าโขง โดยเฉพาะชาวประมงจะไมจับปลาบริเวณองคพระธาตุ เพราะถือวาเปนเขตวัด เขตอภัยทาน มีบางคนลบหลูองคพระธาตุ เปนตนวา ปสสวะรดลงน้ํา หรือนําของสกปรก เชน ผาถุง มุง หมอน ลงซักลางบริเวณองคพระธาตุ ก็จะประสบเหตุเภทภัยทุกรายไป๑๐๕

๑๐๕ สัมภาษณ สงวน ดวงลาดนา, ขาราชการบํานาญจังหวัดหนองคาย, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 76: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

บทที่ ๔

สรุปผลวิจัย และขอเสนอแนะ

๔.๑ สรุปผลการวิจัย

จากการศึกษา เรื่อง “ความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย” ดวยวิธีการวิจัยทางเอกสาร เปนการศึกษาขอมูลเชิงจริยธรรม การคนควาหาขอมูลในหนังสือ ตําราที่เก่ียวของ และจากการสัมภาษณกลุมเปาหมายเชิงลึก แลวนํามาวิเคราะห สังเคราะห และสรุปผล รวบรวมขอมูลนําเสนอผลการศึกษาวิจัย พบวา

๔.๑.๑ การสรางและความสําคัญของพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคายเปนพระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ คือพระธาตุพระบาทกํ้าขวา (เบื้องขวา) ในตํานานกลาวไววา สรางเม่ือ พ.ศ. ๘ โดยพระอรหันตทั้ง ๕ รูป คือ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังฆวิชัยเถระ ขณะเดียวกันก็มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระธาตุหอผาหอแพ เมืองหาดทรายฟอง ประเทศลาว พระธาตุหลวงเวียงจันทน ประเทศลาว พระธาตุพนม พระธาตุบังพวน พระธาตุโพนจิกเวียงงัว ตอมาพระเจาไชยเชษฐาธิราชไดสรางเจดียใหญครอบไว ในพุทธศตวรรษท่ี ๒๑ และพระธาตุหลาหนอง ไดพังทลายลงในแมนํ้าโขง ตอมาเม่ือ พ.ศ. ๒๓๐๙ จังหวัดหนองคาย ไดสรางพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้น เม่ือป พ.ศ. ๒๕๔๘

พระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย มีความสําคัญตอการดําเนินวิถีชีวิตความเปนอยูชาวพุทธจังหวัดหนองคาย ในดานตางๆ ดังน้ี

๑. ดานประวัติศาสตร ดินแดนท่ีเปนจังหวัดหนองคายในปจจุบัน ไดมีชุมชนเกิดขึ้นเปนเวลา ๒,๕๐๐ ปมาแลว ตามตํานานระบุวา พระธาตุหลาหนองไดสรางขึ้นใน พ.ศ. ๘ แตในขณะนั้นยังไมปรากฏชื่อเมืองหนองคาย จะปรากฏชื่อในสวนที่เปนพระธาตุเทาน้ัน เชน พระธาตุหลาหนอง พระธาตุโพนจิกเวียงงัว พระธาตุบังพวน จะปรากฏช่ือเวียงเปนสถานที่ตั้ง เวียงคุก เวียงคํา เวียงงัว เวียงนกยูง ตอมาสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริยแหงอาณาจักรลานชาง ไดสรางพระธาตุใหญครอบพระธาตุหลาหนอง แสดงใหเห็นวาดินแดนแถบน้ีเปนสวนหนึ่งของอาณาจักรลานชาง ในสมัยอยุธยายังมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับลานชาง โดยการสรางพระธาตุศรีสองรัก ในสมัยรัตนโกสินทรตอนตน เมืองหนองคายจึงเปนสวนหนึ่งของไทย และยกฐานะเปนจังหวัดหนองคาย

Page 77: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๕

๒. ดานศาสนพิธี การบวงสรวงองคพระธาตุหลาหนอง โดยมีนางเทียมเปนผูพยากรณ เหตุการณในรอบปเก่ียวกับชีวิตความเปนอยูของขาทาสบริพารของพระธาตุหลาหนอง และมีการฟอนรําเพ่ือบูชาองคพระธาตุโดยจัดเครื่องพิธีในวันเพ็ญ เดือน ๖ ของทุกป นอกจากนั้นการทํามาหากินของประชาชน ตองแบงปนเครื่องถวายองคพระธาตุทุกป ปจจุบันมีการสรางองคพระธาตุจําลอง แตยังไมมีงานนมัสการองคพระธาตุอยางเปนทางการ

๓. ดานศิลปกรรมและสถาปตยกรรม พระธาตุหลาหนองพังทลายลงในแมนํ้าโขง ปรากฏเฉพาะสวนที่เปนฐานในฤดูแลงเทาน้ัน จากการสํารวจความสมบูรณมีสวนฐาน และสวนกลาง สวนยอดไมปรากฏหลักฐาน แตสันนิษฐานวามีขนาดและลักษณะใกลเคียงกับพระธาตุบังพวนองคเดิม เปนศิลปะลานชางที่สรางโดยสมเด็จพระเจาไชยเชษฐาธิราช ปจจุบันไดมีการสรางพระธาตุหลาหนองจําลองขึ้นริมฝงแมนํ้าโขงใกลตลาดวัดธาตุ ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย และสรางเขื่อนปองกันตลิ่งรอบองคพระธาตุดวย

๔. ดานขนบธรรมเนียมประเพณี การสักการบูชาพระธาตุหลาหนองที่ปฏิบัติสืบๆ กันมาจนกลายเปนประเพณี คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ประเพณีแขงขันเรือยาว จัดขึ้นปละ ๓ คร้ัง ในประเพณีบุญหอขาวนอย (ขาวประดับดิน) บุญหอขาวใหญ (สลากภัต) และออกพรรษา (วันเพ็ญ เดือน ๑๑) ประเพณีถวายปราสาทผึ้ง ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ การลอยอังคารจะทําขึ้นเม่ือมีผูตองการทํา และประเพณีไหลเรือไฟที่จัดขึ้นในวัน ขึ้น ๑๔ ค่ํา ถึงแรม ๑ ค่ํา เดือน ๑๑ ของทุกป

๕. ดานบุคคลและวัตถุที่เก่ียวของ พระธาตุหลาหนองเปนเจดียที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุฝาพระบาทเบื้องขวาที่พระอรหันตอัญเชิญมาจากชมพูทวีปบรรจุไว สมเด็จพระเจาไชยเชษฐาธิราช กษัตริยแหงอาณาจักรลานชาง ไดสรางเจดียใหญครอบไว และปจจุบันไดพังทลายลงแมนํ้าโขง ที่ตั้งขององคพระธาตุเดิมทีเปนวัด มีพระพุทธรูปขนาดใหญ เรียกวา หลวงพอสังกัจจายน ตอมาไดยายหลวงพอสังกัจจายนไปวัดโพนคอ ปจจุบันเรียกวาวัดสิริมหากัจจายน

๖. ดานจิตใจ พระธาตุหลาหนองเปนศูนยรวมจิตใจของประชาชนจังหวัดหนองคาย เพราะในการดําเนินวิถีชีวิตความเปนอยู การทํามาหากินของประชาชน ก็จะมาขอพรจากองคพระธาตุ เพ่ือความเปนสิริมงคล ความแคลวคลาดปลอดภัย และประสบผลสําเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา

๔.๑.๒ ความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุหลาหนอง ประชาชนจังหวัดหนองคาย มีความเชื่อวา พระธาตุหลาหนองเปนเจดียที่พระอรหันตบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจริง และองคพระธาตุมีความศักด์ิสิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย ดลบันดาลใหผูที่ศรัทธาแคลวคลาดปลอดภัย และเปนสิริมงคลตอตัวเอง จึงเกิดมีพิธีกรรมการบูชาพระธาตุ คือ การบวงสรวง การเสี่ยงทาย (ลงนางเทียม) จุดบั้งไฟถวาย แขงเรือยาวถวาย ถวายปราสาทผึ้ง การลอยอังคาร

Page 78: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๖

และการไหลเรือไฟ จากความเชื่อและพิธีกรรมดังกลาวเม่ือปฏิบัติสืบทอดกันมาก็กลายเปนประเพณีที่จะตองปฏิบัติทุกป

๔.๑.๓ การสักการบูชาพระธาตุหลาหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย ไดปฏิบัติติดตอกันมาเปนเวลาชานานโดยใชพิธีกรรมเปนอุบาย พิธีกรรมที่ปฏิบัติสืบกันมาจนกลายเปนประเพณี ในปจจุบันมีรูปแบบและวิธีการที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากการสักการบูชากลายเปนการประกวดแขงขันกันโดยมีเงินรางวัลเปนตัวลอในที่สุด และการบูชาดวยวิธีการตางๆ น้ันลวนเปนการสรางแนวทางในการดําเนินชีวิตที่ดีงามใหกับตนเอง ครอบครัว และสังคม จึงถือวาการบูชาเปนมงคลแกชีวิต ฉะน้ัน การสักการบูชาพระธาตุหลาหนองซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา จึงเปนการบูชาบุคคลท่ีควรบูชาเกิดความใหเกิดมงคลอันสูงสุด

๔.๒ ขอเสนอแนะในการวิจัย

ขอเสนอแนะในการวิจัย ผูวิจัยแบงออกเปน ๒ ดาน คือ ขอเสนอแนะเชิงนโยบายและขอเสนอแนะในการวิจัยครั้งตอไป โดยมีรายละเอียดดังน้ี

๔.๒.๑ ขอเสนอแนะเชิงนโยบาย

จากการศึกษา เรื่อง “ความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนอง จังหวัดหนองคาย” มีขอเสนอแนะ ดังตอไปน้ี

๑. คณะสงฆจังหวัดหนองคาย องคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย และประชาชนจังหวัดหนองคาย ควรใหความสําคัญในเรื่องการดูแลรักษาพระธาตุหลาหนอง โดยกําหนดใหมีเจาภาพหลักที่ชัดเจน และกําหนดกติกาหรือแนวทางปฏิบัติสําหรับผูมาสักการบูชาองคพระธาตุ ตลอดถึงการรวบรวมทุนทรัพยไวบูรณปฏิสังขรณองคพระธาตุหลาหนองและบําเพ็ญสาธารณประโยชนแกสังคมในโอกาสตอไป

๒. คณะสงฆจังหวัดหนองคาย องคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย และประชาชนจังหวัดหนองคาย ควรมีการประชาสัมพันธเก่ียวกับองคพระธาตุหลาหนองผานสื่อตางๆ ใหเปนที่รูจักของประชาชนจังหวัดหนองคาย หรือประชาชนในประเทศไทยรวมถึงประเทศสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาวใหเปนที่รูจักมากย่ิงขึ้น

๓. คณะสงฆจังหวัดหนองคาย องคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย และประชาชนจังหวัดหนองคาย ควรจัดงานประเพณีบูชาองคพระธาตุหลาหนองใหชัดเจนเปนประจําทุกปใหยิ่งใหญและมีวัตถุประสงคเพ่ือบูชาองคพระธาตุที่แทจริงในโอกาสตอไป

Page 79: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๗

๔.๒.๒ ขอเสนอแนะในการจัยคร้ังตอไป

ในวิทยานิพนธน้ี มีประเด็นที่ควรศึกษาเพ่ิมเติมไดหลายดาน ไดแก ๑. ศึกษาเชิงวิเคราะหการใชสถูป เจดีย เปนสื่อในการบําเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ

๓ ของประชาชนจังหวัดตางๆ ๒. ศึกษาความสําคัญและคุณคาของพระธาตุหลาหนองท่ีมีตอประชาชน

จังหวัดหนองคาย ๓. ศึกษาเชิงสํารวจการจัดงานนมัสการองคพระธาตุหลาหนองท่ีพึง

ประสงคในทัศนะของประชาชนจังหวัดหนองคาย ๔. ศึกษาเชิงวิเคราะหประโยชนของงานบุญประจําปของวัดในเขตจังหวัด

หนองคาย

Page 80: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย

ก. ขอมูลปฐมภูมิ

พระธรรมราชานุวัตร (แกว อุทุมมาลา). อุรังคนิทาน. พิมพคร้ังที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร : นีลนาราการพิมพ. ๒๕๓๐.

ข. ขอมูลทุติยภูมิ

(๑) หนังสือ :

กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย. อโศกมหาราช. พิมพคร้ังที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ศยาม. ๒๕๒๖. คําผล กองแกว. การศึกษาประเพณีไหลเฮือไฟ. อุบลราชธานี : ศูนยศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัย

ครูอุบลราชธานี. ๒๕๒๔. จ. เปรียญ (นามแฝง). ประเพณีพิธีมงคลไทยอีสาน. กรุงเทพมหานคร : อํานวยสาสน. ๒๕๒๙. จังหวัดพิจิตร. เรือยาวไทย. นครสวรรค : นิวสเสรีนคร. ๒๕๓๓. จิราภรณ ภัทราภานุภัทร. สถานภาพการศึกษาเรื่องคติความเชื่อของไทย. กรุงเทพมหานคร

: โครงการไทยศึกษา ฝากวิชาการ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๕๒๘. เจาพระยาทิพากรวงศ. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพมหานคร: พระจันทร

ทาพระ. ๒๕๒๖. ณัฏฐภัทร จันทวิช. พระบรมสารีริกธาตุ. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร. 2539. เติม วิภาคยพจนกิจ. ประวัติศาสตรอีสาน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

๒๕๓๐. ทศพล จังพานิชยกุล. พระธาตุเจดียมรดกล้ําคาของเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : คอมมา.

2546. ทองดี หรรษคุณารมณ. พระบรมสารีริกธาตุ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพระบรมธาตุในพระ

สังฆราชูปถัมภ. 2546. น. ณ ปากนํ้า. สยามศิลปะ จิตรกรรมและสถูปเจดีย. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพเมือง

โบราณ. ๒๕๓๘. ประกอบ โชประการ. วิวัฒนาการทางขนมประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร.

๒๕๑๓.

Page 81: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๖๙

ปรีชา พิณทอง. ประเพณีโบราณอีสาน. พิมพคร้ังที่ ๔. (อุบลราชธานี : โรงพิมพศิริธรรม. ๒๕๓๐.

ปลาย บูรพาทิศ. พระบรมธาตุและวัตถุมงคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมิตรสัมพันธ.๒๕๕๑.

ปญญา เทพสิงห. ศิลปะเอเชีย. กรุงเทพมหานคร : บรษัทแอคทีฟ พร้ินท จํากัด. ๒๕๔๘. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะหจากหลักฐานทางโบราณคดี.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพอักษรสมัย. 2542. พระคัมภีรถูปวงศ ตํานานวาดวยการสรางพระสถูปเจดีย. มปท. มปป. พระเทพรัตนโมลี. ประวัติพระธาตุบังพวน. พิมพคร้ังที่ ๘ (ม.ป.ท.. ๒๕๓๖). พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต) . ครบรอบ ๙๐ ปของพระธรรมไตรโลกาจารย.

หนองคาย : โรงพิมพมิตรไทย. ๒๕๓๙. พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต) ครบรอบ ๙๐ ป. อดีตเจาอาวาสวัด. หนองคาย : โรง

พิมพมิตรไทย. ๒๕๓๙. พระธรรมไตรโลกาจารย (รักษ เรวโต). ครบรอบ ๙๐ ป. (หนองคาย : โรงพิมพมิตรไทย.

๒๕๓๙. พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). จารึกอโศก. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. ๒๕๔๐. พระธรรมราชานุวัตร (แกว อุทุมมาลา). อุรังคนิทาน. พิมพคร้ังที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร : นีล

นาราการพิมพ. ๒๕๓๐. พระมหาปรีชา ปริฺญาโณ. ประเพณีโบราณไทยอีสาน. พิมพคร้ังที่ ๕. อุบลราชธานี : โรง

พิมพศิริธรรม. ๒๕๒๕. พระราชปรีชาญาณมุนี (นวน เขมจารี). สมณศักดิ์กอนมรณภาพเปน พระธรรมปริยัติมุนี.

ประวัติพระมหาธาตุ (เจดีย) กลางน้ํา อําเภอเมืองหนองคาย. หนองคาย : โรงพิมพมิตรไทย. ๒๕๔๒.

พระอริยานุวัตร เขมจารี. คติความเช่ือของชาวอีสาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๕๒๘.

พินิจ จารุสมบัติ. หนองคาย. กรุงเทพมหานคร : มังกรการพิมพ (๑๙๙๔) จํากัด. ๒๕๔๐. พูนพิสมัย ดิศกุล. ประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร : บํารุงนุกูลกิจ. ๒๕๑๔. มานิต วัลลิโภดม และคนอ่ืน ๆ. พระธาตุพนม ดวยขอเขียนและบทความ. กรุงเทพมหานคร

: กรุงสยามการพิมพ. ๒๕๑๘. วัดพระธาตุพนมวรวิหาร. ประมวลภาพประวัติศาสตรพระธาตุพนมและภาพโบราณวตัถุคา

มหาศาล ในกรุพระธาตุพนม. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยาม. ๒๕๒๒.

Page 82: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๐

วิสันต ทาวสูงเนิน. ประเพณีพ้ืนบาน ตํานานพื้นเมือง. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวีทีเอส. ๒๕๔๒.

ศ.ธรรมรัตน. พระบรมธาตุศักดิ์สิทธ์ิ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมิตรสัมพันธกราฟฟค. ๒๕๕๑.

ศรีศักร วัลลิโกดม. ตํานานอุรังคธาตุกับความคิดคํานึงทางโบราณคดีในพระธาตุพนม. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ. ๒๕๑๘.

ศรีศักร วัลลิโกดม. แหลงอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพมหานคร : มติชน. ๒๕๓๓. สมควร พละกลา. ประวัติพระธาตุขามแกน. ขอนแกน : ศิริชัยการพิมพ. ๒๔๙๙. สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส. พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเลี่ยง

เชียงจงเจริญ. ๒๕๑๔. สมเด็จกรมพระยาดํารงราชนุภาพ. “ตํานานพระปริตร” ในประชุมพระราชนิพนธเก่ียวกับ

ตํานานพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพรุงเรืองธรรม. ๒๕๑๔. สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ. ตํานานพระพุทธเจดีย. ธนบุรี :โรง

พิมพรุงวัฒนา. ๒๕๑๓. สมเด็จพระสมณเจากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๖ (แปล) . พิมพคร้ังที่ ๓๒.

กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๖. สมเด็จพระสมณเจากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ธัมมปทัฏฐกถา ภาค๑ (แปล). พิมพคร้ังที่ ๓๒.

กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๔๕. สวิง บุญเจิม. มรดกอีสาน. พิมพคร้ังที่ ๒๐. อุบลราชธานี : สํานักพิมพมรดกอีสาน. ๒๕๔๙. สาร สาระทัศนานันท. ฮีตสิบสอง – คองสิบส่ี. พิมพคร้ังที่ ๔. เลย : รวมใจการพิมพ. ๒๕๓๐. สํานักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหนองคาย. โครงการกอสรางพระธาตุหลาหนอง.

หนองคาย: โรงพิมพมิตรไทย. ม.ป.ป. แสง จันทรงาม. ศาสนศาสตร. พิมพคร้ังที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. ๒๕๓๔.

(๒) บทความ :

กวี ศรีสวรรค. นมัสการหลวงพอพระใส ชมพระธาตุบังพวน. ไทยรัฐ ฉบับวันท่ี ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๒. สุรพล ดําริหกุล. วาระสารเร่ือง สังคมขอยขาชวงใชองคพระธาตุพนมเมืองโบราณ. ๑๔(๓) กรกฎาคม –

กันยายน ๒๕๓๑.

Page 83: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๑

(๓) วิทยานิพนธ :

เชฏฐะ ถิรทินรัตน. พระบรมสารีริกธาตุมหาสถาน. วิทยานิพนธสถาปตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๐.

ณัฏฐ เชาวนพูนผล. พฤติกรรมผูบริโภคในการเชาบูชาพระธาตุจําลอง 12 ปนักษัตรในเขตอําเภอเมืองเชียงใหม จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ๒๕๕๑.

ทะนงศักด์ิ ตนวงศ. ประวัติและพัฒนาการของการแขงขันเรือยาวไทย. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ๒๕๓๕.

ประเสริฐ จันทนหอม. วิวฒันาการเจดียประธานสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธสถาปตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑติวทิยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๕๔๐.

พระชุติพนธ อานนฺโท (นามสมุทร). อิทธิพลของเจดียในพระพุทธศาสนาท่ีมีผลตอสังคมไทย. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๒.

พระมหาเชิด เจริญรัมย. พระเคร่ืองกับสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีทัศนะของนักวิชาการพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาศึกษา. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล. ๒๕๓๑.

พระมหาประสพฤกษ จารุวาโท (รัตนยงค). การศึกษาเชิงวิเคราะหแนวความคิดเร่ืองการบูชาในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๐.

พระมหามนตรี วลฺลโภ (ปอมสุข). อิทธิพลของวัตถุมงคลที่ มีตอสังคมไทยในปจจุบัน . วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๔๖.

พระมหาสมจินต สมฺมาปฺโญ. พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุกับคนไทย. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๔๗.

พระมหาสมชาย ธีรปภาโส (บุญเกลี้ยง). “การศึกษาเชิงวิเคราะหความเชื่อเร่ืองพระบรมสารีริกธาตุในสังคมไทย”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.๒๕๔๖.

พวงชมพู ไชยอาลา. “การส่ือสารเพื่อสืบทอดประเพณีบุญบั้งไฟในชุมชนชนบท”. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๕๔๓.

Page 84: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๒

พิบูลย ลิ้มพานิชย. อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีตอการสรางเจดียในสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธพุทธศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๔๙.

สุพจน ทองเน้ือขาว. ความเชื่อเก่ียวกับพระธาตุขามแกน ตําบลบานขาม อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแกน. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ๒๕๔๑.

(๔) บทความ/สาระสังเขปออนไลน

เกษร สุทธจิต จันทรประภาพ. ทําไมตองมีพิธีบวงสรวง. http://board.palungjit.com/f๑๗.(๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓).

ขาวสดออนไลน. พิธีบวงสรวง. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php? newsid=TVRJM๐๕UazRNakF๕Tnc๙PQ.(๓๑ ตลุาคม ๒๕๕๓).

โครงการจัดสรางพระบรมรูปและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช. พิธีบวงสรวง. http://king_statue.nida.ac.th/th/index. (๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓).

จังหวัดหนองคาย. วิถีชีวิตประเพณีทองถิ่น. http://kanchanapisek.or.th/kp๘/culture/sgk/file๑/l๓_๑.html. (๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓๗).

นิเวศน เสมอพิทักษ. ปราสาทผึ่ง. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ nongkha/niwait-s/sec๐๑p๐๒.html. (๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓).

ประเพณีไทย. ประเพณีแหปราสาทผ้ึง. http://www.prapayneethai.com/th/tradition/ north_east/view.asp?id=๐๕๐๘.(๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓).

http://www.sophiaportal.com/forums/index.php?showtopic=๑๐๓.(๒๕ กันยายน ๒๕๕๓).

(๕) บทสัมภาษณ

สัมภาษณ พระธรรมมงคลรังษี (คําบอ อรุโณ). ที่ปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย เจาอาวาสวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง). ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓.

สัมภาษณ พระสุนทรธรรมธาดา (บุญเลิศ เขมจาโร). รองเจาคณะจังหวัดหนองคาย. ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓.

สัมภาษณ พระครูสุภกิจโกศล. เจาอาวาสวัดลําดวนและท่ีปรึกษาเจาคณะจังหวัดหนองคาย. ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔.

สัมภาษณ พระครูโพธิสารกิจ (นารถ ยโสธโร). เจาอาวาสวัดโพธิ์ศรี และเจาคณะตําบลในเมืองเขต ๓. ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 85: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๓

สัมภาษณ พระครูสุตรัตนาภรณ (สุดใจ วรญาโณ). เจาคณะตําบลมีชัย. ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓.

สัมภาษณ พระครูอินทวรธรรม (อภินันท อินฺทโชโต). เจาอาวาสวัดหายโศก จังหวัดหนองคาย. ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔.

สัมภาษณ พระมหาบุญชู ฐิตสํวโร. เจาอาวาสวัดศิริมหากัจจายน . ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. สัมภาษณ เจียมใจ เทศศรีเมือง. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. สัมภาษณ เตชิด จันทรใบ. ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย. ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ ทองวัน โยธวงค. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. สัมภาษณ ทรงพล โกวิทศิริกุล. นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย.

๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ บัวรอง วงละคร. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ วิเชียร แสงไสย. นักวิชาการวัฒนธรรม. ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ. หัวหนาหนวยอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดลอมและศิลปกรรม

ทองถิ่นจังหวัดหนองคาย. ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ เวียง ศรีพล. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ สงวน ดวงลาดนา. ขาราชการบํานาญจังหวัดหนองคาย. ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ สมศรี แกวคุณเมือง. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ สะอาด แสงรัตน. ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย. ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ สาคร ปริวัติ. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. สัมภาษณ สุรพงษ วิสุทธิ์ศรี. ชาวพุทธจังหวัดหนองคาย. ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓. สัมภาษณ สุวิทย ยิ่งยง. ชาวพุทธ จังหวัดหนองคาย. ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. สัมภาษณ ยุทธนา ศรีตะบุตร. นายกองคการบริหารสวนจังหวัดหนองคาย. ๑๗ มีนาคม

๒๕๕๔. สัมภาษณ สวาง โยธาศรี. ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย. ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔. สัมภาษณ อําพร ฐามะพรรณ. ขาราชการบํานาญ จังหวัดหนองคาย. ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔. สัมภาษณ สี ภาษาเวทย. ปราชญชาวบานจังหวัดหนองคาย. ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓.

Page 86: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

ภาคผนวก

Page 87: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๕

ก. ภาพประกอบกิจกรรมและผูใหสัมภาษณ

Page 88: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๖

๑) พระธาตหุลาหนององคเดิม

๒) พระธาตหุลาหนององคจริงและองคจําลอง

Page 89: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๗

๓) พระธาตหุลาหนององคจําลอง

๔) พระธาตหุลาหนององคจําลอง

Page 90: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๘

๕) พระธาตหุลาหนองในชวงฤดูแลง

๖) ประชาชนกําลังบูชาพระธาตุกลางลํานํ้าโขง

Page 91: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๗๙

๗) ประเพณแีขงขันเรือยาวเทศกาลออกพรรษา

๘) ประเพณแีขงขันเรือยาวเทศกาลออกพรรษา

Page 92: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๐

๙) ภาพลายเสนของนายฟรองชีวการนิเยร ชาวฮอลันดา และคณะสํารวจอินโดจีนในอาณาจักรลานชาง

๑๐) ประชาชนรวมชมการแขงขันเรือยาวประเพณอีอกพรรษา

Page 93: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๑

๑๑) นําปราสาทผ้ึงไปถวายองคพระธาตุหลาหนอง ในเทศกาลออกพรรษา ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

๑๒) กําลังแกะลายหยวกฐานปราสาทผึ้ง ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 94: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๒

๑๓) พิธีบวงสรวง โดย นายทรงพล โกวิทยสิริกุล

นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย ป พ.ศ ๒๕๔๙

๑๔) พิธีบวงสรวงเพื่อขอสรางพระธาตุหลาหนองจําลอง ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘

Page 95: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๓

๑๕) ขบวนแหบุญบั้งไฟวดัธาตุ ในวันข้ึนสิบหาค่ําเดือนหกของทุกป

๑๖) พิธีจุดบัง้ไฟบูชาองคพระธาตุบริเวณทุงหนองตั๋ว ตําบลวดัธาตุ

อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Page 96: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๔

๑๘) เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นํ้าโขงลดลงอยางมากสามารถมองเห็น

ฐานพระธาตกุลางน้ําอยางชัดเจนและกวางมากข้ึน

๑๗) ปราสาทผ้ึงจากชุมชนตางๆ เขารวมบูชาองค

พระธาตุหลาหนอง

Page 97: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๕

๑๙) อาจารยเตชติ จันทรใบ และคณะกําลงัประกอบพิธีบวงสรวง

พระธาตุหลาทอง (องคจรงิ) เพ่ือขออนุญาตสรางองคจําลองเม่ือ พ.ศ.๒๕๔๘

๒๐) นายวงคศักดิ์ สวัสด์ิพานิช ผูวาราชการจังหวดัหนองคาย

เขารวมพิธีบวงสรวงสรางพระธาตุองคจําลอง ป พ.ศ. ๒๕๔๘

Page 98: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๖

๒๑) เครื่องบวงสรวงท่ีใชในการประกอบพิธี

๒๒) นายทรงพล โกวทิสริิกุล นายกเทศมนตรเีมืองหนองคาย

เปนประธานในพิธีบวงสรวง

Page 99: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๗

๒๓) ชางกําลังทําปราสาทผึง้ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

๒๔) สัมภาษณ พระธรรมมงคลรงัษี (คําบอ อรุโณ) ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 100: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๘

๒๖) สัมภาษณ พระครูสุภกิจโกศล (ประมล สุภาจาโร)

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔

๒๕) สัมภาษณ พระสุนทรธรรมดา (บุญเลิศ เขมจาโร) ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 101: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๘๙

๒๗) สัมภาษณ พระครูโพธิสารกิจ (นารถ ยโสธโร)

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔

๒๘) สัมภาษณ พระครูสุตรัตนาภรณ (สุดใจ วรญาโณ) ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 102: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๐

๒๙) สัมภาษณ สะอาด แสงรัตน ๑๘ ตลุาคม ๒๕๕๓

๓๐) สัมภาษณ สี ภาษาเวทย ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 103: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๑

๓๑) สัมภาษณ เวียง ศรพีล ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

๓๒) สัมภาษณ สงวน ดวงลาดนา ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 104: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๒

๓๓) สัมภาษณ ทัศพงษ ถิ่นชมพ ู๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

๓๔) สัมภาษณ สุรพงษ วิสุทธ์ิศร ี๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 105: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๓

๓๕) สัมภาษณ เตชิต จนัทรใบ ๑๘ ตลุาคม ๒๕๕๓

๓๖) สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 106: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๔

๓๘) สัมภาษณ เวียง ศรพีล ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

๓๗) สัมภาษณ วินิจ พลพิทักษ และสมคิด ไชยวงศ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 107: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๕

๓๙) สัมภาษณ วิเชียร แสงใสย นักวิชาการวัฒนธรรม

๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓

Page 108: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๖

ข. คํากลาวบูชาองคพระธาตุหลาหนอง

Page 109: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๗

นะโต ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

อะหัง วันทามิ อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูชะนีตะถายะ ปะระมะสารีริกะ

ปาทะทาตุง มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ...

ทุติยัมป อะหัง วันทามิ อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูชะนีตะถายะ ปะระ

มะสารีริกะ ปาทะทาตุง มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ...

ตะติยัมป อะหัง วันทามิ อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูชะนีตะถายะ ปะระ

มะสารีริกะ ปาทะทาตุง มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ...

Page 110: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๘

ค. หนังสือขอความรวมมือตอบแบบสัมภาษณ

Page 111: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๙๙

ที่ ศธ ๖๑๒๓.๔ / ว ๐๔๒

๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓

เร่ือง ขอความอนุเคราะหในการสัมภาษณ/ตอบแบบสอบถาม

กราบเรียน.......................................................................................................

ส่ิงที่สงมาดวย แบบสัมภาษณ/แบบสอบถาม จํานวน............ชุด

ดวย พระปลัดวิทยา ฉายา สิริภทฺโท นามสกุล เที่ยงธรรม รหัสประจําตัวนิสิต

๕๑๐๕๔๐๕๔๐๗ นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ไดทํา

วิทยานิพนธเ ร่ือง “ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ :

กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองของประชาชน จังหวัดหนองคาย”

เพ่ือใหการจัดทําวิทยานิพนธของนิสิตบรรลุตามวัตถุประสงคของการวิจัย ศูนยบัณฑิตศึกษาวิทยาเขตขอนแกน จึงกราบเรียนมาเพ่ือขอสัมภาษณ/แจกแบบสอบถาม โดยขอมูลที่ไดในครั้งน้ีใชประโยชนในการวิจัยเทาน้ัน ไมมีผลกระทบตอทานแตประการใด

จึงกราบเรียนมาเพ่ือพิจารณาและหวังเปนอยางยิ่งวาคงไดรับความเมตตานุเคราะหจากทานเปนอยางดี กราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสน้ี

กราบเรียนดวยความเคารพ

(พระมหามิตร ฐิตปฺโญ,ดร.)

เลขานุการกรรมการบริหารศูนยบัณฑติศกึษา วิทยาเขตขอนแกน

ศูนยบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตขอนแกน โทรศัพท. ๐-๔๓๒๘-๓๕๔๗ ภายใน ๑๐๖ ,โทรสาร.๐-๔๓๒๘-๓๐๓๓,๐-๔๓๒๘-๓๓๙๙ เว็บไซต.www.gsmcukk.org, อีเมล [email protected]

ศูนยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแกน ตําบลโคกสี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแกน ๔๐๐๐๐

Page 112: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๐

ที่ ศธ ๖๑๒๓.๔ / ว ๐๔๓

๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓

เร่ือง ขออนุญาตสัมภาษณ/ตอบแบบสอบถาม

เจริญพร..........................................................................................

ส่ิงที่สงมาดวย แบบสัมภาษณ/แบบสอบถาม จํานวน............ชุด

ดวย พระปลัดวิทยา ฉายา สิริภทฺโท นามสกุล เที่ยงธรรม รหัสประจําตัวนิสิต ๕๑๐๕๔๐๕๔๐๗ นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ไดทําวิทยานิพนธเ ร่ือง “ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ : กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองของประชาชน จังหวัดหนองคาย”

เพ่ือใหการจัดทําวิทยานิพนธของนิสิตบรรลุตามวัตถุประสงคของการวิจัย ศูนยบัณฑิตศึกษาวิทยาเขตขอนแกนจึงเจริญพรมาเพ่ือขอสัมภาษณ/แจกแบบสอบถาม โดยขอมูลที่ไดในครั้งน้ีใชประโยชนในการวิจัยเทาน้ัน ไมมีผลกระทบตอทานแตประการใด

หวังเปนอยางยิ่งวาคงไดรับความรวมมือจากทานเปนอยางดี จึงขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสน้ี

เจริญพร

(พระมหามิตร ฐิตปฺโญ,ดร.)

เลขานุการกรรมการบริหารศูนยบัณฑติศกึษา วิทยาเขตขอนแกน

ศูนยบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตขอนแกน โทรศัพท. ๐-๔๓๒๘-๓๕๔๗ ภายใน ๑๐๖ ,โทรสาร.๐-๔๓๒๘-๓๐๓๓,x๐-๔๓๒๘-๓๓๙๙ เว็บไซต.www.gsmcukk.org, อีเมล [email protected]

ศูนยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแกน ตําบลโคกสี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแกน ๔๐๐๐๐

Page 113: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๑

ง. แบบสัมภาษณผูใหขอมูล

Page 114: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๒

แบบสัมภาษณ

โครงการวิทยานิพนธ

ศึกษาความเช่ือและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพทุธ :

กรณีศึกษาพระธาตุหลาหนองประชาชน จังหวดัหนองคาย

-----------------

แบบสัมภาษณแบงออกเปน ๔ ตอน

ตอนท่ี ๑ เปนขอมูลท่ัวไปเกี่ยวกับผูใหญสัมภาษณ

ตอนท่ี ๒ ประวัติความเปนมาของพระธาตุหลาหนอง

ตอนท่ี ๓ ความเช่ือและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุหลาหนอง

ตอนท่ี ๔ อิทธิพลของพระธาตุหลาหนองท่ีมีอิทธิพลตอวิถีชีวิตชาวพุทธ

จังหวดัหนองคาย

ตอนท่ี ๑ เปนขอมูลท่ัวไปเก่ียวกับผูใหญสัมภาษณ

๑.๑ ช่ือ-สกุล..............................................................อายุ..................พรรษา..................

๑.๒ การศึกษา................................................................................................................

๑.๓ อาชีพ...............................................ภูมิลําเนา.........................................................

๑.๔ ระยะเวลาท่ีอยูหนองคาย........................................................................................

๑.๕ สถานภาพของผูใหสัมภาษณ ..............................................................................

Page 115: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๓

ตอนท่ี ๒ ประวัติความเปนมาของพระธาตุหลาหนอง

๒.๑ ทานรูจกัพระธาตุอะไรบางใน

ประเทศไทย...............................................................................................................................

ภาคอีสาน...................................................................................................................................

จังหวดัหนองคาย........................................................................................................................

๒.๒ ทานรูจกัประวัติความเปนมาพระธาตุหลาหนองหรือไม เพียงใด

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๒.๓ ทานเช่ือวาพระธาตุหลาหนองบรรจพุระบรมสารีริกธาตุจริงหรือไม

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

ตอนท่ี ๓ ความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุหลาหนอง

๓.๑ ทานรูจักพิธีบวงสรวงพระธาตุหลาหนองหรือไม

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๓.๒ ทานรูจกัประวัติความเปนมาของประเพณีบุญบ้ังไฟเดือนหก

เพื่อบูชาองคพระธาตุหรือไม

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๓.๔ ทานรูจักประวัติความเปนมาของประเพณีถวายปราสาทผ้ึง

เพื่อบูชาองคพระธาตุหรือไม

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

Page 116: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๔

ตอนท่ี ๔ อิทธิพลของพระธาตุหลาหนองท่ีมีอิทธิพลตอวิถีชีวิตชาวพุทธ

จังหวัดหนองคาย

๔.๑ พระธาตหุลาหนองมีอิทธิพลดานประวัติศาสตรอยางไร

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๔.๒ พระธาตุหลาหนองมีอิทธิพลดานศาสนพิธีอยางไร

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๔.๓ พระธาตุหลาหนองมีอิทธิพลดานศิลปกรรมและสถาปตยกรรมอยางไร

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๔.๔ พระธาตุหลาหนองมีอิทธิพลดานขนบธรรมเนียมประเพณีอยางไร

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

Page 117: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๕

๔.๕ พระธาตุหลาหนองมีอิทธิพลดานบุคคลและวัตถุท่ีเกี่ยวของอยางไร

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

๔.๖ พระธาตหุลาหนองมีอิทธิพลดานจิตใจอยางไร

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เท่ียงธรรม)

ผูสัมภาษณ

สถานท่ีสัมภาษณ.............................................................................................................................

วันท่ีสัมภาษณ.................................................................................................................................

เวลาท่ีสัมภาษณ..........................................................................

Page 118: A STUDY OF THE BELIEFS AND RITE FOR WORSHIPPING …gds.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/893.pdf · ชื่อวิทยานิพนธ : ศึกษาความเช

๑๐๖

ประวัติผูวิจัย

ชื่อ พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เท่ียงธรรม)

เกิด วันท่ี ๑๖ เดือน กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๑๖

สถานที่เกิด บานไกคํา ตําบลไกคํา อาํเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ

การศึกษา น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒

ปริญญา พธ.บ. (สาขาวิชา สังคมศึกษา)

อุปสมบท วันท่ี ๑๕ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒

สังกัด มหานิกาย

หนาที่การงาน เจาอาวาส วัดนาฬิกวนาวาส ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัด

หนองคาย

ผูประสานงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

เขาศึกษา มิถุนายน ๒๕๕๑

สําเร็จการศึกษา

สมณศักดิ์ ไดรับแตงต้ังใหเปนฐานานุกรมท่ี พระปลัด ของพระโสภณวิหาร

การ (เจาคณะอําเภอเมืองหนองคาย) เม่ือวันท่ี ๖ เมษายน ๒๕๕๑

ที่อยูปจจุบนั วัดนาฬิกวนาวาส ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ไปรษณีย ๔๓๐๐๐ โทรศัพท ๐๘-๔๔๑๘-๕๒๘๒