5
ต้นน้ำ อนุภาคนาโนซิลเวอร์ ในช่วงที่นาโนเทคโนโลยีกำลังมาแรง หลาย ท่านต้องเคยได้ยินคำโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ มากมายที่ใช้นาโนซิลเวอร์ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร เสื้อผ้าที่ปราศจากกลิ่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น โดยผู้ผลิตจะ กล่าวถึงสมบัติเด่นของนาโนซิลเวอร์ที่สามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ยอดปริมาณการ ใช้อนุภาคนาโนซิลเวอร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 สูงขึ้นถึง ร้อยละ 380 และเป็นส่วนประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ ถึง 259 ผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี อาจมีคำถามว่าหาก อนุภาคนาโนซิลเวอร์ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมจะมีผล กระทบอะไรบ้าง? รู้จักซิลเวอร์ ซิลเวอร์หรือเงินเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่งทีมนุษย์ใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางมาหลายพันปี แล้ว การใช้งานส่วนใหญ่นิยมนำไปทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ในครัวเรือน เงินตรา การล้างรูป และวัตถุ ระเบิด เป็นต้น นอกจากนี้ ซิลเวอร์ยังมีสมบัติที่ใช้ เป็นสารฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย ทำให้มีการใช้งานด้าน การแพทย์และสุขอนามัย เช่น ในสมัยโบราณใช้ ทความ ภาชนะเครื่องเงินในการเก็บรักษาน้ำและไวน์ ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์ มาทำเป็นยารักษาแผลติดเชื้อ และในปี ค.ศ.1884 สูติแพทย์ชาวเยอรมันได้ใช้ซิลเวอร์ไนเตรต 1% มา ทำเป็นยาหยอดตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น แม้จะมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง แต่ความ รุ่งโรจน์นี้ดูเหมือนจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากมีผลกระทบ ในด้านลบต่อผู้ที่ได้รับซิลเวอร์ และสารประกอบของ ซิลเวอร์เข้าไปในร่างกายเป็นเวลานาน โดยจะทำให้สี ผิวและสีลูกตาเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเทา ประจวบกับใน ช่วงเวลานั้นเริ่มมีการใช้ยาปฏิชีวนะจึงทำให้การใช้ ซิลเวอร์เริ่มลดน้อยลง ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ทำให้ซิลเวอร์ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง คราวนีไม่ได้มาในรูปแบบเดิม แต่กลับมีขนาดเล็กลงมากอยูในระดับน้อยกว่า 100 นาโนเมตร โดยถ้าเปรียบ เทียบกับเซลล์เม็ดเลือดของมนุษย์และเชื้อไวรัส HIV ซึ่งมีขนาด 8,000 นาโนเมตร และ 130 นาโนเมตร ตามลำดับ จึงเรียกซิลเวอร์โฉมใหม่นี้ว่า “อนุภาคนาโน ซิลเวอร์” การที่มีขนาดเล็กลงมากจึงทำให้มีพื้นที่ผิว ต่อปริมาตรสูงขึ้น และมีสมบัติที่แตกต่างจากเดิม มุมกลับของ นาโนซิลเวอร์

มุมกลับ ของ นาโนซิลเวอร์ · สงครามโลกครั้งที่1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: มุมกลับ ของ นาโนซิลเวอร์ · สงครามโลกครั้งที่1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์

ต้นน้ำ

อนุภาคนาโนซิลเวอร์ ในช่วงที่นาโนเทคโนโลยีกำลังมาแรง หลายท่านต้องเคยได้ยินคำโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากมายที่ใช้นาโนซิลเวอร์ เช่น ภาชนะบรรจุอาหารเสื้อผ้าที่ปราศจากกลิ่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น โดยผู้ผลิตจะกล่าวถึงสมบัติเด่นของนาโนซิลเวอร์ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีด้วยเหตุนี้จึงทำให้ยอดปริมาณการใช้อนุภาคนาโนซิลเวอร์ตั้งแต่ปีค.ศ.2006สูงขึ้นถึงร้อยละ 380 และเป็นส่วนประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ถงึ 259 ผลติภณัฑ์ อยา่งไรกด็ี อาจมคีำถามวา่หากอนุภาคนาโนซิลเวอร์ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบอะไรบ้าง? รู้จักซิลเวอร์ ซิลเวอร์หรือเงินเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่งที่มนุษย์ใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางมาหลายพันปีแล้ว การใช้งานส่วนใหญ่นิยมนำไปทำเครื่องประดับเครื่องใช้ในครัวเรือน เงินตรา การล้างรูป และวัตถุระเบิด เป็นต้น นอกจากนี้ ซิลเวอร์ยังมีสมบัติที่ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย ทำให้มีการใช้งานด้านการแพทย์และสุขอนามัย เช่น ในสมัยโบราณใช้

ทความ

ภาชนะเครื่องเงินในการเก็บรักษาน้ำและไวน์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์มาทำเป็นยารักษาแผลติดเชื้อ และในปี ค.ศ.1884สูติแพทย์ชาวเยอรมันได้ใช้ซิลเวอร์ไนเตรต 1% มาทำเป็นยาหยอดตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเป็นต้น แม้จะมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง แต่ความรุ่งโรจน์นี้ดูเหมือนจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากมีผลกระทบในด้านลบต่อผู้ที่ได้รับซิลเวอร์ และสารประกอบของซิลเวอร์เข้าไปในร่างกายเป็นเวลานานโดยจะทำให้สีผิวและสีลูกตาเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเทาประจวบกับในช่วงเวลานั้นเริ่มมีการใช้ยาปฏิชีวนะจึงทำให้การใช้ซิลเวอร์เริ่มลดน้อยลง ในปัจจุบัน ด้ วยความก้ าวหน้ าทางวิทยาศาสตร์ทำให้ซิลเวอร์ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง คราวนี้ไม่ได้มาในรูปแบบเดิม แต่กลับมีขนาดเล็กลงมากอยู่ในระดับน้อยกว่า 100 นาโนเมตร โดยถ้าเปรียบเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดของมนุษย์และเชื้อไวรัส HIVซึ่งมีขนาด8,000นาโนเมตรและ130นาโนเมตรตามลำดบั จงึเรยีกซลิเวอรโ์ฉมใหมน่ีว้า่ “อนภุาคนาโนซิลเวอร์” การที่มีขนาดเล็กลงมากจึงทำให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูงขึ้นและมีสมบัติที่แตกต่างจากเดิม

บ บ

มุมกลับของ

นาโนซิลเวอร์

Page 2: มุมกลับ ของ นาโนซิลเวอร์ · สงครามโลกครั้งที่1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์

ตุลาคม - ธันวาคม 2553 M T E C 9

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อนุภาคนาโนซิลเวอร์เติบโตเร็วมาก โดยทิศทางหลักมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ต้านจุลชีพเช่น ผ้าปิดแผล อุปกรณ์ผ่าตัด และอวัยวะเทียมหรือเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำทุกวันเช่น สเปรย์ฉีดภายในห้อง น้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า อุปกรณ์ที่ทำให้น้ำสะอาด สีทาผนัง เสื้อผ้าถุงเท้า ชุดชั้นใน และเครื่องซักผ้า เป็นต้น แม้ว่ากลไกการทำลายแบคทีเรียของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางท่านได้เสนอแนวคิดว่าอนุภาคนาโนซิลเวอร์อาจไปทำลายเอนไซม์ที่ส่งผ่านสารอาหารไปยังเซลล์และทำให้เซลล์เมมเบรนหรือผนังเซลล์อ่อนแอ หรือไปทำลายดีเอนเอ(DNA)ที่ใช้ในการเพิ่มจำนวน ความกังวลเกี่ยวกับนาโนซิลเวอร์ ในขณะที่ปริมาณการใช้อนุภาคนาโนซิลเวอร์มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก แต่ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด จึงทำให้หลายคนเกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในเชิงลบของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ เนื่องจากอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กจิ๋วจึงส่งผลให้มีพื้นที่ผิวสูงมากเมื่อเทียบกับปริมาตร และการที่มีพื้นที่ผิวสูงนี้ เองทำให้ ไวต่อปฏิกิริยาจึงสามารถทำลายแบคทีเรียและจุลชีพทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์และโทษได้ดี ตั วอย่ างจุ ลชีพที่ เป็นประโยชน์ ได้แก่แบคทีเรียในดินมีบทบาทสำคัญในการตรึงไนโตรเจนและการสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ส่วนแบคทีเรียดีไน-ตริฟิเคชัน (Denitrification bacteria) มีบทบาทสำคัญในการทำความสะอาดน้ำโดยการดึงไนเตรตออกจากน้ำที่ปนเปื้อนจากการใช้ปุ๋ย แบคทีเรียบางชนิดที่อาศัยในสัตว์มีบทบาทหน้าที่ช่วยเจ้าบ้านในการย่อยอาหาร หรือแบคทีเรียชนิดที่อาศัยในตัวต่อ(Europeanbeewolf)จะผลิตสารปฏิชีวนะเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ และแบคทีเรียที่ผลิตแสงได้ก็จะช่วยปลาหมึกฮาวาย (Hawaiian squid) ในการพรางตัว เป็นต้น ถ้าหากแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ถูกทำลายย่อมมีผลกระทบต่อวงจรชีวิตของมนุษย์และสัตว์อย่างแน่นอน นอกจากนาโนซิลเวอร์จะคุกคามแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นภัยต่อการควบคุมแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอีกด้วย เพราะไม่

เพยีงแบคทเีรยีทีเ่ปน็อนัตรายจะสามารถตา้นทานนาโนซิลเวอร์ได้แล้วยังสามารถต้านทานสารปฏิชีวนะที่ใช้ในปัจจุบันได้อีกด้วย

หนทางสู่สิ่งแวดล้อม การประเมินความเสี่ยงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้อนุภาคนาโนซิลเวอร์นับว่าเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ทั้งนี้เพื่อสังคมจะได้รับทราบและเตรียมตัวรับมืออีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนักในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อีกด้วย มาร์ทิน เชรินเจอร์ (Martin Scheringer)และคณะวิจัย จากสถาบันวิศวกรรมเคมีและชีวภาพ(Institute for Chemical and Bioengineering)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้แสดงแผนภาพเส้นทางการปนเปื้อนของซิลเวอร์จากผลิตภัณฑ์พลาสติกและสิ่งทอสู่สิ่งแวดล้อม แผนภาพนี้อธิบายว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคจะปลดปล่อยซิลเวอร์ไอออนสู่น้ำเสีย โดยน้ำเสียนี้อาจไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง หรือได้รับการบำบัดจากโรงงาน (SewageTreatment Plant, STP) ซึ่งก็อาจมีซิลเวอร์หลงเหลือบ้างแต่เพียงปริมาณเล็กน้อย (STP effluent)ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ส่วนกากตะกอนที่เหลือบางส่วนถูกใช้ในการเกษตร บางส่วนก็ทิ้งบนดิน และบางส่วนนำไปเผาในโรงงาน (Thermal WasteTreatment, TWT) ในกรณีที่ทิ้งบนดินซิลเวอร์ก็ยังคงอยู่ที่หน้าดิน แต่เมื่อถูกชะก็จะไปสะสมในดินชั้นล่าง (subsoil) และน้ำใต้ดิน ส่วนในกรณีเผาซิลเวอร์จะอยู่ในเถ้า(slag)เถ้าปลิว(flyash)ซึ่งก็จะอยู่บนพื้นดิน และอีกส่วนจะฟุ้งในอากาศ (airemission)

ตัวต่อ ปลาหมึก

Page 3: มุมกลับ ของ นาโนซิลเวอร์ · สงครามโลกครั้งที่1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์

ตุลาคม - ธันวาคม 2553 M T E C 10

พอล เวสเตอร์ฮอฟฟ์ (Paul Westerhoff)วิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา(ArizonaStateUniversity)สนใจวงจรชวีติของนาโน ซิลเวอร์โดยศึกษาจากผลิตภัณฑ์ถุงเท้าขจัดกลิ่นที่มีอนุภาคนาโนซิลเวอร์เป็นองค์ประกอบ เขาต้องการทราบปริมาณของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่หลุดมากับน้ำซักล้าง และปนเปื้อนสู่ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าระบบการบำบัดน้ำไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะกำจัดอนุภาคนาโน อนุภาคนาโนเหล่านี้จะไปไหน ถ้าไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำกลับมาทำเป็นน้ำดื่มอะไรจะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศสัตว์น้ำและมนุษย์ที่ดื่มน้ำนั้นซึ่งทีมวิจัยของเขากำลังหาคำตอบ ในการทดสอบถุงเท้าขจัดกลิ่นซึ่งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ของทรอย เบนน์ (Troy Benn) และมีเวสเตอร์ฮอฟฟ์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาได้เลือกถุงเท้าขจัดกลิ่นที่วางขายตามท้องตลาดมาทดสอบจำนวน6ยี่ห้อพวกเขาทำการตรวจวัดปริมาณนาโนซิลเวอร์ด้วยวิธีการย่อยด้วยกรดและวัดด้วยเทคนิค ICP-OES (Inductively Coupled Plasma OpticalEmission Spectroscopy) และตรวจสอบให้มั่นใจอีกครั้งว่ามีอนุภาคนาโนซิลเวอร์ในถุงเท้าและในน้ำซักล้างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง-

ทรานสมิชชัน (scanning transmission electronmicroscope) จากนั้นจึงทำการซักถุงเท้าโดยแช่ในน้ำกลั่นเป็นระยะเวลานาน 1 ชั่วโมงสำหรับเป็นตัวแทนในการซักจริงด้วยเครื่องซักผ้า หรือ 24ชั่วโมงเพื่อให้นานเพียงพอที่จะชะซิลเวอร์ให้หลุดออกโดยจะซักเป็นรอบๆ ตามเวลาอย่างน้อย 3 รอบต่อเนื่องกัน ส่วนอีกการทดลองแช่ในน้ำประปาเพื่อความสมจริง พวกเขาพบว่าถุงเท้าแต่ละยี่ห้อมีอัตราการหลุดของซิลเวอร์ที่แตกต่างกันทั้งนี้น่าจะขึ้นกับกระบวนการผลิต ถุงเท้าบางยี่ห้อนาโนซิลเวอร์หลุดเกือบหมดเมื่อซักเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น และการซักในน้ำกลั่นจะเป็นการสมมุติสภาวะที่เกินจริงเนื่องจากอนุภาคนาโนซิลเวอร์จะหลุดได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับน้ำประปา นอกจากนี้ เบนน์ และเวสเตอร์ฮอฟฟ์ยังศึกษาปริมาณซิลเวอร์ที่ถูกดูดซับมายังกากชีวภาพของโรงงานบำบัดน้ำเสีย เพื่อจะใช้ไปพัฒนาโมเดลโรงงานบำบัดน้ำเสียตัวอย่าง ซึ่งคาดว่าจะใช้บำบัดน้ำที่มีซิลเวอร์ปนเปื้อนในปริมาณสูงได้ ผลกระทบ ในช่วงที่ผลกระทบของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ต่อสิ่งแวดล้อมยังไม่ทราบแน่ชัด นักวิทยาศาสตร์หลายท่านจึงได้ทดลองเพื่อหาข้อพิสูจน์ตัวอย่างเช่น

แผนผังแสดงเส้นทางที่ซิลเวอร์ในผลิตภัณฑ์พลาสติกและสิ่งทอปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม

Page 4: มุมกลับ ของ นาโนซิลเวอร์ · สงครามโลกครั้งที่1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์

ตุลาคม - ธันวาคม 2553 M T E C 11

งานของ Zhiqiang Hu และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร Water Reaearch ฉบับที่ 42 (2008)เป็นการศึกษาผลกระทบของอนุภาคนาโนซิลเวอร์คอลลอยด์ซิลเวอร์คลอไรด์ และซิลเวอร์ไอออนในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพที่อยู่ในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งก่อนหน้านี้ทราบว่าซิลเวอร์ไอออนเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะต่อแบคทีเรียที่ผนังเซลล์มีประจุเป็นลบ เพราะซิลเวอร์ไอออนจะไปดูดซับบนผนังเซลล์ ยับยั้งเอนไซม์ และรบกวนสภาพการซึมผ่านได้ของเมมเบรนจนในที่สุดทำให้เซลล์ตาย แม้จะอันตรายแต่ทว่าความเข้มข้นของซิลเวอร์ไอออนที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำจะค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมันสามารถเกิดปฏิกิริยากับคลอไรด์ซัลไฟด์ ไทโอซัลเฟต และสารคาร์บอนอินทรีย์ได้ดีดังนั้นจึงไม่ค่อยมีผลกระทบเด่นชัดนัก ในขณะที่อนุภาคนาโนซิลเวอร์เป็นสิ่งที่ค้นพบใหม่ อีกทั้งอยู่ในรูปที่ไวต่อปฏิกิริยา โดยความเป็นพิษจะขึ้นกับขนาดและรูปร่างของอนุภาค ขนาดของอนุภาคที่มีขนาดเล็กประมาณ 10 นาโนเมตรสามารถที่จะทะลุผ่านเซลล์เมมเบรนและทำให้เซลล์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จากผลการทดลองปรากฏว่าไนตริ ไฟอิ งแบคทีเรีย(nitrifyingbacteria)1ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่บ่งชี้สภาวะสิ่งแวดล้อมและจำเป็นต่อระบบบำบัดน้ำเสียจะได้รับผลกระทบจากอนุภาคนาโนซิลเวอร์มากที่สุด รองลงไปคือคอลลอยด์ซิลเวอร์คลอไรด์ และซิลเวอร์ไอออน ตามลำดับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้มงวดในการควบคุมปริมาณของซิลเวอร์ที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย

ปลาม้าลาย(Daniorerio)

อนุภาคนาโนซิล เวอร์ที่ เ กิ ดขึ้ นกับปลาม้ าลาย(Zebrafish) ซึ่งเป็นปลาที่มีความคล้ายคลึงกับมนุษย์เช่น มีตับ ไต และหัวใจถึงแม้จะมีเพียง 2 ห้องก็ตามนอกจากนี้ยังมีผนังเส้นเลือดที่กั้นสมองอีกด้วย(blood brain barrier) จากการทดลองพบว่าปลาบางส่วนตาย และบางส่วนที่รอดชีวิตก็มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยลำตัวจะมีลักษณะเป็นเลขเก้าหรือตัวลูกน้ำ (,)อนุภาคนาโนซิลเวอร์มีผลให้ตาถุงลม หางทำงานผิดปกติ และตัวอ่อนบางตัวมีของเหลวรอบหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในการประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวอ่อนของปลาม้าลายจะนำไปสู่แนวทางในการคิดออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในระดับนาโนอย่างมีหลักเหตุผลเพื่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

ตัวอ่อนปลาม้าลายที่ใช้ทดสอบความเป็นพิษของอนุภาคนาโน(เครดิตภาพ:StaceyL.Harper)

กระแสต่อต้าน เครื่องซักผ้านาโนซิลเวอร์ ในปี ค.ศ. 2005 บริษัทชื่อดังแห่งหนึ่งได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้านาโนซิลเวอร์ในประเทศสวีเดนซึ่งก่อนหน้านี้เคยเปิดตัวที่ประเทศอื่นๆ รวมทั้งออสเตรเลีย โดยบริษัทนี้อ้างว่าแม้จะซักผ้าที่อุณหภูมิต่ำ อนุภาคนาโนซิลเวอร์ก็สามารถทำหน้าที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในเสื้อผ้าได้มากกว่า 650 ชนิดทำให้ เสื้ อผ้าที่ซักสะอาดเป็นเวลานาน อีกทั้ งเทคโนโลยีที่ใช้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่น่าแปลกที่ว่าไม่มีผลงานตีพิมพ์ที่ได้รับการตรวจสอบออกมารับรอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หน่วยงานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมสวีเดน (Swedish EnvironmentalProtection Agency) สมาคมน้ำและน้ำเสียสวีเดน(Swed ish Wate r and Waste Wate r

งานของดาริน เฟอร์จีสัน (Dar in Y. Furgeson) และคณะ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Smallฉบับที่5เล่มที่16(2009)ได้ศึกษาผลกระทบจาก

1ไนตริไฟอิงแบคทีเรีย(nitrifyingbacteria)แบคทีเรียที่เติบโตโดยการใช้สารประกอบอนินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

Page 5: มุมกลับ ของ นาโนซิลเวอร์ · สงครามโลกครั้งที่1 มีการใช้สารประกอบซิลเวอร์

ตุลาคม - ธันวาคม 2553 M T E C 12

ข้อมูลอ้างอิง 1. TroyM.BennandPaulWesterhoffNanoparticlesilverreleasedintowaterfromcommerciallyavailable sockfabrics.EnvironmentalScience&Technology,2008,42,4133-4139.2. SabineA.Blaser,MartinScheringer,MatthewMacLeod,KonradHungerbuhlerEstimationofcumulative aquaticexposureandriskduetosilver:contributionofnano-functionalizedplasticsandtextiles. ScienceoftheTotalEnvironment,2008,390,396-409.3. OkkyoungChoi,KathyKanjunDeng,Nam-JungKim,LouisRossJr.,RaoY.Surampalli,ZhiqiangHu Theinhibitoryeffectsofsilvernanoparticles,silverions,andsilverchloridecolloidsonmicrobial growthWaterResearch,2008,42,3066-3074.4. X.Chen,H.J.SchluesenerNanosilver:Ananoproductinmedicalapplication.ToxicologyLetters,2008, 176,1-12.5. OfekBar-Ilan,RalphM.Albrecht,ValerieE.Fako,DarinY.FurgesonToxicityAssessmentsof MultisizedGoldandSilverNanoparticlesinZebrafishEmbryos.Small,2009,5(16),1897-1910)6. NaomiLubickSilversockshavecloudylining.EnvironmentalScienceandTechnology,2008,42(11), 3910.7. http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=nanotechnology-silver-nanoparticles-fish-malformation8. http://www.foeeurope.org/activities/nanotechnology/Documents/FoE_Nanosilver_report.pdf9. http://en.wikipedia.org/wiki/Silver_Nano10.http://www.physorg.com/news126755663.html11.http://researchstories.asu.edu/2008/06/too_small_to_see_the_environme.html12.http://www.sciencedaily.com/releases/2008/04/080429135502.htm13.http://www.sciencedaily.com/releases/2008/04/080406175050.htm14.http://www.sciencedaily.com/releases/2009/10/091028114025.htm15.http://www.sciencedaily.com/releases/2007/05/070514171756.htm16.http://tracingresistance.blogspot.com/2009_11_01_archive.html17.http://www.environmentalhealthnews.org/ehs/news/nanosilver

อนุภาคนาโนซิลเวอร์เลยเสียทีเดียว ผู้ใช้ควรชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้น โดยตระหนักถึงความจำเป็นในการนำมาใช้ การนำมาทำเครื่องซักผ้าหรือเสื้อผ้าจะเกิดผลกระทบที่เด่นชัดคือการปนเปื้อนในระบบบำบัดน้ำเสีย และทำให้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในระบบถูกทำลายไป หรือหากปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติสิ่งมีชีวิตในน้ำอาจได้รับผลกระทบโดยตรง แม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นเลวร้ายจนเกินจะเยียวยา แต่ควรมีการศึกษาคุณและโทษให้แน่ชัดกว่านี้ หรือมีมาตรการควบคุมการใช้ก่อนที่จะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับการใช้ดีดีที และแร่ใยหินที่ใช้กันมาก แต่หารู้ไม่ว่าสุดท้ายมันกลับมาทำร้ายเราในภายหลัง

Assoc ia t ion ) และการประปาสตอกโฮล์ม(StockholmWaterAuthority)ออกมาแสดงความไม่พอใจทำให้บริษัทนี้ต้องถอนผลิตภัณฑ์นี้ออกไปชั่วคราว แต่แล้วก็กลับมาใหม่ส่งผลให้ภาครัฐของสวีเดน (Swedish Government Authorities)ต้องออกมาแสดงความเป็นห่วงว่านาโนซิลเวอร์อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ และทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณที่สูงขึ้นในการกำจัดอนุภาคนาโนซิลเวอร์ออกจากกากของเสียหรือน้ำเสียนอกจากนี้สมาพันธ์เกษตรกรแห่งสวีเดนยังต่อต้านการใช้น้ำเสียที่มีซิลเวอร์ปนเปื้อนเนื่องจากไม่แน่ใจเรื่องผลกระทบต่อดิน บทส่งท้าย แม้จะมีกระแสต่อต้านการใช้อนุภาคนาโนซิลเวอร์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดการใช้