25
1 ชื่อโครงงาน ชีวิตต้องพึ่งพา ? ผู้จัดทาโครงงาน นักเรียนชั้นอนุบาลปีท2/1 โรงเรียนมาเรียลัย ครูที่ปรึกษา นางสมควร ศรีวิลัย ระยะเวลาในการจัดทา ระหว่างวันที13 ถึง 27 มกราคม พ.ศ. 2560 ที่มาของโครงงาน (วันที่ 13 มกราคม 2560 ) สืบเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เรื่องอาชีพเกษตรกร คุณครูได้นาเมล็ดพันธุ์พืชมาจัดกิจกรรมในขั้น นาโดยใช้ห่อผ้า 3 ห่อ ให้เด็ก ๆ คลาสัมผัสและให้เด็ก ๆ ทายว่าในห่อผ้าคืออะไร ก่อนเฉลยครูให้เด็ก ๆ บอกความรู้สึกว่า แต่ละห่อว่ามีลักษณะหรือรู้สึกอย่างไร เด็กบอกตามที่ตนเองรู้สึกจากการสัมผัสห่อผ้า สรุป เด็ก ๆ บอกได้ว่าเป็นเม็ดเล็ก ๆ ห่อที่ 1 เด็กรู้สึกลื่น ๆ เม็ดเล็ก ๆ กลม ๆ แข็ง ๆ มีหลายเม็ดแต่ไม่มีใครตอบถูกว่าคืออะไร ห่อที่ 2 เด็กรู้สึกว่าเป็นเม็ดใหญ่กว่าห่อที่ 1 ไม่กลม แต่แข็งเหมือนกัน มีหลายเม็ด แต่ไม่มีใครตอบถูก ห่อที่ 3 เด็กรู้สึกว่าเป็นเม็ดเล็ก ๆ แต่ไม่กลมและสาก ๆ เวลาบีบมีเสียง แกลก ๆ รู้สึกแหลม ๆ ด้วย น้องข้าวสวย น้องพิกเซล และน้องไนท์ทายถูกว่า ห่อที่ 3 เป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อเด็กทุกคนได้บอกความรู้สึก ของตนเองแล้ว คุณครูเฉลย โดยการเปิดห่อผ้าที่ละห่อ ดังนี้ ห่อที่ 1 เป็นเมล็ดถั่วเขียว ห่อที่ 2 เป็นเมล็ดข้าวโพด และห่อที3 เป็นเมล็ดข้าวเปลือก หลังการเปิดห่อผ้าแล้วเด็กและครูสนทนาถึงรูปร่างลักษณะผิวสัมผัสของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด และ ถามเด็ก ๆ ว่า อาชีพอะไรที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ตอบว่า อาชีพชาวนาต้องปลูกข้าวต้องมีเมล็ด ข้าวเปลือก อาชีพทาสวน ทาไร่ในป่า ต้องมีเมล็ดข้าวโพดกับถั่วเขียวไว้ปลูกขาย ครูสรุปให้เด็กได้รับประสบการณ์ใหม่ สิ่งทีเด็ก ๆ บอกมา เขาเรียกว่า “อาชีพเกษตรกร” และสนทนากับเด็ก ๆ ว่าอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ลาบากต้องตากแดด ตากฝน ตากลม เพื่อที่จะปลูกข้าว พืชผักมาขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวของเขา และเมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดก็มีวิธีการ ปลูกที่ไม่เหมือนกัน หรือเหมือนกันเป็นบางชนิด จากการสนทนาพบว่าเด็กเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก มีคาถามเข้ามา มากมาย และยังมีเด็ก ๆ เล่าประสบการณ์เดิมของตนเองเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ที่บ้านอีก เช่น น้องแบงค์ บอกเคยเห็นคุณ ยายปลูกมะม่วง คุณยายตัดเม็ดมะม่วงก่อนปลูก น้องนุ๊กเคยเห็นพ่อปลูกมะพร้าวพ่อก็ตัดมันออกเหมือนกัน เพื่อน ๆ ถาม ว่าตัดแล้วมันไม่ตายหรือ น้องแบงค์ ตอบไม่ตายมันออกใบด้วยแต่หลายวันกว่าจะออกใบ ก่อนจะออกใบมันเป็นสีขาว ๆ ออกมาก่อน ยายบอกว่ามันงอก คุณครูบอกเด็ก ๆ ว่าใช่มันต้องงอกก่อนที่จะเป็นใบ จากการเรียนรู้ของเด็กมีคาถามที่เด็กสนใจ เช่น น้องบอลลูน ถามคุณครูว่า แล้วเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดข้าวโพดและ เมล็ดข้าวเปลือก ปลูกอย่างไร ต้องตัดเหมือนมะม่วง กับมะพร้าวหรือเปล่า คุณครูตอบว่า คุณครูก็ไม่ทราบว่าปลูกอย่างไร เพราะวิธีการเพาะปลูกมีหลายวิธี เราต้องไปค้นคว้าวิธีการปลูกมา เด็กอยากปลูกใช่ไหม เด็ก ๆ ทุกคนตอบพร้อมกันว่า อยากปลูก น้องเบ็นเท็น น้องดราก้อน น้องใยไหม น้องแก้มบุ๋ม บอกว่าเราจะปลูกได้อย่างไรเราไม่ใช่ผู้ใหญ่ เรายังเป็นเด็ก น้องแบงค์ น้องใบบัว น้องอิงค์ น้องภูมิ บอกเราต้องลองปลูก คุณครูจึงเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ไปสอบถาม คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง อ่านหนังสือกับคุณพ่อคุณแม่ ว่าเราจะปลูกเมล็ดทั้ง 3 ต้องทาอย่างไร แล้วเรามาทาการปลูกกันดีไหม เด็ก ๆ ตอบตกลง คุณครูก็นาเมล็ดพืชทั้ง 3 ชนิดไปวางไว้ที่มุมธรรมชาติ ระหว่างวันที่เด็กเล่น คุณครูสังเกตเห็นเด็กเข้ามาหยิบจับ ดูใช้ แว่นขยายส่องดู และพูดคุยกันถึงวิธีการปลูกที่ตนเองคิด และ คาดเดาไว้ วันที่ 17 มกราคม 2560 คุณครูได้สนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ให้เด็ก ๆ ไปสืบค้น มีเด็กเสนอคาตอบจากที่ไปสืบค้นมาดังนีน้องแบงค์ : คุณยายกับคุณตาบอกว่าต้องแช่นาไว้ 1 วัน 1 คืนก่อนแล้วค่อยเอาไปปลูก น้องแก้มบุ๋ม : แม่บอกปลูกในดินได้เลย โครงงานชีวิตต้องพึ่งพา ครูสมควร ศรีวิลัย โรงเรียนมาเรียลัย

ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

1

ชือ่โครงงาน ชีวิตต้องพึ่งพา ? ผู้จัดท าโครงงาน นักเรียนชั้นอนุบาลปีท่ี 2/1 โรงเรียนมาเรียลัย ครูที่ปรึกษา นางสมควร ศรีวิลัย ระยะเวลาในการจัดท า ระหว่างวันท่ี 13 ถึง 27 มกราคม พ.ศ. 2560

ที่มาของโครงงาน (วันที่ 13 มกราคม 2560 )

สืบเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เรื่องอาชีพเกษตรกร คุณครูได้น าเมล็ดพันธุ์พืชมาจัดกิจกรรมในขั้นน าโดยใช้ห่อผ้า 3 ห่อ ให้เด็ก ๆ คล าสัมผัสและให้เด็ก ๆ ทายว่าในห่อผ้าคืออะไร ก่อนเฉลยครูให้เด็ก ๆ บอกความรู้สึกว่าแต่ละห่อว่ามีลักษณะหรือรู้สึกอย่างไร เด็กบอกตามท่ีตนเองรู้สึกจากการสัมผัสห่อผ้า สรุป เด็ก ๆ บอกได้ว่าเป็นเม็ดเล็ก ๆ

ห่อท่ี 1 เด็กรู้สึกลื่น ๆ เม็ดเล็ก ๆ กลม ๆ แข็ง ๆ มีหลายเม็ดแต่ไม่มีใครตอบถูกว่าคืออะไร ห่อท่ี 2 เด็กรู้สึกว่าเป็นเม็ดใหญ่กว่าห่อที่ 1 ไม่กลม แต่แข็งเหมือนกัน มีหลายเม็ด แต่ไม่มีใครตอบถูก ห่อท่ี 3 เด็กรู้สึกว่าเป็นเม็ดเล็ก ๆ แต่ไม่กลมและสาก ๆ เวลาบีบมีเสียง แกลก ๆ รู้สึกแหลม ๆ ด้วย

น้องข้าวสวย น้องพิกเซล และน้องไนท์ทายถูกว่า ห่อท่ี 3 เป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อเด็กทุกคนได้บอกความรู้สึกของตนเองแล้ว คุณครูเฉลย โดยการเปิดห่อผ้าที่ละห่อ ดังนี้ ห่อท่ี 1 เป็นเมล็ดถั่วเขียว ห่อที่ 2 เป็นเมล็ดข้าวโพด และห่อท่ี 3 เป็นเมล็ดข้าวเปลือก หลังการเปิดห่อผ้าแล้วเด็กและครูสนทนาถึงรูปร่างลักษณะผิวสัมผัสของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด และถามเด็ก ๆ ว่า อาชีพอะไรที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ตอบว่า อาชีพชาวนาต้องปลูกข้าวต้องมีเมล็ดข้าวเปลือก อาชีพท าสวน ท าไร่ในป่า ต้องมีเมล็ดข้าวโพดกับถั่วเขียวไว้ปลูกขาย ครูสรุปให้เด็กได้รับประสบการณ์ใหม่ สิ่งที่เด็ก ๆ บอกมา เขาเรียกว่า “อาชีพเกษตรกร” และสนทนากับเด็ก ๆ ว่าอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ล าบากต้องตากแดด ตากฝน ตากลม เพ่ือที่จะปลูกข้าว พืชผักมาขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวของเขา และเมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดก็มีวิธีการปลูกท่ีไม่เหมือนกัน หรือเหมือนกันเป็นบางชนิด จากการสนทนาพบว่าเด็กเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก มีค าถามเข้ามามากมาย และยังมีเด็ก ๆ เล่าประสบการณ์เดิมของตนเองเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ที่บ้านอีก เช่น น้องแบงค์ บอกเคยเห็นคุณยายปลูกมะม่วง คุณยายตัดเม็ดมะม่วงก่อนปลูก น้องนุ๊กเคยเห็นพ่อปลูกมะพร้าวพ่อก็ตัดมันออกเหมือนกัน เพ่ือน ๆ ถามว่าตัดแล้วมันไม่ตายหรือ น้องแบงค์ ตอบไม่ตายมันออกใบด้วยแต่หลายวันกว่าจะออกใบ ก่อนจะออกใบมันเป็นสีขาว ๆ ออกมาก่อน ยายบอกว่ามันงอก คุณครูบอกเด็ก ๆ ว่าใช่มันต้องงอกก่อนที่จะเป็นใบ

จากการเรียนรู้ของเด็กมีค าถามที่เด็กสนใจ เช่น น้องบอลลูน ถามคุณครูว่า แล้วเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดข้าวโพดและเมล็ดข้าวเปลือก ปลูกอย่างไร ต้องตัดเหมือนมะม่วง กับมะพร้าวหรือเปล่า คุณครูตอบว่า คุณครูก็ไม่ทราบว่าปลูกอย่างไร เพราะวิธีการเพาะปลูกมีหลายวิธี เราต้องไปค้นคว้าวิธีการปลูกมา เด็กอยากปลูกใช่ไหม เด็ก ๆ ทุกคนตอบพร้อมกันว่าอยากปลูก น้องเบ็นเท็น น้องดราก้อน น้องใยไหม น้องแก้มบุ๋ม บอกว่าเราจะปลูกได้อย่างไรเราไม่ใช่ผู้ใหญ่ เรายังเป็นเด็ก น้องแบงค์ น้องใบบัว น้องอิงค์ น้องภูมิ บอกเราต้องลองปลูก คุณครูจึงเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ไปสอบถาม คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง อ่านหนังสือกับคุณพ่อคุณแม่ ว่าเราจะปลูกเมล็ดทั้ง 3 ต้องท าอย่างไร แล้วเรามาท าการปลูกกันดีไหม เด็ก ๆ ตอบตกลง คุณครูก็น าเมล็ดพืชทั้ง 3 ชนิดไปวางไว้ที่มุมธรรมชาติ ระหว่างวันที่เด็กเล่น คุณครูสังเกตเห็นเด็กเข้ามาหยิบจบัดูใช้ แว่นขยายส่องดู และพูดคุยกันถึงวิธีการปลูกท่ีตนเองคิด และ คาดเดาไว้

วันที่ 17 มกราคม 2560 คุณครูได้สนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ให้เด็ก ๆ ไปสืบค้น มีเด็กเสนอค าตอบจากที่ไปสืบค้นมาดังนี้

น้องแบงค์ : คุณยายกับคุณตาบอกว่าต้องแช่น้ าไว้ 1 วัน 1 คืนก่อนแล้วค่อยเอาไปปลูก น้องแก้มบุ๋ม : แม่บอกปลูกในดินได้เลย

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 2: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

2

น้องไอย์ : คุณพ่อบอกว่าปลูกได้เลยในดิน แตแ่ช่น้ าก่อนปลูกจะท าให้งอกเร็ว น้องดี, ทราย : แล้วเราจะปลูกอย่างไร น้องเบรฟ, คุณ : ใช้อะไรปลูก คุณครู : ให้เด็กช่วยกันคดิว่าจะเลือกปลูกแบบไหน ให้เด็กเข้ากลุ่มว่าใครต้องการปลูก เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวเปลือก ก าหนดให้เมล็ดถั่วเขียวเป็นกลุ่มที่ 1 เมล็ดข้าวโพดเป็นกลุ่มท่ี 2 เมล็ดข้าวเปลือกเป็นกลุ่มที่ 3

เด็ก ๆ : เข้ากลุ่มตามที่ตนเองสนใจที่จะปลูกและเลือกวิธีการปลูกโดยน าเมล็ดไปแช่น้ าก่อน ตามท่ีน้องไอย์ น้องแบงค์ น าเสนอ เพื่อที่จะได้ขึ้นไว ๆ คุณครู : ให้เด็ก ๆ แช่เมล็ดพันธุ์ 3 ชนิด แต่ละกลุ่มคิดว่าจะใช้อะไรปลูกคุณครู มีดิน กล่องโฟม

กล่องพลาสติก กระถางพลาสติก เด็ก ๆ : ใช้ดินปลูก ทั้ง 3 กลุ่ม และเลือกท่ีจะใช้กล่องพลาสติกปลูก คุณครู : เด็ก ๆ มีค าถามอะไรจะถามคุณครูบ้างไหม น้องใยไหม : ปลูกแล้วจะข้ึนไหม จะโตไหม กี่วันจะโต น้องใบบัว,ฟลุ๊ค : ต้องใส่ดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ า น้องแบงค์,นภ : ต้องตากแดดเพราะต้นไม้ต้องการแสงแดด น้องอิงค์ : ต้องมีอากาศเพราะต้นไม้ก็ต้องหายใจ น้องดี, อาชิ, ภู : ถ้าไม่ถูกแดด ไม่มีอากาศจะเป็นอย่างไร เด็ก ๆ : ใช่ ๆ อยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไร น้องอิงค์ น้องนุ๊ก : ถ้าใช้กล่องพลาสติกปลูกต้องปิดฝาไหม น้องไนท์ : ถ้าปิดฝามันไม่ข้ึนหรอกมันต้องตาย น้องแบงค์ : ใช่มันต้องตายเพราะมันหายใจไม่ได้ ไม่มีอากาศ น้องข้าวสวย : ใช้กล่องพลาสติกปลูกปิดฝา กับเปิดฝาจะเป็นอย่างไร จะขึ้นไหม น้องภู : ใช้กล่องพลาสติกปลูกแล้วเปิดฝาต้องขึ้นดีแน่ ๆ น้องพิกเซล : เราต้องลองปลูกทั้ง 2 แบบเลยได้ไหมครับ คุณครู : ใครสนใจปลูกท้ัง 2 แบบ และเด็ก ๆ คิดว่าทั้ง 2 แบบ จะเป็นอย่างไร เด็ก ๆ : สนใจปลูกท้ัง 2 แบบ คือ แบบเปิดฝากล่อง กับปิดฝากล่อง

คุณครู : พรุ่งนี้เราจะมาลองปลูกกันทั้ง 2 แบบหลังจากเราแช่น้ าไว้ 1 วัน 1 คืน เพ่ือ พิสูจน์ว่าเมล็ดพันธุ์มันจะขึ้น หรือจะตาย

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 3: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

3

เมล็ดพันธุ์พืช แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ า 1 วัน 1 คืน

แช่น้ าไว้ 1 วัน 1 คืนเมล็ดถั่วพองขึ้นมา เด็ก ๆ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงเมล็ดข้าวโพดกับข้าวเปลือกไม่เปลี่ยนแปลง

เด็ก ๆ ตั้งค าถามที่สนใจอยากรู้

สรุปค าถามท่ีเด็ก ๆ สนใจและอยากรู้ หรือสิ่งท่ีเด็ก ๆ อยากทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัย มี 4 ข้อ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ตั้งค าถามท่ีอยากรู้

ค าถามที่ 1 ปลูกแล้วจะข้ึนไหม จะโตไหม กี่วันจะโต ค าถามที่ 2 ใช้กล่องพลาสติกปลูกปิดฝา กับเปิดฝาจะเป็นอย่างไร จะขึ้นไหม ค าถามที่ 3 ถ้าไม่ถูกแดด ไม่มีอากาศจะเป็นอย่างไร จากค าถามท่ีเด็กสนใจอยากรู้ 3 ค าถาม เด็กและครูสนทนาเพ่ือเลือกค าถามที่จะน ามาส ารวจตรวจสอบ โดยท า

การทดลองปลูกเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด เด็ก ๆ เลือกค าถามข้อที่ 1 คือ ปลูกแล้วจะขึ้นไหม จะโตไหม กี่วันจะโต ค าถามที่ 2 ใช้กล่องพลาสติกปลูกปิดฝา กับเปิดฝาจะเป็นอย่างไร จะขึ้นไหม ค าถามที่ 3 ถ้าไม่ถูกแดด ไมม่ีอากาศจะเป็นอย่างไร ดังนั้นค าถามที่ต้องการน ามาหาค าตอบ คือ

ค าถามที่ 1 ปลูกแล้วจะข้ึนไหม จะโตไหม กี่วันจะโต ค าถามที่ 2 ใช้กล่องพลาสติกปลูกเปิดฝา กับปิดฝาจะเป็นอย่างไร จะข้ึนไหม ค าถามที่ 3 ถ้าไม่ถูกแดด ไม่มีอากาศจะเป็นอย่างไร

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 4: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

4

คุณครูจึงแนะน าการปลูกว่า เพ่ือไม่ให้เสียเวลาเราควรทดลองค าถามที่ 1 และค าถามที่ 2 พร้อม ๆ กันเลย จะได้เห็นผลไว ๆ เด็ก ๆ เห็นด้วย คุณครูจึงน าค าถามทั้ง 2 ค าถามมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เด็ก ๆ และคุณครู ช่วยกันเตรียม วัสดุ/อุปกรณ์ท่ีจะน ามาทดลองปลูกเมล็ดพันธุ์ (18 มกราคม 2560)

อุปกรณ์ในการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืช

เมล็ดพันธุ์ ถั่วเขียว ข้าวโพด ข้าวเลือก ดิน กล่องพลาสติก ช้อนตักดิน

จุดประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์พืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวเปลือก

โดยใช้กล่องพลาสติกปลูกแบบเปิดฝา กับปิดฝา ว่าผลออกมาเป็นอย่างไร

ขั้นที ่2 รวบรวมความคิดและคาดคะเนค าตอบ (วันที่ 18 มกราคม 2560) การทดลองที่ 1 เด็กและครูสนทนาร่วมกัน โดยครูใช้ค าถามกระตุ้นให้เด็ก ๆ เล่าประสบการณ์เดิมเก่ียวกับการปลูกต้นไม้ หรือ

พืชผักต่าง ๆ ที่เด็กเคยพบเห็น คุณครู : เด็ก ๆ เคยปลูกต้นไม้ พืชผัก หรือไม่ และปลูกอย่างไร น้องแบงค์ : เคยปลูกพลูด่างกับคุณแม่ที่บ้านใช้น้ าไม่ใช้ดินปลูกไว้ในห้องน้ า น้องจันทร์เจา้ : เคยปลูกต้นไม้ที่โรงเรียนคุณพ่อ เป็นต้นไม้ใหญ่ไม่ใช้เมล็ดปลูกไม่รู้ว่าต้นอะไร น้องข้าวสวย : เคยเห็นบ้านคุณยายปลูกข้าว ปลูกสับประรด น้องนุ๊ก : เคยเห็นพ่อปลูกพริกพ่อเอาเมล็ดพริกไปโรยไว้ที่ข้าง ๆ บ่อปลา น้องภูมิ : ที่บ้านหนูแม่ปลูกถั่วงอกกินเอง

ค าถามที่ 1 - 2 ปลูกแล้วจะขึ้นไหม จะโตไหม กี่วันจะโต ใช้กล่องพลาสติกปลูกเปิดฝา กับปิดฝาจะเป็นอย่างไร จะขึ้นไหม

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 5: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

5

หลังจากท่ีเด็ก ๆ เล่าประสบการณ์เดิมของตนเองแล้ว คุณครูจึงชวนเด็ก ๆ สนทนาต่อเนื่องว่า การปลูกพืชผัก หรือต้นไม้ มีวิธีการปลูกที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดพันธุ์นั้น ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดที่เราจะปลูกนี้เด็ก ๆ บอกต้องเอาไปแช่น้ าก่อนแล้วจะข้ึนง่าย แต่ไม่มีใครรู้ว่า กี่วันจะข้ึน กี่วันจะโต คุณครูกระตุ้นให้เด็ก ๆ คาดคะเนค าตอบ โดยให้เด็กเข้ากลุ่มตามที่เด็ก ๆ สนใจว่าตนเองจะปลูกอะไร ตามกลุ่มที่ครูก าหนดไว้ครั้งแรกคือ

กลุ่มท่ี 1 ปลูกเมล็ดถั่วเขียว กลุ่มท่ี 2 ปลูกเมล็ดข้าวโพด กลุ่มท่ี 3 ปลูกเมล็ดข้าวเปลือก

โดยคุณครูใช้ค าถามเดียวกันให้เด็ก ๆ แต่ละกลุ่ม ร่วมกันคิดและคาดคะเนค าตอบ จากค าถามของครูและเป็นค าถามของเด็ก ๆ ที่เด็ก ๆ ต้องการรู้ ดังนี้ “เด็ก ๆ คิดว่าเมล็ดพันธุ์ของกลุ่มตนเองจะขึ้นไหม จะโตไหมและใช้เวลากี่วันจึงจะงอกข้ึนมา” โดยใช้ภาชนะปลูกท่ีเหมือนกัน คือ ใช้กล่องพลาสติกปลูกแบบปิดฝา กับเปิดฝา ตามท่ีเด็กอยากรู้ โดยแยกการปลูกดังนี้ กล่องใบที่ 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ า กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ ให้ตัวแทนกลุ่มน าเสนอ และน ามาเรียนรู้และสรุปร่วมกัน

กลุ่มที่ 1 ปลูกเมล็ดถั่วเขียวเด็ก ๆ คาดคะเนว่า

- กล่องใบที่ 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าจะข้ึนและโตเร็ว น่าจะข้ึน ในเวลา 2 วัน - กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ไม่ข้ึนมันต้องตาย

กลุ่มที่ 2 ปลูกเมล็ดข้าวโพดเด็ก ๆ คาดคะเนว่า - กล่องใบที่ 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าจะข้ึนและโตเร็ว น่าจะข้ึน ในเวลา 5 วัน เพราะเมล็ดมันใหญ่กว่า - กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ไม่ข้ึนมันต้องตายเพราะในกล่องมันแน่นไม่มีอากาศ

ขณะเดียวกันก็มีบางคนบอกว่ากล่องใบที่ 2 ก็ขึ้นแต่ช้ากว่ากล่องใบที่ 1 กลุ่มที่ 3 ปลูกเมล็ดข้าวเปลือกเด็ก ๆ คาดคะเนว่า

- กล่องใบที่ 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าจะข้ึนและโตเร็ว น่าจะข้ึน ในเวลา 4 วัน - กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ไม่ข้ึนมันต้องตาย

หลังจากเด็ก ๆ คาดคะเนเสร็จทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนปลูกครูให้เด็ก ๆ สังเกตเมล็ดพันธุ์ ก่อนน าไปแช่น้ า และลงมือแช่น้ าไว้ในเวลา 1 วัน 1 คืน ตามที่เด็กบอก และรอเวลาว่าจะเป็นอย่างไร

ขั้นที่ 3 ด าเนินการส ารวจตรวจสอบ คุณครสูนทนากับเด็ก ๆ โดยใช้ค าถาม “เด็ก ๆ มีวิธีการหาค าตอบด้วยวิธีใดบ้าง ถึงจะทราบว่า เมล็ดพันธุ์ทั้ง 3

ชนิดจะใช้เวลากี่วันจึงจะข้ึนและโต กลุ่มที่ 1 กลับไปถามคุณพ่อคุณแม่ท่ีบ้านแล้วมาบอกเพ่ือน ๆ จะชวนคุณแม่ปลูกที่บ้านด้วย กลุ่มที่ 2 ก็ต้องดู และสังเกตที่เราปลูกว่ากี่วันมันจะโต กลุ่มที่ 3 จะลองไปปลูกเองที่บ้าน และให้คุณพ่อดูในเน็ต

คุณครูชวนเด็กวางแผนบันทึกการทดลองโดยถามเด็ก ๆ ว่าเด็กจะบันทึกการทดลองเองหรือจะให้คุณครูท าให้หรืออย่างไร น้องอาร์ เจ : ให้คุณครูท าให้ดู น้องแก้มบุ๋ม : หนูอยากท าเอง น้องดี,ไนท,์ปลื้ม : ให้คุณครูท าให้ดูและหนูจะท าตาม น้องหมูหยอง : เด็ก ๆ ต้องท าเองเพราะโตแล้ว ไม่ใช่น้อง อ. 1 คุณครู : สรุปว่าคุณครูจะท าเป็นแบบอย่างให้และให้เด็ก ๆ คิดและท าตามดีไหม

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 6: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

6

เด็ก ๆ : เห็นด้วยตามที่คุณครูบอก คุณครู : ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองโดยรวบรวมข้อค าถามจากสิ่งที่เด็ก

ต้องการพิสูจน์

ข้อสงสัย และมาอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังถึงขั้นตอนการบันทึกผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย ( 19 มกราคม 2560)

ก่อนปลูกคุณครูแนะน าให้เด็ก ๆ สังเกตเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด ครูให้เด็ก ๆ ออกมาเล่าให้เพ่ือน ๆ ฟังที่เด็กกลับไปถามคุณพ่อคุณแม่มา หรือไปค้นคว้าจากอินเตอร์มา ว่าได้ความว่าอย่างไร จากค าพูดของเด็ก สรุปได้ว่า เมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดนี้ ขึ้นง่ายมาก เวลาปลูกจะแช่น้ าหรือไม่แช่น้ าก็ได้ แต่ถ้าแช่น้ าจะขึ้นเร็วเพราะเมล็ดมันจะนิ่มงอกง่าย ก่อนปลูกครูให้เด็ก ๆ สังเกตเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด ทีแ่ช่น้ าไว้ในเวลา 1 วัน 1 คืน ตามท่ีเด็กบอก และรอเวลาว่าเป็นอย่างไร

เมล็ดถั่วเขียว เด็ก ๆ : ท าไมมันเยอะขึ้น เกือบเต็มแก้วเลย น้องอิงค์ : เมล็ดมันใหญ่ขึ้นด้วย น้องนัท,พอร์ช : บางเมล็ดมันแตกเห็นสีขาว ๆ ข้างใน คุณครู : ที่มองดูแล้วมันเยอะขึ้น จริง ๆ แล้วจ านวนเมล็ดมันเท่าเดิม แต่พอแช่น้ าไว้เมล็ดมันดูด

น้ าเข้าไปท าให้เมล็ดมันอ่ิมน้ าพองโตขึ้นเปลือกสีเขียวมันจึงแตกท าให้เห็นเมล็ดข้างใน สีขาว ๆ

เมล็ดข้าวโพด และ เมล็ดข้าวเปลือก เด็ก ๆ : เท่าเดิม เท่าเก่า ไม่เยอะเหมือนเมล็ดถั่วเขียว น้องอาชิ, ฟิวส์ : ท าไมมันไม่เยอะขึ้นเหมือนเมล็ดถั่วเขียว คุณครู : เพราะเมล็ดพันธุ์มันต่างชนิดกัน บางอย่างเปลือกแข็ง และมีความหนามากมัน

ก็จะใช้เวลานานในการดูดน้ ามากเพราะฉะนั้นในการแช่น้ า 1 วัน 1 คืนเท่า ๆ กันส าหรับเมล็ดข้าวโพดกับเมล็ดข้าวเปลือกจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง หลังจากเด็กและครูสนทนาร่วมกันเสร็จก็ท าการปลูกเมล็ดพันธ์ที่แช่น้ าไว้ ทั้ง 3 ชนิด

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 7: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

7

กิจกรรมการปลูกเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

เด็ก ๆ ช่วยกันปลูกเมล็ดถั่วเขียว กล่องใบที่ 1 เปิดฝา ใบที่ 2 ปิดฝา

กิจกรรมการปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด

เด็ก ๆ ช่วยกันปลูกเมล็ดข้าวโพด กล่องใบท่ี 1 เปิดฝา ใบที่ 2 ปิดฝา

กิจกรรมการปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก

เด็ก ๆ ช่วยกันปลูกเมล็ดข้าวเปลือก กล่องใบท่ี 1 เปิดฝา ใบที่ 2 ปิดฝา

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 8: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

8

การบรรยายหรือการอภิปรายผลของแต่ละกลุ่ม ( 20 มกราคม 2560)

เด็กและครูน ากล่องทดลองทั้ง 2 แบบ และเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกทั้ง 3 ชนิดมาสังเกตการเจริญเติบโต กลุ่มที่ 1 ปลูกเมล็ดถั่วเขียว กล่องใบท่ี 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าเห็นเป็นอะไรขาว ๆ เป็นตุ่ม ๆ ออกมาจากเมล็ด

ถั่วเขียว บางเมล็ดยาว บางเมล็ดสั้น บางเมล็ดเป็นตุ่ม ๆ คุณครู ให้ความรู้ในส่วนที่เด็ก ๆ ยังไม่รู้ค าศัพท์ ส่วนที่เราเห็นสีขาวออกมาจากเมล็ดเขาเรียกว่า “การงอก” และในส่วนที่เห็นเป็นตุ่มขาว ๆ เขาเรียกว่า “ผลิตา” เพ่ือให้เด็กเรียกได้ถูกต้อง กล่องใบที่ 2 งอกยาวและใหญ่เห็นชัดกว่ากล่องใบที่ 1 ใช้เวลา 1 วันเท่านั้นก็ข้ึนแล้ว

กลุ่มที่ 2 ปลูกเมล็ดข้าวโพด กล่องใบที่ 1 เปิดฝายังไม่งอกเลย กล่องใบท่ี 2 ปิดฝางอกบ้างบางเมล็ดแต่ยังไม่ยาว กล่องใบที่ 2 ใช้เวลา 1 วนัเท่านั้นก็งอกขึ้นแล้ว

กลุ่มที่ 3 ปลูกเมล็ดข้าวเปลือก กล่องใบท่ี 1 เปิดฝา กล่องใบท่ี 2 ปิดฝา ยังไม่งอกเลยทั้ง 2 กล่อง คุณครูน าการเพาะปลูกท้ัง 3 ชนิดมาให้เด็ก สังเกตและเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้น และถามเด็ก ๆ ว่าจะบันทึกผลเลยไหม เด็ก ๆ บอกยังวาดไม่ได้เพราะมันเห็นไม่ชัด ต้องรออีกให้มันยาวก่อน ทุกคนเห็นด้วย คุณครูจึงถามต่อว่าจะรอกี่วันเด็ก ๆ ส่วนใหญ่บอก 4 วัน คุณครูตกลงตามท่ีเด็ก ๆ ต้องการ แต่ในระหว่างการรอครบ 4 วันเราก็ต้องสังเกตอยู่ทุก ๆ วันและดูแลรดน้ าด้วย สังเกตการเจริญเติบโตครั้งที่ 1 โดยใช้เวลา 1 วันจากการปลูก

ถั่วเขียวสังเกตการเจริญเติบโตและการวัดครั้งที่ 1

ข้าวโพด ข้าวเปลือก

เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 9: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

9

ขั้นที่ 5 บันทึกผล เด็ก ๆ บันทึกผลตามที่คุณครูออกแบบบันทึกการทดลองให้ โดยบางคนวาดเองตามที่ตนเองเห็นบางคนครูต้องวาด

เป็นแบบอย่างให้และเด็ก ๆ วาดตาม และน ามาสรุปเรียนรู้ร่วมกันทั้ง 3 กลุ่ม และน าผลการบันทึกติดโชว์หน้าห้องเรียน

ครูบันทึกเป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ ดู

เด็ก ๆ บันทึกผลการทดลองลงในแบบบันทึกของตนเองตามที่ตนเองเห็น ครูจดบันทึกค าพูดเด็ก

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 10: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

10

ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล (23 มกราคม 2560) เด็กและครูสนทนาร่วมกันถึงค าถามที่เด็กสนใจอยากรู้ คือ “ปลูกแล้วจะข้ึนไหม จะโตไหม กี่วันจะโต ใช้กล่อง

พลาสติกปลูกเปิดฝา กับปิดฝาจะเป็นอย่างไร จะขึ้นไหม” เด็ก ๆ มีวิธีใดในการหาค าตอบ โดยให้เด็กแค่ละกลุ่มพูดคุยกันและให้ตัวแทนกลุ่มออกมาน าเสนอ

คุณครู : จากการหาค าตอบของเด็ก ๆ ว่า “ปลูกแล้วจะข้ึนไหม จะโตไหม กี่วันจะโต” สรุปว่า ปลูกแล้วขึ้นได้ และโตได้ แต่ใช้เวลาไม่เท่ากัน คุณครูจึงให้เด็ก ๆ อธิบายว่าลักษณะการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดว่ามีการเจริญเติบโตย่างไร จากการคาดคะเนกันไว้ครั้งแรก คือ

กลุ่มที่ 1 ปลูกเมล็ดถั่วเขียว เด็ก ๆ คาดคะเนว่ากล่องใบที่ 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าจะขึ้นและโตเร็ว กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ไม่ขึ้นมันต้องตาย และกล่องใบที่ 1 น่าจะขึ้น ในเวลา 2 วัน

สรุปของกลุ่มที่ 1 คือ กล่องใบที่ 1 เปิดฝา ขึ้นภายใน 1 วันและยาวขึ้นเรื่อย ๆ เวลา 4 วันยาวมากกว่าวันแรกมากส่วนในกล่องใบที่ 2 ปิดฝา ขึ้นได้ดีกว่ากล่องใบที่ 1 ซึ่งเปิดฝา และโตขึ้นจนดันฝากล่องเปิดออกมาเอง ผลคือไม่เป็นไปตามท่ีคาดคะเนไว้ ว่าในกล่องที่ปิดฝาต้องตาย และในกล่องใบที่ 1 ต้องขึ้นเร็วกว่า ผลออกมาคือในกล่องที่ปิดฝาขึ้นได้ดีกว่ากล่องที่ปิดฝา

กลุ่มที่ 2 ปลูกเมล็ดข้าวโพด เด็ก ๆ คาดคะเนว่า กล่องใบที่ 1ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าจะขึ้นและโตเร็ว กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ไม่ขึ้นมันต้องตายเพราะในกล่องมันแน่นไม่มีอากาศ ขณะเดียวกันก็มีบางคนบอกว่ากล่องใบท่ี 2 ก็ข้ึนแต่ช้ากว่ากล่องใบที่ 1 และกล่องใบที่ 1 น่าจะขึ้น ในเวลา 5 วัน เพราะเมล็ดมันใหญ่กว่าถั่วเขียวกับข้าวเปลือก

สรุปของกลุ่มที่ 2 คือกล่องใบที่ 1 เปิดฝา ขึ้นภายใน 2 วันและยาวขึ้นเรื่อย ๆ เวลา 4 วันยาวมากกว่าวันแรกมากส่วนในกล่องใบที่ 2 ปิดฝา ขึ้นได้ดีกว่าและโดเร็วกว่ากล่องใบที่ 1 ซึ่งเปิดฝา ผลคือไม่เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ ดังนี้เมล็ดข้าวโพดงอกท้ัง 2 กล่อง แต่การเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ในกล่องท่ีปิดฝาเจริญเติบโตได้ดีกว่า

กลุ่มที่ 3 ปลูกเมล็ดข้าวเปลือก เด็ก ๆ คาดคะเนว่า กล่องใบท่ี 1 ปลูกแล้วเปิดฝารดน้ าจะข้ึนและโตเร็ว กล่องใบที่ 2 ปลูกแล้วปิดฝาไว้ไม่ข้ึนมันต้องตาย และกล่องใบท่ี 1 น่าจะข้ึน ในเวลา 4 วัน

สรุปของกลุ่มที่ 3 คือกล่องใบที่ 1 เปิดฝา ขึ้นช้าใช้วลา 3 วันจึงงอกและโตช้า เวลา 4 วันยาวขึ้นกว่าวันที่ 3 นิดเดียวส่วนในกล่องใบที่ 2 ปิดฝาขึ้นภายใน 2 วันและโตเร็วกว่ากล่องใบที่ 1 ที่เปิดฝา ผลคือไม่เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ ดังนี้เมล็ดข้าวเปลือกงอกท้ัง 2 กล่อง แต่การเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ในกล่องที่ปิดฝาเจริญเติบโตได้ดีกว่า

ดังนั้นคุณครูจึงให้เด็ก ๆ สรุปร่วมกันว่าเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดสามารถปลูกขึ้นและเจริญเติบโตในกล่องทั้ง 2 แบบได้แต่ระยะเวลาในการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน หลังจากเด็กและคุณครูสรุปร่วมกันแล้ว คณครูจึงถามเด็ก ๆ ว่าเด็กอยากรู้อะไรอีกเกี่ยวกับการท ากิจกรรมในครั้งนี้

น้องแบงค์ : ท าไมเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวเปลือก จึงขึ้นได้ในกล่องที่ปิดฝาในกล่องที่ปิดฝา ไม่มีอากาศข้ึนได้อย่างไร

น้องดราก้อน : ปลูกวันเดียวกันท าไมไม่ขึ้นพร้อมกัน น้องโบนัส : ท าไมบางต้นยาว บางต้นสั้น น้องอาร์ม : ลองเอาออกไปตากแดดดู

คุณครู ให้ความรู้เพิ่มเติม เด็กได้รับประสบการณ์ใหม่ คือ เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตได้ในกล่องท่ีปิดฝา เหมาะในกล่องที่ปิดฝามีอุณหภูมิที่เหมาะสม และการระเหยของน้ าในดินมันขึ้นมาจับตัวเป็นหยดน้ าที่ฝาและมันก็หยดลงไปก็เท่ากับมันไปหล่อเลี้ยงต้นอ่อนได้ดี ในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช ในระยะที่ก าลังเพาะเมล็ดพืชยังไม่ต้องการแสงแดดมากเท่าไรนัก บางอย่างถูกแสงแดดมาก ๆ ร้อนจัด ๆ รากหรือต้นอ่อนก็เหยี่ยวตายไปได้ และทีป่ลูกวันเดียวกันท าไมไม่ขึ้นพร้อมกัน

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 11: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

11

ท าไมบางต้นยาว บางต้นสั้น นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเมล็ดนั้น ๆ ถ้าสมบูรณ์มากก็จะโตเร็ว ถ้าไม่สมบูรณ์ก็จะโตช้า และท่ีไม่ข้ึนเลยก็เป็นเพราะเมล็ดมันเสียไม่สามารถข้ึนได้

ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 1. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.1 ทักษะการสังเกต - สังเกตการบอกลักษณะของสิ่งที่มองเห็น การสังเกตเห็นด้วยประสาทสัมผัส เช่น ตาดู หูฟัง

มือคล า บีบ หยิบ จับสัมผัสเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด - สังเกตการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด - สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

1.2 ทักษะการวัด - วัดการเจริญเติบโต ความสั้น ความยาว ความสูง ความต่ า ขนาดของล าต้น ของต้นถั่วเขียว ต้น

ข้าวโพด และต้นข้าว ด้วยไม้บรรทัด และนิ้วมือ ฝ่ามือของเด็กเอง 1.3 ทักษะการจ าแนก

- จ าแนกปะเภทของเมล็ดพันธุ์ที่น ามาทดลองปลูก ได้แก่ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวเปลือก - จ าแนกต้นถั่วเขียว ต้นข้าวโพด ต้นข้าว

1.4 ทักษะการเปรียบเทียบ - เปรียบเทียบขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ความสูง ต่ า สั้น ยาว ของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด - เปรียบเทียบรูปร่างลักษณะ และผิวสัมผัสของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด - เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด ในเวลาที่เท่ากันว่าการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร - เปรียบเที่ยบสิ่งที่คาดคะเนกับผลการศึกษาและทดลอง

1.5 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา - พ้ืนที่ในการปลูกหรือภาชนะ ระยะเวลาในการปลูกในพ้ืนที่ที่เท่ากันแต่ผลออกมาต่างกัน

1.6 ทักษะการค านวณ - ค านวณปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่จะปลูกกับพ้ืนที่หรือภาชนะท่ีปลูกให้เหมาะสมกันไม่มากไปหรือน้อยไป

1.7 ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล - เด็กรู้จักตั้งค าถามจากข้อที่สนใจหรือสงสัย สามารถสรุปและอภิปรายผลของการศึกษาทดลองได้

โดยการวาดภาพสื่อความหมายสิ่งที่ได้กระท า สามารถถ่ายทอดเป็นค าพูดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้ 1.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

- เด็กสามารถให้เหตุผลเพิ่มเติบได้โดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับจากสิ่งที่ได้พบเห็นจากการศึกษาทดลอง โดยการสังเกตการปลูกเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด และแสดงความคิดเห็นได้

1.9 ทักษะการพยากรณ์หรือคาดคะเนค าตอบ - เด็กสามารถคาดคะเนค าตอบได้ ถึงแม้การคาดคะเนจะไม่มีผลตามท่ีคาดคะเนไว้ แต่เป็น

ประสบการณ์ใหม่ที่มี คุณค่าต่อเด็ก ชวนให้เด็กรักการใฝ่เรียนรู้เพื่อหาข้อพิสูจน์ความจริงต่อไป 2. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 5 ด้าน

1.1 ด้านภาษา เช่น การพูดสื่อสาร เขียน วาดรูป เป็นต้น

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 12: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

12

- เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาดีรู้จักฟัง ใช้ภาษาพูดคุยสื่อสารกันในระหว่างการท ากิจกรรมและสามารถวาดภาพเขียนค าง่าย ๆ เพ่ือสื่อความหมายผลการทดลองให้ผู้อ่ืนรับรู้ได้

1.2 ด้านการเรียนรู้ เช่น รู้จักตั้งค าถามสังเกต ค้นคว้าหาค าตอบด้วยตนเองใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เป็นต้น - เด็กรู้จักตั้งค าถามจากการสังเกตกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองและหลังการทดลอง - เด็กมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการไปถามผู้รู้ และจากการดูภาพจากหนังสือแล้วมา

เล่าให้ เพ่ือน ๆ และคุณครูฟัง - เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัส ตาดู หูฟัง มือจับต้องสัมผัส จมูกดมกลิ่น ซึ่งท าให้เด็กรับรู้ไดดี้

1.3 ด้านสังคม เช่น ท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม - เด็กสามารถท างานร่วมกับเพ่ือน ๆ ได้ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืน - เด็กรู้จักการรอคอย เคารพกฎกติกา และปฏิบัติตามข้อตกลงในการท ากิจกรรมไดดี้

1.4 ด้านการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ อุปกรณ์ในการท ากิจกรรมได้มั่นคงไม่หลุดล่วงหรือตกลงพ้ืน

การวาดภาพ เขียนค า บันทึกการทดลอง - การเดิน การเคลื่อนไหวในการท ากิจกรรม

1.5 ด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น เด็กมีความสุข สนใจ กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ มั่นใจในตัวเอง เป็นต้น - เด็ก ๆ มีความสุขและมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยสมาธิที่จดจ่อกับสิ่ง

ที่ก าลังท าและมีความมั่นใจในการน าเสนอผลงาน

ขั้นที่ 1 ตั้งค าถามท่ีเด็กอยากรู้ วันที่ 23 มกราคม 2560 (การทดลองที่ 2) ต่อเนื่องจากการทดลองครั้งที่ 1

จากการที่เด็ก ๆ ได้เคยเรียนรู้มาแล้วว่าแสงแดดและอากาศมีประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตมาก เช่น ต้นไม้ คน สัตว์ แล้ว เด็ก ๆ อยากรู้ว่าถ้าต้นไม้ไม่ได้รับแสงแดดกับไม่มีอากาศแล้วต้นไม้จะเป็นอย่างไร

น้องเบ็นเท็น, ไนท์ : ถ้าเราลองเอาทั้ง 3 อย่างไปตากแดดจะเป็นอย่างไร น้องพิกเซล นภ : ถ้าไม่ให้ถูกแสงแดดกับไม่ให้ถูกอากาศจะท าอย่างไร คุณครู : ให้เด็ก ๆ ช่วยกันคิดว่าจะท าอย่างไร

ค าถามที่ 3 ถ้าไม่ถกูแดด ไม่มีอากาศจะเป็นอย่างไร

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 13: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

13

น้องแชมป์ : ไปถามแม่ได้ไหมครับ แม่อยู่ห้อง ครูมณ อ.3/3 ครับ น้องนุ๊ก, แก้มบุ๋ม : ไปถามครูออยข้างห้องได้ไหมคะ น้องหมูหยอง, ภู, ปลื้ม : คิดเองก็ได้ ตอนนั้นที่เราทดลองเอาไฟฉาย ฉายแผ่นพลาสติกใส ๆ แล้วแสงมัน

ทะลุไปได้ แต่ฉายไปที่ถุงด าที่เป็นถุงขยะแสงไฟมันไม่ทะลุไปได้ คุณครู : เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ไปถามบุคคลที่เด็ก ๆ คิดว่าให้ค าตอบได้ในช่วงเวลา

พักเบรก โดยให้ไปกลุ่มละ 3 คนเพ่ือช่วยกันจ า เด็ก ๆ : ใช่ ๆ จ าได้แล้วการทดลองเรื่องแสงเลี้ยวเบนถ้าใช้ถุงด าแสงมันเลี้ยวเบนไม่ได้

เพราะแสงมันไม่ทะลุผ่านสีด า คุณครู : คุณครูให้เด็ก ๆ ที่ไปแสวงหาความรู้มาบอกเพ่ือน ๆ

กลุ่มน้องแชมป์ : แม่บอกไม่ให้ถูกแสงแดดก็เอาไว้ในห้องเรียน ถ้าไม่ให้ถูกอากาศก็ให้เอาอะไรปิด ไว้ไม่ให้อากาศเข้าครับ

กลุ่มน้องนุ๊ก, แก้มบุ๋ม : ครูออยบอกถ้าไม่ให้ถูกแสงแดดก็ต้องเอาใส่ถุงขยะสีด า ๆ ถ้าไม่ให้ถูกอากาศก็ ต้องมัดปากถุงให้แน่น ๆ อากาศจะได้ไม่เข้า

น้องหมูหยอง, ภู, ปลื้ม : เราจะท าแบบไหนดีครับ คุณครู,น้องแบงค์, เบ็นท็น : เราต้องแบ่งเมล็ดพันธุ์ที่ข้ึนแล้วออกไปทดลองตากแดด และใส่ถุงด ามัดปากถุง เพ่ือไม่ให้อากาศเข้า และก็ตั้งไว้ในห้องเรียนเฉย ๆ อีกกล่อง คุณครู : ถามความคิดเห็นเด็ก ๆ ว่าเห็นด้วยตามนี้ไหม เราจะทดลองแบบนี้กันดีไหม เด็ก ๆ : ตกลงเห็นด้วยตามนั้น ใช้ถุงด าไม่ให้แสงมันเข้าไปได้ และมัดปากถุงไม่ให้

อากาศมันเข้าไปได้เหมือนกัน

คุณครูและเด็ก จึงช่วยกันแบ่งแยกต้นกล้าออก เป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน ดังนี้ ส่วนที ่ 1 ตั้งไว้ในห้องเรียนโดยมีการดูแลรดน้ า ส่วนที่ 2 ใส่ถุงด ามัดปากให้แน่น ๆ ตั้งไว้ในห้องเรียน ไม่รดน้ าไม่เปิดปากถุง ส่วนที่ 3 น าไปตากแดดและดูแลรดน้ าด้วย

กิจกรรมการแยกต้นกล้า

เด็ก ๆ แยกต้นกล้าออกเป็น 3 ส่วน เด็กสังเกตโดยใช้แว่นขยาย

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 14: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

14

เด็ก ๆ น าใส่ถุงด า ต้นกล้าที่แยกส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 มัดปากถุงด าให้แน่น

เด็ก ๆ น าส่วนที่ 3 ไปตากแดด คุณครูถามเด็กว่า : เราจะใช้เวลากี่วันจึงจะเปิดถุงด าเพ่ือดูการเปลี่ยนแปลงของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดนี้ เด็ก ๆ : 5วัน, 3วัน, 7วัน, 2วัน, 4วัน, 10วัน หลากหลายความต้องการ คุณครู : แนะน าให้เด็ก ๆ สรุปให้เหลือค าตอบเดียว เด็ก ๆ : ตกลงกันที่ 4 วัน ทุกคนเห็นด้วยกับจ านวน 4 วันนี้ แล้วจึงเปิดปากถุงด า คุณครูถามเด็กว่า : และภายใน 4 วันนี้เราต้องท าอย่างไรกับต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดนี้ น้องจันทร์เก้า, ไอย์ : ต้องรดน้ าในกล่องที่อยู่ในห้องเรียน กับกล่องที่ตากแดดมันจะได้โต น้องเบรฟ, หมูหยอง : ในถุงด าไม่ต้องรดน้ าหรอกเพราะถ้าเปิดรดน้ าอากาศมันจะเข้าไป คุณครูถามเด็กว่า : ใครเห็นด้วยบ้างโดยให้เด็ก ๆ เข้ากลุ่มของตนเองและปรึกษากันแล้วตอบคุณครู เด็ก ๆ ทั้ง 3 กลุ่ม : ตกลงเห็นด้วยกับที่ น้องจันทร์เก้า, ไอย์ น้องเบรฟ, หมูหยอง เสนอ

กิจกรรมการดูแลรดน้ าในห้องเรียน

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 15: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

15

ภาพการดูแลรดน้ า

การดูแลรดน้ าในส่วนที่ตากแดดนอกห้องเรียนโดยให้เด็กหมุนเวียนกันมากลุ่มละ 2 – 3 คน จุดประสงค์ เพ่ือศึกษาการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลง ของต้นพืชทั้ง 3 ชนิดที่ได้รับแสงแดดกับไม่ได้รับ

แสงแดดและได้รับอากาศกับไม่ได้รับอากาศจะเป็นอย่างไร

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น เมล็ดพันธุ์พืช และต้นกล้าทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ต้นถั่วเขียว ต้นข้าวโพด ต้นข้าว ตัวแปรตาม การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตัวแปรควบคุม ปริมาณดิน ภาชนะท่ีปลูก ต้นกล้าที่แยกออกมาทดลอง การดูแลรดน้ า ในเวลาและ

จ านวนวันเดียวกัน

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและคาดคะเนค าตอบ (วันที่ 23 มกราคม 2560) เด็กและครูสนทนาร่วมกัน โดยคุณครูใช้ค าถามกระตุ้นให้เด็ก ๆ คิดและคาดคะเนค าตอบว่า เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิด

อะไรขึ้น กับต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดและการทดลองทั้ง 3 แบบ ให้เด็ก ๆ คาดคะเนค าตอบ คุณครู : เด็ก ๆ คิดว่าจะเป็นอย่างไรกับการทดลองทั้ง 3 แบบ โดยให้เด็กปรึกษากันภายในกลุ่มตนเอง

กลุ่มท่ี 1 : ในถุงด ามันต้องตาย เพราะมันไม่มีอากาศ ที่ตากแดดมันต้องเหี่ยวเพราะแดดมันร้อนต้นมันยัง เล็กอยู่ และที่ตั้งอยู่ในห้องมันต้องขึ้นได้ดี (การคาดคะเนของกลุ่มตันถั่วเขียว)

กลุ่มท่ี 2 : มันต้องขึ้นได้ทั้ง 3 แบบ เพราะต้นข้าวโพดโตกว่าต้นถั่วเขียว และ ต้นข้าว (การคาดคะเนของ กลุ่มตันข้าวโพด)

กลุ่มท่ี 3 : ในถุงด ามันต้องตาย เพราะมันไม่มีอากาศและไม่ได้ถูกแสงแดด ที่ตากแดดกับที่ตั้งไว้ในห้อง เฉย ๆ มันจะโตได้ดี (การคาดคะเนของกลุ่มตันข้าว)

คุณครู : ก่อนน าไปตากแดดคุณครูย้ าให้เด็กสังเกต สี ล าต้น ขนาด ของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดให้ดีว่าเป็น อย่างไรเพ่ือดูการเปลี่ยนในแต่ละวันจนครบ 4 วัน

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 16: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

16

ต้นถั่วเขียว ต้นข้าวโพด ต้นข้าว

ขั้นที่ 3 ด าเนินการส ารวจตรวจสอบ (วันที่ 24 มกราคม 2560) คุณครู : กระตุ้นให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยให้ใช้อุปกรณ์ ต่าง ๆ ในการ

ส ารวจตรวจสอบได้ เช่น แวน่ขยาย ไม้บรรทัดส าหรับวัดความยาวของต้นกล้า กลุ่มท่ี 1 : ต้นถั่วเขียวโตเร็วที่สุดเลย ใชไ้ม้บรรทัดวัดดูแล้วยาวกว่าวันแรกเยอะเลย ครั้งที่1 วัดอยู่ที่เลข 1

ครั้งนี้วัดยาวมากขึ้นเป็นเลข 2 เลข 3 เลย กลุ่มท่ี 2 : ต้นข้าวโพดก็โตเร็ว ตั้งตรงขึ้น ในกล่องท่ีเอาไปตากแดด แต่ยังไม่ยาวเท่าไร

กลุ่มท่ี 3 : ท าไมต้นข้าวโตช้ากว่าเพ่ือน คุณครู : แนะน าให้เด็ก ๆ ดูแลรดน้ า ในส่วนที่ไม่ได้ใส่ถุงด า และชี้แจงในส่วนที่เด็ก ๆ สงสัยว่าท าไมต้น

ถั่วเขียวกับต้นข้าวโพดโตเร็ว ท าไมต้นข้าวโตช้า เพราะต้นกล้า หรือต้นไม้บางอย่างใช้ระยะเวลา ในการเจริญเติบโตไม่เท่ากันบางอย่างโตเร็ว บางอย่างโตช้าเป็นเรื่องปกติ เหมือนคนเราบางคน โตเร็วบางคนโตช้าขึ้นอยู่กับ กรรมพันธุ์ของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับอาหารการกินด้วยเหมือน เด็ก ๆ ในห้องนี้ยังตัวโตไม่เท่ากันเลย

ขั้นที่ 3 ด าเนินการส ารวจตรวจสอบ (วันที่ 25 - 26 มกราคม 2560) คุณครู : กระตุ้นให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวันอีก โดยให้ใช้อุปกรณ์ ต่าง ๆ ใน

การส ารวจตรวจสอบได้ เช่น แว่นขยาย ไม้บรรทัดส าหรับวัดความยาวของต้นกล้าเหมือนเดิม กลุ่มท่ี 1 : ต้นถั่วเขียวสูงขึ้น ล าต้นมีสีเขียวขึ้น ต้นตั้งตรงขึ้นใบเขียวขึ้น ใบใหญ่ขึ้นในกล่องที่ตากแดดและ

กล่องที่ตั้งไว้ในห้องเรียนก็สูงขึ้น ยาวขึ้น แต่ล าต้นและใบเล็กและสีเขียวอ่อนกว่าที่ตากแดด กลุ่มท่ี 2 : ต้นข้าวโพดที่ตากแดดโตเร็ว ใบเขียวมากขึ้น ยาวขึ้น สูงขึ้นและท่ีล าต้นเป็นสีชมพู และสีม่วง

จบัดูต้นแข็งกว่าวันที่เอาไปตากแดดวันแรก และต้นก็ตั้งตรงขึ้นด้วย กลุ่มท่ี 3 : ต้นข้าวโตช้ากว่าเพ่ือนแต่ก็ยาวกว่าเดิม กล่องที่เอาไปตากแดดใบสีเขียวมากข้ึน กล่องที่ตั้ง

ไว้ในห้องเรียนเฉย ๆ ก็ยาวขึ้น แต่ใบและล าต้นสีเขียวอ่อนกว่าในกล่องที่เอาไปตากแดด คุณครู : กระตุ้นให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลัง ครบก าหนด 4 วัน โดยให้แต่ละกลุ่มน า

การทดลองทั้ง 3 แบบ ออกมาดู และสังเกตการเปลี่ยนแปลง และให้ทุกกลุ่มวาดภาพบันทึก การทดลอง

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 17: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

17

กิจกรรมการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดโดยใช้อุปกรณ์ แว่นขยาย ไม้บรรทัด

สังเกตการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ พบว่ามีการเจริญเติบโตในกล่องใบที่ปิดฝาต้นกล้าดันขึ้นมาจนฝาเปิด

สังเกตสีใบ ล าต้น และวัดความสูงเพ่ือเปรียบเทียบกับการวัดครั้งแรกพบว่าการวัดครั้งที่ 2 ห่างกัน 4 วัน ต้นกล้าสูงใหญ่ และยาว

ขึ้นมากโดยเฉพาะถั่วเขียวยาวที่สุด

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 18: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

18

เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงโดยการน าการทดลองทั้ง 3 แบบมาเปรียบเทียบกัน

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย ( วันที่ 27 มกราคม 2560) คุณครู : กระตุ้นให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในระยะเวลาที่ก าหนดคือ 4 วัน โดยให้ใช้

อุปกรณ์ ต่าง ๆ ในการส ารวจตรวจสอบได้ เช่น แว่นขยาย ไม้บรรทัดส าหรับวัดความยาวของ ต้นกล้าเหมือนเดิม และให้แต่ละกลุ่ม น ากล่องใบที่ใส่ถุงด าออกมาเปิดเพ่ือดูการเปลี่ยนแปลง ของต้นกล้าเพ่ือพิสูจน์สิ่งที่เด็กสนใจอยากรู้ ครูทบทวนค าถามเด็ก ๆ ที่เด็กอยากรู้คือ

“ถ้าไม่ถูกแดด ไม่มีอากาศจะเป็นอย่างไร” คุณครใูห้ทั้ง 3 กลุ่ม น ากล่องทดลอง ทั้ง 3 แบบ มาสังเกตการเจริญเติบโต และสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มท่ี 1 : ต้นถั่วเขียวสูงขึ้น ล าต้นมีสีเขียวขึ้น ต้นตั้งตรงขึ้นใบเขียวขึ้น ใบใหญ่ขึ้นในกล่องที่ตากแดดดูต้น แข็งแรงขึ้นและในกล่องที่ตั้งไว้ในห้องเรียนก็สูงขึ้น ยาวขึ้น แต่ล าต้นและใบเล็กและสีเขียวอ่อน

กว่าที่ตากแดด ส่วนในถุงด าเมื่อเปิดออกมามีกลิ่นแปลก ๆ และพบว่าสีใบไม่เขียวเหมือนกล่องที่ตากแดด สีใบและล าต้นเป็นสีขาว ๆ เหลืองอ่อน ๆ แต่ยาวขึ้น ล าต้นไม่ตั้งตรงจะเอนนอนไปกับดินและเรื้อยออกมานอกกล่องดูไม่แข็งแรง

กลุ่มท่ี 2 : ต้นข้าวโพดที่ตากแดดโตเร็ว ใบเขียวมากขึ้น ยาวขึ้น สูงขึ้นและท่ีล าต้นเป็นสีชมพู และสีม่วง จบัดูต้นแข็งกว่าวันที่เอาไปตากแดดวันแรก ต้นตั้งตรงและดูแข็งแรงมากขึ้น ส่วนในถุงด าเมื่อเปิดออกมามีกลิ่นแปลก ๆ และพบ่ว่าสีใบไม่เขียวเหมือนกล่องที่ตากแดด สีใบและล าต้นเป็นสีขาว ๆ เหลืองอ่อน ๆ ยาวขึ้น ล าต้นไม่ตั้งตรงดูไม่แข็งแรง

กลุ่มท่ี 3 : ต้นข้าวโตช้ากว่าเพ่ือนแต่ก็ยาวกว่าเดิม กล่องที่เอาไปตากแดดใบสีเขียวมากข้ึน กล่องที่ตั้ง ไว้ในห้องเรียนเฉย ๆ ก็ยาวขึ้น แต่ใบและล าต้นสีเขียวอ่อนกว่าในกล่องท่ีเอาไปตากแดด ส่วนในถุงด า เมื่อเปิดออกมา ใบและล าต้นเป็นสีเขียวอ่อน ๆ บางต้นก็เป็นสีขาว และเหีย่วดูแล้วเหมือนจะตาย

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 19: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

19

กิจกรรมการเปิดถุงด า และสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ต้นถั่วเขียวในถุงด ามีสีขาวยาวขึ้นใบเป็นสีเหลืองอ่อนล าต้นไม่แข็งแรง กล่องที่ตั้งไว้ในห้องสูงขึ้นใบใหญ่ขึ้น มีสีเขียวอ่อน ล าต้นแข็งแรงกว่าในถุงด า กล่องที่ตากแดด ล าต้นแข็งแรงมากท่ีสุดใบมีสีเขียวเข้มและใบใหญ่ขึ้น ต้นข้าวโพดในถุงด ามใีบและล าต้นสีเหลืองอ่อนยาวขึ้นเล็กน้อยล าต้นไม่แข็งแรงเท่ากับต้นที่ตากแดด

กล่องที่ตั้ง ไว้ในห้องสูงขึ้นใบใหญ่ขึ้นมีสีเขียวแต่สีอ่อนกว่ากล่องใบที่ตากแดด กล่องที่ตากแดด ล าต้นแข็งแรงมากที่สุดใบมีสีเขียวเข้มและใบใหญ่ขึ้น

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 20: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

20

ต้นข้าวในถุงด ามีใบและล าต้นสีเหลืองอ่อนยาวขึ้นเล็กน้อยล าต้นไม่แข็งแรง อ่อนเอนไปมา กล่องท่ีตั้งไว้ในห้องสูงขึ้นใบใหญ่ขึ้นมีสีเขียวแต่สีอ่อนกว่ากล่องใบท่ีตากแดด กล่องท่ีตากแดด ล าต้นแข็งแรงมากที่สุดใบมีสีเขียวเข้มและใบใหญ่ขึ้น และล าต้นตั้งตรงมากที่สุด เด็กวาดภาพบันทึกผลการทดลอง

ขั้นที่ 5 บันทึกผล คุณครู ให้แต่ละกลุ่มน าเสนอผลการทดลอง หน้าชั้นเรียน ตัวแทนกลุ่มออกมาวาดภาพบันทึกผลการทดลองในแบบบันทึกการทดลองที่ออกแบบไว้ และให้ทุกคนไปบันทึกในแบบบันทึกของตนเอง ครูจดบันทึกค าพูดเด็กลงในแบบบันทึกของเด็ก

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 21: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

21

ขั้นที่ 6 สรุปอภิปรายผล ( วันที่ 27 มกราคม 2560 ) เด็กและคุณครูสนทนาร่วมกันถึงค าถามที่เด็กสนใจอยากรู้ คือ “ถ้าไม่ถูกแดด ไม่มีอากาศจะเป็นอย่างไร” แต่ละกลุ่มอภิปรายผล

กลุ่มท่ี 1 : ต้นถั่วเขียว ถ้าไม่ถูกแสงแดดกับไม่ได้รับอากาศต้นมันจะโตช้า ใบและต้นเหี่ยวไม่ แข็งแรงถ้ามัดถุงด าต่อไปอีกมันจะตาย

กลุ่มท่ี 2 : ต้นข้าวโพด ถ้าไม่ถูกแสงแดดกับไม่ได้รับอากาศต้นมันจะโตช้า ใบไม่เขียวต้นไม่แข็งแรง ถ้ามัดถุงด าต่อไปอีกมันจะเน่าตาย

กลุ่มท่ี 3 : ต้นข้าว ถ้าไม่ถูกแสงแดดกับไม่ได้รับอากาศต้นมันจะโตช้า ใบไม่เขียวต้นไม่แข็งแรงถ้า มัดถุงด าต่อไปอีกมันจะเน่าตายเหมือนกัน

เด็ก ๆ ขอทดลองมัดถุงด าต่ออีก 2 วัน เพราะเป็นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันจันทร์มาดูใหม่ คุณครู : ตกลงท าตามที่เด็กต้องการ โดยการมัดถุงด าให้ใหม่และตั้งไว้ 2 วัน คือวันเสาร์ และวัน

อาทิตย ์ วันที่ 27 มกราคม 2560

เด็ก ๆ ชวนคุณครูเปิดถุงด าตามท่ีได้ตกลงกันไว้ แต่ก่อนเปิดครูให้เด็ก ๆ สังเกตต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดที่ตั้งไว้ในห้องเรียนและที่ตั้งตากแดดว่าเป็นอย่างไร

กลุ่มท่ี 1 : ต้นถั่วเขียวมันอ่อนเอนไปหเมือนจะตายบางต้นตายแล้ว เพราะเราไม่ได้รด น้ ามันตอนวันหยุด

กลุ่มท่ี 2 : ต้นข้าวโพด มันสูงขึ้นที่โคนต้นเป็นสีม่วงมันเอนบางต้นก็โค่นล้มเลย กลุ่มท่ี 3 : ต้นข้าว สูงขึ้นและดูแข็งแรง ต้นตั้งตรงขึ้นไม่เอน ไม่ล้ม

คุณครตูั้งค าถามชวนให้เด็ก ๆ คิดว่า “ท าไม ต้นข้าวถั่วเขียว ต้นข้าวโพด จึงโค่นล้ม บางต้นก็ตาย” น้องโชกุน, ฟลุ๊ค : เพราะมันโตขึ้นสูงขึ้น และกล่องที่ปลูกมันเล็กมันเบียดกันมันจึงล้มและตายได้ คุณครู : เราจะท าอย่างไรมันถึงขึ้นและโตได้ดี น้องหมูหยอง : ต้องเอาไปปลูกท่ีดินที่พ้ืนกว้าง ๆ มันถึงจะโต น้องปังปอนด์ : ต้องรดน้ า ใส่ปุ๋ย น้องแบงค์, อาร์ม : ต้องให้ถูกแสงแดดด้วย

กิจกรรมการเปิดถุงด าหลังจากที่เด็ก ๆ ต้องการมัดปากถุงไว้อีก 2 วัน คือวันเสาร์ และวันอาทิตย์ คุณครู : ให้แต่ละกลุ่มน าถุงด ามาเปิดและสังเกตการเปลี่ยนแปลง กลุ่มท่ี 1 : ต้นถั่วเขียวตายหมดเลย เวลาเปิดปากถุงมีกลิ่นเหม็น กลุ่มท่ี 2 : ต้นข้าวโพดใบและต้นเป็นสีเหลือง ๆ ขาว ๆ ต้นไม่แข็งแรง บางต้น

ตายไปแล้วบางต้นยังไม่ตาย ต้นที่ตายใบและต้นเหี่ยวแห้งเป็นสีน้ าตาล กลุ่มท่ี 3 : ต้นข้าว ใบและต้นเหลือง ๆ เหี่ยวเหมือนจะตาย ล าต้นไม่แข็งแรงเอนไปเอนมา

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 22: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

22

เด็กและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาทดลอง คือ ต้นอ่อน ต้นกล้า ของพืชต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงแรกของการน าเมล็ดไปปลูก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปก็อาจจะไม่ข้ึนก็ได้ หรือเมื่อรากงอกออกมาแล้วถูกแสงแดดที่ร้อนจัด รากอาจจะเหี่ยวและตายได้เช่นกัน

ดังนั้นอุณหภูมิจึงมีความส าคัญกับต้นไม้ ต้นกล้าทุกชนิด คุณครูให้เด็ก ๆ ทบทวนการทดลองปลูกเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดในครั้งแรกที่เด็ก ๆ คาดคะเนว่าในกล่องที่ปิดฝามันจะไม่ข้ึนเพราะปิดฝาไว้มันไม่มีอากาศ แต่หลังการทดลองแล้วสังเกต พบว่าในกล่องที่ปิดฝากับข้ึนได้ดีกว่ากล่องที่เปิดฝา แสดงว่าในกล่องที่ปิดฝามีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการงอกและการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์พืชดี

คุณครูร่วมกับเด็กสรุปต่อไปโดยใช้ค าถามว่า ตั้งแต่วันแรกที่เราเริ่มท าการทดลองโดยปลูกเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดจนขึ้นและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ต้องอาศัยหรือต้องพ่ึงพาอะไรบ้าง โดยให้เด็ก ๆ บันทึกเป็น Mind Mapping ลงบนแผ่นชาร์ต

Mind Mapping ชีวิตต้องพึ่งพา ?

เด็กและครูสรุปร่วมกันว่าสิ่งมีชีวิติต้องการหรือต้องพ่ึงพาสิ่งต่อไปนี้ แสงแดด อากาศ น้ าอาหารปุ๋ย พ้ืนดินที่อยู่

อุณหภูมิที่เหมาะสม และการดูแลที่ดี

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 23: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

23

ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 1. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.1 ทักษะการสังเกต - สังเกตการบอกลักษณะการเปลี่ยนแปลงของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดที่มองเห็นจากการทดลองทั้ง 3 แบบ - สังเกตการเจริญเติบโตของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิด

1.2 ทักษะการวัด - วัดการเจริญเติบโต ความสั้น ความยาว ความสูง ความต่ า ขนาดของล าต้น ของต้นถั่วเขียว

ต้นข้าวโพด และต้นข้าว 1.3 ทักษะการจ าแนก

- จ าแนกประเภทของต้นกล้าที่ทดลองทั้ง 3 สถานะคือ 1. ตั้งไว้เฉย ๆ ในห้องเรียน 2. ตากแดด 3. ใสถุงด ามัดปาก

1.4 ทักษะการเปรียบเทียบ - เปรียบเทียบการเจริญเติบโต ของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิดในเวลาที่ต่างกัน - เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเวลาที่เท่ากันว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร - เปรียบเที่ยบสิ่งที่คาดคะเนกับผลการศึกษาและทดลองทีป่รากฏ

1.5 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา - พ้ืนที่ในการปลูกต้องเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่จะเจริญเติบโตต่อไป หรือระยะเวลา

ในการบ ารุงรักษาต้นกล้าให้มีความแข็งแรงเจริญเติบโตต่อไป 1.6 ทักษะการค านวณ

- ค านวณพ้ืนที่ ที่จะปลูกให้เหมาะสมกับต้นกล้าที่จะเจริญเติบโตได้เต็มที่ 1.7 ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล

- เด็กรู้จักตั้งค าถามจากข้อที่สนใจหรือสงสัย และสามารถสรุปและอภิปรายผลของการศึกษาทดลองได้ โดยการวาดภาพสื่อความหมายสิ่งที่ได้กระท า และสามารถถ่ายทอดเป็นค าพูดให้ผู้อื่นรับรู้ได้

1.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล - เด็กสามารถให้เหตุผลเพิ่มเติมได้โดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับจากสิ่งทีพ่บ

เห็นจากการศึกษาทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของต้นกล้าทั้ง 3 ชนิด และแสดงความคิดเห็นได้ 1.9 ทักษะการพยากรณ์หรือคาดคะเนค าตอบ

- เด็กสามารถคาดคะเนค าตอบได้ถูกต้อง ว่าถ้าต้นกล้าไม่ถูกแสงแดดไม่ได้รับอากาศจะตาย ถึงแม้การคาดคะเนจะเป็นจริง หรือไมจ่ริงจะได้ผลตามที่คาดคะเนไว้หรือไม ่ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่มีคุณค่าต่อเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ ชวนให้เด็กรักการใฝ่รู้เพ่ือหาข้อพิสูจน์ความจริงต่อไป

2. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 5 ด้าน 1.1 ด้านภาษา เช่น การพูดสื่อสาร เขียน วาดรูป เป็นต้น

- เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาดีรู้จักฟัง ใช้ภาษาพูดคุยสื่อสารกันในระหว่างการท ากิจกรรมและสามารถวาดภาพเขียนค าง่าย ๆ เพ่ือสื่อความหมายผลการทดลองให้ผู้อ่ืนรับรู้ได้

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 24: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

24

1.2 ด้านการเรียนรู้ เช่น รู้จักตั้งค าถามสังเกต ค้นคว้าหาค าตอบด้วยตนเองใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นต้น - เด็กรู้จักตั้งค าถามจากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองและหลังการทดลอง - เด็กมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการไปถามผู้รู้ และจากการดูภาพจากหนังสือแล้วมา

เล่าให้เพ่ือน ๆ และคุณครูฟัง - เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัส ตาดู หูฟัง มือจับต้องสัมผัส จมูกดมกลิ่น ซึ่งท าให้เด็กรับรู้ได้ดี

1.3 ด้านสังคม เช่น ท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม - เด็กสามารถท างานร่วมกับเพ่ือน ๆ ได้ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเอง และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืน - เด็กรู้จักการรอคอย เคารพกฎ กติกา และปฏิบัติตามข้อตกลงในการท ากิจกรรมได้ดี

1.4 ด้านการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ อุปกรณ์ในการท ากิจกรรมได้มั่นคงไม่หลุดล่วงหรือตกลงพ้ืน การวาด

ภาพเขียนค าบันทึกการทดลอง - การเดินการเคลื่อนไหวในการท ากิจกรรม

1.5 ด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น เด็กมีความสุข มีความสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ มีความมั่นใจในตัวเอง - เด็ก ๆ มีความสุขและมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยสมาธิที่จดจ่อกับ

สิ่งที่ก าลังท าและมีความมั่นใจในการน าเสนอผลงาน รวมทั้งมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมรักธรรมชาติและ สิ่งสวยงามมากขึ้น และมีความคิดที่จะช่วยดูแลต้นไม้ภายในโรงเรียนให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ไม่ท าลาย

เด็กมีความม่ันใจในการน าเสนอผลงาน

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย

Page 25: ของตนเองแล ว ค ณคร เฉลย โดยการเป ดห อผ าท ละห อ ด งน ห อท 1 เป นเมล ดถ วเข

25

โรงเรียนมาเรียลยั

โครงงานวทิยาศาสตร์ระดบัอนุบาล

เร่ือง

ชีวติต้องพึง่พา ?

จัดท าโดย

นางสมควร ศรีวลิยั

และ นักเรียนช้ันอนุบาลปีที่ ๒/๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ร่วมโครงการบ้านนักวทิยาศาสตร์น้อย “ประเทศไทย”

โครงง

านชีว

ิตต้อง

พึ่งพา

ครูสม

ควร ศ

รีวิลัย

โรงเรีย

นมาเร

ียลัย