47

พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕
Page 2: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

พระราชบัญญัติ

คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

พ.ศ. ๒๕๓๕

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Page 3: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ปรึกษา : นายแพทย์มานิตธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์นพพรชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ชูฤทธิ์เต็งไตรสรณ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ

คณะดำเนินการ : นายศิริชัยพรรณธนะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ นายจิระวัฒน์อยู่สะบาย นิติกรสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ นายนิพนธ์ชุมรัตน์ นิติกรสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ นางสาวสุนิตาคงมั่น นิติกรสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ นายธนวัฒน์ลิมปิโสภณ นิติกรสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ

ISBN : ๙๗๘-๙๗๔-๒๙๗-๘๕๐-๑ พิมพ์ครั้งที่ ๓ : กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ที่ : สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

Page 4: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

คำนำ

ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์ว่า ควันบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียงหลายประการ เช่นอาจทำให้เกิดมะเร็งปอดและอวัยวะอื่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อีกทั้งควันบุหรี่ยังทำให้โรคบางโรค เช่น โรคหอบ หืด หรือโรคภูมิแพ้มีอาการกำเริบขึ้น ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าการที่ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องสูดควันบุหรี่ซึ่งผู้อื่นสูบเข้าไปก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของผู้นั้นเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับผู้สูบบุหรี่เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้สูดควันบุหรี่เป็นเด็ก จากเหตุผลดังกล่าวสมควรที่จะต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ มิให้ต้องรับควันบุหรี่ในสถานที่สาธารณะโดยการห้ามสูบบุหรี่ในบางสถานที่หรือการจัดเขตให้สูบบุหรี่โดยเฉพาะหรือโดยวิธีอื่นๆ สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่เป็นทั้งหน่วยงานวิชาการอำนวยการ และปฏิบัติการรับผิดชอบการควบคุมการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ จึงได้จัดพิมพ์พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ อีกทั้ งได้ เพิ่มเติมอนุบัญญัติทั้ งหมดที่ ได้บัญญัติขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้เฉพาะส่วนที่เป็นปัจจุบัน เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินการทำให้สถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานราชการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ใช้เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่หรือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

กุมภาพันธ์๒๕๕๔

Page 5: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕
Page 6: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

สารบัญ หน้า

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่๙)พ.ศ.๒๕๔๐ ๖ เรื่องสภาพและลักษณะของเขตสูบบุหรี่ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่๑๑)พ.ศ.๒๕๔๖ ๘ เรื่องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.๒๕๕๐ ๑๑ เรื่องสภาพและลักษณะของเขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ๑๒ เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ๒๓ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงเครื่องหมาย ของเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่พ.ศ.๒๕๕๑

t

tt

tt

t

Page 7: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

สารบัญ (ต่อ) หน้า

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ๒๘ (ฉบับที่๑๙)พ.ศ.๒๕๕๓ เรื่องกำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะ ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และกำหนด ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดังกล่าว เป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.๒๕๓๕ ข้อความผิดที่มีอัตราโทษตามพระราชบัญญัติ ๓๕ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.๒๕๓๕ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพ ๓๖ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ๓๘ พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๗

tt

tt

Page 8: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

พระราชบัญญัติ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

พ.ศ. ๒๕๓๕

__________

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรม

ราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของ

ผู้ไม่สูบบุหรี่

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย

คำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๐ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕

Page 9: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“บุหรี่” หมายความว่า บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นหรือ

ยาเส้นปรุงตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ

“สูบบุหรี่” หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดควัน

จากการเผาไหม้ของบุหรี่

“สถานที่สาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ

ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้

“ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า เจ้าของ ผู้จัดการ ผู้ควบคุม หรือ

ผู้ที่รับผิดชอบดำเนินงานของสถานที่สาธารณะ

“เขตปลอดบุหรี่” หมายความว่า บริเวณที่ห้ามมิให้มีการสูบบุหรี่

“เขตสูบบุหรี่” หมายความว่า บริเวณที่ให้มีการสูบบุหรี่ได้

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่ งรัฐมนตรีแต่งตั้ งให้

ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(๑) กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

(๒) กำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะ

ตาม (๑) เป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่

(๓) กำหนดสภาพ ลักษณะ และมาตรฐานของเขตปลอดบุหรี่และ

เขตสูบบุหรี่เกี่ยวกับการระบายควันหรืออากาศ

(๔) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงเครื่องหมายใน

เขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๐ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕

Page 10: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศตาม (๓) หรือ (๔) ให้กำหนดวัน เวลา หรือระยะเวลา

ที่ผู้ดำเนินการจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในประกาศด้วย

มาตรา ๕ เมื่อรัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๔ แล้ว ให้ผู้ดำเนินการ

มีหน้าที่

(๑) จัดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะเป็น

เขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่

(๒) จัดให้เขตสูบบุหรี่มีสภาพ ลักษณะ และมาตรฐานตามที่รัฐมนตรี

กำหนด

(๓) จัดให้มีเครื่องหมายในเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ตาม

หลักเกณฑแ์ละวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่

มาตรา ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่สาธารณะ

ตามที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๔ (๑) และ (๒) ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น

ถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้การ

เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงบัตร

ประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง

บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศ

กำหนดในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๙ ให้ผู้ดำเนินการและบรรดาผู้ที่ เกี่ยวข้องกับสถานที่

สาธารณะอำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่

ตามมาตรา ๗

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๐ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕

Page 11: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรา ๑๐ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑ ผู้ดำเนินการผู้ ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ (๑) ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ผู้ดำเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ (๒) ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ผู้ดำเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ (๓) ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๒ ผู้ ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖ ต้องระวางโทษปรับไม่ เกิน สองพันบาท มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนั้น มีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได ้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

อานันท์ ปันยารชุน

นายกรัฐมนตรี

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๐ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕

Page 12: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่

เป็นการยอมรับในทางการแพทย์ว่า ควันบุหรี่เป็นผลเสียแก่สุขภาพของผู้สูบและ

ผู้ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียงหลายประการ เช่น อาจทำให้เกิดมะเร็งปอดและ

อวัยวะอื่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อีกทั้งควันบุหรี่ยังทำให้โรคบางโรค เช่น

โรคหอบ หืดหรือโรคภูมิแพ้มีอาการกำเริบขึ้น นอกจากนั้นยังพิสูจน์ได้ว่า

การที่ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องสูดควันบุหรี่ซึ่งผู้อื่นสูบเข้าไปก็ยังเป็นผลเสียแก่สุขภาพของ

ผู้นั้นเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับผู้สูบบุหรี่เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สูดควัน

บุหรี่นั้นเป็นเด็ก สมควรที่จะคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่มิให้ต้องรับควันบุหรี่

ในสถานที่สาธารณะ โดยการห้ามสูบบุหรี่ในบางสถานที่หรือการจัดเขตให้สูบบุหรี่

โดยเฉพาะหรือโดยวิธีอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๐ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕

Page 13: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๐

เรื่อง สภาพและลักษณะของเขตสูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

__________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๓) และมาตรา ๑๕ แห่ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕)

พ.ศ.๒๕๓๕ เรื่อง สภาพ และลักษณะของเขตสูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติ

คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๕

ข้อ ๒ เขตสูบบุหรี่บริเวณที่มีระบบปรับอากาศต้องมีการระบาย

อากาศถ่ายเทหมุนเวียนระหว่างภายนอกอาคารและภายในเขตสูบบุหรี่ ไม่น้อยกว่า

๕๐ ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน

ข้อ ๓ เขตสูบบุหรี่ต้องมีสภาพและลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน

ที่อยู่บริเวณข้างเคียง

(๒) ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า - ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

(๓) ไม่อยู่ ในบริ เวณที่ เปิดเผยอันเป็นที่ เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้

สถานที่นั้น

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๘ ง วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

Page 14: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วัน

ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

มนตรี พงษ์พานิช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๘ ง วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

Page 15: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๖

เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

__________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ออกประกาศกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔)

พ.ศ. ๒๕๓๕ ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยเรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติ

คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๕

ข้อ ๒ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ใช้ได้หกปีนับแต่วัน

ออกบัตร เว้นแต่บัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีวาระการดำรงตำแหน่ง

น้อยกว่าหกปี ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ผู้ถือบัตรครบวาะการดำรงตำแหน่ง

ข้อ ๓ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้าย

ประกาศกระทรวงนี้

ข้อ ๔ รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ใช้รูปถ่าย

ที่ถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคำขอมีบัตรประจำตัว ขนาด ๒.๕ x ๓.๐

เซนติเมตรครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก แต่งเครื่องแบบปฏิบัติราชการ

เครื่องแบบพิธีการ เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ซึ่งตนสังกัด ชุดสากล หรือ

ชุดไทยพระราชทาน

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๗๑ ง วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖

Page 16: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็น

ผู้ออกบัตรประจำตัวสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับข้าราชการสังกัดส่วนกลาง

ยกเว้นข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อ ๖ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็น

ผู้ออกบัตรประจำตัวสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

และข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อ ๗ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ออกบัตร

ประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นข้าราชการซึ่งปฏิบัติงานในสำนักงานที่มีที่ตั้งใน

เขตจังหวัด ข้าราชการหรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย

ว่าด้วยเทศบาล กฎหมายว่าด้วยองค์กรบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย

ว่าด้วยการบริหารราชการเมืองพัทยา

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๗๑ ง วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖

Page 17: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�0 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๗๑ ง วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖

Page 18: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๐

เรื่อง สภาพและลักษณะของเขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

__________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๓) และมาตรา ๑๕ แห่ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ เขตปลอดบุหรี่ต้องมีสภาพและลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ต้องแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ตามที่กระทรวงสาธารณสุข

ประกาศกำหนด

(๒) ไม่มีการสูบบุหรี่

(๓) ไม่มีอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการสูบบุหรี่

ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่

วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มงคล ณ สงขลา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๗๖ ง วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐

Page 19: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ __________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๑๕ แห่ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.

๒๕๔๗ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗

ข้อ ๒ ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในสังกัดราชการ

บริหารส่วนกลางซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

(๒) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

(๓) อธิบดีกรมการแพทย์

(๔) อธิบดีกรมควบคุมโรค

(๕) อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

(๖) อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

(๗) อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

(๘) อธิบดีกรมสุขภาพจิต

(๙) อธิบดีกรมอนามัย

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 20: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

(๑๑) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

(๑๒) รองอธิบดีกรมการแพทย์

(๑๓) รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

(๑๔) รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์

ทางเลือก

(๑๕) รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

(๑๖) รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

(๑๗) รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

(๑๘) รองอธิบดีกรมอนามัย

(๑๙) รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

(๒๐) เลขานุการกรม ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการศูนย์ สังกัดกรมการแพทย์

(๒๑) เลขานุการกรม ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสถาบัน

ผู้อำนวยการสำนัก สังกัดกรมควบคุมโรค

(๒๒) ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ และผู้อำนวยการ

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน สังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

(๒๓) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต

ผู้อำนวยการสถาบัน และผู้อำนวยการสำนัก สังกัดกรมสุขภาพจิต

(๒๔) ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการ

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สังกัดกรมอนามัย

(๒๕) เภสัชกร และนักวิชาการอาหารและยา สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการอาหารและยาตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 21: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒๖) นิติกร สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์

กรมควบคุมโรค กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต

กรมอนามัย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๗) นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาล กลุ่มงานคุ้มครอง

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สังกัดกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย

และการแพทย์ทางเลือก ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๘) นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาล สังกัดกรมสนับสนุน

บริการสุขภาพ ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๙) นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาล สำนักส่งเสริมสุขภาพ

และสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สังกัดกรมอนามัย ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๓๐) ข้าราชการ สำนักโรคไม่ติดต่อ สังกัดกรมควบคุมโรค ตั้งแต่

ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๓๑) ข้าราชการ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ สำนักโรค

ติดต่อทั่วไป สังกัดกรมควบคุมโรค ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๓๒) พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานสนับสนุนภารกิจหลัก

ด้านบริหาร (นิติกร) สังกัดกรมควบคุมโรค

ข้อ ๓ ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในสังกัดราชการ

บริหารส่วนภูมิภาค หรือสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและ

รับผิดชอบในส่วนภูมิภาค ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อ

ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 22: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

(๒) ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข

ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

(๓) ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ - ๑๒

กรมควบคุมโรค

(๔) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์

การแพทย์

(๕) ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

(๖) ผู้อำนวยการศูนย์อนามัย กรมอนามัย

(๗) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป

และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน

(๘) ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็ง

แห่งชาติ สังกัดกรมการแพทย์

(๙) ผู้อำนวยการศูนย์มหาวชิราลงกรณธัญบุรี สถาบันมะเร็ง

แห่งชาติ สังกัดกรมการแพทย์

(๑๐) ข้าราชการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ - ๑๒ สังกัด

กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๑๑) ข้าราชการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์

โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๑๒) นักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์อนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพและ

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สังกัดกรมอนามัย ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๑๓) สาธารณสุขอำเภอและหัวหน้าสถานีอนามัย

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 23: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑๔) นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน

ประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

ข้อ ๔ ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดำรงตำแหน่ง

ต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพ

ของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและ

รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

(๑) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

(๒) รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

(๓) ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

(๔) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(๕) รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(๖) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๗) รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๘) เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

(๙) รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

(๑๐) อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกแห่ง

(๑๑) รองอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกแห่ง

(๑๒) ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

(๑๓) ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา

เอกชน

(๑๔) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(๑๕) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 24: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑๖) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และ

กิจการพิเศษ

(๑๗) ผู้อำนวยการ สถาบัน โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

การอาชีวศึกษา

(๑๘) ผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

(๑๙) ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ในกำกับดูแลของสำนักบริหารงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

(๒๐) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

(๒๑) ข้าราชการ กลุ่มส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา

สังกัดสำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และกิจการพิเศษ ตั้งแต่ระดับ ๔

ขึ้นไป

(๒๒) เจ้าหน้าที่ ผู้ รับผิดชอบด้านการควบคุมความประพฤติ

นักศึกษา หรือนักเรียนในสถานศึกษาของรัฐ ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๓) คณาจารย์ หรือ ครู ซึ่งมีประสบการณ์เป็นครูทำการสอน

ไม่น้อยกว่า ๒ ปี ผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมความประพฤตินักศึกษา หรือ

นักเรียน ในสถานศึกษาของเอกชน

ข้อ ๕ ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดำรงตำแหน่ง

ต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจหน้าที่

ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 25: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด

(๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัด

(๓) ปลัดจังหวัด

(๔) นายอำเภอ

(๕) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

(๖) ปลัดอำเภอ ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๗) เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่ปกครอง และนิติกร ประจำ

ศาลากลางจังหวัด ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๘) เจ้าหน้าที่ปกครอง ประจำที่ทำการอำเภอ ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

ข้อ ๖ ให้ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้

เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพ

ของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและ

รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(๒) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร

(๔) รองปลัดกรุงเทพมหานคร

(๕) ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์

(๖) รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์

(๗) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร

(๘) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย

(๙) รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย

(๑๐) ผู้อำนวยการกองควบคุมโรค

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 26: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑๑) ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย

(๑๒) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย

(๑๓) ผู้อำนวยการกองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย

(๑๔) ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา

(๑๕) รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา

(๑๖) ผู้อำนวยการโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร

(๑๗) ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ

(๑๘) รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ

(๑๙) ผู้อำนวยการเขต

(๒๐) ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต

(๒๑) นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าหน้าที่อนามัย ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและ

สุขาภิบาล สังกัดสำนักงานเขต ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๒) นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าหน้าที่อนามัย สังกัดกองอนามัย

สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๓) นักวิชาการสุขาภิบาล สังกัดกองสุขาภิบาลอาหาร ตั้งแต่ระดับ

๔ ขึ้นไป

(๒๔) เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่ปกครอง พนักงานปกครอง

ฝ่ายเทศกิจ สังกัดสำนักงานเขตตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

ข้อ ๗ ให้ข้าราชการสังกัดเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหาร

ส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้แล้วแต่กรณี

เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพ

ของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและ

รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 27: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�0 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๑) นายกเทศมนตรี

(๒) เทศมนตรีฝ่ายสาธารณสุข

(๓) ปลัดเทศบาล

(๔) รองปลัดเทศบาล

(๕) ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

(๖) ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา

(๗) ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม

(๘) ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและแผนงาน

(๙) ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองการแพทย์

(๑๐) ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

(๑๑) ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองการศึกษา

(๑๒) ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองสวัสดิการสังคม

(๑๓) ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองวิชาการและแผนงาน

(๑๔) ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล

(๑๕) นายแพทย์ พยาบาล และนักวิชาการสุขาภิบาล ตั้งแต่ระดับ ๔

ขึ้นไป

(๑๖) นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และเจ้าพนักงานเทศกิจ ตั้งแต่

ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๑๗) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(๑๘) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(๑๙) รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(๒๐) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 28: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒๑) ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๒๒) นักวิชาการสุขาภิบาล นักบริหารงานสาธารณสุข และพยาบาล

สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล

(๒๓) นายกเมืองพัทยา

(๒๔) รองนายกเมืองพัทยา

(๒๕) ปลัดเมืองพัทยา

(๒๖) รองปลัดเมืองพัทยา

(๒๗) ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเมืองพัทยา

(๒๘) นักบริหารงานสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เมืองพัทยา

(๒๙) นักวิชาการสุขาภิบาล สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เมืองพัทยา ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๓๐) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน สำนักการสาธารณสุขและ

สิ่งแวดล้อม เมืองพัทยา ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

(๓๑) เจ้าพนักงานสุขาภิบาล สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เมืองพัทยา ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

ข้อ ๘ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่ ง เป็น

ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่ง

รองสารวัตรขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ

คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจ

หน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 29: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อ ๙ ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

มงคล ณ สงขลา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 30: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดง

เครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๕๑ __________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๔) และมาตรา ๑๕ แห่ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็น

พระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ

ของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และ

มาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัย

อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงออก

ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๕)

พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ เรื่อง กำหนดเครื่องหมายของ

เขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่

ข้อ ๒ เครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่

ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

๒.๑ เครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่ มีลักษณะเป็นวงกลม

พื้นสีขาวมีขอบสีฟ้าหนา ๑ ใน ๑๐ ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่มีความยาว

รวมกันไม่ต่ำกว่า ๑๐ เซนติเมตร โดยมีรูปมวนบุหรี่ซิกาแรตและควันสีดำ

อยู่ตรงกลาง ความกว้างของมวนบุหรี่ซิกาแรตต้องเท่ากับความหนาของขอบสีฟ้า

และความยาวของมวนบุหรี่ซิกาแรตต้องไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของขนาด

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๔๒ ง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

Page 31: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

เส้นผ่าศูนย์กลาง โดยให้มีข้อความ “เขตสูบบุหรี่” หรือข้อความอื่นทำนองเดียวกัน

ด้วยตัวอักษร “อังสะนา นิว” (Angsana New) หรือตัวอักษรอื่นที่มีลักษณะ

ใกล้เคียงกันเป็นตัวหนาสีแดง มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕๐ พอยด์ ประกอบอยู่บริเวณ

ใกล้เคียงกับวงกลม

๒.๒ การแสดงเครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่ จะต้องจัดแสดง

ไว้โดยเปิดเผย และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ภายในบริเวณสถานที่ที่จัดไว้

เป็นเขตสูบบุหรี่ ในกรณีที่สถานที่ดังกล่าวมีช่องทางเข้าอย่างชัดเจน จะต้องแสดง

เครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ ณ บริเวณ ทางเข้าทุกช่องทาง ของสถานที่ดังกล่าวด้วย

ข้อ ๓ เครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่

ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

๓.๑ สถานที่สาธารณะ ประเภทกลางแจ้งหรือในส่วนที่เป็น

บริเวณกลางแจ้ง

(๑) เครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่ มีลักษณะเป็น

วงกลมพื้นสีขาวมีขอบสีแดงหนา ๑ ใน ๑๐ ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่มี

ความยาวรวมกันไม่ต่ำกว่า ๑๐ เซนติเมตร โดยมีรูปมวนบุหรี่ซิกาแรตและ

ควันสีดำอยู่ตรงกลางและมีเส้นสีแดงพาดทับ ความกว้างของมวนบุหรี่ซิกาแรต

และเส้นสีแดงพาดทับต้องเท่ากับความหนาของขอบสีแดง และความยาวของมวน

บุหรี่ซิกาแรตต้องไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยให้มี

ข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนมีโทษปรับ ๒,๐๐๐ บาท” หรือข้อความทำนอง

เดียวกันด้วยตัวอักษร “อังสะนา นิว” (Angsana New) หรือตัวอักษรอื่นที่มี

ลักษณะใกล้เคียงกันเป็นสีแดง มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕๐ พอยด์ ประกอบอยู่

บริเวณใกล้เคียงกับวงกลม

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๔๒ ง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

Page 32: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒) การแสดงเครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่ จะต้อง

จัดแสดงไว้โดยเปิดเผยและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่สถานที่

ดังกล่าวมีช่องทางเข้าอย่างชัดเจน จะต้องแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่

ณ บริเวณ ทางเข้า ทุกช่องทาง ของสถานที่ดังกล่าวด้วย

๓.๒ สถานที่สาธารณะ ประเภทอาคารหรือสิ่งก่อสร้างหรือในส่วน

ที่เป็นอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง

(๑) เครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่มีลักษณะเช่นเดียวกับ

ข้อ ๓.๑ (๑)

(๒) การแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ จะต้องจัดแสดงไว้

ณ บริเวณทางเข้า ทุกช่องทาง ของสถานที่ดังกล่าว

๓.๓ สถานที่สาธารณะ ประเภทที่ตั้งอยู่ภายในอาคาร สิ่งก่อสร้าง

หรือยานพาหนะ ให้มีเครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่

๒ แบบ ดังต่อไปนี้

(๑) เครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่มีลักษณะเช่นเดียวกับ

ข้อ ๓.๑ (๑) การแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ จะต้องจัดแสดงไว้ ณ บริเวณ

ทางเข้าทุกช่องทาง ของสถานที่ดังกล่าว

(๒) เครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่ มีลักษณะเป็นวงกลม

พื้นสีขาวมีขอบสีแดงหนา ๑ ใน ๑๐ ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่มีความยาว

รวมกันไม่ต่ำกว่า ๕ เซนติเมตร โดยมีรูปมวนบุหรี่ซิกาแรตและควันสีดำ

อยู่ตรงกลางและมีเส้นสีแดงพาดทับ ความกว้างของมวนบุหรี่ซิกาแรตและ

เส้นสีแดงพาดทับต้องเท่ากับความหนาของขอบสีแดง และความยาวของมวน

บุหรี่ซิกาแรต ต้องไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยอาจจัดให้มี

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๔๒ ง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

Page 33: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนมีโทษปรับ ๒,๐๐๐ บาท” หรือข้อความอื่นทำนอง

เดียวกันด้วยตัวอักษร “อังสะนานิว” (Angsana New) หรือตัวอักษรอื่นที่มี

ลักษณะใกล้เคียงกันเป็นตัวหนาสีแดง มีขนาดไม่น้อยกว่า ๒๕ พอยด์ ประกอบอยู่

บริเวณใกล้เคียงกับวงกลมก็ได้

การแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ จะต้องจัดแสดงไว้โดย

เปิดเผยและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ภายในบริเวณของสถานที่ดังกล่าว

๓.๔ สถานที่สาธารณะ ประเภทที่เป็นยานพาหนะ

(๑) เครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่มีลักษณะเช่นเดียวกับ

ข้อ ๓.๓ (๒)

(๒) การแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ จะต้องจัดแสดง

ไว้โดยเปิดเผยและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ภายในบริเวณยานพาหนะ

กรณีหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ออกบทบัญญัติเกี่ยวกับ

การกำหนดเครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งต้อง

แสดงไว้ภายในยานพาหนะเป็นการเฉพาะให้ผู้ดำเนินการได้รับการยกเว้นไม่ต้อง

ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้

ข้อ ๔ สถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด

แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบริเวณที่จัดเป็นเขตสูบบุหรี่ไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ดำเนินการ

อาจจัดให้มีข้อความ “ยกเว้น บริเวณที่จัดเป็นเขตสูบบุหรี่” หรือข้อความทำนอง

เดียวกัน ประกอบอยู่กับข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนมีโทษปรับ ๒,๐๐๐ บาท”

ก็ได้

ข้อ ๕ เครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ตาม ข้อ ๓ ที่กำหนดให้มีข้อความ

“ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนมีโทษปรับ ๒,๐๐๐ บาท” หรือข้อความอื่นทำนองเดียวกัน

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๔๒ ง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

Page 34: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ผู้ดำเนินการอาจจัดให้มีข้อความที่มีความหมายทำนองเดียวกันเป็นภาษาอังกฤษ

หรือภาษาอื่น แสดงไว้ ณ สถานที่สาธารณะนั้นด้วยก็ได้

ข้อ ๖ เครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ ตามข้อ ๒ และเครื่องหมาย

เขตปลอดบุหรี่ ตามข้อ ๓ ผู้ดำเนินการอาจจัดแสดงเป็น ป้ายถาวร ป้ายแขวน

ป้ายตั้งโต๊ะหรือป้ายสติ๊กเกอร์ ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่

ข้อ ๗ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน

ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

มงคล ณ สงขลา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๔๒ ง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

Page 35: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๓

เรื่อง กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครอง สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ของสถานที่สาธารณะดังกล่าวเป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

__________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๑) (๒) และมาตรา ๑๕ แห่ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็นกฎหมายที่มี

บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙

ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง

กฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิก

(๑) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๙ เรื่อง

กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่

สูบบุหรี่ และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดังกล่าวเป็น

เขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุรี่ รวมทั้งกำหนดสภาพ ลักษณะ และมาตรฐานของเขต

สูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

(๒) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่อง

กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 36: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

สูบบุหรี่และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดังกล่าวเป็น

เขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ รวมทั้งกำหนด สภาพ ลักษณะ และมาตรฐาน

ของเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของ

ผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อ ๒ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่สาธารณะที่ให้มีคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด

(๑) สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ

(๑.๑) คลินิก สหคลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตาม

กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(๑.๒) คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ตาม

กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์

(๑.๓) สถานีอนามัย สถานบริการสุขภาพทุกประเภท

(๑.๔) ร้านขายยา

(๑.๕) สถานประกอบกิจการนวดแผนไทย หรือแผนโบราณ

(๑.๖) สถานที่ให้บริการอบความร้อน อบไอน้ำ อบสมุนไพร

(๑.๗) สถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อ

สุขภาพหรือกิจการนวดเพื่อความงาม

(๒) สถานศึกษา

(๒.๑) สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

(๒.๒) โรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาระดับที่

ต่ำกว่าอุดมศึกษา

(๒.๓) สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เฉพาะส่วนที่เป็นอาคารหรือ

สิ่งปลูกสร้าง

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 37: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�0 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒.๔) สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง

การแสดง ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษา และอื่นๆ

(๒.๕) สถานฝึกอบรมอาชีพ

(๒.๖) อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้

ชุมชน

(๒.๗) หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สถาน หรือสถานที่จัดแสดง

ศิลปวัฒนธรรม

(๓) สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

(๓.๑) สถานที่ออกกำลังกาย สนามและสถานการกีฬา

(๓.๑.๑) อัฒจันทร์หรือสถานที่ดูกีฬาทุกประเภท

(๓.๑.๒) สถานที่ออกกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา หรือ

สนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง

(๓.๑.๓) สระว่ายน้ำ

(๓.๑.๔) สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมไดร์ฟกอล์ฟ

เฉพาะบริเวณพื้นที่อาคารและบริเวณที่มีหลังคา

(๓.๒) ร้านค้า สถานบริการและสถานบันเทิง

(๓.๒.๑) โรงมหรสพ โรงละคร โรงภาพยนตร์

(๓.๒.๒) สถานที่จัดเลี้ยงทั้งหมด

(๓.๒.๓) สถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ

พ.ศ. ๒๕๐๙ สถานที่ให้บริการคาราโอเกะ หรือสถานบันเทิงอื่นๆ

(๓.๒.๔) สถานที่บริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือ

เกมส์

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 38: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๓.๒.๕) สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหาร

และเครื่องดื่มที่มีระบบปรับอากาศ

(๓.๒.๖) สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหาร

และเครื่องดื่ม ที่ไม่มีระบบปรับอากาศ เฉพาะบริเวณที่ให้บริการอาหาร เครื่องดื่ม

หรืออาหารและเครื่องดื่ม

(๓.๒.๗) อาคารร้านค้าประเภท ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า

(๓.๒.๘) สถานที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้า

หรือบริการ

(๓.๓) บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายใน

อาคาร

(๓.๓.๑) โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ

(๓.๓.๒) ห้องเช่า หอพัก อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือ

สถานที่ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน

(๓.๓.๓) อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม

(๓.๔) สถานบริการทั่วไป

(๓.๔.๑) สถานที่ให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแก๊ส

เชื้อเพลิง เฉพาะส่วนที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

(๓.๔.๒) อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุม อบรม

สัมมนา หรือสันทนาการ

(๓.๔.๓) ร้านตัดผม สถานเสริมความงาม ร้านตัดเสื้อผ้า

(๓.๕) สถานที่ทำงาน

(๓.๕.๑) สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น

ของรัฐ เฉพาะส่วนที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 39: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๓.๕.๒) สถานที่ทำงานเอกชน เฉพาะส่วนที่เป็นอาคาร

และสิ่งปลูกสร้าง

(๓.๕.๓) ธนาคารหรือสถาบันการเงิน

(๓.๕.๔) โรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการที่มี

การผลิตสินค้าเฉพาะส่วนที่เป็นอาคารและสิ่งปลูกสร้าง

(๓.๖) สถานที่สาธารณะทั่วไป

(๓.๖.๑) ห้องสมุด

(๓.๖.๒) สุขา

(๓.๖.๓) ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการ

โทรศัพท์สาธารณะ

(๓.๖.๔) ลิฟต์โดยสาร

(๓.๖.๕) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก

(๓.๖.๖) สนามเด็กเล่น

(๓.๖.๗) อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน

สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาน หรือวนอุทยาน แห่งชาติ เฉพาะส่วนที่เป็นอาคารหรือ

สิ่งปลูกสร้าง

(๓.๖.๘) ตลาด ซึ่งหมายความรวมถึง สถานที่ที่จัดไว้ให้

ผู้ค้าเป็นที่ชุมนุมเพื่อจัดแสดง จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการ ซึ่งจัด

เป็นประจำหรือชั่วคราวหรือตามวันที่กำหนด

(๔) ยานพาหนะและสถานีขนส่งสาธารณะ

(๔.๑) ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมี

ผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม

(๔.๑.๑) รถโดยสารประจำทาง

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 40: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๔.๑.๒) รถแท็กซี่

(๔.๑.๓) รถไฟ รถราง

(๔.๑.๔) รถตู้โดยสาร

(๔.๑.๕) รถรับส่งนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาทุกประเภท

(๔.๑.๖) ยานพาหนะโดยสารที่ใช้ในภารกิจที่เป็นลักษณะ

ส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งของเอกชน

(๔.๑.๗) กระเช้าโดยสาร

(๔.๑.๘) เรือโดยสาร

(๔.๑.๙) เครื่องบิน

(๔.๑.๑๐) ยานพาหนะโดยสารอื่นๆ ทั้งประเภทประจำทาง

และไม่ประจำทาง

(๔.๒) สถานีขนส่งสาธารณะ

(๔.๒.๑) ที่พักผู้ โดยสาร ป้ายรถโดยสารประจำทาง

รวมถึงบริเวณที่ใช้รอก่อนหรือหลังการใช้บริการยานพาหนะโดยสารทุกประเภท

(๔.๒.๒) สถานีขนส่งผู้โดยสารทางบกทุกประเภท เฉพาะ

บริเวณอาคารชานชาลา และพื้นที่ภายใต้หลังคา

(๔.๒.๓) สถานีรถไฟ เฉพาะบริเวณอาคาร ชานชาลา

และพื้นที่ภายใต้หลังคา

(๔.๒.๔) ท่าเรือโดยสารทุกประเภท บริเวณอาคาร พื้นที่

ภายใต้หลังคา และที่พักรอโดยสารเรือ

(๔.๒.๕) ท่าอากาศยานภายในประเทศ เฉพาะบริเวณ

อาคาร และพื้นที่ภายใต้หลังคา

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 41: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

(๕) ศาสนสถาน สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ เช่น

วัด มัสยิด โบสถ์ เป็นต้น

ข้อ ๓ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ ทั้งนี้ สามารถจัด

“เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะได้

(๑) สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกเหนือจากพื้นที่ส่วนที่เป็น

อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

(๒) สถานที่ให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแก๊สเชื้อเพลิง นอกเหนือ

จากพื้นที่ส่วนที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

(๓) สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ นอกเหนือ

จากพื้นที่ส่วนที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

(๔) ท่าอากาศยานนานาชาติ

ข้อ ๔ สถานที่สาธารณะใดที่ไม่ได้ระบุคำว่า “อาคาร” ให้หมายความ

รวมถึงบริเวณซึ่งใช้ประกอบภารกิจนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม

สถานที่สาธารณะใดที่ไม่มีหรือมิได้กำหนดขอบเขตไว้เป็นการแจ้งชัด

ให้ถือเอาพฤติการณ์การสูบบุหรี่นั้นว่าจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือไม่เป็นหลัก

ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วัน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๔๐ ง วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

Page 42: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อหาความผิดที่มีอัตราโทษ ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อหาความผิด ลำ ดับ ที่

ระวางโทษ อัตราค่าปรับ กำหนดให้

เปรียบเทียบปรับ มาตรา ฐานความผิด มาตรา อัตราโทษ

๑. มาตรา ไม่จัดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด มาตรา ๑๑ ปรับไม่เกิน ไม่เกิน ๕(๑) ของสถานที่สาธารณะเป็นเขตสูบบุหรี่ ๒๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ และเขตปลอดบุหรี่ บาท ๒. มาตรา ไม่จัดให้เขตสูบบุหรี่มีสภาพ ลักษณะ มาตรา ๑๑ ปรับไม่เกิน ไม่เกิน ๕(๒) และมาตรฐานตามที่รัฐมนตรีกำหนด ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๓. มาตรา ไม่จัดให้มีเครื่องหมายในเขตสูบบุหรี่ มาตรา ๑๑ ปรับไม่เกิน ไม่เกิน ๕(๓) หรือเขตปลอดบุหรี่ตามหลักเกณฑ์และ ๒,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ วิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด บาท ๔. มาตรา ๖ ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ มาตรา ๑๒ ปรับไม่เกิน ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๕. มาตรา ๗ ผู้ใดขัดขวางไม่อำนวยความสะดวก มาตรา ๑๓ จำคกุไม่เกิน ๑ เดือน ไม่เกิน แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการที่จะเข้าไป หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ ในสถานที่สาธารณะตามที่รัฐมนตรี ๒,๐๐๐ บาท หรือ บาท กำหนดในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ทั้งจำทั้งปรับ ถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาทำการ ของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือ ควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

Page 43: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย

มาตรการ หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย บทกำหนดโทษ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

๑. จำกัดเขตสูบบุหรี่บนรถโดยสารสาธารณะ

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง ทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ ผู้โดยสารรถสำหรับการขนส่ง ประจำทาง ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบ เรียบร้อย ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่าง การโดยสารดังต่อไปนี้ (๑) ไม่สูบบุหรี่หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เว้นแต่ในบริเวณที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ • มาตรา ๙๑ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถบรรทุก คนโดยสารหรือผู้เก็บค่าโดยสาร (๑) สูบบุหรี่หรือคุยกันในขณะขับรถ หรือในขณะทำหน้าที่เก็บค่าโดยสาร • มาตรา ๙๙ ในขณะขับรถ ห้ามมิให้ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ (๑) สูบบุหรี่ เปิดวิทยุ หรือกระทำด้วย ประการใดๆ ในลักษณะที่ก่อความรำคาญ ให้แก่คนโดยสาร

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ • มาตรา ๑๕๓ ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท • มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๑ มาตรา ๙๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทย

Page 44: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรการ หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย บทกำหนดโทษ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ พ.ศ.๒๕๓๔ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๒ เครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ ให้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร โดยมขีอบสีแดงกว้างไม่น้อยกว่า ๐.๕ เซนติเมตร และมีข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” และ มุมบนด้านซ้ายมีรูปบุหรี่และควันสีดำอยู่ภายในวงกลมสีแดงเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า ๖ เซนติเมตร และมีเส้นทึบ สีแดงพาดทับ ขนาดกว้างของบุหรี่และ เส้นทึบสีแดงพาดทับบุหรี่เท่ากับขนาดกว้างของขอบสีแดง ตัวอักษรคำว่า “ห้ามสูบบุหรี่” ให้ใช้สีดำ ขนาดตัวอักษรสูง ไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๐.๓ เซนติเมตร

๒. การแสดง เครื่องหมาย เขตปลอดบุหรี ่

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ • มาตรา ๑๒๗ ผู้ได้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประจำรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๑๐๒ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

กระทรวงคมนาคม และ กระทรวงมหาดไทย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย

Page 45: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๗ สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๗ ดังนี้ วิสัยทัศน์ (Vision) “การควบคุมยาสูบของประเทศมีประสิทธิภาพ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง” พันธกิจ (Mission) “สนับสนุนให้องค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกันเฝ้าระวังและดำเนินการ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนไทย ให้ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พ้นจากการเสพติด เจ็บป่วย พิการ และตายอันเนื่องมาจากอันตรายของยาสูบ” จุดมุ่งหมายสูงสุด (Ultimate Goals ) : ๑. การลดอัตราการบริโภคยาสูบของประชาชน ๒. การลดปริมาณการบริโภคยาสูบต่อหัวประชากร ๓. การทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เป้าหมาย (Targets) ๑. ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ อัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปโดยรวม และประชากรชาย ลดลงเหลือร้อยละ ๑๘.๖๓ และ ๓๗.๔๓

Page 46: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕

�� พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕

ตามลำดับ ขณะที่อัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรหญิงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ไม่เพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลการสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๕๒๑

๒. ปริมาณการบริโภคยาสูบต่อหัวประชากรต่อปีลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ จากปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๓. ควบคุมมิให้อัตราการบริโภคยาสูบชนิดอื่นๆ (บุหรี่ไร้ควัน) เพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูล การสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๔. ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองของประชาชน ลดลง ๕๐% จากปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมียุทธศาสตร์ (Strategies) ที่สำคัญในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศ ๘ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การป้องกันมิให้เกิดผู้บริโภคยาสูบรายใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมให้ผู้บริโภคลด และเลิกใช้ยาสูบ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การลดพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความ สามารถในการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การควบคุมการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมาย ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การแก้ปัญหาการควบคุมยาสูบโดยใช้มาตรการทางภาษี ยุทธศาสตร์ที่ ๘ การเฝ้าระวังและควบคุมอุตสาหกรรมยาสูบ

๑ ปี ๒๕๕๒ อัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป โดยรวม ประชากรชาย และประชากรหญิง คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๗, ๔๐.๔๗ และ ๒.๐๑ ตามลำดับ (โครงการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ) อย่างไรก็ตาม ผลการติดตามการเปลี่ยนแปลงอัตราการสูบบุหรี่ จากฐานข้อมูลในโครงการสำรวจระดับชาติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ นับตั้งแต่ ปี ๒๕๓๔ – ๒๕๕๒ หรือในรอบ ๑๘ ปีที่ผ่านมา พบอัตราการสูบบุหรี่ มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างช้าๆ ในรอบ ๕ ปีสุดท้าย (ปี ๒๕๔๗– ๒๕๕๒) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี ๒๕๓๔ – ๒๕๔๔ ดังนั้น ประชากรรวม จึงมีร้อยละของการเปลี่ยนแปลงอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันลดลงในรอบ ๕ ปีที่สุดท้ายนี้ เฉลี่ยร้อยละ ๒ ต่อปี ขณะที่ ประชากรชาย มีร้อยละของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว เฉลี่ยร้อยละ ๑.๕ ต่อปี ส่วนประชากรหญิง มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการสูบบุหรี่ดังกล่าว ไม่สม่ำเสมอในแต่ละรอบการสำรวจ ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ อัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรรวม คาดประมาณว่าจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ จากฐานข้อมูล ปี ๒๕๕๒ ขณะที่อัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรชาย คาดประมาณว่าจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗.๕ จากฐานข้อมูลปี ๒๕๕๒ ส่วนประชากรหญิง คาดประมาณว่าไม่ควรเพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลปี ๒๕๕๒

Page 47: พระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๓๕btc.ddc.moph.go.th/complain/Protection Act4.pdf · ของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ. ๒๕๓๕