358

อกสารประกอบการสอนportal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/17ecK1a58979HH597ze7.pdf · 2019-09-04 · อกสารประกอบการสอน

  • Upload
    others

  • View
    17

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • เอกสารประกอบการสอน

    รายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดลอ้ม

    ชมพูนุท สงกลาง

    วท.ม. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

    ส านักวิชาศึกษาทั่วไป

    มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

    2556

  • (1)

    ค ำน ำ

    เอกสารประกอบการสอนรายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รหัส GE40001 เล่มนี้ ได้แบ่งเนื้อหาการเรียนการสอนไว้ 8 บทเรียน ซึ่งประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ มลพิษสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก และการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอกสารประกอบการสอนนี้จัดท าขึ้นเพ่ือใช้เป็นเอกสารหลักประกอบการเรียนการสอนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา พร้อมทั้งน าความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติตนให้ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปฏิบัติตนเพ่ือลดการเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม และลดหรือป้องกันการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกโดยเฉพาะภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่ รวมทั้งการมีจริยธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เรามีสิ่งแวดล้อมท่ีดีอยู่กับเราตราบนานเท่านาน ผู้สอนได้ศึกษารายละเอียดหัวข้อในแต่ละบทเรียนจากหนังสือ ต ารา เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพ่ิมเติม และเรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์การสอนมากกว่า 8 ปี โดยเนื้อหาจากเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ได้ครอบคลุมค าอธิบายรายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของส านักวิชาศึกษาท่ัวไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หวังว่าเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้คงอ านวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในรายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมพอสมควร หากท่านที่น าไปใช้มีข้อเสนอแนะผู้เขียนยินดีรับฟังและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

    ชมพูนุท สงกลาง ธันวาคม 2556

  • (3)

    สารบัญ

    หน้า

    ค าน า (1) สารบัญ (3) สารบัญตาราง (9) สารบัญภาพ (11) แผนบริหารการสอนประจ าวิชา (17) แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3

    1. ความหมายของสิ่งแวดล้อม 3 2. ประเภทของสิ่งแวดล้อม 4 3. สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม 7 4. มิติทางสิ่งแวดล้อม 9 5. จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม 13 6. บทสรุป 19 ค าถามท้ายบท 20 เอกสารอ้างอิง 21

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 2 23 บทที่ 2 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ 25

    1. ก าเนิดของสิ่งมีชีวิต 25 2. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 26 3. วิวัฒนาการของมนุษย์ 37 4. เผ่าพันธุ์มนุษย์ 43 5. บทสรุป 47 ค าถามท้ายบท 48 เอกสารอ้างอิง 49

  • (4)

    สารบัญ (ต่อ)

    หน้า

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 3 51 บทที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 53

    1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ 53 2. อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม 62 3. การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ในสิ่งแวดล้อม 64 4. วิถีการด ารงชีวิตของมนุษย์ 67 5. สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต 69 6. บทสรุป 74 ค าถามท้ายบท 75 เอกสารอ้างอิง 76

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 4 77 บทที่ 4 ระบบนิเวศ 79

    1. ความหมายของนิเวศวิทยาและระบบนิเวศ 79 2. ประเภทของระบบนิเวศ 82 3. องค์ประกอบของระบบนิเวศ 85 4. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยทางกายภาพในระบบนิเวศ 90 5. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ 91 6. หนา้ที่ของระบบนิเวศ 95 7. ความสมดุลของระบบนิเวศ 108 8. ความหลากหลายทางชีวภาพ 112 9. ผลกระทบของเทคโนโลยีชวีภาพต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 116 10. ประเทศไทยกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ 117 11. บทสรุป 119 ค าถามท้ายบท 120 เอกสารอ้างอิง 121

  • (5)

    สารบัญ (ต่อ)

    หน้า

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 5 123 บทที่ 5 ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ 125

    1. ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ 125 2. ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ 126 3. ความส าคัญของทรัพยากรธรรมชาติ 128

    4. สาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 129 5. ทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญและการอนุรักษ์ 130

    5.1 ทรัพยากรป่าไม้ 130 5.2 ทรัพยากรสัตว์ป่า 138 5.3 ทรัพยากรน า 143 5.4 ทรัพยากรดิน 146 5.5 ทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงาน 149 6. บทสรุป 158 ค าถามท้ายบท 159 เอกสารอ้างอิง 160

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 6 161 บทที่ 6 มลพิษสิ่งแวดล้อม 165

    1. ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม 165 2. ประเภทของสารมลพิษสิ่งแวดล้อม 166 3. สาเหตุของการเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม 166 4. ประเภทของมลพิษสิ่งแวดล้อมท่ีส าคัญ 167 4.1 มลพิษทางน า 167 4.2 มลพิษทางอากาศ 172 4.3 มลพิษทางดิน 178 4.4 มลพิษทางเสียง 184 4.5 มลพิษทางอาหาร 189

  • (6)

    สารบัญ (ต่อ)

    หน้า

    บทที่ 6 มลพิษสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 4.6 มลพิษทางทัศนียภาพ 196 4.7 มลพิษทางสังคม 199

    4.8 มลพิษทางขยะมูลฝอย 202 5. บทสรุป 209 ค าถามท้ายบท 210 เอกสารอ้างอิง 211

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 213 บทที่ 7 สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก 215

    1. ภาวะโลกร้อน 215 2. ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา 225 3. การลดลงของโอโซน 231 4. ฝนกรด 234

    5. ข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปัญหา ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 238 6. บทสรุป 243 ค าถามท้ายบท 244 เอกสารอ้างอิง 245

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 8 247 บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 251 1.ความหมายของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 251 2. สาเหตุที่ต้องมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 252 3. แนวความคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 253

    4. กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 254 5. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 254 6. แนวความคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน 261

  • (7)

    สารบัญ (ต่อ)

    หน้า

    บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ต่อ) 7. แนวทางท่ีเกี่ยวข้องในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    เพ่ือการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 262 7.1 เศรษฐกิจพอเพียง 262 7.2 เกษตรทฤษฎีใหม่ 263 7.3 มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14000 265

    7.4 ฉลากสิ่งแวดล้อม 267 7.5 การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 277 7.6 กฎหมายสิ่งแวดล้อม 279 7.7 องค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 282 7.8 องค์การสิ่งแวดล้อมโลก 283 7.9 สิ่งแวดล้อมศึกษา 284 8. บทสรุป 288 ค าถามท้ายบท 289 เอกสารอ้างอิง 290

    บรรณานุกรม 293 อ้างอิงตาราง 301 อ้างอิงรูปภาพ 303 ภาคผนวก 313 ประวัติผู้เรียบเรียง 337

  • (8)

  • (9)

    สารบัญตาราง

    ตารางท่ี หน้า

    6.1 แสดงระดับความดังของเสียงจากแหล่งก าเนิดเสียง 185 6.2 ระดับเสียงของพาหนะแต่ละประเภท 187 6.3 ระยะเวลาที่ขยะแต่ละชนิดย่อยสลายตามธรรมชาติ 209

  • (10)

  • (11)

    สารบัญภาพ

    ภาพที่ หน้า

    1.1 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ 4 1.2 สิ่งแวดล้อมท่ีเป็นรูปธรรม 5 1.3 ประเพณีร าบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี 6 1.4 ประเภทของสิ่งแวดล้อม 6 1.5 เอกลักษณ์เฉพาะตัวของช้าง 7 1.6 ปลากับน า 8 1.7 มิติทางสิ่งแวดล้อม 13 2.1 ซากดึกด าบรรพ์ของปลาเกล็ดแข็งพบที่ ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ 27 2.2 ลามาร์ก 29 2.3 วิวัฒนาการของยีราฟตามทฤษฎีของลาร์มาร์ค 30 2.4 ออกัส ไวส์มาน 31 2.5 ชาร์ลส ์ดาร์วิน 31 2.6 ภาพวาดเรือหลวงบีเกิ ล 32 2.7 หมู่เกาะกาลาปากอส 32 2.8 จงอยปากของนกฟินช์ที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมในการกินอาหาร 33 2.9 วิวัฒนาการของยีราฟตามทฤษฏีของชาล์ล ดาร์วิน 34 2.10 เกรเกอร์ เมนเดล 35 2.11 การผสมพันธุ์ถั่วลันเตาซึ่งเป็นไปตามกฎของเมนเดล 37 2.12 ล าดับขั นตอนการสืบสายวิวัฒนาการของมนุษย์ 38 2.13 ซากดึกด าบรรพ์ของ A. afarensis ที่เรียกว่า“ลูซี่” 39 2.14 ซากดึกด าบรรพ์กระดูกกะโหลกศีรษะของ Australopithecus 39 2.15 ภาพสันนิษฐานลักษณะของ A. afarensis 39 2.16 ซากดึกด าบรรพ์กระดูกกะโหลกศีรษะของ H. habilis 40 2.17 H. habilis เป็นมนุษย์พวกแรกท่ีรู้จักใช้เครื่องมืออย่างง่ายที่ท ามาจากหิน 40 2.18 ซากดึกด าบรรพ์กระดูกกะโหลกศีรษะของ H. erectus 41 2.19 H. erectus เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักใช้ไฟ 41

  • (12)

    สารบัญภาพ (ต่อ)

    ภาพที่ หน้า

    2.20 ลักษณะของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล 41 2.21 พิธีฝังศพของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล 42 2.22 กะโหลกศีรษะของโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ 42 2.23 ภาพเปรียบเทียบขนาดกะโหลกศีรษะของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกับมนุษย์ปัจจุบัน 43 2.24 ภาพเขียนบนถ าโครมายอง 43 2.25 แอฟริกันนีกรอยด์ 44 2.26 ปิกม่ี 44 2.27 เผ่าพันธุ์ออสเตรลอยด์ 45 2.28 เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์ 45 2.29 มองโกลอยด์โบราณ (จีน) 46 2.30 เอสกิโม 46 3.1 บ้านในเขตร้อนชื นและบ้านในเขตอบอุ่น 55 3.2 ที่อยู่อาศัยของชาวเอสกิโมในอดีตและปัจจุบัน 56 3.3 เครื่องนุ่งห่มของมนุษย์ในเขตร้อนและเขตหนาวเย็น 57 3.4 ทะเลทรายสะฮาราที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อย 58 3.5 สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อลักษณะทางประเพณี 61 3.6 การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติให้กลายเป็นเมือง 63 3.7 มนุษย์เป็นผู้ท าลายสิ่งแวดล้อม 63 3.8 การปลูกป่าทดแทนเป็นการรักษาและแก้ไขผลกระทบจากการใช้ สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ 64 3.9 การปรับตัวของตั๊กแตนกิ่งไม้มีรูปร่างและสีผิวคล้ายกิ่งไม้ 64 3.10 การปรับตัวด้านสรีระของต้นกระบองเพชร 65 3.11 การปรับตัวด้านพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต 66 3.12 สีผิวของมนุษย์ถือเป็นการปรับตัวด้านพันธุกรรม 66 4.1 แอนสต์ เฮคเคล (Ernst Haeckel) บิดาแห่งวิชานิเวศวิทยา 80 4.2 ระดับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 80

  • (13)

    สารบัญภาพ (ต่อ)

    ภาพที่ หน้า

    4.3 ระบบนิเวศทางทะเล 82 4.4 ระบบนิเวศแหล่งน าจืด 83 4.5 ระบบนิเวศก่ึงบก 84 4.6 ระบบนิเวศบนบกแท้ 84 4.7 ระบบนิเวศท่ีมนุษย์สร้างขึ น 85 4.8 พืชสีเขียวเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ 86 4.9 ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นผู้ผลิตที่มีลักษณะเป็นมิกโซโทรพ (Mixotroph) 86 4.10 ผู้บริโภคท่ีกินพืชเป็นอาหาร (Herbivore) 87 4.11 ผู้บริโภคท่ีกินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivore) 88 4.12 ผู้บริโภคท่ีกินทั งพืชและสัตว์ (Omnivore) 88 4.13 ผู้บริโภคท่ีกินซากพืชซากสัตว์ (Detritivore or Scavenger) 88 4.14 ล าดับขั นของการบริโภคในระบบนิเวศ 89 4.15 ผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ 90 4.16 ไลเคนส์ (รากับสาหร่าย) ในภาวะพ่ึงพากัน 92 4.17 ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน 92 4.18 ภาวะเกื อกูลกันหรือภาวะอิงอาศัย 93 4.19 เสือล่ากวางเป็นภาวะล่าเหยื่อ 93 4.20 ยุงกับคนอยู่ในภาวะมีปรสิต 94 4.21 ช้างสู้กันแสดงการมีอ านาจอยู่ในภาวะแข่งขัน 94 4.22 เห็ดบนขอนไม้อยู่ในภาวะมีการย่อยสลาย 94 4.23 สายใยอาหาร 98 4.24 แสดงพลังงานศักย์ในรูปของมวลชีวภาพที่สะสมในเนื อเยื่อ ของผู้บริโภคล าดับต่างๆ 99 4.25 ปิรามิดของพลังงาน 99 4.26 การหมุนเวียนของน า 100 4.27 การหมุนเวียนของคาร์บอน 101

  • (14)

    สารบัญภาพ (ต่อ)

    ภาพที่ หน้า

    4.28 การหมุนเวียนของไนโตรเจน (Nitrogen cycle) 103 4.29 การหมุนเวียนของฟอสฟอรัส (Phosphorus Cycle) 104 4.30 การหมุนเวียนของก ามะถัน 105 4.31 การถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศ 107 4.32 ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวและแมว 112 4.33 ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 113 4.34 ความหลากหลายของระบบนิเวศ 114 5.1 ป่าดิบเมืองร้อน 133 5.2 ป่าสน 133 5.3 ป่าผลัดใบ 135 5.4 สัตว์ป่าสงวน 139 5.5 การอนุรักษ์ทรัพยากรน า 145 5.6 การอนุรักษ์ดิน 149 5.7 แร่โลหะ 151 5.8 แร่อโลหะ 151 6.1 ยูโทรฟิเคชั่น 169 6.2 องค์ประกอบของอากาศบริสุทธิ์ 173 6.3 ระบบภาวะมลพิษอากาศ 173 6.4 พื นที่ดินเค็ม 181 6.5 การปลูกพืชทนเค็ม 182 6.6 แหล่งก าเนิดมลพิษทางเสียง 186 6.7 เครื่องครอบหูและเครื่องอุดหู 189 6.8 ฟอร์มาลินในอาหารทะเลสด 193 6.9 ขยะเปียก 203 6.10 ขยะรีไซเคิล 203 6.11 ขยะทั่วไป 204

  • (15)

    สารบัญภาพ (ต่อ)

    ภาพที่ หน้า

    6.12 ขยะอันตราย 204 6.13 วิธีฝังกลบแบบขุดเป็นร่อง 206 6.14 เตาเผาขยะ 207 7.1 ปรากฏการณ์เรือนกระจก 216 7.2 หมีขั วโลกบนแผ่นน าแข็ง 221 7.3 สภาวะปกติ 227 7.4 สภาวะเอลนีโญ 228 7.5 แสดงบรรยากาศชั นโอโซน (Ozone Layer) 231 7.6 การลดลงของโอโซน (ที่มา: NASA) 232 7.7 การเกิดฝนกรด 235 7.8 ผลกระทบจากฝนกรดต่อสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ 237 8.1 การสร้างเขื่อนเพื่อถนอมน าไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง 257 8.2 การบูรณะวัด 258 8.3 การใช้สิ่งอ่ืนทดแทน 259 8.4 ไม้อัดจากชานอ้อย 259 8.5 การแบ่งพื นที่ท ากินตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 264 8.6 Green leaf จากมูลนิธิใบไม้เขียว 268 8.7 ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ต่างประเทศและประเทศไทย 269 8.8 ฉลากสิ่งแวดล้อมแสดงวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ 269 8.9 สัญลักษณ์แปรใช้ใหม่ (Mobius loop) หรือการรีไซเคิลได้ 270 8.10 ฉลากเขียว 270 8.11 EU Flower 271

    8.12 สัญลักษณ์ของฉลากลดคาร์บอน 273 8.13 แสดงฉลากลดคาร์บอนในระดับต่างๆ ในประเทศไทย 274 8.14 สัญลักษณ์ของฉลากคาร์บอนฟุตพริ นท์ของประเทศไทย 275

  • (16)

    สารบัญภาพ (ต่อ)

    ภาพที่ หน้า

    8.15 สัญลักษณ์ของฉลากคาร์บอนฟุตพริ นท์ของต่างประเทศ 275 8.16 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ นท์ 276 8.17 ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 277

  • (17)

    แผนบริหารการสอนประจ าวิชา

    รายวิชา ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (Life and Environment) รหัสวิชา GE40001 จ านวนหน่วยกิต 2 (1-2-3) เวลาเรียน 48 ชั่วโมง

    ค าอธิบายรายวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ความหมายและความส าคัญของสิ่งแวดล้ อม

    สิ่งแวดล้อมศึกษา พ้ืนฐานนิเวศวิทยา ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ มลพิษและสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพ่ือการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

    จุดประสงค์รายวิชา 1. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในความหมายและความส าคัญของสิ่งแวดล้อม

    2. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ 3. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 4. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพ้ืนฐานนิเวศวิทยา ระบบนิเวศ และความ

    หลากหลายทางชีวภาพ 5. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ 6. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหามลพิษและสถานการณ์ปัญหา

    สิ่งแวดล้อมของโลกท่ีมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต 7. เพ่ือให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 8. เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

    ธรรมชาติเพ่ือการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สิ่งแวดล้อมศึกษา และน าไปใช้ได้ในชีวิตประจ าวัน

    9. เพ่ือให้นักศึกษาน าความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจ าวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี มีจิตส านึกที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • (18)

    แผนการสอน

    สัปดาห์ ที ่

    หัวข้อ/รายละเอียด จ านวนชั่วโมง

    กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้

    1 บทที ่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม 1. ความหมายของสิ่งแวดล้อม 2. ประเภทของสิ่งแวดล้อม 3. สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม 4. มิติทางสิ่งแวดล้อม 5. จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - อธิบาย Course Outline รายละเอียดวิชา เนื้อหา เกณฑ์การให้คะแนน กฎกติกาในการเรียน กิจกรรมที่ต้องท า - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มท ากิจกรรมและท าใบงาน - อภิปรายร่วมกัน

    2 บทที่ 2 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ 1. ก าเนิดของสิ่งมีชีวิต 2. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 3. วิวัฒนาการของมนุษย์ 4. เผ่าพันธุ์มนุษย์

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - ดูวีดีทัศน์เรื่องก าเนิดของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการของมนุษย์ - ตอบค าถามในใบงานจากการดูวีดีทัศน์ - อาจารย์สรุปเนื้อหาส าคัญจากการชมวีดีทัศน์

  • (19)

    สัปดาห์ที ่

    หัวข้อ/รายละเอียด จ านวนชั่วโมง

    กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้

    3 บทที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมท่ีมีต่อมนุษย์ 2. อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม 3. การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ใน สิ่งแวดล้อม 4. วิถีการด ารงชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มอภิปรายและท าใบงานเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

    4 บทที่ 4 ระบบนิเวศ 1. ความหมายของนิเวศวิทยาและระบบนิเวศ 2. ประเภทของระบบนิเวศ 3. องค์ประกอบของระบบนิเวศ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ ปัจจัยทางกายภาพในระบบนิเวศ 5. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ 6. หน้าที่ของระบบนิเวศ

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มส ารวจระบบนิเวศ น าเสนอรายงานหน้าชั้น สรุปอภิปรายผลร่วมกันถึงสิ่งที่ได้จากการศึกษา

    5 บทที่ 4 ระบบนิเวศ (ต่อ) 7. ความสมดุลของระบบนิเวศ 8. ความหลากหลายทางชีวภาพ 9. ผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 10. ประเทศไทยกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - ดูวีดีทัศน์เรื่องความหลาก หลายทางชีวภาพ - ตอบค าถามจากการดูวีดีทัศน์

  • (20)

    สัปดาห์ที ่

    หัวข้อ/รายละเอียด จ านวนชั่วโมง

    กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้

    6 บทที่ 5 ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ 1. ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ 2. ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ 3. ความส าคัญของทรัพยากรธรรมชาติ 4. สาเหตุทีต่้องมีการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มอภิปรายเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์

    7 บทที่ 5 ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ 5. ทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญและการ อนุรักษ ์

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - ชมวีดีทัศน์เรื่องทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ดิน น้ า แร่ธาตุ และตอบค าถามจากใบงานที่แจกประกอบการชมวีดีทัศน์

    8 ทดสอบย่อยครั้งท่ี 1 3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 บทที่ 1 - 5

    9 บทที่ 6 มลพิษสิ่งแวดล้อม 1. ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม 2. ประเภทของสารมลพิษสิ่งแวดล้อม 3. สาเหตุของการเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - ศึกษากรณีศึกษา จากข่าว บทความ เกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขมลพิษ - สอบปฏิบัติการแล็บกริ๊ง (Lab Practical Exam) บทที่ 1 - 5

  • (21)

    สัปดาห์ที ่

    หัวข้อ/รายละเอียด จ านวนชั่วโมง

    กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้

    10 บทที่ 6 มลพิษสิ่งแวดล้อม 4. ประเภทของมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ ส าคัญ 4.1 มลพิษทางน้ า 4.2 มลพิษทางอากาศ 4.3 มลพิษทางดิน 4.4 มลพิษทางเสียง 4.5 มลพิษทางอาหาร 4.6 มลพิษทางทัศนียภาพ 4.7 มลพิษทางสังคม 4.8 มลพิษทางขยะมูลฝอย

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - จัดแบ่งกลุ่มท ากิจกรรม การสอนแบบ Jigsaw - ตอบค าถามเรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อม

    11 บทที่ 7 สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก 1. ภาวะโลกร้อน 2. ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา 3. การลดลงของโอโซน 4. ฝนกรด

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - ดูวีดีทัศน์เรื่องสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก และตอบค าถามลงในใบงาน - อภิปรายร่วมกัน

    12 บทที่ 7 สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก 5. ข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเก่ียวกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - ศึกษากรณีศึกษา จากข่าว บทความ เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข

  • (22)

    สัปดาห์ที ่

    หัวข้อ/รายละเอียด จ านวนชั่วโมง

    กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้

    - ท ารายงานเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - อภิปรายร่วมกัน

    13 บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 1.ความหมายของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. สาเหตุที่ต้องมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. แนวความคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. แนวความคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มท ารายงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืน - น าเสนอหน้าชั้นเรียน - ผู้สอนสรุปและอภิปรายร่วมกัน

    14 บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 7. แนวทางท่ีเกี่ยวข้องในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพ่ือการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

    3 บรรยาย ( 1 ชั่วโมง) - บรรยาย - ศึกษาจากเอกสารหลัก กิจกรรม (2 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มท ารายงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • (23)

    สัปดาห์ที ่

    หัวข้อ/รายละเอียด จ านวนชั่วโมง

    กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้

    7.1 เศรษฐกิจพอเพียง 7.2 เกษตรทฤษฎีใหม่ 7.3 มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14000

    7.4 ฉลากสิ่งแวดล้อม 7.5 การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 7.6 กฎหมายสิ่งแวดล้อม 7.7 องค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 7.8 องค์การสิ่งแวดล้อมโลก 7.9 สิ่งแวดล้อมศึกษา

    - น าเสนอหน้าชั้นเรียน - ผู้สอนสรุปและอภิปรายร่วมกัน

    15 สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 สอบปากเปล่า

    3 - สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 บทที ่6 – 8 - แบ่งกลุ่มสอบปากเปล่า (Oral exam) บทที่ 8

    16 สอบปลายภาค 3

    สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนหลัก รายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (GE40001) เรียบเรียงโดยชมพูนุท สงกลาง ส านักวิชาศึกษาท่ัวไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2556 2. ต าราวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น ต ารามลพิษสิ่งแวดล้อม เรียบเรียงโดยชมพูนุท สงกลาง ส านักวิชาศึกษาท่ัวไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2556 3. e – Learning รายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (GE40001) อาจารย์ชมพูนุท สงกลาง 4. Powerpoint ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (GE40001) 5. วีดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน

  • (24)

    6. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หนังสือพิมพ์ บทความสิ่งแวดล้อม 7. แบบฝึกหัดและใบงาน

    การวัดผลและการประเมินผล

    1. คะแนนระหว่างภาคเรียน 60% 1.1 กิจกรรมในและนอกชั้นเรียน 30% รายงาน แบบฝึกหัด ใบงาน สอบปากเปล่า สอบปฏิบัติการ 1.2 สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1 10% 1.3 สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 10% 1.4 จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย 10% เสนอความคิดเห็น การแต่งกาย การตรงต่อเวลา

    2. คะแนนสอบปลายภาค 40% รวม 100%

    เกณฑ์การให้ค่าระดับคะแนน

    คะแนน 80 – 100 ได้ระดับ A คะแนน 75 – 79 ได้ระดับ B+ คะแนน 70 – 74 ได้ระดับ B คะแนน 65 – 69 ได้ระดับ C+ คะแนน 60 – 64 ได้ระดับ C คะแนน 55 – 59 ได้ระดับ D+ คะแนน 50 – 54 ได้ระดับ D คะแนน 0 – 49 ได้ระดับ F

  • (25)

    นโยบายในการเข้าเรียนและการสอบ 1. นักศึกษาจะต้องเข้าเรียนทุกครั้ง หากมีเหตุจ าเป็น เช่น เจ็บป่วย หรือมีกิจธุระส าคัญ

    จะต้องแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทราบทุกครั้ง โดยท าเป็นจดหมายลาให้อาจารย์ผู้สอนรับทราบ 2. นักศึกษาต้องมีการตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตาม

    ก าหนดเวลา มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในการเรียน 3. นักศึกษาต้องมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อตกลงในรายวิชาอย่างเคร่งครัด 4. นักศึกษาต้องแต่งกายให้เหมาะสมตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย 5. การสอบต้องด าเนินไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ห้ามขาดสอบเก็บคะแนนหรือขาด

    สอบปลายภาคโดยเด็ดขาด

  • 1

    แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิง่แวดล้อม

    เนื้อหาประจ าบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1. ความหมายของสิ่งแวดล้อม 2. ประเภทของสิ่งแวดล้อม 3. สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม 4. มิติทางสิ่งแวดล้อม 5. จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม

    จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. นักศึกษาสามารถบอกความหมายของสิ่งแวดล้อมได้

    2. นักศึกษาสามารถจ าแนกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้ 3. นักศึกษาสามารถยกตัวอย่างสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อมได้ 4. นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของมิติทางสิ่งแวดล้อมได้ 5. นักศึกษาสามารถสรุปความสัมพันธ์ของมิตทิางสิ่งแวดล้อมได ้6. นักศึกษาสามารถยกตัวอย่างลักษณะของผู้ที่มีจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้ 7. นักศึกษาสามารถน าความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม

    วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจ าบทท่ี 1 1. วิธีสอน

    1.1 ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย 1.2 เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม 1.3 วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ 1.4 วิธีการสอนแบบอภิปราย 2. กิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอนและต าราอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง 2.2 ศึกษาจาก Powerpoint และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ 2.3 ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาและสรุปประเด็น 2.4 ผู้สอนสรุปเนื้อหาเพิ่มเติม

  • 2

    2.5 แบ่งกลุ่มส ารวจสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย น าเสนอรายงานหน้าชั้น สรุป อภิปรายผลร่วมกันถึงสิ่งที่ได้จากการศึกษา 2.6 ท าสมุดสะสมความดีทางด้านสิ่งแวดล้อม

    2.7 ท าแบบฝึกหัดบทที่ 1

    สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนหลัก รายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (GE40001) 2. Powerpoint และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3. ใบงาน 4. วีดีทัศน์

    การวัดผลและการประเมินผล 1. ตรวจรายงานกิจกรรมกลุ่ม การน าเสนอหน้าชั้นเรียน และการอภิปราย 2. ให้คะแนนการเข้าห้องเรียน 3. การท าแบบฝึกหัดท้ายบท 4. การท าใบงาน 5. การบันทึกสะสมความดีทางด้านสิ่งแวดล้อม 6. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความร่วมมือในและนอกห้องเรียน 7. การตอบค าถามในห้องเรียน

  • 3

    บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิง่แวดล้อม

    สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งสิ่งแวดล้อมท่ีเกิดข้ึนเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมมีทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อมนุษย์ มีสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อมนั้นๆ มีความเกี่ยวเนื่องกันของแต่ละสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมมีความส าคัญในการด ารงชีวิตของมนุษย์เนื่องจากเป็นปัจจัย 4 ส าหรับมนุษย์ เมื่อใดที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ และการด ารงชีวิตของพืชและสัตว์ นอกจากนี้เรายังสามารถมองสิ่งแวดล้อมได้เป็นมิติทั้งมิติทรัพยากร มิติเทคโนโลยี มิติของเสียและมลพิษ และมิติมนุษย์และเศรษฐสังคมอีกด้วย ซึ่งแต่ละมิติก็มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันและเกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควร เรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตัวให้มีจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม เพ่ือที่จะช่วยให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ก าลังเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่จ าเป็นส าหรับทุกคน

    1. ความหมายของสิ่งแวดล้อม ได้มีผู้ให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมไว้หลากหลายดังนี้

    พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้ค านิยามของสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ท าข้ึน (เกษม จันทร์แก้ว, 2544 : 1) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความหมายของ สิ่งแวดล้อม ว่าคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งสามารถจับต้องและมองเห็นได้ และนามธรรม ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือท าลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2555) เกษม จันทร์แก้ว (2544 : 3) กล่าวไว้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นทุกสิ่งทุกอย่างบนพ้ืนโลก อาจรวมไปทั้งจักรวาล เป็นทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ทั้งเป็นพิษและไม่เป็นพิษ สารเคมีทั้งเป็นพิษและไม่เป็นพิษ ต้นไม้ สัตว์ มนุษย์ ดิน หิน แร่ อากาศ วัตถุธาตุ สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน ถนน โรงเรียน วัด เมือง ชุมชน ศาสนา ประเพณี กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ เป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าสิ่งแวดล้อม

    https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_lifeenvironmentandtechnology/wiki/53a92/1_.htmlhttps://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_lifeenvironmentandtechnology/wiki/53a92/1_.htmlhttp://www.pcd.go.th/info_serv/reg_envi.html

  • 4

    อาจเป็นสิ่งที่ให้คุณและโทษต่อมนุษย์และต่อสิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยอาการทั้งห้าได้ หรืออาจเป็นทรัพยากรหรือไม่ใช่ทรัพยากรก็ได้ ประชา อินทร์แก้ว (2542 : 1) กล่าวไว้ว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพ ชีวภาพ และสังคม ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและมนุษย์สร้างข้ึน ดังนั้นสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา มีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีทั้งสิ่งมีชีวิต หรือเรียกว่าชีวภาพ และไม่มีชีวิต หรือเรียกว่ากายภาพ มีลักษณะเป็นรูปธรรมหรือกายภาพ และนามธรรมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสิ่งแวดล้อมทางสังคม และยังมีทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และโทษต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมอาจเป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติก็ได้

    2. ประเภทของสิ่งแวดล้อม จากความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมแบ่งได้หลายประเภท อาจแบ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีประโยชน์และเป็นโทษ แบ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตก็ได้ แต่ ในที่นี้จะแบ่งสิ่งแวดล้อมตามลักษณะการเกิดขึ้นของสิ่งแวดล้อมซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างข้ึน ดังนี้

    2.1 สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural environment) สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต หรือ

    “ชีวภาพ” และสิ่งแวดล้อมท่ีไม่มีชีวิต หรือ “กายภาพ” ดังนี้ 2.1.1 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต หรือ “ชีวภาพ” (Biotic environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีชีวิต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสิ่งแวดล้อมที่เป็นชีวภาพ ได้แก่ พืช สัตว์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น จุลินทรีย์ แบคทีเรีย รา ไวรัส เป็นต้น ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพแสดงดังภาพที่ 1.1

    ก. พืช ข. สัตว์ ภาพที่ 1.1 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

  • 5

    2.1.2 สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต หรือ “กายภาพ” (Abiotic environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและไม่มีชีวิต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสิ่งแวดล้อมที่เป็นกายภาพ ได้แก่ น้ า ดิน หิน แร่ธาตุ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น กระแสลม เป็นต้น

    2.2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างข้ึน (Man-made environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมา ได้จาก

    ทรัพยากรดั้งเดิม แล้วมนุษย์เป็นผู้ดัดแปลงให้อยู่ในรูปที่สนองความต้องการของมนุษย์ได้ดีขึ้น ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม หรือ “กายภาพ” และสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม หรือ “สังคม” 2.2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม หรือ “กายภาพ” (Physical environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น มีรูปทรง มีลักษณะทางกายภาพและมองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสจับต้องได้ ได้แก่ ถนน ตึก อาคาร บ้านเรือน เรือ รถยนต์ เขื่อน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ตลาด วัด สมุด คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แสดงตัวอย่างดังภาพที ่1.2

    ก. อาคารเรียน ข. รถยนต์ ภาพที่ 1.2 สิ่งแวดล้อมท่ีเป็นรูปธรรม

    2.2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม หรือ “สังคม” (Anstract environment หรือ Social environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในสังคม เพ่ือความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม หรือเป็นสิ่งแวดล้อมที่แสดงถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมา เช่น ความเชื่อ กฎหมาย ศาสนา การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น ดังเช่น ในจังหวัดอุดรธานีจะมีประเพณีร าบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งท่านเป็นผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ซึ่งรูปปั้นท่านกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นที่เคารพบูชาและนับถือของชาวอุดรธานีมาช้านาน ประเพณีนี้แสดงดังภาพที่ 1.3

  • 6

    ภาพที่ 1.3 ประเพณีร าบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

    จากค าอธิบายประเภทของสิ่งแวดล้อมข้างต้น สามารถน ามาแสดงเป็นแผนภาพสรุปประเภทของสิ่งแวดล้อมได้ดังภาพที ่1.4

    ภาพที่ 1.4 ประเภทของสิ่งแวดล้อม

    ประเภทของสิ่งแวดล้อม

    สิ่งแวดล้อมท่ีเกิดข้ึนเองตามธรรมชาติ (Natural environment)

    สิ่งแวดล้อมท่ีมนุษย์สร้างขึ้น (Man-made environment)

    สิ่งแวดล้อมท่ีมีชีวิต หรือชีวภาพ

    (Biotic environment)

    สิ่งแวดล้อมท่ีไม่มีชีวิต หรือกายภาพ

    (Abiotic environment)

    สิ่งแวดล้อมท่ีเป็นรูปธรรม หรือ

    กายภาพ (Physical

    environment)

    สิ่งแวดล้อมท่ีเป็นนามธรรม หรือสังคม (Abstract /Social

    environment)

  • 7

    3. สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม สมบัติเฉพาะตัว หมายถึง โครงสร้างหรือลักษณะที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการแสดงออกของบทบาทหน้าที่ของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมย่อมมีสมบัติเฉพาะตัว การเข้าใจสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งส าคัญในการที่จะท าให้สิ่งแวดล้อมยั่งยืน (Sustainable environment) เกิดการคงการมีบทบาทหน้าที่ของสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างสม่ าเสมอและตลอดไป ดังนั้นการเข้าใจและเรียนรู้สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งทีจ่ าเป็น สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อมมีดังนี้

    3.1 สิ่งแวดล้อมมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในด้านโครงสร้างหรือองค์ประกอบ เช่น รูปทรง ขนาด สี หรือกระบวนการที่สร้างสิ่งแวดล้อมนั้น เอกลักษณ์ที่แสดงออกมานั้น สามารถบ่งบอกได้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นอะไร เช่น ป่าไม้ ดิน น้ า สัตว์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม เป็นต้น

    ยกตัวอย่างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม เช่น ช้าง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ “มีงวง มีงา” ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอ่ืนๆ เป็นต้น ดังภาพที่ 1.5

    ป่าเบญจพรรณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ เป็นป่าไม้ที่ประกอบด้วยไม้ เด่น 5 ชนิด ได้แก่ มะค่า แดง ประดู่ ชิงชัน และสัก

    ภาพที่ 1.5 เอกลักษณ์เฉพาะตัวของช้าง ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0% B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%

    B8%87#mediaviewer/File:Olifant_2.JPG,

    2556

    3.2 สิ่งแวดล้อมไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ แต่จะมีสิ่งแวดล้อมอ่ืนอยู่ด้วยเสมอ การที่สิ่งแวดล้อมไม่อยู่โดดเดี่ยว หมายความว่าแต่ละสิ่งต่างมีบทบาทและหน้าที่ของตนเอง การอยู่โดดเดี่ยวของสิ่งแวดล้อมไม่สามารถท าให้สิ่งแวดล้อมนั้นๆ ด ารงอยู่ได้ เช่น ปลากับน้ า ต้นไม้กับดิน มนุษย์กับบ้านเรือน สัตว์ป่ากับป่าไม้ ปูแสมกับป่าชายเลน ปลาตีนกับป่าชายเลน ถนนกับรถยนต์ เรือกับน้ า เป็นต้น ดังตัวอย่างแสดงในภาพที่ 1.6

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%25%20%20%20%20%0d%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20B8%8A%25http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%25%20%20%20%20%0d%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20%20B8%8A%25

  • 8

    3.3 สิ่งแวดล้อมมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอ่ืนเสมอ สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอ่ืนเสมอเพ่ือความอยู่รอดและรักษาสถานภาพตนเอง เช่น ต้นไม้ต้องการดิน ธาตุอาหาร น้ า คนต้องการอากาศในการหายใจ คนต้องการอาหาร น้ า และปัจจัย 4 ในการด ารงชีวิต เป็นต้น

    3.4 สิ่งแวดล้อมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่าระบบนิเวศ ภายในระบบนิเวศจะมีองค์ประกอบ หลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีบทบาทและหน้าที่เฉพาะของมันเอง แต่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เช่น ระบบนิเวศป่าไม้ จะมีองค์ประกอบที่เป็นสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศป่าไม้ ได้แก่ พืช สัตว์ชนิดต่างๆ และจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ส่วนสิ่งแวดล้อมทีไ่ม่มีชีวิต ได้แก่ ดิน ความชื้น แสงแดด กระแสลม เป็นต้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก็จะมีบทบาทและหน้าที่เฉพาะของมันเอง เช่น พืชมีบทบาทเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศซึ่งมีหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวเองและให้ผู้บริโภคต่อไป

    3.5 สิ่งแวดล้อมมีการเกี่ยวโยงกันอย่างเป็นระบบและมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอ่ืนๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น

    การตัดไม้ท าลายป่าของมนุษย์ ย่อมส่งผลกระทบถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ า การทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงแหล่งน้ า ย่อมส่งผลกระทบถึงคุณภาพของน้ า การใช้สารซีเอฟซีท าให้โอโซนในชั้นบรรยากาศถูกท าลาย สิ่งมีชีวิตในโลกได้รับอันตราย

    จากรังสียูวี ท าให้มนุษย์เป็นมะเร็ง และโลกร้อนข้ึน มนุษย์ต้องการข้าวเพ่ือบริโภค ข้าวต้องการธาตุอาหารในดิน ดินต้องการน้ าเพ่ือละลาย

    ธาตุอาหารในดิน รากพืชก็จะดูดซับธาตุอาหารในดินไปใช้ในการเจริญเติบโตของพืชต่อไป ซึ่งถ้าหากขาดน้ าพืชก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้

    3.6 สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความทนทานและความเปราะบางต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน ปัจจัยที่ควบคุมความทนทานหรือความเปราะบางของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คุณลักษณะเฉพาะตัว แหล่งก าเนิด ขนาด รูปทรง สี อายุ ความสามารถในการป้องกันตนเอง ฯลฯ ปัจจัยควบคุม

    ภาพที่ 1.6 ปลากับน้ า ที่มา : http://ปลา-ทอง.blogspot.com /2012/09/blog-post_26.html, 2556

    http://ปลา-ทอง.blogspot/

  • 9

    เหล่านี้ท าให้สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ยากง่ายแตกต่างกันออกไป สิ่งแวดล้อมที่มีความทนทานสูงย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกท าลายได้ยาก สิ่งแวดล้อมท่ีมีความเปราะบางย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกท าลายได้ง่าย ตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความทนทานและความเปราะบางต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน เช่น บ้านที่สร้างด้วยอิฐด้วยปูนจะมีความทนทานมากกว่าบ้านที่สร้างด้วยไม้เมื่อเกิดพายุรุนแรง แก้วน้ าที่ท าจากซิลิกาที่อยู่ในทรายจะมีความเปราะบางมากกว่าแก้วน้ าที่ท าจากโลหะ เป็นต้น

    3.7 สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้ งในด้านปริมาณและคุณลักษณะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรืออย่างรวดเร็วก็ได้ อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมนั้น หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งแวดล้อมอ่ืนๆ เช่น มนุษย์ สัตว์ และพืช ย่อมเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ไปตามธรรมชาติ น้ าและอากาศอาจมีสภาพเสื่อมโทรมลงจากการกระท าของมนุษย์เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป

    4. มิติทางสิ่งแวดล้อม (Environmental dimensions) สิ่งแวด�