65

ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า
Page 2: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

Page 3: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

ชื่อหนังสือ ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

ผู้เขียน นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ISBN 978-974-296-654-6

พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2550

จำนวน 2,000 เล่ม

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

จัดพิมพ์โดย สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

งบประมาณ กรมสุขภาพจิต

ข้อมูลทางบรรณานุกรม

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2550.

Page 4: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�สถาบันราชานุกูล

ศลิปะบำบดั เปน็ทัง้ศาสตรแ์ละศลิป ์ เกดิจากการบรูณาการ

ความรูใ้นศาสตรห์ลายแขนงเขา้ดว้ยกนั โดยใชศ้ลิปะเปน็แกนหลกันำ

มาใช้ในมิติเพื่อการบำบัด

ศลิปะบำบดั สามารถเขา้ใจไดง้า่ยและมคีวามอสิระในตวัเอง

ในขณะเดียวกันก็มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบถ่ายทอดสืบต่อ

กนัมา ดงันัน้ จึงเป็นแนวทางการบำบัดทางเลือกที่ได้รับความสนใจ

มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน

หนังสือ “ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด”

เป็นการรวบรวมความรู้ด้านศิลปะบำบัด ในมุมมองต่างๆ โดยแบ่ง

เป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ ศิลปะคือศิลปะ ศิลปะคือพัฒนาการ และ

ศิลปะคือการบำบัด เพื่อให้ผู้ที่สนใจในศิลปะบำบัด ได้เปิดมุมมอง

ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป

นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

คำนำ

Page 5: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

สารบัญ

หน้า

คำนำ 3

สารบัญ 4

ศิลปะคือศิลปะ 6

ศิลปะคืออะไร 8

อะไรคือศิลปะ 11

ศิลปะให้ประโยชน์อย่างไร 13

ศิลปะคือพัฒนาการ 17

พัฒนาการคืออะไร 19

พัฒนาการทางศิลปะ 21

พัฒนาการขั้นขีดเขี่ย 23

พัฒนาการขั้นเค้าโครง 25

พัฒนาการขั้นภาพเสมือนธรรมชาติ 31

Page 6: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�สถาบันราชานุกูล

สารบัญ

หน้า

ศิลปะคือการบำบัด 34

ศิลปะบำบัดหรือศิลปกรรมบำบัด 36

ศิลปะบำบัดหรือศิลปศึกษา 39

ประวัติศิลปะบำบัด 42

แนวคิดทางศิลปะบำบัด 47

ประโยชน์ของศิลปะบำบัด 52

การประยุกต์ใช้ศิลปะบำบัด 55

บรรณานุกรม 60

ประวัติและผลงานผู้เขียน 62

Page 7: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะ คือ ศิลปะ

Page 8: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

“Life is short; art is long”

“`ชีวิตนี้สั้นนัก แต่ศิลปะนั้นยืนยาว”

Page 9: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

ศิลปะคืออะไร มีความหมายอย่างไร ผู้คนบนโลกใบนี้ล้วนมีความเห็นแตกต่างกัน และยังมีการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ยังคงหาข้อสรุปที่ลงตัวไม่ได้จวบจนปัจจุบัน “ศลิปะ” ตามพจนานกุรมศพัทศ์ลิปะฉบบัราชบณัฑติยสถาน พ.ศ. 2530 คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิ ศาสนา เพลโต้ (Plato) นักปรัชญากรีก ให้ทัศนะว่า “ศิลปะเป็นการจำลองแบบจากธรรมชาติ” และอริสโตเติล (Aristotle) อธิบาย เพิ่มเติมว่า “ศิลปะไม่เป็นเพียงการเลียนแบบของคุณลักษณะรูปทรงภายนอก แต่ต้องสามารถแสดงออกถึงคุณลักษณะภายในของสิ่งนั้นๆ ด้วย” เฮอร์เบิร์ต รีด (Herbert Read) ให้ทัศนะว่า “ศิลปะไม่ใช่การเลียนแบบธรรมชาติให้เหมือนจริง แต่เป็นเพียงการเลียนแบบธรรมชาต ิเพื่อสื่อความหมายหรืออารมณ์บางอย่าง” ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) ให้ทัศนะว่า “ศิลปะเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์ ความรู้สึก เพื่อสื่อสารไปยังผู้อื่น ให้เกิดการรับรู้ร่วมกับศิลปิน” นับว่าศิลปะเป็นวิถีทางไปสู่ความพึงพอใจ และยังเป็นวิถีทางสำหรับการอยู่ร่วมกัน โรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ให้ทัศนะเพิ่มเติมว่า “งานศิลปะที่มีคุณค่าต้องแสดงคุณค่าของรูปทรง องค์ประกอบทางศิลปะด้วย นอกเหนือจากด้านอารมณ์ ความรู้สึก”

ศิลปะ คืออะไร

Page 10: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�สถาบันราชานุกูล

ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์

ตั้งสมมติฐานว่า “สัญลักษณ์” เป็นจารึกของความจำที่ลบเลือนไปแล้ว

สามารถปรากฏออกมาเป็นความฝัน หรือการแสดงออกทางศิลปะ ซึ่ง

บางส่วนอาจเป็นการระบายความเครียดที่อยู่ภายในจิตใจ

คาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung) กล่าวว่า

“สญัลกัษณ”์ เปน็ประสบการณส์ว่นตวัทีส่มัพนัธก์บัความคดิสรา้งสรรค ์

และเป็นพื้นฐานของกระบวนการบำบัด การแสดงออกเป็นภาพ

สัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายสากล บ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ภายใน

จิตไร้สำนึกสะสม (collective unconscious)

ศิลปะไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางกายภาพ ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจาก

การใช้เหตุผลหรือการทดลอง แต่เป็นอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดจาก

ประสบการณ์และจินตนาการของแต่ละคน

ศิลปะเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยแขนงวิชาย่อย

มากมาย เช่น ทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป ์ และวรรณศิลป ์

เป็นต้น มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาจิตใจและยกระดับจิตวิญญาณเป็นสำคัญ

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)

เห็นว่า “ศิลปะคือประสบการณ์ของศิลปิน”

ส่วนเบเนเดตโต โครเช่ (Benedetto

Croce) ให้เห็นว่า “ศิลปะเป็นวิสัยทัศน์

หรือการหยั่งรู้ เป็นการแสดงออกของจิต

วิญญาณ อยู่นอกเหนือเหตุผล และ

อารมณ์”

Page 11: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

10

ทัศนศิลป์ (visual arts)

เปน็ผลงานการสรา้งสรรคท์างศลิปะ

เพื่ อตอบสนองต่อการรับรู้ทาง

สายตา ซึ่งประกอบด้วย จิตรกรรม

ประตมิากรรม หตัถกรรม ภาพพมิพ ์

ภาพถ่าย ศิลปะการจัดวาง และ

งานสื่อผสม

ดุริยางคศิลป์ (music) และนาฏศิลป์ (dance) จัดเป็นศิลปะ

การแสดง เปน็การสรา้งสรรคง์านศลิปะทีส่ามารถรบัรูไ้ดจ้ากลลีาทา่ทาง

การเคลื่อนไหว และเสียง เป็นสื่อสำคัญในการแสดงออกซึ่งอารมณ์

ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ

วรรณศิลป ์

นาฏศิลป ์

ทัศนศิลป ์

ดุริยางคศิลป ์

วรรณศิลป์ (literature) เป็นงาน

ศิลปะที่มีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร

มีความประณีตบรรจง สามารถดลใจให้

ผู้อ่านเกิดความรู้สึก นึกคิด จินตนาการ

และอารมณ์ต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นเป็น

บทประพันธ์รูปแบบต่างๆ ทั้งร้อยแก้ว

และร้อยกรอง

Page 12: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

11สถาบันราชานุกูล

“อะไรคือศิลปะ” และ “อะไรไม่ใช่ศิลปะ” ล้วนแล้วแต่เป็น

คำถามที่ตอบยากเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะต้องรู้จักนิยามที่

หลากหลายแล้ว ยังต้องรู้จักประเมินคุณค่าผลงานทางศิลปะด้วย

งานชิ้นใดที่ไม่มีคุณค่าทางศิลปะก็ย่อมไม่ใช่งานศิลปะ

ในขณะเดียวกัน งานชิ้นใดที่มีคุณค่าทางศิลปะในมุมมองของผู้อื่น

แต่ไม่มีคุณค่าทางศิลปะในมุมมองของเรา ถึงแม้ว่าจะเป็นงานศิลปะ

ก็ย่อมไม่ใช่งานศิลปะที่มีความหมายสำหรับตัวเราเช่นเดียวกัน

การประเมินคุณค่าผลงานทางศิลปะ มีการเปลี่ยนแปลงไป

ตามยุคสมัย ตามวิถีชีวิตและค่านิยมของผู้คนในสังคมยุคนั้นๆ ผลงาน

ทางศิลปะสะท้อนให้เห็นซึ่งจิตวิญญาณทางสังคมในแต่ละยุคแต่ละ

สมัย นับตั้งแต่อดีตตราบจนปัจจุบัน

อะไร คือ ศิลปะ

Potato Eaters ผลงานศิลปะของแวนโก๊ะ

สะท้อนความยากลำบากในสังคม

The Last Supper ผลงานศิลปะของดาวินซี

สะท้อนความผูกพัน ความเชื่อ ความศรัทธา ในศาสนา

Page 13: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

1�

ในอนาคตผู้คนจะเริ่มมีมุมมองที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น โดยไม่

เพียงแต่ให้ความสำคัญกับความเชี่ยวชาญ หรือการมีฝีมือในการสร้าง

สรรค์ผลงานศิลปะเท่านั้น แต่จะประเมินศิลปะในแง่เนื้อหาสาระ

จินตนาการ และการแสดงออก มากกว่าการประเมินศิลปะเพียงแค่

เรื่องของความงาม หรือชั้นเชิงในการแสดงออกเท่านั้น

คุณค่าทางศิลปะจึงไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในมิติด้านศิลปะ

ตามเนื้องานเท่านั้น แต่ยังมีมิติด้านการศึกษา มิติด้านสุขภาพ

ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต มิติด้านสังคม วัฒนธรรม มิติด้าน

ปรัชญา ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ

Vitruvian ผลงานศิลปะของดาวินชี

Page 14: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

1�สถาบันราชานุกูล

ศิลปะให้ประโยชน์อย่างมากมายต่อการพัฒนามนุษย์

ในทกุ ๆ ดา้น ทำใหเ้กดิสมดลุของชวีติ ชว่ยจรรโลงและสรา้งสรรคส์งัคม

ช่วยถ่ายทอดอารยธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา และภูมิปัญญา

ของชนชาติต่าง ๆ ทุกภูมิภาคทั่วโลก จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ศิลปะช่วยให้เกิดการพัฒนาสติปัญญา พัฒนาความคิด

สร้างสรรค์ พัฒนาสมาธ ิ พัฒนาจิตใจ รวมถึงการพัฒนาสังคม ซึ่งมี

รายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ศิลปะ ให้ประโยชน์อย่างไร

ศิลปะช่วยพัฒนาทักษะการคิด ทักษะการแก้ไขปัญหา ช่วย

ส่งเสริมให้สามารถเรียนรู้ในเรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้น เก็บรายละเอียด

เพิ่มขึ้น ช่วยจัดระบบความคิด และสามารถเชื่อมโยงความคิดต่างๆ

ที่กระจัดกระจาย เข้าหากันเป็นเอกภาพง่ายขึ้น ทำให้เกิดเป็นความ

คิดรวบยอด (concept) ในเรื่องต่างๆ ที่เรียนรู้

ศิลปะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่อง สี รูปทรง และพื้นผิว

ได้ดี ทำให้ต้องคิด เปรียบเทียบ แยกแยะความแตกต่าง

ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง จำเป็นต้องบูรณาการ

ประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในคลังสมอง ถ่ายทอดผ่านการ

ประมวลผลของสมองสว่นตา่งๆ ทีท่ำหนา้ทีแ่ตกตา่งกนั จนเปน็ผลงาน

ออกมา ยิง่สรา้งสรรคผ์ลงานศลิปะมากเทา่ไหร ่สมองสว่นตา่งๆ กจ็ะได้

ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น

ลีโอนาร์โด ดาร์ วินซี (Leonardo da Vinci) อัจฉริยะโลก

ผู้ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเขามาสู่

ศิลปะ พัฒนาสติปัญญา

Page 15: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

1�

ยคุปจัจบุนั โดยไดอ้อกแบบสิง่ประดษิฐ ์

มากมายลงในบันทึกจำนวน 13 เล่ม

ของเขา ซึ่งสามารถพัฒนามาใช้งาน

ได้จริงในยุคปัจจุบันเป็นจำนวนมาก

ไม่ว่าจะเป็นชุดนักประดาน้ำ เรือดำน้ำ

รถถัง ปืนกล เฮลิคอปเตอร์ ปีก

เครื่องร่อน ร่มชูชีพ ฯลฯ

ความคิดสร้างสรรค์ คือ ลักษณะของความคิดที่มีหลายมิติ

หลายมุมมอง หลายทิศทาง สามารถคิดได้กว้างไกล ไร้กรอบ ไร้

ขอบเขต ประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น

และความละเอียดลออ นำไปสู่การคิด ประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ และ

บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้มาจากประสบการณ์เดิม เชื่อมโยงกับ

สถานการณ์ใหม ่สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม ่และเกิดนวัตกรรมตามมา

ศิลปะสามารถช่วยเพิ่มองค์ประกอบต่างๆ ของความคิด

สร้างสรรค์ ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

ความคิดริเริ่ม (originality) ช่วยให้มีความคิดแปลกใหม่เกิด

การนำความรู้เดิมมาคิดดัดแปลง และประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่

ความคล่องแคล่ว (fluency) ช่วยให้มีความคิดที่ไม่ซ้ำในเรื่อง

เดียวกันไม่หมกมุ่น คิดวกวน สามารถคิดได้รวดเร็ว นำมาซึ่งการพูด

ที่คล่องแคล่ว และการกระทำที่รวดเร็ว

ศิลปะ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์

ลีโอนาร์โด ดาร์ วินซี และผลงาน

Page 16: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

1�สถาบันราชานุกูล

ความยืดหยุ่น (flexibility) ช่วยให้คิดได้หลากหลายมุมมอง

ไม่ซ้ำรูปแบบหรือกรอบคิด แบบเดิม ไม่ยึดติด สามารถเห็นประโยชน์

ของสิ่งของอย่างหนึ่งว่า มีอะไรบ้าง ได้หลายอย่าง

ความละเอียดลออ (elaboration) ช่วยให้มีความพิถีพิถันใน

การตกแต่งรายละเอียด ช่างสังเกต ในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น หรือมองข้าม

การใช้ศิลปะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ต้องให้เสรีภาพใน

การสร้างสรรค์ผลงาน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผู้ดูแลมี

บทบาท ให้ข้อเสนอแนะ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ให้การยอมรับ

และให้แรงเสริม กำลังใจ คำชมเชยต่าง ๆ แต่ไม่ใช่การสอนหรือบอก

ให้ทำ ไม่มีการประเมินผลงานโดยใช้มาตรฐานของผู้ใหญ่ อยู่ใน

บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ กำหนดเนื้องาน

ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา อายุ และวุฒิภาวะของแต่ละคน

ศิลปะ พัฒนาสมาธิ

สมาธิเป็นประตูแห่งการเรียนรู้ เมื่อสมาธิไม่ดี ถึงแม้ว่าจะมี

สติปัญญาดี ก็ไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มที่ เนื่องจากประตูแห่งการเรียน

รู้ไม่เปิด ความรู้ต่างๆ จึงไม่สามารถไหลเข้าสู่สมองได้ จึงไม่สามารถ

นำเข้าสู่ระบบความจำและประมวลผลได้

การทำกิจกรรมศิลปะพบว่าช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ดีขึ้นได้

ชัดเจน เนื่องจากได้ฝึกฝนการจดจ่อทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผิด

ไม่มีถูก และไม่ยากเกินความสามารถ จนสูญเสียความมั่นใจ และที่

สำคัญ คือ ได้สนุกกับกิจกรรมที่ทำ เป็นการฝึกฝนให้เรียนรู้

ประสบการณ์ของการทำกิจกรรมอย่างมีสมาธิ

Page 17: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

16

การนำศิลปะมาใช้ในการพัฒนาจิตใจ จะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหา

ทางดา้นอารมณ ์และจติใจ ไดร้ะบายปญัหา ความคบัขอ้งใจ ผา่นออก

มาทางงานศิลปะ ระบายอารมณ์ออกมาในหนทางที่สร้างสรรค์ช่วยให้

รู้สึกผ่อนคลาย ลดความขุ่นมัวในจิตใจ เข้าใจและรับรู้อารมณต์่าง ๆ

ของตนเอง สามารถยับยั้งและควบคุมได้ดีขึ้น มีสมาธิ ลดความ

ตึงเครียด และความวิตกกังวลลงได้ในที่สุด

ศลิปะยงัชว่ยขดัเกลาจติใจใหล้ะเอยีดออ่น ละเมยีดละไมยิง่ขึน้

ใส่ใจกับความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น ลดความหยาบทางอารมณ์

ลดความก้าวร้าวที่มีอยู ่ สามารถยอมรับข้อจำกัดของตนเอง ยอมรับ

ความแตกต่างระหว่างกัน และควบคุมตนเองในกรอบของเหตุผลได้ดี

ความภาคภูมิใจยังเป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นระหว่างการ

สร้างสรรค์งานศิลปะ ช่วยให้เกิดความสุข ตระหนักในคุณค่าของ

ตนเอง มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออกเพิ่มขึ้น

ศิลปะ พัฒนาจิตใจ

ศิลปะช่วยให้เรียนรู้ทักษะสังคมผ่านการทำกิจกรรมศิลปะ

ร่วมกันเป็นกลุ่ม รู้จักการรอคอย ผลัดกันทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เสียสละ มีน้ำใจ ไม่เอาเปรียบกัน

นอกจากนี้ยังเรียนรู้ที่จะแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก

ความคิด ความต้องการของตนเอง และการเข้าใจผู้อื่น โดยใช้ศิลปะ

เป็นสื่อ

ศิลปะจึงเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้สัมพันธภาพทางสังคมดำเนิน

ไปอย่างสงบสุข สมานฉันท์ สามารถใช้เป็นตัวกลางในการจัดกิจกรรม

ต่างๆ ร่วมกัน

ศิลปะ พัฒนาสังคม

Page 18: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะ คือ พัฒนาการ

Page 19: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

1�

“การวาด เป็นดัชนีที่สะท้อนให้เราเห็นถึงการเจริญเติบโตของเด็ก

พัฒนาจากมุมมองของตนเองอันคับแคบ สู่การตระหนักรู้ว่า

ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมอันกว้างใหญ่ไพศาล”

“Drawing gives us a good indication of child’s growth, moving from an egocentric point of view to

gradual awareness of the self as part of a larger environment”

Lowenfeld and Brittain, 1982

Page 20: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

1�สถาบันราชานุกูล

พัฒนาการ (development) คือ การเปลี่ยนแปลงหน้าที่การ

ทำงานของร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ไปสู่วุฒิภาวะ

พัฒนาการของเด็กทุกคนจะเป็นไปในหลักการและทิศทางเดียวกัน

แตกต่างกันที่ความเร็วในการพัฒนา และอาจมีการหยุดชะงัก หรือ

ล่าช้า ด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน หลักทั่วไปของพัฒนาการ มีดังนี้

1. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

2. มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนที่เหมือนกันทุกคน

3. เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

4. ขึ้นกับวุฒิภาวะของสมองและระบบประสาท

5. ทิศทางการพัฒนาจากศีรษะสู่ปลายเท้า จากส่วนกลาง

ลำตัวถึงส่วนปลายมือ ปลายเท้า

6. มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงจากปฏิกิริยาสะท้อน

(reflex) เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้

7. พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงจากแบบภาพรวมทั่วๆ ไป

เป็นแบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

พัฒนาการมีการแบ่งหมวดหมู่ได้หลายแบบ โดยทั่วไปมีการ

แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1. พัฒนาการด้านร่างกาย (psychomotor development)

ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก

และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (cognitive development)

ซึ่งสังเกตได้จากพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการทางภาษา

ทั้งด้านการรับรู้ภาษา และการสื่อภาษา

พฒันาการ คือ อะไร

Page 21: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�0

3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (emotional development)

ซึ่งประกอบด้วย การรับรู้อารมณ์ตนเอง และการจัดการอารมณ์ได้

อย่างเหมาะสม รวมถึงพัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรมด้วย (moral

development)

4. พฒันาการดา้นสงัคม (social development) ซึง่ประกอบ

ด้วยการพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง และทักษะทางสังคม

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพัฒนาการเฉพาะทางในแต่ละเรื่อง

ด้วย ตามความสำคัญ เช่น พัฒนาการด้านการเล่น พัฒนาการด้าน

ศิลปะ พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

❤ ✿ ❃

✿✿

Page 22: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�1สถาบันราชานุกูล

พัฒนาการทางศิลปะ (artistic development) นับเป็น

พัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ที่บูรณาการพัฒนาการแต่ละด้านเข้าด้วย

กัน โดยใช้มุมมองด้านศิลปะเป็นหลัก ซึ่งมีการแบ่งหลายแบบ แต่โดย

หลักการทั่วไปประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1) ขั้นขีดเขี่ย (scribbling stage)

2) ขั้นเค้าโครง (schematic stage)

3) ขั้นภาพเสมือนธรรมชาติ (naturalistic stage)

ในการพัฒนาทางศิลปะเด็กแต่ละคนจะพัฒนาไปใน

รูปแบบเดียวกัน แต่จะพัฒนาไปไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามา

กระทบตัวเด็ก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการทางศิลปะ

จะประกอบด้วย 4 เรื่องหลักๆ ดังนี้

1) ร่างกาย (physical growth)

2) สติปัญญา (cognition)

3) อารมณ์ (emotion)

4) สังคม (social)

พัฒนาการ

ทางศิลปะ

พฒันาการ ทางศิลปะ

Page 23: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ในที่นี้จะกล่าวถึงพัฒนาการด้านการวาดรูป ตามแบบของ

Viktor Lowenfeld ที่เขียนไว้ในหนังสือ “Creative and Mental

Growth” ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย และสามารถนำมาใช้ในการ

ประเมินระดับพัฒนาการของเด็กได้อีกด้วย แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน

ดังนี้

1) ขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) ช่วงอายุขวบครึ่งถึง 3 ปี

2) ขั้นร่างเค้าโครง (The Preschematic Stage) ช่วงอายุ

3-6 ปี

3) ขั้นเค้าโครง (The Schematic Stage) ช่วงอายุ 3-6 ปี

4) ขั้นเริม่เสมอืนจรงิ (The Dawning Realism: The Gang

Age) ช่วงอายุ 9-12 ปี

5) ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-Naturalistic Stage:

The Age of Reasoning) ช่วงอายุ 12-14 ปี

6) ขั้นการตัดสินใจ (The Period of Decision) ช่วงอายุ

14-17 ปี

Viktor Lowenfeld

และหนังสือ

Creative and Mental

Growth

Page 24: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

พฒันาการขัน้ขดีเขีย่ (scribbling stage) จะพบในชว่งอายุ

18 เดือน ถึง 3 ปี ซึ่งเด็กเริ่มขีดเขี่ยได้ตามระดับพัฒนาการของ

กล้ามเนื้อ ความสามารถในการเคลื่อนไหว และการประสานการ

ทำงานของตาและมือ

การขีดเขี่ย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

1) disordered scribbling เป็นการขีดเขี่ยแบบสะเปะสะปะ

2) longitudinal scribbling เป็นการขีดเขี่ยแบบเป็นเส้น

3) circular scribbling เป็นการขีดเขี่ยแบบเป็นวง

4) naming scribbling เป็นการขีดเขี่ยแบบมีความหมาย

ซึ่งจะเป็นขั้นที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการเคลื่อนไหว

แบบไร้ความหมาย สู่การใช้จินตนาการสร้างสรรค์

เด็กมักจะขีดเขี่ยต่อไป ก็ต่อเมื่อเขาเห็นผลงานที่เกิดขึ้น

มีลายเส้นที่มองเห็นได ้ถ้าขีดเขี่ยแล้วไม่มีอะไรออกมาให้เห็นได้ เด็กก็

จะหยุดขีดเขี่ยไปในที่สุด ดังนั้นควรให้สีเทียนกับเด็ก เพื่อขีดเขี่ยบน

กระดาษ เราสามารถกำหนดขอบเขตทีจ่ะขดีเขีย่ใหอ้ยูแ่คบ่นกระดาษได ้

ไม่จำเป็นต้องให้เด็กขีดเขี่ยอิสระจนเลอะเทอะเต็มบ้านไปหมด ซึ่งไม่

ก่อให้เกิดผลดีอะไร

เด็กที่เล็กมาก ๆ มักจะชอบเคี้ยวสีเทียนที่ให้ พอพอกับการ

ขีดเขี่ย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

และใช้สีชนิดที่ทำจากวัสดุปลอดสารพิษด้วย

ในช่วงวัยนี้ ยังไม่ควรมีเนื้อหาอะไรมากไปกว่าการขีดเขี่ย

เพราะเด็กยังมีข้อจำกัดของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว สมาธิ และ

พฒันาการ ขั้นขีดเขี่ย

Page 25: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ความสนใจอยู่มาก ยังไม่จำเป็นต้องวาดเป็นรูปทรง ยังไม่จำเป็นต้อง

เป็นรูปที่มีความหมายอะไร การขีดเขี่ยก็คือการขีดเขี่ย ควรอิสระ

ไร้ทิศทาง และไร้ความหมาย

ในช่วงปลายของพัฒนาการขั้นขีดเขี่ยนี้ ผู้ใหญ่มีบทบาท

สำคัญที่จะช่วยพัฒนาความหมายจากสิ่งที่เด็กขีดเขี่ยได้ โดยการเชื่อม

โยงสิ่งที่เด็กขีดเขี่ยเข้ากับ บุคคล สัตว ์ หรือวัตถุใกล้ตัว เช่น ถามว่า

“รูปนี่พ่อใช่ไหม” “ตัวนี้ใช่แมวหรือเปล่า”

ขั้นขีดเขี่ย

Page 26: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

พัฒนาการขั้นเค้าโครง (schematic stage) ในที่นี้แบ่งเป็น

2 ขั้นย่อย โดยอ้างอิงตามการแบ่งของ Lowenfeld ดังนี้

1) ขั้นร่างเค้าโครง (preschematic stage)

2) ขั้นแสดงเค้าโครง (schematic stage)

ขั้นร่างเค้าโครง (preschematic stage) จะเริ่มต้นจาก

รปูรา่งพืน้ฐาน (basic forms) จะเริม่พบในชว่งอาย ุ 3-4 ป ี โดยเดก็

เริ่มมีชื่อเรียกสิ่งที่เขาวาด เริ่มสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่วาดออกมา

โดยโยงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเข้าหาตัวเอง ในมุมมองที่ยึดตนเองเป็น

ศูนย์กลาง (egocentric) สามารถแยกแยะหมวดหมู่จากรูปร่าง สี

และขนาดของรูปที่วาดได้

เดก็จะขดีเขีย่อยา่งมคีวามหมายมากยิง่ขึน้ เริม่มรีปูทรงพืน้ฐาน

ต่างๆ ที่แสดงออกมาในขั้นนี ้เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม กากบาท เป็นต้น

ขั้นร่างเค้าโครง

พฒันาการ เค้าโครง

รูปร่างพื้นฐาน

Page 27: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�6

รูปที่เด็กวาดออกมาในขั้นนี้จะไม่สะเปะสะปะไร้ทิศทาง

แต่จะเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีรูปแบบที่ชัดเจน และการออกแบบที่ยึดติด

ซ้ำๆ ในลักษณะเดิมๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเรียกว่า Mandalas

พบว่ามีเด็กอยู่ 2 ลักษณะในขั้นนี้ คือ

1) สนใจรูปแบบ (patterners) โดยเด็กจะสนใจรูปแบบและ

ลักษณะ เช่น สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น

2) สนใจเรื่องราว (dramatists) สนใจการแสดง การผจญภัย

เทพนิยาย และเล่าเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งที่วาด

จินตนาการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นนี้ เด็กอาจเลือกใช้สีที่

ไม่เหมือนกับของจริงก็ไม่เป็นไร

ผู้ใหญ่มีบทบาทที่จะช่วยพัฒนาจินตนาการของเด็กในช่วงวัย

นี้ได้มาก โดยถามถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เด็กวาดออกมา และดูว่ารูปที่

เด็กวาดนั้นเหมือนกับอะไร โดยคาดเดาจากเรื่องที่เด็กเล่าให้ฟัง

ขั้นร่างเค้าโครง (preschematic stage) พบในช่วงอายุ

4-5 ป ีโดยเดก็จะเริม่รา่งเคา้โครงของ คน สตัว ์สิง่ของได ้แตจ่ะมรีปูรา่ง

หน้าตาเหมือนกัน และขนาดใกล้เคียงกัน แม้จะเป็นคนละคนกัน โดย

เด็กจะเริ่มร่างเค้าโครงต้นแบบของสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้ง คน สัตว์

สิ่งของ

รูปร่างเค้าโครง

Page 28: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�7สถาบันราชานุกูล

Tadpole figures เป็นลักษณะต้นแบบ ของการวาดรูปคนที่

ประกอบด้วยหัวกลมๆ อาจมีตา จมูก ปาก หรือไม่ก็ได ้มีขา 2 ขาต่อ

จากหัว อาจมีแขนหรือไม่ก็ได้ต่อออกมาจากหัวเช่นกัน

เด็กส่วนใหญ่จะบอกว่าวงกลมที่วาดเป็นทั้งหัวและตัว แต่เด็ก

บางคนจะบอกว่าวาดตัวไม่เป็น และมีบางคนจะชี้บอกว่าตัวอยู่ระหว่าง

ขา 2 ข้าง เด็กมักจะวาดออกมาน้อยกว่าสิ่งที่รู้ เช่น รู้ว่ามีแขน แต่ไม่

วาดแขน จะวาดแขนก็ต่อเมื่อให้วาดรูปคนกำลังโยนลูกบอล

เด็กอาจวาดสัตว์บางอย่างที่เห็นบ่อย แต่มักมีขามากกว่า

ของจริง เด็กอาจวาดรูปสี่เหลี่ยมแทนบ้าน

เนื้อหาหลัก (themes) ที่พบบ่อยในการวาดของเด็กช่วงวัยนี้

คือ การวาดรูปตัวเอง และวาดรูปครอบครัว

เด็กในวัยนี้ชอบการวาดรูปมากกว่าการระบายสี โดยทั่วไป

การวาดรูปจะเป็นอิสระ และสร้างสรรค์ ไม่มีกฎ กติกา พระอาทิตย์

อาจมีสีม่วง วัวสีเหลือง ตามความคิดของตัวเอง แต่ก็มีเด็กบางคนเริ่ม

เชื่อมโยงสีตามความเป็นจริง เช่น ใบไม้สีเขียว

Tadpole figures

ครอบครัว

Page 29: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ขั้นแสดงเค้าโครง (schematic stage) พบในช่วงอายุ

6-9 ปี โดยเด็กเริ่มแสดงภาพได้ชัดเจนขึ้นตามความเป็นจริง และ

เชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมให้สัมพันธ์กันมากขึ้นมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว

มากในช่วงนี้

เด็กมักจะวาดรูปเป็นสัญลักษณ์สากลของสิ่งต่างๆ เป็น เช่น

บ้านมีรูปสี่เหลี่ยมและหลังคาสามเหลี่ยม คนมีหัวกลมๆ มีตัว มีผม

มีแขน มีขา ต้นไม้มีสีน้ำตาลและด้านบนเป็นสีเขียว

เด็กวัยนี้ยังคงวาดรูปเป็น 2 มิต ิ ซึ่งไม่สามารถบอกความลึก

หรือความหนาได้ ในช่วงปลายของขั้นนี ้ เด็กมีความพยายามวาดรูป

ในมุมมองของนก (bird’s eye view) แต่ก็ยังไม่ถูกต้องนัก เรียกการ

วาดรูปแบบนี้ว่า folding-over เช่น โต๊ะมีขาแบะออก รถมีล้อแบะ

ออกด้านข้างให้เห็น

ชั้นแสดงเค้าโครง

การใช้สีในช่วงวัยนี้จะ

คอ่นขา้งตายตวั เปน็รปูแบบสากล

ไมย่ดืหยุน่ เชน่ ใบไมท้กุใบสเีขยีว

เหมือนกัน

รูปทุกอย่างมักจะตั้งอยู่

บนเส้น (baseline) ซึ่งอาจเป็น

เส้นพื้น (groundlines) หรือเส้น

ท้องฟ้า (skylines)

baseline

folding-over

Page 30: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการวาดที่มีขนาดหรือบางส่วนเกินจรงิ

(exaggerations) เนน้บางองคป์ระกอบ (emphasized elements) หรือ

ละเลยรายละเอียดบางอย่าง (omission) ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ปกติใน

พัฒนาการช่วงนี้เช่นกัน อาจมีความหมายอะไรบางอย่างที่เป็นพิเศษ

สำหรับเด็ก หรือไม่มีก็ได้ ตัวอย่างเช่น คนตัวใหญ่กว่าบ้าน

see-through

เดก็มกัมกีารวาดรปูในแบบโปรง่ใส (see-

through pictures) ซึ่งวาดโดยสามารถ

เห็นทุกอย่างที่อยู่ข้างใน เช่น เมื่อเด็กวาด

รูปบ้าน ก็จะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียด

ภายในบ้านด้วยว่ามีอะไร เช่น คน โต๊ะ

เตียง อยู่ในบ้าน เสมือนการเอ๊กซเรย์บ้าน

ให้เห็นข้างใน

การวาดรูปแบบนี้ อาจแสดงให้

เห็นถึงลำดับของรูปหนึ่งซึ่งอยู่ด้านหลัง

ของอีกรูปก็ได้ เช่น คนอยู่หลังโต๊ะ

exaggerations emphasized elements

Page 31: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�0

time sequences

นอกจากนี้รูปที่วาดออกมา ยังอาจหมายถึงเหตุการณ์ที่กำลัง

ดำเนินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง (time sequences) เช่น การเดินทาง

ลูกบอลที่กำลังลอยไป

ชว่งอาย ุ6-9 ป ีนบัวา่เปน็ชว่งวยัทีโ่ดดเดน่ทีส่ดุในการแสดง

ออกทางศิลปะ (golden age of artistic expression)

Page 32: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�1สถาบันราชานุกูล

พัฒนาการขั้นภาพเสมือนธรรมชาติ (Naturalistic Stage)

ในทีน่ีจ้ะขอแบง่เปน็ 3 ขัน้ยอ่ย โดยอา้งองิตามการแบง่ของ โลเวนเฟล

(Lowenfeld) เช่นกัน ดังนี้

1) ขั้นเริ่มเสมือนจริง (The Dawning Realism)

2) ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-naturalistic Stage)

3) ขั้นการตัดสินใจ (The Period of Decision)

ขั้นเริ่มเสมือนจริง (The Dawning Realism)

ขั้นเริ่มเสมือนจริง (The Dawning Realiism: The Gang

Age) พบในช่วงอายุ 9-12 ปี เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าภาพเค้าโครงที่เคย

วาดไม่สะท้อนความเป็นจริง จึงพยายามวาดภาพให้คล้ายคลึงของจริง

โดยเน้นใส่รายละเอียดของส่วนต่างๆ มากขึ้น ซับซ้อนในลายเส้น

ชว่งวยันีเ้ริม่มกีารเปรยีบเทยีบภาพทีต่นเองวาดกบัของเพือ่นๆ

เริ่มมีการวิจารณ์ภาพของตนเองมากขึ้น และเริ่มวิตกกังวลที่จะต้อง

แสดงภาพให้เพื่อนดู

พฒันาการขั้นภาพ เสมือนธรรมชาต ิ

รูปเสมือนจริง

Page 33: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-naturalistic Stage)

ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-Naturalistic Stage: The

Age of Reasoning) พบว่าในช่วงอายุ 12-14 ปี โดยเด็กจะวาด

ภาพเสมือนจริง มีเหตุมีผล มีมิต ิและมีความซับซ้อนมากขึ้น พยายาม

วาดรูปในมุมมองต่างๆ (perspective) มีแสงและเงา มีการเคลือ่นไหว

มีการแสดงภาพแบบ 3 มิติ ส่วนที่อยู่ไกลก็จะมีขนาดเล็กลง และมี

ความพยายามวาดรูปให้เหมือนกับรูปถ่าย (photographic effect)

ซึ่งก็คือการวาดให้เหมือนของจริงนั่นเอง

มีการให้รายละเอียดของสี ที่เหมือนธรรมชาติมากขึ้น เช่น

ใบไม้มีหลากสี แทนที่จะเป็นสีเขียวสีเดียว การวาดรูปคนก็สามารถให้

รายละเอียดของเครื่องแต่งกายต่าง ๆ สีของเส้นผมที่เหมือนจริงยิ่งขึ้น

ภาพเสมอืนจรงิมกัมคีวามอสิระ สรา้งสรรค ์และความงดงาม

ของรูปน้อยกว่าพัฒนาการทางศิลปะในขั้นก่อนหน้านี้

พบว่าเด็กหลายๆ คนจะหยุดชะงักที่พัฒนาการขั้นนี้ ถ้าไม่มี

โอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานต่อ หรือขาดการกระตุ้น สนับสนุนที่

เพียงพอจากผู้ปกครอง

รูปเสมือนจริง

Page 34: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

ขั้นการตัดสินใจ (The Period of Decision)

ขั้นการตัดสินใจ (The Period of Decision) ช่วงอายุ

14-17 ปี เป็นของการตัดสินใจว่าจะพัฒนาด้านศิลปะต่อไปหรือไม่

ขั้นนี้จะเป็นภาพที่มีรายละเอียดมากขึ้น เทคนิคการใช้สีและ

การออกแบบมคีวามซบัซอ้นขึน้ เปน็ภาพนามธรรม (abstract) มากขึน้

สื่อถึงความคิด เกี่ยวกับปรัชญา หัวข้อบางอย่าง หรือตัวตนของตนเอง

และมีเอกลักษณ์ของภาพ

เป็นพัฒนาการทางศิลปะขั้นที่ผู้ใหญ่หลายๆ คน ไม่สามารถ

พัฒนามาถึงเนื่องจากเลิกล้มการวาดรูปไปก่อน เริ่มรู้ว่าตนไม่มีทักษะ

ขาดเทคนิค ขาดโอกาสที่จะได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาด

ความมั่นใจ จึงไม่ได้ทำต่อเนื่อง ทำให้หลายคนพัฒนาไปถึงขั้นของ

การวาดรูปเสมือนจริงเท่านั้น

หลายคนมักเข้าใจผิดว่าคนที่พัฒนาถึงขึ้นสุดท้ายนี้เป็น

อัจฉริยะด้านการวาดรูป ซึ่งไม่ถูกต้องนัก ผู้ที่จะเป็นอัจฉริยะในด้านนี้

ควรจะมีความโดดเด่นเหนือกว่าคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบกันในช่วงอายุ

ของการพัฒนาในแต่ละขั้น

การวาดภาพเหมือน

ของคนก็จะมุ่งเน้นความเป็น

เอกลักษณ์คนนั้น มีบุคลิก

ลักษณะอารมณ์ความรู้สึก และ

ภาพลักษณ์ที่เห็นเฉพาะตัว

รูปนามธรรม

Page 35: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะ คือ การบำบัด

Page 36: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

“`เพียงรูปเดียวมีคุณค่าเท่ากับพันถ้อยคำ”

“a picture is worth a thousand words”

ศิลปะ คือ การบำบัด

Page 37: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�6

ในปัจจุบันมีการนำศาสตร์ทางเลือกแขนงใหม่มาใช้กันอย่าง

แพร่หลายในวงการด้านสาธารณสุข และเป็นที่รู้จักในวงการด้าน

ศลิปะดว้ย เปน็การบำบดัรกัษาผูป้ว่ย โดยใชก้จิกรรมทางศลิปะรปูแบบ

ต่างๆ ซึ่งมาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า “art therapy”

เมื่อแปลเป็นศัพท์ภาษาไทย มีการใช้อยู่ 2 แบบ คือ

คำวา่ “ศลิปะบำบดั” และ “ศลิปกรรมบำบดั” ซึง่ในปจัจบุนักย็งัม ี

การใช้ที่แตกต่างกันอยู ่ ถึงแม้ว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ฉบับ พ.ศ. 2542 จะได้บัญญัติศัพท์ไว้แล้ว ก็ยังมีการใช้ที่แตกต่างกัน

เช่นเดิม

คำว่า “ศิลป-” “ศิลป์” และ “ศิลปะ” เป็นคำนาม มาจาก

รากศัพท์คำว่า “ศิลฺป” หรือ “สิปฺป” แปลว่า “มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม”

ดังนั้นคำว่า “ศิลปะ” จึงมีนิยามว่า “ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง,

การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่าง

มีศิลปะ, ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์;

การแสดงออกซึง่อารมณส์ะเทอืนใจใหป้ระจกัษด์ว้ยสือ่ตา่งๆ อยา่ง เสยีง

เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ

ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์”

สว่นคำวา่ “ศลิปกรรม” เปน็คำนาม มนียิามวา่ “สิง่ทีเ่ป็น

ศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ เช่น งานประติมากรรม งาน

สถาปัตยกรรม จัดเป็นศิลปกรรม”

ทางสำนักราชบัณฑิตยสถานได้ตีความว่า “art therapy”

เป็นกิจกรรมที่นำศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม

ศิลปะบำบัดหรือ ศิลปกรรมบำบัด

Page 38: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�7สถาบันราชานุกูล

ประติมากรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์

เพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช จึงบัญญัติศัพท์ภาษาไทย เป็นคำว่า

“ศิลปกรรมบำบัด”

แต่ศัพท์คำว่า “ศิลปกรรมบำบัด” ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ

อย่างแพร่หลายเท่าที่ควรในกลุ่มนักศิลปะบำบัด (art therapist)

เนื่องจากส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า “art therapy” มีการเลือกใช้

กิจกรรมทางศิลปะที่ครอบคลุมกว้างกว่าศิลปกรรม รวมถึงศิลปะการ

ดนตรี และศิลปะการละครด้วย จึงยังคงมีการใช้ศัพท์คำว่า “ศิลปะ

บำบัด” กันอย่างแพร่หลายอยู่ด้วยเช่นกัน

ความเห็นของผู้เขียนเอง คิดว่า “ศิลปกรรมบำบัด” น่าจะ

ตรงกับคำว่า “art as therapy” ตามแนวคิดของ Edith Kramer

ที่ศิลปะเป็นการบำบัดในตัวมันเอง ส่วนคำว่า “ศิลปะบำบัด” น่าจะ

ตรงกับคำว่า “art therapy” ตามแนวคิดของแพทย์หญิง Margaret

Naumburg ที่ศิลปะเป็นเครื่องมือในการทำจิตบำบัด ซึ่งปัจจุบันทั้ง

2 แนวคิดนี้ก็ได้ถูกนำมาผสมผสานอย่างลงตัวพอสมควร

ศิลปะบำบัด

รูปแบบต่างๆ

Page 39: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ถึงอย่างไรก็ตามที “ศิลปะบำบัด” หรือ “ศิลปกรรมบำบัด”

ยังนับว่าเป็นคำศัพท์ที่ใหม่ต่อการรับรู้และเข้าใจของสังคมไทยใน

วงกว้างอยู่ดี ถึงแม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานในการ

เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

สังคมไทยยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้อีกระยะหนึ่ง จึงจะเกิด

ความเข้าใจ และให้การยอมรับในศาสตร์แขนงนี้อย่างแพร่หลาย

นับได้ว่า “ศิลปะบำบัด” หรือ “ศิลปกรรมบำบัด” เป็นศาสตร์แขนงที่

กำลังเติบโตในสังคมไทย

Page 40: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

“ศิลปะ” มีการนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ได้

หลากหลาย ในปัจจุบันมี 3 เป้าหมายหลักๆ ดังนี้ คือ เพื่อก่อเกิด

ความสุนทรีย ์เพื่อการศึกษา และเพื่อการบำบัด

ดังนั้น “ศิลปะบำบัด” กับ “ศิลปศึกษา” จึงมีความแตก

ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้

“ศลิปบำบดั” มวีตัถปุระสงคใ์นการนำไปใชเ้พือ่บำบดัรกัษา

เยียวยาจิตใจผู้ป่วย เสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของบุคคล และคืน

ความสมดุลให้กับชีวิต

ส่วน “ศิลปศึกษา” หรือการเรียนศิลปะ คือการศึกษา

หาความรู้เกี่ยวกับศิลปะ เพื่อให้มีความรู้เพิ่มพูนมากขึ้น มีทักษะใน

การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันแล้ว ศิลปะบำบัด กับ

ศิลปศึกษา ก็มีจุดเน้นที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน

ศิลปะบำบัด เน้นที่กระบวนการทางศิลปะ การเลือกใช้เครื่อง

มือทางศิลปะ เพื่อนำมาบำบัดรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสภาพ

ปัญหาของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการแสดงออก

ของอารมณ์ ความรู้สึก ความขัดแย้ง ที่ซ่อนอยู่ภายในส่วนลึกของ

จิตใจ ที่ไม่สามารถแสดงออกเป็นคำพูดได้ โดยสรุปคือ เน้นที่

กระบวนการสร้างผลงานมากกว่าตัวผลงาน

ส่วนศิลปศึกษา หรือการเรียนศิลปะ เน้นที่ความรู้และผล

งานทางศิลปะเป็นหลัก เรียนรู้ทฤษฎี เทคนิควิธี และการเลือกใช้

เครื่องมือทางศิลปะที่เหมาะสม ในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่มี

คุณค่า และเรียนรู้การประเมินคุณค่าผลงานศิลปะ

ศิลปะบำบัด หรือ ศิลปศึกษา

Page 41: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�0

ในปัจจุบันมีการนำคำว่า “ศิลปะบำบัด” มาใช้อย่างไม่ถูก

ต้องนัก ใช้สับสนกับคำว่า “ศิลปศึกษา หรือการเรียนศิลปะ”

มักเกิดความเข้าใจผิดว่า การสอนศิลปะในกลุ่มเด็กที่มีความ

ต้องการพิเศษ เรียกว่า “ศิลปะบำบัด” ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการสอน

ศิลปะ มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กรู้วิธีสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ให้รู้จัก

เทคนิคการเขียนลายเส้น การเลือกใช้สี การลงสี การระบายสี เป็นต้น

ส่วนศิลปะบำบัด จะมีกระบวนการและเป้าหมายที่ชัดเจนใน

การแก้ไขปัญหาบางอย่าง หรือเสริมสร้างพัฒนาทักษะบางด้าน

ที่ไม่ใช่การพัฒนาความสามารถทางศิลปะ แต่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ

ในกระบวนการบำบัด หรือการพัฒนาทักษะอื่นๆ เท่านั้น

การสอนศิลปะในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีข้อ

พิจารณาที่จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น คือ ต้องทำความเข้าใจกับ

สภาพปญัหาและระดบัความสามารถของเดก็ รูถ้งึความตอ้งการของเดก็

อยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่สร้างความกดดัน และมีการวาง

โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล

ในขณะที่กระบวนการ เป้าหมาย และจุดเน้น ของศิลปะ

บำบัด และศิลปศึกษาแตกต่างกัน แต่บ่อยครั้งก็พบว่า การทำอย่าง

หนึ่งมักได้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งเป็นผลพลอยได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น หลังการเข้าร่วมโปรแกรมศิลปะบำบัดไประยะ

หนึ่ง พบว่าผู้รับการบำบัดมีความสามารถทางศิลปะเพิ่มขึ้น บางคน

ฉายแววทางศิลปะออกมาให้เห็นเด่นชัด มีชิ้นงานที่มีคุณค่าทางศิลปะ

การประเมินคุณค่างานศิลปะ เน้นที่จินตนาการ ความคิด

สร้างสรรค์ที่แสดงออกมาผ่านงานศิลปะ ผลงานที่สร้างสรรค์อย่าง

จรงิใจของผูร้บัการบำบดัมกัมคีณุคา่ในเชงิศลิปะแฝงอยู ่ และผลงาน

บางชิ้นยังมีคุณค่าในเชิงทัศนศิลป์ และสุนทรียศาสตร์เพิ่มอีกด้วย

Page 42: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�1สถาบันราชานุกูล

ในทางกลับกัน การเรียนรู้ศิลปะ การศึกษางานศิลปะ

การประเมินผลงานศิลปะ บางครั้งก็ช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียด

และบรรเทาอาการคับข้องใจบางอย่างด้วย

การเรยีนศลิปะ สะทอ้นใหเ้หน็ถงึวถิชีวีติ พืน้ฐานของแตล่ะคน

เห็นความบกพร่องบางอย่าง ผู้สอนก็สามารถช่วยเติมเต็มได้เช่นกัน

ผลงานทางศลิปะ ของศลิปนิทีม่ ี

ชือ่เสียงบางท่าน ก็สามารถสะทอ้นใหเ้หน็

ถงึสภาพจติใจในสว่นลกึไดด้ว้ยเชน่กนั เชน่

ผลงานของวินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent

van Gogh) เมื่อนำมาวิเคราะห์ ก็สะท้อน

ให้เห็นถึงสภาพความทุกข์ระทม ความ

เจ็บป่วยทางจิตใจของเขา

ในขณะที่ “ศิลปะบำบัด” และ

“ศิลปศึกษา” มีความแตกต่างกัน มี

วัตถุประสงค์และจุดเน้นที่แตกต่างกัน แต่ก็

ยังมีบางส่วนที่เหลื่อมซ้อนกันอยู่ สามารถ

เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ด้วยเช่นกัน

ผลงานศิลปะของ

วินเซนต ์แวนโก๊ะ

Page 43: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ศิลปะบำบัด (art therapy) ไม่ใช่ศาสตร์แขนงใหม่ พบว่า

มีประวัติการพัฒนามายาวนานพอสมควร เมื่อย้อนกลับไปในอดีต

ปี พ.ศ. 2403 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ได้เขียน

ไว้ในบันทึกการพยาบาลว่า “ดอกไม้สีสันสดใส และศิลปกรรมอัน

งดงามจะช่วยฟื้นฟูคนไข้ให้หายเร็วขึ้น”

ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา จิตแพทย์เริ่มให้ความ

สนใจกับผลงานทางศิลปะที่ผู้ป่วยทางจิตสร้างสรรค์ขึ้นมา และเริ่ม

ประยุกต์ใช้ศิลปะบำบัดเข้าร่วมกับการรักษาแบบดั้งเดิม

ในช่วงเวลาเดียวกัน เริ่มสังเกตว่า การแสดงออกทางศิลปะ

ของเด็กมีส่วนเกี่ยวพันกับพัฒนาการทางอารมณ์และการรับรู้ และเริ่ม

มีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบต่อมา

พ.ศ. 2468 นายแพทย์ Nolan D.C. Lewis จิตแพทย ์

และนักจิตวิเคราะห์ เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเกี่ยวกับศิลปะบำบัด

โดยใช้ภาพวาดเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารอารมณ์และความรู้สึก

แทนการใช้คำพูด

พ.ศ. 2493 แพทยห์ญงิ Margaret Naumburg เปน็จติแพทย ์

คนแรกที่บัญญัติศัพท์คำว่า “art therapy” หรือ “ศิลปะบำบัด” และ

มีผลงานวิจัย ตำราด้านศิลปะบำบัดจำนวนมาก โดยนำศิลปะมา

ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และการทำจิตบำบัด นำจิตวิเคราะห์

แบบดั้งเดิมมาเป็นพื้นฐานการแสดงออกทางศิลปะ เพื่อเป็นตัวกระตุ้น

ไปสู่การแสดงออกของความขัดแย้งภายในจิตใจ

พ.ศ. 2514 Edith Kramer ศิลปินซึ่งเป็นนักศิลปะบำบัด

ได้เสนอแนวคิดที่แตกต่างจากจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด ในหลักการ

ประวัต ิศิลปะบำบัด

Page 44: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

ปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการทางศิลปะเป็นเอกเทศว่า

“ให้ผลการบำบัดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาด้านจิตวิเคราะห์” ใช้คำว่า “art

as therapy” แทนคำว่า “art therapy” เป็นการประกาศชัดเจนว่า

“ศิลปะเป็นการบำบัด ไม่ใช่เครื่องมือที่นำไปใช้ในการทำจิตบำบัด”

ดังนั้นศิลปะบำบัดจึงเริ่มต้นจากแนวคิดที่แตกต่างกัน 2 สาย

ขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ว่ามีพื้นฐานมาจากสายศาสตร์หรือสายศิลป์ เป็น

จติแพทยห์รือศิลปิน แต่ในปัจจุบันก็สามารถผสมผสานกันได้ในที่สุด

นับเป็นวิธีการบำบัดทางเลือก ที่เสริมเข้ามาในรูปแบบต่างๆ ที่มี

เป้าหมายเพื่อบำบัดรักษา เยียวยาจิตใจผู้ป่วย และเริ่มมีงานวิจัยที่

สนับสนุนผลสำเร็จของศิลปะบำบัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สตาริคอฟฟ์และทีมงาน ทำการวิจัยที่สถาบันวิจัยมะเร็งแห่ง

หนึ่งในสหราชอาณาจักร กับกลุ่มคนไข้มะเร็งที่ต้องรับเคมีบำบัด

ซึ่งจำนวนมากมีความวิตกกังวลในวิธีการรักษา ผลการรักษา และผล

ข้างเคียงที่ตามมา

โดยการแบ่งคนไข้โรคมะเร็งออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกให้

ฟังดนตรีเบาๆ ในระหว่างการทำเคมีบำบัด กลุ่มที่สองทำเคมีบำบัด

ในห้องที่ประดับด้วยภาพศิลป์แขวนผนังที่เปลี่ยนไปทุกสัปดาห์ และ

กลุ่มที่สามให้การบำบัดในหอผู้ป่วยปกติที่ไม่มีดนตรีหรือศิลปะใดๆ

พบว่าคนไข้ในสองกลุ่มแรกมีความเครียดและวิตกกังวลน้อยกว่าคนไข้

ในกลุ่มที่สาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ดนตรีและศิลปะนั้นดีต่อการ

บำบัดความเครียดของคนไข้ และยังพบว่าดนตรีได้ผลดีกว่าภาพศิลปะ

อีกด้วย

พบว่าลักษณะทางสถาปัตยกรรมส่งผลต่อระยะเวลาการฟื้น

ตัวของผู้ป่วย โดยวิจัยในผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำด ีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ครึ่งหนึ่ง

พักฟื้นในห้องที่มองเห็นต้นไม้ อีกครึ่งพักฟื้นในห้องที่มองเห็นแต่

Page 45: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

กำแพงอิฐ พบว่าผู้ป่วยที่พักฟื้นในห้องที่มองเห็นต้นไม้ใช้ยาระงับ

อาการปวดน้อยกว่า และสามารถกลับบ้านได้ก่อน

โรงพยาบาลเชลซีและเวสต์มินสเตอร์ แห่งลอนดอน ประดับ

ประดาด้วยภาพศิลปะ และผลงานประติมากรรมของศิลปินผู้มีชื่อเสียง

มากมาย มีเสียงดนตรีขับกล่อมตลอดทั้งวัน แสดงให้เห็นถึงการใช้

ศิลปกรรมและดนตรี เป็นกลยุทธ์สำคัญในการเยียวยาผู้ป่วย

ยังพบอีกว่าการฟังเพลงเบาๆ ในช่วงเวลาสัก 30 นาทีก่อน

คลอด จะช่วยให้คุณแม่คลอดลูกง่ายและคลายความกังวลใจในขณะ

คลอดลูกได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมีการผ่อนคลายความเครียดด้วยศิลปะและ

เสียงเพลง โดยนำไปใช้กับงานศัลยกรรมออร์โทพีดิกส์ ซึ่งคนไข้ที่ได้

รับการผ่าตัดกระดูกต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 10-14 วัน

นักวิจัยได้ให้คนไข้ฟังเพลงและแขวนรูปภาพสวยๆ ไว้บนผนัง โดย

สบัเปลีย่นรปูภาพเสมอ พบวา่คนไขม้คีวามตอ้งการยาระงบัปวดนอ้ยลง

และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง

โรงพยาบาลเชลซีและเวสต์มินสเตอร์

Page 46: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

การแพร่หลายของศิลปะบำบัด ในระดับโลกยังมีไม่มากเท่า

ที่ควร พบมากที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร และ

สหรัฐอเมริกา ส่วนในภูมิภาคเอเซีย ก็พบว่าญี่ปุ่น และเกาหลี มีความ

สนใจเรื่องนี้

การแพรห่ลายในประเทศไทยยงัมไีมม่ากนกั เนือ่งจากยงัไมมี่

หลักสูตรการเรียนการสอนโดยตรง และนักศิลปะบำบัด ผู้เชี่ยวชาญ

ที่จบสาขานี้โดยตรงก็ยังมีน้อยมาก

ในปัจจุบัน บางโรงพยาบาลมีการนำดนตรีมาใช้ในการขับ

กล่อมผู้ป่วยและญาติ ในระหว่างรอตรวจหรือรอรับยา เพื่อผ่อนคลาย

ความตึงเครียด ซึ่งมีทั้งรูปแบบการเปิดเทป หรือการแสดงสดของนัก

ดนตรี มีทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี และ

ในอนาคตคาดว่าจะพัฒนาไปสู่การนำไปใช้เพื่อการบำบัด ลดความ

เจ็บปวด ช่วยลดการใช้ยาระงับปวดลง ลดระยะเวลาพักฟื้นในโรง

พยาบาลหลังการผ่าตัดลง เป็นต้น

ในปัจจุบัน ศิลปะบำบัด มีการนำมาใช้ในกลุ่มบุคคลที่มี

ความตอ้งการพเิศษ กลุม่บกพรอ่งทางพฒันาการ สตปิญัญา ออทสิตกิ

และในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ พฤติกรรม เพิ่มขึ้น

รวดเร็วกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากสามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนา

การด้านต่างๆ บรรเทาปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรม

ได้เป็นอย่างดี

การใช้ดนตรีขับกล่อม

ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

Page 47: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�6

ก้าวต่อไปในอนาคตสำหรับประเทศไทย คือ การพัฒนา

หลกัสตูรการฝกึอบรมดา้นศลิปะบำบดั เพือ่สรา้งนกัวชิาชพีดา้นศลิปะ

บำบัดที่มีคุณภาพและเพียงพอ สามารถตอบสนองต่อความต้องการ

ที่เพิ่มมากขึ้น และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

ศิลปะบำบัดสำหรับ

ผู้บกพร่องทางพัฒนาการ

และสติปัญญา

Page 48: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�7สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด (art therapy) คือ การบำบัดรักษาทางจิตเวช

รูปแบบหนึ่ง ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง

ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยใช้ความรู้

เกี่ยวกับการประเมินทางจิตวิทยา เพื่อเปิดประตูเข้าสู่จิตใจในระดับ

จิตไร้สำนึก และเลือกใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการ

บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้น

จากแนวคิดที่ว่า ศิลปะ คือ หนทางแห่งการปลดปล่อย

อารมณ ์ ความรู้สึก ความคิด ตามความต้องการของแต่ละคน เด็กก็

เช่นกัน พวกเขาต้องการ สิทธิ เสรีภาพ ที่จะแสดงออกซึ่ง ความ

ต้องการของเขาอย่างมีความสุข พวกเขาต้องการโอกาสที่จะพัฒนา

ศักยภาพของตัวเขาเองในด้าน การเรียน การเล่น และการแสดงออก

ต่างๆ

ศลิปะบำบดั มปีระโยชนใ์นดา้นการพฒันาอารมณ ์สตปิญัญา

สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็น

เครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคม

อีกด้วย

ศิลปะบำบัด เป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์เสริมและทาง

เลือก (complementary and alternative medicine) ที่เน้นการดูแล

สุขภาพแบบองค์รวม นำมาเสริมในการดูแลรักษาแนวทางหลักให้มี

ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกันเป็นทีม

ระหว่างนักศิลปะบำบัดกับแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่ใช่รูปแบบการ

บำบัดรักษาที่สามารถแยกเป็นอิสระได้ ต้องทำไปควบคู่กัน

แนวคิดทางศิลปะบำบัด

Page 49: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ศิลปะบำบัด ยังนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำจิตบำบัด

(psychotherapy) ที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อช่วยเหลือบุคคล

ที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ซึ่งหลักการของศิลปะบำบัด คือใช้

ศิลปะเป็นสื่อในการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความขัดแย้ง และ

ความต้องการ ที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจ

การแสดงออกทางผลงานศลิปะ ไมว่า่จะเปน็ลายเสน้ ส ีรปูทรง

สัญลักษณ ์ อารมณ ์ ความหมาย ที่สื่อออกมาทั้งหมดสามารถนำมา

วิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร หรือสภาพจิต

มีปัญหาอย่างไร

การประเมินผลการบำบัดรักษาด้วยศิลปะบำบัด เน้นที่

กระบวนการ และกจิกรรมทางศลิปะ ไมไ่ดเ้นน้ทีผ่ลงานหรอืคณุคา่

ทางศิลปะ

ศิลปะบำบัด ประกอบด้วยรูปแบบกิจกรรมทางศิลปะที่มี

ความหลากหลาย ซึ่งครอบคลุมถึง

1) ทัศนศิลป์ (visual arts)

ได้แก่ การวาด, ระบายสี, การปั้น, การแกะสลัก, การ

ถัก, การทอ, การประดิษฐ์ ฯลฯ

2) ดนตรี (music) ได้แก่ การเล่นดนตรี ร้องเพลง และ

กิจกรรมทางดนตรี

3) การแสดง (drama)

ได้แก่ การแสดง การละคร และการเคลื่อนไหวร่างกาย

4) วรรณกรรม (literature)

ได้แก่ บทกวี นิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ

ศิลปะบำบัดมีรูปแบบแตกต่างกันไปในผู้รับการบำบัดแต่ละ

คนที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกัน เทคนิคที่ใช้ เช่น ปั้นดิน วาดภาพ

Page 50: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

ระบายสี ถักทอ กิจกรรมทางดนตรี เล่นละคร หรือบทบาทสมมติ

โดยนักศิลปะบำบัดจะพิจารณาเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละ

บุคคลการเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และรูปแบบที่หลากหลายเหล่านี้

เพื่อเป็นทางเลือกที่จะระบายความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจตนเอง และ

จัดการกับความรู้สึกได้ตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการบำบัด

แต่ละคน

ขั้นตอนหลักในการทำศิลปะบำบัดมีการแบ่งอยู่หลายแบบ

ผู้เขียนได้รวบรวมสรุป และเทียบเคียงกับขั้นตอนการทำจิตบำบัด

แบ่งเป็นขั้นตอนหลัก “4 E” ดังนี้

1) Established rapport (สร้างสัมพันธภาพ) เป็นขั้นแรก

ของการบำบัด สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับการบำบัด

ซึ่งรวมถึงการประเมินสภาพปัญหา และวางแผนการบำบัดรักษาด้วย

2) Exploration (คน้หาปญัหา) เปน็ขัน้ของการสำรวจ คน้หา

วิเคราะห์ปมปัญหา ความขัดแย้งภายในส่วนลึกของจิตใจ

สื่อที่มีโครงสร้าง (structure

media) เช่น ดินสอ สีไม้ สีเทียน

ใช้สำหรับการสร้างสัมพันธภาพระหว่าง

ผู้บำบัดกับผู้รับการบำบัด ใช้แทนการ

สื่อสารด้วยถ้อยคำ

สือ่ทีย่ดืหยุน่ได ้(loose media)

เช่น สีน้ำ ดินน้ำมัน ใช้ลดความ

ตึงเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ และระบาย

ความรู้สึกนึกคิดออกมาอย่างอิสระ

รูปสื่อที่มีโครงสร้าง

รูปสื่อที่ยืดหยุ่นได้

Page 51: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�0

3) Experiencing (ทบทวนประสบการณ)์ เปน็ขัน้การบำบดั

โดยดึงประสบการณ์แห่งปัญหาขึ้นมาจัดเรียง ปรับเปลี่ยน แก้ไขใหม่

ในมุมมองและสภาวะใหม่

4) Empowerment (เสริมสร้างพลังใจ) เป็นขั้นสุดท้ายของ

การบำบัด โดยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และให้โอกาสแห่ง

การเปลี่ยนแปลง

เทคนิคสำคัญที่นำมาใช้ในกระบวนการทางศิลปะบำบัด

คือ การสนับสนุน เสริมสร้างกำลังใจ (supportive) และการตีความ

หมายที่ซ้อนเร้นภายในจิตใจ (interpretation)

การสนบัสนนุ เสรมิสรา้งกำลงัใจ ทำไดโ้ดยใหค้วามสนใจ

ใหก้ำลงัใจ และการชมเชยเมือ่ทำไดส้ำเรจ็หรอืพยายามเพิม่ขึน้ ภายใต้

สิ่งแวดล้อมที่สงบ ปลอดภัย และท่าทีเป็นมิตร

การตีความหมายที่ซ้อนเร้นภายในจิตใจ ทำได้โดย

การตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เห็น สีที่ใช้ ภาพที่วาด เพื่อให้เกิดความ

เข้าใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น

นกัศลิปะบำบดัจะทำงานรว่มกบัจติแพทย ์ และนกัจติวทิยา

เป็นทีมงานเดียวกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้รับการ

บำบัด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถเล่าถึงความคับข้องใจของตน หรืออาจ

ไม่รู้ตัวว่ามีปัญหาเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก

ในการทำศิลปะบำบัดทุกครั้ง ควรมีการบันทึกให้เห็น

ถึงกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงบันทึกการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรม อารมณ์ และข้อสังเกตต่างๆ ลงในแฟ้มประวัติผู้ป่วย

เพื่อวางแผนร่วมกับทีมงานที่ให้การบำบัดรักษา และกำหนดแนวทาง

ในครั้งต่อไป

Page 52: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�1สถาบันราชานุกูล

เมื่อสิ้นสุดการบำบัดแล้ว จะทำอย่างไรกับผลงานทาง

ศิลปะที่เกิดขึ้นระหว่างการบำบัด ซึ่งผู้ที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุดคือผู้ที่

รับการบำบัดนั่นเอง

ผลงานจากศิลปะบำบัด

Page 53: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ศิลปะบำบัด มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลของชีวิต ช่วยบรรเทา

ปัญหา เยียวยาจิตใจ และเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินชีวิตในด้าน

ต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ สังคม และ

สุนทรียศาสตร์ ไปพร้อมๆ กัน โดยถ่วงน้ำหนักให้แตกต่างกันตาม

สภาพปัญหาของแต่ละคน

ศิลปะบำบัด มีประโยชน์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่

ต้องการ และกลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้

ศิลปะบำบัด ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ขจัดความขัดแย้ง

ภายในส่วนลึกของจิตใจ ช่วยให้มีระดับอารมณ์คงที่ดีขึ้น ไม่ฉุนเฉียว

หรือโศกเศร้ามากนัก สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้นเมื่อ

มีสิ่งกระตุ้นต่างๆ เข้ามากระทบ

การนำศิลปะบำบัดมาใช้ในการเยียวยาจิตใจ จะช่วยให้ผู้ที่มี

ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ ได้ระบายอารมณ์ ความคับข้องใจ

ความรู้สึกที่ซ่อนเร้นภายในใจ ผ่านออกมาทางงานศิลปะ ระบาย

อารมณ์ออกมาในหนทางที่สร้างสรรค์ ผ่านการวาดรูป ระบายสี การ

ปั้น และกระบวนการอื่นๆ ทางศิลปะ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความ

ขุ่นมัวในจิตใจ เข้าใจและรับรู้อารมณ์ต่างๆ ของตนเอง ที่ซ่อนเร้นอยู่

ภายในจิตใจ สามารถยับยั้งและควบคุมได้ดีขึ้น มีสมาธ ิ ลดความ

ตึงเครียด และความวิตกกังวลลงได้ในที่สุด

ประโยชน์ของศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด เยียวยาจิตใจ

Page 54: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ช่วยตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ

ทีจ่ะเคลือ่นไหวสว่นตา่งๆ ของรา่งกาย ชว่ยพฒันากลา้มเนือ้มดัเลก็

ให้สามารถทำกิจกรรมที่ละเอียด มีความซับซ้อนมากขึ้น ช่วยให้มี

การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว และ

ช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ในผู้ที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา จะได้

ประโยชน์จากศิลปะบำบัดในด้านนี้มาก โดยเฉพาะกลุ่มสมองพิการ

หรือ ซีพี (cerebral palsy) ซึ่งมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อมัดใหญ ่ และ

กลุ่มแอสเพอร์เกอร์ (asperger’s syndrome) ซึ่งมีปัญหาเรื่องกล้าม

เนื้อมัดเล็กร่วมด้วย

การวาดลายเส้น การปั้น การถักทอ ช่วยให้สามารถควบคุม

ทศิทางการเคลือ่นไหวของกลา้มเนือ้ และกะนำ้หนกัการออกแรงไดด้ขีึน้

ก็จะช่วยลดการปะทะลงได้ เมื่อมีอารมณ์ฉุนเฉียว

ศิลปะบำบัด ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านการสื่อสาร เนื่องจาก

ศิลปะเป็นภาษาสากลที่สามารถเข้าใจตรงกันได้ แม้จะใช้ภาษาพูด

แตกต่างกัน เด็กสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept) ในเรื่อง

ต่างๆ ผ่านทางศิลปะได้เร็ว

นอกจากนี้ยังสามารถใช้การสร้างสรรค์งานศิลปะ แสดงออก

ให้เห็นถึงความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน

จิตใจได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เข้าใจตนเองได้ดีขึ้น และยังช่วยสื่อสารให้

เกิดความเข้าใจในกระบวนการทำจิตบำบัดได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ศิลปะบำบัดเสริมสร้างทักษะการสื่อสารการเคลื่อนไหว

ศิลปะบำบัดเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร

Page 55: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

ศิลปะบำบัด ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิดของตนเอง และ

เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มีทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีทักษะ

การแก้ปัญหาที่เหมาะสม สามารถปรับตัวในสังคมได้อย่างเหมาะสม

ศิลปะบำบัดแบบกลุ่มเป็นการเปิดโอกาสให้มีการทำกิจกรรม

ร่วมกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มเรียนรู้การทำกิจกรรม

ร่วมกัน รู้จักการรอคอย ผลัดกันทำกิจกรรม เรียนรู้การช่วยเหลือ

ซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ให้การยอมรับผู้อื่น และได้รับการยอมรับ

จากผู้อื่น

ศิลปะบำบัดเสริมสร้างทักษะสังคม

Page 56: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย ในทุกเพศ ทุกวัย

ทุกระดับความสามารถ แม้ว่าจะยังไม่มีภาษา ยังพูดไม่ได้ หรือ

เคลื่อนไหวไม่คล่อง ก็สามารถเรียนรู้ได้ผ่านงานศิลปะ

นอกจากนี้ศิลปะยังช่วยลดความคับข้องใจ ระบายอารมณ์

ออกมาในหนทางทีส่รา้งสรรค ์ รวมถงึการลดพฤตกิรรมกา้วรา้วรนุแรง

อีกด้วย

เนื่องจากศิลปะบำบัด เป็นแนวทางการบำบัดทางเลือกที่มี

ความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกระดับ ตามปัจจัย

ความพร้อมด้านบุคลากรเป็นสำคัญ ขยายผลได้รวดเร็ว ทันต่อความ

ต้องการเร่งด่วนที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

เป็นจำนวนมาก

ศิลปะบำบัด สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม

พื้นบ้าน มาประยุกต์ใช้ได้อย่างกลมกลืนตามสภาพพื้นที่อีกด้วย

เป็นการนำศาสตร์หลายแขนงมาบูรณาการ และมีการวางแผนการ

บำบัดรักษา เพื่อให้สอดคล้องตอบสนองต่อสภาพปัญหาของแต่ละ

บุคคลที่แตกต่างกัน

การปยุกต์ใช้ศิลปะบำบัด

การประยุกต์ศิลป

หัตถกรรมในโปรแกรม

ศิลปะบำบัด

Page 57: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�6

ศิลปะบำบัดในผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา

มีการนำศิลปะบำบัดมาประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้บกพร่องทาง

พัฒนาการและสติปัญญาด้วยเช่นกัน พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

สามารถเสริมสร้างพัฒนาการ และช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านอารมณ์

จิตใจ และพฤติกรรม ดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ได้เต็มที่ยิ่งขึ้น

Musick พบว่าเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา จะมีพัฒนาการ

ด้านความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถพัฒนาได้ และช่วยส่งเสริมให้

พัฒนาการด้านอื่นๆ ดีขึ้นด้วย โดยศึกษาการใช้โปรแกรมศิลปะบำบัด

แบบเข้มข้น ในเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 8 คน เป็นเวลา

2 ภาคเรียน พบว่าระดับพัฒนาการด้านการขีดเขียน (graphic

developmental level) เพิ่มขึ้นจาก 5 เดือน เป็น 33 เดือน

Silver พบว่าศิลปะเป็นเสมือนภาษาที่สอง ของกลุ่มเด็กที่มี

ความบกพร่องในการสื่อสาร และการเรียนรู้ เด็กสามารถเรียนรู้ความ

คิดรวบยอด (concept) ผ่านทางศิลปะได้เร็วกว่าวิธีการสื่อสารหลัก

และสามารถใช้งานศิลปะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เขารู้และสิ่งที่เขาคิด

ดังนั้นศิลปะจึงนำไปสู่เป้าหมายในการบำบัดได้ดี

มีการนำศิลปะบำบัดมาประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยจิตเวช ทั้งช่วยใน

การวิเคราะห์ปัญหา และบำบัดรักษา พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

การให้ผู้ป่วยจิตเวชวาดภาพหรือระบายสี เป็นวิธีการสื่อสาร

ที่เข้าถึงจิตใจผู้ป่วยได้ดีวิธีหนึ่ง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถระบาย

อารมณ ์ความรู้สึก และจินตนาการออกมาอย่างอิสระ สามารถจัดการ

กับความคับข้องใจได้ดีขึ้น เนื้อหาของภาพที่วาด สามารถโยงไปถึง

ความสนใจ ความต้องการ หรือเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตผู้ป่วยได้

ศิลปะบำบัดในผู้ปว่ยจิตเวช

Page 58: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

�7สถาบันราชานุกูล

ผู้เขียนและอาจารย์สมจิตร ไกรศรี ได้ร่วมพัฒนา “โปรแกรม

ศิลปกรรมบำบัด สถาบันราชานุกูล” สำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการ

และสติปัญญา ช่วงอายุ 15-25 ปี โดยจัดเป็นโปรแกรมกลุ่ม รูปแบบ

โรงพยาบาลกลางวัน สัปดาห์ละ 4 ครั้งๆ ละ 6 ชั่วโมง ซึ่งประกอบ

ด้วย ฐานกิจกรรมศิลปะ 6 ฐาน คือ วาดรูป ระบายสี ปั้น ประดิษฐ์

ถักทอ และบาติก เสริมด้วยกิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมเสริม

ประสบการณ์พิเศษ ในรูปแบบบูรณาการ พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

สามารถลดระดับความรุนแรงของอารมณ์ลง ลดพฤติกรรมก้าวร้าว

เสริมสร้างสมาธิ และพัฒนาทักษะสังคม

โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด

สถาบันราชานุกูล

Page 59: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��

มีการนำศิลปะบำบัดมาประยุกต์ใช้ในผู้ประสบภัยพิบัติ

ประเภทต่างๆ พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ในป ีพ.ศ. 2548 มกีารจดักจิกรรมศลิปะบำบดั ในผูป้ระสบภยั

สึนามิ ณ โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม จ.พังงา โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธาน ี ร่วมกับองค์กร

ดวงประทีปแห่งตะวันออก ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

จัดกิจกรรม 20 วันๆ ละ 45 นาที ซึ่งประกอบด้วย การร้องเพลงและ

เต้นรำ การวาดภาพระบายสีอิสระ การประดิษฐ์ตุ๊กตากังวล สนทนา

กับความกังวลของคุณ การทำธงผ้าไหมแห่งชุมชนของเรา จิตรกรรม

ฝาผนังสร้างสรรค์หมู่บ้านร่วมกัน สร้างสรรค์รังไหม วัตถุมีค่า การพับ

นกกระเรียน นกแห่งความหวัง และศิลปะการเคลื่อนไหว นอกจากนี้

ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานปิดท้ายด้วย พบว่ากิจกรรมได้ผล

ในเชิงบวก และมีการสรุปบทเรียนสำหรับอนาคตด้วย

มีการจัดกิจกรรมศิลปะบำบัด ในผู้ประสบภัยพายุเฮอริเคน

แคทรินา ณ เมืองบาตองรูจ รัฐหลุยเซียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา

ช่วยบำบัดโรคเครียดในเด็กหลังเกิดมหันตภัยได้ เนื่องจากต้อง

พลัดพรากจากพ่อแม่ เพื่อนฝูง บ้าน และโรงเรียน

ศิลปะบำบัดในผู้ประสบภัยพิบัติ

ผลงานศิลปะเด็ก

ที่ประสบภัยสึนามึ

Page 60: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

��สถาบันราชานุกูล

มีการนำโปรแกรมศิลปะบำบัดไปใช้ในกลุ่มวัยรุ่นที่ก่อคด ี

หรือก่อความรุนแรง พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

โดยโปรแกรมเน้นที่การเตรียมความพร้อมทางทักษะสังคม

(pro-social behavior) ให้รู้จักทำงานร่วมกัน แก้ไขปัญหาร่วมกัน

ผ่านกิจกรรมทางศิลปะ เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร โดยแสดงความ

คิด ระบายความรู้สึก ผ่านงานศิลปะ เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ เชื่อม

สัมพันธภาพซึ่งกันและกัน เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน สร้างเครื่องมือ

ใหม่ในการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งเสริมสร้างความภาคภูมิใจ และให้

โอกาสในการเปลี่ยนแปลง

ศิลปะบำบัดในผู้มีปัญหาพฤติกรรม

Page 61: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

60

เจน วราหะ. ศิลปกรรมบำบัด. สารคดี. 2545; 182 (10). ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, บรรณาธิการ. ศิลปะเด็กพิเศษ art for all. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2542. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, บรรณาธิการ. ศิลป์: ยิน ยล สัมผัส. กรุงเทพฯ: ฟอร์แมท แอสโซซิเอทส์, 2544. ชาธิป สุวรรณทอง. 2002, May 4. ศิลปะบำบัด (Online). Available URL: http://www.bangkokbiznews.com ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. 2007, Jan 6. พัฒนาการเด็ก (Online). Available URL: http://www.happyhomeclinic.com ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา และสมจิตร ไกรศรี. โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2550. พริ้มเพรา ดิษยวณิช. การวาดภาพเพื่อการประเมินและการรักษา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2544. มาลิยา กองสุข. ศิลปกรรมบำบัด ณ โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2549; 275-276. ราชบัณฑิตยสถาน, สำนัก. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์, 2546; 1101-1102. เลิศศิริร์ บวรกิตติ, เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, วรรณะ อูนากูล, Longo JA, Garcia B, Tupper H. ศิลปกรรมบำบัด: ความสังเขป. วารสาร วิชาการสาธารณสุข. 2548; 14 (6): 1051-1054. วศมนตร์ ทรัพย์สินชัย และมัทธนี ปราโมทย์เมือง. กิจกรรมทางศิลปะเพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิง ปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ศิลปะเพื่อการบำบัด. สถาบันราชานุกูล. 2548.

บรรณานุกรม

Page 62: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

61สถาบันราชานุกูล

อัศนี ชูอรุณ, เลิศศิริร์ บวรกิตติ และสมชัย บวรกิตติ. ศัพท์สับสน: ศิลปะ บำบัด หรือ ศิลปกรรมบำบัด. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 2548; 30 (3): 875. อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย, เลิศศิริร์ บวรกิตติ. ศิลปกรรมบำบัด. ธรรมศาสตร์ เวชสาร. 2549; 6: 243-7. Cattanach A, editor. Process in the arts therapies. London: Jessica Kingsley, 1999. Edwards D. Art therapy. London: SAGE publications, 2004. Malchiodi CA. Understanding children’s drawings. New York: The Guilford Press, 1998. Malchiodi CA, editor. Medical art therapy with children. London: Jessica Kingsley, 1999. Rosal M. Art therapy with children. Abbeygate Press: Isle of Palms, SC,1995.

Page 63: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

สถาบันราชานุกูล

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

6�

นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น (Child & Adolescent Psychiatrist)

วุฒิการศึกษา

óแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ó วุฒิบัตร แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ) óหนังสืออนุมัต ิแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา óประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาจิตเวชศาสตร์ (จุฬาฯ)

การปฏิบัติงานในปัจจุบัน

óนายแพทย ์8 สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต óรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและสิทธิประโยชน์ óประธานคณะกรรมการพัฒนาออทิสติก

óประธานโครงการสง่เสรมิและพฒันาเดก็ออทสิตกิทีม่คีวามสามารถพเิศษ

óหัวหน้ากลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ

óหัวหน้าศูนย์ฝึกอาชีพบางพูน

ó ผู้อำนวยการคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น แฮปปี้โฮม ó ผู้อำนวยการสมาร์ท ดี แคมป์ ค่ายค้นหาแววอัจฉริยะ ó แพทย์ที่ปรึกษาด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ร.พ.กรุงเทพคริสเตียน ร.พ.ไทยนครินทร ์และ ร.พ.ศรีสยาม

ó แพทย์ที่ปรึกษางานสุขภาพจิตโรงเรียน โรงเรียนทิวไผ่งาม ó เว็บมาสเตอร ์http://www.happyhomeclinic.com ó เว็บมาสเตอร ์http://www.smartdcamp.com

ประวัติผู้เขียน

Page 64: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด

6�สถาบันราชานุกูล

ผลงานด้านหนังสือ

óทวีศักดิ ์สิริรัตน์เรขา. คู่มือออทิสติก สำหรับผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2548.

óทวีศักดิ ์สิริรัตน์เรขา. แนวทางการดูแล ออทิสติก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

คุรุสภาลาดพร้าว, 2548.

óทวีศักดิ ์สิริรัตน์เรขา. ออทิสติกกับความสามารถพิเศษ. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2548.

óทวศีกัดิ ์สริริตันเ์รขา. การเลน่เพือ่การเรยีนรู ้ในเดก็ออทสิตกิ. กรงุเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2549.

óทวีศักดิ ์สิริรัตน์เรขา และสมจิตร ไกรศรี. โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด

สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2550.

ข้อมูลการติดต่อ

óสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต 4737 ถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 0-2245-4601-5

óE-mail: [email protected]

Page 65: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด · ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่า

โดย... นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

เด็กมีความพิเศษแตกต่างกัน

ย่อมต้องการทางเลือกที่หลากหลาย

แต่มีเป้าหมายเดียวกัน

การบำบัดทางเลือก

ในเด็กพิเศษ

แนะนำ หนังสือ