76

วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย าง ... · วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย างไรให

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอยางไรใหยั่งยืน

    ตีพิมพ: กันยายน 2016

    บทสรุปผูบริหาร

    บทที่ 1: เมื�อโลกกาวสูธุรกิจพลังงานชีวภาพอยางเต็มตัว

    บทที่ 2: จับตาธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) ภายใตสถานการณราคาน้ำมันตกต่ำ

    บทที่ 3: โรงไฟฟาชีวมวล (biomass power plant) ผูเลนสำคัญในธุรกิจโรงไฟฟาไทย

    บทที่ 4: เดินตามกระแสรักษโลกไปกับพลาสติกชีวภาพ (bioplastics)

    บทสงทาย

    อภิธานศัพท

    4

    618

    3650

    6971

    สมัครสมาชิกไดที่ www.scbeic.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ E-mail: [email protected]โทร: +662 544 2953

    @SCB_Thailand

    กาวทันสถานการณเศรษฐกิจ อัพเดททุกเทรนดธุรกิจ ใหทุกกาวยางของคุณเปนไปอยางชาญฉลาด

    งานวิเคราะหเจาะลึกหัวขอท่ีน�าสนใจโดยเสนอแงคิดและมุมมองระยะยาว

    วิเคราะหประเด็นรอนท่ีมีผลตอเศรษฐกิจและธุรกิจของไทย

    งานวิเคราะหแนวโนมตัวช้ีวัดหลักหรือสถานการณสำคัญท่ีมีผลตอเศรษฐกิจและธุรกิจ

    บริการแจงเตือนขาวสารและบทวิเคราะหใหม ๆ ผาน E-mail ของทานอานบทวิเคราะหยอนหลังภายในเว็บไซตไดท้ังหมด

    สิทธิประโยชนของสมาชิก

    บทวิเคราะหแบบกระชับเก่ียวกับสถานการณธุรกิจท่ีน�าสนใจ

    03

    04

  • ธุรกิจพลังงานชีวภาพมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก รวมถึงไทย โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระดับประเทศ กระแสรักษ์ โลกที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำาคัญต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ Insight ฉบับนี้นำาเสนอมุมมองโอกาสและ ความท้าทายทางด้านธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานชีวภาพในประเทศ ซึ่งประกอบด้วย 1) ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ 2) ธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล และ 3) ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ ทั้งนี้ อไีอซปีระเมนิวา่หากภาครฐัยงัคงใหก้ารสนบัสนนุอยา่งตอ่เนือ่ง จะช่วยให้การลงทุนในธุรกิจพลังงานชีวภาพของไทยอยู่ที่ราว 1.8-2.0 แสนล้านบาท ระหว่างปี 2016 ถึงปี 2020

    ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยสนบัสนุนจากนโยบายภาครฐั เหตผุลหลกัของการผลกัดนัการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างแก๊สโซฮอล์ หรือไบโอดีเซลของไทย เพื่อลดการพึ่งพาการนำาเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และสร้างความมั่นคงทางพลงังาน นอกจากนี ้เชือ้เพลงิชวีภาพผลติจากวตัถดุบิทางการเกษตรจะชว่ยใหเ้กษตรกรมทีางเลอืกในการจำาหน่ายผลผลติ และเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำามันที่ตกต่ำาจะเป็นความท้าทายที่สำาคัญของธุรกิจ รวมถึงความเสี่ยงจากความผันผวนของปริมาณและราคาสินค้าเกษตรท่ีเป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การแข่งขันจากต่างประเทศ และการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะกระทบต่อการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในระยะยาว แต่ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพยังมีโอกาสเติบโตได้สูงจากการพัฒนารถยนต์ที่สามารถใช้เอทานอล และไบโอดีเซลในอัตราส่วนที่สูงขึ้น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีคุณภาพสูง และการขยายตัวของสถานีบริการน้ำามัน E20 และ E85 ซึง่จะชว่ยผลกัดนัใหค้วามตอ้งการใชเ้ชือ้เพลงิชวีภาพเพิม่ขึน้ อย่างมากในอนาคต

    การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมีส่วนสำาคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศโดยลดการนำาเข้า ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าของไทยกว่า 60% พึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น ภาครัฐจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งหา

    4 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    บทสรุปผู้บริหาร

  • ได้ ในประเทศ อีกทั้งเพ่ิมมูลค่าให้กับเศษวัสดุของเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้งน้ี แม้ธุรกิจน้ียังมีความท้าทายเรื่องการบริหารจัดการตน้ทนุและปรมิาณของเชือ้เพลงิใหเ้พยีงพอกบัการผลติในระยะยาว แต่ยังมีโอกาสในการลงทุนซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ ทั้งในด้าน ความตอ้งการและทำาเลทีต่ัง้โรงไฟฟา้ รวมถงึนโยบายดา้นการเกษตร ที่สำาคัญต่อปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล

    ธุรกิจพลาสติกชีวภาพมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอิทธิพลของกระแสรักษ์ โลก การลดปัญหา สิง่แวดลอ้ม รวมถงึการเพิม่ทางเลอืกและมลูคา่ใหแ้กส่นิคา้เกษตร ปญัหาขยะพลาสตกิ และปญัหาการเปลีย่นแปลงสภาพภมูอิากาศได ้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทำาให้เทรนด์การบริโภคทั่วโลกเริ่ม เปลี่ยนไปยังผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมเพ่ือทดแทนพลาสติกทั่วไป ดังนั้น ธุรกิจพลาสติกของไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทั้งนี้ ไทยมศีกัยภาพทีจ่ะกา้วขึน้มาเปน็ศนูยก์ลางของธรุกจิพลาสตกิชวีภาพในอาเซยีนเพราะธรุกจินีม้คีวามพรอ้มตลอดหว่งโซอ่ปุทานตัง้แต่ต้นน้ำาถึงปลายน้ำา อีกทั้งพลาสติกชีวภาพจะช่วยให้วัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตรอยา่งมนัสำาปะหลงัและออ้ยมตีลาดรองรบัมากขึน้ รวมถงึสรา้งมลูคา่เพ่ิมใหก้บัสนิคา้เกษตรเหลา่น้ีได ้แมว้า่ธรุกจิพลาสตกิชวีภาพยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้ เช่น ต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง เทคโนโลยีการผลิตและคุณสมบัติของพลาสติกชวีภาพทีค่อ่นขา้งจำากดั รวมถงึความเสีย่งของราคาน้ำามันและสนิคา้เกษตร ซึง่สง่ผลตอ่ความสามารถในการแขง่ขนัของพลาสตกิชวีภาพ แต่แนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการร่วมมือสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะเป็นปัจจัยสำาคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจพลาสติกชีวภาพขยายตัว และเข้ามามีบทบาทสำาคัญในสังคมเพื่อทดแทนพลาสติกทั่วไปในอนาคต

    ธรุกจิพลงังานชวีภาพยงัตอ้งเผชญิกบัความทา้ทายสำาคญัดา้นความยั่งยืนของการผลิต ซึ่งปัจจุบันมีการใช้วัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตร ทับซ้อนระหว่างภาคอาหารและภาคพลังงาน มีการแข่งขันด้านราคากับพลังงานจากเชื้อเพลิงอื่นๆ และข้อสงสัยในประเด็นเรื่องความได้เปรียบทางด้านสิ่งแวดล้อมของพลังงานชีวภาพ เมื่อ เทยีบกับพลังงานทีผ่ลิตจากฟอสซลิ ดงันัน้ การลงทนุดา้นวจิยัและพฒันาตลอดหว่งโซเ่ปน็สิง่จำาเปน็อยา่งยิง่ทีจ่ะทำาใหธ้รุกจิพลงังานชีวภาพสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

    Economic Intelligence Center (EIC) 5

  • 1 ในบรบิทของ Insight ฉบบันี ้ธรุกจิพลงังานชวีภาพจะนบัรวมถงึ ธรุกจิเชือ้เพลงิชวีภาพ ธรุกจิโรงไฟฟา้ชวีมวล และธรุกจิพลาสตกิชวีภาพ เนือ่งจากสามารถใชท้ดแทนผลติภณัฑจ์ากปิโตรเลยีม

    ความกา้วหนา้ทางเทคโนโลยแีละปญัหาสิง่แวดลอ้มในหลายทศวรรษทีผ่า่นมาเปน็ปจัจยัที่ทำาให้ธุรกิจพลังงานชีวภาพเติบโตขึ้นทั่วโลก ธุรกิจพลังงานชีวภาพส่วนใหญ่ในที่น้ี หมายรวมถึงธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ ธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล และธุรกิจพลาสติกชีวภาพ1 ซึ่งเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้ง ยังส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งทำาให้เกิดการสร้างงานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพลังงานชีวภาพเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลังงานฟอสซิล การเปล่ียนแปลงของราคาน้ำามันโลกจึงมีผล กระทบต่อธุรกิจนี้ ดังนั้น หากเมื่อต้องเผชิญกับสภาวะที่ราคาน้ำามันอยู่ในระดับต่ำาเป็นเวลานานเช่นนี้ ธุรกิจพลังงานชีวภาพจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร?

    1เม่ือโลกก้าวสู่ธุรกิจพลังงานชีวภาพ

    อย่างเต็มตัว

  • ในช่วง 20 ปีท่ีผ่านมา ธุรกิจพลังงานชีวภาพในหลายประเทศท่ัวโลกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เน่ืองจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ตัวอย่างเช่น 1) มาตรการสนับสนุนการใช้เช้ือเพลิงในภาคการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการกำาหนดปริมาณการใช้เช้ือเพลิงชีวภาพข้ันต่ำาท่ีเพ่ิมข้ึนทุกปี (annual volume standard) หรือ การกำาหนดสัดส่วนการผสมเช้ือเพลิงชีวภาพและเช้ือเพลิงฟอสซิล (blending mandate) 2) มาตรการสนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลผ่านการรับซ้ือไฟฟ้าในราคาสูง อันเป็นแรงส่งสำาคัญให้การค้าเช้ือเพลิงชีวมวลในตลาดโลกเติบโต โดยปัจจุบันเช้ือเพลิงชีวมวลอัดเม็ดเป็นสินค้าท่ีมีการซ้ือขายท่ัวโลก และ 3) นโยบายสนับสนุนธุรกิจพลาสติกชีวภาพผ่านการวิจัยและการลงทุนของภาครัฐ ซ่ึงคาดว่าจะมีความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพเพ่ิมข้ึนกว่า 4 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า

    8 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg, Altenergymag, Market Research Media และ Jefferies Research

    ปริมาณการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกและอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR)

    หน่วย: พันล้านลิตร

    2010 2015

    302

    2020F

    12285

    การเติบโตของพลังงานชีวภาพได้รับแรงผลักดันจากมาตรการและนโยบายภาครัฐที่ต้องการลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียม1

  • Economic Intelligence Center (EIC) 9

    ชีวมวลอัดแท่งมีการซื้อขายอย่างกว้างขวางในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อผลิตความร้อนและไฟฟ้าเพิ่มขึ้น2

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (FAO) และ Poyry

    ปริมาณการผลิตชีวมวลอัดแท่งทั่วโลกและอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR)หน่วย: ล้านตัน

    ปริมาณการผลิตพลาสติกชีวภาพเติบโตขึ้นทั่วโลก ตามนโยบายเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบทางการเกษตร และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม3

    ที่มา: จากการคาดการณ์ของ ICIS

    ปริมาณการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกและอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR)

    หน่วย: พันตัน

    45

    30

    20

    2010 2015 2020F

    8,999

    2,0281,492

    2010 2015 2020F

  • ธรุกจิพลงังานชวีภาพเตบิโตอยา่งรวดเรว็ภายในระยะเวลาอนัสัน้ และในระยะยาวจะไดร้บัแรงผลักดนัจาก 3 ประเดน็หลัก ได้แก่ 1) ความกังวลต่อสิ่งแวดล้อม 2) ความมั่นคงด้านพลังงาน และ 3) ความต้องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า

    1. ความกงัวลดา้นสิง่แวดลอ้มโดยเฉพาะปรมิาณการปลอ่ยกา๊ซเรอืนกระจก และการกำาจัดของเสยีเปน็ปจัจยัผลกัดนัใหเ้กดิการลงทนุดา้นพลงังานชวีภาพทัว่โลก การใชเ้ชือ้เพลงิชวีภาพในการขนสง่และการใชช้วีมวลในการผลติไฟฟา้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้ง พลาสติกชีวภาพได้รับการยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผลิตจากวัสดุหมุนเวียนและพลาสติกชีวภาพบางชนิดสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งช่วยลดปัญหาด้านขยะพลาสติกได้

    10 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำากว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล4

    *Green house gas emission factor ใช้ ในการคำานวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเชื้อเพลิงแต่ละประเภทถูกเผาไหม้ที่มา: ข้อมูลของ US Energy Information Administration (US EIA)

    Greenhouse gas emisson factor* จากน้ำามันเชื้อเพลิงขนส่งแต่ละประเภท

    หน่วย: กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์/ลิตร

    2.7 2.6 2.5 2.4

    2.12.3

    2.1

    0.4

    B20

    B10

    B5B2ดีเซล

    E10

    เบนซ

    ิน

    E85

  • Economic Intelligence Center (EIC) 11

    การผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยของโรงไฟฟ้าชีวมวลปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล

    พลาสติกชีวภาพบางชนิดสามารถย่อยสลายได้ภายในหนึ่งปีขณะที่พลาสติกทั่วไปใช้เวลาหลายร้อยปี

    5

    6

    *ไม่รวมผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ UK Environmental Agency, World Nuclear Association และ US Environmental Protection Agency (US EPA)

    *ต้องอยู่ในสภาวะการย่อยสลายทางธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิท่ีเหมาะสมด้วยเช้ือจุลินทรีย์จากธรรมชาติท่ีมา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ New Hampshire Department of Environmental Services, Futurism และ ASTM International

    ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท

    เวลาที่ใช้ในการย่อยสลายของพลาสติกแต่ละประเภท

    หน่วย: กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เมกะวัตต์ชั่วโมง

    หน่วย: ปี

    0

    200

    400

    600

    800

    1,000

    1,200

    1,400

    1,600

    ถานหิน น้ํามัน กาซธรรมชาติ ชีวมวล*

    พลาสติกชีวภาพท่ีไดรับการรับรองมาตรฐานสากล*

    ถุงพลาสติก

    ขวดพลาสติก

    นอยกวา 1 ป

    10 – 20 ป

    200 – 1,000 ป

    เวลาท่ีใชในการยอยสลาย

  • 2. สำาหรับประเทศผู้นำาเข้าพลังงานสุทธิ (net energy importer) ความมั่นคงทางพลังงานเป็นแรงผลักดันที่สำาคัญต่อพลังงานชีวภาพ โดยผลิตผลทางการเกษตรจะถูกนำาไปใช้ ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและไฟฟ้า การใช้พลังงานชีวภาพนับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานหมุนเวียนในหลายประเทศ โดยการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลจะถูกใช้ร่วมกับพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และลม เพื่อลดการพึ่งพาการนำาเข้าจากต่างประเทศ

    การผลติเชือ้เพลงิชวีภาพในประเทศเพือ่บรโิภคเปน็วธิหีนึง่ทีช่ว่ยลดการนำาเข้าน้ำามนั เชน่ ทางรฐับาลบราซลิไดป้ระเมนิวา่โครงการ Próalcool ทีส่นบัสนนุใหม้กีารผลติและนำาเอทานอลมาใชเ้ปน็พลงังานหมนุเวยีนอยา่งจรงิจงัจะชว่ยลดการนำาเข้าน้ำามันและประหยัดต้นทุนด้านอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้ง ทำาให้บราซิลลดดอกเบี้ยจากหนี้ต่างประเทศได้กว่า 3.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกตัวอย่างหนึ่ง ทางกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ได้ประเมินว่าปี 2007 การผลิตเอทานอล 6.5 พันล้านแกลลอนเพื่อใช้ในประเทศ ช่วยลดการขาดดุลการค้าได้ถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    12 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    ประเทศนำาเข้าพลังงานสุทธิหลายประเทศกำาหนดเป้าหมายการใช้พลังงานชีวภาพเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน7

    ที่มา: ข้อมูลของ World Bank, US EPA และ The International Renewable Energy Agency (IRENA)

    สหราชอาณาจักรพลังงานนำเขา: 40%เปาหมายพลังงานชีวภาพ:- การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ 10% ภายในป 2020- กำลังผลิตติดตั้งไฟฟาจาก ชีวมวล 26 GW

    สหรัฐฯพลังงานนำเขา: 10%เปาหมายพลังงานชีวภาพ:การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ136 พันลานลิตร ภายในป 2022

    บราซิลพลังงานนำเขา: 14%เปาหมายพลังงานชีวภาพ:กำหนดสัดสวนผสมเชื้อเพลิงชีวภาพ E25 and B5

    อินเดียพลังงานนำเขา: 32%เปาหมายพลังงานชีวภาพ:- กำหนดสัดสวนผสมเชื้อเพลิงชีวภาพ E20 และ B20 ภายในป 2017- กำลังผลิตติดตั้งไฟฟาจากชีวมวล 5.9 GW

    จีนพลังงานนำเขา: 13%เปาหมายพลังงานชีวภาพ:- การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เอทานอล 10 ลานตัน และไบโอดีเซล 2 ลานตัน ภายในป 2020- กำลังผลิตติดตั้งไฟฟาจากชีวมวล 30 GW ภายในป 2020

    พลังงานนำเขา (% ของพลังงานที่ถูกนำมาใชทั้งหมด)

    -100.0 671.8

  • ความต้องการลดการพึ่ งพาน้ำ ามัน เชื้อเพลิงจากต่างประเทศเป็นสาเหตุสำาคัญที่ผลักดันให้เกิดธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกๆ ที่ เริ่มต้นใช้นโยบายเพ่ือสนับสนุนธุรกิจ เช้ือเพลิงชีวภาพ ผ่านการอุดหนุนเอทานอลที่ผลิตจากข้าวโพดเป็นเงิน 40 เซ็นต์/แกลลอน รวมถึงในบราซิลที่มีโครงการ Próalcool เพ่ือสนับสนุนการผลิตและพฒันาเชือ้เพลงิชวีภาพ นบัแตน่ัน้เปน็ตน้มาก็เริ่มเห็นอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก

    BOX: ราคาน้ำามันที่ผันผวนมีผลต่อธุรกิจพลังงานชีวภาพอย่างไร?

    ต่างก็ออกมาตรการสนับสนุนธุรกิจนี้เช่นกัน อาทิ การยกเว้นภาษี การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการ การกำาหนดสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพกับน้ำามันพื้นฐาน รวมถึงมาตรการสนับสนุนพลังงานชีวภาพรูปแบบต่างๆ เช่น มาตรการอุดหนุนผ่านการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ชีวมวล หรือมาตรการสนับสนุนการวิจัยด้านธุรกิจพลาสติกชีวภาพ

    อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมน้ำามันโลกได้พลิกโฉมจากอดีตไปอย่างมาก ทั้งในเชิงการผลิตและการบริโภค โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสำารวจและผลิตใหม่ๆ เช่น การผลิตน้ำามันและก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานและการขุดเจาะปิโตรเลียมในแหล่งน้ำาลึกเพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตน้ำามันมากข้ึน ซ่ึงส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของ OPEC ลดลง ประกอบกับมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำาให้ความต้องการใช้น้ำามันลดลง ปัจจัยข้างต้นเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำามันตกต่ำา จนเกิดคำาถามตามมาว่า หากต้องเผชิญกับราคาน้ำามันในระดับต่ำาเป็นเวลานาน ธุรกิจพลังงานชีวภาพจะได้รับ ผลกระทบหรือไม่

    Economic Intelligence Center (EIC) 13

  • ราคาน้ำามันที่ผันผวนส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อทั้งธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ ธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล และธุรกิจพลาสติกชีวภาพ

    แม้ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพจะได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐทั่วโลก แต่ในภาวะที่ราคาน้ำามันอยู่ในระดับต่ำาส่งผลให้ศักยภาพในการแข่งขันของเช้ือเพลิงชีวภาพยิ่งลดลง เน่ืองจากการผลิตเอทานอลหรือไบโอดีเซลมีต้นทุนสูงกว่าการผลิตเชื้อเพลิงปิโตรเลียม เห็นได้จากในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯ หรือไทยซึ่งมีเชื้อเพลิงให้เลือกใช้ได้หลากหลาย ในภาวะที่ราคาน้ำามันอยู่ในระดับต่ำาผู้บริโภคอาจเลือกซื้อน้ำามันเบนซินมาตรฐานเพื่อสมรรถนะที่สูงกว่าแทนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาน้ำามันส่งผลกระทบต่อธุรกิจเช้ือเพลิงชีวภาพไม่มากนัก เนื่องจากหลายประเทศยังให้การสนับสนุนธุรกิจดังกล่าวอยู่

    0

    10

    20

    30

    40

    50

    60

    70

    80

    90

    100

    110

    120

    130100

    80

    90

    70

    60

    0

    10

    20

    30

    40

    50

    2007 20092008 2010 2013 201520142012 2016F2011

    ปริมาณการใชไบโอดีเซล (แกนขวา)ราคานํ้ามันเบรนท (แกนซาย)

    ปริมาณการใชเอทานอล (แกนขวา)

    หนวย: ดอลลารสหรัฐฯ/บารเรล หนวย: ลานลิตร

    14 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    การบริโภคเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกยังคงสูงขึ้นแม้ราคาน้ำามันลดลง8

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg

    ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกต่อปีและราคาน้ำามันเบรนท์

    ธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลไม่ได้มาทดแทนเพียงแค่น้ำามันเท่านั้น หากแต่ยังทดแทนพลังงานรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น ถา่นหิน กา๊ซธรรมชาต ิและนวิเคลยีร ์ทำาใหก้ารผนัผวนของราคาน้ำามันไมส่ง่ผลกระทบตอ่ธรุกจินี ้อยา่งไรกด็ ีในแง่การรับรู้ของผู้ใช้ไฟฟ้าชีวมวลนั้นไม่สูงเหมือนเชื้อเพลิงชีวภาพหรือพลาสติกชีวภาพ เน่ืองจากผู้ ใช้ไม่สามารถ รับรู้ ได้ว่าไฟฟ้าที่ใช้มาจากแหล่งผลิตรูปแบบใด แต่ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตามต่างก็สามารถตอบสนอง ความต้องการได้เหมือนกัน ขณะที่การใช้น้ำามันสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เอทานอลหรือน้ำามันเบนซิน เช่นเดียวกับการเลือกใช้พลาสติกชีวภาพหรือพลาสติกทั่วไป

  • ในด้านธุรกิจพลาสติกชีวภาพ ได้รับปัจจัยหนุนจากเทรนด์ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม ผู้บริโภคที่เลือกใช้พลาสติกชีวภาพนั้นให้ความสำาคัญต่อผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าปัจจัยด้านราคา ทัง้นี ้การเปน็ธรุกจิใหมท่ำาใหต้น้ทนุการผลติพลาสตกิชีวภาพยงัสงูกวา่พลาสติกธรรมดาทัว่ไป ซึง่เมือ่ตอ้งเผชญิกับภาวะตลาดน้ำามันซบเซา ช่องว่างด้านราคาระหว่างพลาสติกชีวภาพและพลาสติกธรรมดาย่ิงสูงข้ึน อย่างไรก็ดี กำาลงัการผลติพลาสตกิชวีภาพยงัคงเตบิโตตอ่เนือ่ง รวมทัง้ยงัไดรั้บงบประมาณจำานวนมากในดา้นการวจิยั เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ใช้ ในการผลิต เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภครักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ดังน้ัน ความผันผวนของราคาน้ำามันจึงไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนี้มากนัก

    หนวย: ดอลลารสหรัฐฯ/ตัน

    0

    10

    20

    30

    40

    50

    60

    70

    80

    90

    100

    0

    500

    1,000

    1,500

    2,000

    2,500

    3,000

    3,500

    4,000

    Sep-15Mar-14 Nov-14May-14 Jan-15Jul-14 Nov-15Mar-15 May-15Sep-14 Jul-15Jan-14 Jan-16

    -54%

    -26%

    เบรนท (แกนขวา) Bioplastics (PLA) (แกนซาย) PET (แกนซาย) หนวย: ดอลลารสหรัฐฯ/บารเรล

    Economic Intelligence Center (EIC) 15

    ในสภาวะที่ราคาน้ำามันตกต่ำา ยิ่งทำาให้ส่วนต่างด้านราคา ของพลาสติกชีวภาพและพลาสติกทัั่วไปมีมากขึ้น9

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg, Argeni และ NatureWork

    ราคาพลาสติกทั่วไป (PET) พลาสติกชีวภาพ (PLA) และราคาน้ำามันเบรนท์

  • 3. พลังงานชีวภาพเป็นธุรกิจที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เกิดการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าใหม่จากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โอกาสทางเศรษฐกจิทีเ่หน็เดน่ชดัของธรุกจิพลงังานชวีภาพ คอื การเปลีย่นวตัถดุบิเหลอืใช้ทางการเกษตรมาเป็นพลงังานไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การนำากากน้ำาตาลมาผลิตเป็นเอทานอล และธุรกิจพลาสติกชีวภาพ ซึ่งช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด

    จากความตอ้งการพลงังานชวีภาพทีเ่พิม่ขึน้ หลายประเทศทัว่โลกจงึหนัมาสง่เสรมิและพัฒนานวตักรรมทัง้ในธรุกจิพลงังานชวีภาพและการเกษตร โดยในป ี2012 คณะกรรมาธกิารยโุรปนำาเอาแผนยทุธศาสตร ์Bioeconomy มาใช ้โดยเนน้การวจิยัและพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานชีวภาพเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้ง ยังช่วยให้เกิดสินค้าอุปโภคบริโภคใหม่ๆ และยังเป็นการสร้างงานอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงได้จัดตั้งกิจการค้าร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในธุรกิจพลังงานชีวภาพ (Public-Private Partnership with the Bio-based Industries Consortium) ด้วย งบประมาณ 3.7 พันล้านยูโร นอกจากนี้ แคนาดาได้ตั้งงบประมาณจำานวน 698 ล้านดอลลาร์แคนาดา เพ่ือเร่งสร้างนวัตกรรมสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานชีวภาพ

    16 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    กระบวนการเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นพลังงานชีวภาพช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย10วัตถุดิบ ผลิตภัณฑกระบวนการแปรรูปชีวมวล

    น้ำมัน(ปาลม, คาโนลา และ ถั่วเหลือง)

    เอทานอล

    พลาสติกชีวภาพ

    ไฟฟา

    ความรอน

    ลิกโนเซลลูโลส(ไม, ของเหลือใชจาก

    ผลิตผลทางการเกษตรและ พืชพลังงาน)

    น้ำตาลและแปง(ขาวโพด, ออย และ มันสำปะหลัง)

    ผลิตภัณฑอาหาร

    Esterification &Transesterification

    Fermentation

    Anaerobic digestion

    Gasification

    Combustion

    ไบโอดีเซลRefining

    Distillation

    Polymerization

    Lactic acidPHA

  • สำาหรับไทยนั้นธุรกิจพลังงานชีวภาพมีศักยภาพสูง เนื่องจากเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรายใหญ่ และมีวัตถุดิบทางการเกษตรจำานวนมากเพ่ือจะใช้ ในการผลิต นโยบายทั้งในอดีตและปัจจุบันมีจุดมุ่งหมายเพ่ือเพ่ิมมูลค่าให้กับสินค้าโภคภัณฑ์และผลผลิตพลอยได้ทางการเกษตร โดยมีการตั้งเป้าหมายกำาลังการผลิตไบโอดีเซลจาก 2.89 ล้านลิตร/วัน และเอทานอล 3.21 ล้านลิตร/วัน ในปี 2014 เป็น 14 ล้านลิตร/วัน และ 11.3 ล้านลิตร/วัน ตามลำาดับ ภายในปี 2036 นอกจากนี้ ยังได้ตั้งเป้ากำาลังการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลไว้ที่ 5,570 เมกะวัตต์ ภายในปี 2036 ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) รวมไปถึงการผลักดันของภาครัฐในการส่งเสริมธุรกิจพลาสติกชีวภาพเพ่ือช่วยดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนในโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพอีกด้วย ทั้งน้ี อีไอซีประเมินว่าการลงทุนในธุรกิจพลังงานชีวภาพในไทยจะอยู่ที่ราว 1.8-2.0 แสนล้านบาท ระหว่างปี 2016 ถึงปี 2020

    ในอกี 3 บทตอ่จากนี ้อไีอซจีะนำาเสนอจดุแขง็ โอกาส และความทา้ทายของธรุกจิเชือ้เพลงิชวีภาพ ธรุกจิโรงไฟฟา้ชวีมวล และธุรกิจพลาสติกชีวภาพของไทย รวมถึงปัจจัยสำาคัญที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจเหล่านี้ประสบความสำาเร็จ

    Economic Intelligence Center (EIC) 17

  • ไทยต้องพึ่งพาการนำาเข้าน้ำามันดิบถึง 80% ของความต้องการน้ำามันทั้งหมดที่นำามาใช้ ในภาคขนส่ง ทำาให้เช้ือเพลิงชีวภาพจากสินค้าเกษตรซึ่งผลิตได้ภายในประเทศกลายเป็นพลังงานที่มีบทบาทสำาคัญเพื่อลดการพึ่งพาการนำาเข้าน้ำามันดิบ และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยไทยมศีกัยภาพในการผลติและพฒันาเชือ้เพลงิชวีภาพ เนือ่งจากมคีวามไดเ้ปรยีบดา้นวตัถดุบิทางการเกษตร และความพร้อมของอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งนี้ กระแสรักษ์โลก การลดมลพิษ และการกำาหนดเป้าหมายการใช้เช้ือเพลิงชีวภาพที่เห็นได้ทั่วโลก ล้วนเป็นแรงผลักดัน การเตบิโตของธรุกจินี้ในไทยไดเ้ชน่กนั อยา่งไรกต็าม สถานการณร์าคาน้ำามนัดบิทีต่กต่ำาในปจัจบุนัเป็นความท้าทายหลักที่ธุรกิจต้องเผชิญ แต่การผลักดันให้มีการใช้เช้ือเพลิงชีวภาพยังคงต้องดำาเนินต่อไป เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย

    จับตาธุรกิจเช้ือเพลิงชีวภาพ (biofuel) ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำามันตกต่ำา

    2

  • 20 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    เบนซิน

    เบนซิน 95(ULG 95)

    แกสโซฮอล 91(E10)

    ไบโอดีเซล B7

    แกสโซฮอล 95(E10)

    +เอทานอล

    เมื�อนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานในอัตราสวนตางๆ จะไดแกสโซฮอลชนิดตางๆ โดยปจจุบันมีจำหน�ายอยู 4 ชนิด ไดแก

    สำหรับ B100 นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลไดเปนน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งปจจุบันมีจำหน�ายเพียงชนิดเดียวคือ B7*

    *รัฐบาลอาจลดอัตราสวนผสม B100 ในน้ำมันดีเซลเมื�อปริมาณปาลมน้ำมันขาดแคลน10% +เอทานอล 10%

    +B100

    E20

    +เอทานอล 20%

    E85

    +เอทานอล 85%

    biofuel

    เบนซิน 91

    90%

    80%

    ดีเซล

    เบนซิน 95

    เบนซิน 95 เบนซิน 95

    กลุมเบนซินและแกสโซฮอล

    ปจจุบันเชื้อเพลิงชีวภาพมีบทบาทมากขึ้นในภาคขนสงเพื�อลดการพึ่งพาการนำเขาน้ำมันจากฟอสซิล และเพิ่มมูลคาสินคาเกษตร โดยปจจุบันสถานีบริการน้ำมันมีการจำหน�ายเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งกลุมเบนซินและดีเซล

    เชื้อเพลิงชีวภาพที่ทำมาจากพืชเกษตรที่ใช ในไทย ไดแก

    แวะปมเติมเชื้อเพลิงชีวภาพ

    เอทานอล และ ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ 100% (B100)

    กลุมดีเซลดีเซล

    แกสโซฮอล

    7%

    www.scbeic.com

    90%

    93%

    15%

  • เหตุใดเชื้อเพลิงชีวภาพจึงมีบทบาทสำาคัญในไทย?

    เหตผุลหลกัที่ไทยสนบัสนนุการใชเ้ชือ้เพลงิชวีภาพในภาคขนสง่เพราะตอ้งการลดการพึง่พาการนำาเขา้เชือ้เพลงิฟอสซลิเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ไทยเป็นประเทศนำาเข้าพลังงานสุทธิโดยมีการนำาเข้าน้ำามันดิบในสัดส่วนสูงถึง 80% ของ ความต้องการใช้น้ำามันท้ังหมด ดังนั้น การใช้เช้ือเพลิงชีวภาพที่ทำามาจากวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศ อย่างอ้อย มันสำาปะหลัง หรือปาล์มน้ำามัน จะช่วยให้ประเทศลดการพ่ึงพาการนำาเข้าน้ำามันและส่งเสริมความม่ันคงทางพลังงาน ทั้งนี้ ในปี 2015 ไทยใช้น้ำามันเบนซินประมาณ 26 ล้านลิตร/วัน และดีเซล 60 ล้านลิตร/วัน หากนำาเอทานอล และ B100 มาผสมร่วมกับน้ำามันพื้นฐานตามความต้องการใช้น้ำามันประเภทต่างๆ จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำามันจากฟอสซิลได้ราว 8 ล้านลิตร/วัน และประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการนำาเข้าน้ำามันดิบได้กว่า 6.5 หมื่นล้านบาทต่อปี2

    เชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรจะช่วยเกษตรกรให้มีทางเลือกในการจำาหน่ายผลผลิตและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร การใช้อ้อย มันสำาปะหลัง มาผลิตเป็นเอทานอล และปาล์มน้ำามันมาผลิตเป็น B100 จะช่วยให้เกษตรกรมี ชอ่งทางจำาหน่ายสนิคา้ในตลาดพลงังานไวร้องรบัผลผลติทีเ่หลอืจากการบรโิภค อกีทัง้ยงัเป็นการเพ่ิมมลูคา่สนิคา้เกษตรด้วยเชน่กนั อาท ิการนำามนัสำาปะหลังมาแปรรปูเปน็เอทานอลจะเพิม่มลูคา่มากกวา่ทีจ่ะขายเปน็เพยีงสนิคา้เกษตรทัว่ไปไดถ้งึ 2 เทา่

    Economic Intelligence Center (EIC) 21

    เบนซิน

    เบนซิน 95(ULG 95)

    แกสโซฮอล 91(E10)

    ไบโอดีเซล B7

    แกสโซฮอล 95(E10)

    +เอทานอล

    เมื�อนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานในอัตราสวนตางๆ จะไดแกสโซฮอลชนิดตางๆ โดยปจจุบันมีจำหน�ายอยู 4 ชนิด ไดแก

    สำหรับ B100 นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลไดเปนน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งปจจุบันมีจำหน�ายเพียงชนิดเดียวคือ B7*

    *รัฐบาลอาจลดอัตราสวนผสม B100 ในน้ำมันดีเซลเมื�อปริมาณปาลมน้ำมันขาดแคลน10% +เอทานอล 10%

    +B100

    E20

    +เอทานอล 20%

    E85

    +เอทานอล 85%

    biofuel

    เบนซิน 91

    90%

    80%

    ดีเซล

    เบนซิน 95

    เบนซิน 95 เบนซิน 95

    กลุมเบนซินและแกสโซฮอล

    ปจจุบันเชื้อเพลิงชีวภาพมีบทบาทมากขึ้นในภาคขนสงเพื�อลดการพึ่งพาการนำเขาน้ำมันจากฟอสซิล และเพิ่มมูลคาสินคาเกษตร โดยปจจุบันสถานีบริการน้ำมันมีการจำหน�ายเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งกลุมเบนซินและดีเซล

    เชื้อเพลิงชีวภาพที่ทำมาจากพืชเกษตรที่ใช ในไทย ไดแก

    แวะปมเติมเชื้อเพลิงชีวภาพ

    เอทานอล และ ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ 100% (B100)

    กลุมดีเซลดีเซล

    แกสโซฮอล

    7%

    www.scbeic.com

    90%

    93%

    15%

    2ประมาณการโดยใช้สมมติฐานปริมาณความต้องการน้ำามันแก๊สโซฮอล์ E10 E20 E85 และไบโอดีเซล B7 ในปี 2015 และราคาน้ำามันดิบที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

    การแปรรูปมันสำาปะหลังให้เป็นเอทานอลช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 2 เท่า11

    หมายเหตุ: ราคามันสำาปะหลัง และเอทานอล เป็นราคาเฉลี่ยครึ่งปีแรกของปี 2016 มันสำาปะหลัง 6.5 กิโลกรัม นำามาแปรรูปผลิตเอทานอลได้ 1 ลิตร ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ CEIC

    มูลค่าเพิ่มของมันสำาปะหลังเมื่อนำามาผลิตเป็นเอทานอล

    หน่วย: บาท

    1.8

    11.5

    11.6

    23.1

    ราคาเอทานอล(บาท/ลิตร)

    ราคามันสําปะหลัง (บาท/กิโลกรัม)

    ราคามันสําปะหลังที่ใชทําเอทานอล 1 ลิตร (บาท)

    มูลคาเพิ่ม (บาท)

  • ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพมีจุดแข็งและโอกาสของธุรกิจหรือไม่อย่างไร?

    ไทยเริ่มใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมากว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งนโยบายภาครัฐเป็นปัจจัยผลักดันสำาคัญที่ทำาให้ธุรกิจนี้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะสูงกว่าน้ำามันพื้นฐานทั่วไป แต่ไทยจำาเป็นจะต้องสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิง ดังกล่าว เพื่อลดการพึ่งพาการนำาเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี 2015 (AEDP 2015) ภาครัฐได้ตั้งเป้าหมายว่า ในระยะแรกภายในปี 2026 จะมีการผลิต เอทานอล 7 ล้านลิตร/วัน และ B100 10 ล้านลิตร/วัน ส่วนในระยะที่สองภายในปี 2036 จะมีการผลิตเอทานอล 11.3 ล้านลิตร/วัน และ B100 14 ล้านลิตร/วัน โดยที่ผ่านมาได้มีมาตรการส่งเสริมต่างๆ เช่น การออกกฎหมายกำาหนดสัดส่วนของ B100 ที่นำามาผสมกับน้ำามันดีเซลให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามลำาดับจาก B2 ในปี 2007 มาเป็น B7 ในปัจจุบัน (ปี 2016) และมี แนวโน้มจะเพิ่มเป็น B10 ในปี 2018 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้ความต้องการใช้ B100 สูงขึ้น หรือการกำาหนดส่วนต่างราคาของแก๊สโซฮอล์ให้ถูกกว่าน้ำามันเบนซิน เพื่อจูงใจให้คนหันมาใช้มากขึ้น รวมทั้งการให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนสำาหรับธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น การยกเว้นภาษีนำาเข้าเครื่องจักร เป็นต้น

    22 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    จากนโยบายภาครัฐที่จะเพิ่มสัดส่วน B100 ในดีเซล จาก B7 ให้เป็น B10 รวมถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ที่มีสัดส่วนเอทานอลสูงอย่าง E20 และ E85 ทำาให้การใช้ B100 และเอทานอล มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง12

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (DEDE) และ CEIC

    คาดการณ์การใช้เอทานอลและ B100 คาดการณ์การใช้แก๊สโซฮอล์หน่วย: ล้านลิตร/วัน หน่วย: ล้านลิตร/วัน

    7

    10

    0

    1

    2

    3

    4

    5

    6

    7

    8

    9

    10

    11

    2025

    F

    2026

    F

    2022

    F

    2021

    F

    2020

    F

    2019

    F

    2018

    F

    2017

    F

    2016

    F

    2015

    2014

    2013

    2012

    2023

    F

    2024

    F

    การใชเอทานอล การใช B100 ULGE85 E10(91)E10(95)E20

    เบนซิน

    แกสโซฮอล E10

    แกสโซฮอล E20

    แกสโซฮอล E85

    0

    5

    10

    15

    20

    25

    30

  • การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของไทยเติบโตอย่างรวดเร็วและมีสัดส่วนการใช้ค่อนข้างสูง คิดเป็น 2.5% ของการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้าย เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพมากว่า 30 ปี มีสัดส่วนการใช้ที่ใกล้เคียงกับไทยที่ 2.2% ทั้งนี้ การใช้เอทานอล และ B100 ของไทยเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องราว 14% ต่อปี เป็นผลมาจากยอดการใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลที่มีการเติบโตราว 14-16% ต่อปี หากเทียบกับสหรัฐฯ ที่มีการเติบโตเพียง 5.5% ต่อปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับบราซิลซึ่งเป็นประเทศที่สนับสนุนการใช้เอทานอล เพราะมคีวามไดเ้ปรยีบเรือ่งออ้ยทีน่ำามาใชเ้ปน็วตัถดุบิในการผลติ พบวา่มสีดัสว่นการใชท้ีส่งูถงึเกอืบ 6% ของพลงังานทัง้หมด สะท้อนว่าการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกหากอุปสงค์ของเชื้อเพลิงชีวภาพได้รับการผลักดันให้ใช้ทดแทนพลังงานแบบดั้งเดิมมากยิ่งขึ้น

    Economic Intelligence Center (EIC) 23

    ไทยมีสัดส่วนและอัตราการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ แต่หากเทียบกับบราซิล การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีก 13

    ท่ีมา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (EPPO), US Energy Information Administration (EIA) และ University of Sao Paulo's College of Agriculture

    สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเทียบกับพลังงานอื่นๆ ปี 2015อัตราการเติบโตของการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพต่อปี ระหว่างปี 2009-2015

    หน่วย: % หน่วย: %CAGR 2009-2015

    97.5 97.8 94.1

    ไทย บราซิลสหรัฐฯ

    2.22.5 5.9

    พลังงานอ่ืนๆเช้ือเพลิงชีวภาพ

    14.0

    5.5 5.0

    ไทย สหรัฐฯ บราชิล

  • การพฒันารถ FFV ดเีซลอีโคคาร ์การวจิยัและพฒันาเทคโนโลยกีารผลติไบโอดเีซลคณุภาพสงู H-FAME และการขยายตวั ของสถานีบริการน้ำามัน E20 และ E85 จะช่วยผลักดันให้ความต้องการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้น ปัจจุบันรถยนต์กลุ่มเบนซินส่วนใหญ่ในประเทศสามารถใช้แก๊สโซฮอล์ E20 ได้แล้ว และจะมีรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่สามารถใช้ E85 ได้อีกเป็นจำานวนมาก ทัง้นี ้ทศิทางในอนาคตยงัมแีนวโนม้การผลติรถยนตท์ีป่ระหยดัพลงังานและเปน็มติรกบัสิง่แวดลอ้มมากขึน้ เชน่ รถยนต ์Flexible Fuel Vehicle หรือ FFV ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย รวมถึงเชื้อเพลิงเอทานอล 100% ได้เหมือนในบราซิล ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีความต้องการใช้เอทานอลมากขึ้น

    สำาหรับรถยนต์กลุ่มดีเซลนั้นได้มีการเปิดตัวรถอีโคคาร์ที่ใช้น้ำามนัดีเซลออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกของไทยในปี 2016 ซึ่งน่าจะได้รับความนิยมไม่แพ้เครื่องยนต์เบนซินเพราะได้รับการสนับสนุนเรื่องภาษีจากภาครัฐ อีกทั้ง ปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยี การผลิตน้ำามันไบโอดีเซลทางเลือกใหม่ที่มีคุณภาพสูง หรือ H-FAME (Partially Hydrogenated Fatty Acid Methyl Ester) ซึ่งสามารถผสมกับน้ำามันดีเซลได้มากถึง 20% (B20) และได้ผ่านการทดสอบกับรถบางรุ่นแล้วพบว่าไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งนี้ หากน้ำามันไบโอดีเซลที่มี B100 ในสัดส่วนสูงๆ เช่น B10 ขึ้นไป ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตรถยนต์อย่างกว้างขวางให้นำามาเติมในรถดีเซลได้ รวมทั้งรัฐกำาหนดให้ผลิตเพื่อจำาหน่ายในสถานีบริการน้ำามัน จะส่งผลดีต่อความต้องการใช้ B100

    นอกจากนี้ ในส่วนของสถานีบริการน้ำามันที่จำาหน่ายแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 เติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องราว 48% และ 113% ต่อปี ตามลำาดับ ทำาให้ผู้ขับขี่ที่ใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวมีความสะดวกสบายในการเติมน้ำามันมากขึ้น อีกทั้งเป็นแรงจูงใจให้คนหันไปซื้อรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิง E20 และ E85 อีกทางหนึ่งด้วย

    24 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    สถานีบริการน้ำามันแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 ที่เพิ่มขึ้น และรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่สามารถเติมแก๊สโซฮอล์ E85 ได้ รวมถึงรถยนต์ดีเซลอีโคคาร์จะช่วยผลักดันการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลให้เพิ่มขึ้น14

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน และกรมการขนส่งทางบก

    สถานีบริการน้ำามัน E20 และ E85 และอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR)

    หน่วย: แห่ง

    +48.1%

    2015

    3,038

    2008

    1944

    +113.4%

    2015

    807

    2008

    สถานีบริการน้ํามัน E20

    สถานบีริการน้ํามัน E85

    รถยนตรุนใหมๆ จะสามารถเติมแกสโซฮอล E85 ไดมากข้ึน

    • Mitsubishi Lancer EX

    • VolvoS80 และ C30

    • Chevrolet Captiva

    • Honda City, Accord

    และ CR-V

    • Toyota Corolla และ Altis

    2011 2015

    รถยนตอีโคคารรุนใหมที่สามารถเติมดีเซลได

    • Mazda2

    2016

    • Honda Civic 1.8 EL

    • Nissan March

    2016

    2017

  • ธรุกจิเชือ้เพลงิชวีภาพของไทยมคีวามแขง็แกรง่ตลอดหว่งโซอ่ปุทานตัง้แตต่น้น้ำาถงึปลายน้ำา ทำาใหส้ามารถจดัหาวตัถดุบิในประเทศและมตีลาดรองรบั ในสว่นของหว่งโซต่น้น้ำา ไทยมคีวามพรอ้มดา้นสนิคา้เกษตรที่ใชเ้ปน็วตัถดุบิในการผลติเอทานอล และ B100 โดยไทยเปน็ผูส้ง่ออกแปง้มนัสำาปะหลงัรายใหญท่ีส่ดุของโลก และเปน็ผูผ้ลติและสง่ออกน้ำาตาลอนัดบั 2 รองจากบราซิล รวมถึงมีการผลิตปาล์มน้ำามันใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในส่วนของห่วงโซ่กลางน้ำา ไทยมีโรงงานน้ำาตาล โรงงานแป้งมันสำาปะหลัง รวมทั้งโรงสกัดน้ำามันปาล์มที่มีอัตราการสกัดน้ำามันที่ได้รับการรับรองระบบควบคุมคุณภาพต่างๆ เช่น GMP3 และ HACCP4 สำาหรับห่วงโซ่ปลายน้ำา ไทยมีบริษัทน้ำามันและโรงกลั่นน้ำามันขนาดใหญ่ที่มีกำาลังการผลิตเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศรวมถึงสามารถส่งออกได้ ซึ่งบริษัทน้ำามันและโรงกลั่นได้นำาเอทานอล และ B100 ไปผสมกับน้ำามันพื้นฐาน เพื่อให้ได้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล เพื่อส่งต่อไปจำาหน่ายในสถานีบริการน้ำามัน

    Economic Intelligence Center (EIC) 25

    ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพของไทยมีความแข็งแกร่งตลอดห่วงโซ่อุปทาน15

    ที่มา: สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกระทรวงพลังงาน

    วัตถุดิบการเกษตร

    ออย ไทยสงออกน้ำตาลมากเปนอันดับ 2 ของโลก

    มันสำปะหลัง ไทยสงออกมันสำปะหลังมากเปนอันดับ 1 ของโลก

    ปาลม ไทยมีพื้นที่เพาะปลูกสูงเปนอันดับ 3 ของโลก มีกำลังการผลิต 12.6 ลานตันตอป

    STEP 1 STEP 2 STEP 3 STEP 4 STEP 5

    การหมัก เชื้อเพลิงชีวภาพ

    ผลิตภัณฑจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ผูบริโภคปลายทาง

    น้ำตาล โรงงานน้ำตาลราว 70แหง

    แปงมันสำปะหลัง โรงงานแปงมันสำปะหลัง ราว 120 แหง

    น้ำมันปาลมดิบ โรงสกัดน้ำมันปาลมเกือบ 200 แหง โดยมีศักยภาพในการสกัดปาลมน้ำมันราว 25 ลานตันตอป

    เอทานอล โรงงานเอทานอลราว 20แหง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมราว 6 ลานลิตรตอวัน

    B100 เมทิลเอสเตอรของกรดไขมันโรงงานผลิต B100 ราว 15 แหง โดยมีกำลังการผลิตรวมราว 6 ลานลิตรตอวัน

    แกสโซฮอล นำเอทานอลในสัดสวนตางๆ มาผสมกับน้ำมันเบนซินไดเปนแกสโซฮอล E10 E20 และ E85

    น้ำมันไบโอดีเซล นำ B100 มาผสมกับน้ำมันดีเซลตามขอกำหนดของกระทรวงพลังงาน

    ปมน้ำมัน / รถยนต

    ปมน้ำมัน / รถยนต

    เอทา

    นอล

    B100

    biofuel

    biofuel

    3GMP (Good Manufacturing Practice) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร จัดทำาขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ4HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) คือ มาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการรับประทานอาหาร

  • 26 วางผังธุรกิจชีวภาพไทยโตอย่างไรให้ยั่งยืน

    สถานการณ์ตลาดของเอทานอล และ B100 ยังมีความต้องการใช้สูงกว่าปริมาณที่ผลิตได้ ผู้เล่นในธุรกิจจึงยังมีโอกาสรองรับการเติบโตของอุปสงค์ได้ ในอนาคต ในปี 2015 ปริมาณการใช้เอทานอลอยู่ที่ 3.5 ล้านลิตร/วัน มากกว่าปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศที่ 3.21 ล้านลิตร/วัน เป็นผลมาจากยอดการใช้แก๊สโซฮอล์ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการบริโภคถึง 173% และ 62% ต่อปี (2010-2015) ตามลำาดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาขายปลีกที่ค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับ E10 และเบนซิน จากการที่ภาครัฐอุดหนุนราคา รวมถึงได้ยกเลิกการจำาหน่ายเบนซิน 91 ในปี 2013 เพื่อส่งเสริมให้คนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น ในส่วนของ B100 นั้น ปริมาณการใช้ขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการใช้น้ำามันไบโอดีเซลที่เติบโต 14% ต่อปี เนื่องจากการเติบโตของภาคขนส่งและโลจิสติกส์ ที่รถบรรทุกส่วนใหญ่ใช้น้ำามันดีเซลเป็นหลัก อีกทั้งกฎหมายกำาหนดสัดส่วนของ B100 ที่นำามาผสมกับน้ำามันดีเซลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก B2 ในปี 2007 มาเป็น B7 ในปัจจุบัน

    ความต้องการใช้เอทานอล และ B100 ในปัจจุบันสูงกว่าปริมาณที่ผลิตได้16

    ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ EPPO และ CEIC

    การผลิตและการใช้เอทานอล

    การผลิตและการใช้ B100

    ยอดขายน้ำามันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์

    ยอดขายน้ำามันดีเซล

    หน่วย: ล้านลิตรต่อวัน

    หน่วย: ล้านลิตร

    หน่วย: ล้านลิตร

    หน่วย: ล้านลิตร

    เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และ B100) ผลิตภัณฑปโตรเลียม (แกสโซฮอล และ ไบโอดีเซล)

    CAGR (2010-2015)

    0

    2,000

    4,000

    6,000

    8,000

    10,000

    7,417 7,705

    2011

    8,233

    2012

    7,331

    2010 2014

    8,567

    2015

    9,713

    2013

    E10/91 +21%

    ULG91 -51%

    ULG95 +46%

    E85 +173%

    E20 +62%

    E10/95 +4.1%

    ยกเลิกการจําหนายเบนซิน 91

    0

    500

    1,000

    1,500

    2010 2011 2012 2013 2014 2015

    การใช B100 +14%

    การผลิต B100 +12%

    CAGR (2010-2015)

    ผลผลิตปาลมและ B100 ลดลงเพราะภัยแลง สวนความตองการ B100 เพิ่มเพราะ

    นํ้ามันดีเซลมีราคาถูก

    +3%

    201