8
Vacation as Vocation (6) Cuba - Mexico - America โดย แง งามอณโช

Cuba volume6

Embed Size (px)

DESCRIPTION

การเดินทางคิวบาตอนที่ 6 ครัช,​ เชิญมารุจักคิวบาาาา กันๆๆๆๆๆ

Citation preview

Page 1: Cuba volume6

Vacation as Vocation (6)Cuba - Mexico - America

โดย แบ๊งค์ งามอรุณโชติ

Page 2: Cuba volume6

อนุทินการเดินทางฉบับที่ห้า

6

วันที่ 21 ธค. 2556, ผมตื่นตั้งแต่ 7 โมงเช้าขึ้นมาอาบน้ำและเขียนบันทึกการเดินทาง ป๊อป, ยุ้ย และพี่แป้มตื่นเดินออกมาตามลำดับ เราทานอาหารง่ายๆ ร่วมกับนักท่องเที่ยวชาวแคนนาดาสองคนที่พัก Hostel เดียวกับเรา, อาหารประกอบไปด้วย ไข่หนึ่งฟอง, น้ำส้ม ขนมปังทาเนีย และผลไม้สองสามอย่าง พอมีแรงแล้วก็แยกย้ายกันท่องคิวบา

เหล้ารัมปฏิวัติ กับไอติมสังคมนิยม

1

Page 3: Cuba volume6

พวกผมเริ่มจากการไปตลาดขายของที่เรียกว่า Flea market, ตอนแรกผมตกใจมาก oh my buddha! เพราะได้ยินว่า Free market (ตลาดเสรี)... แต่ถึงไม่ใช่ก็ใกล้เคียง ล่าสุดได้อ่านจากนิตยสาร Way พบว่ารัฐบาลคิวบากำลังจะประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยกเว้นอัตราภาษีให้แก่การลงทุน

การทำอย่างนั้นไม่ต่างอะไรกับการที่รัฐบาลอุดหนุนค่าจ้างให้กับบริษัทเอกชนที่มาทำการค้า เพราะปัจจุบันคิวบามีค่าจ้างที่จ่ายกันในตลาด (nominal wage) ค่อนข้างต่ำแต่รัฐดูแลประชาชนชนผ่านระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการศึกษาก็ฟรี, นอกจากนี้ยังมีข่าวจากเพื่อนที่ทำงานสภาพัฒน์ฯ ว่ารัฐบาลคิวบามีแนวโน้มจะลดหน้าที่ในการผลิตสินค้าบางอย่าง หรือเปิดให้เอกชนแข่งขันได้มากขึ้น

เมื่อผมเดินเข้าไปในตลาด Flea แล้วก็พบว่า ของที่ขายในตลาดนั้นค่อนข้างเหมือนกันทุกๆ ร้าน ยิ่งสะท้อนถึงลักษณะตลาดแข่งขัน (Competition market) สินค้าที่พบได้ทั่วไปก็เช่น งานไม้ กล่องซิการ์ ภาพวาด เสื้อหรือถุงผ้า เกือบทั้งหมดใช้หน้าเช กาบารา ห่ะ, นี่มันทำเช ให้กลายเป็นพาณิชย์ (Commercialization) นี่หน่า

ดังนั้น... แม้ว่า Flea market จะไม่ใช่ Free market แต่ประเทศคิวบาก็กำลัง Marketize อย่างไม่ต้องสงสัย และเพราะดังนั้น Lonely Planet จึงจัดให้ประเทศคิวบาเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องแวะมาท่องเที่ยวก่อนที่มันจะเป็นคิวบาใหม่ คิวบาที่จะไม่มีวันเหมือนแบบที่ผมมาเยี่ยมเยือนนี้อีกเลย

ใบหน้าของเชข้างกำแพงตลาดยังคงมีแววตามุ่งมั่นเช่นเดิม แต่คิวบากำลังเปลี่ยนแปลงไปแล้ว, นั่นคือข้อสรุป

2

Page 4: Cuba volume6

พวกเราเดินทางจากตลาดเพื่อไปโรงงานทำเหล้ารัม (Rum คือเหล้าที่หมักกลั่นจาก “โมลาซ” ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลอ้อย) ยี่ห้อ Havana Club อันที่จริงแล้ว การที่คิวบาผลิตรัมไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ กลางอากาศ เหล้ารัมมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับการขูดรีด และการปฏิวัติของคิวบาเช่นกัน

ทั้งนี้ก็เพราะ น้ำตาลอ้อยนั้นคือสินค้าส่งออกหลักของคิวบานับตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติในปี 1959 แต่ทว่า โรงงานเหล่านั้นก็ไม่ใช่ของคนคิวบา โรงงานน้ำตาลทั้งหมดถูกครอบครองโดยนายทุนอเมริกัน โดยมีชาวคิวบาเป็นแรงงานและมีทรัพยากรของคิวบา (ที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ และอื่นๆ) เป็นวัตถุดิบ

ดังนั้น อุตสาหกรรมน้ำตาลจึงเป็นตัวแทนของทั้งทุนอเมริกัน และการขูดรีดแรงงานคิวบา เมื่อรัฐบาลปฏิวัติที่นำโดยฟิเดล คาสโตร รวมถึงราอูล คาสโตร และ เช กาบารา ได้ยึดกุมคิวบาไว้ได้แล้ว ก็ทำการยึดโรงงานน้ำตาลเหล่านี้เอาไว้ทั้งหมด และโมลาซที่ได้จากการผลิตน้ำตาลเหล่านั้นก็ถูกนำมาผลิตเหล้ารัม การดื่มเหล้ารัมของคิวบาจึงเป็นการดื่มชัยชนะของรัฐบาลปฏิวัติ และเป็นการดื่มเพื่อรำลึกถึงการขูดรีดของทุนอเมริกันไปพร้อมกัน

โทษฐานที่ผม “อิน” กับการต่อสู้เพื่อลดการขูดรีด เลยซื้อกลับมาเสียสองขวด ขวดแรก Cuban Ritual หมักกลั่นแล้วบ่มในถังไม้โอคที่นำเข้าจากไอร์แลนด์อีก 3 ปีอย่างต่ำ ผลิตและขายเฉพาะในคิวบากับสเปนเท่านั้น ราคาไม่แพงนักราวๆ 8 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขวดที่สองคือ รุ่น Master Selection หมักกลั่นและบ่มนาน 10 ปีโดยไม่มีการผสม (Blended) ตัวนี้ราคาราวๆ 40 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ

3

Page 5: Cuba volume6

ที่กล่าวถึงปีในการบ่มว่า 3 ปีหรือ 10 ปีนั้นก็ต้องอธิบายเป็นความรู้ด้านเหล้ายาปลาปิ้งเพิ่มเติมเสียหน่อยว่า เวลากล่าวถึงเวลาบ่ม 3 ปีบนขวดนั้น ไม่ได้หมายความว่าในขวดดังกล่าวจะมีแต่เหล้ารัมที่บ่มมา 3 ปีเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการผสมเหล้ารัมหลายๆ ตัวเข้าด้วยกันซึ่งบางตัวอาจมีอายุการบ่มมากกว่าก็ได้ (สำหรับ Havana Club นั้นค่าปีที่ใส่ไว้บนหน้าขวดจะหมายถึง เหล้ารัมที่ใช้ผสม ในรุ่น/ขวดนั้นๆ มีปีการบ่มที่น้อยที่สุดกี่ปี) โดย Blend Master จะต้องเป็นผู้ผสมออกมาให้รสชาติของเหล้าทุกขวดใกล้เคียงกันมากที่สุด ทั้งนี้ ปัจจุบันในคิวบาทั้งประเทศมีมาสเตอร์ 9 คน, 6 คนจากทั้งหมดทำงานอยู่ที่ Havana Club

หลังเสร็จการทัวร์โรงงานทำเหล้ารัม เราเดินทางไปชมรอบๆ บริเวณที่เรียกว่า Plaza de Armas บริเวณนั้นจะมีตลาดหนังสือมือสองที่น่าสนใจมากมาย,ผมยังเสียใจจนถึงเดี๋ยวนี้ที่ตระหนี่มากไปหน่อย ไม่กล้าจับจ่ายมากนัก

ซื้อหนังสือไปเพียงราวๆ 40 ดอลลาร์สหรัฐ ได้หนังสือซึ่งพิมพ์ในคิวบาช่วงราว 1960 - 1990 มาครอบครองจำนวนหนึ่ง เช่น รายงานการประชุมสภาประชาชนคิวบาครั้งที่สอง, เอกสารทำความเข้าใจขบวนการปฏิวัติ 4 สีซึ่งตีพิมพ์ในปี 1960, บันทึกเล่มสุดท้ายของเช กาบารา ที่เขียนขึ้นในระหว่างร่วมขบวนการปฏิวัติในโบลิเวีย และเขาก็ตายที่นั่น เป็นต้น

หลังซื้อหนังสือได้จำนวนหนึ่ง เราก็ตัดสินใจแวะเข้าไปทานร้านอาหารชื่อ Nao Paladar ซึ่งอยู่ในย่านเดียวกัน เข้าไปแบบไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แต่รสชาติอาหารออกมาน่าประทับใจ โดยเฉพาะเมนูเนื้อกระต่ายราดซอสเบียร์ อบได้นุ่มและหอมชุ่มฉ่ำ ส่วนตัวเคยทานกระตายมาบ้างพบว่า ทำให้อร่อยได้ยาก ไม่ใช่เพราะกลิ่นแรงเหมือนตระกูลแพะ แกะ เก้ง แต่เพราะเนื้อของกระต่ายนั้นแห้งเหมือนอกไก่ การจะทำให้นุ่มและมีลักษณะชุ่มฉ่ำต้องการฝีมือมากกว่าแค่อบเนื้อเป็น

4

Page 6: Cuba volume6

หลังอิ่มทท้อง เราแวะเข้าไปที่ Placio de los Capi-tanes Generales ซึ่งอยู่ติดกับลานขายหนังสือมือสอง สถานที่นี้เป็นบ้านของขุนนางที่ปกครองคิวบาในช่วงที่ยังตกเป็นอาณานิคมสเปน ยุ้ยเล่าให้ฟังว่า ในบ้านหลังดังกล่าวมีกระจกบานใหญ่ที่สั่งทำจากเวนิส มีบังลังก์ที่สร้างไว้เพื่อต้อนรับการมาเยือนของกษัตริย์ (ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่ได้มาเยือนคิวบาซักครั้ง) ตรงกลางลานของบ้านมีรูปปั้น Ch r i s tophe r Co lumbus วางอยู่ในสวน โดยสถาปัตยกรรมทั้งหมดสร้างแบบ Baroque

ในบ้านดังกล่าว ปัจจุบันถูกแปลงเป็นพิพิทภัณฑ์ มีโครงรถม้าเก่า ห้องเก็บอาวุธ ภาพขุนนางที่มาปกครอง รวมไปถึงบรรดาธงมากมายให้ได้ชมกัน,ป๊อปและพี่แป้น เดินสำรวจห้องต่างๆ โดยละเอียด ส่วนผมกับยุ้ยหลังเดินชมห้องต่างๆ ในชั้นสองแล้วก็แอบนั่งพัก เอาหลังพิงกำแพงหินเย็นๆ มองท้องฟ้ายามบ่าย, น่าผูกเปลนอนจริงๆ

หลับตารอซักพัก ป๊อปและพี่แป้นก็กลับมา เราเดินทางต่อไปดูป้อมที่เก่าแก่ที่สุดในคิวบา สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ชื่อว่า Castillio de la Real Fuerza โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อป้องกันการปล้นสดมภ์ของโจรสลัด... ทว่า ถึงที่สุดแล้วป้อมนี้ก็พ่ายแพ้ให้กับการบุกของฝรั่งเศสและสเปนตามลำดับ ห่ะ, โจรสลัดหรือจะสู้โจรล่าอนาณานิคม, ในศตวรรษที่ 18 ภายหลังจากสเปนถูกสหราชอาณาจักรโจมตี ผู้บัญชาการในสมัยนั้นชื่อ Alejandro O’Reilly จึงได้ขอให้กษัตริย์ Carlos III ลงทุนเสริมความแข็งแกร่งของป้อมใหม่อีกครั้ง และมีลักษณะดังปรากฏในปัจจุบัน

5

Page 7: Cuba volume6

บ่ายแก่ หลังเพลียแดด เราแวะโรงแรมที่ชื่อ Ambros Mundos เพื่อขึ้นไปทานเครื่องดื่มเย็นๆ บนดาดฟ้า, สาเหตุที่เจาะจงที่นี่ก็เพราะว่า บนดาดฟ้าเดียวกันนี้คือที่ซึ่ง Ernest Hemingway ปิดต้นฉบับหนังสือของเขา และกลายเป็นนักเขียนชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา,ผมสั่งเพียงน้ำเปล่า แล้วดื่มบรรยากาศโดยรอบแทนคอกเทล พลางคิดไปว่า

“บันทึกการเดินทาง คงไม่ทำให้เรากลายเป็นเฮมมิงเวย์ไปได้, แต่น่ามาปิดต้นฉบับที่นี่ไม่แพ้กัน” แต่การเดินทางของผมยังอีกยาวไกล ไกลกว่าเฮมมิงเวย์ผู้หยุดการเดินทางของตนเองไว้ด้วยกระสุนหนึ่งนัด

ดูเหมือนว่าแค่คอกเทลเย็นๆ จะยังไม่เพียงพอแก่ใจ เราจึงเดินทางต่อไปทานไอศครีมที่ร้าน Coppelia Recrea-tur, ข่าวลือแว่วมาว่า เป็นร้านที่ใหญ่เพียงพอจะจุคนได้ถึง 700 คน, วาว สังคมนิยมไอติม --- ทว่า เมื่อเราไปถึง เราถูกกันออกมาให้อยู่ในโซนของนักท่องเที่ยวเท่านั้น ห้ามเข้าไปในร้านด้านใน ห่ะ, ผมสังหรณ์ว่าจะมีการการแบ่งแยกราคาระหว่างคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว รัฐบาลไม่ต้องการอุดหนุนค่าไอติมให้ชาวต่างชาติ ซินะ

ช่างปะไร , กินไอศรีมคนละลูกแล้วก็จากมา พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปพร้อมๆ กับไอศครีมลูกสุดท้าย แผนการสำหรับค่ำคืนนี้ก็คือ ไปเทศกาลเพลง Jazz ในคิวบาครั้งที่ 29, ฟังไปทั้งสิ้นห้าวงดนตรี ประทับใจอยู่สองวง ซึ่งเน้นนำคนแก่เก๋าๆ มาคุมจังหวะและการนำเสนอของวง... ภาพที่น่ารักเห็นจะเป็นชายและหญิงสูงวัยชาวคิวบาที่ลุกขึ้นมาเต้นรำหน้าเวทีอย่างไม่ต้องขวยเขิน ห่ะ, ฤาจะหวานปาน jazz

6

Page 8: Cuba volume6

อาการง่วงตอนสามทุ่มของผมยังไม่หายไปเสียที (ทั้งที่อยูไทยนอนตีสาม) ในช่วงท้ายๆ ของการแสดงผมถึงขั้นต้องลุกขึ้นมาเดินไปเดินมาฟังเพลง ไม่เช่นนั้นจะหลับให้ได้ ไม่นานนักก็ต้องยอมแพ้ ขอให้เพื่อนๆ กลับที่พักก่อนที่การแสดงจะจบสมบูรณ์

กลับถึงบ้านพักผมล้มตัวลงนอน หมดแรงแผ่หลา เสียง Jazz ยังคงก้องอยู่ในหัว, เสียงแตรและลุงแก่เต้นระบำยังคงดำเนินต่อไป แต่ทุกส่วนของร่างกายผมขยับไม่ได้แล้ว ได้แต่จ้องมอง สดับฟังสิ่งเหล่านั้นในความมืด ลุงแกเต้นคว้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ว่าเพลงจะหยุดไปแล้ว เขาเต้นจนหอบ เม็ดเหงื่อที่ผุดพรายอยู่ข้างขมับนั้นถูกซูมให้เด่นชัดขึ้นเหมืองผมมองจากกล้องมากกว่าตาเปล่า ไม่นานนักลุงก็ล้มลง ดวงไฟที่จับจ่อที่ลุงค่อยๆ หรี่ลับไป ไม่เหลืออะไรอีกเลย ไม่แม้แต่จะมีที่ว่างให้แก่ความเงียบ, จนกระทั่งเช้าวันใหม่

7