12
กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัว นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำานวยการสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ (สพป.สฎ.๑) จัด กิจกรรมคาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัว ระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๘ .... .................................................. (อ่านต่อหน้า ๒) ครูสุราษฎร์ธานี ร่วมงานวันครู ปี ๕๘ เทิดพระเกียรติ พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานพิธีจัดงาน วันครู ปี ๒๕๕๘ “ครูดีศรีแผ่นดิน”เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ห้อง ศรีวิชัย โรงแรมวังใต้ อำาเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”........อ่านต่อหน้า ๕ เขตพื้นที่การศึกษา ขานรับค่านิยม ๑๒ ประการ ปรับหลักสูตรตั้งแต่ชั้นปฐมวัย นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำานวยการสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต ๑ ดำาเนินการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการนำา ค่านิยม ๑๒ ประการสู่นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยทุกโรงเรียนในสังกัด ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เป็นต้นไป............ อ่านต่อหน้า ๓ วันเด็กแห่งชาติ ปี ๕๘ นายชุมพล ศรีสังข์ ผอ.สพป.สฎ.๑ พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด ร่วมจัด กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำา ปี ๒๕๕๘ ณ เกาะลำาพู อำาเภอเมือง สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที๑๐ มกราคม ๒๕๕๘ ...................................... ดูภาพกิจกรรมหน้า ๙ เนื้อหาเด่นในฉบับ หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับที่ ๑๘๖ วันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ “มุ่งมั่นต่อหน้าที่ สามัคคีสร้างสรรค์ ร่วมใจบริการ ผลงานคุณภาพ” ค่านิยม : สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ๑๐ คาราวานเยี่ยมบ้าน การสอนค่านิยม ๑๒ ประการ ชั้นปฐมวัย สาระสำาคัญของลูกเสือ ข่าวคุรุสภาเขตพื้นที่ฯ วันครู ปี ๕๘ ระเบียบกฎหมายน่ารู“ปัดฝุ่น” กวี คำากลอน ภาษาไทย เกร็ดความรู้การบริหาร บทความวิชาการ ๑๑ ปฏิรูปการเรียนรูโฟกัด คนเป็นข่าว

ED.SURAT.1 no 186

Embed Size (px)

DESCRIPTION

 

Citation preview

Page 1: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1

กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ

๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัวนายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำานวยการสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ (สพป.สฎ.๑) จัด

กิจกรรมคาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัว

ระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๘ .... .................................................. (อ่านต่อหน้า ๒)

ครูสุราษฎร์ธานี ร่วมงานวันครู ปี ๕๘ เทิดพระเกียรติ

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดินนายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานพิธีจัดงาน

วันครู ปี ๒๕๕๘ “ครูดีศรีแผ่นดิน”เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ห้อง

ศรีวิชัย โรงแรมวังใต้ อำาเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”........อ่านต่อหน้า ๕

เขตพื้นที่การศึกษา ขานรับค่านิยม ๑๒ ประการ

ปรับหลักสูตรตั้งแต่ชั้นปฐมวัย

นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำานวยการสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สุราษฎร์ธานี เขต ๑ ดำาเนินการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการนำา

ค่านิยม ๑๒ ประการสู่นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยทุกโรงเรียนในสังกัด

ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เป็นต้นไป............ อ่านต่อหน้า ๓

วันเด็กแห่งชาติ ปี ๕๘

นายชุมพล ศรีสังข์ ผอ.สพป.สฎ.๑

พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด ร่วมจัด

กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำา

ปี ๒๕๕๘ ณ เกาะลำาพู อำาเภอเมือง

สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม

๒๕๕๘ ......................................

ดภูาพกจิกรรมหน้า ๙

เนื้อหาเด่นในฉบับ

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับที่ ๑๘๖ วันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘

สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑

“มุ่งมั่นต่อหน้าที่ สามัคคีสร้างสรรค์ ร่วมใจบริการ ผลงานคุณภาพ”ค่านิยม : สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑

๑๐

คาราวานเยี่ยมบ้านการสอนค่านิยม ๑๒ ประการ ชั้นปฐมวัย

สาระสำาคัญของลูกเสือ

ข่าวคุรุสภาเขตพื้นที่ฯวันครู ปี ๕๘

ระเบียบกฎหมายน่ารู้ “ปัดฝุ่น”

๘ กวี คำากลอน ภาษาไทย เกร็ดความรู้การบริหารบทความวิชาการ ๙

๑๑ ปฏิรูปการเรียนรู้

โฟกัด คนเป็นข่าว

Page 2: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1๒

กิจกรรมคาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัว

สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ สืบเนื่องจากสำานักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำาหนดให้ปีการศึกษา ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘

เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสวันเฉลิม

พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ๘๗ พรรษา เพื่อส่งเสริมคนไทยให้มี

ความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสนับสนุน

การเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านยาเสพติดในสถานศึกษาอีกทางหนึ่ง ประกอบกับเป็นการ

ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง และนักเรียนใน

สังกัดได้รับการดูแลให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเจตนารมณ์ และ

ความมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ตลอดจน

เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชากรวัยเรียน ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นให้

ครอบครัวของนักเรียน และได้รับความรู้ความเข้าใจในการรับการศึกษา และจัดการดูแล

นักเรียนในปกครองได้อย่างอบอุ่น ปลอดภัย ภายใต้ศักยภาพและความเข้าใจครอบครัว

เป็นสำาคัญ จึงได้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจของสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สถานศึกษา และชุมชน ในรูปแบบเครือข่ายธารนำา้ใจโดยคาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียน

โดยระดมทรัพยากรในการส่งเสริมสนับสนุนและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิ

โอกาส และความช่วยเหลือทางการศึกษา การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ

“ธารนำา้ใจเครือข่าย”

กิจกรรมคาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียนฯ ครั้งนี้ มีการออกเยี่ยมครอบครัวนักเรียน

จำานวน ๘๗ ครอบครัว ครอบคลุมพื้นที่ ๕ อำาเภอ ในสังกัด คือ อำาเภอเมืองฯ อำาเภอ

กาญจนดิษฐ์ อำาเภอดอนสัก อำาเภอเกาะสมุย และอำาเภอเกาะพะงัน ระหว่างเดือน

ธันวาคม ๒๕๕๗ – มกราคม ๒๕๕๘ ซึ่งในการเยี่ยมครอบครัวนักเรียนในครั้งนี้ คณะ

เยี่ยมบ้านให้การช่วยเหลือโดยนำาสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคและเงินสดเป็นทุนการ

ศึกษาจากงบประมาณตามโครงการ จำานวน ๗๙,๔๖๐ บาท (เจ็ดหมื่นเก้าพันสี่ร้อย

หกสิบบาทถ้วน) และจากบุคคล หน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน ให้การช่วย

เหลือ สพป.สฎ.๑ ขอขอบคุณผู้ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนให้กิจกรรมคาราวานเยี่ยมบ้าน

นักเรียนในครั้งนี้ ประสบความสำาเร็จลุล่วงด้วยดีเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้

ต่อจากหน้า ๑

ปชส.บ้านนอก รายงาน

คาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียน

Page 3: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1

การสอนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ควรเริ่มต้นตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย โดยครูสามารถจัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีพฤติกรรมแสดงออกเกี่ยวกับค่านิยมหลัก ๑๒ ประการได้ โดยจัดกิจกรรมง่าย ๆ ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก นับเป็นการปลูกฝังค่านิยมดังกล่าวในเด็กเล็กได้ ซึ่งโรงเรียนสามารถดำาเนินการได้ ดังนี้

ค่านิยมที่ ๑ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กิจกรรม ๑. ร้องเพลงชาติ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือสวดภาวนาตนตาม

ศาสนาที่ตนนับถือ กล่าวคำาปฏิญาณตนในกิจกรรมยามเช้า๒. แสดงความเคารพเมื่อเห็นการชักธงชาติขึ้นและลงจากเสาธง ๓. ให้เด็กรู้จักความหมายของสีแต่ละสีของธงชาติไทย ๔. เล่านิทาน ดูการ์ตูน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ๕. นำาเด็กไปร่วมกิจกรรมวันสำาคัญของศาสนา ๖. เชิญผู้นำาทางศาสนามาพูดคุย ๗. ร่วมกิจกรรมวันสำาคัญของพระมหากษัตริย์ ๘. เล่านิทาน ฉันรักในหลวง ๙. สนทนาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวง ฯลฯ ค่านิยมที่ ๒ ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงาม

เพื่อส่วนรวม กิจกรรม๑. เล่านิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ ความเสียสละ

และความอดทน ๒. สร้างข้อตกลงในห้องเรียน เช่น ไม่โกหก ไม่หยิบของผู้อื่น

แบ่งปัน เสียสละ เป็นต้น ๓. ฝึกให้ช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคสิ่งของ ๔. ฝึกการเข้าแถว รอคอย ตามลำาดับ ก่อน – หลัง ค่านิยมที่ ๓ กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ กิจกรรม ๑. ยกมือไหว้พ่อแม่ ก่อนไปโรงเรียนและกลับจากโรงเรียน ๒. เพื่อพบคุณครูยกมือไหว้สวัสดี ๓. จัดกิจกรรมวันพ่อ วันแม่ วันครู จัดป้ายนิเทศ ๔. วาดภาพระบายสี เล่านิทาน ท่องคำาคล้องจองเกี่ยวกับเรื่อง

ความกตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ ค่านิยมที่ ๔ ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและ

ทางอ้อม กิจกรรม ๑. ให้เด็กเล่นเกมส์ เกี่ยวกับจำานวน จัดหมวดหมู่ ฝึกการสังเกต

การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น ๒. เล่านิทาน สนทนาเกี่ยวกับนิทาน๓. ท่องคำาคล้องจอง ปริศนาคำาทาย

๔. ร่วมกันจัดมุมหนังสือในห้องเรียน พาเด็กไปห้องสมุด ๕. ถามคำาถามชวนคิด ฝึกหาเหตุผลก่อนตอบ ๖. ฝึกวาดภาพระบายสี ๗. ฝึกทำาโครงงานง่าย ๆ เช่น เพาะถั่วงอก ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์

เป็นต้น ค่านิยมที่ ๕ รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามกิจกรรม ๑. ให้เล่นการละเล่นแบบไทย ๒. แต่งกายแบบไทย กำาหนดวันในการแต่งกาย ๓. ทำาอาหารไทยง่าย ๆ ๔. ร่วมกิจกรรมตามประเพณีไทย เช่น วันลอยกระทง ร่วม

กันประดิษฐ์กระทง เป็นต้น ค่านิยมที่ ๖ มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อ

แผ่และแบ่งปัน กิจกรรม ๑. ทำาความดีในโรงเรียน เช่น รดน้ำาต้นไม้ ช่วยครูทำางาน

แบ่งของเล่นให้เพื่อน ช่วยเหลือผู้อื่น ทำาความสะอาดห้องเรียน ไหว้พระสวดมนต์ เป็นต้น

๒. เล่านิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะให้เด็กฟัง และถามเกี่ยวกับนิทาน

๓. วาดภาพความดีที่ทำาในโรงเรียน ค่านิยมที่ ๗ เข้าใจเรียนรู้ประชาธิปไตยอันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรม ๑. สร้างข้อตกลงของห้องเรียน เช่น ปิดน้ำา ปิดไฟ ทิ้งขยะถูก

ที่ เป็นต้น ๒. ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน ๓. ฝึกการเป็นผู้นำาผู้ตามที่ดี๔. วางแผนและหาข้อสรุปจากสมาชิกภายในกลุ่ม ค่านิยมที่ ๘ มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการ

เคารพผู้ใหญ่ กิจกรรม ๑. ระเบียบวินัยใส่ใจดีจริง ฝึกระเบียบวินัย เช่น การแต่ง

กาย การขออนุญาตก่อนออกจากห้อง การเข้าแถว การเคารพธงชาติ เป็นต้น

๒. กฎหมายดียิ่งทุกสิ่งทำาตาม บอกกฎจราจรง่าย ๆ เช่น การข้ามถนน ไฟเขียว ไฟแดง การเดินถนน ฝึกปฏิบัติตามกฎจราจรในโรงเรียน เป็นต้น

๓. มารยาทงาม ก้มไหว้ ขอโทษ ขอบคุณ ฝึกให้เด็กทำาความเคารพคุณครู พ่อแม่ แล้วกล่าวคำาว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ เมื่อทำาผิด

การสอนค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ในชั้นปฐมวัยสุทธิพงศ์ ทองสร้าง ศน.สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๑

Page 4: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1๔

การสอนค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ต่อมาจาก หน้า ๓ คุณลักษณะครูผู้สอนภาษาไทยต่อมาจาก หน้า ๘

ต้องกล่าวคำาว่า ขอโทษครับ ขอโทษค่ะ เมื่อมีผู้ให้ของหรือช่วยเหลือ ต้องกล่าวคำาว่า ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ

ค่านิยมที่ ๙ มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำา รู้ปฏิบัติตามพระราชดำารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กิจกรรม ๑. ฝึกการมีสติ คือให้ตั้งใจในการทำางาน การเล่น การทำา

กิจกรรมด้วยความอดทน และฝึกควบคุมตนเอง ทำาตามข้อตกลง ๒. รู้คิด รู้ทำา ฝึกวางแผนในการทำางาน ทำาตามแผนงาน ทำา

อะไร ก่อน – หลัง ๓. รู้จักปฏิบัติ เด็กปฏิบัติตามคำาสอนของพระเจ้าอยู่หัว เช่น

การประหยัด การออม การวางแผนในการทำางาน ความพอเพียง พอประมาณ เป็นต้น

ค่านิยมที่ ๑๐ รู้จักดำารงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อดออมไว้เมื่อยามจำาเป็น

กิจกรรม๑. การประหยัด ออมสิน ฝากเงิน การใช้สิ่งของ ยาสีฟัน การ

ใช้นำา้ ใช้ไฟ พัดลม ใช้กระดาษ ดินสอ สี เป็นต้น ๒. การพึ่งพาตนเอง ฝึกให้แต่งตัว รับประทานอาหาร

ทำาความสะอาดของเล่นของใช้ การเก็บของ การทำาเวรด้วยตนเอง ๓. ตั้งคำาถาม“เราจะทำาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

บ้าง”ค่านิยมที่ ๑๑ มีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอม

แพ้ต่ออำานาจฝ่ายต่ำา หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาปตามหลักศาสนา

กิจกรรม ๑. เล่านิทานเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย การหลอกลวง ดู

ภาพ ดูข่าว ๒. ออกกำาลังกาย เคลื่อนไหวตามเสียงเพลง การละเล่นแบบ

ไทย ๓. ทำากิจกรรมในวันสำาคัญตามหลักศาสนา ค่านิยมที่ ๑๒ คำานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของ

ชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองกิจกรรม ๑. เล่านิทานเกี่ยวกับการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปัน ๒. ตอบคำาถามว่าเราจะแบ่งปันให้ผู้อื่นอย่างไรได้บ้าง ๓. ปลูกต้นไม้และดูแลรักษา บอกความสำาคัญของป่าไม้ ผล

ของการตัดไม้ทำาลายป่า วาดภาพการอนุรักษ์ป่าไม้ ๔. มอบหมายความรับผิดชอบ เวรประจำาวัน

๓. มีความสามารถพิเศษ เช่น การแต่งคำาประพันธ์

ร้องเพลง เล่นดนตรี ฟ้อนรำา ขับเสภา เห่เรือ พากษ์โขน เชิด

หุ่นได้ หรือนำาเกมส์มาใช้ประกอบการสอน ความสามารถ

พิเศษนี้จะช่วยให้บรรยากาศในการเรียนการสอนภาษาไทย

มีชีวิตชีวาขึ้น

๔. หมั่นปรับปรุงตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ทันสมัย

อยู่เสมอ เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ค้นคว้าความรู้อยู่เสมอ วิจัย

พัฒนาการเรียนการสอน ทดลองการสอนด้วยตนเอง นำาผล

การวิจัยไปปรับปรุงการสอนของตนให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม

ขึ้น

๕. มีทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาไทย

เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพ คือ ใช้ภาษาได้ถูกต้องกาลเทศะ

สังคม และบุคคล เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้เรียนด้านการใช้

ภาษาไทย

๖. มีความรัก ความพอใจ และศรัทธาในวิชาชีพครู

รักผู้เรียน รักการสอน รู้สึกสนุกสนาน และมีความสุขในการ

สอน ความศรัทธาเป็นแรงบันดาลใจให้ครูเตรียมการสอน

ที่ดี ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง และปฏิบัติงานได้เต็ม

สติปัญญาความสามารถ ทำาให้การสอนมีประสิทธิภาพ

๗. มีวิธีการสอนดี ทั้งการบรรยาย อภิปราย

สาธิต การแบ่งกลุ่มย่อย การแก้ปัญหา การใช้เกมส์ เพลง

สถานการณ์จำาลอง ทำาให้บรรยากาศในการเรียนไม่ซ้ำาซาก

จำาเจ สิ่งสำาคัญคือ พยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม

เพื่อจะได้มีความรู้ ทักษะ ในการใช้ภาษาไทย .............

อีก ๑๑ ประการที่เหลือ ติดตามอ่านต่อฉบับหน้า ครับ

Page 5: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1๕

สาระสำาคัญของการลูกเสือ๑. ขบวนการลูกเสือคืออะไร ขบวนการลูกเสือ คือ ขบวนการเยาวชนมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึก

อบรมให้การศึกษาและพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี โดยไม่คำานึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ หลักการ และวิธีการ ซึ่งผู้ให้กำาเนิดลูกเสือโลกได้ให้ไว้ ขบวนการนี้เป็นขบวนการระดับโลก มีประเทศสมาชิก ๑๕๘ ประเทศ กอปรด้วย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและลูกเสือ ประมาณ ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ คน

๒. องค์ประกอบสำาคัญของการลูกเสือ ๒.๑ ลูกเสือ ๒.๒ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ๒.๓ มีจุดหมาย หรืออุดมการณ์ ๒.๔ กิจกรรม (โดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้ง) ๒.๕ การบริหารงาน ๓. จุดหมายหรืออุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.

๒๕๒๘ ระบุว่า คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ

๔. หลักการสำาคัญของการลูกเสือ ๔.๑ มีศาสนา ๔.๒ มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของตน ๔.๓ มีความศรัทธาในมิตรภาพและความเป็นพี่น้องของลูก

เสือทั่วโลก ๔.๔ การบำาเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ๔.๕ การยอมรับและปฏิบัติตามคำาปฏิญาณและกฎของลูก

เสือ ๔.๖ การเข้าเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ ๔.๗ มีความเป็นอิสระต่ออิทธิพลทางการเมือง ๔.๘ มีกำาหนดการพิเศษสำาหรับการฝึกอบรมโดยอาศัย - ระบบหมู่ ระบบกลุ่ม - การทดสอบเป็นขั้น ๆ - เครื่องหมายวิชาพิเศษ - กิจกรรมกลางแจ้ง ๕. วิธีการ วิธีการที่จะบรรลุถึงจุดหมายหรืออุดมการณ์ของคณะลูกเสือ

แห่งชาติ คือ การจัดให้มีการฝึกอบรมที่ก้าวหน้า สนุกสนาน ดึงดูดใจ โดยอาศัยคำาปฏิญาณและกฎของลูกเสือ เป็นบรรทัดฐาน มีผู้ใหญ่เป็นผู้คอยให้คำาแนะนำา

อ่านต่อหน้า ๗

สาระสำาคัญของลูกเสือนายสุมนต์ ศิริธรรม รอง ผอ. สพป.สฎ.๑

อรนุช ปิติสุข รายงาน

นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำานวยการสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ผู้อำานวยการคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ กล่าวว่า การจัดงานวันครูในปีนี้ เป็นครั้งที่ ๕๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายราชสักการะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายครบุ ๕ รอบ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “พระผู้ทรงเป็นแม่และครูแห่งแผ่นดิน”และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ เป็นการระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติวิชาชีพครูและรณรงค์ให้สังคมเห็นความสำาคัญของครูและระลึกถึงพระคุณครู เพื่อธำารงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติซึ่งมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากทุกหน่วยงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมงาน จำานวน ๑,๖๓๐ คน สำาหรับการจัดงานวันครูในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุน การดำาเนินงานจากงบประมาณของราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สพป.สฎ.๑ ,สพม.๑๑ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูฯ สกสค. สำานักงานเลขาธิการคุรุสภา

ข่าวจากคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑

Page 6: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1

กลุมงานวินัยและนิติการ

ระเบียบกฎหมายน่ารู้

“ปัดฝุ่น”สิ้นวันที่ ๓๐ กันยายน ของทุกๆ ปี ถือได้ว่าเป็นวันสิ้นสุดชีวิต

ราชการ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีอายุครบ ๖๐

ปี ในปีงบประมาณนั้นๆ การบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการแทน

ตำาแหน่งที่ว่างมีมาทุกยุค ทุกสมัย สืบต่อกันมาเป็นระยะๆ ข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษารุ่นใหม่ๆ ย่อมเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ตามมาตรฐานกำาหนดตำาแหน่งและบทบาทหน้าที่ที่กฎหมายกำาหนดเป็น

อย่างดี เพราะแต่ละคนย่อมจะต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อใช้ในการฝ่าฟันให้

ผ่านสนามสอบ แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติราชการแล้วก็ยังมีเพื่อนข้าราชการ

ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่ทราบในส่วนของ

หนังสือสั่งการต่างๆ แนวทางปฏิบัติที่ส่วนราชการกำาหนด นโยบายของ

รัฐบาล รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนบรรจุแต่งตั้งเข้า

รับราชการต่อคำาถามที่ว่า หนังสือสั่งการ แนวทางปฏิบัติที่ส่วนราชการ

กำาหนด นโยบายของรัฐบาล รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีนั้น มีความสำาคัญ

อย่างไร คำาตอบจะอยู่ในมาตรา ๘๕ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ความว่า....

มาตรา๘๕ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติ

หน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการ

และหน่วยงานการศึกษามติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือ

ประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ

แบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษามติคณะรัฐมนตรีหรือ

นโยบายของรัฐบาลประมาทเลินเล่อหรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง

รักษาประโยชน์ของทางราชการอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่

ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษา คณะผู้เขียนจึงขอหยิบยกมติคณะรัฐมนตรีและ

แนวทางปฏิบัติฉบับเก่าๆ ที่มีความสำาคัญมาปัดฝุ่นเผยแพร่ เพื่อให้เพื่อน

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับทราบและยึดถือปฏิบัติได้

อย่างถูกต้อง

*มติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่าย

บริหาร ที่ นว ๘๙/๒๔๙๗ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๗ “ข้าราชการผู้

มีหน้าที่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย หรือระเบียบ

แบบแผนข้อบังคับอันตนจำาต้องปฏิบัติและอยู่ในหน้าที่ของตนมิได้ การ

ที่ข้าราชการปฏิบัติงานไม่ชอบด้วยกฎหมายระเบียบแบบแผนก็ดี หรือ

ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายและระเบียบแบบแผนกำาหนดก็

ดี ให้ถือว่าเป็นการผิดวินัยหรือหย่อนสมรรถภาพแล้วแต่กรณี และให้ผู้

บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณีต่อไป”

*มติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่

นว ๘๒๖/๒๔๘๒ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๒ “ข้าราชการประจำา

การและข้าราชการบำานาญผู้ใดต้องหาคดีอาญา หรือคดีแพ่ง หรือ

คดีล้มละลาย ให้รายงานเจ้ากระทรวง ทบวง กรมในสังกัดทราบโดย

ด่วน ทั้งนี้เพื่อเจ้ากระทรวง ทบวง กรมจะได้ทราบความเป็นไปของ

ข้าราชการในสังกัด”

*หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๕๐๓/๕๕๕๗ ลงวันที่ ๒๖

กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑ “กรณีที่ข้าราชการถูกจับกุมคุมขังและได้รับอนุญาต

ให้ประกันตัว เงินเดือนระหว่างที่ถูกจับกุมคุมขังเป็นวันที่ไม่ได้มาปฏิบัติ

ราชการ ไม่จ่ายเงินเดือนให้ คงจ่ายให้เฉพาะวันที่มาปฏิบัติราชการ

ระหว่างที่ได้รับการประกันตัวจนถึงวันก่อนถูกจำาคุกตามคำาพิพากษา”

โปรดติดตามอ่านต่อฉบับถัดไป

ภิญโญ ไม้ทองงาม (น.บ.,น.ม.,ศษ.ม.)

อัครเดช คงทรัพย์ (น.บ.,นบ.ท.)

ผลการประกวดจัดการศึกษาพิเศษสพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๑

ผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น

ชนะเลิศ นางจุราภรณ์ คงเจริญ

รองชนะเลิศอันดับ ๑ นางจิรฉัตร ไชยสกุล

ครูผู้รับผิดชอบโครงการดีเด่น

ชนะเลิศ นางอุไร จุลกัลป์

รองชนะเลิศอันดับ ๑ นางองุ่น สุขสมพร

รองชนะเลิศอันดับ ๒ นางอรัญญา อินทปัน

นางสาวศรัญญา วงค์ประยูร

พี่เลี้ยงเด็กพิเศษดีเด่น

ชนะเลิศ นางสาวสุภาวรรณ ชูมี

รองชนะเลิศอันดับ ๑ นางสาวสุพิชญ์ แก้วอนุราช

รองชนะเลิศอันดับ ๒ นางบงกช คงแป้น

นางสาวสุภาวรรณ ชูมีนางจุราภรณ์ คงเจริญ นางอุไร จุลกัลป์

ข้อมูล : ชาญ กระมล ศึกษานิเทศก์ชำานาญการพิเศษ

Page 7: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1๗

กุสโลบายในการฝึกอบรมลูกเสือ ใช้หลักสำาคัญดังต่อไปนี้ ๕.๑ เครื่องแบบลูกเสือ ถือว่าเป็นเครื่องแบบที่มีเกียรติ

เป็นเครื่องหมายแห่งความดี ดังนั้น ลูกเสือจะต้องพิถีพิถันในการแต่งเครื่องแบบลูกเสือที่ถูกต้อง และสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ กับทั้งจะต้องประพฤติดีปฏิบัติตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือ เพื่อเป็นการรักษาชื่อเสียงของตนและของคณะลูกเสือแห่งชาติ ส่วนเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ควรแต่งเครื่องแบบลูกเสือในโอกาสอันควร และถือว่าเครื่องแบบลูกเสือเป็นเครื่องหมายแห่งความเสียสละ ในการที่ตนได้มีบทบาทในการฝึกอบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดี

๕.๒ คำาปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ผู้กำากับพึงหมั่นฝึกอบรมให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตามคำาปฏิญาณและกฎของลูกเสืออยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก และการกระทำาความดีต่าง ๆ โดยเน้นให้เห็นว่าผู้เป็นพลเมืองดีนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำาความดีและใช้ความดีนั้นให้เป็นประโยชน์มิใช่เป็นคนดีโดยอยู่เฉย ๆ ไม่ทำาอะไรเลย

๕.๓ การบำาเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำาให้กิจการลูกเสือมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป รากฐานของคติพจน์ของลูกเสือทั้ง 4 ประเภท เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ของลูกเสือในการบำาเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

“ทำาดีที่สุด” คือ การทำาเพื่อคนอื่นหรือเพื่อส่วนรวม เป็นการกระทำาที่ดีที่สุด

“จงเตรียมพร้อม” คือ พร้อมที่จะทำาความดี พร้อมเพื่อสร้าง พร้อมเพื่อส่วนรวม

“มองไกล” คือ มองให้เห็นเหตุผล มองให้เห็นผู้อื่น มองให้เห็นส่วนรวม มิใช่มองแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง

“บริการ” คือ การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น แก่ส่วนรวม นอกจากนี้ ในคำาปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ก็ได้ระบุถึงการ

บำาเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยถือว่าสำาคัญมาก แหล่งหรือโอกาสที่ลูกเสือจะบำาเพ็ญประโยชน์นั้น ควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวก่อน แล้วขยายให้กว้างขวางออกไปตามวัยและความสามารถของเด็ก

๕.๔ การฝึกอบรมที่ต่อเนื่องกันและก้าวหน้าสูงขึ้น ๕.๕ ระบบหมู่ ฝึกความรับผิดชอบ การเป็นผู้นำา ผู้ตาม

การปกครองระบอบประชาธิปไตย ๕.๖ระบบเครื่องหมายวิชาพิเศษมีมากมายหลายอย่าง

ซึ่งลูกเสืออาจเลือกเรียนเรื่องที่ตนสนใจได้และเมื่อได้ผ่านการทดสอบแล้ว ก็จะได้รับเครื่องหมายซึ่งนำามาประดับกับเครื่องแบบเป็นการเชิดชูเกียรติและแสดงสมรรถภาพของตนส่วนหนึ่ง

๕.๗ กิจกรรมโดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เดินทางไกล อยู่ค่ายพักแรม ฯลฯ

๕.๘ การเล่น (เกมส์ต่าง ๆ )

๕.๙ การร้องเพลงและการชุมนุมรอบกองไฟ ๖. แนวการพัฒนาลูกเสือ ๘ ประการ ๖.๑ พัฒนาทางกาย ๖.๒ พัฒนาทางสติปัญญา ๖.๓ พัฒนาทางจิตใจและศีลธรรม ๖.๔ พัฒนาในเรื่องการสร้างค่านิยมและเจตคติ ๖.๕ พัฒนาทางสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ๖.๖ พัฒนาทางสัมพันธภาพทางสังคม ๖.๗ พัฒนาทางสัมพันธภาพต่อชุมชน ๖.๘ พัฒนาทางด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ๗. พลเมืองดีในทัศนะของการลูกเสือ ๗.๑ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๗.๒ มีเกียรติเชื่อถือได้ ๗.๓ มีระเบียบวินัย สามารถบังคับใจตนเองได้ ๗.๔ สามารถพึ่งตนเองได้ ๗.๕ เต็มใจและสามารถช่วยเหลือชุมชนและบำาเพ็ญ

ประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ทุกเมื่อ ๘. ประโยชน์ของการลูกเสือ ๘.๑ เป็นการศึกษานอกแบบ ๘.๒ ช่วยเสริมการศึกษาในโรงเรียนในด้าน - ความประพฤติ นิสัยใจคอ สติปัญญา - ความมีระเบียบวินัย - สุขภาพและพลัง - การฝีมือและทักษะ - หน้าที่พลเมืองและการบำาเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ๙. ท่านได้อะไรจากการลูกเสือ ๙.๑ ได้ผจญภัย (Adventure) ๙.๒ มีมิตรภาพ (Friendship) ๙.๓ มีชีวิตกลางแจ้ง (Out door life) ๙.๔ สนุก (Enjoyment) ๙.๕ ความสัมฤทธิ์ผล (Achievement) (ผจญภัย – ได้เพื่อน – เถื่อนธาร – การสนุก – สุขสม) ๑๐. กิจการลูกเสือต้องการอะไร ๑๐.๑ ต้องการเยาวชนมาสมัครเป็นลูกเสือมากขึ้น

(พลเมืองดีมีคุณภาพจะมากขึ้น) ๑๐.๒ ต้องการผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีสมรรถภาพในการ

ฝึกอบรม ๑๐.๓ ต้องการเงินเพียงพอ เพื่อนำามาใช้ในการฝึกอบรม

และบริหารกิจการลูกเสือ ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

สาระสำาคัญของลูกเสือต่อมาจากหน้า ๕

ขอเชิญรับฟังรายการ “การศึกษาพบประชาชน”คลื่น FM 94.0 Mhz. ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.

Page 8: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

เทิดพระเกียรติบูชาพระภูเบศร์ไทยทั่วเขตทวยเทพไท้สรรเสริญ ครูแห่งแผ่นดินธรรมนำาเจริญ พระคุณมากล้นเกินพรรณนาทรงชี้แนะแนวทางกระจ่างจิต เป็นปรัชญาชีวิตหลายสาขา เศรษฐกิจพอเพียงทรงนำามา เห็นคุณคุณค่าคลายทุกข์พาสุขใจ สดุดีเชิดชูครูแห่งชาติ สามพระองค์ทรงปราชญ์ราษฎร์เลื่อมใส เป็นทั้งพ่อ แม่ ครู อุ้มชูไทย ทรงดูแลห่วงใยอย่างปราณี โอกาสดีวันครูมาบรรจบ ขอน้อมนบบาทองค์พระทรงศรี รำาลึกในพระคุณเอื้ออารี ครูแสนดีในดวงใจ...ไทยนิรันดร์

สุภารัตน์ แก้วโรย ศึกษานิเทศก์ชำานาญการพิเศษ

คุณลักษณะและบทบาทของครูผู้สอนต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทยคุณลักษณะของผู้สอนที่ดีตามคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่ม

สาระการเรียนรู้ภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการที่กล่าวถึงลักษณะของครู

ภาษาไทยที่ดี มี ๑๘ ประการ ดังนี้

๑. มีความรู้ภาษาไทยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความรู้อย่างดีในเรื่องที่

สอน ผู้เรียนจะได้รับความรู้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผู้เรียนในปัจจุบันเป็นผู้ที่

อยากรู้อยากเห็น ใคร่รู้ใคร่เรียน เมื่อได้เรียนกับครูที่มีความรู้ จะได้รับความรู้

กว้างขวาง ลึกซึ้ง เกิดศรัทธาในตัวครู มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และ

มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทย

๒. มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการในสาขาอื่น ๆ ตลอดจนความรู้ รอบรู้

อย่างกว้างขวาง การนำาเนื้อหาวิชาอื่น ๆ มาสัมพันธ์หรือกล่าวถึง จะทำาให้

การเรียนวิชาภาษาไทย มีชีวิตชีวาขึ้น เช่น การร้องรำาทำาเพลง นาฏศิลป์

ประกอบการสอนภาษาไทย ทำาให้เกิดความสุขสนุกสนาน การ

ให้นักเรียนวาดภาพประกอบบทเรียน วรรณคดีเป็นการสอนแบบ

สัมพันธ์วิชา ที่ช่วยให้นักเรียนได้แสดงความสามารถทางศิลปะ

ควบคู่กับภาษาไทย

พบกับศึกษานิเทศก ์ภาษาไทยอรุณศรี จงจิตต์

เกร็ดความรู้การบริหาร

อุปนิสัย ๗ ประการ สำาหรับผู้นำาที่ทรงประสิทธิภาพคนที่มีประสิทธิภาพในการทำางาน มักมีลักษณะนิสัยเฉพาะโดดเด่นที่บางคนก็

อาจมีครบทุกข้อ แต่บางคนมีเกือบครบ จากหนังสือ “7 Habits for Highly Effective

People”เขียนโดย Stephen R. Covey

๑. จะให้เขาทำาอะไร....ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำาก่อน (Be Proactive)

คนที่อยู่ในประเภทที่เป็นผู้กระทำา จะเป็นผู้เลือกที่จะทำาหรือจะไม่ทำาสิ่งใด ๆ

ด้วยเหตุด้วยผลของตนเอง และเขาจะคิดว่าตัวเองเป็นผู้กำาหนดชีวิตของตน ไม่ผัดวัน

ประกันพรุ่งหรือรอเวลา ไม่ใช่ว่าถึงเวลาแล้วค่อยคิดจะทำา แล้วถ้าจะให้เพื่อน ๆ มาช่วย

งานในภารกิจของตนเอง ต้องเริ่มลงมือก่อนเสมอ...

๒. เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายชัดเจนที่อยู่ในใจ (Begin with the end in mind)

การกำาหนดเป้าหมายและการวางแผนการทำางาน หรือแม้แต่ชีวิตของคนเราไว้

ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะทำาการอะไรใด ๆ การได้กำาหนดหรือวางแผนไว้ก่อนจะทำาให้เห็นทิศทาง

ก้าวไปข้างหน้าได้เร็ว หรือมีโอกาสแก้ไข

๓. ทำาสิ่งสำาคัญกว่าก่อนหรือเรียงลำาดับความสำาคัญให้ดี(Put first things first)

ในชีวิตประจำาวันอาจจะต้องมีกิจกรรมหลายอย่างที่จะต้องทำา อาจจะจำาแนก

ได้เพื่อจะได้เรียงลำาดับการทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

ก) สำาคัญและเร่งด่วน – ต้องทำาโดยเร็วที่สุด และต้องทำาให้ดีด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่

น่าจะเกิดหากวางแผนไว้ดี ..................................................อ่านต่อฉบับหน้า

..อ่านต่อหน้า ๔

รองณันศภรณ์ ......นำาเสนอ

Page 9: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1

ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีวิวัฒนาการทางด้านวัตถุขึ้นตลอดเวลา ส่งผลให้สภาพสังคมที่หล่อหลอมแนวคิดแนวปฏิบัติของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วย รวมทั้งในด้านการเรียนการสอน จึงทำาให้นักการศึกษายุคนี้ได้เสนอระบบการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษารวมทั้งหลักการเรียนรู้แบบต่างๆที่จะทำาให้การศึกษามีความก้าวหน้าและมีคุณภาพ โดยนักเรียนมีความรู้เท่าทันสามารถดำารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติและความคิดของคนในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ไว้มากมายทั้งที่ปฏิบัติตามได้และปฏิบัติตามไม่ได้เพราะคนคิดมักจะไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติของตนเองแต่คนที่ต้องใช้ปฏิบัติคนคิดไม่ได้ถามว่าทำาได้หรือเปล่า

๑. มนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลายด้วยหากผู้สอนนำารูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำาให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา

๒. ผู้ เรียนควรเป็นผู้กำาหนดองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่นำาความรู้ไปใส่สมองผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนดำาเนินรอยตามผู้สอน

๓. โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียน ซึ่งมีวินัย มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่น หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการแบบให้อิสระ หรือแบบประชาธิปไตย

๔. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่า ทุกๆ ๑๐ ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ กัน

๕. ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า “ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด” และ “ระบบที่ยืดหยุ่นก็จะผลิตคนที่รู้จักการยืดหยุ่น”

๖. สังคม หรือชุมชนที่มั่งคั่ง รำา่รวยด้วยข้อมูลข่าวสาร ทำาให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ สถานที่

๗. การเรียนรู้แบบเจาะลึก (deep learning) มีความจำาเป็นมากกว่าการเรียนรู้แบบผิวเผิน (shallow learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึก รู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบ งูๆ ปลาๆ ดังจะเห็นจากในอดีตว่ามีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป จนผู้เรียนไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

๘. การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ ต้องการครูที่มีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำาหน้าที่สอน (instruc-tor) คือต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำาผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (learning travel agent) บทบาทของครูในโลกยุคใหม่จึงต้องกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดูแลโปรแกรมการ

โลกการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก

ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

เรียนการสอนเท่านั้น เพราะทำาให้เด็กที่จบจากโรงเรียนมีปัญหาในเรื่องความรู้ และทักษะ คือรู้ก็รู้ไม่จริง แล้วยังขาดทักษะที่จำาเป็น ต่อการประกอบอาชีพอีกด้วย

๙. การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน (school-ing) กับ การศึกษา (education) ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เคยกล่าวไว้กับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (Mr.R.A. Butler) เมื่อปี ค.ศ.๑๙๙๔ ว่า “โรงเรียนไม่มีความจำาเป็นมากนักในการจัดการศึกษา เพราะเป็นเพียงสถาบันที่มีงานหลักคือการพรำา่อบรมสั่งสอนเด็กๆ เท่านั้น แต่การศึกษามีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและการศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนน้อยมาก”

๑๐. โลกอนาคตจะให้ความสำาคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน (home – based education) มากขึ้น เด็กๆ จะเรียนอยู่ที่บ้าน โดยเรียนจากประสบการณ์ของนักการศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง

นอกจากหลักการเรียนรู้ ๑๐ ประการ ข้างต้นการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน และครูผู้สอนจะต้องสามารถเป็นไกด์แนะนำาในการค้นคว้าหาความรู้จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในยุคนี้ได้อย่างเต็มที่ โดยที่อาจไม่ต้องสอนแต่เนื้อหาให้นักเรียนท่องจำาเพียงอย่างเดียวแต่ให้นักเรียนได้ค้นคว้าและสามารถนำาความรู้ที่ได้มาอภิปรายซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความคิดของตัวเองได้ การออกแบบระบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ รูปแบบการเรียนการสอนโดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่เรียกว่า constructivism เพราะเป็นทฤษฏีที่ผู้เรียนสามารถดึงความรู้ที่มีอยู่เดิมมาต่อยอดด้วยการค้นคว้าข้อมูล คิดวิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็น เพื่อต้องการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนให้เกิดขึ้นจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องมีความสัมพันธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำาดับที่นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนนั้นด้วย เช่นการกำาหนดปัญหาที่สนใจและการทำากิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ และความ สามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้ นอกจากนี้พ่อแม่ก็มีส่วนสำาคัญในการศึกษาของผู้เรียนด้วย ดังนั้นในการศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน พ่อแม่จะต้องมีส่วนร่วมเพื่อคอยสนับสนุนให้กำาลังใจและให้คำาแนะนำาบุตรหลานในการเรียนรู้ชีวิตให้อยู่อย่างมีความสุขและปลอดภัยในสังคมยุคไซเบอร์ เพราะไม่ว่าทฤษฏีการศึกษาใดการเรียนการสอนดีเช่นใด ก็ไม่สามารถช่วยให้เยาวชนมีความสุขและความปลอดภัยในชีวิตได้เท่ากับ “พ่อแม่”

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/374764

ภาพกิจกรรมวันเด็ก

ร่วมพิธีงานวันเด็กแห่งชาติ ณ โรงเรียน

วัดปากแพรก อ.ดอนสัก เมื่อวันที่ ๑๐

มกราคม ๒๕๕๘

ร่วมพิธีงานวันเด็กแห่งชาติ ณ เกาะ

ลำาพู อ.เมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๐

มกราคม ๒๕๕๘

ร่วมพิธีงานวันเด็กแห่งชาติ ณ โรงเรียน

วัดสมหวัง อ.เมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวัน

ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๘

ปชส.บ้านนอก/รายงาน

Page 10: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1

ที่ปรึกษา นายชุมพล ศรีสังข์ บรรณาธิการบริหาร นายประทีป ทองด้วง นายผัน หอมเกตุ นายสัญญานนท์ พรหมมณี นายมณีโชติ แพเรืองบรรณาธิการ นายสมชาย สำาอางค์กายผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวพิมพ์มาดา เรืองนุ้ย

ประจำากองบรรณาธิการ นายธนาวุฒิ รักษ์หนู นายสุมนต์ ศิริธรรม ดร.ณันศภรณ์ นิลอรุณ นายมนต์ชัย วุฒิพงศ์ นายไพจิตร รักษาสรณ์ นายพรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก นายสุภารัตน์ แก้วโรย นางอารยา จันทวี

นางเพลินชม ละม้ายนางทัศนีย์ รุ่งเรืองนางอรุณศรี จงจิตต์นายภิญโญ ไม้ทองงามนายอัครเดช คงทรัพย์นายเจด็จ หนูแกล้วส.ต.ต.ยุทธนา บุญยะตุลานนท์นางสาวพิมพ์มาดา เรืองนุ้ย

นายชุมพล ศรีทองกุลนางอรนุช ปิติสุขกราฟฟิค/รูปเล่ม/ศิลปกรรม นายสมชาย สำาอางค์กายภาพถ่าย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ เครือข่ายประชาสัมพันธ์

เจ้าของ สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๑ ถ.ดอนนนก ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๐๐๐ โทร ๐๗๗ ๒๗๓๒๙๘ www.surat1.go.th

๑๐

โดย....รองแวว

ครบ ๓ ฉบับแล้วครับ ฉบับนี้ดีไม่ดี ถูกใจหรือไม่ช่วยวิจารณ์และเสนอแนะมาได้นะครับ พร้อมรับคำาติชม ต้องการแค่หยิกหยอก

พอถลอก เจ็บ ๆ คัน ๆ คงไม่ว่ากันนะครับ เปิดประเด็นคนแรกคงจะต้องเป็นการขออภัยท่าน ผอ.สุนัย ตรียุทธ ผอ.คนใหม่

แห่ง รร.บ้านบางใหญ่ ที่ฉบับก่อนไปลงชื่อเป็น ผอ. รร. บ้านห้วยโศก ผิดได้อย่างไร สงสัยจริง ๆ อีกท่านหนึ่งครับที่จะต้อง

พลอยยินดีด้วยอย่างยิ่งกับ ผอ.สาธิต สร้างสกุล ผอ.หนุ่ม รร.วัดเขาพระนิ่ม ที่เกี่ยวก้อยสาวงามเข้าประตูวิวาห์ มีทั้งคนอิจฉา และ

ตาค้าง .... โอกาส วาสนา ไม่เหมือนกันนะครับ มือประสานแห่งเครือข่ายท่าทองอุแท ผอ.สุริยา จันทร์สงค์ จัดใหญ่อีกแล้ว

กับผ้าป่าสามัคคี เพื่อการศึกษา ถึงกับรับมโนราห์มาแสดงภาคกลางคืน เพื่อนฝูงมาร่วมงานอย่างคับคั่งเช่นเดิม ลงทุนเต็ม

ที่สำาหรับเสี่ยเพิ่มศักดิ์ บุญยรัตน์ ครู คศ.๓ รร.บ้านบางใหญ่ ถอยเสื้อสูทราคา ๕ พันกว่าบาทมาใส่ เมื่อถูกรายการ “แหลงข่าว

เช้านี้” เชิญไปพูดคุยเกี่ยวกับงานวันครูประเด็น“ครูผู้ให้ความรู้คู่คุณธรรม”งานนี้ถอดชุดครูภารโรงสักทีนะครับ เห็นใจ รอง

ผอ.สพป.สฎ.๑ ประจำาอำาเภอต่าง ๆ พร้อมคณะทีมงานประธานเครือข่ายต่าง ๆ ที่ต้องนำาคณะออกเยี่ยมบ้านเด็กแบบเคาะประตู

ดูสภาพจริงตามโครงการ คาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัว

ยากจน” เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๗ พรรษา โดยเฉพาะ รองณันศภรณ์ นิลอรุณ ตื่นตี ๕ ขึ้นรถลงเรือไปเกาะพะงัน

ในวันเสาร์ – อาทิตย์ พร้อมรองมนต์ชัย วุฒิพงศ์ และรองประทีป ทองด้วง ซึ่งต้องเยี่ยมนักเรียนในเขตอำาเภอเกาะสมุย ขอชื่นชม

ทีมงานทุกคนจริง ๆ ประธานเครือข่ายวันนี้ต้องเป็นผู้นำาจริง ๆ ครับ อย่างเช่น ผอ.วีระพงศ์ ไชยมาตร์ ประธานเครือข่ายช้าง

คู่ ลุกขึ้นเดินมาประท้วงหน้าห้องประชุมผู้บริหารโรงเรียน เมื่อพิธีกรอ่านชื่อ ผอ. สิทธิพล พรหมณี ผู้บริหารในเครือข่ายตกหล่นใน

การรับรางวัลโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ๒ ปี ติดต่อกัน เรียกคะแนนนิยมได้ดีจริง ๆ คงต้องเลือกให้เป็นประธานต่อ

อีกสมัยแน่ ๆ ปิดท้ายฉบับคงต้องยกมือให้กำาลังใจแก่ น้องอรนุช ปิติสุข เจ้าหน้าที่คุรุสภา สพป.สฎ. ๑ ที่ต้องประสาน

งานทั้งกลางวันกลางคืน เสาร์ – อาทิตย์ เพื่อให้กิจการของคุรุสภาสำาเร็จไปด้วยดี โดยเฉพาะงานวันครูของทุกอำาเภอ แต่น้องยังยิ้ม

เสมอที่เจอผู้มาติดต่อต้องขอเป็นกำาลังใจให้นะครับ สิ่งที่ให้คนอื่นแล้ว ไม่ต้องลงทุน และมักจะได้ความรู้สึกดี ๆ ตอบแทนได้แก่ การ

ยิ้ม การให้อภัย ขอโทษ ขอบคุณ ใครนำาไปใช้เป็นบวกเสมอครับ......

สุนัย ตรียุทธ เพิ่มศักดิ์ บุญยรัตน์ ณันศภรณ์ นิลอรุณ มนต์ชัย วุฒิพงศ์ วีระพงศ์ ไชยมาตร์ อรนุช ปิติสุข

Page 11: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1๑๑

โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ สู่ผู้เรียน : คืนครูให้ศิษย์จุดมุ่งหมาย คือ การยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยการพัฒนาครูให้สามารถ

ทำาหน้าที่จัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อให้บรรลุผลการเรียน ใน ๓ มิติหลัก ได้แก่

- ด้านความรู้ในสาระวิชาหลัก

- ด้านการสร้างทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ ๒๑

- ด้านคุณลักษณะการเป็นพลเมืองไทยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม

ที่มาของโครงการและการดำาเนินการ คือ

๑. ข้อมูลโครงการ โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เป็นโครงการนำาร่อง

การกระจายอำานาจ ที่ผูกโยงกับความรับผิดชอบ ให้สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผลักดันและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดผลและ

เปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ

กพฐ.) ได้ให้การสนับสนุนการดำาเนินงานอย่างเต็มที่ ขณะนี้มีสำานักงานเขตพื้นที่

การศึกษา ที่อยู่ในระยะแรกของการดำาเนินงาน จำานวน ๒๐ เขต กระจายอยู่ในทุก

ภูมิภาคทั่วประเทศ

๒. กลุ่มเป้าหมาย จำานวนเขตพื้นที่การศึกษาที่จะเข้าร่วมโครงการตลอด

๓ปีของการดำาเนินงานโครงการ แต่ละปีแบ่งเป็น ๒ ระยะ รวม ๖ ระยะ ครอบคลุม

๒๒๕ เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ดังนี้

ระยะที่ ๑ จำานวน ๒๐ เขต

ระยะที่ ๒ - ๕ จำานวน ๔๐ เขต และ

ระยะที่ ๖ จำานวน ๔๕ เขต

แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาจะพิจารณาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายช่วงเริ่มต้น

จำานวน ๑๕ โรงเรียน

๓. แนวความคิดโครงการ มุ่งเน้นการปลดล็อกสิ่งที่

เป็นอุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพ ปรับระบบการบริหาร

จัดการใหม่ และปรับระบบสนับสนุนส่งเสริมการทำางานของ

ครูและบุคลากรใหม่ การปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน โดยส่ง

เสริมให้โรงเรียนและสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้การชี้แนะ

(Coaching) การจัดวงสนทนาทบทวนการปฏิบัติ (After-action

review: AAR) และการเดินสังเกตการสอนของครู (Learning

Walk) เพื่อให้ได้ข้อมูลจากสภาพการทำางานจริง มาปรับปรุง

พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้านความรู้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

ความเป็นพลเมืองไทยที่ดี และความสุข

๔. การวิจัยติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ประกบ

ไปตลอดระยะเวลาดำาเนินงานโครงการ ซึ่งจะมีหน่วยงานอื่นเป็น

ผู้ดำาเนินการ อาทิ สำานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)

ส่วน สพฐ. จะส่งเสริม สพท.ให้วิจัยเพื่อการเรียนรู้ (แผนภาพ

สังเคราะห์แนวทางการวิจัยจากการนำาเสนอของศึกษานิเทศก์

โดย รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา)

ที่มาของข้อมูล : พิทักษ์ โสตถยาคม สำานักพัฒนานวัตกรรมการ

ศึกษา สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน : คืนครูให้ศิษย์มนต์ชัย วุฒิพงศ์ รอง ผอ.สพป.สฎ.๑

Page 12: ED.SURAT.1 no 186

หนังสือพิมพ์ข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับประจำาวันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘ ED.SURAT.1๑๒

คาราวานเยี่ยมบ้านนักเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๘๗ พรรษา ๘๗ ครอบครัว จุดอำาเภอดอนสัก จำานวน ๑๒ ครอบครัว เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๘

รอบรั้ว สพป.สฎ.๑

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนูน้อย เข้า

อวยพรปีใหม่ ผอ.ชุมพล ศรีสังข์

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เครือข่าย

ปากแพรก ประชุมการปฏิรูปการเรียนรู้ สู่ผู้เรียน

คณะกรรมการติดตามประเมินผล มาตรฐานสำานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา ประเมินมาตรฐาน สพป.สฎ.๑