28
Vol. 1

Fette vol.01

  • Upload
    -

  • View
    229

  • Download
    0

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Federation of thai language and culture teachers in europe

Citation preview

Page 1: Fette vol.01

Vol. 1

Page 2: Fette vol.01

สวัสดีค่ะ FOTTEคือวารสารของสมาพันธ์ครูภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในยุโรปหรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษFederationOfThailanguageandcultureTeachersinEuropeจัดทำาขึ้นสำาหรับผู้ที่เป็นสมาชิกและผู้ที่สนใจทั่วไปซึ่งจัดส่งให้ทางอีเมล์เท่านั้นหากท่านต้องการพิมพ์ลงกระดาษเพื่อสะดวกในการอ่านท่านได้รับการอนุญาตจากFOTTEให้ทำาได้คุณภาพของสีอาจไม่ได้มาตรฐานของงานพิมพ์ที่สวยงามเนื่องจากจุดประสงค์หลักเพื่อความสะดวกในการจัดส่งให้สมาชิกทางอีเลกโทรนิคเมล์ ผู้ที่ต้องการทราบเกี่ยวกับFOTTEสามารถอ่าน“เสียงจากยุโรป”และอ่านบทสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ“Howwespreadtheword”นอกจากนั้นท่านยังสามารถหารายละเอียดได้ที่www.fottethaieuro.com สำาหรับสมาชิกจะได้รับวารสารFOTTEทุกฉบับส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกจะได้รับบ้างไม่ได้รับบ้างไม่ต่อเนื่องต้องการเป็นสมาชิกของFOTTEสามารถหารายละเอียดได้ในฉบับนี้ ศรีจันทร์ศรีจรูญแอนเดอร์สัน(แม่วาด) บรรณาธิการ

Editor’snote

2

Page 3: Fette vol.01

“เมล์แรกจากประธาน สุพรรณี บุญถูก ถึงคณะกรรมการและที่ปรึกษาของ FOTTE

MY FRIENDS AND PARTNERS... LET’S BE LIKE THE GEESE!!!

เราจะเปรียบเทียบตัวเราและเพื่อนร่วมงานเป็นเสมือนห่าน เคยเห็นห่านบ้างไหม เมื่อใดที่คุณเห็นฝูงห่านอพยพหลบหนาวไปสู่เขตอบอุ่นละก็คุณจะเห็นห่านบินเป็นรูปตัว V แล้วคุณรู้ไหมว่าทำาไมถึงเป็นเช่นนั้นการบินเป็นรูปตัว V จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่านทั้งฝูงได้ 71% เมื่อเปรียบเทียบกับห่านที่บินโดยลำาพัง

บทเรียนที่ 1หากมีเป้าหมายเดียวกัน และทำางานร่วมกันเป็นทีมจะทำาให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น ความร่วมมือร่วมใจในทีมจะก่อให้เกิดความสำาเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งหลุดออกจากฝูง การบินโดยลำาพังห่านตัวนั้นจะรู้สึกถึงแรง ต้านของอากาศซึ่งจะทำาให้บินยากขึ้น หาก เมื่อห่านตัวนั้นเร่งความเร็วและบินให้ทัน ฝูง ห่านนั้นจะได้รับแรงพยุงจากฝูงซึ่งบิน อยู่ด้านหน้า บทเรียนที่ 2เมื่อเราทำางานอย่างสอดคล้องไปในทางเดียวกัน จะทำาให้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น งานทุกอย่างที่ทำาจะง่ายขึ้นและไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ทุกคนในทีมก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับและให้ความช่วยเหลือกันมากขึ้นไปอีก เมื่อผู้นำาของฝูงห่านเริ่มอ่อนล้า ภายหลังจากบินมานาน.. ...มันจะบินไปอยู่ด้านท้ายของตัว “V” ในขณะที่จะมีห่านอีกตัวหนึ่งรับหน้าที่เป็นผู้นำาฝูง

3

Page 4: Fette vol.01

บทเรียนที่ 3ผลัดกันเป็นผู้นำ� ...สิ่งสำ�คัญประก�รหนึ่งคือ ก�รให้เกียรติซึ่งกันและกัน ผลัดเปลี่ยนกันแก้ไขปัญห�และภ�ระยุ่งย�กต่�งๆผสมผส�นคว�มรู้คว�มส�ม�รถ พรสวรรค์ ปัจจัยและทรัพย�กรต่�งๆ ของทีมเข้�ด้วยกัน ในขณะที่บินเป็นตัว “V” นั้น พวกห่�นจะส่งเสียงร้องเพื่อให้กำ�ลังใจห่�นที่อยู่ข้�งหน้�และช่วยกันรักษ�ระดับคว�มเร็วให้คงที่

บทเรียนที่ 4เมื่อมีคว�มกล้�ห�ญและให้กำ�ลังใจกัน จะส่งผลให้ง�นที่ทำ�มีคว�มก้�วหน้�สูงกว่�..ทุกคำ�พูดแห่งกำ�ลังใจจะกระตุ้นและช่วยให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น และทำ�ให้เป้�หม�ยสำ�เร็จได้อย่�งดีที่สุดเมื่อมีห่�นที่ป่วย บ�ดเจ็บ หรือเหนื่อยล้� มันจะหลุดออกจ�กฝูง... ห่�นจำ�นวนหนึ่งจะละจ�กฝูง และบินเคียงคู่ไปกับห่�นที่อ่อนแอนั้น พวกมันจะช่วยเหลือกันไปตลอดท�งจนกระทั่งห่�นที่ป่วยนั้นต�ยจ�กไป หรือไม่ก็จนกว่�ห่�นที่ป่วยจะแข็งแรงและบินได้อีกครั้ง จ�กนั้นพวกมันก็จะบินเข้�ฝูง เป็นรูปตัว “V” อีกครั้ง

4

Page 5: Fette vol.01

ประธาน สุพรรณี บุญถูก

บทเรียนที่ 5ยืนหยัดเคียงข้างกันและกันเสมอ ไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้นก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ยากลำาบาก หรือช่วงเวลาที่มีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่รออยู่ หากเรารักและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ด้วยหัวใจของ Teamwork เราสามารถใช้ความแตกต่างของแต่ละคนสร้างผลงานที่ท้าทายร่วมกัน หากเราตระหนักถึงการเป็นผู้ให้ ชีวิตของเราจะง่ายขึ้น และมีความหมายมากขึ้น MY FRIENDS AND PARTNERS...LET’S BE LIKE THE GEESE!!!

5

Page 6: Fette vol.01

ขณะนี้การขยายตัวของสังคมไทยในยุโรปเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่วนมากประกอบด้วยหญิงไทยที่แต่งงานไปกับชาวยุโรป หญิงไทยเหล่านี้มีทั้งที่มีการศึกษาขั้นสูงไปจนถึงผู้ที่ไม่สามารถอ่านเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เมื่อประกอบกับการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่เคยมีความจำาเป็นที่จะต้องใช้ภาษาอื่นหรือวัฒนธรรมอื่น จึงทำาให้คนไทยส่วนมากมักไม่ค่อยให้ความสนใจด้านความรู้ทั่วไปนอกประเทศไทย เมื่อจำาเป็นจะต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอื่น ความสามารถในการปรับตัวให้ได้ดีมีมาตรฐานในสังคมที่ไปอาศัย อยู่จึงไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป ที่มีภาษาพูดที่คนไทยส่วนมากไม่คุ้นเคย มีไวยกรณ์ที่ยุ่งยากกว่าภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาของประเทศ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก เยอมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เนเธอแลนด์ ฟินแลนด์ รัสเซีย ฯลฯ

ดังนั้นเมื่อหญิงไทยที่เข้ามาสร้างครอบครัว มีลูกที่ต้องเลี้ยงดูอบรมอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอื่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แม่ส่วนใหญ่เลือกวิธีการอบรมเลี้ยงดูลูกคล้อยตามสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนภาษาพูด เพราะเป็นเรื่องง่ายไม่ต้องฝืนสังคม ละเลยการให้ความรู้ทั้งด้านภาษาและขนบธรรมเนียมของไทยแก่ลูก กว่าแม่ไทยจะตระหนักว่าได้ทำาพลาดไปก็เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขเสียแล้ว

โดย จันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน

เสียงจากยุโรป “จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด”

6

Page 7: Fette vol.01

ผลเสียที่เกิดขึ้นสำ�หรับทั้งแม่และลูกคือคว�มไม่เข้�ใจกันอย่�งลึกซื้ง เพร�ะแม่ไม่ส�ม�รถจะสื่อส�รกับลูกได้ลึกซื้งในภ�ษ�ที่แม่ไม่คุ้นเคยม�แต่เกิด ส่วนลูกย่อมไม่ส�ม�รถจะเข้�ใจแม่ด้วยภ�ษ�ไทยได้

ผลเสียที่จะเกิดแก่ลูกคือ ก�รพล�ดโอก�สที่จะได้เรียนรู้ภ�ษ�ขนบธรรมเนียมของแม่ที่ส�ม�รถนำ�ไปใช้เป็นประโยชน์ในอน�คต ไม่ว่�จะในด้�นก�รง�น ด้�นธุระกิจ รวมทั้งด้�นสังคม เพร�ะขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่บริษัทท�งตะวันตกนิยมม�ลงทุน คนที่ส�ม�รถพูดภ�ษ�ไทยได้ย่อมมีโอก�สที่ดีกว่�คนทั่วไป และที่สำ�คัญที่สุดคือลูกไม่ส�ม�รถจะสื่อส�รกับญ�ติท�งแม่ได้ เป็นเรื่องเศร้�ที่ ต� ย�ย ไม่ส�ม�รถจะสื่อส�รกับหล�นแท้ๆของตัวเองได้ นอกจ�กนั้นลูกยังพล�ดโอก�สที่จะเรียนภ�ษ�อื่นได้ง่�ยกว่�เด็กอื่น เพร�ะเป็นที่รู้กันว่�ห�กเด็กลูกครึ่งส�ม�รถพูดภ�ษ�แม่ได้ เข�จะมีคว�มส�ม�รถเรียนภ�ษ�อื่นได้ดีและรวดเร็วกว่�เด็กทั่วไป

ส่วนผลเสียที่มักจะเกิดแก่แม่นั้น เมื่อแม่เลี้ยงลูกด้วยภ�ษ�และวัฒนธรรมของประเทศที่ลูกเกิดและเติบโต ย่อมจะม�ถึงวันที่ลูกเก่งกว่�แม่จนแม่ไม่ส�ม�รถจะสอนลูกได้อีก และยิ่งเมื่อลูกไม่เข้�ใจถึงวัฒนธรรมของก�รเค�รพก�รให้เกียรติผู้บังเกิดเกล้�แบบไทยๆ แม่ย่อมเผชิญกับคว�มเจ็บช้ำ�เมื่อได้รับก�รปฏิบัติจ�กลูกเสมือนโดนดูถูกดูแคลนจ�กเลือดในอก

7

Page 8: Fette vol.01

ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มีการรวมกันของกลุ่มคนไทยจากประเทศต่างๆในยุโรป 13 ประเทศ จัดตั้งสมาพันธ์ครูอาสาสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในยุโรป ในชื่อภาษาอังกฤษว่า Federation Of Thai language and culture Teacher in Europe (FOTTE) จากการริเริ่มของสถานทูตไทยในสวิตเซอร์แลนด์ สมัย ฯพณฯ นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เป็นเอกอัครราชทูต และการสนับสนุนจาก รศ.นราพร จันทร์โอชา (ภริยาท่านผู้บัญชาการทหารบก) เนื่องจากท่านเป็นรองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และได้มีโอกาสได้เห็นการรวมตัวของกลุ่มคนไทยเพื่อพยายามให้มี การเรียนการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยที่ได้มาตรฐานเดียวกัน ท่านจึงให้การสนับสนุนโดยรับคำาเชิญเป็นที่ปรึกษาของ FOTTE

การสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ FOTTE เข้าร่วมพิจารณาร่างหลักสูตรภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำาหรับเยาวชนในยุโรป กับ กศน. และ สพฐ. (สำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย และ สำานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน)โดยใช้หลักสูตรของ อาจารย์สาลี่ ศิลปสธรรม ที่จัดทำาขึ้นจากประสบการณ์ที่เคยเดินทางไปสอนตามโรงเรียนสอนภาษาไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนี้หลักสูตรนี้ก็ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นแกนกลางในการจัดการเรียนการสอนเยาวชนในต่างประเทศ

การสนับสนุนจากกระทรวงต่างประเทศ ทางกรมการกงสุลได้รับที่จะให้การสนับสนุนกิจกรรมของทาง FOTTE โดยผ่านทางสถานทูตไทยทุกแห่งในยุโรป เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าโครงการณ์ของ FOTTE เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อคนไทยในต่างประเทศ

FOTTE

8

Page 9: Fette vol.01

การสนับสนุนจาก ท่าน ว. วชิรเมธี ทาง FOTTE ได้กราบนมัสการขอให้ท่านเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากท่านได้รับรางวัลการใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติเมื่อปี 2554 ซึ่ง FOTTE มีความปลาบปลื้มเป็นอย่างสูงในความกรุณาของพระอาจารย์ และแน่ใจว่าพระอาจารย์จะเป็นพลังหนุนให้ FOTTE แข็งแกร่งฝ่าฟันอุปสรรค์ต่างๆเพื่อทำาประโยชน์ให้แก่ลูกหลานชื้อสายไทยนอกประเทศไทยต่อไปในอนาคต

FOTTE มีคณะบริหารที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาบริหารองค์กรที่มีวาระ 2 ปี โดยประธานและรองประธานสองคนนั้นเลือกตามตัวอักษรนำาชื่อประเทศ ส่วนกรรมการหน้าที่อื่นๆนั้นมีการเลือกตั้งเพื่อหาผู้ที่เหมาะสมตามลักษณะงาน และมีผู้แทนประเทศซึ่งเลือกจากสมาชิกของแต่ละประเทศ การทำางานในวาระต่อไปนั้นสามารถสานต่อได้สะดวก เพราะผู้ที่จะเป็นประธานต่อไปเคยทำาหน้าที่รองประธานมาก่อน

คุณสมบัติของสมาชิกนั้นมีทั้งที่เป็นโรงเรียน สมาคม ผู้ที่เป็นครูสอนภาษาไทย หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจและสนับสนุนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ดูรายละเอียดได้ที่ www.fottethaieuro.com

วัตถุประสงค์หลักของ FOTTE นั้นต้องการที่จะเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยให้แก่บรรดาเยาวชนลูกครึ่งไทย เพื่อประโยชน์ของตัวเด็กเอง ประโยชน์ของแม่และญาติโยมของเด็กทางฝ่ายไทย

FOTTE เพิ่งจัดการประชุมสามัญประจำาปีครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา สมาชิกต่างทะยอยกันมาจากประเทศต่างๆในยุโรปทั้ง 13 ประเทศ มารวมกันที่โรงแรม Novotel กลางกรุงบรัสเซลส์ในประเทศเบลเยี่ยม ดินแดนที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของสหภาพยุโรป (EU) พวกเราต่าง

9

Page 10: Fette vol.01

รู้สึกว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่นัดหมายมาพบกันที่นี่เป็นครั้งแรก เราจะพยายามใช้แนวทางของ EU มาใช้บริหารองค์กรของเรา รวมทั้งการยึดหลักความเป็นกลางในเรื่องศาสนาและการเมือง

ช่วงเช้าได้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารชุดแรกมาแทนกรรมการเฉพาะกิจเดิม ตามกฏเกณฑ์ขององค์กรที่เลือกประธานและรองประธานสองคนตามอักษรนำาชื่อประเทศ

คุณสุพรรณี บุญถูก (Belgium) คุณเพียงใจ เจริญศิลป์ (Denmark) คุณปณิธาน ตาบุลเรล (France) เป็นประธาน และรองประธานคนที่ 1 รองประธานคนที่ 2 ส่วนตำาแหน่งอื่นนั้นมีการเลือกตั้งโดยนับคะแนนเสียงจากสมาชิก คือ คุณทิพวรรณ พิลาตัน (Belgium)เป็น เลขาณุการ ดร.นริสา เชื้่อดุลย์ (United Kingdom) เป็น เหรัญญิก และ คุณศรีจันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน (Norway) เป็นประชาสัมพันธ์ คุณชุมศรี อาร์โนลด์ (United Kingdom) ขอรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์และผู้ช่วยฝ่ายหาทุน คุณสุมิตรา ซัลซ์มันน์ (Switzerland) เป็นที่ปรึกษาจากการแต่งตั้งแต่เดิม นอกจากนั้นมีการเลือกกรรมการผู้แทนประเทศทั้งหมด 13 ประเทศ ไม่จำากัดจำานวนว่าจะมีผู้แทนประเทศละกี่คน เพราะอาณาเขตและจำานวนคนไทยในแต่ละประเทศในยุโรปมีไม่เท่ากัน

10

Page 11: Fette vol.01

แล้วก็มาถึงช่วงสนุกสนานด้วยการฟังการแสดงธรรมของท่าน ว. วชิรเมธี ซึ่งท่านได้เดินทางจากเมืองไทยมาเทศน์ให้แก่บรรดาชาว FOTTE เป็นจำานวนถึงร้อยยี่สิบกว่าคน กลยุทธการแสดงธรรมของพระอาจารย์เรียกเสียงหัวเราะไปพร้อมๆกับความศรัทธาจากบรรดาชาว FOTTE คนไทยที่ห่างไกลจากวิถีการคิดแบบไทยๆมานาน แม้ว่าเวลาที่แสดงธรรมของพระอาจารย์จะเป็นเวลาหลังอาหารกลางวัน แต่ไม่มีใครสัปหงกเลยแม้เพียงงีบเดียว เนื้อหาหลักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยให้เป็น อาทิเช่นพระอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องภรรยาสองคนที่ประสบความสำาเร็จในการซื้อใจของสามีต่างกัน ภรรยาที่ไม่ประสบความสำาเร็จเพราะใช้ภาษาไม่เป็น ส่วนภรรยาอีกคนเป็นสมาชิกของ FOTTE รู้หลักการใช้ภาษาไทย จึงได้ทุกอย่างที่ปรารถนาจากสามีด้วยความเต็มอกเต็มใจของสามี ทำาให้พวกเรายืดกันไปตามๆแถมได้ความรู้ไปสะกิดสมองว่าควรจะไปใช้หลักการพูดภาษาให้ถูกเพื่อหลอกสามีอย่างไรดี นับว่าการแสดงธรรมของพระอาจารย์ได้ผลอย่างยอดเยี่ยม สามารถซื้อใจชาว FOTTE ให้ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่กันทั่วหน้า

หลังจากนั้นก็ได้ฮากันอีกจนเกือบจะไม่ได้หุบปากกันเลย จากการโต้วาที ในญัตติเรื่อง “การสอนภาษาไทยลูกไม่ยาก” โดยคนดังจากประเทศต่างๆ มาเฉือนคารมเรียกเสียงเฮฮาไม่ขาดสาย ผู้ดำาเนินรายการคือ ศรีจันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน (นักเขียนฉายา แม่วาดเมียบียอร์น) เจ้าของนิตยสาร”แม่วาด”ในสแกนดิเนเวีย

11

Page 12: Fette vol.01

ฝ่ายผู้เสนอญัตติ คือคุณสุมิตรา ซัลซ์มันส์ จากสวิตเซอร์แลนด์ ประธานสมาคมเพื่อนไทยบาเซิล ที่ตั้งมา 25 ปี โดยได้รับเลือกเป็นประธานมาตลอด ผู้เป็นเสมือนปูชนียบุคคลสำาหรับคนไทยในสวิตฯ จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์

คุณ ชุมศรี อาร์โนล์ด เจ้าของสมญา ซินเดอเรลล่าออฟลอนดอน ประธานสมาคมหญิงไทยในอังกฤษ ผู้จัดทำาหนังสือ “อยู่ยังไงในอังกฤษ” ซึ่งเป็นคู่มือที่ช่วยเหลือคนไทยในประเทศอังกฤษอย่างมาก ทั้งยังจัดให้มีเวบไซท์สำาหรับคนไทยเข้ามาถามปัญหาทางด้านกฏหมายได้ นอกจากนั้นยังเป็นเจ้าของนิตยสาร ThaiSmile ที่แจกฟรีทั่วอังกฤษ เธอออกมาแสดงคารมในการโต้วาทีอย่างเผ็ดร้อนว่ามันไม่เป็นเรื่องยากที่จะสอนลูกพูดไทย เพราะลูกชายคนเดียวของเธอสามารถพูดไทยได้อย่างแตกฉาน แต่จะแยกแยะเรื่องควรไม่ควรแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะครั้งหนึ่งบนรถไฟฟ้าที่เธอเดินทางไปกับลูกชาย และได้แสดงความสนใจในเรื่องของหนุ่มสาวคู่หนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้กันมากไปนิด ลูกชายแอบสะกิดถามว่า “มัมมี๊ครับ ทำาไมมัมมี๊ทำาท่าเสือกจังครับ!”

ทางฝ่ายค้านคือ คุณ ปณิธาน ตาบูเรล จากประเทศฝรั่งเศส ประธานชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในยุโรป มีความสามารถอย่างสูงในการหาทุนดำาเนินการสำาหรับองค์กรต่างๆ และพยายามเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างองค์กรในประเทศไทยกับองค์กรของคนไทยในต่างประเทศ ได้ออกมายอมรับว่าค่อนข้างปอดที่จะต้องมาโต้คารมกับพวกชั้นเทพทั้งหลาย แต่ก็จะสู้เพราะฝ่ายเธอเป็นนางฟ้า เธอบอกว่าเธอได้พยายามอย่างหนักที่จะทำาให้ลูกพูดภาษาไทยแต่ก็ไม่ง่าย เคยถึงกับหาครูที่มีชื่อเสียงว่าไทยแท้มาสอนลูก แต่ก็ไม่สำาเร็จเพราะครูมาสอนครั้งเดียวแล้วเลิกมาอีก ต่อมาจึงได้ทราบว่าตอนที่ครูไทยมาสอนลูกสาววัยรุ่นของเธอนั้น พยายามตั้งอกตั้งใจเรียน ขนาดว่าเหนื่อยมากยังอุตส่าห์เอกเขนกยกเท้าขึ้นไปบนโต๊ะยืดตรงไปที่ครู!

Page 13: Fette vol.01

คุณ ดวงหทัย เฟรค จากสวิตเซอร์แลนด์ หญิงเก่งและหญิงแกร่งที่ยืนหยัดอยู่ด้วยตัวเอง ทำางานในธนาคาร Morgan Stanley Zurich ซึ่งเป็นที่ยอมรับของธนาคารในความสามารถในการทำางานการบริหารข้อมูลและเปิดบัญชีสำาหรับลูกค้า เป็นกรรมการสมาคมหญิงไทยเพื่อหญิงไทย ทั้งงานราษฏร์งานหลวงมากมาย จนต้องทิ้งลูกให้ย่าเลี้ยง ลูกเลยได้แต่จ้อภาษาเยอรมัน

ในตอนเย็นก่อนถึงเวลาไปรับประธานอาหารร่วมกัน สมาชิกจากประเทศ นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ต่างนำาสันทนาการมาประชันกันในแบบต่างๆไม่น้อยหน้ากันเลย แต่ที่ประทับใจกันจนชาวไทยในยุโรปน้ำาตาซึมไปตามๆกัน คือรายการจากกลุ่มสมาชิกเดนมาร์ก ที่ได้นำาเรื่องของพระราชกรณียกิจของในหลวงของเรามาแสดงให้ชาวเราที่ห่างไกลจากเมืองไทยได้รับรู้ และจบลงด้วยการเชิญชวนให้พวกเราร่วมร้องเพลง “ความฝันอันสูงสุด” พวกเราทุกคนต่างลุกขึ้นยืนร้องเพลงกันก้องจากหัวใจ โดยเฉพาะเมื่อถึงประโยค “จะแน่วแน่แก้ไข ในสิ่งผิด!

วันรุ่งขึ้นพวกเรายกโขยงขึ้นรถบัสไปเที่ยวเยียมชมเมือง Brugge ที่ ยูเนสโกนับเป็นมรดกโลก มีสมญาว่าเมืองเวนิสทางเหนือ ไม่ไกลจากกรุงบรัสเซลส์มากนัก เป็นเมืองที่สวยที่สุดเมืองหนึ่งของโลก มีลำาคลองทั่วไป เราพากันไปนั่งเรือเที่ยวไปตามลำาคลอง คล้ายๆ ที่เวนิส แต่สวยแตกต่างไปอีกแบบ มีโรงแรมเล็กๆตามคลองน่ารักโรแมนติกมาก เห็นโบสถ์ หอคอย ตึกรามแบบเก่าๆ ขนาดกะทัดรัดที่อนุรักษ์เอาไว้ในแบบเดิมๆ

13

Page 14: Fette vol.01

หลังจากนั้นพวกสมาชิกที่ลางานมาแค่เสาร์อาทิตย์ก็รีบล่ำาลากันเพื่อไปจับเรือบินให้ทันกลับไปประเทศตัวเอง เพื่อจะเริ่มทำางานในวันจันทร์รุ่งขึ้น ส่วนพวกที่ลางานต่อวันจันทร์ก็เที่ยวต่อและกลับมาชุมนุมกันที่ร้านอาหารหรูและเป็นโรงเรียนสอนทำาอาหาร ของลูกชายรูปหล่อของประธานของเรา คุณสุพรรณี บุญถูก ซึ่งเป็นเจ้ามือเปิดครัวเปิดบาร์เลี้ยงกันเต็มที่ ดึกดื่นใกล้เที่ยงคืนแล้วจึงเคลื่อนย้ายกลับโรงแรม พวกที่ต้องออกไปสนามบินแต่เช้าก็ลากันเลย พวกที่ไปสายหน่อยก็มาลากันที่ห้องอาหารเช้าอีกรอบ แต่ไม่ว่าจะอยู่สั้นยาวแค่ไหน พวกเราต่างเก็บเกี่ยวความสนุกสนานกลับไปเติมเต็มให้แก่ชีวิต ที่ห่างไกลจากคนไทยจำานวนมากๆและตั้งใจว่าจะได้กลับมาพบกันใหม่ในปีหน้า

ลาก่อนสำาหรับวันนี้.... ขอลาทีทั้งที่อาลัย.... จนกว่าจะพบกันใหม่....

14

Page 15: Fette vol.01

15

วิธีอาบน้ำาร้อนในเมืองหนาวการอาบน้ำาร้อนในประเทศที่มีอากาศหนาวนั้นทำาให้ผิวแห้งมาก

โดยเฉพาะผิวบริเวณใบหน้าและลำาคอ ผิวบริเวณนี้เมื่อถูกน้ำาร้อนจัดจะยิ่งแห้งหนักขึ้น โดยเฉพาะน้ำาประปาในเมืองหนาวนั้นมีแรงส่งสูง ถ้าเปิดเต็มที่น้ำาร้อนที่มาปะทะใบหน้าและลำาคอด้วยกำาลังแรงทุกวันจะยิ่งทำาให้ผิวบอบบางมากขึ้น บางคนมองเห็นเส้นเลือดฝอยชัดเจน

ดังนั้นเวลาอาบน้ำาไม่ควรเปิดน้ำาให้แรงเต็มที่ และปรับอุณหภูมิให้ร้อนน้อยลง แต่ให้มีไอน้ำาอบอวลอยู่ในห้องน้ำา ก่อนอาบน้ำาให้ทาครีมม้อยส์เจอไรเซอร์ชนิดเข้มข้น Heavy Duty Moisturizer ทาให้ทั่วบริเวณใบหน้า ลำาคอ ไหล่ หน้าอกช่วงบน

ไอน้ำาที่อบอวลจะช่วยให้ครีมซึมลงในผิวช่วยแก้ผิวแห้งได้ ในเวลาเดียวกันครีมก็ช่วยปกป้องและบำารุงผิวด้วย เมื่ออาบน้ำาชำาระร่างกายส่วนอื่นจนทั่วแล้ว จึงล้างหน้าและผิวส่วนที่ทาครีมไว้หลังสุด เสร็จแล้วกระชับผิวด้วยโลชั่นหรือโทนเนอร์

Page 16: Fette vol.01

เรื่องเป็นอย่างไร เท็จจริงแค่ไหน ผมกำาลังจะเล่าให้คุณฟัง ณ. บัดนี้

ประมาณช่วงกลางปี พ.ศ.2504 ปีฉลู ได้มีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ซึงมักจะตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับเกี่ยวกับจิตวิญญาณ และเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งอภินิหารต่างๆ เป็นหนังสือที่ดังระดับหนึ่งในสมัยนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนี้พาดหัวข่าวว่า “วิญญาณของเด็กมาช่วยรักษานายแพทย์ใหญ่”

ที่จริงผมไม่ใช่แพทย์ใหญ่ ไม่มีใครแต่งตั้งให้ผมเป็นที่กรมกระทรวงใด แล้ววิญญาณเด็กก็ไม่ได้มารักษาผม หนังสือพิมพ์นี้ได้ลงตีพิมพ์ต่อเนื่องกันประมาณ สองอาทิตย์ พร้อมทั้งพิมพ์รูปถ่ายของผมลงประกอบในข่าวนั้นด้วย ทำาให้ฮือฮากันไปทั่วบ้านทั่วเมือง โดยเฉพาะญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่พอจะทราบเรื่อง

เลาๆ บ้างได้ซื้ออ่านเป็นการใหญ่ รวมทั้งพระคุณเจ้าบางองค์ ซึ่งพระคุณเจ้าหลายรูปยังมีชีวิตอยู่ และท่านได้นำาเรื่องราวของผมไปตีพิมพ์ในหนังสือธรรมะ ท่านเจ้าคุณรูปนี้เดี๋ยวนี้ท่านจำาพรรษาอยู่ที่วัดโสมมนัสวิหาร ท่านก็นำาเรื่องของผมไปเขียนด้วยเหมือนกัน

อันที่จริงเรื่องที่ปรากฏกับผมนั้นมีไม่มาก ไม่มีอภินิหารมโหฬารอย่างที่ได้พิมพ์ไว้นั้นเลย ทีนี้เมื่อเล่ากันต่อๆไปปากต่อปาก สาวความยาวออกไปจนผมอ่านแล้ว นี่เรื่องของผมหรือใครกันแน่ เพราะมันออกจะเกินเรื่องของความจริงไปเยอะ

เหตุที่ผมจะนำาเรื่องนี้มาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง เพราะในปลายปี 2529 ต่อกับวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2530 คณะพรรคสูงอายุหลายท่าน ซึ่งผมขออนุญาตเอ่ยนามของท่านไว้ ณ.ที่นี้ คือ คุณหญิงวัลลีย์ วีระปีย์

เรื่องจริงจากปากของนายแพทย์อาจินต์ บุญญเกตุ

16

Page 17: Fette vol.01

พล.ร.ต. ประจวบ และ แพทย์หญิงอำ�ภิก� พลกล้� คุณสมบัติ คงจำ�เนียร และ ม.ร.ว.ทอศรี ภรรย� ศ.จ.น.พ.สมบัติ สุคนธพันธ์ แห่งโรงพย�บ�ลศิริร�ช น.พ. สมพงษ์ บุรุษรัตนพันธ์ ผู้อำ�นวยก�รสำ�นักก�รแพทย์ กทม, พล.ต.กมลพิจิตร คดีพล คุณเสน�ะ นิลกำ�แหง อดีต เสรีไทย ส�ยอังกฤษในสมัยสงคร�มโลกครั้งที่สอง และอีกหล�ยท่�นรวมทั้งผมด้วย ได้จัดคณะท่องเที่ยวสูงอ�ยุไปพักผ่อนท�งเหนือพร้อมกัน และแวะเล่นกอล์ฟกัน ทุกสน�มที่ผ่�น ได้แก่ นครสวรรค์ พิษณุโลก แม่เม�ะ ลำ�ป�ง และสุดท้�ยที่เชียงใหม่ สม�ชิกที่ได้ไปเที่ยวกันคร�วนี้ร่วมส�มสิบคน อ�ยุรวมกันเห็นจะกว่� 1,640 เร�ออกเดินท�งตั้งแต่เช้�มืดวันที่ 9 ธ.ค. และกลับกรุงเทพฯ ตอนค่ำ�วันที่ 2 ม.ค. เลยปีใหม่หนึ่งวัน และในปี 30-31 ก็ประพฤติกันแบบนี้อีกไม่รู้จักเบื่อหน่�ยกันบ้�งหรืออย่�งไรก็ไม่ทร�บ

ในระหว่�งก�รเดินท�งไปและกลับ ในรถทัวร์ที่เช่�เข�ไปเพื่อบรรเท�ง่วงเร�ก็เฮฮ�กันไป ซึ่งหนุ่มส�ว คงห�ว่�เร�เชยเต็มที เพร�ะมีนิท�นเก่�ๆ เอ�ม�เล่�กัน เพลงที่ร้องกันในรถก็โน่น เอ�เพลงของ พร�นบูรณ ของจำ�รัส สุวคนธ์ ของท่�น ม.ล.พวงร้อย น�นๆทีจึงจะมีเพลงปัจจุบันสักเพลงสองเพลง อย่�งดีก็มีของครูเอื้อ น�นๆก็มีเพลงของ ดนุพล แก้วก�ญจน์ สุช�ติ ชว�งกูร สักเพลงสองเพลง ซึ่งถ้�ห�กเจ้�ตัวม�นั่งฟังอยู่ด้วย คงจะพูดว่� อนิจจังเพลงของเร�เป็นอย่�งนี้ไปแล้ว หรือนี่?

เป็นอันว่�ก�รท่องเที่ยวเล่นกอล์ฟก็ได้สิ้นสุดลงที่สน�มเชียงใหม่ พอวันที่ 2 ม.ค. เร�ก็เดินท�งกลับออกจ�กเชียงใหม่ร�วๆ 8 น�ฬิก� พอรถออกไปได้หน่อยก็ประพฤติอย่�งข�ไปอีก ทีนี้พอถึงนครสวรรค์ หลังอ�ห�รกล�งวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยวไก่เจ้�เก่�เท่�นั้นแหละ เร�ก็ออกเดินท�งต่อ พรรคพวกในคณะต้อง

ก�รเปลียน บรรย�ก�ศ จึงขอให้คุณหญิงวัลลีย์บอกผมว่�ขอฟัง เรื่องวิญญ�ณที่ผมพบในรูปของเด็กหญิงพิมพ์วดีที่ยังติดอยู่ในใจหล�ยๆคน หล�ยคนที่ได้อ่�นเรื่องของผมที่ท่�นศ�สตร�จ�รย์ เอียน เฟลมมิ่ง นักวิญญ�ณศ�สตร์ม�สัมภ�ษณ์ผม และนำ�ม�พิมพ์เป็นเรื่องหนึ่งในหนังสือของท่�น เผยแพร่ในอเมริก�เมื่อร�วๆ พ.ศ. 2506 หรือ 2507 ก็สนใจ และรวมทั้งบ�งท่�นที่เคยอ่�นหนังสือร�ยสัปด�ห์ฉยบับนั้นด้วยว่�เป็นจริงอย่�งไร

ทุกคนในรถเงียบสงบอย่�งกับฟังป�ฐกถ�ที่น่�ฟัง ในเมื่อผมได้พูดว่�เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ได้กับตัวผม ไม่ว่�จะพูดที่ไหนกี่สิบที่กี่ร้อยครั้งก็อย่�งนี้ ผมจึงเริ่มเล่�เรื่องว่�...

ผมได้ป่วยด้วยโรคปวดประส�ทสมองเส้นที่ห้� (ประส�ทสมองมีสิบสองคู่) เริ่มเป็นม�ตั้งแต่วัยรุ่นอ�ยุร�วๆ 16-17 ปี ตอนนั้นพอดีเกิดสงคร�มอินโดจีน แล้วก็เป็นเรื่อยม�ระหว่�งสงคร�มโลกครั้งที่ 2 เป็นๆ ห�ยๆโดยมีอ�ก�รปวดประส�ทด้�นขว� ตั้งแต่เบ้�ต�ขึ้นไป ถึงกล�งกระหม่อม ปวดอยู่ซีกเดียว ตอนนั้นยังเป็น หนุ่มแน่นอ�ยุยังน้อยอ�ก�รก็ไม่ค่อยทรม�นรุนแรง ม�กนัก กินย�แก้ปวดแรงๆก็พอบรรเท�ไปได้ เคยให้อ�จ�รย์ที่ศิริร�ชตรวจ ท่�นก็บอกว่�ส�ยต�มีส่วนช่วยให้ปวดได้ เพร�ะส�ยต�ไม่ดี ผมก็เลยสวมแว่นม�ตั้งแต่อ�ยุ 20 ปี จนถึงบัดนี้

สรุปว่�ผมป่วยเป็นโรคนี้ม�น�นเป็นสิบๆปี ตอนที่เป็นน�ยแพทย์ผู้อำ�นวยก�รที่จังหวัดภูเก็ตก็ยังเป็น ตอนไปศึกษ�ต่อที่อเมริก�ก็เป็นทั้งส�มปี แพทย์ที่อเมริก�ชวนผมผ่�ตัด ผมก็ยอมแต่พอจะผ่�มันก็เกิดห�ยปวด เพร�ะมันเป็นๆห�ยๆ หมอที่นั่นก็เลยไม่กล้�ผ่� พอศึกษ�จนจบก็กลับม�รับร�ชก�รต่อ ต�ม โรงพย�บ�ลอีกหล�ยแห่ง ตอนปี พ.ศ. 2504 ผมเป็นรองผู้อำ�นวยก�รโรงพย�บ�ลสงฆ์ ฝ่�ยวิช�ก�ร เกิด

17

Page 18: Fette vol.01

ปวดมากจนทนไม่ไหว ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ตอนนั้นเองโรคนี้ไม่รู้ส่าเหตุ แต่เดี๋ยวนี้คุณหมอสิระ บุณยะรัตเวช หัวหน้าศัลยกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมสมองและประสาท ท่านผู้นี้เองที่รักษาผมหายขาด ด้วยการฉีดยาเข้าในสมอง ไปทำาลายต้นตอของประสาทเส้นนี้ให้หมดสภาพไปเลย ท่านบอกว่าหนึ่งในสาเหตุของโรคนี้ คือเส้นโลหิตในสมองเส้นหนึ่งไปเบียดสมองเส้นที่ห้านี้ เมื่อเส้นโลหิตขยายตัวตามจังหวะการเต้นของหัวใจ มันก็จะเบียดเบียนกระตุ้นเส้นประสาทเส้นนี้ทุกที คนโบราณเรียกว่า”ลมตะกัง” หมอปัจจุบันเรียกว่า “ไมเกรน” หรือ ติ๊ด เตอรารูไทรเจมินัลนิวราลเจีย เป็นชื่อเดียวกัน การรักษายากมาก

2.ตอนปี พ.ศ.2504 นั้นคุณหมอสิระยังไม่กลับ

จากการศึกษาต่อจากอังกฤษ ท่านเรียนจบสำาเร็จเป็นราชบัณฑิตในวิชาศัลยศาสตร์แห่งประเทศอังกฤษ ท่านกลับมาตอน พ.ศ.2507 หรือราวๆนั้น ท่านศาสตราจารย์ น.พ.อุดม โปษฤกษณะ เป็นผู้รักษาผม มีศาสตราจารย์ น.พ.วิชัย บำารุงผล แห่งภาควิชาศัลยกรรม และศาสตราจารย์ น.พ.สมบัติ สุคนธพันธ์ ฝ่ายโรคทางยามาร่วมด้วย ทั้งสองท่านเหล่านี้เป็นเพื่อนกันก็เลยตั้งใจมากเป็นพิเศษแต่ก็ไม่หาย

ผมได้ถูกรับตัวไว้เพื่อตรวจละเอียดและรักษาที่ตึกวิบูลลักษณ์ชั้นล่าง ห้องที่เท่าไรจำาไม่ได้เสียแล้ว ได้รับการดูแล เยียวยารักษาอย่างดีจากครูบาอาจารย์และเพื่อนฝูง แต่อาการปวดประสาทก็รุนแรงมาก แทบจะผูกคอตายไปหลายหน

คืนหนึ่งเวลาประมาณสองทุ่มเศษๆ โรคปวดประสาทมาเอาผมอีก ทีนี้ปวดดิ้นเลย พยาบาลจะให้กินยาตามแพทย์สั่งไว้ก็ไม่สงบ เมื่อเป็นเช่นนั้นผมก็

นอนหลับตา เอามือกุมขมับข้างที่ปวดแล้วก็ภาวนาบริกรรมพุทโธๆๆๆ ทำาอาณาปานสติไปเรื่อยๆ ที่ผมทำาแบบนี้ได้เพราะเมื่อปี พ.ศ.2500 ผมบวชพระที่วัดราชาธิวาส หนึ่งพรรษา วัดนี้เป็นวัดวิปัสสนากรรมฐาน ผมก็ได้รับการอบรมเรื่องนี้มาด้วย พอทำาสมาธิวิปัสสนาสักครู่ อาการปวดก็สงบลง มันก็เป็นเช่นนี้คือปวดสักพักแล้วก็บรรเทา พอสงบผมก็สงบจิตทำาสมาธิต่อไป....

ประมาณสามทุ่มเศษๆ ผมหลับตาเห็น... เด็กหญิงคนหนึ่งมายืนอยู่ข้างเตียง ก็ลืมตาถามภรรยาและพยาบาลพิเศษที่เฝ้าอยู่สองคนนี้ว่า

“ใครมา?”ได้รับคำาตอบว่า“ดึกแล้ว ไม่มีใครมาหรอก”ผมก็หลับตาเข้าสมาธิต่อ พอสักครู่ก็เห็นชัดว่ามี

เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง รูปร่างอ้วนเหลือกำาลัง อ้วนยังกับเป็นโรคชนิดหนึ่ง แต่หน้าตายังเด็ก มายืนอยู่ข้างเตียง เธอแต่งตัวด้วยชุดของโรงพยาบาล เมื่อเห็นเช่นนั้นผมก็เอ่ยปากออกถามว่า...

“หนูเป็นใคร มาทำาไมที่นี่?”ผมพูดออกมาดังๆ เพื่อให้สองคนนั้นได้ยิน

รวมทั้งคุณใบ กล้าหาญ ซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์จนทุกวันนี้ และไปเฝ้าผมอยู่ด้วย ภรรยาผมมาเขย่าแขนแล้วพูดว่า...

“เธอ นี่อยู่นี่ๆ” ก็คงคิดว่าผมป่วยมากจนเพ้อ ผมก็บอกว่า

“ไม่ได้เพ้อ หรือเสียสติอะไรหรอก ... แต่ว่ามีใครเห็นไหม? หนูอ้วนมานั่งอยู่ข้างเตียงนี่...” สองคนนั่นตอบว่า

“ไม่มีใครอีกแล้ว...”ผมสังเกตเห็นว่าสองคนนั้นขยับตัวเข้ามาชิดกัน

ภรรยาทำาท่าจะสวดมนต์หรือพนมมือไหว้ปลกๆ แต่ผมก็ยังข้องใจ เพราะหนูคนนั้นยังนั่งอยู่อย่าง

18

Page 19: Fette vol.01

สงบเสงี่ยม ผมก็เลยพูดออกมาดังๆกับภรรยาและพยาบาลในห้องว่า

“จะคุยกับหนูคนนี้นะ ช่วยจดๆจำาๆไว้ด้วย” แล้วผมก็ถามเสียงดังๆ ว่า

“หนูเป็นใคร...มาทำาไมในห้องนี้?” แม่หนูตอบว่า“หนูเคยป่วยในห้องนี้ และตายในห้องนี้เมื่อ

ประมาณสองปีมาแล้ว” ภรรยาผมคอยฟังและคอยจด...อ้อ! หนูเคยมาป่วยในห้องนี้ ...หนูเป็นอะไร

ตาย?”“ป่วยด้วยโรคอ้วนตายค่ะ” ภรรยาและพยาบาล

ช่วยกันจดใหญ่“หนูเป็นลูกหลานใครกันจ๊ะ?”“ตาหนูเป็นพระยาค่ะ ชื่อของท่านขึ้นต้นด้วยตัว

‘อ’ ลงท้ายด้วย ‘สิริ’” ผมทวนคำาพูดของเธอดังๆให้ได้ยินกันทุกคน

“งั้นหนูก็เป็นหลาน...” ผมพยายามนึกสักครู่ก็นึกออกแล้วพูดออกมาว่า

“หลานเจ้าคุณอัชราชทรงสิริใช่ไหมล่ะ” หนูคนนั้นก็ตอบว่า

“ใช่ค่ะ คุณอาเก่งมาก”“แล้วพ่อของหนู่ล่ะ”“คุณอาไม่รู้จักหรอกค่ะ” ผมถามต่อไปว่า“หนูมีพี่น้องกี่คน?”“มีสามคน หนูเป็นผู้หญิงคนเดียว” ผมทบทวน

คำาพูดดังๆทุกคำาเพื่อที่กำาลังฟังได้ยินด้วย“หนูมานี่มีความประสงค์อะไรจ๊ะ?”“หนูมีเพื่อนคนหนึ่งเขาเสียชีวิตเมื่อปีกลายที่ตึก

เด็ก เขาบอกว่าเขาเป็นลูกคุณอาเมื่อชาติที่แล้ว เขาอยากจะมาหาและมาช่วยคุณอาให้หายป่วยจากโรคนี้ เขาให้หนูมาบอกคุณอาก่อนค่ะ”

จากนั้นแม่หนูอ้วนก็หายไป หายวับไปเลย ผมก็ลุกขึ้นนั่งเล่าทุกสิ่งทุกอย่างให้กับภรรยาและพยาบาลฟัง พยาบาลคนนั้นตื่นเต้นมากพลางบอกกับผมว่าพรุ่ง

นี้เช้าจะไปถามหัวหน้าตึก ขอค้นประวัติและขอทราบว่าที่ ตึกนี้และห้องนี้ เมื่อประมาณปี 2502 มีเด็กผู้หญิงถึง แก่กรรมที่ตึกนี้ห้องนี้หรือเปล่า? เพราะเธอแปลกใจ และสนใจมากที่ผมพูดกับแม่หนูคนนั้นเป็นเรื่องเป็นราวตั้งนาน

จากนั้นผมก็เข้านอนโดยไม่ลืมภาวนาบริกรรมพุทโธๆๆไปด้วย ประมาณห้าทุ่มคืนเดียวกันนั้นเอง ด้วยอาการปวดประสาทอย่างรุนแรงทำาให้ผมตื่นขึ้นมาอีก แต่สองคนที่อยู่ในห้องหลับไปแล้ว ตอนนี้เงียบสงัดแต่ผมนอนกุมขมับ กุมศีรษะด้านขวาอยู่คนเดียว ด้วยความปวดที่ออกจะรุนแรงเอาการอยู่ ผมก็ได้ยินเสียงแว่วๆที่หูว่า

“เธอ พ่อเธอนอนอยู่นี่ยังไง... เข้ามาซิ” ผมลืมตาขึ้นมองก็ไม่เห็นอะไร ... แต่พอหลับตาก็ได้ยินเสียงขึ้นอีกว่า

“เข้ามาซิ เข้ามาเถอะ!” ผมลืมตาขึ้นอีกที ทีนี้เห็นเด็กสองคนมายืนอยู่ข้างเตียงผม คนหนึ่งอ้วนก็คนเก่า อีกคนอยู่ในวัย 12 ขวบ หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู เธอเดินมาข้างเตียงผมแล้วพูดว่า

“พ่อ! หนูมาช่วยพ่อ” ผมจึงเรียกภรรยาและนางพยาบาลให้ตื่นและถามว่า

“เห็นเด็กผู้หญิงสองคนตรงนี้ไหม?... เด็กๆมา ยืนอยู่ที่นี่แน่ะ” พยาบาลเปิดไฟในห้องสว่างพรึ่บแล้วบอกว่า

“ไม่เห็นมีใครมาสักคนนี่คะ”“มีซิ มีแม่หนูสองคนมาเยี่ยม แล้วก็ยืนอยู่ตรง

นี้ นี่ไงล่ะ” พลางผมก็ยื่นมือออกไปชี้ที่ตัวเด็ก คุณใบยกเก้าอี้มาสองตัวให้แขกที่มองไม่เห็นนั่งข้างเตียงทันที....

(อ่านต่อฉบับหน้า)

19

Page 20: Fette vol.01

20

หลักเกณฑ์การซื้อที่ดินในประเทศไทยของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ

กฏหมายน่ารู้สำาหรับคนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติ

ข้อมูลจากกฏหมายน่ารู้สำาหรับคนไทยที่สมรสับคนต่างชาติ

กรมอัยการสูงสุด

Page 21: Fette vol.01

21

1. หากคู่สมรสต่างชาติอยู่ในประเทศไทย

a. กรณีที่เป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกัน ให้ทั้งคู่ยืนยันเป็นลายลักษณือักษรร่วมกันใน

หนังสือรับรอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่า เงินทั้งหมดที่นำามาซื้อที่ดิน

เป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว

b. กรณีที่เป็นคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ให้ทั้งคู่ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันใน

หนังสือรับรอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่า เงินทั้งหมดที่นำามาซื้อที่ดีน

เป็นทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว

c. หากคู่สมรสที่จดทะเบียนหรือไม่ก็ตามอยู่ในประเทศไทยแต่มีเหตุให้ไม่สามารถดำาเนินการข้าง

ต้นได้ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้คนไทยและคู่สมรสต่างชาติไปยื่นขอบันทึกถ้อยคำาใน

หนังสือรับรอง(ท.ด.9) เพื่อยืนยันว่าเงินทั้งหมดที่นำามาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัว หรือ ทรัพย์ส่วนตัว ของ

คนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว

2. หากคู่สมรสต่างชาติอยู่ต่างประเทศ

ให้คู่สมรสต่างชาติไปติดต่อสถานทเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีพับลิค บันทึกถ้อยคำา

ของคู่สมรสต่างชาติไว้ในหนังสือรับรอง ว่าเงินทั้งหมดที่นำาไปซื้อที่ดินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วน

ตัวของคู่สมรสคนไทย มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำามาหาได้ร่วมกัน ทางราชการจึงจะออกใบรับรองว่า

บุคคลที่มาทำาหนังสือนั้นเป็นคู่สมรสหรืออยู่กินกันฉันท์สามีภริยากับคู่สมรสคนไทยจริง จากนั้นผู้ที่ไป

ซื้อที่ดินสามารถนำาหนังสือรับรองนี้ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ที่ทำาการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใน

ประเทศไทยต่อไปกรณีที่คนไทยที่มีคู่สมรสต่างชาติทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหม

าย แสดงหลักฐานได้ว่าเงิน

ทั้งหมดที่นำามาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของตนเอง สามารถดำาเนินการจดทะเบียนสิทธิ

และนิติกรรมได้โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรอง

3. เพื่อเป็นการผ่อนปรนให้คนไทยที่มีคู่สมรสต่างชาติทั้งชอบและมิชอบด้วยกฏหมายที่ซื้อหรือถือ

ครองที่ดินหลังสมรสโดยแจ้งเท็จต่อเจ้าหน้าที่ว่าเป็นโสด ก่อนวันที่ 23 มีนาคม 2542

ให้คนไทยและคู่สมรสต่างชาติยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันในหนังสือรับรองต่อเจ้าหน้าที่ว่า

เงินทั้งหมดที่นำามาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทย

แล้วให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตาลีพับลิค รับรองว่าบุคคลที่ทำาหนังสือนั้นเป็นคู่

สมรสหรืออยู่กินกันฉันท์สามีภริยากับคนไทยจริง แล้วให้ผู้ซื้อนำา หนังสือรับรองดังกล่าวมามอบให้เจ้า

หน้าที่เพื่อเก็บเรื่องเข้าสารบบ

Page 22: Fette vol.01

นำ�เสนอในก�รประชุมเพื่อสืบส�นปณิธ�นของท่�นพุทธท�สภิกขุณ องค์ก�รยูเนสโกโลก กรุงป�รีส ประเทศฝรั่งเศส

ชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัวโดย จันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน

22

Page 23: Fette vol.01

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บรรยายธรรมไว้ ณ สวนโมกขพลาราม ไชยา เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2513 ถึงหลักในการดำาเนินชีวิตให้มีความสุขความพอดีว่า ให้ดำาเนินชีวิตเหมือนชาวนาที่ไถนาด้วยควายสองตัวในสมัยก่อนควายสองตัวที่ชาวนาใช้เทียมคู่กับคันไถนั้น ตัวหนึ่งฉลาดกว่าอีกตัวแต่อาจจะตัวเล็กกว่าเรียกว่า "ตัวรู้" ส่วนอีกตัวหนึ่งแข็งแรงบึกบึนหากไม่ฉลาด เรียกว่า "ตัวแรง" ขณะไถนาเมื่อชาวนาออกคำาสั่ง ตัวรู้เข้าใจคำาสั่งและทำาตามได้ แต่ตัวแรงไม่เข้าใจใช้แรงเดินไปเรื่อยแม้ว่าชาวนาจะสั่งให้ "หยุด" ควายทั้งคู่ถูกเทียมติดไว้ด้วยกัน เดินไปทางไหนตัวเดียวไม่ได้ เมื่อตัวรู้ฟังคำาสั่งแล้วหยุด ตัวแรงไม่เข้าใจเดินไปเรื่อยๆย่อมต้องเดินวนเลี้ยวไปตามทางที่ชาวนาต้องการให้ได้งาน ถ้าใช้ควายตัวแรงตัวเดียวไม่มีตัวรู้คอยถ่วงให้ใช้แรงไปในทางที่ได้ประโยชน์ ตัวแรงย่อมเดินดุ่ยไปเรื่อยทำาให้ผลงานที่ออกมาเสียมากกว่าได้ แต่ถ้าใช้ เพียงตัวรู้ตัวเดียวถึงแม้จะไม่เกิดการเสียหายแต่ก็จะไม่ได้งานนัก

ท่านพุทธทาสได้เปรียบเทียบว่า ความตัวรู้นั้นคือความสว่างไสวทางวิญญาณของมนุษย์ แสงสว่างนี้ได้ปรากฏขึ้นมาในโลกในรูปแบบที่แตกต่างกันไป แม้วิธีแนะแนวปฏิบัติให้แก่ผู้เลื่อมใสให้เห็นถึงแสงสว่างนั้นจะแตกต่างกัน ความสว่างไสวเหล่านี้ได้ปรากฏขึ้นมากในแถบตะวันออก ในรูปแบบของศาสนา ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกศาสนาเกิดขึ้นทางตะวันออก

ส่วนทางด้านตะวันตกนั้นมุ่งแต่จะพัฒนาการเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพราะสภาพของธรรมชาติที่โหดร้ายทำาให้ทุ่มเทคิดค้นหาเทคโนโลยี่ให้มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ ผลิตวัตถุเพื่อความสะดวกสบายขึ้นเรื่อยๆ เหมือนมีแต่ควายตัวแรงที่เดินดุ่ยไปเรื่อยและในที่สุดวัตถุที่มากเกินไปนั้น ได้กลายเป็นผลร้ายต่อชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมากมายในโลก "ความโลภเกินแล้วลามก" เป็นหลักที่ศาสนา (ความสว่างไสวทางวิญญาณ) ทุกศาสนายึดหลักเดียวกันหมด หมายความว่าการโลภเกินไปนั้นเป็นบาป ให้แสวงหาและมีไว้แต่ความพอเหมาะพอดี คนไทยจำานวนมากที่มาใช้ชีวิตร่วมกับฝรั่งในโลกตะวันตก มีการศึกษาน้อยกว่าฝรั่งหรืออาจไม่มีการศึกษาเลย หากคนไทยเกือบทุกคนมีความสว่างไสวทางวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนให้เกิดความกตัญญูรู้คุณอย่างลึกซึ้ง บางคนมีมากจนยอมเสียสละได้ทุกอย่างยอมเสียเปรียบ เสียทรัพย์สมบัติ เสียตัว แม้แต่เสียชีวิต เพื่อให้ได้เกิดผลตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ

สิ่งเหล่านี้ฝรั่งไม่เข้าใจ ฝรั่งเชื่อว่าการมีชีวิตที่ดีนั้นจะต้องเท่าเทียมกันไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นใคร การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จะมีบ้างถ้าไม่ทำาให้ฝรั่งเดือดร้อนแม้แต่เพียงนิดเดียว การดำาเนินชีวิตของฝรั่งจึงคล้ายเครื่องจักรที่สำาเร็จจากเทคโนโลยีดังนั้นเมื่อคนไทยมาใช้ชีวิตอยู่กับฝรั่ง จึงควรระวังที่จะไม่เห็นตามฝรั่งไปซะหมด ความสว่างไสวทางวิญญาณต้องรักษาเอาไว้ แต่นำาหลักการของฝรั่งเข้ามาปรับให้เกิดความพอดีเหมือนเทียมควายตัวรู้และตัวแรงสองตัวไว้กับชีวิตตามหลักธรรมของท่านพระพุทธทาสภิกขุ

ชีวิตก็จะมีทั้งความสุขและความเจริญควบคู่กันไป

23

Page 24: Fette vol.01

การศกึษาเกีย่วกบัเดก็ทีเ่รยีนรูส้องภาษา (bilin-gual) หรือหลายๆ ภาษาพร้อมกัน (multilingual) โดย ศ.ดร.แพทริเซีย เค. คูห์ล ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาวิทยาศาสตร์การพูด และการฟัง และเป็นผู้ช่วยผู้อำานวยการศูนย์ศึกษาทางจิต สมอง และการเรียนรู้ ของมหาวิ ทย าลั ย วอชิ งตั นใน เมื อ งซี แอต เทิ ล สหรัฐอเมริกา อธิบายทฤษฎี "Native Language Magnet Theory (NLM)" ของเธอไว้ว่า ทารกแรกเกดิทกุคนนัน้เกดิมาพรอ้มกบัความสามารถในการเรยีนรู้ภาษาใดๆ ก็ได้ การวิจัยของ ดร.คูห์ลแสดงให้เห็นว่าใน 6 เดือนแรก เด็กทารกจะมีการบันทึกรูปแบบของเสียงที่เขาได้ยินไว้ในสมองขึ้นอยู่กับภาษาที่เปิดรับ เขาสามารถเรยีนรูเ้สยีง และลกัษณะของน้ำาเสยีงทีแ่ตกตา่งกัน แล้วจะเริ่มเปล่งเสียงตามภาษาที่ได้ยินออกมา เมื่อครบขวบปเีขาจะเชีย่วชาญเปน็พเิศษในภาษาทีเ่ขาไดย้นิเป็นประจำา (ภาษาแม่) จากนั้นความสามารถในการจำาแนกลักษณะที่แตกต่างของเสียงจะค่อยๆ สิ้นสุดลง

(Bilingual)เตรียมพร้อมให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา

จึงหมายความว่า หากเด็กได้ยินสำาเนียงภาษามากกว่าหนึง่ภาษาตัง้แตช่ว่งขวบปแีรกจะสามารถเรยีนรูแ้ละพดูภาษานั้นตามได้โดยอัตโนมัติประดุจภาษาแม่ ยิ่งหากไดย้นิสำาเนยีงทีแ่ทแ้บบเจา้ของภาษามาเอง โอกาสเลยีนแบบการพูดที่ถูกต้องก็ยิ่งมีมากขึ้น การเรียนรู้นี้จะเป็นพืน้ฐานชว่ยเพิม่พนูความสามารถในการเรยีนภาษาอืน่ๆ ที่หลากหลายได้ในเวลาต่อมา ทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายข้อสงสยัทีว่า่ทำาไมเดก็ลกูครึง่ หรอืชาวตา่งชาตใินเมอืงไทยบางครอบครวัจงึสามารถพดูไดท้ัง้ภาษาของชาตนิัน้และภาษาไทยตั้งแต่เริ่มหัดพูด

หลายงานวิจัยด้านจิตเวชยืนยันว่าการเรียนภาษาหลายๆ ภาษาตัง้แตเ่ดก็จะงา่ยกวา่เรยีนเมือ่โตแลว้ การใช้เทคนิคจำาลองภาพกิจกรรมของสมองในผู้ใหญ่ที่มีสขุภาพแขง็แรงดว้ยแรงสัน่สะเทอืนของแมเ่หลก็โดยนกัวิจัยจากศูนย์โรคมะเร็งสโลน-เค็ทเทอร์ริ่ง ในนิวยอร์ค พบว่าผู้ใหญ่ที่เรียนสองภาษาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ มีการเกบ็ภาษาทัง้สองไวด้ว้ยกนัในพืน้ทีเ่ดยีวกนัในสมอง

24

Page 25: Fette vol.01

จึงสามารถใช้ภาษาที่สองได้เหมือนกับเป็นภาษาแม่อีกภาษาหนึง่ หากคนทีเ่รยีนภาษาทีส่องตอนทีโ่ตแลว้จะใช้เนื้อที่ในสมองคนละส่วนกัน ดังนั้นเขาจึงแนะนำาว่าการใหเ้ดก็เรยีนรูภ้าษาทีส่องหรอืสามควรเริม่ตัง้แตต่อนเปน็เด็กเล็กๆ ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะหากเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้วจะยิ่งเรียนรู้ได้ยากขึ้น เข้าทำานองไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ ดัดยาก นั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่สำาคัญก็คือการให้เด็กได้เจอกับเจ้าของภาษาจริงๆ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดหา เครื่องมือเช่น เทปเพลง หนังสือนิทาน หรือวิดีโอภาพยนตร์การ์ตูนที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณใ์นการฟงัใหก้บัเดก็ การพดูกบัเดก็บอ่ยๆ หรือการหากลุ่มเพื่อนเล่น แม้กระทั่งพาเด็กไปเข้าโรงเรียนที่ใช้สองภาษาตั้งแต่แรกเริ่มก็เป็นวิธีฝึกฝนลูกให้มีพื้นฐานทางภาษาต่างประเทศที่ดีไปจนโต แต่หากปัจจัยไม่เอื้ออำานวยในประการหลังนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะทดแทนดว้ยการหมัน่พดูหรอือา่นภาษาองักฤษใหล้กูฟังเสมอๆ ให้เขาได้คุ้นเคยและโต้ตอบ ที่สำาคัญมากทีส่ดุคอืการสนบัสนนุและใหก้ำาลงัใจลกูในการพดูภาษาอังกฤษและชี้แนะวิธีการพูดที่ถูกต้อง บรรยากาศที่สนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่านนิทานหรือดูการ์ตูนร่วมกับลูกจะเป็นกุญแจในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเปิดรับภาษาอังกฤษให้กับลูกน้อยของคุณ

บางคนคงสงสัยว่าการให้ เด็กพูดสองภาษา พร้อมๆ กันจะทำาให้เด็กสับสน แต่การวิจัยหลายชิ้นยนืยนัวา่ เดก็ทีพ่ดูไดส้องภาษาตัง้แตเ่ลก็ๆ นอกจากจะไม่สับสนแล้ว ยังจะเป็นคนที่เรียนรู้อะไรได้เร็ว และมี

ทักษะ ในการแก้ปัญหาได้ดีกว่า ศ.เอลเลน ไบลี่สต็อค ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์ค จากแคนาดา ผู้ศึกษาด้านพัฒนาการทางภาษาในเด็กหลายร้อยคนกว่า 20 ปี เชื่อว่าการใช้สองภาษาควบกันจะฝึกเดก็รูจ้กัลำาดบัความสนใจ เพราะเขาจะตอ้งหยดุอกีภาษาหนึง่ไวข้ณะทีก่ำาลงัใชอ้กีภาษาหนึง่ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็กสองภาษา และหนึ่งภาษาถูกขอร้องให้แก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากเนื้อหาที่ทำาให้เขา้ใจผดิ จะเหน็วา่เดก็ทีพ่ดูสองภาษามลีำาดบัในการคดิแก้ปัญหาที่ดีกว่า และสามารถมองเห็นเนื้อหาที่ทำาให้เขา้ใจผดินัน้ ความคดิของพวกเขาจะกา้วหนา้กวา่เดก็ที่พูดภาษาเดียวอย่างน้อย 1 ปี สิ่งที่ตามมาคือทำาให้เด็กกลุ่มนี้มีความเป็นผู้นำา และเชื่อมั่นในตัวเองเมื่ออยู่ทา่มกลางเดก็คนอืน่ๆ นอกจากนีย้งัมทีกัษะในการเรยีนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งมักจะพบว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถทำาคะแนนวิชาอื่นที่โรงเรียนได้ดีอีกด้วย

จากนิตยสาร healthtoday

25

Page 26: Fette vol.01

26

More half-Thai youngsters in Europe can now learn their ‘roots’ language effectively

Duangruethai Reokarn founded the Samakkee Thai School in Barcelona after discovering how many half-Thai youngsters in the Spanish city had never learned the language, despite having Thai mothers.

Married to a Spaniard herself, she asked the mums why their kids didn't speak Thai. Some said they were too poorly educated to pass it on, some said their children didn’t like this “weird” lan-

guage, and some said they weren’t fluent in central Thai, only their own regional dialect.

So Duangruethai opened a ‘roots’ school for the foreign-born half-Thai kids-only to discover how difficult it is to teach Thai to ‘foreigners’, even with the help of the Primary 1 textbook.

She entered a Thai-teacher training programme in Belgium and at her school began using the book ‘Sawasdee’ by Salee Silapasatham, who’s been recognised as Thailand’s best teacher of English.

Four years on, Duangruethai's school

By Sopaporn KurzSpecial to The Nation

Published on June 10, 2011

How wespread the word

Page 27: Fette vol.01

27

is doing all right, though she admits there's still much more room for improve-ment.

The founding of the Federation of Thai Language and Culture Teachers in Europe (Fotte) last year has proved a boon. Duangruethai attended its inaugural annual meeting last month in Brussels.

Fotte president Supannee Boontook says the gathering drew nearly 120 ap-pointed “representatives of Thais” from 13 European countries, underlining the need for such an organisation.

“Many of them were teachers from established Thai schools in Europe looking for ways to improve the teaching and curriculum.” Supannee says anyone can join the federation, and Thai parents who want to their children to speak the language are particularly welcome.

In what's seen as a major achievement, the Fotte course “Basic Thai Language for People Living Abroad”, developed in close consultation with Salee, has been officially endorsed by the Thai Education Ministry.

Salee explains that the curriculum is designed to meet the needs of Thai and part-Thai children born and raised abroad, whether they understand the language or not.

“Just using the Primary 1 textbook that’s widely used in Thailand to teach the alphabet wouldn’t work,” he says. “First you have to make them understand and speak Thai.”

It’s similar to Thais learning English, she says: Learning through games, conversation and music is more effective than memorising the alphabet and grammar. Her six “Sawasdee” books include many such activities designed to instil knowledge.

The curriculum has six levels, each with its own clear objectives. Students learn to speak Thai as well as native Primary 1 pupils in Thailand.

Fotte is seeking certification for the curriculum so that students can continue learning up to Primary 6 and Secondary 3 and 6 levels with the Office of Non-Formal and Informal Education.

“We're like the bridge between Thai kids growing up abroad and the education system in Thailand,” says Supannee.

She points out that anyone earning a bachelor’s degree abroad is eligible to work for the Thai government if they have Primary 6 Thai-language equivalent. “These kids will have a future in Thailand too should their parents ever decide to move back.”

Page 28: Fette vol.01

The best way to get kids speaking Thai is for their parents to speak Thai to them, says Supannee, and the earlier the better. But it’s not always easy convincing Thai mums to do so, sometimes because their European husband forbids a language that he doesn't understand himself.

In other cases, she says, parents fear that their child will be at a learning disadvantage in school, a concern she calls baseless.

It's well known that bilingual youngsters are better able to learn a third language, further improving their chances of getting a better job.

In many cases too, Salee notes, it’s the Thai mothers who believe it's “cooler” to speak to their children only in the Western language of their husband. This suggests they’re simply not proud of the language or of being Thai, she says.

Salee says many expatriate Thai mothers have confided in her that their older children look down on them for being unable to speak a European language properly. As a result, they don’t expect their mother to be able to teach them anything.

“So one of the keys to success is that the parents agree to have a bilingual

home, because they're the ones spending the most time with the kids. We teachers see the children only once a week.”

Duangruethai says it’s clear that her young son and his classmates speak Thai better thanks to their lessons every Sunday. They’re less shy about expressing themselves in Thai.

Some of these children ask why they have to learn another language. Duangruethai tells them they'll be able to talk to their grandparents and other relatives when they go to visit Thailand.

“And you're half-Thai,” she reminds them. “Aren't you proud to be able to speak the language of your mother?”

Fotte facts<< The Federation of Thai Language

and Culture Teachers in Europe was founded in Lugano, Switzerland, in March 2010 to develop methods and curriculum for teaching the Thai language and culture in existing schools and support new ones.

<< It currently has 153 members in Belgium, Denmark, France, Germany, Italy, Luxembourg, Netherlands, Norway, Spain, Sweden, Switzerland and Britain.

28