12
1) วใจพระธรรม 7 : "--ธา--กะ-ยะ-ปะ" 2) วใจพระตร: "-ปะ---" 3) วใจพระย: "อา-ปา-มะ--ปะ" 4) วใจสสนา: "-สะ-สะ-" 5) วใจพระตนณ: "-หา-สะ-" 6) วใจยอดพระพพาน: "อะ-ระ-" 7) วใจแว 8 ประการ: "--ยา-โน" 8) วใจพพานตร: "--จะ-" 9) วใจเศรษ: "เส--สะ-เว--วะ-เส" 10) วใจปะงง: "-สะ-มะ" 11) วใจพระไตรสรณาคม: "-ธะ--" 12) วใจโส: "-กะ--" 13) วใจปงขาโย: "--เส-" 14) วใจปรต: "-เจ-" 15) วใจนะโม: "สะ-ตะ--เอ" 16) วใจตงเห: "สะ-หะ-ชา-" 17) วใจยา: "ยา--ระ-ตะ-" 18) วใจพระยากาสก: "จะ-ภะ-กะ-ละ" 19) วใจสน: "นะ-มะ-จะ" 20) วใจศล: "นะ-มะ-กะ-ยะ" 21) วใจคเค: "นะ-สะ--เห" 22) วใจกา: "รก-กะ-เม-ถะ" พระคาถาวใจ 108 Source: http://board.palungjit.com/f125/พระคาถาวใจ-108-a-352619.html

Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Description of the 108 hua jai. Thai buddhism pali

Citation preview

Page 1: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

1) หัวใจพระธรรม 7 คัมภีร์: "สัง-วิ-ธา-ปุ-กะ-ยะ-ปะ"

2) หัวใจพระสูตร: "ทิ-ปะ-สัง-อัง-ขุ"

3) หัวใจพระวินัย: "อา-ปา-มะ-จุ-ปะ"

4) หัวใจวิปัสสนา: "วิ-สะ-สะ-ติ"

5) หัวใจพระรัตนคุณ: "อุ-หา-สะ-ติ"

6) หัวใจยอดพระนิพพาน: "อะ-ระ-หัง"

7) หัวใจแก้ว 8 ประการ: "มิ-ถิ-ยา-โน"

8) หัวใจนิพพานสูตร: "พุท-ธิ-จะ-ติ"

9) หัวใจเศรษฐี: "เส-พุท-สะ-เว-ตัง-วะ-เส"

10) หัวใจปะถังมัง: "ทุ-สะ-มะนิ"

11) หัวใจพระไตรสรณาคมน์: "พุท-ธะ-สัง-มิ"

12) หัวใจอิติปิโส: "อิ-กะ-อิ-ติ"

13) หัวใจปฏิสังขาโย: "จิ-ปิ-เส-คิ"

14) หัวใจปรมัตถ์: "จิ-เจ-รุนิ"

15) หัวใจนะโม: "สะ-ตะ-อุ-เอ"

16) หัวใจตรีนิสิงเห: "สะ-หะ-ชา-ตรี"

17) หัวใจยานี: "ยา-นี-ระ-ตะ-นัง"

18) หัวใจพระยากาสลัก: "จะ-ภะ-กะ-ละ"

19) หัวใจสนธิ: "นะ-มะ-จะ"

20) หัวใจกุศล: "นะ-มะ-กะ-ยะ"

21) หัวใจสัคเค: "นะ-สะ-มิ-เห"

22) หัวใจกา: "รก-กะ-เม-ถะ"

พระคาถาหัวใจ 108Source: http://board.palungjit.com/f125/พระคาถาหัวใจ-108-a-352619.html

Javier
Texte souligné
Javier
Texte tapé à la machine
di pa san ang khu
Javier
Texte tapé à la machine
san vi dhaa pu ka ya pa
Javier
Texte tapé à la machine
aa paa ma cu pa
Javier
Texte tapé à la machine
bud dha san mi
Javier
Texte tapé à la machine
ca bha ka sa
Page 2: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

23) หัวใจอริยสัจ: "ทุ-สะ-นิ-มะ"

24) หัวใจสรณาคมน์: "สะ-ระ-มะ-ณะ"

25) หัวใจคเต: "สัก-ปะ-สิ-จะ-มิ"

26) หัวใจพระไตรปิฎกหรือตรีเพชร: "มะ-อะ-อุ"

27) หัวใจมงกุฏพระเจ้า: "อิ-มะ-หิ-ตะ-กะ-ระ-สุ"

28) หัวใจสมาส: "สิ-ริ-สะ-โต"

29) หัวใจนิทาน: "สี-วา-กุท-ธะ"

30) หัวใจวิปัสสิส: "สะ-ขิ-สะ-ปิ"

31) หัวใจยาตะ: "หัง-นะ-หิ-โส-ตัง"

32) หัวใจพาหุง: "พามา-นา-อุ-กะ-สะ-นะ-ทุ"

33) หัวใจเปรต: "ทุ-สะ-นะ-โส"

34) หัวใจทิพย์มนต์: "กะ-จะ-ยะ-สะ"

35) หัวใจพระนิพพาน: "สิ-วัง-พุท-ธัง"

36) หัวใจแก้ว 3 ประการ: "นะ-กะ-ระ-นะ"

37) หัวใจสัมพุทเธ: "สะ-ทุ-มะ-โต"

38) หัวใจสัมโพขฌงค์: "สะ-ธะ-วิ-ปิ-ปะ-สะ-อุ"

39) หัวใจมหาสมัย: "กา-ละ-กัญ-ชา-มะ-หา-ภะ-สะ-มา"

40) หัวใจบารมี 30 ทิศ: "ยะ-เว-สะ-เจ-เอ-หิ"

41) หัวใจปุคคลบัญญัติ: "ปะ-นะ-ปะ-เถ"

42) หัวใจตะบะนะ: "กา-รัต-ถี"

43) หัวใจจังงัง: "กะ-ระ-สะ-ติ"

44) หัวใจอิทธิฤทธิ์: "อะ-หัง-นุ-กา"

45) หัวใจแคล้วคลาด: "อะ-หัน-ติ-โก"

46) หัวใจศิริมานนท์: "ถะ-กะ-จะ-นา"

พระคาถาหัวใจ 108 2

Javier
Texte tapé à la machine
du sa na so
Javier
Texte tapé à la machine
sa dha vi pii pa sa u
Page 3: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

47) หัวใจเจ็ดตำนาน: "สะ-ยะ-สะ-ปุ-ยะ-อะ-ปะ"

48) หัวใจมงคล: "นะ-ระ-ติ"

49) หัวใจภาณยักษ์: "ภะ-ยะ-นะ-ยะ"

50) หัวใจพระสีวลี: "นะ-ชา-ลี-ติ"

51) หัวใจพระคุณ: "พุ-โม-ยะ-โล-นะ-โร"

52) หัวใจพระเจ้า 5 พระองค์: "นะ-โม-พุท-ธา-ยะ"

53) หัวใจพระเจ้า: "อิส-วา-สะ"

54) หัวใจพระ: "ภะ-คะ-วา"

55) หัวใจพระศรีศากยมุนี: "ปะ-ภะ-กะ"

56) หัวใจพระกัสสป: "ปะ-ระ-กะ-ชะ"

57) หัวใจพระเตมีย: "นะ-ปะ-กะ-ตะ"

58) หัวจพระมหาชนก: "ปะ-พะ-ยะ-หะ"

59) หัวใจพระโกนาคม: "นะ-มะ-กะ-ตะ"

60) หัวใจพระเวสสันดร: "สะ-ระ-ตะ-นะ"

61) หัวใจพระวิธูร: "นะ-ปะ-สะ-อิ"

62) หัวใจพระสุวรรณสาม: "อะ-วะ-สัท-ทะ"

63) หัวใจพระโพธิสัตว์: "ปะ-สะ-นะ-วา"

64) หัวใจพระภูริทัต: "ปะ-สิ-มิ-วา"

65) หัวใจพระมาลัย: "พะ-ละ-ยะ-ยะ"

66) หัวใจพระมโหสถ: "ปะ-ระ-อุ-อะ"

67) หัวใจพระอริยะ: "นะ-ระ-วา-ระ"

68) หัวใจพระราม: "ถัม-ภู-ปิ"

69) หัวใจคน: "นะ-ระ-กา-ลัง"

พระคาถาหัวใจ 108 3

Page 4: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

70) หัวใจชาย: "จิต-ตัง-ปุ-ริ-โส"

71) หัวใจหญิง: "จิต-ตังภิก-ขิ-ริ-นิ-เม"

72) หัวใจพระยามาร: "นุ-ภา-วะ-โต"

73) หัวใจขุนแผน: "สุ-นะ-โม-โล"

74) หัวใจพระร้อยเอ็ด: "อิ-สิ-สะ"

75) หัวใจโจร: "กัณ-หะ-เน-หะ"

76) หัวใจพระยามิลินท์: "อะ-ละ-วิ"

77) หัวใจอันธพาล: "โล-ระ-โท-รัง"

78) หัวใจพระอิศวร: "สะ-จะ-นะ-กะ-โต"

79) หัวใจพระพาย: "วา-ละ-กะ-โต"

80) หัวใจหนุมาน: "ยะ-ตะ-มะ-อะ"

81) หัวใจลิงลม: "ยุ-วา-พะ-วา"

82) หัวใจนกกาสัก: "กา-ละ-ถา-นะ"

83) หัวใจพาลี: "ยัน-ตะ-นะ-ภา"

84) หัวใจองคต: "พะ-หะ-วา-สา"

85) หัวใจนกยูง: "ตะ-ปุ-ปะ-สิ-ยัง"

86) หัวใจพระยาไก่: "กิ-กุ-กุ"

87) หัวใจงู: "อะ-นิ-สัป-โป"

88) หัวใจพระยานาค: "อัง-สุ"

89) หัวใจสัตว์: "อัน-ตะ-กาโว"

90) หัวใจกาลี: "หัน-ตะ-นุ-ตา"

91) หัวใจโลกสาม: "โล-กะ-วิ-ทู"

92) หัวใจอาวุธ: "กะ-ขะ-มะ-นิ"

93) หัวใจคงคาเดือด: "กะ-ขะ-ชะ-นะ"

พระคาถาหัวใจ 108 4

Page 5: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

94) หัวใจพระยาม้า: "สุ-กะ-ขะ-โย"

95) หัวใจไฟ: "เต-ชะ-สะ-ติ"

96) หัวใจตรีเภท: "ลง-มะ-อะ-อุ"

97) หัวใจพระนางธรณี: "เม-กะ-มะ-อุ"

98) หัวใจเกราะเพชร: "ภู-ตา-กัง-เก"

99) หัวใจลม: "วา-ยะ-ละ-ภะ"

100) หัวใจแผ่นดิน: "ปะ-ฐะ-อิ-ยัง"

101) หัวใจข้าวเปลือก: "ฉะ-นะ-ฉะ-ญา"

102) หัวใจธนู: "นะ-ภา-นุ-เว"

103) หัวใจก.ข.: "อิ-นะ-วัง"

104) หัวใจอาวุธพระเจ้า: "ปะ-สิ-สะ"

105) หัวใจดาบ: "วิ-เน-สัง-ติ"

106) หัวใจอายันตุโภนโต: "อะ-นิ-ขิ-ปิ"

107) หัวใจโตมร: "นะ-หิ-โส-ถัง"

108) หัวใจราชสีห์: "สี-หะ-นา-ทัง

=============

(1/6) > >>นิมิตรจิต:       หัวใจพระคาถา ในคำนิยามของผมเอง คือ บทย่อ ส่วนย่อ โดยนำหลักสำคัญ หลักแห่งความหมาย แห่งพระคาถาบทใหญ่นั้น ๆ  ซึ่งถอดออกมาให้จดจำได้ง่าย หรือเพื่อนำมาบริกรรมให้ได้ใจความมากขึ้น แต่ยังคงได้ความหมายหรือใจความสำคัญแห่งพระคาถาบทเดิมอยู่...      ซึ่งโดยส่วนมากที่ผมศึกษามา จะเห็นได้ว่า หัวใจพระคาถาต่าง ๆ ที่เราท่องขานกันอยู่ปัจจุบัน หลายท่านทราบความเป็นมา อีกหลายท่านก็ยังไม่ทราบ ในที่นี้เราขอพูดถึงท่านที่ยังไม่ทราบ ส่วนผู้ที่ทราบแล้ว แต่อาจจะทราบมากันคนละแบบ หรือคนละคำสอน อาจจะทำให้แตกต่างกันไปบ้าง ก็สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ เพื่อคนที่ยังไม่ทราบ และคนที่เริ่มต้นเพื่อทำการศึกษา      ประเด็นหลักของหัวใจพระคาถาในที่นี้ คือจะกล่าวถึงว่า หัวใจพระคาถาที่เราทราบ หรือใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มาจากบทใหญ่ของบทส่วนมนต์ใด อยู่ส่วนในของบทนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนมากหัวใจพระคาถาเหล่านั้น จะถูกถอดมาจากบทพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เช่น หัวใจนวหรคุณ หัวใจพระรัตนตรัย หัวใจพาหุง เป็นต้น ส่วนหัวใจบทอื่นผมก็กำลังอยู่จากคณาจารย์อื่น อย่างเช่น หัวใจพระยาไก่เถื่อน หัวใจเสือ หัวใจหมู่ หัวใจลิงลม อาจจะมาจากบทพระธรรมหรือไม่ใช่ตอนนี้

พระคาถาหัวใจ 108 5

Page 6: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

ก็กำลังศึกษาอยู่ ถ้ามีผู้รู้แล้วก็สามารถนำมาเพื่อเพิ่มเติมได้นะครับ       เพื่อชนรุ่นหลังจะได้ศึกษา กันได้อย่างถูกต้อง มิได้แต่ท่องขานกันไป โดยมิรู้ความหมายอะไรในหัวใจแห่งพระคาถานั้นๆ เพราะบางบทมาจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเรารู้ความหมายในตัวนั้นแล้ว ก็เหมือนเราได้ท่องหรือได้ใช้พระธรรมคำสอนในชีวิตประจำวันเลยทีเดียวนิมิตรจิต:นวหรคุณ ๙ ห้อง อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ

ถอดมาจาก บทพระพุทธคุณ ๕๖ ในบทใหญ่คือบทรัตนมาลา ๑๐๘ หรือบทอิติปิโส ที่เรารู้จัก

อะระหัง   หมายถึงเป็นผู้ดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลสโดยสิ้นเชิง   บทนี้ใช้ด้านกันไฟทั้งปวง สัมมาสัมพุทโธ  หมายถึง เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตัวพระองค์เอง      บทนี้ใช้เป็นตบะเดชะเสริมสร้างสง่าราศี วิชชาจะระณะ สัมปันโน  หมายถึง เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ    บทนี้ใช้ด้านโภคทรัพย์โชคลาภ สุคะโต  หมายถึงเป็นผู้ดำเนินไปได้ด้วยดี               บทนี้ใช้ในด้านการเดินทาง ทั้งทางบก น้ำ อากาศ โลกะวิทู อนุตตะโร หมายถึง เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง    บทนี้ใช้ภาวะนาเมื่อเข้าป่าหรือที่มืด ปุริสะธัมมะสาระถิ หมายถึง เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า   บทนี้ใช้ทางมหาอำนาจ ตวาดผี สัตถาเทวมนุสสานัง  หมายถึง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย         บทนี้ใช้ทางเมตามหานิยม สมณะ ขุนนางเอ็นดู พุทโธ   หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน      บทนี้ใช้ภาวนาอารมณ์ ทำให้ไม่ตกต่ำอับจน ภะคะวาติ  หมายถึง เป็นผู้จำเริญ จำแนก ธรรม สั่งสอนสัตว์ดังนี้ บทนี้ใช้ในทางป้องกันภยันอันตรายอันจะกระทำแก่เรา ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อมนุษย์ อสูรกาย สัตว์เดียรฉาน ป้องกันการประทุษร้ายเหล่านั้นได้ ทั้งสิ้นแล

ส่วนบทอิติปิโส หรือบทพระพุทธคุณ ๕๖ นี้เป็นบทเริ่มต้นของ อิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘ ดังนั้นถ้ามีผู้กล่าวว่าบท นวหรคุณ ๙ ห้อง นี้ถูกถอดมาจากบทรัตนมาลาในห้องพระพุทธคุณแล้วนั้นไซร์ ก็มิผิดประการใด...

ส่วนอิติปิโสรัตนมาลา ดูได้ ในบอร์ดของชมรมฯ ครับ โพสไว้โดย พี่ คนนครสวรรค์ ครับนิมิตรจิต:หัวใจพระรัตนตรัย  อิ สวา สุ (อณุโลม) สุ สวา อิ (ปฎิโลม)

อิ มาจาก บทพระพุทธคุณ ๕๖ คือ อิติปิโส.... สวา  มาจาก บทพระธรรมคุณ ๓๘  คือ สวาขาโต.... สุ   มาจาก บทพระสังฆคุณ ๑๔  คือ สุปะฎิปัณโน....

รวมกันคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์แห่งพระรัตนตรัย และรวมคุณแห่งเลข ก็จะได้ ๑๐๘ เท่ากับบทอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘  แท้จริงแล้วก็กลับไปยังบทนี้เช่นกันนิมิตรจิต:หัวใจพาหุง ๘ บท พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ

มาจากบทชัยมงคลคาถา หรือบทพาหุง นั้นเอง

พามานาอุกะสะนะทุ... มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะ ... นาฬาคิริง  คะชะวะรัง ... อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ  กัตวานะ  กัฏฐะมุทะรัง สัจจัง  วิหายะ...

พระคาถาหัวใจ 108 6

Page 7: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

นันโทปะนันทะภุชะคัง...  ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ  ...

บางท่าน เอะใจว่า บทนี้มี ๙ ท่อนนี้นา แล้วทำไมไม่เอา เอตาปิ... ซึ่งเป็นท่อนที่ ๙ มาร่วมด้วย ก็เพราะว่า บทดังกล่าวนี้มิเกี่ยวกับการกล่าวถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้าที่เอาชนะกิเลศหรือแม้แต่ชนะหมู่มารทั้งผอง แต่เป็นการบอกกล่าวว่า การสวดบททั้งแปดข้างต้นนั้นมีคุณเป็นเช่นใด ดังนี้

บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ

 ส่วนความหมายโดยนัย ที่เราสมควรจำไว้ในการดำเนินชีวิตตนเองมีดังนี้ บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์ บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้ บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคนนิมิตรจิต:ในตำรา หรือคัมภีร์ของชนชาวฮินดูการอ่านหรือเขียนอักขระ อะอุมะ หรือ อุอะมะ  ที่ในคำคัมภีร์หนึ่งได้ระบุ อะอุมะ หรือ อุอะมะ เป็นนามศัพท์ย่อมาจากคำว่า โอม ซึ่งหมายถึงมหาเทวะผู้เป็นเจ้าของฮินดู    แต่ในตำราไสยศาสตร์หรือเลขยันต์ไทยมีการแทนไว้เช่นกันตามนี้     อะอุมะ    อะ (แทนพระนารายณ์)  อุ (แทนพระศิวะ) มะ (แทนพระพรหม)    ตามแบบฮินดู

    อุอะมะ    อุ (แทน แก้วปัทมราช) อะ (แทน แก้ววิเชียร)  มะ (แทน แก้วไพฑูรย์)

   และมีแบบแทนพระรัตนะตรัยไว้ ๒ แบบ คือ แบ่งเป็นแบบโบราณ และแบบสมัยใหม่ ดังนี้    แบบโบราณ มะอะอุ    มะ (แทนพระพุทธ มาจาก มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ) อะ (แทนพระธรรม มาจาก อะกาลิโกเอหิปัสสิโก) อุ (แทนพระสงฆ์ มาจาก อุชุปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆ)    ซึ่งมิได้เรียงเรียนแบบของฮินดู ในพระคาถาแห่งพระหัวใจ ชื่อว่า หัวใจตรีเพชร และสามารถเปลี่ยนมาใช้เป็น หัวใจพระไตรปิฏก โดยให้ มะ (แทน พระมหากัสสะปะ) อะ (แทนพระอานนท์) อุ (แทนพระอุบาลี) ผู้ซึ่งเป็นพระผู้เริ่มสังคายนาพระไตรปิฏก และเป็นคาถาที่ใช้คู่ กับ นะโมพุทธายะ ซึ่งขาดเสียอย่างในอย่างหนึ่งแทบมิได้

   แบบสมัยใหม่  อะอุมะ หรือหัวใจพระบรรพชา   อะ (แทนพระพุทธ มาจาก อะระหัง) อุ (แทนพระธรรม มาจาก อุตตรธรรม) มะ (แทนพระสงฆ์ มาจาก มหาสังฆะ)===<< < (2/6) > >>คนนครสวรรค์:อนุโมทนาครับท่านนิมิตรจิตอย่าลืมหัวใจพระพุทธเจ้านะครับ

พระคาถาหัวใจ 108 7

Page 8: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

shadowx:อนุโมทนา ครับ ท่านพี่ นิมิตรจิตนิมิตรจิต:       มาแล้วครับ ตามที่พี่คนนครสวรรค์กล่าวไว้ จริงๆ บทนี้ทำให้ผมลังเล อยู่เหมือนกันว่าจะเขียนยังไงดี เพราะมีที่ผมเคยศึกษามา ได้ศึกษาบทที่บางท่านหนึ่งนำ บางบทของ "รตนสุตังสูตรมาร่วมอยู่ด้วย และหลายๆ บทของบทสวดอื่นมารวมกัน" แปลจากบาลีมาแล้วมีความหมายในแงดี ในแต่ละบทสวดนั้นเอง แต่ถ้าจะอ่านบทนั้น มันสลับกันไม่รู้ว่าบทไหนเป็นบทไหนครับ เพราะบางบทสวดนั้นผมก็ไม่รู้จักเช่นกัน        แต่ผมขอเอาบทที่เรารู้จักกันมาเทียบเคียงนะครับ และคิดว่าหลายๆ ท่านก็คงได้รับการสอนมาเช่นนี้เหมือนกัน

หัวใจพระพุทธเจ้า  อิ กะ วิ ติ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

จากบทข้างต้นนั้น

อิ   เป็นตัวแรกของ บท กะ  เป็นตัวกึ่งกลางของบท  คือเป็นตัวที่ ๒๘ นับจาก "อิ" มา หรือเป็นตัวสุดท้ายของบทแรก วิ    เป็นตัวกึ่งกลางของบท  คือเป็นตัวที่ ๒๙ นับจาก "อิ" มา และเป็นตัวที่ ๒๘ ถ้านับจาก "ติ" ขึ้นไป หรือเป็นตัวแรกของบทที่สอง ติ   เป็นตัวสุดท้ายของบท

ดังนั้นจะได้ อิ กะ วิ ติ ซึ่งบทพระพุทธคุณ หรือคุณพระธรรมเจ้า มีคุณ ๕๖ ก็จะได้ตามข้างต้นคือ อิ-กะ(๒๘) และ วิ-ติ(๒๘)

จากข้างต้นที่ผมแบ่งบทสองบทให้เข้าใจ ว่ามีบทแรกและบทที่สอง ผมเทียบเคียงมาจาก บทพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ โดยถ้าจับบทรวมแล้วได้ ๓๒ โดยตามโบราณจะแบ่งบทนี้เป็นสองไว้ด้วยกันคือ บทตัวผู้ ๑๖ และบทตัวเมีย ๑๖ ซึ่งจะกล่าวในครั้งหน้าครับนิมิตรจิต:ผมขอแนะนำอีกสักนิดนะครับท่านที่ชอบสวดมนต์ และถ้าท่านใดที่สวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก ให้สังเกตุว่า จะมี หัวใจพระคาถาต่างๆ ตั้งแต่ผมเริ่มกล่าวไว้ และจะกล่าวในครั้งต่อไปนี้ เกือบทั้งสิ้นทั้งมวลอยู่ในบทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก แล้วทั้งสิ้นomkara:สวัสดีทุกท่านครับ เพิ่มเติมเรื่อง อะ อุ มะอะ คือ พรหมะอุ คือ วิษณุมะ คือ มเหศ หรือ มเหศวร บางทีมีคนเชื่อว่ามาจากพระเวท3เล่มอะ คือ ฤคเวทอุ คือ ยชุรเวทมะ คือ สามเวท ส่วนพระเวทเล่มที่4 เชื่อว่าแต่งมาทีหลัง คือ อาถรรพเวท===

พระคาถาหัวใจ 108 8

Page 9: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

<< < (3/6) > >>นิมิตรจิต:อนุโมทนาครับท่าน omkara ที่นำมาเสิรม และขอต่อด้วย หัวใจพระเจ้าสิบชาติ หรือหัวใจทศชาติ เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ  นา  วิ  เว ซึ่งเป็นชาติทั้ง ๑๐ ชาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกัปล์ปัจจุบัน ๑. เตมีย์ชาดก บำเพ็ญเนกขัมมบารมี๒. ชนกชาดก บำเพ็ญวิริยบารมี ๓. สุวรรณสามชาดก บำเพ็ญเมตตาบารมี๔. เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ๕. มโหสถชาดก บำเพ็ญปัญญาบารมี๖. ภูริทัตชาดก บำเพ็ญศีลบารมี ๗. จันทชาดก บำเพ็ญขันติบารมี๘. นารทชาดก บำเพ็ญอุเบกขาบารมี ๙. วิทูรชาดก บำเพ็ญสัจจบารมี๑๐.เวสสันดรชาดก บำเพ็ญทานบารมีนิมิตรจิต:เอาวันละบทแล้วกันนะครับ เดี๋ยวเยอะไปพี่ๆ น้องๆ จะเบื่อ

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สัง-วิ-ธา-ปุ-กะ-ยะ-ปะ

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ในตำนานแห่งพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ยกขึ้นมาแสดงแก่พุทธมารดาฟังที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมเหล่าเทวดาทั้งหลาย คือ

๑.พระสังคิณี ว่าด้วยเรื่องธรรมที่เป็นกุศล กับ อกุศล ๒.พระวิภังค์ ว่าด้วยเรื่องขันธ์ 5 ๓.พระธาตุกถา ว่าด้วยเรื่องการสงเคราะห์ธรรม ๔.พระปุคคะละปัญญัติ ว่าด้วยที่ตั้งของบุคคล ๕.พระกถาวัตถุ ว่าด้วยความจริงแท้ ๖.พระยะมะกะ ว่าด้วยธรรมที่เป็นคู่ ๗.พระมหาปัฏฐาน ว่าด้วยที่ตั้งใหญ่นิมิตรจิต:หัวใจพระแม่ธรณี  เม-กะ-มุ-อุ นำมาจาก พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย๑. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ๒. กรุณาหมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ๓. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ๔. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉยปู่ตาไฟ:อนุโมทนา ขอรับ เรียนจริง ปฏิบัติจริง ก็ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ขอรับ ตัวเท่ากันรู้เท่ากัน แต่ใครจะรู้ได้มากกว่ากันก็เท่านั้นเองขอรับนิมิตรจิต:อ้างจาก: ปู่ตาไฟ ที่ กันยายน 03, 2010, 14:43:26

อนุโมทนา ขอรับ เรียนจริง ปฏิบัติจริง ก็ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ขอรับ ตัวเท่ากันรู้เท่ากัน แต่ใครจะรู้ได้มากกว่ากันก็เท่านั้นเองขอรับ

พระคาถาหัวใจ 108 9

Page 10: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

===<< < (4/6) > >>นิมิตรจิต:หัวใจยอดศีล หรือ หัวใจพระไตรสรณคมน์   พุท-ธะ-สัง-มิ มาจากบทสวดพระไตรสรณคมณ์ ก่อนที่เราจะอาราธณาศีล ดังนี้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิมิ เป็นคำสุดท้ายของแต่ละบท มาจาก "คัจฉามิ"  แปลว่า "ถือเอา"นิมิตรจิต:วันนี้วันหยุดเอาไป ๓ บทครับ หัวใจปฎิสังขาโย  จิ-ปิ-เส-คิ ปฎิสังขาโย เป็นการพิจารณาในการใช้ปัจจัย ๔ ประการ ในเพศบรรพชิต ก็คือปัจจัย ๔ ของเรา แต่ท่านจะพิจารณาใช้อย่างดียิ่งกว่า โดย "มีฉันมีใช้ พอให้อยู่ได้ พอให้สนองความต้องการของชีวิต" ให้ "บริโภคด้วยปัญญา ไม่บริโภคด้วยตัณหา" จิ   -จีวะรัง  อันแปลว่า จีวร (เครื่องนุ่งห่ม)ปิ   -ปิณฑปาทัง   อันแปลว่า   บิฑบาต (อาหาร)เส -เสนาสะนัง  อันแปลว่า เสนาสะนะ (ที่อยู่)คิ   -คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง  อันแปลว่า เภสัชบริขาร (หยูกยา) ซึ่ง หัวใจบทนี้ ผมไม่แน่ใจว่า ว่า มี หัวใจ "อัชชะ  มะยา" ด้วยหรือเปล่า เพราะบท "ปฎิสังขาโย" ๔ บท ใช้สวดทำวัดเช้า สำหรับพระภิษุกสามเณร ในการพิจารณาปัจจัย ๔  ส่วนบท "อัชชะ  มะยา" ๔ บท ใช้สวดทำวัดเย็น สำหรับพระภิษุกสามเณรเช่นกัน และก็ใช้พิจารณาปัจจัย ๔ เช่นกันด้วย นิมิตรจิต:หัวใจอิธะเจ อิ-ธะ-คะ-มะ

มาจาก บทจากพระคาถา "อิธะเจ ๑๓ ตัว" คือ อิธะ เจตะโสทัฬหัง คัณหาหิถามะสาฯ  (เป็นวิชามหาเสน่ห์โบราณ อ่านแล้วรู้นะคิดอะไรอยู่ อิอิ)

เรื่องของพระคาถา อิธะเจ หรือ ผงอิธะเจ  หรือวิชาอิธะเจ เป็นไสยศาสตร์วิชาสมัยโบราณ ๑ ใน ๔ วิชาไสยศาสตร์หลักของวิชาไสยโบราณ (พูดเหมือนภัมภีร์หนังจีนเลยผม) ซึ่งวิชาทั้ง ๔ มีดังนี้ อิธะเจ, ปถมัง, ตรีนิสิงเห และมหาราช  ซึ่งพระผงดังๆ สมัยก่อนก็ใช้วิชาเหล่านี้ เช่น พระสมเด็จเป็น ต้น===<< < (5/6) > >>นิมิตรจิต:อ้างจาก: คนนครสวรรค์ ที่ กันยายน 05, 2010, 13:12:09

อนุโมทนาครับท่านนิมิตรจิตขอหัวใจที่อยู่ข้างๆปู่ด้วยครับ(มะอะเมอุ)

อนุโมทนาครับท่านปู่ฤาษีตาไฟ"พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์คือแก้วมณีทำให้จิตสำเร็จความตรัสรู้"สาธุ

หัวใจบทนี้ พ่อแก้วท่านสอนไว้เฉพาะครับ ส่วนลายละเอียดปลีกย่อย ยังไง ผมจะถามพ่อแก้วให้อีกที

พระคาถาหัวใจ 108 10

Page 11: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

นะครับ

ตอนนี้เท่ากับผมติดไว้ ๘ บท ๘ วัน ไม่น่าดองเลย แต่ขอมีเวลา ว่างเป็นวันละบทดีกว่า วันไหนว่างเยอะำก็เอาเยอะ อิอิ

และอนุโมทนาครับพี่ปู่ตาไฟ ที่นำมาช่วยลง บทที่พี่ลง ผมก็พึ่งทราบเหมือนกัน ครับ ขอบคุณครับนิมิตรจิต:หัวใจพระวินัย หรือพระวินัยปิฏก คือ อา-ปา-มะ-จุ-ปะ

๑ มหาวิภังค์ (อา) *อาทิกัมมิกะ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติ ปราชิก สังฆาทิเสส และถุลลัจจัย  ( การกระทำที่เป็นต้นบัญญัติ "หมายเฉพาะรายการพระวินัย ตั้งแต่อาบัติปาราชิกลงมาถึงสังฆาทิเสส") ๒ ภิกษุณีวิภังค์ (ปา) *ปาจิตตีย์ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติปาจิตตีย์ลงมา และภิกขุนีวิภังค์  เป็นชื่อของอาบัติในปาฏิโมกข์ เฉพาะตั้งแต่ถัด สังฆาทิเสสลงมา)๓ มหาวรรค = วรรคใหญ่ แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๐ หมวด ๔ จุลวรรค = วรรคเล็ก แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๒ หมวด ๕ ปริวาร =  ข้อเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินัยฉัยปัญญาใน ๔ เรื่องข้างต้น

*  อา และ ปา เป็นการย่ออย่างจับความมากกว่าย่อตามชื่อหมวดหมู่ จึงไม่ตรงกับชื่อที่ใช้เป็นทางการในวินัยปิฎก ดังเช่น ๓ บทที่เหลือนิมิตรจิต:หัวใจพระสูตร หรือ สุตตันตปิฎก  คือ ที-มะ-สัง-อัง-ขุ

๑ . ทีฆนิกาย แปลว่า หมวดยาว หมายถึงหมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ส่วนหนึ่งไม่ปนกับพระสูตรประเภทอื่น ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๓๔ สูตร

๒. มัชฌิมนิกาย แปลว่า หมวดปานกลาง หมายถึงหมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดกลางไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไปไว้ส่วนหนึ่ง ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๑๕๒ สูตร

๓. สังยุตตนิกาย แปลว่า หมวดประมวล คือประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น เรื่องพระมหากัสสป เรียกกัสสปสังยุต เรื่องอินทรีย์ ( ธรรมะที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) เรียกอินทริยสังยุต เรื่องมรรค ( ข้อปฏิบัติ ) เรียกมัคคสังยุต ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๗,๗๖๒ สูตร ๑

๔. อังคุตตรนิกาย แปลว่า หมวดยิ่งด้วยองค์ คือจัดลำดับธรรมะไว้เป็นหมวด ๆ ตามลำดับตัวเลข เช่น หมวดธรรมะข้อเดียว เรียกเอกนิบาต หมวดธรรมะ ๒ ข้อ เรียกทุกนิบาต หมวดธรรมะ ๓ ข้อ เรียกติกนิบาต ดังนี้เป็นต้น จนถึงหมวดธรรมะ ๑๐ ข้อ เรียกทสกนิบาต หมวดธรรมะเกิน ๑๐ ข้อ เรียก อติเรกทสกนิบาต ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๙,๕๕๗ สูตร ๑

๕. ขุททกนิกาย แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน ๔ หมวดข้างต้นมารวมไว้ในหมวดนี้ทั้งหมด เมื่อจะแบ่งโดยหัวใหญ่ก็มี ๑๕ เรื่องneng999:ท่านนิมิตรจิต ท่านนี้ เก่งจิงๆเลย สมคำล่ำลือว่า คือ ลุงเอ๋แห่งชมรมขนหัวลุก เอ้ยผิด ชมรมคนรักพ่อแก่ ครับ นับถือและเคารพครับนิมิตรจิต:หัวใจพระกรณี หรือโบราณก็ว่า หัวใจกาสลัก บ้างก็จัดว่าเป็น หัวใจธาตุใช้ในการเสริมธาตุ คือ จะ ภะ กะ สะ     จริงหัวใจนี้ก็เคยใช้มานาน แต่ก็มิเคยทราบว่าเกิดจากเหตุผลใด จนพึ่งทราบเมื่อตอนสมัยบวชแล้วไปรื้อตำราเลขยันต์ให้ห้องพระอาจารย์ที่เป็นผู้ปกครองสมัยบวช มานั่งอ่านหาความรู้ ในตำราเล่มดังกล่าว ได้เล่าถึงหัใจพระกรณีไว้ดังนี้        จากที่ ท่านท้าวสหบดีพรหม ท่านได้มอง ดอกบัวทั้ง ๕ ดอกที่ผุดออกมาเหนือพื้นน้ำ และได้

พระคาถาหัวใจ 108 11

Page 12: Gatha คาถาหัวใจ 108 PDF

ทำนายเอาไว้ว่าในกัปร์นี้จะมีพระพุทธเจ้า ทั้งสิ้น ๕ พระองค์ ซึ่งในขณะนั้น ก็กำเนิดหัวใจแห่งพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ขึ้นแล้วเช่นกัน (ซึ่งจะกล่าวในคราต่อไป) และในขณะนั้น ในกลุ่มดอกบัวดังกล่าวนั้น ได้เกิดละลอกน้ำ เหมือนจะเป็นลากเง่าแห่งดอกบัวนั้น จึงได้เกิดเป็น นะ พินทุ ขึ้นมา (คือดุดวงกลม เป็นจุดเริ่มต้นแห่ง นะ ซึ่งอาจจะมีบทความเรื่อง น ในคราต่อไป) และในระหว่างของดอกบัวทั้ง ๕ ดอกนั้น ก็มี คาถาขึ้นอีก ๔ บทตรงระหว่างดอกบัวทั้ง ๕ คือ คาถากรณี(พอดีแกะจากภาษาขอม ที่อยู่ในตำราเมื่อสมัยบวช ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมาด้วยนะครับ ) ๑. จะชะทุชชะนะสังสัคคัง๒. ภะชะสาธุสะมาคะตัง๓. กะระปุญญะมะโหรัตตัง๔. สะระนิจจะมะนิจจัตตัง ซึ่งต่อมาผมมาศึกษาคำแปลต่อเพิ่มเติมจากผู้รู้ต่างๆ ก็จะได้คำแปลเช่นนี้ หลีกเลี่ยงคนพาล (จะ) สังสรรค์บัณฑิต (ภะ) ทำดีเป็นนิจ (กะ) คิดถึงความเปลี่ยนแปลง (สะ)และในส่วนเรื่องหัวใจแห่งธาตุที่ใช้ในการเสริมธาตุ จัดไว้ดังนี้ จะ-เสริมพลังธาตุ"น้ำ" ทำให่อบอุ่น เย็นสบาย คอยช่วยเหลือผู้อื่นภะ-เสริมพลังธาตุ"ดิน" ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่อ่อนแอ มีฤทธิ์เดชเดชะกะ-เสริมพลังธาตุ"ไฟ" ช่วยทำลายล้างสิ่งอาถรรพ์ และโรคภัยไข้เจ็บสะ-เสริมพลังธาตุ"ลม" เมื่อไฟจะดับลมก็พัด สิ่งร้ายกลายเป็นดี จนกลับร่ำรวยได้......===<< < (6/6)คนนครสวรรค์:อนุโมทนาครับ รออ่านต่อครับomkara:คาถา โอม มณิ ปทฺเม หูํ ปรากฎในพระสูตรมหายานชื่อ การัณฑวยูหสูตร

พระคาถาหัวใจ 108 12