12
จดหมายข่าว สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค ปีท่ 4 ฉบับที่ 3 เดือน มิถุนายน 2554 ความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีน โครงการวาระแห่งชาติด้านวัคซีน การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ เนื้อหาภายในเล่ม • การรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีน • International Advanced Course on Vaccinology in Asia-Pacific Region • วัคซีนโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) • ข้าฯ คือ เอชไอวี ชื่อนี้คือตำนาน

newsletter NVI (4/3/54)

Embed Size (px)

DESCRIPTION

จดหมายข่าว สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 เดือนกันยายน 2554

Citation preview

Page 1: newsletter NVI (4/3/54)

จดหมายข่าว สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือน มิถุนายน 2554

ความก้าวหน้าในการพ

ัฒนาวัคซีน

โครงการวาระแห่งชาต

ิด้านวัคซีน

การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอ

ย่างเป็นระบบ

เนื้อหาภายในเล่ม

We are HIV. Our family is ancient. Out of Africa, Monkey to man, From the trees and forests, To the towns and cities. We are here. For we are HIV, we are legion. Our children are billions, Our home, in your defenses, In your blood, your brain, Your saliva, your semen. We are everywhere. For we are HIV, we are immortal. We are part of you, And you of us, We live with you, but May not die with you. We go on. For we are HIV, we are travelers. From lover to lover, Mother to baby Donor to blood bank, Blood bank to patient, We follow you. For we are HIV, we evolve. NRTIs, NNRTIs, PIs, INIs, New designs, new drugs, Bring it on, bring it on, Q151M, K103N, L90M. We adapt, we survive. We are HIV. We consume. Your resources, your time, Your hope, your lives, Your new drugs are easy. Where are your vaccines? Can you stop us? We will see.

WE ARE LEGEND

ข้าฯ คือ เอชไอวี ตัวข้าฯ นี้ คือตำนาน

แอฟริกา คือถิ่นฐาน ผ่านจากลิง มาสู่คน

จากป่า มาสู่เมือง ชื่อลือเลื่อง ทุกแห่งหน

ได้ยินไหม เฮ้ยพวก “คน” พวกข้าฯ อยู่ ที่ตรงนี้

ข้าฯ มา เป็นกองทัพ ไม่อาจนับ จำนวนมี

พวกพ้อง ผองข้าฯ นี้ เจริญที่ ภูมิคุ้มกัน

ในเลือด ในสมอง กองน้ำลาย น้ำกามนั้น

สืบวงศ์ ดำรงพันธ์ุ ทั่วสรรพางค์ ในร่างกาย

ข้าฯ นั้น เป็นอมตะ ใครจะฆ่า ก็ไม่ตาย

ข้าฯ อยู่ กับเจ้าได้ หากเจ้าตาย ข้าฯ ยังคง

ข้าฯ คือผู้ พเนจร สู่คู่นอน ที่โลภ หลง

เสพสม ขยายพงศ์ แพร่ข้าฯ สู่ ครรภ์มารดา

จากเลือด ไปสู่เลือด ทำให้เดือด ทุกหย่อมหญ้า

รับเลือด รับข้าฯ มา ติดตามเจ้า ไปทุกคน

ข้าฯ คือ เอชไอวี ที่แข็งแกร่ง และอดทน

ยาทั้งหลาย ที่ผู้คน สารพัด จะนำมา

ข้าฯ ต้าน ทนทานได้ อีกยังไซร้ พัฒนา

ปรับตัว สู้ ดื้อยา จึงไม่ตาย ขยายพันธ์ุ

ข้าฯ คือ เอชไอวี ที่สูบกิน ทุกสิ่งสรรพ์

เวลา ทั้งคืนวัน ทั้งความฝัน และเงินทอง

เหวยเหวย พวกมนุษย์ ผู้แสนสุด จะผยอง

ข้าฯ ประกาศ ท้าประลอง ไหนล่ะเฮ้ย วัคซีนเอ็ง

Dr. Tang is a clinical and academic virologist with The Chinese University of Hong Kong and Prince of Wales Hospital, Hong Kong. His research interests include bloodborne viruses such as HIV and hepatitis B and C, as well as molecular epidemiology involving the phylogenetic analysis of viral sequences.From: tang JW. We are legend [Another Dimension]. Emerg Infect Dis. 2008 Sep.Available from http://www.cdc.gon/EID/content/14/9/1420.htm

ข้าฯ คือ เอชไอวี ชื่อนี้คือตำนาน นคร เปรมศรี ร้อยคำ

เตือนใจ เทพยสุวรรณ กรองความ Julian W.Tang

• การรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีน • International Advanced Course on Vaccinology in Asia-Pacific Region • วัคซีนโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) • ข้าฯ คือ เอชไอวี ชื่อนี้คือตำนาน

Page 2: newsletter NVI (4/3/54)

จดหมายข่าว “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”

ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2554

ที่ปรึกษา :

นพ.ศุภชัย ฤกษ์งาม

นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์

บรรณาธิการ :

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ

พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ :

วรวรรณ กลิ่นสุภา

เกศินี มีทรัพย์

ภาพปกและภาพประกอบ :

ณัฐ จินดาประชา

ประสานการพิมพ์และเผยแพร่ :

สุรเดช คำเอี่ยม

ปิ่นมณี นาคบาตร์

ติดต่อ :

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ อาคาร 4 ชั้น 2

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง

จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 0 2590 3196-8 โทรสาร 0 2965 9152

www.nvco.go.th

พิมพ์ที่ :

สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทบรรณาธิการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการให้การพัฒนาวัคซีนในประเทศเป็น “วาระแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 วาระแห่งชาติ

ด้านวัคซีน ประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 10 โครงการ มีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (ครบกำหนดในปี พ.ศ. 2563) โดยนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์

เวชชาชีวะ ได้ลงนามประกาศ “วาระแห่งชาติด้านวัคซีน” เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมานี้

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

ในการผลักดันการดำเนินงานโครงการในความรับผิดชอบให้รุดหน้าไปได้ ผู้บริหารหน่วยงานเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับทราบและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์

แนวทาง ตลอดจนวิธีการการดำเนินงานในโครงการอย่างแท้จริงจึงจะได้รับความร่วมมืออย่างจริงจัง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติจึงได้จัดให้มี “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

ในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน” ในวันรุ่งขึ้นหลังการประกาศวาระแห่งชาติด้านวัคซีนโดยนายกรัฐมนตรี คือ วันที่ 21 เมษายน โดยมีรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต เป็นรองประธานในพิธี

ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 8 หน่วยงาน ได้มาร่วมในพิธีลงนามในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง อันเป็นนิมิตหมายที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

(สวทช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) บริษัทไบโอเนท-เอเชีย

จำกัด สถานเสาวภา สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

และกรมควบคุมโรค [1]

ในพิธีลงนามยังได้จัดให้ผู้บริหารทุกหน่วยงาน ได้กล่าวสุนทรพจน์แสดงเจตนารมณ์

อันแน่วแน่ ที่จะผลักดันให้การดำเนินงานบรรลุความสำเร็จตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ใน

วาระแห่งชาติ ตลอดจนต้องการให้สื่อมวลชนได้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

สู่สาธารณชนเพื่อให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน หลังพิธี

การลงนาม สถาบันฯ ยังได้จัดทำบันทึกการ

ลงนามฯ ออกแบบเป็นชนิดถาวรทำด้วยอะคริลิค

เพื่อนำไปแสดงไว้ ณ หน่วยงานแต่ละหน่วย

ต่อไปด้วย

จากการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้บริหาร

ในพิธี ทำให้ทราบถึงความมุ่ งมั่นของแต่ละ

หน่วยงานอย่างจริงจัง และมีความเป็นไปได้ในทาง

ปฏิบัติ ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าถ้าผู้ปฏิบัติในหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์

ของผู้บริหารแล้ว ย่อมจะทำให้ “วาระแห่งชาติ

ด้านวัคซีน” บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่าง

แน่นอน นั่นคือ “การพึ่งตนเองได้และมีความ

มั่นคงด้านวัคซีนของประเทศในระยะยาว”

[1] ดูรายละเอียดโครงการและผู้รับผิดชอบในวาระแห่งชาติด้านวัคซีนในจดหมายข่าว สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ปีที่ 4

ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2554 หน้า 5-6

บรรยากาศพิธีลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

Page 3: newsletter NVI (4/3/54)

1ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2554

ารพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีน

อย่างเป็นระบบเป็น 1 ใน 10 โครงการ

สำคัญที่บรรจุอยู่ในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งได้รับ

ความเห็นชอบในหลักการจากคณะรั ฐมนตรี

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 ความสามารถ

ในการพึ่งตนเองได้ และความมั่นคงด้านวัคซีน

ขอ งประ เทศ ไทยจะ เ กิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ า ง แน่ นอน

หากประเทศไทยมีบุคลากรที่มีสมรรถนะรองรับ

การดำเนินงานวัคซีนทุกด้าน ตั้งแต่การวิจัยพัฒนา

การผลิต การประกันและควบคุมคุณภาพ รวมถึง

การใช้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ

สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รับมอบหมายให้

เป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือเพื่อ

การพฒันาศกัยภาพบคุลากรดา้นวคัซนีอยา่งเปน็ระบบ

ในช่วงที่ผ่านมาได้จัดการประชุมระดมสมองหารือ

ประเด็นที่ประเทศมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร

ในแต่ละด้าน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 เป็นต้นมา

รวมจำนวน 6 ครั้ง การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวัน

ที่ 30 มีนาคม 2554 เป็นการรายงานผลการสำรวจ

อัตรากำลังและความต้องการพัฒนาบุคลากรด้าน

วัคซีน และรวบรวมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ของหน่วยงานด้านวัคซีนที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร

และอัตรากำลัง ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

ที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รับจากหน่วยงานเครือข่าย

ตลอดวงจรการพฒันาวคัซนี รวมทัง้สิน้ 17 หนว่ยงาน

(ภาพที่ 1) หน่วยงานที่มีอัตรากำลังไม่เพียงพอ

ต่อภาระงานและมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมาก

ที่สุดคือ หน่วยงานด้านควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีน

มีความต้องการบุคลากรเพิ่มเกิน 1 เท่าตัว จาก

ที่มีอยู่ 32 คน ขอเพิ่มอีก 42 คน รองลงมาได้แก่

หน่วยงานด้านการวิจัยพัฒนา และสถาบันวัคซีน

แห่งชาติ (ภาพที่ 2)

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีน • ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

Page 4: newsletter NVI (4/3/54)

จ ด ห ม า ย ข ่า ว ส ถ า บ ัน ว ัค ซ ีน แ ห ่ง ช า ติ 2

ภาพที่ 1 หน่วยงานที่ตอบแบบสอบถาม

ภาพที่ 2 อัตรากำลังปัจจุบันและความต้องการบุคลากรเพิ่ม

Page 5: newsletter NVI (4/3/54)

3ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2554

ประเทศไทยต้องสร้างหรือพัฒนาบุคลากร

ที่ สำคัญต่อการวิจัยพัฒนาและการผลิต เช่น

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการพื้นฐาน, วิศวกร

ด้านซ่อมบำรุง, Utilities, QA, Fermentor เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบประกันและควบคุม

คุณภาพวัคซีนในปัจจุบันมีความสำคัญมาก จึงต้องมี

ความตอ่เนือ่งของการพฒันา และตอ้งพฒันาควบคูก่บั

เทคโนโลยีการผลิตด้วย สำหรับประเด็นและสิ่งที่ต้อง

พัฒนาในแต่ละด้านนั้น ควรกำหนดวัคซีนที่จะพัฒนา

ในประเทศไทยให้ชัดเจน แล้วพัฒนาบุคลากร

ตามรายวัคซีนเพื่อรองรับงานทุกด้านจนได้ผลิตภัณฑ์

จำหน่าย วิธีการพัฒนาบุคลากรมีตั้งแต่การพัฒนา

ต่อยอดโดยการอบรมระยะสั้น การให้ผู้เชี่ยวชาญ

สอนงาน การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อระดับ

ประกาศนยีบตัร ปรญิญาตร ีปรญิญาโท ปรญิญาเอก

และการเขา้รว่มประชมุ ทัง้ในประเทศและตา่งประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกงาน และทำงานร่วมกับ

ผู้เชี่ยวชาญ/องค์กรที่ประสบความสำเร็จหรือเป็นที่

ยอมรับในระดับสากล ปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนา

บุคลากรด้านวัคซีนที่รวบรวมได้จากข้อคิดเห็น

และข้อเสนอแนะ มีดังนี้

• ควรมีแผนแม่บทที่ชัดเจน ตรงตาม

ทิศทางการพัฒนาวัคซีนที่ประเทศต้องการ

• ต้องมีระบบวิเคราะห์ความต้องการ

พัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทุกปี

• ต้องกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดให้ชัดเจน

และมีระบบติดตามประเมินผล

• การมี career path ที่ชัดเจน จะช่วย

maintain บุคลากรได้

• ควรมีระบบจูงใจเพื่อรักษาบุคลากรที่มี

ความสามารถ

• มีทำเนียบผู้มีประสบการณ์ ความรู้และ

ความสามารถในแต่ละด้าน เช่น Pure Science,

Lab, VPD, QA/QC, Immunization เป็นต้น

• สถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นผู้เชื่อมโยง

แผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของแต่ละหน่วยงาน

ให้เป็นภาพรวมของประเทศ

โดยสรุป การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

อย่างเป็นระบบจะต้องมองอย่างรอบด้าน ขณะนี้ได้

รับทราบในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน และ

หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน ยังขาดความคิดเห็น

จากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งสถาบันวัคซีนแห่งชาติมีแผนที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติม

ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการข้อมูลทั้งหมดจาก 3 มุมมอง

รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร

ระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา หน่วยงาน

เครือข่ายด้านวัคซีน และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ในสาขาที่มีหลักสูตรอยู่แล้วหรือสามารถพัฒนา

หลักสูตรขึ้นใหม่ได้

Page 6: newsletter NVI (4/3/54)

จ ด ห ม า ย ข ่า ว ส ถ า บ ัน ว ัค ซ ีน แ ห ่ง ช า ติ 4

การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุสำคัญ

ของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธ์ุมีความสามารถ

ในการก่อโรคที่รุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต

เศรษฐกิจและสังคมเป็นอันมาก ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ตื่นตัวในการเตรียมการเพื่อรับมือกับการระบาด

ในอนาคต ซึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งใน

การเตรียมการสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว ได้แก่

การใช้วัคซีน เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่จัดเป็นเครื่องมือ

ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรค

สำหรับประเทศไทยมีนโยบายและยุทธศาสตร์

การเตรียมพร้อมในด้านนี้ โดยในระยะสั้นขณะที่ประเทศ

ไทยยังไม่สามารถผลิตวัคซีนเองได้ กระทรวงสาธารณสุข

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดหาวัคซีน

ไข้หวัดใหญ่ในกรณีการระบาดใหญ่ เช่นการระบาดของ

ไข้หวัดใหญ่ 2009 ในปี 2552 จากบริษัทผลิตวัคซีน

ต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในประเทศ สำหรับระยะยาว

ประเทศไทยมีแผนการพัฒนาวัคซีนเพื่อสร้างศักยภาพ

ในการพึ่ งพาตนเอง ได้แก่ การวิจัยพัฒนาวัคซีน

ไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกในรูปแบบต่างๆ การสร้างโรงงาน

ผลิตวั คซีน ไข้หวั ด ใหญ่ เพื่ อผลิตวั คซีนสำหรับ ใช้

ภายในประเทศ (ดำเนินการโดยองค์การเภสัชกรรม)

การประชาสัมพันธ์

แ ล ะ ใ ห้ ค ว า ม รู้ แ ก่

ประชาชนเพื่อป้องกัน

โรคและการปฏิบัติตน

เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหรือขณะที่ป่วยเป็นโรค

หลังจากที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

ในสัตว์ปีก (ไข้หวัดนก) ในปี 2546 กระทรวง

สาธารณสุขได้เริ่มจัดบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ปี

2547 แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและ

ผู้ทำหน้าที่กำจัดสัตว์ปีกเพื่อการควบคุมโรคไข้หวัดนก

เพื่ อลดโอกาสในการเกิดการผสมข้ ามสายพันธ์ุ

(re-assortment) ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อไข้หวัด

นกที่อาจทำให้เชื้อไข้หวัดใหญ่เกิดการกลายพันธ์ุไปเป็น

เชื้อที่ทำให้เกิดโรครุนแรงและสามารถแพร่กระจาย

การรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีน • วรวรรณ กลิ่นสุภา และ พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง

Page 7: newsletter NVI (4/3/54)

5ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2554

ระหวา่งบคุคลไดด้ ีและตัง้แตป่ ี2551 กระทรวงสาธารณสขุ

ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ขยาย

กลุ่มเป้าหมายการให้บริการในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

เปน็ประจำทกุป ี เนือ่งจากสายพนัธ์ขุองเชือ้ไวรสัไขห้วดัใหญ ่

มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยกลายพันธ์ุเป็นระยะๆ

องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดสายพันธ์ุของเชื้อไวรัส

ในวคัซนีไขห้วดัใหญต่ามฤดกูาลแตล่ะป ี สำหรบัป ี 2554

การระบาดของเชื้อไวรัสเป็นสายพันธ์ุเดียวกับปี 2553

ซึง่ประกอบดว้ย 3 สายพนัธ์ ุ ไดแ้ก ่A/California/7/2009

(H1N1)- l ike virus (สายพันธ์ุ ใหม่ 2009),

A/Perth/16/2009 (H3N2)- l ike virus และ

B/Brisbane/60/2008- like virus

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในปีนี้ประกอบด้วย

1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงผู้ที่

ทำหน้าที่ทำลายสัตว์ปีก 2) บคุคลอาย ุ65 ปขีึน้ไปทกุคน

3) บุคคลอายุ 2 ถึง 65 ปีที่มี โรคเรื้อรัง ดังนี้

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง

ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด

และเบาหวาน 4) บุคคลอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ทุกคน

5) หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 7 เดือนขึ้นไป 6) บุคคลโรค

อ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมหรือ BMI มาก

กว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) และ 7) ผู้พิการทาง

สมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ผู้ป่วย

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)

กำหนดการรณรงค์ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน -

31 สิงหาคม 2554

กรมควบคุมโรคร่วมกับสำนักงานหลักประกัน

สุขภาพแห่งชาติได้จัดทำ “แนวทางการดำเนินงานให้

บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำ

ปี 2554” ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน

ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้การให้บริการวัคซีน

แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในสถานบริการจะต้อง

ดำเนินการขณะที่มีแพทย์อยู่ และจะต้องมีอุปกรณ์

ช่วยชีวิตที่ครบถ้วนพร้อมใช้งานเพื่อเตรียมพร้อม

รับผู้ป่วยฉุกเฉินที่อาจเกิดอาการภายหลังได้รับวัคซีน

อย่างรุนแรง

จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มี

ความสำคัญเป็นอย่างมากในการรณรงค์การให้วัคซีน

ไข้หวัดใหญ่ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และ

หากการดำเนินงานดังกล่าวได้ผลเป็นไปตามเป้าหมาย

จะส่งผลให้สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่

ไม่ให้แพร่ระบาดในวงกว้าง และลดความสูญเสียทั้งชีวิต

เศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้เป็นจำนวนมหาศาล

นอกจากนี้การรณรงค์ให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังมีประโยชน์

ในด้านการยอมรับวัคซีนของประชาชนและเป็นการสร้าง

ความต้องการตลาดเพื่อรองรับกำลังการผลิตวัคซีน

ของประเทศอีกด้วย

ขอขอบคณุ กลุม่พฒันาวชิาการที ่2 สำนกัโรคตดิตอ่ทัว่ไป

กรมควบคุมโรค ที่ให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินงาน

ให้บริการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลประจำปี

2554

Page 8: newsletter NVI (4/3/54)

จ ด ห ม า ย ข ่า ว ส ถ า บ ัน ว ัค ซ ีน แ ห ่ง ช า ติ 6

วิทยาการด้านวัคซีนเป็นสาขาวิชาที่มี

ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้น

มากมายในปัจจุบัน การจัดประชุมวิชาการด้านวัคซีน

จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรด้านนี้เป็น

อันมาก นอกเหนือจากการเรียนรู้จากการทำงาน

การฝึกอบรม ดูงานและศึกษาต่อ

International Advanced Course on

Vaccinology in Asia-Pacific Region เปน็การประชมุ

วชิาการวคัซนีระดบันานาชาต ิ ซึง่มกีารจดัขึน้เปน็ประจำ

ทุกปี โดย International Vaccine Institute (IVI)

ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีวัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานและองค์ความรู้ ใหม่

ดา้นวคัซนี ตลอดจนเปน็การแลกเปลีย่นประสบการณ ์

และสร้างเครือข่ายด้านวัคซีนของผู้เข้าร่วมประชุม

จากประเทศต่างๆ ในปีนี้จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 11

ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2554 ผู้เข้าร่วม

การประชุมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ

ที่เกี่ยวข้องในวงจรการพัฒนาวัคซีน ตั้งแต่การวิจัย

พัฒนาจนถึงการนำวัคซีนไปใช้จากประเทศต่างๆ

ในหลายภูมิภาคได้แก่ ประเทศอินเดีย เวียดนาม

ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ

จีน มองโกเลีย เนปาล ปากีสถาน ซูดาน แทนซาเนีย

กาน่า เอธิโอเปีย บูร์กินาฟาโซ ออสเตรเลีย

อเมริกาเหนือ และยุโรป

รูปแบบของการประชุมเป็นการบรรยาย

จากวิทยากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

ด้านวัคซีน ซึ่งครอบคลุมความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

การวิจัยพัฒนา การผลิต การควบคุมคุณภาพ และ

การนำวัคซีนไปใช้ อาทิเช่น วิทยาการระบาดของโรค

วิทยาภูมิคุ้มกัน การวิจัยพัฒนาวัคซีน การทดสอบ

ทางคลนิคิ แนวทางในการนำวคัซนีเขา้สูร่ะบบสรา้งเสรมิ

ภูมิคุ้มกันโรค นโยบายเกี่ยวกับวัคซีน การศึกษา

ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การใช้วัคซีน

International Advanced Course on Vaccinology in Asia-Pacific Region

• นันทะภร แก้วอรุณ

Page 9: newsletter NVI (4/3/54)

7ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2554

ในระบบสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นต้น นอกจาก

การบรรยายแล้ว การประชุมยังเปิดโอกาสให้มี

การอภิปรายกลุ่มย่อยในกรณีศึกษา (case study)

หลายรูปแบบของวัคซีนชนิดที่เป็นปัญหาสาธารณสุข

ที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่วัคซีนไทฟอยด์

(Typhoid), ตบัอกัเสบบ ี(Hepatitis B) และไขเ้ลอืดออก

เดงกี่ (Dengue) และให้ตัวแทนผู้เข้าร่วมอภิปราย

นำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เข้าใจสถานการณ์การดำเนนิงาน

ของประเทศตา่งๆ ทีม่บีรบิทแตกตา่งกนั

การเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ นอกจาก

จะได้รับความรู้ด้านวัคซีนแล้ว ยังเป็นโอกาสสร้าง

เสริมประสบการณ์โดยผ่านกระบวนการอภิปราย

และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วม

ประชุมจากประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำ

ความรูท้ีไ่ดไ้ปประยกุตใ์ชใ้นการปฏบิตังิาน เปน็การสรา้ง

เครอืขา่ยและมติรภาพทีด่ตีอ่กนัระหวา่งผูเ้ขา้รว่มประชมุ

อีกด้วย

สำหรับประเทศไทย กรมควบคุมโรคโดย

สถาบันวัคซีนแห่ งชาติ ได้ เล็ ง เห็นความสำคัญ

ในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนและได้ริเริ่มจัด

การประชมุวทิยาการวคัซนีขึน้เปน็ครัง้แรกในป ี 2551

และมีการจัดอย่างต่อเนื่องปีละหนึ่งครั้ง ในปีนี้

“การประชุมวิทยาการวัคซีน ครั้งที่ 3” จะจัดขึ้น

ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรม

วนิดเ์ซอร ์ สวทีส ์ กรงุเทพมหานคร โดยมวีตัถปุระสงค์

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวัคซีนแก่บุคลากร

ที่เกี่ยวข้อง และเป็นการสร้างและขยายเครือข่าย

ด้านวัคซีนอีกด้วย

สถาบันวัคซีนแห่งชาติหวังเป็นอย่างยิ่ง

ว่าการประชุมวิทยาการวัคซีน จะเป็นส่วนหนึ่ง

ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวัคซีนของประเทศไทย

และจะได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้องด้านวัคซีน

อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอให้ทุกฝ่ายร่วมให้ข้อคิดเห็น

เพือ่พฒันารปูแบบการประชมุใหด้ยีิง่ขึน้และเหมาะสม

กับบริบทของประเทศต่อไป

Page 10: newsletter NVI (4/3/54)

จ ด ห ม า ย ข ่า ว ส ถ า บ ัน ว ัค ซ ีน แ ห ่ง ช า ติ 8

มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแพร่กระจาย

(metastatic) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 32,000 ราย

ต่อปี ปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้มีความก้าวหน้า

เป็นอันมาก รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนสำหรับการรักษา

(Therapeutic vaccine) “วัคซีน Provenge” เป็นวัคซีน

สำหรับรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ป่วยที่มีอาการ

ในระยะต้นหรือผู้ป่วยมะเร็งลุกลามระยะแรก ซึ่งขณะนี้

มีวัคซีนสำหรับใช้ ในพื้นที่ 50 เขตของประเทศ

สหรัฐอเมริกาเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดด้านกำลัง

การผลิต

นายแพทย์แอนดรูว์ กรีนสแปน ผู้เชี่ยวชาญ

ด้านมะเร็งของศูนย์ศึกษามะเร็ง Central Indiana ได้

กล่าวถึงวิธีการรักษาด้วยวัคซีนโดยทั่วไปว่า วัคซีน

ส่วนใหญ่จะใช้กับการป้องกันโรค แต่วัคซีน Provenge

ใช้กับผู้ป่วยซึ่งเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว วัคซีนชนิดนี้

ออกแบบให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโดยมีเป้าหมาย

เฉพาะคือเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งหากสามารถ

กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ดี จะทำให้ผู้ป่วยสามารถต่อสู้

กับมะเร็งและควบคุมโรคดีขึ้น

ผู้ป่วยมะเร็งในระยะต้น ส่วนใหญ่จะมีเซลล์

มะเร็งจำนวนไม่มากพอที่ระบบภูมิคุ้มกันจะตรวจพบและ

เขา้มาทำลายได ้ ซึง่วคัซนี Provenge ไดพ้ฒันาโดยการผสม

แอนติเจนที่ได้มาจากมะเร็งต่อมลูกหมาก เรียกว่า PAP

และตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immune activator) ซึ่ง

สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตื่นตัวและทำลาย

เซลล์มะเร็งในขณะที่มีจำนวนไม่มากได้ดีขึ้น ทั้งนี้วัคซีน

จะแสดงประสิทธิผลภายใน 15 วันภายหลังจากได้รับ

วัคซีน

สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนในด้านอัตรา

การรอดชีวิต จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ

วัคซีนมีค่ามัธยฐานการรอดชีวิต 26 เดือน ในขณะที่

กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน มีค่ามัธยฐาน 21 เดือน ทั้งนี้

หนึ่ งในสามของผู้ป่วยที่มีชีวิตรอดนานเกิน 3 ปี

เป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีน

วัคซีนโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)

• เกศินี มีทรัพย์

Page 11: newsletter NVI (4/3/54)

จดหมายข่าว “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”

ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2554

ที่ปรึกษา :

นพ.ศุภชัย ฤกษ์งาม

นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์

บรรณาธิการ :

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ

พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ :

วรวรรณ กลิ่นสุภา

เกศินี มีทรัพย์

ภาพปกและภาพประกอบ :

ณัฐ จินดาประชา

ประสานการพิมพ์และเผยแพร่ :

สุรเดช คำเอี่ยม

ปิ่นมณี นาคบาตร์

ติดต่อ :

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ อาคาร 4 ชั้น 2

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง

จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 0 2590 3196-8 โทรสาร 0 2965 9152

www.nvco.go.th

พิมพ์ที่ :

สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทบรรณาธิการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการให้การพัฒนาวัคซีนในประเทศเป็น “วาระแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 วาระแห่งชาติ

ด้านวัคซีน ประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 10 โครงการ มีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (ครบกำหนดในปี พ.ศ. 2563) โดยนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์

เวชชาชีวะ ได้ลงนามประกาศ “วาระแห่งชาติด้านวัคซีน” เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมานี้

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

ในการผลักดันการดำเนินงานโครงการในความรับผิดชอบให้รุดหน้าไปได้ ผู้บริหารหน่วยงานเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับทราบและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์

แนวทาง ตลอดจนวิธีการการดำเนินงานในโครงการอย่างแท้จริงจึงจะได้รับความร่วมมืออย่างจริงจัง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติจึงได้จัดให้มี “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

ในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน” ในวันรุ่งขึ้นหลังการประกาศวาระแห่งชาติด้านวัคซีนโดยนายกรัฐมนตรี คือ วันที่ 21 เมษายน โดยมีรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต เป็นรองประธานในพิธี

ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 8 หน่วยงาน ได้มาร่วมในพิธีลงนามในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง อันเป็นนิมิตหมายที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

(สวทช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) บริษัทไบโอเนท-เอเชีย

จำกัด สถานเสาวภา สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

และกรมควบคุมโรค [1]

ในพิธีลงนามยังได้จัดให้ผู้บริหารทุกหน่วยงาน ได้กล่าวสุนทรพจน์แสดงเจตนารมณ์

อันแน่วแน่ ที่จะผลักดันให้การดำเนินงานบรรลุความสำเร็จตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ใน

วาระแห่งชาติ ตลอดจนต้องการให้สื่อมวลชนได้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

สู่สาธารณชนเพื่อให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน หลังพิธี

การลงนาม สถาบันฯ ยังได้จัดทำบันทึกการ

ลงนามฯ ออกแบบเป็นชนิดถาวรทำด้วยอะคริลิค

เพื่อนำไปแสดงไว้ ณ หน่วยงานแต่ละหน่วย

ต่อไปด้วย

จากการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้บริหาร

ในพิธี ทำให้ทราบถึงความมุ่ งมั่นของแต่ละ

หน่วยงานอย่างจริงจัง และมีความเป็นไปได้ในทาง

ปฏิบัติ ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าถ้าผู้ปฏิบัติในหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์

ของผู้บริหารแล้ว ย่อมจะทำให้ “วาระแห่งชาติ

ด้านวัคซีน” บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่าง

แน่นอน นั่นคือ “การพึ่งตนเองได้และมีความ

มั่นคงด้านวัคซีนของประเทศในระยะยาว”

[1] ดูรายละเอียดโครงการและผู้รับผิดชอบในวาระแห่งชาติด้านวัคซีนในจดหมายข่าว สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ปีที่ 4

ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2554 หน้า 5-6

บรรยากาศพิธีลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

Page 12: newsletter NVI (4/3/54)

จดหมายข่าว สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือน มิถุนายน 2554

ความก้าวหน้าในการพ

ัฒนาวัคซีน

โครงการวาระแห่งชาต

ิด้านวัคซีน

การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอ

ย่างเป็นระบบ

เนื้อหาภายในเล่ม

We are HIV. Our family is ancient. Out of Africa, Monkey to man, From the trees and forests, To the towns and cities. We are here. For we are HIV, we are legion. Our children are billions, Our home, in your defenses, In your blood, your brain, Your saliva, your semen. We are everywhere. For we are HIV, we are immortal. We are part of you, And you of us, We live with you, but May not die with you. We go on. For we are HIV, we are travelers. From lover to lover, Mother to baby Donor to blood bank, Blood bank to patient, We follow you. For we are HIV, we evolve. NRTIs, NNRTIs, PIs, INIs, New designs, new drugs, Bring it on, bring it on, Q151M, K103N, L90M. We adapt, we survive. We are HIV. We consume. Your resources, your time, Your hope, your lives, Your new drugs are easy. Where are your vaccines? Can you stop us? We will see.

WE ARE LEGEND

ข้าฯ คือ เอชไอวี ตัวข้าฯ นี้ คือตำนาน

แอฟริกา คือถิ่นฐาน ผ่านจากลิง มาสู่คน

จากป่า มาสู่เมือง ชื่อลือเลื่อง ทุกแห่งหน

ได้ยินไหม เฮ้ยพวก “คน” พวกข้าฯ อยู่ ที่ตรงนี้

ข้าฯ มา เป็นกองทัพ ไม่อาจนับ จำนวนมี

พวกพ้อง ผองข้าฯ นี้ เจริญที่ ภูมิคุ้มกัน

ในเลือด ในสมอง กองน้ำลาย น้ำกามนั้น

สืบวงศ์ ดำรงพันธ์ุ ทั่วสรรพางค์ ในร่างกาย

ข้าฯ นั้น เป็นอมตะ ใครจะฆ่า ก็ไม่ตาย

ข้าฯ อยู่ กับเจ้าได้ หากเจ้าตาย ข้าฯ ยังคง

ข้าฯ คือผู้ พเนจร สู่คู่นอน ที่โลภ หลง

เสพสม ขยายพงศ์ แพร่ข้าฯ สู่ ครรภ์มารดา

จากเลือด ไปสู่เลือด ทำให้เดือด ทุกหย่อมหญ้า

รับเลือด รับข้าฯ มา ติดตามเจ้า ไปทุกคน

ข้าฯ คือ เอชไอวี ที่แข็งแกร่ง และอดทน

ยาทั้งหลาย ที่ผู้คน สารพัด จะนำมา

ข้าฯ ต้าน ทนทานได้ อีกยังไซร้ พัฒนา

ปรับตัว สู้ ดื้อยา จึงไม่ตาย ขยายพันธ์ุ

ข้าฯ คือ เอชไอวี ที่สูบกิน ทุกสิ่งสรรพ์

เวลา ทั้งคืนวัน ทั้งความฝัน และเงินทอง

เหวยเหวย พวกมนุษย์ ผู้แสนสุด จะผยอง

ข้าฯ ประกาศ ท้าประลอง ไหนล่ะเฮ้ย วัคซีนเอ็ง

Dr. Tang is a clinical and academic virologist with The Chinese University of Hong Kong and Prince of Wales Hospital, Hong Kong. His research interests include bloodborne viruses such as HIV and hepatitis B and C, as well as molecular epidemiology involving the phylogenetic analysis of viral sequences.From: tang JW. We are legend [Another Dimension]. Emerg Infect Dis. 2008 Sep.Available from http://www.cdc.gon/EID/content/14/9/1420.htm

ข้าฯ คือ เอชไอวี ชื่อนี้คือตำนาน นคร เปรมศรี ร้อยคำ

เตือนใจ เทพยสุวรรณ กรองความ Julian W.Tang

• การรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีน • International Advanced Course on Vaccinology in Asia-Pacific Region • วัคซีนโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) • ข้าฯ คือ เอชไอวี ชื่อนี้คือตำนาน