24
เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง เกรียงไกร สักติ

Pagoda pasang1

Embed Size (px)

DESCRIPTION

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง ลำพูน

Citation preview

Page 1: Pagoda pasang1

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

เกรียงไกร สักติ

Page 2: Pagoda pasang1
Page 3: Pagoda pasang1

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซางเกรียงไกร สักติ

Page 4: Pagoda pasang1

ภาพถ่ายทางอากาศพระธาตุเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็นรูปแบบ

ของทรงเจดีย์พม่าที่มีขนาดใหญ่มีความโดดเด่น (โดยคุณมนตรี ปัญญาฟู )

2 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 5: Pagoda pasang1

เจดีย์ทรงพม่า คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยจำาลองแบบองค์ประกอบที่สำาคัญ

ของเจดีย์ทรงกลมแบบพม่า ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพม่า

สันนิษฐานว่าเจดีย์แบบพม่าในเขตจังหวัดลำาพูนที่เหลืออยู่ ในปัจจุบันได้สร้างขึ้น

ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ถึง พุทธศักราช 2460 โดยชาวพม่าที่เข้ามาทำา

กิจการค้าไม้ในเขตภาคเหนือตอนบนรวมถึงจังหวัดลำาพูน เจดีย์ที่สร้างขึ้นจึงมีรูปแบบ

เป็นเจดีย์ทรงพม่าซึ่งส่วนท่ีแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเจดีย์ทรงพม่าในจังหวัด

ลำาพูนกับเจดีย์ทรงพม่าแท้ คือ สัดส่วนของเจดีย์ที่มีสัดส่วนยืดสูงขึ้นตามรูปแบบของ

การสร้างเจดีย์์ในจังหวัดลำาพูน เชื่อว่าเกิดการผสมผสานระหว่างงานฝีมือช่างชาวพม่า

กับงานช่างท้องถิ่นในจังหวัดลำาพูน ก่อให้เกิดเจดีย์ทรงพม่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเขต

จังหวัดลำาพูนและในขณะเดียวกันเจดีย์ทรงพม่าได้ส่งรูปแบบหรือศิลปกรรมประดับ

ตกแต่งองค์ประกอบบางส่วนให้กับเจดีย์ในลำาพูนที่สร้างขึ้นในช่วงหลังพุทธศักราช

2440 เป็นต้นมา ทั้งกลุ่มเจดีย์ทรงกลมและทรงปราสาทซึ่งจัดว่าเป็นเจดีย์ที่มีการ

พัฒนารูปแบบที่มีลักษณะเป็นแบบพื้นถิ่น คติการสร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุจึงมีส่วน

สัมพันธ์กันด้วย คือถือว่าพระธาตุเจดีย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลสำาคัญและยิ่งใหญ่

กว่าทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่เทวดาและเหล่าอมนุษย์ท้ังหลายที่ว่ามีอิทธิฤทธิ์ก็ยังด้อยกว่า

พระธาตุซึ่งเปรียบเสมือนกายที่สองของพระองค์ ในจังหวัดลำาพูนพบเจดีย์ทรงพม่าใน

เขตอำาเภอป่าซางที่มีการจำาลองแบบและองค์ประกอบใกล้เคียงกับเจดีย์ทรงพม่าแท้

เหลืออยู่จำานวน 10 องค์ ซึ่งมีส่วนประกอบสำาคัญในแต่ละส่วนดังนี้

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 3

Page 6: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดป่าตาล ตำาบลม่วงน้อย จังหวัดลำาพูน

แสดงองค์ประกอบของเจดีย์ในอำาเภอป่าซางที่มีความเก่าแก่

4 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 7: Pagoda pasang1

องค์ประกอบส่วนฐานของเจดีย์ทรงพม่าคือ ส่วนที่มีลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยม

ที่รองรับชั้นย่อเก็จของเจดีย์ พบทั้งฐานเขียง หรือฐานบัวควำ่าที่มีอยู่เพียงชั้นเดียว หรือ

ซ้อนกัน 2 ชั้น บนชั้นฐานสี่เหลี่ยมเป็นที่ตั้งของเจดีย์จำาลอง หรือรูปปั้นสิงห์ที่มุมทั้งสี่

หรือท่ีกลางด้านทั้งสี่ทิศเป็นที่ตั้งของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปที่ก่อยื่นออกมาจาก

ส่วนเรือน องค์ประกอบส่วนเรือนธาตุ ประกอบด้วยชั้นฐานบัวควำ่ามีลูกแก้วย่อเก็จซึ่ง

เป็นแบบเฉพาะของพม่า หรือชั้นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ โดยชั้นฐานนี้จะซ้อนลดหลั่น

ขึ้นไป 2 - 3 ชั้น ส่วนบนของฐานแต่ละชั้นมีการประดับกลีบบัวและที่มุมทั้งสี่ของ

แต่ละชั้นเป็นที่ตั้งของเจดีย์จำาลองขนาดเล็ก หม้อน้า หม้อดอกไม้ ประติมากรรมรูป

คนครึ่งสิงห์ เทวดา กินนร กินรี เป็นต้น ถัดจากชั้นย่อเก็จขึ้นไปเป็นชั้นแปดเหลี่ยม

ซึ่งเป็นรูปแบบของฐานบัวลูกแก้วหรือฐานบัวควำ่ามีลูกแก้ว โดยชั้นแปดเหลี่ยมที่ตั้ง

อยู่บนฐานพบทั้งการวางมุมหรือด้านของชั้นแปดเหลี่ยมออกมาทางรูปด้านของเจดีย์

ถัดจากชั้นแปดเหลี่ยมเป็นช้ันกลมซึ่งมีการประดับด้วยกลีบบัวควำ่าและกลีบบัวหงาย

รองรับองค์ระฆังซึ่งมีลักษณะตรงและส่วนปลายผายออกมาก และมีการประดับด้วย

เข็มขัดรัดกลางองค์ระฆัง องค์ประกอบส่วนยอด ส่วนยอดอยู่ถัดจากองค์ระฆังขึ้นไป

เริ่มจากปล้องไฉน ชั้นกลีบบัวควำ่าและบัวหงายกลีบยาวและมีเส้นแบ่งกลาง เป็นชั้นที่

คั่นระหว่างปล้องไฉนและปลียอดที่อยู่ถัดขึ้นมาเป็นส่วนบนสุดของส่วนยอด

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 5

Page 8: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดท่าต้นงิ้ว มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่า เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก มีความกว้าง

ของฐานชั้นล่างสุดกว้าง 4.90 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วน

ประมาณ 2:3 เจดีย์ก่อด้วยอิฐฉาบด้วยปูนทั้งองค์ เน้นรูปทรงสูงอย่างชัดเจน เกิด

จากการซ้อนชั้นของฐานที่มีส่วนท้องไม้ยืดสูง การซ้อนฐานทั้ง 3 ชั้น จึงเน้นความสูง

มากกว่าความกว้างการซ้อนช้ันลดความสูงลงน้อยองค์ระฆังมีขนาดใหญ่ลวดลายปูน

ปั้นที่ประดับติดกับองค์เจดีย์เป็นการประดับกลีบบัวขนาดเล็กบนฐานของเรือนธาตุ

ทุกชั้นโดยรอบ โดยฐานหน้ากระดานกลมรองรับองค์ระฆัง หรือฐานบัวปากระฆังมี

การประดับกลีบบัวควำ่าบัวหงายที่หน้ากระดานบนจำานวนมากเพื่อรองรับองค์ระฆัง

กลม ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีเส้นเข็มขัดคาดกลางด้านล่างประดับด้วยลายกลีบบัว

ขนาดใหญ่ ส่วนบนประดับกลีบบัวขนาดเล็กโดยรอบ ส่วนยอดเจดีย์ประดับชั้นบัวควำ่า

บัวหงายกลีบยาวเป็นปูนปั้นระหว่างปล้องไฉนกับปลียอด

เจดีย์ทรงพม่าในอำาเภอป่าซาง จังหวัดลำาพูน

6 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 9: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดฉางข้าวน้อยใต้ องค์ที่ 2 มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

9.00 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 3:4 เจดีย์ก่อด้วย

อิฐฉาบปูนทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดกลาง เน้นรูปทรงกว้าง โดยการซ้อนชั้นของฐานที่

เน้นความกว้างทุกชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป โดยฐานเป็นการย่อเก็จ แบบพม่า คือ ย่อ

เก็จตื้นและกว้าง ทำาให้สามารถซ้อนฐานลดหลั่นกันได้มากถึง 3 ชั้น การซ้อนฐานแปด

เหลี่ยม และฐานกลมมีพื้นที่รองรับองค์ระฆังมากขึ้น ส่วนการประดับซุ้มประดิษฐาน

พระพุทธรูป และปูนปั้นแบบลอยตัวรูปแบบต่างๆ ที่มุมฐานแต่ละชั้นทำาให้เจดีย์มีรูป

ทรงที่ขยายทางกว้างมากขึ้น

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 7

Page 10: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดฉางข้าวน้อยใต้ องค์ที่ 1 จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทซึ่งฐานระฆังมีระเบียบการซ้อนชั้นของฐาน

ระฆังเช่นเดียวกับเจดีย์ทรงปราสาทแบบพม่า คือ ฐานย่อเก็จ ฐานแปดเหลี่ยม และ

ฐานกลมตามลำาดับ เพื่อรองรับองค์ระฆังกลม ความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

4.74 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 3:7 เจดีย์ก่อสร้าง

ด้วยอิฐฉาบด้วยปูนทั้งองค์ เจดีย์มีขนาดเล็กจึงเพิ่มความสูงขึ้นโดยพื้นที่รองรับของ

องค์ประกอบแต่ละส่วนมีความกว้างพอดีกับส่วนที่ต่อขึ้นไป ส่วนเรือนธาตุได้ยืดสูง

ขึ้นและฐานระฆังทั้ง 3 ชั้นมีความสูงไล่เลี่ยกัน องค์ระฆังจึงมีขนาดเล็กเจดีย์ประดับ

ตกแต่งส่วนเรือนธาตุด้วยเทวดาปูนปั้นที่มุมทั้งสี่ เรือนธาตุ 3 ด้านเจาะซุ้มประดิษฐาน

พระพุทธรูป โดยเรือนธาตุด้านทิศตะวันออกเชื่อมต่อกับวิหาร มีการประดับลวดลาย

ปูนปั้นที่ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 3 ด้าน

8 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 11: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดกอม่วง มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

8.10 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 2:3 เจดีย์ก่ออิฐ

ฉาบปูนทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดกลาง เน้นรูปทรงสูง เกิดจากฐานที่มีส่วนท้องไม้ยืดสูง

และลดหลั่นกันขึ้นไปอย่างต่อเนื่องรองรับองค์ระฆังกลมขนาดเล็กการประดับตกแต่ง

เจดีย์ด้วยปูนปั้นแบบลอยตัวรูปแบบต่างๆ ที่มุมฐานแต่ละชั้นทำาให้เจดีย์มีรูปทรงที่

ขยายทางกว้างมากขึ้นปูนปั้นแบบลอยตัวที่ประดับตามมุมและด้าน บนฐานเจดีย์ชั้น

ต่างๆคือ บนฐานสี่เหลี่ยมเป็นที่ตั้งของรูปสิงห์ที่มุมทั้งสี่ ส่วนกลางด้านประดับรูปผู้

วิเศษซึ่งภาษาพม่าเรียกว่า Zaw – gyi มีลักษณะนั่งชันเข่า มีไม้กระบองพาดไหล่ สวม

หมวกยอดแหลมและสวมกางเกงคลุมเข่า บนฐานย่อเก็จชั้นที่ 1 ประดับเจดีย์จำาลอง

ขนาดเล็กที่มุมทั้งสี่ และกลางด้านทั้งสี่ รวม 8 องค์ มีลักษณะเป็นฐานหน้ากระดานมี

ท้องไม้โค้งเข้าหน้ากระดานบนประดับกลีบบัวรองรับองค์ระฆังกลม ต่อด้วยปล้องไฉน

เป็นวงซ้อน 4 วง ชั้นบัวควำ่าบัวหงายกลีบยาวและปลียอดตามลำาดับ บนฐานย่อเก็จชั้น

ที่ 2 ประดับรูปคนมีลำาตัวเป็นสิงห์ทั้งสี่มุมส่วนกลางด้านทั้งสี่ประดับรูปกินรีในท่าร่าย

รำา บนฐานย่อเก็จชั้นที่ 3 ประดับรูปเทพนม ที่มุมทั้งสี่และกลางด้านทั้งสี่และบนฐาน

แปดเหลี่ยมประดับหม้อดอกไม้ไหวขนาดเล็กที่มุมทั้งแปด

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 9

Page 12: Pagoda pasang1

บนฐานย่อเก็จชั้นที่ 1 ประดับเจดีย์จำาลองขนาดเล็กที่มุมทั้งสี่ และกลางด้านทั้งสี่

รวม 8 องค์ มีลักษณะเป็นฐานหน้ากระดานมีท้องไม้โค้งเข้าหน้ากระดานบนประดับ

กลีบบัวรองรับองค์ระฆังกลม ต่อด้วยปล้องไฉนเป็นวงซ้อน 4 วง ชั้นบัวควำ่าบัวหงาย

กลีบยาวและปลียอดตามลำาดับ บนฐานย่อเก็จชั้นที่ 2 ประดับรูปคนมีลำาตัวเป็นสิงห์

ทั้งสี่มุมส่วนกลางด้านทั้งสี่ประดับรูปกินรีในท่าร่ายรำา บนฐานย่อเก็จชั้นที่ 3 ประดับ

รูปเทพนม ที่มุมทั้งสี่และกลางด้านทั้งสี่และบนฐานแปดเหลี่ยมประดับหม้อดอกไม้

ไหวขนาดเล็กที่มุมทั้งแปด ส่วนที่ 2 เป็นลวดลายปูนปั้นที่ประดับติดกับองค์เจดีย์

เป็นการประดับกลีบบัวขนาดเล็กบนฐานย่อเก็จทั้ง 3 ชั้นโดยรอบ โดยฐานหน้า

กระดานกลมรองรับองค์ระฆัง หรือฐานบัวปากระฆังการประดับกลีบบัวควำ่าบัวหงาย

ที่หน้ากระดานบนจำานวนมาก ส่วนยอดเจดีย์ประดับชั้นบัวควำ่าบัวหงายกลีบยาวปูน

ปั้นระหว่างปล้องไฉนกับปลียอด ซึ่งมีการตกแต่งตั้งแต่องค์ระฆังถึงปลียอดด้วยการ

ลงรักปิดทองทั้งหมด

10 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 13: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดดอนตอง มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

6.90 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 2:3 เจดีย์ก่ออิฐ

ฉาบปูนทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก มีรูปทรงสูง ที่เกิดจากการซ้อนฐานย่อเก็จขึ้นไป

3 ชั้น ซึ่งเป็นฐานสูงเนื่องจากการยืดส่วนท้องไม้ ส่วนฐานแปดเหลี่ยม ฐานกลม และ

องค์ระฆังเป็นฐานเตี้ยมีขนาดเล็กลงอย่างชัดเจนและมีพ้ืนท่ีรองรับองค์ระฆังน้อย

องค์ระฆังมีขนาดเล็กและปากระฆังผายออก ลวดลายปูนปั้นที่ประดับติดกับองค์เจดีย์

โดยส่วนฐานลูกแก้วของฐานย่อเก็จชันที่ 1 – 3 ประดับลายปูนปั้นกลางลูกแก้วแต่ละ

ด้านเป็นลายทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนบนฐานทุกชั้นประดับกลีบบัวขนาดเล็กโดย

รอบ โดยฐานหน้ากระดานกลมรองรับองค์ระฆังหรือฐานบัวปากระฆังมีการประดับ

กลีบบัวควำ่าบัวหงายที่หน้ากระดานบนจำานวนมาก เพื่อรองรับองค์ระฆังกลม ซึ่งมี

ขนาดเล็ก และมีเส้นเข็มขัดคาดกลางส่วนล่างเส้นประดับกลีบบัวขนาดใหญ่ ส่วนบน

ประดับกลีบบัวขนาดเล็กโดยรอบส่วนยอดเจดีย์ที่ชั้นกลมรองรับปล้องไฉนประดับ

กลีบบัวขนาดเล็กโดยรอบเช่นกัน และการประดับชั้นบัวควำ่าบัวหงายกลีบยาวปูนปั้น

ระหว่างปล้องไฉนกับปลียอด

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 11

Page 14: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดดอนหลวง จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทซึ่งมีฐานระฆังมีระเบียบการซ้อนชั้นของ

ฐานระฆังเช่นเดียวกับเจดีย์แบบพม่า คือ ฐานย่อเก็จ ฐานแปดเหลี่ยม และฐานกลม

ตามลำาดับ เพื่อรองรับองค์ระฆังกลม ความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง 4.90 เมตร

เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 1:2 เจดีย์ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบ

ปูนทั้งองค์ เจดีย์มีขนาดเล็กที่มีความกว้างของฐานน้อย แต่องค์ประกอบทุกส่วนต่อ

ซ้อนกันขึ้นไปโดยขยายความกว้างเต็มพื้นที่ ไม่เน้นความสูงของเจดีย์ การประดับ

ตกแต่งเจดีย์ด้วยเจดีย์จำาลองซึ่งมีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยมมีหน้ากระดานบนซ้อน

ลดหลั่นกันขึ้นไป 3 ชั้น โดยหน้ากระดานตกแต่งด้วยกลีบบัวขนาดเล็กโดยรอบทุก

ชั้น ชั้นล่างมีลายกลีบบัวควำ่าที่มุมทั้งสี่ ส่วนยอดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมขนาดเล็ก

โดยเจดีย์จำาลองมีลักษณะคล้ายกับส่วนยอดของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปของเจดีย์

แบบพม่า

12 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 15: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดป่าตาล องค์ที่ 1 มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

11.17 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 4:5 เจดีย์ก่อ

อิฐฉาบปูนทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ เน้นรูปทรงกว้าง โดยการซ้อนฐานแต่ละชั้น

ได้ขยายความกว้างของฐานซึ่งเป็นฐานเตี้ยที่มีการย่อเก็จตื้นและกว้าง 3 ชั้น รองรับ

ฐานแปดเหลี่ยมและฐานบัวปากระฆังที่มีความกว้างทำาให้พื้นที่รองรับองค์ระฆังกว้าง

องค์ระฆังมีขนาดใหญ่และสูงข้ึนโดยสัดส่วนขององค์ระฆังและส่วนยอดมีความสูงใกล้

เคียงกับฐานที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ประดับปูนปั้นรูปลาตัวสิงห์ 2 ตัวมีส่วนหัวเป็น

คนที่มุมทั้งสี่ และบนฐานย่อเก็จชั้นที่ 3 ประดับหม้อดอกไม้ไหวขนาดเล็กที่มุมทั้งสี่

ที่กลางด้านทั้งสี่ประดับรูปเทพนม มีการประดับกลีบบัวควำ่าบัวหงายที่หน้ากระดาน

จำานวนมาก เพื่อรองรับองค์ระฆังกลมซึ่งมีขนาดใหญ่และมีเส้นเข็มขัดขนาดเล็กคาด

กลางองค์ระฆัง โดยส่วนล่างเข็มขัดเป็นลายเขียนสีรูปสามเหลี่ยมหยักโค้งส่วนบน

ประดับกลีบบัวขนาดเล็กโดยรอบ

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 13

Page 16: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดหนองเงือก มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

6.20 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 2:3 เจดีย์ก่อด้วย

อิฐฉาบปูนทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก เน้นรูปทรงสูง เนื่องจากฐานชั้นล่างของเจดีย์

มีขนาดเล็ก ความสูงของเจดีย์เกิดจาการซ้อนฐานย่อเก็จแบบตื้น ลดหลั่นกันขึ้นไป 3

ชั้น โดยแต่ละชั้นเป็นฐานสูง ส่วนฐานแปดเหลี่ยม ฐานบัวปากระฆังกลมที่ต่อเนื่องขึ้น

ไปเป็นฐานเตี้ยรองรับองค์ระฆังมีขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าเจดีย์ได้รับรูปแบบการยืด

ฐานย่อเก็จจากกลุ่มเจดีย์อื่นๆที่สร้างขึ้นในช่วงเดียวกัน

14 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 17: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดสะปุ๋งน้อย มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง

5.02 เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 1:2 เจดีย์ก่ออิฐ

ฉาบปูนทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก เน้นรูปทรงยืดสูงมาก เนื่องจากฐานชั้นล่างของ

เจดีย์มีขนาดเล็ก เจดีย์จึงมีข้อจำากัดในการขยายขนาดในทางกว้างทำาให้องค์ประกอบ

แต่ละส่วนมีลักษณะยืดสูงขึ้นโดยยังคงจำานวนและองค์ประกอบของเจดีย์แบบพม่าไว้

ครบถ้วน ต่างกันเพียงรูปทรงของเจดีย์ที่ยืดสูงขึ้น ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจได้รับรูปแบบ

การสร้างเจดีย์ที่ยืดสูงมาจากเจดีย์กลุ่มอื่นที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 15

Page 18: Pagoda pasang1

เจดีย์วัดสันกำาแพง มีรูปแบบที่จัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์พม่ามีความกว้างของฐานชั้นล่างสุดกว้าง 9.20

เมตร เปรียบเทียบกับความสูงของเจดีย์เป็นสัดส่วนประมาณ 5:6 เจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน

ทั้งองค์ เป็นเจดีย์ขนาดกลาง ที่มีรูปทรงสูง เนื่องจากการซ้อนชั้นของฐานที่มีส่วนท้องไม้

ยืดสูง แต่ละชั้นมีความสูงใกล้เคียงกัน แต่ฐานเจดีย์มีลักษณะผายกว้างทำาให้สัดส่วนของ

เจดีย์มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมด้านเท่าและการประดับปูนปั้นแบบลอยตัว รูปแบบ

ต่างๆที่มุมฐานแต่ละชั้นทำาให้เจดีย์มีรูปทรงที่ขยายทางกว้างมากขึ้น

16 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 19: Pagoda pasang1

ศิลปกรรมประดับเจดีย์พม่า ศิลปกรรมในการตกแต่งและนิยมใช้ในพื้นที่ของเจดีย์ทรงพม่า แบ่งพื้นที่การ

ตกแต่งออกเป็น 2 ส่วนคือ องค์เจดีย์และบริเวณรององค์เจดีย์ องค์เจดีย์ ประกอบด้วย

งานศิลปกรรมที่นิยมสร้างคือ ซุ้มคูหาประจำาทิศและองค์ระฆัง

- ซุ้มคูหาประจำาทิศ นิยมสร้างไว้ทั้ง 4 ด้าน ในชั้นของฐานปัทม์ชั้นแรก มี

2 ลักษณะคือ แบบซุ้มคูหาที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน ดังที่ปรากฏที่ เจดีย์

วัดท่าต้นงิ้ว เจดีย์วัดฉางข้าวน้อยใต้องค์ที่ 1 – 2 เจดีย์วัดสะปุ๋งน้อย เจดีย์วัดดอน

หลวงและอีกแบบไม่มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ดังปรากฏใน เจดีย์วัดป่าตาลองค์

ที่ 1 เจดีย์วัดสันกำาแพง เจดีย์วัดดอนตอง ซุ้มคูหาสร้างเป็นแบบกรอบสามเหลี่ยมทรง

สูง ด้านข้างสร้างเสาประดับกลีบบัวไว้ด้านบนและล่างของเสา ส่วนบนกรอบซุ้มนิยม

สร้างเป็นลวดลายเครือเถา โดยเฉพาะเครือเถาองุ่น ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะพม่าได้รับ

จากยุโรป (อังกฤษ)

ซุ้มพระเจดีย์วัดสะปุ๋งน้อย ตำาบลม่วงน้อย จังหวัดลำาพูน

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 17

Page 20: Pagoda pasang1

- เจดีย์ทิศ เจดีย์มุม เป็นองค์ประกอบสำาคัญในเจดีย์ทรงพม่า ลักษณะของ

เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานกลมและสี่เหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์นั้นมีองค์

ประกอบแบบเดียวกับเจดีย์ประธาน การประดับนั้นนิยมประดับไว้บริเวณมุมทั้ง 4

ด้านบนชั้นฐานเขียง

-หม้อนำ้าดอกเป็นสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงการเคารพบูชา

พระบรมธาตุของเจดีย์นอกจากนั้นยังแสดงถึงการอุดมไปด้วยผลบุญในการมา

นมัสการเจดีย์ หม้อนำ้าดอกสร้างแบบหม้อทรงกลม นิยมประดับด้วยช่อดอกไม้ที่ทำา

จากการฉลุแผ่นโลหะทองแดงผสมดีบุก คล้ายช่อดอกไม้ไหว หม้อนำ้าดอกนี้ประดับไว้

มุมทั้ง 4 ของชั้นฐานปัทม์

- ตัวนรสิงห์ เป็นสัตว์ในความเชื่อของชาวพม่า ซึ่งเชื่อว่าตัวนรสิงห์นี้จะทำา

หน้าที่ดูแลเจดีย์และศาสนสถาน ตัวนรสิงห์มีรูปแบบครึ่งคนครึ่งสิงห์ นิยมประดับไว้

ในมุมทั้ง 4 ของชั้นบานปัทม์

เจดีย์ทิศ หม้อน้ำาดอก เจดีย์วัดสะปุ๋งน้อย

18 เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง

Page 21: Pagoda pasang1

อารยธรรมล้ำาค่า ถิ่นป่าซาง

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง 19

Page 22: Pagoda pasang1

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง เกรียงไกร สักติ 530310102

ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธ์

พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ.2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิท ยาลัยเชียงใหม่

ออกแบบโดย เกรียงไกร สักติ

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Sarabun New ขนาด 16 pt.

ขอขอบคุณ คุณมนตรี ปัญญาฟู เจ้าของภาพหน้า 2

Page 23: Pagoda pasang1

เจดีย์พม่าถิ่นป่าซาง เกรียงไกร สักติ 530310102

ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธ์

พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ.2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิท ยาลัยเชียงใหม่

ออกแบบโดย เกรียงไกร สักติ

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Sarabun New ขนาด 16 pt.

ขอขอบคุณ คุณมนตรี ปัญญาฟู เจ้าของภาพหน้า 2

Page 24: Pagoda pasang1