88

Vol 10-1.pdf

  • Upload
    -

  • View
    63

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012

คณะผู้จัดทำ

ทีป่รกึษา ศาสตราจารย์ดร.นายแพทยส์มชยับวรกติติ บรรณาธิการ นายแพทย์วิชัยโชควิวัฒน นายแพทย์สุวิทย์วิบุลผลประเสริฐ บรรณาธิการรอง นางวงเดือนจินดาวัฒนะ ศาสตราจารย์ดร.ชยันต์พิเชียรสุนทร นายแพทย์สุพรรณศรีธรรมมาบรรณาธกิารบรหิาร นายแพทยป์ภสัสรเจยีมบญุศรี

กองบรรณาธิการรองศาสตราจารย์ดร.เภสัชกรหญิงจิราพรลิ้มปานานนท์ เภสัชกรหญิงเย็นจิตรเตชะดำรงสินนายแพทย์ประพจน์เภตรากาศ แพทย์หญิงอัญชลีไชยสัจรองศาสตราจารย์ดร.วิชัยอึงพินิจพงศ์ ดร.วิชัยจันทร์กิติวัฒน์รองศาสตราจารย์ดร.เภสัชกรธงชัยสุขเศวต ดร.เภสัชกรหญิงอัญชลีจูฑะพุทธิรองศาสตราจารย์ดร.นายแพทย์ประวิทย์อัครเสรีนนท์ นางเสาวณีย์กุลสมบูรณ์รองศาสตราจารย์ดร.เภสัชกรสนั่นศุภธีรสกุล นางสาวรัชนีจันทร์เกษดร.ตรึงตาพูลผลอำนวย นายแพทย์เทวัญธานีรัตน์ดร.กันยานุชเทาประเสริฐ นางสาวอุรัจฉัทวิชัยดิษฐผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชษฐเวชวิฐานเภสัชกรหญิงผกากรองขวัญข้าวผู้จัดการวารสาร นางภาวนาคุ้มตระกูล

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จัดทำขึ้นโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นเวทีเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นวารสารราย 4 เดือน กำหนดเผยแพร่ ในเดือนเมษายน สิงหาคม ธันวาคม

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012

Editorial Board Advisors Somchai Bovornkitti Editor Vichai Chokevivat Suwit Wibulpolprasert Associate Editors Wongduern Jindawatthana Chayan Pichaensoonthon Suphan Srithamma ExecutiveEditor Papassorn Chemboonsri

Members Jiraporn Limpananont Yenchit Techadamrongsin Prapoj Pratrakard Anchalee Chaiyasuj Wichai Eungpinichpong Vichai Chankittiwat Thongchai Sooksawate Anchalee Chuthaputi Pravit Akarasereenont Saowanee Kulsomboon Sanan Subhadhirasakul Rutchanee Chantraket Trungta Poolpolamnuay Tewan Thaneerut Kanyanoot Taoprasert Aurutchat Vichaidit Pichet Wechvithan Pakakrong Kwankhao Journal Manager Pawana Khumtrakul

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine is owned by the Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health for the presentation of research works and technical papers on Thai traditional medicine, indigenous medicine and alternative medicine. The journal is published every four monts and will be issued on April, August, and December.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012

สารบัญ บทบรรณาธิการแถลง 1 วิชัยโชควิวัฒน บทความพิเศษ 2 กรณีศึกษา:ชุมเห็ดไทย วิชัยโชควิวัฒน บทปริทัศน์ 4 รากที่มาของเส้นประธานสิบ ประพจน์เภตรากาศ นิพนธ์ต้นฉบับ 11 ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน 7ชนิดต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จิราภรณ์บุราคร เรือนแก้วประพฤติ23 การศึกษากระบวนการตรวจวินิจฉัยและ รักษาผู้ป่วยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบ และทฤษฎีธาตุของหมอนวดไทย มกรลิ้มอุดมพร ผกากรองขวัญข้าว บุญทำกิจนิยม ยงศักดิ์ตันติปิฏก พินิตชินสร้อย กาญจนาบัวดอก จิราภรณ์โยวทิตย์ คุณนิษฐ์ห้องตรง ปวัชสราคัมภีระธัม สุดารัตน์สุวรรณพงศ์

Contents EDITORIAL,Note Vichai Chokevivat Special Article Case study : Foetid cassia (Senna tora (L.)Roxb.) Vichai Chokevivat REVIEW ARTICLE TheOriginofSen Prathan Sip Prapoj Petrakard Original Articles Antibacterialactivityofseven IndigenousVegetables Jiraporn Burakorn Ruenkaew Praphruet Studyontheexamination,diagnosis andtreatmentbasedonthetheories of10mainenergylines(sen prathan sib) andelements(tard)ofThaimassage therapists Makorn Limudomporn Pakakrong Kwankhao Boontam Kitniyom Yongsak Tantipidok Pinit Chinsoi Kanchana Buadok Jiraporn Yovatit Kunanit Hongtrong Pawatsara Kampheratham Sudarat Suwanpong

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012

สารบัญ

43 คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยชุด หลักธรรมานามัย ประภาพิทักษา ปัณสุขสาลิตุล ปกิณกะ 52 ตำราอ้างอิงสมุนไพรไทย:ไพล คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพร ไทย ภาคผนวก 57 พจนานกุรมศพัทแ์พทยแ์ละเภสชักรรมแผน ไทย(13) คณะอนุกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์แพทย์ และเภสัชกรรมแผนไทย วารสารสโมสร 69 ธงชัยศุขเวต คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (ฉบับปรับปรุง)

Contents TheassociationbetweenThai TraditionalMedicineDhammanamai HealthPromotionProgramand qualityoflifeindiabetespatientsin Kantharalakdistrict,SiSaKetprovince Prapa Pithaksa Pannasuk salitool Miscellaneous MonographofSelectedThaiMateria Medica:PHLAI subcommittee on the preparation of monofraphs of selected thai materia medica Appendix DictionaryofThaiTraditionalMedicine andPharmacy(13) Subcommittee on the Preparation of the Dictionary of Traditional Thai Medicine And Pharmacy Journal Club Thongchai Sooksawate Instructions to Authors

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

1

วารสารทางวิชาการเป็นเวทีสำคัญของนักวิชาการในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนติดตามและพัฒนาความรู้ การค้นพบ ความคิด ทฤษฎี เพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งในวงวิชาการและสังคม การที่นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการ แพทย์จนเข้าสู่ยุคยาปฏิชีวนะ ซึ่งถือเป็นความ กา้วหนา้ทางวทิยาศาสตรท์ีเ่ปลีย่นโลกเริม่ตน้จากการค้นพบเพนิซิลลินโดยบังเอิญ (Serendipity)ข อ ง เซ อ ร์ อ เ ล ก ซ า น เ ด อ ร์ เ ฟ ล มมิ งและไดเ้ขยีนรายงานสัน้ๆเพยีงหนา้เดยีวเผยแพรไ่ว้แม้การค้นพบครั้งนั้นจะยังไม่สามารถต่อยอดเป็น เทคโนโลยี กล่าวคือ มีความพยายามจะพัฒนา เพนิซิลลินเป็นยาระงับเชื้อ (Antiseptics)แต่ไม่สำเร็จ เพราะเพนิซิลลินที่ค้นพบไม่มีความ ค ง ตั ว ย า ว น า น พ อ แ ต่ ร า ย ง า น สั้ น ๆของเซอร์อเลกซานเดอร์ เฟลมมิง ฉบับนั้นคอืจดุตัง้ตน้สำคญัทีท่ำให้ฟลอเรสชาอนิและคณะนำมาทดสอบและพัฒนาต่อจนได้เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกอันมีผลทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเชื้อโรคได้อย่างก้าวกระโดด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งนิตยสารไทม์ยกย่องให้เป็น“บุคคลแห่งศตวรรษ”ก็ใช้วารสารวิชาการในการเผยแพร่ทฤษฎีของตน โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1905 ซึ่งถือเป็น “ปีมหัศจรรย์”(Miraculous Year) ของไอน์สไตน์ เพราะสามารถตีพิมพ์ผลงานวิชาการชั้นเยี่ยมยอดได้ถึง5 เรื่อง ภายในปีเดียว ในขณะมีอายุได้เพียง 26ปี

บรรณาธิการแถลง

เมื่อตั้งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกขึ้นตอนปลายปี พ.ศ. 2545ในฐานะอธิบดีคนแรก ผมเห็นว่าวงวิชาการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกยังไม่มีวารสารวิชาการ จึงได้ริเริ่ม ผลักดัน และส่งเสริมให้มีการจัดทำขึ้น โดยได้นายแพทย์ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง เป็นบรรณาธิการคนแรกวารสารฉบับนี้ได้พัฒนามาโดยต่อเนื่อง จนได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการประเมินผลงานวิชาการของสำนักงาน ก.พ. ให้บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้สามารถประเมินเลื่อนระดับได้ถึงระดับ10ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจ นับถึงปีนี้วารสารกำลังจะมีอายุย่างเข้าปีที่10 ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนในการพัฒนาวารสารฉบับนี้มาโดยต่อเนื่อง วารสารฉบับนี้ยังต้องการการพัฒนาต่อไปอีกมาก เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป ผมขอขอบคุณกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ให้เกียรติเชิญผมมารับหน้าที่บรรณาธิการและใคร่ขอเชิญชวนนักวิชาการทุกท่านที่สนใจหรือมีผลงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ส่งผลงานมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อให้งานวิชาการด้านนี้ยกระดับมาตรฐานให้เท่าเทียมสากล และสามารถทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวโลกได้อย่างกว้างขวางต่อไป ผมและทีมงานในกองบรรณาธิการทุกท่านจะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยพร้อมน้อมรับคำแนะนำติชมวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความยินดีเสมอ

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

2

บทความพิเศษ

เรื่องชุมเห็ดไทยที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นกรณี

ศึกษาที่น่าสนใจ เพราะเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึง

คุณค่าของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ผม

ทราบเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 7 – 8 ปีมา

แล้ว จากการฟังคำบรรยายของ ดร.นพมาศ

สุนทรเจริญนนท์ แห่งคณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดลดร.นพมาศเป็นผู้ทรงความรู้

ที่สนใจเรื่องของสมุนไพรและภูมิปัญญาการ

แพทย์แผนไทย มีผลงานที่ทรงคุณค่าและ

คุณภาพสูงจากการศึกษาวิจัยด้วยตนเองในเรื่องนี้

มากมาย นอกจากการศึกษาวิจัยแล้วยังได้เขียน

เป็นเอกสารวิชาการทั้งในรูปบทความและหนังสือ

จำนวนมาก ที่สำคัญยังได้เป็นวิทยากรและจัด

อบรมเผยแพร่ความรู้ทั้งแก่วงราชการ ผู้ประกอบ

การและประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวางและเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่ง

เรื่องสำคัญที่จุดประกายให้ดร.นพมาศให้

ความสนใจต่อเรื่องของภูมิปัญญาการแพทย์แผน

ไทยคือเรื่องชุมเห็ดไทย

เริ่มต้นจาก ดร. จุฑามณี สุทธิศรีสังข์

อาจารย์ทางเภสัชวิทยา ผู้มีชื่อเสียงและผลงาน

วิชาการมากมาย ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเภสัช

ศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จุฑามณี ได้

อ่านพบเรื่องชุมเห็ดไทยจากตำราการแพทย์แผน

ไทยซึ่งน่าสนใจเพราะในตำราระบุเป็นตำรับสมุน

ไพรเดี่ยวที่ระบุสรรพคุณใช้แก้อาการชักในเด็ก

จึงสนใจอยากให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ว่ามี

ประสิทธิผลตามที่ตำรานั้นได้ระบุไว้หรือไม่

ตำรายาดังกล่าวอธิบายวิธีการปรุงยานี้ว่า

ให้เอาเมล็ดมาคั่วจนเกรียม ส่งกลิ่นหอม แล้วนำ

ไปต้มเป็นยาน้ำใช้แก้ชักในเด็ก

เพื่อความชัดเจนของเรื่องนี้ ผมได้ขอให้

สถาบันการแพทย์แผนไทยช่วยตรวจสอบเรื่องนี้

ทั้งในตำราของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม

หลวงวงศาธิราชสนิท และตำราแพทย์ศาสตร์

สงเคราะห์ แต่ไม่พบการบรรยายสรรพคุณดัง

กล่าว ในที่สุด ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ได้

กรุณาตรวจสอบตำราอีกหลายเล่ม พบว่ามีการ

บันทึกในหนังสือประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาค

สอง) ว่าด้วย พฤกษชาติ วัตถุธาตุ และสัตววัตถุ

นานาชาติ ของสมาคม ร.ร แพทย์แผนโบราณ

สำนกัวดัพระเชตพุนฯ (วดัโพธิ)์ ทา่เตยีนพระนคร

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

กรณีศึกษา:ชุมเห็ดไทย

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 3

สำนักพิมพ์ : ไพศาลการพิมพ์ปี2521หน้า17

ระบุว่า “ประโยชน์ทางยาของชุมเห็ดไทย เมล็ด

คั่วให้ดำเกรียม ชงน้ำรับประทานเป็นยาระงับ

ประสาท ทำให้นอนหลับสบาย ต้นและรากเป็น

ยาแก้ไข้ขับปัสสาวะแก้กระษัย”

ดร.นพมาศ ซึ่งได้รับการชักชวนให้ทำการ

ศึกษาเรื่องนี้ พิจารณาแล้วเห็นว่ายาที่ได้จาก

กรรมวิธีการเตรียมดังกล่าวไม่น่าจะใช้แก้ชักหรือ

กันชักได้ เพราะก็คือการสกัดตัวยาโดยใช้น้ำร้อน

นั่นเอง สารที่ละลายออกมาน่าจะเป็นสารจำพวก

แป้งที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ คือพอลีแซคคาไรด์

สารดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีฤทธิ์ต่อสมองเพื่อแก้

หรือกันชักได้ เพราะการที่เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่

ย่อมไม่สามารถซึมผ่าน “ปราการ” ที่กั้นกรอง

ระหว่างระบบไหลเวียนโลหิตกับระบบประสาท

กลาง(Blood-brainbarrier)ได้จึงเสนอว่าถ้า

จะศึกษาเรื่องนี้ ควรเปลี่ยนตัวทำละลายเป็น

แอลกอฮอล์แทน เพราะจะสามารถละลายตัวยา

ที่มีโมเลกุลเล็กกว่าออกมาได้ โอกาสที่จะไปออก

ฤทธิ์ที่สมองเพื่อแก้หรือกันชักย่อมเป็นไปได้มาก

กว่า แต่ถ้าใช้วิธีละลายเช่นนั้น ก็จะไม่เป็นไปตาม

ตำรายาการแพทย์แผนไทย ในที่สุดจึงลงเอยด้วย

การทำการสกัดทั้งโดยน้ำตามตำรา และด้วย

แอลกอฮอล์ตามทฤษฎีตะวันตก

การทดลองเรื่องนี้ทำกับหนู โดยการป้อน

สารสกัดให้แก่หนูสองกลุ่ม แล้วทำให้หนูเกิด

อาการชักด้วยการให้สารกระตุ้นการชักคือ

เฟนิลีนเตตระซอล (Phennylenetetrazol)

หรือเรียกย่อๆว่าพีทีแซด (PTZ)ผลการทดลอง

พบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดตามกรรมวิธีในตำรา

การแพทย์แผนไทยทุกตัวหลับสบาย ไม่เกิด

อาการชักเลย ในขณะที่หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัด

แอลกอฮอล์เกิดอาการชักหลายตัว

สรุปผลการทดลองได้ว่า ตำรับยาชุมเห็ด

ไทยตามตำราของครูแพทย์แผนไทย สามารถกัน

ชักในหนูทดลองได้จริงขณะที่กรรมวิธีตามทฤษฎี

ที่ควรจะได้ผลดีกว่ากลับไม่ได้ผล

การที่จะหาคำอธิบายว่าทำไมเรื่องจึงกลับ

ตาลปัตรเช่นนี้ คงต้องทำการศึกษาวิจัยอีกมาก

แต่ผลการศึกษานี้ย่อมเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่

ยืนยันความทรงคุณค่าของภูมิปัญญาการแพทย์

แผนไทย

ตำราการแพทย์แผนไทยในอดีตโดยมาก

มิได้ผ่านการศึกษาทดลองตามระเบียบวิธีอัน

เคร่งครัดของตะวันตกในปัจจุบัน เพราะพัฒนา

มาก่อน “ยุคโมเดิร์น” ซึ่งมีวิทยาศาสตร์เป็น

รากฐานสำคัญ อย่างไรก็ดี ตำราการแพทย์แผน

ไทยเกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของครูหมอใน

อดีตที่ได้มีการบันทึกไว้ และมีการชำระสะสาง

หรือแก้ไขปรับปรุงเป็นระยะๆ จากประสบการณ์

การนำไปใช้และการพิจารณาของครูหมอรุ่นแล้ว

รุ่นเล่า ตำราเหล่านี้จึงเป็นมรดกภูมิปัญญาอัน

ทรงคุณค่า ที่รอให้คนรุ่นเราได้ช่วยกันศึกษา

ทดลอง พิสูจน์ และพัฒนา เพื่อสามารถนำไปใช้

ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ ทั้งต่อประชาชนชาวไทย

และเพื่อนร่วมโลกของเราทั้งมวล

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

4

บทปริทัศน์ ประพจน์ เภตรากาศ

รากที่มาของเส้นประธานสิบ

เส้นประธาน คือ เส้นซึ่งเป็นหลักสำคัญ

ของการนวดไทยเป็นทางเดินของลมซึ่งเป็นพลัง

ภายใน ที่หล่อเลี้ยงร่างกายให้ทำงานได้ตาม

ปรกติเชื่อว่ามีเส้นอยู่ในร่างกายถึง72,000เส้น

แต่ที่เป็นเส้นประธานแห่งเส้นทั้งปวงมีเพียง 10

เส้น ได้แก่ อิทา ปิงคลา สุมนา กาลทารี สหัส

รังสีทวารีจันทภูสังรุชำสิกขิณีสุขุมัง1

การนวดไทยถือว่า เส้นประธานสิบ หรือ

เส้นสิบ เป็นหัวใจหรือแก่นกลางของภูมิปัญญา

การนวดไทย การสืบค้นรากที่มาของเส้นสิบจึงมี

ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เห็นว่า การนวด

ไทยนั้นเป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในดินแดนดั้งเดิมที่

เรียกว่า สุวรรณภูมิ2 หรือมีที่มาจากต่างชุมชน

หรือต่างประเทศ

การแพทย์แผนไทยน่าจะมีจุดเริ่มต้นจาก

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.270 - 311)

พระองค์ทรงส่งพระสมณทูตออกมาเผยแผ่

พระพุทธศาสนาไปยังที่ต่างๆ9สายสายหนึ่งมี

พระโสณะและพระอุตตระเป็นพระมหาเถระไป

ยังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วน

หนึ่งสันนิษฐานว่าคือนครปฐมในปัจจุบัน การ

แพทย์แบบพุทธจากอินเดียจึงเริ่มเข้าสู่ดินแดน

สุวรรณภูมิโดยการนำเข้ามาของพระภิกษุใน

พระพุทธศาสนา3 ซึ่งในคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตร

ปิฎกมีการกล่าวถึงการรักษาพระภิกษุที่อาพาธ

ด้วยวิธีการต่างๆ จำนวนมาก แต่ไม่มีการกล่าว

ถึงวิธีการรักษาด้วยการนวด

ในยุคสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1981) ไม่มี

หลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบการแพทย์ในสมัย

นี้ แต่พบมีรูปจารึกที่เกี่ยวกับการนวดในเขต

อำเภอคีรีมาศจังหวัดสุโขทัย3

ในยุคกรุงศรีอยุธยา(พ.ศ.1893-2310)

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 -

2031) มีหลักฐานปรากฏเป็นครั้งแรกในทำเนียบ

ศักดินาข้าราชการฝ่ายพลเรือน (พระไอยการ

ตำแหน่งนาพลเรือน) มีข้าราชการในกรมหมอ*สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทยอาคารสวนกีฬาชั้น2ถ.ติวานนท์นนทบุรี11000

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 5

นวด และมีตำแหน่งใกล้เคียงกับกรมแพทยาและ

กรมแพทยาโรงโอสถ3 แต่ไม่พบหลักฐานตำรา

การแพทย์แผนไทยและการนวดไทย

หลักฐานตำราการแพทย์แผนไทยที่มีการ

เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาได้แก่กำภีธาตุพระณะราย

(ตำราพระโอสถพระนารายณ์) ซึ่งมีตำราพระ

โอสถหลายขนานที่ปรากฏชื่อหมอหลวงและวัน

คืนที่ตั้ งพระโอสถจดไว้ชัดเจนว่าอยู่ระหว่าง

พ.ศ.2202 - 22043นอกจากนี้มองสิเออร์ เดอ

ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

แห่งประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในกรุงสยามระหว่าง

พ.ศ.2230 -2231 ได้เขียนจดหมายเหตุพระราช

พงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดิน

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนหนึ่งเกี่ยวกับ

หมอนวดไทยว่า“ชอบขยำบีบไปทั่วตัว เมื่อใคร

ป่วยไข้ลงในกรุงสยาม บางทีก็ขึ้นเดินเอาเท้า

เหยียบบนกายคนไข้ แม้ในสตรีก็พอใจให้เด็ก

เหยียบที่หลังเพื่อให้คลอดบุตรง่าย”

ในยุคกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2311 – 2325)

เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 15ปี มีพระมหา

กษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จ

พระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังจากที่

อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไป ไม่ปรากฏหลักฐาน

การฟื้นฟูเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย สันนิษฐาน

ว่า อาจเนื่องมาจากเป็นช่วงที่กำลังกอบกู้เอกราช

และต้องทำสงครามกับพม่า อย่างไรก็ตามในสมัย

รัชกาลนี้มีเจ้านายชั้นสูง 2 พระองค์ผู้มีความ

เชี่ยวชาญทางการแพทย์แผนไทยคือ สมเด็จเจ้า

ฟ้าชายทัศพงศ์และสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย

พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

และยังได้รับราชการต่อมาในราชสำนักพระบาท

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนที่

จะทรงถูกสำเร็จโทษในสมัยรัชกาลที่2

ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-

ปัจจุบัน) การแพทย์แผนไทยได้รับการถ่ายทอด

ความรู้มาจากยุคกรุงศรีอยุธยาซึ่งส่วนหนึ่งได้รับ

การถ่ายทอดจากหมอรุ่นก่อนและอีกส่วนหนึ่งได้

มีการรวบรวมคัดลอกขึ้นใหม่โดยการเรียกประชุม

หมอและผู้มีความรู้นำตำรายาและคัมภีร์แพทย์ที่

มีอยู่ตามวัด บ้านเรือนราษฎร ของหมอมาตรวจ

ทาน แก้ไข เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นตำราในกรม

หมอหลวง และต่อมาตำราเหล่านี้ได้แพร่หลาย

โดยทั่วไป

สมัยรัชกาลที่หนึ่ง (พ.ศ.2325 - 2352)

ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโบราณชื่อวัดโพธาราม หรือ

วัดโพธิ์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงให้ชื่อว่า วัด

พระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดฯ ให้

รวบรวมจารึกตำรายาและฤๅษีดัดตนไว้ตามศาลา

ราย มีรูปหมอนวด ตำราแผนนวดเพื่อให้เป็น

สถานที่เผยแพร่ความรู้แก่ไพร่ฟ้าประชาชน และ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่สาม ทรงให้ปฏิสังขรณ์วัด

พระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกครั้งในปีพ.ศ.2375

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รวบรวม

เลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียน

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 6

เป็นชั้นวิสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของ

เดิมบ้างหรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ ให้แต่ง

ขึ้นใหม่บ้าง แล้วโปรดฯให้จารึกแผ่นศิลาประดับ

ไว้ในวัด มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบตำรานั้นๆ

เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใดๆมีใจรัก

วิชาอย่างใดก็สามารถเล่าเรียนได้จากศิลาจารึกที่

วัดพระเชตุพนฯ

จารึกวัดโพธิ์แบ่งเป็น4หมวดได้แก่วิชา

ฤๅษีดัดตนเวชศาสตร์เภสัชศาสตร์และแผนนวด

ซึ่งในแผนนวดมีภาพคนแสดงแผนนวด 60 ภาพ4

และมีคำโคลงฤๅษีดัดตนทั้งหมด80ท่า5

ในตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11 (ฉบับพิมพ์

2458)พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม)อดีตเจ้าเมือง

จันทบูรในสมัยรัชกาลที่2ได้กล่าวถึงเส้นสิบว่า

มี 10 เส้นได้แก่ อิทา ปิงคลา สุมนา กาลทารี

สหัสรังสีทวารีอุรัง(จันทภูสังลาวุสัง)สุขุมอุสะ

มา(รุชำอุลังกะ)รัตคินี (สิกขิณีสังคินี) กังขุง

(สุขุมัง นันทกระหวัด) โดยให้ความสำคัญกับ 3

เส้นหลัก คือ เส้นซ้าย ชื่ออิทา เส้นขวาชื่อ

ปิงคลาและเส้นกลางชื่อสุมนาดังนี้1

เส้นสามใครรู้ดีรู้วิธีเปนแลตาย

กำกับสำหรับกายทุกหญิงชายไม่เว้นเลย

สมัยรัชกาลที่ห้า (พ.ศ.2411–2453) ได้

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประชุมคณะแพทย์

หลวง จัดหารวบรวมคัมภีร์แพทย์ในที่ต่างๆมา

ตรวจสอบชำระให้ตรงกันกับฉบับดั้งเดิม คัมภีร์ที่

ชำระแล้วเหล่านี้รวมเรียกว่า “เวชศาสตร์ฉบับ

หลวง” ซึ่งเป็นแบบฉบับของการสร้าง “ตำรา

ฉบับหลวง” อันเป็นที่มาของตำราแพทย์ศาสตร์

สงเคราะห์ ที่เป็นตำราหลักในการศึกษาเล่าเรียน

ของแพทย์แผนไทยในยุคต่อมากระทั่งถึงปัจจุบัน3

ในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง ได้บรรยาย

ทางเดินของเส้นประธานสิบไว้ โดยมีชื่อเส้นสิบ

ดังนี้อิทาปิงคลาสุสุมนากาลทารี สหัศรังสี

ทวารีลาวุสัง(คือจันทภูสัง)อุลังกะ(คือรุชำ)

นันทกระหวัด(คือสุขุมัง)และคิชฌะ6

โดยสรุป ตำราดั้งเดิมหลักของการนวด

ไทยที่มีหลักฐานการจารึกและบันทึกที่ชัดเจน มี

ดังนี้

1. ภาพแผนนวด วัดพระเชตุพนวิมล

มังคลาราม ซึ่งรัชกาลที่หนึ่งได้ทรงโปรดเกล้าฯ

ให้รวบรวมจารึกไว้ เพื่อให้เป็นสถานที่เผยแพร่

ความรู้แก่ไพร่ฟ้าประชาชน และต่อมาในสมัย

รัชกาลที่สาม ทรงให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน

วิมลมังคลารามอีกครั้งในปีพ.ศ.2375 และทรงให้

รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ จารึก โดยมี

วิชาฤๅษีดัดตนเวชศาสตร์เภสัชศาสตร์และแผน

นวด ซึ่งในแผนนวดมีภาพคนแสดงแผนนวด 60

ภาพ4และมีคำโคลงฤๅษีดัดตนทั้งหมด80ท่า5

2. ตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11 เรื่อง

กล่าวเส้นสิบ เรียบเรียงโดยพระยาวิชยาธิบดี

(กล่อม)อดีตเจ้าเมืองจันทบูรในสมัยรัชกาลที่21

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 7

3. คัมภีร์แผนนวดเล่ม 1-2 ในเวช

ศาสตร์ฉบับหลวง(รัชกาลที่5)7

เมื่อพิจารณาเส้นสิบจากตำราดั้งเดิมหลัก

พบว่า ไม่มีการกล่าวอ้างถึงตำราการนวดไทยที่

เก่าแก่เกินกว่านั้น จึงต้องพิจารณาว่า เส้นสิบนั้น

มีความใกล้เคียงกับตำราอื่นใดหรือองค์ความรู้ใด

อย่างไร

ข้อสังเกตเบื้องต้น พบว่า ทฤษฎีเส้น

ประธานสิบมีหลายสิ่งที่ใกล้เคียงกับโยคศาสตร์

ของอินเดียได้แก่

1. ตำราการนวดไทยกล่าวว่า เส้นซึ่ง

เป็นทางเดินของลมนั้น ตรงกับโยคศาสตร์ที่

กล่าวถึงนาฑี(Nadiอ่านออกเสียงว่านาดี)ว่า

เป็นช่องทางผ่านของพลังปราณ8

2. ตำราการนวดไทยเชื่อว่ามีเส้นทางเดิน

ของลมอยู่ในร่างกายถึง 72,000 เส้น ซึ่งตรงกับ

โยคศาสตร์ของอินเดีย ที่กล่าวว่า ทางเดินของ

ปราณนั้นมีมากมายถึง72,000เส้นบางคัมภีร์ว่า

มี 350,000 เส้น แล้วแต่คัมภีร์แต่ไม่มีการ

อธิบายว่ามีการนับจำนวนเส้นอย่างไร

3. ทางเดินหรือนาฑีในโยคศาสตร์นั้น มี

14 เส้นที่สำคัญได้แก่ Ida (อิฑา), Pingala

(ปิงคลา), Sushumna (สุษุมนา), Sarasvati,

Varuni, Pusha, Hastijhva, Yavasvini,

Visvodara, Kuhu, Shankini, Payasvini,

Alamousha, Gandhari.9 ซึ่งมีชื่อของทางเดินที่

ตรงกับเส้นสิบของไทย3เส้นคืออิทาปิงคลา

สุสุมนา(สุมนา)ส่วนGanhari(คานธารี)นั้น

ออกเสียงคล้ายกับเส้นกาลทารีหรืออาจเป็นชื่อ

เดียวกันแต่แนวทางเดินของเส้นไม่เหมือนกัน

4. ตำราการนวดไทยกล่าวถึ ง เส้นที่

สำคัญ3 เส้นหลักคืออิทาปิงคลา และสุมนา

ซึ่งตรงกับนาฑีอิฑาปิงคลาและสุษุมนาซึ่ง

เป็นนาฑี 3 เส้นหลักที่เชื่อมต่อจักระทั้ง 7 (มูลา

ธาระจักระ,สวาธิษฐานะจักระ,มณิปุระจักระ,

อนาหตะจักระ,วิศุทธะจักระหรือวิศุทธิจักระ,

อาชญา จักระ หรืออาชญะ จักระ บวกตำแหน่ง

สูงสุดคือสหสราระ)8

5. ตำแหน่งหรือทางเดินของเส้นอิทา

ของการนวดไทยอยู่ทางซ้ายของร่างกายเริ่มต้น

จากข้างสะดือด้านซ้าย 1 นิ้วมือ แล่นลงไป

บริเวณหัวเหน่า ลงไปต้นขาซ้ายด้านในค่อนไป

ด้านหลังแล้วเลี้ยวขึ้นไปแนบข้างกระดูกสันหลัง

ด้านซ้ายขึ้นไปบนศีรษะ แล้วกลับลงมาสิ้นสุดที่

ข้างจมูกซ้าย

ตำแหน่งหรือทางเดินของเส้นปิงคลา ของ

การนวดไทยอยู่ทางขวาของร่างกาย เริ่มต้นจาก

ข้างสะดือข้างขวา 1 นิ้วมือ แล่นลงไปตาม

แนวทางเหมือนเส้นอิทา แต่อยู่ด้านขวา และสิ้น

สุดที่ข้างจมูกขวา

นาฑีอิฑาและปิงคลาของโยคะจะแล่นไขว้

กันหรือเวียนไปรอบแกนกลางของร่างกาย (ซึ่ง

ตรงกับตำแหน่งของกระดูกสันหลัง) ตำแหน่งที่

นาฑีทั้งสองไขว้กันคือสิ่งที่เรียกว่า “จักระ” ซึ่ง

แปลว่ากงล้อหรือการหมุน

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 8

จะเห็นว่า เส้นอิทาและปิงคลาของการ

นวดไทย จะอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัวของร่างกาย

เพียงแต่อยู่ด้านซ้ายและขวาในขณะที่นาฑีอิฑา

และปิงคลาของโยคะจะไขว้กันในแนวกึ่งกลางลำ

ตัว

6. ตำราการนวดไทยกล่าวว่าเส้นอิทามี

ลมจันทะกาลาเป็นลมประจำเส้น ซึ่งตรงกับ

โยคศาสตร์ที่กล่าวว่า นาฑีอิฑาคือ นาฑีที่เป็น

ช่องให้พลังเย็นแห่งดวงจันทร์ไหลเวียนไปใน

ร่างกาย และ จันทระ เภทนะ ปราณายามะ

เป็นการหายใจเข้ าทางรูจมูกซ้ ายหรือช่อง

พระจันทร์ซึ่งเป็นช่องทางของนาฑีอิฑา8

7. ตำราการนวดไทยกล่าวว่า เส้น

ปิงคลา มีลมสูรย์กาลา(สูรยะกะลาหรือสูรยะ

กลา)(sooryakalaa)เป็นลมประจำเส้นซึ่งตรง

กับโยคศาสตร์ที่กล่าวว่านาฑีปิงคลาคือนาฑี

ที่พลังร้อนไหลไปในร่างกายและสูรยะเภทนะ

ปราณายามะ เป็นการหายใจเข้าทางรูจมูกขวา

หรือช่องสุริยะซึ่งเป็นช่องทางของนาฑีปิงคลา8

8. ตำแหน่งหรือทางเดินของเส้นสุมนา

ของการนวดไทยอยู่ตรงกลางของร่างกาย จาก

เหนือสะดือ2นิ้วมือแล่นขึ้นไปภายในอกผ่าน

ลำคอขึ้นไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น ใกล้เคียงกับนาฑีสุ

ษุมนาของโยคศาสตร์ที่เชื่อมจักระทั้ง 7 ในแนว

ตรงกลางของร่างกาย8 ในทางโยคศาสตร์ บาง

ตำราถือว่า นาฑีสุษุมนาเป็นเส้นที่สำคัญที่สุดใน

3เส้นหลัก

9. เส้นประธานทั้งสิบมีจุดเริ่มต้นที่รอบ

สะดือ ซึ่งตรงกับตำแหน่งจักระชื่อมณิปุระซึ่ง

ตั้งอยู่หน้ากระดูกสันหลังระดับสะดือ ตรงกับ

SolarPlexus(บริเวณLumbarPlexusและ

ต่อมหมวกไต) ศูนย์นี้จะควบคุมระบบการย่อย

อาหารควบคุมพลังขับเคลื่อนในการทำกิจกรรม

ต่างๆ อารมณ์ที่ ไม่ดี ความคิดสร้างสรรค์

ความรู้สึกเด่นความสามารถพิเศษต่างๆ8

จากข้อค้นพบเบื้องต้นเชื่อว่าองค์ความ

รู้การนวดไทยมีรากที่มาจากโยคศาสตร์ โดย

อาจเกี่ยวโยงกับฤๅษีดัดตนที่รัชกาลที่หนึ่งทรง

พระราชทานไว้ณ วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งสมเด็จฯ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่องนี้ว่า

ท ร ง เ ค ย เ ห็ น รู ป ปั้ น ฤ ๅ ษี บ ำ เ พ็ ญ ต บ ะ ใ น

พิพิธภัณฑสถานของเมืองชัยปุระ ประเทศอินเดีย

ทำท่าทางต่างๆ เหมือนอย่างรูปฤๅษีดัดตนในวัด

พระเชตุพนฯ จึงสันนิษฐานว่า ท่าฤๅษีดัดตน

ของไทยได้ต้นแบบมาจากฤๅษีในยุคอินเดีย

โบราณ แต่มีวัตถุประสงค์ต่างกันกล่าวคือ ของ

อินเดียเป็นแบบท่าต่างๆที่พวกดาบสใช้ดัดตน

หลังจากอยู่ในอาสนโยคะท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลา

นานในการบำเพ็ญตบะเพื่อบรรลุโมกขธรรม แต่

ของไทยนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้โรคเมื่อยที่จารึก

ไว้ใน“โคลงฤๅษีดัดตน”สมัยรัชกาลที่สาม3,5

อย่างไรก็ตาม ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวกับ

เส้นประธานอื่นๆนอกเหนือจากเส้นอิทาปิงคลา

สุมนา ว่ามีที่มาจากที่ใด รวมทั้งตำราการนวด

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 9

ไทยมีการกล่าวถึงจุดต่างๆ ในแผนนวดที่ใช้

รักษาอาการต่างๆ และการที่เส้นสัมพันธ์กับ

กองธาตุสมุฏฐานต่างๆที่ กำเริบ หย่อน พิการ

ฤดูกาล ซึ่งในโยคศาสตร์ไม่มีการกล่าวถึง แต่

เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสมุฏฐานวินิจฉัย6 ซึ่ง

เข้าใจว่า หมอนวดไทยได้นำองค์ความรู้จาก

สมุฏฐานวินิจฉัยมาประยุกต์และพัฒนาจน

กลายเป็นภูมิปัญญาการนวดไทยในภายหลัง

ทั้งนี้เพราะการนวดในอายุรเวทเป็นการนวดด้วย

น้ำมันและเป็นส่วนหนึ่งของปัญจกรรมะ ซึ่งไม่มี

การกล่าวถึงเส้นประธานสิบหรือนาฑีทั้ง 14ตาม

แบบโยคศาสตร์

ควรมีการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่ม

เติมที่แสดงหรือเชื่อมโยงถึงรากที่มาของเส้น

ประธานสิบของการนวดไทย หรืออาจทำการ

วิเคราะห์ถึงองค์ความรู้ในแผนนวดที่มีอยู่ เพื่อ

ทำความชัดเจนถึงรากที่มาของภูมิปัญญาการ

นวดไทยอย่างถ่องแท้ และขจัดมิจฉาทิฐิเกี่ยวกับ

องค์ความรู้การนวดไทยทั้งโดยเจตนาและไม่

เจตนาอันเนื่องจากอวิชชาหรืออหังการมบังการ

ผู้เขียนขอขอบคุณนายแพทย์ แพทย์พงษ์

วรพงศ์พิเชษฐและอาจารย์ธีรเดช อุทัยวิทยรัตน์

ที่ ได้ให้ความรู้ ความกระจ่างและความคิด

วิเคราะห์เกี่ยวกับโยคศาสตร์กับการนวดไทย

เอกสารอ้างอิง1. มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. ตำราการนวดไทย เล่ม 1.

พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดี;2552.(444หน้า)

2. สุจิตต์ วงศ์เทศ. สุวรรณภูมิ ต้นกระแสประวัติศาสตร์ไทย.

กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มติชน;2549.

3. วชิยั โชคววิฒันสวุทิย์วบิลุผลประเสรฐิและประพจน์ เภตรากาศ,

(บรรณาธิการ). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์

แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552

-2553.นนทบุรี : สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ); 2553.

(456หน้า)

4. มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. ตำราเส้นสิบฉบับอนุรักษ์.

พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดี;2554.(136หน้า)

5. กรมศิลปากร. สมุดภาพโคลงฤๅษีดัดตน. กรุงเทพมหานคร:

อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง;2551.(160หน้า)

6. สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดก

ทางวรรณกรรมของชาติ.กรุงเทพมหานคร:คุรุสภาลาดพร้าว;

2542.(1,010หน้า)

7. หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง

รัชกาลที่5เล่ม1-2.กรุงเทพมหานคร:กรมศิลปากร;2542.

(916หน้า)

8. แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. โยคะเพื่อการพัฒนาร่างกายและ

จิตใจ.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร:เอช.ที.พี.เพรส;2542.

(242หน้า)

9. Ram Kumar Rai. Shiva Svavodaya. Prachya

Prakashan,Varanasi;1997.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 10

Abstract The Origin of Sen Prathan Sib

Prapoj Patrakard*

*Federation of Thai Traditional Medicine, Sport Garden Building, 2nd Floor, Tiwanon Rd., Ministry of Public

Health, Nonthaburi 11000

Sen Prathan Sib or ten primary energy lines (paths) in traditional Thai massage are Ida, Pingala, Sushumna,

Kalathari, Sahasrangsi, Dwari, Chandabhusang, Rujam, Sukumang, and Sikhini. Knowing about the origin of Sen

Prathan Sib or how the knowledge about the ten energy lines was derived is very important because it will connect

us to the root of knowledge and the theory of the Sen (energy lines).

The traditional standard textbooks of traditional Thai massage which were systematically recorded are

Massage Illustrations (Pharb Phaen Nuad) of Wat Phra Chetuphon (a Buddhist temple), the Textbook of Etiology

(Rok Nithan Khamchan 11) with a section on Sen Sib (ten energy lines), and Massage Scripture Volumes 1 and 2 in

the Royal Medical Textbook (Tamra Vechasart Chabab Luang) of King Rama V, but no mention was made of the

energy line’s origin.

A comparison Sen Prathan Sib theory with Nadis (energy lines or paths) of yoga shows that both of them have

some similarities such as the belief in the routes of wind element, the number of routes or lines (totaling 72,000),

and three lines of Sen Prathan Sib and three lines of Nadis having the same names (i.e. Ida, Pingala, Sushumna).

The main path of Ida in Thai massage is on the left side of the body and Pingala is on the right side, while the Nadi

Ida and Nadi Pingala cross each other on the left and right sides of the body. Moreover, the wind line of Ida in Thai

massage and Nadi Ida are the same (wind of the moon); and the wind of Pingala in Thai massage and Nadi Pingala

are the same (wind of the sun). The main paths of Sushumna in Thai massage and Nadi Sushumna are in the

midline of the body.

However, there is no evidence of the other lines of Sen Prathan Sib, except that in the Thai Massage Textbooks

there are records of the pressure points in healing symptoms and the relationship between Sen Prathan Sib and the

elements including the etiology of their deterioration and malfunctioning as well as the effect of seasonal changes.

Such matters are not mentioned in any yoga textbooks, which however contain some information about illness

etiology and diagnosis. It is believed that Thai massage therapists have adopted such principles of etiology and

diagnosis and got them modified for application; later on they became the Thai massage wisdom. That was

because, in Ayurvedic massage, oil is used and it is a part of the Panja Karma (five actions) which do not mention

about Sen Prathan Sib or the 14 Nadis in the yoga principle.

Key words: Sen Prathan Sib, Thai massage, Ten primary energy lines

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

11

นิพนธ์ต้นฉบับ

จิราภรณ์ บุราคร* เรือนแก้ว ประพฤติ**

ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน7ชนิดต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

บทคัดย่อ สมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน7ชนิดนำมาสกัดสารโดยใช้น้ำ เมทานอลและเอทานอลเป็นตัวทำละลายได้นำมาศึกษา

ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคจำนวน 4สายพันธุ์ ได้แก่Escherichia coli ATCC25922, Klebsiella pneumoniae

ATCC27736, Staphylococcus aureus ATCC6538, Staphylococcus epidermidis ATCC12228 ด้วยวิธี Agarwell

diffusionโดยทดลองใช้สารสกัด(30µg/plate)21ตัวอย่างต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย1สายพันธุ์ผลการทดลองพบว่าสาร

สกัดฟักแม้วด้วยเมทานอลแสดงการยับยั้งเชื้อE. coli และS. epidermidis ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของ

ฤทธิ์ยับยั้ง 20.46 มิลลิเมตร และ 35.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ สารสกัดสะระแหน่ด้วยน้ำและสารสกัดชะพลูด้วย

เมทานอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อK. pneumoniae และ S. aureus ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้ง

19.15 มิลลิเมตร และ 24.77 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อทดสอบหาความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อ

แบคทีเรียด้วยวิธีMicrodilutionassayพบว่าค่าMinimumInhibitoryConcentration (MIC)ของสารสกัดจากฟักแม้ว

ด้วยเมทานอลในการยับยั้งเชื้อE. coliและS. epidermidis เท่ากับ7.81มิลลิกรัม/มิลลิลิตรและ62.50มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

ตามลำดับสารสกัดสะระแหน่ด้วยน้ำและสารสกัดชะพลูด้วยเมทานอลในการยับยั้งเชื้อK. pneumoniaeและS. aureusมีค่า

MIC เท่ากับ 15.62 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และค่าMIC ของสารมาตรฐาน Chloramphenicol ที่ยับยั้งเชื้อE. coli,

K. pneumoniae, S. epidermidis และS. aureusเท่ากับ15,7,31และ7ไมโครกรัม/มิลลิลิตรตามลำดับ

ภูมิหลังและเหตุผล ในปัจจุบันมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค

มากมายทั้งในดิน น้ำ อากาศ เชื้อแบคทีเรียที่

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ก่อโรคที่มักพบปนเปื้อน

ในห้องน้ำและตามสถานที่ต่างๆได้แก่

1) Escherichia coli เป็นเชื้อประจำถิ่น

ในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ไม่

ก่อโรค แต่พบสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระ

ร่วง โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ1,2

สามารถติดต่อได้ทางอาหารหรือผักผลไม้สดที่ปน

เปื้อนเชื้อ โดยมีการกระจายเชื้อผ่านมือที่ปน

เปื้อนหรือแมลงสาบและแมลงวัน*สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ เขตราชเทวีกทม.10400**ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพและสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้*Correspondingauthor:[email protected]

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 12

2) Klebsiella pneumoniae พบได้ทั้ง

ในสิ่งแวดล้อมได้แก่แหล่งน้ำดินพืชและพบได้

ในเยื่อเมือกของสิ่งมีชีวิต ระบบทางเดินอาหารใน

สตัวห์ลายชนดิ เชน่หนแูรตหนเูมาส์ และมนษุย์3

จากทางเดินหายใจหรือลำไส้ เป็นสาเหตุของโรค

ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อในทางเดิน

ปัสสาวะที่บาดแผล ในกระแสเลือด และเยื่อหุ้ม

สมอง เป็นเชื้อก่อโรคแกรมลบที่เกี่ยวข้องกับการ

ติดเชื้อในโรงพยาบาลในระบบทางเดินหายใจส่วน

ล่างมากที่สุด4,5

3) Staphylococcus aureus เป็นเชื้อ

ก่อโรคที่สำคัญ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่

ผิวหนัง แผลและเนื้อเยื่อ และโรคอาหารเป็นพิษ

นอกจากนี้ยังเป็นเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยที่มี

ร่างกายอ่อนแอ ทำให้เกิดโรคปอดบวมที่ทำให้มี

อัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ506,7

4) Staphylococcus epidermidis

เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคสิวอักเสบเป็นหนอง

พบได้ตามผิวหนังทั่วไปและเยื่อบุบางแห่ง เช่น

จมูกหูปากและหลอดปัสสาวะส่วนปลาย7,8

จากการที่มีเชื้อโรคกระจายอยู่ทั่วไปตาม

แหล่งต่าง ๆ ควรมีการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่

ร่างกาย วิธีการป้องกันเชื้อโรคที่ดีทางหนึ่งคือ

การล้างมือให้สะอาดโดยใช้ผลิตภัณฑ์สบู่เหลว

หรือน้ำยาล้างมือที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายทั่วไปมีการเติมสารเคมีที่

ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งผู้บริโภคอาจเกิดการแพ้

สารเคมี หากมีการนำสารสกัดสมุนไพรมาใช้เป็น

ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างมือจะช่วยใน

การลดการใช้สารเคมี ผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายสามารถ

ใช้ได้ และเป็นการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรของไทยอีก

ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทยมีการนำมาใช้ประโยชน์

ต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ นำมาเป็นอาหาร เครื่อง

เทศ ใช้เป็นยา เป็นต้น ซึ่งมีรายงานการพบสาร

สำคัญหลายชนิดทั้งน้ำมันระเหยง่าย สารต้าน

อนุมูลอิสระ สารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา9

จึงได้คัดเลือกสมุนไพรพื้นบ้านไทย 7 ชนิดมา

ทำการศึกษาดังนี้

1) ผักชีฝรั่ง (Eryngium foetidum L.)

อยูใ่นวงศ์Apiaceae(Umbelliferae)มสีารสำคญั

acetophenon, aldehyde, benzaldehyde

เป็นต้นรากช่วยเจริญอาหาร

2) ชะพลู (Piper sarmentosum

Roxb.) อยู่ในวงศ์ Piperaceae มีสารสำคัญ

neolignan, sarmentosine เป็นต้น รายงาน

การวิจัยพบว่าการสกัดใบชะพลูด้วยปิโตรเลียม

อีเทอร์มีสาร hydrocinnamic acid และ

ß-sitosterol10 และสารสกัดลูกชะพลูมีสาร

pellitorine11 ใบทำให้เสมหะงวดและแห้งเข้า

บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด มีฤทธิ์

ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดน้ำตาลในเลือด ต้านการ

เกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

3) สะระแหน่ (Mentha cordifolia

Opiz.) อยู่ในวงศ์ Lamiaceae มีสารสำคัญ

cadinene, carvone, coumarin เป็นต้น และ

ในใบสะระแหน่มี amino acid ได้แก่ leucine,

methionine, proline, asparagine เป็นต้น12

ใบขับลมผายลมแก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อมีฤทธิ์ต้าน

การเจริญของเนื้องอก ลดความดันโลหิต กระตุ้น

การบีบตัวของมดลูก

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 13

4) ฟักแม้ว (SechiumeduleSm.)อยู่

ในวงศ์ Cucurbitaceae สารสำคัญ ที่พบ ได้แก่

flavonoids, 3 C-glycosyl, 5 o-glycosyl

flavones ใบและผลใช้ดองยา มีคุณสมบัติ ช่วย

ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจและหลอดเลือด แก้

อักเสบ น้ำต้มใบและผลนำมาใช้ในอาการ

เส้นเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง และสลายนิ่ว

ในไต

5) โหระพา (Ocimum basilicum L.)

อยู่ในวงศ์ Lamiaceae ใบมีน้ำมันหอมระเหย

methylchavicolและlinaloolขับลมแก้ท้อง

อืดเฟ้อ เมล็ด เมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยา

ระบายเนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร

6) กะเพรา (Ocimum tenuiflorum

L.) อยู่ ในวงศ์ Lamiaceae มีสารสำคัญ

anethole, benzaldehyde, ascorbic acid,

essential oil, eugenol13 เป็นต้น ใบบำรุงธาตุ

เป็นยาธาตุรักษาโรคกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร

แก้ปวดท้อง มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย

ยับยั้งการเจริญเซลล์มะเร็ง14 ฤทธิ์ลดการ

อักเสบ15 กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดคอเลสเตอรอล

ลดไขมันในเลือด

7) เตย (Pandanus amaryllifolium

Roxb.) อยู่ในวงศ์Pandanaceseมีสารสำคัญ

benzylacetate, carotenoids, coumarin,

geraniol เป็นต้น ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต

ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และน้ำสกัดรากเตยมี

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด16

ระเบียบวิธีศึกษาสถานที่ทดลอง

1. ห้องปฏิบัติการสำนักเทคโนโลยีชุมชน

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

2. ห้องปฏิบัติการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ

และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วัสดุและสารเคมี

1.การสกัดสารจากสมุนไพร

1.1 สมุนไพรที่ใช้ในการทดลอง 7

ชนิดได้แก่ใบผักชีฝรั่งใบชะพลูใบและลำต้น

สะระแหน่ ใบฟักแม้ว ใบโหระพา ใบกะเพรา

และใบเตยจากตลาดในกรุงเทพมหานคร

1.2 เมทานอล(Methanol)

1.3 เอทานอล(Ethanol)

1.4 ไดเมทิลซัลฟอกไซด์ (Dimethyl

sulfoxide,DMSO)

1.5 กระดาษกรอง Whatman®

เบอร์4

1.6 แผ่นกรองที่ ผ่ านการฆ่ า เชื้ อ

ขนาด0.2ไมครอน

1.7 เครื่องระเหยภายใต้สูญญากาศ

(Rotaryevaporator)

2. การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์

2.1 จุลินทรีย์ที่ใช้ในงานวิจัยได้รับ

ความอนุเคราะห์จากศูนย์จุลินทรีย์สถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ได้แก่ Escherichia coli ATCC25922,

Klebsiella pneumoniae ATCC27736,

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 14

Staphylococcus aureus ATCC6538 และ

Staphylococcus epidermidis ATCC12228

อาหารเลี้ยงเชื้อชนิดNutrientbroth(NB)

3. การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

ของสารสกัดจากสมุนไพร

3.1 อาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Nutrient

agar(NA)

3.2 อาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Muller

Hintonbroth(MHB)

3.3 ไอโอโดไนโตรเตตระโซเลียม

คลอไรด์(Iodonitrotetrazoliumchloride)

3.4 Corkborer

3.5 คลอแรมเฟนิคอล (Chloram-

phenicol)

วิธีการ

1.การสกัดสารจากสมุนไพร

นำสมุนไพรสดทั้ง 7 ชนิด มาล้างให้

สะอาดผึ่งให้แห้งในที่ร่มแล้วนำไปสกัดดังนี้

1.1 การสกัดสมุนไพรด้วยน้ำ

นำสมุนไพรสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ สกัด

ด้วยน้ำในอัตราส่วนสมุนไพรต่อน้ำ เท่ากับ1ต่อ

4 นำไปต้มที่ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10

นาที กรองด้วยผ้าขาวบางแล้วกรองด้วยกระดาษ

กรอง Whatman® เบอร์ 4 เก็บตัวอย่างที่จะ

ทดสอบไว้ที่-20องศาเซลเซียส

1.2 การสกัดสมุนไพรด้วยเมทานอล

และเอทานอล

นำสมุนไพรสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ อบ

ให้แห้งที่อุณหภูมิ50องศาเซลเซียสโดยใช้เครื่อง

อบไอร้อน บดตัวอย่างให้ละเอียดแล้วผสมกับ

เมทานอลหรือเอทานอลด้วยอัตราส่วนสมุนไพร

ต่อตัวทำละลาย เท่ากับ1ต่อ4หมักที่อุณหภูมิ

ห้องเป็นเวลา24ชั่วโมงกรองด้วยกระดาษกรอง

Whatman®เบอร์4เก็บส่วนสารละลายไว้ทำซ้ำ

อีก 2 รอบ แล้วนำสารละลายทั้งหมดทำให้เข้ม

ข้นด้วยเครื่องระเหยภายใต้สูญญากาศ ได้สารข้น

หนืดเก็บไว้ที่อุณหภูมิ-20องศาเซลเซียส

สารสกัดจากข้อ 1.1 และ 1.2 จะ

ละลายในสารละลายไดเมทิลซัลฟอกไซด์ร้อยละ

1และกรองผ่านแผ่นกรองที่ผ่านการฆ่าเชื้อขนาด

0.2ไมครอนก่อนนำไปใช้

2. การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae,

Staphylococcus epidermidisและStaphy-

lococcus aureusของสารสกัดสมุนไพร

2.1 การเพาะเลี้ยงแบคทีเรียแต่ละ

ชนิดในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Nutrient broth ที่

ความเร็วรอบการเขย่า 200 รอบต่อนาที เป็น

เวลา12ชั่วโมงที่อุณหภูมิ37องศาเซลเซียส

2.2 การตรวจสอบฤทธิ์ของสารสกัด

ด้วยวิธีAgarwelldiffusion

วิธี Agarwell diffusionดัดแปลงจาก17

Rauha et al., 2000 โดยนำแบคทีเรียที่เลี้ยง

ในข้อ2.1จำนวนเซลล์108CFU/mlมาเกลี่ยให้

ทั่วบนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Nutrient agar ด้วย

sterile cotton swab จากนั้นเจาะหลุมขนาด

เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ด้วย Cork

borer แล้วเติมสารสกัดสมุนไพรความเข้มข้น

300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ปริมาณ 100

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 15

ไมโครลิตร ลงในหลุม บ่มเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 37

องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตรวจวัดผล

โดยวัดขนาดเส้นผ่ านศูนย์กลางฤทธิ์ ยับยั้ ง

(Inhibition zone) การทดลองแต่ละตัวอย่างทำ

ซ้ำ3ครั้ง

2.3 ถูกแล้วค่าความเข้มข้นต่ำสุดของ

สารสกัดที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Minimum

inhibitory concentration; MIC) ด้วยวิธี

Microdilution assay

ค่าMICเป็นค่าของสารสกัดความเข้ม

ข้นต่ำที่สุดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งใน

การนำสารสกัดไปประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบ

ในผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น สบู่เหลวหรือเจล

อาบน้ำต้านเชื้อ จะทำให้ทราบปริมาณสารสกัด

อย่างน้อยที่สุดที่ควรเติมในผลิตภัณฑ์

การหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสาร

สกัดที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ดัดแปลงจากวิธีของ

Sahin et al.,18 2003 โดยนำสารสกัดสมุนไพร

มาเจือจางแบบเจือจางลงทีละ 2 เท่าด้วยอาหาร

เลี้ยงเชื้อ Muller Hinton broth (MHB) ใน

microplateขนาด96หลุม ให้มีค่าความเข้ม

ข้นระหว่าง 0-2.5x104 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร

ปริมาณ50ไมโครลิตรเติมเชื้อแบคทีเรียจำนวน

เซลล์ 108 CFU/ml ลงไปในหลุมปริมาณ 50

ไมโครลิตร บ่มเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศา

เซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นใส่

สารละลายไอโอโดไนโตรเตตระโซเลียม คลอไรด์

ความเข้มข้น 0.06 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร หลุม

ละ6ไมโครลิตรสังเกตผลโดยถ้ามีสีแดงแสดงว่า

เชื้อแบคทีเรียไม่ตายและถ้าไม่มีสีแสดงว่าสาร

สกัดสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ เนื่องจาก

จุลินทรีย์ตาย การทดลองแต่ละตัวอย่างทำซ้ำ 3

ครั้ง

ผลการศึกษา1.การสกัดสารจากสมุนไพร

สมุนไพรพื้นบ้านจำนวน 7 ชนิด เมื่อ

นำมาสกัดด้วยน้ำ เอทานอล และเมทานอล ได้

สารสกัดที่มีลักษณะ ดังแสดงในตารางที่ 1 ซึ่ง

สารสกัดโหระพาด้วยเอทานอลได้ผลผลิต

(%yield)สูงสุดคือร้อยละ34.65

2. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัด

จากสมุนไพร

เมื่อนำสารสกัดสมุนไพรทั้ง 7 ชนิด ความ

เข้มข้น300ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรมาศึกษาการ

ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้แก่

Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae,

Staphylococcus epidermidis และ

Staphylococcus aureus พบว่ามีสารสกัด

จำนวน 6, 12, 14 และ 9 ตัวอย่างตามลำดับ

(ตารางที่ 2) ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแต่ละ

สายพันธ์ุได้ ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์

ยับยั้งอยู่ในช่วง 14.45 ถึง 20.46 มิลลิเมตร

11.69 ถึง 19.15 มิลลิเมตร 16.42 ถึง 35.03

มิลลิเมตรและ15.39ถึง24.77มิลลิเมตรตาม

ลำดับ สารสกัดมีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อต่างๆ ดังนี้

(ตารางที่2-3)

การยับยั้งเชื้อE. coli มีสารสกัดจำนวน

6ตัวอย่างที่มีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อE.coliโดยสาร

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 16

ชนิดของสมุนไพร ตัวทำละลายที่ใช้ในการ

สกัด

ลักษณะของสารสกัด ร้อยละของสารสกัด

ผักชีฝรั่ง น้ำ สีน้ำตาลเข้มหนืด 2.24

เอทานอล สีเขียวเข้มหนืด 19.25

เมทานอล สีน้ำตาลดำหนืด 8.5

ชะพลู น้ำ สีน้ำตาลดำเหลวหนืด 7.12

เอทานอล สีเขียวเข้มหนืด 20.56

เมทานอล สีเขียวเข้มหนืด 4.19

สะระแหน่ น้ำ สีน้ำตาลหนืด 3.23

เอทานอล สีเขียวหนืด 23.00

เมทานอล สีเขียวหนืด 9.67

ฟักแม้ว น้ำ สีน้ำตาลหนืด 3.33

เอทานอล สีเขียวเข้มข้น 18.54

เมทานอล สีเขียวข้น 20.82

โหระพา น้ำ สีน้ำตาลข้น 4.21

เอทานอล สีเขียวเข้มหนืด 34.65

เมทานอล สีเขียวเข้มหนืด 20.00

กะเพรา น้ำ สีน้ำตาลหนืด 3.21

เอทานอล สีเขียวเข้มหนืด 23.67

เมทานอล สีเขียวเข้มหนืด 3.49

เตย น้ำ สีน้ำตาลข้น 4.11

เอทานอล สีเขียวเข้มข้น 22.12

เมทานอล สีเขียวเข้มข้น 28.00

ตารางที่1แสดงลักษณะของสารสกัดสมุนไพรและร้อยละของสารสกัดต่อน้ำหนักแห้ง

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 17

สกัดฟักแม้วด้วยเมทานอลมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่าน

ศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งสูงที่สุด เท่ากับ 20.46

มิลลิลิเมตร ซึ่งทุกตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่าน

ศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งน้อยกว่าสารมาตรฐาน

Chloramphenicol ความเข้มข้น 100 ไมโคร

กรัมต่อมิลลิลิตร(26.81มิลลิเมตร)เมื่อทดสอบ

ความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดฟักแม้วด้วย

เมทานอลต่อเชื้อE.coliพบว่ามีค่าMICเท่ากับ

7.81มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

การยับยั้งเชื้อ K. pneumoniae มีสาร

สกัดจำนวน 12 ตัวอย่างที่มีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อ

K. pneumoniae โดยสารสกัดสะระแหน่ด้วย

น้ำมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งสูง

ที่สุดเท่ากับ19.15มิลลิลิเมตรซึ่งมีค่าเฉลี่ยเส้น

ผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้ งกว้างกว่าสาร

มาตรฐาน Chloramphenicol ความเข้มข้น

100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (15.95 มิลลิเมตร)

เมื่อทดสอบความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัด

สะระแหน่ด้วยน้ำต่อเชื้อ K. pneumoniae พบ

ว่ามีค่าMICเท่ากับ15.62มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

การยับยั้งเชื้อ S. epidermidis มีสาร

สกัดจำนวน14ตัวอย่างที่มีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อS.

epidermidis โดยสารสกัดฟักแม้วด้วยเมทานอ

ลมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งสูง

ที่สุด เท่ากับ 35.23 มิลลิลิเมตร ซึ่งกว้างกว่าค่า

เฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งของสาร

มาตรฐาน Chloramphenicol ความเข้มข้น

100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (22.98 มิลลิเมตร)

เมื่อทดสอบความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัด

สะระแหน่ด้วยน้ำต่อเชื้อ K. pneumoniae พบ

ว่ามีค่าMICเท่ากับ62.50มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

การยับยั้งเชื้อ S.aureus มีสารสกัด

จำนวน 9 ตัวอย่าง ที่มีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อ

S. aureus โดยสารสกัดชะพลูด้วยเมทานอลมี

ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งสูงที่สุด

เท่ากับ 24.77 มิลลิลิเมตร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่าน

ศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งกว้างกว่าสารมาตรฐาน

Chloramphenicol ความเข้มข้น 100 ไมโคร

กรัมต่อมิลลิลิตร(14.56มิลลิเมตร)เมื่อทดสอบ

ความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสะระแหน่ด้วยน้ำ

ต่อเชื้อ K. pneumoniae พบว่ามีค่า MIC

เท่ากับ15.62มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 18

ตารางที่2ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดสมุนไพร

ชนิดของสมุนไพร/ยาปฏิชีวนะ

ตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด

ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางฤทธิ์การยับยั้งเชื้อ±SD(มม.)

E.coli K.pneumoniae S.epidermidis S.aureus

ผักชีฝรั่ง น้ำ - 14.04±0.12 16.42±0.38 15.39±0.58

เอทานอล - - 22.99±1.77 15.73±1.03

เมทานอล 18.49±0.04 - 30.71±0.51 19.60±1.21

ชะพลู น้ำ - 13.58±1.19 - -

เอทานอล 14.45±0.85 - 26.29±0.17 -

เมทานอล 19.65±0.46 - 35.17±1.20 24.77±2.72

สะระแหน่ น้ำ - 19.15±0.53 24.77±3.72 -

เอทานอล 14.62±0.12 15.15±0.17 21.5±0.96 -

เมทานอล - 13.68±0.33 29.29±0.18 17.6±0.11

ฟักแม้ว น้ำ - 13.34±2.71 - -

เอทานอล - - 29.44±0.07 22.40±1.81

เมทานอล 20.46±0.15 18.38±0.12 35.23±1.93 21.64±2.30

โหระพา น้ำ - 13.56±0.55 - -

เอทานอล - - - -

เมทานอล - 16.59±0.12 31.72±0.21 20.67±0.28

กะเพรา น้ำ - - - -

เอทานอล - 14.48±0.21 - -

เมทานอล 19.76±1.06 - 30.39±2.84 21.23±1.59

เตย น้ำ - 11.69±0.33 - -

เอทานอล - 13.99±0.09 17.77±0.12 -

เมทานอล - - 17.93±0.32 -

Chloramph-enicol

70%เมทานอล

26.81 15.95 229.8 14.56

1%DMSO น้ำ - - - --=Nozone

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 19

เชื้อแบคทีเรีย

ที่ทำการทดสอบ

ค่าMIC(มก./มล.)

สารสกัดฟักแม้ว

ด้วยเมทานอล

สารสกัดสะระแหน่

ด้วยน้ำ

สารสกัดชะพลู

ด้วยเมทานอลChloramphenicol

E.coli 7.81 - - 0.015

K.pneumoniae - 15.62 - 0.007

S.epidermidis 62.50 - - 0.031

S.aureus - - 15.62 0.007

ตารางที่3ความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่นำมาทดสอบ

วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง จากการทดลองสกัดสารจากสมุนไพรพ้ืนบ้าน

จำนวน7ชนิดนำสารสกัดสมุนไพรความเข้มข้น

300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรมาทดสอบประสิทธิผล

ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจำนวน4สายพันธุ์พบ

ว่าชนิดของสมุนไพรและสารละลายท่ีใช้ในการสกัด

มีผลต่อประสิทธิผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

การสกัดสมุนไพรด้วยเมทานอลมีประสิทธิผลในการ

ยับย้ังเช้ือมากท่ีสุดจำนวน 21 ตัวอย่างจากท้ังหมด

28ตัวอย่างในขณะที่สกัดด้วยน้ำมีประสิทธิผลใน

การยับยั้งเชื้อน้อยที่สุดเพียงจำนวน 9 ตัวอย่าง

สารสกัดสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อ ทั้ง

4ชนิดได้แก่สารสกัดผักชีฝรั่งด้วยเมทานอลและ

สารสกัดฟักแม้วด้วยเมทานอลในขณะที่สารสกัด

กะเพราด้วยน้ำไม่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง4

ชนิด เม่ือทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร

ในการยับยั้งเชื้อ E. coli และ S. epidermidis

พบว่าสารสกัดจากฟักแม้วด้วยเมทานอล มีค่าเฉล่ีย

เส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้งสูงสุดคือ20.46

มิลลิเมตร และ 35.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ

และสารสกัดจากน้ำด้วยสะระแหน่ สารสกัดจาก

ชะพลูด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งดีที่สุดต่อเชื้อ

K.pneumoniaeและS.aureusโดยมีค่าเฉลี่ย

เสน้ผา่นศนูยก์ลางของฤทธิย์บัยัง้19.15มลิลเิมตร

และ24.77มิลลิเมตรตามลำดับเม่ือเปรียบเทียบ

กับยาคลอแรมเฟนิคอล ความเข้มข้น 100

ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่า สารสกัดจาก

สมุนไพรที่สามารถยับยั้งเชื้อ K. pneumoniae,

S. epidermidis และ S. aureus ได้ค่าเฉลี่ย

เ ส้ น ผ่ า น ศู น ย์ ก ล า ง ฤท ธิ์ ยั บ ยั้ ง ก ว้ า ง ก ว่ า

ยาคลอแรมเฟนิคอลมีจำนวน3,10และ9ชนิด

ตามลำดับ ในขณะที่ไม่มีสารสกัดสมุนไพรชนิดใด

สามารถยับยั้งเชื้อE.coliได้ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์

กลางฤทธิ์ยับยั้งกว้างกว่ายาคลอแรมเฟนิคอล

เมื่อทดสอบหาความเข้มข้นสารสกัดต่ำสุดที่

สามารถยับย้ังเช้ือE. coli และS. epidermidis

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 20

พบว่าสารสกดัฟกัแมว้ดว้ยเมทานอลสามารถยบัยัง้

ได้ดีที่สุด มีค่า MIC เท่ากับ 7.81 และ 62.50

มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับและความเข้มข้น

ตำ่สดุของสารสกดัทีส่ามารถยับย้ังเช้ือK.pneumo-

niae และS.aureus ได้จากสารสกัดสะระแหน่

ดว้ยนำ้และสารสกดัชะพลดูว้ยเมทานอลมคีา่MIC

เท่ากับ15.62มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

จากผลงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลสามารถนำ

สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคไปใช้

เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

ร่างกายต้านเชื้อ เช่น น้ำยาหรือสบู่เหลวล้างมือ

เจลอาบน้ำเป็นต้นเพื่อลดปริมาณแบคทีเรีย

ก่อโรค ซึ่งวัตถุดิบสมุนไพรพื้นบ้านมีราคาถูก

ปลูกง่ายและมีปริมาณมาก หากนำมาพัฒนาเป็น

สารสกัดใช้ เป็นส่ วนประกอบในผลิตภัณฑ์

ดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรพื้นบ้าน

ไทยอีกทางหนึ่งด้วย

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณกรมวิทยาศาสตร์บริการในการ

ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยนี้

เอกสารอ้างอิง1. ชมรมรักสุขภาพ. อุจจาระร่วงจากเชื้อ Escherichia coli.

[ออนไลน์].2554. [อ้างถึงวันที่12มิถุนายน2554]. เข้าถึง

ได้จาก:www.thailabonline.com/sec51ecoli.htm.

2. ปาริชาติ ผลานิสงส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหา

บัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2554.

3. วลัลภลขิติสนุทรวงศ,์ สเุมธอำภาวงษ,์ อรอมุาสงิหะทวศีกัดิ์

เขตเจริญ, เยาวลักษณ์ พนาเวชกิจกุล และกาญจนา เข่งคุ้ม.

การตรวจพบเชื้อKlebsiella pneumoniae ในหนูเมาส์สาย

พันธุ์ ICR.[ออนไลน์].ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติมหาวิทยาลัย

มหิดล.2555.

4. นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. แบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรค. พิมพ์

ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;

2547.

5. จิตตะวัน กุโบลา. การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพใน

มะระขี้นก และความสามารถในการนำไปใช้เชิงชีวภาพ.

วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี

การอาหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2551.

6. นิติพงษ์ ศิริวงศ์, เอกชัย ชูเกียรติโรจน์. อุบัติการณ์ของ

เชื้อ Staphylococcus aureus ที่สามารถต้านทานต่อยา

ปฏิชีวนะและโลหะซึ่งแยกได้จากโรงพยาบาลในจังหวัด

เชียงราย ประเทศไทย. [ออนไลน์]. การประชุมวิชาการ 33rd

Congress on Science and Technology of Thailand;

2554.

7. ปาริชาติ ผลานิสงค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหา

บัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2551.

8. โ ส ภ ณ ค ง ส ำ ร า ญ . แ บ ค ที เ รี ย ท า ง ก า ร แ พ ท ย์ .

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

กรุงเทพฯ;2524.

9. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์พันธุวิศวกรรม

และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ.สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม1-4.

พิมพ์ครั้งที่1-4.บริษัทประชาชนจำกัด;2539-2543.

10.น้อย เนียมสา, ก้าน จันทร์พรหมมา. การศึกษาสารเคมีจาก

ชะพลู Piper sarmentosum Roxb. วารสารสงขลา

นครินทร์.2526;5(2):151-2.

11.มยุรี ตันติสิระ, บุญยงค์ ตันติสิระ, ธงชัย สุขเศวต, ปิยะรัตน์

นิ่มพิทักษ์พงศ์, พรทิพย์ บุญชัยพา, รุ่งทิพย์ เทพเลิศบุญ.

การทดสอบเบื้องต้นในการมีฤทธิ์ เป็นยาชาเฉพาะที่ของ

สารสกัดกึ่งบริสุทธิ์จากลูกชะพลู. ไทยเภสัชสาร. 2542;23(1)

:41-45.

12.ประจวบ สุขสมบูรณ์. การศึกษาสารต่างๆในใบสะระแหน่

(Mentha viridis). วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหา

บัณฑิตสาขาวิชาการสอนเคมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2521.

13.DeyBB,ChoudhuriMA.Effectof leafdevelopment

stage on changes in essential oil of Ocimum

sanctum L. Biochem Physiol Pflanz. 1983;178(5):

331-5.

14.พรทิพย์ ฐิตะพานิชย์. ผลของสารสกัด 70% เอธานอล จาก

ใบกะเพรา ต่อการเจริญของเซลล์มะเร็งตับสายพันธุ์ AS-30D

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 21

ที่ได้รับการปลูกถ่ายในช่องท้องหนู Sprague dewley.

วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยา

ทางอาหารและโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล.2545.

15.Burstein S, Taylor P, EL-Feraly FS, Tumer C.

Prostaglandins and cannabis V. Identification of

p-vinylphenolasapotentinhibitorofprostaglandin

synthesis.BiochemPharmacol1976;25(17):2003-4.

16.เพ็ญโฉม พึ่งวิชา, ยุวดี วงษ์กระจ่าง, อรวรรณ เรืองสมบูรณ์

และวิสุดา สุวิทยาวัฒน์. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัด

รากเตยหอม II : หนูเบาหวาน. วารสารเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล.2533;17(2):29-35

17.Rauha,J,RemesS,HeinonenM,HopiaA,KahaonenM,

KujalaT,etal.Antimicrobialeffectsoffinishedplant

extracts containing flavonoids and other phenolic

compounds.IntJFoodmicrobiol2000;56(1):3-12.

18.Sahin F, Karaman I, Gulluce M, Ogutcu

H, Sengul M, Adiguzel A, et al. Evaluation of

antimicrobial activities of Satureja hortensis L.

JEthnopharmacol2003;87:61-5.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 22

Abstract Antibacterial Activities of Seven Indigenous Vegetables Jiraporn burakorn*, Rueankeaw Praphruet**

*Department of Science Service, Bureau of Community Technology, Bangkok

**Institute of Product Quality and Standardization, Maejo University, Chiang Mai

Aqueous, methanolic and ethanolic extracts of seven medicinal plant species commonly consumed in Thailand were

evaluated for antimicrobial activity against four pathogenic bacteria, i.e. Escherichia coli ATCC25922, Klebsiella

pneumoniae ATCC27736, Staphylococcus aureus ATCC6538 and Staphylococcus epidermidis ATCC12228, using

theagarwelldiffusionmethodwith21medicinalplantextractsamples(30µg/plate)foreachbacterialstrain.The

results showed that the methanolic extract of Sechium edule caused the largest inhibition zones with E. coli and S.

epidermidis of 20.46 mm and 35.23 mm in diameter, respectively; while the aqueous extract of Mentha cordifolia

and the methanolic extract of Piper sarmentosum caused the largest inhibition zones with K. pneumoniae and S.

aureus at 19.15 mm and 24.77 mm in diameter, respectively. The analysis of the minimum inhibitory concentration

(MIC) which inhibited the four pathogenic bacteria using the microdilution assay showed that MICs of the

methanolic extract of Sechium edule for E. coli and S. epidermidis were7.81mg/mland62.50mg/ml,respectively,

while the MIC of the aqueous extract of Mentha cordifolia and the methanolic extract of Piper sarmentosum for

K. pneumoniae and S. aureus was 15.62mg/ml. In addition, theMICs of chloramphenicol forE. coli, K.

pneumoniae, S. epidermidis and S. aureus were15,7,31and7µg/ml,respectively.

Keywords: Escherichia coli, Klebsiella pneumonia, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

23

นิพนธ์ต้นฉบับ

มกร ลิ้มอุดมพร*, ผกากรอง ขวัญข้าว*, บุญทำ กิจนิยม**, ยงศักดิ์ ตันติปิฏก***, พินิต ชินสร้อย****, กาญจนา บัวดอก*, จิราภรณ์ โยวทิตย์*****, คุณนิษฐ์ ห้องตรง*****, ปวัชสรา คัมภีระธัม*, สุดารัตน์ สุวรรณพงศ์**

การศึกษากระบวนการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบและทฤษฎีธาตุของหมอนวดไทย

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยตามทฤษฎี เส้นประธานสิบและทฤษฎี

ธาตุของหมอนวดไทย โดยคัดเลือกอาสาสมัครตามกลุ่มอาการ 12กลุ่มจำนวน200คน เพศชายและหญิงอายุ 18-70ปีที่

สมัครใจเข้าร่วมโครงการจากผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรโดยผู้ช่วยแพทย์แผนไทยซักประวัติเบื้องต้น

ก่อนจะส่งต่อให้แพทย์แผนปัจจุบันตรวจวินิจฉัยแล้วจึงส่งต่อให้หมอนวดไทย6คนตรวจวินิจฉัยรักษาและประเมินผล

การรักษาจากการศึกษาพบว่ามีการตรวจเส้นประธานสิบ2แบบคือกดที่จุดกำเนิดของเส้นประธานสิบและกดตำแหน่งที่มี

อาการผิดปกติตามแนวเส้นประธานสิบ เพื่อดูอาการผิดปกติสัมพันธ์กับเส้นประธานสิบเส้นใดส่วนการวินิจฉัยโรคตาม

ทฤษฎีธาตุนั้นหมอนวดไทยวินิจฉัยจากอาการเป็นหลักว่าสัมพันธ์กับธาตุใดส่วนใหญ่วินิจฉัยเป็นธาตุดินพิการร้อยละ49.5

รองลงมาคือธาตุลมพิการ ร้อยละ 29.5การรักษาจะใช้การนวดไทยโดยกดจุดตามแนวเส้นประธานสิบที่ผิดปกติทว่าหมอ

นวดแต่ละคนมีวิธีการนวดแตกต่างกันแล้วยังใช้การประคบร่วมด้วยร้อยละ14.5และบางคนให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวร่วม

ด้วยการวินิจฉัยของหมอนวดไทยส่วนใหญ่จะวินิจฉัยตามอาการแสดงและตำแหน่งที่มีอาการ ส่วนแพทย์แผนปัจจุบันจะ

วินิจฉัยตามสาเหตุของโรคเป็นหลักแต่ในบางรายก็วินิจฉัยตามอาการแสดงเช่นกัน

คำสำคัญ เส้นประธานสิบ,ทฤษฎีธาตุ,หมอนวดไทย

ภูมิหลังและเหตุผล

องค์ความรู้เกี่ยวกับการนวดไทยมีแหล่ง

ที่มาจาก คัมภีร์และตำราการนวดไทย ได้แก่

หนึ่ง ตำราโรคนิทาน คำฉันท์ 11 ของพระยา

วิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร สมัยรัชกาล

ที่ 2 สอง ศิลาจารึกแผนนวด วัดพระเชตุพนฯ

สมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2375สาม แผนนวดฉบับ

หลวงพระราชทานสมัยรัชกาลที่5พ.ศ.2449สี่

แผนนวดพื้นบ้าน ส่วนใหญ่คัดลอกสืบต่อกันมา1

อย่างไรก็ตาม คัมภีร์และตำราที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะ

เป็นภาพแผนนวด ซึ่งแสดงแนวเส้นประธานสิบ

และการรักษาโรคตามเส้นประธานสิบโดยไม่มีคำ

อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีธาตุ และการวินิจฉัยโรค

ตามทฤษฎีเส้นประธานสิบ นอกจากนี้ความเห็น

เกี่ยวกับแนวของ เส้นประธานสิบและการนวด

ตามแนวเส้นประธานสิบของหมอนวดไทยแต่ละ

*โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร **มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา ***นักวิชาการอิสระ ****โรงพยาบาลวังน้ำเย็น *****วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร สถาบันพระบรมราชชนก

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 24

คนยังมีความแตกต่างกัน องค์ความรู้ในการตรวจวินิจฉัยโรคของการนวดไทย รวมทั้งการรักษาด้วยการนวดเส้นประธานสิบจึงมักขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจและการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์หมอดั้งเดิมที่ล่วงลับไป นอกจากนี้ครูหมอนวดไทยที่มีความรู้เรื่องเส้นประธานสิบที่ยังมีชีวิตอยู่ก็มีเป็นจำนวนน้อยและมีอายุมากจึงมีความจำเป็นต้องประมวลองค์ความรู้และประสบการณ์เรื่องเส้นประธานสิบจากครูหมอนวดที่มีอยู่ เพื่อนำมาจัดระบบและสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคตามหลักของการนวดไทย รวมทั้ง การรักษาด้วยการนวดไทยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบ เพื่อให้หมอนวดไทยรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้สืบไป คณะผู้วิจัยจึงดำเนินการศึกษากระบวนการตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคและอาการตามทฤษฎีเส้นประธานสิบและทฤษฎีธาตุของหมอนวดไทย.

ระเบียบวิธีวิจัย การศกึษาครัง้นีเ้ปน็การวจิยัแบบสงัเกตการณ์(Observationalstudy) โดยคณะผูว้จิยัสว่นหนึง่เปน็ผูส้งัเกตการซกัประวตัิตรวจรา่งกายวนิจิฉยัและการรกัษาของหมอนวดไทยกลุม่ประชากรคอือาสาสมคัรจำนวน200คนเพศชายและเพศหญงิอายุ18-70ปีทีส่มคัรใจในการเขา้รว่มโครงการและมอีาการใดอาการหนึง่ตามกลุม่อาการ12กลุม่2คอื 1. ปวดศีรษะ 2. ปวด/เคล็ดบริเวณคอบ่า 3. ปวด/ขัด/เสียวชา/ติดบริเวณหัวไหล่สะบัก 4. ปวด/เคล็ดแขนข้อศอกข้อมือมือ

5. ปวด/ยอก/เสียวชา หลัง เอว เกลียวข้างท้อง 6. ปวด/ขัด/ยอก ข้อสะโพก สลักเพชรกระเบนเหน็บ 7. ปวด/ขัด/เคล็ด/เสียวชาข้อเข่า 8. ปวด/เคล็ด/ขัด/เสียวชา ขา ข้อเท้าเท้า 9. อัมพฤกษ์อัมพาต 10.เอ็นอักเสบ 11.ปวด/เจ็บ/ขัดบริเวณส้นเท้าฝ่าเท้า 12.นิ้วไกปืน งานวิจัยนี้ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคนด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เมื่อวันที่ 19สิงหาคม พ.ศ. 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่าง 8 กันยายน พ.ศ.2553 ถึง 14พฤศจิกายนพ.ศ.2553 ประชากรที่ศึกษา การศึกษานี้กลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครที่มารับบริการที่งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 200 คน ซึ่งมีอาการอยู่ใน 12กลุ่มอาการ2

วิธีการ 1. ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย3ซักประวัติเบื้องต้น วัดสัญญาณชีพ และสอบถามระดับความเจ็บปวดของอาสาสมัคร 2. ตัวแทนคณะวิจัยส่งอาสาสมัครไปรับการตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันและบันทึกผลลงในแบบบันทึก

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 25

ของแพทย์แผนปัจจุบันโดยแพทย์ผู้ตรวจ 3. เมื่ออาสาสมัครตรวจกับแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว จากนั้นตัวแทนคณะวิจัยส่งอาสาสมัครไปรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษา ตามทฤษฎีเส้นประธานสิบและทฤษฎีธาตุ โดยจะมีการบันทึกผลลงในแบบบันทึกของหมอนวดไทยซึ่งในกระบวนการจะมีผู้ช่วยแพทย์แผนไทยสังเกตและมีส่วนร่วมในการรักษาภายใต้คำแนะนำของหมอนวดไทยด้วย 4. ตัวแทนคณะวิจัยสอบถามระดับความเจ็บปวดและระดับความพึงพอใจของอาสาสมัครหลังได้รับการรักษาของอาสาสมัครและบันทึกผลการเก็บข้อมูล 5. การเก็บข้อมูลจะมีการเก็บข้อมูลในแบบบันทึกของหมอนวดไทยแบบบันทึกจากการสังเกตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และแบบบันทึกของแพทย์แผนปัจจุบัน

การวิเคราะห์ข้อมูล ก า รวิ เ ค ร าะห์ ข้ อมู ลทั่ ว ไปของกลุ่ ม

ประชากรตัวอย่างโดยใช้สถิติ เชิ งพรรณนาคำนวณหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย เพื่อใช้ในการอธิบายคุณลักษณะการเจ็บป่วยของอาสาสมัครสถิติไฆสแคว์เพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดของอาสาสมัครก่อนและหลังการรักษา

ผลการศึกษาส่วนที่1ข้อมูลเบื้องต้น 1.1 ข้อมูลทั่วไป อาสาสมัคร จำนวน 200 คน มีอาการสำคัญอยู่ใน 12 กลุ่มอาการ ดังนี้ ปวดศีรษะ 6คน ปวด/เคล็ดบริเวณคอบ่า41คนปวด/ขัด/เสียวชา/ติดบริเวณหัวไหล่ สะบัก 25 คนปวด/เคล็ด แขน ข้อศอก ข้อมือ มือ 15 คนปวด/ขัด/เสียวชา หลัง เอว เกลียวข้างท้อง 47คน ปวด/ขัด/ยอก ข้อสะโพก สลักเพชรกระเบนเหน็บ9คนปวด/ขัด/เคล็ด/เสียวชาข้อเข่า 23 คน ปวด/เคล็ด/ขัด/เสียวชา ขา ข้อเท้าเท้า 10 คน อัมพฤกษ์ อัมพาต 11 คน เอ็นอักเสบ 1 คน ปวด/เจ็บ/ขัด บริเวณ ส้นเท้าฝ่าเท้า9คนและนิ้วไกปืน3คน

อาการป่วยที่มาพบแพทย์เป้าหมายอาสาสมัคร

(คน)

อาสาสมัครที่เข้าร่วม

เพศชาย(คน)

เพศหญงิ(คน)

รวม(คน)

1.ปวดศีรษะ 10 2 4 6

2.ปวด/เคล็ดบริเวณคอบ่า 40 9 32 41

3.ปวด/ขัด/เสียว/ชา/ติดบริเวณหัวไหล่สะบัก

20 5 20 25

4.ปวด/เคล็ดแขนข้อศอกข้อมือมือ 10 4 11 15

ตารางที่1อาการป่วยของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการแยกตามกลุ่มอาการ12กลุ่ม

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 26

อาการป่วยที่มาพบแพทย์

เป้าหมายอาสาสมัคร

(คน)

อาสาสมัครที่เข้าร่วม

เพศชาย(คน)

เพศหญงิ(คน)

รวม(คน)

5.ปวด/ยอก/เสียวชาหลังเอวเกลียวข้าง

ท้อง

40 14 33 47

6.ปวด/ขัด/ยอกข้อสะโพกสลักเพชร 10 4 5 9

7.ปวด/ขัด/เคล็ด/เสียวชาข้อเข่า 20 5 18 23

8.ปวด/เคล็ด/ขัด/เสียวชาขาข้อเท้าเท้า 10 3 7 10

9.อัมพฤกษ์อัมพาต 10 10 10 11

10.เอ็นอักเสบ 10 1 0 1

11.ปวด/เจ็บ/ขัดบริเวณส้นเท้าฝ่าเท้า 10 0 9 9

12.นิ้วไกปืน 10 1 2 3

รวม 200 49 151 200

ประการตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย พบว่า

สาเหตุความเจ็บป่วยของอาสาสมัครเกิดจาก

อิริยาบถร้อยละ85.5และทำงานเกินกำลังร้อย

ละ68.0

ในอาสาสมัครทั้งหมดเป็นเพศหญิงร้อยละ

76.5ที่เหลือเป็นเพศชายจากการจำแนกตามวัย

พบว่า ช่วงปัจฉิมวัย (32-70 ปี) ร้อยละ 89.0

ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.5 ประกอบอาชีพใช้แรงมาก

(เช่นเกษตรกรรมรับจ้าง)จากมูลเหตุของโรค8

*ในอาสาสมัคร1รายอาจมีอาการของโรคมากกว่า1ประการ

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 27

ส่วนที่ 2 กระบวนการตรวจและวินิจฉัยตาม

ทฤษฎีเส้นประธานสิบและทฤษฎีธาตุของหมอ

นวดไทย

2.1การซักประวัติและตรวจร่างกาย

2.1.1การซักประวัติ

หมอนวดไทยมีการสังเกตอาสาสมัคร

ตั้งแต่เข้ารับการรักษา ได้แก่ การสังเกตท่าทาง

การเดินการพูดการหายใจก่อนที่จะลงมือตรวจ

วินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วย โดยจะซักประวัติ

ของผู้ป่วยในประเด็นต่อไปนี้

1. อาการสำคัญ หรืออาการหลักของผู้

ป่วยที่ทำให้รู้สึกรำคาญหรือทรมานจนทำให้ผู้

ป่วยมาพบหมอโดยจะถามถึงตำแหน่งที่มีอาการ

สำคัญนั้นๆ

ข้อมูลส่วนบุคคลของอาสาสมัคร จำนวน ร้อยละ

เพศ เพศชาย เพศหญิงอายุ (กลุ่มตัวอย่าง18-70ปี) ปฐมวัย(แรกเกิด-16ปี) มัชฌิมวัย(มากกว่า16-32ปี) ปัจฉิมวัย(มากกว่า32-70ปี)อาชีพใช้แรงงานมาก ใช้แรงงานปานกลาง ใช้แรงงานน้อยมูลเหตุของโรค8ประการ อาหาร อิริยาบถ กระทบร้อนกระทบเย็น อดนอนอดข้าวอดน้ำ กลั้นอุจจาระปัสสาวะ ทำงานเกินกำลัง เศร้าโศกเสียใจ โทสะ อื่นๆ(อุบัติเหตุ)

47153

022178135569

2517148564136117511

23.576.5

0

11.089.067.528.04.5

12.585.52.042.532.068.05.537.55.5

ตารางที่2ข้อมูลทั่วไปของอาสาสมัคร

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 28

หายใจ หรือบุคลิกของอาสาสมัคร ซึ่งสามารถ

สะท้อนให้เห็นความผิดปกติในร่างกายบางส่วนได้

- ตรวจดูการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ

ทั้งส่วนที่มีปัญหาและส่วนที่ปกติ

- ตรวจด้วยการคลำตำแหน่ง หรือ

บริเวณที่มีอาการผิดปกติ เปรียบเทียบกับบริเวณ

ที่ปกติ

- ตรวจดูโครงสร้างของร่างกายเพื่อ

ตรวจสอบลักษณะและค้นหาสาเหตุของอาการ

- หมอบางคนจับชีพจรที่ข้อมือของผู้

ป่วยร่วมด้วย โดยที่บางคนตรวจเฉพาะความแรง

ของชีพจร บางคนตรวจทั้งจังหวะและความแรง

นอกจากนี้บางคนตรวจชีพจรโดยใช้นิ้วชี้นิ้วกลาง

และนิ้วนางแตะบริเวณข้อมือ เพื่อรู้สึกถึงการเต้น

ของชีพจรเชื่อมโยงกับวาตะ ปิตตะ เสมหะ

(ตรีโทษะ)ด้วย

- หมอบางคนดูลิ้นประกอบด้วย โดยดูถึง

ลักษณะของลิ้น เช่น ดูความซีด/ไม่ซีด บวม/ไม่

บวม รวมทั้งดูว่ามีคราบและสีของคราบบนลิ้น

เช่น ผู้ป่วยที่มีคราบสีขาวบนลิ้น หมอจะวินิจฉัย

ว่าอาจมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการทำงานของไต

เป็นต้น

ทั้งนี้การตรวจร่างกายของหมอจะสัมพันธ์

กับการตรวจความเคลื่อนไหวของข้อ (ตามที่ผู้

ช่วยแพทย์แผนไทยบันทึกไว้) ซึ่งเป็นการหา

ตำแหน่งที่มีปัญหาหรือมีอาการ เพื่อวินิจฉัยและ

ทำการรักษา เช่น ควรจะเริ่มรักษาจากตำแหน่ง

ใด รวมทั้งการลงน้ำหนักมากหรือน้อยใน

ตำแหน่งที่มีอาการ มีข้อสังเกตว่าหมอบางท่าน

ทำการตรวจร่างกายน้อย แต่จะใช้วิธีนวดรักษา

2. ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน ซึ่ง

เกี่ยวข้องกับอาการสำคัญโดยหมอนวดจะถามถึง

ลักษณะของการเจ็บป่วยว่า เป็นทันทีหรือค่อย

เป็นค่อยไป ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่

เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ (อุบัติเหตุ ยกของ

ผิดท่า ยกของหนักเกินไป) อิริยาบถที่ทำให้

อาการเพิ่มมากขึ้นหรือลดลง รวมทั้งเคยมีการ

อักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) บริเวณนั้นหรือ

บริเวณอื่นหรือไม่

3. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต เช่น เคย

ได้รับอุบัติเหตุ ได้รับการผ่าตัด ป่วยเป็นโรคอะไร

บ้างฯลฯทั้งนี้เนื่องจากการเจ็บป่วยในอดีตอาจมี

ส่วนเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

4. ประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัว

เช่น หอบหืด โรคปอด โรคหัวใจ (ความดันโลหิต

สูง-ต่ำ)โรคเบาหวานโรคคอพอกเป็นพิษการสูบ

บุหรี่การเสพสุราการออกกำลังกายปัญหาส่วน

ตัว ครอบครัว หรือการงานเป็นสาเหตุให้เกิด

ความเครียดอยู่เสมอ ซึ่งจะนำไปสู่การป่วยเป็น

โรคต่างๆ ได้อีกที่เรียกว่า โรคทางกายอันเนื่องมา

จากจิตใจที่เครียด ว้าวุ่น เจ้าอารมณ์ เช่น โรค

แผลในกระเพาะอาหาร อาการหอบหืด นอนไม่

หลับ กินไม่ได้ ลำไส้ใหญ่อักเสบ หลอดเลือดแดง

ของหัวใจตีบตัน โรคผิวหนังบางชนิด ความดัน

โลหิตสูงฯลฯ

2.1.2 การตรวจร่างกายทั่วไป

หลังจากซักประวัติผู้ป่วยแล้ว หมอจะ

ทำการตรวจร่างกายทั่วไปตามขั้นตอนและวิธีต่อ

ไปนี้

- สังเกตท่าทางเช่นท่าเดินท่านั่งการ

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 29

และประเมินอาการไปพร้อมๆกัน

2.2การตรวจและวินิจฉัยตามทฤษฎีเส้น

ประธานสิบ

การตรวจและวินิจฉัยโรค/อาการตาม

ทฤษฎีเส้นประธานสิบของหมอนวดไทย มี 2 วิธี

คือ

2.2.1 ตรวจที่จุดกำเนิดของเส้น

ประธาน

หลังจากตรวจอาการของผู้ป่วยแล้ว

หมอนวดมักเทียบกับแนวทางเดินของเส้น

ประธานสิบว่า ตำแหน่งที่มีอาการมีเส้นประธาน

ใดพาดผ่านบ้าง จากนั้นจะทำการกดที่จุดกำเนิด

ของเส้นประธานที่คาดว่าจะติดขัดหรือมีปัญหา

(หมอนวดบางคนจะนวดโกยท้องก่อนกดเส้น

ประธานสิบ) และดูว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกอย่างไร

และสอบถามผู้ป่วยว่ามีความรู้สึกแล่นหรือไม่

แล่น (“ความรู้สึกแล่น” หมายถึง มีความรู้สึกว่า

มีความร้อนแล่นจากจุดที่กดไปตามเส้นประธาน

นั้นส่วน“ความรู้สึกไม่แล่น”หมายถึงไม่รู้สึกว่า

มีความร้อนแล่นไปหรือมีความรู้สึกตื้อหรือหน่วง

บริเวณที่กด)

หากผู้ป่วยมีความรู้สึกแล่น รวมทั้งถ้ากด

ในช่วงแรกแล้วไม่รู้สึกตรงตำแหน่งที่กด แต่มา

รู้สึกในจุดที่ห่างออกไปบนแนวเส้นประธานนั้น

แสดงว่าเส้นประธานนั้นปกติ แต่ถ้าไม่แล่นหรือ

ไม่รู้สึกอะไรเลย แสดงว่ามีการติดขัดของแนวเส้น

ประธานนั้น

การกดที่จุดกำเนิดของเส้นประธาน หมอ

นวดจะใช้แรงกดเท่ากันตลอด ซึ่งจะดูระยะทาง

และความแรงด้วยโดยที่เวลากดจะกดลงตามแนว

ดิ่งก่อนจากนั้นจะกดนิ่งโดยลงน้ำหนักที่ปลายนิ้ว

ระหว่างที่กดนิ่ง จะส่งแรงไปในทิศทางเดียวกับ

จุดที่มีความผิดปกติในแนวเส้นประธานนั้น จาก

นั้นจึงค่อยๆ ผ่อนแรงกดก่อนจะถอนนิ้วออก

ระหว่างที่กดลงตามแนวดิ่งรวมทั้งขณะที่ส่งแรง

ไปจากตำแหน่งที่กด หมอจะถามผู้ป่วยว่ามีความ

รู้สึกแล่นไปไหนหรือไม่ และรู้สึกตึงหรือไม่ เช่น

ในแนวเส้นอิทาและปิงคลา หมอนวดจะส่งแรงลง

ด้านล่าง (ไปทางปลายเท้า) ส่วนเส้นกาลทารีจะ

ส่งแรงทั้งลงข้างล่างและขึ้นข้างบน (ตามแนวเส้น

ประธานนั้น)และถามผู้ป่วยว่ามีความรู้สึกว่าแล่น

ไปไหนหรือมีความรู้สึกอย่างไร

2.2.2 ตรวจตามแนวเส้นประธาน

สิบที่มีอาการ

การตรวจและวินิจฉัยโรคตามทฤษฎีเส้น

ประธานสิบอีกวิธีหนึ่งคือ การกดบริเวณที่อยู่ใน

แนวเส้นประธานซึ่งมีทั้งการกดตรงตำแหน่งที่ใกล้

หรือห่างจากจุด/บริเวณที่มีอาการ (ไม่กดจุดที่มี

อาการ) เพื่อดูว่าเป็นเส้นประธานสิบเส้นอะไร

และถามผู้ป่วยว่ามีความรู้สึกแล่น/ไม่แล่นอย่างไร

(แต่ถ้าหากกดตรงตำแหน่งที่มีอาการ จะดูว่าเกิด

จากลมหรือเส้น)

การกดจุดใกล้กับตำแหน่งที่มีอาการ เช่น

ผู้ป่วยคนหนึ่งมีอาการปวดที่บ่าและต้นคอ หมอ

ตรวจโดยกดจุดตามแนวสะบัก แต่ห่างจากสะบัก

2นิ้วกดโดยหันนิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้นและถามผู้ป่วย

ว่ามีความรู้สึกแล่นขึ้นถึงคอหรือไม่ (แล่นไปจุดที่

มีปัญหาหรือไม่) เป็นต้น โดยหมอนวดอธิบายว่า

ในกรณีที่มีการติดขัดของลม ผู้ป่วยอาจมีความ

รู้สึกแล่นหรือไม่แล่นก็ได้ แต่หากกดตรงตำแหน่ง

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 30

ที่เจ็บแล้ว ผู้ป่วยมีความรู้สึกว่ามีการแล่นของลม

แสดงว่าลมไม่ผิดปกติ แต่มีการติดขัดตามแนว

เส้นประธาน

การกดจุดไกลจากตำแหน่งที่มีอาการ ใน

กรณีที่กดจุดใกล้กับตำแหน่งที่มีอาการ (แต่อยู่ใน

แนวเส้นเดียวกัน)แล้วผู้ป่วยไม่รู้สึกว่ามีการแล่น

หมอนวดจะกดตรงจุดที่ไกลออกมา โดยไล่จาก

ส่วนปลายเข้ามา คือจากจุดซึ่งอยู่ในแนวเส้นที่

พาดผ่านจุดผิดปกติซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือตรง

อวัยวะที่แตกต่างกันกับจุดที่มีอาการ เช่น กดจุด

ที่สะบักแล้วไม่แล่น หมอจะกดจุดที่ศีรษะว่าแล่น

(ในแนวเส้นอิทา)หรือไม่เป็นต้น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือผู้ป่วยมีอาการปวดบ่า

หมอนวดกดไล่ลงมาที่หลัง หากพบว่ากล้ามเนื้อมี

ลักษณะเป็นไตหรือเป็นก้อน หมอจะกดตรง

ตำแหน่งนั้น แล้วถามผู้ป่วยว่ารู้สึกดีขึ้นหรือไม่

หากผู้ป่วยยังไม่รู้สึกดีขึ้น ก็จะกดจนผู้ป่วยรู้สึกดี

ขึ้น จากนั้นหมอถามว่าอาการที่บ่าดีขึ้นด้วยหรือ

ไม่ ปรากฏว่าผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ตำแหน่งที่กดนี้

หมอนวดไทยบอกว่าเป็น“จุดปัศฆาต”(จุดซึ่งอยู่

ในแนวเดียวกับสะบัก แต่อยู่บริเวณใต้สะบัก)

ทั้งนี้ หมอนวดอธิบายว่า ถ้ากดแล้วผู้ป่วยรู้สึก

เจ็บหรือแล่นบ้างแสดงว่ามีความผิดปกติเล็กน้อย

แต่ถ้ากดแล้วมีความรู้สึกตื้อหรือปวดมาก แสดง

ว่ามีความผิดปกติ

หมายเหตุ

ในการตรวจด้วยทฤษฎีเส้นประธานสิบ

ของหมอนวดไทย พบว่ามีบางอาการที่เมื่อตรวจ

โดยการกดตามแนวเส้นประธานสิบแล้ว ไม่พบว่า

มีความผิดปกติของเส้นประธานสิบ แต่มีความผิด

ปกติในแนวเส้นอื่น เช่น เส้นรัตฆาต เส้น

สันทฆาต เส้นปัศฆาต เป็นต้น เส้นเหล่านี้ถือเป็น

เส้นอื่นๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ เส้นประธานสิบ

คือมีจุดที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นประธานสิบ โดยอยู่ใน

แนวขวางที่พาดผ่านเส้นประธานสิบ

ตารางที่3เส้นประธานสิบที่ติดขัดจากการวินิจฉัยของหมอนวดไทย

เส้นที่ระบุว่ามีการติดขัด จำนวน ร้อยละ

อิทา-ปิงคลา 40 20.0

กาลทารี 38 19

อิทา-ปิงคลา-กาลทารี 31 15.5

อิทา-กาลทารี 11 5.5

อิทา 10 5.0

อิทา-ปิงคลา-สุมนา 8 4.0

อิทา-ปิงคลา-สุมนา-กาลทารี 7 3.5

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 31

จากตาราง พบว่า เส้นประธานสิบที่มีการ

ติดขัดมากที่สุด คือ เส้นอิทา และเส้นปิงคลา

ร้อยละ20รองลงมาคือเส้นกาลทารีร้อยละ19

2.3 การวินิจฉัยตามทฤษฎีธาตุสี่

กล่าวในทางปฏิบัติหมอนวดไทยใช้วิธีการ

เส้นที่ระบุว่ามีการติดขัด จำนวน จำนวน

ปิงคลา-กาลทารี 7 3.5

อิทา-ปิงคลา-กาลทารี-สหัสรังสี-ทวารี 7 3.5

กาลทารี-สหัสรังสี-ทวารี 4 2.0

อิทา-กาลทารี-สหัสรังสี 4 2.0

กาลทารี-สิกขิณี 4 2.0

ปิงคลา 3 1.5

เส้นประธานทั้ง10เส้น 3 1.5

กาลทารี-สหัสรังสี 2 1.5

ปิงคลา-กาลทารี-ทวารี 2 1.0

อิทา-สหัสรังสี 2 1.0

อิทา-ปิงคลา-สุมนา-กาลทารี-สหัสรังสี-ทวารี 2 1.0

อิทา-ทวารี 1 0.5

จันทภูสัง-รุชำ 1 0.5

อิทา-ปิงคลา-สหัสรังสี-ทวารี 1 0.5

อิทา-กาลทารี-สหัสรังสี 1 0.5

อิทา-ปิงคลา-กาลทารี-สุขุมัง 1 0.5

ปิง-สหัสรังสี-ทวารี 1 0.5

อิทา-ปิงคลา-กาล-สิกขิณี 1 0.5

อิทา-ปิงคลา-กาลทารี-สิกขิณี-สุขุมัง 1 0.5

อิทา-ปิงคลา-สิกขิณี 1 0.5

ปิงคลา-สุมนา 1 0.5

วินิจฉัยโรคและอาการโดยใช้ทฤษฎีธาตุสี่เป็นส่วน

น้อย แต่จะใช้การวินิจฉัยด้วยการนวดไทยและ

การวินิจฉัยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาการวินิจฉัย

อาการของผู้ป่วยด้วยทฤษฎีธาตุของหมอนวดไทย

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 32

โดยให้ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยสัมภาษณ์และบันทึก

ข้อมูลการวินิจฉัยอาการด้วยทฤษฎีธาตุของหมอ

นวดไทย พบว่า หมอนวดไทยใช้ หลักสมุฏฐาน

วนิจิฉยัธาตเุจา้เรอืนและความสมัพนัธข์องตรโีทษะ

ในการประเมนิสภาวะโดยรวมของผูป้ว่ย และใหค้ำ

แนะนำเพือ่ปอ้งกนัไมใ่หเ้กดิอาการซำ้ทัง้นีห้มอนวด

แตล่ะคนจะใชห้ลกัการเหลา่นีแ้ตกตา่งกนัตามความ

รูค้วามชำนาญของตน

การศึกษา พบว่า อาสาสมัครมีอายุอยู่ในลักษณะวาตะมากที่สุด ร้อยละ 88.5 ปิตตะ

ร้อยละ11.5

ลักษณะ

เสมหะ ปิตตะ วาตะจำนวนทั้งหมด

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

เจ้าเรือน 49 19.6 122 48.8 79 31.6 250

ตารางที่4การจำแนกตรีโทษะตามเจ้าเรือนของอาสาสมัคร

ลักษณะ

เสมหะ ปิตตะ วาตะจำนวนทั้งหมด

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

ฤดูกาล 29 15.68 1 0.54 155 83.78 185

ตารางที่5การจำแนกตรีโทษะตามฤดูกาล

การศึกษา พบว่าอาสาสมัครมีเจ้าเรือนแตกต่างกัน โดยบางคนที่มีลักษณะเจ้าเรือนมากกว่า 1

ตรีโทษะจึงทำให้มีเจ้าเรือนปิตตะมากที่สุดจำนวน122ร้อยละ48.8เจ้าเรือนวาตะจำนวน79ร้อย

ละ31.6เจ้าเรือนเสมหะจำนวน49ร้อยละ19.6

การศึกษา พบว่าอาสาสมัครมีอาการในฤดูที่เป็นวาตะมากที่สุดร้อยละ 83.78 เสมหะร้อยละ

15.68ปิตตะร้อยละ0.54โดยอาสาสมัครบางคนจะมีอาการในหลายช่วงฤดู

ลักษณะ

เสมหะ ปิตตะ วาตะจำนวนทั้งหมด

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

อายุ 0 0 23 11.5 177 88.5 200

ตารางที่6การจำแนกตรีโทษะตามอายุของอาสาสมัคร

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 33

การศึกษาพบว่าเวลาที่อาสาสมัครมีอาการอยู่ในลักษณะวาตะร้อยละ39.49เสมหะร้อยละ

33.70ปิตตะร้อยละ74

ลักษณะ

เสมหะ ปิตตะ วาตะจำนวนทั้งหมด

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

เวลา 93 33.70 74 26.81 109 39.49 276

ตารางที่7การจำแนกตรีโทษะตามช่วงเวลาของการเจ็บป่วย

ลักษณะ

เสมหะ ปิตตะ วาตะจำนวนทั้งหมด

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

อาหาร 78 32.91 115 48.52 44 18.57 237

ตารางที่8การจำแนกตรีโทษะตามรสชาติของอาหารที่อาสาสมัครชอบรับประทาน

การศึกษาพบว่าอาสาสมัครมีลักษณะการรับประทานอาหารปิตตะร้อยละ48.52เสมหะร้อย

ละ32.91วาตะร้อยละ18.57

ลักษณะ

เสมหะ ปิตตะ วาตะจำนวนทั้งหมด

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

พฤติกรรม 44 18.41 47 19.67 148 61.92 239

ตารางที่9การจำแนกตรีโทษะตามพฤติกรรมของอาสาสมัคร

การศึกษาพบว่า อาสาสมัครมีลักษณะพฤติกรรมเป็น วาตะ ร้อยละ 61.92 ปิตตะ ร้อยละ

19.67เสมหะร้อยละ18.41

ในส่วนของการวินิจฉัยอาการตามทฤษฎีธาตุของหมอนวดไทย6 คนพบว่าส่วนใหญ่หมอนวด

จะระบุอาการของผู้ป่วยว่าสัมพันธ์กับธาตุที่ผิดปกติคือธาตุดิน(ปถวี)ธาตุลม(วาโย)และธาตุน้ำ(อา

โป)กล่าวคือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหมอนวดจะวินิจฉัยว่าสัมพันธ์กับธาตุลม(วาโย)กำเริบถ้ามี

อาการตึงหรือแข็งเกร็ง แสดงว่าธาตุดิน (ปถวี) กำเริบ และหากอาการนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเลือดไป

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 34

เลี้ยงบริเวณนั้นไม่พอ แสดงว่ามีความผิดปกติ

เกี่ยวกับธาตุน้ำ(อาโป)ตัวอย่างเช่นดินคือกล้าม

เนื้อ (มังสัง) แข็งเกร็งทำให้ลมและเลือดเดิน มิ

สะดวก จึงเกิดอาการปวดขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการ

ปวดเข่าและขา หมอวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อ (ดิน)

แข็งเกร็ง ร่วมกับมีอาการปวด คือ ลม (อัง

คมังคานุสารีวาตา)กำเริบเป็นต้น

การศึกษา พบว่า ธาตุที่มีความผิดปกติ

มากที่สุดคือ ธาตุดิน ร้อยละ 49.5 รองลงมาคือ

ธาตุลมร้อยละ29.5ธาตุน้ำร้อยละ16.0ธาตุ

ไฟร้อยละ4.0ตามลำดับ

ส่วนที่3การรักษา

จากการสังเกตการรักษาของหมอนวดไทย

6 คน พบว่ามีวิธีการรักษาเฉพาะตนแตกต่างกัน

ไปสรุปได้ดังนี้

1. การรักษาโดยเน้นการเปิดประตูลม ที่

ขา แขน หัวไหล่ เพื่อช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก

(การไหลเวียนดีขึ้น) แล้วจึงรักษาตามอาการของ

ผู้ป่วย ด้วยการกดจุดหรือกดจุดตามแนวเส้น

ประธานสิบที่วินิจฉัยว่าเกิดความผิดปกติ (ติดขัด)

โดยนวดไม่เกิน 3 รอบ ซึ่งจะทำการประเมิน

อาการหลังจากนวดเสร็จแต่ละรอบ

2. การรักษาตามอาการ ด้วยการกดจุด

หรือกดจุดตามแนวเส้นที่ผิดปกติ โดยเน้นที่จุด

สันทคาต จุดปัศฆาตและจุดรัตฆาต ซึ่งจะมีการ

ประเมินอาการหลังจากนวดแต่ละครั้ง

3. การรักษาโดยใช้วิธีอื่นๆ ร่วมด้วย

ได้แก่ การประคบ การอบสมุนไพร หรือนวด

น้ำมัน ก่อนที่จะทำการนวด เพื่อคลายกล้าม

เนื้อที่มีความตึงเกร็งมาก นอกจากนี้ หมอนวด

บางท่านมีการสั่งยาสมุนไพรให้ผู้ป่วยด้วย

4. การรักษาโดยเน้นการนวดตามหลัก

การนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (เฉพาะส่วน) ซึ่ง

หมอนวดบางท่านเชื่อมั่นว่าเป็นการนวดตามแนว

ลักษณะ จำนวน ร้อยละ

ธาตุ4ที่ผิดปกติ

ธาตุดิน

ธาตุน้ำ

ธาตุลม

ธาตุไฟ

มากกว่า1ธาตุ

99

32

59

8

2

49.5

16.0

29.5

4.0

1.0

รวม 200 100

ตารางที่10จำนวนอาสาสมัครที่มีความผิดปกติของธาตุสี่ตามการวินิจฉัยของหมอนวดไทย

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 35

เส้นประธานสิบ และเสริมด้วยการนวดบำบัด

อาการที่เจ็บป่วย โดยจะมี การประเมินอาการ

หลังการรักษาทุกครั้ง

5. การรักษาด้วยวิธีการดัด ดึง เมื่อดัด

ดึงแล้วจึงให้ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยนวดตามแนว

เส้น โดยหมอจะเป็นผู้บอกแนว และมีการ

ประเมินหลังการรักษาทุกครั้ง หากอาการของผู้

ป่วยไม่ดีขึ้นก็จะรักษาซ้ำนอกจากนี้ในการรักษา

ด้วยการกดจุดหรือกดจุดตามเส้นที่ผิดปกติ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง หมอนวดจะให้ความ

ใส่ใจเป็นพิเศษ โดยการสอบถามอย่างละเอียด

เกี่ยวกับเรื่องของเพศหญิง เพื่อที่จะสามารถ

ให้การรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น

การรักษา จำนวน ร้อยละ

ยาที่ใช้ในการรักษาชนิดยาภายนอก ใช้ ครีมไพลขี้ผึ้ง ลูกประคบ ไม่ใช้

21

197

1.00.598.5

การประคบ ประคบ ไม่ประคบ

29171

14.585.5

การอบ อบ ไม่อบ

4

196

3.596.5

การใช้ยาสมุนไพรชนิดรับประทาน ใช้ ไม่ใช้

7

193

3.5

96.5

ตารางที่11การรักษาโรค/อาการตามวิธีของหมอนวดไทย

การศึกษา พบว่า ใช้การนวดไทยในการรักษาเพียงวิธีเดียวร้อยละ 98.5 และใช้ยาภายนอกใน

การรักษาร่วมด้วยร้อยละ1.5ใช้การประคบร่วมด้วยร้อยละ14.5ใช้การอบร่วมด้วยร้อยละ2.0ใช้

การรับประทานยาสมุนไพรร่วมด้วยร้อยละ3.5

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 36

ผลการรักษา จำนวน ร้อยละ

ระดับความพึงพอใจ

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

13

117

70

6.5

58.5

35.0

รวม 200 100

ตารางที่12ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับการรักษาจากหมอนวดไทย

ผลการรักษาพบว่าความพึงพอใจของอาสาสมัครส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากร้อยละ58.5รองลง

มาอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ35.0ในส่วนของระดับความเจ็บปวดหลังเข้ารับการรักษาลดลงอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)โดยอาสาสมัครทั้ง200คนมีระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังเข้ารับ

การรักษาเป็น5.05และ1.515ตามลำดับ

แผนภาพที่1การเปรียบเทียบระดับระดับความเจ็บปวด(painscale)ก่อนและหลังการนวด

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 37

ระยะการนวดระดับความ

เจ็บปวด(เฉลี่ย)

จำนวนอาสา

สมัคร

ค่าเบี่ยงเบน

มาตรฐานCorrelation P

ก่อนการรักษา 5.050 200 1.561 0.427 <0.05

หลังการรักษา 1.515 200 1.279

ตารางที่13การเปรียบเทียบระดับระดับความเจ็บปวด(painscale)ก่อนและหลังการนวด

การศึกษาพบว่า ระดับความเจ็บปวดหลังเข้ารับการรักษาลดลง โดยอาการปวดลดลงมากกว่า

ร้อยละ80จำนวน70คนรองลงมาอาการปวดลดลงร้อยละ60-80จำนวน67คน

การศึกษาพบว่าอาสาสมัครทั้ง200คน

มีระดับความเจ็บปวดก่อน และหลังเข้ารับการ

รักษาเฉลี่ยเป็น5.05และ1.515ตามลำดับ

ส่วนที่4การเปรียบเทียบการวินิจฉัยอาการ/โรค

ของหมอนวดไทยกับแพทย์แผนปัจจุบัน

จากการเปรียบเทียบการวินิจฉัยอาการ/

โรคของหมอนวดไทยกับแพทย์แผนปัจจุบันใน

กลุ่มอาการทั้ง 12 กลุ่มของอาสาสมัคร พบว่า

แพทย์แผนปัจจุบันวินิจฉัยอาการ/โรคใน 2

ลักษณะ กล่าวคือ ในกรณีที่อาการนั้น สามารถ

วินิจฉัยโดยระบุชื่อโรคได้ แพทย์แผนปัจจุบันจะ

วินิจฉัยโดยระบุชื่อโรค เช่น tendonitis,

osteoarthritis เป็นต้น แต่หากอาการนั้นเป็น

อาการที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยโดยระบุชื่อโรคได้

แพทย์แผนปัจจุบันจะวินิจฉัยโดยระบุเป็นอาการ

เช่นmyalgia, fibromyalgia, cervical pain,

kneepainเป็นต้น

ส่วนการวินิจฉัยอาการ/โรคของหมอนวด

ไทย จะวินิจฉัยโดยระบุอาการ/โรคในหลาย

ลักษณะ กล่าวคือ วินิจฉัยโดยระบุอาการแสดง

ร่วมกับตำแหน่งที่มีอาการเช่นปวดบ่าปวดหลัง

ปวดเอวปวดศีรษะเป็นต้นในขณะที่บางอาการ

หมอนวดไทยวินิจฉัยโดยระบุชื่ออาการหรือโรค

ตามคัมภีร์ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับลม เช่น ลม

ปะกังลมจับโปงลมดูดสะบักเป็นต้นนอกจากนี้

หมอนวดไทยบางคนวินิจฉัยอาการ/โรคโดย

สัมพันธ์กับธาตุสี่ เช่น นหารูพิการ อัฏฐิพิการ

ปถวีธาตุพิการเป็นต้น

ข้อสังเกตและวิจารณ์1. ความสัมพันธ์ระหว่างอาการของอาสาสมัคร

กับสาเหตุและปัจจัยของการเจ็บป่วย

จากการศึกษาอาสาสมัคร 200 คนที่เข้า

ร่วมโครงการซึ่งมีอาการเจ็บป่วยตามกลุ่มอาการ

12กลุ่มจำแนกตามวัยพบว่าอยู่ในปัจฉิมวัย(32

- 70 ปี) ถึงร้อยละ 89.0 ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่ง

อาจเพราะปัจฉิมวัย (ตามการแบ่งช่วงอายุของ

การแพทย์แผนไทย) ครอบคลุมช่วงอายุมากกว่า

อีกสองกลุ่มคือปฐมวัย (แรกเกิด -16ปี)และ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 38

มัชฌิมวัย(16–32ปี)ครอบคลุมช่วงอายุ16ปี

ในขณะที่ปัจฉิมวัยครอบคลุมช่วงอายุ48ปี4

นอกจากนี้ ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

ปัจฉิมวัยเป็นช่วงอายุของวาตะ4 ซึ่งจะมีโอกาส

เจ็บป่วยเนื่องจากธาตุลมหรือวาตะกำเริบได้ง่าย

จึงเป็นไปได้ที่อาสาสมัครส่วนใหญ่ (ซึ่งอยู่ในวัยนี้)

มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วน

ใหญ่ อีกทั้งอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ

เองก็เป็นอาการที่สัมพันธ์กับการกำเริบของธาตุ

ลมด้วย

ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาชีพ มีส่วนสัมพันธ์กับ

อาการเจ็บป่วยของอาสาสมัครเช่นกัน กล่าวคือ

อาสาสมัครร้อยละ67.5 ระบุว่าประกอบอาชีพที่

ต้องใช้แรงงานมาก ร้อยละ 28.0 ใช้แรงงานปาน

กลางซึ่งอาจอธิบายได้ว่าการใช้แรงงานมากและ

ปานกลางเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวด

ของกล้ามเนื้อและกระดูก

อย่างไรก็ตาม การกำหนดเกณฑ์ในการใช้

แรงงานมาก แรงงานปานกลาง หรือใช้แรงงาน

น้อย1 ยังมีความจำกัดอยู่มาก คือไม่มีการระบุตัว

ชี้วัดในการใช้แรงงานที่ชัดเจน ทำให้การให้ข้อมูล

ของอาสาสมัครอาจมีความคลาดเคลื่อนได้

เนื่องจากอาสาสมัครอาจมีเกณฑ์ในการบอกว่าใช้

แรงงานมากปานกลางหรือน้อยแตกต่างกันใน

ส่วนของมูลเหตุของการเกิดโรค 8 ประการ5 พบ

ว่าเกิดจากอิริยาบถร้อยละ 85.5 และทำงานเกิน

กำลังร้อยละ 68.0 ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า

อิริยาบถและการทำงานเกินกำลังเป็นสาเหตุของ

อาการปวดของอาสาสมัคร

สำหรับกลุ่มอาการป่วยของอาสาสมัคร

ส่วนใหญ่มีอาการปวดบริเวณคอและบ่า ร้อยละ

20.5และปวดหลังร้อยละ23.5รวมเป็นร้อยละ

44ซึ่งเป็นทางเดินของเส้นอิทาปิงคลาและกาล

ทารี สอดคล้องกับการวินิจฉัยของหมอนวดไทยที่

วินิจฉัยว่ามีการติดขัดของเส้นอิทามากที่สุด 122

คนเส้นกาลทารี 113คนและเส้นปิงคลา107

คน เส้นประธานทั้ง 3 เส้นจึงเป็นเส้นที่มีความ

สำคัญและเป็นสาเหตุหลักของอาการปวด การ

ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมของเส้นประธานทั้งสามและจุด

ที่เกี่ยวข้องในการรักษาโรคต่างๆ ตามแผนนวด

ไทยในคัมภีร์1เดิมที่มีอยู่จึงมีความสำคัญสูง

2. การตรวจ วินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยตาม

ทฤษฎีเส้นประธานสิบและทฤษฎีธาตุของหมอ

นวดไทย

จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าหมอนวดไทย

มีการใช้องค์ความรู้ในส่วนของเส้นประธานสิบใน

การตรวจ วินิจฉัยรวมทั้งการรักษา โดยหลังจาก

ซักประวัติในเบื้องต้นแล้ว หมอนวดจะทำการ

ตรวจอาการของผู้ป่วยและตำแหน่งที่เป็น เพื่อดู

ว่าสัมพันธ์กับเส้นประธานใด ก่อนจะวินิจฉัยว่า

อาการของอาสาสมัครเกี่ยวข้องกับ การติดขัด

ของเส้นประธานใด ถ้าอาการปวดมีหลาย

ตำแหน่งก็จะสัมพันธ์กับหลายเส้น เส้นประธานที่

มีการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติมากที่สุด แนวเส้น

อิทาและปิงคลาเป็นแนวกลางด้านหลังศีรษะคอ

และหลังด้านซ้ายขวา ซึ่งอาการปวด ส่วนใหญ่

ของอาสาสมัครจะเป็นการปวดศีรษะ คอ หลัง

ส่วนเส้นกาลทารีเป็นแนวเส้นด้านหน้าของร่าง

กายไปยังแขนขาซ้ายขวา และยังมีจุดด้านหลังที่

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 39

ตรงกับแนวเส้นด้านหน้า จึงทำให้ครอบคลุมส่วน

ต่างๆ ของร่างกายมาก6 ดังนั้น เส้นอิทา ปิงคลา

และกาลทารี เป็นเส้นที่มีความสำคัญสำหรับหมอ

นวดไทยที่จะต้องรู้จักแนวและวิธีการนวดเป็น

อย่างดี

แต่หากตรวจแล้วไม่พบว่ามีการติดขัดของ

เส้นประธานใด หมอนวดจะวินิจฉัยว่าเกิดจาก

ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินของลม

หลังจากตรวจและวินิจฉัยอาการของผู้

ป่วยโดยสัมพันธ์กับเส้นประธานหรือทางเดินของ

ลมแล้ว หมอนวดไทยจะทำการรักษาด้วยการ

นวดรวมทั้งการใช้วิธีการอื่นๆร่วมด้วยเช่นการ

ประคบการอบสมุนไพร1และการนวดน้ำมัน

จากการสังเกตการตรวจวินิจฉัยและการ

รักษาของหมอนวดไทยทั้ง 6 คน กล่าวได้ว่ามี

แบบแผนที่คล้ายคลึงกันกล่าวคือหมอนวดจะใช้

ข้อมูลจากการซักประวัติเป็นหลักในเบื้องต้นร่วม

กับการสังเกตท่าทาง สีหน้า และแววตาของผู้

ป่วย ประกอบการตรวจร่างกายด้วยการดู ฟัง

เคาะ คลำ อย่างไรก็ตาม หมอนวดไทยบางคน

อาจมีเทคนิคพิเศษที่ต่างจากคนอื่น เช่น การจับ

ชีพจรการดูลิ้น

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ หมอนวด

ไทยทั้งหกคนใช้การนวดในการวินิจฉัย และการ

รักษา รวมทั้งการประเมินความรุนแรงของโรค

ด้วยจึงอาจกล่าวได้ว่าการวินิจฉัยและการรักษา

ของหมอนวดไทยไม่สามารถแยกขาดออกจากกัน

ได้เช่นเดียวกับแพทย์แผนปัจจุบัน

ในส่วนของการตรวจเส้นประธานสิบซึ่ง

เป็นสาระสำคัญของการวิจัยชิ้นนี้นั้น พบว่าส่วน

ใหญ่ หมอนวดไทยมักไม่นิยมกดจุดเพื่อดูการ

แล่นของความรู้สึกบนเส้นประธานสิบที่พาดผ่าน

จุดที่มีอาการ สังเกตได้จากในช่วงแรกของการ

วิจัย เมื่อมีการซักประวัติการเจ็บป่วยและตรวจ

ร่างกายแล้ว หมอนวดไทยสามารถบอกเส้น

ประธานสิบที่มีการติดขัดได้ทันทีโดยไม่จำเป็น

ต้องกดจุดใดๆ โดยให้เหตุผลว่ารู้อยู่แล้วว่าอาการ

ที่ผิดปกติอยู่บนหรือสัมพันธ์กับเส้นประธานใด

จึงไม่จำเป็นต้องกดให้เสียเวลา หมอนวดบางคน

อธิบายว่ากรณีนี้อาจเปรียบได้กับการคิดเลขตอน

ที่ยังคิดเลขไม่เป็นก็ต้องคิดในกระดาษ แต่เมื่อมี

ความชำนาญมากก็สามารถคิดในใจได้ คณะผู้

วิจัยจึงทำความเข้าใจกับหมอนวดไทยว่า ในการ

ศึกษาต้องการศึกษากระบวนการตรวจวินิจฉัย

ด้วยเส้นประธานสิบ หมอนวดไทยจึงยินดีตรวจ

เส้นประธานสิบให้แก่อาสาสมัคร

สำหรับการตรวจและวินิจฉัยโดยใช้ทฤษฎี

ธาตุนั้น หมอนวดไทยมีการใช้ทฤษฎีธาตุค่อนข้าง

น้อย ซึ่งคณะผู้วิจัยตระหนักในเรื่องนี้ จึงมีการ

พัฒนาแบบบันทึกข้อมูลซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีธาตุ

ในการแพทย์แผนไทยในประเด็น เกี่ ยวกับ

สมุฏฐานวินิจฉัย1,5 ดังตารางที่ปรากฏในผลการ

ศึกษา

โดยในการศึกษาเกี่ยวกับสมุฏฐาน พบว่า

อาการของอาสาสมัครเกี่ยวข้องกับปัจจัยของ

วาตะเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นเพราะอาสาสมัครส่วน

ใหญ่อยู่ในปัจฉิมวัย ระยะเวลาของการศึกษาวิจัย

อยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่วาตะกำเริบได้ง่าย

อาสาสมัครส่วนใหญ่มีอาชีพใช้แรงงาน ซึ่งเป็น

ปัจจัยที่ทำให้วาตะกำเริบ จนทำให้เกิดอาการ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 40

ปวดตามร่างกายได้อีกทั้งอิริยาบถและพฤติกรรม

ที่ใช้กำลังมากก็เป็นปัจจัยให้เกิดอาการปวดได้

เช่นกัน ซึ่งตรงกับมูลเหตุ 8 ประการของการเกิด

โรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย

ส่วนการวินิจฉัยอาการของอาสาสมัครโดย

ใช้ทฤษฎีธาตุของหมอนวด พบว่าหมอนวด

วินิจฉัยว่าเกิดจากความผิดปกติของธาตุดินพิการ

ธาตุน้ำกำเริบและธาตุลมกำเริบซึ่งอาจเป็นไปได้

ว่าอาการของอาสาสมัครเป็นอาการปวดตาม

กล้ามเนื้อและข้อต่อ ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับทฤษฎี

ธาตุแล้ว จะตรงกับธาตุลมกำเริบ (จากอาการ

ปวด) ธาตุน้ำ (การไหลเวียนของเลือด) และธาตุ

ดิน (เนื่องจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ถือว่าเป็นส่วน

ประกอบของธาตุดิน)

3.ผลการรักษา

จากการศึกษาพบว่า หลังจากอาสาสมัคร

ได้รับการรักษาจากหมอนวดไทยแล้ว มีการ

เคลื่อนไหวดีขึ้น 199 คน และอาสาสมัคร มี

ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด ร้อยละ 35 มาก

ร้อยละ 58.5 ปานกลาง ร้อยละ 6.5 ไม่มีระดับ

ความพึงพอใจน้อยและน้อยที่สุด อีกทั้งอาการ

ปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากเข้ารับ การ

รักษา

ผลดังกล่าวแสดงว่า การนวดไทยมี

ประสิทธิผลในการรักษาการเจ็บปวดได้มากและ

เห็นผลในเวลารวดเร็ว อย่างไรก็ตาม คงไม่อาจ

สรุปได้ว่าการนวดไทยมีประสิทธิผลดีกว่าการ

รักษาวิธีอื่นๆ เพราะการวิจัยนี้ไม่ได้ทำการศึกษา

เปรียบเทียบ

4. การเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคและอาการ

ของหมอนวดไทยเทียบกับแพทย์แผนปัจจุบัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า แพทย์แผนปัจจุบัน

วินิจฉัยอาการ/โรคใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ ใน

กรณีที่อาการนั้นสามารถวินิจฉัยโดยระบุชื่อโรค

ได้ แพทย์แผนปัจจุบันจะวินิจฉัยโดยระบุชื่อ

อาการหรือโรคเช่นtendonitis,osteoarthritis

เป็นต้น แต่หากอาการนั้นเป็นอาการที่ยังไม่

สามารถวินิจฉัยโดยระบุชื่อโรคได้ แพทย์แผน

ปัจจุบันจะวินิจฉัยโดยระบุเป็นอาการ เช่น

myalgia, fibromyalgig, cervicalpain, knee

painเป็นต้น

ส่วนการวินิจฉัยอาการ/โรคของหมอนวด

ไทย จะวินิจฉัยโดยระบุอาการ/โรคในหลาย

ลักษณะ กล่าวคือวินิจฉัยโดยระบุอาการแสดง

ร่วมกับตำแหน่งที่มีอาการเช่นปวดบ่าปวดหลัง

ปวดเอวปวดศีรษะเป็นต้นในขณะที่บางอาการ

หมอนวดไทยวินิจฉัยโดยระบุชื่ออาการหรือโรค

ตามคัมภีร์ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับลม เช่น ลม

ปะกังลมจับโปงลมดูดสะบักเป็นต้นนอกจากนี้

หมอนวดไทยบางคนวินิจฉัยอาการ/โรคโดย

สัมพันธ์กับธาตุสี่ เช่น นหารูพิการ อัฏฐิพิการ

ปถวีธาตุพิการเป็นต้น4,5

สรุป จากการศึกษาพบว่า หมอนวดไทยมีการ

ใช้กระบวนการตรวจและวินิจฉัย อาการของ

อาสาสมัครโดยใช้ทฤษฎีเส้นประธานสิบและ

ทฤษฎีธาตุ โดยจะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย

เบื้องต้น และตรวจตำแหน่งของร่างกายที่มี

อาการ และวินิจฉัยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบ

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 41

หรือทฤษฎีธาตุแล้วแต่กรณี จากนั้นจึงทำการ

รักษาด้วยการนวดร่วมกับการใช้วิธีอื่นๆเช่นการ

ประคบอบสมุนไพร

ทั้งนี้ในการรักษาด้วยการนวด หมอนวด

ไทยจะนวดโดยอาศัยการกดจุด7ทั้งตรงตำแหน่ง

ที่มีอาการหรือจุดที่ใกล้เคียง และกดจุดตามแนว

เส้นประธานที่พบว่ามีความผิดปกติ โดยจะมีการ

ประเมินอาการของอาสาสมัครหลังจากทำการ

นวดแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังมีการให้คำแนะนำ

เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวแก่อาสาสมัครเพื่อป้องกัน

การเกิดอาการซ้ำ

ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าหมอนวดไทยมี

หลักการในการตรวจการวินิจฉัยและการรักษา

ที่เป็นแบบแผนที่ชัดเจนซึ่งในอนาคตควรมีการ

ถอดองค์ความรู้ของหมอนวดไทยในการรักษา

โรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่ เป็นปัญหา

สาธารณสุข เพื่อนำมาผสมผสานกับการรักษา

ในแผนปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพ

ชีวิตของผู้ป่วย ลดการใช้ยาจากต่างประเทศ

และธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของประเทศชาติต่อไป

กิตติกรรมประกาศ โครงการพัฒนาผู้พิการทางสายตาให้เป็นผู้

ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย

ประเภทการนวดไทย(หมอนวดไทย)ภายใต้การ

สนับสนุนทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ

สร้างเสริมสุขภาพได้ให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย

ครั้งนี้. หมอหมอนวดไทยทั้ง 6 ท่าน คือ หมอ

ถวิล อภัยนิคม หมอบุญทำ กิจนิยม หมอพิศิษฐ

เบญจมงคลวารี หมอประทิน ทรัพย์บุญมี

หมอกรกมล เอี่ยมธนะมาศ และหมอสนิท

วงษกะวัน. ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยทั้ง 5ท่านของ

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คือ นายนุกูล

บุตรศรี นางสาวไทรงาม รสแก่น นางสาวจิราพร

นุตศิริ นางวรลักษณ์ สวยขุนทด และ นางวิมล

สขุประเสรฐิ.ผศ.สำลีใจด,ีนพ.ประพจน์เภตรากาศ,

นพ.วิชาญ เกิดวิชัย, ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร

ที่ ได้ให้คำปรึกษา ให้แนวคิด. โรงพยาบาล

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร มูลนิธิโรงพยาบาล

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร วิทยาลัยการแพทย์แผน

ไทยอภัยภูเบศรให้ความช่วยเหลือด้านที่พัก และ

ยานพาหนะในระหว่างเก็บข้อมูล.

เอกสารอ้างอิง1.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก (บรรณาธิการ). ตำราการนวดไทยเล่ม 1.

พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา

:2552.

2. มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. คู่มือครูหมอนวดไทย เล่มที่

1. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา

:2553

3. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 39 ก วันที่ 18

พฤษภาคม 2542, พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ

พ.ศ.2542:2542.

4. นายสร้อยจั๊ว แซ่เดียว. ตำราแพทย์แผนโบราณ.กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์วัฒนาพานิช:2500.

5. กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุน

บริการสุขภาพ;2549

6. ยงศักดิ์ ตันติปิฎก (บรรณาธิการ). สัมมนานวดไทย. รายงาน

การสัมมนาวิชาการนวดไทยครั้งที่ 1.เส้นประธานสิบ;

11- 13 กุมภาพันธ์ 2553; ณ ศูนย์คณะพระมหาไถ่

เมืองพัทยา จ.ชลบุรี.กรุงเทพฯ. โครงการฟื้นฟูการนวดไทย

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและคณะ;2538.

7. โครงการฟื้นฟูการนวดไทย. คู่มือการนวดไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7.

กรุงเทพฯ:หมอชาวบ้าน:2551.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 42

Abstract

Study on the examination, diagnosis and treatment based on the theories of 10 main energy lines (sen prathan sib) and elements (tard) of Thai massage therapists Makorn Limudomporn*, Pakakrong Kwankhao*, Boontam Kitniyom**, Yongsak Tantipidok***, Pinit Chinsoi****Kanchana Buadok*, Jiraporn Yovatit*****, Kunanit Hongtrong*****, Pawatsara Kampheratham*, Sudarat Suwanpong** * Chaophraya Abhaibhubejhr Hospital, Mueang district, Prachin Buri province ** Association of Thai Massage, Nonthaburi province *** Academician, Yan Nawa district, Bangkok ****Wangnamyen Hospital, Wang Nam Yen district, Sa Kaeo province *****Abhaibhubejhr Thai Traditional Medicine College Praboromarajchanok Institute of Health Workforce Development, Mueang district, Prachin Buri province ****** Health and Development Foundation (HDF), Bangkok Yai district, Bangkok The objectives of this study were to observe the procedures of examination, diagnosis and treatment based on the 10 main energy lines (sen prathan sib) theory and the element (tard) theory of Thai traditional massage pratised by Thai massage therapists and to compare the diagnosis performed by Thai massage therapists with that performed by modern medical doctors. The study was carried out on 200 volunteers selected according to 12 groups of symptoms from outpatients at Abhaibhubejhr Hospital with the help of the assistants of Thai massage therapists in screening and documenting the initial case history before referring to the modern doctor for the examination and diagnosis; after that the volunteers were sent to six Thai massage therapists for examination, diagnosis, treatment and evaluation of the treatment. The study showed that Thai massage therapists had two different techniques of examination related to the 10 main energy lines: one was pressing on the origin of the 10 main energy lines and the other was pressing on the affected area to determine whether the affected area was related to which main energy line. Whereas the diagnosis based on the theory of elements showed that most of the volunteers (49.5%) were diagnosed with the vitiation of earth element (tard din pikarn) and 29.5% with the vitiation of wind element (tard lom pikarn). By comparison, Thai massage therapists diagnosed the volunteers according to the symptoms and the areas with the presenting symptoms whereas modern medical doctors diagnosed according to the cause of illness or sometime according to the symptoms. Regarding the treatment, Thai massage therapists treated the volunteers by pressing on the points on the affected main energy lines, but each therapist had a different technique for the massage. Apart from Thai massage, other supplementary techniques were also used such as fomentation with herbal poultice (14.5%). Some doctors also advised the volunteers about the regimen to be followed. Keywords: 10 main energy lines (sen prathan sib), theory of element (tard), Thai massage therapist

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

43

นิพนธ์ต้นฉบับ

ประภา พิทักษา* ปัณสุข สาลิตุล*

คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง(QuasiExperimentalResearch)มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพ

ชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งต่อสู่ชุมชนจำนวน676คนและศึกษาผลของคุณภาพชีวิตหลังได้รับการส่งเสริมสุข

ภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย รูปแบบการศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 385คนกลุ่มควบคุม 291คน โดย

กลุ่มทดลองจะได้รับการสอนโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย 2ครั้งห่างกัน 2

เดือนส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามทั่วไป และ แบบวัดคุณภาพชีวิตชุดย่อของ

องค์การอนามัยโลกWHOQOL-BREF (WHO,2004) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ,Paired-SamplesT-test และ

Independent–SamplesT-test

ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกส่งต่อสู่ชุมชนมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางทั้ง

ก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และพบว่าภายหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์

แผนไทยกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตโดยรวมคุณภาพชีวิตด้านจิตใจคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่ง

แวดล้อมดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

การศึกษาครั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย

เป็นเครื่องมือที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างชัดเจนเนื่องจากคุณภาพชีวิตที่วัดได้อยู่ในระดับ

ปานกลางทั้งก่อนและหลังทดลองแต่มีความเหมาะสมต่อการดูแลด้านจิตใจและการสร้างสัมพันธภาพทางสังคมสามารถ

เป็นทางเลือกหนึ่งในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน

คำสำคัญ:ผู้ป่วยเบาหวาน,คุณภาพชีวิต,การแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย

ภูมิหลังและเหตุผล การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบัน

เป็นการรักษาโดยการใช้ยาเป็นส่วนใหญ่ โรง

พยาบาลกันทรลักษ์มีการส่งเสริมสุขภาพโดยการ

ให้คำแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกายโดย

ทั่วไป และกายบริหารท่าฤๅ ษีดัดตนพื้นฐาน 15

ท่า ซึ่งพบว่ามีความเหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน

(ปัณสุข สาลิตุล, 2552) แต่ยังไม่มีการศึกษา

อย่างเป็นระบบว่าคำแนะนำดังกล่าวมีผลอย่างไร

หากนำมาใช้ในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพรวม

ถึงศาสตร์การแพทย์แผนไทยด้านอื่นๆ ดังนั้นผู้

วิจัยจึงได้ทดลองนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์

แผนไทยมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบา

หวานในเขตอำเภอกันทรลักษ์ที่ควบคุมระดับ

*โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 44

น้ำตาลได้และส่งต่อสู่ชุมชนในระหว่าง วันที่ 1

เมษายน – 31 กันยายน พ.ศ.2553 เพื่อศึกษา

คุณภาพชีวิตก่อนและหลังได้รับการสอนแนะนำ

ด้วยโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์

แผนไทยชุดหลักธรรมานามัยที่ดัดแปลงขึ้นใหม่

โดยคาดหวังว่าจะได้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ

ด้วยการแพทย์แผนไทยที่ เหมาะสมสามารถ

กำหนดเป็นนโยบายนำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็น

รูปธรรม

นิยามศัพท์

ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับ

การวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน มี

ระยะเวลาป่วยเป็นโรคเบาหวานมาไม่น้อยกว่า 1

ปี เดิมรักษาที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาล

กันทรลักษ์จนควบคุมได้(FBS<150Mg%,B.P

<=140/90mmHg และไม่มีโรคแทรกซ้อน) จึง

ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลกันทรลักษ์กลับสู่

ชุมชนเพื่อมารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้

บ้านแทน

คุณภาพชีวิตหมายถึงระดับของการรับรู้

ความรู้สึกของการมีชีวิตที่ดี มีความสุขและความ

พึงพอใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยรับรู้ด้วยตนเอง

ในด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพ

ทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ภายใต้ค่านิยม

วัฒนธรรมและเป้าหมายในชีวิตของแต่ละบุคคล

การแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย

เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟู

สภาพให้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประกอบด้วย

หลักปฏิบัติ 3 ด้าน คือ ด้านกายานามัย ด้าน

จิตตานามัยและด้านชีวิตานามัย

กายานามัย

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ

5หมู่ ,รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเช่นปลา

ผักพื้นบ้าน ไม่รับประทานอาหารรสเผ็ด อาหาร

หมักดอง,ลดอาหารหวานอาหารเค็ม

• ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวัน

เว้นวัน ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที ให้หัวใจเต้น

เร็วไม่น้อยกว่า 80ครั้งต่อนาที ด้วยกายบริหาร

ท่าฤๅ ษีดัดตนแบบกันทรลักษ์

• ไม่ทำงานหนักเกินกำลัง ไม่มีกิจกรรม

ทางเพศมากเกินไป

• หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรค

ทำให้ร่างกายเสียสมดุลและเสื่อมโทรม

จิตตานามัย

• ทำจิตใจให้ร่าเริงไม่เครียด

• รู้จักระงับอารมณ์ ไม่โกรธหรือเสียใจ

มากเกินไป

• ฝึกสมาธิ สวดมนต์ภาวนาคาถาชิน

บัญชร เดินจงกรม สงบจิตใจ วันละ 15 นาที

แนะนำให้เดินบนพื้นกรวดกลมเพื่อนวดเท้าทุกวัน

ชีวิตานามัย

• รักษาศีล5ประกอบอาชีพสุจริต

• พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดน้ำ ไม่อด

อาหารไม่อดนอน

• อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก อากาศ

ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป

• รักษาสิ่งแวดล้อมให้ดี มีต้นไม้ ผัก

สมุนไพรไม้หอมไม้ประดับรอบรั้วบ้าน

กายบริหารท่าฤา ษีดัดตนแบบกันทรลักษ์

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 45

คือการยืนบริหารกายท่าฤๅ ษีดัดตนพื้นฐานของ

สถาบันการแพทย์แผนไทย จำนวน 5 ท่า ท่าละ

10 ครั้ง ขยับกาย 60 ครั้งต่อนาที ใช้เวลา 30

นาทีตามลำดับดังนี้

ท่าที่3ยึดเหยียดแขน(ประสานมือระดับ

ลิ้นปี่ ชูมือเหนือศีรษะ วาดมือออกข้างไปด้าน

หลังกำหมัดประกบเอวนวดไปกลางหลัง)

ท่าที่ 4 แก้เกียจ (ประสานมือระดับลิ้นปี่

หงายมือเหยียดแขนไปทางซ้าย ไปทางขวา ไป

ด้านหน้าชูเหนือศีรษะวางบนศีรษะ)

ท่าที่ 10 ก้าวบิดตัว (ยืนก้าวเท้าซ้าย

มือขวาแตะสะโพก ย่อตัวลงด้านหน้าหันหน้าไป

ทางขวา กลับมาท่าเดิม ยืนก้าวเท้าขวามือซ้าย

แตะสะโพกย่อตัวลงด้านหน้าหันไปทางซ้าย)

ท่าที่ 9ดำรงกาย (กำมือซ้อนกันระดับอก

ย่อตัวลงช้าๆยืดตัวขึ้นช้าๆ)

ท่าที่ 13 นวดขา (มือจับต้นขา นวดจาก

ต้นขาถึงข้อเท้านวดจากข้อเท้าถึงต้นขา)

หมายเหตุ : หลักเกณฑ์การกำหนดท่าใน

การปฏิบัติ “กายบริหารท่าฤๅ ษีดัดตนแบบ

กันทรลักษ์” พิจารณาจากความเหมาะสม และ

ความสะดวกในการนำไปปฏิบัติได้ทุกสถานที่ของ

ผู้ป่วย

ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง

(Quasi Experimental Research) ในผู้ป่วย

เบาหวานที่ได้รับการส่งต่อสู่ชุมชน (FBS <150

Mg%, B.P <=140/90 mmHg และไม่มีโรค

แทรกซ้อน) จำนวน 676 คน สุ่มเลือกกลุ่ม

ตัวอย่างอย่างเป็นระบบ (Systemic Random

Sampling แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 385 คน กลุ่ม

ควบคุม 291 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบา

หวานที่มารับบริการที่สถานีอนามัยที่ให้การส่ง

เสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ชุดหลัก

ธรรมานามัย โดยเริ่มจากทีมผู้วิจัยฝึกอบรมเจ้า

หน้าที่สถานีอนามัยให้มีความรู้ในการส่งเสริมสุข

ภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และฝึกปฏิบัติผู้ป่วย

เบาหวาน ให้มีความรู้ในหลักปฏิบัติด้านจิตตานา

มัยจากการสวดคาถาชินบัญชรเป็นประจำก่อน

นอน ด้านกายานามัยโดยการออกกำลังกายด้วย

“กายบริหารท่าฤๅ ษีดัดตนแบบกันทรลักษ์”

และด้านชีวิตานามัยโดยการให้ความรู้การรับ

ประทานอาหารตามธาตุ หลังจากนั้น ทีมผู้วิจัย

มอบเอกสารคู่มือการฝึกปฏิบัติการสวดคาถาชิน

บัญชรและการออกกำลังกายด้วย “กายบริหาร

ท่าฤๅ ษีดัดตนแบบกันทรลักษ์” ให้ไปปฏิบัติต่อที่

บ้านและจะมีการติดตามโดยเจ้าหน้าที่สถานี

อนามัย ซึ่งจะมีการทบทวนการปฏิบัติทุกครั้งที่ผู้

ป่วยมารับบริการที่คลินิกเบาหวาน ส่วนกลุ่ม

ควบคุมเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่สถานี

อนามัยที่มีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามปกติแต่

ไม่มีการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ชุดหลักธรรมานามัย เก็บข้อมูลเบื้องต้นโดยให้ผู้

ป่วยตอบแบบสอบถามเองโดยใช้แบบสอบถาม

ข้อมูลส่วนบุคคลและประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้

แบบวัดคุณภาพชีวิตชุดย่อขององค์การอนามัย

โลกWHOQOL-BREF (WHO,2004) ประเมิน

การรับรู้คุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน

ร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 46

และด้านสภาพแวดล้อม เป็นข้อมูลก่อนการ

ทดลองทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและหลัง

จากที่เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ส่งเสริมติดตามให้ผู้

ป่วยปฏิบัติตามแนวทางอย่างต่อเนื่องเป็นระเวลา

2 เดือน เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 เป็นข้อมูลหลังการ

ทดลอง

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการ

เจ็บป่วยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ

เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตกลุ่มทดลองและกลุ่ม

ควบคุมก่อนและหลังการส่งเสริมสุขภาพด้วยการ

แพทย์แผนไทย โดยใช้สถิติ Paired-Samples T

testและIndependent-SamplesTtest

ผลการศึกษา1.ข้อมูลทั่วไปผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มตัวอย่างส่วน

ใหญ่เป็นหญิงร้อยละ78.99อายุเฉลี่ย57.26ปี

สถานภาพสมรสคู่ การศึกษาระดับประถมศึกษา

รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 1,000บาท อาศัย

อยู่กับคู่สมรสลักษณะทั่วไปด้านการเจ็บป่วยพบ

ว่า เริ่มป่วยเมื่ออายุเฉลี่ย 50.06 ปี ระยะเวลา

ป่วยโดยเฉลี่ย 7 ปี 2 เดือน ระดับน้ำตาลอยู่

ระหว่าง 70 – 120mg.% รักษาโรคเบาหวาน

ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน รองลงมาคือรักษา

แบบผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนไทยและ

การแพทย์แผนปัจจุบัน ร้อยละ 81.21 และ

16.72 ตามลำดับ การปฏิบัติตนเพื่อควบคุม

ระดับน้ำตาลใช้การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ร่วมกับออกกำลังกาย ควบคุมอาหารและนั่ง

สมาธิ/สวดมนต์ มีการเข้าร่วมกิจกรรมของคลินิก

เบาหวานเป็นประจำร้อยละ56.21ส่วนใหญ่ไม่

เคยใช้บริการแพทย์แผนไทยที่สถานีอนามัย ร้อย

ละ 45.7 ส่วนกิจกรรมแพทย์แผนไทยที่ผู้ตอบ

แบบสอบถามเคยใช้บริการที่สถานีอนามัยมาก

ที่สุดคือนั่งสมาธิหรือสวดมนต์

2. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูก

ส่งกลับชุมชน

เกณฑ์ในการแบ่งระดับคะแนนคุณภาพ

ชีวิต โดยรวมและรายด้าน แบ่งโดยพิจารณาจาก

ค่าพิสัยของคะแนนรวม (สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล

และคณะ,2545)ดังนี้

องค์ประกอบ คุณภาพชีวิตไม่ดี คุณภาพชีวิตปานกลาง คุณภาพชีวิตดี

1.ด้านร่างกาย 7-16 17-26 27-35

2.ด้านจิตใจ 6-14 15-22 23-30

3.ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 3-7 8-11 12-15

4.ด้านสิ่งแวดล้อม 8-18 19-29 30-40

คุณภาพชีวิตโดยรวม 26-60 61-95 96-130

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 47

ตารางที่2คุณภาพชีวิตหลังการทดลองระหว่างผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย (กลุ่มทดลอง)กับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย (กลุ่มควบคุม)

คุณภาพชีวิตด้านต่างๆกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

x- SD x- SD P-value

1.ด้านร่างกาย 23.10 3.71 23.56 3.79 0.112

2.ด้านจิตใจ 20.60 3.26 21.34 3.80 0.002

3.ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 9.58 0.41 10.00 0.44 0.007

4.ด้านสิ่งแวดล้อม 27.15 0.42 28.08 0.43 0.003

คุณภาพชีวิตโดยรวม 87.15 0.49 89.71 0.42 0.003

คุณภาพชีวิตด้านต่างๆกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

x- SD x- SD P-value

1.ด้านร่างกาย 22.60 2.96 22.84 2.92 0.331

2.ด้านจิตใจ 22.24 3.37 21.52 3.32 0.005

3.ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 9.83 1.67 9.48 1.73 0.009

4.ด้านสิ่งแวดล้อม 28.16 3.66 27.40 3.80 0.009

คุณภาพชีวิตโดยรวม 89.81 10.39 88.24 10.35 0.05

ตารางที่ 1คุณภาพชีวิตก่อนการทดลองระหว่างผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย (กลุ่มทดลอง) กับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย (กลุ่มควบคุม)

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 48

ตารางที่3คุณภาพชีวิตก่อนและหลังการทดลองผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์

แผนไทย(กลุ่มทดลอง)

คุณภาพชีวิตด้านต่างๆกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

x- SD x- SD P-value

1.ด้านร่างกาย 23.10 3.71 23.56 3.79 0.112

2.ด้านจิตใจ 20.60 3.26 21.34 3.80 0.002

3.ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 9.58 0.41 10.00 0.44 0.007

4.ด้านสิ่งแวดล้อม 27.15 0.42 28.08 0.43 0.003

คุณภาพชีวิตโดยรวม 87.15 0.49 89.71 0.42 0.003

วิจารณ์และสรุป จากการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตหลังการ

ให้การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยทั้ง

สองกลุ่มยังคงมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ใน

ระดับปานกลางเหมือนเดิมทำให้ไม่สามารถสรุป

ได้ว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์

แผนไทยชุดหลักธรรมานามัยเป็นเครื่องมือที่มีผล

ต่อการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานได้

อย่างชัดเจนทั้งนี้อาจเนื่องจาก การไม่สามารถ

ควบคุมปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เช่น การรับ

ประทานอาหารของผู้ป่วย ความถี่และระยะเวลา

ในการออกกำลังกาย หรือการพักผ่อนตามระยะ

เวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า

กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจเพิ่มเป็น

ระดับดี ส่วนกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง

เช่นเดิม ทั้งนี้อาจเนื่องจากในโปรแกรมการส่ง

เสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลัก

ธรรมานามัย มีกิจกรรมหลักได้แก่ การนั่งสมาธิ

การสวดมนต์ การเดินจงกรม ผู้ป่วยเบาหวานซี่ง

ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมีแนวโน้มการปฏิบัติธรรม

เป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีการรวมกลุ่มสวด

คาถาชินบัญชรที่เป็นที่รู้จักและศรัทธาเป็นอย่างดี

มีการเดินจงกรมร่วมกัน และปฏิบัติอย่าง

สม่ำเสมอ จึงส่งผลทำให้จิตใจเกิดสมาธิ มีความ

สงบมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมถึงด้านสังคม

และสิ่งแวดล้อม ที่กลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่ม

ควบคุม ทั้งนี้อาจเนื่องจากในกระบวนการจัด

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ในคลินิกเบาหวานเป็นการจัดกระบวนการกลุ่ม

ของผูป้ว่ยทีม่ีอายุการศกึษาและลกัษณะโรคทีค่ลา้ย

กันดังนั้นเมื่อได้มารวมกลุ่มมีการพูดคุยปรึกษา

หารือด้วยความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันจึงทำให้มี

ความรู้สึกที่ดีมากขึ้น แตกต่างจากคุณภาพชีวิต

ด้านร่างกายพบว่าก่อนและหลังทดลอง ไม่แตก

ต่างกัน สอดคล้องกับผลการศึกษาที่พบว่าผู้ป่วย

ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตนในการควบคุมน้ำตาล

โดยการรับประทานยาตามแพทย์สั่งร่วมกับการ

ออกกำลังกาย เพียงร้อยละ 7.99 ซึ่งแสดงให้

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 49

เห็นว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรการดูแล

สุขภาพที่ไม่เหมาะสมแม้จะมีการส่งเสริมให้ออก

กำลังกายด้วยท่ากายบริหารฤๅ ษีดัดตนที่ได้มีการ

ศึกษามาแล้วว่ามีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย

เบาหวาน (ปัณสุข., 2552) ดังนั้นจึงควรมีการ

ศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยหรือแรงจูงใจใดที่มีผลต่อ

พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน

จากข้อมูลส่วนหนึ่งพบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วน

ใหญ่ไม่ เคยใช้บริการแพทย์แผนไทยที่สถานี

อนามัยถึงร้อยละ45.7 ทั้งที่สถานีอนามัยแทบ

ทุกแห่งในอำเภอกันทรลักษ์มีการจัดบริการ

แพทย์แผนไทยและในทางตรงกันข้ามพบว่ามีผู้

ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมคลินิกเบาหวานที่สถานี

อนามัยอยู่เป็นประจำร้อยละ 56.21 ทั้งนี้อาจ

เป็นได้ว่าการจัดบริการแพทย์แผนไทยในสถานี

อนามัยยังไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย

เบาหวาน ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติม

ถึงการนำระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการ

แพทย์แผนไทยและการบำบัดรักษาแบบองค์รวม

เข้ามาในระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมสุขภาพให้แข็งแรงทั้งทางร่างกาย และ

จิตใจ

สรุป โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วย

การแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย สามารถ

เป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้

ป่วยเบาหวานได้ โดยเฉพาะการดูแลด้านจิตใจ

ด้านการสร้างสัมพันธภาพทางสังคมและสิ่ง

แวดล้อม

กิตติกรรมประกาศ พ.ต.ท.ผศ.ดร.นภดล ทองนพเนื้อ และ

คณาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒที่ได้ให้ความรู้และคำแนะนำใน

การศึกษาวิจัย. สำนักวิชาการ กรมพัฒนาการ

แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ริเริ่ม

โครงการพัฒนานักวิจัยเชิงระบบ. กองทุนภูมิ

ปัญญาการแพทย์ แผนไทยที่ สนั บสนุ น งบ

ประมาณ. นายแพทย์วันชัย เหล่าเสถียรกิจ ผู้

อำนวยการโรงพยาบาลกันทรลักษ์ นายปัญญา

พละศักดิ์สาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์ หัวหน้า

สถานีอนามัยทุกแห่งและทีมงานแพทย์แผนไทย

คปสอ.กันทรลักษ์ ที่ได้ช่วยเหลือสนับสนุนการ

เก็บข้อมูลและคุณประคองศิลป์ โพทะเลศ และ

ทีมงานที่ช่วยทำการวิเคราะห์ข้อมูล จนสำเร็จ

ลุล่วงไปด้วยดี

เอกสารอ้างอิง1. กลุ่มงานวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ

การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการ

ดำเนินงานในศูนย์ปรับเปลี่ ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย

การแพทย์แผนไทยและการอบรมทางเลือก 8 อ. พิมพ์ครั้ง

ที่1.กรุงเทพมหานคร;2552.

2. จันทร์จรัส จันทร์จารุพงศ์. ผลการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ

แบบองค์รวมต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมี

บำบัด. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา

สุขศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร;

2547.

3. จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้าจังหวัดสมุทรสงคราม;2551.

4. จีรนุช สมโชค. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน.

วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการ

พยาบาลผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร; มหาวิทยาลัยมหิดล.

;2540.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 50

5. ฉตัรณรงค์พฒุทอง, เชดิเกยีรติ แกลว้กสกิจิ,พกิลุ แกลว้กสกิจิ.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารับบริการแพทย์แผนไทยในหน่วย

บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษา

ค้นคว้าด้วยตนเอง ส.ม. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร;2551.

6. เทพ หิมะทองคำ และคณะ. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับ

สมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จูนพับลิซซิ่ง

จำกัด;2548.หน้า19-51;85-6;92-7;198-201.

7. ปัณสุข สาลิตุล. กายบริหารฤๅ ษีดัดตนกับการส่งเสริมสุขภาพ

ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ;

2552.

8. ผกากรอง พันธุ์ไพโรจน์ และคณะ. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรค

เบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสงขลา. โรงพยาบาล

สงขลาจังหวัดสงขลา;2550.

9. พันทิตา เฉลิมพนาพันธ์ . คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแผนกการ

แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลเจ้าพระยา

อภัยภูเบศร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

(จิตวิทยาชุมชน) บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;2550.

10.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ภัทราพร ตั้งสุขฤทัย. ภูมิปัญญาไทย

“ แ พ ท ย์ แ ผ น ไ ท ย กั บ ก า ร ดู แ ล ผู้ ป่ ว ย เ บ า ห ว า น ” .

www.moph . go . th /ops /doc to r /d rAugus t43/

tradition101.htm.

11.วรรณาสามารถ.คุณภาพชีวิตที่เสียไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา

วิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยมหิดล;2540.

12.วัลลา ตันตโยทัย, อดิสัย สงดี. โรคเบาหวานและการรักษา

เล่ม1กรุงเทพมหานคร:พิทักษ์การพิมพ์;2538.

13.ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์ . คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี .

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหาร

สาธารณสุข.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล;2551.

14.สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวง

สาธารณสุข . คู่มืออบรมการนวดไทย. กัญจนา ดีวิเศษ

บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์

ทหารผ่านศึก;2544.หน้า271-303.

15.สุปราณีแตงวงษ์.การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของ

ผู้สูงอายุในเขตทวีวัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย

กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2545.

16.สุวัฒน์ มหันนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันตินิวัฒนากุล,

วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, รานี พรมานะ

จิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัย

โลกชุด300ตัวชี้วัดและ26ตัวชี้วัด.เชียงใหม่;2545.

17.อารีวรรณ คุณเจตน์. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี

วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล

ชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

;2541.

18.อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของ

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาพยาบาลอนามยัชมุชนบณัฑติวทิยาลยั กรงุเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยมหิดล;2545.

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 51

Abstract

The association between Thai Traditional Medicine Dhammanamai Health Promotion Program and quality of life in diabetes patients in Kantharalak district, Si Sa Ket province Prapa Pithaksa and Pannasuk Salitool

Kantharalak Hospital, Kantharalak District, Si Sa Ket Province

This is a quasi-experimental studydesigned to assess thequality of life (QOL) of 676 of diabetespatients

receiving the dhammanamai health promotion program. Of all the patients, 385 were in the intervention group

receiving the health promotion program twice, 2 months apart. The control group was comprised of 291 patients

receivingtheusualcare.ThequalityoflifeofthesubjectswasassessedusingtheWHOQualityofLife-BREF.The

percentage,pairedsamplest-test,andindependentt-testwereusedfordataanalysis.

Thepaired t-test showedmoderatequality of life inbothgroups.The interventiongrouphad significantly

greaterqualityoflifethanthecontrolgroupintermsofemotional,social,andenvironmentalwell-being(p<0.05).

Theeffectofdhammanamaihealthpromotionprogramonthe increase intheQOLofdiabetespatientswasnot

clearlyobservedastheQOLscoresofbothpre-andpost-studyobservationswerealsomoderate.

Inconclusion,thedhammanamaihealthpromotionprogramcanbeanalternativeforimprovingtheQOLin

termsofemotional,social,andenvironmentalwell-beingofdiabetespatients.

Keywords: diabetes patients, quality of life, traditional Thai medicine, dhammanamai health promotion program

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

52

ต้นร่างอ้างอิงสมุนไพรไทย:ไพล(PHLAI)

ปกิณกะ

คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย* ในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

Rhizoma Zingiberis Montani Cassumunar Ginger ไ พ ล เ ป็ น เ ห ง้ า แ ห้ ง ข อ งพื ช ที่ มี ชื่ อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber montanum(Koenig) Link ex Dietr. ในวงศ์Zingiberaceae1-3

ชื่อพ้อง Amomum montanum

บทความนี้นำเสนอยาสมุนไพรแต่ละชนิดที่คณะอนุกรรมการฯจัดทำขึ้นก่อนรวบรวมจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม “ตำราอ้างอิง

สมุนไพร”เพื่อเป็นเวทีประชาพิจารณ์.

Koenig, Zingiber cassumunar Roxb.,ZingiberpurpureumRosc.3-5

ชื่ออื่นปูลอยปูเลยว่านปอบว่านไฟ1-3,Bengalginger4,vanaardraka,banada5

ลักษณะพืช ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอวบหนาผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองอมสีส้ม มีกลิ่นเฉพาะ กาบใบเรียงสลับโอบกันแน่นชูเหนือดินเป็นลำต้นเทียม สูง 1.2-1.8 เมตร แตกกอกาบใบเกลี้ยงหรือมีขนตามขอบ ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ กว้าง 2-4เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร ปลายเรียวยาว โคนสอบ ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม ก้านใบยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ลิ้นใบเป็นสองแฉกตื้นยาวประมาณ2มิลลิเมตรมีขนช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกจากเหง้า ก้านช่อตั้งตรงขึ้นเหนือดิน

*ประธานอนุกรรการ นายวิชัย โชควิวัฒน พ.บ., M.P.H. รอง

ประธานอนุกรรมการ รองศาสตราจารย์ ชยันต์ พิเชียรสุนทร

ราชบัณฑิต ภ.บ.,Ph.D. อนุกรรมการ ศาสตราจารย์พเยาว์

เหมือนวงษ์ญาติ,M.Sc. in Pham. รองศาสตราจารย์กัลยา ภรา

ไดย ภ.บ., วศ.บ.รองศาสตราจารย์วันดี กฤษณพันธ์ ภ.บ.(เกียรติ

นิยม), ภ.ม.,Ph.D.รองศาสตราจารย์รพีพล ภโววาท ภ.บ.,ภ.ม.,

Ph.D.นายปราโมทย์ เสถียรรัตน์พ.บ.นางก่องกานดาชยามฤต

วท.บ.วท.ม.D.Sc.นางจารีย์บันสิทธิ์วท.บ.วท.ม.นางสาวนันท

นาสิทธิชัยภ.บ.,น.บ.นายวินิตอัศวกิจวิรีภ.บ.,น.บ.นางนัยนา

วราอัศวปติวท.บ.,วท.ม.นางเย็นจิตร เตชะดำรงสินวท.บ.,B.S.

Phar., บ.ภ. Post Cert. นางอภิญญา เวชพงศา ภ.บ. นายวุฒิ

วุฒิธรรมเวชน.บ.,ก.จ.ม.,บ.ภ.,บ.ว.ผู้ช่วยศาสตราจายร์ร.ต.อ.

หญิงสุชาดาสุขหร่อง,ภ.บ.,Ph.D.นายยอดวิทย์กาญจนการุณ

ภ.บ.,บ.ภ.,บ.ผ.,บ.วนางพรทิพย์เติมวิเศษพบ.,ส.บ.นางสาว

อญัชลีจฑูะพทุธิภ.บ. (เกยีรตนิยิมอนัดบั1),M.S.,Ph.D.นางสาว

สารินีเลนะพันธ์ภ.บ.,ภ.ม.นางสาวบุษราภรณ์ธนสีลังกูรวทบ.,

บธ.บ.,สม., บ.ป., บ.ง.ว, บ.., บ.ผ., พท.น. นางสาวจิราภรณ์

บุญมากพท.บ., บ.ว., บ.ผ., พท.ว., พท.น. ว่าที่ร้อยตรีทวิช ศิริ

มุสิกะวท.บ.,ส.บ.

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 53

รูปที่1 ภาพลายเส้นไพล(Zingibermontanum

(Koenig)LinkexDietr.)

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 54

รูปที่2ดอกไพล

รูปที่3เหง้าแห้ง

รูปที่4ไพลในสภาพธรรมชาติ

2

3

4

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 55

ยาว 20–25 เซนติเมตร รูปกระสวยถึงรูปไข่กว้าง3-4เซนติเมตรยาว10-15เซนติเมตรใบประดับเรียงซ้อนกันแน่น สีน้ำตาลขอบสีเขียวอ่อน รูปไข่ ยาว 3-3.5 เซนติเมตร ผิวมีขนนุ่มปลายแหลม ใบประดับย่อยยาว 1-1.5เซนติเมตร กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอด สีขาวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองอ่อน โคนติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 6เซนติเมตร ปลายแยกเป็นสามแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมันที่เปลี่ยนไปเป็นกลีบปากยาวประมาณ6เซนติเมตรรูปเกือบกลมสีขาวปลายแยกเป็น2แฉก และจะแยกออกลึกขึ้นเมื่อดอกใกล้โรยเกสรเพศผู้เป็นหมันที่เหลือรูปขอบขนาน สีเดียวกับกลีบปาก ขนาบสองข้างของโคนกลีบปากและเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกัน เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1อันก้านเกสรเพศผู้สั้นมากอับเรณูเป็นหงอนยาวและโค้งหุ้มก้านยอดเกสรเพศเมีย ที่ยาวขึ้นไปเหนืออับเรณู รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ยาวประมาณ 2มิลลิเมตรมี3ช่องแต่ละช่องมีออวุลจำนวนมากผลแบบผลแห้งแตกรูปกลม1,3-6

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 5, 6 อาจเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย6 ในประเทศไทยพบได้ทั่วไป มีปลูกตามบ้านทั่วไปสำหรับใช้ทำยาลักษณะเครื่องยา เหง้าแห้งรูปร่างไม่แน่นอนค่อนข้างแบนแตกแขนงเป็นแง่งคล้ายนิ้วมือยาว3-7 เซนติเมตร หนา 1-2 เซนติเมตร ผิวนอกสีเหลืองแกมสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมสีเทา ไม่เรียบ มีรอยย่นตามยาว และมีข้อปีเห็นได้ชัดเจนแง่งมักมีส่วนใบที่ลดรูปเป็นเกล็ดเหลืออยู่ ส่วนบนอาจพบรอยแผลเป็นจากต้นหรือตา เนื้อแน่นรอยหักสีขาวแกมสีเหลืองอมส้มมีเม็ดละเอียดมีเนื้อเยื่อชั้นในสุดของคอร์เทกซ์เป็นวงชัดเจน มีมัดท่อลำเลียงและเซลล์น้ำมันสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป ในบางครั้งอาจพบเป็นแว่น หั่นตามยาวหรือเฉียง หนา 2-5 มิลลิเมตร สีเหลืองอมเขียวผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน3

องคป์ระกอบทางเคมีไพลมอีงคป์ระกอบเคมเีปน็น้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.87,8 โดย องค์ประกอบเคมีของน้ำมันระเหยง่ายอาจแตก ต่างกันไปตามแหล่งที่มา แต่โดยทั่วไปมักมีสาร กลุ่มมอโนเทอร์พีน (monoterpene) เป็นหลักเช่น แอลฟา-ไพนีน ( -pinene), ซาบินีน (sabinene),แอลฟา-เทอร์พินีน( -terpinene),แกมมา-เทอร์พินีน ( -terpinene), เทอร์พีน- 4-ออล (terpenen-4-ol) นอกจากนั้นไพลยังมี ส า ร สี เ ห ลื อ ง เ ค อ ร์ คู มิ น ( c u r c um i n ) ,อนุพันธ์แนฟโทควิโนน (naphthoquinone derivatives), อนุพันธ์บิวทานอยด์ (butanoidder ivat ives ) หลายชนิด ที่ สำคัญได้แก่ (อี)-4-(3,4-ดีเมทอกซีเฟนิล)บิว-3-อีน-1-ออล [(E)-4-(3,4-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-olหรือสารดี (D)], (อี )-1-(3,4-ดี เมทิลเฟนิล)บิวทาไดอีน [(E)-1-(3,4-dimethylphenyl) butadiene หรือ สารดีเอ็มพีบีดี (DMPBD)],อนุ พั น ธ์ ไซ โ คล เ ฮกซี น ( c y c l ohe xene derivatives) เช่น ซีส-3-(3,4-ไดเมทอกซีเฟนิล) -4-[(อี)-3,4-ไดเมทอกซีสไตริล]ไซโคลเฮก-1- อีน [cis-3-(3,4)-dimethoxyphenyl)-4-[(E)-3, 4-dimethoxystyryl]cyclohex-1-ene]3,8

ข้อบ่งใช้ ใช้ภายนอกแก้อาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก8 ตำราสรรพคุณยาไทยว่าไพลมีรสฝาดขื่นเอียน สรรพคุณขับลม ขับระดู แก้ลำไส้อักเสบขับเลือดร้ายแก้ระดูขาวเป็นต้นใช้ภายนอกโดยการทาถูนวดแก้เคล็ดขัดยอก สมานแผล แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ1,2,8

ขอ้มลูจากการศกึษาวจิยัพรคีลนิกิและคลนิกิพบวา่สารสกดัไพลมฤีทธิต์า้นการอกัเสบ10-13

ข้อห้ามใช้ ห้ามทาบริเวณขอบตาหรือบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน หรือบริเวณที่มีบาดแผลหรือเป็นแผลเปิด8

คำเตือน ไพลอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้8

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 56

ข้อควรระวังไม่มีขนาดและวิธีใช้ 1. ใช้เหง้า1เหง้าตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำร้อนให้ร้อน สำหรับประคบบริเวณที่มีอาการ7 2. ใช้น้ ำมันไพลทาถูนวดบริ เวณที่มีอาการ วิธีการเตรียมน้ำมันไพลทำได้โดยการใช้ไพลสดหนัก 2 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ทอดในน้ำมันพืช1กิโลกรัมด้วยไฟอ่อนๆจนน้ำมันเหลืองดีแล้ว จึงเอาไพลออก ใส่กานพลูผง 4ช้อนชาแล้วทอดต่อด้วยไฟอ่อนๆราว10นาทีกรองด้วยผ้าขาวบาง รอจนน้ำมันอุ่น ๆ แล้วใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา เก็บในภาชนะปิดมิดชิดรอจนเย็นจึงเขย่าหรือคนให้การบูร7

3. ในรูปครีมที่มีน้ำมันไพลร้อยละ 14โดยการทาถูเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2-3ครั้ง8

หมายเหตุ 1. ไพลที่ใช้ทำยาจะต้องมีอายุ2ปีจึงจะมีสารสำคัญและสรรพคุณที่ต้องการ14

2. ไพลใช้เป็นเครื่องยาในตำรับยาไทยได้โดยขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับตำรับยา เช่น ยาประสะไพล เอกสารอ้างอิง1.ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิ เชียร จีรวงส์ .

คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ

72 พรรษา มหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิ

ภูมิปัญญา,2548.หน้า511-2.

2. ชยันต์พิเชียรสุนทร, วิเชียรจีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย

เล่ม2เครื่องยาพฤกษวัตถุ.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สำนัก

พิมพ์อมรินทร์.2547.หน้า227-31.

3. ThaiHerbalPharmacopoeia.

4. GRIN http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/

taxon.pl?413101

5. Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

Specification of Thai Medicinal Plants. Volume

1.Bangkok:AksornsampanPress.1986.p.108-11.

6. Theilade I. A synopsis of the genus Zingiber

(Zingiberaceae) in Thailand. Nord J Bot.

1999;19(4):389-410.

7. สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวง

สาธารณสุข. ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน.

กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.หน้า120-1.

8. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร

พ.ศ. 2549 ตามประการคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา

(ฉบับที่5)พ.ศ.2549เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติพ.ศ.2547

(ฉบับที่ 4). กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.2549.หน้า66-71.

9. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. สารานุกรมสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร:

โอ.เอสพริ้นติ้งเฮาส์.2540.หน้า327.

10.Panthong A, Kanjanapothi D, Niwatomanum V,

TuntiwachwuttikulT,RuetrakulV.Anti-inflammatory

activities of compounds isolated from Zingiber

cassumunar.PlantaMed.1990;56:655.

11.Ozaki Y, Kawahara N, HaradaM. Anti-inflammatory

effect of Zingiber cassumunarRoxb. and its active

principles.ChemPharmBull.1991;39(9):2353-6.

12.Soontornsaratune P, Wasuwat S, Sematong T.

Anti-inflammatoryeffectsofatopicalpreparationof

Phlai oil/Plygesal on carrageenan-induced footpad

swelling in rats. TISTR 1990; Research Project

No.30-22/ReportNo3:1-7.

13.วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม และคณะ. ความสัมฤทธิ์ผลของครีม

สมุนไพรไทย(ไพลจีซาล)ในการรักษาข้อเท้าแพลงในนักกีฬา.

ศรีนครินทร์เวชสาร.2536;8(3)

14.ทรงเกียรติ วิสุทธิพิทักษ์กุล, ยศวดี อึ้งวิเชียร, อิทธิฤทธิ์

อึ้งวิเชียร,อินสนคล่องการงาน.รายงานการวิจัย“การวิจัยวิธี

การเขตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิตและคุณภาพของไพล” เสนอ

ต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.2540;49หน้า

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 57

พจนานกุรมศพัทแ์พทยแ์ละเภสชักรรมแผนไทย(13)

ปกิณกะ

คณะอนุกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

ไข้ 1. น. ความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิตเช่น ไขพ้ษิไขก้าฬไขเ้หนอืไขห้วดันอกจากนี้ ในทางการแพทย์แผนไทยยังมีไข้ตัวเย็น อันเกิดจากธาตุไฟพิการ. 2. ก. อาการ ครั่นเนื้อครั่นตัว สะบัดร้อนสะท้านหนาว

ปวดเมื่อย, โดยทั่วไปหมายถึงอาการที่มี อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นผิดจากระดับ ปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย.

ไข้จับสั่น ดู ไข้ป่า. (โบราณเรียกเช่นนี้เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการหนาวสั่น).

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง

สาธารณสุขที่รับผิดชอบในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการแพทย์แผนไทยในระบบบริการ

สุขภาพ ได้ร่วมมือกับสำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิตยสถานจัดทำพจนานุกรมศัพท์และเภสัชกรรมแผน

ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จัดทำพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย

อย่างน้อย 1000คำ เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงด้านการแพทย์แผนไทย. บทความนี้จึงนำศัพท์จากผลการ

พิจารณาของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะมาทยอยลงพิมพ์ในวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์

ทางเลือก เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพแพทย์แผนไทย ซึ่งหากมีข้อคิดเห็น ที่แตก

ต่างจะได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

คณะกรรมการที่ปรึกษา : ประธาน นพ.วิชัยโชควิวัฒน,รองประธาน รศ.ดร.ชยันต์พิเชียรสุนทร,อนุกรรมการ ศ.ดร.กำจรมนุญปิจุ,ศ.ดร.กาญจนานาคสกุล, ศ.ดร.กฤษณา ชุติมา, ศ.(พิเศษ) ชลธิรา สัตยาวัฒนา, ศ.ดร.นพ.ปณตมิคะเสน, ศ.ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ,นางนัยนา วราอัศวปติ, นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์, ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะหรือผู้แทน,นายสุพจน์ แจ้งเร็ว, นายปวิต ว่องวีระ,นายสมบัติพลายน้อย,นายปิ่นแก้วตันนวล,นายบุญมีทองศรี,นายประกอบอุบลขาว,นายมนาวุธผุดผาด,นายยงยุทธตรีนุชกร,นางเย็นจิตรเตชะดำรงสิน,อนุกรรมการและเลขานุการดร.อัญชลีจูฑะพุทธิ,อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นางสาวสมทรงศกุนตนาค,นางกันทิมาสิทธิธัญกิจคณะกรรมการจัดทำฯ :ประธานนพ.วิชัยโชควิวัฒน,รองประธานรศ.ดร.ชยันต์พิเชียรสุนทร,อนุกรรมการศ.ดร.พเยาว์เหมือนวงษ์ญาติ,พญ.สมบูรณ์เกียรตินันทน์,นางนัยนาวราอัศวปติ,นพ.ปราโมทย์เสถียรรัตน์,ร.ต.หญิงศิริพงษ์แพทยานนท์,นายสมศักดิ์ห์ลีละเมียร,พ.ท.อ้มแสงปัญหา,นายวุฒิวุฒิธรรมเวช,นายสุวัฒน์ตั้งจิตรเจริญ,ประธานกรรมการวิชาชีพสาขาแพทย์แผนประยุกต์หรือผู้แทน, นางกัญจนา ดีวิเศษ, นางพรทิพย์ เติมวิเศษ, อนุกรรมการและเลขานุการ ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ, อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นางสาวสมทรงสกุนตนาค,นางกันทิมาสิทธิธัญกิจ,นางมาลาสร้อยสำโรง,นางสาวจิรัชยาแก้วสนธยา,นางสาวธนาธิปฉิมแพ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 58

ไข้ดอกบวบ ดูไข้ป่า. ไข้ดอกสัก ดู ไข้ป่า. (โบราณเรียกเช่นนี้

เนื่องจากผู้ป่วยมักเป็นโรคนี้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกสักบาน).

ไข่ดัน น. ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นแนว ต่อระหว่าง ลำตัวกับต้นขา ทำหน้าที่กักและ ทำลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้ามาในร่างกาย ท่อนบน,ฟองดันก็เรียก.

ไข้ตรีโทษ น. ความเจ็บป่วยอันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ และเสมหะ ร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ.

ไข้ตามฤดูดูไข้เปลี่ยนฤดู. ไข้ป่า น. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง

มากเป็นเวลา ส่วนใหญ่มักมีอาการหนาวสั่น ร่วมด้วย นอกจากนั้น ยังอาจมีอาการ ปวดศีรษะ มือและเท้าเย็น มีเหงื่อออกมาก กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หากเป็นติดต่อกัน หลายวันไม่หาย ผู้ป่วยจะซีด เบื่ออาหาร ตับโต ม้ามโต เป็นต้น โบราณเรียก ไข้ป่า เนื่องจากผู้ป่วยมักเป็นโรคนี้หลังกลับออกมา จากป่า, ไข้จับสั่น ไข้ดอกสัก หรือ ไข้ดอกบวบก็เรียก.

ไข้ป้าง ดูป้าง.ป้างน.อาการม้ามโตมักเกิดในเด็กอาจเกิดจาก

สาเหตุต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น ไข้จับสั่น เรื้อรัง โรคทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักมีไข้ คลุมเครือเรื้อรังร่วมด้วยจึงมักเรียกไข้ป้าง.

ไข้เปลี่ยนฤดูน. โรคชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วงร อ ย ต่ อ ข อ ง แ ต่ ล ะ ฤ ดู ผู้ ป่ ว ย มั ก มี ไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว กระหายน้ำ เป็นต้น

ในทางการแพทย์แผนไทยอาจแบ่งโรคนี้ ตามฤดูกาลเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไข้ใน ฤดูร้อน ไข้ในฤดูฝน และไข้ในฤดูหนาว ดังคัมภีร์ตักกศิลา [15/356] ตอนหนึ่งว่า “... พระอาจารย์เจ้าจะแสดงซึ่งไข้ทั้งสาม สืบต่อไปแลไข้ในคิมหันตฤดูนั้นคือ เดือน5, เดือน6, เดือน7, เดือน8 เป็นไข้เพื่อโลหิต เป็นใหญ่กว่าลมกว่าเสมหะทั้งปวงทุกประการไข้ในวัสสานะฤดูนั้นคือเดือน9, เดือน 10, เดือน 11, เดือน 12 นี้ ไข้เพื่อ ลมเป็นใหญ่กว่าเลือด และเสมหะทั้งปวง ทั้ งสองประการ ไข้ ในเหมันตฤดูนั้นคือ เดือน 1-2-3-4 นี้ไข้เพื่อกำเดา แลเพื่อดีพลุ่ง เป็นใหญ่กว่าเสมหะ แลลมทั้งสองประการ อาการมีต่างๆ ให้นอนละเมอฝันร้ายแล เพ้อไป ย่อมเป็นหวัด มองคร่อหิวหาแรงมิได้ ให้เจ็บปากให้เท้าเย็น,มือเย็นแลน้ำลายมาก แลกระหายน้ำเนืองๆ แลให้อยากเนื้อพล่า ปลายำสดคาว ให้อยากกินหวาน, กินคาว มักให้บิดขี้เกียจคร้าน มักเป็นฝีพุพองเจ็บ ข้อเท้าข้อมือ ย่อมสะท้านหนาวดังนี้ ท่านให้ วางยาอันร้อนจึงชอบโรคนั้นแล . . . ” , ไข้ ตามฤดู ไข้ สามฤดู ไข้ หั วลม หรื อ อุตุปริณามชาอาพาธาก็เรียก.

ไข้สามฤดู ดูไข้เปลี่ยนฤดู. ไขเสนียด ดูน้ำครำ. น้ำไขเสนียด ดูน้ำครำ. น้ำครำ น. 1. น้ำกระสายยาชนิดหนึ่ง ได้จาก

น้ำเสียที่ขังอยู่ ในพื้นดินที่ เป็นแอ่ง เช่น ใต้ถุนครัว แพทย์โบราณมักเตรียมได้โดยการ ปักไม้หลักห่างจากแอ่งน้ำเสียนั้นประมาณ

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 59

1 ศอก เมื่อยกไม้หลักออกจะมีน้ำใส ๆ ซึมออกมาในหลุมปัก ตักน้ำใส ๆ นั้นออก มาใช้ โดยทั่วไปก่อนใช้มักใช้เหล็กสรรพคุณ เผาไฟให้ร้อนแดง จุ่มลงไปในน้ำนั้น เอาขึ้น ทันที แล้วจึงนำน้ำนั้นไปใช้เป็นน้ำกระสายยา ดังคัมภีร์ประถมจินดา [1/348] ตอนหนึ่ง ว่า“...ถ้าจะแก้ละอองพระบาทสีฃาวละลาย น้ำดอกไม้กวาด ถ้าจะแก้ละอองพระบาทสีเฃียวละลายน้ำครำแลสุรากวาดฯถ้าจะแก้ละอองพระบาทสีแดง ละลายน้ำหัวหอมกวาด ถ้าจะแก้ละอองพระบาทสีเหลืองละลายน้ำขมิ้นอ้อยกวาดหายดีนัก ...”. 2.นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่ง เช่น ใต้ถุนครัวในท่อระบายน้ำเสีย,ไขเสนียดหรือน้ำไขเสนียดก็เรียก.

ไข้หัวลม ดู ไข้เปลี่ยนฤดู. (โบราณมักใช้เรียกไข้เปลี่ยนฤดูที่เกิดในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว).

งัดเส้น ดูดึงเส้น.ดึงเส้น ก. ใช้นิ้วมือกดลงบนกล้ามเนื้อหรือ

เส้นเอ็นตามร่างกายแล้วดึงขึ้น, งัดเส้น จกหรือจกงัดก็เรียก.

จก,จกงัด ดูดึงเส้น.งูทับทางขาวดูงูทับสมิงคลา. งูทับสมิงคลา [-ทับสะหฺมิงคฺลา] น. งูพิษชนิด

Bungarus candidus (Linnaeus) ในวงศ์Elapidae หัวสีดํา ตัวมีลายเป็นปล้องสีดําสลับขาว เขี้ยวพิษผนึกแน่นกับขากรรไกรบนขยับหรือพับเขี้ยวไม่ได้ ตัวยาวประมาณ 1เมตร,งูทับทางขาวก็เรียก.

งูปูติมุข น. งูจำพวกหนึ่งที่ เมื่อกัดแล้วทำให้

เนื้อเน่าเปื่อย เช่น งูกะปะ. (มาจากคำ ปูติแปลว่าเน่า,มุขแปลว่าปาก).

จตกุาลเตโช[จะตกุาละเตโช]น.ธาตไุฟ4ประการได้แก่ไฟย่อยอาหาร(ปริณามัคคี)ไฟที่ทำให้ร้อนภายใน (ปริทัยหัคคี) ไฟที่เผาร่างกายให้แก่คร่ำคร่า (ชิรณัคคี) และไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (สันตัปปัคคี). (มาจากคำ จตุ แปลว่าสี่,กาลแปลว่าเวลากับเตโชแปลว่าไฟ).จะโปงดูจับโปง.

จับโปง น. โรคชนิดหนึ่ง ทำให้มีอาการปวดบวมตามข้อ มีน้ำใสในข้อ โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ จับโปงน้ำและจับโปงแห้ง ดังคัมภีร์ตักกศิลา [2/96]ตอนหนึ่งว่า “... ถ้าแลให้เจบทั่วสารพางค์แลให้ท้องแขงเปนดานให้แก้รอบสดือ ชื่อว่าลมอันตคุณก็ว่า ถ้าแลให้เสียดเข่าชื่อว่าลมจะโปงสะคริวก็ว่า ...”, จะโปง ลมจับโปง หรือลมจะโปงก็เรียก.

ลมจับโปง ดูจับโปง.จับโปงน้ำ น. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบ

รุนแรงของข้อเข่า หรือข้อเท้า ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้ร่วมด้วยจึงมักเรียกว่าไข้จับโปง.ดูจับโปงประกอบ.

จับโปงแห้ง น. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบเรื้อรังของข้อเข่า หรือข้อเท้า ทำให้มีอาการบวมบริเวณข้อเล็กน้อย.ดูจับโปงประกอบ.

จักร์ทราสูนย์ดูในนาภี. จักราศูนย์,จักราสูรย์ดูในนาภี. นาภีน.1.สะดอื.2.ทอ้ง,อทุรกเ็รยีก.3.บรเิวณ

รอบสะดือ (ตามหลักวิชานวดไทย), จักราศูนย์จักราสูรย์หรือจักร์ทราสูนย์ก็เรียก.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 60

จักรวาลฟ้าครอบ, จักระวาฬฟ้าครอบ น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ไข้กาฬต่าง ๆ แก้พิษต่าง ๆ มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณ ดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [1/136-7]ตอนหนึ่งว่า “… ยาชื่อว่าจักระวาฬฟ้าครอบแก้พิศม์ไข้กาลทั้งปวงสาระพิศม์อันใด ๆ ก็ดีพิศม์กาลภายในภายนอกให้กลุ้มในใจก็ดี แลพิศม์กาลทั้งปวง700จำพวกที่มิได้ขึ้นมาทำพิศม์คุดอยู่ในหัวใจแลตับแลปอดทั้งภายในก็ดีแลหลบอยู่ตามผิวหนังภายในก็ดีแลพิศม์ฝีดาษฝีศีศะเดียวก็ดีตานทรางก็ดีท่านให้ทำยาขนานใหญ่นี้ ไว้แก้ เว้นไว้แต่บุราณกรรม์นั้นแล แต่ประจุบันกรรม์หายสิ้นแล ท่านแพทย์ทั้งปวงจงเร่งทำยาขนานนี้ขึ้นไว้ใช้เถิดถึงจะสู้กันกับกาล700จำพวกได้ท่านให้เอาเขี้ยวเสือ1 เขี้ยวหมู1 เขี้ยวหมี1 เงี่ยงปลาฉนาก1เงี่ยงปลากะเบน1นอแรด1งาช้าง1เขากวาง1เขากุย1เขาแพะ1เขาแกะ1ทั้งนี้ขั้วให้เกรียมหวายตะค้า1หวายตะมอย1เจตภังคี1สังกะระนี1ดอกสัตบุต1สัตตบงกช1สัตบัน1บัวหลวง1บัวขม1บัวเผื่อน1จงกลนี1พิกุล1บุนนาค1สาระพี1มะลิซ้อน1มะลิลา 1ดอกจำปา1ดอกกะดังงา1กฤษณา1กะลำภัก1ขอนดอก1ใบภิมเสน1ภิมเสนเกลด1การะบูร1น้ำประสานทอง 1 โกฏทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ผลจันทน์1ดอกจันทน์1กระวาน1กานพลู1สมุลแว้ง1เหดกะถินขาว1เหดกะถินพิมาน1เหดมะพร้าว1เหดตาล1เหดงูเห่า1เหดมะขาม1เหดไม้รัง1เหดไม้แดง1เหดตับเต่า 1 ศีศะมะหากาลทั้ง 5 ยาทั้งนี้เอาเสมอ

ภาคสาระพัดดีเปนน้ำกระสายบดปั้นแท่งไว้แก้กาล700จำพวกแก้ได้ทุกประการน้ำกกระสายยักใช้ตามแต่ชอบโรคนั้นเถิด แก้ในวะสันตะระดูแล…”,เขียนว่าจักรวาลฟ้าครอบก็มี.

จักษุโรโค น. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่ตาที่ เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ เช่นตาแดง ตาแฉะ ริดสีดวงตา, จักขุโรโค ก็เรียก. (มาจากคำจักษุหรือจักขุแปลว่าตาและโรโคแปลว่าโรค).

จักขุโรโค ดูจักษุโรโค. จันทกระลา, จันทกลา น. ลมประจำเส้นอิทา,

จันทะกาลาก็เรียก.จันทะกาลาดูจันทกระลา,จันทกลา.จันทน์ทั้ง 2 น. จุลพิกัดประเภทต่างสีพวกหนึ่ง

ประกอบด้วยแก่นจันทน์ขาว ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album L.ในวงศ์ Santalaceae และแก่นจันทน์แดงซึ่ ง ไ ด้ จ า ก พื ช ที่ มี ชื่ อ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ว่ าPterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์Leguminosae ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนักพิกัดนี้มีรสขมหวานเย็นสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อนด้วยพิษไข้เจริญไฟธาตุให้สมบูรณ์.

จับ ก. ใช้มือหรือนิ้วมือสัมผัสหรือกำยึดส่วนต่างๆของร่างกาย.

จับชีพจร ก. ใช้นิ้วมือแตะและกดเบา ๆ ลงบนเส้นเลือดแดงบางเส้นเช่นเส้นเลือดแดงที่ข้อมือ ข้อพับ ลำคอ ข้อเท้า เพื่อประเมินกำลังของเลือดลมหรือวินิจฉัยโรคหรืออาการ.

จับเส้น ก. กด คลึง ดึงกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นในกล้ามเนื้อ.

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 61

จารกึตำรายาวดัราชโอรสารามราชวรวหิารน. 1.ตำราการแพทย์แผนไทยประเภทที่สลักลงบนแผ่นหินอ่อนสีเทา รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ 33 เซนติเมตร เท่ากันทุกแผ่น แต่ละแผ่นมีอักษรสลักด้านเดียว จัดเรียงบรรทัดตามมุมแหลม จำนวน 17บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น มีเนื้อหาว่าด้วยแผนนวด แผนปลิง โรคที่พบบ่อย ๆ พร้อมตำรับยาแก้ เป็นต้น ตำรานี้ จัดทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 2364 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำไว้ แล้วติดประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และที่ผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถ เดิมมี 92 แผ่น ปัจจุบันเหลือเพียง50แผ่น.2.หนังสือเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งมี452หน้าพิมพ์ที่บริษัทอาทิตย์ โพรดักส์กรุ๊ปจำกัดโดยกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2545เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และอนุรักษ์ ฟื้นฟูตำราการแพทย์แผนไทยให้แพร่หลาย ทั้งนี้ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังที่อธิบายในความนำตอนหนึ่งว่า “... การจัดพิมพ์ได้ทำตามวิธีการอ่านจารึก โดยวิธีการคัดถ่ายถอดอักษรเป็นคำจารึกด้วยอักษรไทยปัจจุบันและทำคำอ่านจารึกพร้อมด้วยคำอธิบายศัพท์ในจารึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศัพท์เฉพาะด้านการแพทย์แผนไทย เกี่ยวกับชื่อโรค ชื่อสมุฏฐาน และอาการของโรค ชื่อสมุนไพร

พร้อมสรรพคุณทางยา พิกัดสมุนไพร วิธีปรุงเครื่องยา และวิธีใช้ยา เป็นต้น กับได้ทำดรรชนีรวมเรื่องไว้ท้ายเล่มด้วย ส่วนการจัดลำดับเรื่องนั้น ยังคงจัดตามลำดับแผ่นจารึกซึ่งติดประดับอยู่ที่ผนัง โดยเริ่มจากศาลารายหน้าพระอุโบสถด้านซ้ายไปขวานับเป็นจารึกแผ่นที่ 1 ถึง แผ่นที่ 8 ต่อไปเริ่มแผ่นที่ 9ที่ระเบียงมุมซ้ายด้านหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เรียงไปทางขวา วนรอบพระวิหารถึงแผ่นที่50...”.

จำหระ น. แถบ ซีก (ใช้กับร่างกาย) เช่นจำหระเบื้องซ้ายจำหระเบื้องขวา,ตำหระก็เรียก.

ตำหระดูจำหระ. จิตรมหาวงษ์ [จิดมะหาวง] น. ยาแผนไทย

ขนานหนึ่ง ใช้แก้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย คอเปื่อยมีตัวยาวิธีปรุงวิธีใช้และสรรพคุณดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์[1/141]ตอนหนึ่งว่า“…ยาชื่อจิตรมหาวงษ์ แก้ฅอเปื่อย ลิ้นเปื่อย ปากเปื่อย แลแก้ไอ ท่านให้เอารากมะกล่ำต้น 1รากมะกล่ำเครือ 1 รากมะขามป้อม 1 เนระภูสี1เขากวาง1เขากุย1นอแรด1งาช้าง1จันทน์ทั้ง 2น้ำประสารทองสตุ 1ยาทั้งนี้เสมอภาคทำแท่งไว้ละลายน้ำผึ้งทาหายแล…”.

จุกอกน.อาการเจ็บแน่นในทรวงอก.จุนสีสะตุ น. จุนสีที่ปราศจากน้ำผลึกใน

โมเลกุล มีสีขาว โบราณเตรียมโดยนำไปตากแดดไว้จนสีซีดและขาวในที่สุด.

จุลพิกัด น. พิกัดตัวยาน้อยอย่าง เรียกชื่อตรงตามตัวยานั้น มักเป็นตัวยาเดียวกัน แต่แตก

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 62

ต่างกันที่แหล่งกำเนิด สี ขนาด รูปร่างลักษณะและรสเช่นขี้เหล็กทั้ง2จันทน์ทั้ง2เปล้าทั้ง2เกลือทั้ง2รากมะปรางทั้ง2.

เจือ ก.นำส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติใช้กับของเหลวเช่นใช้น้ำเย็นเจือน้ำร้อน,เจือแทรกก็เรียก.

เจือแทรกดูเจือ.ฉกาลวาโย [ฉะกาละวาโย]น. ธาตลุม6ประการ

ได้แก่ ลมพัดตั้งแต่ปลายเท้าถึงศีรษะ (อุทธังคมาวาตา) ลมพัดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า(อโธคมาวาตา)ลมพัดในท้องแต่พัดนอกลำไส้(กุจฉิสยาวาตา) ลมพัดในลำไส้และกระเพาะอาหาร (โกฏฐาสยาวาตา) ลมพัดทั่วสรีระกาย (อังคมังคานุสารีวาตา) และลมหายใจเข้าออก(อัสสาสะปัสสาสะวาตา).(มาจากคำฉแปลว่าหก,กาลแปลว่า เวลากับ วาโยแปลว่าลม).

ชลาพุช, ชลาพุชะ [ชะลาพุชะ] น. สัตว์ที่เกิดในครรภ์ และคลอดออกมาเป็นตัว เช่นคน โค ช้าง, เขียนว่าชลามพุช หรือชลามพุชะก็มี.

ชลามพุช, ชลามพุชะ [ชะลามพุชะ] ดูชลาพุช,ชลาพุชะ.

ชโลม ก. ทำให้เปียกชุ่ม ในทางการแพทย์แผนไทย ใช้ผ้าชุบน้ำยาแล้วเช็ดตัวให้เปียกเช่นชโลมยาชโลมน้ำดังคัมภีร์ประถมจินดา[1/181]ตอนหนึ่งว่า“...ถ้าให้ร้อนยาขนานนี้ท่านให้เอาใบไซรย้อยใบญ่าแพรกใบพรมมิ ใบตำลึง ดินประสิวขาว ศริยา 5 สิ่งนี้บดละลายน้ำซาวเข้าชะโลมหาย กินก็ได้ใช้มามากแล้ว...”,เขียนว่าชะโลมก็มี.

ชะลุกะ,ชัลลุกะ,ชัลลุกาน.ปลิง.ชะโลมดูชโลม. ชัน น. ยางไม้ ชันที่ใช้เป็นยา เช่น ชันตะ

เคียนตาแมว.(อ.resin).ชันน้ำมัน น. ยางไม้ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน

หอมหรือน้ำมันระเหยง่าย เช่น ยางสน(turpentine), กำยาน (benzoin). (อ.oleoresin).

ชำระก. ชะลา้งลา้งดงัคมัภรีธ์าตวุภิงัค์ [1/130]ตอนหนึ่งว่า “… ถ้าจะแก้ให้เอารังมดแดงรัง1 ใบมัดกา 1 เทียนดำ 1 สมอเทศ 1 รากตองแตก1ยาทั้งนี้เอาสิ่ง1ตำลึงศีศะหอม1ตำลึง1บาทขมิ้นอ้อยยาวองคุลี1ต้ม3เอา 1 แทรกดีเกลือตามธาตุหนัก เบา ชำระบุพโพร้ายเสียก่อน...”.

ช้ำรั่ว น. โรคทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์กลุ่มหนึ่ง เกิดกับผู้หญิง ผู้ป่วยมีอาการปวดแสบปวดร้อนภายในช่องคลอดและช่องทวารเบา กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เจ็บและขัดถึงบริเวณหัวหน่าว ตำราการแพทย์แผนไทยว่า อาจเกิดจากสาเหตุ 4 ประการได้แก่ 1) เกิดจากการคลอดบุตร แล้วอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้เสมหะ โลหิตเดินไม่สะดวกมดลูกเน่า 2) เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์มากเกินไป 3) เกิดจากฝีในมดลูก ทำให้มีหนองหรือน้ำเหลืองไหลออกมา และ 4) น้ำเหลืองที่เกิดจากทางเดินปัสสาวะอักเสบไหลออกมาทำให้เกิดแผลเปื่อยลามที่ทวารเบา ปัสสาวะไหลกะปริบกะปรอย ปวดแสบ ขัดหัวหน่าวตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมล-มังคลาราม ว่าสาเหตุหลังนี้ เกิดจาก

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 63

“กิมิชาติ” ดังคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา [2/305] ตอนหนึ่งว่า “... จะว่าด้วยโรคอันเกิดสำหรับสัตรีที่เรียกว่าช้ำรั่วมีอยู่ 4 ประการคือเกิดเพราะคลอดบุตรมดลูกเน่า 1 คือเกิดเพราะส้องเสพย์กับด้วยบุรุศเกินประมาณ 1คือเปนฝีในมดลูกแลเปนบุพโพจางๆเปนน้ำเหลืองดังน้ำคาวปลา 1 คือเปนเพราะน้ำเหลืองนั้นร้ายจึ่งกัดทวารเบานั้นเปื่อยไปแล้วให้ปัศสาวะนั้นหยด ๆ ย้อย ๆ ให้ปวดแสบนัก ให้ขัดหัวเหน่า 1 รวมเปน 4ประการ…”.

ชิรณัคคี [ชิระนักคี] น. ไฟเผาร่างกายให้แก่คร่ำคร่า ทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรมชราภาพทุพพลภาพไป เป็นองค์ประกอบ 1ใน4ชนิดของธาตุไฟ.

ชิวหาโรโค [ชิวหาโรโค] น. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่ลิ้น ที่เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ เช่น ลิ้นแตก ลิ้นเปื่อย. (มาจากคำชิวหาแปลว่าลิ้นและโรโคแปลว่าโรค).

เชื่อม 1. น. อาการอย่างหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคบางชนิด มีลักษณะอาการหน้าหมองซึม มึนงง ตาปรือ คล้ายจะเป็นไข้ หรือเป็นอาการที่เกิดจากพิษไข้หรือพิษของโรคบางชนิด. 2. ว.มีอาการเงื่องหงอยมึนซึมคล้ายเป็นไข้ ตำราการแพทย์แผนไทยมักใช้คำนี้ร่วมกับคำอื่นที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับอาการที่แสดงออกให้เห็นเด่นชัดได้แก่เชื่อมซึม เชื่อมมึนและเชื่อมมัวดังคัมภีร์ตักกศิลา[14/514] ตอนหนึ่งว่า “... ทีนี้จะว่าด้วยไข้

หงระทด ให้จับตัวร้อนเป็นเปลว เท้าเย็นมือเย็น ให้เชื่อมมัว ไม่มีสติสมปฤดี ให้หอบให้สอึก ...” หรือดังคัมภีร์ประถมจินดา [2/68]ตอนหนึ่งว่า “... กาลเกิดขึ้นแต่หทัยลงไป 45เวลา910เวลาก็ดีให้ลงเปนโลหิตสดสดออกมาก่อนแล้วจึ่งลามลงมาถึงหัวตับแลหัวตับนั้นขาดออกมาเปนลิ่ม แท่งให้ดำดังถ่านไฟอุจาระดังขี้เทา ให้ระสำระสาย บางทีให้เชื่อมมึนให้มือเท้าเยนให้เคลิบเคลิ้มหาสติมิได้ แลคนสมมุติว่าผีเข้าอยู่นั้นหามิได้เลย คือไข้หมู่นี้เองกระทำดุจผีตะกละเข้าสิง...”หรือคัมภีร์โรคนิทาน [2/330] ตอนหนึ่งว่า “...โลหิตพิการให้คลั่งเพ้อพก ให้ร้อน เหื่อพิการมักให้เชื่อมซึมมันข้นพิการมักให้ตัวชาสากไป...”.

เชื่อมซึมดูในเชื่อม. เชื่อมมัว ดูในเชื่อม. เชื่อมมึน ดูในเชื่อม. โชน ว.ไหม้ทั่วเต็มที่เช่นไฟลุกโชน.ไชยเพท, ไชยเภท [ไชยะเพด] น. รูปที่ เริ่ม

กำเนิดขึ้นภายในครรภ์มารดา นับตั้งแต่วันที่7 หลังจากวันปฏิสนธิดังคัมภีร์ประถมจินดา[1/173]ตอนหนึ่งว่า“...ครั้นโลหิตตั้งขึ้นได้แล้วอยู่ 7 วันก็บังเกิดเปนปฐมังกะละกะลมนั้นก็เรียกว่าไชยเพทคือมีรดูล้างน้าที่1ถ้ามิดังนั้นก็ให้มารดา ฝันเหนวิปริต ก็รู้ว่าครรภตั้งแลครรภตั้งขึ้นแล้ว...”.

ซ่วงดูส้วง. ส้วง น. ช่อง, โพรง, (โดยมากมักใช้กับทวาร

หนัก),เขียนว่าซ่วง,ทร่วงก็มี.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 64

ทร่วงดูส้วง. ไซ้ท้องก.ปวดมวนท้อง.ดอกไม้ น. 1. ฟันน้ำนม ดังคัมภีร์ประถม

จินดา[15/100]ตอนหนึ่งว่า“...เมื่อดอกไม้(คือฟัน)ขึ้นซางจึงพลอยทำโทษครั้ง 1 ...”.2. ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทำให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์.

ดัด ก. ทำส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่คด โค้งงอหรือติดขัดให้ตรงหรือเข้าที่ เพื่อป้องกันหรือบำบัดโรคหรืออาการบางอย่าง หรือฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย.

ดีงูเหลือม น. ถุงน้ำดีของงูเหลือมที่แห้งสนิทตำราสรรพคุณยาโบราณว่ามีรสขมใช้บดปรุงเป็นกระสายยา ช่วยให้ตัวยาแล่นเร็ว ดับพิษตานทรางในเด็กใช้ฝนกับยาหยอดตาแก้ตาแฉะตามัวตาฟางตาแดงและแก้ปวดตา.

ดึง ก. เหนี่ยว ฉุด และรั้ง เพื่อยืดเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ หรือพังผืด ของข้อต่อที่ยึดติดกันให้คลายออกหรือให้เข้าที่.

ดึงกระดูก ก. เหนี่ยว ฉุด และรั้ง เพื่อให้กระดูกเข้าที่.

ตโจ น. หนัง เป็นองค์ประกอบ 1 ใน 20สิ่งของธาตุดิน,เขียนว่าตะโจก็มี.

ตะโจดูตโจ. ต้ม3เอา1 ดูในยาต้ม. ยาต้ม น. ยาแผนโบราณไทยรูปแบบหนึ่ง

เตรียมได้โดยการเอาตัวยาผสมกันตามตำรับยา ใส่หม้อขนาดพอเหมาะ เติมน้ำให้ท่วมตัวยา แล้วต้มให้เดือดตามกำหนด เช่น ต้ม 3

เอา 1 หมายถึง ต้มให้เดือด แล้วเคี่ยวจนน้ำงวดไป 2 ส่วน เหลือเพียง 1 ส่วน ดังคัมภีร์ประถมจินดา [1/161] ตอนหนึ่งว่า “...ขนานหนึ่งเอาใบพลวง 1 รากกล้วยแดง 1รากกล้วยตีบหอม 1 รากกล้วยหอม 1 รากตาเสือ1เอาเสมอภาคต้ม3เอา1กินหายแล๚...”.

ต้ม ก. เอาของเหลว เช่น น้ำ ใส่ภาชนะ แล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุกเช่นต้มยาดังคัมภีร์ประถมจินดา[1/161]ตอนหนึ่งว่า“...ขนานหนึ่งเอาใบพลวง 1 รากกล้วยแดง 1รากกล้วยตีบหอม 1 รากกล้วยหอม 1 รากตาเสือ1เอาเสมอภาคต้ม3เอา1กินหายแล๚...”.

ตรีกฏุก, ตรีกะฏุก, ตรีกระฏุก น. พิกัดยาชนิดหนึ่ง จำกัดของเผ็ดร้อน 3 อย่าง ได้แก่ขิงแห้งพริกไทยและดีปลีในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก พิกัดนี้มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้วาตะเสมหะปิตตะในกองธาตุฤดูอายุและกองสมุฏฐาน.

ตรีชะวาสังข์ น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ปถวีธาตุพิการ มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณ ดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [1/119] ตอนหนึ่งว่า “… ยาชื่อตรีชะวาสังข์ แก้ปัถวีธาตุพิการคือสมองกระดูกม้ามให้เอากระเทียม1ใบสะเดา 1 ใบคนทีสอ 1 เปลือกต้นตีนเปด1 เบญจกูล 1 จันทน์ทั้ง 2 สมอทั้ง 3 ผลจันทน์1ดอกจันทน์1กระวาน1กานพลู1ตรีกะฏุก 1 ยาทั้งนี้เอาสิ่งละส่วน เปลือกกันเกรา 2 ส่วน เปลือกสมุลแว้ง 3 ส่วน ตำผง

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 65

ละลายน้ำผึ้งกินแก้ปัถวีธาตุ 20 ประการแล…”.

ตรีโทษ ว. อันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะและเสมหะ ทั้ง 3 กองสมุฏฐานร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ.

ตรีผลา [-ผะลา] น. พิกัดยาชนิดหนึ่ง จำกัดผลไม้ 3 อย่าง ได้แก่ สมอพิเภก สมอไทยและมะขามป้อม ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนักอย่างไรก็ตามในตำราสรรพคุณยาฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทระบุชนิดของผลไม้3 อย่างแตกต่างกันไป คือ มีสมอเทศ แทนมะขามป้อมพิกัดนี้มีรสเปรี้ยวฝาดสรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะในกองธาตุ ฤดู อายุและกองสมุฏฐาน (คำนี้แพทย์แผนไทยนิยมอ่านว่าตรีผะหลา).

ตรีสันฑฆาต, ตรีสันทฆาต, ตรีสันทะฆาฎ [ตรีสันทะคาด] น. โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกระทบกระแทกอย่างแรงจนชอกช้ำ เป็นอาการต่อเนื่องจากเอกสันฑฆาตหรือโทสันฑฆาต เกิดเป็นเม็ดผุดขึ้นภายในบริเวณดี ตับหรือลำไส้ ทำให้เป็นไข้ จุกเสียดท้องพอง มีอาการเพ้อ คลั่ง ประดุจผีเข้าสิง ถ้าเป็นนาน7–9วันโลหิตจะแตกออกตามทวารทั้ง9.ตรีสาร น. พิกัดยาชนิดหนึ่ง จำกัดตัวยา 3อย่าง ได้แก่ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้านและรากช้าพลู ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนักพิกัดนี้รสเผ็ดร้อนสรรพคุณแก้เสมหะปิตตะวาตะในกองธาตุฤดูอายุและกองสมุฏฐาน.ตะเกียบ น. ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง.

ตะคากดูหัวตะคาก. ตาน น. โรคเด็กประเภทหนึ่ง มักเกิดในเด็ก

อายุตั้งแต่ 5-12 ขวบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือตานโจรและตานจร.

ตานขโมยดูตานโจร. ตานโจร น. ตานที่ เกิดกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่

5-6 ขวบ เป็นต้นไป จนถึง 7 ขวบ แพทย์แผนไทยเชื่อว่ามักเกิดจากการกินอาหารอันทำให้เกิดพยาธิในร่างกายมีอาการหลายอย่างเช่น ลงท้อง ธาตุวิปริต ชอบกินของสดของคาวกินอาหารได้น้อยอุจจาระเหม็นคาวจัด อุจจาระกะปริบกะปรอยหรือเป็นมูกเลือด บางทีเลือดออกสด ๆ ทำให้เด็กซูบซีดเมื่อเป็นนานประมาณ 3 เดือน จะมีอาการลงท้อง ตกเลือดดั่งน้ำล้างเนื้อ ปวดมวนเป็นมูกเลือดดากออกตัวผอมเหลือง,ตานขโมยก็เรียก.

ตานจร น. โรคตานชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นกับเด็กที่เกิดในวันใดก็ได้ มีชื่อแตกต่างกันไป เช่นกะระพรหมกิจสันตุกมิตสาระพะกะระซึ่งตานจรแต่ละประเภทนี้มีสาเหตุและอาการต่างกัน.

ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลามักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า.

ตาย ก. 1. สิ้นใจ สิ้นชีวิต ไม่เป็นอยู่ต่อไป. 2.สิ้นสภาพของการมีชีวิต เช่น สภาวะสมองตาย เนื้อตาย. 3. เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น มือตายตีนตาย.4.รับความรู้สึกไม่ได้.

ตาระสกะโรค, ตาระสะกะโรค น. ริดสีดวงประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นในหัวหน่าวและท้อง

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 66

น้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมากปัสสาวะขัด หยดย้อย แสบร้อนในท่อปัสสาวะมาก ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [4/272] ตอนหนึ่งว่า“… ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชื่อว่าตาระสกะกล่าวคือโรคริดสีดวง อันบังเกิดขึ้นในเหน่าและท้องน้อยนั้นเป็นคำรบ 10 มีอาการกระทำให้ปวดท้องน้อยเป็นกำลังบางทีให้ขัดปัสสาวะ บางทีให้ปัสสาวะบ่อย ๆ และหยดย้อย มิสะดวก ให้แสบร้อนในลำปัสสาวะยิ่งนัก ฯ .. .”. ดู ริดสีดวง ประกอบ.

ตาแหก น. อาการที่ลืมตาเปิดได้ไม่ เต็มที่และหลับตาไม่สนิท.

ตุ่ม น. เม็ดที่ขึ้นตามร่างกาย เช่น ผิวหนังฝ่ามือฝ่าเท้าในปากในคอ.

ถันน.1.เต้านม.2.น้ำนม.ถันประโยธร น. เต้านมของสตรี อันมีต่อม

สร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก ดังคัมภีร์มหาโชตรัต [2/263] ตอนหนึ่งว่า“... อันว่ากูมารีทั้งหลายเมื่อยังเยาวยัง เล็ก อยู่นั้น กำเนิดตานทรางก็เหมือนกันกะกูมารผู้ชาย ต่อเมื่อได้อายุล่วงกำหนดตานทราง ถึงกำหนดที่จะมีระดูแล้ว จึ่งมีประเภทต่างกันกับผู้ชาย 4ประการ ที่จะให้สัตวปะฏิสนธิ จะเกิดโรคก็เกิดด้วยโลหิตนั้นมากกว่าโรคอื่น มีประเภทแปลกันกับชาย 4 ประการนั้น คือถันประโยธรประการ 1 คือ จริตกิริยานั้นประการ 1คือประเวณีประการ1คือต่อมโลหิตประการ1 เปน 4 ประการด้วยกันดังนี้ ...”. (มาจาก

คำถันแปลว่า เต้านมและปโยธรแปลว่าอวัยวะอันทรงไว้ซึ่งน้ำ,นม).

ทวดึงษาการ, ทวดึงสาการ, ทวัตดึงสาการ,ทวัตติงสาการ ดูอาการ32.

อาการ 32 น. ส่วนที่ประกอบเป็นร่างกายที่มองเห็นและจับต้องได้ 32 อย่าง มีธาตุดิน20อย่าง (ได้แก่ผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไตหรือพุง หัวใจตับพังผืดม้ามปอดไส้ใหญ่ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า และสมองศีรษะ) และธาตุน้ำ 12 อย่าง (ได้แก่ น้ำดี เสมหะหรือเสลดหนอง เลือด เหงื่อ มันข้นหรือไขมัน น้ำตามันเหลวหรือน้ำเหลือง น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อและปัสสาวะ) เมื่อมีส่วนประกอบเหล่านี้ครบสมบูรณ์ มักเรียกว่า อาการครบ 32, ทวัตดึงสาการทวดึงสาการทวดึงษาการหรือทวัตติงสาการก็เรียก.

ทวาทศอาโป [ทะวาทดสะอาโป] น. ธาตุน้ำ12ประการได้แก่น้ำดี (ปิตตัง)เสมหะหรือเสลด(เสมหัง)หนอง(บุพโพ)เลือด(โลหิตัง)เหงื่อ (เสโท) มันข้นหรือไขมัน (เมโท) น้ำตา(อัสสุ) มันเหลวหรือน้ำเหลือง (วสา) น้ำลาย(เขโฬ)น้ำมูก(สิงฆานิกา)ไขข้อ(ลสิกา)และปัสสาวะ (มุตตัง). (มาจากคำทวาทศะแปลว่าสิบสองกับอาโปแปลว่าน้ำ).

ทันตา น. ฟัน เป็นองค์ประกอบ 1 ใน 20สิ่งของธาตุดิน.

ทับหม้อเกลือ ก. เอาหม้อเกลือที่ตั้งไฟให้ร้อนวางบนใบพลับพลึงหรือใบละหุ่ง ซึ่งวางบนผ้าดิบ แล้วห่อรวบชายผ้าทำเป็นกระจุก

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 67

สำหรับถือ นาบบนหน้าท้อง หัวหน่าว เอวสะโพก ขาหนีบ และตามตัวของหญิงหลังคลอด เพื่อเร่งให้มดลูกเข้าอู่ ขับน้ำคาวปลาและลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ, นาบหม้อเกลือก็เรียก.

นาบหม้อเกลือดูทับหม้อเกลือ. ท้ายทอยน.ส่วนสุดของกะโหลกศีรษะด้านหลัง.ทุ่ม น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ 6

ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ 19 นาฬิกาถึง24นาฬิกาเรียกว่า1ทุ่มถึง6ทุ่ม,แต่6ทุ่มนิยมเรียกว่าสองยาม.

ทุราวสา 12, ทุลาวะสา 12 น.ความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะ 3 จำพวก คือ ความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะที่เกิดเฉพาะในผู้ชายซึ่งมี 4 ประเภท (น้ำปัสสาวะสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวเช็ด สีเหลืองคล้ายน้ำขมิ้นสด สีแดงคล้ายน้ำฝาง และสีดำคล้ายน้ำครำ) จำพวกหนึ่ง, ที่ เกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอีก 4ประเภท(มุตฆาต4)จำพวกหนึ่ง,และที่เกิดเฉพาะในผู้หญิง 4 ประเภท (มุตกิต 4) อีกจำพวกหนึ่ง, ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[4/37]ตอนหนึ่งว่า “... ทุราวสา 12 นั้น คือน้ำปัสสาวะ 4มุตคาด 4 มุตกิด 4 เป็น 12 ประการดังนี้...”. 2. คัมภีร์การแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญว่าด้วยความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะ และยาที่ใช้แก้.

ทรุาวสา,ทรุาวะสา4ดูทลุาวะสา,ทลุาวะสา4. ทุลาวะสา, ทุลาวะสา 4 น. 1. ความผิดปรกติ

ของน้ำปัสสาวะพวกหนึ่งเกิดกับผู้ชายผู้ป่วยมีอาการปวดหัวหน่าว เจ็บขัด แสบองคชาตเวลาถ่ายปัสสาวะ น้ำปัสสาวะอาจมีสีและลักษณะต่างกันได้4แบบคือสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวเช็ด สีเหลืองคล้ายน้ำขมิ้นสด สีแดงคล้ายน้ำฝาง และสีดำคล้ายน้ำครำ ดังคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา [2/294] ตอนหนึ่งว่า “...ทีนี้จะว่าด้วยทุลาวะสา4ประการคือว่าด้วยน้ำปัศสาวะ 4 ประการ คือน้ำมูตรเมื่อออกมานั้นขาวข้นดังน้ำเข้าเชด ถ้าเหลืองดังน้ำขมิ้นสด ถ้าเปนโลหิตสด ๆ ก็ดีแดงดังน้ำฝางต้มก็ดีดำดังน้ำครามก็ดีย่อมให้ปวดหัวเหน่าให้แสบองคชาติ ให้สบัดร้อนสะบัดหนาวเปนเวลามีประการต่างๆ...”,เขียนว่าทุราวสาหรือทุราวะสาก็มี.

ทุวรรณโทษ, ทุวันโทษ [ทุวันโทด] ว. อันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ หรือเสมหะ 2 ใน 3 กองสมุฏฐานร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ เช่น ไข้ทุวันโทษวาตะและเสมหะเกิดจากกองสมุฏฐานวาตะและเสมหะกระทำร่วมกัน.

โทษ [โทด, โทดสะ] น. ความผิดปรกติอันเกิดจากการเสียสมดุลของกองสมุฏฐานปิตตะวาตะและเสมหะ.

โทสันฑฆาต, โทสันทฆาต, โทสันทะฆาฎ[โทสันทะคาด]น.โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกระทบกระแทกอย่างแรงจนชอกช้ำ เป็นอาการต่อเนื่องจากเอกสันฑฆาต เกิดอาการท้องผูกจนเป็นพรรดึก เกิดเป็นกองลมเข้าไปอยู่ในท้อง ทำให้เจ็บปวดไปทั้งตัว มีอาการ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 68

เมื่อยบั้นเอว ขัดตะโพก เวียนศีรษะ สะบัดร้อนสะท้านหนาวเป็นต้น.

นขา น. เล็บ, เล็บมือ, เล็บเท้า, เป็นองค์ประกอบ1ใน20สิ่งของธาตุดิน.

นวด ก. บีบ กด คลึง จับ ดัด ดึง บิด ทุบสับ ตบ ตี เป็นต้น ด้วยมือหรือส่วนของมือแขน ศอก เข่า เท้าหรือส่วนของเท้า หรืออวัยวะอื่นใด รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ บำบัดโรคหรืออาการบางอย่างฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย หรือบางกรณีเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค.

นหารู น. เส้นเอ็น, เอ็น, เป็นองค์ประกอบ1ใน20สิ่งของธาตุดิน.

นหารูชาโต ดูในโลหิตปกติโทษ1. นั่งถ่าน ก. นั่งคร่อมบนที่นั่งซึ่งเจาะช่อง เอาถ่าน

ที่คุหรือโชนแล้วใส่ในภาชนะ เช่น กะลามะพร้าว หรือกระโถนขนาดเล็ก วางไว้ใต้ที่นั่งให้ตรงกับช่องที่เจาะ ใช้สมุนไพรบางชนิดเช่นผิวมะกรูดว่านน้ำว่านนางคำไพลขมิ้นอ้อย หั่นให้ละเอียด ตากแดดให้แห้ง บดหยาบ ๆ โรยทีละหยิบมือ ลงบนถ่านให้พลุ่งเป็นควันผ่านช่องที่เจาะขึ้นสู่ฝีเย็บของผู้นั่งหรืออาจใช้วิธีการนั่งคร่อมบนกระโถน หรือโอ่งขนาดพอเหมาะ ที่ใส่ถ่านที่คุหรือโชนและโรยสมุนไพรต่าง ๆ นั้นแล้ว โบราณว่าเป็นการสมานแผลที่เกิดจากการคลอดบุตร.

นัด ก. เป่าหรือสูดผงยาที่บรรจุในหลอดโค้งเข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์ ดังคัมภีร์ประถมจินดา[1/122]ตอนหนึ่งว่า“...ปวดศีศะเอาชะเอมทั้ง2ชะมด1ภิมเสน1อบเชยเทศ1

จันทน์เทศ 1 เปลือกคนทา 1 โกฎสอ 1 ใบสมี 1 ผลผักชี 1 ขิง 1 เอาเสมอภาค ตำผงนัดแก้ปวดศีศะเพื่อเยื่อในสมองพิการ หายแล...”.

นัตถุ์น.จมูก.นาคบาท [นากคะบาด] น. บริเวณแนวเส้น

ชิดสันหน้าแข้งด้านนอกที่ใช้ในการนวดแบบราชสำนักและเชื่อมโยงไปยังจุดหรือตำแหน่งบริเวณใต้สะดือบนเส้นที่แล่นไปยังอวัยวะเพศ ใช้นวดแก้โรคกามตายด้าน ดังตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11 [35/64] ตอนหนึ่งว่า“… แพทย์ใดเมื่อได้เห็น โรคกล่อนเส้นซึ่งขัดขวางให้นวดแต่เบื้องล่าง เหนือตาตุ่มข้างท้องน่องแก้องคะชาติตาย เพื่อกล่อนร้ายมิลำพองหนึ่งเส้นน่าแข้งสอง รวมทำนองกล่อนปัตะฆาฏ ... บางทีเปนใส้เลื่อน แปลแชเชือนโทษกาลี เส้นกล่อนในคัมภีร์ พึงขยายเส้นใต้สูนย์ใต้สะดือสักนิ้วกึ่ง ประจงคลึงตลอดจูน เคียงเรียงเส้นสูนย์พูล ชื่อนาคบาทบอกให้รู้ ...”, เขียนว่านาคบาศก็มี.

นาคบาศดูนาคบาท.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

69

วารสารสโมสร

ธงชัย สุขเศวต**

การจัดทำคอลัมน์วารสารสโมรสรการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอ

เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการไทยแล้วรวบรวมไปจัดพิมพ์เป็นเล่มสารสนเทศของข่ายงาน

ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการค้นเอกสารอ้างอิงและในการวางแผนวิจัยไม่ซ้ำซ้อน.

เจลแคปไซซินจากพริกช่วยบรรเทา

อาการข้อเข่าเสื่อม* วีระชัย โควสุวรรณ, วินัย ศิริชาติวาปี, ทวีโชค วิษณุโยธิน, พลศักดิ์จิระวิพูลวรรณ,วิรุฬห์เหล่าภัทรเกษม

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น Journalof theMedicalAssociationofThailand,2553,

93(10):1188-1195.

พริกเป็นเครื่องปรุงรสมีรสชาติเผ็ดร้อน

เป็นที่นิยมในประเทศไทยและมีการใช้ในทางการ

แพทย์แผนไทยมานาน ซึ่งการใช้เป็นยาทาเฉพาะ

ที่ พบว่ามีฤทธิ์ช่วยในการลดอาการปวดข้อ ปวด

กล้ามเนื้อ และได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่ง

ชาติโดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือสารแคปไซซิน

(capsaicin)แต่ขนาดที่ใช้0.075%and0.05%

ของแคปไซซินมีผลข้างเคียงสำคัญ คือ เกิด

อาการผิวหนังแดง ปวด และแสบร้อน ผู้วิจัยจึง

ทำการวิจัยหาประสิทธิผลของเจลแคปไซซิน

ขนาด 0.125% ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่

แสดงอาการ โดยทำการศึกษาคุมแบบสุ่มเปรียบ

เทียบ ปกปิด 2 ทาง และไขว้กลุ่มในผู้ป่วย 100

คน ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยถึงปานกลาง แบ่ง

ผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทาเจลแคปไซซิน กับ

กลุ่มทาเจลไม่มีตัวยา โดยให้ทาเจลแคปไซซินบริ

เวณข้อเข่าที่ เสื่อมวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4

สัปดาห์ จากนั้นเว้น 1 สัปดาห์แล้วไขว้กลุ่มทา

เจลแคปไซซินและเจลไม่มีตัวยาบริเวณข้อเข่าที่

เสื่อมวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการ

ศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ทาเจลแคปไซซินมีความ

รุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมลดลง อาการปวด

ข้อยึด และการเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น เมื่อเทียบ

* Kosuwon W., Sirichatiwapee W., Wisanuyotin T.,Jeeravipoolvarn P., Laupattarakasem W. (2010)Efficacy of symptomatic control of knee osteoarthritis with0.0125%of capsaicinversusplacebo. Journalofthe Medical Association of Thailand. 93(10): 1188-1195.

**คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 70

กับการทาเจลที่ไม่มีตัวยา โดยพบอาการข้างเคียง

สำคัญ คือ อาการแสบร้อนบริเวณผิวหนังที่ทา

เจลแคปไซซินในผู้ป่วย 67% แต่ไม่มีผู้ป่วยถอน

ตัวจากการศึกษาด้วยเหตุดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า

เจลแคปไซซิน ขนาด 0.125% มีประสิทธิผลใน

การบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม ในผู้ป่วยที่มีความ

รุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลาง โดยอาการแสบ

ร้อนที่ผิวหนังบริเวณที่ทาก็น้อยกว่าการศึกษา

ก่อนหน้านี้

สารสกัดจากบัวบกช่วยทำให้แผลหาย

เร็วขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน** วีรยะเภาเจริญ

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์

Journalof theMedicalAssociationofThailand.2553,

93Suppl7:S166-170.

บัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ เป็น

เครื่องดื่ม อาหาร และใช้ในการรักษาโรคต่างๆ

ตามการแพทย์แผนไทยมาเป็นเวลานาน โดยมี

สารสำคัญตัวหนึ่งที่ออกฤทธิ์ คือ เอเซียทิโคไซด์

และได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งพบมี

ฤทธิ์สมานแผล ลดการอักเสบ ผู้วิจัยจึงทำการ

ศึกษาประสิทธิผลและอาการข้างเคียงของสาร

สกัดบัวบกในการรักษาแผลในผู้ป่วยเบาหวาน

โดยเป็นการศึกษาควบคุมแบบสุ่ม ในผู้ป่วยเบา

หวาน 170 คน ที่มารักษาที่ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มให้ยาหลอก

และกลุ่มที่ให้แคปซูลสารสกัดบัวบกขนาด 50

มิลลิกรัมของสารสกัดเอเซียทิโคไซด์ ครั้งละ 2

แคปซูลวันละ3ครั้งหลังอาหารเป็นเวลา21วัน

ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการรักษาเบาหวานและแผลเช่น

เดียวกันโดยตรวจร่างกายและแผลในวันที่7,14

และ 21 ผลการศึกษาพบว่าแผลในกลุ่มที่ได้รับ

สารสกัดบัวบกจะหายเร็วกว่ากลุ่มยาหลอก โดย

ไม่พบอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ในทั้ง 2

กลุ่มผู้วิจัยจึงสรุปว่าสารสกัดบัวบกช่วยให้แผลใน

ผู้ป่วยเบาหวานหายเร็วขึ้นและเกิดแผลเป็นชนิด

นูนลดลง โดยไม่พบผลข้างเคียงหรืออาการที่ไม่

พึงประสงค์

ประสิทธิผลของสารสกัดเถาวัลย์

เปรียงในการรักษาผู้ป่ วยข้อ เข่ า

เสื่อม***วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล1, ธีระวุธ ปิ่นทอง2, มาลี บรรจบ2, สุนี ธนกำธร3,พรสิริชินสว่างวัฒนกุล3,วิษณุธรรมลิขิตกุล4

1 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล2 สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข3 สำนักงานวิจัยและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล4 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Journal of Alternative and Complementary Medicine.2554,17(2):147-153.

**Paocharoen V. (2010) The efficacy and side effectsof oral Centella asiatica extract for wound healingpromotion indiabeticwoundpatients. Journalof theMedicalAssociationofThailand.93Suppl7:S166-170.

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 71

เถาวัลย์เปรียง พืชสมุนไพรที่ใช้มานานใน

ทางการแพทย์แผนไทย ได้รับการบรรจุในบัญชี

ยาหลักแห่งชาติ ในการบรรเทาอาการปวดกล้าม

เนื้อและลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ผู้วิจัยจึง

ทำการวิจัยประสิทธิผลและอาการข้างเคียงของ

สารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อ

เข่าเสื่อม โดยทำการศึกษาควบคุมแบบสุ่ม โดย

ปิดทางเดียวไม่ให้ผู้ตรวจรักษาทราบณภาควิชา

เวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล ในผู้ป่วย 107 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียง800มิลลิกรัม

ต่อวัน และกลุ่มที่ได้รับยาต้านการอักเสบนาโปร

เซน 500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์

โดยทำการวัดผลการรักษาที่สัปดาห์ที่ 0, 2 และ

4 ซึ่งพบว่าผู้ป่วยมีอาการข้อเข่าเสื่อมดีขึ้นไม่แตก

ต่างกันทั้ง2กลุ่มโดยพบอาการระคายเคืองทาง

เดินอาหารและดีสเปปเซีย(dyspepsia)ในกลุ่ม

ที่ได้รับนาโปรเซนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัด

เถาวัลย์เปรียง ผู้วิจัยจึงสรุปว่า สารสกัดเถาวัลย์

เปรียงสามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่า

เสื่อมได้โดยมีผลข้างเคียงน้อย

ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุข

ต่อยาจากสมุนไพรและนโยบายการ

ส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรใน

สถานบริการสาธารณสุข* คัคนางค์โตสงวน1,ณัฏฐิญาค้าผล2,มนทรัตม์ถาวรเจริญทรัพย์3,เนติสุขสมบูรณ์3,วันทนีย์กุลเพ็ง1,ศรีเพ็ญตันติเวสส1,ยศตีระวัฒนานนท์1

1 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข2 คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร3 คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 5, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2554) : 513-521

การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อมา

ทดแทนยาแผนปัจจุบันเป็นนโยบายที่สำคัญและ

ดำเนินการมานานแต่ก็ยังไม่ประสบผลเท่าที่ควร

ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาความ

คิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขทั้งต่อยาจากสมุน

ไพรและต่อนโยบายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุน

ไพรโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งพบว่าบุคลากร

สาธารณสุขให้ความเชื่อมั่นในด้านประสิทธิผล

และความปลอดภัยของยาจากสมุนไพรน้อยสมุน

ไพรมีรูปลักษณ์ที่ไม่ดึงดูดให้ใช้และมีราคาแพง

การกำหนดเป้าหมายให้ใช้ยาจากสมุนไพรเพิ่มขึ้น

เป็นร้อยละ25ของมูลค่าการใช้ยาทั้งหมดเป็นไป

ได้ยาก การขาดการเตรียมการสนับสนุนรองรับ

***Kuptniratsaikul V., Pinthong T., Bunjob M.,Thanakhumtorn S., Chinswangwatanakul P.,Thamlikitkul V. (2011) Efficacy and safety of Derrisscandens Benth extracts in patients with kneeosteoarthritis. Journal of Alternative andComplementaryMedicine.17(2):147-53.

***คัคนางค์ โตสงวน, ณัฏฐิญา ค้าผล, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, เนติ สุขสมบูรณ์, วันทนีย์ กุลเพ็ง, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ยศ ตีระวัฒนานนท์ (2554) ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อยาจากสมุนไพรและนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.5,4:513-521.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 72

นโยบายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรอย่าง

ชัดเจน อุปสรรคสำคัญคือเกณฑ์การเบิกจ่ายใน

โรงพยาบาล และความเชื่อมั่นในมาตรฐานของ

การผลิตยา สำหรับปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญคือการ

สนับสนุนจากผู้อำนวยการหรือบุคคลที่มีบทบาท

สำคัญในโรงพยาบาล จากผลการศึกษานี้ผู้วิจัย

ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญเพื่อให้นโยบายส่งเสริม

การใช้ยาจากสมุนไพรประสบความสำเร็จใน

อนาคต ได้แก่ มีหน่วยงานกลางรวบรวมทบทวน

องค์ความรู้สมุนไพรให้สืบค้นและต่อยอดองค์

ความรู้ง่าย การปรับปรุงระบบเบิกจ่ายยาสมุน

ไพรให้ไม่เกิดข้อจำกัด การวางแผนกำลังคน การ

ปรับระบบการขึ้นทะเบียนยาจากสมุนไพร

พัฒนารูปแบบยาสมุนไพรให้น่าใช้ ส่งเสริมการ

ผลติยาสมนุไพรใหไ้ดม้าตรฐานการประชาสมัพนัธ์

ยาสมุนไพรที่ทันสมัยมากขึ้น ควรมีการสร้าง

เจตคติที่ดีจากการใช้ยาจากสมุนไพรโดยผ่าน

บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในโรงพยาบาลและ

พัฒนาบุคคลเหล่านี้ให้เป็นแกนนำในการส่งเสริม

การใช้ยาจากสมุนไพร การให้ความรู้เกี่ยวกับการ

ใช้ยาจากสมุนไพรแก่แพทย์ใหม่ที่มาประจำโรง

พยาบาล การบรรจุเนื้อหาหรือวิชายาจากสมุน

ไพรในหลักสูตรของนักศึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์

มีความคุ้นชินกับการใช้ยาจากสมุนไพรในการ

ดูแลรักษาผู้มารับบริการ และนโยบายภาคบังคับ

จากภาครัฐในการตัดรายการยาแผนปัจจุบันที่มี

ข้อบ่งใช้เดียวกันกับยาจากสมุนไพรที่มีการใช้มาก

ในโรงพยาบาลออกจากบัญชียาโรงพยาบาล

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine

Vol. 10 No. 1 January-April 2012

73

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (ฉบับปรับปรุง)

การเตรียมและส่งต้นฉบับ

1.ประเภทหัวข้อและเนื้อหาในวารสาร

1.1บรรณาธิการแถลง เป็นการสื่อสาร

ระหว่างบรรณาธิการกับผู้อ่านให้ทราบว่าข่าวสาร

บทความ รายงานการศึกษาและอื่นๆ ที่กอง

บรรณาธิการได้นำเสนอในวารสาร หรือเป็นการ

แสดงความคิดเห็น ความในใจ ความรู้สึกต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์วิชาการ บทความ

ความรู้หรืออื่นๆที่บรรณาธิการต้องการสื่อถึงผู้

อ่านให้ผู้อ่านได้รับรู้หรือเข้าใจ

1.2จดหมายถึงบรรณาธิการ(letterto

theeditor)หรือจดหมายโต้ตอบ(correspon-

dence) เป็นเวทีใช้ติดต่อตอบโต้ระหว่างนักวิชาการ

ผู้อ่านกับเจ้าของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารใน

กรณีผู้อ่านมีข้อคิดเห็นแตกต่าง ต้องการชี้ให้เห็น

ความไมส่มบรูณห์รอืขอ้ผดิพลาดของรายงานและ

บางครั้งบรรณาธิการอาจวิพากษ์สนับสนุนหรือโต้

แย้ง นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีการรายงานเบื้องต้น

(preliminaryreport)หรือรายงานสังเขป(short

communication)ซึง่เปน็การนำเสนอรายงานผล

การศึกษาวิจัยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ต้องศึกษาต่อ

เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและรายงานผู้ป่วย (case

report)/บันทึกเวชกรรม (clinical note) เป็น

การรายงานผูป้ว่ยทีไ่มธ่รรมดาหรอืทีเ่ปน็โรคหรอื

กลุ่มอาการโรคใหม่ ที่ไม่เคยรายงานมาก่อน

หรือพบไม่บ่อยและมีหลักฐานอย่างครบถ้วน

1.3บทปริทัศน์ (review article) เป็น

บทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จาก

วารสารหรือหนังสือต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

ประกอบด้วย บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหา

ที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิงหรือ

บรรณานุกรม ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน

15หน้าพิมพ์กระดาษเอ4

1.4นิพนธ์ต้นฉบับ (original article)

เป็นรายงานผลการศึกษาค้นคว้า วิจัยประกอบ

ด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ชื่อเรื่องชื่อผู้นิพนธ์

บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 74

สำคัญ บทนำ ระเบียบวิธีศึกษา ผลการศึกษา

วิจารณ์ข้อสรุปกิตติกรรมประกาศและเอกสาร

อ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 15 หน้า

พิมพ์กระดาษเอ4

1.5ปกิณกะ (miscellaneous) เป็น

บทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่าย หรือไม่

เข้าข่ายบทความต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น

บทความพิเศษ (special article) เป็นบทความ

ประเภทกึ่งบทบรรณนิทัศน์ กับบทความฟื้นวิชา

ที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะบรรจุเข้าเป็นบทความชนิด

ใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นบทความแสดงข้อคิดเห็น

เกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความ

สนใจของมวลชนเป็นพิเศษ ข่าว หรือการ

จัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย

การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก

1.6วารสารสโมสร (journal club)

เป็นบทแนะนำ บทความวิชาการและงานวิจัยที่ดี

ที่น่าสนใจ พร้อมบทวิเคราะห์และวิจารณ์โดยผู้

เขียน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบและนำไปใช้เป็น

ประโยชน์หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

1.7คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (Instruc-

tions to Authors) เป็นบทแนะนำวารสารฯ

และการเขียนนิพนธ์ต้นฉบับให้แก่ผู้ที่มีความ

ประสงค์จะส่งบทความ“นิพนธ์ต้นฉบับ”มาพิมพ์

ในวารสารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการ

แพทย์ทางเลือก

2.การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ

ชื่อบทความ

ประกอบด้วย

- ชื่อเรื่องควรสั้นกะทัดรัดและสื่อเป้า

หมายหลักของการศึกษาไม่ใช้คำย่อความยาวไม่

ควรเกิน 100 ตัวอักษร พร้อมช่องไฟ ถ้าชื่อยาว

มากตัดเป็นชื่อรอง ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและ

ภาษาอังกฤษ ไม่ใส่วลีที่น่าเบื่อ เช่น “การ

ศึกษา...”“การสังเกต...”

- ชื่อผู้นิพนธ์ให้มีทั้งภาษาไทย และ

ภาษาอังกฤษ(ไม่ใช้คำย่อ)

- หน่ วยงานหรือสถาบันที่ ผู้ นิพนธ์

ทำงาน ให้มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ไม่

ใช้คำย่อ)

- ชื่อที่อยู่และE-mailaddressของ

ผู้นิพนธ์ ที่ใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความ

ที่ตีพิมพ์แล้ว

- แหล่งทุนสนับสนุนการศึกษา

บทคัดย่อ

เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของ

บทความ ได้แก่ บทความ วัสดุและระเบียบวิธี

การศึกษา ผลการศึกษา และวิจารณ์ไม่เกิน 250

คำ หรือ 15 บรรทัด ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยค

สมบูรณ์มีความหมายในตัวเองไม่ต้องหาความ

หมายต่อ ต้องเป็นประโยคอดีต (เฉพาะภาษา

อังกฤษ) ไม่ควรมีคำย่อ ต้องเขียนทั้งภาษาไทย

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 75

และภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อภาษาไทยของบทความภาษา

อังกฤษให้ใส่ ชื่อเรื่อง ชื่อ-สกุลของผู้นิพนธ์เป็น

ภาษาไทยไว้เหนือเนื้อความย่อ สำหรับบทคัดย่อ

ภาษาอังกฤษของบทความภาษาไทยก็ เช่น

เดียวกัน ให้ใส่ชื่อเรื่อง ชื่อ-สกุลของผู้นิพนธ์เป็น

ภาษาอังกฤษไว้เหนือเนื้อความย่อ

คำสำคัญ(keywords)

ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อ เป็นหัวข้อเรื่องสำหรับ

ทำดัชนีคำสำคัญ (keyword index) ของปี

วารสาร(volume)และดัชนีเรื่องสำหรับIndex

Medicus โดยใช้Medical SubjectHeadings

(MeSH)termsของU.S.NationalLibraryof

Medicineเป็นแนวทางการให้คำสำคัญ

ภูมิหลังและเหตุผล

เป็นส่วนของบทความที่บอกเหตุผลนำไป

สู่การศึกษา แต่ต้องไม่ทบทวนวรรณกรรม หรือ

ภูมิหลัง และเหตุผลมากมายที่ไม่เกี่ยวกับจุดมุ่ง

หมายของการศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้ผู้อ่านรู้

ว่าจะตอบคำถามอะไร และให้รวมวัตถุประสงค์

ของการศึกษาเป็นร้อยแก้วในส่วนท้ายของ

บทนำไม่นิยมใส่ผลการศึกษาและสรุป

ระเบียบวิธีศึกษา

เขียนชี้แจงแยกเป็น2หัวข้อใหญ่คือวัสดุ

และวิธีการศึกษา

หัวข้อวัสดุให้บอกรายละเอียดของสิ่งนำ

มาศึกษา เช่นผู้ป่วยคนปรกติ สัตว์พืช รวมถึง

จำนวน และลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา

เช่น เพศ อายุ น้ำหนัก ต้องบอกถึงการอนุญาต

จากผู้ที่เข้ารับการศึกษา และการยอมรับจาก

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมในการศึกษาสิ่ง

มีชีวิตตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการศึกษา

หัวข้อระเบียบวิธีการศึกษา เริ่มด้วยรูป

แบบ แผนการศึกษา (study design) เช่น

randomized, double blind, descriptive

หรือ quasi-experimental การสุ่มตัวอย่าง

(randomization) เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย

แบบหลายขั้นตอน วิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา

(interventions) เช่น รูปแบบการศึกษา การ

รักษาชนิดและขนาดของยาที่ใช้ ถ้าเป็นมาตรการ

ที่รู้จักทั่วไปให้ระบุในเอกสารอ้างอิง ถ้าเป็นวิธี

ใหม่ อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจแล้วนำไปใช้ต่อได้ วิธี

การเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่

ใช้

ผลการศึกษา(results)

แจ้งผลที่พบตามลำดับหัวข้อของแผนการ

ศึกษาอย่างชัดเจน ดูได้ง่าย ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มี

ตัวเลขมากอาจบรรยายเป็นร้อยแก้วแต่ถ้าตัวเลข

มากตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือแผนภาพโดย

ไม่ต้องอธิบายตัวเลขในตารางซ้ำอีกในเนื้อเรื่อง

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 76

แปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์

และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่วางไว้

วิจารณ์(discussion)

เริ่มด้วยการวิจารณ์ผลการศึกษาตรงกับ

วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย หรือแตก

ต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่

อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น วิจารณ์ผลที่

ไม่ตรงตามที่คาดหวัง อย่างไม่ปิดบัง แล้วจบ

บทความด้วยข้อสรุป บางวารสารแยกข้อสรุป

เป็นหัวข้อต่างหาก

ข้อสรุป(conclusions)

ผลทีไ่ดต้รงกบัวตัถปุระสงคก์ารวจิยัหรอืไม่

ให้ข้อเสนอแนะที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

หรือให้ประเด็นคำถามการวิจัยสำหรับการวิจัย

ต่อไป

ตารางรูปและแผนภาพ

ควรแยกพิมพ์ต่างหากไม่ควรสอดแทรกไว้

ในเนื้อเรื่อง แต่ควรเว้นที่ว่างไว้ในเนื้อเรื่องพอเป็น

ที่เข้าใจพร้อมกับเขียนแจ้งไว้ในกรอบว่า

หรือ

กติตกิรรมประกาศ(acknowledgments)

ควรมีเพียงย่อหน้าเดียว แจ้งให้ทราบว่าได้

รับการช่วยเหลือที่สำคัญจากที่ใดบ้าง เช่น ผู้

บริหาร ผู้ช่วยเหลือทางเทคนิคบางอย่าง และผู้

สนับสนุนทุนการวิจัย การใส่ชื่อคนช่วยมาก ๆ

อาจทำใหบ้ทความดอ้ยความภมูฐิาน เพราะผูอ้า่น

จะอนุมานว่างานส่วนใหญ่มีคนช่วยทั้งหมด

เอกสารอ้างอิง(references)

ดูในหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิง

3.การเขียนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบเวนคูเวอร์

(Vancouver style) โดยใส่ตัวเลขลอยอยู่

(superscript) หลังข้อความ หรือหลังชื่อบุคคล

เจ้าของข้อความที่อ้างถึง โดยใช้หมายเลข 1

สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรกและเรียงต่อไป

ตามลำดับ ถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลข

เดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิงยกเว้นชื่อต้น

และชื่อวารสารบทความที่บรรณาธิการรับตีพิมพ์

แล้วแต่ยังไม่เผยแพร่ ให้ระบุ “กำลังพิมพ์”

บทความที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้แจ้ง “ไม่ได้ตีพิมพ์”

หลีกเลี่ยง“ติดต่อส่วนตัว”มาใช้อ้างอิง เว้นแต่มี

ข้อมูลสำคัญมากที่หาไม่ได้ทั่ว ๆ ไป ให้ระบุชื่อ

และวันที่ติดต่อในวงเล็บท้ายชื่อเรื่องที่อ้างอิง

ชื่อวารสารในการอ้างอิง ให้ใช้ชื่อย่อตาม

รูปแบบของ U.S. National Library of

Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus ทุกปี

หรือในเว็บไซต์http://www.nlm.nih.gov/tsd/

ใส่ตารางที่1 ใส่รูปที่1

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 77

serials/liji.html

การเขียนเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการ

มีหลักเกณฑ์ดังนี้

3.1วารสารวิชาการ

ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อ

วารสาร. ปีที่พิมพ์; ปีที่ : หน้าแรก – หน้า

สุดท้าย. วารสารภาษาไทย ชื่อผู้นิพนธ์ให้ใส่ชื่อ

เต็มทั้งชื่อและชื่อสกุลชื่อวารสารเป็นชื่อเต็มปีที่

พิมพ์เป็นปีพุทธศักราช วารสารภาษาอังกฤษ ใช้

ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียว

ของชื่อตัวและชื่อรองถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า6คน

ให้ใส่ชื่อเพียง 6คนแรกแล้วตามด้วยและคณะ

หรือ et al. ชื่อวารสารใช้ชื่อย่อตามแบบของ

IndexMedicusหรือตามแบบที่ใช้ในวารสารนั้น

ๆเลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลขท้ายตามตัวอย่าง

ดังนี้

3.1.1 เอกสารจากวารสารวิชาการ

1.) วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, พัชรี เงิน

ตรา, ปราณี มหาศักดิ์พันธ์, ฉวีวรรณ เชาวกีรติ

พงศ์, ยุวดี ตาทิพย์, การสำรวจความครอบคลุม

และการใช้บริหารตรวจหามะเร็งปากมดลูกใน

สตรี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2540.

วารสารวิชาการสาธารณสุข2541;7:20-6.

2.) ParkinDM,ClaytonD,Black

RJ,MasuyerE,FriedlHP, IvanovE,etal.

Childhood leukaemia in Europe after

Chernobyl:5-year follow-up.Br JCancer

1996;73:1006-12.

3.1.2 องค์กรเป็นผู้นิพนธ์

1.) คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอุร

เวชแห่งประเทศไทย. เกณฑ์การวินิจฉัยและ

แนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทาง

กายของโรคระบบการหายใจเนื่องจากการ

ประกอบอาชีพ. แพทยสภาสาร 2538;24:190-

204.

3.1.3 ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์

1.) Cancer in South Africa

(editorial).S.AfrMedJ1994;84:15.

3.1.4 บทความในฉบับแทรก

1.) วิชัย ตันไพจิตร, สิ่งแวดล้อม

โภชนาการกับสุขภาพ. ใน : สมชัย บวรกิตติ,

จอห์นพีลอฟทัส, (บรรณาธิการ). เวชศาสตร์สิ่ง

แวดล้อม. สารศิริราช 2539;48 (ฉบับ

ผนวก):153-61.

3.1.5 ระบุประเภทของบทความ

1.) บุญเรือง นิยมพร, ดำรง เพ็ชร

พลาย,นันทวันพรหมผลิน,ทวี บุญโชติ, สมชัย

บวรกิตติ, ประหยัด ทัศนาภรณ์. แอลกอฮอล์กับ

อุบัติเหตุบนท้องถนน (บทบรรณาธิการ). สาร

ศิริราช2539;48:616-20.

2.) Enzenseberger W, Fischer

PA. Metronome in Parkinson’s disease

(letter).Lancet1996;347:1337.

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 78

3.2หนังสือตำราหรือรายงาน

3.2.1 หนังสือหรือตำราผู้นิพนธ์

เขียนทั้งเล่ม

ลำดับที่.ชื่อผู้นิพนธ์.ชื่อหนังสือ.ครั้ง

ที่พิมพ์.เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์;ปีที่พิมพ์.

- หนังสือแต่งโดยผู้นิพนธ์

1.) ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและ

การบริหาร ฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 7.

กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช; 2535.

(จำนวนหน้า)

2.) Ringsven MK, Bond D.

Gerontology and leadership skills for

nurses. 2 nd ed. Albany (NY): Delmer

Publishers;1996.(pages)

- หนังสือมีบรรณาธิการ

1.) วิชาญวิทยาศัย,ประคองวิทยา

ศัย(บรรณาธิการ). เวชปฏิบัติในผู้ป่วยติดเชื้อเอช

ไอวี.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิเด็ก;

2535.

2.) Norman IJ, Redfern SJ,

editors. Mental health care for elderly

people. New York: Churchill Livingstone;

1996.

3.2.2 บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา

ลำดับที่.ชื่อผู้นิพนธ์.ชื่อเรื่อง.ใน:ชื่อ

บรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่

พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้า

(หน้าแรก–หน้าสุดท้าย).

1.) เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้

สารน้ำและเกลือแร่. ใน : มนตรี ตู้จินดา, วินัย

สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง,

พิภพจิรภิญโญ(บรรณาธิการ).กุมารเวชศาสตร์.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการ

พิมพ์;2540.หน้า424-7.

2.) Philpps SJ, Whisnant JP.

Hypertension and stroke. In: Laragh JH,

Brenner BM, editors. Hypertension:

pathophysiology, diagnosis, and

management.2nded.NewYork:Raven

Press;1995.p.465-78.

3.3รายงานการประชุมสัมมนา

ลำดบัที.่ชือ่บรรณาธกิาร(บรรณาธกิาร).

ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปีประชุม;

สถานที่ประชุม. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ ;

ปีที่พิมพ์.

1.) อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์

จันทรสาธิต (บรรณาธิการ). นโยบายสาธารณะ

เพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชา

การสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ครั้งที่ 2 เรื่อง

ส่งเสริมสุขภาพ : บทบาทใหม่แห่งยุคของทุกคน;

6-8พฤษภาคม2541;ณโรงแรมโบ๊เบ้ทาวเวอร์.

กรุงเทพมหานคร:ดีไซร์;2541.

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 79

2.) Kimura J, Shibasaki H,

editors. Recent advances in clinical

neurophysiology.Proceedingsofthe10th

International Congress of EMG and

Clinical Neurophysiology; Oct 15-19,

1995;Kyoto,Japan.Amsterdam:Elsevier;

1996.p.--.

3.) Bengtsson S, Solheim BG.

Enforcement of data protection, privacy

and security inmedical informatics. In:

LunKC,DegouletP,PiemmeTE,Rienhoff

O, editors. MEDINFO 92 Proceedings of

the 7th World Congress on Medical

Informatics; Sep 6-10, 1992; Geneva,

Switzerland. Amsterdam: North-Holland;

1992.p.1561-5.

3.4รายงานการวิจัยพิมพ์โดยผู้ให้ทุน

ลำดับที่.ชื่อผู้นิพนธ์.ชื่อเรื่อง.เมือง

ที่พิมพ์: หน่วยงานที่พิมพ์/แหล่งทุน; ปีที่พิมพ์.

เลขที่รายงาน.

1. ศุภชัยคุณารัตนพฤกษ์, ศุภสิทธิ์

พรรณนารุโณทัย. การพัฒนากลไกการจ่ายเงินที่

มีประสิทธิภาพ ในระบบสาธารณสุขด้วยกลุ่ม

วินิจฉัยโรคร่วม. กรุงเทพมหานคร: กองโรง

พยาบาลภูมิภาค/ สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย/

องค์การอนามัยโลก;2540.(จำนวนหน้า)

2. Smith P, Golladay K.

Paymentfordurablemedicalequipment

billedduringskilled-nursing facility stays.

Finalreport(US),OfficeofEvaluationand

Inspections; 1994. Report No. :

HHSIGOEI69200860.

3.5วิทยานิพนธ์

ลำดับที่ . ชื่ อผู้นิพนธ์ . ชื่ อ เรื่ อง

(ประเภทปริญญา). ภาควิชา, คณะ. เมือง:

มหาวิทยาลัย;ปีที่ได้ปริญญา.

1. ชยมัย ชาลี. ต้นทุนในการรักษา

พยาบาลของโรงพยาบาลรัฐบาล : ศึกษาเฉพาะ

กรณตีวัอยา่ง4โรงพยาบาลในเขตกรงุเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต.

ภาควิชา เศรษฐศาสตร์ , บัณฑิตวิทยาลัย .

กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;

2530.(จำนวนหน้า)

2. Kaplan SJ. Post-hospital

home health care: the elderly’s access

and utilization (dissertation). St. Louis

(MO):WashingtonUniv.;1995.pages.

3.6สิ่งพิมพ์อื่นๆ

3.6.1 บทความในหนังสือพิมพ์

ลำดับที่. ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ชื่อ

หนังสือพิมพ์ วันเดือนปีที่พิมพ์; ส่วนที่: เลข

หน้า(เลขคอลัมน์).

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 80

1.) เพลิงมรกต. หมอ. หนังสือพิมพ์

ไทยรัฐวันที่30สิงหาคม2539;23(คอลัมน์5).

2.) LeeG.Hospitalizations tied

to ozone pollution: study estimates

50,000 admissions annually. The

Washington Post 1996 Jun 21; Sect. A:3

(col.5).

3.6.2 กฎหมาย

1.) พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง

2532. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 37

พ.ศ.2532,ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่106,ตอนที่

129.(ลงวันที่15สิงหาคม2532).

2.) Preventive Health Amend-

mentsof1993,PubLNo.103–183,107

Stat.2226.(Dec,1993).

3.6.3 พจนานุกรม

1.) พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน

พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:

นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์;2546.หน้า545.

2.) Stedman’s medical

dictionary.26thed.Baltimore:Williams&

Wilkins;1995.Apraxia;p.119–20.

3.7วีดิทัศน์

ลำดับที่. ชื่อเรื่อง (วีดิทัศน์). เมืองที่

ผลิต:แหล่งผลิต;ปีที่ผลิต

1.) HIV ±/AIDS: the facts and

the future (video - cassette). St. Louis

(MO):Mosby–Yearbook;1995.

3.8สื่ออิเล็กทรอนิกส์

3.8.1 บทความวิชาการ

ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อ

วารสาร (ชนิดของสื่อ)ปีที่พิมพ์ [วัน เดือนปีที่

ค้นข้อมูล]; ปีที่ (เล่มที่): [จำนวนภาพ]. แหล่ง

ข้อมูล

1.) Morse SS. Factors in the

emergenceof infectiousdiseases. Emerg

Infect Dis (serial online) 1995 Jan-Mar

[cited 1996 Jun 5]; 1(1):[24 screens].

Availablefrom:URL:http://www.cdc.gov/

ncidod/EID/eid.htm

3.8.2 ร า ย ง าน วิ จั ย ใ น รู ป แบบ

อิเล็กทรอนิกส์

1.) CDI, clinical dermatology

illustrated (monograph on CD-ROM).

ReevesJRT,MaibachH.CMEAMultimedia

Group,producer.2nded.Version2.0San

Diego:CMEA;1995.

3.8.3 แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์

1.) Hemodynamics III: the ups

and down of hemodynamics (computer

program). Version 2.2. Orlando (FL):

Computerized Educational Systems;

1993.

Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol. 10 No. 1 January-April 2012 81

4.ตารางรูปและแผนภาพ

ตาราง รูป และแผนภาพที่จัดทำและนำ

เสนอได้ครบถ้วน จะกระตุ้นความสนใจผู้อ่าน

บทความและทำให้เข้าใจเนื้อหาบทความได้

รวดเร็ว ส่วนมากผู้อ่านจะอ่านชื่อเรื่อง บทคัดย่อ

พิจารณาตารางและรูป ก่อนจะตัดสินใจว่าจะ

อ่านบทความต่อไปหรือไม่

4.1ตาราง

ตารางเน้นการจัดระเบียบของคำพูด

ตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ บรรจุในคอลัมน์

เพื่อแสดง ข้อมูล และความสัมพันธ์ของข้อมูล

แนวทางการจัดทำตารางมีดังนี้

- แยกแต่ละตารางออกจากเนื้อหา

บทความตารางละหนึ่งหน้ากระดาษและไม่ควร

เสนอตารางเป็นภาพถ่าย

- หัวคอลัมน์ เป็นตัวแทนอธิบาย

ข้อมูลในคอลัมน์ควรจะสั้นหรือย่อๆและอธิบาย

รายละเอียดในเชิงอรรถใต้ตาราง

- แถว เป็นข้ อมู ลที่ สั มพันธ์ กับ

คอลัมน์ หัวแถว (row heading) ใช้ตัวเข้มจะ

ทำให้เด่นขึ้น

- เชิงอรรถ จะเป็นคำอธิบายราย

ละเอียดที่บรรจุในตารางได้ไม่หมด ไม่ควรใช้เลข

กำกับเพราะอาจสับสนกับเลขกำกับของเอกสาร

อ้างอิง ให้ใช้เครื่องหมายตามลำดับนี้ *†‡§¶

#**

- เมื่อผู้อ่าน อ่านตารางแล้วควร

เข้าใจได้สมบูรณ์ โดยไม่ต้องหาความหมายเพิ่ม

เติมในบทความ ดังนั้น ชื่อตารางควรสั้น ได้ใจ

ความ คอลัมน์เรียงลำดับความสำคัญ (เวลาที่

ศึกษา, การดำเนินโรค) จากซ้ายไปขวา เรียง

ลำดับของแถวจากบนลงล่าง

- บทความหนึ่งเรื่องควรมีตาราง

ไม่เกิน3-5ตารางหรือเนื้อหา1,000คำต่อ1

ตาราง ถ้าผู้นิพนธ์มีข้อมูลมากให้เลือกเฉพาะ

ข้อมูลที่สำคัญนำเสนอเป็นตารางในบทความ

- ต้องขออนุญาต และแสดงความ

ขอบคุณ กรณีนำข้อมูลในตารางมาจากบทความ

ของผู้อื่น

4.2รูปและแผนภาพ

รูปและแผนภาพประกอบ จะสื่อ

ความหมายได้ชัดเจน เน้นจุดสำคัญ และมี

ประสิทธิภาพมีแนวทางดังนี้

- รูปหรือแผนภาพ ต้องคมชัด

เป็นภาพขาว–ดำภาพสีใช้เมื่อจำเป็น

- ขนาดโดยทั่วไปใช้5×7นิ้วไม่

ควรใหญ่ เกิน 8 × 10นิ้ว ไม่ตัดขอบ ไม่ติดกับ

กระดาษรอง ไม่เขียนรายละเอียดหลังรูปภาพ ไม่

ม้วนรูปภาพ ควรทำเครื่องหมายเล็ก ๆ ไว้ที่ขอบ

รู ป ภ าพแล ะ เขี ย น ค ำ อ ธิ บ า ย ไว้ ต่ า ง ห า ก

บรรณาธิการจะเป็นผู้เขียนชื่อเจ้าของเรื่อง ชื่อ

เรื่องไว้หลังรูปภาพทันทีที่ได้รับต้นฉบับ เพื่อ

ป้องกันการสับสน,ไม่แนะนำให้เจ้าของเรื่องเขียน

หลังภาพ เพราะอาจจะเขียนหนักมือเกินไป

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 82

ทำให้รอยเขียนปรากฏทางด้านหน้าภาพ และ

คุณภาพของรูปภาพเสียไป

5.การส่งต้นฉบับ

ต้นฉบับที่ส่งให้บรรณาธิการ ต้องเป็นฉบับ

จริงพร้อมด้วยต้นฉบับสำเนา 3 ชุด ต้นฉบับที่ส่ง

ไปไม่ควรเย็บติดกัน ควรใช้คลิบหนีบกระดาษไว้,

ไม่ควรม้วนหรือพับต้นฉบับ ควรใส่ในซองหนา

และใหญ่พอเหมาะกับแผ่นกระดาษต้นฉบับ การ

ส่งต้นฉบับควรส่งจดหมายแนบไปด้วย แจ้งราย

ละเอียดบางประการ เช่น สถานที่ทำงานอยู่,

E-mail address, และหมายเลขโทรศัพท์ของ

ผู้นิพนธ์ที่กองบรรณาธิการจะติดต่อได้, จำนวน

สำเนาต้นฉบับที่ส่งไป ความต้องการการพิสูจน์

อักษรของผู้นิพนธ์ เมื่อผู้เขียนย้ายที่อยู่หรือเดิน

ทางไปจากสถานที่ทำงานอยู่เดิม เป็นเวลานาน

ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย

ต้นฉบับให้พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโคร

ซอฟท์เวิร์ดด้วยรูปแบบอักษรTHSarabanPSK

ตัวอักษรขนาด16

ส่งต้นฉบับจริงและสำเนา 3 ชุด รวม 4

ชุดพร้อมCD(เขียนชื่อแฟ้มข้อมูลบนแผ่นดิสก์)

ไปที่

บรรณาธิการ

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์

ทางเลือก

อาคารสวนกฬีาชัน้2กระทรวงสาธารณสขุ

ถ.ติวานนท์อ.เมืองจ.นนทบุรี11000

โทรศัพท์/โทรสาร025918567

โทรศัพท์มือถือ0897776729