28

rachadapcc.files.wordpress.com€¦  · Web viewชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ

สาขาวิชาสังคมศึกษา

รายวิชา ประวัติศาสตร์ไทย 2 รหัสวิชา ส22106

0.5 หน่วยกิต : 1 คาบ / สัปดาห์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

อาจารย์ผู้สอน

1. คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาประวัติความเป็นมาของอาณาจักรต่างๆในดินแดนประเทศไทยสมัยก่อนสมัยสุโขทัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยสังเขป

ศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นการสร้างและพัฒนาชาติไทย

โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ การสำรวจและการตรวจสอบหลักฐานในการสืบค้นข้อมูลและอธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ

ในการคิดวิเคราะห์ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพัฒนาการของชาติไทย เกิดความภาคภูมิใจความเป็นปึกแผ่น

ของชนชาติไทย

2. ตัวชี้วัด

1.อธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทยโดยสังเขป

2.วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยในด้านต่าง ๆ

3.วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย และสังคมไทยในปัจจุบัน

มาตรฐานและตัวชี้วัด

ส 4.3ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3

3. กำหนดการสอนและจุดประสงค์การเรียนรู้

สัปดาห์ที่

(วันที่)

คาบที่

หัวข้อ/สาระการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

25-28 ต.ค54

1

ปฐมนิเทศ

- ตัวชี้วัด

- ลักษณะเนื้อหาวิชา

- วิธีการเรียนการสอน

- การวัดผลและการประเมินผล

1 เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจใน

ขอบข่ายโดยรวมของเนื้อหาวิชา

2. เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวชี้วัด กฎเกณฑ์ในชั้นเรียน เกณฑ์การวัดและประเมินผล

สัปดาห์ที่

(วันที่)

คาบที่

หัวข้อ/สาระการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

31-4 พ.ย 54

7-11 พ.ย 54

2-3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัย

บทที่ 1 พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคเหนือ

(ที่ตั้ง ปัจจัยการก่อตั้ง การเสื่อมสลาย หลักฐานที่ปรากฏ)

- อาณาจักรโยนกเชียงแสน

- แคว้นพะเยา

- แค้นหริภุญชัย

- อาณาจักรล้านนา

อธิบายความเป็นมาและพัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัยทางภาคเหนือได้

14-18พ.ย 54

21-24พ.ย 54

4-5

บทที่ 2 พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(ที่ตั้ง ปัจจัยการก่อตั้ง การเสื่อมสลาย หลักฐานที่ปรากฏ)

- อาณาจักรโคตรบูร

- อาณาจักรอีสานปุระ/เจนละ/ขอม

อธิบายความเป็นมาและพัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้

28-2 ธ.ค 54

5-9ธ.ค 54

6-7

บทที่ 3 พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคใต้

- (ที่ตั้ง ปัจจัยการก่อตั้ง การเสื่อมสลาย หลักฐานที่ปรากฏ)

- อาณาจักรลังกาสุกะ/ปัตตานี

- อาณาจักรศรีวิชัย

- อาณาจักรตามพรลิงค์

อธิบายความเป็นมาและพัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัยทางภาคใต้ได้

12-16 ธ.ค 54

19-23 ธ.ค 54

8-9

บทที่ 4 พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคกลาง

- (ที่ตั้ง ปัจจัยการก่อตั้ง การเสื่อมสลาย หลักฐานที่ปรากฏ)

- อาณาจักรทวารวดี

- อาณาจักรละโว้

- อาณาจักรสุพรรณภูมิ

- อาณาจักรอโยธยา

1.อธิบายความเป็นมาและพัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัยทางภาคกลางได้

2.อธิบายอิทธิพลทางอารยธรรมของอาณาจักรต่างๆที่มีผลต่อคนไทยในปัจจุบันได้

สัปดาห์ที่

(วันที่)

คาบที่

หัวข้อ/สาระการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

26-30 ธ.ค 54

10

สอบกลางภาค

2-6 ม.ค 54

11

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สุโขทัย

บทที่ 5 การสถาปนาสมัยสุโขทัย

- ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนา

- พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัย

อธิบายการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยได้

9-13 ม.ค 54

12

บทที่ 6 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย

- รูปแบบการปกครอง

- การจัดระเบียบการปกครอง

- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

เปรียบเทียบรูปแบบการปกครองในสมัยสุโขทัยกับระบบการปกครองในปัจจุบันได้

16-20 ม.ค 54

13

บทที่ 7 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

- ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ

- (ทำเลที่ตั้ง/ระบบชลประทาน/รายได้)

- ลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

(เกษตรกรรม/พาณิชยกรรม/ หัตถกรรม)

- ระบบเงินตรา

วิเคราะห์สภาพทางด้านเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยได้

23-27ม.ค 54

14

บทที่ 8 พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย

- โครงสร้างชนชั้นในสังคม

- ชีวิตความเป็นอยู่

วิเคราะห์สภาพทางด้านสังคมในสมัยสุโขทัยได้

30-3 ก.พ 54

15

บทที่ 9 พัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย

- ลัทธิความเชื่อและศาสนา

- ศิลปกรรม

- ภาษาและวรรณกรรม

- ดนตรีและนาฎกรรม

- ขนบธรรมเนียมประเพณี

วิเคราะห์สภาพทางด้านศิลปวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยได้

สัปดาห์ที่

(วันที่)

คาบที่

หัวข้อ/สาระการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

6-10 ก.พ 54

16

บทที่ 10 พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย

- ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับรัฐใกล้เคียง (พะเยา น่าน อยุธยา มอญ นครศรีธรรมราช ล้านนา)

- ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับรัฐที่ห่างไกล (จีน ลังกา)

อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสุโขทัยได้

บทที่ 11 การเสื่อมอำนาจของอาณาจักร

สุโขทัย

- สาเหตุของความเสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

- การล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัย

วิเคราะห์ถึงปัจจัยการเสื่อมและการล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัย

13-17 ก.พ 54

17

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

บทที่ 12 อิทธิพลของอารยธรรมตะวันออกที่มีผลต่อสุโขทัย

- การเมืองการปกครอง

- เศรษฐกิจ

- สังคม

- วัฒนธรรม

วิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรมตะวันออกที่มีผลต่อสุโขทัยทางด้านต่างๆได้

20-24 ก.พ 54

18

บทที่ 13 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัย

- ความหมาย

- ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

- ผลงานการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

1.อธิบายความหมายภูมิปัญญาไทยได้

2.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยได้

3.ยกตัวอย่างผลงานการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยได้

27-2 มี.ค 54

19

บทที่ 14 อิทธิพลของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย ในสังคมปัจจุบัน

- การเมืองการปกครอง

- เศรษฐกิจ

- สังคม

- วัฒนธรรม

1.อภิปรายถึงอิทธิพลของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย ในสังคมปัจจุบันได้

2.ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยได้

5-9 มี.ค 54

20

สอบปลายภาค

แผนการประเมินผล คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 80 : 20

คะแนนระหว่างภาค = คะแนนสอบก่อนกลางภาค + คะแนนสอบกลางภาค +

คะแนนสอบหลังกลางภาค + คะแนนจิตพิสัย

=20+20+30+10

4. แผนการประเมินผลการเรียนรู้และการมอบหมายภาระงาน

การสอนรายวิชา ส21106 ประวัติศาสตร์ไทย 2 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มีแผนการประเมินผลการเรียนรู้ดังนี้

4.1 ประเมินจากงานที่มอบหมาย 50 คะแนน

4.2 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน: จิตพิสัย 10 คะแนน

4.3 ประเมินจากการสอบกลางภาค 20 คะแนน

4.4 ประเมินจากการสอบปลายภาค 20 คะแนน

รวม 100 คะแนน

4.1. ภาระงานและชิ้นงาน (50 คะแนน)

รายการ

รูปแบบของงาน

วันที่

มอบหมาย

กำหนดส่ง

เวลาที่

นักเรียน

ควรใช้(นาที)

คะแนน

ก่อนประเมินผลกลางภาคเรียน

ใบงานหน่วยที่ 1

งานเดี่ยว

31-4 พ.ย 54

12-16 ธ.ค 54

15 นาที

5

ผังมโนทัศน์อาณาจักรโบราณก่อนสมัยสุโขทัย

งานเดี่ยว

31-4 พ.ย 54

19-23 ธ.ค 54

10 นาที

5

อภิปรายกลุ่ม เรื่องอาณาจักรโบราณ

งานกลุ่ม

31-4 พ.ย 54

19-23 ธ.ค 54

15 นาที

10

หลังประเมินผลกลางภาคเรียน

ใบงานหน่วยที่ 2-3

งานเดี่ยว

2-6 ม.ค 54

20-24ก.พ 5

15 นาที

10

นำเสนอพัฒนาการด้านต่างๆของสุโขทัยด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

งานกลุ่ม

2-6 ม.ค 54

6-10ก.พ 54

10 นาที

10

ป้ายนิเทศหรือชิ้นงานเรื่องวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

งานกลุ่ม

27 มี.ค 54

2 มี.ค 54

15 นาที

10

หมายเหตุ 1. เวลาที่นักเรียนควรใช้ หมายถึง เวลาที่ครูได้พิจารณาว่า ในการทำงานหรือการบ้านชิ้นนั้น ๆ

นักเรียนควรใช้เวลาทำประมาณเท่าใด การประมาณการดังกล่าว ครูได้พิจารณาจาก ความ

ยาก ความซับซ้อน และปริมาณของงานหรือการบ้านชิ้นนั้น ๆ

2. งานหรือการบ้านที่มอบหมายแต่ไม่ได้คิดคะแนนไม่ได้นำเสนอไว้ในตาราง เนื่องจากไม่บังคับในการส่งงาน ให้นักเรียนส่งงานตามความสมัครใจ

3. การคำนวณเวลาในการมอบหมายงานที่ปรากฏทุกคนต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 40 นาทีต่อคนต่อกลุ่มที่จะนำเสนองาน

4.2 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน: จิตพิสัย (10 คะแนน)

การประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายวิชา ส21106 ประวัติศาสตร์ไทย 2 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2554 ได้กำหนดหัวข้อการประเมินได้ดังแสดงในตารางข้างล่าง

หัวข้อการประเมิน

ผลการประเมิน

ดีเยี่ยม

(5)

ดีมาก

(4)

ดี

(3)

ปานกลาง (2)

ต้องปรับปรง (1)

พฤติกรรมทางด้านความรับผิดชอบ

1.ส่งงานตามที่กำหนด

2.มีความละเอียดรอบคอบในการทำงานและทำงานด้วยความเอาใจใส่

พฤติกรรมทางด้านความมีระเบียบวินัย

3.เข้าชั้นเรียนตรงเวลา

4.ความมีระเบียบและรอบคอบ

พฤติกรรมทางด้านความซื่อสัตย์

5.ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ ข้อบังคับของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด

พฤติกรรมทางด้านความเสียสละ

6.มีจิตสาธารณะ7.ช่วยเหลืองานส่วนรวม

พฤติกรรมทางด้านสัมมาคารวะ

8.มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

9.พูดจาสุภาพ

พฤติกรรมทางด้านความเป็นไทย

10.การแสดงออกถึงความเป็นไทย

11.รักและภูมิใจในความเป็นไทย

สื่อการเรียนการสอน 1. ใบความรู้ ใบงาน

2. เหตุการณ์ปัจจุบันจากข่าว

3. เอกสารการสอนที่เกี่ยวข้องจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ

4. Websites ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. แบบฝึกปฏิบัติในแต่ละบท

6. วีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์

7. ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ประเมินจากการสอบกลางภาค (20 คะแนน)

กำหนดสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 26-30 ธันวาคม 2554 เวลาใช้สอบ 1 ชั่วโมง

สาระการเรียนรู้ และลักษณะของข้อสอบที่ใช้ในการสอบกลางภาคมีรายละเอียดดังนี้

เรื่องที่ใช้ในการสอบ

ลักษณะและจำนวนข้อสอบ

จำนวนข้อ

คะแนน

- พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคเหนือ

- พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคกลาง

- พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- พัฒนาการของอาณาจักรโบราณบริเวณภาคใต้

-ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

-ปรนัยแบบเติมข้อความสั้นๆ

-ปรนัยจับคู่

-อัตนัย

10

5

5

1

5

2.5

2.5

10

รวม

-ปรนัย

-อัตนัย

20

2

10

10

ประเมินจากการสอบปลายภาค (20 คะแนน)

กำหนดสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 5-9 มีนาคม 2554 เวลาใช้สอบ 1 ชั่วโมง

สาระการเรียนรู้ และลักษณะของข้อสอบที่ใช้ในการสอบปลายภาคมีรายละเอียดดังนี้

เรื่องที่ใช้ในการสอบ

ลักษณะและจำนวนข้อสอบ

จำนวนข้อ

คะแนน

หน่วยที่ 2 เรื่อง สุโขทัย

หน่วยที่ 3 เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

-ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

-ปรนัยเติมข้อความสั้นๆ

อัตนัย

14

6

2

7

3

10

รวม

-ปรนัย

-อัตนัย

20

2

10

10

ประมวลผลรายวิชา (Course syllabus)

1. รหัสวิชาส22102

2. จำนวนหน่วยกิต0.5 หน่วย

3. ชื่อวิชาประวัติศาสตร์ไทย 3

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5. ปีการศึกษา2554

6. ชื่อผู้สอนนางรัชฎา ช่างเหลา

7. สถานภาพวิชาพื้นฐาน

8. จำนวนคาบ1 คาบ / สัปดาห์

9. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

10. คำอธิบายรายวิชา

ผลการเรียนรู้

1. ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ

2. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

3. เห็นความสำคัญของการตีความ

4. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ. อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย

5. ระบุความสำคัญของแหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย

12.หน่วยการเรียนรู้

หน่วยที่ชื่อหน่วยมาตรฐาน/ตัวชี้วัดเวลา(ชั่วโมง)น้ำหนักคะแนน

1

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1. วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะ ต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ

2. ตัวอย่างการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทาง

ประวัติศาสตร์ไทยที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเอง หรือ

หลักฐานสมัยอยุธยา

ส 4.1( ม2/1)ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง

3

15

2

ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

1. ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา และธนบุรี

2. การแยกแยะระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็น รวมทั้ง

ความจริงกับข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ส 4.1( ม2/2วิเคราะห์

ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

3

20

3

การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

1. ตัวอย่างการตีความข้อมูลจากหลักฐานที่แสดง

เหตุการณ์สำคัญในสมัยอยุธยาและธนบุรี

2. ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความ

ทางประวัติศาสตร์

ส 4.1( ม2/3)เห็น

ความสำคัญของการ

ตีความหลักฐานทาง

ประวัติศาสตร์ที่

น่าเชื่อถือ

4

15

4

พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย

1. ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคต่างๆในทวีป

เอเชีย (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่มีผลต่อ

พัฒนาการโดยสังเขป

2. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ส 4.2( ม2/1)อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการ เมืองของภูมิภาคเอเชีย

5

25

5

แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย

1. ที่ตั้งและความสำคัญของแหล่งอารยธรรมโบราณใน

ภูมิภาคเอเชีย เช่น แหล่งมรดกโลกในประเทศต่างๆ ใน

ภูมิภาคเอเชีย

2. อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่มีต่อภูมิภาคเอเชียใน

ปัจจุบัน

ส 4.2( ม2/2)ระบุ

ความสำคัญของแหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย

5

25

รวมจำนวนชั่วโมงต่อภาคเรียน

20

100

13. กระบวนการจัดการเรียนรู้

1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย

2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มย่อย

3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

4. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

14. การวัดและการประเมินผล 100 คะแนน

1. การประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม 40คะแนน

2. การประเมินผลจากการตรวจใบงาน 20คะแนน

3. การประเมินจากการนำเสนอผลงาน 20คะแนน

4. จัดป้ายนิเทศ 20คะแนน

15. แหล่งการเรียนรู้ / สื่อการเรียนรู้

1. หนังสือแบบเรียน

2. ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดกลุ่มสาระสังคม

3. ป้ายนิเทศ

4. VCD

5. เวปไซด์จากอินเตอร์เน็ท

16. งานที่มอบหมาย

- รายงานกลุ่ม 1 ชิ้น คะแนนเต็ม 10 คะแนน

ลงชื่อ...........................................ครูประจำวิชา

( นางรุ่งนภา ตีรยพันธุ์)

ลงชื่อ.........................................................

( นางรุ่งนภา ตีรยพันธุ์ )

หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา

ลงชื่อ...........................................................

( นายปรีชา ไพรินทร์ )

รองผู้อำนวยการฝ่ายจัดการศึกษาและพัฒนาวิชาการ

ลงชื่อ........................................................

( นายสุวิทย์ ซื่อตรง )

ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

รายงานผลการปฏิบัติงาน ของนางรัชฎา ช่างเหลา

ตำแหน่งพนักงานราชการ

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

1. การทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์

ความรู้ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ วุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรีครุศาสตร์บัณฑิต เอกสังคมศึกษา

จบจากสถาบันราชภัฎฉะเชิงเทรา ความสามารถในการปฏิบัติงานปีพ.ศ.2550-2551 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วิชาภาษาไทยและการงานอาชีพฯชั้นประถมศึกษาปีที่4

และครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนอนุบาลพุทธยาคม(วัดเขาบางทราย)มีคาบการสอน 21 คาบ/สัปดาห์ ปี พ.ศ.2552 ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอน วิชาพระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2,3,5 และวิชาประวัติศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคาบการสอน 15 คาบ/สัปดาห์ และครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/3 และปี พ.ศ.2553 ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอน วิชาพระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3,5 และวิชาประวัติศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 มีคาบการสอน 15 คาบ/สัปดาห์ และครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/4

ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของนักเรียนโดยได้ศึกษาหาความรู้จากหลักสูตร คู่มือครู เอกสารวิชาการต่างๆ อินเตอร์เน็ต การอบรม การศึกษาดูงาน และนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาการเรียนการสอนมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนดใช้การสอนที่หลากหลายเน้นการสอนแบบบูรณาการให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม และได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

ข้าพเจ้าได้จัดทำแผนการสอนตามที่หลักสูตรกำหนด บันทึกผลหลังสอน และมีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้วิธีการและเครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายโดยประเมินทั้งความรู้ ความพร้อม คุณธรรมจริยธรรมเน้นการประเมินตามสภาพจริง มีการทดสอบก่อน-หลังเรียน และนำผลที่ได้จากการวัดผลประเมินผล

มาจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน เช่น การสอนเสริม การจัดทำแบบเรียนสำเร็จรูป จัดทำแบบฝึกหัด

ทำผลวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อจำแนกความยาก-ง่ายของข้อสอบและเก็บข้อสอบที่มีประสิทธิภาพเป็นคลังข้อสอบและนำมาใช้เป็นแนวข้อสอบติวให้กับผู้เรียน จัดทำเอกสารชั้นเรียนบันทึกเวลาเรียน จัดทำปพ. ต่างๆ

จัดทำสื่อและนวัตกรรมเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

2. การพัฒนาตนเอง พัฒนางาน

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และนำความรู้ที่ได้รับมาทำการสอนนักเรียน 2. มีการมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้จัดทำแผนการเรียนรู้ตามหลักสูตร 3. มีประมวลรายวิชาที่สอนทุกรายวิชา จัดทำประมวลรายวิชา ประกอบด้วย

- คำอธิบายรายวิชา

- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/ตัวชี้วัด

- หน่วยการเรียนรู้

- เกณฑ์การวัดผลประเมินผล

4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองมีความรู้ ทางด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ : Microsoft Word, Excel และ Power Point 5. สามารถใช้ Internet ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง 6. ใช้สื่อประสม ประเภท VCD, DVD ภาพยนตร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน 7. ใช้สื่อประกอบการสอน Projector เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน 8. ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ 9. ได้รับการนิเทศการสอนไม่น้อยกว่าภาคเรียนละ 6 ครั้ง 10. ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่น ประเภทครูผู้สอนดีเด่น ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2550 11. ปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวันพฤหัสบดี, เวรห้องธุรการ, เวรรับนักเรียนกลับเข้าหอพักในวันอาทิตย์ 12. ช่วงเวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ดูแลนักเรียนทำกิจกรรมช่วงกลางวันที่โรงอาหาร 13. เป็นครูที่ปรึกษานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 มีหน้าที่พบนักเรียนขณะเข้าแถวตอนเช้า เพื่อควบคุมดูแลตรวจสอบรายชื่อนักเรียน ผู้มาเรียน ผู้ขาดเรียน ขาดการเข้าแถว มาสาย ตรวจเครื่องแบบแต่งกาย ผม สภาพทั่วไป ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการเข้าแถว พบนักเรียนในห้องของตนเองในคาบกิจกรรมพบนักเรียน (Homeroom) และคาบแนะแนว ติดตามดูแลเพื่อความใกล้ชิด ต้องหาเวลาไต่ถามทุกข์-สุข ปัญหาต่าง ๆ ติดตามสังเกตปัญหาที่เกิดขึ้น หากพบความผิดปกติต้องรายงานให้ฝ่ายบริหารทราบทันทีเพื่อร่วมกันหาทางแก้ไข

14. ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนด้านการแต่งกายและการประพฤติปฏิบัติ 15. ได้รับการศึกษาดูงานและฝึกอบรมพัฒนาตนเอง ภาคเรียนละไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง ดังนี้

การศึกษาดูงานและฝึกอบรม/ผลงาน

วัน เดือน ปี

เรื่อง

สถานที่

16 มกราคม 2550

ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่น ประเภทครูผู้สอนดีเด่น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๑

18 ธันวาคม 2551

อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรม BookMark 2551

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

23-24 มีนาคม 2552

อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบและโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล(SPSS)

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

7-9 พฤษภาคม 2552

การพัฒนาบุคลากร

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

5-7 กันยายน 2552

โครงการพัฒนาครูผู้สอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง

5 ตุลาคม 2552

วิจัยในชั้นเรียนและนิเทศการสอน

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

15-17 มีนาคม 2553

การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

11 พฤษภาคม 2553

อบรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

12 พฤษภาคม 2553

อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรม Book5

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

3-5 มิถุนายน 2553

อบรมโครงการส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม

จิตตภาวันวิทยาลัย บางละมุง

3-4 กรกฎาคม 2553

อบรมบุคลากรค้าน ICT(People Ware) หลักสูตรคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๑

7 กรกฎาคม 2553

ศึกษาดูงานเกาะรัตนโกสินทร์

สำนักราชวัง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

11 สิงหาคม 2553

ศึกษาดูงานโรงเรียนจอมสุรางค์ราชินี

ณ โรงเรียนจอมสุรางค์ราชินี จังหวัดอยุธยา

5-6 ตุลาคม 2553

ไปประชุมสรุปงานและจัดทำ SWOT เพื่อทำโครงการของโรงเรียน

ณ สวนนงนุชพัทยา

17-18 มีนาคม 2554

อบรมเรื่องการบริหารจัดการในชั้นเรียน

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

22-23 มีนาคม 2554

อบรมการใช้สื่อICT การใช้โปรแกรมPower Point

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

วัน เดือน ปี

เรื่อง

สถานที่

3. การจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 วางแผนการจัดการเรียนรู้เริ่มจากวิเคราะห์หลักสูตรจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาร่วมกัน จัดทำประมวล รายวิชา เตรียมเนื้อหาและจัดทำแผนการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง ขั้นที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การใช้เกมและเพลง จัดทำใบความรู้และใบงานให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ได้ลงมือปฏิบัติจริงเช่นการจัดกิจกรรมกลุ่ม มีการตั้งคำถามที่หลากหลาย ใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียน ขั้นที่ 3 ประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย และกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ การคิดวิเคราะห์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ขั้นที่ 4 นำผลที่ได้จากการประเมินไปสรุปผลการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และนำข้อบกพร่องมา แก้ปัญหาโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อ

พัฒนาผู้เรียน

1. จัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนด

2. จัดทำสมุดบันทึกการอ่านเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนนิสัยรักการอ่าน

3. จัดทำสมุดบันทึกความดีและบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมตามคุณลักษณะ

ที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา

4. กำกับดูแลนักเรียน ชั้น ม.1 กิจกรรมเข้าค่ายพุทธบุตร ณ. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ปี 2552

5. กำกับดูแลนักเรียนชั้น ม.2 ไปทัศนศึกษาอยุธยาศึกษา จังหวัดอยุธยา ปี 2552

6. จัดค่ายลูกเสือ-เนตรนารี ระดับชั้นม.2 ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ปี 2552

7. จัดค่ายเตรียมความพร้อมของนักเรียนระดับชั้น ม.1-5 ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ปี 2553

8. กำกับดูแลนักเรียนชั้น ม.3 ไปทัศนศึกษาป่าชายเลน ณ อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ปี 2553

9. กำกับดูแลนักเรียนชั้น ม.6 ไปทัศนศึกษาเกาะรัตนโกสินทร์ จังหวัดกรุงเทพ ปี 2553

10. จัดการสอนธรรมศึกษาในสถานศึกษา

11. ใช้สื่อ นวัตกรรม คอมพิวเตอร์ในการสอนให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต

4. การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

1. มีข้อมูลนักเรียนในรายวิชาที่สอนและห้องเรียนที่รับผิดชอบ 2. ควบคุมดูแลสังเกตพฤติกรรมและให้คำปรึกษาทั้งด้านการศึกษา ปัญหาส่วนตัว ปัญหาสุขภาพและความ ประพฤติ ของนักเรียน 3. จัดทำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4. จัดทำบันทึกคะแนนเพื่อวัดผลตามสภาพจริง

5. มีแผนและการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีระบบและเกิดประสิทธิภาพต่อผู้เรียน 6. มีการบันทึกการขาดเรียนในรายวิชาที่รับผิดชอบ

7. มีการติดตามการขาดเรียนในรายวิชาที่รับผิดชอบ 8. มีการมอบหมายงานให้นักเรียนที่ขาดเรียนในรายวิชาที่รับผิดชอบ 9. มีการติดตามงานตามขั้นตอน 10. จัดการสอนเสริมหลังเลิกเรียนเป็นรายบุคคล 11. ส่ง-รับนักเรียนประจำชั้นและพบผู้ปกครองเพื่อแจ้งถึงปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล

5. ผลงานที่เกิดกับผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน

1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนด

- ปี พ.ศ. 2552 นักเรียนชั้นม.5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาสูงขึ้นและมีค่าC.V. อยู่ในเกณฑ์

- ปี พ.ศ. 2552 นักเรียนชั้นม.3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาสูงขึ้น

- ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนชั้นม.5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาสูงขึ้น

3. ร่วมจัดทำรถแห่เทียนพรรษาประจำปี 2551 ณ เทศบาลบางทราย ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี

4. นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตอบปัญหาสารานุกรมไทย ช่วงชั้นที่ 2 จัดโดย สโมสรไลออนส์สากลภาค 310 ซี

ปี 2551ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ณ โรงเรียนพนัสศึกษาลัย อำพนัสนิคม จ.ชลบุรี

5. นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันวิทยาศาสตร์ในงานศิลปะหัตถกรรมในปี 2551ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และ

แข่งขันสังคมศึกษา ณ โรงเรียนชนกัลยานุกูล 2 แสนสุข

6. ร่วมจัดทำรถแห่เทียนพรรษา ประจำปี ณวัดเนื่องจำนง ต.หนองชาก อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

7. ร่วมจัดทำซุ้มถวายพระพรเนื่องในวันคล้ายวันประสูติวันที่ ๔ กรกฎาคม ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า

จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

8. ร่วมเป็นคณะกรรมการคุมสอบวัดผล ONAT ที่โรงเรียนบ้านบึง”อุตสาหกรรมนุเคราะห์ วันที่ 2 ก.พ. 2554

9. ร่วมจัดการแข่งขันและเป็นคณะกรรมการการแข่งขันทางวิชาการสังคมศึกษา 2552 และปี 2553

10. จัดค่ายจิตอาสาพัฒนาสังคม ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ชลบุรี 11. ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายตามปฏิทินงานโรงเรียน

12. งานฝ่ายที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติงานทะเบียนนิเทศการลงคะแนนปพ.5 จัดเรียงเอกสารปพ.ฯลฯ

13. รับผิดชอบดูแลห้องศนย์แหล่งการเรียนรู้จริยธรรม 14. ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษามีความรัก ความสามัคคี ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมีคุณภาพตาม

มาตรฐานการศึกษา เกิดผลดีต่อคุณภาพการศึกษา

15. สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษาอื่น

16. ผู้เรียนสนใจเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ บันทึกความรู้สม่ำเสมอ

17. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์

ลงชื่อ..................................................................... ลงชื่อ.....................................................................

(นางรัชฎา ช่างเหลา) (นางรุ่งนภา ตรียพันธุ์)

ผู้รายงาน ผู้รับรอง

ตำแหน่ง พนักงานราชการ ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้