Transcript
Page 1: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554
Page 2: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554
Page 3: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย

ปีงบประมาณ 2554

หน่วยงาน : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ที่ปรึกษา : ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ

คณะผู้จัดทำ : ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

นางณรรจยา โกไศยกานนท์

นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ

นาวสาวศจีพรรณ คำจริง

นาวสาวมัญชุรัศมิ์ เถื่อนสุคนธ์

นายณัฐ จินดาประชา

ISBN : 978-616-11-0975-2

จำนวนพิมพ์ : 300 เล่ม

พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2554

พิมพ์ที่ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์

2/9 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 31 เขตบางซื่อ

กรุงเทพฯ 10800

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ อาคาร 4 ชั้น 2

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 0 2590 3196-9

โทรสาร 0 2965 9152

http://www.nvco.go.th

Page 4: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

สารบัญ

หน้า

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 1

หลักการและเหตุผล 3

กลุ่มเป้าหมายและการเก็บรวบรวมข้อมูล 5

ผลการศึกษา 8

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อทราบสถานะปัจจุบันของอัตรากำลังและความต้องการอัตรากำลัง 9

เพิ่มเติมในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการพัฒนางานด้านวัคซีน

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2. เพื่อบูรณาการความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนในมุมมอง 12

ของผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน และสถาบันการศึกษา

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3. เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน 21

สรุปผล 27

ข้อเสนอแนะ 30

ภาคผนวก 32

1. สรุปรายงานการประชุม เรื่อง “การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน” 35

วันที่ 7 กันยายน 2553

2. สรุปผลการประชุม “การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนเพื่อพิจารณาโครงการ 40

พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน” วันที่ 22 กันยายน 2553

3. สรุปสาระสำคัญจากการประชุม “การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน 43

เพื่อพิจารณาโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน” วันที่ 24 กันยายน 2553

4. การประชุม “การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนเพื่อพิจารณาโครงการ 47

พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน” วันที่ 20 ตุลาคม 2553

5. สรุปรายงานการประชุมพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน “การระดมสมองเพื่อการพัฒนาศักยภาพ 49

บุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ” วันที่ 5 พฤศจิกายน 2553

6. แบบสอบถามบุคลากรของหน่วยงานด้านวัคซีน “โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร 55

ด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ ปี 2554”

7. รายงานการประชุมพิจารณาความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและอัตรากำลัง 59

ของหน่วยงานด้านวัคซีน วันที่ 30 มีนาคม 2554

8. ผลการประชุมกลุ่มย่อย “แนวทางของมหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนาบุคลากร 67

เพื่อรองรับการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนในประเทศไทย” วันที่ 21 กรกฎาคม 2554

Page 5: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนา บุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย

ปีงบประมาณ 2554

Page 6: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 1

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนเพื่อการ

พึ่งตนเองได้และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการของ

วาระแห่งชาติด้านวัคซีน เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 เป้าหมายคือการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีน

จำนวน 9 ชนิด เพื่อป้องกัน 7 โรค ได้แก่ โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี วัณโรค ไข้สมอง

อักเสบ เจอี และไข้เลือดออก ความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยขึ้นอยู่กับศักยภาพและ

สมรรถนะของบุคลากรผู้รับผิดชอบงานวัคซีนในแต่ละด้าน ทั้งการวิจัยพัฒนา การผลิต การประกันและ

ควบคุมคุณภาพวัคซีน รวมถึงการใช้วัคซีนในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หัวใจสำคัญในการบรรลุผล

ตามเป้าหมายคือการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนให้มีสมรรถนะเพียงพอสำหรับการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อ

การพัฒนาวัคซีนของประเทศ

การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนควรทำให้เป็นระบบ สิ่งแรกคือการค้นหาประเด็นที่ต้องการ

พัฒนาซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการพัฒนางานวัคซีนในแต่ละด้าน รวมถึง

ความขาดแคลนศักยภาพต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนและการดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเป็น

ไปอย่างตรงประเด็นและก่อประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนพัฒนาบุคลากร ในการสำรวจความต้องการ

พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบสถานะปัจจุบันของอัตรา

กำลังและความต้องการอัตรากำลังเพิ่มเติมในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการพัฒนางานด้านวัคซีน

2) บูรณาการความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่าย

ด้านวัคซีน และสถาบันการศึกษา 3) รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากร

ด้านวัคซีน

การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2553 ถึงเดือนกรกฎาคม 2554 โดย

การประชุม การระดมสมอง และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ กลุ่มเป้าหมายประกอบ

ด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน จำนวน 27 ท่าน หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน จำนวน 20 แห่ง และสถาบัน

การศึกษา จำนวน 15 สถาบัน มีหน่วยงาน 18/ 20 แห่ง ที่ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 90) ผลการศึกษา

พบว่า 16 หน่วยงาน (ร้อยละ 88.9) มีอัตรากำลังในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหน่วยควบคุม

กำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ ต้องการบุคลากรเพิ่มมากที่สุดเกิน 1 เท่าของปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ

131.3 รองลงมาคือหน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาต้องการอัตรากำลังเพิ่ม ร้อยละ 55.5 รายชื่อ 5 หน่วยงาน

ที่ต้องการบุคลากรเพิ่มมากกว่าร้อยละ 75 เรียงตามลำดับ ได้แก่ สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการ

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนา บุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย

ปีงบประมาณ 2554

Page 7: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 25542

อาหารและยา, สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

จากการบูรณาการความคิดเห็นต่อความต้องการพัฒนาบุคลากรใน 3 มุมมอง ทั้งกลุ่ม

ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน และสถาบันการศึกษา สรุปได้ว่าประเทศต้องพัฒนาบุคลากร

ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การวิจัยพัฒนาวัคซีน ได้แก่ Microbiology, Immunology, Vaccinology,

วิทยาการด้านสัตว์ทดลอง, Bioprocess engineering และ Clinical studies การผลิตวัคซีน ได้แก่

Biological engineering, Bioprocess engineering, Biopharmaceutical science และ Supply

chain & logistics management การควบคุมคุณภาพวัคซีน คือ Biostatistics สำหรับงานประกันและ

ควบคุมคุณภาพวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์จริง ผลการพิจารณาความคิดเห็น

ที่ตรงกันระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกับหน่วยงานควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ พบว่าควรพัฒนา

ด้าน Environmental Health & Safety, Quality management on vaccine, Risk management

on vaccine, GLP, GCP, GMP, Regulatory affairs และ Joint GMP Inspection

ประเทศไทยควรกำหนดวัคซีนเป้าหมายที่ต้องวิจัยพัฒนาและผลิตให้สำเร็จในระดับ

นโยบายแล้วดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามรายวัคซีน โดยจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากร

ด้านวัคซีนซึ่งประกอบด้วยนโยบาย ยุทธศาสตร์ และโครงการ มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็น

หน่วยประสานงาน ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาบุคลากรในภาพรวมของประเทศ ประเด็นที่ต้อง

ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ เพิ่มการสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดยเฉพาะวิทยาการพื้นฐานที่เป็นรากฐานสำคัญในการวิจัยพัฒนาวัคซีน, โรงงานผลิตวัคซีนต้องประสาน

ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตวัคซีนเป็นไปตามความต้องการ

ใช้ของโรงงาน, การพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพวัคซีนจะต้องดำเนินการทั้งหน่วยวิจัยพัฒนา

หน่วยผลิตวัคซีน และหน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ, ต้องพัฒนาบุคลากรด้านสัตว์

ทดลองที่มีความจำเป็น ได้แก่ สัตว์แพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ การ breeding การควบคุม

คุณภาพงานด้านสัตว์ทดลอง และสาขาที่ขาดแคลน เช่น Veterinary Microbiology, Experimental

Veterinary Medicine และ Veterinary Pathology นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาวิธีการพัฒนาบุคลากร

ให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะพัฒนา หากเป็นไปได้ ควรทำการพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ โดยอาศัย

ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทยเป็นรูปธรรมและมีความก้าวหน้า

ตามลำดับ สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน สถาบันการศึกษา และหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง ควรผนึกกำลังและร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนทั้งแผนระยะสั้น

และระยะยาว โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและ

ประเมินผลการพัฒนาบุคลากรของหน่วยดำเนินงานเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ต้องร่วมกัน

แสวงหาแหล่งทุนทั้งจากภาครัฐและแหล่งทุนอื่นเพื่อการลงทุนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน ตลอดจน

Page 8: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 3

การค้นหาวิธีการเพิ่มอัตรากำลังของบุคลากรด้านวัคซีนให้แก่หน่วยงานที่ขาดแคลนอย่างมาก อย่างไร

ก็ตาม การจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และการสร้างแรงจูงใจอย่างเป็นรูปธรรมและ

สามารถปฏิบัติได้จริงจะเป็นหนทางในการรักษาบุคลากรด้านวัคซีนที่มีสมรรถนะให้คงไว้ในหน่วยงานได้

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาวัคซีนนั้นมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก วัคซีนที่พัฒนาขึ้นจึงไม่ใช่

เพียงเพื่อป้องกันโรคเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาโรคด้วย ประเทศไทยเป็น

ประเทศหนึ่งที่มีความสามารถในการผลิตวัคซีนเพื่อใช้กับประชาชนไทยได้เองมานานกว่า 80 ปี ในอดีต

เคยผลิตวัคซีนได้หลายชนิด ดังนี้ วัคซีนโรคฝีดาษ วัคซีนอหิวาตกโรค วัคซีนโรคไทฟอยด์ วัคซีนคอตีบ

ไอกรน บาดทะยัก วัคซีนบีซีจี และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งถือว่าประเทศไทยอยู่ในแนวหน้าของ

ภูมิภาคด้านการผลิตวัคซีน ต่อมาได้หยุดการผลิตวัคซีนหลายชนิด และนำเข้าวัคซีนแบบสำเร็จรูป หรือ

นำเข้าวัคซีนที่ผลิตจากต่างประเทศแล้วนำมาผสมและแบ่งบรรจุภายในประเทศ จึงทำให้ปัจจุบันยังคง

สามารถผลิตวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำได้เพียง 2 ชนิด เท่านั้น ได้แก่ วัคซีนบีซีจีสำหรับป้องกันวัณโรคในเด็ก

โดยสถานเสาวภา สภากาชาดไทย และวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (ผลิตจากสมองหนู) โดย

องค์การเภสัชกรรม จากสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันซึ่งมีความผันผวนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ประกอบกับการเกิดโรคอุบัติใหม่ ทำให้ประเทศที่ต้องพึ่งพาวัคซีนจากต่างชาติมีความเสี่ยงที่อาจจะต้อง

ซื้อวัคซีนที่มีราคาแพงขึ้น มีโอกาสได้รับวัคซีนจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ หรือ

ได้รับวัคซีนล่าช้า ไม่ทันต่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค หรือไม่สามารถหาวัคซีนป้องกัน

โรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศแต่ไม่มีผู้สนใจผลิตเพราะมีผลกำไรน้อยและไม่ได้เป็นปัญหาของ

ประเทศผู้ผลิต ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประเทศไทยจึงต้องกลับมาเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถให้สามารถ

ผลิตวัคซีนได้เองเพิ่มขึ้น อย่างน้อยต้องผลิตวัคซีนที่ใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มากชนิดขึ้น

นอกจากนี้ผลการประเมินสถานการณ์การพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2551 พบว่า

ประเทศไทยมีศักยภาพในการวิจัยพัฒนาวัคซีนในระดับหนึ่ง ซึ่งหากได้รับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

ที่เกิดขึ้น น่าจะสามารถกลับมามีศักยภาพด้านการผลิตวัคซีนภายในประเทศได้เอง ปัจจัยหนึ่งที่มีส่วน

สำคัญในการเร่งรัดการพัฒนาวัคซีนของประเทศสู่อุตสาหกรรม คือ หน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีน

ของประเทศไทยได้ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกแล้ว

ดังนั้น ถ้าประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนตามมาตรฐานสากล จะสามารถจำหน่ายวัคซีนให้กับ

องค์กรระหว่างประเทศได้ เช่น UNICEF ปลาย พ.ศ. 2553 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ จึงมีมติให้เสนอวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบ ซึ่งในวาระแห่งชาตินั้นมีโครงการสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นความ

Page 9: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 25544

เร่งด่วนของประเทศในการเตรียมความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีน รวมทั้งการวิจัยพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีนที่มีความสำคัญของประเทศ โดยมีสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการผลักดันและขับเคลื่อนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายและ แผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ ในการนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องด้านวัคซีนทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญและเร่งด่วนเพื่อการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนภายในประเทศ เพื่อเสนอเป็นวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ผลการพิจารณา โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 มีมติเห็นชอบในหลักการต่อวาระแห่งชาติด้านวัคซีนพร้อมโครงการสำคัญทั้ง 10 โครงการ ฉะนั้น ศักยภาพของบุคลากรที่จะดำเนินโครงการเหล่านี้ให้ประสบ ความสำเร็จได้จึงเป็นความจำเป็นพื้นฐานและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเป้าหมายของประเทศในการ พึ่งตนเองได้และมีความมั่นคงด้านวัคซีนในระยะยาว เนื่องจากบุคลากรของประเทศที่รับผิดชอบงานด้านวัคซีนมีจำนวนจำกัด และมีศักยภาพไม่

เพียงพอสำหรับการพัฒนาวัคซีนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งทำให้วัคซีนมีความปลอดภัยมากขึ้นและ

สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเทคโนโลยีดั้งเดิม หากประเทศไทยต้องการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีน

ให้ได้เองมากชนิดขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะต้องมีการเตรียมความพร้อม

ด้านบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและศักยภาพสูงในสาขาต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการวิจัย การผลิต และ

การควบคุมคุณภาพในวัคซีนแต่ละชนิด การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศควรเป็นระบบและ

มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาความต้องการพัฒนาบุคลากรทั้งจำนวนบุคลากร ศักยภาพ และ

ความเชี่ยวชาญที่มีความต้องการในรายวัคซีน และในภาพรวม ช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนมีลักษณะต่างหน่วยงานต่างพัฒนาตาม ความต้องการของตนเอง จึงทำให้การใช้งบประมาณในการพัฒนาคนเป็นแบบกระจาย แต่การใช้ศักยภาพของคนที่พัฒนาแล้วอยู่ในวงจำกัด หรือไม่ได้ใช้คนดังกล่าวเพราะไม่มีงานรองรับ ขณะนี้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าประเทศมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านวัคซีนมากน้อยเท่าใด ปริมาณเพียงพอสำหรับการพัฒนางานด้านวัคซีนหรือไม่ และศักยภาพของบุคลากรมีในด้านใดบ้าง หากต้องการพัฒนาให้ประเทศสามารถผลิตวัคซีนเพิ่มชนิดขึ้น จะต้องพัฒนาบุคลากรต่อยอดในด้านใด หรือต้องสรรหาบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม ถ้าต้องเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการวิจัยพัฒนาวัคซีน การผลิตในระดับอุตสาหกรรม และการขยายกำลังการผลิต จะต้องเตรียมบุคลากรประเภทใดบ้างเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุ ผลสำเร็จตามเป้าหมาย ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวางแผนในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศมีความสอดคล้องกับสถานการณ์จริงและสามารถเตรียมการพัฒนาบุคลากรได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศ สิ่งแรกที่ควรดำเนินการคือ การสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อทราบสถานะปัจจุบันของอัตรากำลังและความต้องการอัตรากำลังเพิ่มเติมใน หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการพัฒนางานด้านวัคซีน 2. เพื่อบูรณาการความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน และสถาบันการศึกษา

3. เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

Page 10: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 5

กลุ่มเป้าหมายและการเก็บรวบรวมข้อมูล

การสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วม

(Participatory study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนางานวัคซีนของประเทศ หรือ

มีบทบาทที่เกี่ยวข้อง จำนวน 27 ท่าน ดังนี้

1. ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

3. รศ.ดร.นพ.สุธี ยกส้าน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

4. ดร.ณรงค์ นิทัศน์พัฒนา ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

5. ศ.ดร.กวี รัตนบรรณางกูร ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

6. ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

7. ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

8. นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน ที่ปรึกษา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

9. พญ.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

10. รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

11. ดร.อภิญญา เทียนธนะวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

12. ภก.สมชาย ศรีชัยนาค รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม

13. ภก.สิทธิ์ ถิระภาคภูมิอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม

14. รศ.ดร.ภญ.อรพรรณ มาตังคสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

15. รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

16. นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล บริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

17. นางธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

18. นางวิริยามาตย์ เจริญคุณธรรม สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

19. ภญ.ดร.ยุพิน ลาวัณย์ประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

20. ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

21. ภญ.ประภัสสร ธนะผลเลิศ สำนักยา (กลุ่มชีววัตถุ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

22. ภญ.ทัศนีย์ ล้อชัยเวช กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

23. ภญ.พัชรา คูถิรตระการ บริษัทองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด

24. ดร.อนันต์ ทองทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

25. ดร.พนิต กิจสุบรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

26. นางกาญจนา เข่งคุ้ม ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

27. นสพ.สุเมธ อำภาวงษ์ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page 11: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 25546

2. หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการ

พัฒนางานวัคซีน จำนวน 20 แห่ง ประกอบด้วย

1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

2. ศูนย์ทดสอบวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

3. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

4. ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร

7. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

8. บริษัทไบโอเนท−เอเชีย จำกัด

9. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย

10. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี สวทช.

11. องค์การเภสัชกรรม

12. สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

13. บริษัทร่วมทุนองค์การเภสัชกรรม−เมอร์ริเออร์ ชีววัตถุ จำกัด

14. สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

15. สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

16. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

17. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

18. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

19. ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

20. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3. สถาบันการศึกษา ซึ่งรับผิดชอบจัดการเรียนการสอนหรือดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับ

วัคซีน จำนวน 15 สถาบัน ประกอบด้วย

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.1 คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา, ภาควิชาอายุรศาสตร์ และภาควิชาเวชศาสตร์

ชันสูตร

1.2 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา

1.3 คณะสัตวแพทยศาสตร์

1.4 คณะเภสัชศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยมหิดล

2.1 ฝ่ายวิจัยและวิชาการ

2.2 ฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ

2.3 สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

Page 12: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 7

2.4 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

2.5 คณะสัตวแพทยศาสตร์

2.6 คณะสาธารณสุขศาสตร์

3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3.1 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา

3.2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน

3.3 คณะเทคนิคการสัตวแพทย์

4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

4.1 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา

4.2 คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

5.1 คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์

5.2 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา

6. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

6.1 คณะแพทยศาสตร์

6.2 คณะเภสัชศาสตร์

6.3 คณะเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

7. มหาวิทยาลัยนเรศวร

7.1 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภาควิชาชีวเคมี

7.2 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา

8. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์

9. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเภสัชศาสตร์

10. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม

11. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ

12. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา

13. มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คณะเทคนิคการแพทย์

15. มหาวิทยาลัยรังสิต ในการสำรวจครั้งนี้ กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบถ้วน

ทุกกลุ่มเป้าหมาย และสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลได้ตามความเหมาะสม หากมีปัญหาเกี่ยวกับ

ความไม่สะดวกของผู้ให้ข้อมูลในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถสรุปวิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

ดังต่อไปนี้

1. ประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนา

ทรัพยากรบุคลากรด้านวัคซีน และการจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน ในวันที่ 7 กันยายน

2553

Page 13: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 25548

2. การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน เพื่อพิจารณาโครงการพัฒนา

บุคลากรด้านวัคซีน จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 22, 24 กันยายน และวันที่ 20 ตุลาคม 2553

3. การระดมสมองกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีน

อย่างเป็นระบบ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553

4. จัดทำแบบสอบถามบุคลากรของหน่วยงานด้านวัคซีน “โครงการพัฒนาศักยภาพ

บุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ ปี 2554” ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน ได้แก่

- ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

- ส่วนที่ 2 อัตรากำลังบุคลากรของหน่วยงานด้านวัคซีน

- ส่วนที่ 3 ความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านวัคซีนของหน่วยงาน

ด้านวัคซีน

- ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

5. ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน จำนวน 20 แห่ง

ในวันที่ 20 มกราคม 2554

6. ติดตามและรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ -

มีนาคม 2554

7. วิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามและนำเสนอผลต่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงาน

เครือข่ายด้านวัคซีน ในการประชุมพิจารณาความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและอัตรากำลังของ

หน่วยงานด้านวัคซีน วันที่ 30 มีนาคม 2554

8. หาความสอดคล้องของข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

ในสาขาวิชาต่าง ๆ ในมุมมองของสถาบันการศึกษา โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการผลิต

และพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนในประเทศไทย” วันที่ 21 กรกฎาคม 2554

9. สังเคราะห์ผลการศึกษาในภาพรวม และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

ผลการศึกษา

จากการสำรวจอัตรากำลังและความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานเครือข่าย

ด้านวัคซีน จำนวน 20 หน่วยงาน ได้รับการตอบกลับ จำนวน 18 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 90

หน่วยงานที่ตอบแบบสอบถาม จำแนกเป็นหน่วยงานด้านวิจัยพัฒนา 9 หน่วย การผลิต 3 หน่วย

การประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน 2 หน่วย บริหารจัดการเรื่องการใช้วัคซีน 2 หน่วย และสนับสนุน

การพัฒนางานวัคซีน 2 หน่วย ดังแสดงในรูปที่ 1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นชาย/หญิง จำนวน 11/7 คน

อายุเฉลี่ย 51.4 ปี (36-72 ปี) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก/ปริญญาโท จำนวน 8/7 คน

ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในสายวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ชีววิทยา, วิทยาศาสตร์

การแพทย์, วิจัยและพัฒนาวัคซีน และ Food science เป็นแพทย์ 4 คน เภสัชกร 4 คน และเทคนิค

การแพทย์ 1 คน ทุกคนอยู่ในตำแหน่งผู้บริหาร และหัวหน้ากลุ่ม/ ฝ่าย/ โครงการ ค่าเฉลี่ย

ของประสบการณ์ด้านวัคซีน 18.8 ปี ประสบการณ์สูงสุด 45 ปี

Page 14: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 9

รูปที่1. หน่วยงานที่ตอบแบบสอบถาม

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อทราบสถานะปัจจุบันของอัตรากำลังและความต้องการอัตรากำลัง

เพิ่มเติมในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการพัฒนางานด้านวัคซีน

ปัจจุบันหน่วยงานทั้งหมด 18 แห่ง มีจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่รวมทั้งสิ้น 531 คน

ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต จำนวน 211 คน และการวิจัยพัฒนา 137 คน เกือบทุกหน่วยงานต้องการ

จำนวนบุคลากรเพิ่มขึ้น ยอดรวมของบุคลากรที่ต้องการเพิ่มคือ 176 คน อัตราบุคลากรที่ต้องการ

เพิ่มโดยรวม ร้อยละ 33.1 โดยเกือบทุกหน่วยงานต้องการคนเพิ่ม ยกเว้น 2 หน่วยงาน ได้แก่

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์สัตว์

ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานที่มีอัตรากำลังไม่เพียงพอต่อภาระงานและมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมาก

ที่สุดคือ หน่วยงานด้านประกันและควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีน ประกอบด้วย สำนักยา สำนักงาน

คณะกรรมการอาหารและยา และสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักยาขาดบุคลากร

อย่างมาก ต้องการคนเพิ่มมากเกิน 1 เท่าตัว ปัจจุบันมี 19 คน ต้องการเพิ่มอีก 29 คน สถาบันชีววัตถุ

ต้องการคนเพิ่ม 1 เท่าตัว จากที่มีอยู่ขณะนี้ 13 คน หน่วยงานที่มีความต้องการคนเพิ่มเกิน 1 เท่าตัว

อีกแห่งหนึ่งคือ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับศูนย์

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 9

Page 15: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255410

ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยนั้น ยังไม่มีบุคลากรด้านวิจัยพัฒนา จึงต้องการ

จำนวนบุคลากรในด้านนี้ 9 คน เพื่อดำเนินภารกิจของหน่วยงาน และสถาบันวัคซีนแห่งชาติซึ่งเป็น

หน่วยงานกลางด้านวัคซีน ต้องการบุคลากรเพิ่มขึ้นอีก 11 คน สรุปสถานะปัจจุบันและความต้องการ

อัตรากำลังเพิ่มเติมในแต่ละหน่วยงาน แสดงรายละเอียดในตารางที่ 1 และรูปที่ 2-4 ตารางที่1 อัตรากำลังบุคลากรด้านวัคซีนและความต้องการบุคลากรเพิ่ม จำแนกตามหน่วยงาน

หน่วยงาน อัตรากำลังปัจจุบัน

(คน)

ความต้องการเพิ่ม

(คน)

ด้านวิจัยพัฒนา 137 76

ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน ม.มหิดล (CVD) 16 12

ศูนย์ทดสอบวัคซีน ม.มหิดล (VTC) 16 6

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล 8 7

(Biotech MU)

ภาควิชาจุลชีววิทยา ม. เชียงใหม่ (Micro CMU) 6 6

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) 35 8

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุข 14 11

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (MBC)

บริษัทไบโอเนท − เอเชีย จำกัด (Bionet) 39 17

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) 0 9

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี สวทช. (BIOTEC) 3 0

ด้านผลิตวัคซีน 211 44

องค์การเภสัชกรรม (GPO) 38 28

สถานเสาวภา สภากาชาดไทย (QSMI) 50 4

องค์การเภสัชกรรม−เมอร์ริเออร์ ชีววัตถุ (GPO-MBP) 123 12

ด้านควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีน 32 42

สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (NRA) 19 29

สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (NCL) 13 13

ด้านบริหารจัดการการใช้วัคซีน 11 3

ภาควิชาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2 1

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (EPI, DDC) 9 2

ด้านสนับสนุนงานวัคซีน 14 11

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ 23 11

ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ม.มหิดล 120 0

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255410

Page 16: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 11

รูปที่2. สถานะปัจจุบันของอัตรากำลัง ความต้องการเพิ่มเติม และร้อยละของอัตรากำลังที่เพิ่ม

รูปที่3.ร้อยละความต้องการอัตรากำลังเพิ่มของหน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาวัคซีน

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 11

Page 17: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255412

รูปที่4. ร้อยละความต้องการอัตรากำลังเพิ่มของหน่วยงานด้านผลิตและการควบคุมคุณภาพวัคซีน

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2. เพื่อบูรณาการความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนในมุมมองของ

ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน และสถาบันการศึกษา ผลจากการประชุมหารือและระดมสมองของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน หน่วยงาน

เครือข่ายด้านวัคซีน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ พบว่าประเทศไทยมีความต้องการพัฒนา

บุคลากรในหลายสาขาวิชาที่จำเป็นสำหรับการวิจัยพัฒนา การผลิต และการควบคุมคุณภาพวัคซีน

รวมทั้งการเตรียมองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาและการดำเนินงานด้านวัคซีนต่อไป

ในการพัฒนาบุคลากรนั้น สามารถดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่ การศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท

ปริญญาเอก, การพัฒนาต่อยอดให้แก่บุคลากรที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ โดยการฝึกอบรมระยะสั้น,

การสอนงานโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจดำเนินการในรูปแบบ Secondment คือการยืมตัวบุคลากร

มาช่วยงาน หมายถึง การย้ายบุคลากรจากหน่วยงานหนึ่งไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นแบบชั่วคราว

เพื่อให้บุคลากรที่ย้ายไปมีโอกาสเรียนรู้งานใหม่และพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง

ขณะเดียวกันบุคลากรในหน่วยงานที่ได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยงานจะสามารถพัฒนาทักษะที่มีความต้องการได้

ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรที่ใช้ระยะเวลาจำกัด นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาบุคลากรได้จากการศึกษา

ดูงานหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน หน่วยงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาวัคซีนด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน

ที่ประเทศไทยกำลังจะพัฒนา

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255412

Page 18: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 13

จากการรวบรวมสิ่งที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในบุคลากรที่จะต้องรับผิดชอบการพัฒนางาน

ด้านวัคซีนของประเทศ สามารถสรุปสาระสำคัญในแต่ละด้าน ได้แก่ ความต้องการพัฒนาบุคลากร

ด้านการวิจัยพัฒนา การผลิต การประกันและควบคุมคุณภาพ ด้านบริหารจัดการการใช้วัคซีน และ

ด้านสนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน ดังมีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 2-6 ต่อไปนี้

2.1ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยพัฒนา

กลุ่มผู้ เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัยพัฒนาวัคซีน และสถาบัน

การศึกษา มีความคิดเห็นตรงกันว่าควรพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถ

ในประเด็นที่ถือว่ามีความสำคัญและเป็นความจำเป็นพื้นฐานในการวิจัยพัฒนาวัคซีน ได้แก่

- Microbiology เพิ่มเติม Medical Microbiology, Veterinary Microbiology,

Virology

- Immunology เพิ่มเติม Veterinary immunology

- Vaccinology

- วิทยาการด้านสัตว์ทดลอง : Pathophysiology, Experimental pathology,

Toxicological pathology, Immunopathobiology, Viropathobiology, Veterinary pathology,

Veterinary Toxicology

- การผลิตวัคซีน : Vaccine production technology, Bioprocess

engineering, Upstream & Downstream Bioprocess engineering, Molecular

biotechnology, Molecular biology for vaccine production

- Clinical studies เพิ่มเติม Clinical epidemiology, Experimental design

for vaccine efficacy test in human และการประเมินผลประสิทธิภาพวัคซีน

ประเด็นการพัฒนาที่มีความเห็นตรงกันในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์จากสถาบัน

การศึกษา ได้แก่

- Experimental veterinary medicine

- Adjuvant & Delivery System, Vaccine delivery system

- Formulation technology, Vaccine formulation

ประเด็นการพัฒนาที่เป็นความคิดเห็นจากแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย

- Preclinical studies, GLP, GCP, GMP จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

- Data management จากกลุ่มหน่วยงานเครือข่ายด้านวิจัยพัฒนา และเสนอ

ให้มีการศึกษาดูงานที่ Center for Vaccine Development และ Center for Immunization

Research

- Bioinformatics, Biophysics, Medical entomology, Vaccine design,

Epidemiology approach of cost benefit analysis for vaccine application จากสถาบัน

การศึกษา

Page 19: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255414

ตารางที่2 ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยพัฒนาวัคซีน จำแนกตามมุมมองของ

กลุ่มเป้าหมาย

มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ มุมมองของหน่วยงานเครือข่าย มุมมองของสถาบันการศึกษา

Microbiology Microbiology Medical Microbiology, Veterinary Microbiology, Virology Immunology Immunology Immunology, Veterinary immunology Vaccinology Vaccinology Vaccinology Pathophysiology, Experimental Immunopathobiology, Veterinary pathology, pathology, Toxicological Viropathobiology Veterinary Toxicology pathology Bioprocess engineering การผลิตวัคซีน, Vaccine Upstream & Downstream production technology Bioprocess engineering Clinical studies Clinical Studies, การประเมินผล Clinical epidemiology, ประสิทธิภาพวัคซีน Experimental design for vaccine efficacy test in human Molecular biotechnology Molecular biotechnology, Molecular biology for vaccine production Adjuvant & Delivery System Vaccine delivery system Formulation technology Vaccine formulation Experimental veterinary medicine, Experimental veterinary Laboratory animal specialist medicine Preclinical studies GLP, GCP, GMP Data management Bioinformatics Biophysics Medical entomology Vaccine design Epidemiology approach of cost benefit analysis for

vaccine application

Page 20: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 15

2.2ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตวัคซีน

ในด้านการผลิตวัคซีนนั้น ทั้ง 3 กลุ่ม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มี

ความรู้ความสามารถในกระบวนการผลิตวัคซีน โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและหน่วยผลิตวัคซีนจะให้

รายละเอียดของสาขาที่เป็นความต้องการมากกว่า ซึ่งสามารถจัดหมวดความคิดเห็นที่ตรงกันได้ใน

ตารางที่ 3 สรุปได้ ดังนี้

- Biological engineering เพิ่มเติม Biopharma engineer, Industrial

engineer และ Biotechnology

- Bioprocess engineering เพิ่มเติม Bioreactor culture development,

Biosafety, Biosafety Process Validation, วิศวกรรมการบำรุงรักษาโรงงานผลิตชีววัตถุ

- Biopharmaceutical science เพิ่มเติม Pharmacology, Pharmaceutical

technology, Pharmaceutical science, Veterinary science

- Supply chain & logistics management เพิ่มเติม Storage and logistics

ประเด็นการพัฒนาที่มีความเห็นตรงกันในกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญและหน่วยผลิตวัคซีน

ในประเทศ ได้แก่

- Biochemical engineering, Pharmaceutical chemistry

- Pharmaceutical engineering, การออกแบบโรงงาน และเครื่องมือ

- Pharmaceutical science with management, Pharmaceutical

facilities system

- Formulation technology, Vaccine formulation

- GLP, GCP, GMP, WHO prequalification, Practical GMP of vaccine

manufacturing, GMP Vaccine plant

- Adjuvant & Delivery System, New vaccine delivery system นอกจากนี้ หน่วยผลิตวัคซีนได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดแคลนสำหรับการดำเนินงาน

ด้านการผลิตวัคซีน และต้องการให้พัฒนาบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้แก่ การวางแผนการตลาดและ

การบริหารคลังสินค้า, การควบคุมคุณภาพการผลิต, การประกันคุณภาพการผลิต, Qualification/

Validation, การจัดการสัตว์ทดลอง, Immunology, New vaccine concept construction and

evaluation และ Downstream process development สำหรับข้อเสนอเพิ่มเติมของ

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิต ได้แก่ Cryobiology และ Lyophylization

technology แต่ในมุมมองของสถาบันการศึกษาเห็นว่าสาขาวิชาหรือทักษะบางประเภทอาจจัดอยู่ใน

หลักสูตรเดียวกันโดยรวมอยู่ใน Pharmaceutical Science เช่น Formulation, Lyophilization

technology, Adjuvant & Delivery System, Cryobiology และ GMP

Page 21: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255416

ตารางที่3 ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตวัคซีน จำแนกตามมุมมองของกลุ่มเป้าหมาย

มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ มุมมองของหน่วยงานเครือข่าย มุมมองของสถาบันการศึกษา

Biological engineering Biopharma engineer, Industrial Biotechnology engineer Bioprocess engineering Bioprocess engineering, Bioprocess engineering, Bioreactor culture development, Biosafety, Biosafety Process Validation, วิศวกรรมการบำรุง รักษาโรงงานผลิตชีววัตถุ Biopharmaceutical science Pharmacology, Pharmaceutical Pharmaceutical science, technology Veterinary science Supply chain & logistics Supply chain & logistics Storage and logistics management management Biochemical engineering Pharmaceutical chemistry Pharmaceutical engineering Pharmaceutical engineering, การออกแบบโรงงาน และเครื่องมือ Pharmaceutical science with Pharmaceutical facilities management system Formulation technology Vaccine formulation GLP, GCP, GMP GLP, GCP, GMP, WHO prequalification, Practical GMP of vaccine manufacturing, GMP Vaccine plant Adjuvant & Delivery System New vaccine delivery system Cryobiology Lyophylization technology การวางแผนการตลาดและ การบริหารคลังสินค้า การควบคุมคุณภาพการผลิต, การประกันคุณภาพการผลิต, Qualification/ Validation การจัดการสัตว์ทดลอง Immunology New vaccine concept construction and evaluation Downstream Process development

Page 22: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 17

2.3ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพวัคซีน

ประเด็นที่มีความคิดเห็นตรงกันทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาบุคลากรด้านการ

ควบคุมคุณภาพด้านวัคซีนคือ การพัฒนาสาขา Biostatistics ในส่วนนี้ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม

ในเรื่องของ Biolaw ด้วย สำหรับความจำเป็นในการพัฒนาอื่น ๆ ที่มีความสอดคล้องกันระหว่าง

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน ได้แก่

- Environmental Health & Safety

- Quality Management, Quality management on vaccine

- Risk Management, Risk management on vaccine

- GLP, GCP, GMP, หน่วยงานควบคุมคุณภาพวัคซีน เพิ่มเติมประเด็นที่มีความ

เฉพาะซึ่งควรต้องพัฒนาให้บุคลากรที่มีหน้าที่ควบคุมคุณภาพวัคซีนมีความรู้ด้วย ได้แก่ เทคนิคการผลิต

และการตรวจสอบควบคุมคุณภาพวัคซีน, Production process and new technology, GMP on

biological products

- Regulatory affairs ประกอบด้วย QC of vaccine & Preparation of

reference standard, Marketing authorization & Licensing, GMP inspection, AEFI

surveillance หน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนเพิ่มเติมประเด็นที่ต้องพัฒนาในด้านการปฏิบัติ ได้แก่

QC & lot release of vaccine, CTA / MA Evaluation / GMP (Biologic) inspection และ

การประเมินเอกสารด้าน CMC

- Joint GMP Inspection เป็นการพัฒนาต่อยอดบุคลากรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ

และรับรองมาตรฐานของโรงงานผลิตวัคซีน โดยบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจะสามารถพัฒนาตนเองได้

จากการร่วมประเมินกับทีมงานนานาชาติที่เป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานสากล นอกจากนี้ หน่วยงาน

ควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนเสนอให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านนี้โดยใช้ความร่วมมือทางวิชาการกับ

หน่วยงานต่างประเทศ

ความคิดเห็นที่ตรงกันระหว่างหน่วยงานด้านประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีนกับ

อาจารย์จากสถาบันการศึกษา ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ ดังนี้

- เภสัชวิทยา/ พิษวิทยา

- Microbiology, Molecular biology

- Epidemiology, Clinical epidemiology, Clinical trial

- Biotechnology

- Bioprocessing, Bioengineering

สำหรับสาขาอื่น ๆ ที่หน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศเสนอว่าควรมีการ

พัฒนาในผู้ที่จะมาปฏิบัติงานด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน ได้แก่ Immunology และ

Vaccinology

Page 23: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255418

ตารางที่4 ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพวัคซีน จำแนกตามมุมมองของ

กลุ่มเป้าหมาย

มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ มุมมองของหน่วยงานเครือข่าย มุมมองของสถาบันการศึกษา

Biostatistics Biostatistics Biolaw & Biostatistics Environmental Health & Safety Environmental health & Safety Quality Management Quality management on vaccine Risk Management Risk management on vaccine GLP, GCP, GMP เทคนิคการผลิตและการตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพวัคซีน, Production process and new technology, GMP on biological products Regulatory affairs (QC of vaccine QC & lot release of vaccine, & Preparation of reference CTA / MA Evaluation / GMP standard, Marketing authorization (Biologic) inspection, & Licensing, GMP inspection, การประเมินเอกสารด้าน CMC AEFI surveillance) Joint GMP Inspection ความร่วมมือทางวิชาการกับ หน่วยงานต่างประเทศ เภสัชวิทยา/ พิษวิทยา เภสัชวิทยา (ปริญญาตรี และโท) Microbiology Microbiology, Molecular biology Clinical trial Epidemiology, Clinical Epid. Biotechnology Biotechnology Bioprocessing Bioengineering Immunology

Vaccinology

Page 24: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 19

2.4ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านบริหารจัดการการใช้วัคซีน

จากการรวบรวมความต้องการพัฒนาบุคลากรของ 2 หน่วยงานที่ทำหน้ามี่ในการ

บริหารจัดการเชิงวิชาการและกำหนดแนวทางปฏิบัติในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้แก่ กลุ่มโรคติดต่อ

ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค และภาควิชาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

ศิริราชพยาบาล พบว่ามีความต้องการพัฒนาบุคลากรในสาขาต่าง ๆ ด้วยวิธีการพัฒนาหลายรูปแบบ

ดังสรุปผลในตารางที่ 5 ตารางที่5 ความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยบริหารจัดการการใช้วัคซีน จำแนกตามวิธี

การพัฒนา

วิธีการพัฒนา ประเด็นที่ต้องพัฒนา

1. พัฒนาบุคลากรแบบต่อยอด โดยการ อบรมระยะสั้น (short course training) 1.1 พัฒนาภายในประเทศ 1. โรคติดเชื้อและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. การบริหารจัดการเชิงระบบ 3. เทคนิคการประเมินผลและการนิเทศงาน 1.2 พัฒนาที่ต่างประเทศ 1. โรคติดเชื้อและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. เทคนิคการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 3. How to control and response VPD 2. พัฒนาโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญสอนงาน 2.1 ผู้เชี่ยวชาญในประเทศ 1. โรคติดเชื้อและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. Vaccinology 3. Immunology 4. Basic Science of VPD 2.2 ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ 1. โรคติดเชื้อและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 3. โดยวิธีศึกษาดูงาน 3.1 ภายในประเทศ 1. โรคติดเชื้อและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. การบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการ ของมหาวิทยาลัยแพทย์ 3.2 ต่างประเทศ 1. โรคติดเชื้อและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. How to improve EPI Program in the next decade USA (ACIP) 4. ศึกษาในหลักสูตร 4.1 ระดับปริญญาโท 1. โรคติดเชื้อ 2. Immunology & Vaccinology of Infectious disease 4.2 ระดับปริญญาเอก 1. โรคติดเชื้อ 2. Pedriatic Infectious disease & Immunization

Page 25: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255420

2.5ความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยสนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน

ผลการสอบถามความต้องการพัฒนาบุคลากรจากหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนางาน

วัคซีนของประเทศไทย ได้แก่ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง

ด้านวัคซีนในปัจจุบัน และศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุน

สัตว์ทดลองเพื่อใช้ในการวิจัยพัฒนา การผลิต และการตรวจสอบคุณภาพวัคซีน สามารถสรุป

ความต้องการพัฒนาบุคลากร และวิธีการพัฒนาบุคลากร ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 6 ตารางที่6 ความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยสนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน

จำแนกตามวิธีการพัฒนา

วิธีการพัฒนา ประเด็นที่ต้องพัฒนา

1. พัฒนาบุคลากรแบบต่อยอด โดยการ อบรมระยะสั้น (short course training) 1.1 พัฒนาภายในประเทศ 1. GLP, GCP, GMP 2. Bioprocess Engineering 3. ทักษะในการประสานงาน การเจรจาเพื่อสร้างความร่วมมือ 1.2 พัฒนาที่ต่างประเทศ 1. Vaccinology course (IVI) 2. Vaccinology course (ADVAC) 2. พัฒนาโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญสอนงาน 2.1 ผู้เชี่ยวชาญในประเทศ 1. Knowledge management 2. Vaccine Informatics 2.2 ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ 1. การตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองจากสถาบัน CIEA ญี่ปุ่น 3. โดยวิธีศึกษาดูงาน 3.1 ภายในประเทศ 1. ดูงานหน่วยงานที่ทำหน้าที่ funding / granting โดยศึกษา บทเรียนจากการดำเนินงาน (lesson learned) 3.2 ต่างประเทศ 1. การบริหารจัดการการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองจาก หน่วยงานที่มีมาตรฐานสากล 2. ดูงานหน่วยงานต่าง ๆ ตามวงจรพัฒนาวัคซีนในประเทศ ที่มีความก้าวหน้า เช่น ประเทศเกาหลี, คิวบา, ญี่ปุ่น ฯลฯ 4. ศึกษาในหลักสูตร 4.1 ระดับปริญญาโท 1. วิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง, พยาธิวิทยา 2. Quality Management 3. Biopharmaceutical Science 4. Epidemiology 5. Strategic management 6. Public health policy

4.2 ระดับปริญญาเอก 1. วิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง, พยาธิวิทยา 2. Vaccinology 4.3 ระดับประกาศนียบัตร 1. American College of Laboratory Animal Medicine

(ACLAM)

Page 26: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 21

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3. เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

จากการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนที่ผ่านมาทั้งหมด จำนวน 7 ครั้ง

ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 และผลการตอบแบบสอบถามของ

หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน จำนวน 18 หน่วยงาน สามารถสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการ

พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทยได้ ดังมีสาระสำคัญ ต่อไปนี้ 3.1ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป

1. กำหนดวัคซีนที่จะพัฒนาให้ได้ผลผลิตในประเทศไทยอย่างชัดเจน แล้วดำเนินการ

พัฒนาบุคลากรตามรายวัคซีน โดยพัฒนาตั้งแต่การวิจัยพื้นฐาน การ Scale up การเตรียมด้าน GMP

Bioprocess engineering การพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิต จนถึงการตรวจสอบคุณภาพวัคซีน ทั้งนี้

เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ตั้งแต่ระยะต้นน้ำ (Upstream)

2. การประเมินความขาดแคลนของบุคลากรในแต่ละด้านเพื่อพัฒนาบุคลากร

ให้ได้ตรงตามความจำเป็นใช้ ควรพิจารณาจากกระบวนการและขั้นตอนในการพัฒนาวัคซีนที่เป็น

ความต้องการของประเทศ

3. ควรทำ Need Assessment ของหน่วยงานด้านวัคซีนทั้งภาครัฐและเอกชน

เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน และเป็นความต้องการที่แท้จริงของหน่วยงาน

ลดปัญหาการพัฒนาบุคลากรที่สูญเปล่า คือบุคลากรที่พัฒนาแล้วไม่ได้สร้างผลงานที่ก่อให้เกิดมูลค่า

ด้านวัคซีนให้แก่ประเทศ

4. การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ ควรจัดทำเอกสารในหลายระดับ

อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเนื้องานที่สอดรับกันตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับยุทธศาสตร์ และระดับโครงการ

ทั้งนี้ ต้องวิเคราะห์ตลาดก่อนว่าต้องการบุคลากรประเภทใด เพื่อกำหนดประเด็นที่ต้องพัฒนาให้ชัดเจน

และครอบคลุมสำหรับการดำเนินงานด้านวัคซีนต่อไป

5. ประเทศต้องมีแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนที่ครอบคลุมและ

ตรงตามทิศทางการพัฒนาวัคซีนที่ประเทศต้องการ โดยกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดให้ชัดเจน และมีระบบ

ติดตามประเมินผล ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานจะต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาบุคลากรประจำปี

6. ค้นหาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนโดยประสานหาข้อมูลเกี่ยวกับ

หลักสูตรการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนาบุคลากร ทุนการศึกษา จาก สกว. สวทช. และ

มหาวิทยาลัยต่าง ๆ นอกจากนี้ อาจจะประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อสามารถดำเนินการพัฒนาบุคลากรได้อย่าง

เหมาะสม

7. การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน และ

ใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงต้องรีบเริ่มดำเนินการก่อน โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากรควบคู่ไปกับการจัด

ให้มีโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การเตรียมความพร้อมทั้งคนและสถานที่จึงจะสามารถวิจัย

พัฒนาและผลิตวัคซีนได้ตามเป้าหมายของประเทศ

Page 27: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255422

3.2ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยพัฒนาวัคซีน

1. อัตรากำลังบุคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในประเทศยังมีจำกัด จึงต้องสร้างบุคลากรของประเทศให้มีศักยภาพในการพัฒนางานวิจัยเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะการสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการพื้นฐาน

2. ประเทศไทยยังขาด Infrastructure ในเรื่องของการพัฒนาวัคซีน (Vaccine

development) ค่อนข้างมาก ดังนั้น ประเทศควรจัดตั้งหน่วยงานหลัก รวมทั้ง Primate facility และ

facility ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการวิจัยพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีน

3. การพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยพัฒนา ควรดำเนินการให้ครอบคลุมทุกส่วนของ

การพัฒนาวัคซีน ได้แก่

− การศึกษาระบาดวิทยาของโรค ความสำคัญของโรค พันธุกรรมของเชื้อ

การคัดเลือกสายพันธุ์ การสร้างตัววัคซีน

− การสร้างวัคซีนต้นแบบจากเชื้อดั้งเดิม หรือการทำ Genetic engineering

− การเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ การทดสอบคุณสมบัติว่าผลิตแอนติเจนตรง

ตามที่ต้องการหรือไม่

− การผลิตสัตว์ทดลองและไข่ไก่ระดับ Specific pathogen free (SPF) ที่ได้

มาตรฐาน

− การทดสอบในสัตว์ทดลอง (Immunogenicity) ตามเกณฑ์มาตรฐาน GLP

− การผลิตวัคซีน Trial product จาก pilot plant ที่ได้มาตรฐาน GMP

− การทดสอบในคน ตามมาตรฐาน GCP

4. ปัจจุบันการพัฒนาวัคซีนกำลังก้าวไปสู่ Structural vaccinology ซึ่งศาสตร์ที่มี

ความสำคัญมากในการทำวิจัยและพัฒนาวัคซีน คือ Biophysics ฉะนั้น จึงต้องเตรียมพัฒนาบุคลากร

ด้านนี้ และจัดให้มีการเรียนการสอน Biophysics ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ภายในประเทศ

5. การพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาควรเพิ่มทุนการศึกษาหลักสูตร

Biochemistry, Organic Chemistry, Organic Synthesis, Bio-organic Synthesis

6. ควรจัดให้มี Consortium เกี่ยวกับวิทยาการด้านวัคซีน (Vaccinology),

Bioprocessing และอื่น ๆ ในรูปแบบความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน (Coordinating center)

7. ควรจัดให้มี Vaccine research consortium เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระหว่างนักวิจัยที่มีงานวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิดเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ตั้งโจทย์ และช่วยกัน

แก้ปัญหาที่พบจากการวิจัย

8. ประเทศไทยมีหน่วย CRO (Contract Research Organization หรือ Clinical

Research Organization) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญมากต่อการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์

วัคซีน หากต้องการให้หน่วย CRO มีความก้าวหน้า ควรพิจารณาลูกค้าในระดับภูมิภาคอาเซียน หรือ

ระดับนานาชาติ และต้องพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีศักยภาพเพียงพอสำหรับบทบาท CRO

Page 28: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 23

3.3ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตวัคซีน

1. ประเทศไทยควรพัฒนาบุคลากรด้าน Biological, Bioprocess engineering

เพื่อให้สามารถออกแบบและพัฒนาวัคซีนใหม่ได้ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ ซึ่งจะทำให้ประเทศมีศักยภาพในการ

ผลิตวัคซีนในระยะต้นน้ำด้วยเทคโนโลยีใหม่ ไม่ต้องรับถ่ายทอดเทคโนโลยีเก่าจากที่อื่น

2. การพัฒนาบุคลากรสำหรับโรงงานผลิตวัคซีน ควรเน้นสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

และมีการฝึกแบบ on the job train เพื่อให้บุคลากรเก่งงาน ฉะนั้น การเตรียมบุคลากรสายการผลิตนั้น

ต้องวิเคราะห์สมรรถนะที่ต้องการใช้ภายในโรงงาน และประสานกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตผู้เรียน

สายเทคนิคสำหรับการปฏิบัติงานในโรงงานผลิตวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ควรสร้างบุคลากรที่มีจำเป็นสำหรับโรงงานผลิตวัคซีน ได้แก่ วิศวกรด้านซ่อม

บำรุง, Utilities (ระบบน้ำ ไฟฟ้า แสง ความร้อน), บุคลากรด้านประกันคุณภาพวัคซีน (QA), บุคลากรที่

ปฏิบัติงานกับถังหมัก (Fermentor)

4. ในการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตวัคซีนนั้น โรงงานอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย

ต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้สอนหรือผู้จัดหลักสูตร แต่โรงงานอุตสาหกรรม

เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติ จึงจะเป็นวิธีการทำให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะจาก

การปฏิบัติจริง

5. บุคลากรด้านการผลิตเป็น Multidiscipline ในการผลิตบุคลากรสำหรับการผลิต

วัคซีนจึงควรเป็นข้อตกลงความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ แพทยศาสตร์

เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ และวิศวกรรมศาสตร์

6. การพัฒนาบุคลการด้านการผลิตควรครอบคลุมถึงชีวภัณฑ์อื่นๆ ด้วย เพื่อรองรับ

งานด้าน Biological product ที่มีความเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ล้วนแล้วแต่เป็น

เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นจึงควรสร้างบุคลากรในระดับ Ph.D. ในอัตราส่วนที่มากขึ้น

7. โรงงานผลิตวัคซีนขนาดใหญ่ของต่างประเทศเป็นภาคเอกชนทั้งหมด จึงมีการ

ลงทุนและทุ่มเทการทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพโดยเร็วเพื่อแข่งขันกัน

ในเชิงธุรกิจ แต่การลงทุนของประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้งบประมาณจากภาครัฐ จึงทำให้ไม่มีประสิทธิผล

เท่าที่ควร เนื่องจากความไม่คล่องตัวด้านการเงินและงบประมาณที่มีหลายขั้นตอนตามกฎระเบียบที่

เคร่งครัดของระบบราชการ

3.4ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพ

วัคซีน

1. การพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพวัคซีนนั้นต้องดำเนินการทั้งในส่วนของ

หน่วยวิจัยพัฒนา หน่วยผลิตวัคซีน และหน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ (NRA และ NCL)

โดยต้องพัฒนาบุคลากรด้านควบคุมคุณภาพวัคซีนให้เป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์และความชำนาญ

ในด้านนี้ จึงจะสามารถทำให้หน่วยงานได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง GLP และ Manufacturing GMP

2. ต้องพัฒนาบุคลากรด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีนให้ทันต่อเทคโนโลยี

การผลิตที่ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ขณะที่โรงงานผลิตวัคซีนพัฒนาด้าน knowhow หน่วยงานที่เป็น

Regulator มีหน้าที่ในการ update กรรมวิธีเหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถประเมินและรับรองคุณภาพให้

Page 29: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255424

3. สร้างบุคลากรที่มีสมรรถนะในการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต

ในขั้นตอนต่าง ๆ ว่าผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอและสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ (Process

validation) พัฒนาวิธีวิเคราะห์เพื่อการควบคุมคุณภาพวัคซีน และพัฒนาระบบสารสนเทศด้านคุณภาพ

และความปลอดภัยของชีววัตถุ

4. พัฒนาบุคลากรของหน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ (NRA) ให้มี

สมรรถนะเพิ่มขึ้นโดยการฝึกงาน หรือร่วมประเมินเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับวัคซีนใหม่

กับหน่วย NRA ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

5. ควรเพิ่มอัตรา/ตำแหน่งงานที่มั่นคงให้กับบุคลากรด้านการประกันและควบคุม

คุณภาพ เพื่อให้สามารถรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้ เนื่องจากอัตรากำลังที่ไม่สมดุลกับภาระงาน

ทำให้บุคลากรที่มีประสบการณ์ด้านนี้ลาออก หรือโยกย้ายงาน

6. ควรจัดเวทีหารือระหว่างผู้ เชี่ยวชาญด้านควบคุมคุณภาพวัคซีนกับสำนักงาน

คณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหา

ทางออกในการจูงใจและรักษาให้บุคลากรปฏิบัติงานด้าน QA/QC อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรหา

แนวทางว่าทำอย่างไรนักศึกษาจึงจะสมัครเรียน QA/QC และเมื่อจบแล้วเลือกที่จะทำงานด้านนี้ด้วย

7. ปัจจุบันหลักสูตรของภาควิชาเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เน้นการเรียนการ

สอนด้านยามากกว่าวัคซีน และมีเนื้อหาด้านอุตสาหกรรมน้อย ดังนั้น ควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาด้านวัคซีน

และอุตสาหกรรมวัคซีน รวมทั้งการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรด้าน

ควบคุมคุณภาพวัคซีนสำหรับการดำเนินงานพัฒนาวัคซีนต่อไป

8. หน่วยงานหลักที่ควรใช้เป็นแหล่งฝึกงานด้านการประกันและควบคุมคุณภาพ

ด้านวัคซีนให้แก่นักศึกษาเพื่อการเรียนรู้และมีประสบการณ์จริงในการควบคุมคุณภาพวัคซีน ได้แก่

สำนักยา (กลุ่มชีววัตถุ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์

การแพทย์ 3.5ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านสนับสนุนการพัฒนาวัคซีน

1. ประเทศควรเตรียมบุคลากรด้านสัตว์ทดลองเพื่อรองรับงานวิจัยพัฒนา ผลิต

การประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้สัตว์ทดลองทั้งสิ้น และควรกำหนดนโยบาย

ในการสร้าง Animal Biosafety Laboratory Facility ระดับ 2 (ABSL 2) และระดับ 3 (ABSL 3)

สำหรับการทดสอบ Safety, Efficacy potency ของวัคซีนในสัตว์ทดลอง โดยให้มีจำนวนเพียงพอ

ต่อความต้องการของนักวิจัยที่ทำการพัฒนาวัคซีน

2. งานในส่วนของสัตว์ทดลองต้องการสัตวแพทย์ นักจุลชีวิทยา นักภูมิคุ้มกันวิทยา

และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อการขอรับรองมาตรฐาน GLP ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก

ในการทำวิจัยทางคลินิก

3. บุคลากรงานด้านสัตว์ทดลองที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นสำหรับการวิจัย

พัฒนาวัคซีน ได้แก่ สัตว์แพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ การ Breeding บุคลากรด้านการควบคุม

คุณภาพงานด้านสัตว์ทดลอง บุคลากรทางด้านสัตว์ทดลองในสาขา Veterinary Microbiology,

Experimental Veterinary Medicine และ Veterinary Pathology

Page 30: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 25

4. ควรมีการสร้างบุคลากรด้านสัตวแพทย์การทดลอง (Laboratory animal

specialist) คือให้สัตวแพทย์ที่จบการศึกษาแล้วมาอบรมเฉพาะด้าน ซึ่งคณะสัตวแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถจัดหลักสูตรนี้ได้ด้วยความร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

อื่น ๆ อีก 6 แห่ง หรืออาจจะส่งไปอบรมต่างประเทศ เป็นหลักสูตรระยะสั้น 3−6 เดือน

5. ควรพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนให้มีความสามารถและมีเทคนิคในการเขียนเอกสาร

ที่เริ่มตั้งแต่การวิจัยพัฒนาในห้องปฏิบัติการจนถึงกระบวนการผลิต เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญและเอกสาร

เหล่านี้ใช้ประกอบการพิจารณารับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

6. บุคลากรที่ต้องพัฒนาให้เกิดมีขึ้น คือผู้ทำหน้าที่ทบทวนข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่านมา

แล้วสรุปเป็นสาระสำคัญเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยควรมีข้อเสนอทางเลือกเพื่อ

การตัดสินใจด้วย

7. ควรพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในด้านบริหารจัดการ การคิด

วิเคราะห์ การเจรจาต่อรอง ภาษาอังกฤษ ทักษะการสื่อสาร และการนำเสนอ 3.6ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาบุคลากร

1. ส่งเสริมการเพิ่มพูนทักษะเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนางานวัคซีนของประเทศ

โดยการศึกษาดูงาน อบรม การประชุมวิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เช่น การประชุมเกี่ยวกับ

วัคซีนด้านคลินิก ห้องปฏิบัติการ การประเมินผลประสิทธิภาพวัคซีน ฯลฯ

2. ควรพัฒนาบุคลากรโดยส่งผ่านทาง WHO เพื่อไปฝึกงานที่ต่างประเทศ หรือ

การนำบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตวัคซีนของต่างประเทศมาทำงานและฝึกงานให้กับคนไทย ซึ่งจะ

สามารถถ่ายทอด Knowhow ได้ด้วย นอกจากนี้ อาจมี Collaboration กับต่างประเทศ เพื่อการ

แลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อการเรียนรู้

3. เมื่อมีการผลิตหรือพัฒนาวัคซีนใหม่ขึ้นมา WHO ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก จะเชิญ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้าน Industry และ Regulator เข้าร่วมหารือ โดย WHO จะเป็นผู้กำหนด

แนวทางการพัฒนาบุคลากร พร้อมหัวข้อการพัฒนา และหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งแนะนำว่าใครควรจะ

พัฒนาด้านใด

4. การพัฒนาบุคลากรโดยการส่งบุคลากรไปทำงาน (Secondment) เป็นวิธีการ

ที่มีคุณภาพสูง เห็นผลชัดเจน และใช้ระยะเวลาน้อย แต่วิธีนี้เหมาะสมกับงานบางลักษณะเท่านั้น เพราะมี

บางงานที่ไม่สามารถพัฒนาบุคลากรโดยวิธีนี้ได้ เช่น New technology (VLP technology) เป็นต้น

ซึ่งอาจจะต้องพัฒนาในลักษณะ International collaboration

5. เพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้านวัคซีนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน

โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการสร้างความร่วมมือ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากรกับองค์การเภสัชกรรมในการ

ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรให้เช่าสถานที่เพื่อพัฒนาเป็น

GMP Pilot plant เพื่อให้องค์การเภสัชกรรมสามารถใช้ในการผลิตวัคซีนได้ตามมาตรฐานการผลิตที่ดี

ทำให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องกระบวนการผลิตจากสถานที่ผลิตจริง และได้รับ

ความรู้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่มาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่องค์การ

เภสัชกรรม

Page 31: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255426

6. ควรให้ทุนแก่หน่วยงานที่มีศักยภาพในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ

มีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวัคซีน ซึ่งจะเป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรสู่ความเชี่ยวชาญ และสามารถก่อให้

เกิดความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนของประเทศ

7. พิจารณาการให้ทุนแบบ Researcher Relationship โดยผู้ได้รับทุนต้องดำเนิน

การวิจัยตามเงื่อนไขที่ผู้ให้ทุนกำหนด หน่วยงานที่ให้ทุนต้องกลั่นกรองผู้รับทุนโดยดึงคนเก่งจาก

สหสาขาวิชา และอาจให้ทุนแก่หลายสถาบันการศึกษาในแต่ละสาขาที่ต้องการได้

8. ควรให้ทุนนักศึกษาที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และวัคซีน เพื่อดึงดูดให้

นักศึกษาเข้ามาเรียนด้านนี้ ในปัจจุบัน บริษัท ไบโอเนท−เอเชีย จำกัด ให้ทุนการศึกษาและให้ที่ทำงาน

ด้วยเมื่อเรียนจบ นับว่าเป็นมิติใหม่ของการลงทุนในการสร้างบุคลากรที่มีความต้องการใช้ในการวิจัย

พัฒนาวัคซีน

9. ปัจจุบันการเรียนในระดับปริญญาโท−เอก ในทุก ๆ มหาวิทยาลัย นักศึกษา

มีการเรียนทฤษฏีเพียงบางรายวิชาของหลักสูตร และมีการทำงานวิจัยเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาจไม่ตอบสนอง

ต่อความต้องการสำหรับการพัฒนางานด้านวัคซีน จึงควรพัฒนาต่อยอดนักศึกษาที่จบการเรียนหลักสูตร

พื้นฐานในสาขาที่มีจำเป็นหรือขาดแคลน เช่น สาขา Vaccinology, Medical Microbiology,

Immunology เป็นต้น

10. การเสนอให้ทุนพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรต่าง ๆ ต้องตรวจสอบว่าได้มีการ

จัดการเรียนการสอนอยู่จริงหรือไม่ หลักสูตรที่ต้องการพัฒนาบุคลากรนั้นมีการสอนอยู่ในประเทศ หรือ

สามารถร่วมมือกันจัดให้มีการเรียนการสอนภายในประเทศได้หรือไม่ หากไม่มีจึงพิจารณาส่งบุคลากร

ไปเรียนต่อหรือพัฒนาในต่างประเทศ

11. การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวัคซีน ไม่จำเป็นต้องจัดหลักสูตรใหม่

แต่ควรเพิ่มเติมการฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีประสบการณ์จริง หากเป็นไปได้ รูปแบบการสอนควรเป็น on the

job training

12. ควรมีหลักสูตรเฉพาะสำหรับวัคซีนที่มีการบูรณาการโดยการรวบรวมศาสตร์

ต่าง ๆ เช่น Immunology, Microbiology, Molecular Biotechnology และสาขาอื่น ๆ

ที่มีความจำเป็นสำหรับงานด้านวัคซีนมาบรรจุไว้ในหลักสูตรแล้วจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรพิเศษ 3.7ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

1. ควรจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าตามสายงานอาชีพ และแรงจูงใจให้ชัดเจน โดย

สร้างแรงจูงใจตั้งแต่ระยะต้นน้ำจนถึงระยะปลายน้ำ หากประเทศไทยผลิตวัคซีนที่มีราคาแพงใช้ได้เองใน

ราคาที่ถูกลง และสามารถนำไปขายตลาดต่างประเทศได้ ประเทศจะเกิดความมั่งคั่ง ทำให้บุคลากรที่อยู่

ในสายงานพัฒนาวัคซีนดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้

เกิดแรงจูงใจ ช่วยกันพัฒนางานด้านวัคซีนให้รุดหน้า

2. ควรกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรด้านวัคซีน จะสามารถลด

ปัญหาการโยกย้ายบุคลากรที่มีศักยภาพไปสู่หน่วยงานที่มีค่าตอบแทนสูงกว่าได้ และยังสามารถสร้าง

แรงจูงใจในการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ส่งผลให้การขาดแคลนบุคลากรน้อยลง

Page 32: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 27

3. ควรรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ ความรู้และความสามารถในแต่ละ

ด้านของการพัฒนาวัคซีน เช่น Pure Science, Lab, VPD, QA/QC, Immunization เป็นต้น เพื่อเป็น

ฐานข้อมูลสำคัญสำหรับการสนับสนุนวิทยากร และผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัคซีน เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้

และประสบการณ์ด้านวัคซีน รวมทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน

ของประเทศ

4. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) ควรเป็นผู้เชื่อมโยงแผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

ของแต่ละหน่วยงานให้เป็นภาพรวมของประเทศ

5. ควรจัดตั้งหน่วยงานการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเป็นการเฉพาะภายในสถาบัน

วัคซีนแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน จัดหาแหล่งทุน/ สถาบันการศึกษา/ หลักสูตร และติดตาม

ประเมินผลการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

6. ในการให้ทุนการศึกษาควรกำหนดให้ชัดเจนว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปทำงาน

ที่ใด โดยมีข้อเสนอให้ทุนการศึกษาทั้งหมดอยู่ที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสถาบันฯ เป็นหน่วยที่จ่าย

บุคลากรไปอยู่ ณ หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการบุคลากรแต่ละประเภท

7. บุคลากรที่ทำหน้าที่ Auditor ในบริษัทยา อาจจะสามารถทำงานที่ NRA และ

NCL ได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน

ในบทบาทของ Regulator

8. ควรจัดให้มีเวทีหารือกันเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการผลิตวัคซีน

โดยเชิญมหาวิทยาลัย หน่วยวิจัย และหน่วยผลิตร่วมพูดคุยหารือกัน ซึ่งจะทำให้เห็นปัญหาและ

จะได้แนวทางในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานได้อย่างชัดเจน

9. แนวทางความร่วมมือระหว่างองค์กร จะต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะ

การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ

สรุปผล

ผลสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทยจากกลุ่มเป้าหมาย

ที่สำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน และสถาบันการศึกษา โดยการ

ประชุม การระดมสมอง และการใช้แบบสอบถามหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนทางไปรษณีย์ ระหว่าง

เดือนกันยายน 2553 ถึงเดือนกรกฎาคม 2554 สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนมีอัตรากำลังในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อภารกิจ

จึงต้องการบุคลากรเพิ่มเกือบทุกหน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 88.9 (16/ 18 แห่ง) ยกเว้น ศูนย์พันธุวิศวกรรม

และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดล

2. หน่วยงานด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีนต้องการบุคลากรเพิ่มมากที่สุด

เกิน 1 เท่าของอัตรากำลังในปัจจุบัน ร้อยละ 131.3 รองลงมาคือ หน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาต้องการ

อัตรากำลังเพิ่ม ร้อยละ 55.5

Page 33: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255428

3. ความต้องการอัตรากำลังเพิ่มอย่างมากของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน เรียงตาม

ลำดับเฉพาะความต้องการเพิ่มตั้งแต่ ร้อยละ 40 ขึ้นไป ดังต่อไปนี้

1) สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (NRA) อัตราเพิ่มร้อยละ 152.6

2) สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (NCL) อัตราเพิ่มร้อยละ 100

3) ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อัตราเพิ่มร้อยละ 100

4) ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อัตราเพิ่ม

ร้อยละ 87.5

5) ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

อัตราเพิ่มร้อยละ 78.6

6) ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน ม.มหิดล อัตราเพิ่มร้อยละ 75

7) องค์การเภสัชกรรม อัตราเพิ่มร้อยละ 73.7

8) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ อัตราเพิ่มร้อยละ 47.8

9) บริษัทไบโอเนท − เอเชีย จำกัด อัตราเพิ่มร้อยละ 43.6

4. ทุกกลุ่มมีความเห็นว่าประเทศต้องพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ

และต่อเนื่อง หากต้องการให้เกิดผลิตภัณฑ์วัคซีนภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม เพราะศักยภาพของ

คนจะนำมาซึ่งความสำเร็จของการพัฒนา อย่างไรก็ตาม การจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ

การวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนก็เป็นเรื่องสำคัญ หากมีคนที่มีศักยภาพแต่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานให้ทำงาน

ก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการผลิตวัคซีนตามนโนบายของประเทศ

5. ผลจากการบูรณาการความคิดเห็นในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนในแต่ละด้าน

สามารถสรุปประเด็นที่มีความเห็นตรงกันในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม ดังนี้

5.1 สาขาที่ต้องพัฒนาด้านการวิจัยพัฒนาวัคซีน ได้แก่ Microbiology, Immunology,

Vaccinology, วิทยาการด้านสัตว์ทดลอง, Bioprocess engineering และ Clinical studies

5.2 สาขาที่ต้องพัฒนาด้านการผลิตวัคซีน ได้แก่ Biological engineering,

Bioprocess engineering, Biopharmaceutical science, และ Supply chain & logistics

management

5.3 สาขาที่ต้องพัฒนาด้านการควบคุมคุณภาพวัคซีน คือ Biostatistics

6. งานประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ผู้ที่มี

ประสบการณ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพวัคซีนในสถานการณ์จริงอาจจะระบุประเด็นที่ต้องการพัฒนา

ได้อย่างชัดเจนในรายละเอียด จากการพิจารณาความคิดเห็นที่ตรงกันใน 2 กลุ่มเป้าหมาย พบประเด็นที่

ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ทำงานด้านควบคุมคุณภาพวัคซีน ได้แก่ Environmental Health &

Safety, Quality management on vaccine, Risk management on vaccine, GLP, GCP, GMP,

Regulatory affairs, Joint GMP Inspection, เภสัชวิทยา, พิษวิทยา, Microbiology, Clinical trial,

Biotechnology และ Bioprocessing

7. ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านบริหารจัดการการใช้วัคซีน ได้แก่ โรคติดเชื้อ

และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การบริหารจัดการเชิงระบบ เทคนิคการประเมินผลและการนิเทศงาน

เทคนิคการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค How to control and response VPD, Vaccinology,

Immunology และ Pedriatic Infectious disease & Immunization

Page 34: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 29

8. ความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยสนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน ได้แก่

วิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง, พยาธิวิทยา, การบริหารจัดการการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองตามมาตรฐาน

สากล, การตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสากล, Vaccinology, Bioprocess

engineering, GLP, GCP, GMP, Vaccine Informatics, Knowledge management, Strategic

management และ Human resource management

9. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน ประกอบด้วย

9.1 การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศควรสอดคล้องกับชนิดของวัคซีนที่

กำหนดให้เป็นความสำคัญในระดับชาติและมีเป้าหมายในการวิจัยพัฒนาและผลิตอย่างชัดเจน ซึ่งการ

พัฒนาบุคลากรต้องพิจารณาตามรายวัคซีนและกระบวนการพัฒนาวัคซีน โดยประเมินความจำเป็นและ

ความต้องการใช้วิทยาการและบุคลากรในแต่ละด้าน ทั้งนี้ ต้องพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพการผลิต

วัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำ ในการนี้ ประเทศควรจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนซึ่งมีเนื้อหา

ประกอบด้วยนโยบาย ยุทธศาสตร์ และโครงการ โดยมีสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน

ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาบุคลากรในภาพรวมของประเทศ

9.2 ประเทศไทยควรเพิ่มการสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี โดยเฉพาะวิทยาการพื้นฐานที่เป็นรากฐานสำคัญในการวิจัยพัฒนาวัคซีน และต้องจัดให้มี

โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการวิจัยพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีนในประเทศ เช่น GLP lab, Primate

facility, GMP pilot plant ในการเตรียมบุคลากรเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนจะต้องพัฒนาให้ครอบคลุม

ตลอดกระบวนการพัฒนาวัคซีน ได้แก่ พันธุกรรมของเชื้อ การคัดเลือกสายพันธุ์ การสร้างวัคซีนต้นแบบ

การเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ การทดสอบในสัตว์ทดลอง การผลิต Trial vaccine และการทดสอบ

ในคนตามมาตรฐาน GCP นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วย CRO (Contract

Research Organization หรือ Clinical Research Organization) ซึ่งมีบทบาทในการรับรองคุณภาพ

ของผลิตภัณฑ์วัคซีน

9.3 โรงงานผลิตวัคซีนต้องประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้การ

พัฒนาบุคลากรสายการผลิตวัคซีนเป็นไปตามความต้องการใช้ของโรงงาน ประเด็นที่ต้องพัฒนา ได้แก่

กระบวนการผลิตวัคซีน การควบคุมคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอน การรักษาดูแลระบบภายในโรงงาน

ซึ่งในการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิผลพร้อมใช้เมื่อจบการศึกษานั้นมีความเป็นไปได้มาก หากใช้

โรงงานเป็นสถานที่ในการฝึกปฏิบัติ

9.4 การพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพวัคซีนนั้นต้องดำเนินการทั้ง

หน่วยวิจัยพัฒนา หน่วยผลิตวัคซีน และหน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ โดยหน่วยวิจัย

พัฒนาและโรงงานผลิตวัคซีนพัฒนาด้านเทคโนโลยี แต่หน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ

ในฐานะของ Regulator จะต้องรู้ให้ทันกับเทคโนโลยีที่ใช้และวิธีการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้

เพื่อให้สามารถประเมินและรับรองคุณภาพวัคซีนที่ผลิตได้

9.5 งานวิจัยพัฒนา ผลิต การประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน ต้องใช้สัตว์ทดลอง

ทั้งสิ้น จึงควรพัฒนาบุคลากรด้านสัตว์ทดลองที่มีความจำเป็น ได้แก่ สัตว์แพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ

Page 35: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255430

สายพันธุ์สัตว์ การ Breeding การควบคุมคุณภาพงานด้านสัตว์ทดลอง และสาขาที่ขาดแคลน เช่น

Veterinary Microbiology, Experimental Veterinary Medicine และ Veterinary Pathology

นอกจากนี้ ประเทศควรสร้าง Animal Biosafety Laboratory Facility ระดับ 2 (ABSL 2) และ

ระดับ 3 (ABSL3) สำหรับการทดสอบ safety, efficacy potency ของวัคซีนในสัตว์ทดลอง ให้มีจำนวน

เพียงพอต่อการพัฒนาวัคซีนเป้าหมาย

9.6 ควรพิจารณาวิธีการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการพัฒนา และ

ควรให้ความสำคัญในลำดับต้นกับการพัฒนาบุคลากรโดยสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ภายในประเทศ ยกเว้นการพัฒนาในบางเรื่องตามมาตรฐานสากลหรือไม่มีหลักสูตรในประเทศ อาจจะ

ต้องพัฒนาในรูปแบบของ Secondment, International collaboration, ส่งไปศึกษาที่ต่างประเทศ

9.7 ควรจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าตามสายงานอาชีพให้ชัดเจนและกำหนด

ค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรด้านวัคซีน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสามารถรักษา

บุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ไว้ในระบบได้

9.8 สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) ควรเป็นผู้ประสานการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร

ด้านวัคซีนในภาพรวมของประเทศ และควรจัดตั้งหน่วยงานการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเพื่อทำหน้าที่

สนับสนุน จัดหาแหล่งทุน/ สถาบันการศึกษา/ หลักสูตร และติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร

ข้อเสนอแนะ

จากการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศครั้งนี้ พบว่าทุกคน

และทุกหน่วยงานเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน และต้องการ

ให้การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเกิดขึ้นโดยเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายคือผลิตภัณฑ์

วัคซีนที่วิจัยพัฒนาและผลิตได้ในประเทศไทย ผลการสำรวจดังสรุปข้างต้นเป็นการเสนอประเด็นการ

พัฒนาบุคลากรในภาพกว้าง ไม่ได้พิจารณาประเด็นที่ต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างเฉพาะเจาะจงใน

การพัฒนาวัคซีนแต่ละชนิด อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีน

ของประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับ

การพัฒนาวัคซีนทุกชนิด และการพัฒนาความรู้ ความสามารถตามเทคโนโลยีการผลิตในแต่ละวัคซีนที่

เป็นเป้าหมายของประเทศ

การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าตามลำดับและ

เป็นรูปธรรม ควรดำเนินการเพื่อสามารถพัฒนาบุคลากรสำหรับการพัฒนาวัคซีนตามนโยบายของชาติ

ดังนี้

1. การพัฒนาวิทยาการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาวัคซีนควรดำเนินการในรูปแบบของ

การศึกษาในหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยภายในประเทศ

2. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเฉพาะด้านควรใช้วัคซีนที่เป็นเป้าหมายในการวิจัย

พัฒนาและผลิตเป็นโจทย์ ผู้ตอบโจทย์อยู่ในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเครือข่าย

ด้านวัคซีนทั้งภาครัฐและเอกชนกับสถาบันการศึกษา โดยประสานความรู้ความสามารถและร่วมกัน

Page 36: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 31

แก้ปัญหาตลอดกระบวนการจนกระทั่งสามารถผลิตวัคซีนนั้นได้ตามมาตรฐานสากลและสามารถขึ้น

ทะเบียนวัคซีนได้

3. การพัฒนาบุคลากรโดยการส่งศึกษาหรืออบรมที่ต่างประเทศ ควรพิจารณาให้ทุนกับ

บุคลากรที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านวัคซีนและต้องการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุ

วัตถุประสงค์ มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในกรณีที่เป็นนักศึกษาจะต้องใช้โจทย์ด้านวัคซีนจาก

ประเทศไทยและเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับมาดำเนินการพัฒนางานที่ประเทศไทย เพื่อมิให้เกิด

ความสูญเปล่าในการลงทุนของประเทศ

4. การลงทุนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงต้องจัดลำดับ

ความสำคัญของสาขาที่ต้องพัฒนา และเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณตามแผน

การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน อย่างไรก็ตาม ในการเสนอของบประมาณจากภาครัฐเป็นเรื่องที่

ค่อนข้างยาก จึงควรระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน สถาบันการศึกษา และ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาช่องทางในการขอทุนพัฒนาบุคลากรจากแหล่งอื่น ๆ หากไม่ได้งบประมาณ

จากรัฐ หรือได้มาจำนวนจำกัด

5. หาวิธีการและช่องทางในการเพิ่มอัตรากำลังด้านวัคซีนให้แก่หน่วยงานที่ขาดแคลน

บุคลากรอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนางานด้านวัคซีนเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และสามารถรองรับ

บุคลากรที่ผลิตหรือพัฒนาต่อยอดเพื่อปฏิบัติงานวัคซีนในส่วนที่ได้พัฒนามาแล้วต่อไป

6. สถาบันวัคซีนแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน สถาบันการศึกษา

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว

โดยมีโครงการและกิจกรรมซึ่งมีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีระบบการติดตามและประเมิน

ผลการพัฒนาบุคลากรของหน่วยดำเนินงานเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

7. จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และหาแนวทางในการสร้างแรงจูงใจ

สำหรับบุคลากรด้านวัคซีนให้เป็นรูปธรรม และสามารถปฏิบัติได้จริง

Page 37: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554
Page 38: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554
Page 39: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554
Page 40: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 35

สรุปรายงานการประชุม เรื่อง “การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน”

ณ ห้องประชุม อาคาร 1 ชั้น 3 กรมควบคุมโรค

วันอังคารที่ 7 กันยายน 2553 เวลา 09.00 - 16.30 น.

ผู้เข้าประชุม

มหาวิทยาลัยมหิดล

1. ศ.ดร.นพ.พรชัยมาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

2. ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

3. ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

4. นางชฎาวัลย์ สรณ์วิโรจน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

5. นางสุดธิดา อวยพร เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

6. นางสมฤดี จันทร์ฉวี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

7. นางสาวเกศินี มีทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

8. นางณรรจยา โกไศยกานนท์ ผู้ประสานงานโครงการวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

9. นางสาวบัณฑิตานิยมพงษ์ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

10. นางสาวปิ่นมณีนาคบาตร์ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

11. นายสุรเดชคำเอี่ยม นักจัดการงานทั่วไป

12. นายสมชายแซ่ลี้ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

13. นางสาวศรัญญา สาระคำ นักวิชาการเงินและบัญชี

14. นางสาวนันทะภรแก้วอรุณ นักวิชาการสาธารณสุข

15. นางสาวรุ่งทิวาโฉมคำ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

16.นายเอกราช อารีภักดิ์ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์

17.นายณัฐ จินดาประชา ผู้ประสานงานโครงการ วัตถุประสงค์การประชุม

1. เพื่อประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ

แผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

2. รับฟังความคิดเห็นและข้อแนะนำจากศ.ดร.นพ.พรชัยมาตังคสมบัติเพื่อการจัดทำ

โครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนซึ่งจะบรรจุในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

Page 41: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255436

เปิดประชุมเวลา09.00น.

ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช หัวหน้ากลุ่มประสานการพัฒนาระบบการประกันและควบคุม

คุณภาพวัคซีน สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้กล่าวต้อนรับและขอบคุณ ศ.ดร.นพ.พรชัย

มาตังคสมบัติ และดำเนินการประชุมตามกำหนดการประชุม

สรุปผลการประชุม

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ หัวหน้ากลุ่มประสานการผลิตวัคซีนในประเทศ สำนักงาน

คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้นำเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ

ซึ่งเป็น 1 ใน 10 โครงการสำคัญที่จะบรรจุอยู่ใน (ร่าง) วาระแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งจะนำเข้าเสนอ

เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ในวันที่ 30 กันยายน 2553

ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ได้รับฟังการนำเสนอโครงการฯ และให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. ข้อเสนอแนะในภาพรวม

1.1 ความมั่นคงด้านวัคซีนของชาติจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าพึ่งตนเองไม่ได้ตั้งแต่ระยะ

ต้นน้ำ ฉะนั้น ประเทศไทยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ตั้งแต่การวิจัยพื้นฐาน

การ Scale up การเตรียมด้าน GMP Bioprocess engineerin การพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิต

จนถึงการตรวจสอบคุณภาพวัคซีน

1.2 ตลาดอาเซียนที่มีประชากร ประมาณ 550 ล้านคน มีขนาดใหญ่มากเพียงพอ

ที่จะลงทุนเพื่อการผลิตวัคซีนขาย ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะในการลงทุน และประเทศไทย

ยังมีโอกาสแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ซึ่งกำลังรีบเร่งวิจัยพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีน

1.3 เห็นด้วยกับการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังเสนอ

ตั้งแต่การสำรวจหาความต้องการพัฒนาบุคลากรและอัตรากำลัง การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย การจัด

ทำแผนแม่บท การจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรตาม

แผนแม่บท การสนับสนุนทุน และการติดตามประเมินผล อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กระชับเวลา และ

สามารถทำการพัฒนาบุคลากรได้อย่างเร็ว อาจใช้การประชุมระดมสมองเพื่อทราบว่า เราต้องเตรียมคน

ประเภทใด ทั้งนี้ เนื่องจาก การพัฒนาคนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก จึงต้องรีบเริ่มต้น หากเริ่มช้าเท่าใด

โอกาสสำเร็จยิ่งนานขึ้น

1.4 การพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน

ใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงต้องรีบเริ่มดำเนินการก่อน และต้องฉายภาพให้รัฐบาลเห็นว่าการดำเนิน

การอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากรควบคู่ไปกับการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน

(Infrastructure) หากพัฒนาบุคลากรอย่างเดียวไม่มีงานรองรับ บุคลากรที่ได้รับการพัฒนา จะถูกซื้อตัว

ไปทำงานต่างประเทศหมด ฉะนั้น ในวาระแห่งชาติ ต้องกำหนดให้ได้ว่าประเทศจะผลิตวัคซีนเดิม หรือ

วัคซีนใหม่อะไรบ้าง จะต้องทำอะไรก่อน ต้องเขียนภาพให้ชัด เพื่อให้เป็นที่รับรู้ร่วมกันของหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานจึงจะสามารถรองรับงานได้

อย่างเหมาะสม

Page 42: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 37

1.5 การจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าตามสายงานอาชีพ และแรงจูงใจ จะต้อง

ดำเนินการให้ชัดเจน มีความต่อเนื่อง ในบุคลากรภาครัฐ ที่ยังอยู่ในระบบราชการได้ เนื่องจากได้รับการ

สนับสนุนจากครอบครัว จึงอยู่ได้ ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมและปรับระบบให้บุคลากรภาครัฐ สามารถอยู่

ได้อย่างดี การสร้างแรงจูงใจตั้งแต่ระยะต้นน้ำ จนถึงระยะปลายน้ำ คือการสร้างความมั่นคงให้กับ

ประเทศ ตัวอย่างเช่น หากประเทศไทย สร้างของแพงใช้ ในราคาที่ถูกลง สามารถนำไปขายผู้อื่นได้

จะเกิดความมั่งคั่ง ทำให้คนที่อยู่ในสายงานอาชีพดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยระบบตอบแทนเป็นไป

อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้เกิดแรงจูงใจ ช่วยกันทำงาน ประเทศก็จะยกระดับขึ้นมาได้

1.6 จัดให้มีการการทำงานที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ

มหาวิทยาลัย ที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อการส่งต่องาน เนื่องจากงานวิจัยพัฒนาวัคซีนต้องใช้ระยะ

เวลานาน อาจต้องแบ่งส่วนกันดำเนินการ แล้วนำมาเชื่อมต่อเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

หากมีองค์กรภาครัฐ แต่อยู่นอกระบบราชการมาทำหน้าที่เชื่อมต่อ ขับเคลื่อนงาน ของภาครัฐ

ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย ให้เป็นระบบที่ครบวงจร ว่างานใดอยู่ที่ไหน ใครเป็น

ผู้ดำเนินงาน และสามารถผลักดันทรัพยากรของรัฐ ตั้งแต่ต้นลงไปให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการได้

จะเป็นกลไกระดับชาติที่มีประสิทธิภาพมาก ตัวอย่างการดำเนินการในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลกับ

สถาบัน AIT ได้ร่วมมือกัน แต่การดำเนินงานยังไม่ชัดเจนและต่อเนื่อง ถ้าตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ได้สำเร็จ จะเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการดำเนินงานด้านวัคซีนที่คล่องตัว เกิดผลิตภัณฑ์วัคซีนที่สามารถ

สร้างได้เอง ใช้เอง และขายเอง นำรายได้เข้าสู่ประเทศ

1.7 เสนอแนะให้เพิ่มเรื่องชีวภัณฑ์รวมอยู่ด้วยในการจัดทำวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

เนื่องจากชีวภัณฑ์มีมูลค่าสูงมาก และจะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากการผลิตชีวภัณฑ์

1.8 พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนให้มีความสามารถและมีเทคนิคในการเขียนเอกสาร

ที่เริ่มตั้งแต่การวิจัยพัฒนาในห้องปฏิบัติการจนถึงกระบวนการผลิต เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญและ

ใช้ประกอบการพิจารณารับรองคุณภาพ มาตรฐานระดับสากลด้วย 2. ข้อเสนอแนะด้านการผลิตวัคซีน

2.1 การผลิตวัคซีนในระยะต้นน้ำ ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรจะเสริมอย่างไร

ให้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ไม่ใช้ของเก่าจากที่อื่น ซึ่งในเรื่องนี้ รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และ

ศ. นพ.อมเรศ มีประสบการณ์ และความรู้ความสามารถในการเตรียมบุคลากร รวมทั้งการสนับสนุน

ทุน ระดับ Biological, Bioprocess engineering เพื่อที่จะสามารถออกแบบและพัฒนาวัคซีนใหม่

ได้ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ ถ้ามีทุน มีทรัพยากร จะต้องวางแผนพัฒนาคนในอนาคตอย่างไร โดยต้องมีสิ่งจูงใจ

และมีเส้นทางความก้าวหน้าตามสายงานอาชีพด้วย

2.2 การเตรียมกรอบการพัฒนาเพื่อการต่อยอดหลักสูตร การฝึกแบบ on the job

training เหมาะสำหรับโรงงานผลิตวัคซีน ที่ต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานที่มีสมรรถนะ (Competency) คือ

เก่งงาน มากกว่าผู้ที่เป็น Expert จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นพวกเก่งคิด ในการเตรียม

บุคลากรสายการผลิตนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติต้องวิเคราะห์และประสานกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิต

ผู้เรียนสายเทคนิคให้มากกว่าระดับปริญญา

Page 43: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255438

2.3 การให้ทุนนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศ เพื่อศึกษาด้านกระบวนการผลิตวัคซีน

ให้ส่งไปประเทศคิวบา รัสเซีย อาร์เจนตินา และเกาหลี

2.4 การให้ทุนนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศ เพื่อศึกษาพื้นฐานด้านวัคซีน ให้ส่งไป

ประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดนและญี่ปุ่น สำหรับประเทศอังกฤษ และ

สหรัฐอเมริกา ไม่แนะนำให้ส่งไปเรียน หากจะไปสหรัฐอเมริกา ให้สนับสนุนทุนเฉพาะปีแรกเพียงปีเดียว

ในปีต่อไปให้ขอรับทุนจากสหรัฐอเมริกา 3. ข้อเสนอแนะด้านระบบประกันและควบคุมคุณภาพด้านวัคซีน

เรื่องมาตรฐานการผลิต ทั้ง Manufacturing GMP และ GLP ซึ่งต้องกำหนดว่า

ต้องการพัฒนาบุคลากรประเภทใดทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ GLP ต้องใช้มือ

อาชีพที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ในด้านนี้ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

จะสามารถช่วยในการเป็นสถานที่อบรมให้ได้ รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ในบางสาขาวิชาอาจต้องการ

ผู้ปฏิบัติงานที่เป็น Technician มาต่อยอดการอบรม และให้ใบประกาศนียบัตรเพื่อรับรอง 4. การดำเนินงานในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่างต่อเนื่อง

4.1 การสำรวจหาความต้องการพัฒนาบุคลากรและอัตรากำลังนั้น ต้องใช้เวลาใน

การดำเนินงานนาน จึงแนะนำให้ใช้วิธีการจัดประชุมระดมสมองจาก Key person ประมาณ 1 1/2 วัน

โดยจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานให้พร้อม แล้วจัดการประชุมในต่างจังหวัด เพื่อให้ทุกท่านมีเวลาเต็มที่ในการ

ระดมสมอง

4.2 การให้ทุน ต้องตั้งทุนแบบ Researcher Relationship โดยอาจารย์ และ

นักศึกษาปริญญาเอก ผู้ได้รับทุน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติกำหนด โดยให้ศึกษา

จากโครงการกาญจนาภิเษก ที่คัดเลือกอาจารย์ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา และอาจารย์ไป

คัดเลือกนักศึกษา ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันวัคซีนที่จะต้องส่งสัญญาณว่า มีการจัดสรรทุนและ

ระบุสาขาที่ต้องการให้พัฒนา ซึ่งตัวเลขค่าใช้จ่ายทุนการศึกษา ปีละเท่าใด ให้ประสานกับ สกว.

ซึ่งสถาบันฯ ต้องดึงคนเก่งจากสหสาขาวิชา มีการกลั่นกรอง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีจุดแข็ง ที่มี

สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สามารถเลือกว่าจะสนับสนุนทุนลงไปที่ไหน อาจให้หลายสถาบันในแต่ละ

สาขาที่ต้องการได้

4.3 ประธานการประชุม ได้แนะนำบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ และ

ประสบการณ์ในแต่ละสาขาวิชาชีพ ที่เป็น Key person ดังนี้

4.3.1 จากภาครัฐ

− ศ.ดร.นพ อมเรศ ภูมิรัตน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่มี

ความชำนาญการจัดหลักสูตร โดยทำหลักสูตรในโครงการกาญจนาภิเษก

− รศ. นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

− นพ. สมศักดิ์ ชุณห์รัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

Page 44: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 39

− ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ์ เอื้อวรากุล

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

− รศ.ดร.นพ.สุธี ยกส้าน

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนมหาวิทยาลัยมหิดล

− นพ.ธีระ สิริสันทนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสุขภาพ

− ศ.นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

− ศ.นพ. ปิยะทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

− ภก.วินิต อัศวกิจวิรี

ผู้อำนวยการกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

− ภก.สมชาย ศรีชัยนาค รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม

− ภก.สิทธิ์ ถิระภาคภูมิอนันต์

ผู้อำนวยการกองผลิตวัคซีนจากไวรัสองค์การเภสัชกรรม

− ศ.นพ.วิศิษฐ์ สิตปรีชา ผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย

− ศ.(พิเศษ) ดร.ภญ. สุมนา ขมวิลัย

รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย

− รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

− ดร.ศันศนีย์ จังคศิริ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

− ศ.ดร.กวี รัตนบรรณางกูร

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

− ภญ.ดร.ยุพิน ลาวัณย์ประเสริฐ

ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

− ภญ.ดร.ยุพดี จาวรุ่งฤทธิ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

− รศ.ดร.นพ.ธงธวัช อนุคระหานนท์ ศูนย์ตรวจสารต้องห้ามแห่งชาติ

4.3.2 จากภาคเอกชน

− นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล บริบัทไบโอเน็ท − เอเชีย จำกัด

− ภญ.พัชรา คูถิรตระการ บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด

4.4 การจัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน และการจัดสรรทุน ให้ไป

หารือกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเสนอแนะให้นำเรื่องการจัดสรรทุนวิจัย

รวมกันอยู่ในหัวข้อนี้ ปิดการประชุมเวลา 1600 น.

นางณรรจยา โกไศยกานนท์

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

ผู้สรุปรายงานการประชุมฯ

Page 45: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255440

สรุปผลการประชุม

“การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน

เพื่อพิจารณาโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน”

วันที่22กันยายน2553เวลา9.00-13.30น.

ณห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติอาคาร4ชั้น2กรมควบคุมโรค

ผู้มาประชุม

1. ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม ศูนย์ทดสอบวัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

2. ศ.(พิเศษ) ภญ.สุมนา ขมวิลัย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

สถานเสาวสภา สภากาชาดไทย

3. ดร.พนิต กิจสุบรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานแบบผลิตยา

และสารชีวภาพทาง การแพทย์

4. ผศ.ดร.อนันต์ ทองทา คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

5. ดร.ณรงค์ นิทัศน์พัฒนา ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

6. ภก.สิทธิ์ ถิระภาคภูมิอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายชีววัตถุ

7. ภญ.ดร.สมชัยยา สุริฉันท์ องค์การเภสัชกรรม

8. นางสาวปัทมาพร พื้นม่วง ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม

9. เภสัชกรหญิงศิริรัตน์ เตชะธวัช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

10. ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

11. นางชฎาวัลย์ สรณ์วิโรจน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

12. นางสุดธิดา อวยพร เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

13. นางณรรจยา โกไศยกานนท์ ผู้ประสานงานโครงการวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

14. นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ นักวิชาการสารธารณสุข สรุปสาระสำคัญ

ประเภทของบุคลากรที่ต้องพัฒนาให้มีในประเทศไทย เพื่อให้การพัฒนาวัคซีนประสบผล

สำเร็จจนได้ผลิตภัณฑ์ จำแนกออกเป็น 4 ด้าน อย่างชัดเจน ได้แก่

1. R&D

2. Production

3. QA/QC

4. Management

Page 46: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 41

หลังจากที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง สรุปประเด็นที่ต้องพัฒนาบุคลากรใน

แต่ละด้าน ดังนี้

R&D

สิ่งที่ต้องการ ระดับการศึกษา สถานที่ศึกษา จำนวนทุนต่อป ี

สิ่งที่ต้องการ ระดับการศึกษา สถานที่ศึกษา จำนวนทุนต่อป ี

Immunologist PhD/ PostDoc ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Microbiologist PhD/ PostDoc ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Molecular Biotechnology PhD/ PostDoc ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Vaccine Pathologist PhD/ PostDoc ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Vaccinologist PhD/ PostDoc ต่างประเทศ Phase I-III = 1 ทุน Phase IV = 1 ทุน Bioprocess Engineering PhD/ PostDoc ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Preclinical study PostDoc ต่างประเทศ 1 ทุน * 5 ปี

Production

Pharmaceutical Engineering PhD/ PostDoc ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Bioprocess engineering PhD/ PostDoc ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Biochemical engineering Master ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Upstream processing Master ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Downstream processing Master ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Project Management Master ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี

QA/QC Environment health and Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี safety control Quality management Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Biostatistical analysis Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี clinical research associate Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี with GCP (sponsor role) GMP/GLP Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Risk management Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี Regulatory affairs Master/ PhD ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี

Management

สิ่งที่ต้องการ ระดับการศึกษา สถานที่ศึกษา จำนวนทุนต่อปีProject Management PhD/ PostDoc ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี

Product Management PhD/ PostDoc ใน/ ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ปี

Cost Analysis PhD/ PostDoc ต่างประเทศ 1 ทุน * 10 ป ี

Page 47: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255442

ข้อมูลเพิ่มเติม

1. มจธ. มีแผนที่จะจัดทำหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี สำหรับ Bioprocess engineering

คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี สำหรับจัดทำ Curriculum อย่างไรก็ตาม หากเป็นความต้องการของประเทศ

โดยมีงบประมาณสนับสนุน และได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาจจะสามารถเร่งรัดให้

กระบวนการเร็วขึ้นได้

2. Short course training 3 เดือน โดยมี Certification และมีความเป็นไปได้ที่จะจัด

ให้มีขึ้นในประเทศไทย ได้แก่

− Bioprocess engineering โดย มจธ.

− QA/ QC โดย NCL

- Clinical trial study in view of sponsor

3. มีความกังวลใจกับ Bioassay ในสัตว์ทดลอง ซึ่งขณะนี้ สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ

ยังไม่ได้รับรองมาตรฐาน GLP มีเพียง AFFRIM เท่านั้น ซึ่งมี GLP lab แต่ราคาแพงมาก จึงต้องเตรียม

การในส่วนของบุคลากรด้านสัตว์ทดลองด้วย เพื่อรองรับงาน R/D, Production และ QA/QC ซึ่งล้วน

แต่ต้องใช้สัตว์ทดลองทั้งสิ้น

สรุปผลการประชุมโดย ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

Page 48: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 43

สรุปสาระสำคัญจากการประชุม

“การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน

เพื่อพิจารณาโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน”

วันที่24กันยายน2553เวลา13.30−17.00น.

ณห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติอาคาร4ชั้น2กรมควบคุมโรค

ผู้มาประชุม

1. นางธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ ผู้อำนวยการกองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

2. เภสัชกรหญิงพัชรา คูถิรตระการ ผู้อำนวยการฝ่ายทะเบียนตำรับ

ฝ่ายติดตามอาการไม่พึงประสงค์อันเนื่องมาจาก

การใช้วัคซีน และฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริษัท

องค์การเภสัชกรรมเมอร์ริเออร์ชีววัตถุ

3. ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

4. เภสัชกรหญิงศิริรัตน์ เตชะธวัช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

5. ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

6. นางณรรจยา โกไศยกานนท์ ผู้ประสานงานโครงการวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

7. นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ นักวิชาการสารธารณสุข

8. นายณัฐ จินดาประชา ผู้ประสานงานโครงการ

ดร.สมชายเชื้อวัชรินทร์ กล่าวถึงสิ่งที่ยังขาดอยู่มากด้าน HRD ดังนี้

1. ด้านวิจัยพัฒนา(R&D) ขาดบุคลากรด้านวิจัย แนวทางการพัฒนาอาจอยู่ในรูปของ

การให้ทุนวิจัย และให้นักวิจัยนั้นแฝงตัวอยู่ตาม Cluster ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Science cluster หรือ

Medical cluster เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะสร้าง Facility ขึ้นมาใหม่ได้ โดยที่ยังไม่มีบุคลากร

2. ด้านการผลิต (Industrial) เรายังขาดบุคลากรด้านนี้อยู่มาก ซึ่งบุคลากรด้านการ

ผลิตไม่จำเป็นต้องเป็นระดับ PhD แต่เน้นที่มีประสบการณ์และปฏิบัติงานได้จริง นอกจากนี้ยังขาด

บุคลากรที่เป็น Downstream process เช่น Protein purification ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่กี่คนซึ่งเป็น

ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ บุคลากรด้านการผลิตที่ต้องพัฒนาให้มีขึ้น ได้แก่ Chemical engineering,

Pharmaceutical engineering สาขาวิชาเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่จบด้าน Pharmacist ก็ได้

แต่เน้นคนที่มี Background ด้าน Biochemist หรือ Chemical engineering

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะอีกว่าการที่จะเสนอหลักสูตรด้านใดนั้นเราควรตรวจสอบ

ก่อนว่า ได้มีการเปิดหลักสูตรนี้จริงหรือไม่ ซึ่งหลักสูตรที่เสนอนั้น มีการเปิดสอนอยู่จริง เช่น MIT,

University of Michigan ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของต่างประเทศ ส่วนมากการสอนของต่างประเทศนั้น

ทางมหาวิทยาลัยจะมีความร่วมมือกับบริษัทเอกชน เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าไปฝึกงานหรือปฏิบัติงาน

Page 49: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255444

และเมื่อจบการศึกษาแล้วอาจจะมีการจ้างเป็นบุคลากรในบริษัทด้วย หลักสูตรที่ดีต้องดูความต้องการ

ของตลาด ดร.สมชายได้เสนอบุคลากร/ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ท่าน คือ ดร.ทรงพล (Siam bioscience)

ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Up to Downstream process และ ดร.ธรังศรี (Biotec) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน

Animal cell culture

ประเด็นอื่น ๆ ที่มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาวัคซีน ได้แก่ Adjuvant, Drug delivery

system, Clinical trial ซึ่งการที่จะทราบว่าเราขาดบุคลากรอะไรบ้าง เราต้องรู้ก่อนว่าในกระบวนการ

ผลิตวัคซีนนั้นมีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง และมีอะไรเป็นส่วนประกอบ บุคลากรที่เราต้องการจะพัฒนา

เพื่อต่อยอด หรือสร้างขึ้นมานั้นควรมีพื้นฐานอย่างไร อ.ธีรนารถจิวะไพศาลพงศ์ ได้เสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากร 3 แนวทางใหญ่ๆ ดังนี้

1. การส่งไปศึกษาต่อ

โดยพิจารณาจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนว่ามีอะไรบ้าง การที่จะผลิตวัคซีนออก

มาได้ต้องมีบุคลากรอะไรบ้าง

• บุคลากรที่ต้องมี ได้แก่ Bacteriologist, Virologist, Immunologist, Molecular,

Biotechnology เป็นต้น

• Lyophilize ซึ่งเป็นขั้นตอนหรือ process ที่สำคัญ มีความยากและต้องมี

ประสบการณ์มาก และตอนท้ายได้มีการเสนอแนะหลักสูตรเกี่ยวกับบุคลากรด้านนี้ คือ Cryobiology

(อ.สมชายได้เสนอแนะร่วมด้วย)

• Biochemical engineering (มีหลักสูตรที่ประเทศ Denmark)

เมื่อบุคลากรที่ส่งไปศึกษานั้นสำเร็จการศึกษากลับมา อาจจัดไว้อยู่ในศูนย์รวมที่เรียกว่า

เป็น Expert center เป็นต้น

2.การฝึกอบรมการพัฒนาต่อยอดอ.ธีรนาถ ได้เสนอการพัฒนาแบบ Secondment

Secondment หรือ การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน หมายถึง การย้ายบุคลากรในองค์กร

ปกติไปยังหน่วยงานอื่นแบบชั่วคราว เพื่อให้บุคลากรมีโอกาสเรียนรู้งานใหม่และพัฒนาความก้าวหน้าใน

อาชีพของตนเอง และทำให้องค์กรได้พัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีระยะ

เวลาจำกัด โดยได้แสดงตัวอย่างการส่งบุคลากรไปทำงานกับ WHO และการแลกเปลี่ยนบุคลากร เช่น

การส่งบุคลากรของญี่ปุ่นมาทำงานที่กรมวิทย์ฯ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการพัฒนาองค์ความรู้และ

ได้เรียนรู้งานภายในระยะเวลาที่จำกัด

ข้อนี้ได้มีความเห็นพ้องจากผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆ เพราะถือเป็นแนวทางที่สามารถ

ทำได้และเห็นผล ที่สำคัญสามารถพัฒนาบุคลกรโดยใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด เพราะหากต้องส่งบุคลากร

ไปศึกษาต่อทั้งหมดอาจทำให้ใช้เวลานาน และเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับหน่วยงาน เนื่องจากปัจจุบัน

ปริมาณงานมีมากกว่ากำลังบุคลากรอยู่แล้ว

3. การทำ KM หรือ collaborate ขึ้นในประเทศ เช่น การจัด International

conference ซึ่งมีประโยชน์มาก ดังนี้ ได้การพัฒนาคน ได้ Network และได้ Recognition ยกตัวอย่าง

เช่น การจัด International conference ของเกาหลี ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมาก โดยเฉพาะด้าน

Network และ Recognition

Page 50: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 45

อ.พัชราคูถิรตระการ เสนอความเห็นว่า บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้ ดังนี้

1. ได้จากการเรียน

2. ได้จากการไปฝากให้ทำงาน

3. ได้จากการ Training/ การฝึกอบรม

การพัฒนาด้าน QA ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐาน อ.พัชราสามารถสอนเป็น Course ได้ โดย

อาจร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อเขียนหลักสูตรและเปิดเป็นรายวิชา โดยเปิดสอนเชิง Pharmaceutical

science ใช้เวลา 30 ชั่วโมง/ 1 course การเรียนการสอนนั้นอาจจัดให้นักศึกษาได้มีการทำ Workshop

โดยการยกตัวอย่างให้วิเคราะห์ ซึ่งหลักสูตรนี้สามารถเปิดสอนได้ทั้งปริญญาตรี และโท

การพัฒนาด้านQC ต้องอาศัยประสบการณ์ เนื่องจากงานด้านนี้จะเป็นไปตามผลิตภัณฑ์

นั้นๆ ไม่มีแบบแผนที่ตายตัว บุคลากรด้านนี้ในปัจจุบัน จึงมีจำนวนที่น้อยมาก

การพัฒนาด้านการผลิต บุคลากรด้านการผลิตมีความรู้ระดับ Master ก็น่าจะเพียงพอ

เน้นเรื่องการส่งไปฝึกงาน โดยควรฝึกงานในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน มีการ Co-operate กัน เพื่อให้มีการ

แลกเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ประเด็นเน้นคือ บุคลากรด้านการผลิตต้องพัฒนาให้มี Skill

อ.พัชรา ได้เสนอหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรสาขา Logistics (Supply chain and

logistics) และเสนอให้นำหลักสูตร Project Management รวมกับ Product Management เป็น

หลักสูตร Science and Technology management, สำหรับ Upstream และ Downstream

process น่าจะอยู่ใน Biological engineering ส่วนหลักสูตรที่เป็น GCP, GLP และ GMP น่าจะ

เป็นการฝึกอบรม หรือ Secondment มากกว่าการส่งไปศึกษาต่อ

Page 51: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255446

โดยสรุป อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน มีความเห็นที่ตรงกัน ดังนี้

1. การที่จะรู้ว่าเราขาดบุคลาการด้านไหน และจะพัฒนาด้านใดนั้น ต้องพิจารณา

Process ของวัคซีนว่ามีอะไรบ้าง

2. การพัฒนาบุคลากร ที่จะเห็นผลชัดเจน และใช้ระยะเวลาน้อยโดยมีคุณภาพสูงคือ

Secondment

3. บุคลากรด้านการผลิตไม่จำเป็นต้องเน้น Ph.D หรือ PostDoc

4. การเสนอให้ทุนพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรต่าง ๆ ต้องตรวจสอบว่าได้มีการเปิดการ

เรียนการสอนอยู่จริงหรือไม่

นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ

ผู้สรุปรายงานการประชุมฯ

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

ผู้ตรวจรายงานการประชุมฯ

Page 52: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 47

การประชุม

“การระดมสมองของหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน

เพื่อพิจารณาโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน”

วันที่20ตุลาคม2553เวลา9.00−13.30น.

ณห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติอาคาร4ชั้น2กรมควบคุมโรค

ผู้มาประชุม

1 นางกาญจนา เข่งคุ้ม ผู้อำนวยการสำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

2 ภญ.ประภัสสร ธนะผลเลิศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3 นางวิริยามาตย์ เจริญคุณธรรม กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

4 นางทิพจุฑา พานทอง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

5 ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

6 ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

7 นางสาววรวรรณ กลิ่นสุภา นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

8 นางสาวเกศินี มีทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

9 นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ นักวิชาการสารธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

วัตถุประสงค ์

เพื่อระดมสมองและหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเพิ่มเติม ในประเด็น

การประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน และการสนับสนุนสัตว์ทดลองเพื่อใช้ในงานวัคซีน

ด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน

การหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนางานด้าน QA/QC นั้น ทั้งหน่วยวิจัยพัฒนา ผลิต และ

ควบคุมคุณภาพวัคซีน มีความเห็นว่าประเทศไทยยังมีความขาดแคลนอยู่มาก ซึ่งการขาดแคลนบุคลากรด้านนี้

ทำให้งานด้านการประกันและควบคุมคุณภาพเป็นไปอย่างล่าช้า นอกจากนี้ภาระงานที่มีอยู่ก็มากเกินอัตรากำลัง

ของบุคลากร ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้

• ปัญหาด้านอัตรากำลังที่ไม่สมดุลกับภาระงาน

• การที่ไม่มี Career path ที่ชัดเจน ทำให้ขาดแรงจูงใจ

• ไม่มีอัตรา หรือตำแหน่งงานที่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้

• บุคลากรขาดการพัฒนาด้านวิธีที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์และประเมิน เนื่องด้วยปัจจุบัน

มีเทคนิคและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ทำให้บุคลากรที่เป็น Regulator ไม่สามารถ

Page 53: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255448

ประเมินได้ ทางแก้ไขคือจะต้องมีการจัดอบรม หรือบุคลากรผู้รับผิดชอบงาน QA/QC ต้องมีการ Update ตัวเอง ทั้งด้าน QC method หรือ New technology ต่างๆ • การพัฒนาด้าน Knowhow ควรเป็นหน้าที่ของ Industry ที่ต้องทำการพัฒนา สำหรับ หน่วยงานที่เป็น Regulator มีหน้าที่ในการ Update กรรมวิธีเหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถประเมินและรับรองคุณภาพให้ได้ • เมื่อมีการผลิตหรือพัฒนาวัคซีนใหม่ขึ้นมา WHO ซึ่งเป็นผู้ Support หลัก จะมีการเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้าน Industry และ Regulator เข้าร่วมหารือ โดย WHO จะเป็นผู้กำหนดแนวทาง การพัฒนาพร้อมทั้งยังมี Outline หัวข้อและหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งแนะนำว่าใครควรจะพัฒนาด้านใด • การพัฒนาบุคลากรโดยการส่งบุคลากรไปทำงาน (secondment) น่าจะเหมาะสม กับงานบางลักษณะเท่านั้น เพราะมีบางงานที่ไม่สามารถจะพัฒนาบุคลากรโดยวิธีนี้ได้ เช่น New technology

(VLP technology) เป็นต้น ในงานที่ไม่สามารถพัฒนาแบบ Secondment ได้ ควรพัฒนาในลักษณะ

International collaboration

ด้านสัตว์ทดลอง • บุคลากรงานด้านสัตว์ทดลองที่ขาดแคลน คือ สัตว์แพทย์ที่ทำหน้าที่ดูเกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ การ Breed เพราะว่าจะต้องมีการควบคุมสายพันธุ์ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังขาดบุคลากร ด้านการควบคุมคุณภาพงานด้านสัตว์ทดลอง • ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ โดยสำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติมีแผนการสร้างอาคารสัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐาน ที่ใช้จัดเก็บพ่อแม่พันธุ์ และยังสามารถใช้เป็นที่ทดสอบ (Pre-clinical study) ซึ่งสามารถทำได้ แต่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณในการสร้าง (งบประมาณ 20 ล้านบาท) • การดำเนินงานในภาพรวมยังมีผลการดำเนินงานที่ดี และสามารถผลิตสัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะ Rodent (mice, mouse, rat, hamster) ที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับระดับสากล ทำให้ประเทศสามารถลดรายจ่ายในการนำเข้าสัตว์ทดลองจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงได ้

ประเด็นอื่นๆ ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการร่วม Discussion เกี่ยวกับสาขาวิชาต่างๆ ในแต่ละด้าน โดยแนะนำให้มีการตรวจสอบว่ามีการเรียนการสอนอยู่จริง และสถาบันใดที่เปิดสอน ดังนี้ - Biopharmaceutical science - Histo-pathology, Animal science - Pre-clinical study - Bioassay

- Lyophilization

นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ

ผู้สรุปรายงานการประชุมฯ

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

ผู้ตรวจรายงานการประชุมฯ

Page 54: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 49

สรุปรายงานการประชุมพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

“การระดมสมองเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ”

วันศุกร์ที่5พฤศจิกายน2553เวลา09.00−16.30น.

ณห้องประชุมอายุรกิจโกศลอาคาร1ชั้น2กรมควบคุมโรค

ผู้เข้าประชุม 1. ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ประธาน

2. ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

3. รศ.ดร.นพ.สุธี ยกส้าน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

4. ศ.ดร.กวี รัตนบรรณางกูร ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

5. ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

6. ศ.(พิเศษ)ภญ.สุมนา ขมวิลัย รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย

7. รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

8. ภก.สมชาย ศรีชัยนาค รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม

9. ภก.สิทธิ์ ถิระภาคภูมิอนันต์ ผู้อำนวยการกองผลิตวัคซีนจากไวรัส

10. ภญ.รศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

11. รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

12. นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล บริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

13. นางวิริยามาตย์ เจริญคุณธรรม นักวิทยาศาตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย ์

14. ภญ.ดร.ยุพิน ลาวัณย์ประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

15. ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

16. ภญ.ทัศนีย์ ล้อชัยเวช กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

17. ดร.พนิต กิจสุบรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

18. ดร.อนันต์ ทองทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

19. ภญ.พัชรา คูถิรตระการ บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด

20. ดร.อภิญญา เทียนธนะวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

21. ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

22. นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค

23. พญ.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค

24. นายแพทย์จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

25. แพทย์หญิงอรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

26. เภสัชกรหญิงศิริรัตน์ เตชะธวัช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

27. ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

28. นางชฎาวัลย์ สรณ์วิโรจน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

Page 55: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255450

29. นางสมฤดี จันทร์ฉวี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

30. นางสาววรวรรณ กลิ่นสุภา นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

31. นางสาวเกศินี มีทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

32. นางณรรจยา โกไศยกานนท์ ผู้ประสานงานโครงการวาระแห่งชาติด้านวัคซีน

33. นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ นักวิชาการสารธารณสุข

เปิดประชุมเวลา09.00น.

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กล่าวต้อนรับและ

ขอบคุณ ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ประธานการประชุม วิทยากร ผู้เข้าประชุม และได้ชี้แจงวัตถุประสงค์

ของการประชุม

วัตถุประสงค์การประชุม

เพื่อระดมสมองผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงาน

เครือข่ายด้านวัคซีนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยพัฒนา การผลิตวัคซีน การประกันและควบคุมคุณภาพ

วัคซีน เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน รวมทั้งเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ

ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ประธานการประชุม กล่าวชี้แจงถึงความสำคัญของการพัฒนา

วัคซีนและชีวภัณฑ์ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีความก้าวหน้า

อย่างมากด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทยควรต้องเร่งรัดและพัฒนางานด้านนี้อย่างจริงจังและ

รวดเร็ว โดยต้องเตรียมความพร้อมทั้งคน และโครงสร้างพื้นฐาน หากประเทศ มีความพร้อมในการผลิตวัคซีน

และชีวภัณฑ์ ในอนาคตจะสามารถผลิตวัคซีนและชีวภัณฑ์ที่มีราคาแพงอยู่ในขณะนี้ได้ในราคาที่ถูกกว่า

ประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากแรงงานของไทยถูกกว่า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนไทยสามารถได้รับ

วัคซีนได้อย่างกว้างขวาง

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ

วัคซีนแห่งชาติ ได้บรรยายความเป็นมาของการจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ

ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่บรรจุอยู่ในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งวาระแห่งชาติดังกล่าวได้รับความเห็นชอบแล้ว

จากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สำหรับ

ในปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจัดทำโครงการเพื่อเตรียมแนวทางการพัฒนา

บุคลากรด้านวัคซีน มีการจัดประชุมย่อยถึง 4 ครั้ง เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการบุคลากรด้าน

ต่าง ๆ และการพัฒนาคนในสาขาที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาวัคซีน ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับ

การระดมสมอง ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากที่ประชุมนี้

สรุปผลการประชุม

ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็น อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์

ต่อการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน ซึ่งสรุปประเด็นและข้อเสนอแนะได้ดังนี้

Page 56: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 51

1. ความจำเป็นและเหตุผลที่ต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ

1.1 ในภาพรวม โลกมีพัฒนาการรุดหน้าด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ

วัคซีนและชีวภัณฑ์ ซึ่งแต่เดิมใช้ในการป้องกันโรค ในช่วงที่ผ่านมา มีความพยายามวิจัยพัฒนาเพื่อใช้ในการ

รักษาโรคด้วย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชากรโลก จำเป็นต้องผลิตวัคซีนและ

ชีวภัณฑ์ในดับอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมน่าจะย้ายฐานการผลิตมาสู่ประเทศที่มีรายได้

ปานกลางและมีเทคโนโลยี ดังนั้น ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมทั้งคนและเทคโนโลยีให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

ของโลก ทั้งนี้เพื่อการพึ่งตนเองได้ด้านวัคซีน และการเป็นผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ

1.2 การผลิตวัคซีนแต่ละชนิดต้องพิจารณาถึงการลงทุนและตลาด หากลงทุนผลิตแล้ว

ต้องสามารถขายได้ในปริมาณที่เหมาะสม ประเทศไทยมีประชากรมากเกินไปที่จะซื้อวัคซีนมาใช้ แต่ประชากร

ก็น้อยเกินไปหากคิดแค่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น ฉะนั้น จึงต้องคำนึงถึงประชากรในภูมิภาคอาเซียน

ซึ่งจะพบว่าคุ้มค่ามากต่อการลงทุน ในการวางแผนผลิตวัคซีนจะต้องเตรียมคนและเตรียมงานให้ดี เพื่อให้

ผลิตภัณฑ์ได้การรับรองมาตรฐานสากล จึงจะสามารถส่งขายต่างประเทศได้

1.3 ประเทศไทยผลิตวัคซีนได้เองมานาน 80 ปี แต่ในช่วง 17 ปีหลัง การผลิตวัคซีนยังใช้

เทคโนโลยีดั้งเดิม จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคน และการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อ

ให้สามารถขยายกำลังการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

1.4 ประเทศไทยมีคนที่มีศักยภาพในการพัฒนาวัคซีนไม่ด้อยกว่าประเทศที่อยู่ในภูมิภาค

เดียวกัน หากในช่วงนี้รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาและผลิตวัคซีนอย่างจริงจัง ถือว่าเป็น

จังหวะที่เหมาะมากต่อการลงทุน เนื่องจากเงินไทยมีมูลค่าแข็งขึ้น 2. บุคลากรด้านวัคซีนที่ขาดแคลน

2.1 ประเทศไทยขาดแคลน Biochemical Engineer, Project Manager, Strategic

Planner, Data Analyst

2.2 ทั้งหน่วยวิจัยพัฒนาและหน่วยผลิตวัคซีน ขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่ประกันและควบคุม

คุณภาพวัคซีน สำหรับหน่วยควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนของประเทศ ก็มีปัญหาการขาดบุคลากรด้านนี้เช่น

เดียวกัน สาเหตุที่ทำให้ขาดแคลนเนื่องจาก

− ไม่มีตำแหน่งงานที่มั่นคงรองรับ เมื่อเป็นลูกจ้างฝึกปฏิบัติจนสามารถทำงานได้แล้ว

มักจะเปลี่ยนงานไปทำงานในที่ที่มีตำแหน่ง และเงินเดือนสูงกว่า

− งานควบคุมคุณภาพวัคซีนเป็นงานที่มีลักษณะ Routine ต้องมีความละเอียด

รอบคอบ ลักษณะงานเหมือนการจับผิดผู้อื่น จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ค่อยมีความสุขและไม่สนุกในการทำงาน

เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เปลี่ยนงานได้ง่าย

− นักศึกษาที่จะสมัครเข้าเรียนด้านการประกันและควบคุมคุณภาพ มีจำนวนน้อยมาก

เป็นสาขาที่ไม่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน

2.3 บุคลากรที่ขาดจริง ๆ คือ Regulator เนื่องจากหน่วยงานควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีน

ของประเทศ (NRA) มีอัตรากำลังน้อย ไม่เพียงพอต่อภาระงาน โดยเฉพาะขั้นตอนการเตรียมเอกสารเพื่อการ

เสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาด้านจริยธรรม และการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์

Page 57: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255452

3. ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร

- การทำงานในระดับ Lab scale แตกต่างจาก Pilot scale และ Industrial scale

ฉะนั้นในการฝึกปฏิบัติ ควรใช้สถานที่ผลิตจริง เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาให้สามารถผลิตได้จริงในระดับ

อุตสาหกรรม โดยทั่วไป การเรียนการสอนมักเน้นเรื่องการวิจัย และใช้ห้องปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่ แต่ใน

สถานการณ์จริงต้องผลิตที่ Pilot plant หรือ โรงงานผลิตวัคซีน ซึ่งจะมีเทคนิคที่ยุ่งยากกว่า ฉะนั้น จึงต้อง

สร้างคนให้สามารถทำได้จริงในโรงงานอุตสาหกรรม

- NRA ยังไม่มีแผนการพัฒนาคนอย่างชัดเจน เป็นการพัฒนาเฉพาะหน้าเพื่อให้สามารถ

ทำหน้าที่ Regulate ได้เท่านั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ภาคเอกชนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ฉะนั้น NRA ควรต้องพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานให้แน่น การต่อยอดองค์ความรู้ด้านการประกันและควบคุม

คุณภาพ โดยอาจจะต้องมีการพัฒนาร่วมกันกับหน่วยวิจัยและผลิต โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อการเรียนรู้

ร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้น แต่ทำงานต่างกันตามบทบาทหน้าที่

- ในระยะที่ผ่านมา เคยมีการให้ทุนศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก เพื่อกลับมาปฏิบัติงาน

ในประเทศไทย แต่ประสบปัญหาว่า เมื่อเรียนจบแล้ว ไม่มีสถานที่ทำงานที่สามารถฝึกงาน หรือปฏิบัติงาน

ตามที่เรียนมาได้ จึงทำให้ผู้ที่เรียนจบมานั้นเปลี่ยนงาน หรือไปปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ นอกจากนี้ การไม่ได้

ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง หรือต่อยอดงานเดิม ก็ทำให้ทักษะที่มีอยู่ลดน้อยลง 4. ข้อมูลเพิ่มเติม

− สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เปิดสถานที่อบรมนักศึกษาเภสัชศสาตร์ ให้ทุก

มหาวิทยาลัยส่งเข้าอบรมแห่งละ 2 คน/ปี โดยอบรมด้านการผลิตวัคซีน การประกันควบคุมคุณภาพวัคซีน

และ Logistics

- ดร.พนิต กิจสุบรรณ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า การจัดหลักสูตร Bioprocess

engineering แบบ Short course training ระยะ 3 เดือน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

(มจธ.) รูปแบบเป็นการฝึกปฏิบัติใน Pilot plants ที่มีอยู่ ขณะนี้ผู้บริหารรับทราบและท่านเห็นด้วยใน

การดำเนินงาน โดยมหาวิทยาลัยขอให้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายสำหรับ

การฝึกปฏิบัติในการดำเนินการจริง

- ประเด็นการฝึกปฏิบัติใน Pilot plant ขณะนี้ มจธ. และมหาวิทยาลัยมหิดล

มีห้องปฏิบัติการ BSL 2 หากมี Pilot plant BSL 3 เพิ่มขึ้น นอกจากจะสามารถใช้ในการผลิตวัคซีนได้แล้ว

ยังสามารถใช้เป็นที่ฝึกปฏิบัติได้มากขึ้นด้วย

- สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) มีหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา

ซึ่งสามารถรับนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ในหลักสูตร

Applied Biolgical Science (Environmental Health) โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยทึ่มีชื่อเสียงเช่น MIT,

Harvard, John Hopkins มาร่วมสอน สำหรับการพัฒนาบุคลากรด้าน QA/QC สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI)

มีการเปิดอบรมในหลักสูตรด้าน Quality Management และ ด้าน Risk Management

Page 58: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 53

5. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

− บุคลากรที่ทำหน้าที่ Auditor ในบริษัทยา อาจจะสามารถทำงานที่ NRA และ NCL ได้

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านนี้

− บุคลากรที่ต้องพัฒนาให้เกิดมีขึ้น คือผู้ทำหน้าที่ทบทวนข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่านมา

แล้วสรุปเป็นสาระสำคัญเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยควรมีข้อเสนอทางเลือกเพื่อการ

ตัดสินใจด้วย

− CRO (Contract Research Organization หรือ Clinical Research Organization)

เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญมากต่อการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หากต้องการให้มีความเจริญก้าวหน้า

ของหน่วย CRO ควรพิจารณาลูกค้าในระดับภูมิภาคอาเซียน หรือระดับนานาชาติ และต้องพัฒนาบุคลากรของ

ประเทศไทยให้มีศักยภาพเพียงพอสำหรับบทบาท CRO

− ควรให้ทุนนักศึกษาที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และวัคซีน เพื่อดึงดูดให้นักศึกษา

เข้ามาเรียน ในปัจจุบัน บริษัท ไบโอเนท−เอเชีย จำกัด ให้ทุนการศึกษา และให้ที่ทำงานด้วยเมื่อเรียนจบ

นับว่าเป็นมิติใหม่ของการลงทุนในการสร้างบุคลากรที่มีความต้องการใช้

− การให้ทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญมากกว่าคือ

ความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career path) เมื่อเรียนจบแล้ว จะต้องไปทำงานที่ใด มีข้อเสนอให้ทุนการศึกษา

ทั้งหมดอยู่ที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสถาบันฯ เป็นหน่วยที่จ่ายบุคลากรไปอยู่ ณ หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความ

ต้องการบุคลากรแต่ละประเภท ซึ่งน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่ทำให้บุคลากรด้าน QA/ QC ไม่ต้องจำเจอยู่

กับงานประจำ เนื่องจากมีการหมุนเวียนการทำงานในแต่ละสถานที่

- โรงงานอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย น่าจะประสานงานกันอย่างใกล้ชิด โดย

มหาวิทยาลัยเป็นผู้สอน หรือผู้จัดการ แต่โรงงานอุตสาหกรรมเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติ จึงจะเป็นวิธีการทำให้ได้

บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะจากการปฏิบัติจริง

- โรงงานผลิตวัคซีนขนาดใหญ่ของต่างประเทศเป็นภาคเอกชนทั้งหมด จึงมีการลงทุน

และทุ่มเทการทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพโดยเร็วเพื่อแข่งขันกันในเชิงธุรกิจ

หากการลงทุนยังอยู่ในภาครัฐ อาจจะไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร เนื่องจากเรื่องการเงิน และ งบประมาณที่ต้อง

ใช้ลงทุน มีหลายขั้นตอนและกฎที่เคร่งครัดตามระเบียบราชการ ฉะนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ที่ตั้งขึ้นเพื่อ

ผลักดัน สนับสนุนการพัฒนางานด้านวัคซีนให้เกิดผลได้จริง ควรจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน เพื่อให้มีความ

คล่องตัว และสามารถรองรับงานได้ โดยไม่ติดขัดด้วยกฎระเบียบราชการ

- เพิ่มทุนการศึกษาหลักสูตร Biochemistry, Organic Chemistry, Organic

Synthesis, Bio-organic Synthesis สำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

− สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่สามารถขอทุนสนับสนุนได้

และควรขอเชิญมาร่วมประชุมด้วย

- ควรพัฒนาบุคลากรโดยส่งผ่านทาง WHO เพื่อไปฝึกงานที่ต่างประเทศ หรือการนำ

บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตวัคซีนของต่างประเทศมาทำงานและฝึกงานให้กับคนไทย ซึ่งจะสามารถ

ถ่ายทอด Knowhow ได้ด้วย นอกจากนี้ อาจมี Collaboration กับต่างประเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนบุคลากร

เพื่อการเรียนรู้

Page 59: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255454

− การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวัคซีน ไม่จำเป็นต้องจัดหลักสูตรใหม่ แต่ควร

เพิ่มเติมการฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีประสบการณ์จริง หากเป็นไปได้ รูปแบบการสอนควรเป็น on the job training 6. ข้อเสนอให้ดำเนินการต่อไป

− จัดเวทีหารือระหว่าง ศ.(พิเศษ)ภญ.สุมนา ขมวิลัย รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา

สภากาชาดไทย กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางออกในการจูงใจและรักษาให้บุคลากรปฏิบัติงานด้าน QA/QC อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้

ควรหาแนวทางว่าทำอย่างไรนักศึกษาจึงจะสมัครเรียน QA/QC และเมื่อจบแล้วเลือกที่จะทำงานด้านนี้ด้วย

− ควรทำ Need Assessment ของหน่วยงานด้านวัคซีนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็น

ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน และเป็นความต้องการที่แท้จริงของหน่วยงาน

− ประสานหาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนาบุคลากร

ทุนการศึกษา จาก สกว. สวทช. และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

− การจัดทำเอกสารการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน ต้องมีหลายระดับตั้งแต่ (1) ระดับ

นโยบาย (2) ระดับยุทธศาสตร์ และ (3) ระดับโครงการ โดยต้องวิเคราะห์ตลาดก่อนว่าต้องการบุคลากร

ประเภทใดและประสานกับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ให้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสม

นอกจากนี้ ควรต้องมีการสนับสนุนทุน เงินตอบแทนพิเศษ รวมทั้งเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ

ด้านวัคซีนด้วย

ปิดการประชุมเวลา14.00น.

นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ

นางณรรจยา โกไศยกานนท์

ผู้สรุปรายงานการประชุมฯ

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

ผู้ตรวจรายงานการประชุมฯ

Page 60: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 55

Page 61: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255456

1. อัตรากำลังของบุคลากร จำแนกตามลักษณะงาน

2. อัตรากำลังของบุคลากร จำแนกตามประเภทของบุคลากร

1. ข้าราชการ

ระดับ

2. พนักงานราชการ

3. ลูกจ้าง

4. อื่นๆ โปรดระบุ.....................................................

Page 62: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 57

ลำดับที่

การพัฒนาต่อยอด

ผู้เชี่ยวชาญสอนงาน

ศึกษาดูงาน

ลักษณะการพัฒนาบุคลากร

Page 63: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255458

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

Page 64: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 59

รายงานการประชุมพิจารณาความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

และอัตรากำลังของหน่วยงานด้านวัคซีน

วันพุธที่30มีนาคม2554เวลา09.30−13.00น.

ณห้องประชุมธีระรามสูตอาคาร8ชั้น3กรมควบคุมโรค

ผู้มาประชุม

1. ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. รศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ อนุกรรมการพัฒนาระบบการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน

3. นางธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

4. รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

5. ดร.อภิญญา เทียนธนะวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

6. ภญ.ประภัสสร ธนะผลเลิศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

7. นางทิพจุฑา พานทอง อนุกรรมการส่งเสริมการผลิตวัคซีนในประเทศ

8. ผศ.ดร.อนันต์ ทองทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

9. ดร.พนิต กิจสุบรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

10. ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

11. นสพ.สุเมธ อำภาวงษ์ สำนักสัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยมหิดล

12. ภก.อนวัช มิตรประทาน สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

13. นางสาวพรพิมล เปรมชัยพร สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

14. ภก.เรืองชัย กวีพรพจน์ องค์การเภสัชกรรม

15. ภก.อุบลรัตน์ สินรักษา องค์การเภสัชกรรม

16. ภญ.ดร.สมชัยยา สุริฉันท์ องค์การเภสัชกรรม

17. นายเจษฎา เสถียรสุนทร บริษัทไบโอเนท−เอเชีย จำกัด

18. ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

19. ภญศิริรัตน์ เตชะธวัช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

20. ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

21. นางชฎาวัลย์ สรณ์วิโรจน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

22. นางสมฤดี จันทร์ฉวี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

23. นางสาววรวรรณ กลิ่นสุภา นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

24. นางสาวเกศินี มีทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

25. นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ นักวิชาการสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

26. นางณรรจยา โกไศยกานนท์ ผู้ประสานงานโครงการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

Page 65: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255460

เริ่มประชุมเวลา09.30น.

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวต้อนรับและขอบคุณ

ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ (ประธานการประชุม) วิทยากร และผู้เข้าประชุม

วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้เพื่อ

1. รายงานผลการสำรวจอัตรากำลังและความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

2. นำเสนอปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของหน่วยงานด้านวัคซีนที่มีต่อการพัฒนา

บุคลากรและอัตรากำลัง

3. พิจารณาประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร

ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ประธานการประชุม กล่าวว่าการดำเนินโครงการนี้เป็น 1 ใน

10 โครงการตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีนที่รัฐบาลให้ความเห็นชอบและมีความสำคัญ คือ ประเทศสามารถ

พึ่งตนเองได้ โดยการพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ระยะต้นน้ำ ฉะนั้น จึงต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการผลิตวัคซีน

ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

กล่าวถึงการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบว่าได้มีการประชุมแล้ว 5 ครั้ง

เพื่อรวบรวมแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนในแง่มุมต่าง ๆ และได้รับคำแนะนำให้สำรวจความต้องการ

ที่แท้จริงจากหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ สถาบันวัคซีนแห่งชาติจึงได้จัดส่งแบบสอบถาม

ไปยังหน่วยงานเครือข่ายตลอดวงจรการพัฒนาวัคซีน ทั้งหน่วยวิจัยพัฒนา ผลิตวัคซีน ประกันและควบคุม

คุณภาพ การใช้วัคซีน และหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน รวมทั้งสิ้น 20 หน่วยงาน ได้รับตอบกลับ

17 หน่วยงาน (ร้อยละ 85) ประกอบด้วย

❍ ด้านการวิจัยพัฒนาวัคซีน จำนวน 8 หน่วยงาน

- ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

- ศูนย์ทดสอบวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล

- ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

- ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร

- บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS)

❍ ด้านการผลิต จำนวน 3 หน่วยงาน

- สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

- องค์การเภสัชกรรม

- บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จํากัด

❍ ด้านการควบคุมคุณภาพ จำนวน 2 หน่วยงาน

- สถาบันยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

- สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

Page 66: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 61

- ภาควิชาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

- กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

❍ สนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน จำนวน 2 หน่วยงาน

- สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค

- ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการสำรวจพบว่า หน่วยงานที่มีอัตรากำลังไม่เพียงพอต่อภาระงานและมีความต้องการบุคลากร

เพิ่มมากที่สุดคือ หน่วยงานด้านควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนมีความต้องการบุคลากรเพิ่มเกิน 1 เท่าตัว

จากที่มีอยู่ 32 คน ขอเพิ่มอีก 42 คน (ร้อยละ 131.25) รองลงมาได้แก่ หน่วยงานด้านการวิจัยพัฒนา (อัตราการ

เพิ่มบุคลากร ร้อยละ 53.5) และหน่วยงานด้านนโยบายสนับสนุนงานวัคซีน (อัตราการเพิ่มบุคลากร

ร้อยละ 47.8)

หน่วยงานเหล่านี้มีความต้องการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างมากตั้งแต่การพัฒนาต่อยอดที่เป็นการ

อบรมระยะสั้น การมีผู้เชี่ยวชาญสอนงาน การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี

ปริญญาโท ปริญญาเอก และการเข้าร่วมประชุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าในมุมมองของ

ผู้ปฏิบัตินั้นยังมีช่องว่างของศักยภาพที่ต้องเติมเต็มพอสมควรเพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนางานวัคซีนได้ตาม

เป้าหมายของชาติ เมื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานเครือข่ายกับแนวทางการพัฒนา

และสาขาวิชาที่ควรต้องพัฒนาซึ่งรวบรวมจากข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัคซีนพบว่า

ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันน้อย ยกเว้นด้านการประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน สำหรับข้อคิดเห็นและ

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน สามารถรวบรวมสาระสำคัญและสรุปได้ดังนี้

1. สิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่

− พัฒนาด้านการบริหารและจริยธรรมในการทำงานเพื่อสังคม

− เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ และวุฒิภาวะทางอารมณ์

− การสร้างบุคลากรที่จำเป็นในระยะยาว เช่น วิศวกรด้านซ่อมบำรุง, Utilities (ระบบน้ำ

ไฟฟ้า แสง ความร้อน) , QA, Fermentor

− สร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการพื้นฐาน

− พัฒนาคุณภาพด้านการผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

− Process validation และการขอรับรองคุณภาพจาก WHO

− พัฒนา QA/QC ให้ต่อเนื่องและทันกับเทคโนโลยี

− พัฒนาระบบสารสนเทศด้านคุณภาพและความปลอดภัยของชีววัตถุ

− พัฒนาวิธีวิเคราะห์เพื่อการควบคุมคุณภาพวัคซีน

− พัฒนาสมรรถนะเสริมด้านอื่น ๆ เช่น ภาษา ทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ การเจรจา

ต่อรอง การคิดวิเคราะห์

2. วิธีการพัฒนาบุคลากร ได้แก่

− กำหนดวัคซีนที่จะพัฒนาในประเทศไทยให้ชัดเจน แล้วพัฒนาบุคลากรตามรายวัคซีน

− การทำงานด้านวัคซีนควรทำเป็นเครือข่าย เพื่อลดงบประมาณ กำลังพลและได้ผลงาน

ที่มีประสิทธิภาพ

− การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน

Page 67: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255462

− การฝึกงาน/ร่วมประเมินเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับวัคซีนใหม่กับหน่วย NRA

ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

− ส่งเสริมการเพิ่มพูนทักษะ เช่น ศึกษา อบรม ดูงาน อย่างต่อเนื่อง

− การประชุมเกี่ยวกับวัคซีนด้านคลินิก ห้องปฏิบัติการ การประเมินผลประสิทธิภาพวัคซีน

− ให้ทุนแก่หน่วยงานที่มีความสามารถในการ Transfer technology, หรือมีผู้เชี่ยวชาญ

ด้านการศึกษาวัคซีน

3. ปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนา ได้แก่

− มีแผนแม่บทที่ชัดเจน ตรงตามทิศทางการพัฒนาวัคซีนที่ประเทศต้องการ

− มีระบบวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน ทุกปี

− กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดให้ชัดเจน และมีระบบติดตามประเมินผล

− การมี Career path ที่ชัดเจน จะช่วย Maintain บุคลากรได้

− มีระบบจูงใจเพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ

− มีทำเนียบผู้มีประสบการณ์ ความรู้และความสามารถในแต่ละด้าน เช่น Pure Science,

Lab, VPD, QA/QC, Immunization เป็นต้น

− สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) เป็นผู้เชื่อมโยงแผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของแต่ละ

หน่วยงาน ให้เป็นภาพรวมของประเทศ

− จัดตั้งหน่วยงานการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนเป็นการเฉพาะภายใน NVI เพื่อทำหน้าที่

สนับสนุน จัดหาแหล่งทุน/ สถาบัน/ หลักสูตร และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

สรุปผลการประชุม จากการนำเสนอผลการสำรวจบุคลากรดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะว่าผลที่ได้มีความ

ชัดเจนในส่วนของหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่และแนวทางในการพัฒนาวัคซีนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Secondary

generation) ซึ่งไม่ได้เป็นการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจริงๆ แต่เป็นเพียงการผลิตในสิ่งที่มีอยู่ และการสำรวจยังไม่ได้

ลงลึกถึงการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ๆ (Third generation) หรือวัคซีนที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะมี

ความสำคัญในอนาคต ทั้ง Recombinant, Molecular, Genetic engineering technology ต่างๆ ดังนั้น

การพัฒนาบุคลากรในวงจรด้านวัคซีนให้สามารถพัฒนาและผลิตวัคซีนได้ตั้งแต่ต้นน้ำนั้น ควรมีความคลอบคลุม

มากขึ้น โดยมีการสำรวจความต้องการพัฒนาในหน่วยงานด้านวิจัยพัฒนารวมทั้งหลักสูตรที่เปิดสอนใน

มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบุคลากรด้วย ในการนี้ ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็น อภิปราย

กันอย่างกว้างขวางและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน ซึ่งสามารถสรุปสาระ

สำคัญได้ดังนี้

1. อัตรากำลังบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศ

หน่วยงานทุกด้านของวงจรวัคซีนขาดแคลนกำลังบุคลากร โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการ

ควบคุมคุณภาพวัคซีนขาดแคลนมากที่สุด การแก้ไขปัญหาโดยการนำบุคลากรสายวิชาชีพอื่นมาดำเนินงาน

ไม่สามารถทำได้เนื่องจากการกำหนดหน้าที่ของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประกันและควบคุมคุณภาพของ

วัคซีน เป็นไปตามกฎหมายของพระราชบัญญัติยาดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องให้หน่วยงานจัดทำกรอบอัตรา

Page 68: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 63

กำลังให้มีความเพียงพอและกำหนดโครงสร้างให้การทำงานมีความคล่องตัวโดยที่สถาบันวัคซีนแห่งชาตินำเสนอ

เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเพื่อขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วยผลักดัน

ในเชิงนโยบายต่อไป

2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีน

ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน หน่วยงานด้านวัคซีนให้ข้อมูลการ

พัฒนาวัคซีนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Secondary generation) และไม่ได้เป็นการผลิตตั้งแต่ระยะต้นน้ำ

ซึ่งการสำรวจต้องลงลึกถึงวิธีการพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ (Third generation) หรือวัคซีนที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น

ที่คาดว่าจะมีความสำคัญในอนาคต จึงจะสามารถวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนได้ทัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถ

วิจัยและผลิตวัคซีนได้ตั้งแต่ระยะต้นน้ำ

เพื่อให้แนวทางการพัฒนาบุคลากรสามารถรองรับการผลิตในอนาคตได้ เห็นควรที่จะต้อง

สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรที่มีการเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น Microbiology, Immunology ซึ่งมี

ความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าใจถึงกลไกของ Antigen, Epitope

mapping, Adjuvant, Vaccine delivery systems รวมทั้งการออกแบบวัคซีนใหม่ๆ (New generation

vaccine เช่น HIV และ Malaria vaccine) ปัจจุบันพบว่าบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวข้างต้น

ยังขาดแคลน

แนวทางการพัฒนาอื่นๆ เช่น การศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการวิจัย

พัฒนาและผลิต เช่น อินโดนีเซีย, คิวบา, เกาหลี, ญี่ปุ่น และอาร์เจนตินา (มีความเด่นในเรื่อง Biological

product, และ Recombinant technology) ด้านควบคุมคุณภาพ เช่น ประเทศญี่ปุ่น

3.ข้อเสนอเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน

ด้านวัคซีน

3.1หน่วยงานด้านควบคุมคุณภาพวัคซีน

• สถาบันชีววัตถุกรมวิทยาศาสตร์การแพทย ์

ปัจจุบันทำหน้าที่ในการตรวจรับรองคุณภาพ ซึ่งบุคลากรจำเป็นจะต้องรู้ถึงกรรมวิธีและ

ขั้นตอน รวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก อีกทั้งหน่วยงานที่ต้องทำการตรวจสอบมีการ

ขยายงานอย่างรวดเร็ว มีผลให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องด้วยจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอ และ

ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของหน่วยงานที่เป็น Regulatory

แนวทางการและความต้องการพัฒนาบุคลากร

- การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างเครือข่าย (Secondment) การแลกเปลี่ยนบุคลากร

กับหน่วยงานหรือองค์กรต่างประเทศ เช่น WHO

- การพัฒนาต่อยอดบุคลากร ให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการผลิต (Manufacturing

process), กระบวนการวิจัยพัฒนา เช่น Preclinical และ Clinical concept

Page 69: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255464

• กลุ่มงานยาชีววัตถุสถาบันยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เป็นหน่วยงานหลักของประเทศที่ทำหน้าที่ควบคุมกำกับคุณภาพของวัคซีน โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและชีววัตถุ ซึ่งมีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประสบปัญหาภาระงาน

(Workload) และบุคลากรที่ไม่สมดุลกันด้วยบุคลากรที่มีอยู่จำกัดทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างไม่เต็มที่และ

ก่อให้เกิดความล่าช้า ซึ่งปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากรด้านควบคุมคุณภาพ เป็นปัญหาดำเนินมาเป็นระยะ

เวลานานและจะต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นอกจากปัญหาด้านอัตรากำลังที่ไม่เพียงพอแล้ว หน่วยงาน

ด้าน Regulatory ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการตรวจสอบและประเมินผลิตชีวภัณฑ์ (Biological

products) ต่างๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ และมีแนวโน้มสูงขึ้น คือร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ยา

(Pharmacy) ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 30

แนวทางในการพัฒนาบุคลกร

− ควรเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กร เช่น การร่วมมือกับ WHO เกี่ยวกับหลักสูตรการพัฒนา

บุคลากรด้านควบคุมคุณภาพ แต่ปัจจุบันพบว่ามีปัญหาเรื่อง การ Maintain networking เพราะบุคลากร

มีอยู่จำกัดและไม่มีการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ขึ้นมาแทน ทำให้การประสานงานกับหน่วยงานเครือข่ายมีความ

ไม่ต่อเนื่อง (มี gap ระหว่าง generation) หากไม่มีการสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่อาจจะส่งผลเสียในระยะ

เวลาอันใกล้

− การมี Career path ที่ชัดเจน ปัจจุบันการศึกษาด้านนี้ในมหาวิทยาลัยยังไม่ได้รับความสนใจ

เท่าที่ควร โดย Trend ของหลักสูตรจะเน้นไปทางด้าน Pharmaceutical science เป็นส่วนใหญ่

− มีความร่วมมือกันกับหน่วยผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตที่ใหม่ๆ

เพื่อให้การประเมินคุณภาพเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

3.2หน่วยงานด้านการผลิต

ปัญหาโดยรวมของหน่วยผลิตวัคซีนของประเทศ

1. การขาดแลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่

- วิจัยพัฒนา เช่น Molecular Biotechnology, Immuno-pathology, Immunology

และ Preclinical study

- ด้านการผลิต เช่น Animal cell culture, Biological fermentor operation,

Chemical engineer, Bioprocess engineer และ Pharmaceutical engineer

- การควบคุมคุณภาพ (QA/QC)

2. บุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา New vaccine เช่น New TB ซึ่งมีการใช้เทคนิคใน

ด้านต่างๆ และใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การผลิตในรูปแบบ DNA vaccine, Sub-unit vaccine และ

Recombinant vaccine

3. บุคลาการที่ปฏิบัติงานไม่มีประสบการณ์ หรือไม่ตรงสาขา hand on งานไม่เป็น

4. ปัญหาการดึงบุคลากร (turn over) จากหน่วยงานที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า ซึ่งถือเป็นปัญหา

สำคัญเพราะหน่วยผลิตหลักของประเทศเป็นหน่วยงานของภาครัฐ

Page 70: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 65

แนวทางการพัฒนาบุคลากร

1. การพัฒนาหลักสูตร/การกำหนดหลักสูตร โดยมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยผลิตกับ

มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรเหล่านั้น โดยอาจมีการสำรวจหรือมีการจัดหลักสูตรร่วมกัน

2. การมี Career path ที่ชัดเจนและมีแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนในระดับที่สูงขึ้น เพื่อดึงดูด

คนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงาน

3. มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีศักยภาพด้านการผลิต โดยจัดให้เป็นศูนย์กลางการ Training

ด้านการผลิต

4. การมี Collaboration ระหว่างหน่วยผลิตและหน่วยวิจัยพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อ

รองรับการผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง (เช่น ประเทศเยอรมัน)

3.3หน่วยงานด้านการวิจัยพัฒนา

จากปัญหาด้านการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่มาทดแทนนั้นสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ในฐานะหน่วยงานด้านการวิจัยพัฒนารวมทั้งหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยที่สำคัญของประเทศได้ให้ความเห็นและ

ข้อเสนอแนะดังนี้

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มีบทบาทสำคัญในด้านวิจัยพัฒนา โดยมุ่งเน้นการดำเนินการวิจัยพัฒนารวม

ทั้งสร้างบุคลากรด้านวิจัยพัฒนาต่างๆ เนื่องจากบทบาทของงานด้านชีววัตถุมีมากขึ้นการพัฒนาบุคลากรของ

สถาบันจะสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นกำลังด้าน R&D และด้าน QA&QC สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ยังมี

ศักยภาพในการรองรับการทดสอบด้าน Pre-clinical study โดยมีศูนย์สัตว์ทดลองที่ได้รับมาตรฐาน (Association

for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care; AAALAC certificate) อีกด้วย

ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์มีหลักสูตรนานาชาติระดับ

บัณฑิตศึกษา 3 หลักสูตร ได้แก่

• Applied Biological Sciences (Environmental Health)

• Environmental Toxicology

• Chemical Biology

ซึ่งมีการเรียนการสอนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการแก่หน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาหรือกระทั่ง

หน่วยงานอื่นๆ ด้านวัคซีนได้ เช่น Environmental health, Toxicology, Immunology, Pathobiology,

Molecular Biology, Epidemiology ซึ่งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เน้นการเรียนแบบ Research based

learning ซึ่งจะให้ผลผลิตเป็นบุคลากรระดับ Ph.D. ที่มีความสอดคล้องกับความขาดแคลนในด้าน R&D

3.4สนับสนุนการพัฒนางานวัคซีน

หน่วยสนับสนุนงานด้านวัคซีนนับเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ

อย่างยิ่ง การพัฒนาระดับ Pre-clinical study จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าถึงแม้จะมีข้อจำกัดอยู่หลาย

ประการแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้าน Pre-clinical study โดยเฉพาะศูนย์สัตว์ทดลองต่างๆ ก็ยังมี

ศักยภาพในการผลิตสัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐาน เช่น มีสายพันธุ์ Nude mice (colony) ที่ดีที่สุด อีกทั้งยังมี

Rodents colony ที่ได้มาตรฐานสากล ทำให้สามารถผลิตสัตว์ทดลองเพื่อรองรับการวิจัยพัฒนาในด้านต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านวัคซีนของประเทศ

Page 71: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255466

แนวทางการพัฒนาศักยภาพอื่นๆ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนางานด้านชีววัตถุในอนาคต เช่น

1. การบริหารจัดการ Monitoring เกี่ยวกับ Rodent และ Non-rodent เช่น Primate

จะต้องเป็นไปตาม GLP ด้านสัตว์ทดลองเพื่อให้งานที่ศึกษาสามารถนำไปต่อยอดได้

2. การพัฒนาด้าน Animal, Human cell culture ที่มีความสำคัญต่อการการทำวิจัย โดย

เฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบ Toxicity ซึ่งนิยมทำในเซลล์เพาะเลี้ยงแทนการทดสอบ

แบบ in vivo ในสัตว์ทดลอง

4. ข้อเสนอแนะ

4.1 ควรมีเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ (Career path) ของบุคลากร

ด้านวัคซีน และกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม จะสามารถลดปัญหาการโยกย้ายบุคลากรที่มีศักยภาพไปสู่

หน่วยงานที่มีค่าตอบแทนสูงกว่าได้ และยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ส่งผล

ให้การขาดแคลนบุคลากรน้อยลงได้

4.2 แนวทางการพัฒนาบุคลากรในปี 2555 ควรมีความชัดเจน โดยคำนึงถึงสิ่งที่ต้องผลัก

ดันและรีบดำเนินการ

4.3 แนวทางความร่วมมือระหว่างองค์กร จะต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะการร่วมมือ

กันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ

นางสาวนันทะภร แก้วอรุณ

นางณรรจยา โกไศยกานนท์

ผู้สรุปรายงานการประชุม

ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

วันที่ 14 เมษายน 2554

Page 72: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 67

ผลการประชุมกลุ่มย่อย

แนวทางของมหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนาบุคลากร

เพื่อรองรับการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนในประเทศไทย

ณโรงแรมนารายณ์กรุงเทพมหานคร

วันที่21กรกฎาคม2554

วัตถุประสงค ์

1. เพื่อระดมความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัคซีน หรือมีประสบการณ์

ในการวิจัยพัฒนา การผลิตวัคซีน ตลอดจนการควบคุมคุณภาพวัคซีน รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและ

การผลิตวัคซีน

2. เพื่อหาความสอดคล้องของข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

ในสาขาวิชาต่าง ๆ

3. เพื่อทราบความเป็นไปได้ในการผลิต/ พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน โดยมหาวิทยาลัยภายใน

ประเทศไทย

4. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะในการให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ในต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา

บุคลากรในสาขาที่ขาดแคลน และมีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาวัคซีนตามเป้าหมายของประเทศ

การแบ่งกลุ่ม

1. กลุ่มวิทยาการพื้นฐาน (วิทยาศาสตร์, จุลชีววิทยา, ชีววิทยาโมเลกุล, พยาธิชีววิทยา,

พิษวิทยา ฯลฯ)

2. กลุ่มเทคโนโลยีการผลิต (เทคโนโลยีชีวภาพ, วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ)

3. กลุ่มประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีน (เภสัชศาสตร์, เภสัชศาสตร์ชีวภาพ ฯลฯ)

4. กลุ่มสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีน (แพทย์, สัตวแพทย์, สาธารณสุข,

นโยบาย ฯลฯ)

5. กลุ่มประเมินภาพรวมในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน (แพทย์, สัตวแพทย์, เภสัชกร,

วิทยาศาสตร์ ฯลฯ)

วิธีการประชุมกลุ่ม

1. คัดเลือกประธาน และเลขานุการประจำกลุ่ม

2. แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มอย่างอิสระ โดยมีกรอบคำถามให้ชวนคิด และหารือกัน

3. สรุปข้อคิดเห็นของกลุ่มในแต่ละข้อคำถาม รวมทั้งข้อเสนอแนะ

4. ส่งผู้แทนในการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยต่อที่ประชุม ประมาณกลุ่มละ 10 นาที

Page 73: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255468

เอกสารประกอบการประชุมกลุ่ม

1. วาระแห่งชาติด้านวัคซีน

2. สรุปสาระสำคัญการหาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

3. รายนามมหาวิทยาลัย และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านวัคซีน

ประเด็นคำถาม

1. เพื่อให้การวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนภายในประเทศประสบความสำเร็จตาม

เป้าหมายที่กำหนดในโครงการหลักจำนวน 10 โครงการภายใต้วาระแห่งชาติด้านวัคซีน จำเป็นต้องมีการ

เตรียมความพร้อมศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว ท่านคิดว่าประเทศไทยควรให้

ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในสาขาอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร (อาจใช้ความคิดเห็น Expert view และ

Stakeholder view ประกอบการพิจารณาด้วย) และกรุณาเรียงลำดับตามความสำคัญเร่งด่วน

2. หากต้องพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญดังกล่าว หน่วยงานของท่าน

สามารถสนับสนุนการผลิตบุคลากรในแต่ละสาขาวิชาได้หรือไม่ จำนวนบุคลากรที่สามารถผลิตหรือพัฒนาได้

กี่คนต่อปี

3. ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตหรือพัฒนาบุคลากรได้เองภายในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มี

หลักสูตร หรือ Facility ของมหาวิทยาลัยรองรับ ท่านคิดว่าสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้มีการเรียนการสอนขึ้นภายในประเทศได้ โปรดกรุณาจัดเรียงลำดับสาขาวิชาที่มีความ

เป็นไปได้ตามความยากง่าย

4. หากต้องส่งคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจะเป็น

ประโยชน์ต่อประเทศไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัคซีนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลและใช้เทคโนโลยี

ที่ทันสมัย ท่านคิดว่าประเทศควรสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนการพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มสมรรถนะ

บุคลากรในด้านใดบ้าง หากทราบสถานที่ศึกษา กรุณาระบุด้วย

5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ รูปแบบการสร้างความร่วมมือของสถาบันการศึกษา, การจัด

ทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน

Page 74: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 69

ผลการประชุมกลุ่มย่อย

กลุ่มที่1.กลุ่มวิทยาการพื้นฐาน

ลำดับ ชื่อ-สกุล หน่วยงาน

Page 75: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255470

จากโจทย์คำถามที่ได้รับ ผู้เข้าประชุมได้ร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงความจำเป็น

ที่จะต้องผลิตบุคลากรสาขาใดบ้าง จำนวนเท่าไร เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีน

ภายในประเทศ ซึ่งจากการอภิปรายได้ใช้ข้อมูลของ Expert view และ Stakeholder view เป็นหลักใน

การพิจารณา ในที่ประชุมมีอาจารย์หลายท่านได้เสนอประเด็นแนวคิดที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูตร เสนอในที่ประชุมว่าควรมีหลักสูตรเฉพาะสำหรับงาน

ด้านวัคซีนหรือไม่ซึ่งในที่ประชุมก็เห็นด้วย และ ดร.ไตรวิทย์ รัตนโรจน์พงศ์ ได้กล่าวสนับสนุนว่าควรมี

หลักสูตรเฉพาะสำหรับวัคซีนที่มีการบูรณาการโดยการรวบรวมเอาศาสตร์วิชาต่าง ๆ เช่น Immunology,

Microbiology, Molecular Biotechnology และสาขาอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับงานด้านวัคซีนมา

บรรจุไว้ในหลักสูตรแล้วจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรพิเศษ

2. อ.น.สพ.ดร.วิทวัช วิริยะรัตน์ จากคณะสัตว์แพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อคิดเห็น

ในที่ประชุมว่างานด้านสัตว์ทดลองก็มีความจำเป็นสำหรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนด้วยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันยัง

ขาดบุคลากรทางด้านสัตว์ทดลองในสาขา Veterinary Microbiology, Experimental Veterinary

Medicine และ Veterinary Pathology แต่ไม่สามารถมองภาพรวมได้ชัดเจนว่าต้องการบุคลากรทางด้าน

นี้ประมาณเท่าไรต่อปี เพราะขณะนี้การผลิตวัคซีนยังเป็น fragments อยู่ คนที่จะมาทำงานก็ยังไม่มี

Career path ที่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 คนต่อปี ซึ่งบุคลากรสาขาที่ขาดแคลนดังกล่าวนี้

สามารถให้นักศึกษาสัตว์แพทย์ที่จบในระดับปริญญาโท หรือเอก ไปศึกษาต่อยอดทางสาขาที่ขาดแคลนได้

3. ที่ประชุมกล่าวถึงประเด็นห้องปฏิบัติการสัตว์ทดลองที่ต้องได้มาตรฐาน GLP จะต้อง

ดำเนินการอย่างไร อ.น.สพ.ดร.วิทวัช วิริยะรัตน์ แจ้งที่ประชุมว่างานในส่วนของสัตว์ทดลองต้องการ

นักสัตวแพทย์ นักจุลชีวิทยา นักภูมิคุ้มกันวิทยา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องมีการรวมตัวกันเพื่อ

ขอมาตรฐาน GLP ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในการทำวิจัยทางคลินิค

4. รศ.ดร. จักร์กริช หิรัญเพชรรัตน์ จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเรียนในระดับปริญญาโท-เอก ในทุก ๆ มหาวิทยาลัย เนื่องจากปัจจุบัน

นักศึกษามีการเรียนทฤษฏีแค่ในบางรายวิชาของหลักสูตรสั้น ๆ และมีการทำงานวิจัยเฉพาะเรื่องซึ่งอาจ

ไม่เหมาะสมหรือตอบสนองต่อความต้องการของงานด้านวัคซีน ฉะนั้น นักศึกษาสามารถเรียนหลักสูตร

พื้นฐานที่มีการเรียนการสอนอยู่แล้วเกือบทุกมหาวิทยาลัย แล้วให้ไปต่อยอดในสาขาที่มีความต้องการ

ในระดับ Ph.D. หรือ PostDoc เช่น สาขา Vaccinology, Medical Microbiology, Immunology

เป็นต้น

จากการอภิปรายในกลุ่มเพื่อระดมความคิดเพื่อนำไปตอบโจทย์คำถามในประเด็นต่าง ๆ

สามารถสรุปรวบยอดความคิด ดังนี้

1. เพื่อให้การวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนภายในประเทศประสบความสำเร็จตาม

เป้าหมายที่กำหนดในโครงการหลักจำนวน 10 โครงการภายใต้วาระแห่งชาติด้านวัคซีน จำเป็นต้องมีการ

เตรียมความพร้อมศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว ท่านคิดว่าประเทศไทย

ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในสาขาอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร (อาจใช้ความคิดเห็น Expert

view และ Stakeholder view ประกอบการพิจารณาด้วย)

Page 76: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 71

สาขาวิชาพื้นฐานที่มีความสำคัญและต้องมีการผลิตเร่งด่วน ได้จัดลำดับตามความสำคัญของ

สาขาประกอบด้วย 14 สาขาวิชา ดังตารางข้างล่างนี้ พร้อมทั้งได้อธิบายถึงความสำคัญและปัญหาของ

บุคลากรในแต่ละสาขาวิชาที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการดำเนินงานดังนี้

- Vaccinology จากการอภิปรายกันในกลุ่ม Vaccine มีความหมายหลากหลาย แต่ในที่นี้

จะหมายถึง หลักวิชาที่ต้องมีการบูรณาการระหว่างสาขา เริ่มตั้งแต่ตัวเชื้อ Immunology, Coverage,

Protection, การพัฒนาการผลิต จนถึงการทำ Human vaccine trial (การทดสอบวัคซีนในคน) ซึ่งสาขา

Vaccinology ยังไม่มีการเรียนการสอนในประเทศไทย จึงต้องการคนที่มีความรู้ไปศึกษาต่อหรืออบรมต่อใน

สาขานี้ประมาณ 3 คนต่อปี

- Bioprocess engineering ในสาขาที่ 2 และ 3 ประกอบด้วย Upstream และ

downstream ซึ่งยังขาดมากในปัจจุบัน และมีความต้องการบุคลากรด้านนี้สูงมาก ประมาณ 25 คนต่อสาขา

ต่อปี

- Medical microbiology ประเทศไทยผลิตบุคลากรได้จำนวนมากในแต่ละปี แต่การผลิต

มีการกระจัดกระจายหลายสาขาวิชา ไม่ได้เฉพาะทางด้านวัคซีนเพียงอย่างเดียว จึงควรมีการต่อยอดในสาขา

ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนประมาณ 10 คนต่อปี

- Veterinary ประกอบด้วย Veterinary microbiology, Veterinary immunology และ

Veterinary pathology ซึ่งปัจจุบันยังขาดแคลนอยู่มากแม้ว่าจะมีการผลิตบุคลากรอยู่แล้ว แต่ไม่เฉพาะ

เจาะจงเกี่ยวกับงานด้านวัคซีน จึงควรมีการต่อยอดในสาขานี้ประมาณ 4 คน ต่อปี ซึ่งอาจต่อยอดโดยการ

ส่งไปดูงานและฝึกอบรมด้านการทดสอบวัคซีนในสัตว์

- Immunology ควรให้มีการต่อยอดในสาขานี้ประมาณ 10 คนต่อปี

- Clinical epidemiology ต้องการประมาณ 15 คน ต่อปี ซึ่งเป็นบุคลากรที่จะมาดำเนิน

การในส่วนของการทำ Human vaccine trial หากประเทศไทยต้องการเป็นศูนย์กลางใหญ่ในการพัฒนา

วัคซีนหลายชนิด

- Bioinformatics ปัจจุบันสาขานี้ยังคงขาดแคลนบุคลากรอยู่ และต้องการบุคลากรด้านนี้

ประมาณ 15 คนต่อปี

- Biophysics เป็นประเด็นที่เสนอขึ้นมาใหม่เนื่องจากในปัจจุบันต่อเนื่องถึงอนาคต

(ค.ศ. 2020) การพัฒนาวัคซีนจะเน้นในเรื่องของ Structural vaccinology มากขึ้น ขณะนี้ประเทศไทย

ยังไม่มีการจัดการเรียนการสอนสาขานี้ในมหาวิทยาลัย จึงคิดว่าควรมีการจัดตั้งสาขานี้ขึ้นมา

- Medical entomology ต้องการบุคลากรในสาขานี้ประมาณ 2 คน ต่อปี

- Experimental veterinary medicine เป็นสัตว์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ

การทดลอง ในสัตว์ (animal testing) ต้องการบุคลากรในสาขานี้ประมาณ 5 คน ต่อปี

- Molecular biotechnology ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถผลิตนักชีวโมเลกุลได้

จำนวนมากในแต่ละปี แต่ไม่มีความเฉพาะทางด้านวัคซีน จึงต้องการบุคลากรประมาณ 5 คนต่อปี เพื่อไป

ต่อยอดเกี่ยวกับงานด้านวัคซีนโดยเฉพาะ

Page 77: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255472

จำนวนคนต่อปี

2. หากต้องพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญดังกล่าว หน่วยงานของท่าน

สามารถสนับสนุนการผลิตบุคลากรในแต่ละสาขาวิชาได้หรือไม่ จำนวนบุคลากรที่สามารถผลิตหรือพัฒนาได้

กี่คนต่อปี ขอความกรุณาช่วยกรอกข้อมูลดังตารางข้างล่างนี้

ผู้ร่วมประชุมไม่สามารถตอบได้ว่าสาขาที่สำคัญที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแต่ละมหาวิทยาลัย

สามารถผลิต นิสิต นักศึกษา ได้ทั้งหมดกี่คนต่อปีและแต่ละสาขาผลิตได้กี่คนต่อปี จึงมีข้อแนะนำให้ทาง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามไปถึงมหาวิทยาลัยโดยตรง ซึ่งน่าจะได้ข้อมูลที่แม่นยำกว่า

การคาดเดาจากอาจารย์ที่เข้าร่วมการประชุม

เรียนสาขาลำดับ

สอนงานต่อยอด ดูงาน

Page 78: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 73

3. ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตหรือพัฒนาบุคลากรได้เองภายในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มี

หลักสูตร หรือ Facility ของมหาวิทยาลัยรองรับ ท่านคิดว่าสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้มีการเรียนการสอนขึ้นภายในประเทศได้โปรดกรุณาจัดเรียงลำดับสาขาวิชาที่มีความเป็นไป

ได้ตามความยากง่าย

กลุ่มวิทยาการพื้นฐานได้เสนอหลักสูตรที่ต้องเปิดสอนใหม่เนื่องจากมีความสำคัญ

สำหรับงานด้านวัคซีนและยังไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยภายในประเทศประกอบด้วย 3 หลักสูตร

สำคัญ ดังนี้

- Vaccinology เป็นหลักสูตรที่ cover ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ Basic science ตลอดจนถึง

การทำ Vaccine trial โดยควรให้เป็นรูปแบบ Consortium ระหว่างมหาวิทยาลัย และมีสถาบันวัคซีน

แห่งชาติ (สวช.) ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน (host) ประสานงานให้มหาวิทยาลัยได้พบปะในการระดมสมองเพื่อ

พิจารณาแนวทางในการสร้างหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

- Biophysics เนื่องจากในยุคปัจจุบันการพัฒนาวัคซีนกำลังก้าวไปสู่แบบ Structural

vaccinology ดังนั้นศาสตร์ด้าน Biophysics จึงมีความสำคัญมากในการทำวิจัยและพัฒนาวัคซีน

ในอนาคต แม้ว่าจะมีอาจารย์หลายท่านสนใจและทำงานวิจัยทางด้านนี้แต่ก็ไม่มีการเรียนการสอนอย่างจริงจัง

เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการเรียนการสอนด้าน Biophysics ในมหาวิทยาลัย

- Bioprocess ควรมีหน่วยงานหลักในรูปแบบของ Consortium โดยมี สวช.เป็น

ผู้ประสานให้เกิดความร่วมมือ

4. หากต้องส่งคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจะเป็น

ประโยชน์ต่อประเทศไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัคซีนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลและใช้เทคโนโลยีที่

ทันสมัย ท่านคิดว่าประเทศควรสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนการพัฒนาต่อยอดเพื่อ เพิ่มสมรรถนะบุคลากร

ในด้านใดบ้าง หากทราบสถานที่ศึกษา กรุณาระบุด้วย ดังตารางข้างล่างนี้

การส่งคนไปเรียนต่อหรือไปฝึกอบรมดูงานในต่างประเทศเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยใน

การผลิตวัคซีนประกอบด้วย 4 ด้าน ดังตารางข้างล่างนี้

- Vaccinology มีการเรียนการสอนที่ US-NIAID (Vaccine Research Center: VRC)

ในประเทศสหรัฐอเมริกา และที่มหาวิทยาลัย Oxford

- Bioprocess ที่น่าสนใจ น่าจะเป็นมหาวิทยาลัย Osaka ในประเทศญี่ปุ่น

- Biophysic center ที่มีความสำคัญและน่าสนใจอยู่ที่ Harvard university, USA.,

Australia และยังมีที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น ในประเทศอังกฤษ และยุโรป

- Vaccine testing อาจเป็นรูปแบบของการขอความร่วมมือเพื่อขอผู้เชี่ยวชาญมา

สอนงาน (Training for the trainer) เช่น จากสถาบัน US-NIAID (VRC) และมหาวิทยาลัย Oxford เป็นต้น

Page 79: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255474

5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

- เนื่องจากประเทศไทยยังขาด Infrastructure ในเรื่องของการพัฒนาวัคซีน

(Vaccine development) ค่อนข้างมาก ดังนั้น สวช. อาจเป็นหน่วยประสานงาน (Coordinating center) ใน

การจัดให้มีการบริหารจัดการในส่วนของ Center หลัก ๆ รวมทั้ง primate facility และ facility ต่าง ๆ ที่มี

ความจำเป็นเกี่ยวกับการผลิตวัคซีน

- ควรจัดให้มี Consortium เกี่ยวข้องกับวิทยาการด้านวัคซีน (Vaccinology) ในเชิง

วิชาการ ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยต้องการเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาการด้านวัคซีนก็ควรจะมี Consortium

ของแต่ละมหาวิทยาลัยมาประชุมปรึกษากันเป็นครั้งคราวเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร

- ควรจัดให้มีเวทีสำหรับการพบปะกันของนักวิจัยในลักษณะ Vaccine research

consortium ตัวอย่างเช่น วัคซีนไข้เลือดออก ควรมีการ Recruit คนเข้ามาเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล

งานวิจัยใหม่ๆ ได้คำถามเกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ ๆ ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหาที่นักวิจัยพบเห็น

เนื่องจากปัจจุบันมีการทำงานอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีเวทีให้พบกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยกัน

แก้ปัญหา

Page 80: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 75

ลำดับ

Page 81: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255476

ความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาคการผลิตนั้น

เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์การพัฒนาด้านวัคซีนของประเทศกำลังมี

ความถดถอย หากไม่ได้มีการแก้ไขเร่งด่วน ศักยภาพในการผลิตของประเทศจะมีความย่ำแย่ลง และจะ

ไม่สามารถผลิตวัคซีนเพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศได้

จากการร่วมอภิปรายในกลุ่มเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งผู้เข้าประชุมประกอบด้วยอาจารย์จาก

มหาวิทยาลัย หน่วยงานเครือข่ายด้านการผลิตทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาที่แท้จริงของภาค การผลิต

วัคซีนของประเทศไทยนั้น นอกจากจะมาจากศักยภาพด้านเทคโนโลยี ด้านงบประมาณสนับสนุนที่จริงจัง

แล้ว ยังประสบกับปัญหาด้านการขาดบุคลากรซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ หากปล่อยให้ปัญหานี้ดำเนิน

ต่อไป จะไม่สามารถรองรับภาคการผลิตวัคซีนและชีวภัณฑ์ต่างๆ ที่มีความเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะอัตรากำลัง

ของผู้ที่มีศักยภาพด้านกระบวนการผลิตมีความผกผันกัน อย่างเห็นได้ชัด

ความคิดเห็นของผู้เข้าประชุมค่อนข้างหลากหลายและกว้างขวาง ในส่วนของความต้องการ

พัฒนาบุคลากรด้านการผลิตว่าจะเป็นในรูปแบบใด จำเป็นต้องพัฒนาประเภทหรือสาขาวิชาชีพใดบ้าง มติที่

ประชุมได้ข้อสรุปว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการผลิต ควรมีการวิเคราะห์ตามกระบวนการผลิต ตั้งแต่ขั้น

การเตรียม Seed, Upstream process ไปจนถึง Downstream process โดยพิจารณาว่า ในแต่ละ

กระบวนการต้องใช้บุคลากรด้านใดบ้าง และในปัจจุบันมีบุคลากรเพียงพอหรือไม่ หากยังต้องการบุคลากรเพิ่ม

หรือควรพัฒนาให้มีสมรรถนะสูงขึ้น จะต้องมีการสร้างหรือต่อยอดในด้านใด เป็นต้น

ผู้เข้าประชุมได้วิเคราะห์และร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาขาวิชาที่ต้องพัฒนาสำหรับ

บุคลากรด้านการผลิตทั้งในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน และความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของ

หน่วยงานเครือข่าย นอกจากนี้ยังได้มีการทบทวนว่ามีการพัฒนาในส่วนใดที่ยังขาดอยู่หรือไม่ ผลจากการ

วิเคราะห์ดังกล่าว ที่ประชุมมีความเห็นพ้องต่อสาขาวิชาที่ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแล้ว แต่สาขาวิชาหรือ

ทักษะ(skills) บางประเภทอาจจัดอยู่ในหลักสูตรเดียวกัน เช่น Formulation, Lyophilization

Technology, Adjuvant & Delivery System, Cryobiology และ GMP จะรวมอยู่ใน Pharmaceutical

Science เป็นต้น

Page 82: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 77

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

• การพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตควรครอบคลุมถึงชีวภัณฑ์อื่นๆ ด้วย เพื่อรองรับงาน

ด้าน Biological product ที่มีความเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีใหม่

ดังนั้นควรมีการสร้างบุคลากรในระดับ Ph.D ในอัตราส่วนที่มากขึ้น ความคิดเห็นนี้แตกต่างจากคำแนะนำจาก

การประชุมที่ผ่านมาที่เน้นว่า บุคลากรสายการผลิตควรพัฒนาแค่ระดับ Master ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

• รูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนสามารถทำได้หลายแบบ การพัฒนาต่อยอด

โดยการส่งไปศึกษาต่อระยะยาวเป็นเพียงส่วนหนึ่ง

• หลักสูตรที่มีความต้องการพัฒนาบางหลักสูตรไม่มีในประเทศไทย แต่มีเปิดสอน

ในต่างประเทศ หรือสามารถพัฒนาได้โดยการส่งไปอบรม หรือ Training เช่น GLP, และ GCP เป็นต้น

• แนวทางความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง ขณะนี้

ยังไม่สามารถระบุได้ว่ามหาวิทยาลัยใดจะรับผิดชอบได้โดยลำพัง ซึ่งอาจจะต้องมีเวทีในการพูดคุยต่อไป

• ควรจัดให้มีเวทีที่พูดคุยกันเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการผลิต โดยเชิญ

มหาวิทยาลัยและหน่วยผลิตร่วมพูดคุยหารือกัน ซึ่งจะทำให้เห็นปัญหาและจะทำให้ได้แนวทางอย่างชัดเจน

• บุคลากรด้านการผลิตเป็น Multidiscipline จึงควรเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างภาควิชา

ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์

โดยสรุป เมื่อวิเคราะห์ตามกระบวนการผลิต จะเห็นได้ว่าควรต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อ

รองรับงานด้านการผลิตวัคซีนและชีวภัณฑ์ ในระยะ 10 ปี เรียงลำดับสาขาตามความสำคัญ และจำนวนคนต่อปี

ที่ต้องการในแต่ละระดับการศึกษา ดังตารางข้างล่างนี้

Page 83: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255478

ลำดับ

ในเบื้องต้น ผู้เข้าประชุมได้อภิปราย และให้ข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการพิจารณาความต้องการและ

แนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านการประกันและควบคุมคุณภาพ ดังนี้

1. การประกันและควบคุมคุณภาพวัคซีนต้องดำเนินการในทุกขั้นตอนตลอดวงจรวัคซีน ตั้งแต่

การวิจัยพัฒนาจนถึงการขึ้นทะเบียนเพื่อจำหน่าย และการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้วัคซีน

ดังแสดงปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนและคุณภาพของวัคซีน ในรูปที่ 1 และการควบคุมคุณภาพวัคซีนในแต่

ขั้นตอนของกระบวนการผลิตวัคซีน ดังรูปที่ 2

Page 84: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 79

รูปที่1 Vaccine Life Cycle

รูปที่2กระบวนการผลิตวัคซีน

Page 85: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255480

2. งานประกันและควบคุมคุณภาพจะมุ้งเน้นไปที่โรงงานและกระบวนการในการผลิตวัคซีน

ดังนั้นควรแยกหน่วยประกันและควบคุมคุณภาพออกมาจากหน่วยผลิต มิฉะนั้นจะเกิด Conflict of interest

ได้ และในหน่วยวิจัยพัฒนาวัคซีนเองก็ควรต้องมีระบบการประกัน และควบคุมคุณภาพในหน่วยวิจัยเองด้วย

จากการอภิปรายได้เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยต่างๆ แสดงความคิดเห็น และความ มีส่วนร่วม

ของสถาบันการศึกษากับงานด้านวัคซีน ซึ่งได้มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยบางแห่งได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

3. หลักสูตรเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนหลักสูตร GMP และ Aseptic &

Sterile technique ในเรื่องการผลิตยา ไม่ได้มีการสอนเฉพาะเจาะจงในเรื่องวัคซีน ส่วนงานวิจัย (ปริญญาโท

และ ปริญญาเอก) ไม่มีการสอนด้าน GMP ของวัคซีน เนื่องจาก นักศึกษาได้มีประสบการณ์ Training ที่

โรงงานยาแล้วในช่วงการฝึกงาน (ปริญญาตรี) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ได้มีการสอนถึงเรื่อง Validation และ

การ monitor แล้ว แต่เป็นการสอนหลักการโดยทั่วไปที่ใช้กับ การผลิตยา ไม่ได้เน้นเรื่องของการผลิตวัคซีน

4. ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการประเมินการขนส่งวัคซีน

ในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีการประเมินและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เช่น ด้านการ ขนส่ง วัคซีน

OPV ใน frozen form หรือกรณีที่มีวัคซีนแตกเสียหายในระหว่างการขนส่ง หรือการส่งวัคซีนล่าช้า ทำให้

ไม่สามารถรักษาลูกโซ่ความเย็นได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของงานวิจัยเรื่องนี้ นอกจากจะใช้เพื่อการปรับปรุงงาน

ด้านการขนส่งวัคซีนและการรักษาระบบลูกโซ่ความเย็น ยังจะสามารถใช้ ผลการประเมินนี้เป็นส่วนเสริม

ความเข้มแข็งของงาน Post marketing surveillance ได้ นอกจากนี้ ยังได้ทำการศึกษา Logistic model

เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการเตรียมงานการขนส่งวัคซีนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ หากเกิดการระบาด

ใหญ่ขึ้น ว่าจะสามารถเตรียมตัวและรับมืออย่างไร

5. ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำวิจัยร่วมกับสำนักงานป้องกัน

ควบคุมโรคที่ 1-12 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ AEFI ได้แก่ สำนักระบาดวิทยา และ สำนักโรคติดต่อทั่วไป

กรมควบคุมโรค เพื่อสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลให้ตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุม

คุณภาพของวัคซีน โดยการเก็บรักษาวัคซีนอย่างถูกต้อง และการติดตามอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง และ

การเก็บรักษาที่ถูกต้อง

6. กรมควบคุมโรคได้จัดการอบรมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในเรื่องการขนส่งหรือเก็บรักษาวัคซีน

อย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากต่อคุณภาพของวัคซีน จึงควรขยายการอบรมให้กับกลุ่มเจ้าหน้าที่

สถานีอนามัยด้วย อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ได้มีระบบ VMI จึงทำให้การเก็บรักษาวัคซีน ดีขึ้นมาก

7. การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน

(AEFI) ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ไม่มีการเชื่อม Network ระหว่างหน่วยงานประเภทเดียวกันที่มีความเกี่ยวข้อง

กัน หรือไม่มีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญด้านการรายงานอาการ

ไม่พึงประสงค์หลังการใช้วัคซีน จึงยังคงมีปัญหาว่าปัจจุบันมีการรายงานข้อมูลน้อย ไม่กล้ารายงาน เนื่องจาก

เจ้าหน้าที่กลัวจะเป็นความผิด ดังนั้น เมื่อมี case เกิดขึ้น จึงไม่มีการส่งรายงานให้ทราบ

8. ในส่วนของการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน (AEFI) พบว่าหากเด็กที่ได้

รับวัคซีนมีอาการผิดปกติ เช่น ตัวเขียว เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยไม่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม หรือการ

ติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนร่วม lot เดียวกัน ฯลฯ ดังนั้น จึงควรอบรมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ และสามารถดำเนินการ

แก้ปัญหาในระดับหนึ่งได้ด้วย ด้วยข้อมูลข้างต้น หากสามารถจัดสร้างความร่วมมือระหว่างภาคมหาวิทยาลัย

Page 86: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 81

ลำดับ

ภาครัฐที่รับผิดชอบด้านการใช้วัคซีน และผู้ผลิต ที่จะร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในการใช้วัคซีนได้

อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังสามารถใช้เป็นฐานความรู้ให้กับนักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนอีกด้วย

9. มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทำความตกลงร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมในการผลิตวัคซีนไข้หวัด

ใหญ่ 2009 โดยการให้เช่าใช้สถานที่เพื่อใช้ในการวิจัยพัฒนา ซึ่งในด้านหนึ่งที่นับเป็นข้อดี คือ มหาวิทยาลัยได้มี

โอกาสในการเรียนรู้เรื่องกระบวนการผลิต สถานที่ผลิตที่ถือเป็นภาคปฏิบัติการจริง และมีโอกาสในการรับฟัง

หรือได้รับความรู้เพิ่มเติม กรณีที่มีผู้เชี่ยวชาญมาสอนร่วมกับทางองค์การเภสัชกรรม ซึ่งถือว่าเป็นการรับ know

how จากความร่วมมือดังกล่าว

ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็น และสรุปผลเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาบุคลากร

ด้าน QA/QC ดังนี้

1. เพื่อให้การวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนภายในประเทศประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่

กำหนดในโครงการหลักจำนวน 10 โครงการภายใต้วาระแห่งชาติด้านวัคซีน จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม

ศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานตามความสำคัญเร่งด่วน ดังนี้

• เภสัชศาสตรบัณฑิต

• เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต

• วิทยาศาสตรบัณฑิต Bioengineering

• วิทยาศาสตรบัณฑิต Microbiology

• วิทยาศาสตรบัณฑิต Biotechnology

• วิทยาศาสตรบัณฑิต Molecular biology

• Biolaw & Biostatistics

2. หน่วยงานที่เข้าประชุมกลุ่มนี้สามารถสนับสนุนการผลิตบุคลากรในสาขาวิชา เภสัชศาสตร

บัณฑิตและเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตได้

3. หากต้องส่งคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ/ในประเทศ หรือพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน

ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัคซีนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลและ

ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประเทศควรสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนการพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มสมรรถนะบุคลากร

ดังนี้

Page 87: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255482

4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

• อาจารย์ในมหาวิทยาลัยควรสร้างศักยภาพและพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง (ศึกษา

ดูงาน, เข้าร่วมการประชุมและฝึกอบรมกับภาครัฐและเอกชน, รับฟังการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง) ด้วย

• สร้างกลยุทธ์ และวิธีการเชื่อมประสานเครือข่ายระหว่างภาครัฐ−เอกชนอย่างเป็น

รูปธรรมและสัมฤทธิ์ผล

• จัดให้มีการสอน GLP, GMP, GCP, GDP, GXP ในหลักสูตรระยะสั้น หรือถ้าเป็น

ไปได้ควรเป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท

• ภาคอุตสาหกรรมควรแจกแจงตำแหน่ง และคุณลักษณะของบุคลากร ที่ต้องการใช้

ปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านวัคซีนยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อีกทั้งมีจำนวนโรงงานผลิตในประเทศไม่มาก จึงทำให้

นักศึกษาให้ความสนใจน้อย การเปิดการเรียนการสอนจึงไม่เป็นที่ดึงดูดความสนใจของนักศึกษาได้เท่าที่ควร

ความต้องการที่แท้จริงในภาคอุตสาหกรรม เช่น ตำแหน่งงานที่มี จะเป็นการประกันความมั่นใจให้กับนักศึกษา

ที่จะเลือกเรียนในสาขาด้านวัคซีนได้มากขึ้น

• ในการฝึกงานของนักศึกษาในหลักสูตร ควรเพิ่มการฝึกงานด้านวัคซีน

• หน่วยงานหลักที่สามารถใช้เป็นแหล่งฝึกงานให้นักศึกษาเพื่อเสริมความรู้ด้านวัคซีน

ได้แก่ สำนักยา (กลุ่มชีววัตถุ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์

การแพทย์

• การสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาเลือกเรียน

• เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ train ด้านการประกันคุณภาพ

• ควรจัดให้มี Training for trainer เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจ

ที่แท้จริง ถึงความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

• จัดให้มีการงานวิจัยระหว่างกระทรวง-มหาวิทยาลัย

• ควรมี MOU (เอกชน−มหาวิทยาลัย−กระทรวง) โดย focus ตามโครงการ และ

มีสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) ทำหน้าที่เป็น National focal point

หมายเหตุ การที่งานด้านวัคซีนถูกบรรจุไว้เป็นวาระแห่งชาติ น่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่รับประกันถึง

ความสำคัญที่ภาครัฐจะให้การสนับสนุน และสามารถใช้เป็นแรงดึงดูดความสนใจของนักศึกษาได้มากขึ้น

5. ปัญหาและอุปสรรค

ผู้สอนยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจในงานด้านการผลิตวัคซีนตลอดจนการควบคุมคุณภาพ

การประกันคุณภาพในงานด้านนี้อย่างแตกฉาน

• มหาวิทยาลัย (ภาควิชาเภสัชศาสตร์) ไม่มีนโยบายที่จะเน้นการเรียนการสอน

ในงานด้านวัคซีน เท่ากับด้านยา ซึ่งหลักสูตรที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันจะเป็นแนวกว้าง เน้นงานเภสัชศาสตร์

มากกว่า ในภาคอุตสาหกรรม หลักสูตรจะสนองต่อโรงงานยาเป็นด้านหลัก

• ไม่มี incentive ให้นักศึกษาเลือกเรียน

■ ตลาดแรงงาน ขาดความชัดเจน

■ ความก้าวหน้าในงานอาชีพ

■ ทุนการศึกษา หากต้องการพัฒนาศักยภาพต่อในสาขานี้ควรสนับสนุนทุนด้วย

Page 88: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 83

• Trend ที่นักศึกษาส่วนใหญ่สนใจ ได้แก่ clinic (โรงพยาบาล, ร้านยา) เพราะมีตลาด

แรงงานรองรับที่ใหญ่ และมีรูปธรรมชัดเจน

• นักศึกษาที่จบใหม่ มักจะยังทำงานไม่ได้เต็มที่ หน่วยงานต้องสอนงาน และการปฏิบัติงาน

เองในพื้นที่ (on the job training)

Page 89: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255484

ที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง สามารถสรุปได้ดังนี้

1. จากชื่อกลุ่มซึ่งเป็นการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีน ที่ประชุมเห็นว่าต้องจัดหา

บุคลากรที่จะมาดำเนินการในทุกส่วนของการพัฒนาวัคซีน เริ่มตั้งแต่

− การศึกษาระบาดวิทยาของโรค ความสำคัญของโรค พันธุกรรมของเชื้อการคัดเลือก

สายพันธุ์ การสร้างตัววัคซีน

− การสร้างวัคซีนต้นแบบ (ไม่ว่าจะเป็นเชื้อดั้งเดิม หรือการทำ Genetic engineering)

− การเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ การทดสอบคุณสมบัติว่าผลิตแอนติเจนตรงตามที่ต้องการ

หรือไม่

− การผลิตสัตว์ทดลองและไข่ไก่ระดับ Specific pathogen free (SPF) ที่ได้มาตรฐาน

− การทดสอบในสัตว์ทดลอง (Immunogenicity) ตามเกณฑ์มาตรฐาน GLP

− การทดสอบในคน ต้องผลิตวัคซีนจาก Pilot plant ที่ได้มาตรฐาน GMP

− ได้ Trial product ส่งต่อให้ผู้วิจัยในคนตามมาตรฐาน GCP

2. สพ.ญ.วันทนีย์ รัตนศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ประเทศควรมีการสร้างบุคลากรด้านสัตวแพทย์การ

ทดลอง (Laboratory animal specialist) คือให้สัตวแพทย์ที่จบการศึกษาแล้วมาอบรมเฉพาะด้าน ซึ่งคณะสัตว

แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถจัดโปรแกรมนี้ได้ด้วยความร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีก 6 แห่ง หรืออาจจะส่งไปอบรมต่างประเทศเป็นคอร์สระยะสั้น 3−6 เดือน ทั้งนี้ต้อง

ประสานสำนักงาน กพ. ในเรื่องคุณวุฒิการศึกษาว่าจะสามารถเทียบเท่าปริญญาเอกได้หรือไม่

3. ที่ประชุมให้ความเห็นว่าประเด็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ คือ 1) การมี Animal Biosafety

Laboratory Facility ระดับ 2 (ABSL 2) และระดับ 3 (ABSL3) สำหรับการทดสอบ Safety, Efficacy potency

ของวัคซีนในสัตว์ทดลอง โดยควรกำหนดเป็นนโยบายของประเทศว่าจะให้สร้างที่ไหน และจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งควร

มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของนักวิจัยที่ทำการพัฒนาวัคซีน คณะสัตวแพทยศาสตร์ทั้ง 6 แห่งมีศักยภาพ

ที่จะรองรับภารกิจดังกล่าวได้ และ 2) การจัดตั้ง Board of pathologist ในปัจจุบัน Veterinary pathologist

ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีความร่วมมือด้านนี้กับองค์การเภสัชกรรม

4. ที่ประชุมเห็นว่าสาขาวิชาที่มีความต้องการเพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีน

ได้แก่ Veterinary pathology, Veterinary toxicology, Immunology, Virology, Vaccine design,

Epidemiology เป็นต้น

5. ปัจจุบันภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลิตนักศึกษา

ระดับปริญญาโท 15 คน/ปี และปริญญาเอก 5 คน/ปี นอกจากนี้ภาควิชายังได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทำการศึกษา Cost effectiveness ของ Influenza vaccine และร่วมกับ

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ทำการศึกษา Cost effectiveness ของ Dengue

vaccine และ PCV (Pneumococcal conjugate vaccine) อีกด้วย

6. ดร.เดือนถนอม พรหมขัติแก้ว ขอให้เพิ่มเติมสาขาวิชาที่มีความต้องการ ได้แก่ Bioprocess

engineer ทั้ง Upstream และ Downstream, Vaccine formulation และ Vaccine delivery system

Page 90: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 85

จากการระดมสมองดังกล่าว นำไปสู่การตอบคำถามจากประเด็นคำถามต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. เพื่อให้การวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนภายในประเทศประสบความสำเร็จตาม

เป้าหมาย ที่กำหนดในโครงการหลักจำนวน 10 โครงการภายใต้วาระแห่งชาติด้านวัคซีน จำเป็นต้องมีการ

เตรียมความพร้อมศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว ท่านคิดว่าประเทศไทย ควรให้

ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในสาขาอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร (อาจใช้ความคิดเห็น Expert view และ

Stakeholder view ประกอบการพิจารณาด้วย) และกรุณาเรียงลำดับตามความสำคัญเร่งด่วน ดังตาราง

ข้างล่างนี้

Page 91: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255486

” ” ” ” ” ”

2. หากต้องพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญดังกล่าว หน่วยงานของท่าน

สามารถสนับสนุนการผลิตบุคลากรในแต่ละสาขาวิชาได้หรือไม่ จำนวนบุคลากรที่สามารถผลิตหรือพัฒนาได้

กี่คนต่อปี ขอความกรุณากรอกข้อมูลดังตารางข้างล่างนี้

application

Veterinary Toxicology

Veterinary Pathology

Animal

Page 92: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 87

3. ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตหรือพัฒนาบุคลากรได้เองภายในประเทศไทย เนื่องจาก ยังไม่มี

หลักสูตร หรือ Facility ของมหาวิทยาลัยรองรับ ท่านคิดว่าสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้มีการเรียนการสอนขึ้นภายในประเทศได้ โปรดกรุณาจัดเรียงลำดับสาขาวิชาที่มีความเป็น

ไปได้ตามความยากง่าย ดังตารางข้างล่างนี้

4. หากต้องส่งคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจะเป็น

ประโยชน์ต่อประเทศไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัคซีนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลและใช้เทคโนโลยี

ที่ทันสมัย ท่านคิดว่าประเทศควรสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนการพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มสมรรถนะ

บุคลากรในด้านใดบ้าง หากทราบสถานที่ศึกษา กรุณาระบุด้วย ดังตารางข้างล่างนี้

5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรจัดให้มีเวทีผู้ผลิตพบผู้วิจัยหรือมหาวิทยาลัยพบภาคธุรกิจ

โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นแกนกลางในการประสานการจัดประชุม

Page 93: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255488

ในปัจจุบัน มุมมองของนักวิจัย และผู้ผลิต เป็นการมองคนละมุม จึงควรจัดให้มีเวทีเพื่อหารือ

และ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์กัน เพื่อให้มองภาพเดียวกันในขั้นแรก จึงจะสามารถ

ดำเนินงานที่ส่งเสริม สนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ผู้เข้าประชุมได้วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นกันอย่าง

กว้างขวาง ซึ่งสามารถสรุปความต้องการและแนวทางพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนได้ ดังนี้

ฝ่ายผลิต

1. ต้องการบุคลากรสนับสนุนการผลิตและการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ เช่น วิจัยร่วมกัน

เพื่อแก้ไขปัญหาของกระบวนการ โดยมีโจทย์วิจัยและการกำหนดกรอบเวลาอย่างชัดเจน

2. ต้องการ Project manager เพื่อ Monitor โครงการตลอดกระบวนการผลิตจนได้

ผลิตภัณฑ์วัคซีน

3. สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคการศึกษาให้ชัดเจน โดยอาจจะมีการทำ

โครงการร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของภาคการผลิต

โดยมีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินงาน

4. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเป็นการจบภาคทฤษฎี ไม่มี on the job training

มหาวิทยาลัยจึงควรร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เพื่อให้นักศึกษา

มีประสบการณ์ในการฝึกงานด้านการผลิต

Page 94: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554 89

5. ฝ่ายผลิตต้องการบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว เสนอให้มีการ training ต่อยอด

จากการศึกษาพื้นฐานระดับปริญญาตรี

ฝ่ายการศึกษา

1. การผลิตบุคลากรสำหรับภาคการผลิตและพัฒนางานด้านวัคซีน มีปัญหา คือ ขาดนักศึกษา

ที่สนใจ เหตุผลอาจเนื่องมาจากไม่มีงานรองรับชัดเจน และเส้นทางความก้าวหน้าในการทำงาน (Career path)

รวมทั้งค่าตอบแทนไม่จูงใจบุคลากร

2. ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านการกำกับดูแลการผลิตวัคซีน

(Regulatory body)

3. ต้องมีการฝึกปฏิบัติงานจริง (Training course) เพื่อให้มีทักษะในการผลิตในระดับ

อุตสาหกรรม โดยต้องได้รับความร่วมมือจากฝ่ายผลิตทั้งภาครัฐและเอกชน

ด้านหลักสูตร

ต้องการให้พัฒนาหลักสูตรด้านวัคซีนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนางานวัคซีนของชาติ ทั้งนี้

ต้องมีเส้นทาง เป้าหมาย ตลอดจนตำแหน่งการทำงานที่ชัดเจน โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ

และเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนาหลักสูตรกลางที่ตอบสนองต่อการพัฒนางานด้านวัคซีน

ด้านบุคลากร

1. ขาดผู้มีความรู้ และประสบการณ์ในสาขาต่างๆ เช่น Pharmaceutical science, Industrial

production, Pharmaceutical engineering, Bioprocess engineering เป็นต้น

2. ต้องมี Postgraduate training หลายระดับ เพื่อต่อยอดจากการศึกษาพื้นฐาน

3. ขาดการฝึกอบรม (Training) และไม่มี trainer

4. ควรมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากในและต่างประเทศมาให้ความรู้ในประเทศ สำหรับการเตรียม

บุคลากรในเบื้องต้น

5. อัตรากำลังบุคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศยังมี

จำกัด (ประมาณการจากนักวิจัยที่ขอทุนวิจัย) ควรต้องมีการสร้างบุคลากรของประเทศ ให้มีศักยภาพในการ

พัฒนางานวิจัยเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1. สถาบันวัคซีนแห่งชาติควรมีข้อมูลการคาดการณ์ความต้องการอัตรากำลังคน ในภาค

การผลิต ในฝ่ายต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลความเป็นจริงและแผนในการผลิตวัคซีน ตลอดจนเป้าหมายการผลิต

ของประเทศ

2. ให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงการผลิตบุคลากรโดยเป็น

ตัวกลางในการประสานงานทั้งมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน เพื่อการจัดการเรื่องหลักสูตร

Page 95: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 255490

3. ใช้การดำเนินการในการสร้างคนสำหรับเป็น Training for the trainer โดยใช้

เงินงบประมาณจากโครงการวาระแห่งชาติด้านวัคซีนที่มีอยู่ วิธีการนี้ได้ประโยชน์แก่ประเทศมากกว่า

การส่งคนไปต่างประเทศ

4. ควรจัดกลุ่มการพัฒนาวัคซีนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิจัยและพัฒนา (R&D) วัคซีน

ชนิดใหม่ เช่น วัคซีนไข้เลือดออก วัคซีนวัณโรคตัวใหม่ ซึ่งสร้างบุคลากรระดับปริญญาเอกโดยอาศัยกลไก

ของ คปก. และกลุ่มวัคซีนที่ต้องทำการผลิตและพัฒนาจากเทคโนโลยีเดิม (C&D)

5. Share resources สำหรับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ รวมทั้งโครงสร้าง

(Infrastructure) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6. ต้องปรับหลักสูตรเพื่อสร้างบุคลากรที่ตอบสนองต่อการผลิตและพัฒนางานวิจัย

ด้านวัคซีนของประเทศ

7. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ควรคิด Project ที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับการผลิตวัคซีน

แต่สามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้ เช่น การผลิตยาต้านมะเร็ง (Monoclonal antibody) ทั้งนี้

ยังเป็นการเตรียมบุคลากรควบคู่กับการพัฒนาด้านวัคซีน

Page 96: รายงานการสำรวจความต้องการพัฒนาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2554

Recommended