Transcript
Page 1: Creating Your Lean Future State THAI Version - 7

การปรับเรียบการผลิต หรือ

เฮจุงกะ และผู้ควบคุมวัสดุ129

บทที่ 5 การปรับเรียบการผลิต หรือ เฮจุงกะ และผู้ควบคุมวัสดุ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

quar

e PUBLIS

HING

Page 2: Creating Your Lean Future State THAI Version - 7

130 สร้างสถานะอนาคตแบบลีน ด้วยการจัดการสายธารคุณค่า

Creating Your Lean Future State

บทที่ 5 การปรับเรียบการผลิต หรือ เฮจุงกะ และผู้ควบคุมวัสดุ

การปรับเรียบ (Leveling) คือหัวใจและจิตวิญญาณของระบบการผลิต

แบบลีน เหตุผลสำคัญในการกำหนดจังหวะของการผลิตให้คงที่คือเพื่อให้คุณ

สามารถผลิตสิ่งที่ต้องการ เมื่อต้องการ ในปริมาณที่ต้องการได้ เพราะหากทำ

สิ่งนี้ได้สำเร็จ คุณก็จะมีกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ที่ตามธรรมชาติแล้ว จะแจ้ง

ให้คุณทราบถึงปัญหาภายในการไหลและทำให้คุณสามารถดำเนินการแก้ไขได้

อย่างทันท่วงที ยิ่งกว่านั้น การปรับเรียบยังสร้างรากฐานซึ่งทำให้กิจกรรมไคเซ็น

ทุกกิจกรรมสามารถบรรลุผลสำเร็จได้อีกด้วย ดังนั้น การปรับเรียบภาระงาน

(Load Leveling) หรือเฮจุงกะ (Heijunka) จึงมีศักยภาพในการตอบโต้ความ

แปรผันของการวางแผนและการกำหนดตารางการผลิตทั้งหลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

และเฮจุงกะของ SLMS ก็คือตัวอย่างง่ายๆ ของระบบนี้

เฮจุงกะ (ในภาษาญี่ปุ่น คำนี้หมายถึงการปรับเรียบและการจัดสมดุล

ภาระงาน) เป็นสุดยอดเคล็ดลับจากเครื่องมือทุกชนิดของระบบการผลิตแบบ

โตโยต้า และเป็นเครื่องมือที่เข้าใจยากที่สุดด้วย เฮจุงกะคือจุดเริ่มต้นและจุด

สุดท้ายของระบบการผลิตแบบดึง เฮจุงกะจะกำหนดอัตราการไหลในการผลิต

และจังหวะการเบิกผลิตภัณฑ์ จังหวะการผลิตและการเบิกจะเท่ากันกับจังหวะ

การขาย Toyota พัฒนาวิธีการกำหนดตารางทำกิจกรรมของโรงงานแบบนี้ขึ้นมา

เพื่อปรับปริมาณความต้องการชนิดและปริมาณรถยนต์ซึ่งไม่สม่ำเสมอให้

ราบเรียบ เพื่อที่จะทำการผลิตแบบผสมรุ่น (Mixed-model Production)

เฮจุงกะจะใช้การได้ดีก็เมื่อได้ทำ ส.2 ตัวแรก (สร้างเสถียรภาพ และ

สร้างมาตรฐาน) แล้ว ซึ่งก็หมายถึงว่าคุณจะไม่สามารถใช้ระบบเฮจุงกะได้

จนกว่าคุณจะทำขั้นอื่นๆ ในกระบวนการซึ่งได้อธิบายมาในบทก่อนหน้านี้จนแทบ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

quar

e PUBLIS

HING

Page 3: Creating Your Lean Future State THAI Version - 7

การปรับเรียบการผลิต หรือ

เฮจุงกะ และผู้ควบคุมวัสดุ131

จะครบถ้วนทั้งหมดแล้วนั่นเอง ให้นำรายการตรวจสอบเฮจุงกะในภาพที่ 5-1 มา

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งต่างๆ นั้นมาจนพร้อมที่จะสร้างกล่องเฮจุงกะใน

สายธารคุณค่าของคุณได้แล้วหรือยัง

วิธีทำงานของกล่องเฮจุงกะ

ในการใช้กล่องเฮจุงกะ คุณจะต้องเบิกผลิตภัณฑ์จากท้ายสายการผลิต

ตามช่วงเวลาที่กำหนด (ตามค่า Takt Time หรือ ระยะ Pitch) คุณจึงควร

พิจารณาค่า Takt Time และระยะ Pitch สำหรับสายธารคุณค่าที่คุณกำลังแปลง

สภาพนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว

แผนกควบคุมการผลิตจะคำนวณหาจำนวนคัมบังเบิกที่จะใส่ไว้ในกล่อง

เฮจุงกะสำหรับแต่ละกะ แล้วก็จะนำใบสั่งนั้นมาใส่ไว้ในกล่องเฮจุงกะสำหรับ

แต่ละกะทุกวัน ตอนเริ่มแต่ละกะ ผู้ที่เอามาใส่ไว้ได้ก็จะมีพนักงานฝ่ายควบคุม

การผลิต ผู้นำทีม หัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งคุ้นเคยกับสายธารคุณค่า

นั้นๆ ในกล่องจะมีคำสั่งของลูกค้า ซึ่งเป็นคัมบังของลูกค้าจริงๆ หรือปายหรือ

เครื่องหมายแทนคำสั่งของลูกค้า และผู้ควบคุมวัสดุก็จะมาถอดใบสั่งเหล่านี้ไป

ภาพที่ 5-1 รายการตรวจสอบเฮจุงกะ

รายการตรวจสอบเฮจุงกะ

1. จัดทำคา Takt Time โดยยึดตามการเบิกของลูกคาแลวหรือยัง?

2. จัดทำระยะ Pitch สำหรับตารางเสนทางการจัดเก็บชิ้นสวนโดยยึดตามจำนวนบรรจุ

ของภาชนะแลวหรือยัง?

3. มีการจัดทำระบบที่อยูสำหรับโรงงานและที่จัดเก็บวัสดุหรือไม?

4. มีการกำหนดรหัสสีใหกับสถานีงานหรือไม?

5. มีการกำหนดเวลาใหผูควบคุมวัสดุเดินตามเสนทางมาตรฐาน โดยยึดตามระยะ Pitch

หรือไม?

6. จัดเตรียมรถเข็นสำหรับผูควบคุมวัสดุไวอยางเหมาะสมหรือไม? ทำคัมบังหรือยัง?

7. มีระบบคัมบังแบบรหัสสีและอบรมวิธีใชใหทุกคนแลวหรือยัง?

8. ถาชากวากำหนดการสงสัญญาณบอกไหม? มีกลองรอ (Wait Box) ไหม?

9. มีสินคาคงคลังกันชนและนิรภัยหรือยัง?

10. ไดจัดทำงานที่เปนมาตรฐานหรือยัง?

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

quar

e PUBLIS

HING


Recommended