33
บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง ในการใช้ภาษาไทย อาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว

บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทย

อาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว

Page 2: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

เนื้อหารายละเอียดที่จะเรียนในบทนี้

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาสื่อสาร การใช้ภาษาไม่ชัดเจนข้อบกพร่องในการใช้ภาษา

Page 3: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

บทน า

การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันซึ่งจะบรรลุจุดม่งหมายของการสื่อสารตามต้องการนั้น นอกจากคุณสมบัติเฉพาะในฐานะเป็นภาษา ตัวอักษร และการออกเสียง สิ่งที่เป็นองค์ประกอบส าคัญที่สุดก็คือ การใช้ภาษาให้ชัดเจน ถูกต้อง จึงน่าจะได้มีการศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยที่ใช้สื่อสารภายในชีวิตประจ าวัน เพื่อเป็นข้อมูลความรู้ที่ จะน าไปพัฒนาการสื่อสารภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เพื่อน าไปใช้ในการเรียน การสอนด้านการใช้ภาษาไทย ตลอดรวมถึงเป็นแนวทางในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ ให้ถูกต้องอีกด้วย

Page 4: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาสื่อสาร

การสื่อสารด้วยภาษาพูด โดยเป็นการพูดที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังโดยตรง ไม่ใช่การพูดผ่านสื่อ ผู้พูดสามารถสังเกตรับรู้ได้ว่าผู้ฟังเข้าใจหรือไม่โดยดูจากปฏิกิริยา หรือค าถามย้อนกลับ แต่ในกรณีที่เป็นการพูดผ่านสื่อ หรือการเขียนสื่อความ หากใช้ภาษาไม่ชัดเจน อาจท าให้เข้าใจผิด การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล

Page 5: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน เกิดจาก

1. ใช้ค าฟุ่มเฟือย2. ใช้ค าทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 3. ใช้ค าขัดแย้งกันในประโยค4. ใช้ภาษาหนังสือพิมพ์แทนภาษาเขียน

มาตรฐาน5. ใช้ค าผิดความหมาย6. ใช้ค าต่างระดับ ไม่คงที่7. ใช้ส านวนภาษาต่างประเทศ

8. ใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน9. ประโยคมีความหมายก ากวม10. เรียงล าดับค าในประโยคไม่ถูกต้อง11. ประโยคมีเนื้อความไม่สัมพันธ์กัน12. การเว้นวรรคตอนผิด13. ใช้ค าไม่เหมาะสมกับโอกาส

กาลเทศะและบุคคล

Page 6: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

1. ใช้ค าฟุ่มเฟือย

การใช้ค าฟุ่มเฟือยเกินความจ าเป็นทั้งที่สามารถตัดออกได้โดยไม่ท าให้เสียความ เช่น ต ารวจท าการจัดกุมคนร้าย เขาออกเดินทางเมื่อเช้าตรู่ใกล้รุ่ง

2. ใช้ค าทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ในภาษาไทยมีค าทับศัพท์จ านวนมาก เนื่องจากการรับเอาค าศัพท์ภาษาต่างประเทศเข้ามา ศัพท์บางค ามีค าที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งจ าเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารให้ตรงความหมาย เช่น ชื่อเฉพาะ ศัพท์ทางวิชาการ แต่ค าศัพท์บางค ามีค าไทยใช้หรือมีการบัญญัติค าศัพท์ในภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จ าเป็นต้องใช้ค าทับศัพท์ เช่น แสตมป์ (ดวงตราไปรณียากร) บอมพ์ (ระเบิด) กรุ๊ป (กลุ่ม) เซ็นเตอร์ ( ศูนย์กลาง)

Page 7: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

3. ใช้ค าขัดแย้งกันในประโยค

การใช้ค าขัดแย้งกันในประโยคโดยไม่ระมัดระวัง อาจท าให้การสื่อสารสับสน เช่น เขาสวมกางเกงขายาวเหนือเข่า ผู้หญิงคนนั้นเดินขวักไขว่อยู่คนเดียว

4. ใช้ภาษาหนังสือพิมพ์แทนภาษาเขียนมาตรฐาน

ภาษาหนังสือพิมพ์เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากผู้เขียนมีเจตนาให้ดึงดูดความสนใจ เช่น การพาดหัวข่าวโดยใช้ค ากริยาน าหน้าประโยค การใช้ค าที่มีความหมายรุนแรงเกินความจ าเป็น ฯลฯ จึงไม่ควรน ามาใช้ในการพูดหรือเขียนโดยทั่วไป เช่น รวบมือมีดสังหารโหด บอลไทยวืด

Page 8: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

5. ใช้ค าผิดความหมาย

การใช้ค าผิดความหมายท าให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน เช่น เขาทอดทิ้งเธอไว้ตามล าพังเพียงชั่วครู่ เสื้อผ้าของเขาดูเก่าคร่ าครึมาก

6. ใช้ค าต่างระดับ ไม่คงที่

ระดับของภาษา ได้แก่ ภาษาปาก ภาษากึ่งแบบแผน และภาษาแบบแผน และยังมีภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาตามวัฒนธรรม และภาษากวี การใช้ภาษาต่างระดับท าให้มีความแตกต่างลักลั่น เช่น ดวงพระสุริยาฉายแสงกล้ามากในตอนบ่าย มนุษย์ทุกคนต้องละสังขารในที่สุด

Page 9: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

7. ใช้ส านวนภาษาต่างประเทศ

ภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศมีรูปแบบโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน ในการแปลภาษาต่างประเทศ บางครั้งผู้แปลไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับลักษณะภาษาไทย ท าให้มีลักษณะส านวนต่างประเทศ และกลายมาเป็นรูปแบบที่จดจ าน ามาใช้ เช่น เธอเข้ามาในห้องพร้อมกับช่อดอกไม้ในมือ เขาจับรถไฟไปอย่างรีบร้อน สองสาวที่นั่งอยู่ตรงนั้นเป็นเพื่อนกัน

Page 10: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

8. ใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียนภาษาพูดหรือภาษาปาก เป็นภาษาระดับหนึ่งที่ไม่เหมาะส าหรับใช้ในการเขียน

การน าภาษาพูดมาใช้ในการเขียนอาจใช้ได้การเขียนเรื่องประเภทบันเทิงคดี เพื่อให้ดูสมจริง แต่ไม่สมควรน ามาใช้ในภาษาเขียนทั่วไป โดยเฉพาะภาษาสะแลง หรือภาษาคะนอง เช่น หนาวชะมัด เด็กคนนี้แสบจริงๆ

Page 11: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

9. ประโยคมีความหมายก ากวม

การใช้ภาษาก ากวม หมายถึงการใช้ค าหรือภาษาที่อาจมีความหมายไม่ชัดเจน หรือสื่อความได้หลายอย่าง เช่น เครื่องบินขับรถชนเขา มีคนขนข้าวของเขาไป

10. เรียงล าดับค าในประโยคไม่ถูกต้อง

การเรียงล าดับค าในประโยคไม่ถูกต้องท าให้การสื่อสารไม่ชัดเจน เช่น หนังสือบนชั้นเขาไม่เคยอ่านเลย หน้าตลาดตรงร้านขายปลาเขาได้พบเธอ

Page 12: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

11. ประโยคมีเนื้อความไม่สัมพันธ์กันประโยคที่มีเนื้อความไม่สัมพันธ์กันท าให้การสื่อสารสับสน เช่น เขาเรียนอุดมศึกษา

และไปจ่ายตลาด , ฝนตกหนัก แม่จึงคลุกข้าวให้แมว12. การเว้นวรรคตอนผิด

การเว้นวรรคตอนผิด ท าให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน เช่น เขาเป็นคนซ่ือ/ ตรงมาก อย่าอวด /อ้างมากเกินไป

Page 13: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

การใช้ภาษาไม่ชัดเจน (ต่อ)

13. ใช้ค าไม่เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคลการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคล เช่น ค าราชาศัพท์ ค า

ที่ใช้ส าหรับพระภิกษุ และบุคคลระดับต่างๆ

Page 14: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษามีประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้

การใช้ภาษาผิด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม การใช้ภาษาไม่กระจ่าง การใช้ภาษาไม่สละสลวย

Page 15: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาผิดการใช้ภาษาผิด หมายถึง การใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์หรือผิดความหมายที่

ต้องการ เราจะพิจารณากันตั้งแต่ระดับค า กลุ่มค า จนถึงประโยคดังต่อไปนี้1.การใช้ภาษาผิดความหมาย การใช้ค าต้องระวังเรื่องค าที่มีความหมายแฝง,ค าที่เสียงคล้ายคลึงกัน,ค าที่มี

ความหมายคล้ายคลึงกัน และค าไวยากรณ์ เช่น ลักษณะนาม บุพบท สันธาน ตัวอย่างเช่น

Page 16: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาผิด (ต่อ)องค์ประกอบของรังแค คือกรรมพันธุ์ ความเครียด อากาศแห้ง การขาด

สารอาหารบางชนิด“องค์ประกอบ” หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันท าให้เป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ

ประโยคต้องใช้ค าว่า “ปัจจัย” หรือ “สาเหตุ” เพราะสิ่งที่ตามหลังค ากริยา “คือ” นั้น เป็นปัจจัยที่ท าให้เกิดรังแค มิใช่องค์ประกอบของรังแค

Page 17: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

2. การใช้กลุ่มค าและส านวนผิด ตัวอย่างเช่นผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นว่าทางไปสู่ความส าเร็จไม่ได้ปูลาดด้วยกุหลาบส านวนคือ “ทางที่ปูลาดด้วยกลีบกุหลาบ” เป็นการใช้ภาษาในเชิงเปรียบเทียบ เปรียบทางที่

ราบรื่นสะดวกสบายว่าเหมือนทางที่ปูหรือลาดด้วยกลีบกุหลาบ ความหมายเน้นที่กลีบกุหลาบ ไม่ใช่ดอกกุหลาบเป็นดอกๆ

Page 18: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

3. การเรียงค าหรือกลุ่มค าผิดล าดับ การเรียงค าผิดล าดับ คือ เรียงค าในล าดับที่ท าให้ความหมายไม่ตรงกับที่ต้องการหรือ

เรียงค าในลักษณะที่ไม่ใช้ภาษาการเรียงกลุ่มค าผิดล าดับ มักจะเกิดจากการวางกลุ่มค าขยายไว้ห่าง จากค าที่ต้องการ

ขยายมากเกินไป ตัวอย่างเช่น- ฉันขยับขึ้นลุกนั่ง ในประโยคนี้ "ขึ้น" เป็นส่วนของหน่วยกริยาที่ต้องวางไว้หลัง

ค ากริยา "ลุก" ดังนี้ "ฉันขยับลุกขึ้นนั่ง"

Page 19: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

4. การใช้ประโยคไม่สมบูรณ์หมายถึง รวมประโยคที่ขาดส่วนส าคัญของประโยค และประโยคที่มีส่วนเกินเข้ามา

ท าให้ซ้ าซ้อนหรือโครงสร้างของประโยคผิดไป ตัวอย่างเช่น - ฉันรู้สึกเป็นสุขราวกับขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น เมื่อเขาคนนั้นยื่นดอกกุหลาบสีแดงที่

ก าลังแย้มกลีบบานออกมารับแสงอาทิตย์ในยามเช้า พร้อมกับบอกว่า "สวัสดีปีใหม"่ข้อความที่ขาดค าว่า "ให้" ซึ่งเป็นส่วนของหน่วยกริยา "ยื่น.....ให้" ถ้าไม่มีค าว่า "ให้"

ความหมายของประโยคจะต่างไป ในที่นี้เติมค าว่า "ให้" หลังจากค าว่า "ยามเช้า"

Page 20: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่เหมาะสม1. การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน ตัวอย่างเช่น

- บ้านของฉันดันมาตั้งอยู่ตรงหัวโค้งถนนพอดี (จ าเพาะ)2. การใช้ค าต่างประเทศในภาษาเขียน ตัวอย่างเช่น

- เขาเป็นคนตรงไปตรงมา ค่อนข้างแอนตีส้ังคม (ต่อต้าน)3. การใช้ค าไม่เหมาะสมกับความรู้สึก ตัวอย่างเช่น

- คุณลุงเจ็บกระเสาะกระแสะมาปีกว่าแล้ว เมื่อสองสามวันก่อน ท่านต้องเข้าโรงพยาบาลอีก เราคาดหวังกันว่า เจ็บคราวนี้ท่านคงอยู่ได้ไม่นาน

ถ้าใครพูดเช่นนี้ก็หมายความว่าก าลังแช่งคุณลุงให้ตายเสียที ถ้าไม่ใช่ก็เปลี่ยนใช้ค าอื่น เช่น คาดคะเน คาดว่า คาดคิด เป็นต้น

Page 21: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่เหมาะสม (ต่อ)4. การใช้ค าไม่เหมาะสมกับเนื้อความ ตัวอย่างเช่น

- เพียงแต่เราจะสละเวลาเพียงเล็กน้อยเดินไปที่หน่วยเลือกตั้งในที่นี้ใช้ค ากริยา "เดิน" เจาะจงเกินไป โดยแท้จริงแล้ว การไปที่หน่วยเลือกตั้ง จะไปโดยวิธีใดก็ได้ ดังนั้นจึงควรตัดค าว่า "เดิน" ออกไป

5. การใช้ค าต่างระดับ ตัวอย่างเช่น- ในเมืองนี้ยังมีสถานที่ให้เที่ยวชมหลายแห่งล้วนแต่น่าทัศนาและน่าศึกษา

ควรเลือกค าที่อยู่ในระดับเดียวกันมาใช้ คือ เปลี่ยนค าว่า "ทัศนา" เป็น "น่าดู"

Page 22: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่เหมาะสม (ต่อ)6. การใช้ค าไม่เหมาะกับโวหาร ตัวอย่างเช่น

- เขาเดินผ่านเข้าไปในซุ้มไม้ที่เขียวชอุ่มเป็นพุ่มงาม บังแสงอาทิตย์เสียสิ้นซุ้มไม้ที่เป็นพุ่มคงไม่สูงเสียดยอดและแน่นขนัดถึงขนาดบังแสงอาทิตย์จนมองไม่เห็น

Page 23: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่กระจ่าง1.การใช้ค าไม่ชัดเจน

ระวังการใช้ค าที่มีความหมายไม่แน่นอน เช่นค าที่มีความหมายแสดงความรู้สึกต่างๆ หรือประเมินค าว่า ดี เลว เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

- ตัวผู้ปกครองเองไม่เข้าใจในระบอบนี้ หรือเข้าใจ แต่หวงอ านาจ ประเทศของเราจึงมิได้ประสบผลส าเร็จเท่าที่ควร แต่ละคนมีเกณฑ์การวัดความควรและไม่ควรแตกต่างกันไป จึงควรแก้ไขให้ชัดเจนว่า “มิได้ประสบผลส าเร็จตามเป้าหมาย” ระวังการใช้ค าที่มีความหมายกว้าง หรือการใช้ค าที่ไม่ระบุความหมายให้ชัดเจน ลองเปรียบเทียบประโยคต่อไปนี้

Page 24: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่กระจ่าง (ต่อ)1. การใช้ค าไม่ชัดเจน (ต่อ)

- เขาถูกไล่ออกเพราะไม่ซื่อสัตย์- เขาถูกไล่ออกเพราะยักยอกเงินของบริษัทไป 3 หมื่นบาท

ประโยคที่สองมีเนื้อความชัดเจนกว่าประโยคแรก

2. การแสดงความคิดไม่สอดคล้องกัน ตัวอย่างเช่น - ปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนคิดว่าแก้ยาก แต่ถ้าจะแก้ก็ง่ายนิดเดียว

ในประโยคแรกกล่าวว่า ปัญหานั้นแก้ยาก แต่ประโยคหลังกลับบอกว่าแก้ง่าย จึงไม่รู้ว่าปัญหานั้นแก้ยากหรือแก้ง่าย ควรเปลี่ยนให้ชัดเจนว่า "ปัญหาดังกล่าวดูเหมือนจะแก้ยาก แต่ถ้าจะแก้ก็ง่ายนิดเดียว

Page 25: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่สละสลวย1. การใช้ค าฟุ่มเฟือย

ประโยคต่อไปนี้มีค าหรือกลุ่มค าที่ให้ความหมายอย่างเดียวกันซ้ าซ้อนกันอยู่ วิธีแก้ไขคือตัดค าใดค าหนึ่งออก

- แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ในรายงานชิ้นนี้อย่างแน่ชัด แต่ผู้จัดท าขอรับผิดชอบ ความผิดพลาด ความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ ในหลายๆ ด้านแต่เพียงผู้เดียวประโยคต่อไปนี้ใช้ค าหรือกลุ่มค าที่บริบทบอกความหมายอยู่แล้ว และยังซ้อนค าหรือกลุ่มค าอื่นๆ เข้ามาท าให้ประโยคเยิ่นเย้อ

Page 26: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่สละสลวย (ต่อ)1. การใช้ค าฟุ่มเฟือย (ต่อ)

- บ้านเรือนของผู้คนมีอยู่เป็นระยะๆ บ้านเรือน หมายถึง ที่อยู่ของมนุษย์ ไม่จ าเป็นต้องเพิ่มส่วนขยายว่า

"ของผู้คน“ เข้ามาอีกประโยคต่อไปนี้ใช้ค าหรือกลุ่มค าเกินความจ าเป็น โดยเฉพาะส านวน

"ท าการ" "มีการ" "ในการ" - ในศาลเจ้ามีกระถางธูป ที่จุดเทียนท าการสักการะพระพุทธรูป

Page 27: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่สละสลวย (ต่อ)2. การใช้ค าไม่คงที่ ตัวอย่างเช่น

- แผ่นดินไทยเป็นของคนไทยทุกคน ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษาพสุธาดลนี้ไว้ เราก็ไม่มีธรณีจะอยู่อีกต่อไป

ไม่ควรใช้ค าในภาษาร้อยกรองมาใช้ในภาษาบรรยาย ลักษณะเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการหลากค าให้ฟังไพเราะขึ้น หากท าให้ประโยคไม่สละสลวยฟังแปร่งหู

Page 28: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่สละสลวย (ต่อ)3. การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น

- เรามักจะให้ความหมายแก่ภาษาอันรวมหมายถึงภาษาพูดและภาษาเขียนว่าเป็นสิ่งสื่อสารอย่างหนึ่ง

- แทนที่ประชาชนที่อ่าน จะได้ประโยชน์กลับถูกยื่นยาพิษให้โดยไม่รู้ตัวทั้งสองประโยคสามารถสื่อความหมายได้ แต่ถ้าเปลี่ยนค าว่า "สิ่ง" เป็น "เครื่องมือ" และ "ประชนที่อ่าน" เป็น "ผู้อ่าน" ประโยคก็จะสละสลวยขึ้น

Page 29: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่สละสลวย (ต่อ)4.การล าดับค าไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น

- ผู้อ่านเองก็สามารถจะสัมผัสถึงความละเอียดละมุนละไมของภาษาที่ผู้เขียนใช้ได้

"ได"้ ขยายกริยา "สัมผัส" จึงควรย้าย "ได"้ ไปไว้หลังค ากริยา "สัมผัส" เป็น "สัมผัสได้ถึง"

Page 30: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา (ต่อ)

การใช้ภาษาไม่สละสลวย (ต่อ)5.การใช้ประโยคที่มีลักษณะไม่เป็นภาษาไทย

ข้อนี้ส าคัญมาก จะแยกได้ว่าประโยคใดไม่มีลักษณะเป็นภาษาไทย ตัวอย่างเช่น

- ฉันพบตัวเองอยู่ในบ้านคนเดียวจะเห็นได้ว่า ประโยคตัวอย่างข้างต้นเยิ่นเย้อ ประโยคเหล่านี้ได้รับอิทธิพล

จากส านวนหรือรูปประโยคของภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เราสามารถเขียนประโยคใหม่ ให้มีลักษณะเป็นภาษาไทย ดังนี้

- ฉันอยู่ในบ้านคนเดียวพึงตระหนักว่าการใช้ภาษาไทยนั้น “ตัดออกสักค าก็ขาด เพิ่มเข้าสักค าก็เกิน

ใช้ค าน้อย แต่ได้ความมาก”

Page 31: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

บทสรุป

1. บกพร่องด้านการใช้ค า ด้านการใช้ค าบกพร่องในลักษณะต่างๆ คือ ใช้ค าไม่กระชับ ใช้ค าผิด ฉีกค า ใช้ค าลักลั่น สะกดค าผิด ใช้ค าภาษาปากหรือค าไม่สุภาพ และพิมพ์ผิดพิมพ์ตก 2. เนื้อความไม่ชัดเจน มีความบกพร่อง 2 ลักษณะ คือ ขาดรายละเอียดที่จ าเป็น และข้อความไม่ชัดเจนด้วยการใหเ้นื้อ ความหรือใช้ข้อความที่ขาดความชัดเจน3. เว้นวรรคไม่ถูกต้อง ลักษณะความบกพร่องด้านการเว้นวรรค ได้แก่ ไม่เว้นวรรคในจุดที่ต้องเว้นวรรค และเว้นวรรคในจุดที่ควรเขียนติดกัน

Page 32: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

บทสรุป (ต่อ)

4. เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง ความบกพร่องด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้องมี 3 ลักษณะ คือ ไม่ใช้เครื่องหมายในค าหรือความที่ควรใช้ ใช้เครื่องหมายวรรคตอนที่ครอบคลุมไปถึงค าประกอบ และใช้เครื่องหมายวรรคตอนเพื่อการเน้นย้ า โดยซ้ าซ้อน 5. ล าดับความไม่ต่อเนื่อง ลักษณะความบกพร่องด้านการล าดับความที่พบทั้งหมด เป็นความบกพร่องด้านการระบุวัน เวลา ไม่ต่อเนื่อง โดยมักคั่นด้วยสถานที่ หรือรายละเอียดต่างๆ6. ภาษาไม่สละสลวย ด้านการใช้ภาษาไม่สละสลวย มี 2 ลักษณะ คือ ใช้ค าซ้ า ในที่ใกล้กัน และ ใช้ภาษาเยิ่นเย้อ ซ้ าค า ซ้ าความ ปรากฏเป็นข้อบกพร่อง

Page 33: บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง

จบการบรรยายบทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง