CRUDE EXTRACTS FROM EUPATORIUM ODORATUM ......The crude extract from fresh leaves of E. odoratum L....

Preview:

Citation preview

ปญหาพิเศษ

สารสกัดหยาบจากสาบเสือเพื่อควบคุมหนอนกระทูผัก CRUDE EXTRACTS FROM EUPATORIUM ODORATUM L. TO CONTROL

SPODOPTERA LITURALA L.

โดย

นางสาววันวิสา ริ้วทองชุม

เสนอ

สายวิชาวิทยาศาสตร คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร

มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร เพื่อความสมบูรณแหงปรญิญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตรทั่วไป)

พ.ศ. 2550

ดร. ฐิตยิา แซปง

ดร. พุทธพร สองศรี

ใบรบัรองปญหาพิเศษ สายวิชาวิทยาศาสตร คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร

มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต ปริญญา

วิทยาศาสตรทั่วไป วิทยาศาสตร สาขา สายวิชา เรื่อง สารสกัดหยาบจากสาบเสือเพ่ือควบคุมหนอนกระทูผัก

Crude extracts from Eupatorium odoratum L. to control Spodoptera litura L. นามผูวจิัย............................................................................................................................... ไดพจิารณาเห็นชอบโดย ประธานกรรมการ .................................................................................................................

(……………………………..)

สายวิชาวิทยาศาสตร คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตรรบัรองแลว

....................................................................................................

(…………………………………..) หัวหนาสายวชิาวิทยาศาสตร

วันที่........เดอืน……………. พ.ศ. ……..

นางสาววนัวิสา ริ้วทองชุม

15 พฤษภาคม 2550

ปญหาพิเศษ

เรื่อง

สารสกัดหยาบจากสาบเสือเพ่ือควบคุมหนอนกระทูผัก Crude extracts from Eupatorium odoratum L. to control Spodoptera litura L.

โดย

นางสาววันวิสา ริ้วทองชุม

เสนอ

สายวิชาวิทยาศาสตร คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร

เพื่อความสมบูรณแหงปรญิญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ( วิทยาศาสตรทั่วไป ) พ.ศ. 2550

วันวิสา ริ้วทองชุม 2549: สารสกัดหยาบจากสาบเสือเพื่อควบคุมหนอนกระทูผัก ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตรทั่วไป) สายวิชาวิทยาศาสตร ประธานกรรมการที่ปรึกษา: อาจารยฐิติยา แซปง, ปร.ด. 75 หนา

ศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากสาบเสือสด และสาบเสือแหง (Eupatorium odoratum) ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย 3 ชนิด ไดแก n-hexane, dichloromethane และ methanol ดวยวิธีการสกัด 2 วิธี คือ Fixed bed และ Moving bed ในการกําจัดและยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) พบวา การทดสอบโดยการสัมผัสดวยสารสกัดหยาบที่ไดจากการสกัดสาบเสือแหงดวยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane ที่ความเขมขน 8% w/v และสารสกัดหยาบที่ไดจากการสกัดสาบเสือแหงดวยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย dichloromethane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผัก โดยที่ความเขมขน 10% w/v ใหผลการทดสอบดีที่สุด โดยทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตายเทากับ 50% สวนสารสกัดจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane (Moving bed), methanol (Fixed bed) และสารสกัดจากสาบเสือสดที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol (Moving bed), dichloromethane, methanol (Fixed bed) ไมออกฤทธิ์โดยการสัมผัสตอหนอนกระทูผัก เพราะมีคาอัตราการตายใกลเคียงกับชุดควบคุม สําหรับการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดโดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย dichloromethane จะมีผลในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักดีที่สุดโดย มีคา % Antifeeding index (AFI) เทากับ 28.49 สวนสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดโดยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane จะมีผลในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักโดย มีคา % AFI เทากับ 11.06 สําหรับสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดโดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีผลในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักโดย มีคา % AFI เทากับ 5.0 สวนสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดโดยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol มีผลในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักต่ําใกลเคียงกันโดย มีคา % AFI เทากับ 3.70, 3.29, 3.01 ตามลําดับ

/ / ลายมือช่ือนิสิต ลายมือช่ือประธานกรรมการ

Wanwisa Riewthongchum 2006: Crude Extracts from Eupatorium odoratum L. to Control Spodoptera litura L. Bachelor of Science. (General Science) Department of Science. Special Problem Advisor: Miss Thitiya Pung, Ph.D. 75 p.

Studied on the effects of crude extracts from Eupatorium odoratum L. by three solvent ; n-hexane, dichloromethane and methanol with two extraction were Fixed bed and Moving bed methods on insecticidal activities and antifeedant effects of Spodoptera litura L. In contact toxicity test, n-hexane extract from dried leaves of E. odoratum L. by moving bed method at 8 % w/v and dichloromethane extract at 10% by Fixed bed method were the most toxic on mortality rate. Crude extracts from dried leaves of E. odoratum L. with dichloromethane (Moving bed), methanol (Fixed bed) and crude extracts from fresh leaves E. odoratum L. with n-hexane, dichloromethane, methanol (Moving bed), dichloromethane, methanol (Fixed bed) did not show contract toxicities because their mortality rates were as well as control. From antifeedant test, the crude extracts from dried leaves of E. odoratum L. with dichloromethane by moving bed method exhibited the highest antifeedant action which its percent antifeedant index (% AFI) was 28.49. The crude extract from dried leaves of E. odoratum L. with n-hexane by Fixed bed method exhibited antifeedant action which its % AFI was 11.06. For the crude extract of fresh leaves E. odoratum L. with n-hexane by Moving bed method showed antifeedant action which its % AFI was 5.0 % . The crude extract from fresh leaves of E. odoratum L. with n-hexane, dichloromethane and methanol by Fixed bed methanol manifested antifeedant actions which their were % AFI was 3.70, 3.29, 3.0, respectively.

/ / Student’s signature Advisor’s signature

กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาครั้งนี้ผูวิจัยขอขอบพระคุณ ดร. ฐิติยา แซปง ประธานกรรมการที่ปรึกษาปญหาพิเศษ ที่ใหความกรุณาชวยเหลือในการทําการวิจัย แนะนํา ใหความรู และแกไขจนสําเร็จ ขอขอบพระคุณ ดร. กุลศิริ ช. กรับส ที่เอื้อเฟอแปลงผักสําหรับการปลูกคะนาที่ใชในการทําวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบคุณกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ บางเขน กรุงเทพฯ ที่เอื้อเฟอหนอนกระทูผักที่ใชในการทดสอบครั้งนี้

ขอขอบคุณภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร ที่เอื้อเฟออุปกรณ สารเคมี และสถานที่ในการทําวิจัย

ขอขอบพระคุณ คุณพอและคุณแม ที่ใหกําลังใจและสนับสนุนในการศึกษามาโดยตลอด สุดทายขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่มีสวนชวยเหลือและใหกําลังใจแกขาพเจา จนสามารถทําการวิจัยฉบับนี้เสร็จสมบูรณ

วันวิสา ริว้ทองชุม พฤษภาคม 2550

(1)

สารบัญ

หนา สารบัญ (1) สารบัญตาราง (2) สารบัญภาพ (4) คํานํา 1 การตรวจเอกสาร 4 หนอนกระทูผัก 4 วัชพืช 12 หลักการคัดเลอืกพืช 20 สาบเสือ 21 งานวิจยัการใชสารสกัดจากพืชในการปองกันกําจัดแมลงศัตรูพืช 25 อุปกรณและวธีิการ 28 อุปกรณ 28 วิธีการ 29 สถานที่และระยะเวลาการศึกษาวจิัย 41 ผลการทดลอง 42 วิจารณผลการทดลอง 64 สรุปผลการทดลอง 67 ประวัติการศึกษา 69 เอกสารและสิ่งอางอิง 70

(2)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หนา

1 ชนิดของวัชพชืทีมีประโยชนในการใชทําสมุนไพร 17 2 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขน 10 % w/v ซ่ึง

สกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 44

3 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวย ตัวทําละลาย n-hexane ดวยวิธี Moving bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 45

4 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวย ตัวทําละลาย methanol ดวยวิธี Moving bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 47

5 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวย ตัวทําละลาย n-hexane ดวยวธีิ Fixed bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 50

6 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวั ทําละลาย dichloromethane ดวยวิธี Fixed bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 52

7 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขน 10 % w/v ซ่ึงสกัด ดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol ตอหนอนกระทูผัก

(Spodoptera litura) 56

8 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวั ทําละลาย dichloromethane ดวยวิธี Moving bed ตอหนอนกระทูผัก

(Spodoptera litura) 57

(3)

สารบัญตาราง (ตอ)

ตารางที่ หนา

9 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวย

ตัวทําละลาย n-hexane และ methanol ดวยวิธี Fixed bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 58

10 ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยบัยั้งการกนิของสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที ่ความเขมขน10% w/v ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ methanol ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 60

11 ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยบัยั้งการกนิของสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ ความเขมขน 10% w/v ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ

methanol ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) 62

(4)

สารบัญภาพ

ภาพที ่ หนา

1 วงจรชีวิตของหนอนกระทูผัก 6 2 ระยะตาง ๆ ของหนอนกระทูผัก 7 3 ศัตรูธรรมชาติของหนอนกระทูผัก 11 4 วงจรชีวิตของวัชพืชลมลุก 12 5 ลักษณะทั่วไปของสาบเสือ

A = การเจริญของสาบเสือที่พบไดโดยท่ัวไป B = ลักษณะดอกของสาบเสือ C = ลักษณะตนของสาบเสือ D = ลักษณะใบของสาบเสือ ซ่ึงขอบใบจะหยักและจะออกตรงขามกัน 24

6 A = สาบเสือสดกอนการสกดั B = สาบเสือแหงกอนการสกัด C = สารสกัดกอนการระเหยตัวทําละลายออก D = สารสกัดหลังการระเหยตัวทําละลายออก 32

7 การสกัดสารดวยวิธี Fixed-bed ดวยชุดสกัด soxhlet extractor 33 8 การสกัดสารดวยวิธี Moving-bed 34 9 เครื่อง rotary evaporator รุน R-210/215 ยี่หอ Buchi ของ บริษัท เบคไทย

กรุงเทพอุปกรณเคมีพันธ จาํกัด 35

(5)

สารบัญภาพ (ตอ)

ภาพที ่ หนา

10 สารสกัดแตละความเขมขนที่เตรียมในการทดสอบ 36 11 ลักษณะการทดสอบโดยการสัมผัสผิวหนัง 37 12 ลักษณะการทดสอบดวยวิธี Two choice leaf disc test 39 13 ชุดทดสอบวิธี Two choice leaf disc test 40 14 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัด หยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane ดวยวิธี Moving bed 46 15 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัด หยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย methanol

ดวยวิธี Moving bed 48

16 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัด หยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane ดวยวิธี Fixed bed 51 17 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัด

หยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย dichlomethaneดวยวิธี Fixed bed 53

(6)

สารบัญภาพ (ตอ)

ภาพที ่ หนา

18 เปอรเซ็นตAFI ของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือแหง ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ methanol ดวยวิธี Moving bed และ Fixed bed 61 19 เปอรเซ็นตAFI ของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือสด ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ methanol ดวยวธีิ Moving bed และ Fixed bed 63

1

สารสกัดหยาบจากสาบเสือเพื่อควบคุมหนอนกระทูผัก Crude extracts from Eupatorium odoratum L. to control Spodoptera litura L.

คํานํา

ผักเปนพืชอาหารที่มีประโยชนตอรางกายมนุษย ชวยเสริมสรางใหมีสุขภาพรางกายแข็งแรง เนื่องจากผักประกอบดวยธาตุอาหารที่มีประโยชนตอรางกาย เชน วิตามิน และเกลือแร ผักเปนพืชที่ใชประกอบอาหารในชีวิตประจําวัน เกษตรกรจึงนิยมปลูกกันอยางแพรหลายเพราะผักสวนมากมีอายุส้ันสามารถเก็บเกี่ยวไดรวดเร็วและจําหนายไดเงินหมุนเวียนหลายครั้งในรอบป ในขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกผักก็ประสบปญหาแมลงศัตรูผักกอความเสียหายตอผลผลิต แมลงศัตรูผักมีหลายชนิดแตละชนิดจะมีลักษณะการทําลายที่แตกตางกันออกไป แมลงศัตรูผักที่สําคัญชนิดหนึ่งที่สรางความเสียหายใหแกเกษตรกรปลูกผัก คือ หนอนกระทูผัก (Spodoptera litura L.) ปจจุบันมีการผลิตสารเคมีจํานวนมาก เพื่อใชในการเกษตรโดยมีวัตถุประสงคหลัก เพื่อประโยชนทางเศรษฐกิจและปองกันกําจัดศัตรูพืช แตในปจจุบันการใชสารเคมีเหลานั้นกลับปรากฏผลกระทบตอผูใชและส่ิงแวดลอม เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู ความเขาใจในการใชอยางถูกวิธีและอยางปลอดภัย จึงทําใหเกิดอันตรายตอสุขภาพมนุษย และเกิดการตกคางของสารเคมีในส่ิงแวดลอม ซ่ึงปญหาเกี่ยวกับมลพิษนี้นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้นและใชระยะเวลายาวนานกวาจะแกไขใหสําเร็จได และยังมีการใชสารเคมีเกินความจําเปน ไมเพียงแตกอใหเกิดผลกระทบตอผูใชโดยตรงแลวยังมีผลกระทบตอสมดุลธรรมชาติ และทําใหแมลงเกิดการดื้อตอสารเคมี แมลงธรรมชาติถูกทําลาย เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชชนิดใหม ปจจุบันสารเคมีที่ใชในการกําจัดแมลงศัตรูพืชมีจําหนายในทองตลาดหลายชนิด ซ่ึงมีความแตกตางกันในเรื่องของประสิทธิภาพในการกําจัดแมลง ความเปนพิษของสารที่มีตอการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนสารพิษตกคางในพืชที่อาจกอใหเกิดอันตรายตอผูบริโภค ซ่ึงสารพิษเหลานี้อาจมาจาก สารกําจัดแมลง (insecticides) สารกําจัดวัชพืช (herbicides) และสารปองกันกําจัดโรคพืช (fungicides) สารเหลานี้อาจแทรกซึมอยูในเนื้อเยื่อพชืโดยไมสามารถมองดวยตาเปลาได ตองมีการนําไปวิเคราะหถึงจะรูปริมาณสารเหลานั้น

2

จากขอเสียในการใชสารเคมีสังเคราะห ดังกลาว ปจจุบันจึงมีการรณรงคใหเกษตรกรหันมาใชระบบการผลิตแบบยั่งยืน โดยเนนใหมีการอนุรักษธรรมชาติและพึ่งพาการใชสารเคมีนอยลง ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติตลอดจนสุขภาพอนามัยของผูบริโภค ทําใหมีการศึกษาสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อนําไปใชในการควบคุมแมลงศัตรูพืช สารสกัดจากพืชที่นํามาใชกันมากในปจจุบันนี้ เชน สารสกัดจากเหงาขา เมล็ดสะเดา ใบสาบเสือ ลําตนตะไครหอม ใบเสนียด เปนตน ซ่ึงสารสกัดเหลานี้มีคุณสมบัติในการควบคุมแมลงศัตรูพืชไดดี วัชพืชเปนพืชที่ขึ้นอยางรวดเร็ว แพรกระจายอยางกวางขวาง และไมเปนที่ตองการของเกษตรกร แตมีวัชพืชบางชนิดมีแนวโนมเปนสารออกฤทธิ์ในการตอตานแมลงศัตรูพืช การนําวัชพืชที่พบในพื้นที่เกษตรมาสกัดหาสารที่มีฤทธิ์ในการกําจัดแมลงศัตรูพืช จึงเปนอีกแนวทางหนึ่งที่นาสนใจและกอใหเกิดประโยชนตอเกษตรกรอยางมาก ทั้งในการชวยกําจัดศัตรูพืชและชวยลดปริมาณของวัชพืช รวมทั้งเปนการลดคาใชจายเนื่องจากวัชพืชสามารถหาไดงายเปนวัตถุดิบที่มีในทองถ่ิน ไมจําเปนตองหาซื้อวัตถุดิบเหมือนกับพืชสมุนไพร และยังเปนการชวยลดปริมาณวัชพืชในแปลงผัก ลดตนทุนของเกษตรกรในการซื้อสารเคมีกําจัดศัตรูพืช ลดปริมาณสารตกคางของสารกําจัดศัตรูพืชที่มีตอส่ิงแวดลอม สาบเสือ (Eupatorium odoratum L.) เปนวัชพืชที่พบไดทั่วไปในที่รกราง ริมถนน เปนไมพุมสูงประมาณ 1-2 เมตร มีการแพรพันธุไปทั่วประเทศ สารสกัดจากสาบเสือมีองคประกอบทางเคมีจํานวนมาก แตมีเพียงไมกี่ชนิดที่ออกฤทธิ์ตอแมลงศัตรูพืช เชน สาร pinene, coumarin, eupatal, napthoquinone ในสาบเสือออกฤทธิ์ฆาหนอนกระทูผัก หนอนใยผัก หนอนกระทูหอม เปนตน ซ่ึงการศึกษาในครั้งนี้จะมุงเนนการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสาบเสือตอหนอนกระทูผักโดยการสัมผัสและฤทธิ์ในการยับยั้งการกินอาหาร การวิจัยนี้เปนการทดสอบผลของสารสกัดหยาบจากสาบเสือ ในการปองกันกําจัดหนอนกระทูผัก โดยผลการทดลองนี้จะใชเปนแนวทางในการปองกันและกําจัดแมลงบางชนิด และการศึกษาถึงผลในการควบคุมหนอนกระทูผัก จากตนสาบเสือ จึงเปนที่คาดวาจะเปนประโยชนตอการคนพบการใชสารสกัดจากธรรมชาติในการควบคุมหนอนกระทูผัก และแมลงอื่นๆ ในอนาคตตอไป

3

วัตถุประสงค

1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสาบเสือในการกําจัดหนอนกระทูผักโดยการสัมผัส

2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสาบเสือในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก

ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ 1. สารสกัดหยาบจากสาบเสือที่มีคุณภาพใชทดแทนสารเคมีในการกําจัดแมลงศัตรูพืช 2. ลดปริมาณการใชสารเคมีสังเคราะห จึงชวยลดปริมาณสารเคมีตกคางในสิ่งแวดลอมได

4

ตรวจเอกสาร

1. หนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

1.1 การจัดจําแนกตามอนุกรมวิธาน Phylum - Arthropoda

Class - Hexapoda Subclass - Pterygota Infraclass - Neoptera Division - Endopterygota

Order- Lepidoptera Family- Noctuidae Genus- Spodoptera Sepcies- litura L. ชื่อวิทยาศาสตร Spodoptera litura L. ชื่อสามัญ Common cutworm , Tobacco cutworm , Cotton worm , Cotton leaf worm ,

Fall armyworm , หนอนกระทูยาสูบ, หนอนกระทูฝาย, หนอนรัง (ปยรัตน, 2542)

1.2 ความสําคญั

หนอนกระทูผักพบบอยในผักพวกกะหล่ํา คะนา ตัวหนอนเริ่มทําลายผักตั้งแตเร่ิมฟกออกจากไขใหมๆ โดยอยูรวมกันเปนกลุมในระยะแรก ในระยะตอมาจะเริ่มทําลายยอดรุนแรงมาก สามารถกัดกินใบ กาน ดอก หัว ไดทุกสวน หนอนชนิดนี้มีพืชอาหารมากมายหลายสิบชนิด จึงสามารถขยายพันธุไดเกือบตลอดป (ปยรัตน, 2542)

1.3 ลักษณะและชีวประวัต ิ

ตัวเต็มวัยชอบวางไขเปนกลุมใตใบพืชอาหาร ไขกลุมหนึ่งมีจํานวนนับรอยฟอง บนกลุมไขจะมีใยสีน้ําตาลปกคลุม ไขมีลักษณะเปนแบบ with sculp คือ คลายกับรูปฝาชี ผิวของไขมีลายเสน

5

บางๆ โดยรอบ ตรงกลางมีรอยบุมและมีเสนเปนรัศมีรอบๆ ไขใหมๆ จะมีสีครีมคอนขางขาว ตอมาจะเปลี่ยนเปนสีเขียวเปนมัน ระยะการเปนไขประมาณ 3-5 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียตัวหนึ่ง สามารถวางไขไดตั้งแต 800-3250 ฟอง (ณรรฐพล, 2526)

ตัวหนอนที่ฟกออกจากไขใหมๆ มีขนาดลําตัวเล็ก ความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร หัวโตดํา ตัวใส ลักษณะตัวหนอนเปนแบบ eruciform มีขาจริง 3 คู สีดํา ขาเทียม 5 คู ปรากฏอยูที่สวนทองปลองที่ 3, 4, 5, 6 และปลองสุดทายของลําตัว ที่สวนทองของอกปลองที่ 1 มีสีดํา ลําตัวมีขนและตุมขนสีดํา อกปลองแรกทางดานบนจะมีแผนแข็งสีดําปกคลุมอยู สีของลําตัวจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อโตขึ้น เมื่อเร่ิมกินอาหารลําตัวจะมีสีเขียว พอหนอนอายุได 5 วัน จะมองเห็นแถบสีเหลืองเริ่มจากอกปลองแรกทางดานบนพาดไปตามความยาวของลําตัวตรงกลางของสันหลัง จนถึงสวนทายของลําตัว และถัดออกไปทางดานขาง (dorsolateral) จะมีสีเหลืองขางละแถบพาดจากอกปลองแรกไปยังสวนทายของลําตัว หัวและแผนแข็งบนอกปลองแรกเปลี่ยนเปนสีน้ําตาล ทางดานขางของลําตัวมีแถบสีน้ําตาลแถบใหญอยูขางละแถบ และมีเสนสีขาวแนบอยูทั้งทางดานบนและดานลางของแถบสีนี้ รูหายใจที่สวนทองจะเห็นเปนจุดขาว บนอกปลองที่สองและปลองที่สามใกลกับรูหายใจจะมีจุดสีดําติดอยู เมื่อตัวหนอนอายุไดประมาณ 10 วัน สีของลําตัวจะเปลี่ยนแปลงไป คือทางดานขางของลําตัวจะมีแถบสีดําใหญพาดไปตามความยาวของลําตัว หัวมีสีคอนขางดํา มีเสน suture เปนรูปตัว Y หัวกลับเห็นไดชัดเจน เหนือแถบสีดําใหญดานขางลําตัวข้ึนไปจะมีสีเหลืองปลองละจุด ยกเวนปลองทองปลองที่ 1 และทางดานบนของจุดสีเหลืองนี้จะมีรอยแตมรูปรางคอนขางเปนสามเหลี่ยมมีสีดําตั้งอยู ขาเทียมของตัวออนมีลักษณะเปนแบบ uniserial หรือ uniordinal ตัวหนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แลวมีความยาวประมาณ 32-34 มิลลิเมตร ตัวหนอนในระยะที่ 3 จะทําความเสียหายใหกับพืชผักมาก และหนอนชนิดนี้ชอบกัดกินผักใบออนมากกวาใบแก และมีนิสัยชอบออกหากินในเวลากลางคืน ในกรณีที่ตัวหนอนเขาทําลายกะหล่ําปลี ตัวหนอนจะกัดกินใบใหเปนรอยเวาแหวง และเขาไปกัดกินตรงบริเวณสวนยอดทําใหกะหล่ําปลีไมสามารถหอเปนตัวได บางครั้งก็สามารถพบหนอนกระทูผักในเวลากลางวันซึ่งอยูรวมกันเปนกลุม ๆ โดยหลบซอนตัวอยูทางดานลางของใบและกดักนิเนื้อเยื่อของใบ ถาเปนกะกล่ําดอก เมื่อหนอนเขาทําลายยอดอยูเร่ือย ๆ จะทําใหกะกล่ําดอกไมสามารถมีดอกไดอีกตอไป และเมื่อกะกล่ําดอกมีหัวแลวตัวหนอนก็จะกัดกินบริเวณผิวของหัวดอกทางดานบน หลังจากนั้นบริเวณที่หนอนกัดกินก็จะเกิดเปนแผลสีน้ําตาลทําใหสวนของหัวไมนาดู ระยะการเปนตัวออนของหนอนประมาณ 15-21 วัน กอนเขาดักแดตัวหนอนจะลงไปในดินและหดตัวส้ันลง ผิวของลําตัวทางดานบนคอนขางดํา สวนทางดานลางสีขาวซีด หลังจากนั้นก็จะเขาดักแด (ดังภาพที่ 2) (ณรรฐพล, 2526)

6

ดักแดของแมลงชนิดนี้เปนแบบ obtected pupa มีอวัยวะขาและปกติดกันเปนเนื้อเดียวกับลําตัว ขนาดของดักแดยาวประมาณ 14-16 มิลลิเมตร และมีสีน้ําตาลแก ที่ปลายหางของดักแดมี cremaster 2 อัน ยื่นออกมา ในระยะแรกที่เขาดักแดใหม ๆ cremaster สวนโคนจะมีสีดํา สวนปลายมีสีขาวใส เมื่อดักแดอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเปนสีน้ําตาลไหม รูหายใจของดักแดมีสีน้ําตาลดําเห็นชัด ระยะการเปนดักแด 7-10 วัน จึงออกเปนตัวเต็มวัย (ดังภาพที่ 2) (ณรรฐพล, 2526)

ตัวเต็มวัยเปนผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง มีขนาดลําตัวยาวประมาณ 11-16 มิลลิเมตร เมื่อกลางปกเต็มที่วัดจากขอบปกหนึ่งไปยังอีกขอบปกหนึ่งประมาณ 24-30 มิลลิเมตร เมื่อเกาะนิ่งอยูกับที่จะหุบปกเปนรูปหลังคา ปกคูหนามีสีดําปนน้ําตาล และมีจุดกลมสีเทาเขมปนแดงอยูตรงกลางปกขางละจุด ขอบปกดานขางมีจุดสีดําเรียงกันอยูเปนแถว 7-8 จุด ปกคูหลังมีสีออนกวาปกคูหนา มองดูเปนสีขาวบริเวณขอบปกทางดานหนา (costal margin) และดานปลายปก (apical margin) ปกมีขนขึ้นอยูเปนจํานวนมาก บริเวณขอบปกและเสนปกเทานั้นที่มีสีคอนขางดํา หนวดเปนแบบเสนดาย ตารวมมีขนาดใหญ ขาและลําตัวปกคลุมไปดวยเกล็ด บริเวณดานลางของอกและทองจะมีสีเทา แตทางดานบนสีเขมกวาคือ มีสีเทาปนดําตัวเต็มวัยมีอายุอยูไดประมาณ 7-10 วัน (ดังภาพที่ 2) (ปยรัตน, 2542; กําพล, 2546; คมสัน, 2545)

ภาพที่ 1 วงจรชีวิตของหนอนกระทูผัก

7

ภาพที่ 2 ระยะตาง ๆ ของหนอนกระทูผัก

ตัวออน

ตัวเต็มวัย ดักแด

ไข

8

1.4 การแพรกระจาย

พบแมลงศัตรูพืชชนิดนี้ทกุหนทุกแหงในประเทศไทย สวนตางประเทศพบในอินเดีย ศรีลังกา พมา มลายู ชวา ฟลิปปนส จีน ไตหวนั เกาหลี ญ่ีปุน ออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (ปยรัตน, 2542)

1.5 พืชอาหาร

แมลงชนิดนี้มีพืชอาหารกวางขวางมาก คือ กะหล่ําปลี กะหล่ําดอก ผักคะนา ผักกาดหัว ผักกาดหอม ผักกาดขาวใหญ กะหลํ่าปม ผักกวางตุง ผักบุง มะเขือเทศ มะระ ถ่ัวพุม ถ่ัวฝกยาว ผักตําลึง ถ่ัวพู หอมหัวใหญ เผือก ยาสูบ ขาวโพด ขาว ยางพารา บัว บานชื่น หงอนไก บานไมรูโรย ถ่ัวเขียว ตลอดจนไมผล ไมใบ และไมดอกไมประดับอีกหลายชนิด (ปยรัตน, 2542)

1.6 การควบคมุและกําจัดหนอนกระทูผัก

การปองกันกําจัดแมลงศัตรูพืช หมายถึง การปองกันและควบคุมระดับประชากรของแมลงศัตรูพืช ใหอยูในระดับไมกอใหเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การกําจัดแมลงใหถูกตองตามหลักวิชาการจริง ๆ จะตองไมทําลายแมลงใหหมดสิ้น เพราะในธรรมชาติยังมีการควบคุมกันเองของส่ิงมีชีวิตอยู จึงมีผลกระทบตอระบบนิเวศ การปองกันกําจัดแมลงสามารถแบงออกไดเปนสองแนวทางคือ การปองกันกําจัดศัตรูพืชโดยไมใชสารเคมี และการปองกันกําจัดศัตรูพืชโดยใชสารเคมี (อนันต, 2540)

1.6.1 การปองกันกําจัดศัตรูพืชโดยไมใชสารเคมี

1. อยาปลอยตนผักที่เก็บเกี่ยวแลวทิ้งไว เพราะเปนแหลงที่อาศัยของหนอน 2. ปลูกพืชในโรงเรือนตาขาย (ผักกางมุง) 3. ใชกับดกักาวเหนียวสีเหลือง จํานวน 80 กับดัก / ไร 4. ใชศัตรูธรรมชาติ ไดแก แตนเบียน 4 ชนิด คือ แตนเบยีนไข

(Trichogramma confusum , Trichogrammatoidea Bactrae) แตนเบยีนหนอน( Cotesia plutellae) แตนเบยีนดกัแด (Thyraeella) และแตนเบียนตัวเต็มวยั

9

5. ใชเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือที่รูจักกันทั่วไปวา บีที (Bt.) ไดแก ฟลอรแบค เอฟซี (Florbac FC) อัตรา 40 – 100 ซีซี ตอน้ํา 20 ลิตร ใหพนเชื้อบีทีทุก 5 – 7 วัน แลวแตการระบาด ในกรณีที่มีการระบาดอยางรุนแรงหรือในแหลงที่มีการตานทานสูง ใหใชเชื้อบีทีผสมกับ สารเสริมฤทธิ์คูซ่ันเพสท อัตรา 15-30 ซีซี. การใชเชื้อบีที หรือ สารกําจัดแมลงทุกครั้ง ใหผสมสารเพิ่มฤทธิ์ กอนการผสมน้ํา จะทําใหเชื้อ บีที และสารกําจัดแมลงมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นออกฤทธิ์ไดนานกวา (สมคิด, 2546)

1.6.2 การปองกันกําจัดศัตรูพืชโดยใชสารเคมี

1. สารสกัดสะเดา อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ํา 20 ลิตรพนเมื่อพบหนอนระบาด 2. หากมีความจําเปนตองใชสารเคมี ควรใชสารในกลุมอะบาแม็กติน

- ฟโปรนิล 5 % เอสซี อัตรา 20-40 มิลลิลิตร ตอน้ํา 20ลิตร - คลอรฟนาเพอร 10 % เอสซี อัตรา 20-40 มิลลิลิตร ตอน้ํา 20 ลิตร - โพรไทโอฟอส 50 % อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตร ตอน้ํา 20 ลิตร - ฟลูเฟนนอกซูรอน 5% อีซี อัตรา 20-40 มิลลิลิตร ตอน้ํา 20 ลิตร - เดลทาเมทรนิ 3% อีซี อัตรา 10-20 มิลลิลิตรตอน้ํา 20 ลิตร

โดยหยุดพนสารเคมีกอนการเก็บเกีย่ว ตามคําแนะนําเพือ่ปองกันการตกคางของสารเคมีในผลผลิตการเกษตร (ชาญณรงค, 2544)

1.7 ศัตรูธรรมชาตขิองหนอนกระทูผัก

แมลงศัตรูธรรมชาติ หมายถึง แมลงที่กินหรือทําลายแมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูธรรมชาติเปนตัวการสําคัญในการควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชในธรรมชาติไมใหเพิ่มจํานวนมากขึ้นจนถึงขั้นเกิดการระบาด

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เปนปรากฏการณธรรมชาติที่เกี่ยวของกับสิ่งแวดลอม ซ่ึงถานําไปใชใหไดผลแลวจะเปนวิธีการที่ถาวรและประหยัด และเนื่องจากการควบคุมโดยชีววิธีเปนวิธีการที่เกี่ยวของกับสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในธรรมชาติ เชน แมลงเบียน แมลงห้ํา เชื้อจุลินทรีย และแมลงศัตรูพืช ดังนั้นสภาพธรรมชาติจึงมีการเปลี่ยนแปลงได ขึ้นอยูกับ ปจจัยอ่ืนๆ หลายอยางที่เขามาประกอบในแตละกรณี (อนันต, 2540) แมลงศัตรูธรรมชาติของหนอนกระทูผักที่พบโดยทั่วไป คือ

10

1.7.1 แตนเบยีนไขหนอนกระทูผัก Chelonus sp. (Hymenoptera: Braconidae) ตัวหนอนของแตนเบียน หนอนกระทูผักจะทําลายไขของหนอนกระทูผัก โดยตวัเต็มวัยของแตนเบยีนจะวางไขลงไปในไขของหนอนกระทูผัก ตัวหนอนแตนเบียนจะอาศยัอยูในไขและหนอนกระทูผักจนเปนตวัเต็มวัย จึงออกมาภายนอก และวางไขทําลายไขของหนอนกระทูผักตอไป

1.7.2 แตนเบยีนหนอน Apanteles risberci De Saeger (Hymenoptera: Braconidae) เปนแตนเบียนหนอนที่สําคัญของหนอนกระทูชนิดตาง ๆ เปนพวก Solitaly internal parasite คือ ตวัหนอนของแตนเบียนเพียงตัวเดียวเทานั้นที่จะเจริญเปนตัวเต็มวัยได ตัวเต็มวัยจะวางไขในหนอนอาศัยวัยที่ 2-3 และเจริญเติบโตอยูภายใน เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะผนังลําตัวแมลงอาศัยออกมาเขาดักแด โดยการสรางรังดักแดสีน้ําตาลเกาะอยูตรงสวนทายของแมลงอาศัย ระยะตั้งแตไขจนถึงตัวเต็มวัยใชเวลาประมาณ 15 วัน (ภาพที่ 3ข)

1.7.3 ตัวเบียนดักแด Brachymeria excarinata ตัวเบียนผีเสื้อหนอนกระทูผักบางชนิดเขาทําลายและวางไขเฉพาะในปลอก (ดักแด) ของหนอนกระทูผักเทานั้น จึงเรียกวา ตัวเบียนดักแด ตัวเบียนเหลานี้จึงไมแขงขันกับพวกแตนเบียนไข ตัวเต็มวัยจะออกมาจากปลอกหรือดักแดของหนอนกระทูผัก แตนเบียนดักแดของหนอนกระทูผักสามารถพบไดทั่วไปในประเทศไทย(ภาพที่ 3ก)

1.7.4 มวนตัวห้ํา Eocanthecona furcellata (Wolff) (Hemiptera: Pentatomidae

แมลงห้ํา (pradator) หมายถึง แมลงที่กินแมลงชนิดอื่น ๆ เปนอาหาร และการกินนั้นจะกินเหยื่อ (prey) หลายตัว กวาจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิต กินเหยื่อไปเรื่อย ๆ และมักจะไมจํากัดวัยของเหยื่อคือสามารถทําลายเหยื่อไดทุกระยะการเจริญเติบโต ตัวห้ําที่เรารูจักกันดีเชน ดวงเตาชนิดตาง ๆ ตั๊กแตน แมลงปอ มวนตัวห้ํา มวนเพชฌฆาต และมวนตัวห้ําเพลี้ยไฟ (ภาพที่ 3ง) 1.7.5 มวนเพชฌฆาต Sycanus collaris F. (Hemiptera: Reduviidae) เปนตัวห้ําที่มีความสามารถในการลาเหยื่อ จึงไดช่ือวา “เพชฌฆาต” ตัวเต็มวัยมีสีน้ําตาล มีหัวยาว ขายาว จะงอยปากยาวและแข็งแรง เพื่อใชแทงเหยื่อแลวปลอยพิษใหแมลงที่มันจูโจมเปนอัมพาต แลวจึงดูดของเหลวในตัวแมลงนั้นเปนอาหาร (ภาพที่ 3ค)

1.7.6 แมงมุม Lycosa sp. (Aranaeae: Araneidae) เปนตัวห้ําทําลายทั้งตวัหนอนและ ตัวเต็มวัยของหนอนกระทู (กองบรรณาธิการ เกษตรกรรมธรรมชาติ, 2545)

11

ภาพที่ 3 ศัตรูธรรมชาติของหนอนกระทูผัก ที่มา : www.ku.ac.th/e-magazine/may47/agri/bug.html (12 เม.ย. 50) www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/plant/cotton/dcot2_1.htm (12 เม.ย. 50)

ข. ตัวเบียนหนอน Diadegma semiclausum ก. ตัวเบยีนดักแด Brachymeria excarinata

ค. มวนเพชฌฆาต ง. มวนตวัห้ํา

12

2.วัชพืช

2.1 ความหมายของวชัพืช

วัชพืช หมายถึง พืชที่มนุษยตัดสินวาเปนพืชที่ไรคา ดังนั้นวัชพืชชนิดเดียวกันในอดีตและในอนาคตอาจเปนพืชที่มีคุณคาตอมนุษยหรือส่ิงแวดลอมได วัชพืชในปจจุบันเมื่อไดศึกษาประวัติยอนหลังพบวา มีที่มาอยู 3 ทาง คือ 1) จากพืชปลูกที่ถูกละทิ้งโดยมนุษยและไดปรับตัวผานสภาวะตาง ๆ จนมีชีวิตอยูรอดได 2) จากพืชปาที่อยูตามธรรมชาติแลวถูกนําเขามาอยูในสังคมมนุษยจะโดยธรรมชาติหรือมนุษยเปนผูพามาก็ตาม แลวสามารถอยูรอดในระบบการเกษตรได และ 3) เปนลูกผสมระหวางพืชปลูกและพืชปา จึงสรุปไดวา วัชพืช คือ พืชชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการรุกราน อยูรอด เพิ่มจํานวนประชากร และครอบครองพื้นที่การเกษตรไดอยางรวดเร็ว วัชพืชกอใหเกิดความเสียหายทั้งในดานผลผลิต และเปนบอเกิดแหงโรคแมลงตลอดจนรบกวนทัศนียภาพของมนุษยทําใหเปนพืชที่ไมพึงประสงคของมนุษย (ดวงพร, 2543)

เมล็ด

เจริญทางลําตน

ตนกลา ออกดอก

ผลิตเมล็ด แพรกระจาย พักตัว

งอก

ตั้งตัว เจริญเติบโต สะสมอาหาร ในตน

ภาพที่ 4 วงจรชีวิตของวัชพชืลมลุก (ดวงพร, 2543)

13

2.2 การแพรกระจายของวัชพืช (รังสิต, 2547) การแพรกระจายของวัชพืชทั่วโลกเกิดขึ้นจากการกระทําของมนุษย เมื่อมีการอพยพผูคน

จากที่แหงหนึ่งไปสูอีกแหงหนึ่ง พรอมกับนําเอาเมล็ดวัชพืชติดไปดวย หรือเมื่อมีการขนสงเมล็ดพันธพืช อาหาร หรือสินคาตางๆ เมล็ดวัชพืชยอมติดมากับสินคาเหลานั้น ซ่ึงสวนใหญไมสามารถตรวจสอบได และไมไดระมัดระวังวามีเมล็ดวัชพืชปะปนมา วัชพืชที่สําคัญที่พบในประเทศไทยมาจากตางประเทศ เชน ผักตบชวา มาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

วัชพืชแพรกระจายจากที่แหงหนึ่งไปสูที่อีกแหงหนึ่งโดยสวนของตนที่ใชในการขยายพันธุ

เชน เมล็ด หัว หรือเหงา ขึ้นอยูกับระยะทางการแพรกระจาย ถาเปนระยะทางไกลๆ ระหวางประเทศสวนใหญจะแพรกระจายโดยใชเมล็ด เพราะเมล็ดมีอายุอยูไดนานกวาหัวหรือเหงาในสภาพที่ไมมีน้ํา แตการแพรกระจายในพื้นที่ใกลๆ จากไรหนึ่งไปสูอีกไรหนึ่งจะมกัใชหัวหรือเหงา

เมล็ดวัชพืชอาจจะแพรกระจายได 2 วิธี คือ 1. การแพรกระจายตามธรรมชาติ (natural dissemination) ซ่ึงมีตัวพาไดแก

- ลม - น้ํา - สัตว - ตัวเมล็ดเอง

2. การแพรกระจายโดยมนุษยทาํใหเกิดขึ้น (artificial dissemination) การแพรกระจายตามธรรมชาต ิ 1. ลอยไปตามลม เมล็ดวัชพืชขนาดเล็กบางชนิดมีขนหรือเยื่อคลายสําลีหอหุมสามารถพยุงเมล็ดใหลอยไปใน

อากาศ เมล็ดที่เบาจะแพรกระจายไปไดไกลโดยลม แตถาเปนลมที่แรงก็สามารถพัดเอาเมล็ดที่มีน้ําหนักใหปลิวไปไดเปนระยะทางไกลเชนกัน

14

2. ลอยไปกับน้ํา น้ําสามารถพัดใหเมล็ดหรือสวนของตนวัชพืชที่สามารถลอยน้ําไดใหไปไกลเปนระยะทาง

หลายกิโลเมตร สวนใหญเมล็ดวัชพืชลอยน้ําได โดยปกติเมล็ดวัชพืชจะไหลไปกับน้าํในแมน้ําหรือน้ําในคลองชลประทาน แตถามีฝนตกหนกัจะเกิดการพังทลายของหนาดิน เมล็ดวัชพชืจะเคลื่อนยายไปพรอมกับดนิและน้ําทีไ่หลออกจากหนาดิน และเมื่อน้าํทวมวัชพืชน้าํก็สามารถแพรกระจายไปกบัน้ําที่ทวมได

3. ติดไปกบัสตัว เมล็ดวัชพืชติดไปกับขนสัตวหรือหนังสัตว เมื่อมีการขนสงสัตวหรือหลังจากการเลี้ยงสัตว

โดยปลอยใหไปกัดกินวัชพืชโดยไมมีการควบคุม นอกจากนี้สัตวบางชนิดและนกกินเมล็ดวัชพืชเขาไปโดยไมสามารถยอย เมื่อสัตวนั้นถายออกมาเมล็ดวัชพืชนั้นยังคงงอกตอไปได นกบางชนิดถือวาเปนตัวพาเมล็ดวัชพืชไปเปนระยะทางไกลๆได

4. การแตกกระจายของฝก เมล็ดวัชพืชบางชนิดที่อยูในฝก เมื่อฝกแกแลวจะแรงพาใหเมล็ดกระจายไปไดเปนระยะ

ทางไกลๆ หลายเมตร เชนเมล็ดของตอยติ่ง

การแพรกระจายโดยมนุษย คนเปนผูทําใหเมล็ดวัชพืชกระจายไดมากที่สุดโดยไมไดตั้งใจ ไดแก ระบบการขนสงตางๆ

ไมวาจะเปนทางน้ํา ทางบก และทางอากาศ ซ่ึงเปนการแพรกระจายวัชพืชไปเปนระยะทางไกล การนําเมล็ดพันธุพืชจากตางประเทศมาปลูกในประเทศไทยพบวามีเมล็ดวัชพืชปนมาดวย แตวัชพืชบางชนิดเปนวัชพืชในเขตหนาวไมสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ของประเทศไทยได สําหรับความตั้งใจที่นําเมล็ดหรือสวนของตนพืชเขาประเทศนั้น ตอนแรกมีวัตถุประสงคเพื่อนําพืชนั้นมาใชประโยชนแตตอมากลายเปนวัชพืชที่รายแรง เชน การนําผักตบชวามาเปนดอกไม นําหญาขจรจบมาเปนอาหารสัตว และนําไมยราบยักษมาเปนพืชคลุมดิน (รังสิต, 2547)

15

2.3 ประโยชนของวัชพืช (พรชัย, 2540) ในสภาพที่มีวัชพืชเกิดขึ้น ทั้งในพื้นที่เพาะปลูก และนอกพื้นที่เพาะปลูก จะทําใหเกิดผลกระทบในแงการเกิดโทษหลายอยางซึ่งผลกระทบดังกลาวนั้นเปนผลเสียหายที่เกิดขึ้น แตก็อาจมีผลดีในแงของการเปนประโยชนได ผลดีของวัชพืชที่เกิดขึ้นถึงแมจะเพียงเล็กนอยแตก็ถือไดวายังพอเปนประโยชนไดเหมือนกัน อยางไรก็ตามการพิจารณาประโยชนของวัชพืชนี้ อาจนํามาเปรียบกับโทษที่เกิดขึ้นไปพรอม ๆ กัน

ประโยชนของวัชพืชที่เกิดขึ้นไดนี้อาจแบงออกเปน 2 แบบ ไดแก ประโยชนของวัชพืชในพื้นที่ทําการเกษตร และประโยชนของวัชพืชในพื้นที่ทั่วไปนอกพื้นที่การเกษตร ซ่ึงอาจกอใหเกิดผลประโยชนแกสภาพแวดลอมตาง ๆ ได 2.3.1 ประโยชนของวัชพืชตอการเกษตร

ในการเกษตรอันไดแก การปลูกพืช และเลี้ยงสัตว ที่อาจมีวัชพืชข้ึนในสภาพธรรมชาติ

วัชพืชที่ขึ้นแกงแยงแขงขันเหลานั้น อาจมปีระโยชนบางทั้งทางตรง และทางออม (พรชัย, 2540) ดังนี ้ 1. วัชพืชชวยปองกันการพังทลายของดิน 2. วัชพืชเพิ่มความอุดมสมบูรณของดิน 3. วัชพืชชวยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน 4. วัชพืชใชเปนวัสดุคลุมดิน 5. วัชพืชเปนแหลงอาหารของแมลงที่เปนประโยชน 6. วัชพืชเปนแหลงอาหารสัตวทั่วไป 7. วัชพืชใชเปนแหลงถายทอดพันธุในการปรับปรุงพันธุพืช 8. วัชพืชทําใหเกิดอาลีโลพาที (เรวัฒน, 2531) ใหความหมายวา อาลีโลพาที หมายถึงปฏิกิริยาเคมีระหวางพืชที่กระตุนและชักจูงใหเกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชใกลเคียง) ที่เปนประโยชน 9. วัชพืชสามารถนํามาสกัดเพื่อฆาแมลงได โดยทัว่ไปแลวจะมวีัชพืชหลายชนิดอาจนํามาสกัดเปนสารกําจัดแมลงที่เปนศัตรูพชืได ตัวอยางเชน วัชพืช Chrysanthemum cinerarifolium สามารถนํามาสกัดสารฆาแมลงพวก pyrethrum ได

16

2.3.2 ประโยชนของวัชพืชนอกเหนือการเกษตร (พรชัย, 2540)

วัชพืชที่เกดิขึน้ในธรรมชาตทิั้งในพื้นทีก่ารเกษตรและนอกพื้นที่การเกษตร อาจกอใหเกิดผลเสียตางๆได แตในทางตรงกันขามก็อาจทําใหเกิดประโยชนตอมนษุยได ดังนี ้

1. วัชพืชใชทําเปนสารสมุนไพร ในธรรมชาติมีวัชพืชอยูหลายชนิดที่มอีงคประกอบสวนตางๆ ที่สามารถนํามาใชเปนสารสมุนไพรรักษาโรคของมนุษยได ดังตารางที่ 1

2. วัชพืชใชเปนอาหารของมนุษย วัชพืชบางชนิดที่เกดิขึน้เองตามธรรมชาติ และสามารถนํามาใชเปนอาหารของมนุษยได เชน ผักบุง ตําลึง ผักแวน เปนตน

3. วัชพืชใชเปนวัสดุเชื้อเพลิง วัชพืชหลายชนิดสามารถนํามาใชทําวัสดุเชื้อเพลิงได เชน การนําเอาสวนตนของไมยราบยักษ

4. วัชพืชใชทําเครื่องใชตาง ๆ วัชพืชหลายชนิดสามารถนํามาใชเปนวตัถุดิบในการทําเครื่องใชตางๆ เชน ผักตบชวา นําเอามาทําตะกรา เขง หมวก กระเปา ส่ือ และหญาคา นํามามุงหลังคา ทําฝาบาน เปนตน

5. วัชพืชใชทําอุตสาหกรรมตาง ๆ ในอุตสาหกรรมกระดาษนําเอาวัชพชืพวกหญาขจรจบ และไมยราบยกัษ มาทําเยื่อกระดาษ

6. ใชแกปญหาน้ําเสีย เชน การนําผักตบชวา จอก ธูปฤาษ ีมาปลูกเพื่อลดปญหาน้ําเสียในสภาพที่มีปริมาณธาตุอาหารในน้ําสูง

17

ตารางที่ 1 ชนดิของวัชพืชทมีีประโยชนในการใชทําสมนุไพร ชื่อวัชพืช สรรพคุณใชในการรักษา สวนของวัชพืช กะเม็ง (Eclipta prostrata) ตกขาว และอุจจาระเปนโลหิต ลําตน ผมหงอก และโรคหวัด ใบ กินกุงน้ํา โรคบิด ลําตน (Murdannia nudiflomra) พอกแผล ใบ ขี้ครอก (Urena lobata) ขับปสสาวะ ตน ถอนพิษไข ราก ไอ ใบ จอก (Pistia stratiotes) หัด ใบ ขับปสสาวะ ใบ โดไมรูลม (Elephantopus scaber) ทองรวง ราก และใบ ขับปสสาวะ ลําตน และใบ วัณโรค ตน อาเจียน ราก ตอยติ่ง (Ruellia tuberosa) ดับพิษ ราก น้ํานมราชสีห (Euphorbia hirta) บํารุงกําลัง และหืด ทั้งตน ผักโขมหนาม แนนทอง และขับปสสาวะ ทั้งตน (Amaranthus spinosus) น้ํารอนลวก ใบ ผักโขมหิน บํารุงโลหิต และโรคไต ทั้งตน (Trianthema protulacastrum) ขับเสมหะ ราก ผักบุง (Ipmoea aquatic) กลากเกลื้อน ดอก (ตูม) ผักเปดขาว บํารุงโลหิต ตน (Alternanthera scesslis) พิษงูกัด ใบ ยาระบาย ใบ

18

ตารางที่ 1 (ตอ) ชื่อวัชพืช สรรพคุณ สวนของวัชพืช ผักเสี้ยนผี (Cleome viscosa) ปวดหัว ใบ ฆาพยาธิ ดอก เลือดอกตามไรฟน ราก เมล็ด ฝอยทอง (Cuscata chinensis) บิด ลําตน อาเจียนเปนเลือด ลําตน บํารุงตับ ไต เมล็ด พันงูเขียว คออักเสบ ใบ (Stachytarpheta jamicensis) ตาแดง ทั้งตน มะกล่ําตาหนู เจ็บคอ และขับปสสาวะ ลําตน และราก (Abrus precatorius) ตับอักเสบ ใบ ไมยราบ (Mimosa pudica) ไตพิการ ทั้งตน ขับปสสาวะ ทั้งตน สาบเสือ (Eupatorium odoratum) หามเลือด ใบ สาบแรงสาบกา บิด และหามเลือด ทั้งตน (Ageratum conyzoides) ไข ใบ กกดอกขาว (Kyllinga brevifolia) ไอ และเจ็บคอ ลําตน และเหงา หญาคา (Imperata cylindrica) ไต ทั้งตน ไอ ดอก ดีซาน และออนเพลีย ราก หญาแพรก (Cyperus rotundus) ปวดทอง หัว ทองรวง หัว แกกษัย หัว หญาละออง (Vernonia cinerea) ตาฟาง ใบ ตาแดง ใบ ทองอืด เมล็ด

19

ตารางที่ 1 (ตอ) ชื่อวัชพืช สรรพคุณ สวนของวัชพืช ขับปสสาวะ ราก ขับพยาธิ ราก สมกบ (Oxalis corniculata) ทองรวง บิด และดีซาน ทั้งตน สะอึก (Ipomoea maxima) ปวดหัว ใบ ที่มา : พรชัย, 2540

2.4 ความสูญเสียท่ีเกิดจากวัชพืช (รังสิต, 2547) วัชพืชทําความเสียหายใหเกิดขึ้นหลายประการ สามารถจําแนกไดเปน 2 ประเภท คือ

2.4.1 ความเสียหายที่เกดิขึ้นกับการเกษตร

วัชพืชทําความเสียหายแกการเกษตร ดังนี ้ 1. ทําใหปริมาณผลผลิตลดลง วัชพืชทําความเสียหายโดยทําใหผลผลิตลดลง เนื่องจากการ

แกงแยงน้ําและธาตุอาหารพชืในดิน 2. ทําใหคุณภาพของผลผลิตลดลง เชน การปนเปอนของเมล็ดหญาขาวนกไปกับขาวเปลือก

จะทําใหราคาขาวเปลือกลดลง เพราะเมล็ดหญาขาวนกทําใหการสีขาวไมสะดวก 3. วชัพืชเปนทีอ่ยูอาศัยของศตัรูพืชตางๆ เชนในสภาพที่มวีัชพืชข้ึนในถัว่เขียว พบวาถ่ัว

เขียวเปนโรคราน้ําคางและมแีมลงทําลายมากกวาในสภาพที่ไมมีวัชพืชขึ้น 4. การปฏิบัติงานในไรไมสะดวก เชน การปลอยใหผักโขมหนามขึ้นในแปลงพืชจะเปน

อุปสรรคอยางยิ่งตอการเก็บเกี่ยวผลผลิต 5. เปนพิษตอสัตวเล้ียง วัชพชืบางชนิดเปนพิษตอววั เพราะในบางฤดกูาล วัชพืชเหลานั้นจะ

มีไนเตรทอยูสูง เมื่อวัวกินเขาไปจะทําใหเกิดพิษแกววันัน้ได

20

2.4.2 ความเสียหายที่เกดิขึ้นดานอื่นๆ (รังสิต, 2547)

วัชพืชกอความเสียหายดานตางๆ หลายประการ ซ่ึงจะยกตัวอยางที่สําคัญ ดังนี้ 1. เปนพิษตอคน วัชพืช เชน หมามุยมีขนตามลําตนและใบ เมื่อสัมผัสผิวหนังคนจะทาํให

เกิดอาการคันอยางรุนแรง จนไมสามารถปฏิบัติงานได วัชพืชที่มีหนามแหลม เชน ผักโขมหนาม และเมล็ดของโคกกระสุนเปนอันตรายตอคนเชนกนั

2. ขัดขวางการสัญจร วัชพืชน้ํา เชน ผักตบชวาทําใหการสัญจรทางน้ําไมสะดวก วัชพชืบางชนิดขึ้นคลุมทางรถไฟ คลุมสัญญาณจราจร และบดบังวสัิยทัศน

3. ขัดขวางระบบชลประทาน วัชพืชน้ําหลายชนิดทําใหระบบการไหลของน้ําไมสะดวก เชน ไมยราบยกัษทําใหแมน้าํลําคลองตื้นเขิน และทําใหแมน้ําเปลี่ยนเสนทางเดิน

4. ทําใหเกิดอคัคีภัย เมื่อตนวัชพืชแหงจะเปนเชื้อเพลิงไดเปนอยางดี เชน ตนธูปฤาษีแหงจะถูกไฟไหม กอใหเกิดควนัไฟพัดเขาไปรมคนที่อยูในบานเรือน ที่อยูอาศยั และไฟยังรุกลามเผาไหมบานเรือนอีกดวย

5. ทําใหสภาพพื้นที่ขาดความสวยงาม วัชพืชที่ขึ้นรกในพื้นที่ตางๆ จะทําใหสภาพพืน้ที่นั้นขาดความสวยงาม นอกจากนี้วัชพืชยังเปนที่อยูอาศัยของสัตวราย เชน งู ตะขาบ และหนู เปนตน

3. หลักการคัดเลือกพืช

การคัดเลือกพืชเพื่อนํามาใชในการปองกันกําจัดศัตรูพืชควรคํานึงถึงคุณสมบัติ ดังนี้

3.1 เปนพืชที่ขยายพันธงาย เจริญเติบโตเร็วและสามารถนํามาใชไดอยางตอเนื่อง 3.2 เปนพืชที่ไมเปนอันตรายตอมนุษย 3.3 เปนพืชที่มีความตานทานตามธรรมชาติจากการทําลายของแมลง 3.4 เปนพืชที่สามารถนํามาใชประโยชนอยางอื่นได 3.5 เปนพืชที่ใชกรรมวิธีงายๆในการนํามาใช

นอกจากนี้การเก็บพืชเพื่อนํามาใชประโยชนนั้นควรที่จะคํานึงถึง ชนิดของพืช อายุของพืช แหลงปลูก ระยะเวลาที่เก็บ ฤดูกาลที่เก็บ อุณหภูมิและแสงแดด และสวนของพืชที่เก็บมาใช (สุรพล, 2528)

21

4. สาบเสือ (Siam weed)

4.1 การจัดจําแนกตามอนุกรมวิธาน

Kingdom: Plantae Division: Magnoliophyta

Class: Magnoliopsida Order: Asterales

Family: Asteraceae หรือ Compositae Genus: Eupatorium

Species: odoratum L.

ชื่อวิทยาศาสตร Eupatorium odoratum Linn. Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Robins (กองกานดา, 2528)

ชื่อสามัญ bitter bush, chrismas bush (both West Indies), devil weed, samsolokh (India), triffid weed (South Africa), saap suea, siam weed (Thailand), สาบเสือ (ทั่วไป), หญาเสือหมอบ (กาญจนบุรี), หญาดอกขาว (สุโขทัย-ระนอง), หญาเมืองวาย (พายัพ), มุงกระตาย (อุดรธาน)ี, หญาลืมเมือง (หนองคาย), หญาเลาฮาง (ของแกน), หนองเสงเปง, เสโพกวย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม), ชาผักคราด, ยี่สุนเถื่อน (สุราษฎรธานี), ชิโพกวย, ไชปูกอ, บอโส, เพาะจีแค (กะเหรี่ยง-แมฮองสอน), บานราง, ผักคราด (ราชบุรี), เบญจมาศ (ตราด), ฝร่ังรุกที่, ฝร่ังเหาะ (สุพรรณบุรี), หญาดงราง (สระบุรี),หมาหลง (ชลบุรี), หญาเหม็น (อีสาน) ฯลฯ (กองกานดา, 2528; สําลีและคณะ, 2525)

4.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร

สาบเสือ เปนพืชที่แพรระบาดเขามาในประเทศไทยนานกวา 50 ป พบไดโดยทั่วไปในที่รก

ราง ทุงหญา ริมถนน ในไร ริมสวนผลไม ขณะนี้มีการแพรพันธุไปทั่วประเทศ ลําตน เปนไมพุมสูงประมาณ 1-2 เมตร อายุยืนหลายป ตามลําตนและกิ่งกานจะปกคลุมไปดวยขนออนนุม (ภาพที่ 5) กานและใบเอามาขยี้จะมีกล่ินแรงคลายสาบของเสือ จึงเรียกวา สาบเสือ ใบเปนใบเดี่ยวออกจากลําตนที่ขอเปนคูแบบตรงกันขาม รูปรางรีคอนขางเปนสามเหลี่ยม ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม ฐานใบ

22

กวางเรียวสอบเขาหากานใบ ใบสีเขียวออน มีเสนใบ 3 เสน มีขนขึ้นปกคลุมผิวทั้งสองดาน แตดานลางมีหนาแนนกวา ดอก ชอดอกแบบชอเชิงหล่ัน (corymb) เปนกระจุกคลายรม ออกตามซอกใบและปลายยอด (ภาพที่ 5) แตและชอดอกประกอบดวยดอกยอย 10-35 ดอก ดอกที่อยูวงนอกจะบานกอน ดอกมีสีขาวหรือฟาอมมวง กลีบดอกหลอมรวมกันมีลักษณะเปนหลอด ปลายกลีบแยกเปน 5 กลีบมีเกสรตัวผูและตัวเมียอยูในดอกเดียวกัน (ภาพที่ 5) ผลเปนแบบผลแหงเมล็ดลอน(achene) มีขนาดเล็ก รูปรางเปน 5 เหล่ียม สีน้ําตาลหรือดํา มีหนามแข็งบนสันของผล ปลายผลมีขนสีขาว ชวยพยุงใหผลและเมล็ดลอยไปตกที่ไกลออกไป หนึ่งผลมีเพียงหนึ่งเมล็ด ลักษณะเมล็ดรูปทรงกระบอก (cylindrical) ปลายดานหนึ่งเรียวแหลม มีขนเล็กละเอียดที่ผิวเมล็ดเปนแถวบางๆ ปลายอีกดานหนึ่งมีพูสีน้ําตาลออนๆ ยาวประมาณเทากับความยาวของเมล็ดเปนกลุมกระจุกที่ปลายสุดของความยาวเมล็ด เมล็ดมีขนาด กวาง 0.3-0.5 มิลลิเมตร ยาว 3.5-5.0 มิลลิเมตร (ดวงพร, 2544)

4.3 การแพรกระจายและถิ่นท่ีอยู

สาบเสือ เปนพืชตางประเทศมีถ่ินกําเนิดในทวีปอเมริกา ถูกนําเขามาในอินเดียในป 1840

จากนั้นแพรกระจายสู เบงกอล พมา และไทย และมีการแพรกระจายทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต จีน หมูเกาะแปซิฟก หมูเกาะกวม หมูเกาะแคโรไล ในป 1940 พบวามีการแพรกระจายที่ไนจีเรีย คาเมอรูน และไอเวอรี่โคส สวนในออสเตรเลียพบบริเวณตอนเหนือของนิวสเซารเวลล และบริเวณชายฝงควีนแลนด จะเห็นไดวาสาบเสือมีการแพรกระจายอยูในเขตรอน (tropical) บริเวณอเมริกาใต เม็กซิโก บราซิล แอฟริกาตะวันตก เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต (สุรชัย, 2538; Holm และคณะ , 1997) สาเหตุที่สาบเสือกระจายไดทั่วไปเนื่องจากมีลักษณะภูมิอากาศที่เหมาะสม

4.4 ประโยชนของสาบเสือ

ใบ ตําพอกแผลหามเลือดไดดี เปนยาสมานแผล ทั้งตน มีกล่ินหอมแรงใชเปนยาฆาแมลง

ยาเบื่อปลา (กองกานดา, 2528)

23

4.5 องคประกอบสารเคมี ในการศึกษาทางดานเคมีของสารสกัดจากสาบเสือพบสารหลายชนิด เชน cadiene, alpha-pinene, alpha-camphor, limonene, β-cary-phyllene, cadinol และสวนที่เปนสารละลายของสารสกัดในสาบเสือประกอบดวย tannin, phenols และ saponin (Talapatra al. et., 1977) ในลําตนพบสาร eupatol, coumarin, eupatene, lupeol, β-amy-rin, flavone, salvigenin และ ในใบยังพบสาร ceryl alcohol, β-sitosterol acid, trihydric alcohol, tannin, isosa kulanetin, odoratin (พเยาว, 2530) myrecene,calamenen geijerene, pinene เปนตน (อุดมลักษณ และคณะ, 2540) สาร pinene, coumarin, eupatal, napthoquinone, limonene ในสาบเสือออกฤทธิ์ฆาแมลง เชน หนอนกระทูผัก หนอนใยผัก หนอนกระทูหอม และแมลงศัตรูคะนา เปนตน (ปทมา, 2539)

24

ภาพที่ 5 ลักษณะทัว่ไปของสาบเสือ A = การเจริญของสาบเสือที่พบไดโดยท่ัวไป B = ลักษณะดอกของสาบเสือ C = ลักษณะตนของสาบเสือ D = ลักษณะใบของสาบเสือ ซ่ึงขอบใบจะหยักและจะออกตรงขามกัน

A B

C D

25

5. งานวิจัยการใชสารสกัดจากพืชในการปองกันกําจัดแมลงศัตรูพชื

5.1 ประโยชนของสาบเสือ (Eupatorium odoratum) ตอการปองกันและกําจดัแมลงศตัรูพืชที่มีการวิจยั

ในการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือ (Eupatorium odoratum) พบวาใชใบ

สาบเสือ 400 กรัม ตําใหละเอียดผสมกับน้ํา 3 ลิตร ตม 10 นาที ทําใหเย็นแลวกรองเอากากทิ้ง นําไปพนในแปลงมะเขือเปราะสามารถกําจัดเพล้ียออนไดดี และพนในแปลงผักสามารถปองกันกําจัดหนอนกระทูผักไดดี (โศรยา, 2531) จากการทดลองนําสารสกัดจากใบสาบเสือ (Eupatorium odoratum) โดยใชใบสาบเสือ 400 กรัม ตอน้ํา 3 ลิตร สกัดดวยไอน้ําใหไดปริมาตร 2 ลิตร ฉีดพนในแปลงคะนา สามารถลดอัตราการระบาดของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) ได 63.54 % สวนการทดลองในหองปฏิบัติการสามารลดปริมาณหนอนกระทูผักได 51.7 % ในเวลา 48 ช่ัวโมง (มารศรี, 2529) สาบเสือ (Eupatorium odoratum) สามารถปองกันการเขาทําลายของดวงถ่ัวเหลือง (Callosobruchus maculates L.) ไดนาน 25 วัน โดยการนําใบสาบเสือที่บดละเอียดมาคลุกเมล็ดถ่ัวในอัตราสวนสาบเสือ 2 กรัม ตอเมล็ดถ่ัว 20 กรัม (มยุรา, 2535) ในประเทศฟนแลนด มีรายงานวา สารสกัดจากใบสาบเสือ (Eupatorium odoratum) มีฤทธิ์ในการกําจัดดวงงวงขาว (Sitophilus oryzae L.) ซ่ึงเปนศัตรูพืชในโรงเก็บ และพบวาสารสกัดใบสาบเสือมีความเขมขน 10% มีฤทธิ์ในการฆาดวงงวงขาวได 78.6% (Niber, 1994) Bouda et al. (2001) ศึกษาประสิทธิภาพความเปนพิษดวงงวงขาวโพด (Sitophilus zeamais) ของน้ํามันหอมระเหยที่สกัดจากพืชหลายชนิด พบวา น้ํามันหอมระเหยที่สกัดไดจาก สาบแรงสาบกา (Ageratum conyzoides) มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงมา คือ ผกากรอง (Lantana camara) และสาบเสือ (Eupatorium odoratum) โดยมีคา LC50 เทากับ 0.09, 0.16 และ 6.78 เปอรเซ็นต w/v ตามลําดับ ที่เวลา 24 ช่ัวโมง

26

สารสกัดจากใบพืช Ocinum vivide L. มีประสิทธิภาพในการไลตัวเต็มวัยของมอดแปง(Tribolium confusum) ไดเปนอยางดี โดยมีเปอรเซ็นตในที่ที่มีแสงเฉลี่ยเทากับ 98.4±6.3 เปอรเซ็นต ในที่ไมมีแสงเฉลี่ยเทากับ 80.8±5.4 และ 80.2±8.9 และสาบเสือ (Eupatorium odoratum) มีเปอรเซ็นตการไลแมลงเฉลี่ยเทากับ 50.5±4.9 และ 62.7±3.1 (Owusu, 2001)

5.2 สารสกัดจากพืชชนิดอืน่ๆ ที่มีฤทธิ์ในการปองกันและกําจดัหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

สารสกัดจาก Cymbopogon winterianus, Eucalyptus sp. และ O. bascillicum ที่ความเขมขน

5 เปอรเซ็นต สามารถลดอัตราการกินอาหารของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) และที่ความเขมขน 10 % พบวา หนอนกระทูผักจะไมกินอาหาร (Sharm et al. , 2000) Koul et al. (2000) ไดทําการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเลี่ยนดอกขาว (Melia dubia) ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) ที่สกัดดวยไดคลอโรอีเทน และเมทธานอล พบวา สารสกัดที่ใชไดคลอโรอีเทน มีคาความเปนพิษ (LC50 เทากับ 0.65 เปอรเซ็นต) สูงกวาสารสกัดที่ใชเมทธานอลเปนตัวทําละลาย (LC50 เทากับ 0.80 เปอรเซ็นต) Vyas et al. (1996) ไดทําการทดสอบประสิทธิภาพจากนอยหนา (custard apple) , wild castor , mahua พบวา มีผลทําใหหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) มีเปอรเซ็นตการตาย 89.0, 68.0 และ 21.0 เปอรเซ็นต ตามลําดับ Simanjumtak et al. (1997) ไดทําการทดสอบสารสกัดจาก Alphonsea teijmanii, Polyalthia lateriflora, Annona glabra พบวา มีผลทําใหหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) ตาย และสารสกัดจาก Polyalthia lateriflora มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทําใหหนอนกระทูผักมีเปอรเซ็นตการตาย 73.3 เปอรเซ็นต คา LC50 เทากับ 68.85 เปอรเซ็นต ที่ความเขมขน 1000 ppm Naunla, (1999) ไดทําการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากประยงค (Aglaia odorata), มะกรูด (Citrus hystrix), หนอนตายหยาก (Stemona collinsae), Piper retrofractum และ Tacca chantrieri ที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol แสดงคุณสมบัติในการยับยั้งการกินอาหารของ

27

หนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) โดยมีคา Antifeedant index เทากับ 17.94±6.73, 18.51±1.83, 19.35±1.00, 23.29±7.59 และ 25.32±6.04 ตามลําดับ

28

อุปกรณและวิธีการ

อุปกรณ

1. หนอนกระทูผัก (Spodoptera litura L.) 2. สาบเสือ (Eupatorium odoratum Linn.) 3. ใบคะนา 4. เครื่องชั่งละเอียด รุน BT224S ยี่หอ Sartorius ของบริษัท ไซแอนฟคโปรโมชั่น จํากัด 5. ตูอบ รุน 50D522-71C ยี่หอ Contherm ของบริษัท Contherm scientific, LTD. 6. Rotary evaporator รุน R-210/215 ยี่หอ Buchi ของบริษัท เบคไทย กรุงเทพอุปกรณเคมพีันธ

จํากัด 7. ตูเย็นปรับอณุหภูมิ 4 องศาเซลเซียส รุน SDC-1000 AY ยี่หอ Intercool บริษัท แซนเด็น

อินเตอรคลู (ประเทศไทย) จาํกัด มหาชน 8. ชุดสกัด soxhlet extractor และ thimble 9. เครื่องกวนดวยแมเหล็กไฟฟา ยี่หอ Ared บริษัท VELP Scientifica Co., Ltd. 10. เครื่องละลายสาร vortex Genie-2 รุน G560E 11. กรวยแยก 12. micro pipette ขนาด 20 µL, 200 µL, 5 mLและ pipette tip ขนาด 1.5 มลิลิลิตร 13. microtube ขนาด 1.5 มิลลิลิตร 14. 99% ethanol (AR grade) 15. dichloromethane (AR grade) 16. n-hexane (AR grade) 17. 99.9% methanol (AR grade) 18. สารฆาแมลง ยูน็อค 40 เปอรเซ็นตอีซี เทากับ 40 % w/v บริษัท ยูโนเคม จํากัด 19. จานเลี้ยงเชื้อ 20. กระดาษทิชชู 21. กระดาษกราฟ 22. กระดาษกรอง Whatman เบอร 1

29

วิธีการ 1. การเตรียมหนอนกระทูผัก

นําหนอนกระทูผักจาก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ บางเขน กรุงเทพฯ มาพักไวที่หองควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จนหนอนกระทูผักเจริญเติบโตเขาระยะที่ 3 จึงนําไปทดลองในขั้นตอไป

2. การสกัดสารจากสาบเสือ

เก็บสาบเสือจากอําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม นําสวนใบมาลาง ผ่ึงใหแหงแลวหั่นเปนชิ้นเล็กๆ แบงออกเปน 2 สวน สวนหนึ่งนําไปสกัดเปนพืชสด และอีกสวนหนึ่งนําไปอบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เปนเวลา 24 ช่ัวโมง เปนพืชแหง

2.1 วิธี Moving-bed

2.1.1 สาบเสือสด

ช่ังสาบเสือสด 20 กรัม ใสลงในบิกเกอรขนาด 1000 มิลลิลิตร เติมตัวทําละลาย methanol ปริมาตร 400 มิลลิลิตร ตั้งบนเครื่องกวนแมเหล็กไฟฟาดวยความเร็ว 200 รอบตอนาที เปนเวลา 8 ช่ัวโมง กรองสารสกัดออกดวยผาขาวบาง แลวกรองซ้ําอีกครั้งหนึ่งดวยกระดาษกรอง Whatman เบอร 1 นําสารสกัดจาก methanol ที่ไดไประเหยแหงดวยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นนํามาละลายดวย 80% methanol ทีละนอยใสในกรวยแยกจนครบ 100 มิลลิลิตร เติมตัวทําละลาย n-hexane ปริมาตร 100 มิลลิลิตรทําการสกัดแยกจะไดสารสกัด n-hexane ออกมา แลวสกัดซ้ําดวย n-hexane อีกครั้งหนึ่ง แยกสารสกัดชั้น n-hexane ออก นําสารสกัดชั้น 80% methanol มาสกัดตอดวย dichloromethane ปริมาตร 100 มิลลิลิตร เติมน้ํากลั่นลงไปปริมาตร 10 มิลลิลิตร ทําการสกัดแยกไดสารสกัด dichloromethane แลวสกัดดวย dichloromethane ซํ้าอีกครั้ง จะไดสารสกัดหยาบของ n-hexane, dichloromethane และ methanol (ภาพที่ 8) นําสารสกัดทั้ง 3 ชนิดไประเหยแหงดวยเครื่อง rotary evaporator (ภาพที่ 9) (ดัดแปลงจาก Nathan, 2006) เก็บสารสกัดหยาบที่ไดที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อนําไปทดสอบกับหนอนกระทูผักตอไป

30

2.1.2 สาบเสือแหง

ช่ังสาบเสือแหง 10 กรัม ใสในบิกเกอรขนาด 1000 มิลลิลิตร เติมตัวทําละลาย n-hexane ปริมาตร 400 มิลลิลิตร ตั้งบนเครื่องกวนแมเหล็กไฟฟาดวยความเร็ว 200 รอบตอนาที เปนเวลา 8 ช่ัวโมง กรองสารสกัด n-hexane ออกดวยผาขาวบาง สกัดตอดวย dichloromethane ปริมาตร 400 มิลลิลิตร จนครบ 8 ช่ัวโมง กรองสารที่สกัดดวย dichloromethane ออก แลวทําการสกัดตอดวย 99.9% methanol ปริมาตร 400 มิลลิลิตร จนครบ 8 ช่ัวโมง แยกกากออกดวยผาขาวบาง นําสารสกัดที่ไดทั้ง 3 ชนิด มากรองดวยกระดาษกรอง Whatman เบอร 1 แลวระเหยดวยเครื่อง rotary evaporator (ภาพที่ 9) (ดัดแปลงจาก Nathan, 2006) เก็บสารสกัดหยาบที่ไดที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อนําไปทดสอบกับหนอนกระทูผักตอไป

2.2 วิธี Fixed-bed

2.2.1 สาบเสือสด

ช่ังสาบเสือสด 15 กรัม ใสลงใน thimble จากนั้นเติมตัวทําละลาย n-hexane ปริมาตร 150 มิลลิลิตร ลงในขวดกนกลม สกัดดวยเครื่อง soxhlet extractor เปนเวลา 8 ช่ัวโมง (ภาพที่ 7) แลวเปลี่ยนตัวทําละลายเปน dichloromethane ปริมาตร 150 มิลลิลิตร สกัดตอเปนเวลา 8 ช่ังโมง แลวเปลี่ยนตัวทําละลายเปน methanol ปริมาตร 150 มิลลิลิตร สกัดตอเปนเวลา 8 ช่ังโมง นําสารสกัดจาก n-hexane, dichloromethane และ methanol ไประเหยดวยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส (ภาพที่ 9) (ดัดแปลงจาก อัญชลี, มปป; Talukder, 1994) ช่ังน้ําหนักสารสกัดหยาบที่ได จากนั้นนําสารสกัดหยาบไปเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อนําไปใชในการทดสอบกับหนอนกระทูผักตอไป

2.2.2 สาบเสือแหง

ช่ังสาบเสือแหง 10 กรัม ใสลงใน thimble จากนั้นเติมตัวทําละลาย n-hexane ปริมาตร 200

มิลลิลิตร ลงในขวดกนกลม สกัดดวยเครื่อง soxhlet extractor เปนเวลา 8 ช่ัวโมง (ภาพที่ 7) แลวเปลี่ยนตัวทําละลายเปน dichloromethane ปริมาตร 200 มิลลิลิตร สกัดตอเปนเวลา 8 ช่ังโมง แลวเปลี่ยนตัวทําละลายเปน methanol ปริมาตร 200 มิลลิลิตร สกัดตอเปนเวลา 8 ช่ังโมง นําสารสกัดจาก

31

n-hexane, dichloromethane และ methanol ไประเหยดวยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส (ภาพที่ 9) (ดัดแปลงจาก อัญชลี, มปป; Talukder, 1994) ช่ังน้ําหนักสรสกัดหยาบที่ได จากนั้นนําสารสกัดหยาบไปเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อนําไปใชในการทดสอบกับหนอนกระทูผักตอไป

32

ภาพที่ 6 A = สาบเสือสดกอนการสกัดดวยตัวทําละลายชนิดตางๆ B = สาบเสือแหงกอนการสกัดดวยตวัทําละลายชนิดตางๆ C = สารสกัดกอนการระเหยตวัทําละลายออก D = สารสกัดหลังการระเหยตวัทําละลายออก

A B

C D

33

ภาพที่ 7 การสกัดสารดวยวธีิ Fixed bed ดวยชุดสกัด soxhlet extractor

34

ภาพที่ 8 การสกัดสารดวยวธีิ Moving-bed

35

ภาพที่ 9 เครื่อง rotary evaporator รุน R-210/215 ยี่หอ Buchi ของบริษัท เบคไทย กรุงเทพอุปกรณเคมีพันธ จํากัด

36

3. การทดสอบกับหนอนกระทูผัก 3.1 การทดสอบความเปนพษิโดยการสัมผัส (Contact toxicity) เตรียมสารสกัดใหมีความเขมขน 1, 4, 8, 10 % w/v โดยช่ังสารสกัดหยาบมา 0.003, 0.012, 0.024, 0.03 กรัม ตามลําดับ ละลายใน 99% ethanol ปริมาตร 300 ไมโครลิตร (ภาพที่ 10) และใชสารฆาแมลงยูน็อค 40 ความเขมขน 0.1 % v/v เปน Positive ใช 99% ethanol เปนชุดควบคุม นําหนอนกระทูผักวัยที่ 3 มาชุดละ 10 ตัว ตอสารสกัด 1 ความเขมขน ช่ังน้ําหนักของหนอนกระทูผัก แลวนําสารสกัดที่เตรียมไวมาหยดลงบนตัวของหนอนกระทูผักบริเวณปลองที่ 3 ปริมาตร 5 ไมโครลิตร ปลอยทิ้งไวใหสารสกัดแหง แลวยายหนอนกระทูผักไปไวในอาหารเทียม สังเกตและบันทึกการตายทุกวันจนหนอนเขาดักแด และเจริญออกเปนตัวเต็มวัย (ภาพท่ี 11) (ดัดแปลงจาก Huang et al. 1999; Hummelbrunner, 2001)

ภาพที่ 10 สารสกัดแตละความเขมขนที่เตรียมในการทดสอบกับหนอนกระทูผัก

37

ภาพที่ 11 ลักษณะการทดสอบโดยการสัมผัสผิวหนัง

38

3.2 การทดสอบฤทธิ์ในการยบัยั้งการกนิ (Two choice leaf disc test)

เตรียมสารสกัดใหมีความเขมขน 10 % w/v โดยช่ังสารสกัดหยาบมา 0.05 กรัม ละลายใน 99% ethanol ปริมาตร 500 ไมโครลิตร และใชสารฆาแมลงยูน็อค 40 ความเขมขน 0.1 % v/v เปน Positive เก็บใบคะนามาลางแลวเช็ดใหแหง ตัดใหเปนรูปวงกลมขนาดเสนผาศนูยกลางประมาณ 2 เซนติเมตร หยดสารสกัดที่เตรียมไวลงบนใบคะนาดานบน ปริมาตร 30 ไมโครลิตร จํานวน 10 ใบ ตอหนึ่งความเขมขนของสารสกัด และหยดสารที่ใชเปนตัวทําละลาย คอื 99% ethanol ปริมาตร 30 ไมโครลิตร จํานวน 10 ใบตอหนึ่งชุดการทดลอง เพื่อใชเปนชุดควบคุม ผ่ึงใหตัวทําละลายที่ทาบนใบคะนาระเหยจนแหง (ดัดแปลงจาก Sadek, 2003; พิทยา, 2545) นําใบคะนามาวางในจานเลีย้งเชื้อที่มีกระดาษทิชชูชุมน้ํารองกนจานอยู โดยวางใบคะนาที่ทาสารสกัดกับใบคะนาที่ทาตัวทําละลายใหหางกันมากที่สุด จากนัน้นําหนอนกระทูผักวัยที่ 3 ทีช่ั่งน้ําหนกัและอดอาหารแลว 5 ช่ังโมง จํานวน 1 ตัว ใสลงบริเวณกึ่งกลางของจานเลี้ยงเชื้อ (ภาพที่ 12) ปดฝาจานเลี้ยงเชื้อที่มีรูสําหรับระบายอากาศ ปลอยใหหนอนกระทูผักเลือกกินใบคะนา เปนเวลา 4 ช่ัวโมง จึงนําหนอนออก นาํใบคะนาทีเ่หลือมาวัดพื้นทีใ่บที่ถูกกิน โดยใชกระดาษกราฟ นําผลที่ไดไปคํานวณหาคา Antifeedant index (AFI) โดยใชสูตร (ดัดแปลงจาก Sadek, 2003; Morimoto, et al. 2001) AFI = [(C-T)/(C+T)] x 100 เมื่อ C คือ ปริมาณใบ control ที่ถูกกิน T คือ ปริมาณใบชุบสารสกัดที่ถูกกิน

39

Control 99% ethanol

สารสกัดเขมขน 10%

ภาพที่ 12 ลักษณะการทดสอบดวยวิธี Two choice leaf disc test

40

ภาพที1่3 ชุดทดสอบวิธี Two choice leaf disc test

41

สถานที่และระยะเวลาการทําวิจัย สถานที ่

หองปฏิบัติการเคมี สายวิชาวิทยาศาสตร คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวดันครปฐม ระยะเวลาการทําการวิจัย

ตั้งแตเดือนมิถุนายน 2549 – เดือนพฤษภาคม 2550

42

ผลการทดลอง

1. ผลการทดสอบความเปนพษิโดยการสัมผัส 1.1 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหง 1.1.1 สกัดดวยวิธี Moving bed

ผลของการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขน 10 % w/v ดวยวิธี Moving bed ตอความเปนพิษโดยการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane และ methanol มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ซ่ึงสารที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane กับ methanol จะทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 60 % และ 50 % ตามลําดับ สวนสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane ไมมีผลออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผัก เมื่อทดสอบโดยการสัมผัส เพราะทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัยเพียง 40% ซ่ึงใหผลใกลเคียงกับชุดควบคุม ดังตารางที่ 2

จากผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขน 10% w/v ดวยวิธี Moving bed พบสารที่มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก จึงนํามาทดสอบความเขมขนมากขึ้น โดยใหสารสกัดมีความเขมขน 1, 4, 8 , 10 % w/v สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane ที่ความเขมขน 1, 4, 8 , 10 % w/v เมื่อทําการทดสอบโดยการสัมผัส พบวา มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก โดยมีผลทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตายใน 7 วัน เปน 0, 10, 30 % ตามลําดับ และอัตราการตายจะลดลงเปน 10 % ที่ความเขมขน 10 % w/v และทําใหหนอนกระทูผักไมเขาดักแด 20% และไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 50% ที่ความเขมขน 8% w/v ซ่ึงเปนความเขมขนที่มีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักดีที่สุด ดังตารางที่ 3 และภาพที่ 14

สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol ที่ความเขมขน 1, 4, 8 , 10

% w/v เมื่อทําการทดสอบโดยการสัมผัส พบวา มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก โดยมีผลทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตายใน 7 วัน เปน 0, 10, 20 % ตามลําดับ และอัตราการตายจะลดลงเปน 10 % ที่ความเขมขน 10 % w/v และมีผลทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็ม

43

วัยเพิ่มขึ้นเมื่อสารสกัดมีความเขมขนเพิ่มขึ้น จาก 1, 4, 8 , 10 % w/v ซ่ึงมีอัตราการไมเจริญเปนตัวเต็มวัย เทากับ 20, 20, 30, 40% ตามลําดับ ดังตารางที่ 4 และภาพที่ 15

44

ตารางที่ 2 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขน 10 % w/v ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) วิธีการสกัด สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

n-hexane 0 30 30 60 dichloromethane 0 10 10 40

วิธี Moving bed

methanol 0 40 30 50 n-hexane 0 70 70 80 dichloromethane 0 40 40 60

วิธี Fixed bed

methanol 0 10 10 10 control 0 20 15 35 positive 45 60 65 80

45

ตารางที่ 3 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane ดวยวิธี Moving bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ความเขมขน (% w/v)

ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

1 0 0 0 20

4 0 10 0 10

8 0 30 20 50 n-hexane

10 0 10 10 30

control - 0 15 5 40

positive 0.1 % v/v 20 40 40 50

46

0102030405060

1 4 8 10ความเขมขน (% w/v)

เปอรเซ

็นตการ

ตาย (%

)

ตายภายใน 1 วัน ตายภายใน 7 วันไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

ภาพที่ 14 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัดหยาบจาก

สาบเสือแหงทีค่วามเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane ดวยวิธี Moving bed

47

ตารางที่ 4 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทํา ละลาย methanol ดวยวิธี Moving bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ความเขมขน (% w/v)

ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

1 0 0 0 20

4 0 10 0 20

8 0 20 0 30 methanol

10 0 10 10 40

control - 0 15 5 40

positive 0.1 % v/v 20 40 40 50

48

0

10

20

30

40

50

1 4 8 10ความเขมขน (% w/v)

เปอรเซ

็นตการ

ตาย (%

)

ตายภายใน 1 วัน ตายภายใน 7 วันไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

ภาพที่ 15 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัดหยาบจาก

สาบเสือแหงทีค่วามเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย methanol ดวยวิธี Moving bed

49

1.1.2 สกัดดวยวิธี Fixed bed ผลของการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขน 10% w/v ดวยวิธี Fixed

bed ตอความเปนพิษโดยการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane และ dichloromethane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ดังตารางที่ 2 ซ่ึงสารที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane กับ dichloromethane จะทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 80 % และ 60 % ตามลําดับ ดังตารางที่ 2 สวนสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol ไมมีผลออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักเมื่อทดสอบโดยการสัมผัส เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมแลวสารสกัดจากตัวทําละลาย methanol มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักเพียง 10 % ซ่ึงใหผลการทดสอบนอยกวาชุดควบคุม ดังตารางที่ 2

จากผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขน 10% w/v ดวยวิธี Fixed

bed พบสารที่มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก จึงนํามาทดสอบความเขมขนมากขึ้นโดยใหสารสกัดมีความเขมขน 1, 4, 8 , 10% w/v สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane ที่ความเขมขน 1, 4, 8 , 10% w/v เมื่อทําการทดสอบโดยการสัมผัส พบวา มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก โดยมีผลทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการไมเขาดักแด เทากับ 0, 10, 20 % ที่ความเขมขน 1, 4, 8% w/v ตามลําดับ และอัตราการไมเขาดักแดจะลดลงเปน 0 % ที่ความเขมขน 10% w/v และพบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane ที่ความเขมขน 1, 4, 8 , 10% w/v ทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย เทากับ 30, 20, 30, 10% ทั้งนี้อาจเนื่องจากสารสกัดที่มีความเขมขนสูงไมสามารถซึมผานผิวหนังของหนอนกระทูผักไดเหมือนกับสารที่มีความเขมขนต่ํากวา จึงทําใหที่ความเขมขน 10% w/v มีอัตราการไมเขาดักแด และไมเจริญเปนตัวเต็มวัยของหนอนกระทูผักนอยกวาสารที่มีความเขมขนต่ํากวา ดังตารางที่ 5 และภาพที่ 16

สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane ที่ความเขมขน 1, 4, 8, 10% w/v เมื่อทําการทดสอบโดยการสัมผัส พบวา ที่ความเขมขน 1, 4, 8, 10% w/v มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก โดยมีผลทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 30, 40, 30, 50 % ตามลําดับ ดังตารางที่ 6 และภาพที่ 17

50

ตารางที่ 5 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัละลาย n-hexane ดวยวิธี Fixed bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ความเขมขน (% w/v)

ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

1 0 0 0 30

4 0 10 10 20

8 0 0 20 30 n-hexane

10 0 0 0 10

control - 0 0 0 15

positive 0.1 % v/v 40 60 60 60

51

ภาพที่ 16 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัดหยาบจาก

สาบเสือแหงทีค่วามเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane ดวยวิธี Fixed bed

010203040

1 4 8 10ความเขมขน (% w/v)

เปอรเซ

็นการต

าย (%

)

ตายภายใน 1 วัน ตายภายใน 7 วันไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

52

ตารางที่ 6 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย dichloromethane ดวยวิธี Fixed bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ความเขมขน (% w/v)

ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

1 0 0 0 30

4 0 10 10 40

8 0 0 0 30

dichloromethane

10 0 20 0 50

control - 5 20 20 50

positive 0.1 % v/v 20 40 40 50

53

ภาพที่ 17 เปอรเซ็นตการตายของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) เมื่อไดรับสารสกัดหยาบจาก สาบเสือแหงที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย dichlomethane

ดวยวิธี Fixed bed

0

20

40

60

1 4 8 10ความเขมขน (% w/v)

เปอรเซ

็ฯตการ

ตาย (%

)

ตายภายใน 1 วัน ตายภายใน 7 วันไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

54

1.2 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสด 1.2.1สกัดดวยวิธี Moving bed

ผลของการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขน 10 % w/v โดยวิธี Moving

bed ตอความเปนพิษโดยการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก ดังตารางที่ 7 พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ซ่ึงสารที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane โดยจะทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 50 % ตามลําดับ สวนสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane ไมมีผลออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักเมื่อทดสอบโดยการสัมผัส เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม และสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol ไมละลายใน 99% ethanol จึงไมไดทําการทดลองในครั้งนี้

จากผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขน 10% w/v โดยวิธี Moving

bed พบสารที่มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก จึงนํามาทดสอบความเขมขนมากขึ้นโดยใหสารสกัดมีความเขมขน 1, 4, 8 , 10 % w/v พบวา สารที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane และ dichloromethane ไมมีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก เพราะจากการทดสอบหนอนกระทูผักมีอัตราการตายใกลเคียงกับชุดควบคุม คือ มีอัตราการตาย 10-20 % ดังตารางที่ 8

1.2.2 สกัดดวยวิธี Fixed bed

ผลของการทดสอบสารสกัดจากสาบเสือสดที่ความเขมขน 10 % w/v ตอความเปนพิษโดย

การสัมผัสกับหนอนกระทูผัก พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ดังตารางที่ 7 ซ่ึงสารที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane จะทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 60 % สวนสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane และ methanol ไมมีผลออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักเมื่อทดสอบโดยการสัมผัสและเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ดังตารางที่ 7

55

จากผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสด ที่ความเขมขน 10% w/v พบสารที่มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก จึงนํามาทดสอบความเขมขนมากขึ้น โดยใหสารสกัดมีความเขมขน 1, 4, 8 , 10 % w/v สารสกัดจากสาบเสือสดที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane ที่ความเขมขน 1, 4, 8 , 10 % w/v เมื่อทําการทดสอบโดยการสัมผัส พบวา มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผัก โดยมีผลทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตายใน 7 วัน เปน 0, 0, 10, 20 % ตามลําดับ และมีผลทําใหหนอนกระทูผักไมเจริญเปนตัวเต็มวัย 10, 10, 40% แตอัตราการไมเจริญเปนตัวเต็มวัยจะลดลงเปน 30 % ที่ความเขมขน 10 % w/v เนื่องจากสารสกัดที่มีความเขมขนสูงไมสามารถซึมผานผิวหนังของหนอนกระทูผักไดเหมือนกับสารที่มีความเขมขนต่ํา ดังตารางที่ 9

56

ตารางที่ 7 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขน 10 % w/v ซ่ึงสกัดดวยตวั ทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) วิธีการสกัด สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

n-hexane 0 0 10 20 dichloromethane 0 0 0 50

วิธี Moving bed

methanol - - - - n-hexane 0 0 0 60 dichloromethane 0 0 0 20

วิธี Fixed bed

methanol 0 10 10 30 control 10 10 10 30 positive 30 50 50 70

57

ตารางที่ 8 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตัวทํา ละลาย dichloromethane ดวยวิธี Moving bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%) สารสกัด

ในตัวทาํละลาย ความเขมขน (% w/v)

ตายภายใน 1 วัน

ตายภายใน 7 วัน

ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

1 0 10 10 20

4 0 0 0 0

8 0 0 0 0 dichloromethane

10 0 10 10 20

control - 0 10 10 30

positive 0.1 % v/v 20 40 40 50

58

ตารางที่ 9 ผลการทดสอบสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความเขมขนตางๆ ซ่ึงสกัดดวยตัวทํา ละลาย n-hexane ดวยวิธี Fixed bed ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

อัตราการตาย (%)

สารสกัด ในตัวทาํละลาย ความเขมขน

(% w/v) ตายภายใน

1 วัน ตายภายใน

7 วัน ไมเขาดักแด ไมเปนผีเสื้อ

1 0 0 0 10

4 0 0 0 10

8 0 10 20 40 n-hexane

10 0 20 10 30

control - 5 15 10 25

positive 0.1 % v/v 20 40 40 50

59

2. ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยบัยั้งการกนิ

จากการทดสอบการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักดวยสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหง ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol โดยวิธี Moving bed และ Fixed bed พบวา สารที่สกัดโดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย dichlomethane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักในปริมาณสูง มีคา percent antifeedant index (% AFI) เทากับ 28.49 และสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักเล็กนอย มีคา % AFI เทากับ 3.69 แตสารสกัดดวย n-hexane ไมมีผลการยับยั้งการกินของหนอนกระทูผัก สวนสารสกัดที่สกัดโดยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก มีคา % AFI เทากับ 11.06 สารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichlomethane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก มีคา % AFI เทากับ 7.59 และสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol ไมมีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก มีคา % AFI เทากับ -2.86

จากการทดสอบการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักดวยสารสกัดหยาบจากสาบเสือ

สด ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol โดยวิธี Moving bed และ Fixed bed พบวา สารที่สกัดโดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก มีคา % AFI เทากับ 5.0 สารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichlomethane ไมมีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักในปริมาณสูง มีคา % AFI เทากับ -5.73 แตไมไดทําการทดสอบสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol เนื่องจากสารสกัดไมละลายใน ตัวทําละลาย ethanol สวนสารสกัดที่สกัดโดยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane และ dichlomethane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักนอย คือ มีคา % AFI เทากับ 3.70 และ 3.29 ตามลําดับ และสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย methanol ไมมีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก

60

ตารางที่10 ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการกนิของสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่ความ เขมขน10% w/v ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ methanol

ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

วิธีการสกัด ตัวทําละลาย % AFI

n-hexane -2.12

Moving bed dichloromethane 28.49

methanol 3.69

n-hexane 11.06

Fixed bed dichloromethane 7.59

methanol -2.86

positive 4.29

61

ภาพที่ 18 เปอรเซ็นตAFI ของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือแหง ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ methanol ดวยวิธี Moving bed และ Fixed bed

-505

101520253035

n-hexa

ne

dichlo

rometh

ane

metha

nol

n-hexa

ne

dichlo

rometh

ane

metha

nol

Positi

ve

Fixed bed Moving bedสารสกัดท่ีความเขมขน 10%w/v

% AF

I

62

ตารางที่11 ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการกนิของสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่ความ เขมขน 10% w/v ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-hexane, dichloromethane และ methanol ตอหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura)

วิธีการสกัด ตัวทําละลาย % AFI

Moving bed n-hexane 5

dichloromethane -5.73

n-hexane 3.7

Fixed bed dichloromethane 3.29

methanol 3.01

positive -5.73

63

ภาพที่ 19 เปอรเซ็นต AFI ของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือสด ซ่ึงสกัดดวยตวัทําละลาย n-

hexane, dichloromethane และ methanol ดวยวิธี Moving bed และ Fixed bed

-8

-6

-4

-2

0

2

4

6

n-hexa

ne

dichlo

rometh

ane

metha

nol

n-hexa

ne

dichlo

rometh

ane

Positi

ve

Fixed bed Moving bed

สารสกัดท่ีความขมขน 10% w/v

% AF

I

64

วิจารณผลการทดลอง

จาการทดสอบคุณสมบัติของสารสกัดหยาบจากสาบเสือ ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย 3 ชนิด คือ n-hexane, dichloromethane, methanol โดยวิธี Fixed bed และ Moving bed โดยการสัมผัสผิวของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) พบวา อัตราการตายของหนอนกระทูผักแปรผันตามความเขมขนของสารสกัดที่ให และมีอัตราการตายสูงสุดที่ความเขมขน 8% w/v สวนที่ความเขมขน 10% w/v อัตราการตายจะลดลง อาจเนื่องมาจากสารสกัดที่เตรียมมีความเขมขนมากเกินไปจึงทําใหไมสามารถซึมเขาสูผิวหนังของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) ได และระยะเวลาในการทดลองเพิ่มมากขึ้น จะทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตายเพิ่มมากขึ้นดวย เมื่อทําการเปรียบเทียบตัวทําละลายที่ใชสกัดทั้ง 3 ชนิด คือ n-hexane, dichloromethane, methanol พบวา สารสกัดของสาบเสือที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอการสัมผัสกับหนอนกระทูผักมากที่สุด รองลงมาคือ dichloromethane และ methanol ตามลําดับ การทดสอบการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก ซ่ึงสกัดดวยตัวทําละลาย 3 ชนิด คือ n-hexane, dichloromethane, methanol โดยวิธี Moving bed และ Fixed bed พบวา สารสกัดหยาบที่สกัดจากสาบเสือแหง โดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย dichloromethane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก โดยมี percent antifeedant index (% AFI) เทากับ 28.49 สวนสารสกัดหยาบที่สกัดจากสาบเสือแหง โดยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก โดยมี % AFI เทากับ 11.06 สําหรับสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดโดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีผลในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักโดย มีคา % AFI เทากับ 5.0 สวนสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดโดยวิธี Fixed bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane, methanol มีผลในการออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักต่ําใกลเคียงกัน โดยมีคา % AFI เทากับ 3.70, 3.29, 3.01 ตามลําดับ แสดงวา ใบสาบเสือมีสารออกฤทธิ์ในการกําจัดหนอนกระทูผัก ผลการทดลองสอดคลองกับงานวิจัยของ มารศรี (2529) ที่พบวา สารสกัดหยาบจากใบสาบเสือ (Eupatorium odoratum) โดยใชใบสาบเสือ 400 กรัม ตอน้ํา 3 ลิตร สกัดดวยไอน้ําใหไดปริมาตร 2 ลิตร ฉีดพนในแปลงคะนา สามารถลดอัตราการระบาดของหนอนกระทูผัก (Spodoptera litura) ได 63.54 % โศรยา, 2531รายงานวา การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือ (Eupatorium odoratum) พบวาใชใบสาบเสือ 400 กรัม ตําใหละเอียดผสมกับน้ํา 3 ลิตร ตม 10 นาที ทําใหเย็นแลวกรองเอากากทิ้ง นําไปพนในแปลงมะเขือเปราะสามารถกําจัดเพล้ียออนไดดี และพนในแปลงผักสามารถปองกันกําจัดหนอนกระทูผักไดดี และพัชราภรณ (2545) รายงานวา สารออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผัก สามารถถูกสกัดดวยน้ํา และการสกัดดวยไอน้ํา สารออกฤทธิ์ควรเปนสารที่มีขั้วปานกลางถึงมีขั้วมาก

65

จากรายงานนี้ พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือที่ออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักจากมากไปนอยตามลําดับ คือ n-hexane, dichloromethane, methanol โดยวิธี Fixed bed ซ่ึงใกลเคียงกับสารสกัดดวยไอน้ํา คือสวนสารออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักควรเปนสารที่ไมมีขั้วถึงมีขั้วปานกลาง จะเห็นวา งานวิจัยการใชสาบเสือในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย จะนําสาบเสือมาทําการสกัดโดยใชน้ําเปนตัวทําละลาย หรือสกัดน้ํามันหอมระเหย โดยการกลั่นดวยไอน้ําแลวจึงนํามาทดสอบ แตการทดลองในครั้งนี้ใชตัวทําละลาย 3 ชนิด เพื่อทําใหการสกัดแยกสารธรรมชาติจากพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขณะที่ Bouda et al., 2001 ศึกษาประสิทธิภาพความเปนพิษดวงงวงขาวโพด (Sitophilus

zeamais) ของน้ํามันหอมระเหยที่สกัดจากพืชหลายชนิด พบวา น้ํามันหอมระเหยที่สกัดไดจาก สาบแรงสาบกา (Ageratum conyzoides) มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงมา คือ ผกากรอง (Lantana camara) และสาบเสือ (Eupatorium odoratum) โดยมีคา LC50 เทากับ 0.09, 0.16 และ 6.78 % w/v ตามลําดับ ที่เวลา 24 ช่ัวโมง Owusu, 2001 รายงานวา สารสกัดจากสาบเสือ (Eupatorium odoratum) ที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane : isopropyl alcohol ในอัตราสวน4:1 มีประสิทธิภาพในการไลตัวเต็มวัยของมอดแปง (Tribolium confusum) ได แสดงวาสารออกฤทธิ์ในสาบเสือควรเปนสารที่มีขั้วปานกลางถึงไมมีขั้ว ซ่ึงสอดคลองกับการทดลองในครั้งนี้

สารสกัดจากสาบเสือมีองคประกอบทางเคมีที่มีผลตอหนอนกระทูผัก ไดแก pinene,

coumarin, napthoquinone, limonene ปทมา, 2539 ไดอางถึงการศึกษาของ Talapatra, 1977 วา สาร pinene, coumarin, napthoquinone, limonene ในใบสาบเสือออกฤทธิ์ฆาแมลงศัตรูคะนา ซ่ึงสารเหลานี้เปนสารประกอบอินทรียที่ละลายในน้ําไดนอย แตจะละลายไดดีในสารพวกแอลกอฮอล ซ่ึงเปนสารที่มีขั้วปานกลาง เชน สาร pinene เปนสารประกอบในกลุมของ terpene สามารถละลายใน ethanol และ acetone ได สาร coumarin ละลายไดใน ethanol สาร napthoquinone ละลายไดนอยใน petroleum ether แตละลายไดมากในตัวทําละลายอินทรียที่มีขั้วสูง มีคาการละลายน้ํา เทากับ 0.09 g/L และสาร limonene เปนสารประกอบในกลุมของ terpene พบใน essential oil เปนสารที่ไมมีขั้ว แสดงใหเห็นวาสารที่ออกฤทธิ์ฆาแมลงกลุมนี้เปนสารที่มีขั้วปานกลางถึงไมมีขั้ว ซ่ึงสอดคลองกับการทดลองในครั้งนี้ จากงานวิจัยดังกลาวพบวา pinene เปนสารออกฤทธิ์ที่สําคัญของใบสาบเสือตอการกําจัดหนอนแมลง อุดมลักษณ, 2540 จึงทําการศึกษาปริมาณของสาร α-pinene ในใบสาบเสือดวยวิธีการสกัด 4 วิธี คือ blender, shaker, soxhlet และ steam distillation พบวา วิธี shaker ใหสารออกฤทธิ์ α-pinene ออกมามากที่สุด รองลงมาคือวิธี soxhlet และวิธี steam distillation สวนวิธี

66

blender ไมเหมาะในการสกัดเพราะในขณะกรองและปน อาจมีการสลายตัวของสารออกฤทธิ์ ทําใหไดสาร α-pinene ในปริมาณนอย จากผลงานวิจัยจึงสรุปไดวาสาบเสือมีสารออกฤทธิ์ที่อยูในสวนสกัดของตัวทําละลายไมมีขั้ว (n-hexane) และตัวทําละลายทีมีขั้วปานกลาง (dicloromethane) จึงควรนําสารสกัดหยาบที่ไดจากทั้งสองทําการสกัดแยกสารเพิ่ม เพื่อหาสารออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผัก

67

สรุปผลการทดลอง จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือแหงที่สกัดดวยวิธีการสกัด 2 วิธี คือ วิธี Fixed bed และ Moving bed ตอความเปนพิษโดยการสัมผัสตอหนอนกระทูผักพบวาสารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดโดยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักดีที่สุด โดยจะทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตาย 50% สวนการสกัดสารจากสาบเสือแหงโดยวิธี Fixed bed พบวาสารสกัดที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักดีที่สุด โดยจะทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตาย 50% สําหรับการสกัดสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดดวยวิธี Moving bed พบวา สารสกัดหยาบที่ไดจากการสกัดสาบเสือสดโดยใชตัวทําละลาย 3 ชนิด ไดแก n-hexane, dichloromethane, methanol ไมมีแนวโนมออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักเมื่อเทียบกับชุดควบคุม สวนการสกัดสาบเสือสดดวยวิธี Fixed bed พบวา สารสกัดหยาบที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane จะมีประสิทธิภาพทําใหหนอนกระทูผักมีอัตราการตาย 40% จากผลการทดลองสามารถสรุปไดวา สารสกัดที่มีผลออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผัก จะเปนสารที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane และ dichloromethane ซ่ึงเปนตัวทําละลายที่ไมมีขั้วหรือมีขั้วปานกลาง ทําใหไดสารที่ออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผักเปนสารในกลุมที่ไมมีขั้วถึงมีขั้วปานกลาง จากการทดสอบสมบัติในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก ดวยสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดและสาบเสือแหง โดยวิธี Fixed bed และ Moving bed พบวา สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย dichloromethane โดยวิธี Moving bed มีผลในการยับยั้งการกินอาหารดีที่สุด มี % AFI เทากับ 28.49 รองลงมาคือ สารสกัดหยาบจากสาบเสือแหงที่สกัดดวยตัวทําละลาย n-hexane โดยวิธี Fixed bed มี % AFI เทากับ 11.06 สวนสารสกัดหยาบจากสาบเสือสด ที่สกัดดวยวิธี Moving bed ดวยตัวทําละลาย n-hexane มีผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผัก โดยมี % AFI เทากับ 11.06 และสารสกัดหยาบจากสาบเสือสดที่สกัดดวยวิธี Fixed bed จะใหผลในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทูผักนอยใกลเคียงกันในแตละตัวทําละลายที่ใชสกดั สารสกัดหยาบจากสาบเสือดวยตัวทําละลาย n-hexane, dichloromethane ดวยวิธี Fixed bed และ n-hexane, dichloromethane ดวยวิธี Moving bed มีแนวโนมออกฤทธิ์ตอหนอนกระทูผัก ซ่ึงในการทดสอบนี้ใชสารสกัดที่เปน สารสกัดหยาบเพื่อหาประสิทธิภาพโดยรวมของสารสกัด โดยไมไดจําเพาะวาสารใดเปนสารออกฤทธิ์ ดังนั้นในการทดสอบตอไป ควรจะมีการนําสารสกัดที่ไดไปแยก

68

สารตางๆ ออกมา เพื่อที่จะทําใหทราบวาสารใดเปนสารออกฤทธิ์ตอแมลง นอกจากนี้ ควรมีการประยุกตนําสารสกัดไปทดสอบในพื้นที่จริง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของสาร เนื่องจากอาจมีปจจัยของสภาพแวดลอมที่จะสงผลใหผลการทดลองแตกตางจากการทดสอบในหองปฏิบัติการได

69

ประวัติการศึกษา นางสาววนัวิสา ร้ิวทองชุม ประวัติการศึกษา ประถมศึกษาปที่ 6 โรงเรียนเมืองเกากําแพงแสน จ. นครปฐม พ.ศ. 2538 มัธยมศึกษาปที่ 3 โรงเรียนกาํแพงแสนวิทยา จ. นครปฐม พ.ศ. 2541 มัธยมศึกษาปที่ 6โรงเรียนกาํแพงแสนวิทยา จ. นครปฐม พ.ศ. 2544

70

เอกสารและสิ่งอางอิง

กองกานดา ชนามฤต. 2528. สมุนไพรไทย. ชุติมาการพิมพ, กรุงเทพฯ. 515น. กําพล กาหลง. 2546. สารสกัดสมุนไพรไลแมลงศัตรูพชื. วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ. 7:40-43. คมสัน หุตะแพทย. 2545. สมุนไพรไลแมลง. สยามศลิปการพิมพ, กรุงเทพฯ. 95น. ชาญณรงค ดวงสอาด. 2544. แมลงศัตรูผัก. ในเอกสารประกอบการบรรยายในการอบรมเรื่อง

เทคโนโลยีการผลิตพืชผัก, 28 กันยายน 2544. ภาควิชาพืชสวน. คณะผลิตกรรมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแมโจ. เชียงใหม.

ณรรฐพล วัลลียลักษณ. 2526. แมลงศัตรผูักของประเทศไทย. ภาควชิากีฏวิทยา.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 205น. ดวงพร สวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพชืพื้นฐานการจัดการวัชพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร,

กรุงเทพฯ. ดวงพร สุวรรณกมล, รังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2544. สัณฐานวิทยาของเมล็ดวัชพืชในประเทศไทย.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. นฤมล สังขโอธาน. 2546. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบเสม็ดขาวในการควบคมุแมลงศัตรูพชื.

วทิยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. ปทมา แซกิม. 2539. ผลของสารสกัดจากสะเดา ตอการเปล่ียนแปลงระดับเอนไซมขจัดพิษของ

หอยเชอรี่. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ.

71

ปยรัตน เขียนมีสุข และคณะ. 2542. แมลงศัตรูผัก. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวชิาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 97น.

พรชัย เหลืองอาภาพงศ. 2540. วัชพืชศาสตร. โรงพิมพลินคอรน, กรุงเทพฯ. พเยาว เหมือนวงศญาติ. 2530. คูมือการใชไพร. สํานักพมิพเมดิคัล มีเดยี, กรุงเทพฯ. พัชราภรณ วาณิชยปกรณ. 2545. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารฆาแมลง

สังเคราะหในการควบคุมแมลงศัตรูคะนา. ภาควิชาพืชศาสตร คณะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นครศรีธรรมราช.

พิทยา สรวมศริิ. 2545. สารธรรมชาติเพื่อควบคุมแมลงศัตรูผักจากดีปลีและคางคาวดํา. วารสาร

เกษตร(พิเศษ). 18:39-55. มยุรา สุนยวีระ. 2535. ผลของพืชสมุนไพรบางชนิดตอการปองกันการเขาทําลายของดวงถ่ังเหลือง

Callosobruchus maculates L.. วารสารกฏีและสัตววิทยา. 14(2):93-96. มารศรี อุดมโชค. 2529. การใชสารพิษจากสาบเสือในการปองกันกําจดัแมลงศัตรูผักคะนา. ขาวสาร

วัตถุมีพิษ. 13(6):177-184. รังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2547. สารปองกันกําจัดวัชพชื. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. เรวัตต จันทวญิูรักษ. 2531. ผลของสารที่สกัดจากรากและเมล็ดมะละกอบางพันธุตอการงอกและ

การเจริญเติบโตของครอบจักรวาลและหญาขจรจบดอกเล็ก. วิทยานพินธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

วิฑูรย ปญญากุล. 2544. แมลงศัตรูผักกับการกําจัดโดยไมใชสารเคมี. วารสารเกษตรกรรม

ธรรมชาติ. 1:14-21.

72

โศรยา พันธุวริิยะพงษ. 2531. พืชกําจัดแมลง. น.44-47. ในเอกสารการประชุมสัมมนาพืชสารฆาแมลงในการทาํการเกษตร, 28-30 กันยายน 2531. สถานีทดลองพืชไรศรีสําโรง. อําเภอศรีสําโรง, สุโขทัย.

สมคิด ดิสถาวร. 2546. เชื้อจุลินทรียควบคุมศัตรูพืช. สํานักพิมพกองทุนสนับสนุนการวจิัยและ

กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. สุรชัย มัจฉาชีพ. 2538. วัชพืชในประเทศไทย. สํานักพมิพแพรพิทยา, กรุงเทพฯ. สุรพล วิเศษสรรค. 2528. แนวโนมการนําสารพิษที่สกัดไดจากพืชตามธรรมชาติมาทดแทน

สารเคมี. ขาวสารวัตถุมีพิษ. 12(2):58-67. สําลี ใจดี และคณะ. 2525. การใชสมุนไพร. น.157-158. ในรายงานการรวบรวมขอมูลเบื้องตน

สําหรับงานวิจยัโครงการพัฒนาเทคนิคการทํายาสมุนไพร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อนันต สกุลกมิ. 2540. แมลงสําคัญทางเศรษฐกิจ. เอกสารคําสอนรายวิชาแมลงสําคัญทาง

เศรษฐกิจ. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏบานสมเด็จ. อัญชลี สงวนพงษ. มปป. การใชเทคนิคการสกัดแบบ Fixed-bed Contacting ในการสกัดสาร ออกฤทธิ์ จากรากหนอนตายหยากที่มีผลตอหนอนกระทูหอม (Spodoptera exigua HUBNER ). คณะวิศวะกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี, ปทุมธานี. อุดมลักษณ อุนจิตตวรรธนะ, ถวิล จอมเมอืง และอารมณ แสงวานิชย. 2540. วิจัยการสกัดและ

จําแนกสารแอลฟาฟนีนในสาบเสือแหลงตางๆ. ขาวสารวัตถมีุพิษ. 24(1): 14-19.

73

Bouda, H., L.A.Tapondjou, D.A.Fontem and M.Y.D.Gumdzoe. 2001. Effect of essential oils from leaves of Agertum coyzoides , Lantana camara and Chromoleana odorata on the mortality of Sitophilus zeamais (Coleoptera:Curculionidae). Journal of Stored Products Research. 37: 103-109.

Holm, L.O.,D.L.Plucknett, J.V.Pancho and J.P.Herberger. 1977. The World’s Worst Weeds. The East-West Center, Honolulu. 356 p.

Huang Y., S. L. Lam, S. H. Ho. 1999. Bioactivities of essential oil from Elletaria cardamomum

(L.) Maton. to Sitophilus zeamais Motschulsky and Tribolium castaneum (Herbst). Journal of Stored Products Research. 36: 107-117.

Hummelbrunner, L. A., Isman, M.B. 2001. Acute, sublethal, antifeedant, and synergistic effects

of monoterpenoid essential oil compounds on the tobacco cutworm, Spodoptera littoralis (Lep.). J.Agric. Food Chem. 49: 715-720.

Koul O., M.P. Jain and V.K. Sharma. 2000. Growth inhibitory and antifeedant activity of extracts

from Melia dubia to Spodoptera liitura and Helicoverpa armigera larvae. India Journal of Experimental Biology. 38(1): 63-68.

MorimotoM., Kumiko Tanimoto, Akiko Sakatani, Koichiro Komai. 2001. Antifeedant activity of

an anthraquinone aldehyde in Galium aparine L. against Spodoptera litura F. J. Phytochemistry. 60: 163-166.

Metwally, A.M. and E.C.Ekejiuba. 1981. Methoxylated flaronols from Eupatorium odoratum. J.

of Med. Plant Res. 42: 430-450. Nathan S. S., K. Sehoon. 2006. Effects of Melia azedarach L. extract on the teak defoliator

Hyblaea puera Cramer (Lepidoptera Hyblaeidae). J. Crop Protection. 25: 287-291.

74

Naunla, R. 1999. Application of medicinal plant crude extract for insect control in chinese kale. M.S. thesis, Chiang mai University, Chiangmai.

Niber, B.T. 1994. The ability of powers and slurries from ten plants species grain from attact by

Prostephanus truncates Horn (Coleopetera bostrichidae) and Sitophilus oryzael (Coleopter curculionidae). J. Stobed Pbod. Res. 30(4): 297-301

Owusu, E.O. 2001. Effect of some Ghanaian plant component on control of two stored-product

insect pests of cereal. Journal of Stored Products Research. 37: 85-91. Sadek, M.M. 2003. Antifeedant and toxic activity of Adhatoda vasica leaf extract against Spodoptera littoralis (Lep., Noctuidae). J.Appl. Ent. 127: 396-404. Sharma, S.S., K.Gill, M.S.Malik, O.P.Malik. 2000. Insecticidual, antifeedant and growth

inhibitory activites of essential oils of some medicinal plants. Journal of Medicinal and Aromatic Plant Sciences. 2(1): 6.

Simanjuntak, P., P.T.Widayanti and Z.Sagala. 1997. Isolation of bioactive compound from

Idonesian pesticide-producing plants:feeding bioassay of Spodoptera litura by plant extracts of Annonaceae. Biotechnology for Sustainable Utilization of Biological Resources in the Tropics. 11: 120-132.

Takaoatra, S.K. , D.S. Bhar and B. Talapatra. 1977. Terpenoid and related compounds part 13

epoxy a new triterpenoid from E. odoratum. Indian J. Chem. Sect B Org. 18: 59-63. Talukder F. A. and P. E. Howse. 1994. Evaluation of Aphanamixis polystachya as a Source of

Repellents, Antifeedants, Toxicants and Protectants in Storage Against Tribolium castaneum (Herbst). J. stored Prod. Res. 31(1): 55-61.

75

Vyas, B.N., S.Ganesan, K.Raman, N.B.Godrej and K.B.Mistry. 1996. Effects of three plant extracts and achook: a commercial neem formulation on growth and development of three noctuid pests, pp 103-109. In R.P.Singh and R.C.Saxena (eds) Azadirachta indica A. Juss., International Neem Conference, Gatton, Feb. 4-9, 1996.