22
บทที4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย เมื่อผูวิจัยไดเลือกปญหาและหัวขอวิจัยไดแลว จะตองมีการวางแผน (planning) และ ออกแบบการวิจัย โดยกําหนดกิจกรรมตาง ที่ผูวิจัยจะตองทํา ซึ่งในบทนี้จะเปนการกลาวถึง ความหมายของการวางแผน การออกแบบการวิจัย วัตถุประสงคของการออกแบบการวิจัย หลักใน การออกแบบการวิจัย ดังหัวขอตอไปนี1. ความหมายของการวางแผนการวิจัย ในการวิจัยผูวิจัยตองการวางแผนการวิจัยเพื่อใหเขาใจอยางชัดเจนวาปญหาวิจัยคืออะไร วิธีทําใหชัดเจนคือใหระบุปญหาเปนคําถามวิจัยใหอยูในรูปของประโยคคําถาม จากนั้นจึงนิยามตัว แปรซึ่งจะนิยามในเชิงปฏิบัติการเพื่อใหสามารถสังเกตหรือวัดตัวแปรไดอยางชัดเจน ถูกตอง การทีผูวิจัยจะสามารถกําหนดปญหาวิจัยไดอยางชัดเจนเพียงใดขึ้นอยูกับการศึกษาคนควาเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวของดวย และกําหนดวัตถุประสงคของการวิจัยรวมทั้งพิจารณาวาการวิจัยเชิงสํารวจ เหมาะกับปญหาที่ตองการศึกษาหรือไม ดังนั้นการวางแผนการวิจัยก็คือ การที่ผูวิจัยพิจารณาปญหา หรือหัวขอเรื่องการวิจัยโดยคํานึงถึงความชัดเจน ความจําเปน และประโยชนโดยพิจารณาถึง วัตถุประสงค กําหนดสมมุติฐาน กําหนดกรอบเวลาและกิจกรรม รวมถึงการประมาณคาใชจายใน การวิจัย e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

  • Upload
    -

  • View
    21

  • Download
    8

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

บทที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวจิัย

เมื่อผูวิจัยไดเลือกปญหาและหัวขอวจิัยไดแลว จะตองมกีารวางแผน (planning) และออกแบบการวจิัย โดยกําหนดกิจกรรมตาง ๆ ที่ผูวิจยัจะตองทํา ซ่ึงในบทนี้จะเปนการกลาวถึง ความหมายของการวางแผน การออกแบบการวิจยั วัตถุประสงคของการออกแบบการวิจัย หลักในการออกแบบการวิจยั ดังหวัขอตอไปนี ้ 1. ความหมายของการวางแผนการวิจัย

ในการวิจัยผูวจิัยตองการวางแผนการวจิัยเพื่อใหเขาใจอยางชัดเจนวาปญหาวิจยัคืออะไร วิธีทําใหชัดเจนคือใหระบุปญหาเปนคําถามวิจัยใหอยูในรูปของประโยคคําถาม จากนั้นจึงนยิามตวัแปรซึ่งจะนยิามในเชิงปฏิบัตกิารเพื่อใหสามารถสังเกตหรือวัดตัวแปรไดอยางชัดเจน ถูกตอง การที่ผูวิจัยจะสามารถกําหนดปญหาวิจยัไดอยางชัดเจนเพียงใดขึ้นอยูกับการศึกษาคนควาเอกสารและงานวิจยัที่เกีย่วของดวย และกําหนดวัตถุประสงคของการวิจัยรวมทั้งพิจารณาวาการวิจัยเชงิสํารวจเหมาะกับปญหาที่ตองการศกึษาหรือไม ดงันั้นการวางแผนการวิจยัก็คอื การที่ผูวิจยัพิจารณาปญหา หรือหัวขอเร่ืองการวิจยัโดยคํานึงถึงความชัดเจน ความจําเปน และประโยชนโดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค กําหนดสมมตุิฐาน กําหนดกรอบเวลาและกิจกรรม รวมถึงการประมาณคาใชจายในการวิจยั

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 2: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

56

2. ความหมายออกแบบการวิจัย ในการใหความหมายของการออกแบบการวิจัยมีผูใหความหมายดังตอไปนี้

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ (2540, หนา 125) ไดมีผูใหความหมายของการออกแบบการวิจยัไววาการออกแบบการวจิัยหมายถึงการกําหนดกิจกรรมตาง ๆ และรายละเอียดของกิจกรรมตาง ๆ ที่ผูวิจัยจะทํา (นับตั้งแตการเตรียมการจัดเกบ็ขอมูล จากการระบุสมมุติฐาน การกําหนดตวัแปรและคํานิยามปฏิบัติการไปจนถึงการวิเคราะหขอมูล) และวิธีการและแนวทางตาง ๆ ที่จะใชเพื่อใหไดมาซ่ึงขอมูลจากประชากรเปาหมายหรือจากตัวอยางของประชากร

สุบรรณ พันธวิศวาส และชัยวัฒน ปญจพงษ (ม.ป.ป. ) ไดใหความหมายของการออกแบบการวจิัยวา เปนการวางแผนการวิจัยใหครอบคลุมโครงการที่จะทําการวจิัยทั้งหมดและกําหนดโครงสรางของตัวแปรตาง ๆ ที่เกี่ยวของ เพื่อพิจารณถึงความสัมพันธของตัวแปรเหลานัน้กับการกําหนดยุทธวิธี เพื่อที่จะใหไดมาซึง่ตําตอบที่ประสงคจะทราบจาการวจิัย

ไวรสมา วิลลเลียม (Wiersma William, 1986, pp. 83) ไดใหความหมายไววาการ ออกแบบการวจิัย หมายถึงการวางแผนงานหรือการกําหนดกลวิธี (strategy) สําหรับการทํา การวิจัย

ศิริชัย กาญจนวาสี (2538 อางถึงใน พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2543, หนา 147)) ใหความหมายวา การออกแบบการวิจยัหมายถึงการกําหนดรูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการวิจยัเพื่อใหไดมาซึ่งคําตอบหรือขอความรูขอความตามปญหาวิจัยทีต่ั้งไว

ผองพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ (2543, หนา 24) กลาววาการออกเเบบการวิจัยเปนการวางโครงสรางและกรอบการวจิัยครอบคลุมตั้งแตการกําหนดปญหาวิจัย การวางกรอบตัวแปร การวิเคราะหขอมูลและสรุปผล

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2543, หนา 148) กลาวถึงความหมายของการออกแบบการวิจยัวาเปนการกําหนดกรอบการวิจยัที่เกี่ยวกับโครงสราง รูปแบบการวิจยั ขอบเขตการวจิัย และแนวดําเนินการวิจยัเพื่อใหไดมาซึ่งคําตอบที่เหมาะสมกับปญหาวิจยัที่กําหนดไวและเคอรลิงเจอร (Kerlinger, 1986, pp. 279) ยังใหความหมายของการออกแบบวจิัยวาเปนการวางโครงสรางเฉพาะของการวิจยัหนึ่ง ๆ และแนวทางในการคนควาคําตอบของการวิจยั เพือ่ใหสามารถหาคําตอบปญหาวิจัยไดอยางมี ประสิทธิภาพที่สุด

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 3: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

57

ดังนั้นสรุปไดวาการออกแบบการวิจยัก็คือการวางแผนการวิจัย โดยการกําหนดกลวิธี รูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการวิจยั ใหครอบคลุมตั้งแตการกําหนดปญหาวจิัย การวางกรอบตัวแปร แผนการเก็บรวบรวมขอมูล การวิเคราะหขอมูลและสรุปผล เพื่อใหสามารถหาคําตอบปญหาวิจัยไดอยางมปีระสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นในที่นี้จึงจะขอกลาวถึงการออกแบบการวิจยัดัง หัวขอตอไปนี ้

3. วัตถุประสงคของการออกแบบการวิจัย ในการวิจัยถาไมมีการออกแบบการวิจยัผูวจิัยจะไมสามารถดําเนินการวิจัยเพื่อใหได คําตอบที่ตองการได ดังนั้นในการออกแบบการวิจยัจึงมีวัตถุประสงคที่สําคัญ 2 ประการคือ (Kerlinger, 1986, pp. 280) 3.1 เพื่อใหไดคําตอบปญหาวิจยัที่ถูกตอง ตรงประเด็นหรือตรงตามวัตถุที่ตองการ เที่ยงตรงเชื่อถือได เปนปรนยัและประหยัดมากที่สุด 3.2 เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจยั โดยหลักการในการควบคมุ 3 ประการคือ 3.2.1 การศึกษาใหครอบคลุมขอบขายของปญหาการวิจยัใหมากที่สุด 3.2.2 การควบคุมอิทธิพลของสิ่งตาง ๆ ที่ไมอยูในขอบขายของการวิจยัแตสงผลตอการวิจยัใหไดมากที่สุด ซ่ึงสามารถทําไดหลายวิธี เชน (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ, 2536, หนา 78)

1) การคัดเลือกประชากรที่มีคุณสมบัติเหมือนกนัทุกดาน ที่ผูวิจัยตองการลดหรือควบคมุอิทธิพล

2) การสุมตัวอยางแบบกระจาย เปนวิธีการสุมตัวอยางเปรียบเทียบ 2 หรือ 3 กลุมหรือมากกวานัน้ จากประชากรที่มีคุณสมบัติเหมือนกนัทุกดาน 3) การจับคูวิเคราะหเปรียบเทยีบ เปนการหาบุคคลที่เหมือนกันในเรื่องที่ตองการควบคุม มาศึกษาเปรียบเทียบกนัเพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของตัวแปรที่ตองการศึกษา 4) การควบคุมทางสถิติ เปนการใชวธีิทางสถิติในการวิเคราะหควบคมุความผันแปรของตัวแปรตาง ๆ ที่เกี่ยวของ

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 4: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

58

3.2.3 การลดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนใหไดมากที่สุดเทาที่จะทําได 4. ประโยชนของการออกแบบการวิจยั การออกแบบการวิจยัมีประโยชนดังนี้ (ยทุธพงษ กัยวรรณ, 2543, หนา 92) 4.1 ทําใหผูวิจัยควบคุมคาความแปรปรวนตาง ๆ ไดถูกตอง 4.2 ชวยใหผูวิจัย เห็นแนวทางในการดาํเนินการวิจยั อันจะนาํไปสูการตอบคําถามหรือการพิสูจนสมมุติฐานที่กําหนดไว 4.3 ชวยใหทราบรายละเอยีดเกีย่วกับเวลา กําลังคน และงบประมาณที่จะตองใช 4.4 ชวยใหกาํหนดขนาดหรือสภาพเครือ่งมือที่ใชในเรื่องนั้นไดอยางเที่ยงตรงและมีความนาเชื่อถือ 4.5 ชวยใหเกิดความตระหนักเกีย่วกับผลที่ไดวา สามารถนํามาสรางเปนหลักทัว่ไปไดมากนอยเพยีงใด 5. หลักการออกแบบการวิจัย เพื่อใหการวิจยัสามารถตอบปญหาไดตรงประเด็นหรือตรงวัตถุประสงค ดังนั้นในการออกแบบการวจิัยควรมหีลักการดังนี ้ 5.1 การออกแบบการวิจยัตองใหมีประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ คือตองมุงใหไดคําตอบหรือขอคนพบตรงตามปญหาการวจิัยหรือวัตถุประสงคของการวิจัยดวยการใชทรัพยากรที่มอียูอยางประหยัดและคุมคา 5.2 การออกแบบการวิจยัตองทําใหไดผลการวิจัยที่มีความเที่ยงตรง กลาวคือ 5.2.1 ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) การที่จะออกแบบการวิจยัใหมคีวามเที่ยงตรงภายในนั้นผูวจิัยตองสามารถออกแบบการวดั เพื่อวัดคาตวัแปรไดอยางเหมาะสม รวมทั้งออกแบบการวเิคราะหขอมูล เพื่อเลือกใชสถิติเชิงบรรยายและวิธีวิเคราะหขอมูลของกลุมตัวอยางไดอยางถูกตองและเหมาะสม ซ่ึงปจจัยทีส่งผลตอความเที่ยงตรงภายในคือ

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 5: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

59

1) ประวัติของกลุมตัวอยางหรอืเหตุการณแทรกซอน 2) วุฒภิาวะของกลุมตัวอยาง 3) การทดสอบ 4) เครื่องมือที่ใชในการวัด 5) การวิเคราะหการถดถอย 6) การคัดเลือกกลุมตัวอยาง 7) การขาดหายไปของกลุมตัวอยาง 8) ปฏิสัมพันธระหวางการเลือกกลุมตัวอยางกับวุฒภิาวะ

5.2.2 ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) การวิจยัจะมีความเทีย่งตรงภายนอกก็ตอเมื่อผลการวิเคราะหจากกลุมตัวอยางสามารถสรุปอางอิงไปยังประชากรเปาหมายไดอยางถูกตอง ปจจัยที่สงผลตอความเที่ยงตรงภายนอกคอื

1) ปฏิสัมพันธระหวางการเลือกกลุมตัวอยางกับตัวแปร 2) ปฏิกิริยารวมระหวางการทดสอบครั้งแรกกับการทดลอง 3) ปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากวิธีทดลอง 4) ปฏิกิริยารวมจากหลาย ๆ วธีิการจัดกระทาํ

5.3 การออกแบบการวิจยั ในการออกแบบการวจิัยจะตองคํานงึถึงหลักการ 3 ประการดังนี ้ 5.3.1 พยายามทําใหความแปรปรวนที่เปนระบบ หรือความแปรปรวนในการทดลองมีคาต่ําสุด กลาวคือตองทําใหความแปรปรวนของตัวแปรอสิระในการวิจยัมีความแตกตางกันใหมากที่สุด (Max.) ซ่ึงทําไดโดยการออกแบบวางแผนและดําเนนิการวจิัยในสภาพการทดลองใหแตละสภาพ หรือ ตัวแปรแตละประเภทใหมีความแตกตางกนัมากที่สุด เพราะจะทําใหไดผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรแตกตางกนั 5.3.2 พยายามลดความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อน ใหนอยที่สุด (Min.) เชนลดความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัด โดยการสรางเครื่องมือที่มีความเทีย่งตรงสูง เปนตน 5.3.3 การควบคุมความแปรปรวนที่เกิดจากตัวแทรกซอนหรือตัวแปรเกิน (Con.) คือการควบคุมอิทธิพลของตัวเเปรภายนอกที่ไมไดศึกษา อาจจะทําไดโดย การสุมตัวแปรที่เทาเทียมกัน การกําจัดตวัแปรออก การเพิ่มตวัแปรที่ตองการศึกษา หรือการใชวิธีการทางสถิติ เปนตน

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 6: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

60

6. ลักษณะของการออกแบบการวิจัยท่ีดี ในการออกแบบการวิจยัที่ดีนัน้ จะตองมลัีกษณะของการออกแบบการวิจัยทีด่ีอยู 4 ประการดังนี้ (Wiersma, 1991, pp. 94-95) 6.1 ปราศจากความลําเอยีง (freedom from bias) การออกแบบการวิจยัที่ดจีะตองปราศจากความลําเอียงใด ๆ ที่จะทําใหไดมาซึ่งขอมูลและการวิเคราะหขอมูลมีความผิดพลาดได และตองไดขอมูลที่มีความเที่ยงตรง เชื่อถือไดและนําไปสูการตอบปญหาการวจิัยที่ถูกตอง 6.2 ปราศจากความสับสน (freedom from confounding) อันเกิดจากความ แปรปรวนของตวัแปรตามทีเ่กินไปจากตวัแปรอิสระหรอืตัวแปรแทรกซอนที่เกิดขึน้จนผูวจิัยแยกไมออกทําใหไมสามารถสรุปไดวาตวัแปรใดที่เปนสาเหตขุองความแปรปรวนในตัวแปรตาม 6.3 สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกไดทั้งหมด การออกแบบการวิจยัที่ดจีะตองสามารถควบคุมตัวแปรภายนอกได ทาํใหตวัแปรควบคุมคงตัวหรือสามารถขจัดตัวแปรภายนอกออกไปไดแลวแตกรณี ซ่ึงผลการวิจัยจะตองไดมาจากตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเทานั้น 6.4 มีการใชสถิติที่ถูกตองในการทดสอบสมมุติฐาน ผูวจิัยจะตองออกแบบการวิจยัโดยคํานึงถึงความถูกตองของการทดสอบทางสถิติดวย 7. คําถามหลักของการออกแบบการวิจัย เมื่อพิจารณาปญหาการวิจยัแลวการที่จะทําการวิจยัไดดีทกุขั้นตอน เมื่อผูวิจัยสามารถตั้งคําถามที่จะตองทําการวิจยัในทุกขั้นตอนแลวจะทําใหผูวจิัยสามารถออกแบบการวิจยัได ในทีน่ี้จะขอยกตัวอยางของการตั้งคําถามเพื่อเสนอเปนแนวคิดในการออกแบบการวิจยั ดังแสดงในตารางที่ 4.1

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 7: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

61

ตารางที่ 4.1 แสดงตัวอยางของการตั้งคําถามในการออกแบบการวิจยั

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 8: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

62

ขั้นตอนของการวิจัยที่ตองมกีารตัดสินใจ คําถามหลัก 1. การกําหนดปญหา 1.1 อะไรคือวตัถุประสงคของการศึกษา

1.2 ในเรื่องนี้มีความรูมากเทาใด 1.3 ตองการขอมลูอะไร 1.4 จะวัดอะไร อยางไร 1.5 จะมีขอมูลไหม 1.6 ควรจะทําวจิัยไหม 1.7 สามารถกําหนดสมมุติฐานไดไหม

2. การคัดเลือกแบบของการวิจยั

2.1 คําถามที่ตองตอบเปนคําถามประเภท ใด

2.2 ขอคนพบที่ตองการเปนเชิงพรรณาหรือเชิงเหตแุละผล 2.3 ขอมูลจะหาไดจากแหลงใด 2.4 จะไดคําตอบเชิงวัตถุวิสัยจากการถาม บุคคลไหม 2.5 ตองการขอมูลรวดเร็วเพียงใด 2.6 ควรจะตั้งคําถามสํารวจอยางไร 2.7 ควรมีการดําเนินการทดลองไหม

3. การเลือกตัวอยาง 3.1 ใครหรืออะไรเปนแหลงขอมูล 3.2 จะระบุประชากรเปาหมายไดไหม 3.3 การสุมตัวอยางจําเปนไหม 3.4 การสุมตัวอยางระดบัประเทศจําเปนไหม 3.5 ตัวอยางควรมีขนาดเทาใด 3.6 จะเลอืกตัวอยางไดอยางใด

ตารางที่ 4.1 แสดงตัวอยางของการตั้งคําถามในการออกแบบการวิจยั (ตอ)

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 9: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

63

ขั้นตอนของการวิจัยที่ตองมกีารตัดสินใจ คําถามหลัก 4. การเกบ็รวบรวมขอมูล 4.1 ใครเปนผูเก็บรวบรวมขอมลู

4.2 จะใชเวลานานเทาใด 4.3 จะตองมกีารควบคุมดูแลหรือไม 4.4 จะตองใชกระบวนการปฏิบตัิการอะไร

5. การวิเคราะหขอมูล

5.1 สามารถที่จะใชประโยชนจากกระบวนการมาตรฐาน ของการลงรหัสและการบรรณาธิกรณขอมูลไดหรือไม

5.2 จะแบงกลุมขอมูลอยางไร 5.3 จะใชเครื่องคอมพิวเตอรหรือทําดวยมือ 5.4 ลักษณะของขอมูลเปนอยางไร 5.5 ตองตอบคําถามอะไร 5.6 มีตัวแปรกี่ตัวที่ตองการศึกษาพรอมกัน

6. ประเภทของรายงาน 6.1 ใครเปนผูอานรายงาน 6.2 ตองมีขอเสนอแนะเชิงจัดการหรือไม 6.3 จะตองเสนอกี่คร้ัง

6.4 รูปแบบของรายงานจะตองเปนอยางไร 7. การประเมินภาพรวม 7.1 เสียคาใชจายในการศึกษาเทาใด

7.2 เวลาที่กําหนดไวใชไดหรือไม 7.3 ตองการความชวยเหลือจากภายนอก

หรือไม 7.4 แบบของการวิจัยทีจ่ะใชทําใหบรรลุถึง

วัตถุประสงคของการวิจยัหรือไม 7.5 เมื่อไหรถึงจะเริ่มลงมือได

ที่มา (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ, 2536, หนา 91-92) 8. เทคนิควิธีการออกแบบการวิจัย

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 10: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

64

การออกแบบการวิจยัจะเปนไปในรูปแบบใดนั้นขึน้อยูกับประเภทของการวิจยั ซ่ึงในที่นี้จะขอกลาวถึงเทคนิคการออกแบบการวิจยั 2 แบบคือ การออกแบบการวิจยัเชิงทดลองและการออกแบบการวจิัยเชิงบรรยาย ดังนี ้ 8.1 การออกแบบการวิจยัเชิงทดลอง ในการออกแบบการวิจยัเชิงทดลอง ส่ิงที่จะตองคํานึงถึงคือสวนประกอบของการออกแบบการวิจยัเชิงทดลองและประเภทของการออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง ซ่ึงจะกลาวถึงพอสังเขปดังนี้ 8.1.1 สวนประกอบของการออกแบบการวิจยัเชิงทดลอง มี 4 สวนดังตอไปนี ้ 1) กรอบแนวคิดในการวจิัย เปนภาพทางความคิดที่ในการวิจัยไดจากทฤษฎี หลักการที่เกีย่วของ ซ่ึงจะทาํใหผูวจิัยเขาใจประเดน็ปญหา และสามารถกําหนดแนวทางการวิจยัไดอยางมีเหตุผล 2) การจัดกลุมสําหรับทดลอง เปนการจัดกลุมการทดลอง เชน เปนกลุมทดลอง หรือกลุมควบคุม 3) การจัดดําเนินการแบบสุม เปนการสุมตัวอยางจากประชากร หรือการสุมตัวอยางเขากลุมทดลอง 4) การวัดผล เปนการวดัคาของตัวแปรตามทีผู่วิจัยสนใจซึ่งอาจจะวัดกอนการทดลองและหลังการทดลอง 8.1.2 ประเภทของการออกแบบการวิจยัเชิงทดลอง ในการจัดประเภทของการออกแบบการวจิัยเชิงทดลองสามารถจําแนกไดเปน 3 ประเภท ดังแสดงในตารางที่ 4.2 คือ 1) การออกแบบการวิจยัเชิงทดลองเบื้องตน เปนการออกแบบที่ไมมีการจัดดําเนินการแบบสุมและไมมีกลุมควบคุม ดังนัน้ในการทดลองจึงมีกลุมทดลองเพียงกลุมเดยีว 2) การออกแบบการวิจัยเชงิกึ่งทดลอง เปนการออกแบบที่มีกลุมทดลองและมกีลุมควบคุม แตไมมีการดําเนินการแบบสุม 3) การออกแบบการวิจยัเชิงทดลองที่แทจริง เปนการออกแบบที่มีกลุมทดลองและมีกลุมควบคุม และมีการดําเนินการแบบสุม ตารางที่ 4.2 แสดงประเภทของการออกแบบการวิจยัเชงิทดลอง

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 11: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

65

การจัดดําเนินการแบบสุม สวนประกอบ ไมมี มี

ไมมี การออกแบบการวิจยัเชิงทดลองเบื้องตน

-

การจัดกลุมควบคุม มี การออกแบบการวิจยัเชิงกึ่ง

ทดลอง การออกแบบการวิจยัเชิงทดลองที่แทจริง

ที่มา (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2543, หนา 160) 8.2 การออกแบบการวิจยัเชิงบรรยาย เปนการวางแผนการวิจยัเพือ่คนหาขอเท็จจริงในปจจุบัน บรรยายตวัแปร หรือศึกษาความสัมพันธของตัวแปร ซ่ึงในที่นี้จะขอกลาวถึงขั้นตอนการออกแบบการวจิัยเชิงสํารวจ ดังนี ้ 8.2.1 การกําหนดประชากร 8.2.2 การสุมตัวอยาง 8.2.3 การกําหนดตวัแปรที่สนใจศึกษา 8.2.4 การเกบ็รวบรวมขอมูล 8.2.5 การบรรยายลักษณะของประชากรตามตัวแปรทีส่นใจศึกษา 9. การเขียนเคาโครงการวิจัย หลักในการทํางานวิจยัก็เชนเดียวกับการทํางานอื่น ๆ กลาวคือตองมีการวางแผนการดําเนินงานใหชัดเจนทั้งนี้เพือ่ใหการดําเนนิการวจิัยบรรลุผลสําเร็จตามเปาหมายอยางมี ประสิทธิภาพ การวางแผนการวิจยัจึงเปนการตัดสินใจไวลวงหนาเกี่ยวกับกรอบแนวทางในการดําเนินการวิจยัวา จะทําวจิัยเร่ืองอะไร สาเหตุที่ตองทํา ทําเพื่ออะไร เมื่อทําแลวคาดวาจะไดประโยชนอะไร จะทําอยางไร จะทําเมื่อไร จะใชงบประมาณเทาไร ใครเปนผูรับผิดชอบ ซ่ึงจะชวยใหผูวจิัยมคีวามชัดเจนทัง้ในแนวความคิดและแนวทางในการดําเนนิการวจิัย ทําใหเกดิความ

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 12: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

66

เชื่อมั่นวาจะสามารถดําเนินการวิจยัใหประสบผลสําเร็จ การวางแผนการวิจยัในทางปฏิบัติมักจะเขียนในรูปของโครงการวิจัย หรือ ขอเสนอโครงการวจิัย (research proposal) ที่ออกมาเปนลายลักษณอักษรตามสวนประกอบ หรือโครงการสรางที่กําหนดไว โครงการวิจัยจงึเปรียบเสมือนพิมพเขียว (blue print) หรือตนแบบของการดําเนนิการวจิัยทีแ่สดงรายละเอยีดเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางในการดําเนนิการวิจัยซ่ึงจะเปนประโยชนตอทั้งผูวิจัย ผูสนับสนุนการวิจัย และผูเกี่ยวของอืน่ ๆ โดยจะกลาวถึงดังนี ้

9.1 ความหมายของโครงการวิจยั มีความหมายในลักษณะดังนี ้ 9.1.1 โครงการวิจัย หมายถึง กรอบแนวคิดในการดําเนินการวิจยัที่กําหนดไวลวงหนาเปนลายลักษณอักษรของโครงการ หรือแผนปฏิบัติการวิจัย 9.1.2 โครงการวิจัย หมายถึง เอกสารที่ผูวิจัยจัดทําขึ้นอยางเปนระบบเพื่อแสดงรายละเอียดเกีย่วกับแนวทางในการดําเนินการวิจยัใหบรรลุผลสําเร็จตามเปาหมายของการวิจยั

9.2 ความสําคัญของโครงการวิจัย โครงการวิจยัมีความสําคัญดังนี้ 9.2.1 ความสําคัญตอนักวจิัย เปนแผนการดําเนินงานวจิัยที่คิดและจัดทําไวลวงหนาอยางเปนระบบ ถือวาเปนพิมพเขียว หรือกรอบแนวคดิในการดําเนินการวิจัยทําใหผูวิจยัไดจัดระบบความคิด กรอบแนวทางในการทํางานใหชัดเจน เพราะไดศึกษาวเิคราะหกําหนดปญหาวิจัย ไดมกีารศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยทีเ่กีย่วของตาง ๆ ทําใหรูวาจะดําเนนิงานวิจยัอยางไร ใชเวลา งบประมาณ และทรัพยากรอะไรบาง จะใชเครื่องมือชนิดใดเก็บรวบรวมขอมูล เก็บขอมูลจากใครและจะวิเคราะหขอมูลอยางไร โครงการวจิัยจึงเปนสิ่งชวยสรางแนวคดิใหผูวจิัยไดเหน็แนวทางในการดําเนินการวิจัยและเชื่อมัน่วาจะสามารถดําเนินการวจิัยไดสําเรจ็ 9.2.2 ความสําคัญตอบุคคลที่เกี่ยวของ โดยทั่วไปจะมีบุคคลอื่นที่เขามามีสวนเกี่ยวของ เชน ในกรณีนกัศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะมีกรรมการทีป่รึกษากรรมการพิจารณา เคาโครงวิทยานิพนธเขามามีสวนเกี่ยวของในฐานะเปนที่ปรึกษาและผูพิจารณาเคาโครง วิทยานพินธ โครงการวิจยัหรือเคาโครงวิทยานพินธกจ็ะเปนเอกสารสื่อกลางหรือหลักฐานในการพิจารณาอนุมตัิ หรือกาํกับติดตามการดําเนินการเกีย่วกับวิทยานพินธ ในกรณีที่นกัวจิัยใน หนวยงานตาง ๆ ตองการทําวิจัย หรือขอรับทุนอุดหนุนการวจิยัก็จะตองใชโครงการวิจัยเปนเอกสารหรือหลักฐานเสนอตอคณะกรรมการหรือผูมีอํานาจตัดสินใจ เพื่อขออนุมัติดําเนินการวจิัย หรือขอรับทุนอุดหนุนการวจิัย นอกจากนีห้ากการดําเนินการวิจยัมีผูรวมรับผิดชอบดําเนนิการหลายคน โครงการวิจยัก็เปนเอกสารสื่อกลางที่จะชวยใหผูรวมงานวิจยัมีความเขาใจตรงกัน และ

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 13: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

67

สามารถรวมกันดําเนนิการวจิัยใหบรรลุสําเร็จได โครงการวิจยัจึงเปนประโยชนทั้งตอคณะผูวจิยั ผูบริหารที่มีอํานาจตัดสินใจอนุมัติโครงการวิจัย และผูสนับสนุนทุนอดุหนุนการวจิยั

9.3 วัตถุประสงคของการเขียนโครงการวิจัย การเขียนโครงการวิจยั มีวัตถุประสงคดังนี ้ 9.3.1 เพื่อใหเปนหลักและกรอบแนวทางในการดําเนนิการวิจัย ชวยใหผูวิจยัมองเห็นภาพงานวิจยัตลอดแนว ดําเนินงานวิจยัไดอยางเปนระบบ เปนขั้นตอนตามแบบที่วางไว ไมทําใหผูวิจัยทํางานออกนอกขอบเขตหรือหลงทาง 9.3.2 เพื่อใหเปนเอกสารสื่อสารสรางความเขาใจ และขอตกลงในการทํางานวิจยัรวมกันระหวางคณะผูวจิัยใหมีความเขาใจตรงกันในกรอบแนวทางการดําเนินการวิจยัและสามารถดําเนินการวิจยัรวมกนัใหประสบผลสําเร็จ 9.3.3 เพื่อใหเปนเอกสารเสนอขออนุมัติดําเนนิการวิจัย ในกรณีที่ผูวิจยัทําเปนสวนหนึ่งของการศกึษาตามหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ซ่ึงจะตองเสนอตอคณะกรรมการพิจารณาใหความเห็นชอบและกรณีทีเ่ปนหนวยงานก็ตองเขียนโครงการวิจยัเสนอขออนุมัติตอผูที่มีอํานาจตัดสินใจกอนที่จะดําเนินการตอไป 9.3.4 เพื่อใชเปนหลักฐานในการกํากับติดตาม หรือตรวจสอบการดําเนินการวิจัยวาเปนไปตามแผนที่กําหนดไวหรือไม มีความกาวหนาในการดาํเนินการเพียงใด มีปญหาและอุปสรรคหรือไมอยางไร ซ่ึงใชทั้งกํากับตรวจสอบตนเองของผูวิจัย (self – monitoring) และการกํากับ ตรวจสอบจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวของ เชน กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ กรรมการพิจารณาเคาโครงวิทยานิพนธที่เปนนกัศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือหนวยงานที่ใหทนุอุดหนุนการวิจยั ซ่ึงตองใชโครงการวิจัยเปนเครือ่งมือในการกาํกับติดตามตรวจสอบความกาวหนาในการดําเนินการวิจัยวาเปนไปตามโครงการวิจัยทีก่ําหนดไวมากนอยเพยีงใด 9.3.5 เพื่อใหเปนเอกสารขอรับการสนับสนุนการวจิัย โดยเฉพาะอยางยิ่งการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยหนวยงานตาง ๆ ผูวิจัยจะตองเสนอโครงการวิจยัตอหนวยงานเหลานัน้ที่เปนเอกสารและหลักฐานทีแ่สดงรายละเอยีดในการดําเนินการวิจัยตามรูปแบบที่กําหนด เพื่อให หนวยงานดังกลาวใชประกอบการพิจารณาใหอุดหนุนการวิจัย ดังนั้นวัตถุประสงคที่สําคัญที่สุดของโครงการวิจัยก็คือ การทําใหผูใหเงินอุดหนุนเชื่อวา การวิจยัที่จะทํานั้นมีระเบยีบวิธีการวิจยัทีด่ี มีขอบเขตที่ชัดเจน ครอบคลุมประเด็นสําคัญไดครบถวน มีความเปนไปได และมีประโยชนสมควรไดรับเงินอุดหนนุ (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ, 2540)

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 14: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

68

9.4 ขั้นตอนการเขียนโครงการวิจัย การเขียนโครงการวิจยัถือวาเปนภาระที่สําคัญของผูวิจัยทีด่ําเนินการใหเปนระบบ มีความถูกตอง การเขยีนโครงการวิจยัใหไดดีผูวิจยัจะตองมี ความรูอยางนอย 2 ประการ คือ มีความรูเนื้อหาสาระที่จะทําการวิจยั (content) กลาวคอืจะตองศึกษาคนควาใหมีความรูในเรื่องทีจ่ะทําการวิจยัเปนอยางดี และตองมคีวามรูในเรื่องระเบียบวิธีวิจยั (methodology) ไดแกกระบวนการวจิัย การกําหนดตัวแปร การออกแบบวจิัย การเลือกกลุมตัวอยาง การสรางเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมขอมลู การวิเคราะหขอมูล การแปลผลขอมูล และการเขยีนรายงานการวิจยั นอกจากความรูดังกลาวขางตนแลว ผูวจิัยจะตองมีความเขาใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเขียนโครงการวิจยั ซ่ึงนงลักษณ วรัิชชัย (2543, หนา 399) ไดเสนอขั้นตอนการเขียนโครงการวิจยัหรือโครงการเสนอทําวิจัย ไวดังนี้ 9.4.1 การวางโครงราง (outline) นักวจิัยตองกําหนดโครงรางของโครงการเสนอทําวิจยั กอนลงมือเขียนโดยยึดรูปแบบของโครงการเสนอทําวิจยั เปนแนวทางในการกําหนดแจกแจง หัวขอใหญ หวัขอยอย ตามลําดบัขั้นของกระบวนการวิจยั 9.4.2 การเตรียมเนื้อหาสาระ ในขณะทีน่ักวจิัยคิด และดําเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการวิจยันั้น นักวจิัยจะตองจดบันทึกความคิด รายละเอียดของขอเทจ็จริง หลักฐาน อางอิง ทฤษฎี และสาระ อ่ืน ๆ ตามหัวขอที่กําหนดไวในโครงรางของโครงการเสนอทําวจิัย วิธีการจดบนัทึกที่ดี นิยมบันทึกลงบัตรขนาด 5 คูณ 8 นิ้ว หรือกระดาษบันทึก โดยบันทึก หนาเดยีว และแยกหัวขอการบันทึกลงในบตัรหัวขอละใบเพื่อความสะดวกในการจัดเรียงลําดับ การสลับที่ การเพิม่ หรือการตัดทอนสาระ ในปจจุบันซึ่งมวีิทยาการคอมพิวเตอรกาวหนามาก นักวิจยัอาจบันทึก และเตรียมเนื้อหาสาระโดยใชโปรแกรมเวริดโปรเซสเซอร (word processor) แบบตาง ๆ ก็ได 9.4.3 การเขียนราง (draft) ขั้นตอนนี้เปนการนําเนื้อหาสาระทีไ่ดเตรียมไวลวงหนามาเรยีบเรียงตามโครงรางที่กําหนดไวใหไดโครงการเสนอทําวจิัยฉบับราง ในขั้นตอนนี้นักวจิัยไมควรพะวงกับการใชภาษาใหมากนัก แตควรใหความสําคัญตอการเรียบเรยีงเนื้อหาสาระแตละ หวัขอและแตละยอหนาใหถูกตองตามหลักการวิจัย ส่ิงที่ควรระมัดระวังคือ ยอหนาแตละยอหนาควรมีใจความสําคัญเพียงประเด็นเดียวและทกุอยางตองมีความสอดคลองเชื่อมโยงกันตลอดวิธีการเขียนตองเปนไปตามหลักเกณฑและสไตลในการเขียนโครงการเสนอทําวิจยั โดยเฉพาะในสวนที่เกีย่วกับการอางอิง การเสนอตารางหรือแผนภาพ และบรรณานกุรม

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 15: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

69

9.4.4 การเกลาสํานวน ขั้นตอนนีเ้ปนการแกไขปรับปรุงภาษาที่ใช และสํานวนใหมีความสละสลวยมากขึ้น นกัวจิัยควรเลือกใชถอยคํางาย ๆ ใชประโยคสั้น กะทัดรัด อานเขาใจงาย หลีกเลี่ยงคําหรือขอความที่ไมจําเปน เชน วลี “เปนที่ทราบกันดอียูแลววา” “ตามความเปนจริง” เปนตน งดเวนการใชคําซํ้าชอน พรํ่าเพรื่อ โดยไมจําเปน รวมทั้งคําสันธานตาง ๆ ควรใชแตทีจ่ําเปน 9.4.5 การบรรณาธิกรณและการปรับปรุง เมื่อผานขั้นตอนที่ 4 แลว นักวิจยัจะไดโครงการเสนอทําวิจัยที่เกือบสมบูรณแลว ควรเกบ็ไว 4 – 5 วัน แลวนํากลบัมาอานทบทวนไหมหากเปนไปไดใหเพื่อน หรือผูรูชวยอาน และวิจารณ แลวแกไขปรบัปรุงทําไดหลายรอบจะยิ่ง ทําใหไดผลงานที่ดีมากยิ่งขึน้

9.5 สวนประกอบของโครงการวิจยั โครงการวิจัยโดยทั่วไปจะมสีวนประกอบสําคัญเหมือนกัน แตอาจจะมีรายละเอียดบางอยางแตกตางกนัไปบาง ทั้งนี้ขึ้นอยูกับแตละหนวยงานหรือสถาบันวาไดกําหนดรูปแบบของการเขียนโครงการวิจยัใหเหมาะสมกับความตองการหรือลักษณะงานของตนเองไวอยางไร ดังนั้นในการเขยีนโครงการวิจัย นักวิจยัจะตองพิจารณากอนวามีจุดมุงหมายเพื่ออะไร และเขียนเสนอใคร หนวยงานหรือสถาบันใดจะไดเขยีนใหถูกตองตามแบบที่แตละหนวยงานหรือสถาบันนั้นกําหนดไว เชน แบบเสนอโครงการวิจยัของสํานักงานคณะกรรมการวจิยัแหงชาติ และแบบเสนอโครงการของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ซ่ึงมีรายละเอียดดังนี ้ 9.5.1 สํานักงานคณะกรรมการวจิยัแหงชาติ ไดกําหนดแบบเสนอโครงการวิจัย (แบบ ว – 1) ไวดังนี ้

แบบเสนอโครงการวิจัย

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 16: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

70

ประกอบของบประมาณเพื่อการวิจัยประจําป…………… ******************************

ลักษณะของการวิจัย…[ ] การวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ [ ] การวิจยัอ่ืน (โปรดดูคูมือตรวจสอบ) แผนงานวิจัย……………………………………………………………….(โปรดดูคูมือตรวจสอบ) แผนงานยอย……………………………………………………………….(โปรดดูคูมือตรวจสอบ) สวนที่ 1 : สาระสําคัญของโครงการวิจัย 1. ช่ือโครงการ และรหัสหรือทะเบียนโครงการวิจยัของหนวยงาน (ถามี) 2. หนวยงานที่รับผิดชอบ และที่อยู 3. คณะผูวจิัย และสัดสวนที่ทํางานวิจยั (%) 4. ในกรณีที่โครงการนี้เปนสวนหนึ่งของงาน หรือโครงการใหญ โปรดระบุช่ืองานหรือโครงการใหญ และชื่อหวัหนาโครงการใหญ 5. ในกรณีที่โครงการนี้ทําการวิจัยรวมกับหนวยงานอืน่ โปรดระบุช่ือหนวยงานและลักษณะของการรวมงาน นัน้ดวย 6. ประเภทของงานวิจยั (โปรดดูคําชี้แจง) 7. สาขาวิชาที่ทําการวิจยั (โปรดดูคูมือตรวจสอบ) 8. คําสําคัญของเรื่องที่ทําการวิจัย (keywords) (โปรดดคูําชี้แจง) 9. ความสําคญั ที่มาของปญหาที่ทําการวจิัย และการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวของ (literature survey) 10. วัตถุประสงคของโครงการ 11. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 12. หนวยงานที่นําผลการวจิัยไปใชประโยชน 13. การวิจัยทีเ่กี่ยวของ และคลายคลึงกับงานวิจยัที่ทานทํา

14. เอกสารอางอิง

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 17: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

71

15. ระเบียบวธีิวิจัย 16. ขอบเขตของการวิจยั

17. ระยะเวลาที่ทําการวิจยั 18. แผนการดําเนินงานตลอดโครงการ (ใหระบุขั้นตอนใหละเอียด) 19. สถานที่ที่ทําการทดลอง

20. อุปกรณในการวจิัย (ระบุรายละเอียดคุณลักษณะ) - อุปกรณการวิจัยที่มีอยูแลว

- อุปกรณการวิจัยทีต่องการเพิ่ม 21. รายละเอียดงบประมาณที่เสนอขอ (เฉพาะปที่เสนอขอ) ตามหมวดเงินประเภทตาง ๆ (โปรดดูคูมือตรวจสอบ) 22. รายละเอียดงบประมาณที่จะเสนอขอในปตอๆ ไป ตามหมวดเงนิประเภทตาง ๆ แตละปตลอดโครงการ (กรณีเปนโครงการตอเนื่อง) และถาเปนโครงการตอเนื่องที่ไดดําเนินการมาแลว โปรดระบุงบประมาณที่ไดรับอนุมัติในปที่ผานมาดวย (โปรดดูคูมือตรวจสอบ)

23. รายงานความกาวหนาของโครงการ 24. คําชี้แจงอื่น ๆ ถามี

สวนที่ 2 : ประวัติหัวหนาโครงการ / ผูวิจัยหลัก / ผูวิจัยรวม / ท่ีปรึกษาโครงการ 1. ช่ือ (ภาษาไทย) นาย, นาง, น.ส. …………………………นามสกุล…………………. (ภาษาอังกฤษ)………………………………………………………………………….. 2. รหัสประจาํตัว …………………………………………………………………………. 3. ตําแหนงปจจุบัน………………………………………………………………………… 4. ประวัตกิารศึกษา……………………………………………………………………….. ระดับปริญญา

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 18: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

72

ปที่จบ (ตรี โท เอก) อักษรยอ สาขาวิชา วิชาเอก ช่ือสถาบัน ประเทศ การศึกษา และประกาศนยีบตัร ปริญญา การศึกษา

และชื่อเต็ม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 5. สาขาวิชาที่มีความชํานาญพิเศษ (แตกตางจากวุฒกิารศึกษา)

ระบุสาขาวิชา……………………………………………………………………………….………………………………………………………………………………………………………..

6. ประสบการณที่เกีย่วของกับงานวจิัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ : ระบุสถานภาพในการทํางานวิจัยวา เปนหวัหนาโครงการวิจัย หรือผูรวมวจิัยในแตละเรื่อง

6.1 งานวิจยัที่ทําเสร็จแลว : ช่ือเร่ือง ปที่พิมพ และสถานภาพในการทําวิจัย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

6.2 งานวิจยัที่กําลังทํา : ช่ือเร่ืองและสถานภาพในการทําวิจัย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 19: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

73

9.5.2 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ไดกําหนดแบบเสนอโครงการวิจัยไว ดังนี ้

แบบเสนอโครงการวิจัย 1. ช่ือโครงการวิจัย (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ) 2. คณะผูดําเนินการวิจัย 2.1 หัวหนาโครงการ 2.2 นักวิจยั 3. สาขาวิชาที่ทําการวิจยั 4. ความสําคัญและที่มาของปญหาที่ทําการวิจัย 5. วัตถุประสงคของโครงการ 6. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวของและเอกสารอางอิง 7. การเชื่อมโยงกับนกัวจิัยที่เปนผูเชี่ยวชาญในสาขาที่ทําการวิจยั 8. ระเบียบวิธีวิจัย 9. ขอบเขตของการวิจยั 10. อุปกรณทีใ่ชในการวิจยั 11. แผนการดาํเนินงานตลาดโครงการและผลที่ไดรับ 12. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 13. งบประมาณ 14. ภาคผนวก (ประวัติคณะวิจัย)

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 20: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

74

10. สรุป

ในการออกแบบการวิจยัผูวิจยัจําเปนทีจ่ะตองคิดใหละเอยีดรอบคอบวาในการวิจัยนั้นมี ขั้นตอนการวจิัยอยางไร นับตั้งแตหวัขอของการวิจยั ระบุปญหาที่จะทําการวจิัย การคัดเลือกแบบของการวิจยั การเลือกกลุมตัวอยาง การเก็บรวบรวมขอมูล การวิเคราะหขอมูล ไปจนถึงการ รายงานผลการวิจัย ไมวาการวิจัยนั้นจะเปนการวจิัยเชงิทดลองหรือเปนการวจิัยเชงิบรรยายหรือเชิงสํารวจ

ในการทํางานวิจัยจะตองมกีารวงแผนการดําเนินงานเพือ่ใหงานวิจยัดาํเนินไปไดและบรรลุเปเหมายอยางมีประสิทธิภาพจึงจําเปนที่จะตองมีการเขียนเคาโครงการวิจัยเพื่อเปนกรอบและแนวทางในการวิจัยวาจะทําวจิัยเร่ืองอะไร ทําเพื่ออะไร ทําแลวไดประโยชนอะไร ใชงบประมาณเทาไร ใครเปนผูรับผิดชอบ

11. แบบฝกหัดทายบท

1. จงบอกถึงความหมายของการวางแผนการวิจัยและการออกแบบการวิจยั 2. วัตถุประสงคของการออกแบบการวิจยัมีอะไรบาง 3. ทําไมจึงตองมกีารออกแบบการวิจยั 4. จงบอกถึงหลักในการออกแบบการวิจยัมาพอสังเขป 5. ลักษณะของการออกแบบการวิจัยทีด่ีเปนอยางไร 6. ในการออกแบบการวิจยัเรามเีทคนิคในการออกแบบการวจิัยเชิงทดลองอยางไร 7. ในขั้นตอนของการวิจยัตอไปนี้ควรตั้งคําถามแบบใด

ก. การกําหนดปญหา ข. การคัดเลือกแบบของการวิจยั

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 21: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

75

ค. การเลือกตัวอยาง ง. การเก็บรวบรวมขอมูล จ. การวิเคราะหขอมูล ฉ. การรายงาน ช. การประเมินภาพรวม

8. จงบอกถึงวัตถุประสงคของการวิจยัมาพอสังเขป 9. ในการเขียนเคาโครงการวิจัยมีขัน้ตอนอยางไร

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam

Page 22: หน่วยที่ 4 การวางแผนและการออกแบบการวิจัย

76

เอกสารอางอิง

นงลักษณ วิรัชชัย. (2543). “การเขียนโครงการทําวิจยัและรายงานการวจิัย” ใน พรมแดนความรูดานการวิจัยและสถิติ รวมบทความทางวชิาการของ ดร. นงลักษณ วิรัชชัย. หนา 393 – 418. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงลักษณ วิรัชชัย. (2543). “แผนแบบการวิจัย” ใน พรมแดนความรูดานการวิจัยและสถิติ รวมบทความทางวชิาการของ ดร. นงลักษณ วิรัชชัย. หนา 117 – 125. ชลบุรี: มหาวิทยาลยับูรพา.

ผองพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ. (2543). การออกแบบการวิจัย. พิมพคร้ัง ที่ 3 กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2543). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏพระนคร.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ. (2536). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. พิมพคร้ังที่ 8กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. พิมพคร้ังที่ 10กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพเล่ียงเชียง.

สุบรรณ พันธวิศวาส และชยัวัฒน ปญจพงษ. (ม.ป.ป.). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบตัิการ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพโอดียนสโตร.

Kerlinger, F. N. (1986). Foundation of Behavior Research. (3rd.ed.). New York: holt & Rineheart.

Wiersma, W. (1986). Research Methods in Education : An Introduction. Boston: Allyn and Bacon.

e-Version 2009 Tiradate Pimtongngam