123
การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (..2552-2561) โดย นางสาวกุลธิดา รงคพันธุ การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2556 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร หอ

2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)

โดย

นางสาวกุลธิดา รงคพันธุ

การคนควาอิสระน้ีเปนสวนหน่ึงของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ภาควิชาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปการศึกษา 2556

ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 2: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)

โดย

นางสาวกุลธิดา รงคพันธุ

การคนควาอิสระน้ีเปนสวนหน่ึงของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ภาควิชาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปการศึกษา 2556

ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 3: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

The school reform of the small primary schools in Kabinburi, Prachinburi

based on the framework of the second decade of Educational Reform

(B.E.2552-2561)

By

KUNTHIDA RONGPHAN

An Individual Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree

MASTER OF EDUCATION

Department of Educational Administration

Graduate School

SILPAKORN UNIVERSITY

2013

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 4: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใหคนควาอิสระ เรื่อง “การปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาใน

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)” เสนอโดยนางสาวกุลธิดา รงคพันธุ เปนสวนหน่ึงของการศึกษา

ตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

……..…………………………………………..................

(รองศาสตราจารย ดร. ปานใจ ธารทัศนวงศ)

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

วันที่.........เดือน....................พ.ศ..............

อาจารยที่ปรึกษาการคนควาอิสระ

ผูชวยศาสตราจารย วาที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร

คณะกรรมการตรวจสอบการคนควาอิสระ

...................................................... ประธานกรรมการ

(อาจารย ดร. สายสุดา เตียเจริญ)

........ / ......................... / ..............

...................................................... กรรมการ

(อาจารย ดร. นุชนรา รัตนศิระประภา)

........ / ......................... / ..............

...................................................... กรรมการ

(ผูชวยศาสตราจารย วาที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร)

........ / ......................... / ..............

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 5: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

55252303 : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คําสําคัญ : การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก นางสาวกุลธิดา รงคพันธุ : การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). อาจารยที่ปรึกษาการคนควาอิสระ : ผศ.วาที่ พ.ต.ดร.นพดล เจนอักษร . 111 หนา. การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงคเพื่อทราบ (1) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) และ (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ กลุมตัวอยางคือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กจํานวน 40 โรง ผูใหขอมูลโรงละ 2 คน ประกอบดวย ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ และครู รวมทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใชเปนแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล คือ คาความถ่ี คารอยละ คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบคาที และการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบวา 1) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายดานอยูในระดับมาก เรียงคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปนอย คือ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรีสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จําแนกตามเพศ อายุ ตําแหนงหนาที่ และประสบการณในการทํางานไมแตกตางกัน เมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษาสูงสุด ผูบริหารและครูระดับการศึกษาปริญญาโทมีความคิดเห็นแตกตางจากการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 โดยระดับปริญญาโทใหความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมากกวาระดับปริญญาตรีในดานการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม

ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ลายมือช่ือนักศึกษา.......................................... ปการศึกษา 2556 ลายมือช่ืออาจารยที่ปรึกษาการคนควาอิสระ ......................................................................

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 6: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

55252355 : EDUCATIONAL ADMINISTRATION KEY WORDS : The School Reform of the Small School KUNTHIDA RONGPHAN : The School Reform of the Small School in Kabinburi Prachinburi based on the 2 Decade in Eduational Reform (B.E.2552-2561) . AN INDIVIDUAL STUDY ADVISOR : ASST.PROF.MAJ. NOPADOL CHENAKSARA, RTAR.,Ph.D. , 111 pp.

The purposes of the research were to indentify 1) the school reform of the small primary school in Kabinburi, Prachinburi based on the 2 decade of Eduational Reform (B.E.2552-2561) and 2) the result of the opinionated comparison of respondent at the school reform of the small primary school in Kabinburi, Prachinburi based on the 2 decade of Eduational Reform (B.E.2552-2561) that were classified according to the respondents’ status. The samples were 40 small primary school in Kabinburi, Prachinburi. The 2 respondents in each school were an administrator/an administrator’s assistant/government in keeper/vicegerent/worker and teacher, in totally of 80. The individual study instrument was a questionair based on the 2 decade of Eduational Reform (B.E.2552-2561). The statistics applied in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t – test, and one – way ANOVA The findings revealed as follows 1) The school reform of the small primary school in Kabinburi, Prachinburi based on the 2 Decade in Eduational Reform (B.E.2552-2561) , as a whole and an individual, were at a high level. In orderind by arithmetic mean from maximum to minimum were as follows; the quality development of renew management system, the quality development of Thai people, the quality development of education and learning resources and the quality development teacher. 2) There were no significantly different between the school reform of the small primary school in Kabinburi, Prachinburi based on the 2 Decade in Eduational Reform (B.E.2552-2561) by sex, age, position and work experience. When classification by Education Level administrators and teachers with a master’s degree were different opinions from those graduated at .05 level of significance in the development quality of education and learning resources.

Department of Educational Administration Graduate School, Silpakorn University Student’s signature......................................................... . Academic Year 2013 Individual Study Advisor’s signature ...............................................................

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 7: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

กิตติกรรมประกาศ การคนควาอิสระเรื่อง “การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)” สําเร็จลุลวงได

ดวยความเมตตาจากผูชวยศาสตราจารย วาที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร อาจารยผูควบคุมการคนควา

อิสระ อาจารย ดร. สายสุดา เตียเจริญ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการคนควาอิสระ และ

อาจารย ดร. นุชนรา รัตนศิระประภา ผูทรงคุณวุฒิ ที่กรุณาใหคําปรึกษา ขอเสนอแนะและตรวจแกไข

ขอบกพรองตางๆจนสมบูรณ และคณาจารยภาควิชาการบริหารการศึกษาทุกทานที่กรุณาให

คําปรึกษา แนะนํา สนับสนุนและใหกําลังใจดวยดีตลอดมา ผูวิจัยขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอขอบพระคุณ ดร.ศศกร ไชยคําหาญ ผูอํานวยการโรงเรียนพัฒนพงศ ต.บานเกา อ.เมือง จ.

กาญจนบุรี อาจารย ดร.อธิกมาส มากจุย อาจารยคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร และ

ผูชวยศาสตราจารย ดร.ธีรศักด์ิ อุนอารมณเลิศ อาจารยคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผูทรงคุณวุฒิที่กรุณาเสียสละเวลาใหความอนุเคราะหตรวจสอบ แกไขและใหคําแนะนําเพื่อความ

ถูกตองเหมาะสมของเครื่องมือการวิจัย และขอขอบคุณผูบริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาด

เล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ที่เปนกลุมตัวอยาง ซึ่งไดอํานวยความสะดวกและใหความ

รวมมือในการเก็บรวบรวมขอมูลในการวิจัยครั้งน้ีเปนอยางดี

ขอกราบขอบพระคุณ คุณพอดํารงกุลและคุณแมมาลี รงคพันธุ ผูใหทุกสิ่งที่ดีงามและ

กําลังใจอยางดีย่ิงแกลูกเสมอมา ขอขอบคุณพี่นองครอบครัวรงคพันธุ ที่คอยใหความชวยเหลือและ

สนับสนุนในทุก ๆ เรื่อง นอกจากน้ีขอขอบคุณสําหรับกําลังใจ ความชวยเหลือและคําแนะนําอันมีคา

จากพ่ี ๆ เพื่อน ๆ นักศึกษาปริญญาโทรุน 32 ภาควิชาการบริหารการศึกษาและเพื่อนๆ กลุมสหายที่

ทําใหงานวิจัยครั้งน้ีสําเร็จลุลวงไดดวยดี

คุณคาของการคนควาอิสระเลมน้ีขอมอบเพ่ือทดแทนพระคุณบิดา มารดา ครู อาจารย

ตลอดจนผูมีพระคุณทุกทานที่ไดเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และใหความเมตตาชวยเหลือมาต้ังแตอดีต

จนถึงปจจุบันที่มีสวนสําคัญตอความสําเร็จของงานวิจัยในครั้งน้ี

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 8: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

สารบัญ

เรื่อง หนา

บทคัดยอภาษาไทย ง

บทคัดยอภาษาอังกฤษ จ

กิตติกรรมประกาศ ฉ

สารบัญตาราง ญ

บทที ่

1 บทนํา 1

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา 2

ปญหาของการวิจัย 4

วัตถุประสงคของการวิจัย 5

ขอคําถามของการวิจัย 5

สมมติฐานการวิจัย 5

ขอบขายเชิงอางอิงของการวิจัย 6

ขอบเขตของการวิจัย 8

นิยามศัพทเฉพาะ 9

2 วรรณกรรมที่เกี่ยวของ 10

ขอมูลพื้นฐานทั่วไปของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา

ประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 10

การปฏิรูปการศึกษา 15

ความเปนมาของการปฏิรูปการศึกษา 15

ความหมายของการปฏิรูปการศึกษา 19

ความสําคัญของการปฏิรูปการศึกษา 20

หลักการปฏิรูปการศึกษา 21

หลักการปฏิรูปการศึกษาของไทย 21

หลักการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเยอรมนี 44

หลักการปฏิรูปการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส 46

งานวิจัยที่เกี่ยวของ 47

งานวิจัยภายในประเทศ 47

งานวิจัยตางประเทศ 53

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 9: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

บทที ่ หนา

สรุป 55

3 การดําเนินการวิจัย 57

ข้ันตอนดําเนินการวิจัย 57

ระเบียบวิธีวิจัย 58

แผนแบบการวิจัย 58

ประชากร 58

กลุมตัวอยาง 58

ผูใหขอมูล 58

ตัวแปรที่ศึกษา 59

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 60

การสรางและพัฒนาเครื่องมือ 60

การเก็บรวบรวมขอมูล 61

การวิเคราะหขอมูล 61

สถิติที่ใชในการวิจัย 62

สรุป 63

4 ผลการวิเคราะหขอมูล 64

ตอนที่ 1 ขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม 64

ตอนที่ 2 การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษา

ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) 66

ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เกี่ยวกับการปฏิรูป

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) 74

5 สรุป อภิปรายผล และขอเสนอแนะ 82

สรุปผลการวิจัย 82

การอภิปรายผล 83

ขอเสนอแนะ 86

ขอเสนอแนะของการวิจัย 86

ขอเสนอแนะในการวิจัยครั้งตอไป 87

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 10: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

บทที ่ หนา

บรรณานุกรม 88

ภาคผนวก 91

ภาคผนวก ก หนังสือขอความอนุเคราะหตรวจสอบเครื่องมือวิจัยและรายช่ือ

ผูทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือวิจัย 92

ภาคผนวก ข หนังสือขอทดลองเครื่องมือวิจัยและรายช่ือโรงเรียนที่ใชในการทดลอง

เครื่องมือวิจัย (try out) 95

ภาคผนวก ค คาความเช่ือมั่นของเครื่องมือการวิจัย 98

ภาคผนวก ง หนังสือขอความอนุเคราะหในการเก็บขอมูลและรายช่ือโรงเรียนกลุม

ตัวอยางที่ใชในการวิจัย 101

ภาคผนวก จ แบบสอบถามเพ่ือการวิจัย 104

ประวัติผูวิจัย 111

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 11: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

สารบัญตาราง

ตารางที ่ หนา

1 ขอมูลโรงเรียนขนาดเล็ก และจํานวนนักเรียน ครูสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา

ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 12

2 รอยละของผูใหขอมูลจําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด

ตําแหนงหนาที่ และประสบการณ ในการทํางาน 65

3 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุร ีโดยภาพรวมและรายดาน 66

4 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัด ปราจีนบุรดีานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม 67

5 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุร ีดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม 68

6 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุร ีดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม 70

7 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม 71

8 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรีจําแนกตามเพศ 74

9 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมลูเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรีจําแนกตามอายุ 75

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 12: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

ตารางที ่ หนา

10 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุร ีจําแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด 77

11 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุร ีจําแนกตามตําแหนงหนาที ่ 78

12 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุร ีจําแนกตามประสบการณในการทํางาน 80

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 13: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

1

บทท่ี 1

บทนํา

“การศึกษา” นับวามีความสําคัญมากตอการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเปนพื้นฐานของ

การพัฒนาสวนอื่นๆดวย เพราะไมวาจะทําการพัฒนาสวนใดตองเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียกอน

ดังน้ันการพัฒนาคนสามารถทําไดหลายๆรูปแบบ อยางที่สําคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให

การศึกษา ดังน้ันการพัฒนาประเทศตองพัฒนาควบคูไปกับการพัฒนาคนโดยตองคํานึงถึงการศึกษา

เปนสําคัญ โดยเฉพาะอยางย่ิงในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่กาวล้ํานําโลกไปมาก การศึกษาก็ตอง

พัฒนาไปใหทันกับโลก สําหรับการศึกษาในประเทศไทย หากดูจากสภาพท่ีเกิดข้ึนในสังคมหลายๆฝาย

เขาใจเปนไปในแนวทางเดียวกันคือการศึกษาของไทยกําลังมีปญหา จะเห็นไดวาเปนปญหาที่ไดรับ

ความสนใจจากสังคม ซึ่งมีการทําวิจัยออกมาหลายๆครั้งที่สะทอนถึงความลมเหลวของการศึกษาใน

บานเรา ปญหาตางๆที่เกิดข้ึนกับเด็กและเยาวชนไทยเปรียบเสมือนสายพานความปวยไขทางสังคมที่

สะทอนถึงปรากฏการณความออนแอของทุกภาคสวน ทั้งสถาบันครอบครัวออนแอ พื้นที่อบายมุขขาด

การควบคุม อันเปนปฐมเหตุของปญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ไมวาเปนปญหาติดหาง เที่ยว

กลางคืน กินเหลา สูบบุหรี่ และมีเพศสัมพันธกอนวัยอันควร อันจะนําไปสูผลกระทบกับปญหาตางๆที่

เกิดข้ึนตามมาอยางมากมาย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เรียกไดวาเปนชวงของ

การเขาสูยุคของการปฏิรูปหรือยุคของการทําประเทศใหทันสมัยอยางแทจริง งานปรับปรุงประเทศได

เริ่มมาต้ังแตรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 4 แลวเมื่อลวงเขารัชกาลที่ 5

งานปฏิรูปไดปรากฏเดนชัดและย่ิงใหญมาก งานปฏิรูปหลายอยางในตนรัชกาล เชน การริเริ่มงาน

ปลดปลอยลูกทาส จนนําไปสูการเลิกทาส การต้ังสภาที่ปรึกษาเรียกวา ที่ปรึกษาสวนพระองค

(Privacy Council) และที่ปรึกษาราชการแผนดิน เปนตน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว

ทรงริเริ่มข้ึนทันทีที่พระองคทรงมีอํานาจในการปกครองโดยสมบูรณ ซึ่งในตอนน้ันพระองคมีพระ

ชนมพรรษาเพียง 21 พรรษาเทาน้ัน งานปฏิรูปแตละอยางถาไดศึกษาอยางละเอียดโดยถองแทแลว

จะเห็นพระอัจฉริยภาพของพระองคเปนอยางดี

การศึกษาเปนกระบวนการสําคัญในการพัฒนาประเทศ เน่ืองจากการศึกษาเปนเครื่องมือใน

การพัฒนามนุษยอันเปนทรัพยากรที่มีคุณคาย่ิงของสังคม ภายใตการกํากับดูแลของรัฐบาลอันไดแก

กระทรวงศึกษาธิการและหนวยงานที่เกี่ยวของไดเล็งเห็นความสําคัญในการพัฒนาประเทศ จึงจัดใหมี

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 14: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

2

การปฏิรูปการศึกษาและประกาศใชพระราชบัญญัติ การศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 แกไข

เพิ่มเติม พ.ศ. 2545 (กระทรวงศึกษาธิการ 2542) เพื่อใหมีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามี

ความสอดคลองกันทั้งในแงกฎหมายและการปฏิบัติโดยมีจุดมุงหมายหลักวาการจัดการศึกษาตอง

เปนไป เพื่อพัฒนาคนไทยใหเปนมนุษยที่สมบูรณทั้ง รางกาย จิตใจ สติปญญา ความรู และคุณธรรม มี

จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยูรวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุข1

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา

การปฏิรูปการศึกษา ถือเปนนโยบายสําคัญดานการศึกษาของรัฐบาล โดย อภิสิทธ์ิ เวชชา

ชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไดแถลงนโยบายของรัฐบาลตอรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 วาจะ

ดําเนินการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ต้ังแตระดับพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา จัดใหทุกคนมีโอกาส

ไดเรียนฟรีจริง 15 ป และขยายกองทุนใหกูยืมเพื่อการศึกษา สรางโอกาสในการเขาถึงการศึกษาระดับ

อาชีวะศึกษาและปริญญาตรีใหมากข้ึน ตลอดจนพัฒนาครูใหไดครูดี ครูเกง มีคุณธรรม มีคุณภาพ มี

วิทยฐานะสูงข้ึน และพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับตลอดจนการสงเสริม

ภาคเอกชนมีสวนรวมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ ทั้งน้ี เพ่ือใหคนไทยทุกกลุมทุกวัยไดรับ

การศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน มีการเรียนรูที่ทันตอการเปลี่ยนแปลงต้ังแตระดับปฐมวัยจนตลอด

ชีวิต มีศักยภาพในการดํารงชีวิต ประกอบอาชีพ และเสริมสรางความสามารถของประเทศในการเปน

ศูนยกลางการศึกษาฝกอบรม การวิจัยและพัฒนาในระดับภูมิภาค การปฏิรูปการศึกษาเริ่มตนมา

ต้ังแตมีการประกาศใชพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542 โดยมีการดําเนินงานมาอยาง

ตอเน่ือง ซึ่งหลายเรื่องประสบความสําเร็จ แตหลายเรื่องยังมีปญหาที่ตองเรงพัฒนา ปรับปรุง และตอ

ยอด โดยเฉพาะดานคุณภาพผูเรียน ครูคณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งการเพ่ิมโอกาส

ทางการศึกษาใหแกผูดอยโอกาส การเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการมีสวนรวมใน

การบริหารจัดการจากทุกภาคสวน ผนวกกับสถานการณปจจุบันและแนวโนมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งดาน

เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดลอม ประชากร วิทยาศาสตร และ

เทคโนโลยี ซึ่งผลกระทบตอการพัฒนาการศึกษา2 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานและ

สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา มีภารกิจเรงดวน ในการปฏิบัติงานเพื่อสงเสริมใหระบบการศึกษาเปน

ระบบที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพควบคูกันไป หรือกลาวอีกนัยหน่ึงคือ ตองสงเสริม สนับสนุนให

โรงเรียนสามารถดําเนินการพัฒนาคุณภาพนักเรียนใหไดตามมาตรฐานที่หลักสูตรกําหนดภายใตการ

1 กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห

สาระสําคัญ (กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2542).

2 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, รายงานผลการดําเนินงาน ขับเคลื่อนการปฏิรูป

การศึกษาในทศวรรษท่ีสอง ในชวง พ.ศ.2552-2554 (กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟค จํากัด, 2554), 1-2.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 15: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

3

ใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และ

มาตรการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตรของคณะกรรมการกําหนดเปาหมายและนโยบายกําลังคน

ภาครัฐ (คปร.) ขณะที่จะมีการเกษียณอายุราชการนับแสนอัตราในอีก 10 ปขางหนา การปฏิรูป

การศึกษารอบแรก เริ่มเมื่อมีการประกาศใช พ.ร.บ. การศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และตอไปอีก 10

ป จะเปน “การปฏิรูปการศึกษารอบสอง” ผลของการปฏิรูปรอบแรก ผลการทดสอบความสามารถ

ของเด็กไทย โดยองคการนานาชาติและองคกรภายในของเราเองใหผลสอดคลองกันวา ความสามารถ

ของเด็กไทยในดานภาษา คณิตศาสตร และวิทยาศาสตร ตํ่ากวาที่ควรจะเปนและดอยกวาเด็กประเทศ

อื่น นอกจากผูเรียนแลว ยังมีผูมีสวนไดเสียกับระบบการศึกษาอีก 2 กลุมคือ ครู และผูปกครอง

ชุมชน สังคม ครูบางสวนประสบความสําเร็จในการไดรับเลื่อนวิทยฐานะ หรือตําแหนงบริหาร แตครู

สวนใหญยังมีปญหาดานเศรษฐกิจและภาระงานสอน รวมทั้งงานธุรการที่หนักจนไมสามารถจะสอน

ใหดีได อีกทั้งวิชาชีพครูก็ยังไมสามารถจะดึงคนเกงมาเรียนและเปนครูได ผูปกครอง ชุมชนมีปญหา

เพราะสิ่งที่เด็กเรียนรูจากโรงเรียนไมสามารถทาใหเด็กทางานและใชชีวิตในชุมชนของตัวเองได สังคม

เองก็เรียกรองอยากไดเด็กที่ทั้งเกงและดี เด็กที่มีจิตสาธารณะ ภาคธุรกิจก็ตองการ เม็ดเงินที่รัฐบาลลง

ไปใหกับการศึกษาคิดเปนประมาณรอยละ 20 ของงบประมาณประจําป และเปนประมาณรอยละ 4

กวาของผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งรัฐบาลของประเทศทุนนิยมฐานะดี 30

ประเทศที่เปนสมาชิกกลุม OECD (Organization for Economic Co-operation and

Development) ก็ใชจายเงินเพื่อการศึกษาโดยเฉลี่ยประมาณรอยละ 5 ของ GDP ถาอยางน้ัน เรา

จะทาอยางไรดี ปญหาก็รู ความคิดและขอเสนอแนะดีๆ ก็มี เงินก็ใหไมนอย3

ภายในป 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรูอยางเปนระบบ โดยเนนประเด็นหลัก

สามประการ คือ 1) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรูของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและ

เรียนรู เพื่อพัฒนาผูเรียน สถานศึกษาแหลงเรียนรู สภาพแวดลอม หลักสูตรและเน้ือหา พัฒนาวิชาชีพ

ครูใหเปนวิชาชีพที่มีคุณคา สามารถดึงดูดคนเกงดีและมีใจรักมาเปนครูคณาจารยไดอยางย่ังยืน

ภายใตระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 2) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรูอยางทั่วถึงและมี

คุณภาพ เพื่อใหประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเขาถึงการศึกษาและเรียนรูอยางตอเน่ือง

ตลอดชีวิต 3) สงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาคสวนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดย

เพิ่มบทบาทของผูที่อยูภายนอกระบบการศึกษาดวย กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีการ

ปฏิรูปการศึกษาและเรียนรูอยางเปนระบบ โดย 1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ใหคนไทยมีนิสัย

ใฝเรียนรู สามารถเรียนรูดวยตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต 2) พัฒนาคุณภาพครู

ยุคใหมใหเปนผูเอื้ออํานวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรู เห็นคุณคาของวิชาชีพ และดึงดูดคนเกง คนดี มี

3 เชาวรัตน เตมียกุล, ปฏิรูปการศึกษารอบสอง (สิงหบุรี : วิทยาลัยเทคนิคสิงหบุรี สถาบัน

การอาชีวศึกษาภาคกลาง 2, 2555).

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 16: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

4

ใจรักในวิชาชีพครูมาเปนครู 3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม ใหสามารถเปน

แหลงเรียนรูที่มีคุณภาพและพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆ สําหรับการศึกษาและเรียนรูทั้งในระบบโรงเรียน

นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย 4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม โดยมุงเนน

การกระจายอํานาจสูสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งการมี

สวนรวมของผูปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคสวน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรร

มาภิบาล4

การปฏิรูปการศึกษาอยางมียุทธศาสตรที่เหมาะสมดวยความรวมมือของทุกฝาย จะสามารถ

ชวยแกปญหาสู การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไดเปนอยางดี ทั้งในปจจุบันและอนาคต ทําใหคน

ไทยกาวทันการเปลี่ยนแปลงไดอยางรวดเร็ว ทั้งดานเทคโนโลยีและขอมูลขาวสาร เพื่อใหรูเทาทัน

เลือกสรรประโยชนมาประยุกตใช ไดพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมโดยรวมและใหอยูรวมกันอยางมี

ความสุข

ปญหาของการวิจัย

จากการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในปการศึกษา

2554 โดย ศึกษานิเทศกของสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 พบปญหา

สําคัญของโรงเรียนขนาดเล็กพอสรุปได ดังน้ี

1. ครูไมครบช้ันทั้งน้ีเน่ืองจากขอจํากัดเกี่ยวกับเกณฑการจัดอัตรากําลังครู เมื่อนักเรียน

ลดลง ทําใหอัตราครูลดลงไปดวย จํานวนโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 มีปญหาไมครบช้ัน รวมทั้งสิ้น 34 โรงเรียน คิดเปนรอยละ 58.62 ของ

โรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด มีเพียง 24 โรงเรียนเทาน้ันที่สามารถจัดครูครบช้ัน

2. ขาดวัสดุอุปกรณในการจัดการเรียนการสอน เน่ืองจากไดรับการจัดสรรงบประมาณ

รายหัวของจํานวนนักเรียนที่มีอยูจริงในโรงเรียน ทําใหงบประมาณที่จะนํามาใชในการพัฒนาการเรียน

การสอนไมเพียงพอที่จะนํามาซื้อ จัดหาวัสดุ อุปกรณ สื่อการเรียนการสอนอยางเพียงพอโดยเฉพาะ

สื่อการสอนที่มีราคาแพง เชน คอมพิวเตอรที่จําเปนอยางย่ิงตอการจัดการเรียนรูปจจุบัน

3. ครูผูสอนมีคุณวุฒิหรือความรูความสามารถในการปฏิบัติการสอนไมครบทุกกลุมสาระ

การเรียนรู ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

4. ปญหาการขาดขวัญและกําลังใจครู เน่ืองจากมีภาระที่ตองรับผิดชอบสอนหลายช้ัน

หลายกลุมสาระ และยังมีภาระที่เปนงานธุรการ การเงิน พัสดุโครงการอื่นๆ เหมือนเชนโรงเรียนขนาด

กลางและขนาดใหญ ขาดโอกาสความกาวหนา ทําใหครูโรงเรียนขนาดเล็กย่ืนคํารองขอยายไปอยูใน

4 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน , สาระสําคัญการปฏิรูปการศึกษาใน

ทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) (กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน , 2554).

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 17: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

5

โรงเรียนขนาดใหญ เพื่อเพิ่มโอกาสความกาวหนาในอาชีพ

5. ปญหาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนตํ่าเปน

ปญหาเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ไมมีความหลากหลาย ขาดการบูรณาการทําให

สังคมของนักเรียนคับแคบไมกวางขวาง

6. ขาดแหลงเรียนรู อาคารเรียน อาคารประกอบ เน่ืองจากไมมีงบประมาณ และชุมชนไม

สามารถชวยเหลือได เพราะอยูเขตทุรกันดาร ประชาชนมีฐานะยากจน5

วัตถุประสงคการวิจัย

เพื่อเปนแนวทางในการศึกษาวิจัย ผูวิจัยจึงกําหนดจุดประสงคของการวิจัย ดังน้ี

1. เพื่อทราบการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัด

ปราจีนบุรีตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)

2. เพื่อทราบผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับปฏิรูปโรงเรียนประถม

ศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่

สอง (พ.ศ.2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ

ขอคําถามการวิจัย

เพื่อใหสอดคลองกับวัตถุประสงคของการวิจัย ผูวิจัยจึงไดกําหนดขอคําถามการวิจัย ดังน้ี

1. การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)ดําเนินการอยูในระดับใด

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

(พ.ศ.2552-2561)แตกตางกันหรือไม เมื่อจําแนกตามสถานภาพ

สมมติฐานการวิจัย

เพื่อเปนแนวทางการวิจัย ผูวิจัยจึงต้ังสมมติฐานการวิจัยไววา

1. การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)ดําเนินการอยูในระดับปานกลาง

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ

ที่สอง (พ.ศ.2552-2561) มีความแตกตางกันเมื่อจําแนกตามสถานภาพ

5วิริยาภรณ อินทรจันทร, รายงานการพัฒนาวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ปการศึกษา 2554 (ปราจีนบุรี : กลุมนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2, 2554).

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 18: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

6

ขอบขายเชิงอางอิงของการวิจัย

ในการศึกษาวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยไดนําทฤษฎีเชิงระบบของแคทซและคาหน (Katz and Kahn)

มาเปนกรอบแนวคิดของการวิจัย ประกอบดวย ตัวปอน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต

(Product) ที่มีปฏิสัมพันธกับสภาพแวดลอม (Context) และมีการตรวจสอบขอมูลยอนกลับ

(Feedback)6 โดยระบบจะยอมรับปจจัยนําเขา (Input) ไดแก 1) นโยบายการศึกษา 2)

บุคลากร 3) งบประมาณ 4) วัสดุอุปกรณ และ 5) การจัดการซึ่งเปนตัวปอนที่สําคัญย่ิง ผานสู

กระบวนการ (Process) เพื่อใหไดมาซึ่งผลผลิต (Output) ไดแก การบริหารจัดการโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็กใหเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถามีขอบกพรองบางอยางเกิดข้ึนก็

สามารถนํากลับไปแกไข(Feedback) โดยผานกระบวนการตางๆอีกครั้ง ซึ่งองคประกอบเหลาน้ีมี

กระบวนการตางๆที่ตอเน่ืองกัน และยังมีปจจัยที่ เปนบริบท (Context) โดยมีอิทธิพลตอการ

บริหารงานทั้งทางตรงและทางออม7

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561) ตามแนวคิดของรุง แกวแดง ไดใหความคิดเห็นวา การปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การ

เปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการศึกษา โดยตองสรางความเขาใจที่ถูกตองใหมวาการศึกษามีรูปแบบที่

หลากหลาย คนทุกคนสามารถเรียนรูไดตลอดชีวิต การศึกษาเปนของปวงชนทุกคน และทุกคนทุก

หนวยของสังคมก็ตองรวมพลังเพื่อการศึกษา8 และ วิทยากร เชียงกูล ไดกลาวถึงการปฏิรูปการศึกษา

หมายถึง กระบวนการคนควาวิจัย เรียนรู เผยแพรและเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งสังคมที่ทําใหทั้ง

นักเรียน เด็กและเยาวชนที่อยูนอกระบบโรงเรียนและประชาชนทุกคนมีโอกาสไดเรียนรูอยาง มี

ประสิทธิภาพและมีจิตสํานึก เขาใจความจําเปนที่จะตองปฏิรูปของสังคมทั้งหมด เพื่อประโยชนของ

สังคมสวนรวมในระยะยาว9 สุรินทร พิศสุวรรณ ไดกลาวถึงการปฏิรูปการศึกษาไวดังน้ี การปฏิรูป

การศึกษาเพ่ือใหทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอยางเทาเทียมกัน ใหโอกาสทางการศึกษา

พัฒนาทรัพยากรมนุษยอยางทั่วถึงเพื่อการอยูรวมกันอยางสันติ เคารพและใหเกียรติตอกัน มีความ

6 Daniel Katz and Robert L. Kahn, The Social Psychology of Organization,

2nd Ed. (New York : John Wiley and Son, 1978), 20. 7 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ , คูมือการบริหารสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานท่ีเปนนิติบุคคล (กรุงเทพฯ : โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ (ร.ส.พ.), 2546),32. 8รุง แกวแดง. การวิจัยเพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษา. เขาถึงเมื่อ 9 เมษายน 2557,

http://area.obec.go.th/buriram3/rongbavon/bavon/r_6.html

9วิทยากร เชียงกูล. รายงานสภาวะการศึกษาไทย ป 2541: วิกฤตและโอกาสในการปฏิรูป

การศึกษาและสังคมไทย (กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นต้ิงแอนดพับลิชชิง,2541.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

Page 19: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

7

กระบวนการ (Process)

- การบริหาร

- การจัดการเรียนการสอน - การนิเทศการศึกษา

ปรองดองในหมูประชากรที่มีความหลากหลาย ดวยความเสมอภาค ปราศจากการแบงแยก เลือก

ปฏิบัติ กีดกัน รังเกียจเดียดฉันท10

แผนภูมิท่ี 1 : ขอบขายเชิงอางอิงของการวิจัย

ที่มา : Daniel Katz and Robert L. Kahn, The Social Psychology of Organization,

2nd ed. (New York : John Wiley and Son, 1978), 20.

: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ , คูมือการบริหาร

สถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานท่ีเปนนิติบุคคล (กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ

(ร.ส.พ.), 2546),32.

: กระทรวงศึกษาธิการ, แผนปฏิบัติราชการ ประจําปงบประมาณ พ.ศ.2556 (กรุงเทพฯ:

กรทรวงศึกษาธิการ, 2556)11.

10สุรินทร พิศสุวรรณ. แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย. เขาถึงเมื่อ 9 เมษายน 2557,

http://fit.or.th

การปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก

ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาในทศวรรษ

ที่สอง

ปจจัยนําเขา (Input)

- นโยบาย

- บุคลากร

- งบประมาณ

- วัสดุอุปกรณ

- การจัดการ

ผลผลิต (Output)

- การบริหารจัดการ

โรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็กใหเกิด

ประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผล

ขอมูลยอนกลับ

(Feedback)

สภาวะแวดลอม (Context)

สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภูมิศาสตร

Page 20: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

8

ขอบเขตของการวิจัย

ในการศึกษาวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยไดนํานโยบายที่ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ประเด็น

นโยบายที่ 4.1 นโยบายการศึกษา เรงพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรูของ

สังคมไทย อันประกอบดวยการยกระดับองคความรูใหไดมาตรฐานสากล จัดใหมีโครงการตํารา

แหงชาติที่บรรจุความรูที่กาวหนาและไดมาตรฐานทั้งความรูที่เปนสากลและภูมิปญญาทองถ่ิน

สงเสริมการอาน พรอมทั้งสงเสริมการเรียนการสอนภาษาตางประเทศและภาษาถ่ิน จัดใหมีระบบการ

จัดการความรู ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับใหรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมกับ

มาตรฐานสากลบนความเปนทองถ่ินและความเปนไทยเพิ่มผลสัมฤทธ์ิของการศึกษาทุกระดับช้ันโดย

วัดผลจากการผานการทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไมรูหนังสือใหสิ้นไป

จากสังคมไทย และปฏิรูปครู โดยปฏิรูปการผลิตครูใหมีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ พัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทใหเปนแหลงเรียนรูที่มีคุณภาพและพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆ มุงเนนการ

กระจายอํานาจสูสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน (อปท.) รวมทั้งการมี

สวนรวมของผูปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาคสวน11 และแผนดําเนินงานแบบข้ันบันได

ภายในป 2561 เปนตัวแปรที่ศึกษาของการวิจัยครั้งน้ี ดังแผนภูมิที่ 2

แผนภูมิท่ี 2 ขอบเขตการวิจัย

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ, แผนปฏิบัติราชการ ประจําปงบประมาณ พ.ศ.2556 (กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิกา, 2556)3 - 5.

11 กระทรวงศึกษาธิการ, แผนปฏิบัติราชการ ประจําปงบประมาณ พ.ศ.2556 (กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิการ, 2556)3 - 5.

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

(พ.ศ.2552-2561) 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม

2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม

3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรู

ยุคใหม

4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

Page 21: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

9

นิยามศัพทเฉพาะ

เพื่อใหเขาใจตรงกันในความหมายของคําศัพทในการวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยจึงกําหนดนิยามศัพท

ตางๆดังตอไปน้ี

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี หมายถึง สถานที่

สําหรับจัดการเรียนการสอนสําหรับนักเรียนต้ังแตระดับช้ันอนุบาล 1 ถึงช้ันประถมศึกษาปที่ 6

จํานวนนักเรียนตํ่ากวา 120 คน ของอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่

การศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ที่จัดการศึกษาใหสอดคลองกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา จํานวน

46 โรง

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษท่ีสอง(พ.ศ.2552-2561) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง

โครงสราง รูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และระบบสนับสนุนตางๆ

ไมวาดานงบประมาณ อุปกรณเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่สําคัญคือการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดใหมใหสอด

รับกับสังคมใหม ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสองมี 3 เปาหมาย ไดแก 1.พัฒนาคุณภาพและ

มาตรฐานการศึกษาและเรียนรูของคนไทย 2. เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรูอยางทั่วถึง

และมีคุณภาพ 3. สงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาคสวน ของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

และ แบงเปน 4 กรอบแนวทาง ไดแก 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม 2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม

3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหลงเรียนรูยุคใหม 4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

Page 22: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

10

บทท่ี 2

วรรณกรรมท่ีเก่ียวของ

การวิจัยเรื่องการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัด

ปราจีนบุรีตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ .ศ.2552-2561) ผู วิจัยไดศึกษา

วรรณกรรมที่เกี่ยวของ ซึ่งประกอบไปดวย ขอมูลพื้นฐานทั่วไปของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ประวัติความเปนมาของการปฏิรูป

การศึกษาไทย ความหมายและความสําคัญชองการปฏิรูปการศึกษา หลักการปฏิรูปการศึกษา

นโยบาย แนวทาง เปาหมาย กรอบแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งประกอบดวยสาระสําคัญ

ดังน้ี

ขอมูลพ้ืนฐานท่ัวไปของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ต้ังอยูเลขที่ 998 หมู 2

ถนนฉะเชิงเทรา – นครราชสีมา (304) ตําบลกบินทร อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ประกอบดวย อาคารช้ันเดียว 2 หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม 1 หลัง สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา

ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 เปนหนวยงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการศึกษา โดยสนับสนุน

สงเสริมบทบาทสถานศึกษาในการเปนนิติบุคคล ปฏิบัติภารกิจในการบริหารจัดการงานวิชาการ งาน

บุคลากร งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป เพ่ือใหการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผล ภายใตการกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน มีหนาที่

ดําเนินการใหเปนไปตามอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 38 แหง

พ ร ะ ร า ชบั ญญั ติ ก า ร ศึ ก ษา แห ง ช า ติ พ .ศ . 2 54 2 แ ล ะ ท่ี แ ก ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม ( ฉบั บ ที่ 2 )

พ.ศ. 2545 หมวด 5 และมาตรา 39 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2546 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มาตรา 8 มาตรา 34 วรรคสอง ไดมีการ

กําหนดใหมีการแบงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 รับผิดชอบบริหารจัดการศึกษา

ครอบคลุมพื้นที่ 2 อําเภอ ประกอบไปดวยอําเภอกบินทรบุรีและอําเภอนาดี ซึ่งมีเขตติดตอดังน้ี

Page 23: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

11

แผนผังท่ี 3 แผนที่เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2

ทิศเหนือ ติดตออําเภอวังนํ้าเขียวและอําเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ทิศใตติดตออําเภอ

เขาฉกรรจ (จังหวัดสระแกว) และอําเภอสนามชัยเขต (จังหวัดฉะเชิงเทรา) ทิศตะวันออกติดตอ

อําเภอเมือง จังหวัดสระแกว ทิศตะวันตกติดตออําเภอศรีมหาโพธิและอําเภอประจันตคาม จังหวัด

ปราจีนบุร ี ระยะทางหางจากกรุงเทพมหานคร 165 กิโลเมตร ใชเวลาเดินทาง 2 ช่ัวโมง มีพื้นที่

ทั้งหมด 2,583.3 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไป สวนใหญเปนที่ราบลุมแมนํ้า ตอนเหนือเปน

ที่ราบสูงติดภูเขาและเปนเขตอุทยานแหงชาติ ตอนกลางเปนที่ราบลุม ตอนใตเปนปาโปรง เสนทาง

คมนาคมมีความสะดวกท้ังทางรถไฟและทางรถยนต มีประชากรทั้งหมด 188,779 คน (ขอมูล

2552) ประชากรสวนใหญมีอาชีพเกษตรกร รายไดเฉลี่ย 32,000 บาท ตอครอบครัวตอป อําเภอกบินทรบุรี ต้ังอยูทางทิศตะวันออกของจังหวัดปราจีนบุร ี ระยะหางจากตัวจังหวัด

ประมาณ 58 กิโลเมตร และหางจากกรุงเทพประมาณ 165 กิโลเมตร มีตําบล 14 แหง คือ

ต.กบินทร ต.เมืองเกา ต.หนองกี่ ต.นาแขม ต.นนทรี ต.วังดาล ต.ลาดตะเคียน ต.หาดนางแกว

ต.เขาไมแกว ต.ยานรี ต.บอทอง ต.บานนา ต.วังตะเคียน ต.วังทาชาง หมูบาน 193 แหง

เทศบาล 3 แหง อบต. 14 แหง มีจํานวนประชากรท้ังสิ้น รวม 139,334 คน (ขอมูล 2552)

มีพื้นที่ทั้งสิ้นจํานวน 1,309.3 ตารางกิโลเมตร อาชีพหลัก ไดแก เกษตรกรรม ปลูกขาว

ปลูกมันสําปะหลัง ขาวโพด อาชีพเสริม ไดแก เลี้ยงสุกร เลี้ยงไก เลี้ยงโค 1

แผนผังท่ี 4 แผนที่อําเภอกบินทรบุร ี

1สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2, แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน(2555-2558), เขาถึงเมื่อ 15 มกราคม 2556, www.prachinburi2.go.th

Page 24: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

12

ตารางท่ี 1 ขอมูลโรงเรียนขนาดเล็ก และจํานวนนักเรียน ครูสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา

ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2

ลําดับ ช่ือสถานศึกษา เขตคุณภาพ จํานวนนักเรียน จํานวนครู

1 ชุมชนบานทุงแฝก กบินทรบุรี 1 88 9

2 บานหนองชางลง กบินทรบุรี 1 32 3

3 บานชําโสม กบินทรบุรี 1 95 10

4 บานนางเลง กบินทรบุรี 1 9 1

5 วัดปากแพรก กบินทรบุรี 1 38 4

6 บานไผ กบินทรบุรี 2 107 7

7 บานโคกหอม กบินทรบุรี 2 53 5

8 บานทด กบินทรบุรี 3 52 4

9 บานโคกลาน กบินทรบุรี 3 35 4

10 บานหนองหัวชาง กบินทรบุรี 4 61 5

11 บานหนองบัว กบินทรบุรี 4 106 8

12 วัดศรีสุวรรณาราม กบินทรบุรี 4 54 5

13 วัดตันทาราม กบินทรบุรี 4 30 3

14 บานหนองอนามัย กบินทรบุรี 4 105 8

15 วัดเนาวรัตนาราม กบินทรบุรี 4 30 4

16 บานทาอุดม กบินทรบุรี 4 92 7

17 บานหนองมันปลา กบินทรบุรี 4 78 6

18 วัดวังหวาย กบินทรบุรี 5 41 4

19 บานหนองจิก กบินทรบุรี 5 74 8

20 วัดรัตนโชติการาม กบินทรบุรี 5 41 4

21 วัดรัตนชมภู กบินทรบุรี 5 86 6

22 วัดเกาะแดง กบินทรบุรี 5 69 5

Page 25: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

13

ลําดับ ช่ือสถานศึกษา เขตคุณภาพ จํานวนนักเรียน จํานวนครู

23 บานหนองตลาด กบินทรบุรี 6 29 4

24 บานคลองรวม กบินทรบุรี 6 82 6

25 วัดหาดสูง กบินทรบุรี 6 45 3

26 บานเขาดิน(ประชาอุทิศ) กบินทรบุรี 6 49 4

27 บานปราสาท กบินทรบุรี 6 60 5

28 บานวังบัวทอง กบินทรบุรี 6 50 4

29 บานโคกสวาง กบินทรบุรี 7 50 4

30 บานโนนหัวบึง กบินทรบุรี 7 83 6

31 บานซง กบินทรบุรี 7 93 7

32 วัดยานรี กบินทรบุรี 7 23 4

33 บานคลองเจาแรง กบินทรบุรี 7 47 4

34 บานนาคลองกลาง กบินทรบุรี 7 63 5

35 บานหนองประดู กบินทรบุรี 7 41 4

36 บานหนองไผลอม กบินทรบุรี 8 44 4

37 บานหนองโดน กบินทรบุรี 8 72 5

38 วัดปากนํ้า กบินทรบุรี 8 41 3

39 บานหนองคลา กบินทรบุรี 9 51 5

40 บานแกง กบินทรบุรี 9 51 3

41 วัดเนินสูง กบินทรบุรี 9 54 4

42 บานเขากระแต กบินทรบุรี 9 84 6

43 บานคลองระกํา กบินทรบุรี 9 48 2

44 บานหนองหอย กบินทรบุรี 9 105 7

45 บานใหมพัฒนา กบินทรบุรี 10 85 5

46 บานเขาปูน กบินทรบุรี 10 63 4

Page 26: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

14

ลําดับ ช่ือสถานศึกษา เขตคุณภาพ จํานวนนักเรียน จํานวนครู

47 บานกระเดียง นาดี 1 88 8

48 บานโนนแสนสุข นาดี 1 101 8

49 บานหนองตะแบก นาดี 1 50 3

50 บานโคกกระจง นาดี 1 77 8

51 บานทุงแฝก นาดี 2 64 5

52 สหกรณนิคมบานคลองปลาดุกลาย นาดี 2 107 7

53 บานขุนศรี นาดี 2 108 6

54 บานบุพราหมณอรุณอนุสรณ นาดี 2 112 7

55 บานราษฎรเจริญ นาดี 3 118 9

56 บานวังรี นาดี 3 64 4

ขอมูลเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 25552

2สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2, ขอมูลโรงเรียนขนาดเล็ก, เขาถึงเมื่อ 15 มกราคม 2556, www.prachinburi2.go.th

Page 27: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

15

การปฏิรูปการศึกษา

ความเปนมาของการปฏิรูปการศึกษา

เกรียงศักด์ิ เจริญวงศศักด์ิ ไดเสนอแนวคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตรของการปฏิรูปการศึกษาให

ประสบความสําเร็จไวอยางนาสนใจ 8 ประการดังน้ี

1. ยุทธศาสตรการจัดการศึกษาปฐมวัย เปนยุทธศาสตรเพื่อสงเสริมใหพอแมและผูดูแลเด็ก

เล็กไดรับการอบรม เพื่อใหมีความรู ความเขาใจในพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการดานการ

เรียนรูและสติปญญา โดยมีหนวยงานที่มีความชํานาญดานเด็กเปนผูดําเนินการภายใตการสนับสนุน

ของรัฐบาลรวมทั้งการดําเนินงานดานตาง ๆ เชน การจัดการศึกษาพิเศษสําหรับเด็กพิการ การ

กระจายโอกาสทางการศึกษาอยางทั่วถึงใหแกเด็กปฐมวัย โดยประสานความรวมมือกับหนวยงานอื่น

ๆ ที่เกี่ยวของ ตลอดจนการประกันคุณภาพ และการเพิ่มงบประมาณใหแกการศึกษาปฐมวัย

2. ยุทธศาสตรการศึกษาเพ่ือการคิดครบ 10 มิติ เปนการจัดหลักสูตรการคิด 10 มิติ เพิ่มเติม

ในหลักสูตรการเรียนการสอนต้ังแตระดับประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อสรางคนที่พึงประสงค

สําหรับศตวรรษใหพรอมดวยความคิด10 มิติอันประกอบดวยการคิดเชิงวิทยาการ การคิดเชิง

วิเคราะห การคิดเชิงสังเคราะห การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงมโนทัศน การคิดเชิงสรางสรรค

การคิดเชิงประยุกต การคิดเชิงกลยุทธ การคิดเชิงบูรณาการ และการคิดเชิงอนาคต

3. ยุทธศาสตรการสรางธนาคารหลักสูตร หมายถึง การรวบรวมหลักสูตรการศึกษาตาง ๆ ที่มี

ความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความตองการของผูเรียนแตละคนตามความถนัด และระดับ

ความสามารถของผูเรียน ธนาคารน้ีควรทําหนาที่ใหคําปรึกษาแนะนําแกสถาบันการศึกษาที่ตองการ

พัฒนาผูเรียนแตละบุคคลดวย

4. ยุทธศาสตรการสรางโรงเรียนอัจฉริยะ เปนการเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเปน

พิเศษสําหรับเด็กปญญาเลิศ โดยไดเสนอเกณฑการคัดเลือก มาตรการการดําเนินงานและ

เปาหมายไวคอนขางครอบคลุม โดยมีความเช่ือวาเด็ก ๆ เหลาน้ีจะเปนเสมือนแกนนําที่สําคัญในการ

พัฒนาประเทศตอไปในอนาคต

5. ยุทธศาสตรการแปลหนังสือเพ่ือพัฒนาชาติ ไดเสนอใหมีกระบวนการพัฒนาหนังสือแปล

เพื่อพัฒนาความรูใหกับคนในชาติ เกิดการพัฒนาทางวิทยาการสาขาตาง ๆ โดยมีแนวทาง

การดําเนินงานหลากหลาย เชนจัดต้ังสํานักงานแปลแหงชาติ การสรางนักแปลและการพัฒนา การรัก

การอานหนังสือ เพื่อใหคนในชาติไปถึงสุดพรมแดนความรูและนําไปสูการพัฒนาประเทศในที่สุด

6. ยุทธศาสตรความเปนสากลควบคูกับความเปนไทย เปนยุทธศาสตรที่จะสรางคนไทยใน

อนาคตใหมีลักษณะของความเปนสากล โดยไมละทิ้งความเปนไทย โดยเฉพาะในการติดตอสื่อสาร

ภาษาอังกฤษ ดังน้ัน จึงเสนอยุทธศาสตรการพัฒนาภาษาอังกฤษ โดยกําหนดใหเปนนโยบาย

Page 28: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

16

ระดับชาติ และคาดหวังใหคนไทยในอนาคตตองเปนคนเรียนรูตลอดชีวิต จึงตองสรางสังคมไทยใหเปน

สังคมแหงการเรียนรู เพื่อใหสามารถกาวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

7. ยุทธศาสตรการกระจายความรับผิดชอบดานการศึกษา เปนยุทธศาสตรที่จะรวมพลังใน

สังคมใหรวมกันรับผิดชอบจัดการศึกษา ซึ่งนอกจากใหเอกชนมีบทบาทนําทางการศึกษาทุกระดับ

รวมทั้งเปนผูจัดต้ังกองทุนเพื่อการศึกษาสําหรับกลุมชนที่เฉพาะเจาะจงตางๆ แลว ทุกฝายในสังคม

ควรจัดต้ังกองทุนเวลาเพื่อใหคนในสังคมอุทิศเวลาชวยกันสรางสรรคสังคมในสวนที่ตนจะชวยได

นอกจากน้ี ไดเสนอการสรางเครือขายที่ครอบคลุมเพื่อการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบดวย

8. ยุทธศาสตรการสรางชุมชนนักวิชาการสรางชาติ ยุทธศาสตรน้ีเปนยุทธศาสตรสุดทาย

ภายหลังการปฏิรูปการศึกษาแลว เพื่อสังคมที่เต็มไปดวยผูใชปญญาในการดําเนินชีวิต เพื่อใหเกิดการ

พัฒนาที่ย่ังยืนตลอดไป3

สิปปนนท เกตุทัต ไดกลาวถึงความเปนมาของการปฏิรูปการศึกษาของไทยวา การปฏิรูป

การศึกษาครั้งแรกของไทย เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 ในชวงป พ.ศ. 2430-2475 เปนการปฏิรูปทั้งระบบ

และกระบวนการ ที่ตอเน่ืองกันเปนเวลายาวนานเพื่อความทันสมัย และเปนการปลอดภัยจากการลา

อาณานิคมของประเทศตะวันตก ดวยพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงดําเนินนโยบายทางการ

ทูต ไดนําความรูทางตะวันตกมาประยุกตใช จึงไดปฏิรูปทุกระบบของประเทศไทยสูความทันสมัยบน

รากฐานของวัฒนธรรมไทย การศึกษาก็เปนระบบหน่ึงที่ไดปฏิรูปใหสอดคลองกับระบบกฎหมาย การ

ปกครอง การคมนาคมขนสง การแพทย การพยาบาล และ การสาธารณสุข ฯลฯ การปฏิรูป

การศึกษาดําเนินการมาอยางตอเน่ืองจากการศึกษาในวัด ในวังและในครัวเรือน มาเปนการศึกษาใน

โรงเรียน มีการจัดทําโครงการการศึกษาหรือแผนการศึกษาแหงชาติ หรือพระราชบัญญัติการศึกษา

เพราะแตละโครงการที่จะดําเนินการ หรือแผนในขณะน้ัน เปนพระบรมราชโองการ จึงถือเสมือนเปน

พระราชบัญญัติในปจจุบัน นอกจากน้ีก็มีการจัดทํา หลักสูตร โดยประยุกตใหเขากับสังคมไทยมีการ

จัดต้ังโรงเรียนประถมและมัธยม โรงเรียนฝกอาชีพ มีการจัดต้ังโรงเรียนฝกหัดครู มีการจัดต้ัง

มหาวิทยาลัย ฯลฯ สอดคลองทั้งระบบ อยางไรก็ตามดวยสภาพเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาจึง

กระจุกตัวอยูในเมือง ในตัวจังหวัดเปนหลัก ซึ่งกลาวไดวา ความสําเร็จอันเน่ืองมาจากพระปรีชา

สามารถและภาวะผูนําของพระมหากษัตริยทั้ง 3 พระองค คือ รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7

รวมทั้งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ และเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความจริงจังและความจริงใจ

ที่ผลักดันงานการศึกษาเพื่อความทันสมัยและปฏิรูประบบอื่นข้ึนอยางสอดคลองกัน การปฏิรูป

การศึกษาครั้งที่ 2 เปนการปฏิรูปการศึกษาเพ่ือชีวิตและสังคม ซึ่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เมื่อ พ.ศ. 2475 ก็มีการปรับปรุงแผนการศึกษาแหงชาติหลายแผน ซึ่งในแตละแผนก็ยังเปนพระบรม

3เกรียงศักด์ิ เจริญวงศศักด์ิ . ปนสมองของชาติ : ยุทธศาสตรปฏิรูปการศึกษา .

(กรุงเทพมหานคร: ส. เอเชีย เพรส (1989) จํากัด, 2544)5-13.

Page 29: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

17

ราชโองการตามประเพณี แตก็มีสภาพเปนพระราชบัญญัติ นอกจากน้ีมีการปรับปรุงเปนจุด ๆ ตาม

สภาพปญหา เชน มีความพยายามปรับปรุงใหสามัคยาจารยเปนคุรุสภา เปนสถาบันวิชาชีพ แตคุรุ

สภาก็มิไดดําเนินการตามเจตนารมณน้ันมากนัก มีการจัดต้ังมหาวิทยาลัยข้ึนมาอีกหลายแหง

คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไดศึกษาอยางกวางขวาง โดยเริ่มตนจากสภาพของ

โลก สภาพการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และความขัดแยงตาง ๆ ในขณะน้ัน แลวรวมกันสรุปปญหา

ได 3 ประการ คือ

1. สภาพรอบโลกและประเทศเปลี่ยนไปอยางกวางขวาง แตการศึกษาก็มิไดเปลี่ยนตามไป

หรือเปลี่ยนไปนําสังคม

2. การศึกษาควรเปนสื่อปรับความเขาใจระหวางคนกลุมตาง ๆในประเทศ แตก็มิไดมี

บทบาทมากนัก

3. เมื่อพิจารณาเน้ือแทของการศึกษา การศึกษาเองก็ออนลา อุยอาย ไมเสมอภาค คุณภาพ

ออน ฯลฯ

ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาครั้งน้ี เริ่มอยางจริงจังต้ังแตกลางป พ.ศ. 2517 จนถึง

พ.ศ. 2519 แตการปฏิรูปไมครบทั้งระบบ ปรับปรุงไดเปนบางจุด ทําใหการปฏิรูปการศึกษาไมประสบ

ความสําเร็จ ดวยเหตุผลดังน้ี

1. สภาพการเมืองและสังคมไมเอื้อ มีการแบงเปนฝายซายและฝายขวา

2. รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการเองเปนผูสั่งใหยุติการปฏิรูปการศึกษาไวกวา 1 ป ทํา

ใหมีการหยุดชะงัก

3. ในชวงเวลาต้ังแต พ.ศ. 2517-2523 มีรัฐมนตรี 10 คน มีวาระการดํารงตําแหนง

เฉลี่ยคนละ 6 เดือน เปรียบเทียบกับยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย มีรัฐมนตรี 5 คน เฉลี่ยคนละ 8 ป และ

ยุค พ.ศ. 2475-2517 มีรัฐมนตรี 27 คน เฉลี่ยคนละ 1 ป 6 เดือน ดังน้ันจึงไมสามารถดําเนินการ

ปฏิรูปการศึกษาใหตอเน่ืองได

4. รัฐมนตรีแตละคนมีภาวะผูนํา มีความจริงจังและจริงใจในการปฏิรูปการศึกษาตางกัน

5. ขาราชการประจํา ครู และพอแม สับสนวารัฐบาลจะเอาอยางไรกันแน

การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ตองชะงักลง และเกิดความรุนแรงทางการเมือง เมื่อวันที่ 6

ตุลาคม พ.ศ. 2519 นักวิชาการและภาคเอกชนในประเทศไทย ไดตระหนักถึงความสําคัญในเรื่องน้ี

ไดหารือรวมกันและเห็นวา ตองปฏิรูปการศึกษาโดยเริ่มจากระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน เพราะเปน

หัวใจสําคัญของการพัฒนา และการเตรียมตัวสูโลกในยุคสารสนเทศ ไดจัดต้ังคณะทํางานเพื่อวาง

พื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน และใหขอเสนอแนวการปฏิรูปการศึกษา

คณะทํางานไดวางยุทธศาสตรการปฏิรูปไว 4 ข้ันตอน คือ

Page 30: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

18

1. จุดประกาย โดยการจัดประชุม สัมมนาในภูมิภาคตางๆ ช้ีใหเห็นปญหารวมกันทําหนังสือ

และเอกสารตาง ๆ เชน ความฝนของแผนดิน ความจริงของแผนดิน ฯลฯ

2. ขยายความคิดโดยการสัมผัส สัมภาษณ โรงเรียน นักการศึกษา พอแม ครูที่กําลงัปรับปรุง

การศึกษาใหเปนคิดเปน ทําเปน คิดชอบเห็นชอบ ใหนักเรียนรูวิธีเรียนรูจนความคิดไดแพรกระจาย

3. พิชิตความเปลี่ยนแปลง แพรกระจายความคิดรวมกับหนวยงานรัฐรางพระราชบัญญัติ

การศึกษาแหงชาติ

4. ออกแรงผลักดันสูความสําเร็จรวมกับทุกองคกร ทําความเขาใจรวมกันเพื่อปฏิรูป

การศึกษา

คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ไดกระตุน ระดมใหองคกรตางๆ ทั้ง

ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ รวมงานกันในระดับรากหญา จากลางสูบน ดวยความหวังวาจะ

ผลักดันรัฐบาลฝายบริหารและฝายนิติบัญญัติ ใหรวมพลังกันปฏิรูปการศึกษาจนกระทั่ งมี

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือวาเปนการศึกษาฉบับแรกของไทยเกิดข้ึนโดย

ผานสภาผูแทนราษฎร และจุดประสงคอยางเปนเอกฉันท แมแตรัฐบาลที่ ฯพณฯ พ .ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร เปนนายกรัฐมนตรี ก็แถลงนโยบายตอรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ พ.ศ. 2544 ในดาน

การศึกษาไววารัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณแหงรัฐธรรมนูญ และแหงพระราชบัญญัติ

การศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อพัฒนาสังคมไทยใหเปนสังคมแหงความรู หลังจากพระราชบัญญัติ

การศึกษาแหงชาติ ไดนํามาบังคับใชต้ังแต พ.ศ. 2542 (แกไขอีกครั้งใน พ.ศ.2545) พระราชบัญญัติ

การศึกษาแหงชาติฉบับน้ีมุงเนนการปฏิรูปการศึกษา โดยมีสาระสําคัญตามเอกสารนโยบายปญจ

ปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2545 5 ประการ พรอมยุทธศาสตรการดําเนินการที่สอดคลองกัน4

จากความเปนมาของการปฏิรูปการศึกษาดังกล าวขางตนแลว จนถึงการประกาศใช

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ .ศ. 2542 เพื่อการปฏิรูปการศึกษาใหกาวทัน และล้ําหนา

การศึกษาในนานาประเทศนั้น เพียงเพื่อหวังที่จะไดเห็นผลสําเร็จในอีก 5-10 ปขางหนา การปฏิรูป

ระบบ หลักสูตร วิธีสอน บุคลากร และทรัพยากรสนับสนุน ตองเปนไปในทิศทางเดียวกัน การปฏิรูป

การศึกษาจึงจะบรรลุผล ในภาพรวมของประเทศน้ัน รัฐบาลโดยกระทรวงที่เกี่ยวของเปนผูนําและ

จัดสรรทรัพยากรใหการปฏิรูปการศึกษาเดินหนาไปไดดวยดี โดยยึดวัตถุประสงคตามเจตนารมณของ

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 เปนแนวทางหลัก ดวยเหตุน้ีจึงนับไดวา การปฏิรูป

การศึกษาของไทยมีการเปลี่ยนแปลงและมีความกาวหนามาตามลําดับ

4สิปปนนท เกตุทัต. จากอดีตและปจจุบันสูอนาคตของการปฏิรูปการศึกษาไทย: สู

สังคมแหงปญญาและการเรียนรู. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2545)3-20.

Page 31: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

19

ความหมายของการปฏิรูปการศึกษา

สําหรับการปฏิรูปการศึกษามีหลายทานไดใหความหมายไวดังน้ี

สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ ไดนิยามไววา การปฏิรูปการศึกษา

หมายถึง การปรับปรุงการดําเนินงานของสถานศึกษาใหดีข้ึนใน 4 ดาน คือ การปฏิรูปโรงเรียนและ

สถานศึกษา การปฏิรูปครู และบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการจัดการ

เรียนการสอน และการปฏิรูประบบการบริหารการศึกษา5 จรวยพร ธรณินทร กลาววาการปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงใน

กระบวนการศึกษาครั้งใหญ ต้ังแตนโยบาย ปจจัย ข้ันตอน และ ผลลัพธ6

สุดารัตน บุญภา ไดใหคําจํากัดความของการปฏิรูปการศึกษาวาเปนการเปลี่ยนแปลงทั้ง

ระบบ ไดแก ระบบการบริหารต้ังแตระดับกระทรวงถึงระดับโรงเรียน หลักสูตร กระบวนการเรียนการ

สอนและผูประกอบวิชาชีพ (ครูและผูบริหาร ) กลาวคือ การปฏิรูปการศึกษาเปนกระบวนการ

เปลี่ยนแปลงทั้งระบบอยางเปนข้ันตอน ไมเกิดความรุนแรง หรือกระทบในทางเสียหายนอยที่สุด7

วิชัย ตันศิริ กลาวไววา การปฏิรูปการศึกษาเปนกระบวนการที่มีความหมายลึกซึ้งกวางไกล

หากเปนการเปลี่ยนแปลงตามปกติวิสัยเราก็ไมเรียกการเปลี่ยนแปลงน้ันวา "การปฏิรูป" และในทาง

กลับกันหากการเปลี่ยนแปลงน้ันเปนไปดวยความรุนแรง ใชลําหักลําโคนกวาดลางทุกสิ่งทุกอยางที่

ขวางหนาเราก็เรียกการเปลี่ยนแปลงน้ันวา "การปฏิวัติ" "การปฏิรูป" จึงเปนการเปลี่ยนแปลงที่

คอนขางขนานใหญ เปนการเปลี่ยนทั้งระบบ แตเปลี่ยนอยางเปนข้ันเปนตอน ทํา ใหไมเกิดความ

รุนแรงหรือกระทบในทางเสียหายนอยที่สุดเปนวิถีทางของอารยชน เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตย

ที่ยึดหลักการเปลี่ยนแปลงโดยปราศจากการใชพละกําลังและความรุนแรงคําถามที่จะตองถามใน

เบื้องตนก็คือ ทําไมจะตองปฏิรูปการศึกษา และจะปฏิรูปในเรื่องอะไรกัน คําตอบเบื้องตน ก็คือ

ปญหาทางการศึกษามีมากมายทับถมกันมานาน แกไมไดดวยวิธีการปกติ จําเปนตองเปลี่ยนระบบและ

เปลี่ยนวิสัยทัศนของผูปฏิบัติและผูนําทางการศึกษาใหสอดคลองกับแนวคิดที่ถูกตอง8

5สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ, ผลการดําเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาปการศึกษา 2539-2540 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา ลาดพราว, 2542).

6จรวยพร ธรณินทร, การปฏิรูปการศึกษาเพ่ือพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในชวงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ระยะท่ี 8-9 (พ.ศ.2540-2549) (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพสถาบันพระปกเกลา, 2542). 7สุดารัตน บุญภา. การบริหารการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียน

เอกชนระดับมัธยมศึกษา กลุมบูรพา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขา

การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏพระนคร, 2546.

8วิชัย ตันศิริ, พระราชบัญญัติการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาไทย (กรุงเทพฯ : ศูนยประมวลและจัดระบบขอมูลสารสนเทศฯ กองนโยบายและแผน, 2542).

Page 32: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

20

อัจฉรา คหินทพงศ ไดกลาวไววา ปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสราง

รูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการและระบบการสนับสนุนตาง ๆ เชน

งบประมาณ วัสดุ อุปกรณตาง ๆ เปนตน สวน วัตถุประสงคของการปฏิรูป น้ันเพ่ือตองการพัฒนา

ใหเด็กเยาวชนและคนไทยในอนาคตเปนคนดีมีคุณธรรม เปนคนเกง คิดดี ทําดีมีคุณภาพ มีความ

เปนไทย สามารถอยูในสังคมไดอยางมีความสุข และในการปฏิรูปการศึกษาน้ันจะตอง

ปฎิรูปทั้งระบบ เพื่อใหมีความสอดคลองกับวัตถุประสงคในการปฏิรูปการศึกษา ในทุกระดับ9

รุง แกวแดง ไดใหความคิดเห็นวา การปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิด

เรื่องการศึกษา โดยตองสรางความเขาใจที่ถูกตองใหมวาการศึกษามีรูปแบบที่หลากหลาย คนทุกคน

สามารถเรียนรูไดตลอดชีวิต ต้ังแตกอนเกิดจนตาย การศึกษาเปนของปวงชนทุกคน (education for

all) และทุกคนทุกหนวยของสังคมก็ตองรวมพลังเพื่อการศึกษา ฉะน้ันผูรับการศึกษาก็คือคนทุกคนใน

สังคม และผูจัดการศึกษาก็คือทุกหนวยของสังคมที่สามารถเปน “ผูเรียน” ได แมกระทั่งบุคคลก็มี

สิทธิที่จะจัดการศึกษาใหกับตัวเองได ดังที่รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ .ศ. 2540 ไดกําหนด

สิทธิทางการศึกษาไวใหกับคนไทยทุกคนทั้งในฐานะของผูเรียนและผูจัดการศึกษา10

สรุปไดวา การปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดําเนินงานและ

แนวคิดในกระบวนการศึกษาทั้งระบบ ไดแก ดานสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร

กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ ใหคนทุกคนสามารถเรียนรูไดตลอดชีวิต

ความสําคัญของการปฏิรูปการศึกษา

เกรียงศักด์ิ เจริญวงศศักด์ิไดใหความสําคัญของการปฏิรูปการศึกษาไวเชนเดียวกัน ดังน้ี

สถานการณปจจุบัน การปฏิรูปการศึกษาเปนเรื่องที่มีความสําคัญและจําเปนอยางย่ิง ตอการพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมไทย รัฐบาลจึงไดผลักดันเพื่อใหการปฏิรูปการศึกษาเปนวาระแหงชาติ โดยได

เรงรัดในการรางพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งไดมีการ

ประกาศใชพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติฉบับแรกข้ึน ซึ่งมีผลใชบังคับต้ังแตวันที่ 20 สิงหาคม

พ.ศ. 2542 เปนตนมา จะตองอาศัยความรวมมือรวมใจจากทุกฝายในสังคมทั้งภาครัฐ เอกชน และ

ประชาชนทั่วไป11

9อัจฉรา คหินทพงศ, การบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษา , เขาถึงเมื่อ

15 มกราคม 2556, http://school.obec.go.th/ladrahong/botkwam1.htm

10รุง แกวแดง. การวิจัยเพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษา. เขาถึงเมื่อ 9 เมษายน 2557,

http://area.obec.go.th/buriram3/rongbavon/bavon/r_6.html 11เกรียงศักด์ิ เจริญวงศศักด์ิ. ปนสมองของชาติ : ยุทธศาสตรปฏิรูปการศึกษา. (กรุงเทพมหานคร: ส. เอเชีย เพรส จํากัด, 2544)14.

Page 33: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

21

สิปปนนท เกตุทัต ไดกลาวถึงความสําคัญของการปฏิรูปการศึกษา สรุปไดวา การปฏิรูป

การศึกษา คือการปรับทั้งระบบกระบวนการของระบบการเรียนรู การคิดของบุคคลและสังคมเกี่ยวกับ

ตนเอง เพื่อพัฒนาสรางสรรคความรูใหมและสิ่งใหมใหผสมผสานไดกับมรดกทางวัฒนธรรมในอดีต

โดยมุงใหมีสันติกับตนเองกับสังคม กับเพื่อนรวมโลกและกับธรรมชาติดวยความสําคัญตอทั้งชีวิตใน

ปจจุบันและอนาคต ฉะน้ันการปฏิรูปการศึกษาจึงจะตองเปนการระดมความคิดและสรางสรรครวมกัน

จากบุคคลทุกกลุมทุกฝาย และรวมกันนําสูหลักของการปฏิบัติ12

จากความคิดเห็นดังกลาวจึงสรุปความสําคัญของการปฏิรูปการศึกษาไดวา การปฏิรูป

การศึกษาอยางมียุทธศาสตรที่เหมาะสมดวยความรวมมือของทุกฝาย จะสามารถชวยแกปญหาสู การ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไดเปนอยางดี ทั้งในปจจุบันและอนาคต ทําใหคนไทยกาวทันการ

เปลี่ยนแปลงไดอยางรวดเร็ว ทั้งดานเทคโนโลยีและขอมูลขาวสาร เพื่อใหรูเทาทันเลือกสรรประโยชน

มาประยุกตใช ไดพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมโดยรวมและใหอยูรวมกันอยางมีความสุข

หลักการปฏิรูปการศึกษา

หลักการปฏิรูปการศึกษาของไทย

วิสัยทัศนของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) คือคนไทยไดเรียนรู

ตลอดชีวิตอยางมีคุณภาพ

เปาหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) คือ ภายในป 2561 มี

การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรูอยางเปนระบบ โดยเนนประเด็นหลักสามประการ คือ

1) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรูของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู เพ่ือพัฒนาผูเรียน สถานศึกษาแหลงเรียนรู สภาพแวดลอม หลักสูตรและเน้ือหา พัฒนาวิชาชีพครูให เปนวิชาชีพที่มีคุณคา สามารถดึงดูดคนเกงดีและมีใจรักมาเปนครูคณาจารยไดอยาง ย่ังยืน ภายใตระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 2) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรูอยางทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อใหประชาชนทุกคน ทุกเพศ

ทุกวัยมีโอกาสเขาถึงการศึกษาและเรียนรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต

3) สงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาคสวนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่ม

บทบาทของผูที่อยูภายนอกระบบการศึกษาดวย13

สรุปไดวา สาระสําคัญของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) คือ การ

เรียนรูตลอดชีวิตอยางมีคุณภาพ และเรียนรูอยางเปนระบบใหแลวเสร็จภายในป 2561 โดยเนนหลัก

12สิปปนนท เกตุทัต. จากอดีตและปจจุบันสูอนาคตของการปฏิรูปการศึกษาไทย: สูสังคมแหงปญญาและการเรียนรู. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2545)1-2. 13สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, สาระสําคัญการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) (กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, 2554).

Page 34: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

22

สามประการ ไดแก คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู การเพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู

อย างทั่ ว ถึงและมี คุณภาพ และส ง เส ริมการมีส วนรวมของทุกภาคส วนของสั งคม โดย

กระทรวงศึกษาธิการไดกําหนดแผนตางๆที่เกี่ยวของ และนโยบายการพัฒนาการศึกษา ดังน้ี

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555–2559)

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีแนวคิดที่มีความตอเน่ืองจากแนวคิด

ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเปน

ศูนยกลางของการพัฒนา” รวมทั้ง “สรางสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนใหบังเกิดผล

ในทางปฏิบัติที่ชัดเจนย่ิงข้ึนในทุกระดับ เพื่อใหการพัฒนาและบริหารประเทศเปนไปบนทางสายกลาง

เช่ือมโยงทุกมิติของการพัฒนาอยางบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดลอมและการเมือง

โดยมีการวิเคราะหอยาง “มีเหตุผล” และใชหลัก “ความพอประมาณ” ใหเกิดความสมดุลระหวาง

มิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุล ระหวางความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแขงขัน

ในเวทีโลก ความสมดุลระหวางสังคมชนบทกับเมือง เตรียม “ระบบภูมิคุมกัน” ดวยการบริหาร

จัดการความเสี่ยงใหเพียงพอพรอมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ

ทั้งน้ี การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกข้ันตอนตองใชความรอบรู” ในการพัฒนาดานตางๆ ดวย

ความรอบคอบ เปนไปตามลําดับข้ันตอน และสอดคลองกับวิถีชีวิตของสังคมไทย รวมทั้งเสริมสราง

ศีลธรรมและสํานึกใน “คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหนาที่และดําเนินชีวิตดวย “ความเพียร”

จะเปนภูมิคุมกันที่ดีใหพรอมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนทั้งในระดับปจเจกครอบครัว ชุมชน

สังคม และประเทศชาติ จึงไดกําหนดวิสัยทัศน พันธกิจ วัตถุประสงคและเปาหมาย ยุทธศาสตร

และแนวทางการพัฒนาที่มีลําดับความสําคัญสูง ดังน้ี

1.1 วิสัยทัศน

“สังคมอยูรวมกันอยางมีความสุข ดวยความเสมอภาค เปนธรรม และมีภูมิคุมกันตอ

การเปลี่ยนแปลง”

1.2 พันธกิจ

1.2.1 สรางสังคมเปนธรรมและเปนสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคง

ในชีวิต ไดรับการคุมครองทางสังคมที่มีคุณภาพอยางทั่วถึงและเทาเทียม มีโอกาสเขาถึงทรัพยากร

และกระบวนการยุติธรรมอยางเสมอภาค ทุกภาคสวนไดรับการเสริมพลังใหสามารถมีสวนรวมใน

กระบวนการพัฒนา ภายใตระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปรงใส เปนธรรม

1.2.2 พัฒนาคุณภาพคนไทยใหมีคุณธรรม เรียนรูตลอดชีวิต มีทักษะ

และการดํารงชีวิตอยางเหมาะสมในแตละชวงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนทองถ่ินมีความเขมแข็ง

สามารถปรับตัวรูเทาทันกับการเปลี่ยนแปลง

Page 35: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

23

1.2.3 พัฒนาฐานการผลิตและบริการใหเขมแข็งและมีคุณภาพบน

ฐานความรูความคิดสรางสรรค และภูมิปญญา สรางความมั่นคงดานอาหารและพลังงาน ปรับ

โครงสรางการผลิตและบริโภคใหเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม พรอมสรางความเช่ือมโยงกับประเทศใน

ภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

1.2.4 สรางความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

สนับสนุนการมีสวนรวมของชุมชน รวมทั้งสรางภูมิคุมกันเพ่ือรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

1.3 วัตถุประสงคและเปาหมาย

1.3.1 วัตถุประสงค

1) เพื่อเสริมสรางสังคมที่เปนธรรมและเปนสังคมสันติสุข

2) เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุมวัยอยางเปนองครวมทั้งทางกาย ใจ

สติปญญา อารมณ คุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีบทบาทหลักในการพัฒนาคนใหมี

คุณภาพ

3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใหเติบโตอยางมีเสถียรภาพ คุณภาพ และ

ย่ังยืน มีความเช่ือมโยงกับเครือขายการผลิตสินคาและบริการบนฐานปญญา นวัตกรรม และ

ความคิดสรางสรรคในภูมิภาคอาเซียน มีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การผลิตและการบริโภค

เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม นําไปสูการเปนสังคมคารบอนตํ่า

4) เพ่ือบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมให

เพียงพอตอการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเปนฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ

1.3.2 เปาหมายหลัก

1) ความอยูเย็นเปนสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพ่ิมข้ึน

ความเหลื่อมล้ําในสังคมลดลง สัดสวนผูอยูใตเสนความยากจนลดลง และดัชนีภาพลักษณการ

คอรรัปช่ันไมตํ่ากวา 5.0 คะแนน

2) คนไทยมีการเรียนรูอยางตอเน่ือง มีสุขภาวะดีข้ึน มีคุณธรรม

จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีความเขมแข็งมากข้ึน

3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ

ใหความสําคัญกับการเพ่ิมผลิตภาพรวมไมตํ่ากวารอยละ 3.0 ตอป เพิ่มขีดความสามารถในการ

แขงขันทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มมูลคาผลิตภัณฑของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมตอ

ผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศใหมีไมตํ่ากวารอยละ 40.0

4) คุณภาพสิ่งแวดลอมอยูในเกณฑมาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพ

การลดการปลอยกาซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ปาไมเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ

Page 36: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

24

1.4 ยุทธศาสตรการพัฒนา ประกอบดวย 6 ยุทธศาสตร ดังน้ี

1.4.1 ยุทธศาสตรการสรางความเปนธรรมในสังคม

1.4.2 ยุทธศาสตรการพัฒนาคนสูสังคมแหงการเรียนรูตลอดชีวิตอยาง

ย่ังยืน

1.4.3 ยุทธศาสตรความเขมแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและ

พลังงาน

1.4.4 ยุทธศาสตรการปรับโครงสรางเศรษฐกิจสูการเติบโตอยางมีคุณภาพ

และย่ังยืน

1.4.5 ยุทธศาสตรการสรางความเช่ือมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพ่ือความ

มั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

1.4.6 ยุทธศาสตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม อยาง

ย่ังยืน

2. ขอเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552 - 2561)

คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ไดมีมติเห็นชอบขอเสนอการปฏิรูป

การศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) มุงเนนใหคนไทยไดเรียนรูตลอดชีวิตอยางมีคุณภาพ

โดยมีเปาหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรูของคนไทย

เพ่ิมโอกาสทางการศึกษาและเรียนรูอยางทั่วถึงและมีคุณภาพ และสงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาค

สวนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา โดยกําหนดประเด็นสําคัญของระบบการศึกษาและ

เรียนรูที่ตองการปฏิรูปอยางเรงดวนได 4 ประการหลัก ไดแก (1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม (2)

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม (3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม และ (4) พัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการใหม ดังน้ี

1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ที่มีนิสัยใฝเรียนรูต้ังแตปฐมวัย สามารถเรียนรูดวย

ตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห แกปญหา ริเริ่ม

สรางสรรค มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชนสวนรวม ทํางานเปนกลุมได มีศีลธรรม

คุณธรรม จริยธรรม คานิยม จิตสํานึกและภูมิใจในความเปนไทย กาวทันโลก เปนกําลังคนที่มีคุณภาพ

มีทักษะความรูพื้นฐานที่จําเปน สมรรถนะ ความรู สามารถทํางานมีประสิทธิภาพ มีโอกาสเรียนรูอยาง

เทาเทียม เสมอภาค

2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ที่เปนผูอํานวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรู เปนวิชาชีพที่มี

คุณคา มีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีคุณภาพ

มาตรฐานเหมาะสมกับการเปนวิชาชีพช้ันสูง สามารถดึงดูดคนเกงและดี มีใจรักมาเปนครู มีปริมาณ

เพียงพอ และสามารถจัดการเรียนการสอนไดอยางมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองและแสวงหา

Page 37: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

25

ความรูอยางตอเน่ือง มีสภาวิชาชีพที่เขมแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลใหมีคุณภาพชีวิตที่

ดี

3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม โดยการพัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทใหเปนแหลงเรียนรูที่มีคุณภาพและพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆ สําหรับ

การศึกษาและการเรียนรูทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสงเสริมการเรียนรู

ตลอดชีวิต

4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม มุงเนนการกระจายอํานาจสูสถานศึกษา

เขตพื้นที่การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน (อปท.) รวมทั้งการมีสวนรวมของผูปกครอง

ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาคสวน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปรงใส

เปนธรรมตรวจสอบได มีการนําระบบและวิธีการบริหารจัดการแนวใหมมาใช ควบคูกับการสรางผูนํา

การเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ (Demand

side) โดยใหผูเรียนเลือกรับบริการ

3. แผนการศึกษาแหงชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)

คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 5 มกราคม 2553 ไดมีมติเห็นชอบแผนการศึกษา

แหงชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552H2559) โดยมีวัตถุประสงคที่สําคัญ 3 ประการ ไดแก (1) พัฒนา

คนอยางรอบดานและสมดุลเพื่อเปนฐานหลักของการพัฒนา (2) สรางสังคมไทยใหเปนสังคมคุณธรรม

ภูมิปญญา และการเรียนรู และ (3) พัฒนาสภาพแวดลอมของสังคมเพ่ือเปนฐานในการพัฒนาคน และ

สรางสังคมคุณธรรม ภูมิปญญาและการเรียนรู

สาระสําคัญของแผนการศึกษาแหงชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)

ปจจุบันแมสถานการณจะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน แตเน่ืองจาก

แผนการศึกษาแหงชาติ ฉบับเดิม (พ.ศ. 2545H2559) น้ัน เปนแผนระยะยาวที่สอดคลองกับ

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ .ศ. 2542 จึงเห็นควรใหคงปรัชญาหลัก เจตนารมณ และ

วัตถุประสงคของแผนฉบับเดิมไว แลวปรับปรุงในสวนของนโยบาย เปาหมาย และกรอบการ

ดําเนินงานใหสอดคลองกับสถานการณที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุปสาระสําคัญไดดังน้ี

ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด

การจัดทําแผนการศึกษาแหงชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ยึดหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยูบนพ้ืนฐานของความสมดุลพอดี รูจักพอประมาณ อยางมี

เหตุผล มีความรอบรูเทาทันโลก เพื่อมุงใหเกิดการพัฒนาที่ย่ังยืนและความอยูดีมีสุขของคนไทย เกิด

การบูรณาการแบบองครวมที่ยึด “คน” เปนศูนยกลางของการพัฒนาและสรางการพัฒนาอยางมี

“ดุลยภาพ” ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดลอม เปนแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ

วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเช่ือมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาดาน

Page 38: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

26

ตางๆ ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองวัฒนธรรม สิ่งแวดลอม วิทยาศาสตร และ

เทคโนโลยี เปนตน โดยคํานึงถึงการพัฒนาอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต

เจตนารมณของแผน

แผนการศึกษาแหงชาติมีเจตนารมณเพื่อมุง (1) พัฒนาชีวิตใหเปน “มนุษยที่

สมบูรณ ทั้งทางรางกาย จิตใจ สติปญญา ความรูและคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการ

ดํารงชีวิต สามารถ อยูรวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุข” และ (2) พัฒนาสังคมไทยใหเปนสังคมที่มี

ความเขมแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ดาน คือ เปนสังคมคุณภาพ สังคมแหงภูมิปญญาและการเรียนรู

และสังคมสมานฉันทและเอื้ออาทรตอกัน

วัตถุประสงคของแผน

เพื่อใหบรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณของแผนการศึกษาแหงชาติ ฉบับ

ปรับปรุง (พ.ศ. 2552 H 2559) จึงกําหนดวัตถุประสงคของแผนฯ ที่สําคัญ 3 ประการ ดังน้ี

1. พัฒนาคนอยางรอบดานและสมดุลเพ่ือเปนฐานหลักของการพัฒนา

2. เพื่อสรางสังคมไทยใหเปนสังคมคุณธรรม ภูมิปญญาและการเรียนรู

3. เพื่อพัฒนาสภาพแวดลอมของสังคมเพื่อเปนฐานในการพัฒนาคน และสราง

สังคมคุณธรรม ภูมิปญญา และการเรียนรู

แนวนโยบาย เปาหมาย และกรอบการดําเนินงาน

เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคทั้งสามประการดังกลาว ประกอบกับการคํานึงถึงทิศทาง

การพัฒนาประเทศในอนาคตที่เนนการใชความรูเปนฐานของการพัฒนา ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม

วัฒนธรรมประชากร สิ่งแวดลอม วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี จึงไดกําหนดวัตถุประสงคและ

แนวนโยบายไวดังน้ี

วัตถุประสงค 1 พัฒนาคนอยางรอบดาน และสมดุล เพ่ือเปนฐานหลักของการ

พัฒนา

1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรูในทุกระดับและประเภทการศึกษา

1.2 ปลูกฝูงและเสริมสรางใหผูเรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม คานิยม มี

จิตสํานึก และมีความภูมิใจในความเปนไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คํานึงถึงประโยชน

สวนรวม และยึดมั่นใน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข และ

รังเกียจการทุจริต ตอตานการซื้อสิทธ์ิขายเสียง

1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาใหประชาชนทุกคนต้ังแตแรกเกิดจนตลอดชีวิตไดมี

โอกาสเขาถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู โดยเฉพาะผูดอยโอกาส ผูพิการหรือทุพพลภาพ ยากจน

อยูในทองถ่ินหางไกล ทุรกันดาร

Page 39: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

27

1.4 ผลิตและพัฒนากําลังคนใหสอดคลองกับความตองการของประเทศ และ

เสริมสรางศักยภาพการแขงขัน และรวมมือกับนานาประเทศ

1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระบบประกัน

คุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก

1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษาใหมีคุณภาพและ

มาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค 2 สรางสังคมไทยใหเปนสังคมคุณธรรม ภูมิปญญาและการเรียนรู

2.1 สงเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรูของสถาบันศาสนา และสถาบัน

ทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

2.2 สงเสริมสนับสนุนเครือขายภูมิปญญา และการเรียนรูประวัติศาสตร ศิลปะ

วัฒนธรรม พลศึกษา กีฬา เปนวิถีชีวิตอยางมีคุณภาพและตลอดชีวิต

2.3 สงเสริมการวิจัยและพัฒนาเพ่ือสรางองคความรู นวัตกรรม และทรัพยสินทาง

ปญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู และสรางกลไกการนําผลการวิจัยไปใชประโยชน

วัตถุประสงค 3 พัฒนาสภาพแวดลอมของสังคม เพ่ือเปนฐานในการพัฒนาคน

และสรางสังคมคุณธรรม ภูมิปญญาและการเรียนรู

3.1 พัฒนาและนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชเพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสทาง

การศึกษา และการเรียนรูตลอดชีวิต

3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเรงรัดกระจายอํานาจการบริหาร

และจัดการศึกษาไปสูสถานศึกษา เขตพ้ืนที่การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน

3.3 สงเสริมการมีสวนรวมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาค

สวนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนสงเสริมการศึกษา

3.4 ระดมทรัพยากรจากแหลงตางๆ และการลงทุนเพ่ือการศึกษา ตลอดจนบริหาร

จัดการและใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ

3.5 สงเสริมความรวมมือระหวางประเทศดานการศึกษา พัฒนาความเปนสากล

ของการศึกษาเพ่ือรองรับการเปนประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแขงขันของประเทศภายใต

กระแสโลกาภิวัตน ขณะเดียวกันสามารถอยูรวมกันกับพลโลกอยางสันติสุข มีการพ่ึงพาอาศัยและ

เกื้อกูลกัน

4. ยุทธศาสตรการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558

รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ (ศาสตราจารยสุชาติ ธาดาธํารงเวช) ตระหนักใน

ความสําคัญของการศึกษาที่เปนหัวใจและกลไกหลักในการพัฒนาประเทศในทุกดาน เพื่อใหสามารถ

กาวทันการเปลี่ยนแปลงและแขงขันในประชาคมโลกไดอยางสงางาม โดยเนนปรัชญา “ความเทา

Page 40: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

28

เทียม” และการนํา “เทคโนโลยี” มาใช โดยจะจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานที่มีคุณภาพสําหรับเยาวชนทุก

คนทุกพื้นที่ และจัดการอุดมศึกษาโดยปนนักศึกษาไทยใหเปนมืออาชีพ จึงไดกําหนดยุทธศาสตรการ

พัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558 มีสาระสําคัญโดยสรุป ดังน้ี

วิสัยทัศน

จัดการศึกษาโดย “ยึดนักเรียนเปนศูนยกลาง” มุงกระจายโอกาสทางการศึกษา

อยางเทาเทียม ทั้งในเมืองและชนบท พรอมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสําหรับทุกคน การศึกษาจะ

นําไปสูการสรางความเขมแข็งของประชาชน ประชาชนที่เขมแข็งและมีความรูคือทุนที่มีพลังในการตอ

สูกับความยากจน

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสําหรับเด็ก เยาวชน ผูพิการ และผูดอยโอกาสทุกคน

เพ่ือใหเทาเทียมกันทุกแหงไมวาในเมืองหรือชนบท ไมวาจะจัดโดยรัฐหรือเอกชน ต้ังแตปฐมวัยจนถึง

ช้ันมัธยมศึกษาปที่ 6 และเทียบเทา

2. พัฒนานักศึกษาไทยใหเปนมืออาชีพ เปนพลเมืองโลกที่ทันสมัย มีทักษะหลากหลาย

มีความสามารถในการแขงขันในตลาดโลกได และอยูรวมกันเปนสังคมที่วางอยูบนฐานความรู ต้ังแต

มัธยมศึกษาปที่ 6 ข้ึนไป โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา

กรอบแนวคิดการพัฒนาการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการมุงพัฒนาการศึกษาภายใตกรอบแนวคิดหลักของคุณภาพและ

ความเทาเทียม รวมทั้งการนําเทคโนโลยีมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุดแกนักเรียน นักศึกษาเปนสําคัญ

โดยขยายโอกาสทางการศึกษา ดังน้ี

1. โอกาสในการเขาถึงทรัพยากรสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อสามารถไดรับการศึกษา

อยาง เทาเทียมกัน

2. โอกาสในการเขาถึงแหลงทุน นักเรียน นักศึกษาสามารถเขาเรียนไดโดยไมข้ึนกับ

ฐานะของผูปกครอง

3. โอกาสในการเพิ่มพูนและฝกฝนทักษะ นักเรียน นักศึกษาทุกคนสามารถเติบโตได

ในโลกท่ีเปนจริง ผานการเรียนรูบนฐานกิจกรรม (Activity-Based Learning)

4. โอกาสในการเรียนรูตลอดชีวิต สงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศัย โดยใชเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส หองสมุด พิพิธภัณฑ หอศิลป ศูนยวัฒนธรรม และแหลง

เรียนรูตางๆ

Page 41: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

29

แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร

กระทรวงศึกษาธิการขับเคลื่อนยุทธศาสตรตามแนวทางตอไปน้ี

1. โดย “ยึดนักเรียนเปนศูนยกลาง” ใหผูเรียนไดรับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

สามารถพัฒนาสมอง สรางจินตนาการไดอยางไมมีขีดจํากัด และไดรับการดูแลอยางรอบดานประหน่ึง

ลูกหลานในครอบครัว

2. โดยดูแลครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ด่ังญาติพี่นอง เพื่อใหปฏิบัติ

หนาที่อยางเต็มกําลังความสามารถ และมีความกาวหนาในวิชาชีพ

3. โดยบริหารจัดการทุกระดับอยางโปรงใส ตรวจสอบได ไมมีการทุจริตและ

ประพฤติมิชอบ

ยุทธศาสตรการพัฒนาการศึกษา

1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท โดยมุงเนนเปาหมายคือ

นักเรียนเปนศูนยกลาง

2. การสรางโอกาสทางการศึกษาแกประชากรทุกกลุมอยางเทาเทียม

3. การปฏิรูปครู เพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูใหเปนวิชาชีพช้ันสูง

4. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และการฝกอาชีพให

สอดคลองกับตลาดแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

5. การพัฒนาการใชเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใหการศึกษาทัดเทียมกับนานาชาติ

6. การสนับสนุนการพัฒนาเพ่ือสรางทุนปญญาของชาติ

7. การเพ่ิมขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษยเพื่อรองรับการเปดเสรีประชาคม

อาเซียน

5. นโยบายหลักดานการศึกษา 14 นโยบาย ของ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี ภายใตการบริหารของ ศาสตราจารยสุชาติ ธาดาธํารงเวช รัฐมนตรีวาการ

กระทรวงศึกษาธิการ

1. แท็บเล็ตสําหรับนักเรียน ป.1 และ ม.1 ทุกคน คอมพิวเตอรแท็บเล็ต ชวยในการ

สอน และการสืบคนองคความรู

2. เรียน ม.6 จบทุกคนใน 8 เดือน เรียนในเวลา และนอกเวลาได เพื่อกาวทันโลก

และทันลูกหลาน

3. กองทุนต้ังตัวได เงินทุนข้ันตน สําหรับผูจบปริญญาตรีแลว พรอมเปนเจาของ

ธุรกิจในอนาคต

Page 42: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

30

4. 1 อําเภอ 1 ทุน เปดโอกาสใหเด็กเกงทุกอําเภอ ไปเรียนตอตางประเทศ

5. พูดภาษาอังกฤษได พรอมเขาสูประชาคม ASEAN 80% ของนักเรียนทั้งประเทศ

สื่อสารภาษาอังกฤษได พรอมเขาสูประชาคมอาเซียน ในป 2558

6. ปรับเลื่อนวิทยฐานะ โยกยายครูดวยความเปนธรรม สอบแขงขัน วัด

ความสามารถดวยตนเอง ไรเสนสายฝากฝูง

7. 5 ฟรี เรียนดีอยางมีคุณภาพ ต้ังแตอนุบาลจนจบ ม.6 ฟรี คาเลาเรียน ฟรี คา

เครื่องแบบ ฟรี คาอุปกรณการเรียน ฟรี คาหนังสือเรียน ฟรี คากิจกรรม

8. กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด สรางความโปรงใสในการบริหารราชการ

กระทรวงศึกษาธิการ ใหปราศจากทุจริตและคอรรัปช่ัน

9. อัจฉริยะสรางได สงเสริมใหเด็กเกง เด็กฉลาดทุกคน เตรียมความพรอม เปนผูนํา

ประเทศในทุกสาขา

10. สรางพลังครู แกไขปญหาหน้ีสินครู ลดรายจาย เพิ่มรายได สรางโอกาสใหกับ

ครู

11. เลิกหลักสูตรทองจํา เรียนรูดวยความเขาใจ ใชปญญา และจินตนาการอยางไม

สิ้นสุด

12. Internet ตําบล และ หมูบาน คนหาความถนัดของตนเอง เรียนรูไดทุกที่ ทุก

เวลา

13. คูปองสรางเสริมอัจฉริยะ มอบคูปองแลกหนังสือ ใหโอกาสเด็กและเยาวชน

เลือกหนังสือตามความพอใจ

14. สรางผูนําแหงอาเซียน (Becoming ASEAN Leaders Scholarship) ใหทุน

ปริญญาโทแกนักศึกษาอาเซียนมาเรียนในประเทศไทย เตรียมพรอมเปนผูนําแหงอนาคตของ

ประชาคมเศรษฐกิจในภูมิภาค

6. จุด เนนในการจั ด ทํา งบประมาณประจํา ป งบประมาณ พ .ศ . 2556 ของ

กระทรวงศึกษาธิการ

Tablet

1. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร Tablet ใหนักเรียนทุกช้ันปโดยเนนเปนพิเศษในช้ัน

ประถมศึกษาปที่ 1 และช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1

2. จัดระบบเครือขายและอุปกรณสํารององคความรูเพื่อสามารถนําขอมูลหลักสูตร

จากหนวยผลิตหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนมาใชไดอยางไมรูจบโดยไมคิดคาใชจายจากนักเรียน

Page 43: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

31

3. พัฒนาครู ศึกษานิเทศก1และบุคลากรทุกระดับในลักษณะวิทยากรแกนนํา

(Train the trainers) ใหสามารถใชคอมพิวเตอร Tablet ชวยในการสอนและการสืบคนองคความรู

ใหแกนักเรียน

4. ส งเสริมใหมีการ พัฒนาหลักสู ตร สื่อการ เรียนการสอน (Computer

Courseware) รวมทั้ง การประกวดแขงขันเพ่ือนําไปใชในเครื่องคอมพิวเตอร Tablet

หน่ึงทุน หน่ึงอําเภอ

1. ใหโอกาสแกนักเรียนที่จบการศึกษาช้ันมัธยมศึกษาปที่ 6 ทุกคนโดยเฉพาะ

นักเรียนที่มีฐานะยากจนและดอยโอกาส

2. จัดใหมีระบบพบตลาดแรงงาน (Job Matching) โดยใหนักเรียนมีโอกาสรูจัก

หนวยงานหรือองคกร บริษัทเอกชนที่จะสามารถรับเขาทํางานไดเมื่อสําเร็จการศึกษาและเลือกเรียน

ในสาขาที่สอดคลองกับความตองการของตลาดแรงงานไดต้ังแตเริ่มเขาเรียน

3. จัดระบบการทดสอบที่โปรงใส เปดกวางและเปนธรรมสําหรับผูเขาสอบทุกคน

4. เปดโอกาสใหแกนักเรียนทั่วไปสามารถเขารวมโครงการหนึ่งอําเภอหน่ึงทุนได

โดยผูปกครองเปนผูสนับสนุนคาใชจายการเรียน

การสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน

1. รวมมือกับสถานทูต สถาบันสอนภาษา และองคกรตางประเทศ ในการนําครู

และผูเช่ียวชาญเจาของภาษา (Native Speakers) มาสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนใหกับครูและ

นักเรียน

2. จัดโครงการอาสาสมัครมาพักประเทศไทย (Language Volunteers) สอนภาษา

เปนประจํา เพ่ือสงเสริมการเรียน การสื่อสาร และการใชภาษาเพื่อการสื่อสาร

3. สงเสริมสนับสนุนใหสถานศึกษาสรางบรรยากาศการเรียนรูและฝกทักษะการใช

ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต

1. สนับสนุนการเรียนการสอนรวมกับผูนําทางศาสนาเพื่อความเขาใจซึ่งกันและกัน

รวมทั้งการนํามาซึ่งสันติสุขในพ้ืนที่

2. สนับสนุนการทํางานของสํานักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดและหนวยงานที่

เกี่ยวของกับการศึกษาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใตเพื่อใหการศึกษานํามาซึ่งความสงบเรียบรอย การ

เรียนรูภาษาไทยและการมีงานทําอยางแทจริง

การปองปรามและปราบปรามยาเสพติดในสถานศึกษา

1. รวมมือกับหนวยงานที่เกี่ยวของในการใหความรูเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อสราง

ภูมิคุมกันใหแกเด็ก และเยาวชน

Page 44: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

32

2. ติดตาม ตรวจสอบและเฝาระวังผูคาและอํานวยความสะดวกในการคาและเสพใน

สถานศึกษาหรือในกลุมนักเรียนอยางเขมงวด

3. ติดตามและตรวจสอบผูใชยาเสพติดในสถานศึกษาที่มีความเสี่ยงอยางจริงจังและ

ตอเน่ือง

การสรางความโปรงใสในการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

1. ใหมีการบังคับใชกฎ ระเบียบในการจัดระบบการสอบทุกระดับทุกประเภท ทั้งใน

รูปการทดสอบความรู และการสอบบรรจุเลื่อนตําแหนงใหโปรงใส (Transparency) นาเช่ือถือ

(Accountability) เปนธรรมและตรวจสอบได

2 . ใหมี การบั ง คับใชกฎ ระ เบี ยบ ในการจั ดระบบการจัดซื้ อจัดจ า ง ใน

กระทรวงศึกษาธิการใหโปรงใส (Transparency) นาเช่ือถือ (Accountability) มีการแขงขันของผูคา

อยางเปนธรรมและตรวจสอบได

การสนับสนุนใหคนไทยจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 6

1. สงเสริมและสนับสนุนใหคนไทยทุกคนจบการศึกษาช้ันมัธยมศึกษาปที่ 6

2. จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยใหแกคนไทยทุกคนสามารถ

จบการศึกษาช้ันมัธยมศึกษาปที่ 6 ไดภายใน 8 เดือน14

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)

การปฏิรูปการศึกษาและเรียนรูอยางเปนระบบ โดยศึกษาประเด็นปญหาหลักในการศึกษา

และการเรียนรูที่ยึดโยงกัน และเนนการปรับปรุงแกไขอยางเปนระบบ มิใชเพียงจุดใดจุดหน่ึงที่แยก

จากกันต้ังแตการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู เพื่อพัฒนาคนไทยยุคใหม ปรับกระบวนทัศน

การเรียนรู เพื่อใหผูเรียนสามารถพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค พัฒนาครู คณาจารย และบุคลากร

ทางการศึกษาให สามารถเอื้ออํานวยให เกิดการเรียนรู โดยการสรางครู ยุคใหม ที่มีความรู

ความสามารถ มีใจรัก มีคุณธรรม จริยธรรม เขามาเปนครู คณาจารย และปรับระบบบริหารจัดการให

มีประสิทธิภาพคลองตัว เพ่ือเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และสงเสริมการมีสวนรวมในการบริหารและ

จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผูเรียนเปนสําคัญ

ในการน้ีจําเปนตองมีกลไกหรือหนวยงานที่วิเคราะห ปญหาของระบบการศึกษาและเรียนรู

และเช่ือมโยงกับระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย ฯลฯ ของประเทศ และเสนอแนวทาง

ปฏิรูประบบอยางเปนข้ันตอน โดยกําหนดประเด็นสําคัญของระบบการศึกษาและเรียนรูที่ตองการ

ปฏิรูปอยางเรงดวนได สี่ประการหลัก ดวยกันดังน้ี

14กระทรวงศึกษาธิการ, แผนปฏิบัติราชการ ประจําปงบประมาณ พ.ศ.2556, (กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2556).

Page 45: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

33

1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ที่มีนิสัยใฝเรียนรู ต้ังแตปฐมวัย สามารถเรียนรูดวยตนเอง

และแสวงหาความรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต มีความสามารถในการส่ือสาร สามารถคิดวิเคราะห

แกปญหา คิดริเริ่มสรางสรรค มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชนสวนรวม สามารถ

ทํางานเปนกลุมไดอยางเปนกัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม คานิยม มีจิตสํานึกและ

ความภูมิใจในความเปนไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน

ประมุข รังเกียจการทุจริตและตอตานการซื้อสิทธ์ิ ขายเสียง สามารถกาวทันโลก มีสุขภาพกาย

สุขภาพใจที่สมบูรณ แข็งแรง เปนกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรูพื้นฐานที่จําเปน มีสมรรถนะ

ความรู ความสามารถ สามารถทํางานได อยางมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง มีโอกาสเรียนรูอยางเทา

เทียม เสมอภาค จึงกําหนดแนวทางการปฏิรูป ดังน้ี

1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู

เพื่อใหมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู ในทุกระดับ/ประเภทการศึกษาที่

ไดมาตรฐานตามเกณฑจึงควรเรงดําเนินการ ดังน้ี

มาตรการหลัก :

1) จัดใหมีระบบการศึกษาเรียนรูและวัดประเมินผลการเรียนรูของผูเรียนที่

เปนมาตรฐาน สามารถเทียบเคียงกันโดยให มีการวัดผลระดับชาติในช้ันปสุดทายของแต ละชวงช้ัน

และนําผลมาใชปรับปรุงการเรียนการสอน สวนช้ันปที่เหลือใหเปนการวัดผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา

สวนในระดับอุดมศึกษาและการอาชีวศึกษาใหมีผลระดับชาติเมื่อจบหลักสูตร

2) แกปญหาและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาที่

ดอยคุณภาพ ใหสามารถจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ อยางมีประสิทธิภาพ

3) สงเสริมบทบาทของครอบครัว และสรางความเขมแข็งของครอบครัว ใน

การพัฒนาการเรียนรูของบุตรหลาน ในทุกระดับ/ประเภทการศึกษา

มาตรการ :

4) พัฒนาและเตรียมความพรอมของเ ด็กปฐมวัยกอนเข า เรียน

ประถมศึกษา โดยเฉพาะการใหความรูแกพอแม ผูปกครอง รวมทั้งผู เตรียมตัวเปนพอแม เพื่อใหเด็ก

ปฐมวัยมีพัฒนาการตามวัยอยางมีคุณภาพ และมีความพรอมในการศึกษาและเรียนรูในระดับสูงข้ึน

5) จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและ

ประเมินผลทุกระดับและประเภทการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อเอื้อตอการพัฒนาผู เรียนอยางรอบดาน

ทั้งรางกาย อารมณ สังคม สติปญญา ให สามารถคิด วิเคราะห แกปญหา มีคุณธรรม จริยธรรม

คานิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน รวมทั้งจัดบริการการศึกษา

และเรียนรูดวยรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับบุคคลที่มีความสามารถและศักยภาพพิเศษดานตางๆ

Page 46: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

34

6) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาทุกระดับ/

ประเภทและสนับสนุนการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อนําผลมาใช ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ

การศึกษา

7) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานอาชีวศึกษา ให สามารถผลิตกําลังคนที่มี

ความรู ความสามารถทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพ มีความรู ทักษะ และสมรรถนะในการประกอบ

อาชีพ เปนกําลังคนฐานความรู ชางเทคนิคที่มีฝ มือ และนักเทคโนโลยีที่เช่ียวชาญ มีคุณธรรม

จริยธรรม ตลอดจนลักษณะนิสัยการทํางานสอดคลองกับความตองการของผูใช

8) ปฏิรูปอุดมศึกษา โดยเนนการพัฒนาคุณภาพสู ความเปนเลิศ สนับสนุน

การจัดกลุมสถาบันอุดมศึกษาตามพันธกิจที่เปนจุดเนนตามความเช่ียวชาญ และสรางเครือขาย

ระหวางกันรวมทั้งเช่ือมโยงกับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน อาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน

การศึกษาและสังคมการเรียนรู การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตลอดจนพัฒนาการศึกษาศิลปศาสตร

(Liberal arts education) ในฐานะโครงสรางพ้ืนฐานการเรียนรู กําจัดการปลอมแปลงคุณวุฒิและ

การซื้อปริญญาบัตร โดยมีมาตรการลงโทษทั้งบุคคลและสถาบันที่เกี่ยวของ

9) สงเสริมการอนุรักษ และใชภาษาไทยอยางถูกตองควบคูกับการเรียนรู

ภาษาสากลเปนภาษาที่ สองต้ังแตระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน และสนับสนุนการเรียนรูภาษาที่สาม

เชน ภาษาเพื่อนบานในกลุมอาเซียน ภาษาที่สนใจ เปนตน

10) พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งเน้ือหาและวิธีการท่ีเหมาะสม

เพ่ือชวยในการศึกษาเรียนรูทั้งในช้ันเรียนที่มีครูแนะนําและดวยตนเอง

1.2 ผลิตและพัฒนากําลังคนท่ีมีคุณภาพ มีสมรรถนะและความรู ความสามารถ

มาตรการหลัก :

1) พัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิแหงชาติ (National Qualification

Framework) เพื่อการรับรองสมรรถนะ ความรู ความสามารถของผู สําเร็จการศึกษาในทุกระดับ

ประเภทการศึกษาโดยเฉพาะคุณวุฒิวิชาชีพ (Vocational Qualification) เพื่อการรับรองสมรรถนะ

ความรูความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพและตามความตองการของผู จางงาน และ

พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะระบบการจางงานและกําหนดเงินเดือน คาตอบแทนตามสมรรถนะ เพื่อ

จูงใจผูเรียนอาชีวศึกษามากข้ึน

มาตรการ :

2) จัดการศึกษาและเรียนรูอาชีวศึกษา โดยเนนการปฏิบัติในสัดสวน

มากกวาทฤษฎีและการเรียนรูงานอาชีพ ขยายการศึกษาระบบทวิภาคี สหกิจศึกษา และการฝกงาน

ใหมากข้ึนรวมทั้งสงเสริมการทํางานระหวางเรียน การพัฒนาระบบสะสมหนวยการเรียนทํานอง

ธนาคารหนวยกิต เพื่อสงเสริมการเรียนควบคูกับการทํางาน

Page 47: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

35

3) พัฒนาระบบเตรียมความพรอม และการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ

ใหผู เรียนรูจักตนเองและสาขาอาชีพตางๆ ต้ังแต ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เพื่อเลือกเรียนตาม

ความสนใจ ความถนัดและความตองการ

4) พัฒนาหลักสูตรฐานวิชาชีพตอยอดจากการศึกษาภาคบังคับ เพื่อใหผู

สําเร็จการศึกษามีทักษะ ความรูดานอาชีพสามารถออกไปประกอบอาชีพไดหากไมศึกษาตอ รวมทั้ง

สนับสนุนการศึกษาและเรียนรู เพื่อประกอบอาชีพอิสระ

5) จัดต้ังสถาบันการอาชีวศึกษา ใหสอดคลองกับการพัฒนากลุมจังหวัด

และจัดหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับตน (ปวช. 3 ป) ระดับกลาง (ปวส. 2 ป) และระดับเทคโนโลยี

เฉพาะทาง (ปริญญาตรี 2 – 3 ป) ใหมีความตอเน่ืองเช่ือมโยงกัน เพื่อผลิตกําลังคนตามความตองการ

ของตลาดแรงงาน โดยเนนความรวมมือกับสถานประกอบการ

6) สรางกลไกการวิจัยและถายทอดความรูและเทคโนโลยีระหวางภาค

ธุรกิจเอกชน สถานประกอบ กับสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา

7) กําหนดทิศทางความตองการกําลังคน และสรางระบบเครือขายความ

รวมมือในการผลิตและพัฒนากําลังคนจากภาคสวนตาง ๆ ทั้งสมาคมวิชาชีพ สถานประกอบการ /

องคกรผูใชกําลังคน สถาบันการศึกษา / ผูผลิต

2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ที่เปนผูเอื้ออํานวยใหผู เรียนเกิดการเรียนรู เปนวิชาชีพที่มี

คุณคา มีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษาที่มี

คุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเปนวิชาชีพช้ันสูง สามารถดึงดูดคนเกง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครู

มาเปนครู คณาจารย มีปริมาณครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษาอยางเพียงพอตามเกณฑ

และสามารถจัดการเรียนการสอนไดอยางมีคุณภาพมาตรฐาน ขณะเดียวกันสามารถพัฒนาตนเองและ

แสวงหาความรูอยางตอเน่ือง มีสภาวิชาชีพที่เขมแข็งบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนา

ครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษาใหมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพมีขวัญกําลังใจ

อยูไดอยางย่ังยืน จึงกําหนดแนวทางการปฏิรูป ดังน้ี

2.1 การพัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา

มาตรการหลัก :

1) ปรับระบบการผลิต การคัดสรร คาตอบแทนและสวัสดิการ ใหสามารถ

ดึงดูดคนเกงและดี มีใจรักในวิชาชีพมาเปนครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา เชน มีระบบ

การใหทุนการศึกษาแกผูเรียนดี มีใจรักมาเรียนครู และรับประกันบรรจุเปนขาราชการครูเมื่อสําเร็จ

การศึกษา หรือจัดให นิสิต / นักศึกษา ครุศาสตร / ศึกษาศาสตร ฝกประสบการณการสอนใน

สถานศึกษาไมนอยกวา 1 ป และใหถือเปนสวนหน่ึงของมาตรฐานวิชาชีพครู เปนตน

Page 48: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

36

2) ใหมีสถาบันอุดมศึกษาที่เนนความเปนเลิศดานการผลิตครู วิจัยและ

พัฒนาเกี่ยวกับวิชาชีพครู รวมทั้งมีระบบประกันและรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครูและสถาบัน

ผลิตครู

มาตรการ :

3) วางแผนการผลิต การพัฒนา และการใช ครู คณาจารย และบุคลากร

ทางการศึกษาอยางเปนระบบให สอดคลองกับความตองการ ทั้งระดับพ้ืนฐาน อาชีวศึกษา และ

อุดมศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ

4) จัดระบบเพื่อใหผูสําเร็จการศึกษาสาขาอื่นที่มีใจรักในวิชาชีพมาเปนครู

โดยศึกษาวิชาครูเพิ่มเติมตามเกณฑที่กําหนด รวมทั้งสงเสริมให สถานศึกษาระดมทรัพยากรบุคคล

ภูมิปญญาทองถ่ิน ปราชญ ชาวบาน และผู ทรงคุณวุฒิในชุมชน/ทองถ่ิน เพื่อเปนผู สอนและ

พัฒนาการเรียนรู

5) พัฒนาระบบการผลิตครู คณาจารย และบุคลากรสําหรับการอาชีวศึกษา

และอุดมศึกษา เช่ือมโยงความสามารถในการสอน และประสบการณในสถานประกอบการ รวมถึง

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผลผลิตเชิงพาณิชย

2.2 การพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา

มาตรการหลัก :

1) ปรับปรุงและพัฒนาระบบและเกณฑการประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู

ใหเช่ือมโยงกับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและเรียนรูเพื่อพัฒนาผูเรียนเปนสําคัญ

2) เรงจัดต้ังกองทุนพัฒนาและกองทุนสงเสริมครู คณาจารย และ

บุคลากรทางการศึกษา

3) พัฒนาครู คณาจารย โดยใชโรงเรียนเปนฐานให สามารถจัดการเรียน

การสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาครูประจําการที่สอนไมตรงวิชาเอกให สามารถ

จัดการเรียนการสอนอยางมีคุณภาพ รวมทั้งใหมีระบบและมาตรการจูงใจใหครู คณาจารย ผูบริหาร

และบุคลากรการศึกษา ไดพัฒนาตนเองอยางตอเน่ือง

มาตรการ :

4) พัฒนาคณาจารย ผูบริหาร และบุคลากรดานอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา

ใหสามารถจัดการเรียนการสอน วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

Page 49: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

37

2.3 การใชครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา

มาตรการหลัก :

1) คืนครูใหแกผูเรียนโดยลดภาระงานอื่นที่ไมจําเปนและจัดใหมีบุคลากร

สายสนับสนุนใหเพียงพอ เพื่อใหครูไดทําหนาที่พัฒนาผู เรียนอยางเต็มที่และมีโอกาสพัฒนาตนเอง

อยางตอเน่ือง

2) ปรับปรุงเกณฑกําหนดอัตราครู โดยพิจารณาจากภาระงานที่ชัดเจน

รวมดวยและจัดใหมีจํานวนครูเพียงพอตามเกณฑและมีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน

มาตรการ :

3) แยกบัญชีเงินเดือนและวิทยฐานะของขาราชการครูและบุคลากร

การศึกษาออกจากกัน

3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ทุกระดับ/ประเภท ใหสามารถเปนแหลงเรียนรูที่มีคุณภาพ และพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆ สําหรับ

การศึกษาและเรียนรูทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เชน หองสมุดประชาชน

พิพิธภัณฑ หอศิลป สวนสัตว สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร อุทยานวิทยาศาสตร และ

เทคโนโลยี และศูนยการกีฬาและนันทนาการ เปนตน เพื่อสงเสริมการเรียนรูของผู เรียนอยาง

ตอเน่ืองตลอดชีวิตและมีคุณภาพ จึงกําหนดแนวทางการปฏิรูป ดังน้ี

มาตรการหลัก :

1) รณรงคใหคนไทยมีนิสัยรักการอานเปนวาระแหงชาติ และสงเสริมใหมีการผลิต

สื่อที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสม

มาตรการ :

2) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและโครงสรางพ้ืนฐานใหเอื้อตอการศึกษาและเรียนรู

3) พัฒนาหองสมุดชุมชน ใหกระจายอยางทั่วถึงในลักษณะหองสมุดที่มีชีวิต

4) พัฒนาแหลงเรียนรูในรูปแบบอื่นๆที่หลากหลาย มีคุณภาพ และกระจายอยาง

ทั่วถึง เชน ศูนยการเรียนรูชุมชน ศูนยการศึกษาตลอดชีวิต พิพิธภัณฑวิทยาศาสตร อุทยาน

ประวัติศาสตร เปนตน เพื่อเปดโอกาสการศึกษาและเรียนรูที่มีคุณภาพอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต

5) สงเสริมการสรางสภาพแวดลอมของชุมชนทองถ่ินสังคมเพ่ือเอื้อตอการศึกษา

และเรียนรู ระดมทรัพยากรบุคคล ภูมิปญญาทองถ่ิน ปราชญชาวบาน และผู ทรงคุณวุฒิในชุมชน/

ทองถ่ิน เปนแหลงเรียนรูและพัฒนาการเรียนรูในชุมชน ทองถ่ิน

4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม ที่มุงเนนการกระจายอํานาจสู สถานศึกษา เขต

พื้นที่การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งการมีสวนรวมของผู ปกครอง ชุมชน

ภาคเอกชน และทุกภาคสวน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปรงใส เปน

Page 50: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

38

ธรรม ตรวจสอบได ตลอดจนมีการนําระบบและวิธีการบริหารจัดการแนวใหมมาใชควบคูกับการสราง

ผูนําการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ (Demand

side) โดยใหผูเรียนเลือกรับบริการ จึงกําหนดแนวทางการปฏิรูป ดังน้ี

4.1 กระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาใหสถานศึกษาและเขตพ้ืนท่ี

การศึกษา

มาตรการหลัก :

1) ใหมีกลไกขับเคลื่อนการกระจายอํานาจสูเขตพื้นที่และสถานศึกษาอยาง

เปนระบบตามศักยภาพความพรอม

มาตรการ :

2) ให มีการกระจายอํานาจตามศักยภาพความพรอม โดยมีแผนการ

ขับเคลื่อนการกระจายอํานาจแบบข้ันบันไดตามศักยภาพความพรอม รวมทั้งมีแผนสงเสริมเขตพื้นที่

และสถานศึกษา ใหมีความเขมแข็งและความพรอม โดยมีเกณฑการประเมินเพ่ือจัดกลุมตามศักยภาพ

ความพรอม

3) สรางผูนําการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมการบริหารเชิงคุณภาพ และ

สนับสนุนสถานศึกษาที่มีความพรอมให สามารถบริหารจัดการได อยางอิสระ คลองตัว เปน

สถานศึกษานิติบุคคลเต็มรูป และในระดับอุดมศึกษาใหพัฒนาสูการเปนสถาบันของรัฐในกํากับ

4) พัฒนาภาวะผูนําบริหารเขตพ้ืนที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยใหมี

แผนพัฒนาภาวะผูนําตามชองทางปกติและกลไกสนับสนุนสงเสริมดวยชองทางพิเศษ มีการกําหนด

คุณสมบัติ การเขาสูตําแหนง เสนทางความกาวหนา และระบบการจูงใจ

5) ปรับและพัฒนาสํา นักงานเขตพื้นที่การศึกษารูปแบบใหม ที่ เนน

ยุทธศาสตรเชิงวิชาการ โดยลดภาระงานเชิงธุรการและการสั่งการ แตเนนการใหคําปรึกษา สงเสริม

สนับสนุนสถานศึกษาในพื้นที่ให มีความเขมแข็งย่ิงข้ึน สรางกลไกการปองกันการดําเนินการเขาสู

ตําแหนงโดยไมชอบธรรม

6) สงเสริมการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับและประเภท โดยยึดพื้นที่เปน

ฐาน (area-base) ทั้งระดับจังหวัด กลุมจังหวัด พื้นที่พิเศษ เชน จังหวัดชายแดนภาคใต เปนตน ใหมี

คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด เพื่อประสานและบูรณาการการพัฒนาการศึกษาทุกระดับและ

ประเภท/สังกัดใหเกื้อกูลกัน

4.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให มีความโปรงใส เปน

ธรรม และมีระบบการตรวจสอบท่ีมีประสิทธิภาพ

Page 51: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

39

มาตรการหลัก :

1) ทบทวนระบบการบริหารโดยองคคณะบุคคลในทุกระดับ/ประเภท

การศึกษา ทั้งวิธีการไดมาของผูบริหาร และคณะกรรมการตางๆ องคประกอบ และอํานาจหนาที่ ให

เปนไปตามหลักธรรมาภิบาล

2) ปรับระบบบริหารงานบุคคลของขาราชการครู ใหสามารถบริหารจัดการ

ตามหลัก ธรรมาภิบาล และสามารถสงเสริมสนับสนุนการพัฒนาครู และวิชาชีพครูให เปน

วิชาชีพช้ันสูงที่มีคุณคาเปนที่ยอมรับนับถือในสังคม สรางกลไกการเขาสูตําแหนงโดยยึดหลักธรรมาภิ

บาล

มาตรการ :

3) เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหารจัดการโดยองคคณะ

บุคคล ในระดับ/ประเภทตางๆ ทั้งกรรมการสถานศึกษา สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา กรรมการสภา

สถาบันอุดมศึกษา และอื่นๆ ใหมีบทบาทในการบริหารจัดการศึกษามากข้ึน ตามหลักธรรมาภิบาล

มีความรับผิดชอบ โปรงใส เปนธรรม และตรวจสอบได เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดตอการศึกษา

4.3 พัฒนาการบริหารการจัดการเพ่ือเพ่ิมโอกาสทางการศึกษาอยางมีคุณภาพ

เพ่ือใหประชาชนทุกคนต้ังแตแรกเกิดจนตลอดชีวิต ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ผู ดอย

โอกาส ผู ยากไร ผูพิการหรือทุพพลภาพ ผู อยูในสภาวะยากลําบาก ผู บกพรองทางรางกายและ

สติปญญา และชนตางวัฒนธรรม กําลังแรงงานและผูสูงอายุมีโอกาสเขาถึงการศึกษาและเรียนรู

ท่ีมีคุณภาพอยางตอเน่ืองตลอดชีวิตจึงกําหนดแนวทางการปฏิรูป ดังน้ี

มาตรการหลัก :

1) พัฒนาระบบการศึกษาและเรียนรูที่ยืดหยุนหลากหลาย เขาถึงไดมี

ระบบเทียบโอนความรูและประสบการณ เพื่อให ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเขาถึง

การศึกษาและเรียนรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต กําลังแรงงานและผู สูงอายุ มีโอกาสศึกษาและเรียนรู

เพ่ิมเติมตามความตองการ

2) จัดให ประชาชนทุกคนได รับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานอยางทั่วถึงและมี

คุณภาพ โดยมีเปาหมายไมตํ่ากวา 15 ปในสถานศึกษาเพ่ือให เกิดความเสมอภาคและเปนธรรม

โดยเฉพาะกลุมประชาชนกลุมผู ดอยโอกาส ผู ยากไร ผู พิการหรือทุพพลภาพ ผู อยูในสภาวะ

ยากลําบาก ผูบกพรองทางรางกายและสติปญญา และชนตางวัฒนธรรม และระหวางหญิงและชาย

3) สงเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสงเสริม

การเรียนรูตลอดชีวิต และสรางสังคมแหงการเรียนรู

Page 52: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

40

มาตรการ :

4) สงเสริมการจัดการศึกษาสําหรับผู ดอยโอกาส เชน โรงเรียนศึกษา

สงเคราะห โรงเรียนราชประชานุเคราะห โรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดน เปนตน รวมทั้งการศึกษา

ของคณะสงฆสายสามัญเพิ่มข้ึน เพื่อใหเด็กดอยโอกาส รวมทั้งพระและสามเณรได รับการศึกษามาก

ข้ึน

5) สงเสริมการจัดวิทยาลัยชุมชน เพื่อให สามารถเปนกลไกสนับสนุน

พัฒนา เสริมสรางความเขมแข็ง และตอบสนองความตองการของชุมชน ทองถ่ิน

6) พัฒนาระบบการคัดเลือกเขาศึกษาตอในระดับอุดมศึกษา ให เช่ือมโยง

กับการเรียนการสอนและพัฒนาผูเรียนในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน

7) ปรับระบบการวัด ประเมินผลผูเรียน การจัดกระบวนการเรียนรู และ

ระบบการรับเขาศึกษาตอ ให เอื้อตอการจัดการศึกษาทางเลือก และระบบการศึกษาที่ยืดหยุน

หลากหลาย โดยเนนการพัฒนาผูเรียนเปนสําคัญ

4.4 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพ่ือสงเสริมสนับสนุนการมีสวนรวมของ

ประชาชน ภาคเอกชนและทุกภาคสวนในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรูให

มากขึ้น เพ่ือให บุคคล ครอบครัว ชุมชน องคกรชุมชน องคกรปกครองสวนทองถ่ิน เอกชน

องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอ่ืนทุกภาค

สวน เขามามีสวนรวมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น จึงกําหนดแนวทาง

ปฏิรูป ดังน้ี

4.4.1 สงเสริมการมีสวนรวมของบุคคลครอบครัว ชุมชน องคกร

ชุมชน เอกชน องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน

สังคมอ่ืนในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษา ใหมากขึ้น

มาตรการหลัก :

1) สนับสนุน และมีมาตรการจูงใจทั้งดานภาษีและสิทธิประโยชน

ตางๆ เพื่อใหเอกชนเขามารวมจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรูในทุกระดับ/ประเภท

ใหมากข้ึนควบคูกับการสนับสนุนดานวิชาการ การพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากร และ/หรือการ

อุดหนุนคาใชจายรายหัวที่เปนธรรม เพื่อใหมีคุณภาพมาตรฐาน และเปนการประกันความเปนธรรม

ใหแกผูเรียน รวมถึงการกําหนดแนวปฏิบัติที่เปนมาตรฐานเดียวกับรัฐ

2) ลดบทบาทของรัฐในการจัดการศึกษาเปนหลัก มาเปนผู กํากับ

นโยบาย แผนมาตรฐานการศึกษา นิเทศ และติดตาม ประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา รวมทั้ง

การพัฒนาตนแบบที่ดี และสงเสริมสนับสนุน ยกยอง และขยายผล เพื่อให การจัดการศึกษาและ

เรียนรูมีคุณภาพมาตรฐานและสอดคลองกับแนวนโยบายของรัฐ

Page 53: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

41

มาตรการ :

3) สงเสริมการมีสวนรวมของประชาชนในการกําหนดนโยบาย

และวางแผนพัฒนาการศึกษาทั้งในระดับชาติทองถ่ิน

4) สนับสนุนการศึกษาทางเลือก และการจัดต้ังศูนยการเรียน

โดยบุคคล ครอบครัว สถานประกอบการ องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา องคกรชุมชน องคกรเอกชน

ตามความตองการท่ีแตกตางหลากหลาย โดยใหมีคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

และการปฏิบัติ

5) เสริมสรางความเขมแข็งให สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ใน

การสงเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาเอกชน และการศึกษาทางเลือก

6) สงเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัว (พอแม ผูปกครอง) สถาบัน

ศาสนา และสถาบันการศึกษา รวมพัฒนาการศึกษาการเรียนรู พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และ

คุณลักษณะที่พึงประสงค แกผู เรียนมากข้ึนในรูปแบบหลากหลาย โดยปรับปรุงกลไกรองรับการ

บริหารจัดการของสถานศึกษาใหยืดหยุนและมีความคลองตัว

7) สงเสริมการจัดการศึกษาและเรียนรูของสถาบันศาสนาและ

สถาบันทางสังคม ทั้งที่เปนการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในทุก

ระดับและประเภทการศึกษา รวมจัดการศึกษาและการเรียนรู พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและ

คุณลักษณะที่พึงประสงคแกผูเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย

8) พัฒนาระบบการวัดประเมินผล การรับเขาศึกษาตอ การจัด

หลักสูตร การเรียนการสอนใหเอื้อตอการศึกษาทางเลือก และการศึกษานอกระบบ โดยยึดผู เรียน

เปนสําคัญ

9) สงเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนาและ

สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องคกรชุมชน องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ สภาหอการคาไทย

สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย และสถาบันสังคมอื่น รวมจัดการศึกษาและการเรียนรูการพัฒนา

คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะ ที่พึงประสงคแกผู เรียน การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และ

คุณลักษณะที่พึงประสงคแกผูเรียนมากข้ึนในรูปแบบที่หลากหลาย

4.4.2 สงเสริมบทบาทองคกรปกครองสวนทองถ่ิน (อปท.) ใหเขา

มารวมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น เพ่ือใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินเขามารวม

จัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษา ตามความเหมาะสมและความตองการของทองถ่ินในทุก

ระดับ/ประเภทการศึกษามากขึ้น โดยคํานึงถึงความสอดคลองกับมาตรฐานและระบบการศึกษา

ของชาติ จึงกําหนดแนวทางปฏิรูป ดังน้ี

Page 54: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

42

มาตรการหลัก :

1) สงเสริมให อปท. มีบทบาทมากข้ึนทั้งในการจัดการศึกษาและ

เรียนรูและการสนับสนุนการศึกษาและเรียนรู ตามความตองการของประชาชนในทองถ่ิน รวมทั้ง

การพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินที่เช่ือมโยงกับภูมิปญญา ทรัพยากร วัฒนธรรมทองถ่ิน ชุมชนเพ่ือพัฒนา

คุณภาพชีวิตและความเขมแข็งของชุมชน

2) เตรียมความพรอมและพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัด

การศึกษาของ อปท. รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะผูบริหารครู และบุคลากรการศึกษา อปท. ใหเปนมือ

อาชีพ โดยกระทรวงศึกษาธิการเปนแกนกลางในการสนับสนุนดานวิชาการ และกํากับดูแลดาน

คุณภาพ มาตรฐานทางวิชาการ

มาตรการ :

3) จัดทําแผนบูรณาการเพ่ือใช เปนแผนแมบทในการบริหารจัด

การศึกษาขององคกรปกครองสวนทองถ่ินจัดทําแผนที่ต้ังสถานศึกษาและกําหนดเปาหมายผู เรียนแต

ละระดับ/ประเภท/สังกัดในพ้ืนที่

4) ใหมีคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาขององคกรปกครองสวน

ทองถ่ินระดับพื้นที่ เพื่อกําหนดนโยบาย แผน และทิศทางการพัฒนาการศึกษา และคณะกรรมการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน

5) พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการศึกษาของทองถ่ิน

ใหเอื้อตอการสนับสนุน การจัดการศึกษาและความเปนอิสระในการบริหารจัดการของสถานศึกษา

และทองถ่ินจัดกลุมสถานศึกษาตามความพรอม

6) พัฒนาเครือขายความรวมมือดานการศึกษาของ อปท. ทั้งกับ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอุดมศึกษา สถาบัน/หนวยงานอื่นในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุน

อปท. สรางภาคีเครือขายดวยกันเอง

4.5 พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรเพ่ือการศึกษาใหมีประสิทธิภาพ

มาตรการหลัก :

1) ปรับปรุงการบริหารจัดการเงินและงบประมาณ โดยเนนอุปสงค หรือผู

เรียนเปนสําคัญ (demand side) โดยใหผูเรียนเลือกรับบริการ

2) วางแผนเปนข้ันตอนและจัดระบบบริหารจัดการเพื่อรองรับการยุบ เลิก

หรือควบรวมสถานศึกษาขนาดเล็ก เพื่อให การใชทรัพยากรการศึกษาเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ

และสอดคลองกับอัตราการขยายตัวของประชากรท่ีมีแนวโนมลดลง โดยมีมาตรการชวยเหลือเพื่อ

ไมใหผูเรียนและครูไดรับผลกระทบ

Page 55: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

43

มาตรการ :

3) จัดสรรงบประมาณโดยคํานึงถึงความตองการและความจําเปนที่แตกตาง

แตละพื้นที่/กลุม โดยแยกงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพ และสงเสริมประสิทธิภาพการบริหาร

จัดการ หรือเพื่อแกไขปญหาหรือพัฒนาตามความจําเปนเฉพาะพื้นที่ งบประมาณ คาใชจายรายหัว

สําหรับผู เรียนกลุมพิเศษ เชน ผู พิการ ผู มีความสามารถพิเศษ ผู ดอยโอกาส เปนตน จาก

งบประมาณปกติ

4) พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณระหวางรัฐบาลและองคกรปกครอง

สวนทองถ่ิน เพื่อให การใชงบประมาณเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และสงเสริมให อปท.จัดสรร

งบประมาณเพ่ือการศึกษาและเรียนรูมากข้ึน

5) พัฒนาระบบการจัดสรรทุนการศึกษาใหเปลาและทุนกูยืม เพื่อเปนกลไก

เพ่ิมโอกาสทางการศึกษา การผลิตและพัฒนากําลังคนตามความตองการของประเทศ

6) สงเสริมการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพ่ือการศึกษาและการเรียนรู

ในรูปแบบตางๆ อยางหลากหลายจากทุกภาคสวน โดยปรับกลไกของรัฐใหเอื้อและรองรับ

7) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ

ใชทรัพยากรเพ่ือการศึกษา15

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานกลาวถึงระบบการศึกษาและการเรียนรูที่ตองการปฏิรูปอยางเรงดวน 4 ประการหลัก คือ 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหมที่มีนิสัยใฝเรียนรู สามารถเรียนรูดวยตนเองและแสวงหา

ความรูอยางตอเน่ือง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห แกปญหา คิดริเริ่ม

สรางสรรค มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม คานิยม มีจิตสํานึกและความภูมิใจใน

ความเปนไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขรังเกียจ

การทุจริตและตอตานการซื้อสิทธ์ิ ขายเสียงสามารถกาวทันโลก มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ

หางไกลยาเสพติด เปนกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรูพื้นฐานที่จําเปน มีสมรรถนะ ความรู

ความสามารถ สามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ที่เปนผูเอื้ออํานวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรู เปนวิชาชีพที่มีคุณคามีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเปนวิชาชีพช้ันสูง 3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหลงเรียนรูยุคใหม โดยพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับและทุกประเภทใหสามารถเปนแหลงเรียนรูที่มีคุณภาพ

4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม ที่มุงเนนการกระจายอํานาจสูสถานศึกษา เขตพื้นที่

การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งการมีสวนรวมของผูปกครอง ชุมชน และ

15เรื่องเดียวกัน.

Page 56: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

44

ภาคเอกชน และทุกภาคสวน มีระบบการบริหารจัดการที่มีความโปรงใส เปนธรรม ตรวจสอบได มี

การบริหารจัดการการเงินและงบประมาณที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ

สาระสําคัญที่เกี่ยวของกับภารกิจของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานดังน้ี 1. จัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ

2. พัฒนาครู โดยใชโรงเรียนเปนฐาน และการคืนครูใหแกผูเรียน 3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และโครงสรางพื้นฐานใหเอื้อตอการเรียนรู 4. จัดใหประชากรวัยเรียนทุกคนไดรับการศึกษาข้ันพื้นฐาน ๑๕ ปอยางทั่วถึงและมีคุณภาพ

5. มีกลไกขับเคลื่อนการกระจายอํานาจสูเขตพื้นที่และสถานศึกษาอยางเปนระบบ 6. ปรับและพัฒนาสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษารูปแบบใหมที่เนนยุทธศาสตรเชิงวิชาการโดย

ลดภาระงานเชิงธุรการและการสั่งการ แตเนนการใหคําปรึกษา สงเสริมสนับสนุนสถานศึกษาในพื้นที่ใหมีความเขมแข็ง 7. เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหารจัดการโดยองคคณะบุคคลในระดับสถานศึกษาและเขตพ้ืนที่การศึกษา ใหมีบทบาทในการบริหารจัดการศึกษามากข้ึน เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดตอการศึกษา 8. แกปญหาและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก และสถานศึกษาที่ดอยคุณภาพ 9. ปรับปรุงการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณโดยเนนอุปสงคหรือผูเรียนเปนสําคัญ16

สรุปกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) มีการปฏิรูป

การศึกษาและเรียนรูอยางเปนระบบ โดย

1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ที่มีนิสัยใฝเรียนรู สามารถเรียนรูดวยตนเองและแสวงหา

ความรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต

2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ที่เปนผูเอื้ออํานวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรู เปนวิชาชีพที่มีคุณคา

สามารถดึงดูดคนเกง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเปนครู

3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุก

ระดับ/ประเภทใหสามารถเปนแหลงเรียนรูที่มีคุณภาพและพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆ สําหรับการศึกษา

และเรียนรูทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย

4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม ที่มุงเนนการกระจายอํานาจสูสถานศึกษา เขตพื้นที่

การศึกษา และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งการมีสวนรวมของผูปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน

และทุกภาคสวน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

หลักการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเยอรมนี

1. หลักพื้นฐานสําคัญของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเยอรมนี คือ การพัฒนาระบบ

การศึกษาใหเปนระบบที่มีคุณภาพสูงสุด โดยพลเมืองภายในประเทศทุกคนมีสิทธิที่จะเขาถึงการศึกษา

16สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ขอเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) (กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟค จํากัด, 2552).

Page 57: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

45

ที่มีคุณภาพเหลาน้ีไดอยางเทาเทียมกัน หากนํามาเกี่ยวของกับหลักประชาธิไตยแลว ก็ถือไดเปนหลัก

ยุทธศาสตรที่สําคัญ เน่ืองจากหากพลเมืองภายในประเทศมีความสามารถในการเขาถึงการศึกษาได

อยางเทาเทียมกัน ทุกคนภายในประเทศก็จะมีอํานาจในการตัดสินใจที่มีคุณภาพ จะไมถูกซื้อขายสิทธิ

กันใหวุนวาย รวมถึงเมื่อรัฐบาล หรือหนวยงานของรัฐมีขอมูลขาวสารใดๆ ก็อันเปนที่แนใจวาจะไมมี

กลุมคนใดที่ตกสํารวจ

2. ประเทศเยอรมนี ไดพัฒนาระบบการศึกษา หรือหลักสูตรการศึกษา โดยมีเปาหมายเพื่อ

สงเสริมและเผยแพรประชาธิปไตย ใหแกสถาบันการศึกษาทั่วทั้งประเทศอยางพรอมเพรียงกัน โดย

ทั้งน้ี ความรวมมือรวมใจน้ีเกิดข้ึนในทุกระดับ เรียกไดวา เปนแบบอยางของความสามัคคีในระดับชาติ

เลยก็วาได นานับถือจริง ๆ ในจุดน้ี เพราะไมใชเรื่องงายที่ทุกหนวยงานสําคัญที่เกี่ยวของจะรวมใจ

ประสานนโยบายตาง ๆ จากภาครัฐไดอยางประสบความสําเร็จเชนน้ี

3. เปาหมายที่ประเทศเยอรมนีในครั้งที่มุงปฏิรูประบบการศึกษาบนรากฐานประชาธิปไตยน้ี

ไดกําหนดแผนการณเพื่อพัฒนาระบบและเครือขายที่สําคัญไวอยางครบถวน จนทําใหเห็นถึงความ

รอบคอบและความรวมมือกันของทุกปจจัยที่เกี่ยวของ อาทิ การพัฒนาความรูที่ใชสอนภายใน

สถาบันการศึกษา การวางแผนสรางโรงเรียนและสถาบันการศึกษาตางๆ ที่มีความสําคัญตอการ

สนับสนุนและตอยอดแบบแผนการปฏิรูปการศึกษา การคํานึงถึงการออกแบบระบบบริหารการ

จัดการที่เอื้อประโยชนตอการปฏิรูปการศึกษา การออกแบบหลักสูตรวิชาการตาง ๆ รวมถึงวิธีการ

สอนและถายทอดวิชาการอยางมีคุณภาพและนําไปใชปฏิบัติได รูปแบบหรือสไตลการสอน ทัศนคติที่

มีตอการสอนหรือการศึกษาของครูบาอาจารย ผูปกครอง และนักเรียน

4. ผูนําของประเทศผลักดันการปฏิรูปการศึกษาอยางจริงจัง ยกตัวอยางเชน ในสมัยของทาน

คอนราด อเดเนา (Konrad Adenauer) ที่ไดพยายามสรางระบบตางๆ เพื่อสนับสนุนใหการศึกษา

ภายในประเทศสรางคนที่มีคุณภาพ อาทิ การคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษโดยเฉพาะมา

เพ่ือทําการอบรมเพ่ิมเติมโดยเฉพาะในดานการเมือง รวมถึงการใหทุนเพ่ือไปศึกษาตอยังประเทศตางๆ

ในยุโรป นอกจากน้ี ทานยังไดสนับสนุนการสรางฉันทามติในเรื่องประชาธิปไตยใหกับคนในชาติ การ

ออกแบบนโยบายการพัฒนาประเทศที่เปนลักษณะเฉพาะของเยอรมนีโดยทําการผสมผสานระหวาง

การคาแบบเสรีและการตลาดแบบสังคมนิยม (Free market and Social-market policies) และ

การพยายามผลักดันใหประเทศเยอรมนีเขาไปมีสวนรวมอยางแข็งขันในสหภาพยุโรป รวมถึงการสราง

ประเทศใหเปนปกแผนภายใตการเคารพกฎหมายสูงสุด หรือ Rule of Law ของประเทศอยาง

เขมแข็งอีกดวย

5. การปฏิรูปการศึกษาของประเทศเยอรมนีน้ัน มีเปาหมายเพื่อการเรียนรูตลอดชีวิต และให

ความสําคัญกับการเช่ือมโยงการเมืองแบบประชาธิปไตยใหเปนวัฒนธรรมหน่ึงในการดําเนินชีวิตของ

พลเมืองภายในประเทศ

Page 58: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

46

6. การใหความสําคัญตอการพัฒนาคุณภาพ ครู ภายในประเทศ และจากการที่ไดอยูอาศัยใน

ประเทศเยอรมนี ขาพเจาพบวาอาชีพครู เปนอาชีพที่คนเยอรมันอยากจะเปนและใหเกียรติ ทั้งน้ี

เน่ืองจากคาตอบแทนที่ดี รวมถึงวันหยุดยาวที่ไดรับพรอมเด็กๆ นักเรียน17

การปฏิรูปการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส

ภายใตการปฏิรูปการศึกษาสําหรับนักเรียนตางชาติในประเทศฝรั่งเศส" ซึ่งเปน

นโยบายการใหวีซาทํางานแกบัณฑิตนักเรียนตางชาติที่จบการศึกษาระดับปริญญาในประเทศฝรั่งเศส

จากเหตุการณที่นําไปสูการปฏิรูปดังกลาวคือ มีการศึกษาสถิติที่ที่สําคัญโดยมีการสํารวจในเดือน

พฤษภาคม เมื่อปค.ศ.2011 วามีนักเรียนตางชาตินอกสหภาพยุโรป ที่จบการศึกษาจากฝรั่งเศสและได

ทํางานกับบริษัทและหนวยงานดานวิชาการในประเทศฝรั่งเศสตองออกจากประเทศฝรั่งเศสเพราะ

กฎหมายที่ไมสงเสริมการทํางานหลังสําเร็จการศึกษาของนักเรียนตางชาติ อันนํามาสูการยกเลิก

กฎหมายดังกลาวของ รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส ซึ่งเปนคํามั่นสัญญาเมื่อครั้งหา

เสียงกอนการเลือกต้ังรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส

ขณะน้ีรัฐบาลไดประกาศการปฏิรูปเปาหมายที่มุงใหดึงดูดนักเรียนตางชาติในเขามาศึกษาตอ

ในประเทศฝรั่งเศสมากข้ึน โดยเฉพาะนักเรียนจากจีนและเกาหลีใตใหเขามาทํางานในประเทศฝรั่งเศส

มากข้ึน รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของฝรั่งเศส ขณะใหสัมภาษณสื่อมวลชนในพิธีเปด อาคารแหง

ใหมของมหาวิทยาลัยนานาชาติแหงปารีสเมื่อเดือนเมษายน 2013 โดยลาสุดระหวางการเยือน

มหาวิทยาลัยนานาชาติปารีสเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 ที่ผานมา รัฐมนตรีไดกลาววา "เราตองการ

ที่จะเปดตองรับนักเรียนตางชาติเพื่อเขามาศึกษาและทําวิจัยในประเทศฝรั่งเศสใหมากข้ึน โดยมีนัยที่

สําคัญทางการเมือง อันจะเปนการเผยแพรภาษาฝรั่งเศส และคานิยมตางๆใหกระจายสูทั่วโลก "

รัฐมนตรียังตองการกระจายนโยบายการศึกษาแบบใหมสูกลุมประเทศทางเศรษฐกิจที่เกิดใหม หรือ

กลุม "BRICs" เชน ประเทศ บลาซิล อินเดีย รัสเซีย และจีน และยังคงสนใจที่จะเช่ือมโยงการศึกษาไป

ยังทวีปแอฟริกา เพื่อแลกเปลี่ยนในองคความรูที่นาสนใจ และที่สําคัญโดยเฉพาะประเทศจีนที่กําลัง

สงเสริมนโยบายทางเศรษฐกิจรวมกันกับสหภาพยุโรป

มาตรการสงเสริมการศึกษาสําหรับนักเรียนตางชาติในประเทศฝรั่งเศส ค.ศ.2013

1. การปรับกฎหมายการพักอาศัยของนักเรียนตางชาติ

2. การออกวีซานักเรียนที่ยาวข้ึน 2 ถึง 3 ป อันเปนการหลีกเลี่ยงความยุงยากในการตออายุวีซา

3. "one-stop shops" จุดบริการแบบครบวงจรดานวิชาการ

4. กฎหมายแรงงานที่ผอนผันการทํางานสํารับนักเรียนตางชาติที่สําเร็จการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส

17โอเคเนช่ัน. แบบอยางการสรางชาติเยอรมนี : หัวใจสําคัญอยูท่ี การปฏิรูปการศึกษา, เขาถึงเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557,http://www.oknation.net/blog/print.php?id=848707

Page 59: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

47

5. ปฏิรูปการเรียนการสอนนอกเหนือจากภาษาฝรั่งเศส โดยคาดหมายที่จะสงเสริมการเรียนการสอน

ใน "ภาษาอังกฤษ" ซึ่งเปนสิ่งตองหามในประเทศชาตินิยมฝรั่งเศสในขณะน้ี18

งานวิจัยท่ีเก่ียวของ

งานวิจัยภายในประเทศ

ชัยสิทธ์ิ ศรีธวัช ณ อยุธยา ไดศึกษาวิจัยกระบวนการใชสื่อในการเผยแพรขอมูลและรับฟง

ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของสํานักงานปฏิรูปการศึกษา (ส.ป.ศ.) ผล

ของการวิจัยพบวา กลยุทธในการใชสื่อในการเผยแพรขอมูลขาวสารของสํานักงานปฏิรูปการศึกษา(ส.

ป.ศ.) น้ัน จะเปนการสื่อสารเพ่ือสรางความเขาใจ และความเห็นพองรวมกันกับแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาของ ส.ป.ศ. ในรูปแบบของการประชาสัมพันธเปนหลัก โดยจะคํานึงถึงจุดเดนของสื่อแตละ

ประเภท สื่อมวลชนจะถูกใชเพื่อเผยแพรขอมูลในลักษณะทางเดียว โดยจะเนนที่สื่อสิ่งพิมพและ

หนังสือพิมพเปนหลัก รองลงมาคือสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน สื่อบุคคลจะถูกใชในการ

เผยแพรขอมูลและรับฟงความคิดเห็นในลักษณะการสื่อสาร 2 ทาง ในรูปแบบของการจัดกิจกรรม

พิเศษ พบปะกับประชาชนกลุมเปาหมาย ประชาชนจํานวนมากเห็นดวยกับแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาของ ส.ป.ศ. แตเน่ืองจากขาดแรงผลักดันในทางปฏิบัติจากรัฐบาล จึงทําใหการรณรงคดาน

การปฏิรูปการศึกษายังไมประสบผลสําเร็จสมบูรณ19

บุญทวี ชมพงษ ไดศึกษาเกี่ยวกับตัวแปรพยากรณผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักศึกษา

โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพ่ือชีวิตในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ภาคกลาง กลุมตัวอยางที่

นํามาศึกษาไดแกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันปที่ 3 ซึ่งไดมาจากการสุมตัวอยางแบบ

แบงช้ันภูมิ จํานวน 330 คน โดยใชแบบสอบถามเปนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมขอมูล และการ

วิเคราะหขอมูลดวยโปรแกรมคอมพิวเตอรอธิบายลักษณะของตัวแปรดวยคาสถิติพื้นฐาน คือ รอยละ

คาเฉลี่ย คาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานในการวิจัยดวยการเขาสมการถดถอย

พหุคูณแบบข้ันบันได ผลการวิจัยพบวา นักศึกษาที่นํามาศึกษาเปนชายมากกวาหญิงเล็กนอย มี

ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนเฉลี่ยอยูในเกณฑดี อาชีพของผูปกครองสวนใหญทําการเกษตรและรับจาง

ทั่วไปมีรายไดตํ่า นิสัยในการเรียน เจตคติที่มีตออาจารยผูสอน การทํากิจกรรมเสริมหลักสูตรแรงจูงใจ

ใฝสัมฤทธ์ิ และความรูสึกที่มีตอสภาพแวดลอมในสถานศึกษาของนักศึกษา โดยรวมอยูในระดับปาน

18ตนซุง. มองการศึกษาโลก by ตนซุง eduzones, เขาถึงเมื่อวันที่ 9 เมษายน2557, http://blog.eduzones.com/tonsungsook/1087167

19ชัยสิทธ์ิ ศรีธวัช ณ อยุธยา, “กระบวนการใชสื่อในการเผยแพรขอมูลและรับฟงความคิดเห็นของประชาชนเก่ียวกับการปฏิรูปการศึกษาของสํานักงานปฏิรูปการศึกษา (ส .ป .ศ.)” (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2548), 66-72.

Page 60: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

48

กลาง สวนเจตคติตอวิชาเกษตร และความสัมพันธในกลุมเพ่ือนมีอยูในระดับดีมาก สําหรับตัวแปรที่

สงผลหรือใชในการพยากรณผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักศึกษาพบวามีเพียง 3 ตัวแปรเทาน้ันที่ถูก

คัดเลือกเขาสมการถดถอยพหุคูณแบบข้ันบันไดเรียงตามลําดับ คือ แรงจูงใจใฝสัมฤทธ์ิ เจตคติที่มีตอ

อาจารยผูสอน และเพศของนักศึกษาโดยทั้ง 3 ตัวแปรสามารถรวมกันทํานายระดับผลสัมฤทธ์ิทางการ

เรียนของนักศึกษาไดมากถึงรอยละ 420

ศศินวภา การะหงส ได ศึกษาปญหาของการบริหารจัดการศึกษาตามแนวการปฏิรูปการ

เรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบวามี

ระดับปญหาในดานการวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนรู บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่

และดานธุรการ การเงินและพัสดุ อยูในระดับปานกลาง บุคลากรที่มีวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ

ในการทํางาน และอยูในโรงเรียนตางขนาดกันมีสภาพปญหาการบริหารจัดการตามแนวทางปฏิรูปการ

เรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษา ในอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีตางกัน

อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สวนบุคลากรที่มีตําแหนงตางกันมีสภาพปญหาการบริหาร

จัดการตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษา ในอําเภอคลอง

หลวง จังหวัดปทุมธานีตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .0521

อารียา โอบนิธิกุล ก็ไดศึกษาการจัดการศึกษาขององคกรปกครองสวนทองถ่ินตามนโยบาย

การปฏิรูปการศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองบางบัวทอง พบวาการจัดการศึกษาตาม

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษา

แหงชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับปจจุบัน มาตรา 41 และพระราชบัญญัติกําหนดแผนและข้ันตอน

การกระจายอํานาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถ่ิน พุทธศักราช 2542 ไดกําหนดใหองคกรปกครอง

สวนทองถ่ินมีอํานาจและหนาที่จัดการศึกษาในระดับใดระดับหน่ึงหรือทุกระดับตามความเหมาะสม

และความตองการของทองถ่ิน สมาชิสภาเทศบาลเมืองบางบัวทองและเจาหนาที่ที่เกี่ยวของกับการจัด

การศึกษาสวนใหญมีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในระดับทองถ่ินในระดับปานกลาง

ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว ไมมีความสัมพันธกับระดับความรู ความเขาใจของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง

20บุญทวี ชมพงษ, “ตัวแปรพยากรณผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักศึกษาโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิตในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ภาคกลาง” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร (สัตวบาล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย, 2548), 92-99. 21ศศินวภา การะหงส, “ปญหาของการบริหารจัดการศึกษาตามแนวการปฏิรูปการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” (วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2548), 70-77.

Page 61: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

49

บางบัวทอง และเจาหนาที่ที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขององคกร

ปกครองสวนทองถ่ินตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล22

สมศักด์ิ เตชะเทพ ศึกษาเรื่อง ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษา

ตามการรับรูของประธานกรรมการสถานศึกษา ผูอํานวยการสถานศึกษา และครูผูสอนในสถานศึกษา

ข้ันพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาลําปางเขต 1 ผลการวิจัย พบวา ผูบริหารสถานศึกษามี

ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษา อยูในระดับมาก ตามการรับรูของประธานกรรมการสถานศึกษา

ผูอํานวยการสถานศึกษาและครูผูสอน และเมื่อเรียงลําดับตามกรอบของการปฏิรูปการศึกษา พบวา

อันดับแรก คือ งานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆ คือ การ

สนับสนุนและสงเสริมใหครูมีใบประกอบวิชาชีพ อันดับที่สองคืองานการบริหารและจัดการศึกษา ซึ่ง

ขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆคือการสงเสริมใหครูมีสวนรวมในการจัดทําแผนงานที่เกี่ยวของกับ

วิสัยทัศนของสถานศึกษา อันดับที่สาม คือ งานประกันคุณภาพ ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆ คือ

การประชาสัมพันธใหครูและบุคลากรเกิดความตระหนักเห็นความสําคัญของการประกันคุณภาพ

การศึกษา อันดับที่สี่ คือ งานปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวา

ขออื่นๆคือ การสนับสนุนสงเสริมใหครูนํากิจกรรมประชาธิปไตยไปใชในการจัดการเรียนการสอน และ

อันดับสุดทาย คือ งานปฏิรูปการเรียนรู ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆคือ การสงเสริมสนับสนุน

การจัดประสบการณการเรียนรู โดยยึดผูเรียนเปนสําคัญ23

ฐิตินาฏยา เช้ือปรุง ไดศึกษาเรื่อง ปจจัยคุณภาพชีวิตของครูหลังการปฏิรูปการศึกษา สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 4 ผลการวิจัยพบวา ปจจัยคุณภาพชีวิตของครูหลัง

การปฏิรูปการศึกษา ประกอบดวย 18 ปจจัย คือปจจัยดานชีวิตการทํางานคิดเปนรอยละ 9.731

ปจจัยดานความรูสึกเกี่ยวกับการบริการของรัฐบาลคิดเปนรอยละ 6.077 ปจจัยดานการบริการของ

ชุมชน คิดเปนรอยละ 5.093 ปจจัยดานการสาธารณะสุข คิดเปนรอยละ 4.069 ปจจัยดานความรูสึก

เกี่ยวกับทองถ่ินของตน คิดเปนรอยละ 4.025 ปจจัยดานบานและครอบครัว คิดเปนรอยละ 2.992

ปจจัยดานทัศนะเกี่ยวกับตนเอง คิดเปนรอยละ 2.883 ปจจัยดานสุขภาพ คิดเปนรอยละ 2.694

ปจจัยดานความสุขการทํางาน คิดเปนรอยละ 2.571 ปจจัยดานพักผอนหยอนใจ คิดเปนรอยละ

2.445 ปจจัยดานการครอบครองทรัพยสิน คิดเปนรอยละ 2.434 ปจจัยดานความเช่ือและศาสนา

22อารียา โอบนิธิกุล, “การจัดการศึกษาขององคกรปกครองสวนทองถ่ินตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองบางบัวทอง” (วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2548), 66-73.

23สมศักด์ิ เตชะเทพ, “ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาตามการรับรูของประธานกรรมการสถานศึกษา ผูอํานวยการสถานศึกษา และครูผูสอนในสถานศึกษาข้ันพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาลําปางเขต 1” (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 2549), 90-99.

Page 62: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

50

คิดเปนรอยละ 2.420 ปจจัยดานชีวิตสังคม คิดเปนรอยละ 2.377 ปจจัยดานชวงเวลาใหกับครอบครัว

คิดเปนรอยละ 2.191 ปจจัยดานสัมพันธภาพทางสังคม คิดเปนรอยละ 1.895 ปจจัยดานการปฏิบัติ

ตนทางศาสนา คิดเปนรอยละ 1.649 ปจจัยดานประสิทธิภาพการทํางานของรางกาย คิดเปนรอยละ

1.569 และปจจัยดานการยอมรับนับถือ คิดเปนรอยละ 1.31824

เขมจิรา ฟองเสียง ศึกษาเรื่อง การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของครูโรงเรียน

ประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานนทบุรี พบวา ครูโรงเรียนประถมศึกษา ที่มีเพศ

ระดับการศึกษา และขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติตางกัน มีการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

ไมแตกตางกัน แตครูโรงเรียนประถมศึกษาที่มีอายุ ประสบการณในการรับราชการ และกลุมสาระการ

เรียนรูที่สอนตางกัน มีการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทาง

สถิติที่ระดับ .0525

จรูญ เทพสาร ไดศึกษาเรื่อง ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาใน

เขตพื้นที่การศึกษาลําปาง เขต 3 ผลการวิจัย พบวา ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหาร

การศึกษาโดยรวมอยูในระดับมากและเมื่อแยกตามกรอบงานการปฏิรูปการศึกษา พบวา การบริหาร

และจัดการศึกษามีคาเฉลี่ยในอันดับแรก โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ คณะกรรมการ

สถานศึกษามีสวนรวมในการจัดการศึกษา อันดับที่สอง คือการประกันคุณภาพ โดยขอที่มีประสิทธิผล

มากกวาขออื่น คือ การประชาสัมพันธใหครูและบุคลากรเกิดความตระหนักเห็นความสําคัญของการ

ประกันคุณภาพการศึกษา อันดับที่สาม คือ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยขอที่มี

ประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ การสนับสนุนและสงเสริมใหครูมีใบประกอบวิชาชีพ อันดับที่สี่ คือ

การปฏิรูปการเรียนรู โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ การสงเสริมสนับสนุนการจัดทําแฟม

พัฒนาผลงานของผูเรียน และอันดับสุดทาย คือการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน

โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ การสนับสนุนสงเสริมใหครูพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองและ

เหมาะสมกับผูเรียน26

24ฐิตินาฏยา เช้ือปรุง, “ปจจัยคุณภาพชีวิตของครูหลังการปฏิรูปการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 4” (วิทยานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2550), 85-98. 25เขมจิรา ฟองเสียง , “การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานนทบุรี เขต 1” (วิทยานิพนธ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2550), 95-107. 26จรูญ เทพสาร, “ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษาลําปาง เขต 3” (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 2549), 95-103.

Page 63: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

51

บัณดิษฐ ศรีเงิน ศึกษาเรื่อง การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษาพิเศษตาม

แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของผูบริหาร ครู ผูปกครองนักเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ใน

ภาคตะวันออก พบวาคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษาพิเศษ ตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาในทัศนะของผูบริหาร ครู และผูปกครองนักเรียน โรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก

จําแนกตามเพศ อายุ การศึกษา และความสัมพันธกับนักเรียน พบวา ผูบริหาร ครู ผูปกครองนักเรียน

มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษาพิเศษตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษา โดยรวมและรายดานแตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติ27

ชุติมา วงษเขียด ศึกษาเรื่อง การปฏิรูปการศึกษาตามแนวคิดของคณะกรรมการบริหาร

สํานักงานปฏิรูปการศึกษา: ขอเสนอ ขอขัดแยงและขอยุติ สรุปผลการวิจัยไดดังน้ี คือ คณะกรรมการ

บริหารสํานักงานปฏิรูปการศึกษาไดดําเนินงานตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542

ไดกําหนดไวทุกประการ โดยไดจัดทําขอเสนอตามบทบัญญัติในหมวด 5 เรื่อง การจัดโครงสราง

องคกร และการแบงสวนงาน หมวด 7 เรื่อง การจัดระบบครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา

และหมวด 8 เรื่อง การจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การรางกฎหมายและการ

ปรับปรุงแกไข กฎหมาย กฎ ระเบียบ ขอบังคับ และคําสั่งที่เกี่ยวของ ซึ่งในหมวด 5

ของพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการบริหารสํานักงานปฏิรูปการศึกษาได

เสนอใหมีการจัดโครงสรางองคกรภายในระบบราชการ 5 องคกร ไดแก สํานักงานปลัดกระทรวง

การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงาน

คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม แตกระทรวงศึกษาธิการไดเสนอใหยังคงมีกรมการศาสนา

และกรมศิลปากร ที่ข้ึนตรงตอสํานักงานปลัดกระทรวงและใหงานดานอาชีวศึกษาเปนองคกรหลักอีก

องคกรหน่ึง ซึ่งภายหลังไดขอยุติ คือ 1) แยกงานดานศาสนาและวัฒนธรรม ไปอยูในกระทรวง

วัฒนธรรม 2) จัดต้ังสํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติ และ 3) เพิ่มสํานักงานคณะกรรมการการ

อาชีวศึกษา และทําใหมีการแกไขพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ในปลายป พ.ศ.

2545 สําหรับหมวด 7ของพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการบริหาร

สํานักงานปฏิรูปการศึกษาไดเสนอใหเปลี่ยนหลักสูตรการผลิตครู ระดับปริญญาตรี จากเดิม 4 ป เปน

6 ป จัดต้ังสถาบันพัฒนาและสงเสริมครู คณาจารยและบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) สภาครูและ

บุคลากรทางการศึกษา กําหนดใหบุคลากรทางการศึกษาตองมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพโดยตอง

27บัณดิษฐ ศรีเงิน, “การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษาพิเศษตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของผูบริหาร ครู ผูปกครองนักเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออก” (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต . สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, 2549), 91-102.

Page 64: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

52

ผานการประเมิน และไดกําหนดใหมีองคกรกลางบริหารงานบุคคลของขาราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา เรียกวา คณะกรรมการขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) แตสถาบัน

ผลิตครู มหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ ไมเห็นดวยกับหลักสูตรการผลิตครู 6 ป และการ

ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไดขอยุติ คือ การผลิตครูเปนหลักสูตร 5 ป และใหใบอนุญาต

ประกอบวิชาชีพแกครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กําลังปฏิบัติงานอยูโดยไมตองประเมิน สวนหมวด

8 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการบริหารสํานักงานปฏิรูปการศึกษา

ไดเสนอใหมีการจัดเก็บภาษีทางออมเพ่ือการศึกษา ปรับเปลี่ยนระบบการจัดสรรงบประมาณใหม และ

ใหมีกองทุนกูยืมเพื่อการศึกษาแตเน่ืองจากนโยบายประชานิยม สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปน

นายกรัฐมนตรี (9 กุมภาพันธ พ.ศ. 2544-19 กันยายน พ.ศ. 2549) จึงทําใหรัฐบาล ไมสนใจผลักดัน

ขอเสนอตางๆและในสวนของกองทุน เงินใหกูยืมเพ่ือการศึกษา (กยศ.) มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม

นโยบายของรัฐบาลแตละสมัย จึงทําใหผูเรียนเกิดความสับสนในระเบียบปฏิบัติ28

ศุภัตรา โอดเทิง ไดศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม พบวา มีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและประเมินที่มีคุณภาพ ประเด็นที่ไมแนใจวามีการปฏิบัติหรือไมคือ การสงเสริมบทบาทและสรางความเขมแข็งของครอบครัวในการพัฒนาการเรียนรูของนักเรียน สวน ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม มีการพัฒนาครูใหสามารถจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ รวมทั้งมีระบบและมาตรการจูงใจใหพัฒนาตนเองอยางตอเน่ือง ประเด็นที่ไมแนใจวามีการปฏิบัติหรือไมคือ มีจํานวนครูเพียงพอตามเกณฑและมีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน และประเด็นที่ไมมี การปฏิบัติคือ ลดภาระงานอื่นที่ไมจําเปนของครูและจัดใหมีบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อใหครูไดทําหนาที่พัฒนาผูเรียน และพัฒนาตนเองอยางตอเน่ือง ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม พบวามีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและโครงสรางพื้นฐานใหเอื้อตอการศึกษาและเรียนรู ประเด็นที่ผูตอบแบบสอบถามไมแนใจวามีการปฏิบัติหรือไมคือ การสงเสริมการสรางสภาพแวดลอมของชุมชนทองถ่ินเพ่ือเอื้อตอการศึกษาและเรียนรู ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม พบวา มีการจัดการศึกษาและการเรียนรูรวมกับสถาบันศาสนาและสถาบันทางสังคม ประเด็นที่ผูตอบแบบสอบถามไมแนใจวามีการปฏิบัติหรือไมคือ การสนับสนุนใหเอกชนชุมชนเขมามีสวนรวมในการจัดและสนับสนุนการศึกษาใหมากข้ึน และการปรับปรุงการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณ โดยเนนอุปสงคหรือผูเรียนเปนสําคัญสวนปญหาในดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม คือ ไมมีคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียนวินัย จิตสาธารณะ ความซื่อตรง ความมีนํ้าใจ ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย และไมรูจักบทบาทภาระหนาที่ความรับผิดชอบตอตนเองและสังคม ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม คือครูมีภาระงานที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนมากเกินไป ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม คือขาดงบประมาณ ดานการกอสราง พัฒนาอาคารสถานที่ สื่อ อุปกรณแหลงเรียนรู 28ชุติมา วงษเขียด, “การปฏิรูปการศึกษาตามแนวคิดของคณะกรรมการบริหารสํานักงานปฏิรูปการศึกษา: ขอเสนอ ขอขัดแยงและขอยุติ” (วิทยานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2551), 65-78.

Page 65: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

53

สื่อ ICT และบุคลากร และดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม คือ บุคลากรขาดความพรอมในการท่ีจะพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม29 โศรดา อัมพิลาศรัย ศึกษาเรื่อง การบริหารการใชแหลงเรียนรูที่รองรับการปฏิรูปการศึกษาใน

ทศรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ผลการวิจัยพบวา ผูบริหารสถานศึกษาใหความสําคัญกับการบริหาร

การใชแหลงเรียนรูที่รองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) และมีนโยบายที่

ชัดเจนควบคูกับการนําหลักการบริหารจัดการคุณภาพวงจรเดมมิ่งมาใชในการบริหารแหลงเรียนรูทั้ง

ภายในและภายนอกสถานศึกษา แตควรเพิ่มกระบวนการปรับปรุงพัฒนาเพ่ือใหกระบวนการบริหารมี

คุณภาพย่ิงข้ึน30

งานวิจัยตางประเทศ

แมคคาที (McCathy) ไดศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบทบาทการบริหารงานวิชาการของผูบริหาร

โรงเรียนมัธยมในรัฐนิวเจอรซี่ จากการศึกษากลุมตัวอยางซึ่งเปนผูบริหาร ผูชวยผูบริหารฝายวิชาการ

หัวหนาหมวดวิชา และครู ผลการวิจัยพบวา กลุมครูมีความเห็นไมสอดคลองกับผูบริหาร และผูชวย

ฝายวิชาการเกี่ยวกับบทบาทในการปฏิบัติงานวิชาการ เรื่องการสังเกตการสอน การวัดผลประเมินผล

การจัดต้ังคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ความรับผิดชอบในการตัดสินของคณะกรรมการ

นอกจากน้ี กลุมตัวอยางทั้งหมดมีความเห็นตรงกันวา ผูบริหารโรงเรียนสมควรจะมีบทบาทความ

รับผิดชอบ และบริหารงานวิชาการใหมีประสิทธิภาพมากที่สุด31

รอสส (Ross) ไดศึกษาถึงความเขมแข็งและความออนแอของการพัฒนาหลักสูตร ดานการ

วางแผนหลักสูตร เรื่องเน้ือหาและการประเมินหลักสูตร พบวานักพัฒนาหลักสูตรตองการใหมี

29ศุภัตรา โอดเทิง, “การบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม” (คนควาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2554), 68-76. 30โศรดา อัมพิลาศรัย, “การบริหารการใชแหลงเรียนรูที่รองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10” (วิทยานิพนธ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555), 88-99.

31Robert McCathy, “Participation un planned development Influences by

Government of Developing Countries at Local Level in Ruual Areas”, Essay in rural

sociology, (In honour of R.A.J.van Lier) Wageningen : Department of Rural Sociology of

tropics. Wageningen Agricultured University. 1998

Page 66: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

54

ความสัมพันธอันดีกับทองถ่ิน เนนความสําคัญเรื่องกระบวนการเรียนรู การวางแผนพัฒนาหลักสูตร

เทคนิคการประเมินหลักสูตร32

ลีธวูธ, เกจเซล, สลีเกอร และแจนทซี (Leithwood, Geijsel, Sleegers and Jantzi) ได

ศึกษา เรื่อง ภาวะผูนําการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลตอความมุงมั่นและความพยายามของครุในการปฏิรูป

การศึกษา (Transformational Leadership Effects on Teachers Commitment and Effort

Toward School Reform) โดยเปรียบเทียบกลุมตัวอยางที่เปนครูชาวแคนาดาและชาวดัช ผล

การศึกษาพบวามิติภาวะผูนําการเปลี่ยนแปลงมีผลตอความมุงมั่น และความพยายามพิเศษของครูใน

การปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะอยางย่ิง การสรางวิสัยทัศน และการกระตุนการใชปญญา ขอคนพบใน

ภาพรวม คือ ภาวะผูนําการเปลี่ยนแปลงมีผลตอความมุงมั่นและความพยายามพิเศษของครูในบริบท

ของการปฏิรูปการศึกษา33

ดัทนาว(Datnow) ไดศึกษาเรื่อง ความย่ังยืนของรูปแบบการปฏิรูปสถานศึกษาในการ

เปลี่ยนแปลงบริบทของเขตพื้นที่และรัฐ (The Sustainability of Comprehensive school

Reform Models in Changing District and State Contexts) โดยศึกษาความย่ังยืนของรูปแบบ

การปฏิรูปสถานศึกษาในบริบทของเขตพ้ืนที่ของรัฐ เก็บรวบรวมขอมูลเชิงคุณภาพในลักษณะ

กรณีศึกษาระยะยาวเก่ียวกับการนํารูปแบบการปฏิรูปสถานศึกษา จํานวน 6 รูปแบบสูการปฏิบัติใน

สถานศึกษาเขตเมือง จํานวน 13 แหง ผลการศึกษาแสดงใหเห็นวาการเปลี่ยนแปลงบริบทของเขต

พื้นที่การศึกษาและรัฐมีผลตอความย่ังยืนของรูปแบบการปฏิรูปสถานศึกษาในสถานศึกษาแตกตางกัน

คือ ย่ังยืนในบางสถานศึกษาและนอยลงในบางสถานศึกษาข้ึนอยูกับยุทธศาสตรของแตละสถานศึกษา

ในการเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลง และสภาพในพ้ืนที่ของตนเอง ประสบการณดานการปฏิรูป และ

สมรรถนะ34

เรโนส (Reynold) ไดทําการวิจัยแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสูความเปนเลิศ โดยการ

วิเคราะหประสิทธิภาพของโรงเรียนนานาชาติในปจจุบัน เปรียบเทียบความเปนเลิศของโรงเรียนกับ

การพัฒนาการทางการศึกษาของโรงเรียนต้ังแตในอดีต คริสศตวรรษที่ 18 และไดขอสรุปถึงกรอบแนว

ทางการพัฒนาโรงเรียนสูความเปนเลิศ คือ การใหความสําคัญตอโรงเรียน ขอพึงระวังในการ

ขับเคลื่อนทิศทางของโรงเรียน การพัฒนาตามบริบทของมาตรบานนานาชาติ และการใหความสําคัญ

32Ross J. Glen ,Curriculum development in junior/Community Collage. TheWState-of-the-arf, as view by the Arcade Affair (online),accessed 7 may 2000.

33Kenneth Leithwood. et. al. “Transformational Leadership Effects on Teachers” Commitment and Effort Toward School Reform, Journal of Educational Administration 41,3. 2003.

34Ananda Datnow, “The Sustainability of Comprehensive school Reform Models in Changing District and State Contexts,”2004.

Page 67: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

55

ในการมีสวนรวม ระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วไปตามแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ

โลก สังคม และระบบการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอยางพลวัต35

คัสทูลาสาริ (Kustulasari) ไดศึกษาและทําวิจัยโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศ

อินโดนีเซีย โดยวิเคราะหนโยบายภาครัฐเพื่ช้ีใหเห็นโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จากผลการวิจัย

พบวา นโยบายยังไมมีความชัดเจน สงผลใหโรงเรียนยากตอการพัฒนาไปสูโรงเรียนมาตรฐานสากล

ได36

เฮนส(Heyns) ไดทําการศึกษา คนควา ระบบการบริหารเชิงคุณภาพท่ีสําคัญเพื่อช้ีใหเห็นถึง

ความเปนมา และความสําคัญของการนําระบบบริหารเชิงคุณภาพมาประยุกตใชกับโรงเรียน

มาตรฐานสากล และไดนําเสนอระบบการบริหารเชิงคุณภาพท่ีสําคัญเกี่ยวของกับการบริหารองคกร

เพ่ือความเปนเลิศ องคประกอบมาตรฐานความเปนเลิศไดแก 1)ภาวะผูนํา 2)แผนงาน 3)มุงเนนลูกคา

และการตลาด 4)ขอมูลขาวสารและการวิเคราะห 5)มุงเนนทรัพยากรมนุษย 6)กระบวนการบริหาร

จัดการ และ 7)ผลลัพธ37

สรุป

จากที่ไดศึกษาขอมูลโรงเรียนขนาดเล็ก และจํานวนนักเรียน ครู ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัด

ปราจีนบุรี สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 จํานวน 46 โรงเรียน จํานวน

นักเรียนไมเกิน 120 คน และการศึกษาความเปนมา ความหมาย ความสําคัญ และหลักการของการ

ปฏิรูปการศึกษา รวมถึงนโยบายตางๆเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง(พ.ศ.2552-2561)

การปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดําเนินงานในกระบวนการศึกษาทั้ง

ระบบ ไดแก ดานสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการ

บริหารจัดการ สถานศึกษามีบทบาทหนาที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนใหเปนบุคคลที่สมบูรณ

กลาคิด กลาทํา และกลาแสดงออก เปนบุคลากรที่ดีมีคุณภาพและสามารถอยูรวมกับบุคคลอื่นได

อยางมีความสุขตามจุดมุงหมายของหลักสูตรและพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ ซึ่งมีการปฏิรูป

การศึกษาและเรียนรูอยางเปนระบบ โดย 1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ที่มีนิสัยใฝเรียนรู

35Reynold D.Hopkins(ed.), The practice and Theaory of School Improvement, accessed June 8, 2011, available from http://www.springer.com/education+%26+ language/book 36Kustulasar. A, The International Standard School Project in Indonesia: a Policy Document Analysis. Ohio State University, Graduate School. Ohio: Ohio State University, 2009. 37Ronel Heyns. Quality Management Systems for Education and Traianing Providers,(South Africa, 2001),9.

Page 68: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

56

สามารถเรียนรูดวยตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ืองตลอดชีวิต 2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ที่

เปนผูเอื้ออํานวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรู เปนวิชาชีพที่มีคุณคา สามารถดึงดูดคนเกง คนดี มีใจรักใน

วิชาชีพครูมาเปนครู 3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม เพื่อพัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทใหสามารถเปนแหลงเรียนรูที่มีคุณภาพและพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆ

สําหรับการศึกษาและเรียนรูทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย 4)

พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม ที่มุงเนนการกระจายอํานาจสูสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา

และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งการมีสวนรวมของผูปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาค

สวน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

Page 69: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

57

บทท่ี 3

การดําเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงคเพื่อทราบ 1) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน

อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-

2561) และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.

2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ การวิจัยครั้งน้ีเปนการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive

research) ใชสถานศึกษาข้ันพื้นฐานขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จํานวน 40 โรง

เปนหนวยวิเคราะห (unit of analysis) ผูใหขอมูลโรงละ 2 คน ประกอบดวย ผูอํานวยการโรงเรียน

หรือรองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผูปฏิบัติ

หนาที่ และครู รวมทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใชเปนแบบสอบถามเ ก่ียวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก เพื่อใหการดําเนินการวิจัยเปนไปอยางมีระบบและบรรลุวัตถุประสงคของการ

วิจัย ผูวิจัยจึงกําหนดข้ันตอนการวิจัย ดังมีรายละเอียดดังตอไปน้ี

ขั้นตอนดําเนินการวิจัย

เพื่อการดําเนินการวิจัยใหบรรลุตามวัตถุประสงคของการวิจัยผูวิจัยจึงกําหนดรายละเอียด

เกี่ยวกับวิธีการศึกษาวิจัยเปน 3 ข้ันตอนดังน้ี

ขั้นตอนท่ี 1 การจัดเตรียมโครงการวิจัย นิยามปญหา ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวของจาก

เอกสารทางวิชาการ ตํารา ขอมูลและสารสนเทศ บทความ ตลอดจนรายงานงานวิจัยที่เกี่ยวของ เพื่อ

จัดทําและเสนอโครงการ นําเสนอโครงรางวิจัยตอภาคบริหารการศึกษาเพ่ือขอความเห็นชอบและ

อนุมัติโครงรางงานวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย

ขั้นตอนท่ี 2 การดําเนินการวิจัยสรางเครื่องมือตามขอบเขตของการวิจัย โดยไดรับความ

เห็นชอบจากอาจารยที่ปรึกษาและนําไปใหผูเ ช่ียวชาญตรวจสอบ แลวจึงนําไปทดลองใช (try out)

ปรับปรุงแกไขขอบกพรองของเครื่องมือแลวนําเครื่องมือที่สรางไปเก็บขอมูลจากกลุมตัวอยาง แลวมา

ตรวจสอบความถูกตอง ทําการวิเคราะหขอมูล จัดทํารายงานการวิจัย

ขั้นตอนท่ี 3 การรายงานผลการวิจัย รางรายงานผลการวิจัย นําเสนอคณะกรรมการผู

ควบคุมการคนควาอิสระ ตรวจสอบความถูกตอง ปรับปรุงแกไขขอบกพรองตามที่คณะกรรมการผู

ควบคุมการคนควาอิสระเสนอแนะ จัดพิมพและสงรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณเสนอตอบัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขออนุมัติจบการศึกษา

Page 70: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

58

ระเบียบวิธีวิจัย

เพื่อใหการวิจัยครั้งน้ีมีประสิทธิภาพและเปนไปตามวัตถุประสงคของการวิจัย ผูวิจัยได

กําหนดระเบียบวิธีวิจัยซึ่งประกอบดวย แผนแบบการวิจัย ประชากร กลุมตัวอยาง ผูใหขอมูล ตัวแปร

ที่ศึกษา เครื่องมือในการวิจัย การสรางและพัฒนาเครื่องมือ การเก็บรวบรวมขอมูล การวิเคราะห

ขอมูล และสถิติที่ใชในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียด ดังน้ี

แผนแบบการวิจัย

การวิจัยครั้งน้ีเปนการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ที่มีแบบแผนการวิจัยใน

ลักษณะของการใชกลุมตัวอยางเดียว ศึกษาสภาวการณ ไมมีการทดลอง (the one shot , non-

experimental case study) ซึ่งเขียนแผนผัง (diagram) ไดดังน้ี

R หมายถึง กลุมตัวอยางที่ไดมากจากการสุม

X หมายถึง ตัวแปรที่ศึกษา

O หมายถึง ขอมูลที่ไดจากการศึกษา

ประชากร

ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งน้ี ไดแก โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 จํานวน 46 โรง

กลุมตัวอยาง

ผูวิจัยกําหนดกลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งน้ี จากการเปดตารางการประมาณขนาดกลุม

ตัวอยางของเครจซี่และมอรแกน (Krejcie and Morgan) ไดโรงเรียนที่เปนตัวอยาง จํานวน 40 โรง

และเลือกกลุมตัวอยางดวยวิธีการสุมอยางงาย (Simple Random Sampling)

ผูใหขอมูล

ผูวิจัยกําหนดผูใหขอมูลโรงละ 2 คน ประกอบดวย 1) ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รอง

ผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ และ

2) ครู ทั้งสิ้น 80 คน

O

R X

Page 71: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

59

ตัวแปรท่ีศึกษา

ตัวแปรที่ใชในการศึกษาวิจัยครั้งน้ีประกอบดวย ตัวแปรพื้นฐาน และตัวแปรที่ศึกษา ดัง

รายละเอียดตอไปน้ี

1. ตัวแปรพ้ืนฐาน เปนตัวแปรที่เกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม ไดแก เพศ

อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตําแหนงหนาที่ ประสบการณในการทํางาน

2. ตัวแปรท่ีศึกษา เปนตัวแปรเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ประกอบดวย

2.1 การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม หมายถึง การดําเนินการพัฒนาคุณภาพ

นักเรียน ใหนิสัยใฝเรียนรูต้ังแตปฐมวัย สามารถเรียนรูดวยตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ือง

ตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห แกปญหา ริเริ่มสรางสรรค มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย

คํานึงถึงประโยชนสวนรวม ทํางานเปนกลุมได มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม คานิยม จิตสํานึกและ

ภูมิใจในความเปนไทย กาวทันโลก เปนกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรูพื้นฐานที่จําเปน

สมรรถนะ ความรู สามารถทํางานมีประสิทธิภาพ มีโอกาสเรียนรูอยางเทาเทียม เสมอภาค

2.2 การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม หมายถึง การดําเนินงานพัฒนา สงเสริม ปรับปรุง

คุณภาพครูใหเปนผูอํานวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรู เปนวิชาชีพที่มีคุณคา มีระบบ กระบวนการผลิต

และพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเปน

วิชาชีพช้ันสูง สามารถดึงดูดคนเกงและดี มีใจรักมาเปนครู มีปริมาณเพียงพอ และสามารถจัดการ

เรียนการสอนไดอยางมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ือง มีสภาวิชาชีพ

ที่เขมแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลใหมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2.3 การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม หมายถึง การสงเสริม

การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรู โดยการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาใหเปนแหลง

เรียนรูที่มีคุณภาพและพัฒนาแหลงเรียนรูอื่นๆในชุมชน เพื่อสงเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต อีกทั้งการ

พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสูมาตรฐานสากล โดยจัดใหสภาพแวดลอมภายนอกของโรงเรียนดี มีสังคม

บรรยากาศสิ่งแวดลอม เอื้ออํานวยตอการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีการคมนาคมสะดวก ปลอดจาก

แหลงอบายมุขปลอดจากมลภาวะ นักเรียนสามารถเดินทางมาโรงเรียนไดงายใชเวลาไมมากนัก ไมมี

แหลงอบายมุขบริเวณโรงเรียน ระดับ มลภาวะตํ่ากวาเกณฑมาตรฐานไมเปนอันตรายแกนักเรียน มี

ความสัมพันธอันดีกับชุมชนและทุกฝายที่เกี่ยวของ ชุมชนมีความเขมแข็งใหการสนับสนุนและรวมมือ

กับโรงเรียนเปนอยางดี มีแหลงเรียนรูในชุมชนอยางหลากหลาย มีแหลงเรียนรูแหลงวิทยากรรวมท้ัง

ภูมิปญญาทองถ่ินเอื้อตอการจัดการศึกษาของโรงเรียน

2.4 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม หมายถึง การปรับปรุง สงเสริมการ

พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม การมีสวนรวมของผูปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาค

Page 72: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

60

สวน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปรงใส เปนธรรมตรวจสอบได มีการนํา

ระบบและวิธีการบริหารจัดการแนวใหมมาใช ควบคูกับการสรางผูนําการเปลี่ยนแปลง มีการบริหาร

จัดการการเงินและงบประมาณที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ (Demand side) โดยใหผูเรียนเลือกรับบริการ

เครื่องมือท่ีใชในการวิจัย

เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งน้ี ใชแบบสอบถามเปนเครื่องมือสําหรับเก็บรวบรวมขอมูล แบง

ออกเปน 2 ตอน ดังน้ี

ตอนที่ 1 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม ประกอบดวย

เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตําแหนงหนาที่ และประสบการณในการทํางาน แบบสอบถามตอนน้ี

เปนแบบตัวเลือกที่กําหนดไวให

ตอนที่ 2 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการ

ปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ประกอบดวย การพัฒนาการพัฒนาคุณภาพคน

ไทยยุคใหม การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม มาสรางเปนแบบสอบถามในการวิจัยครั้งน้ี ลักษณะ

แบบสอบถามเปนแบบจัดลําดับคุณภาพ 5 ระดับตามเกณฑของลิเคอรท (Likert’s rating scale) ซึ่ง

มีความหมายดังน้ี

ระดับที่ 5 หมายถึง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับมากที่สุด มีคานํ้าหนักเทากับ 5 คะแนน

ระดับที่ 4 หมายถึง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับมาก มีคานํ้าหนักเทากับ 4 คะแนน

ระดับที่ 3 หมายถึง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับปานกลาง มีคานํ้าหนักเทากับ 3 คะแนน

ระดับที่ 2 หมายถึง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับนอย มีคานํ้าหนักเทากับ 2 คะแนน

ระดับที่ 1 หมายถึง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับนอยที่สุด มีคานํ้าหนักเทากับ 1 คะแนน

การสรางและพัฒนาเครื่องมือ

ผูวิจัยไดดําเนินการสรางเครื่องมือสําหรับการวิจัย เปนแบบสอบถามโดยมีข้ันตอนดังตอไปน้ี

ข้ันที่ 1 ศึกษาวรรณกรรม หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวของจากตํารา เอกสารและ

งานวิจัยที่เกี่ยวของ

Page 73: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

61

ข้ันที่ 2 นําขอมูลที่ไดจากการศึกษาคนความาประมวลกําหนดโครงสรางตามความเหมาะสม

เพ่ือกําหนดขอบเขตของเน้ือหาของแบบสอบถาม ดําเนินการสรางแบบสอบถามตามขอบเขตเน้ือหาที่

กําหนด

ข้ันที่ 3 นําแบบสอบถามที่สรางเสนอตอผูทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ทาน ( ดังรายช่ือใน

ภาคผนวก) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเน้ือหา (content validity) และภาษาที่ใชโดยเทคนิค IOC

(Index of Item Objective Congruence) ไดคา IOC อยูระหวาง 0.5 - 1

ข้ันที่ 4 นําแบบสอบถามที่ไดรับการปรับปรุงแกไขแลวไปทดลองใช (try out) กับสถานศึกษา

ที่ไมใชกลุมตัวอยาง จํานวน 15 โรง โดยผูใหขอมูลสถานศึกษาละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 30 ฉบับ ได

ข้ันที่ 5 นําแบบสอบถามที่ไดรับคืนมาคํานวณหาคาความเช่ือมั่น (reliability) โดยใช

สัมประสิทธ์ิแอลฟา (α - coefficent) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) α- Cronbach เทากับ

0.977

การเก็บรวบรวมขอมูล

การวิจัยครั้งน้ี ผู วิจัยไดดําเนินการเก็บรวบรมขอมูลจากตัวอยางตามข้ันตอนที่วางไว

ดังตอไปน้ี

1. ผูวิจัยทําหนังสือถึงคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อทําหนังสือขอ

ความอนุเคราะหไปยังผูอํานวยการสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 เพื่อ

ออกหนังสือแจงขอความรวมมือจากผูบริหารสถานศึกษาที่เปนกลุมตัวอยางชวยอนุเคราะหตอบ

แบบสอบถามในการวิจัยครั้งน้ี

2. ในการเก็บรวบรวมขอมูล ผู วิจัยดําเนินการเก็บขอมูลและติดตามรวบรวม

แบบสอบถามคืนจากสถานศึกษาตางๆดวยตนเอง

การวิเคราะหขอมูล

เมื่อไดรับขอมูลทั้งหมดคืนมา จึงพิจารณาตรวจสอบแบบสอบถามท้ังหมด เพื่อคัดเลือก

แบบสอบถามที่มีความสมบูรณครบถวนแลวรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณมาจัดระเบียบขอมูลลง

รหัส จากน้ันนําไปวิเคราะหขอมูลดวยโปรแกรมสําเร็จรูป และนําเสนอในรูปของตารางและความเรียง

โดยใชสถิติการวิจัย ดังน้ี

1. การวิเคราะหสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม ใชคาความถ่ี (frequency : f) และคา

รอยละ (percentage : %)

2. การวิเคราะหการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองในสถานศึกษาขนาดเล็ก ใชคามัธฌิมเลข

คณิต (arithmetic Mean : X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation : S.D.) ใชคา

มัชฌิมเลขคณิตไปเปรียบเทียบกับเกณฑตามแนวคิดของเบสท (Best) ซึ่งการวิเคราะหระดับของการ

Page 74: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

62

พัฒนาการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการ

ปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง มีรายละเอียดดังน้ี

คามัชฌิมเลขคณิต 4.50 – 5.00 แสดงวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับมากที่สุด

คามัชฌิมเลขคณิต 3.50 – 4.49 แสดงวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับมาก

คามัชฌิมเลขคณิต 2.50 – 3.49 แสดงวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับปานกลาง

คามัชฌิมเลขคณิต 1.50 – 2.49 แสดงวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับนอย

คามัชฌิมเลขคณิต 1.00 – 1.49 แสดงวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) อยูในระดับนอยที่สุด

3. การวิเคราะหผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ใชการ

ทดสอบคาที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบเมื่อมีตัวแปร 2 กลุม ไดแก เพศ และตําแหนงหนาที่ และ

วิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบเมื่อมีตัวแปรมากกวา 2

กลุมข้ึนไป ไดแก อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณในการทํางาน

สถิติท่ีใชในการวิจัย

เพื่อใหการวิเคราะหขอมูลตรงตามวัตถุประสงคของการวิจัยที่ศึกษาและขอคําถามที่ตองการ

ทราบในการวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยไดใชสถิติในการวิเคราะหขอมูลดังน้ี

1. การวิเคราะหขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช คือ

คาความถ่ี (frequency : f) และคารอยละ (percentage : %)

2. การวิเคราะหระดับการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองในสถานศึกษาขนาดเล็ก สถิติ

ที่ใช คือ คามัธฌิมเลขคณิต (arithmetic mean : X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard

deviation : S.D.)

3. การวิเคราะหผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของความคิดเห็นของผูใหขอมูล

เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองในสถานศึกษาขนาดเล็ก สถิติที่ใช คือ การทดสอบคาที (t-

test) และการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA)

Page 75: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

63

สรุป

การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงคเพื่อ1) เพื่อทราบการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน

อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-

2561) 2) เพื่อทราบผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาใน

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ การวิจัยครั้งน้ีเปนการวิจัยเชิงพรรณนา

(descriptive research) ใชโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

จํานวน 40 แหง เปนหนวยวิเคราะห (unit of analysis) ผูใหขอมูล โรงละ 2 คน ประกอบดวย

ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษา

ราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ และครู รวมทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใชเปนแบบสอบถามเกี่ยวกับ

การการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการ

ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล ไดแก คาความถ่ี

(frequency : f) คารอยละ (percentage : %) คามัธฌิมเลขคณิต (arithmetic mean : X ) สวน

เบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : S.D.) การทดสอบคาที (t-test) และการวิเคราะหความ

แปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA)

Page 76: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

57

บทท่ี 4

ผลการวิเคราะหขอมูล

การนําเสนอผลการวิเคราะหขอมูลการวิจัยเรื่อง “การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561)” เพื่อใหเปนไปตามวัตถุประสงคและตอบขอคําถามของการวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยนําขอมูลจากการ

ตอบแบบสอบถามของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ที่เปนกลุมตัวอยางจํานวน 40 โรงเรียน

ผูใหขอมูล โรงละ 2 คน ประกอบดวย ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือ

รักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ และครู รวมทั้งสิ้น 80 คน

ไดรับแบบสอบถามฉบับสมบูรณกลับคืนมา 34 โรง เทากับ 68 ฉบับ คิดเปนรอยละ 85 นํามา

วิเคราะหและเสนอผลการวิเคราะห โดยใชตารางประกอบคําบรรยาย จําแนกเปน 3 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาใน

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)

ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็กใน

อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561)

ตอนท่ี 1 ขอมูลเก่ียวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม

ขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถามซึ่งไดจากการตอบแบบสอบถาม ของ

ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษา

ราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ และครู ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 มีผูใหขอมูล

จํานวน 34 โรงเรียน รวม 68 คน แยกพิจารณาตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตําแหนงหนาที่

และประสบการณ ในการทํางาน ดังรายละเอียดในตารางที่ 2

64

Page 77: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

65

ตารางท่ี 2 รอยละของผูใหขอมูลจําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตําแหนงหนาท่ี และ

ประสบการณ ในการทํางาน

ขอท่ี สถานภาพ จํานวน(คน) รอยละ

1 เพศ 1. ชาย 2. หญิง

37 31

54.41 45.59

รวม 68 100.00 2 อายุ

1. ไมเกิน 30 ป 2. 31-40 ป 3. 41-50 ป 4. 51 ปข้ึนไป

5 12 18 33

7.35 17.65 26.47 48.53

รวม 68 100.00 3 ระดับการศึกษาสูงสุด

1. ปริญญาตรี 2. ปริญญาโท 3. ปริญญาเอก 4. อื่นๆ

31 37 0 0

45.59 54.41

0 0

รวม 68 100.00 4 ตําแหนงหนาที่

1. ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที ่

2. ครู

34

34

50.00

50.00

รวม 68 100.00 5 ประสบการณในการทํางาน

1. ไมเกิน 10 ป 2. 11-20 ป 3. 21-30 ป 4. 31 ปข้ึนไป

10 14 22 22

14.71 20.59 32.35 32.35

รวม 68 100.00

Page 78: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

66

จากตารางที่ 2 พบวาผูใหขอมูลเปนเพศชายมากกวาเพศหญิง คือ มีจํานวน 37 คน คิดเปน

รอยละ 54.41 เปนเพศหญิง จํานวน 31 คน คิดเปนรอยละ 45.59 ในจํานวนน้ีสวนใหญ มีอายุ 51 ป

ข้ึนไป จํานวน 33 คน คิดเปนรอยละ 48.53 รองลงมาคือ อายุระหวาง 41-50 ป จํานวน 18 คน คิด

เปนรอยละ 26.47 อายุระหวาง 31-40 ป จํานวน 12 คน คิดเปนรอยละ 17.65 และนอยที่สุดคืออายุ

ไมเกิน 30 ป จํานวน 5 คน คิดเปนรอยละ 7.35 ทั้งน้ีระดับการศึกษาระดับปริญญาโทมีมากที่สุด

จํานวน 37 คน คิดเปนรอยละ 54.41 รองลงมาคือ ระดับปริญญาตรี จํานวน 31 คน คิดเปนรอยละ

45.59 ระดับอื่นๆ ไมมี ตําแหนงหนาที่ พบวา ผูอํานวยการสถานศึกษา หรือรองผูอํานวยการ

สถานศึกษา หรือรักษาการแทนผูอํานวยการสถานศึกษาและครูผูมีจํานวนเทากัน คือ ผูอํานวยการ

สถานศึกษา หรือรองผูอํานวยการสถานศึกษา หรือรักษาการแทนผูอํานวยการสถานศึกษา จํานวน

34 คน คิดเปนรอยละ 50.00 และครูผูสอนจํานวน 34 คน คิดเปนรอยละ 50.00 ประสบการณการ

ทํางานใน พบวา ประสบการณ 31 ปข้ึนไป และ21-30 ป มีจํานวนมากที่สุดและมีจํานวนเทากัน คือ

จํานวน 22 คน คิดเปนรอยละ 32.35 รองลงมาประสบการณ 11-20 ป จํานวน 14 คน คิดเปนรอย

ละ 20.59 และนอยที่สุด คือ ประสบการณ ไมเกิน 10 ป จํานวน 10 คน คิดเปนรอยละ 14.71

ตอนท่ี 2 การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง

(พ.ศ.2552-2561)

ในการวิเคราะหการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาด

เล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรีสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี

เขต 2 ผูวิจัยวิเคราะหโดยใชคามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean : X ) และสวนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) จากผูใหขอมูล 34 โรงเรียน แลวนําไปเปรียบเทียบตาม

แนวคิดของเบสท (Best) ผลการวิเคราะหขอมูลดังรายละเอียดตารางที่ 3 ถึงตารางที่ 7

ตารางท่ี 3 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายดาน (n = 34)

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษท่ีสอง X S.D. ระดับ

พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม 4.01 0.503 มาก

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม 3.77 0.569 มาก

พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุค

ใหม

3.99 0.544 มาก

พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม 4.02 0.524 มาก

รวม 3.95 0.535 มาก

Page 79: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

67

จากตารางที่ 3 พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมอยู

ในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.95, S.D. = 0.535 ) แสดงวาผูให

ขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.503 – 0.569 แสดงวาผูให

ขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.77 – 4.02 โดยเรียงลําดับจากคา

มัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 4.02 , S.D. =

0.524 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 4.01 , S.D. = 0.503 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

และแหลงเรียนรูยุคใหม ( X = 3.99 , S.D. = 0.544 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.77 , S.D.

= 0.544 )

ตารางท่ี 4 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม (n = 34)

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม

X S.D. ระดับ

จัดระบบการศึกษาที่เปนมาตรฐานเทียบเคียง

ระดับชาติและนําผลมาปรับปรุงการเรียนการ

สอน

3.90

0.504

มาก

สงเสริมบทบาทและสรางความเขมแข็งของ

ครอบครัวในการพัฒนาการเรียนรูของผูเรียน

3.99

0.691

มาก

จัดการเตรียมความพรอมของผูเรียนตั้งแตระดับ

ปฐมวัย

4.25

0.526

มาก

จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน

กิจกรรมการวัดและประเมินผลท่ีมีคุณภาพ

4.13

0.631

มาก

สงเสริมและอนุรักษการใชภาษาไทยอยาง

ถูกตองควบคูกับการเรียนรูภาษาสากล

4.01

0.529

มาก

พัฒนาเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา รวมทั้ง

นวัตกรรมที่เหมาะสมทั้งในชั้นเรียนและนอกช้ัน

เรียน

3.96

0.700

มาก

พัฒนาการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ 3.84 0.636 มาก

รวม 4.01 0.503 มาก

Page 80: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

68

จากตารางที่ 4 พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ดานพัฒนา

คุณภาพคนไทยยุคใหม อยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X =4.01, S.D.

= 0.503 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณารายขอ พบวา การปฏิรูป

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม อยูในระดับมากทุกขอ สวน

เบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.504 – 0.700 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คา

มัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.84 – 4.25 ขอที่มีคามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ ขอที่ 3 จัดการเตรียม

ความพรอมของผูเรียนต้ังแตระดับปฐมวัย ( X = 4.25 , S.D. = 0.526 ) รองลงมา คือ ขอที่ 4 จัด

หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ ( X = 4.13 , S.D.

= 0.631 ) คามัชฌิมเลขคณิตตํ่าสุด คือ ขอที่ 7 พัฒนาการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ( X = 3.84

, S.D. = 0.636 )

ตารางท่ี 5 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม

(n = 34) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม

X S.D. ระดับ

จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได

มาตรฐานตามเกณฑอยางมีประสิทธิภาพ 4.10 0.574 มาก

มีการปรับปรุงเกณฑการประเมิน

สมรรถนะวิชาชีพคร ู4.07 0.592 มาก

พัฒนาครูใหสามารถจัดการเรียนการสอน

ที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ 4.26 0.618 มาก

ครูพัฒนาตนเองและแสวงหาความรูอยาง

ตอเน่ือง 4.10 0.672 มาก

ลดภาระงานของครูและจัดใหม ี

บุคลากรสายสนับสนุนเพื่อใหครูไดทํา

หนาที่พัฒนาผูเรียน

3.59 0.883 มาก

Page 81: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

69

ตารางท่ี 5 (ตอ)

(n = 34) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศกึษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม

X S.D. ระดับ

มีจํานวนครูเพียงพอตามเกณฑ 3.31 1.015 ปานกลาง

ครูผูสอนมีคุณวุฒิตรงตามวิชาที่สอน 2.96 0.940 ปานกลาง

รวม 3.77 0.569 มาก

จากตารางที่ 5 พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ดานพัฒนา

คุณภาพครูยุคใหมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.77, S.D. =

0.569 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณารายขอ พบวา การปฏิรูป

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม อยูในระดับมากขอที่ 1 ถึงขอที่ 5

สวน ขอ 6 มีจํานวนครูเพียงพอตามเกณฑ ( X =3.31, S.D. = 1.015) และ ขอ 7 ครูผูสอนมีคุณวุฒิ

ตรงตามวิชาที่สอน ( X =2.96, S.D. = 0.940) อยูในระดับปานกลาง สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการ

กระจายสูง แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นที่ไมสอดคลองกัน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเมื่อพิจารณา

รายขออยูระหวาง 0.574 – 1.015 คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 2.96 – 4.26 ขอที่มีคามัชฌิมเลข

คณิตมากที่สุด คือ ขอที่ 3 พัฒนาครูใหสามารถจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ ( X =

4.26 , S.D. = 0.618 ) รองลงมา คือ ขอที่ 1 จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพไดมาตรฐานตามเกณฑ

อยางมีประสิทธิภาพ ( X = 4.10 , S.D. = 0.574 ) และขอที่ 4 ครูพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู

อยางตอเน่ือง ( X = 4.10 , S.D. = 0.672 ) คามัชฌิมเลขคณิตตํ่าสุด คือ ขอที่ 7 ครูผูสอนมีคุณวุฒิ

ตรงตามวิชาที่สอน ( X = 2.96 , S.D. = 0.940 )

Page 82: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

70

ตารางท่ี 6 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหม

(n = 34) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม

X S.D. ระดับ

สงเสริมใหบุคลากรมีนิสัยรักการอานและ

สามารถผลิตสื่อที่มีคุณภาพ

3.96

.608

มาก

พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาใหเอื้อตอ

การศึกษาเรียนรู

4.13

.631

มาก

สงเสริมใหโรงเรียนมีหองสมุดที่มีชีวิต 3.99 .584 มาก

จัดสภาพแวดลอมของชุมชนใหเอื้อตอการ

เรียนรู

3.99

.668

มาก

สงเสริมและพัฒนาแหลงเรียนรูในชุมชน 3.91 .645 มาก

รวม 3.99 0.544 มาก

จากตารางที่ 6 พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ดานพัฒนา

คุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจาย

นอย ( X = 3.99, S.D. = 0.544 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณารายขอ

พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรู

ยุคใหม อยูในระดับมากทุกขอ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.584 – 0.668 แสดงวาผูใหขอมูล

มีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.91 – 4.13 ขอที่มีคามัชฌิมเลขคณิตมาก

ที่สุด คือ ขอที่ 2 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาใหเอื้อตอการศึกษาเรียนรู ( X = 4.13 , S.D. = 0.631 )

รองลงมา คือ ขอที่ 3 สงเสริมใหโรงเรียนมีหองสมุดที่มีชีวิต ( X = 3.99 , S.D. = 0.584 ) และขอที่ 4

จัดสภาพแวดลอมของชุมชนใหเอื้อตอการเรียนรู( X = 3.99 , S.D. = 0.668 ) คามัชฌิมเลขคณิต

ตํ่าสุด คือ ขอที่ 5 สงเสริมและพัฒนาแหลงเรียนรูในชุมชน ( X = 3.91 , S.D. = 0.645 )

Page 83: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

71

ตารางท่ี 7 คามัชฌิมเลขคณิต สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด

สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ดานพัฒนาคุณภาพการบริหาร

จัดการใหม

(n = 34) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

X S.D. ระดับ

สํานักงานเขตพ้ืนที่กระจายอํานาจสู

โรงเรียนอยางเปนระบบตามศักยภาพ

ความพรอม

3.81 0.508 มาก

โรงเรียนมีแผนการขับเคลื่อนการกระจาย

อํานาจแบบข้ันบันไดตามศักยภาพความ

พรอม

3.85 0.571 มาก

ผูบริหารเปนผูนําการเปลี่ยนแปลงและ

สามารถใชนวัตกรรมในการบริหารจัดการ

ไดอยางมีคุณภาพ

4.10 0.574 มาก

มีแผนพัฒนาภาวะผูนําของผูอํานวยการ

รองผูอํานวยการและหัวหนางานตางๆ 4.03 0.685 มาก

มีการบริหารจัดการงานบุคคลตามหลัก

ธรรมาภิบาลและสนับสนุนการพัฒนาครู

ใหเปนครูมืออาชีพ

4.12 0.686 มาก

เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งใน

การบริหารจัดการตาม

หลักธรรมาภิบาล รับผิดชอบ โปรงใสเปน

ธรรมและตรวจสอบได

4.22 0.593 มาก

พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรูอยาง

หลากหลายตอเน่ืองตลอดชีวิต 4.16 0.560 มาก

จัดการศึกษาระดับข้ันพื้นฐานสําหรับ

ผูเรียนอยางทั่วถึงและมีคุณภาพ 4.13 0.527 มาก

Page 84: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

72

ตารางท่ี 7 (ตอ)

(n = 34) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

X S.D. ระดับ

สงเสริมการจัดการศึกษาสําหรับ

ผูดอยโอกาส 4.10 0.574 มาก

จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เนนผูเรียน

เปนสําคัญ 4.29 0.653 มาก

สนับสนุนใหเอกชนเขามามีสวนรวมในการ

จัดและสนับสนุนการศึกษาใหมากข้ึน 3.94 0.705 มาก

พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา เพื่อเปน

ตนแบบที่ดีไดรับการยกยองและสามารถ

ขยายผล เพื่อใหการจัดการศึกษาและ

เรียนรูมีคุณภาพ

3.94

0.649 มาก

สงเสริมใหประชาชนมีสวนรวมในการ

กําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา

การศึกษา

3.96

0.732

มาก

สนับสนุนใหสถาบันครอบครัว และทุก

ภาคสวนรวมพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนา

คุณลักษณะที่พึงประสงคแกผูเรียน

4.01 0.597 มาก

สงเสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรู

โดยมีสวนรวมของทุกภาคสวน

4.07

0.664

มาก

ปรับระบบการวัดและประเมินผลของ

ผูเรียน

4.06

0.613

มาก

มีการพัฒนาเครือขายความรวมมือดาน

การศึกษากับองคกรปกครองสวนทองถ่ิน

3.88

0.675

มาก

Page 85: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

73

ตารางท่ี 7 (ตอ)

(n = 34) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

X S.D. ระดับ

ปรับปรุงการบริหารจัดการการเงินและ

งบประมาณ โดยเนนอุปสงคหรือผูเรียน

เปนสําคัญ (demand side)

3.96 0.632 มาก

มีการจัดสรรทุนเพื่อการศึกษา 3.90 0.625 มาก

สงเสริมการระดมทรัพยากรและการลงทุน

เพ่ือการศึกษา 3.96 0.722 มาก

พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการใช

ทรัพยากรเพื่อการศึกษา 3.97 0.602 มาก

รวม 4.02 0.524 มาก

จากตารางที่ 7 พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ดานพัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการใหมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X =

4.02, S.D. = 0.524 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณารายขอ พบวา การ

ปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม อยูในระดับมาก

ทุกขอ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.508 – 0.732 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็น

สอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.81 – 4.29 ขอที่มีคามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ ขอที่

10 จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ ( X = 4.29 , S.D. = 0.653 ) รองลงมา คือ

ขอที่ 6 เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล รับผิดชอบ

โปรงใสเปนธรรมและตรวจสอบได ( X = 4.22 , S.D. = 0.593 ) คามัชฌิมเลขคณิตตํ่าสุด คือ ขอที่ 1

สํานักงานเขตพ้ืนที่กระจายอํานาจสูโรงเรียนอยางเปนระบบตามศักยภาพความพรอม ( X = 3.81 ,

S.D. = 0.508 )

Page 86: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

74

ตอนที่ 3 ความคิดเห็นของผูใหขอมูล เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาด

เล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่

สอง (พ.ศ.2552-2561)

การวิเคราะหผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ผูวิจัยใช

การทดสอบคาที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบเมื่อมีตัวแปร 2 กลุม ไดแก เพศ และตําแหนงหนาที่ ใช

การวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA) ใชเพื่อเปรียบเทียบเมื่อมีตัวแปร

มากกวา 2 กลุมข้ึนไป ไดแก อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และประสบการณในการทํางาน ดัง

รายละเอียดตารางที่ 8 - 12

ตารางท่ี 8 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เก่ียวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จําแนกตามเพศ

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาด

เล็ก

เพศ

t sig ชาย หญิง X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ

พัฒนาคุณภาพคน

ไทยยุคใหม 3.98 0.597 มาก 4.05 0.527 มาก -.474 0.637

พัฒนาคุณภาพครูยุค

ใหม 3.72 0.633 มาก 3.83 0.591 มาก -.719 0.475

พัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหม

3.98 0.637 มาก 4.01 0.624 มาก -.225 0.823

พัฒนาคุณภาพการ

บริหารจัดการใหม 3.97 0.648 มาก 4.08 0.471 มาก -.796 0.429

รวม 3.91 0.575 มาก 3.99 0.513 มาก -.598 0.522

จากตารางที่ 8 พบวา ผูใหขอมูลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อจําแนกตาม

เพศ ภาพรวมและรายดานไมแตกตางกัน เพศชายมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวน

Page 87: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

75

เบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.91, S.D. = 0.575 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็น

สอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับ

มากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.597 – 0.648 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็น

สอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.72 – 3.98 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจาก

มากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 3.98 , S.D. = 0.648 )

พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 3.98 , S.D. = 0.597 ) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

( X = 3.97 , S.D. = 0.648 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.72 , S.D. = 0.637 ) และเพศหญิงมี

ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.99,

S.D. = 0.513 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การ

ปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง

0.471 – 0.624 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.83 –

4.08 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

ใหม( X = 4.08 , S.D. = 0.471 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 4.05 , S.D. = 0.527 )

พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 4.01 , S.D. = 0.624 ) พัฒนาคุณภาพครู

ยุคใหม ( X = 3.83 , S.D. = 0.591 )

ตารางท่ี 9 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เก่ียวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จําแนกตามอายุ

การปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษา ขนาดเล็ก

อาย ุF sig ไมเกิน 30 ป 31 - 40 ป 41 - 50 ป 51 ปขึ้นไป

X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ

พัฒนาคุณภาพ

คนไทยยุคใหม 4.49 0.412 มาก 4.00 0.452 มาก 3.98 0.641 มาก 3.96 0.562 มาก 1.321 0.275

พัฒนาคุณภาพ

ครูยุคใหม 4.06 0.458 มาก 3.73 0.489 มาก 3.71 0.734 มาก 3.78 0.611 มาก 0.443 0.723

พัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษา

และแหลง

เรียนรูยุคใหม

4.44 0.385 มาก 3.93 0.485 มาก 3.90 0.644 มาก 4.00 0.682 มาก 1.018 0.391

พัฒนาคุณภาพ

การบริหาร

จัดการใหม

4.49 0.257 มาก 4.08 0.410 มาก 3.91 0.628 มาก 3.99 0.607 มาก 1.401 0.251

รวม 4.37 0.236 มาก 3.93 0.430 มาก 3.88 0.598 มาก 3.93 0.575 มาก 1.109 0.352

Page 88: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

76

จากตารางที่ 9 พบวา ผูใหขอมูลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อจําแนกตาม

อายุ ภาพรวมไมแตกตางกัน เมื่อพิจารณารายดาน พบวา ดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหมไม

แตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลง

เรียนรูยุคใหมไมแตกตางกัน และดานพัฒนาการบริหารจัดการใหมไมแตกตางกัน ผูใหขอมูลที่มีอายุไม

เกิน 30 ป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X

= 4.37, S.D. = 0.236 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน

พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู

ระหวาง 0.257 – 0.458 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยู

ระหวาง 4.06 – 4.49 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพ

คนไทยยุคใหม ( X = 4.49 , S.D. = 0.412 ) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 4.49 ,

S.D. = 0.257 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 4.44 , S.D. = 0.385 )

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 4.06 , S.D. = 0.385 ) ผูใหขอมูลที่มีอายุ 31 – 40 ป มีความคิดเห็น

โดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.93, S.D. = 0.430 )

แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.410 – 0.489

แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.73 – 4.08 โดย

เรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X =

4.08 , S.D. = 0.410 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 4.00 , S.D. = 0.452 ) พัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 3.93 , S.D. = 0.485 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X =

3.73 , S.D. = 0.489 ) ผูใหขอมูลที่มีอายุ 41 – 50 ป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก

สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.88, S.D. = 0.598 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความ

คิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยู

ในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.628 – 0.734 แสดงวาผูใหขอมูลมีความ

คิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.71 – 3.98 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลข

คณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 3.98 , S.D. = 0.641 ) พัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 3.91 , S.D. = 0.628 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลง

เรียนรูยุคใหม( X = 3.90 , S.D. = 0.644 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.71 , S.D. = 0.734 )

และผูใหขอมูลที่มีอายุ 51 ปข้ึนไป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบน

Page 89: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

77

มาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.93, S.D. = 0.575 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลอง

กัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุก

ดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.562 – 0.682 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลอง

กัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.78 – 4.00 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหา

นอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 4.00 , S.D. = 0.682 ) พัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 3.99 , S.D. = 0.607 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X =

3.96 , S.D. = 0.562 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.78 , S.D. = 0.611 )

ตารางท่ี 10 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เก่ียวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จําแนกตามระดับการศึกษา

สูงสุด

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก

ระดับการศึกษาสูงสุด

t sig ปริญญาตรี ปริญญาโท

X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ

พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม 3.92 0.650 มาก 4.09 0.473 มาก -1.258 0.213

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม 3.67 0.651 มาก 3.85 0.574 มาก -1.215 0.229

พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหม 3.83 0.669 มาก 4.14 0.560 มาก -2.077 0.042*

พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

ใหม 3.91 0.675 มาก 4.12 0.458 มาก -1.505 0.137

รวม 3.83 0.627 มาก 4.05 0.451 มาก -1.659 0.102

*นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากตารางที่ 10 พบวา ผูใหขอมูลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อจําแนกตาม

ระดับการศึกษาสูงสุด ภาพรวมไมแตกตางกัน เมื่อพิจารณารายดาน พบวา ดานพัฒนาคุณภาพคน

ไทยยุคใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระดับ

ปริญญาโทมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสูงกวาระดับ

ปริญญาตรี และดานพัฒนาการบริหารจัดการใหมไมแตกตางกัน ผูใหขอมูลที่มีระดับการศึกษา

ปริญญาตรีมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย

Page 90: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

78

( X = 3.81, S.D. = 0.627 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามราย

ดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

อยูระหวาง 0.650 – 0.675 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยู

ระหวาง 3.67 – 3.92 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพ

คนไทยยุคใหม ( X = 3.92 , S.D. = 0.650 ) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 3.91 ,

S.D. = 0.675 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 3.83 , S.D. = 0.669 )

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.67 , S.D. = 0.651 ) และผูใหขอมูลที่มีระดับการศึกษาปริญญาโท

มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 4.05,

S.D. = 0.451 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การ

ปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง

0.458 – 0.574 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.85 –

4.14 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหม( X = 4.14 , S.D. = 0.560 ) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 4.12 ,

S.D. = 0.458 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 4.09 , S.D. = 0.473 ) พัฒนาคุณภาพครูยุค

ใหม ( X = 3.85 , S.D. = 0.574 )

ตารางท่ี 11 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เก่ียวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จําแนกตามตําแหนงหนาท่ี

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก

ตําแหนงหนาที ่

t sig

ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผู

ปฏิบัติหนาที ่

ครู

X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ

พัฒนาคุณภาพคนไทยยุค

ใหม 3.97 0.481 มาก 4.05 0.639 มาก -0.643 0.522

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม 3.79 0.597 มาก 3.75 0.635 มาก 0.253 0.801

พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

และแหลงเรียนรูยุคใหม 3.99 0.510 มาก 3.99 0.733 มาก 0.000 1.000

พัฒนาคุณภาพการบริหาร

จัดการใหม 4.01 0.542 มาก 4.04 0.609 มาก -0.200 0.842

รวม 3.94 0.469 มาก 3.96 0.619 มาก -0.147 0.883

Page 91: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

79

จากตารางที่ 11 พบวา ผูใหขอมูลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อจําแนกตาม

ตําแหนงหนาที่ ภาพรวมไมแตกตางกัน เมื่อพิจารณารายดาน พบวา ดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุค

ใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหมไมแตกตางกัน และดานพัฒนาการบริหารจัดการใหมไมแตกตางกัน ผูอํานวยการ

โรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือ

ผูปฏิบัติหนาที่มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย

( X = 3.94, S.D. = 0.469 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามราย

ดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

อยูระหวาง 0.481 – 0.597 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยู

ระหวาง 3.79 – 4.01 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพ

การบริหารจัดการใหม( X = 4.01 , S.D. = 0.542 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุค

ใหม( X = 3.99 , S.D. = 0.510 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 3.97 , S.D. = 0.481 )

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.79 , S.D. = 0.597 ) และครูมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับ

มาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.96, S.D. = 0.619 ) แสดงวาผูใหขอมูลมี

ความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาด

เล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.609 – 0.733 แสดงวาผูใหขอมูลมี

ความคิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.75 – 4.05 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิม

เลขคณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 4.05 , S.D. = 0.639) พัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 4.04 , S.D. = 0.609 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลง

เรียนรูยุคใหม( X = 3.99 , S.D. = 0.733 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.75 , S.D. = 0.635 )

Page 92: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

80

ตารางท่ี 12 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล เก่ียวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จําแนกตามประสบการณในการ

ทํางาน

การปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก

ประสบการณในการทํางาน

F sig ไมเกิน 10 ป 11 - 20 ป 21 - 30 ป 31 ปขึ้นไป

X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ X S.D. ระดับ

พัฒนาคุณภาพ

คนไทยยุคใหม 4.13 0.727 มาก 4.02 0.392 มาก 3.92 0.586 มาก 4.04 0.575 มาก 0.337 0.798

พัฒนาคุณภาพ

ครูยุคใหม 3.84 0.581 มาก 3.49 0.603

ปาน

กลาง 3.81 0.550 มาก 3.88 0.674 มาก 1.318 0.276

พัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษา

และแหลง

เรียนรูยุคใหม

4.04 0.679 มาก 3.93 0.455 มาก 3.93 0.622 มาก 4.08 0.724 มาก 0.286 0.835

พัฒนาคุณภาพ

การบริหาร

จัดการใหม

4.06 0.591 มาก 4.02 0.457 มาก 3.95 0.562 มาก 4.08 0.664 มาก 0.201 0.895

รวม 4.02 0.598 มาก 3.87 0.422 มาก 3.90 0.525 มาก 4.02 0.627 มาก 0.337 0.799

จากตารางที่ 12 พบวา ผูใหขอมูลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อจําแนกตาม

ประสบการณในการทํางาน ภาพรวมไมแตกตางกัน เมื่อพิจารณารายดาน พบวา ดานพัฒนาคุณภาพ

คนไทยยุคใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหมไมแตกตางกัน ดานพัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหมไมแตกตางกัน และดานพัฒนาการบริหารจัดการใหมไมแตกตาง

กัน ผูใหขอมูลที่มีประสบการณในการทํางานไมเกิน 10 ป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก

สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 4.02, S.D. = 0.598 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความ

คิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยู

ในระดับมากทุกดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.581 – 0.727 แสดงวาผูใหขอมูลมีความ

คิดเห็นสอดคลองกัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.84 – 4.13 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลข

คณิตจากมากไปหานอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 4.13 , S.D. = 0.727 ) พัฒนา

พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม ( X = 4.06 , S.D. = 0.591 ) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหม( X = 4.04 , S.D. = 0.679 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.84 , S.D. =

0.581 ) ผูใหขอมูลที่มีประสบการณในการทํางาน 11 – 20 ป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูใน

ระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 3.87, S.D. = 0.422 ) แสดงวาผูใหขอมูล

Page 93: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

81

มีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาด

เล็กอยูในระดับมากทุกดาน ยกเวนดานการพัฒนาคุณภาพครูยุคใหมอยูในระดับปานกลาง สวน

เบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.392 – 0.603 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คา

มัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.49 – 4.02 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย

ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 4.02 , S.D. = 0.457 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุค

ใหม ( X = 4.02 , S.D. = 0.392) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม( X = 3.93 ,

S.D. = 0.455 ) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.49 , S.D. = 0.603 ) ผูใหขอมูลที่มีประสบการณ

ในการทํางาน 21 – 30 ป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการ

กระจายนอย ( X = 3.90, S.D. = 0.525 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน เมื่อ

พิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุกดาน สวน

เบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.550 – 0.622 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลองกัน คา

มัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.81 – 3.95 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหานอย

ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม( X = 3.95 , S.D. = 0.562) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

และแหลงเรียนรูยุคใหม ( X = 3.93 , S.D. = 0.622 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X = 3.92 ,

S.D. = 0.586) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.81 , S.D. = 0.550 ) และผูใหขอมูลที่มี

ประสบการณในการทํางาน 31 ปข้ึนไป มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก สวนเบี่ยงเบน

มาตรฐานมีการกระจายนอย ( X = 4.02, S.D. = 0.627 ) แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลอง

กัน เมื่อพิจารณาตามรายดาน พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กอยูในระดับมากทุก

ดาน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยูระหวาง 0.575 – 0.724 แสดงวาผูใหขอมูลมีความคิดเห็นสอดคลอง

กัน คามัชฌิมเลขคณิตอยูระหวาง 3.88 – 4.08 โดยเรียงลําดับจากคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหา

นอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม ( X = 4.08 , S.D. = 0.724 ) พัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการใหม ( X = 4.08 , S.D. = 0.664 ) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ( X =

4.04 , S.D. = 0.575) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ( X = 3.88 , S.D. = 0.674 )

Page 94: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

82

บทท่ี 5

สรุป อภิปรายผล และขอเสนอแนะ

การวิจัยครั้งน้ีเปนการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงคเพื่อทราบ

1) การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูใหขอมูล

เกี่ยวกับปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการ

ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ กลุมตัวอยางที่ใชใน

การวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จํานวน 40 โรงเรียน ผูใหขอมูลโรงเรียนละ 2 คน

ประกอบดวย ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษา

ราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ และครู รวมทั้งสิ้น 80 คน ไดรับแบบสอบถามฉบับสมบูรณสามารถ

วิเคราะหขอมูลได 68 ฉบับ จาก 34 โรงเรียน คิดเปนรอยละ 85 เครื่องมือที่ใชเปนแบบสอบถาม

เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง

(พ.ศ.2552-2561) สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล ไดแก คาความถ่ี

(Frequency) รอยละ (Percentage) คามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คาสวนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน (S.D.) การทดสอบคาที (t-test) และการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (one – way

ANOVA)

สรุปผลการวิจัย

จากการวิเคราะหขอมูล สรุปผลการวิจัยไดดังน้ี

1. การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) โดยภาพรวมและรายดานอยูในระดับ

มาก โดยเรียงคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปนอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม พัฒนา

คุณภาพคนไทยยุคใหม พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม พัฒนาคุณภาพครูยุค

ใหม เมื่อพิจารณาเปนรายขอในแตละดาน พบวา

1.1 ดานพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม อยูในระดับมากทุกขอ ขอที่มีคามัชฌิมเลข

คณิตมากที่สุด คือ ขอที่ 3 จัดการเตรียมความพรอมของผูเรียนต้ังแตระดับปฐมวัย รองลงมา คือ ขอ

Page 95: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

83

ที่ 4 จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ คามัชฌิม

เลขคณิตตํ่าสุด คือ ขอที่ 7 พัฒนาการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ

1.2 ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม อยูในระดับมากเกือบทุกขอ ยกเวน ขอ 6 มี

จํานวนครูเพียงพอตามเกณฑ และ ขอ 7 ครูผูสอนมีคุณวุฒิตรงตามวิชาที่สอน อยูในระดับปานกลาง

ขอที่มีคามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ ขอที่ 3 พัฒนาครูใหสามารถจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียน

เปนสําคัญ รองลงมา คือ ขอที่ 1 จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพไดมาตรฐานตามเกณฑอยางมี

ประสิทธิภาพ และขอที่ 4 ครูพัฒนาตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ือง คามัชฌิมเลขคณิตตํ่าสุด

คือ ขอที่ 7 ครูผูสอนมีคุณวุฒิตรงตามวิชาที่สอน

1.3 ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม อยูในระดับมากทุกขอ

ขอที่มีคามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ ขอที่ 2 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาใหเอื้อตอการศึกษาเรียนรู

รองลงมา คือ ขอที่ 3 สงเสริมใหโรงเรียนมีหองสมุดที่มีชีวิต และขอที่ 4 จัดสภาพแวดลอมของชุมชน

ใหเอื้อตอการเรียนรู คามัชฌิมเลขคณิตตํ่าสุด คือ ขอที่ 5 สงเสริมและพัฒนาแหลงเรียนรูในชุมชน

1.4 ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหมอยูในระดับมากทุกขอ ขอที่มีคา

มัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ ขอที่ 10 จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ รองลงมา

คือ ขอที่ 6 เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

รับผิดชอบ โปรงใสเปนธรรมและตรวจสอบได คามัชฌิมเลขคณิตตํ่าสุด คือ ขอที่ 1 สํานักงานเขต

พื้นที่กระจายอํานาจสูโรงเรียนอยางเปนระบบตามศักยภาพความพรอม

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ของ

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษา

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ พบวา เมื่อจําแนกตามเพศ อายุ

ตําแหนงหนาที่ และประสบการณในการทํางานไมแตกตางกัน เมื่อจําแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด

พบวา ความคิดเห็นของผูบริหารและครูที่มีระดับการศึกษาแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่

ระดับ .05 ดานการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม

การอภิปรายผล

จากผลการวิเคราะหขอมูลการวิจัย เรื่องการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ของ

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษา

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) มีประเด็นสําคัญที่ควรนํามาพิจารณา เพื่อใหทราบสภาพที่แทจริง

ที่เปนไปได และสามารถนําไปใชใหเกิดประโยชน จึงอภิปรายผลการวิจัย ไดดังน้ี

1. จากผลการวิจัย พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) โดยภาพรวมและ

รายดานอยูในระดับมาก โดยเรียงคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปนอย ดังน้ี พัฒนาคุณภาพการบริหาร

Page 96: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

84

จัดการใหม พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม

พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ซึ่งไมสอดคลองกับสมมติฐานที่ต้ังไว ทั้งน้ีเน่ืองจากโรงเรียนมีการจัดการ

เตรียมความพรอมของผูเรียนต้ังแตระดับปฐมวัย จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรม

การวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ สงเสริมและอนุรักษการใชภาษาไทยอยางถูกตองควบคูกับการ

เรียนรูภาษาสากล อีกทั้งมีการพัฒนาครูใหสามารถจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ ครู

พัฒนาตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ือง และจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพไดมาตรฐานตาม

เกณฑอยางมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาใหเอื้อตอการศึกษาเรียนรู เสริมสราง

ศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหารจัดการตาม สํานักงานเขตพ้ืนที่กระจายอํานาจสูโรงเรียน

อยางเปนระบบตามศักยภาพความพรอม โดยผูบริหารเปนผูนําการเปลี่ยนแปลงและสามารถใช

นวัตกรรมในการบริหารจัดการไดอยางมีคุณภาพ เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหาร

จัดการตามหลักธรรมาภิบาล รับผิดชอบ โปรงใสเปนธรรมและตรวจสอบได สงผลใหการปฏิรูป

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ใน

อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2

โดยภาพรวมและรายดานอยูในระดับมาก ซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของสมศักด์ิ เตชะเทพ ไดศึกษา

เรื่อง ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาตามการรับรูของประธานกรรมการ

สถานศึกษา ผูอํานวยการสถานศึกษา และครูผูสอนในสถานศึกษาข้ันพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่

การศึกษาลําปางเขต 1 ผลการวิจัย พบวา ผูบริหารสถานศึกษามีประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษา

อยูในระดับมาก ตามการรับรูของประธานกรรมการสถานศึกษา ผูอํานวยการสถานศึกษาและ

ครูผูสอน และเมื่อเรียงลําดับตามกรอบของการปฏิรูปการศึกษา พบวา อันดับแรก คือ งานพัฒนา

ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆ คือการสนับสนุนและสงเสริมให

ครูมีใบประกอบวิชาชีพ อันดับที่สองคืองานการบริหารและจัดการศึกษา ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขอ

อื่นๆคือการสงเสริมใหครูมีสวนรวมในการจัดทําแผนงานที่เกี่ยวของกับวิสัยทัศนของสถานศึกษา

อันดับที่สาม คือ งานประกันคุณภาพ ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆ คือ การประชาสัมพันธใหครู

และบุคลากรเกิดความตระหนักเห็นความสําคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา อันดับที่สี่ คือ งาน

ปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆคือ การสนับสนุน

สงเสริมใหครูนํากิจกรรมประชาธิปไตยไปใชในการจัดการเรียนการสอน และอันดับสุดทาย คือ งาน

ปฏิรูปการเรียนรู ซึ่งขอที่มีคาเฉลี่ยมากกวาขออื่นๆคือ การสงเสริมสนับสนุนการจัดประสบการณการ

เรียนรู โดยยึดผูเรียนเปนสําคัญ นอกจากน้ียังสอดคลองกับงานวิจัยของจรูญ เทพสาร ซึ่งไดศึกษาเรื่อง

ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาลําปาง เขต 3

ผลการวิจัย พบวา ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารการศึกษาโดยรวมอยูในระดับมาก

และเมื่อแยกตามกรอบงานการปฏิรูปการศึกษา พบวา การบริหารและจัดการศึกษามีคาเฉลี่ยใน

Page 97: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

85

อันดับแรก โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ คณะกรรมการสถานศึกษามีสวนรวมในการจัด

การศึกษา อันดับที่สอง คือการประกันคุณภาพ โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ การ

ประชาสัมพันธใหครูและบุคลากรเกิดความตระหนักเห็นความสําคัญของการประกันคุณภาพ

การศึกษา อันดับที่สาม คือ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวา

ขออื่น คือ การสนับสนุนและสงเสริมใหครูมีใบประกอบวิชาชีพ อันดับที่สี่ คือ การปฏิรูปการเรียนรู

โดยขอที่มีประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ การสงเสริมสนับสนุนการจัดทําแฟมพัฒนาผลงานของ

ผูเรียน และอันดับสุดทาย คือการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยขอที่มี

ประสิทธิผลมากกวาขออื่น คือ การสนับสนุนสงเสริมใหครูพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองและเหมาะสม

กับผูเรียน

2. จากผลการวิจัย พบวา ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) เมื่อจําแนกตามเพศ อายุ ตําแหนง

หนาที่ และประสบการณในการทํางานไมแตกตางกัน ซึ่งไมสอดคลองกับสมมติฐานที่ผูวิจัยต้ังไว ทั้งน้ี

เน่ืองจากโรงเรียนไดจัดระบบการศึกษาที่เปนมาตรฐานเทียบเคียงระดับชาติและนําผลมาปรับปรุงการ

เรียนการสอน โรงเรียนมีแผนการขับเคลื่อนการกระจายอํานาจแบบข้ันบันไดตามศักยภาพความ

พรอม พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรูอยางหลากหลายตอเน่ืองตลอดชีวิต จัดหลักสูตรการเรียน

การสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ สงเสริมการจัดการศึกษาสําหรับผูดอยโอกาส พัฒนาการบริหารจัด

การศึกษา เพื่อเปนตนแบบที่ดีไดรับการยกยองและสามารถขยายผล เพื่อใหการจัดการศึกษาและ

เรียนรูมีคุณภาพ และสงเสริมใหประชาชนมีสวนรวมในการกําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา

การศึกษา ซึ่งสอดคลองกันกับ บัณดิษฐ ศรีเงิน ศึกษาเรื่อง การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงคของครู

การศึกษาพิเศษตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของผูบริหาร ครู ผูปกครองนักเรียน

โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออก พบวาคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษาพิเศษ

ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของผูบริหาร ครู และผูปกครองนักเรียน โรงเรียนการศึกษา

พิเศษในภาคตะวันออก จําแนกตามเพศ อายุ การศึกษา และความสัมพันธกับนักเรียน พบวา

ผูบริหาร ครู ผูปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษา

พิเศษตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยรวมและรายดานแตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติ

กัน นอกจากน้ียังสอดคลองกันกับ เขมจิรา ฟองเสียง ซึ่งศึกษาเรื่อง การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานนทบุรี พบวา ครูโรงเรียน

ประถมศึกษา ที่มีเพศ และขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติตางกัน มีการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาไมแตกตางกัน และยังสอดคลองกับ ศศินวภา การะหงส ไดศึกษาปญหาของการบริหารจัด

การศึกษาตามแนวการปฏิรูปการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในอําเภอ

Page 98: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

86

คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบวา บุคลากรที่มีตําแหนงตางกันมีสภาพปญหาการบริหารจัดการตาม

แนวทางปฏิรูปการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษา ในอําเภอคลองหลวง

จังหวัดปทุมธานีตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจําแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด

พบวา ดานการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม มีความแตกตางกันอยางมี

นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคลองกับศศินวภา การะหงส ไดศึกษาปญหาของการบริหารจัด

การศึกษาตามแนวการปฏิรูปการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในอําเภอ

คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบวา บุคลากรที่มีวุฒิทางการศึกษา ประสบการณในการทํางาน และ

อยูในโรงเรียนตางขนาดกันมีสภาพปญหาการบริหารจัดการตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรูที่เนนผูเรียน

เปนสําคัญของโรงเรียนประถมศึกษา ในอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีตางกันอยางมีนัยสําคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .05 ขอเสนอแนะ

จากการศึกษาเรื่อง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษา

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่

การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ผูวิจัยมีขอเสนอแนะเพ่ือเปนแนวทางในการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็กใหมีประสิทธิภาพย่ิงข้ึนและเปนแนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งตอไป ดังน้ี

ขอเสนอแนะของการวิจัย

เพื่อเปนแนวทางในการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใหมีประสิทธิภาพย่ิงข้ึน ผูวิจัยมี

ขอเสนอแนะ ดังน้ี

1.จากผลการวิจัย พบวา การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) โดยภาพรวมและ

รายดานอยูในระดับมาก และ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) เมื่อจําแนกตามสถานภาพ พบวา เมื่อ

จําแนกตามเพศ อายุ ตําแหนงหนาที่ และประสบการณในการทํางานไมแตกตางกัน ทางโรงเรียนควร

จัดใหมีการพัฒนาในดานคุณภาพของสถานศึกษา ครู และการบริหารจัดการที่เปนมาตรฐาน

ดังตอไปน้ี

ดานการพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม ควรจัดใหมีการพัฒนาระบบเตรียมความ

พรอม และการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ให ผู เรียนรูจักตนเองและสาขาอาชีพตางๆ ต้ังแต

ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน เพ่ือเลือกเรียนตามความสนใจ ความถนัดและความตองการ

Page 99: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

87

ดานพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ควรพิจารณาจากภาระงานของครูเพื่อให ครูได ทํา

หนาที่พัฒนาผูเรียนอยางเต็มที่และมีโอกาสพัฒนาตนเองอยางตอเน่ือง ซึ่งจะทําใหจํานวนครูเพียงพอ

ตอการจัดการเรียนการสอน และจัดครูผูสอนใหมีคุณวุฒิตรงตามที่สอน

ดานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาควรจัดใหมี

กลไกขับเคลื่อนการกระจายอํานาจสู เขตพื้นที่และสถานศึกษาอยางเปนระบบตามศักยภาพความ

พรอม กระจายอํานาจตามศักยภาพความพรอม โดยมีแผนการขับเคลื่อนการกระจายอํานาจแบบข้ัน

บันไดตามศักยภาพความพรอม รวมทั้งมีแผนสงเสริมเขตพื้นที่และสถานศึกษา ให มีความเขมแข็ง

และความพรอม โดยมีเกณฑการประเมินเพ่ือจัดกลุมตามศักยภาพความพรอม มีการพัฒนาเครือขาย

ความรวมมือดานการศึกษาขององคการปกครองสวนทองถ่ิน ทั้งกับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา สถาบัน/หนวยงานอื่นในพ้ืนที่ รวมทั้งสนับสนุนองคการปกครองสวนทองถ่ิน สราง

ภาคีเครือขายดวยกันเอง และมีการจัดสรรทุนเพ่ือการศึกษา

2.เมื่อจําแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด พบวา ความคิดเห็นของผูบริหารและครูที่มีระดับ

การศึกษาแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดานการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ

แหลงเรียนรูยุคใหม ทางโรงเรียนควรจัดใหมีการพัฒนาในดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลง

เรียนรูยุคใหม ดังน้ี

ดานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรูยุคใหม โรงเรียนควรสงเสริมการ

สรางสภาพแวดลอมของชุมชนทองถ่ินสังคมเพ่ือเอื้อตอการศึกษาและเรียนรู ระดมทรัพยากรบุคคล

ภูมิปญญาทองถ่ิน ปราชญ ชาวบาน และผู ทรงคุณวุฒิในชุมชน/ทองถ่ิน เปนแหลงเรียนรูและ

พัฒนาการเรียนรูในชุมชน ทองถ่ิน และรณรงคใหคนไทยมีนิสัยรักการอานเปนวาระแหงชาติ และ

สงเสริมใหมีการผลิตสื่อที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสม

ขอเสนอแนะเพ่ือการวิจัยคร้ังตอไป

1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาตามขนาดของสถานศึกษาตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561)

2. ควรมีการศึกษาในเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตาม

หลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 เพื่อใหไดขอมูลเชิงลึกมากกวาเดิม

Page 100: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

88

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ . แผนปฏิบัติราชการ ประจําปงบประมาณ พ .ศ.2556. กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิการ, 2556.

. พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะหสาระสําคัญ.

กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2542.

เกรียงศักด์ิ เจริญวงศศักด์ิ. ปนสมองของชาติ : ยุทธศาสตรปฏิรูปการศึกษา. (กรุงเทพมหานคร: ส.

เอเชีย เพรส (1989) จํากัด, 2544)5-13.

เขมจิรา ฟองเสียง.“การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1.” วิทยานิพนธ ครุศาสตรมหาบัณฑิต .

สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2550.

จรวยพร ธรณินทร, การปฏิรูปการศึกษาเพ่ือพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ในชวงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ระยะท่ี 8-9 (พ.ศ.2540-2549)

(กรุงเทพฯ : สํานักพิมพสถาบันพระปกเกลา, 2542).

จรูญ เทพสาร. “ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษา

ลําปาง เขต 3.” วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 2549.

ชุติมา วงษเขียด. “การปฏิรูปการศึกษาตามแนวคิดของคณะกรรมการบริหารสํานักงานปฏิรูป

การศึกษา: ขอเสนอ ขอขัดแยงและขอยุติ.” วิทยานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.

สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2551.

เชาวรัตน เตมียกุล . ปฏิรูปการศึกษารอบสอง. สิงหบุรี : วิทยาลัยเทคนิคสิงหบุรี สถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคกลาง 2, 2555.

ฐิตินาฏยา เช้ือปรุง. “ปจจัยคุณภาพชีวิตของครูหลังการปฏิรูปการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่

การศึกษา นครราชสีมา เขต 4.”วิทยานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวิจัย

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2550.

ตนซุง . มองการศึกษาโลก by ตนซุง eduzones, เขาถึงเมื่อวันที่ 9 เมษายน2557,

http://blog.eduzones.com/tonsungsook/1087167

บัณดิษฐ ศรีเงิน.“การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงคของครูการศึกษาพิเศษตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาในทัศนะของผูบริหาร ครู ผูปกครองนักเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ในภาค

ตะวันออก.”วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, 2549.

Page 101: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

89

รุง แกวแดง . การวิจัยเพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษา . เขาถึงเมื่อ 9 เมษายน 2557,

http://area.obec.go.th/buriram3/rongbavon/bavon/r_6.html

วิชัย ตันศิร.ิ พระราชบัญญัติการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนยประมวลและ

จัดระบบขอมูลสารสนเทศฯ กองนโยบายและแผน, 2542.

วิริยาภรณ อินทรจันทร . รายงานการพัฒนาวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ปการศึกษา 2554.

ปราจีนบุรี : กลุมนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สํานักงานเขตพ้ืนที่

การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2, 2554.

ศุภัตรา โอดเทิง. “การบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียน

จอมทอง จังหวัดเชียงใหม.” คนควาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2554.

โศรดา อัมพิลาศรัย. “การบริหารการใชแหลงเรียนรูที่รองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศรรษที่สอง

(พ.ศ.2552-2561) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10.” วิทยานิพนธ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555.

สมศักด์ิ เตชะเทพ. “ประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาของผูบริหารสถานศึกษาตามการรับรูของ

ประธานกรรมการสถานศึกษา ผูอํานวยการสถานศึกษา และครูผูสอนในสถานศึกษาข้ัน

พื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาลําปางเขต 1.” วิทยานิพนธครุศาสตรมหา

บัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 2549.

สิปปนนท เกตุทัต. จากอดีตและปจจุบันสูอนาคตของการปฏิรูปการศึกษาไทย : สูสังคมแหง

ปญญาและการเรียนรู. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2545)3-20

สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ . ผลการดําเนินงานตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษาปการศึกษา 2539-2540. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา ลาดพราว, 2542.

สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2. ขอมูลโรงเรียนขนาดเล็ก. เขาถึงเมื่อ 15

มกราคม 2556. www.prachinburi2.go.th

__________. แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (2555-2558). เขาถึงเมื่อ 15 มกราคม

2556. www.prachinburi2.go.th

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน. คูมือการบริหารสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานท่ีเปนนิติ

บุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ (ร.ส.พ.), 2546.

__________. สาระสําคัญการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ :

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, 2554.

Page 102: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

90

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ขอเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-

2561). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟค จํากัด, 2552.

__________. รายงานผลการดําเนินงาน ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง ในชวง

พ.ศ.2552-2554. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟค จํากัด, 2554.

อัจฉรา คหินทพงศ. การบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษา. เขาถึงเมื่อ 15 มกราคม 2556.

http://school.obec.go.th/ladrahong/botkwam1.htm

โอเคเนช่ัน. แบบอยางการสรางชาติเยอรมนี : หัวใจสําคัญอยูท่ี การปฏิรูปการศึกษา, เขาถึงเมื่อ

วันที่ 9 เมษายน 2557,http://www.oknation.net/blog/print.php?id=848707

ภาษาตางประเทศ

Datnow Ananda, “The Sustainability of Comprehensive school Reform Models in

Changing District and State Contexts,”2004.

Glen Ross J., “Curriculum development in junior/Community Collage.” TheWState-of-

the-arf, as view by the Arcade Affair (online). accessed 7 may 2000.

Hopkins Reynold D. (ed.), The practice and Theaory of School Improvement,

accessed June 8, 2011,available from http://www.springer.com

/education+%26+language/book/

Katz Daniel and Kahn Robert L.. The Social Psychology of Organization, 2nd Ed.

New York : John Wiley and Son, 1978

Kustulasar. A, The International Standard School Project in Indonesia: a Policy

Document Analysis. Ohio State University, Graduate School. Ohio: Ohio

State University, 2009.

Leithwood Kenneth. et. al. “Transformational Leadership Effects on Teachers”

Commitment and Effort Toward School Reform, Journal of Educational

Administration 41,3. 2003. 228.

McCathy Robert. “Participation un planned development Influences by Government

of Developing Countries at Local Level in Ruual Areas.”, Essay in rural

sociology, (In honour of R.A.J.van Lier) Wageningen : Department of Rural

Sociology of tropics, Wageningen Agricultured University, 1998

Page 103: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

91

ภาคผนวก

Page 104: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

92

ภาคผนวก ก

หนังสือขอความอนุเคราะหตรวจสอบเครื่องมือวิจัยและการหาความเท่ียงตรงของเน้ือหา

และรายชื่อผูทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือวิจัย

Page 105: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

93

Page 106: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

94

รายช่ือผูทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือวิจัย

1. ดร.ศศกร ไชยคําหาญ

วุฒิการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ตําแหนง ผูอํานวยการโรงเรียน

สถานที่ทํางาน โรงเรียนพัฒนพงศ ต.บานเกา อ.เมือง จ.กาญจนบุร ี

2. อาจารย ดร.อธิกมาส มากจุย

วุฒิการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ตําแหนง อาจารย

สถานที่ทํางาน คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. ผูชวยศาสตราจารย ดร.ธีรศักด์ิ อุนอารมณเลิศ

วุฒิการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ตําแหนง อาจารย

สถานที่ทํางาน คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 107: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

95

ภาคผนวก ข

หนังสือขอทดลองเครื่องมือวิจัย

และรายชื่อโรงเรียนที่ใชในการทดลองเครื่องมือวิจัย (Try out)

Page 108: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

96

Page 109: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

97

รายชื่อโรงเรียนท่ีใชในการทดลองเคร่ืองมือวิจัย (Try out)

1. บานกระเดียง

2. บานโนนแสนสุข

3. บานหนองตะแบก

4. บานโคกกระจง

5. บานทุงแฝก

6. สหกรณนิคมบานคลองปลาดุกลาย

7. บานขุนศร ี

8. บานบุพราหมณอรุณอนุสรณ

9. บานราษฎรเจริญ

10. บานวังร ี

11. วัดหาดสูง

12. บานปราสาท

13. บานคลองเจาแรง

14. บานชําโสม

15. วัดตันทาราม

Page 110: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

98

ภาคผนวก ค

คาความเช่ือม่ันของเครื่องมือ

Page 111: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

99

คาความเช่ือม่ันของเครื่องมือ

(แบบสอบถามตอนที่ 2)

Reliability Statistics

Cronbach's

Alpha

N of Items

.977 40

Case Processing Summary

N %

Cases

Valid 30 100.0

Excludeda 0 .0

Total 30 100.0

a. Listwise deletion based on all variables in the

procedure.

Item-Total Statistics

Scale Mean if

Item Deleted

Scale Variance

if Item Deleted

Corrected Item-

Total

Correlation

Cronbach's

Alpha if Item

Deleted

y101 145.63 668.102 .574 .9764

y102 145.33 656.575 .695 .9761

y103 145.03 666.447 .563 .9765

y104 145.33 658.644 .719 .9760

y105 145.17 664.902 .718 .9761

y106 145.03 660.516 .517 .9768

y107 145.03 654.102 .757 .9758

y208 145.23 665.013 .626 .9763

y209 145.20 661.062 .626 .9763

y210 145.00 653.379 .836 .9756

y211 145.10 645.817 .839 .9755

y212 145.53 660.257 .509 .9768

y213 145.90 685.541 .026 .9792

y214 146.03 669.551 .387 .9771

y315 145.33 666.575 .593 .9764

y316 145.17 646.213 .807 .9756

y317 145.27 652.823 .730 .9759

y318 145.27 646.478 .833 .9755

y319 145.33 654.437 .744 .9759

y420 145.33 653.678 .728 .9759

Page 112: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

100

Scale Mean if

Item Deleted

Scale Variance

if Item Deleted

Corrected Item-

Total

Correlation

Cronbach's

Alpha if Item

Deleted

y421

y422

145.43

145.27

654.806

651.720

.755

.698

.9759

.9761

y423 145.33 647.816 .791 .9757

y424

y425

145.20

145.10

651.062

657.541

.727

.680

.9759

.9761

y426 145.20 659.821 .692 .9761

y427 145.33 654.644 .776 .9758

y428 145.17 647.178 .817 .9756

y429 145.13 644.326 .890 .9753

y430 145.37 648.585 .770 .9758

y431 145.40 657.145 .705 .9760

y432 145.33 646.092 .827 .9756

y433 145.23 652.530 .861 .9755

y434 145.17 648.833 .850 .9755

y435 145.30 652.907 .827 .9756

y436 145.50 645.155 .828 .9756

y437 145.53 646.602 .862 .9755

y438 145.30 652.148 .737 .9759

y439 145.40 639.007 .846 .9755

y440 145.33 651.126 .861 .9755

Page 113: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

101

ภาคผนวก ง

หนังสือขอความอนุเคราะหในการเก็บขอมูลและรายชื่อโรงเรียนกลุมตัวอยาง

Page 114: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

102

Page 115: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

103

รายช่ือโรงเรียนกลุมตัวอยาง

การเก็บขอมูลการทําวิจัยคนควาอิสระ เรื่องการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)

ของนางสาวกุลธิดา รงคพันธุ

นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต

ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

1. โรงเรียนชุมชนบานทุงแฝก 2. โรงเรียนบานหนองชางลง 3. โรงเรียนบานนางเลง 4. โรงเรียนวัดปากแพรก 5. โรงเรียนบานนาคลองกลาง 6. โรงเรียนบานหนองประดู 7. โรงเรียนบานหนองหัวชาง 8. โรงเรียนบานหนองบัว 9. โรงเรียนวัดศรีสุวรรณาราม 10. โรงเรียนบานหนองอนามัย 11. โรงเรียนวัดเนาวรัตนาราม 12. โรงเรียนบานทาอุดม 13. โรงเรียนบานหนองมันปลา 14. โรงเรียนบานหนองไผลอม 15. โรงเรียนบานหนองโดน 16. โรงเรียนวัดปากนํ้า 17. โรงเรียนบานไผ 18. โรงเรียนบานโคกหอม 19. โรงเรียนบานโคกสวาง 20. โรงเรียนบานโนนหัวบึง

21. โรงเรียนบานซง 22. โรงเรียนวัดยานร ี23. โรงเรียนบานหนองตลาด 24. โรงเรียนบานคลองรวม 25. โรงเรียนวัดวังหวาย 26. โรงเรียนบานหนองจิก 27. โรงเรียนวัดรัตนโชติการาม 28. โรงเรียนรัตนชมภู 29. โรงเรียนวัดเกาะแดง 30. โรงเรียนบานหนองคลา 31. โรงเรียนบานแกง 32. โรงเรียนวัดเนินสูง 33. โรงเรียนบานเขากระแต 34. โรงเรียนบานคลองระกํา 35. โรงเรียนบานหนองหอย 36. โรงเรียนบานใหมพัฒนา 37. โรงเรียนบานเขาปูน 38. โรงเรียนบานทด 39. โรงเรียนบานโคกลาน 40. โรงเรียนบานวังบัวทอง

Page 116: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

104

ภาคผนวก จ

แบบสอบถามเพื่อการวิจัย

Page 117: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

105

แบบสอบถามเพ่ือการวิจัย

เรื่อง “การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัด

ปราจีนบุรีตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)”

…………………………………………………………………………………………………………………………

แบบสอบถามฉบับน้ี มีวัตถุประสงคเพื่อใชเปนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมขอมูล

สําหรับการวิจัย เรื่อง “ การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอําเภอกบินทรบุรี จังหวัด

ปราจีนบุรี ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) (The School

Reform of the Small School in Prachinburi based on the Decade in Eduational

Reform (B.E.2552-2561)) ” ขอมูลที่ไดจากความคิดเห็นของทานมีคาอยางย่ิงตอการวิจัยครั้งน้ี

ขอมูลที่ทานตอบถือเปนความลับ และขอรับรองวาจะไมมีผลกระทบตอการปฏิบัติงานหรือ

สถานศึกษาของทานแตประการใด จึงขอความกรุณาโปรดตอบใหครบทุกขอตามความเปนจริง

คําช้ีแจงในการตอบแบบสอบถาม

1. ผูตอบแบบสอบถาม โรงเรียนละ 2 ทาน ประกอบดวย ผูอํานวยการโรงเรียน

หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน หรือผูปฏิบัติหนาที่ จํานวน

1 ทาน และครูผูปฏิบัติการสอน จํานวน 1 ทาน

2. แบบสอบถามน้ี ประกอบดวย 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)

เมื่อทานใหขอมูลครบถวนทุกขอแลว โปรดจัดสงแบบสอบถามน้ีคืนทางกลองรับ

แบบสอบถาม ณ ตูหนังสือราชการสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2

ขอขอบพระคุณไว ณ โอกาสนี้ สําหรับความรวมมือในการตอบแบบสอบถาม

(นางสาวกุลธิดา รงคพันธุ)

นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต

ภาควิชาการบริหารการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 118: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

106

แบบสอบถามเพ่ือการวิจัย

เรื่อง การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กใน อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)

ตอนที่ 1 : ขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม

คําช้ีแจง : โปรดเขียนเครื่องหมาย ใน หนาขอความที่ตรงกับสถานภาพของทาน

1. เพศ ชาย

หญิง

2. อายุ (เศษปที่เกิน 6 เดือน นับเพิ่มอีกหน่ึงป)

ไมเกิน 30 ป

31 - 40 ป

41 - 50 ป 51 ปขึ้นไป

3. ระดับการศึกษาสูงสุด

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก อ่ืน ๆ (โปรดระบ…ุ………………...)

4. ตําแหนงหนาที่ในโรงเรียน

ผูอํานวยการโรงเรียน หรือ รองผูอํานวยการโรงเรียน

หรือรักษาราชการในตําแหนง หรือผูรักษาราชการแทน

หรือผูปฏิบัติหนาที่

คร ู

5. ประสบการณในการทํางาน (เศษปที่เกิน 6 เดือน นับเพิ่มอีกหน่ึงป)

ไมเกิน 10 ป 11 - 20 ป

21 - 30 ป 31 ปขึ้นไป

Page 119: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

107

ตอนท่ี 2 : การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูปการศึกษา

ทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561)

คําชี้แจง : โปรดเขียนเครื่องหมาย ลงในชองระดับการปฏิบัติการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็กใน แตละโรงเรียนตามสภาพที่เปนจริง โดยมีเกณฑการพิจารณาดังน้ี

5 หมายถึง การดําเนินการการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) อยูในระดับมากที่สุด

4 หมายถึง การดําเนินการการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) อยูในระดับมาก

3 หมายถึง การดําเนินการการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) อยูในระดับปานกลาง

2 หมายถึง การดําเนินการการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) อยูในระดับนอย

1 หมายถึง การดําเนินการการปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามหลักการปฏิรูป

การศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) อยูในระดับนอยที่สุด

ขอที่

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561)

ระดับการปฏิบัต ิ

มาก

ที่สุด

5

มาก

4

ปาน

กลาง

3

นอย

2

นอย

ที่สุด

1

ดาน พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม

1 จัดระบบการศึกษาที่เปนมาตรฐานเทียบเคียงระดับชาติ

และนําผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน

2 สงเสริมบทบาทและสรางความเขมแข็งของครอบครัวใน

การพัฒนาการเรียนรูของผูเรียน

3 จัดการเตรียมความพรอมของผูเรียนต้ังแตระดับปฐมวัย

4 จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัด

และประเมินผลที่มีคุณภาพ

5 สงเสริมและอนุรักษการใชภาษาไทยอยางถูกตองควบคู

กับการเรียนรูภาษาสากล

6 พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งนวัตกรรมที่

เหมาะสมท้ังในช้ันเรียนและนอกช้ันเรียน

7 พัฒนาการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ

Page 120: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

108

ขอที่

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561)

ระดับการปฏิบัต ิ

มาก

ที่สุด

5

มาก

4

ปาน

กลาง

3

นอย

2

นอย

ที่สุด

1

ดาน พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม

8 จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพไดมาตรฐานตามเกณฑ

อยางมีประสิทธิภาพ

9 มีการปรับปรุงเกณฑการประเมินสมรรถนะวิชาชีพคร ู

10 พัฒนาครูใหสามารถจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียน

เปนสําคัญ

11 ครูพัฒนาตนเองและแสวงหาความรูอยางตอเน่ือง

12 ลดภาระงานของครูและจัดใหมีบุคลากรสายสนับสนุน

เพื่อใหครูไดทําหนาที่พัฒนาผูเรียน

13 มีจํานวนครูเพียงพอตามเกณฑ

14 ครูผูสอนมีคุณวุฒิตรงตามวิชาที่สอน

ดาน พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหลงเรียนรู

ยุคใหม

15 สงเสริมใหบุคลากรมีนิสัยรักการอานและสามารถผลิต

สื่อที่มีคุณภาพ

16 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาใหเอื้อตอการศึกษาเรียนรู

17 สงเสริมใหโรงเรียนมีหองสมุดทีม่ีชีวิต

18 จัดสภาพแวดลอมของชุมชนใหเอื้อตอการเรียนรู

19 สงเสริมและพัฒนาแหลงเรียนรูในชุมชน

ดาน พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม

20 สํานักงานเขตพ้ืนที่กระจายอํานาจสูโรงเรียนอยางเปน

ระบบตามศักยภาพความพรอม

21 โรงเรียนมีแผนการขับเคลื่อนการกระจายอํานาจแบบ

ข้ันบันไดตามศักยภาพความพรอม

22 ผูบริหารเปนผูนําการเปลี่ยนแปลงและสามารถใช

นวัตกรรมในการบริหารจัดการไดอยางมีคุณภาพ

23 มีแผนพัฒนาภาวะผูนําของผูอํานวยการ รอง

ผูอํานวยการและหัวหนางานตางๆ

Page 121: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

109

ขอที่

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561)

ระดับการปฏิบัต ิ

มาก

ที่สุด

5

มาก

4

ปาน

กลาง

3

นอย

2

นอย

ที่สุด

1

24 มีการบริหารจัดการงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลและ

สนับสนุนการพัฒนาครูใหเปนครูมืออาชีพ

25 เสริมสรางศักยภาพและความเขมแข็งในการบริหาร

จัดการตาม

หลักธรรมาภิบาล รับผิดชอบ โปรงใสเปนธรรมและ

ตรวจสอบได

26 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรูอยางหลากหลาย

ตอเน่ืองตลอดชีวิต

27 จัดการศึกษาระดับข้ันพื้นฐานสําหรับผูเรียนอยางทั่วถึง

และมีคุณภาพ

28 สงเสริมการจัดการศึกษาสําหรับผูดอยโอกาส

29 จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ

30 สนับสนุนใหเอกชนเขามามีสวนรวมในการจัดและ

สนับสนุนการศึกษาใหมากข้ึน

31 พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา เพื่อเปนตนแบบที่ดี

ไดรับการยกยองและสามารถขยายผล เพื่อใหการจัด

การศึกษาและเรียนรูมีคุณภาพ

32 สงเสริมใหประชาชนมีสวนรวมในการกําหนดนโยบาย

และวางแผนพัฒนาการศึกษา

33 สนับสนุนใหสถาบันครอบครัว และทุกภาคสวนรวม

พัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค

แกผูเรียน

34 สงเสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรูโดยมีสวนรวม

ของทุกภาคสวน

35 ปรับระบบการวัดและประเมินผลของผูเรียน

36 มีการพัฒนาเครือขายความรวมมือดานการศึกษากับ

องคกรปกครองสวนทองถ่ิน

Page 122: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

110

ขอที่

การปฏิรูปโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ตามหลักการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-

2561)

ระดับการปฏิบัต ิ

มาก

ที่สุด

5

มาก

4

ปาน

กลาง

3

นอย

2

นอย

ที่สุด

1

37 ปรับปรุงการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณ โดย

เนนอุปสงคหรือผูเรียนเปนสําคัญ (demand side)

38 มีการจัดสรรทุนเพื่อการศึกษา

39 สงเสริมการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพ่ือการศึกษา

40 พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการใชทรัพยากรเพื่อ

การศึกษา

หมายเหตุ : ขอบพระคุณอยางสูงมา ณ โอกาสนี ้

Page 123: 2556...การปฏ ร ปโรงเร ยนประถมศ กษาขนาดเล กในอ าเภอกบ นทร บ ร จ งหว ดปราจ นบ

111

ประวัติผูวิจัย

ชื่อ – สกุล นางสาวกุลธิดา รงคพันธุ

ท่ีอยู 9/8 หมู 4 ตําบลทาตลาด อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110

E – mail : [email protected]

ท่ีทํางาน โรงเรียนบานคลองเจาแรง ตําบลเขาไมแกว

อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุร ี25110

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2552 สําเร็จการศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)

วิชาเอกการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร

พ.ศ. 2555 ศึกษาตอระดับมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติการทํางาน

พ.ศ.2553-2554 ครูโรงเรียนเอกชน โรงเรียนมารียอุปถัมภ

ตําบลไรขิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

เม.ย. – ต.ค. พ.ศ.2554 ครูอัตราจาง โรงเรียนวัดราษฎรบํารุง

อําเภอกระทุมแบน จังหวัดสมุทรสาคร

พ.ย. พ.ศ.2554 – ปจจุบัน ครู โรงเรียนบานคลองเจาแรง ตําบลเขาไมแกว

อําเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี