13
สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 180 การทดลองสรีรวิทยา 9 สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ (Reproductive Physiology) วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม เพื่อใหนิสิต นักศึกษา: 1. เรียนรูพฤติกรรมการสืบพันธุหนู 2. ตรวจสอบวงจรเปนสัด (Estrous cycle) หนูโดยการทําสเมียรชองคลอด (Vaginal smear) 3.ทดสอบความสมบูรณพันธุ (Fertility test) หนูเพศผู 4.นับอสุจิในทอพักเชื้ออสุจิสวนปลาย (Caudal epididymal sperm count) 5. นับจํานวนอสุจิที่เคลื่อนไหว (Motile sperm) 6. นับจํานวนอสุจิที่มีชีวิต (Live sperm count) 7. นับการผลิตอสุจิในแตละวัน (Daily sperm production) เปนสัด (Estrous) หมายถึงชวงเวลาที่สัตวยอมรับการผสมพันธุ (Heat) และมีการตกไขเกิดขึ้น เพศเมียที่เปนสัดมีพฤติกรรมเขาหาเพศผูและยอมรับการผสมพันธุจากเพศผู วงจรเปนสัดแตกตางกันใน สัตวแตละชนิด (ตารางที9-1) ในหนูกินเวลาประมาณ 5 วันและวงจรเปนสัดเกิดขึ้นตลอดป (Polyestrous) วงจรเปนสัดแบงเปน 4 ระยะซึ่งสามารถตรวจสอบแตละระยะโดยการตรวจสอบชนิดและ ปริมาณเซลลที่บุชองคลอด ตารางที7-1 วงจรเปนสัดแตละระยะ (วัน) ในสัตวแตละชนิด (ที่มา: ดัดแปลงจาก Ruckebusch et al., 1991) เปนสัด โพรเอสตรัส เอสตรัส เมทเอสตรัส ไดเอสตรัส โคนม (Cow) 14-25 (21) 3-4 1-1.5 2 15 แกะ (Ewe) 3-35 (17) 2-3 1-1.5 2 10-20 แพะ (Goat) 15-21 - 1-1.5 2 16 มา (Mare) 10-35 (21) 3-4 2-30 2 12-13 หมู (Sow) 18-24 2 1-3 2 14 1. โพรเอสตรัส (Proestrous) เปนชวงที่ระดับฟอลลิเคิลสติมูเลติงฮอรโมน (follicle- stimulating hormone; FSH) และลูทีไนซิงฮอรโมน (Luteinizing hormone; LH) เพิ่มสูงขึ้นซึ่งกระตุการเจริญของฟองไข (Follicle) และกระตุนการหลั่งฮอรโมนเอสโตรเจน (Estrogen) เมื่อนําสเมียรจาก ชองคลอดมาสองดูดวยกลองจุลทรรศนพบเซลลเอพิธีเลียมที่มีนิวเคลียส (Nucleated epithelial cells) มากมาย โพรเอสตรัสกินเวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง (ภาพที9-1)

9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 180

การทดลองสรีรวิทยา

9 สรีรวิทยาระบบสบืพันธุ

(Reproductive Physiology)

วัตถุประสงคเชิงพฤตกิรรม

เพื่อใหนิสิต นักศกึษา:

1. เรียนรูพฤติกรรมการสืบพันธุหนู

2. ตรวจสอบวงจรเปนสัด (Estrous cycle) หนูโดยการทําสเมียรชองคลอด (Vaginal smear)

3.ทดสอบความสมบูรณพันธุ (Fertility test) หนูเพศผู

4.นับอสุจิในทอพกัเช้ืออสุจิสวนปลาย (Caudal epididymal sperm count)

5. นับจํานวนอสุจิที่เคล่ือนไหว (Motile sperm)

6. นับจํานวนอสุจิที่มีชีวิต (Live sperm count)

7. นับการผลิตอสุจิในแตละวัน (Daily sperm production)

เปนสัด (Estrous) หมายถึงชวงเวลาที่สัตวยอมรับการผสมพันธุ (Heat) และมีการตกไขเกิดข้ึน

เพศเมียที่เปนสัดมีพฤติกรรมเขาหาเพศผูและยอมรับการผสมพันธุจากเพศผู วงจรเปนสัดแตกตางกันใน

สัตวแตละชนิด (ตารางที่ 9-1) ในหนูกินเวลาประมาณ 5 วันและวงจรเปนสัดเกิดข้ึนตลอดป

(Polyestrous) วงจรเปนสัดแบงเปน 4 ระยะซึ่งสามารถตรวจสอบแตละระยะโดยการตรวจสอบชนิดและ

ปริมาณเซลลที่บุชองคลอด

ตารางที่ 7-1 วงจรเปนสัดแตละระยะ (วัน) ในสัตวแตละชนิด (ที่มา: ดัดแปลงจาก Ruckebusch

et al., 1991)

เปนสัด โพรเอสตรัส เอสตรัส เมทเอสตรัส ไดเอสตรัส

โคนม (Cow) 14-25 (21) 3-4 1-1.5 2 15

แกะ (Ewe) 3-35 (17) 2-3 1-1.5 2 10-20

แพะ (Goat) 15-21 - 1-1.5 2 16

มา (Mare) 10-35 (21) 3-4 2-30 2 12-13

หมู (Sow) 18-24 2 1-3 2 14

1. โพรเอสตรัส (Proestrous) เปนชวงที่ระดับฟอลลิเคิลสติมูเลติงฮอรโมน (follicle-

stimulating hormone; FSH) และลูทีไนซิงฮอรโมน (Luteinizing hormone; LH) เพ่ิมสูงข้ึนซึ่งกระตุน

การเจริญของฟองไข (Follicle) และกระตุนการหลั่งฮอรโมนเอสโตรเจน (Estrogen) เม่ือนําสเมียรจาก

ชองคลอดมาสองดูดวยกลองจุลทรรศนพบเซลลเอพิธีเลียมที่มีนิวเคลียส (Nucleated epithelial cells)

มากมาย โพรเอสตรัสกินเวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง (ภาพที่ 9-1)

Page 2: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 181

การทดลองสรีรวิทยา

ภาพที ่ 9-1 ระยะโพรเอสตรัสหนูแรทวสิตาร; N หมายถึงเซลลเอพธิีเลียมที่มีนิวเคลียสและ C

หมายถงึเซลลแหงแข็ง

2. เอสตรัส (Estrous) เปนชวงหนูเปนสัดและยอมรับการผสมพันธุ ระดับฮอรโมน เอสโต

รเจนที่สูงกระตุนการแบงเซลลแบบไมโทซิส (Mitosis) ในมดลูก (Uterus) และชองคลอด สเมียรชอง

คลอดเมื่อนํามาสองกลองจุลทรรศนพบเซลลแหงแข็ง (Cornified Cell) มากมาย (Leukocyte) และเซลล

เอพิธีเลียมที่มีนิวเคลียสเล็กนอย เอสตรัสกินเวลา 9-15 ชั่วโมง (ภาพที่ 9-2)

ภาพที ่ 9-2 ระยะเอสตรสัหนูแรทวิสตาร; N หมายถงึเซลลเอพิธีเลียมที่มีนิวเคลียสและ C

หมายถงึเซลลแหงแข็ง

3. เมทเอสตรัส (Metestrous) ลูทีไนซิงฮอรโมนและลูทีโอโทรปคฮอรโมน (Luteotropic

hormone) กระตุนการสรางคอรปสลูเตียม (Corpus luteum) เมทเอสตรัสกินเวลา 10-14 ชั่วโมง ชวงน้ีมี

Page 3: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 182

การทดลองสรีรวิทยา

การหลั่งฮอรโมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) และเอสโตรเจนเพิ่มข้ึน สเมียรจากชองคลอดมีเซลล

เม็ดเลือดขาวมากมายและเซลลแหงแข็งเล็กนอย (ภาพที่ 9-3)

ภาพที ่9-3 ระยะเมทเอสตรสัหนูแรทวิสตาร; L หมายถงึเซลลเม็ดเลือดขาวและ C หมายถึงเซลล

แหงแขง็

4. ไดเอสตรัส (Diestrous) เปนชวงที่กินเวลานานประมาณ 60-70 ชั่วโมง คอรปสลูเตียมเสื่อม

สลายและมดลูกมีขนาดเล็กลงและมีเลือดมาเลี้ยงมดลูกเล็กนอย ระดับของฮอรโมนตาง ๆ ลดระดับลง

สเมียรจากชองคลอดประกอบดวยเม็ดเลือดขาวมากมาย (ภาพที่ 9-4)

ภาพที ่ 9-4 ระยะไดเอสตรัสหนูแรทวิสตาร; N หมายถงึเซลลเอพิธีเลียมที่มีนิวเคลียสและ L

หมายถงึเซลลเม็ดเลือดขาว

ระบบสืบพันธุหนูเพศผู (Male Reproductive System) (ภาพที่ 9-5) ประกอบดวยอัณฑะซ่ึงเปน

สวนที่ผลิตตัวอสุจิและฮอรโมนเพศผู สวนที่เปนทอตางๆทําหนาที่ขนสงตัวอสุจิ ไดแกเรเตเทสทิส (Rete

testis) วาสเอฟเฟอเรน (Vas efferens) ทอพักเชื้ออสุจิ (Epididymis) ทอนําเชื้ออสุจิ (Vas deferens)

Page 4: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 183

การทดลองสรีรวิทยา

และทอหลั่งนํ้าอสุจิ (Ejaculatory duct) สวนที่เปนตอมชวยในการสืบพันธุไดแกตอมแอมพูลลารี

(Ampullary gland) ถุงนํ้าอสุจิ (Seminal vesicle) ตอมลูกหมาก (Prostate gland) ตอมโคแอกกูเลติง

(Coagulating gland) ตอมเคาเพอรหรือตอมบัลบูเรธัล (Cowper’s gland หรือ Bulbourethal gland)

และตอมพรีพูเชียล (Preputial gland) สวนสุดทายเปนทางออกของนํ้าปสสาวะและนํ้าอสุจิคือลึงค

(Penis)

ภาพที่ 9-5 ระบบสืบพันธุหนูแรทเพศผู (ดัดแปลงจาก Tharp and Woodman, 2002)

ระบบสืบพันธุหนูเพศเมีย (Female reproductive system) (ภาพที่ 9-6) แบงเปน 2 สวนคือ

อวัยวะเพศภายในอุงเชิงกราน (Internal genital organ) และรังไข (Ovary) ซึ่งเปนอวัยวะสืบพันธุที่

สําคัญที่สุดของเพศเมียเชนเดียวกับอัณฑะในระบบสืบพันธุเพศชาย นอกจากน้ียังมีอวัยวะอ่ืน อีกไดแกปก

มดลูก (Uterine tube) มดลูก (Uterus) ชองคลอด (Vagina) และคลิโทริส (Clitoris)

ไต

ทอปสสาวะ

กระเพาะปสสาวะ

ตอมลูกหมาก ลึงค

ทอน้ําเช้ืออสุจิ

ทอพักน้ําเช้ืออสุจิ

ถุงหุมอัณฑะ

ถุงน้ําอสุจิ ตอมโคแอกกูเลติง อัณฑะ

Page 5: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 184

การทดลองสรีรวิทยา

ภาพที่ 9-6 ระบบสืบพันธุหนูแรทเพศเมีย (ดัดแปลงจาก Tharp and Woodman, 2002)

กระบวนการสรางอสุจิ (Spermatogenesis) (ภาพที่ 9-7) เกิดข้ึนภายในทอเซมินิเฟอรัส

(Seminiferous tubule) โดยเริ่มจากเซลลตนกําเนิดอสุจิ (Spermatogonia) ซึ่งอยูที่ฐานของทอ

เซมินิเฟอรัส มีการแบงตัวและเปลี่ยนแปลงกลายเปนเซลลอสุจิ (Spermatozoa) หนูเพศผูเริ่มมีการสราง

อสุจิเม่ือเขาสูวัยเจริญพันธุและดําเนินไปตลอดชีวิต กระบวนการน้ีแบงเปน 3 ระยะคือ

1. สเปอรมาโตซัยโตจิเนซิส (Spermatocytogenesis) เปนกระบวนการแบงเซลลเพ่ือใหได

จํานวนเซลลตนกําเนิดอสุจิมาทดแทนสวนที่เจริญไปเปนตัวอสุจิโดยมีเซลลตนกําเนิดอสุจิเปนเซลลตั้งตน

(Spermatogenic stem cell) ที่มีจํานวนโครโมโซมเปนดิพลอยด (Diploid) แบงเซลลแบบไมโทซิส

(Mitosis) หลายครั้งจนในที่สุดกลายเปนเซลลอสุจิปฐมภูมิ (Primary spermatocyte) ที่ชุดโครโมโซมยงั

เปนดิพลอยด จํานวนครั้งที่แบงไมโทซิสจนกระทั่งไดเปนเซลลอสุจิปฐมภูมิน้ันข้ึนอยูกับชนิดและสายพันธุ

ในหนูแรทมีการแบงเซลลตนกําเนิดอสุจิถึง 6 ครั้งซึ่งหมายถึงเซลลตนกําเนิดอสุจิ 1 เซลลจะไดเซลล

อสุจิปฐมภูมิ 26 = 64 เซลลแตพบวาอาจมีเซลลที่ตายระหวางไมโทซิสบาง แตละครั้งของการแบงเซลล

ในชวงน้ีรูปรางของเซลลที่แบงออกมาใหมมีแนวโนมที่แตกตางไปจากเซลลพอแมทีละนอยจากเซลลตน

กําเนิดอสุจิชนิดเอศูนย (A0 Spermatogonia) ไปเปนเซลลตนกําเนิดอสุจิชนิดเอหน่ึง เอสอง เอสาม เอสี่

และบี (A1 A2 A3 A4 and B Spermatogonia) และเซลลอสุจิปฐมภูมิ

2. การแบงเซลลเซลลอสุจิปฐมภูมิแบบลดจํานวนโครโมโซมเหลือครึ่งหน่ึงไดเซลลอสุจิทุติย

ภูมิ (Secondary spermatocyte) 2 เซลลซึ่งมีจํานวนโครโมโซมเปนแฮพลอยด (Haploid) ในชวง ไมโอ

ซิสหน่ึง (Meiosis I) และเขาสูไมโอซิสสอง (Meiosis II) อีกครั้งไดอสุจิระยะกอนเต็มวัย (Spermatid) 4

ทอปสสาวะ

กระเพาะปสสาวะ

ไต

กอนไขมัน

รังไข ทอรับไข

มดลูก

ชองคลอด

Page 6: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 185

การทดลองสรีรวิทยา

เซลล ระยะเวลาที่เซลลตนกําเนิดอสุจิพัฒนาเขาสูกระบวนการสรางอสุจิครั้งตอไป (Spermatogenic

cycle) ในหนูขาวใหญและหนูถีบจักรเทากับ 12 วัน และ 8 วันตามลําดับและกระบวนการสรางอสุจิใช

ระยะเวลา 48 วัน และ 32 วันตามลําดับ

3. การเจริญเติบโตของอสุจิระยะกอนเต็มวัยเปนเซลลอสุจิโดยลดปริมาณของเหลวภายในเซลล

และเพ่ิมสวนหางซึ่งใชในการเคล่ือนที่เม่ืออสุจิเจริญเต็มที่ เกิดข้ึนกอนที่อสุจิจะหลุดเขาไปอยูในทอเซมินิ

เฟอรัส แบงออกเปน 4 ระยะ ซึ่งในหนูแรทกระบวนการดังกลาวแบงเปน 19 ข้ันตอนโดยข้ันตอนที่ 1 – 3

เรียกวาระยะกอลจิ (Golgi phase) ข้ันตอนที่ 4–7 เรียกวาระยะแคป (Cap phase) ข้ันตอนที่ 8–14

เรียกวา ระยะอโครโซม (Acrosome phase) และข้ันตอนที่ 15–19 เรียกวาระยะการเจริญเต็มวัย

(Maturation phase)

3.1 ระยะกอลจิ การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกเกิดที่บริเวณกอลจิแอปพาราตัส (Golgi

apparatus) ของอสุจิระยะกอนเต็มวัยเคลื่อนตัวไปติดกับชั้นนอกของนิวเคลียส บริเวณสวนน้ีจะเปนสวน

หัวของอสุจิระยะกอนเต็มวัยในขณะที่เซนทริโอล (Centriole) ทั้งสองก็เคลื่อนมาอยูสวนทายของ

นิวเคลียสในตําแหนงที่ตรงขามกับที่จะเกิดอโครโซมและเริ่มมีแฟลกเจลลัม (Flagellum) เจริญออกมา

จากเซนทริโอล

3.2 ระยะแคป ถุงอโครโซมเจริญลงมาคลุมประมาณครึ่งหน่ึงของนิวเคลียส ภายในอ

โครโซมมีเอนไซมไฮโดรไลติก (Hydrolytic enzyme) ที่ทําใหอสุจิเขาผสมกับไขได

3.3 ระยะอโครโซม ระยะน้ีสวนหัวของเซลลที่มีอโครโซมเจริญมาคลุมสองในสามของ

นิวเคลียส เซนทรโิอลเจริญเปนหางอยางชัดเจน ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ลอมสวนตนของหาง

หมายเหตุ: พรีเลพโททีน (Preleptotene) เลพโททีน (Leptotene)

ไซโกทีน (Zygotene) แพคทีีน (Pachytene)

ดิโพลทีน (Diplotene) ไดอะคิเนซีส (Diakinesis)

ภาพที่ 9-7 กระบวนการสรางอสุจิ (Robert, 1978)

ไมโทซีส ไมโอซีสหนึ่ง

ไมโอซีสสอง

สเปอรมิโอเจเนซีส (Spermiogenesis)

Ad 2n Ad เซลลตนกําเนิดอสุจิ

Ad Ad Ap Ap

Ad Ad B B พรีเลพโททีน

เลพโททีน ไซโกทีน แพคีทีน ดิโพลทีน ไดอะคิเนซีส

เซลลอสุจิปฐมภูมิ

เซลลอสุจิทุติยภูมิ

อสุจิกอนเต็มวัย

เซลลอสุจิ

ดิพลอยด

ดิพลอยด

แฮพลอยด

แฮพลอยด

แฮพลอยด

Page 7: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 186

การทดลองสรีรวิทยา

3.4 ระยะการเจริญเต็มวัย ระยะน้ีไซโทพลาซึมสวนเกินหลุดออกและถูกเก็บกินโดย

เซลลเซอรโทลี (Sertoli’s cell) ในที่สุดอสุจิออกจากเซลลเซอรโทลีเขาสูชองวางของทอ เซมินิ

เฟอรัส อสุจิที่เจริญเติบโตเต็มที่ยังตองมีการปรับสภาพตอไปในทอระบบสืบพันธุเพศเมียเพ่ือเพ่ิม

ความสามารถของอสุจิในการปฏิสนธิ (Capacitation) กับไข

การทดลองท่ี 9-1 การตรวจวงจรเปนสัดหนูโดยการทําสเมียรชองคลอด

1. หยดนํ้าเกลอื 1 หยดบนแผนสไลด

2.จับหนูบริเวณดานหลังขากรรไกรใหแนนและจับบริเวณดานหลังลําตัวหนูดวยฝามือ นําไมที่พัน

สําลีจุมลงในนํ้าเกลือ 0.9 เปอรเซ็นตและสอดเขาชองคลอดหนูประมาณ 5-8 เซนติเมตร ขูดเบา ๆ รอบ

ชองคลอด 2-3 รอบ หลังจากน้ันกดไมที่สเมียรชองคลอดลงในหยดนํ้าเกลือบนแผนสไลด สเมียรใหทั่ว

แผนสไลดอยางสมํ่าเสมอ

2.ปลอยใหฟลมเยื่อบุชองคลอดแหง จุมสไลดลงในเมธานอล (Methanol) เพ่ือเปนการรักษา

(Fixed) เยื่อบุชองคลอดโดยจุมข้ึนลง 3-4 ครั้ง

3. จุมข้ึนลงในอีโอซิน (Eosin) ประมาณ 3-4 ครั้ง ใหนํ้ายาทั่วสไลด

4. จุมลางในนํ้ากลั่น

5. จุมข้ึนลงในเมธัยลีนบลู (Methylene blue) ประมาณ 15 วินาที

6. จุมลางในนํ้ากลั่น

7. ทิ้งใหแหง กอนนําไปดูเซลลชนิดตาง ๆ ดวยกลองจุลทรรศน

8. หาระยะวงจรเปนสัดหนูเปนเวลา 5 วันติดตอกันแลวบันทึกลงในตารางทายบท

การทดลองที่ 9-2 การทดสอบความสมบูรณพันธุหนูแรทวิสตารเพศผู

1. นําหนูเพศเมียระยะโพรเอสตรัส 2 ตัวไปขังรวมกับหนูเพศผู 1 ตัวในกรงเลี้ยง

2. ภายใน 5 วันทําสเมียรชองคลอดหนูเพศเมียทุกวัน วิธีการตรวจการทําสเมียรชองคลอดทําได

โดยใชสําลีพันกานจุมในนํ้าเกลือ 0.9 เปอรเซ็นต สอดเขาไปในชองคลอดเบาๆ ลึกประมาณ 5 – 8

มิลลิเมตร ขูดเบาๆ และสเมียรลงบนแผนสไลดที่แหงและสะอาด จากน้ันนําไปตรวจสอบดวยกลอง

จุลทรรศนเพ่ือสังเกตรองรอยการผสมพันธุ หนูเพศเมียที่ไดรับการผสมพันธุกับหนูเพศผูจะพบตัวอสุจิ

3. แยกหนูเพศเมียที่ไดรับการผสมพันธุออกจากกรงผสมพันธุเพ่ือเลี้ยงดูตางหากในกรงเดี่ยวเปน

เวลา 8 – 10 วัน เม่ือครบตามเวลาที่กําหนด สลบหนูเพศเมียเพ่ือผาตัดแยกรังไขและมดลูกออกมานับ

จํานวนตัวออน (ภาพที่ 9-8 ก) ที่ฝงตัวอยูบนปกมดลูก บันทึกจํานวนตัวออนบนปกมดลูก จากนั้นนํารังไข

มาตรวจสอบดวยกลองจุลทรรศนเพ่ือนับจํานวนคอรปสลูเตียม (ภาพที่ 9-8 ข) จดบันทึกจํานวนคอรปสลู

เตียมและหาเปอรเซ็นตความสมบูรณพันธุจากสูตร:-

100x ัสลูเตียมจํานวนคอรป

วอนท่ีฝงตัจํานวนตัวอ=ณพันธุ ความสมบูรเปอรเซ็นต

Page 8: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 187

การทดลองสรีรวิทยา

ภาพที่ 9-8 (ก) ตัวออนในมดลูกหนูแรทวิสตาร และ (ข) คอรปสลูเตียมหนูแรทวิสตาร (เม็ดสี

แดงเขม)

การทดลองที่ 9-3 การนับอสุจิในทอพักเช้ืออสุจิสวนปลาย

1. ตัดทอพักเชื้ออสุจิสวนปลาย (Caudal epididymis) มาชั่งนํ้าหนัก

2. นําไปบดดวยเครื่องบดเนื้อเยื่อ (Tissue grinder) ในนํ้าเกลือ 0.9 เปอรเซ็นตปริมาตร 10

มิลลิลิตร บดใหละเอียดเทกลับใสหลอดทดลองเขยาใหเขากัน

3. จากนั้นใชไมโครปเปต (Micropipette) ดูดของเหลวปริมาตร 10 ไมโครลิตรหยดลงบนเครื่อง

นับเม็ดเลือด (Hematocytometer) แลวสุมนับจํานวนอสุจิใน 5 ชองของเครื่องนับเม็ดเลือดแดง ภายใต

กลองจุลทรรศนกําลังขยาย 40 เทาและคํานวณนับอสุจิในทอพักเชื้ออสุจิสวนปลายดังน้ี

คาเฉล่ียจํานวนอสุจิที่นับได N ตัว

แฟคเตอรสแควร (Square factor) 5 ชอง

แฟคเตอรเครื่องนับเม็ดเลือด (Hematocytometer factor) 104 มิลลิลิตร

ปริมาตรสารละลาย 10 มิลลิลิตร

นํ้าหนักทอพักเชื้อสวนทาย X กรัม

ายเช้ือสวนทกรัมทอพักตัวตอX

10x 10x5x N=ย ื้อสวนทาในทอพักเชจํานวนอสุจิ

การทดลองที่ 9-4 การนับจํานวนอสุจิที่เคล่ือนไหว

1. เก็บนํ้าอสุจิจากทอพักเชื้ออสุจิสวนปลายปริมาตร 1 ไมโครลิตร

2. ทําการเจือจางดวยสารละลายนอรมัลแฮงค (Normal Hank’s solution) ที่มีสภาพความเปน

กรด-ดาง 7.0 ปริมาตร 10 มิลลิลิตรที่บมอยูในนํ้าอุน 30 องศาเซลเซียส

3. เขยาใหเขากันหยดลงบนเครื่องนับเม็ดเลือด นําไปนับจํานวนอสุจิที่เคลื่อนที่และไมเคลื่อนที่

ภายใตกลองจุลทรรศนกําลังขยาย 40 เทา นับจํานวนอสุจิเคลื่อนไหวในเครื่องนับเม็ดเลือดตัวอยางละ 3

ครั้ง แลวคํานวณหาเปอรเซ็นตจํานวนอสุจิที่เคลื่อนที่และไมเคลื่อนที่โดยคํานวณจากสูตรดังน้ี

100xนับไดทั้งหมดท่ีจํานวนอสุจิไหวที่เคล่ือนจํานวนอสุจิ

=คล่ือนไหว อสุจิที่เเปอรเซ็นต

อนไหวที่ไมเคลืจํานวนอสุจิ+ ไหวที่เคลื่อนจํานวนอสุจิ=ทั้งหมดจํานวนอสุจิ

(ก) (ข)

Page 9: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 188

การทดลองสรีรวิทยา

การทดลองที่ 9-5 การนับจํานวนอสุจิที่มีชีวิต

1. หยดสีอีโอซิน-นิโกรซิน (Eosin-Nigrosin stain) ลงบนแผนสไลด 1 หยด

2 . นํานํ้าอสจุิจากทอพักเชือ้อสุจิสวนปลายมาผสมกับสทีีห่ยดบนแผนสไลด ทิ้งไว 1 นาที

3. นําแผนสไลดอีกแผนหน่ึงมาสเมียรลากผานหยดสีจนสดุแผนสไลด

4. นําไปลนไฟจนแหง ตรวจนับจํานวนอสจุิทีเ่ปนและตายจํานวน 100 ตัวภายใตกลองจุลทรรศน

โดยอสุจทิี่เปนจะไมตดิสสีวนอสุจทิี่ตายแลวจะตดิสแีดงมวงจากนั้นนํามาคาํนวณดังน้ี:

100xหมดที่นับทั้งจํานวนอสุจิ

ที่เปนจํานวนอสุจิ = วิต อสุจิมีชีเปอรเซ็นต

การทดลองที่ 9-6 การผลิตอสุจิในแตละวัน

1. สลบหนูดวยอีเธอร (Ether) ผาตัดแยกอัณฑะออกจากถุงหุมอัณฑะ

2. ชั่งนํ้าหนักอัณฑะและดึงเน้ือเยื่อชั้นทูนิกาอัลบูจิเนีย (Tunica albuginea) ออกจากอัณฑะ

3. นําอัณฑะไปบดดวยเครื่องบดเน้ือเยื่อในสารละลายซาไลนไตรตอนเมอรไธโอเลต (Saline

titron merthionate) เปนเวลา 2 นาที

4. ตรวจนับหัวของอสุจิโดยสุมนับจํานวนอสุจิใน 5 ชองของเครื่องนับเม็ดเลือดภายใตกลอง

จุลทรรศนกําลังขยาย 40 เทา คาที่บันทึกไดนํามาคํานวณจํานวนอสุจิตอนํ้าหนักอัณฑะโดยเนื้อเยื่อ

อัณฑะสามารถเก็บไดในอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ภายใน 28 ชั่วโมง

จํานวนอสุจิที่นับไดทั้งหมด N ตัว

แฟคเตอรเครื่องนับเม็ดเลือด (Hematocytometer factor) 104 มิลลิลิตร

ปริมาตรสารละลาย 100 มิลลิลิตร

นํ้าหนักอัณฑะ X กรัม

ไทมดิวิเซอร (Time divisor) หนูแรท 6.3 วัน

นอัณฑะตอวัตัวตอกรัม6.3xX

100x10xN=ละวัน ิตอสุจิแตจํานวนการผล

(ที่มา: ดัดแปลงมาจาก Robb et al., 1978; Amann and Howards, 1980 and Srikhao,

1987)

Page 10: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 189

การทดลองสรีรวิทยา

บรรณานุกรม

Amann, R.P. and S.S. Howards. 1980. Daily spermatozoal production and epididymal

spermatozoal researves of the human male. J. Uro. 124: 211-215.

Robb, G.W., R.P. Amann and G.J. Killian. 1978. Daily sperm production and epididymal sperm

reserves of pubertal adult rats. J. Reprod. Fert. 54: 103-107.

Robert, B.C. 1988. Laboratory anatomy of the white rat. Wm. C. Brown publisher,

USA.

Ruckebusch, Y., Phaneuf, L.-P. and R. Dunlop. Physiology of Small and Large Animals.

B.C. Decker, Inc., Philadelphia.

Srikhao, A. 1987. Antifertility Effect of Sulfasalazine and Its Metabolites in the Male

Rats. Ph.D. thesis, Mahidol University.

Tharp, G.D. and D.A. Woodman. 2002. Experiments in Physiology. 8thed. Prentice Hall,

New Jersey.

Page 11: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 190

การทดลองสรีรวิทยา

รายงานปฏิบตัิการ ชื่อ ……………………………………

หมายเลขประจาํตัว …………………..

วันที ่………………………………….

9. สรีรวทิยาระบบสืบพันธุ ระดับคะแนน…………………………

การทดลองท่ี 9-1 การตรวจวงจรเปนสัดหนูโดยการทําสเมียรชองคลอด

1. เติมระยะตาง ๆ ของวงจรเปนสัดหนู

วัน

สัตว 1 2 3 4 5

หนูแรท

หมายเหตุ : P = โพรเอสตรัส; E = เอสตรัส; M = เมทเอสตรัส และ D = ไดเอสตรัส

2. วงจรเปนสัดของหนูมีกี่เฟส แตละเฟสมีลักษณะดัชนีบงบอกตางกันอยางไรบาง (วาดรูป

ประกอบ)

Page 12: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 191

การทดลองสรีรวิทยา

3. ระยะใดเหมาะสมนําหนูเพศเมียไปผสมกับหนูเพศผู

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………….

การทดลองที่ 9-2 การทดสอบความสมบูรณพันธุหนูเพศผู

1. ความสมบรูณพันธุหนูเพศผูเทากับเทาใด

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………

การทดลองที่ 9-3 การนับอสุจิในทอพักเช้ืออสุจิสวนปลาย

1. จํานวนอสุจิในทอพักเช้ือสวนปลายเทากบัเทาใด

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………

การทดลองที่ 9-4 การนับจํานวนอสุจิที่เคล่ือนไหว

1. จํานวนอสุจิที่เคล่ือนไหวมีกี่เปอรเซ็นต

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………….

การทดลองที่ 9-5 การนับจํานวนอสุจิที่มีชีวิต

1. วาดภาพอสุจิตัวเปนและตัวตาย

Page 13: 9 สรีรวิทยาระบบส ืบพันธุ (Reproductive Physiology)pirun.ku.ac.th/~fscipnt/Teaching media/ANIMAL... · (Reproductive Physiology) วัตถุประสงค

สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ: 192

การทดลองสรีรวิทยา

2. จํานวนอสุจิมีชีวิตเทากับกี่เปอรเซ็นต

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

การทดลองที่ 9-6 การผลิตอสุจิในแตละวัน

1. การผลิตอสุจิแตละวันเทากบัเทาใด

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………