8
อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ทความ เนื้อหาในบทความนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการอ่านเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการไป อบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรการเข้าถึงและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในยุคดิจิทัล (Scientific Information in the Digital Age: Access and Dissemination) ที่ The Abdus Salam International Centre for Theoretical Physics (ICTP) เมือง Trieste ประเทศอิตาลี โปรแกรมนี้จัดโดย ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ (Science Dissemination Unit, SDU) ของ ICTP ซึ่งทางทีมผู้จัดได้เชิญผู้มีความ รู้และประสบการณ์ตรงมาบรรยายให้ฟัง หัวข้อที่บรรยายมีหลายเรื่องด้วยกัน แต่ผู้เขียนขอหยิบยกมาเล่าพอ สังเขปเพียงบางเรื่องที่เป็นเรื่องทั่วๆ ไป และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ดังนี• การเข้าถึงแบบเสรี (Open Access, OA) • รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล • ระบบการบันทึกอัตโนมัติ (OpenEyA) การเข้าถึงแบบเสรี (Open Access) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อัตราค่าสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่งบประมาณ ที่สถาบันการศึกษาได้รับกลับไม่สอดรับกับราคาที่สูงขึ้น ทำให้หลายสถาบันไม่สามารถหาเงินมาสนับสนุนค่าใช้ จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาได้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกการเป็นสมาชิกวารสารบางฉบับไปแม้ว่ายังคงเป็นที่ต้องการอยู่ก็ตาม และถึงแม้ว่ารูปแบบของวารสารจะเปลี่ยนจากรูปเล่มมาอยู่ในรูปดิจิทัล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถ เข้าไปดาวน์โหลดบทความนั้นๆ ออกมาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สภาพการณ์เช่นนี้จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อ ประเทศกำลังพัฒนา เพราะทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานวิชาการที่ทันสมัยได้ อย่างไรก็ดี ยังมีบทความวิชาการอีกประเภทหนึ่งที่มีความถูกต้องเช่นเดียวกับบทความวิชาการที่ได้รับ การตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นรูปเล่มและวารสารแบบดิจิทัลที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก แต่ต่างกันที่บทความเหล่านีอยู่ในรูปไฟล์ดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยอินเทอร์เน็ต ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่กีดกันเรื่องลิขสิทธิ์ ผู้อ่านสามารถ อ่าน ดาวน์โหลด สำเนา เผยแพร่ พิมพ์ ค้นหา ทำลิงก์มายังบทความ และนำไปใช้ภายใต้กฎหมายโดยไม่มีค่า ใช้จ่าย แต่จะต้องมีการอ้างถึงหรือใส่กิตติกรรมประกาศไว้อย่างเหมาะสม การเข้าถึงและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ ในยุคดิจิทัล

บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาต ิ

บ ทความ บ

เนื้อหาในบทความนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการอ่านเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรการเข้าถึงและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในยุคดิจิทัล(Scientific Information in theDigital Age: Access andDissemination) ที่ The Abdus SalamInternationalCentreforTheoreticalPhysics(ICTP)เมืองTriesteประเทศอิตาลีโปรแกรมนี้จัดโดยฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์(ScienceDisseminationUnit,SDU)ของICTPซึ่งทางทีมผู้จัดได้เชิญผู้มีความรู้และประสบการณ์ตรงมาบรรยายให้ฟัง หัวข้อที่บรรยายมีหลายเรื่องด้วยกัน แต่ผู้เขียนขอหยิบยกมาเล่าพอสังเขปเพียงบางเรื่องที่เป็นเรื่องทั่วๆไปและสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้ •การเข้าถึงแบบเสรี(OpenAccess,OA) •รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล •ระบบการบันทึกอัตโนมัติ(OpenEyA) การเข้าถึงแบบเสรี(OpenAccess) ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอัตราค่าสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากแต่งบประมาณที่สถาบันการศึกษาได้รับกลับไม่สอดรับกับราคาที่สูงขึ้น ทำให้หลายสถาบันไม่สามารถหาเงินมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาได้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกการเป็นสมาชิกวารสารบางฉบับไปแม้ว่ายังคงเป็นที่ต้องการอยู่ก็ตามและถึงแม้ว่ารูปแบบของวารสารจะเปลี่ยนจากรูปเล่มมาอยู่ในรูปดิจิทัล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเข้าไปดาวน์โหลดบทความนั้นๆ ออกมาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สภาพการณ์เช่นนี้จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนาเพราะทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานวิชาการที่ทันสมัยได้ อย่างไรก็ดี ยังมีบทความวิชาการอีกประเภทหนึ่งที่มีความถูกต้องเช่นเดียวกับบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นรูปเล่มและวารสารแบบดิจิทัลที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก แต่ต่างกันที่บทความเหล่านี้อยู่ในรูปไฟล์ดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยอินเทอร์เน็ตไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่กีดกันเรื่องลิขสิทธิ์ผู้อ่านสามารถอ่านดาวน์โหลดสำเนาเผยแพร่พิมพ์ค้นหาทำลิงก์มายังบทความและนำไปใช้ภายใต้กฎหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่จะต้องมีการอ้างถึงหรือใส่กิตติกรรมประกาศไว้อย่างเหมาะสม

การเข้าถึงและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์

ในยุคดิจิทัล

Page 2: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 38

การเข้าถึงแบบเสรีประกอบด้วย2แนวทางคือ • Golden road คือ การนำบทความวิชาการไปตีพิมพ์ในวารสารที่เข้าถึงได้เสรี (Open AccessJournal) ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาก่อน(peerreview)ส่วนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ที่เกิดขึ้นจะเก็บกับทางผู้เขียนหรือหน่วยงานของผู้เขียนแทนการเก็บจากผู้อ่านหรือหน่วยงานของผู้อ่าน โดยมากงบที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายนี้จะมาจากทุนวิจัยมากกว่ามาจากงบประมาณของทางห้องสมุด รายชื่อวารสารประเภทนี้สามารถเข้าไปดูได้จาก Directory of Open Access Journals(DOAJ)ที่เว็บไซต์http://www.doaj.org/ •Greenroadคือผู้เขียนนำผลงานของตนเองทั้งที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาแล้ว อาทิ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร (peer-reviewed journal publication)บทความการประชุมวิชาการ(peer-reviewedconferenceproceedingspaper)ตำราวิชาการเฉพาะเรื่อง(monograph) และที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบ (grey literature) อาทิ บทความวิชาการฉบับร่าง(preprint)วิทยานิพนธ์(thesis)ปริญญานิพนธ์(dissertation)รายงานสถิติต่างๆ(statisticalreport)ไปเก็บไว้ในคลังข้อมูล ซึ่งอาจเป็นคลังข้อมูลของทางหน่วยงาน (institutional repository) หรือคลังข้อมูลกลาง(centralrepository)ก็ได้ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้มากขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายชื่อคลังข้อมูลได้จาก Directory of Open Access Repositories(DOAR) ที่เว็บไซต์ http://www.opendoar.org/ หรือ Registry of Open Access Repositories ที่เว็บไซต์http://roar.eprints.org/ สำหรับในประเทศไทยจากการเข้าไปสืบค้นที่เว็บไซต์http://www.opendoar.org/พบว่ามีคลังข้อมูล2 แห่งคือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AsianInstituteofTechnology,AIT)โดยใช้ชื่อคลังข้อมูลว่า“NSTDAKnowledgeRepository”และ“ห้องสมุดดิจิทัลคิดดี”(KIDS-D,Knowledge,Imaginary,Discovery,Sharing)ตามลำดับ ประโยชน์ของการเข้าถึงแบบเสรีต่อกลุ่มคนต่างๆ ผู้เขียน : การตีพิมพ์ผลงานในวารสาร OA จะสามารถเพิ่มปริมาณผู้อ่านได้สูงกว่าการตีพิมพ์ลงในวารสารที่ต้องมีการสมัครเป็นสมาชิกอีกทั้งเป็นการเพิ่มจำนวนครั้งการอ้างอิงผลงานดังกล่าวด้วย ผู้อ่าน : ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความในสาขางานวิจัยที่สนใจได้สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทำให้สามารถผลิตผลงานวิจัยได้เร็วและมากขึ้น ห้องสมุด : OA สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณที่ห้องสมุดจะต้องใช้ในการสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการที่ราคาสูงขึ้นทุกๆปีได้ มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา :OA เป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้ในการเผยแพร่ผลงานและความรู้สู่สาธารณะ วารสารและสำนักพิมพ์:OAช่วยให้ผู้อ่านบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนั้นๆสืบค้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้จำนวนครั้งในการถูกอ้างอิงสูงขึ้น จึงเหมือนเป็นสิ่งดึงดูดให้นักเขียนนำบทความมาตีพิมพ์กันมากขึ้นส่วนบริษัทก็ต้องการซื้อพื้นที่ลงโฆษณากันมากขึ้น แหล่งทุนวิจัย:OAจะช่วยให้งานวิจัยที่รับเงินทุนไปเข้าถึงผู้อ่านได้มากและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง ประชาชนทั่วไป:OAช่วยให้ประชาชนผู้เสียภาษีเหล่านี้สามารถเข้าถึงบทความวิชาการที่มีการตรวจสอบความถูกต้องได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสในการนำผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่ศึกษาโดยนักวิจัยแพทย์หรือนักเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย หากนักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการต้องการให้ผลงานของตนเองเกิดการเข้าถึงอย่างเสรีก็สามารถนำผลงานไปเสนอต่อวารสารชนิดแบบเข้าถึงได้เสรีเพื่อให้พิจารณาตีพิมพ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ตรงกับงานได้จากเว็บไซต์ DOAJ แต่หากยังไม่มีวารสารที่เหมาะสม เช่น ความมีชื่อเสียงในสาขาของงานหรืออิมแพกต์แฟกเตอร์ (impact factor) น้อยไป ผู้เขียนก็มีอีกทางเลือกที่จะทำให้บทความของตนเข้าถึงได้เสรีโดยเก็บไว้ในคลังข้อมูลแทน ภายหลังจากได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชนิดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เสรี

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 38

Page 3: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 39

(non-OA Journal) ซึ่งจากสถิติพบว่าร้อยละ 70 ของวารสารชนิดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เสรียินยอมให้นำบทความหลังการจัดพิมพ์ (postprint) จัดเก็บในคลังข้อมูลได้ ทั้งนี้อาจจะต้องศึกษาถึงนโยบายของวารสารแต่ละฉบับก่อน รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ทั้งในด้านการสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการเรียนรู้ เด็กในยุคปัจจุบันจะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเด็กในยุคก่อนตรงที่สมองจะจดจำภาพมากกว่าตัวหนังสือที่ดูไม่น่าสนใจ อีกทั้งยังใช้เวลาอ่านค่อนข้างมากอีกด้วย ดังนั้น เด็กในยุคปัจจุบันจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ท่องโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อดูวิดีโอฟังเพลงหรือหาข้อมูลที่สนใจมากกว่า

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวความคิดที่จะใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นช่องทางเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เช่นริชาร์ดมัลเลอร์(RichardMuller)นักฟิสิกส์แห่งUniversityofCalifornia,Berkeleyได้นำการบรรยายเรื่อง “atoms and heat” นำเสนอผ่านเว็บไซต์ YouTube ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ก่อตั้งในปีค.ศ. 2005 และมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องการนำวิดีโอของตัวเองมาเผยแพร่ และผลสำรวจออกมาว่ายอดการเข้าชมวิดีโอการบรรยายเรื่องนี้สูงมาก ส่งผลให้ทางมหาวิทยาลัยเริ่มนำการบรรยายวิชาทั้งหมดนำเสนอบนเว็บไซต์YouTubeและที่ParmaUniversityก็จัดให้มีวิดีโอเซอร์เวอร์ (videoserver)สำหรับให้อาจารย์และนักศึกษานำวิดีโอมาเผยแพร่ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์SciVeeซึ่งก่อตั้งในปีค.ศ.2007โดยฟิลเบอร์น(PhilBourne)และลีโอชาลูปา(LeoChalupa)ซึ่งเป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งที่อนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดาวน์โหลดชมและแบ่งปันวิดีโอคลิปอีกทั้งยังนำมาเชื่อมต่อกับผลงานวิทยาศาสตร์โปสเตอร์และสไลด์ เว็บไซต์SciVeeมาจากการรวมคำ2คำคือ“Science”และ“Video”เป็นเว็บไซต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ3กลุ่มคือPublicLibraryofScience(PLoS)ซึ่งเป็นวารสารแบบOAทำหน้าที่นำเนื้อหามาเผยแพร่บนเว็บไซต์NationalScienceFoundation(NSF)เป็นแหล่งเงินทุนในการเริ่มทำเว็บไซต์และSan Diego Supercomputer Center (SDSC) ให้เครื่องเซอร์เวอร์ (server) สำหรับจัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ เว็บไซต์นี้เปรียบได้กับเป็นที่ที่เหล่านักวิจัยสามารถนำผลงานของตนเองมาเผยแพร่สู่สังคมวิทยาศาสตร์ซึ่งรูปแบบการนำเสนอบทความวิชาการบนเว็บไซต์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวหนังสือเช่นการเสนอผลงานแบบเดิมๆ แต่สามารถเป็นได้ทั้งวิดีโอและรูปภาพ เพราะการนำเสนอด้วยตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวจะทำให้งานที่น่าสนใจกลับกลายเป็นงานที่น่าเบื่อได้ อีกทั้งใช้เวลาในการอ่านเพื่อจับประเด็นสำคัญค่อนข้างมาก ในขณะที่

Page 4: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 40

การใช้วิดีโอนำเสนอนอกจากจะช่วยทำให้งานน่าสนใจขึ้นแล้วยังสามารถช่วยให้จับประเด็นสำคัญได้เร็วขึ้นส่วนการใช้ภาพอธิบายเพียงภาพเดียวอาจจะดีกว่าคำอธิบายเป็นพันๆคำก็ได้

รูปแบบการนำเสนอในเว็บไซต์นี้ได้แก่ 1. Pubcast คือ การนำเสนอบทความวิชาการที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วให้ผู้สนใจฟังในรูปแบบวิดีโอที่มีภาพประกอบไปพร้อมๆ กับเนื้อหา โดยจะพูดเนื้อหาตรงจุดที่สำคัญของงาน หรือนำเสนอภาพประกอบที่ช่วยให้เข้าใจในงานได้ดีภายในเวลาสั้นๆ

ภาพที่ 1 สองในสามผู้ก่อตั้ง YouTube (ซ้าย) ชัด เฮอร์เลย์ (Chad Hurley) และ (ขวา) สตีฟ เชน (Steve Chen)

ภาพที่ 2 ฟิล เบอร์นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง SciVee

ภาพที่ 3 ตัวอย่าง pubcast

2.Papercastจะคล้ายกับpubcastแต่ต่างกันที่ papercast เป็นการนำเสนอบทความวิชาการที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3. Postercast คือ การนำเสนอผลงานที่เป็นโปสเตอร์ในรูปแบบวิดีโอที่ผู้ชมสามารถมองเห็นผู้บรรยายอธิบายถึงจุดสำคัญของงานโดยมีภาพประกอบไปพร้อมๆกับเนื้อหาที่กำลังบรรยาย

Page 5: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 41

ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast

4. Slidecast คือ การนำเสนอในรูปแบบวิดีโอที่ผู้ชมสามารถมองเห็นได้ทั้งผู้บรรยายและสไลด์ประกอบไปพร้อมๆกัน 5.CVcastคือการนำเสนอประวัติย่อและผลงานในรูปแบบวิดีโอ

ภาพที่ 5 ตัวอย่าง CVcast

6. Video & podcast คือ การนำเสนอไฟล์มัลติมีเดียทั่วไป ซึ่งรายละเอียดจะน้อยกว่า pubcastและpostercast การนำเสนอในรูปแบบใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติการสื่อสารวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้านี้นักวิจัยจะต้องใช้เวลาอ่านบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเป็นจำนวนมาก (literature review)แต่ปัจจุบันมีทางเลือกใหม่ในรูปแบบวิดีโอที่สรุปรวบรัดใจความสำคัญเพื่อจะช่วยให้นักวิจัยทำงานได้สะดวก มีประสิทธิภาพ และสนุกกับการทำงานมากขึ้น ส่วนการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่าในงานประชุมวิชาการโดยปกติก็จะมีเฉพาะบุคคลที่ไปร่วมงานเท่านั้นที่สามารถรับฟังการเสนอผลงานนั้นได้ แต่หากมี

Page 6: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 42

การบันทึกเป็นวิดีโอและเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจะทำให้เปิดช่องทางการเผยแพร่ให้กว้างขวางขึ้นไปอีก เพราะบุคคลที่สนใจแต่ไม่สามารถไปร่วมงานได้ก็สามารถติดตามได้ นอกจากจะมีประโยชน์ในกลุ่มวิจัยแล้ว งานทรัพยากรบุคคลก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน โดยให้ผู้ที่ต้องการสมัครงานนำเสนอประวัติย่อของตนเองในรูปแบบวิดีโอและส่งมาให้พิจารณาก่อน จึงค่อยเรียกเฉพาะผู้ที่เหมาะสมและตรงกับงานที่ต้องการมาสัมภาษณ์จริงก็ได้ OpenEyAระบบการบันทึกอัตโนมัติ หัวข้อนี้เป็นงานวิจัยที่ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์หรือSDUได้แรงจูงใจจากการที่ICTPซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้กับประเทศกำลังพัฒนามีทุนที่จำกัด ทำให้มีนักเรียนที่ได้รับเลือกมาศึกษาและทำวิจัย ณ สถานที่แห่งนี้มีจำนวนน้อย และเพื่อที่จะกระจายความรู้ออกไปให้กว้างขวางจึงเริ่มแนวคิดที่จะสร้างคลังข้อมูลวิดีโอทางเว็บไซต์ในปีค.ศ.2004แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดจ้างคนภายนอกมาบันทึกวิดีโอที่สูงถึง7,500-10,500บาทต่อชั่วโมง อีกทั้งภาพที่บันทึกมักปรากฏเฉพาะผู้บรรยายเท่านั้น ไม่มีข้อมูลเรื่องที่กำลังบรรยายทำให้ผู้ฟังไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร ทางทีมวิจัยของเอนริคคาเนสซา(EnriqueCanessa)คาร์โลฟอนดา(CarloFonda)และมาร์โคเซนนาโร (Marco Zennaro) (ภาพที่ 6) จึงได้พัฒนาระบบการบันทึกอัตโนมัติ (automated recordingsystem) ที่มีชื่อว่า “Enhance your Audience, EyA” ขึ้นมาโดยใช้กล้องวิดีโอและกล้องถ่ายภาพดิจิทัลซึ่งปกติใช้เป็นอุปกรณ์หนึ่งในการบันทึกเรื่องราวและถ่ายภาพความประทับใจต่างๆ อยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์หรือการประชุมวิชาการต่างๆซึ่งวิธีนี้เป็นตัวช่วยให้นักเรียนสามารถเข้ามาทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลาโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนครั้ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการอาจมีหลายหัวข้อที่สนใจแต่เวลาการบรรยายตรงกัน หรือติดภารกิจอื่นทำให้ไม่สามารถเข้าฟังก็สามารถเก็บตกในเรื่องราวที่ตนพลาดได้หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจแต่ไม่สามารถมาร่วมงานนั้นๆ ได้ก็สามารถเข้ามาดูเนื้อหาทางเว็บไซต์ที่มีการนำไฟล์ขึ้นเผยแพร่ได้ ระบบการบันทึกอัตโนมัติที่ได้พัฒนาขึ้นมีทั้งแบบที่เคลื่อนที่ได้หรือติดตั้งประจำห้อง แต่อุปกรณ์โดยหลักๆของทั้ง2แบบนี้ประกอบไปด้วย3ส่วนคือ • ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Ubuntu Linux, กล้องดิจิทัล, ACPowerAdapter,กล้องเว็บแคม(webcam),ไมโครโฟนและขาตั้งกล้องแบบ3ขา(tripod)ดังภาพที่7

ภาพที่ 6 ทีม SDU (ICTP) เอนริค คาเนสซา (ยืน) คาร์โร ฟอนดา (หน้าสุด) และมาร์โค เซนนาโร

ภาพที่ 7 อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ EyA แบบเคลื่อนที่ได้

Page 7: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 43

•ซอฟต์แวร์ได้แก่ซอร์ฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นที่ICTPหรือที่มากับฮาร์ดแวร์ •ระบบเชื่อมต่อทั้งหมดและเน็ตเวิร์ค ระบบนี้สามารถติดตั้งประจำภายในห้องเรียนได้ (ภาพที่ 8) อีกทั้งสามารถตั้งเวลาการบันทึกล่วงหน้าให้สอดคล้องกับชั่วโมงเรียนได้อีกด้วย

การทำงานของระบบบันทึกอัตโนมัตินี้เริ่มจากกล้องเว็บแคมจะทำหน้าที่บันทึกวิดีโอ ไมโครโฟนจะทำหน้าที่บันทึกเสียงและกล้องดิจิทัลจะทำหน้าที่ถ่ายภาพทุกๆช่วงเวลาที่มีการตั้งไว้จากนั้นไฟล์ทั้งหมดที่บันทึกได้จะโอนย้ายไปยังเครื่องเซอร์เวอร์ ภายหลังจากจบการบรรยายจะสามารถดูบันทึกการบรรยายได้ทางเว็บไซต์ซึ่งรายละเอียดของข้อมูลทั้งจากสไลด์บนกระดานดำหรืออื่นๆจะถูกบันทึกไว้ด้วยภาพและจะแสดงไปพร้อมกับการบรรยายที่ได้จากกล้องวิดีโอทำให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการบรรยายได้เสมือนกับว่าเข้าไปร่วมในชั้นเรียนเลยทีเดียวภาพการบันทึกจะแบ่งเป็น3ส่วนคือ •ส่วนแรกอยู่ด้านบนซ้ายเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงที่ได้จากกล้องเว็บแคมและไมโครโฟนทำการบันทึกเหตุการณ์ในห้องโดยรวม • ส่วนที่ 2 อยู่ด้านล่างซ้าย เป็นภาพนิ่งที่ได้จากกล้องดิจิทัล หากสังเกตจะเห็นกรอบที่สามารถใช้เมาส์เปลี่ยนตำแหน่งเพื่อดูภาพขยายตามตำแหน่งที่กรอบนั้นอยู่ได้ •ส่วนที่3อยู่ด้านขวาเป็นภาพขยายของบริเวณกรอบที่เลือก(ภาพที่9)

ภาพที่ 8 อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ EyA แบบติดประจำที่ในห้องเรียน

ภาพที่ 9 ตัวอย่างการแสดงผลจากการบันทึกด้วย EyA

Page 8: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 44

แหล่งความรู้อ้างอิง Open Access • สไลด์การบรรยายเรื่อง “Introduction to Open Access” และ “Open Repositories” โดย Iryna Kuchma จาก electronic Information For Library (eIFL) • http://74.125.153.132/search?q=cache:HFt-yOWNmJ0J:redo.me.uk/1/www.earlham.edu/~peters • http://www.sherpa.ac.uk/guidance/authors.html#whatoa • http://www.eprints.org/openaccess/ รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล • สไลด์การบรรยายเรื่อง “scivee.tv: Science Community Site” โดย Philip E. Bourne จาก University of California San Diego • สไลด์การบรรยายเรื่อง “YOUnipor a 2.0 video server” โดย Sara Valla จาก Parma University • http://www.scivee.tv/ • http://en.wikipedia.org/wiki/SciVee OpenEyA ระบบการบันทึกอัตโนมัติ ท่านใดสนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้ • http://www.openeya.org/ • http://www.ictp.tv/eya/ หรือหากสนใจการบรรยายและการสาธิตอุปกรณ์สามารถเข้าดูได้ที่ • http://www.ictp.tv/eya/openaccess09.php?day=15 (เวลาประมาณ 14.00-15.00 น.) • http://www.ictp.tv/eya/openaccess09.php?day=16 (เวลาประมาณ 11.30-12.30 น.) บทความวิชาการ • Canessa, E., Fonda, C., and Zennaro, M. (2009). One year of ICTP diploma courses on-line using the automated EyA recording system. Computers & Education, 53, 183-188. รูปภาพประกอบ • http://www.klickfile.com/img/digital-age-paper.png • http://news.xinhuanet.com/english/2008-01/25/xinsrc_3020105250916984211336.jpg • http://www.scivee.tv/assets/videothumb/9264 • http://www.scivee.tv/node/7757 • http://pio.ictp.it/words/newsletter/backissues/News_112/NL112_images/SDU.jpg • http://www.openeya.org/wp-content/uploads/openeya-full-setup3.jpg • สไลด์การบรรยายเรื่อง “Open Academic Webcasting with Linux: openEyA” โดย Carlo Fonda และทีม SDU (ICTP)

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ ได้แก่ ช่วยทบทวนในบางช่วงบางตอนที่ตามไม่ทันในชั้นเรียน ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นสามารถติดตามการเรียนการสอนในวันที่ไม่มาเข้าชั้นเรียนได้ช่วยให้เข้าใจประเด็นที่ผู้บรรยายสอนเร็ว ช่วยในการเตรียมตัวสอบ ช่วยในการปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษาอังกฤษ คลายกังวลเรื่องการจดและหันมาใส่ใจในเนื้อหามากขึ้นหากหน่วยงานใดที่สนใจก็สามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอ้างอิง