115
1 หหหหหหหหหหหหหหหหหหห ห หหหหหห หหหหหหหหหหหหหห หหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหห หหหห ห หหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหห ห หหหหหหหหหหห ห หหหห หหหหหหห ห. หหหหหหหหหหหหหหหหหห/ หหหหหหหหห หหหหหหห หหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหห หห.หใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ หหหหหหหหห ใ.ใ/ใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใ.ใ/ใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใ.ใ/ใ ใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใ.ใ/ใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใ.ใ/ใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใ หหหหหหห ห หหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหห ห ห.หใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใ ใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ หหหหหหหหห

ตอนที่ ๑ · Web viewป.๔/๒ อธ บายความหมายของคำ ประโยค และสำนวนจากเร องท อ าน

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ตอนที่ ๑

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง ออมไว้ได้กำไรชีวิต

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยรายวิชา ภาษาไทยรหัสวิชา ท ๑๔๑๐๑

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ เวลา ๙ ชั่วโมง

๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด

สาระที่ ๑การอ่าน

มาตรฐานการเรียนรู้

ท๑.๑ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัด

ป.๔/๑อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง

ป.๔/๒ อธิบายความหมายของคำ ประโยค และสำนวนจากเรื่องที่อ่าน

ป.๔/๓ อ่านเรื่องสั้นๆ ตามเวลาที่กำหนดและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน

ป.๔/๖ สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ป.๔/๘ มีมารยาทในการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน

มาตรฐานการเรียนรู้

ท ๒.๑ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

ป.๔/๑ คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด

ป ๔/๒ เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม

ป.๔/๓ เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน

ป.๔/๔ เขียนย่อความจากเรื่องสั้นๆ

ป.๔/๘ มีมารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐานการเรียนรู้

ท ๓.๑สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด

ป.๔/๒ พูดสรุปความจากการฟังและดู

ป.๔/๓ พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู

ป.๔/๔ ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู

ป.๔/๖ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐานการเรียนรู้

ท ๔.๑เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

ตัวชี้วัด

ป.๔/๖ บอกความหมายของสำนวน

สาระที่ ๕ วรรณคดี และวรรณกรรม

มาตรฐานการเรียนรู้

ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ตัวชี้วัด

ป๔/๒อธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง

ป ๔/๔ ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองงที่มีคุณค่าตามความสนใจ

๒. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การอ่านเนื้อหาจะต้องฝึกจับใจความสำคัญ ของเรื่องที่อ่าน การอ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขรวิธี และฉันทลักษณ์อย่างคล่องแคล่วสามารถถ่ายทอดอารมณ์ตามเรื่องที่อ่านเป็นการสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาคำศัพท์ สำนวนและความหมายของคำ ทำให้เราเกิดความเข้าใจได้ถูกต้องและชัดเจนนำใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทของคำศัพท์ ข้อความ การคัดลายมือจากบทร้อยกรองได้ถูกต้องและสวยงามทำให้อ่านง่ายขึ้นและน่าสนใจและการตั้งคำถามจากนิทาน การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง การเรียนรู้เรื่องสำนวนเปรียบเทียบ ปริศนาคำทาย เป็นการฝึกจับใจความสำคัญและถอดความหมายได้เป็นอย่างดี

๓. สาระการเรียนรู้

ความรู้ (K)

1. หลักการอ่านเขียนคำศัพท์

2. หลักการอ่านจับใจความ

3. หลักการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

4. หลักการอ่านออกเสียง

5. หลักสำนวนเปรียบเทียบ

6. หลักปริศนาคำทาย

7. หลักการฝึกหัดคัดลายมือ

8. การตั้งคำถามจากนิทาน

9. หลักการอ่านบทร้อยกรองเงินตราน่ารู้

ทักษะ/กระบวนการ (P)

1. เขียนแผนภาพโครงเรื่อง

2. อ่านจับใจความ

3. อ่านออกเสียง

4. คัดลายมือ

5. ตั้งคำถาม

เจตคติ (A)

1. เห็นคุณค่าของการออม

2. มีมารยาทในการอ่าน

3. มีมารยาทในการเขียน

๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. มีความสามารถในการสื่อสาร

2. มีความสามารถในการคิด

-ทักษะการคิดวิเคราะห์

๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. ซื่อสัตย์สุจริต

3. อยู่อย่างพอเพียง

๖.ชิ้นงาน/ภาระงาน

๑. อ่านออกเสียงและจับใจความสำคัญเรื่องออมไว้กำไรชีวิต

๒. จัดทำสมุดเล่มเล็กคำศัพท์และความหมายเรื่องออมไว้กำไรชีวิต

๓. เขียนแผนภาพโครงเรื่องออมไว้ได้กำไรชีวิต

๗. การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การผ่าน

๑.ประเมินการอ่านออกเสียง

๒. ประเมินการอ่านจับใจความ

๓. ประเมินการทำสมุดเล่มเล็กคำศัพท์และความหมายเรื่องออมไว้กำไรชีวิต

๔.การเขียนแผนภาพโครงเรื่องเรื่องออมไว้ได้กำไรชีวิต

๑. แบบประเมินการอ่านออกเสียง

๒. แบบประเมินการอ่านจับใจความ

๓. แบบประเมินการทำสมุดเล่มเล็กคำศัพท์และความหมาย

๔.แบบประเมินการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

1. เกณฑ์การอ่านออกเสียง

ช่วงคะแนน ๑๔ – ๑๘ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๘ – ๑๒ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๘ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

2. เกณฑ์การอ่านจับใจความ

ช่วงคะแนน ๙ – ๑๒ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๕ – ๘ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๕ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

3. เกณฑ์การทำสมุดเล่มเล็กคำศัพท์และความหมาย

ช่วงคะแนน ๙ – ๑๒ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๕ – ๘ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๕ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

4. เกณฑ์การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

ช่วงคะแนน ๑๔ – ๑๘ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๘ – ๑๒ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๘ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

๘. กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ ๑ การศึกษาคำศัพท์

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อ่านและเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้อง

กิจกรรมการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนทำข้อสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ออมไว้กำไรชีวิต (ภาคผนวก)

ขั้นนำ

๑. ครูยกบัตรคำศัพท์ให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนอ่านออกเสียงดังๆ พร้อมกัน เช่น

ธนบัตร อ่านว่า ท ะ – นะ – บัด

กตัญญู อ่านว่า กะ – ตัน – ยู

สังสรรค์ อ่านว่า สัง – สัน ฯลฯ

๒. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบและแนะนำให้เข้าใจความสำคัญของการออมเงิน และประโยชน์ของการประหยัดอดออม

ขั้นสอน

๑. ตัวแทนนักเรียนนำบัตรคำศัพท์ที่ครูเตรียมไว้ติดบนกระเป๋าผนังพร้อมกับบัตรคำอ่านให้นักเรียนสังเกตบัตรคำที่ปรากฏ

๒. เลือกสุ่มนักเรียนอ่านคำศัพท์ให้เพื่อนฟัง และให้เพื่อนอ่านตามคำละ ๒ ครั้ง เน้นการอ่านออกเสียงถูกต้อง และชัดเจนจากนั้นครูอธิบายความหมายของคำศัพท์แต่ละคำให้นักเรียนเข้าใจ

๓. นักเรียนอ่านคำบนกระเป๋าผนังจนครบทุกกลุ่มใครอ่านไม่ได้หรือไม่คล่องให้เพื่อนช่วยจนสามารถอ่านคล่อง

๔. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับกระดาษแผ่นใหญ่จากครู แล้วร่วมกันค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่มีในบทเรียนจากพจนานุกรมบันทึกลงในกระดาษแผ่นใหญ่

๕. นักเรียนเปิดหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานภาษา ชั้นประถมปีที่ ๔ ภาษาพาที เล่ม ๑ บทที่ ๒ เรื่อง ออมไว้กำไรชีวิต แล้วอ่านออกเสียงบทเรียนคนละ ๕ บรรทัด ตามลำดับเลขที่ จากหน้า ๑๗ ถึงหน้า ๒๑ ต่อกันจนจบ โดยอ่านเวียนจนครบทุกคน

๖. ให้นักเรียนอ่านออกเสียงกันเองอีกครั้งพร้อม ๆกัน ครูคอยสังเกตการอ่านของเด็ก ๆ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป

ขั้นสรุป

๑. นักเรียนช่วยกันสรุปแนวคิดจากเรื่องเมื่ออ่านจบแล้ว

๒. ครูอธิบายให้นักเรียนเกิดความเข้าใจว่า การนำพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมรวมกันจะทำให้เกิดเป็นคำต่างๆ ซึ่งนักเรียนควรอ่าน และเขียนคำให้ถูกต้องและรู้ความหมาย เพื่อจะได้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องต่อไป

๓. ครูให้นักเรียนบันทึกคำศัพท์ลงสมุดบันทึก

๔. ครูแนะนำส่งเสริมให้นักเรียนอ่านหนังสือต่าง ๆ เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้ติดเป็นนิสัย

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. บัตรคำศัพท์ จากบทเรียนที่ ๒ จากเรื่อง ออมไว้กำไรชีวิตหนังสือเรียนภาษาไทย ภาษาพาทีชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔เรื่อง ออมไว้ไว้กำไรชีวิต

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตการอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์

แบบสังเกตการอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์

1. เกณฑ์การอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์

ช่วงคะแนน ๙ – ๑๒ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๕ – ๘ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๕ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

ชั่วโมงที่ ๒ การอ่านจับใจความ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

๑. ครูพูดคุยทักทายนักเรียน จากนั้นครูถามนักเรียนเกี่ยวกับการออมทรัพย์ เช่น ใครมีการเก็บออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายประจำวันบ้างและซักถามว่าการออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไรต่อตนเอง

ขั้นสอน

๑. ครูอธิบายให้นักเรียนเกิดความเข้าใจว่า การอ่านอะไรต้องจับใจความให้ได้และตอบคำถามได้ตลอดถึงการเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆจะทำให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ดี

๒. นักเรียนอ่านในใจเรื่อง ออมไว้ได้กำไรชีวิต จากหนังสือภาษาพาที หน้า ๒๑ – ๒๗ ภายในเวลาที่กำหนดไว้และให้นักเรียนสรุปใจความสำคัญ โดยใช้คำถามดังนี้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร

๓. ครูให้นักเรียนสมัครออกมาหน้าชั้นเรียนเพื่อเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์หน้าชั้นเรียน

ขั้นสรุป

๑. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปหลักการจับใจความสำคัญของการอ่านในเรื่องต่างๆร่วมกันโดยการใช้คำถามและตอบคำถาม

๒. นักเรียนเขียนเรื่องราวย่อของออมไว้ได้กำไรชีวิตตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามรูปแบบที่นักเรียนถนัด

สื่อและแหล่งเรียนรู้

หนังสือเรียนภาษาไทยภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนและการจับใจความสำคัญ

แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ

2. เกณฑ์การอ่านจับใจความสำคัญ

ช่วงคะแนน ๙ – ๑๒ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๕ – ๘ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๕ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

ชั่วโมงที่ ๓ การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. เขียนแผนภาพโครงเรื่องได้ถูกต้อง

2. มีมารยาทในการเขียน

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูพูดคุยสนทนาซักถามถึงสถานการณ์ชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่า ในแต่ละวันมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างและเป็นอย่างไร สรุปความได้ว่าอย่างไร เพื่อนำไปสู่การทำแผนภาพความคิดซึ่งจะสามารถนำไปโยงสู่การทำแผนภาพโครงเรื่องได้

ขั้นสอน

1. นักเรียนศึกษารูปแบบการเขียนแผนภาพความคิดและการทำแผนภาพโครงเรื่องที่ครูเตรียมไว้

2. นักเรียนร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเขียนสรุปใจความสำคัญเรื่องออมไว้ได้กำไรชีวิต โดยเลือกประเด็นที่สำคัญ ๆ

3. นักเรียนบันทึกผลการสรุปใจความสำคัญในรูปแบบแผนภาพความคิด

4. นักเรียนนำข้อมูลในแผนภาพความคิดมาเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่องโดยใช้คำถาม ใคร

(ตัวละครในเรื่องมีใครบ้าง) ทำอะไร (เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น) ที่ไหน (สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์) เมื่อไร (เวลาหรือเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อไร) อย่างไร (วิธีการหรือบรรยากาศเป็นอย่างไร) และหาคำตอบ

5. ให้นักเรียนฝึกเล่าเรื่องจากแผนภาพโครงเรื่องโดยใช้ภาษาที่เป็นของนักเรียนเอง

ขั้นสรุป

1. ครูกับนักเรียนร่วมกันสรุปวิธีการเขียนแผนภาพโครงเรื่องที่ถูกต้องและให้นักเรียนนำไปเขียนแผนภาพโครงเรื่องเป็นการบ้าน

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนภาษาไทยภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

2. ตัวอย่างแผนภาพโครงเรื่อง

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตการร่วมกิจกรรมกลุ่ม

2. ตรวจผลงานการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

๑. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

๒. แบบบันทึกคะแนนการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

1. เกณฑ์การทำงานกลุ่ม

ช่วงคะแนน ๑๔ – ๑๘ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๘ – ๑๒ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๘ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

2. เกณฑ์การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

ช่วงคะแนน ๑๔ – ๑๘ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๘ – ๑๒ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๘ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

ชั่วโมงที่ ๔ การอ่านออกเสียง

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อ่านออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจน

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

๑. ครูยกตัวอย่าง คำ ข้อความ วลี ประโยค ให้นักเรียนอ่านออกเสียงดัง ๆ พร้อมกัน

๒. ครูแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

ขั้นสอน

๑. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียนภาษาพาที บทที่ ๒ เรื่องออมไว้ได้กำไรชีวิตและอ่านให้นักเรียนฟังเป็นตัวอย่าง ๒ – ๓ ประโยค

๒. นักเรียนอ่านออกเสียงบทเรียนคนละหนึ่งย่อหน้าจนครบนักเรียนคนที่ไม่ได้ให้ฟังการอ่านออกเสียงของเพื่อนไปก่อน

๓. ให้นักเรียนที่นั่งตามกลุ่มอ่านออกเสียงบทเรียนพร้อมกันอีกครั้ง แล้วให้นักเรียนที่เหลืออ่านตาม ครูสังเกตพฤติกรรมการอ่านและความสนใจในการเรียนของนักเรียน

๔. หากพบนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน ครูให้มาฝึกอ่านกับครูตัวต่อตัว

๕. หากพบนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านให้เพื่อนที่อ่านเก่งช่วยสอนนอกเวลา

๖. ครูตั้งคำถามถามนักเรียนถึงเรื่องราวที่อ่านว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไรและพูดคุยถึงรายละเอียดของเรื่องที่อ่านพอเข้าใจ

ขั้นสรุป

๑. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนอีกครั้ง

๒. ครูแนะนำว่าการอ่านออกเสียงกับนักเรียนว่าเป็นการอ่านที่เป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเห็นข้อบกพร่องได้ง่าย เพราะอาศัยการฟังของครูและเพื่อน ๆ ช่วยแนะนำได้

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. บทเรียนที่ ๒เรื่องออมไว้กำไรชีวิตหนังสือเรียนภาษาไทยภาษาพาทีชั้นประถมศึกษาปีที่๔

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. การสังเกตการอ่านออกเสียง

๒.การสังเกตความสนใจในการเรียน

1. แบบสังเกตการอ่านออกเสียง

2. แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

1. เกณฑ์การอ่านออกเสียง

ช่วงคะแนน ๑๔ – ๑๘ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๘ – ๑๒ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๘ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

2. เกณฑ์สังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

ปฏิบัติได้ ๕ – ๗ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

ปฏิบัติได้ ๓ – ๔ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้

ปฏิบัติได้ ๐ – ๒ รายการ ผลการประเมิน ควรปรับปรุง

ชั่วโมงที่ ๕ สำนวนเปรียบเทียบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนบอกความหมายของสำนวนเปรียบเทียบได้

๒. นักเรียนบอกประเภทของสำนวนเปรียบเทียบได้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูยกตัวอย่างสำนวนที่ใช้เปรียบเทียบให้นักเรียนได้เข้าใจความหมายว่าเป็นสำนวนเพื่อให้เข้าใจ

เรื่องที่พูดแฝงด้วยข้อคิดซึ่งเรียกว่า คำพังเพย เช่น

เงยหน้าอ้าปากหมายถึง มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมทัดเทียมเพื่อน

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า หมายถึง การอาศัยซึ่งกันและกัน

เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หมายถึง แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจให้นักเรียนฟัง

ขั้นสอน

1. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสำนวนไทยจากบทเรียนและความหมายของสำนวนภาษา

เปรียบเทียบจากบทเรียนเรื่อง “ออมไว้กำไรชีวิต ”จากนั้นครูยกตัวอย่างสำนวนประเภทต่างๆ ที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อสอนให้ทำหรือเว้นไม่ให้ทำ เรียกว่าภาษิต หรือสุภาษิต เช่น

ตามใจปากมากหนี้ หมายถึง เห็นแก่กิน ย่อมสิ้นเปลืองมาก

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม หมายถึงเรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร

น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก หมายถึง แม้ไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้า ยิ้มแย้ม

สำนวนที่เป็นความหมายเปรียบเทียบหรือความหมายแฝง ไม่ได้มีความหมายตรงตามความหมายเดิม เช่น ชักใยแมงมุมชักใย (ความหมายตรง) กลุ่มผู้ประท้วงมีคนชักใยอยู่เบื้องหลัง(ความหมายแฝง) หมายถึง มีผู้บงการหรือกำกับอยู่เบื้องหลัง

ใต้ดินกรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าใต้ดิน (ความหมายตรง) เขาทำอาชีพใต้ดิน (ความหมายแฝง หมายถึง ความลับไม่เปิดเผยไม่ถูกกฎหมาย)

ทางออกประตูทางออกอยู่ทางโน้นครับ (ความหมายตรง) เขาเป็นคนฉลาด ต้องหาทางออกจนได้ (ความหมายแฝงหมายถึง มีวิธีแก้ปัญหา)

๒. จากนั้นให้นักเรียน ช่วยกันหาสำนวนภาษาที่ปรากฏในบทเรียนเรื่องนี้พร้อมทั้งให้นักเรียนฝึกค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหรือสื่อแหล่งอื่นๆ ให้แต่ละคนหาสำนวนคนละ ๕ สำนวน พร้อมทั้งบอกความหมายของสำนวนที่หามาได้

๓. ครูสุ่มให้นักเรียนออกมาอ่านสำนวนภาษาที่ตนเองหามาได้ที่หน้าชั้นเรียน

๔. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง “สำนวนไทย”

๕. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม และแจกกระดาษ A ๔ให้สมาชิกในกลุ่มทุกคน คนละ ๕ แผ่น

จากนั้นให้แต่ละคนพับครึ่งแบ่งกระดาษออกเป็น ๖ ส่วนเท่าๆกัน แล้วออกแบบวาดลวดลายกรอบในกระดาษแต่ละแผ่น เขียนสำนวนภาษา พร้อมทั้งบอกประเภทของสำนวนและความหมายทั้ง ๕ สำนวน นำไปติดลงในสมุดวาดเขียนเล่มใหญ่ ( ควรใช้สมุดวาดเขียนที่มีขนาดเท่ากันทุกคน ) ให้แต่ละคนออกแบบทำปกเขียนชื่อ เลขที่ ชั้นติดทับปกสมุดวาดเขียนอีกครั้ง นำส่งครูตรวจสอบและเก็บผลงาน

๖. นักเรียนช่วยกันจับคู่คำสำนวนกับความหมายของคำและเขียนใส่สมุด จากนั้นให้นักเรียนอ่านคำและความหมายของสำนวนพร้อมกัน

ขั้นสรุป

๑. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับสำนวนไทยและความหมายของสำนวน

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนภาษาไทยภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

2. หนังสือสำนวนไทย

3. ใบความรู้สำนวนไทย

4. กระดาษ A4

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. การสังเกตความสนใจในการเรียน

1. แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

1. เกณฑ์สังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

ปฏิบัติได้ ๕ – ๗ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

ปฏิบัติได้ ๓ – ๔ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้

ปฏิบัติได้ ๐ – ๒ รายการ ผลการประเมิน ควรปรับปรุง

ชั่วโมงที่ ๖ ปริศนาคำทาย

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนบอกความหมายของปริศนาคำทายได้

๒. นักเรียนบอกประเภทของสำนวนเปรียบเทียบได้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

๑. ครูทักทายกับนักเรียนด้วยปริศนาคำทาย เช่น

ครู: อะไรเอ่ย แบ่งออกเสียครึ่งลูก จึงเหมือนจมูกคนทาย

นักเรียน: ชมพู่

ครู: อะไรเอ่ย เขียวชอุ่ม พุ่มไสว ไม่มีใบ แต่มีเม็ด

นักเรียน: ฝน

๒. ครูแนะนำ ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปริศนาคำทาย แจ้งให้ทราบเรื่องที่จะเรียน คือเรื่องปริศนาคำทายและแนวทางการประเมิน

ขั้นสอน

๑. นักเรียนเปิดหนังสือเรียนภาษาพาที หน้า ๔๗ เรื่อง “ชวนกันเล่นปริศนาคำทาย”

๒. นักเรียนอ่านตัวอย่างปริศนาคำทายในหนังสือ และในใบความรู้ ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ปริศนาคำทายเป็นการนำคำมาแต่งในลักษณะคล้องจอง เพื่อให้คนอื่นทาย โดยนำลักษณะเด่นทั่วไปหรือด้อยของสิ่งที่จะทายหรือสิ่งที่จะเฉลย

๓. ครูนำนักเรียนฝึกแต่งปริศนาคำทาย โดยใช้พืชผักมาเป็นแนวในการแต่ง และบอกคำเฉลยไว้ก่อน แล้วเขียนคำขึ้นต้นบนกระดาน จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันต่อให้จบ เช่น

ครู: อะไรเอ่ย ............(เงาะ)

นักเรียน: ..................................

ถ้านักเรียนต่อไม่ได้ ครูช่วยแต่งต่อจนจบ

๔. นักเรียนแต่ฝึกแต่งปริศนาคำทาย คนใดแต่งได้มากที่สุดครูให้รางวัล

๕. นำปริศนาคำทายมาทายกับเพื่อน ๆ แลกเปลี่ยนกันทายไปเรื่อย ๆ

๖. นักเรียนแต่ละคนรับใบกิจกรรมทำตามขั้นตอนที่ปรากฏในใบกิจกรรม เสร็จแล้วส่งครูตรวจ

ขั้นสรุป

1. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียนเกี่ยวกับปริศนาคำทาย

๒. นักเรียนบันทึกปริศนาคำทายที่นำมาทายลงสมุดบันทึก

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. ปริศนาคำทาย

๒. ใบความรู้

๓. หนังสือเรียนภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

๑.การสังเกตความสนใจในการเรียน

๒.ตรวจผลงานในใบกิจกรรม

๑.แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

๒.ใบกิจกรรม

๑.เกณฑ์สังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

ปฏิบัติได้ ๕ – ๗ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

ปฏิบัติได้ ๓ – ๔ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้

ปฏิบัติได้ ๐ – ๒ รายการ ผลการประเมิน ควรปรับปรุง

๒.นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

ชั่วโมงที่ ๗ ฝึกหัดคัดลายมือ

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. คัดลายมือได้ถูกต้อง สวยงาม

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นนำ

นักเรียนสนทนากันถึงการปฏิบัติตนในการเขียนและคัดลายมือที่ดี เช่น การนั่ง การจับดินสอ การวางสมุด การเขียนตัวอักษรให้ถูกต้อง การเขียนถูกกาลเทศะการมีมารยาทในการเขียน เป็นต้น ครูให้ความรู้เพิ่มเติม

ขั้นสอน

๑. นักเรียนอ่านออกเสียงบทร้อยกรองพร้อมๆกัน จากหนังสือภาษาพาที ออมไว้ได้กำไรชีวิต ให้อ่านทีละวรรคในหนังสือ

๒. นักเรียนอ่านออกเสียงบทร้อยกรองพร้อมๆกัน จนจบบทร้อยกรอง

๓. นักเรียนคัดลายมือบทร้อยกรองที่อ่านด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดลงในสมุด

๔. นักเรียนรับใบกิจกรรม และดำเนินงานตามคำชี้แจง

๕. นักเรียนส่งผลงานให้ครูตรวจ

ขั้นสรุป

๑. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนที่คัดลายมือดีและไม่ดีพร้อมหาทางแก้ไข

๒. ครูแนะนำให้อ่านหนังสือเสริมและฝึกคัดลายมือ เพื่อให้เกิดทักษะและสวยงาม

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. ตัวอย่างแบบการคัดลายมือ

๒. ใบกิจกรรม

๓. หนังสือเรียนภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

๑.การสังเกตความสนใจในการเรียน

๒.ตรวจผลงานในใบกิจกรรม

๑.แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

๒.ใบกิจกรรม

๑.เกณฑ์สังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

ปฏิบัติได้ ๕ – ๗ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

ปฏิบัติได้ ๓ – ๔ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้

ปฏิบัติได้ ๐ – ๒ รายการ ผลการประเมิน ควรปรับปรุง

๒. เกณฑ์สังเกตการคัดลายมือ

๑๑ – ๑๕ ระดับคุณภาพ ดี

๖ – ๑๐ ระดับคุณภาพ พอใช้

๑ – ๕ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

ชั่วโมงที่ ๘ การตั้งคำถามจากนิทาน

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. ตั้งคำถาม ตอบคำถามได้

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงนิทานเรื่อง หม้อวิเศษ ที่นักเรียนอ่านแล้วถามว่าใครเคยอ่านนิทาน

เรื่องหม้อวิเศษบ้าง มีตัวละครอะไรบ้างที่ทำให้นักเรียนประทับใจ เพราะเหตุใด พร้อมทั้งบอกจุดประสงค์การเรียนให้นักเรียนทราบ

ขั้นสอน

๑. ครูอธิบายวิธีการตั้งคำถาม และการตอบคำถามให้นักเรียน และบอกนักเรียนว่าในการตั้ง

คำถามทุกครั้ง เราควรใช้คำที่แสดงการถามให้ชัดเจน ได้แก่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด ทำไม

๒. ครูให้นักเรียนดูและอ่านออกเสียงตัวอย่างการตั้งคำถามและตอบคำถามจากบทเรียน

๓. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนฟังว่า เมื่อตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน ฟัง หรือดูแล้ว ควรสรุป

สาระสำคัญของเรื่องดังกล่าว คือ นำความคิดหลัก หรือประเด็นสำคัญของเรื่องมากล่าวให้ได้ใจความที่กระชับ ชัดเจน โดยเรียบเรียงข้อมูลจากคำถามและคำตอบที่ได้ ซึ่งอาจจะเพิ่มเติม สาระสำคัญบางประการเข้าไปด้วยก็ได้เนื้อหาที่สรุปมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ขั้นสรุป

๑. ครูให้นักเรียนฝึกตั้งคำถาม และตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังตามหลักปฏิบัติที่ได้เรียนรู้มา โดยครูและนักเรียนช่วยกันประเมิน ว่าใช้คำถามตรงประเด็น และใช้คำสุภาพหรือไม่ และมีการใช้คำที่แสดงการถามหรือไม่

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. นิทาน

๒. ใบงาน

๓. หนังสือเรียนภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

๑.การสังเกตความสนใจในการเรียน

๒.ตรวจผลงานใบกิจกรรม

๑.แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

๒.ใบกิจกรรม

๑.เกณฑ์สังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

ปฏิบัติได้ ๕ – ๗ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

ปฏิบัติได้ ๓ – ๔ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้

ปฏิบัติได้ ๐ – ๒ รายการ ผลการประเมิน ควรปรับปรุง

๒.นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

ชั่วโมงที่ ๙ บทร้อยกรอง”เงินตราน่ารู้”

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองธรรมดาและทำนองเสนาะได้ถูกต้อง

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูนำแผนภูมิบทร้อยกรองให้นักเรียนอ่านเป็นร้อยแก้วจากนั้นครูอ่านเป็นทำนองเสนาะให้นักเรียนอ่านตามบทร้อยกรองมีดังนี้

มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท

อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์

จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง

อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

ขั้นสอน

๑. ครูถามนำเกี่ยวกับเนื้อหาของบทร้อยกรองและแนะวิธีการอ่านที่ถูกต้องพร้อมอธิบายความหมาย

๒. นักเรียนเปิดหนังสือเรียนภาษาพาทีหน้า ๒๕ – ๒๖ แล้วอ่านบทร้อยกรองเรื่อง “เงินตราน่ารู้” เป็นร้อยแก้ว

๓. ครูสอนอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะและให้นักเรียนอ่านตามพร้อมกัน ถ้านักเรียนอ่านไม่ถูกต้อง ครูอ่านนำให้ถูกต้องอีกครั้ง

๔. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแยกชายหญิงเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งหมด อ่านบทร้อยกรองทำนองเสนาะ คนละวรรคสลับกันจนจบ และอ่านพร้อมกันอีกหนึ่งรอบ

๕. นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหาของบทร้อยกรอง และสรุปในรูปของแผนภาพความคิด แล้วส่งครูตรวจ

ขั้นสรุป

๑. มอบหมายให้นักเรียนอ่านหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีการแต่งในลักษณะบทร้อยกรองเพื่อเสริมการเรียนและการอ่าน

๒. ครู และนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนเรื่องความไพเราะของบทร้อยกรองและใจความสำคัญของบทร้อยกรองแต่ละบท

๓. ครูให้นักเรียนทำข้อสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ออมไว้กำไรชีวิต

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. บทร้อยกรองเรื่อง เงินตราน่ารู้

๒. ใบกิจกรรม

๓. หนังสือเรียนภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

๑.การอ่านบทร้อยกรอง

๒.การสังเกตความสนใจในการเรียน

๓.ตรวจผลงานในใบกิจกรรม

๔.แบบทดสอบหลังเรียน

๑.แบบประเมินการอ่านออกเสียง(บทร้อยกรอง)

๒.แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

๓.ใบกิจกรรม

๔.แบบทดสอบหลังเรียน

1. เกณฑ์การอ่านออกเสียง

ช่วงคะแนน ๑๔ – ๑๘ ระดับคุณภาพ ดี

ช่วงคะแนน ๘ – ๑๒ ระดับคุณภาพ พอใช้

ช่วงคะแนนต่ำกว่า ๘ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง

2. เกณฑ์สังเกตพฤติกรรมความสนใจในการเรียน

ปฏิบัติได้ ๕ – ๗ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

ปฏิบัติได้ ๓ – ๔ รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้

ปฏิบัติได้ ๐ – ๒ รายการ ผลการประเมิน ควรปรับปรุง

3. นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ขึ้นไป

4. นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ขึ้นไป

ภาคผนวก

ภาคผนวกแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

หน่วยที่ ๒ เรื่องออมไว้ได้กำไรชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ชั่วโมงที่ ๑ การศึกษาคำศัพท์

แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ออมไว้กำไรชีวิต

ตอนที่ ๑ ให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

๑. เงินแป เกิดขึ้นในสมัยใด

ก. รัชกาลที่ ๒ข. รัชกาลที่ ๓

ค. รัชกาลที่ ๔ง. รัชกาลที่ ๕

๒. ปัจจุบันมีการผลิตธนบัตรชนิดใดบ้าง

ก. ธนบัตรห้าบาท สิบบาท ยี่สิบบาท

ข. ธนบัตรสิบบาท หนึ่งร้อยบาท หนึ่งพันบาท

ค. ธนบัตรยี่สิบบาท ห้าสิบบาท หนึ่งร้อยบาท ห้าร้อยบาท

ง. ธนบัตรยี่สิบบาท ห้าสิบบาท หนึ่งร้อยบาท ห้าร้อยบาท หนึ่งพันบาท

๓. สำนวนคำพังเพย “เอาหูไปนาเอาตาไปไร่” หมายความว่าอย่างไร

ก. ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจข. ท่าทางกระวนกระวาย

ค. ทำจิตใจให้สงบเยือกเย็นง. ดูแลเอาใจใส่ไร่นาอย่างดียิ่ง

๔. สำนวน เปรียบเทียบเพื่อสอนให้ทำหรือเว้นไม่ให้ทำ มีชื่อว่า?

ก. คำพังเพยข. ปริศนาคำทาย

ค. สุภาษิตง. คำขวัญ

๕. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก หมายความว่าอย่างไร

ก. การพึ่งพาอาศัยกัน

ข. การแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจ

ค. แม้จะไม่พอใจแต่ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส

ง. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวแรงหรือเสียหายอะไร

๖. ข้อใดเป็นวลี

ก. นกน้อยคอยคู่ยามเย็นข. เรือลำน้อยลอยล่องอยู่คุ้งน้ำ

ค. ตะวันโค้งสุดขอบฟ้าง. ฟากฟ้ายามเย็น

๗. ข้อใดเป็นคำพังเพย

ก. เงยหน้าอ้าปากข. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ค. เก็บหอมรอมริบง. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก

๘. สำนวนที่เป็นความหมายแฝง “ทางออก” หมายถึงอะไร

ก. วิธีการแก้ปัญหาข. วิธีการพูด

ค. ประตูทางออกง. ประโยคบอกเล่า

๙. อะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปรกดิน

ก. ตะไคร้ข. ต้นกล้วย

ค. ต้นข่าง. ต้นข้าว

๑๐. อะไรเอ่ย ตัดหลังตัดหน้าเหลือกลางวาเดียว

ก. ถนนข. แม่น้ำ

ค. กวางง. บุหรี่

ตอนที่ ๒

คำชี้แจง ให้นักเรียนหาคำตอบของปริศนาคำทายต่อไปนี้

๑. อะไรเอ่ย สูงเทียมฟ้า ดูไปดูมาต่ำหว่าหญ้านิดเดียว

๒. อะไรเอ่ย เขียวชอุ่ม พุ่มไสว ไม่มีใบ แต่มีเม็ด

๓. อะไรเอ่ย น้ำใสๆ ถ้าใครชอบดื่ม สติหลงลืม เอะอะโวยวาย

๔. อะไรเอ่ย คนหน้าเหนื่อยล้า คนหลังสบาย พอถึงจุดหมาย คนหลังจ่ายเงิน

๕. อะไรเอ่ย สูงกว่าน้ำ ต่ำกว่าเรือ

๖. อะไรเอ่ย ปิดหน้าเห็นนม ปิดหลังเห็นขน

๗. อะไรเอ่ยตัดโคนไม่ตาย ตัดปลายไม่เน่า

๘. พระอะไรใหญ่ที่สุด

๙. อะไรเอ่ยตั้งอยู่หน้าโรงเรียนเสมอ

๑๐. อะไรเอ่ย ข้างนอกประตูไม้ ข้างในประตูเหล็ก ผ้าแดงผืนเล็ก ตากไม่รู้จักแห้ง

คำตอบ

๑. ..............................................๒. ..........................................................

๓. ..............................................๔. .......................................................... ๕. ..............................................๖. .......................................................... ๗. ..............................................๘. ..........................................................

๙. ..............................................๑๐. ..........................................................

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ ๒ เรื่อง ออมไว้กำไรชีวิต

ตอนที่ ๑

๑. ค๒. ง๓. ก๔. ค๕. ค

๖. ง๗. ก๘. ก๙. ก๑๐. ค

ตอนที่ ๒

๑. ภูเขา๒. ฝน

๓. เหล้า๔. สามล้อ

๕. ฟองน้ำ๖. ขนม

๗. เส้นผม๘. พระนคร

๙. สระ โอ๑๐. ปาก ฟัน ลิ้น

ชั่วโมงที่ ๒ การอ่านจับใจความ-

ชั่วโมงที่ ๓ การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

ตัวอย่างแผนภาพโครงเรื่อง

เรื่อง.............................................................

เหตุการณ์ที่ ๑

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลที่ได้รับ

เหตุการณ์ที่ ๒

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลที่ได้รับ

เหตุการณ์ที่ ๓

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลที่ได้รับ

เหตุการณ์ที่ ๔

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลที่ได้รับ

เหตุการณ์ที่ ๕

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลที่ได้รับ

ข้อคิดจากเรื่อง

ชั่วโมงที่ ๔ การอ่านออกเสียง -

ชั่วโมงที่ ๕ สำนวนเปรียบเทียบ

โรงเรียน................................ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.....................................

ใบความรู้ เรื่อง สำนวนไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชื่อ-สกุล.............................................................ชั้น.............เลขที่.................

ความหมายของสำนวนไทย

สำนวนหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความ หรือคำพูดที่เป็นชั้นเชิง ไม่ตรงตามรูปแบบภาษา เป็นถ้อยคำหรือ คำพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีความหมายเป็นนัยแฝงอยู่ กินความกว้าง หรือลึกซึ้ง นำมาใช้ให้มีความหมายแตกต่างไปจากความหมายเดิมของคำ ๆ นั้น หรืออาจจะมีความหมายคล้าย กับความหมายเดิมของคำที่นำมาประสมกัน แต่ก็ไม่เหมือนกับความหมายเดิมทีเดียว เป็นความหมายใน เชิงอุปมาเปรียบเทียบ มักใช้ถ้อยคำที่ไม่ยาวมากแต่กินความมาก ใช้คำที่ไพเราะ คมคาย สละสลวย ต้องอาศัยการตีความจึงจะเข้าใจ

สำนวนไทย มีจำนวนมากมายสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ สำนวนไทย มีลักษณะ ดังนี้

๑. ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวนอาจเป็นเพียงคำเดียว หรือประกอบด้วยถ้อยคำที่เรียงกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปซึ่งบาง สำนวนเป็นกลุ่มคำ บางสำนวนเป็นประโยค ซึ่งมีทั้งความเดียวและประโยคความซ้อน

๒. สำนวนไทยบางสำนวนมีทั้งมีเสียงสัมผัสและไม่มีเสียงสัมผัส ที่มีเสียงสัมผัส มีเสียงสัมผัสในและสัมผัสนอก จะมีตั้งแต่๔ ถึง ๑๒ คำ ส่วนที่ไม่มีเสียงสัมผัส จะมีตั้งแต่ ๒ ถึง ๘ คำ บางสำนวนมีการใช้คำซ้ำและเล่นคำ

๓. เนื้อความของสำนวนมีทั้งที่มีเนื้อความตอนเดียว และมีเนื้อความสองตอนขึ้นไป

๔. เนื้อหาของสำนวนจะมีหลากหลาย ดังนี้

๔.๑ เนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ และกิริยาท่าทาง

๔.๒ เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย กิริยาอาการและพฤติกรรม

๔.๓ เนื้อหาเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก

๔.๔ เนื้อหาเกี่ยวกับการพูด

๔.๕ เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก การมีคู่ และการครองเรือน

๔.๖ เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ และการอบรมสั่งสอน

๔.๗ เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ อาชีพ การทำงาน การทำมาหากิน และการดำรงชีวิต

๔.๘ เนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม การเมือง การปกครอง

๔.๙ เนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรม การเตือนสติและคำสอนต่าง ๆ

๔.๑๐ เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานการณ์ เวลา ระยะทางและสถานที่

๕. เป็นถ้อยคำสละสลวยที่ใช้แทนคำพูดธรรมดา เป็นคำแปลก ๆ โดยอาจเทียบเคียงมาจากการกระทำบางอย่าง เป็นคำกล่าวที่มีความหมายโดยนัย เป็นคำที่มาจากปรากฏการธรรมชาติ นิทาน ชาดก หรือวรรณคดี ใช้ถ้อยคำน้อย แต่มีเนื้อความมาก และเป็นคำที่มีความไพเราะ ฯลฯ

การใช้สำนวนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถสื่อความหมาย ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และรวดเร็ว โดยทั่วไปเราใช้สำนวนเพื่อการสื่อสารในกรณีต่อไปนี้

1. ใช้ในการจูงใจ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ธรรมะย่อมชนะอธรรม คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

เป็นต้น

2. ใช้ย่อข้อความยาว ๆ เช่น ขิงก็รา ข่าก็แรง ตัดหางปล่อยวัด จับปลาสองมือ กินเปล่า ชุบมือเปิบ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เป็นต้น

3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ เช่น ปิดทองหลังพระ หนีเสือปะจระเข้ ทำคุณบูชาโทษ กินน้ำใต้ศอก เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น

4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ เช่น เฒ่าหัวงู สิ้นบุญ เจ้าโลก บ้านเล็ก ไก่แก่แม่ปลาช่อน โคแก่กินหญ้าอ่อน วัวเคยขาม้าเคยขี่ เป็นต้น

5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร เช่น ข้าวแดงแกงร้อน อยู่เย็นเป็นสุข รั้วรอบขอบชิด คลุกคลีตีโมง ขุดบ่อ ล่อ ปลา เป็นต้น

ชั่วโมงที่ ๖ ปริศนาคำทาย

โรงเรียน................................ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.....................................

ใบความรู้ เรื่อง ปริศนาคำทาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชื่อ-สกุล.............................................................ชั้น.............เลขที่.................

ปริศนาคำทายเป็นการทายปัญหาอย่างหนึ่ง ที่มีคำขึ้นต้นหรือลงท้ายว่า “อะไรเอ่ย” ซึ่งให้ความรู้ความเพลิดเพลิน และความบันเทิงใจ เป็นการฝึกให้เด็กคิดเป็น ช่างสังเกต มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา ปริศนาคำทายที่คนนิยมนำมาทายกันมีหลายหมวดหมู่ดังนี้

หมวดพืช คือการนำพืชมาสร้างเป็นปริศนาคำทาย เช่น

๑. อะไรเอ่ย ต้นเท่าสายพาน ลูกยานโตงเตง(มะระ)

๒. อะไรเอ่ย สุกไม่หอม งอมไม่หล่น แห้งคาต้น คนกินได้(ฝักข้าวโพด)

๓. อะไรเอ่ย ต้นเท่าลำเรือ ใบห่อเกลือไม่มิด(ต้นสน)

หมวดคน คือการนำสิ่งที่เกี่ยวกับคนมาสร้างเป็นปริศนาคำทาย เช่น

๑. แม่อะไรให้กำเนิดภรรยา (แม่ยาย)

๒. อะไรเอ่ย หัวหน้าเข้าหากัน ต่างคนต่างดัน จนเหงื่อกาฬไหล(คนเลื่อยไม้)

๓. อะไรเอ่ย ยามเช้าเดินสี่ขา กลางวันสองขา เย็นเดินสามขา(คนวัยทารก วัยหนุ่มสาวและวัยชรา)

หมวดสัตว์ คือการนำสัตว์มาสร้างเป็นปริศนาคำทาย เช่น

๑. อะไรเอ่ย ยุ่งเหมือนใบบัว มีตัวอยู่ตรงกลาง(แมงมุม)

๒. อะไรเอ่ย แหวนกับแหวนชนกันที่หันอากาศ เกิดเป็นสัตว์ประหลาดชอบกินหญ้า(วัว)

๓. อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินเชื่อง ไม่มุงกระเบื้อง แต่มุงเข็ม(เม่น)

๔. อะไรเอ่ย สามตัวรวมกันชอบกินไม้ เอาตัวกลางออกชอบกินน้ำตาล(มอด มด)

หมวดสิ่งของ คือการนำสิ่งของต่าง ๆ มาสร้างเป็นปริศนาคำทาย เช่น

๑. อะไรเอ่ย หลังงอ ๆ กินข้าวหมดทุ่ง(เคียวเกี่ยวข้าว)

๒. อะไรเอ่ย หน้าขาว ๆ ต้นยาวแค่ศอก พอตัดขนออกยาวแค่วา(ขวาน)

๓. อะไรเอ่ย หน้าตาตัวตน ไม่เหมือนคนสักนิด พูดเหมือนคนไม่มีผิด ทั้งอังกฤษ ทั้งไทย (วิทยุ)

หมวดเบ็ดเตล็ด คือการนำสิ่งทั่ว ๆ ไปนำสร้างเป็นปริศนาคำทาย เช่น

๑. อะไรเอ่ย เขียวชอุ่ม พุ่มไสว ไม่มีใบ แต่มีเม็ด(ฝน)

๒. อะไรเอ่ย ตัดโคนก็ไม่ตาย ตัดปลายก็ไม่เน่า(ผม)

๓. อะไรเอ่ย สุกไม่รู้หอม งอมไม่หล่น สุกคาต้น กินไม่ได้(พระจันทร์เต็มดวง)

โรงเรียน................................ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.....................................

ใบกิจกรรม เรื่อง ปริศนาคำทาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชื่อ-สกุล.............................................................ชั้น.............เลขที่.................

คำชี้แจงให้นักเรียนแต่งปริศนาคำทายจำนวน ๓ ปริศนาคำทาย พร้อมเฉลย

ปริศนาคำทาย

เฉลย

1.

2.

3.

ชั่วโมงที่ ๗ ฝึกหัดคัดลายมือ

โรงเรียน................................ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.....................................

ใบกิจกรรม เรื่อง คัดลายมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชื่อ-สกุล.............................................................ชั้น.............เลขที่.................

คำชี้แจง ให้นักเรียนฝึกคัดลายมือบทร้อยกรอง ต่อไปนี้

บทนี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการออม

รู้จักใช้รู้จักถนอมรู้เก็บหอมรอมริบไว้

ชื่อเงินตราแต่โบราณเปลี่ยนแปลงผ่านไปตามสมัยคำพังเพยสำนวนไทยสุภาษิตคิดมาเตือน

ชั่วโมงที่ ๘ การตั้งคำถามจากนิทาน

โรงเรียน................................ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.....................................

ใบกิจกรรม นิทานเรื่อง หม้อวิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชื่อ-สกุล.............................................................ชั้น.............เลขที่.................

นิทานเรื่อง “หม้อวิเศษ”

นานมาแล้ว  มีแม่หม้ายยากจนอาศัยอยู่ชายป่ากับลูกสาวตัวเล็กๆ  วันหนึ่งแม่หม้ายไม่มีเงินและอาหารเหลืออยู่ในบ้านเลย  ทั้งแม่ทั้งลูกรู้สึกหิวมาก  หนูน้อยลูกสาวจึงบอกกับแม่ว่า  “แม่จ๋า  หนูจะไปหาของในป่ามาให้แม่กินนะจ๊ะ”  ว่าแล้ว หนูน้อยก็วิ่งออกจากบ้านมุ่งไปที่ป่า  วิ่งไปหนูน้อยก็พูดออกมาดังๆ  ว่า “ฉันอยากจะเจออะไรที่กินได้จริงจริ๊ง”  ทันใดนั้นหนูน้อยก็เห็นนางฟ้าในชุดขาวมีปีกมาปรากฏอยู่ข้างหน้า  นางฟ้าถามว่า  “หนูอยากได้อะไรหรือจ๊ะ”  หนูน้อยตอบว่า  “ค่ะ  หนูกับแม่ไม่มีอะไรรับประทานมาตั้งสามวันแล้ว  หนูอยากได้อาหารค่ะ”  นางฟ้าจูงมือหนูน้อยไปที่ใต้ต้นไม้แล้วหยิบหม้อใบหนึ่งส่งให้แล้วพูดว่า  “หม้อใบนี้จะต้มข้าวต้ม  ให้หนูกับแม่ได้รับประทานไม่มีวันหมด  เพียงแต่หนูพูดว่า  “หม้อน้อยๆ เดือดเถิด” หนูก็จะได้ข้าวต้มร้อนๆและถ้าหนูอิ่มจะให้หยุด  หนูก็พูดว่า  “หม้อน้อยๆจงหยุดเถิด”   หนูน้อยยกมือไหว้นางฟ้าด้วยความขอบคุณ  แล้วอุ้มหม้อวิ่งกลับมาบ้าน  และทำข้าวต้มให้มารดา  แม่ลูกก็มีความสุขไม่อดอยาก

วันหนึ่งหนูน้อยเข้าไปที่ตลาดในเมือง  หญิงหม้ายรู้สึกหิวจึงคิดว่าจะไม่คอย  หนูน้อยให้มาต้มข้าวต้มให้  นางจึงหยิบหม้อมาแล้วพูดว่า  “หม้อน้อยๆ เดือดเถิด”  สักครู่ก็มีข้าวต้มร้อนๆ  เต็มหม้อ  และล้นไหลออกจากหม้อหยดไปตามพื้น  หญิงหม้ายตกใจร้องตะโกนว่า “หยุด หยุดเดี๋ยว