63
ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน

ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน

Page 2: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ตัวแปร (Variables)

Page 3: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวแปร

3

1. ความหมายของตัวแปร

2. ชนิดของตัวแปรทางธุรกิจ 3. การแบ่งชนิดตัวแปร

Page 4: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความหมายของตัวแปร

4

ตัวแปร (Variable) หมายถึง สิ่งที่นักวิจัยสนใจศึกษา

ที่มีค่าผันแปรได้ตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป จึงกำหนดให้มีสัญลักษณ์เป็น X หรือ Y หรืออื่นๆ เพื่อแทนค่าแปรผันของสิ่งนั้น

(พันธณีย์ วิหคโต, 2549:37)

Page 5: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ชนิดของตัวแปรทางธุรกิจ

5

1) ตัวแปรต้น/ตัวแปรอิสระ (independent variable: X)

หมายถึง...ตัวแปรที่เป็นเหตุ ที่จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวแปรที่เกิดตามมา

2) ตัวแปรตาม (dependent variable: Y)

หมายถึง...ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรต้น หรือ

เป็นตัวแปรที่เกิดหรือเป็นผลจากตัวแปรต้น

Page 6: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การแบ่งชนิดตัวแปร

6

1. การแบ่งตามลักษณะ

1.1 ตัวแปรที่เป็น Concept หมายถึง…ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะที่คนทั่วไป ยอมรับรู้ได้ตรงกัน หรือสอดคล้องกัน ตัวแปรประเภทนี้มักเป็น ตัวแปรที่เป็นรูปธรรม

1.2 ตัวแปรที่ Construct หมายถึง…ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะเฉพาะตัวบุคคล คนทั่วไปอาจรับรู้ได้ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้

ตัวแปรประเภทนี้มักเป็นตัวแปรที่เป็นนามธรรม ตัวแปรลักษณะนี้ บางครั้งเรียกว่าตัวแปรสมมติฐาน (Hypothesis variable)

Page 7: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การแบ่งชนิดตัวแปร

7

2. การแบ่งตามบทบาท

2.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variable) หมายถึง ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนด หรือจัดกระทำ

2.2 ตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึง ตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจาก ตัวแปรอิสระ หรือ เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมาจากสิ่งใด

2.3 ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน (Extraneous variable) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาโดยตรง แต่เป็นตัวแปรที่อาจมีผลกระทบต่อตัวแปรตามได้ ทำให้ค่าของตัวแปรตามคาดเคลื่อนได้ ดังนั้นจึงต้องทำการควบคุมตัวแปรนี้ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

Page 8: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การแบ่งชนิดตัวแปร

8

3. การแบ่งตามระดับการวัด

3.1 ระดับนามบัญญัติ (Nominal scale) หรือกลุ่ม คือ ตัวแปรที่แต่ละรายการจำแนก (Classification) ตาม คุณสมบัติหรือลักษณะที่ใกล้เคียงกัน

3.2 ระดับเรียงอันดับ (Ordinal scale) คือตัวแปรที่รายการ แต่ละรายการจำแนกลำดับจากมากไปหาน้อย หรือลำดับก่อน หรือหลังได ้

Page 9: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การแบ่งชนิดตัวแปร

9

3. การแบ่งตามระดับการวัด (ต่อ)

3.3 ระดับอันตรภาค (Interval scale) หรือช่วง คือตัวแปรที่ แต่ละรายการจำแนกได้ สามารถแบ่งช่วงออกได้เท่าๆกัน และ สามารถเรียงลำดับได้ว่าอะไรมากน้อยกว่ากันเท่าไร

3.4 ระดับอัตราส่วน (Ratio scale) ตัวแปรแต่ละรายการ สามารถจำแนกได้ แบ่งช่วงออกได้เท่าๆกัน เรียงลำดับมาก น้อยกว่ากันได้ และมีจุดเริ่มต้นธรรมชาติหรือเริ่มจากศูนย์

Page 10: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การแบ่งชนิดตัวแปร

10

4. แบ่งตามการใช้ประโยชน์

4.1 ตัวแปรมาตรฐาน เป็นตัวแปรด้านคุณสมบัติทางเศรษฐกิจ สังคมและประชากรของผู้ให้ข้อมูล

4.2 ตัวแปรเชิงนโยบาย เป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยการใช้มาตรการต่างๆ

Page 11: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

11

เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของยอดขายสินค้าโดยวิธี การขายตรงกับการขายฝาก

ตัวแปรต้น : คือ วิธีการขาย ซึ่งมี 2 ค่า ได้แก่ วิธีการขายตรง และ วิธีการขายฝาก

ตัวแปรตาม : คือ ผลสัมฤทธิ์ของยอดขายสินค้า ซึ่งหมายถึงการขายสินค้าได้มากหรือได้น้อย

หัวข้องานวิจัย :

Page 12: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

12

เปรียบเทียบความพึงพอใจในรูปแบบรายการโทรทัศน์สีช่อง 3 จำแนกตามสถานภาพด้านเพศ

ตัวแปรต้น : คือ สถานภาพด้านเพศ ซึ่งมี 2 ค่า ได้แก่ เพศชาย และ เพศหญิง

ตัวแปรตาม : คือ ความพึงพอใจรูปแบบรายการโทรทัศน์สีช่อง 3 ซึ่งความพึงพอใจในรูปแบบรายการอาจจะประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ เช่น ความพอใจในตัวพิธีกร ผู้จัด ประเภทรายการ ความคมชัดของคลื่น ช่วงเวลาเปิดปิดสถานี

หัวข้องานวิจัย :

Page 13: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

13

ความพึงพอใจของประชาชนในเขตจังหวัดชลบุรี ต่อการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตร

และสหกรณ์การเกษตร สาขาชลบุรี

ตัวแปรต้น : การบริการของธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร สาขาชลบุรี

ตัวแปรตาม : คือ ความพึงพอใจของประชาชนในเขต จังหวัดชลบุรี

หัวข้องานวิจัย :

Page 14: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

14

ความต้องการของประชาชนในการพัฒนา สิ่งแวดล้อมในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดชลบุรี

ตัวแปรต้น : การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุร ี

ตัวแปรตาม : คือ ความต้องการของประชาชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

หัวข้องานวิจัย :

Page 15: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

กรอบแนวคิด (Conceptual framework)

Page 16: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

กรอบแนวคิด (Conceptual Framework)

16

กรอบแนวคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัย ในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ (concept) ในเรื่องนั้นแล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัย และพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป

Page 17: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

17

หมายถึง... กรอบของการวิจัยที่สร้างขึ้นมาจากแนวคิดทฤษฎีต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยได้ศึกษามา จะแสดงรายละเอียดของตัวแปรหลักๆ ได้แก่ ตัวแปรต้น/ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ว่าประกอบด้วยตัวแปรย่อยๆ อะไรบ้าง สัมพันธ์กันอย่างไรตามแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่ได้ศึกษา มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และสมมติฐานงานวิจัย

Page 18: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

จะเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยอย่างไร

18

หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ....

1. กำหนดตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้ 2. กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้ 3. เขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา

Page 19: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

19

การวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) กรอบแนวคิดในการวิจัยอาจมีแต่การระบุเฉพาะตัวแปรว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนำมาศึกษา กรอบแนวคิดดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนขอบเขตทางด้านเนื้อหาสาระ ของการวิจัย ส่วนการวิจัยประเภทอธิบาย (Explanatory research) กรอบแนวคิดของการวิจัยมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย กรอบแนวคิดคือการประมวลความ คิดรวบยอดของงานวิจัยว่างานวิจัยที่กำลังทำอยู่นี ้มีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม

Page 20: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

20

เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการรณรงค์การใช้สินค้าไทยของวัยรุ่นไทย”

สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติคือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปหรือระบุองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอนว่า ตัวแปรประกอบไปด้วย “การมีส่วนร่วม และการใช้สินค้าไทยของวัยรุ่นไทย” นั้น เป็นอย่างไรมีคำอธิบายว่าอย่างไร และสำหรับการศึกษาวิจัยนี้จะกำหนดขอบเขตการอธิบายไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย จากนั้นจึงนำมาเป็นเป็นแผนภาพ กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework Diagram) ที่สามารถระบุตัวแปรและความเกี่ยวข้องโดยอาศัยเส้นตรงและลูกศร

Page 21: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

21

“ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง”

เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดที่รัดกุม มีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาพยาบาล สาขาแพทย์ หรือสาขาทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ทั้งนี้เพราะไม่เพียงแต่จะได้ตัวแปรต่างๆ เท่านั้น ยังได้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างมีเนื้อหาสาระ คำอธิบายหรือข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์หรือสรุปผลจะได้มีความหนักแน่นในเชิงทฤษฎี ดังนั้นการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนอกจากจะชี้ให้เห็นถึงตัวแปรใดสำคัญและมีความสัมพันธ์กันอย่างไรแล้ว ยังทำให้กรอบแนวคิดในการวิจัยมีแนวทางที่ชัดเจน และมีเหตุผล

Page 22: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

22

“ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง”

หมายถึง งานวิจัยที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้วมีประเด็นตรงกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือมีเนื้อหา หรือตัวแปรบางตัวที่ต้องการศึกษารวมอยู่ด้วย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในสาขาทางการตลาดเท่านั้น แต่อาจจะอยู่ในสาขาอื่นๆ ด้วย ดังนั้นผู้วิจัยควรมุ่งศึกษาว่าผู้ที่ได้ทำวิจัยมาแล้วมองเห็นว่า ตัวแปรใดมีความสำคัญหรือไม่อย่างไรกับปรากฏการณ์หรือประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือบางตัวแปรอาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่ผู้วิจัยไม่ควรตัดทิ้ง เพราะสามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อยืนยันต่อไปว่า มีหรือไม่มีความสำคัญในกลุ่มประชากรที่ศึกษาอยู่

Page 23: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

หลักการเลือกและประโยชน์ของ กรอบแนวคิดในการวิจัย

23

กรอบแนวคิดที่ดีควรจะเป็นกรอบแนวคิดที่ตรงประเด็น ในด้านเนื้อหาสาระตัวแปรที่ต้องการศึกษา มีความสอดคล้องกับความสนใจ ในเรื่องที่วิจัย มีความง่ายและไม่สลับซับซ้อนมาก และควรมีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือการพัฒนาสังคม กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการวิจัยจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยขั้นต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะในขั้นการรวบรวมข้อมูล ขั้นการออกแบบการวิจัย ขั้นการวิเคราะห ์ และการตีความหมายผลการวิเคราะห ์

Page 24: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

24

•  การเขียนบรรยาย โดยระบุตัวแปรที่ศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร •  การเขียนแบบจำลองหรือสัญลักษณ์และสมการ •  การเขียนแผนภาพ แสดงตัวแปรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร •  การเขียนแบบผสมผสาน

การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย

Page 25: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

หลักเกณฑ์ในการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย

25

ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว ้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ

Page 26: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

หลักในการเลือกกรอบแนวคิด

26

1. ความตรงประเด็น กรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นของการวิจัย กล่าวคือ มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหา ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาขอ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย ในกรณีที่ม ี แนวคิดหลายๆ แนวตรงกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ผู้วิจัยควรเลือก แนวคิดที่ตนเองคิดว่าตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษามากที่สุด 2. ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน กรอบแนวคิดที่ควรจะเลือกควรเป็นกรอบที่ง่าย แก่การเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบ แนวคิด ผู้ที่ทำวิจัยควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ ์ ทีต้องการศึกษาได้พอๆ กัน

Page 27: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

หลักในการเลือกกรอบแนวคิด

27

3. ความสอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่ใช้ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของ ผู้ที่จะทำการวิจัย 4. ความมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยนั้นควรมีกรอบ แนวคิดสะท้อนถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้วย

Page 28: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด

28

การสร้างกรอบแนวคิด เป็นการสรุปโดยภาพรวมว่างานวิจัยนั้นมีแนวคิด ที่สำคัญอะไรบ้าง มีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้วิจัยต้องนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยจริงๆ สิ่งสำคัญคือ ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความรู้ในทฤษฎีนั้นๆ ให้มากพอ ทำความเข้าใจทั้งความหมายแนวคิดที่สำคัญของสมมติฐานจนสามารถเชื่อมโยงในเชิงเหตุผลให้เห็นเป็นกรอบได้อย่างชัดเจน การเชื่อมโยงของแนวคิดนี้ บางที่เรียกว่า รูปแบบ หรือตัวแบบ (model)

Page 29: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด

29

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด กระทำได้ 2 ลักษณะ คือ 1. โดยการสรุปประเด็นต่างๆ จากข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารและงาน วิจัยที่เกี่ยวข้องให้กระจ่าง 2. กำหนดจากกรอบทฤษฎีที่มีใช้ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิจัย ในขอบเขต ของเอกสารและงานวิจัยที่ได้ศึกษา เช่น การนำทฤษฎีการพยาบาลของรอย โอเร็ม มาใช้เป็นกรอบการวิจัยในการวิจัยเชิงบรรยายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาตัวแปร กรอบแนว คิดมักจะเป็นในลักษณะที่ 1 คือการสรุปประเด็น ข้อมูล ส่วนในการวิจัยทดลอง จะต้องมีพื้นฐานทฤษฎี หลักการของการ วิจัยที่ชัดเจน การกำหนดกรอบแนวคิดมักจะเป็นลักษณะที่ 2

Page 30: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

วิธีการเขียนกรอบแนวคิด

30

ในการเขียนกรอบแนวคิด ผู้วิจัยจะ ต้องเขียนแสดงความสัมพันธ์ของแนวคิด ในการวิจัยของตนให้ชัดเจน ในขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ศึกษา อาจเขียนไว ้ท้ายก่อนหน้าส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ท้ายบทที ่1) หรือ ท้ายส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ท้ายบทที ่2) ก็ได ้รูปแบบการเขียนทำได ้3 ลักษณะ คือ 1. เขียนแบบบรรยายต่อเนื่องกันโดยไม่แยกหัวข้อ ความยาวของการเขียน ประมาณ 1 หน้ากระดาษ 2. เขียนเป็น แผนภูม ิแสดงความสัมพันธ์และทิศทางระหว่างตัวแปรที่ศึกษา 3. เขียนเป็นแผนภูมิประกอบคำบรรยายเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ถ้าม ี ตัวแปรหลายตัว หรือตัวแปรมีความสัมพันธ์สลับซับซ้อน

Page 31: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

รูปแบบการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย

31

1. การนําเสนอเชิงบรรยาย เปนการพรรณนา ดวยประโยคขอความตอเนื่องเพื่อแสดงความสัมพันธระหวางตัวแปร 2 ชุดคือ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรเหตุ กับตัวแปรตามหรือตัวแปรผลแตในการวิจัยบางประเภท เชน การวิจัยเชิงสํารวจไมมีการกําหนด วาตัวแปรใดเปนตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม การบรรยายจึงเปนการอธิบายความสัมพันธของตัวแปรที่ศึกษาชุดนั้น 2. การนําเสนอเชิงภาพ เปนการนําเสนอดวยแผนภาพจากการกลั่นกรองความเขาใจของผูวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธของตัวแปรที่ใชในการศึกษาของผูวิจัย ไดอยางชัดเจน ซึ่งผูอื่นที่อานเรื่องนี้เพียงแตเห็นแผนภาพแลวเขาใจผูวิจัย ควรนําเสนอเฉพาะตัวแปรหลัก ไมจําเปนตองมีรายละเอียดของตัวแปร ในแผนภาพ

Page 32: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

รูปแบบการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย

32

3. การนําเสนอแบบจําลองคณิตศาสตร เปนการนําเสนอดวยสมการทางคณิตศาสตรเพื่อใหเห็นความสัมพันธ ระหวางตัวแปร 2 ชุดไดชัดเจนและชวยใหสามารถเลือกใชเทคนิคการวิเคราะห ขอมูลไดอยางเหมาะสม 4. การนําเสนอแบบผสม เปนการนําเสนอผสมกันทั้ง 3 แบบหรือ ผสมกัน 2 แบบที่กลาวมาขางตนงานวิจัยบางประเภทไมจําเปนตองนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยที่แสดงความสัมพันธระหวางตัวแปรอิสระและตัวแปรตามงานวิจัยประเภทนี้ตองการจัดกลุมหรือจัดโครงสรางของตัวแปร เชนงานวิจัยที่ใชเทคนิคการ วิเคราะหปจจัย (Factors analysis) หรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ เปนตน

Page 33: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ประโยชน์ของกรอบแนวคิด

33

1. สามารถเข้าใจแนวคิดสำคัญที่แสดงถึงแก่นของปัญหาการศึกษา ในระยะเวลาอันสั้น 2. เป็นตัวชี้นำทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่างานวิจัยเป็นไปในแนวทางที ่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค ์ 3. สร้างความชัดเจนในงานวิจัยว่าจะสามารถตอบคำถามที่ศึกษาได ้ 4. เป็นแนวทางในการกำหนดความหมายตัวแปร การสร้างเครื่องมือ และการ เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย 5. สามารถเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางการทำวิจัยได้เหมาะสม ถูกต้อง โดยเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูล

Page 34: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 1.  เพศ 2.  อายุ 3.  การศึกษา 4.  เงินเดือน 5.  ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน 1.  ลักษณะงาน 2.  การบังคับบัญชา 3.  สถานที่ตั้งองค์กร 4.  จํานวนผู้ปฏิบัติงานในองค์กร

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 1. สภาพแวดล้อมในการ

ปฏิบัติงาน 2. การบริหารจัดการ 3. กระบวนการปฏิบัติงาน 4. ปริมาณงาน 5. ความสัมพันธ์กับบุคคลใน

หน่วยงาน 6. ค่าตอบแทน 7. ความสําเร็จในการปฏิบัติ

งาน 8. ความมั่นคงในการปฏิบัติ

งาน 9. ความก้าวหน้าจากการ

ปฏิบัติงาน

กรอบแนวคิดการวิจัย

34

Page 35: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐาน (Hypothesis)

Page 36: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวแปร

36

1. ความหมายของสมมติฐาน

2. ลักษณะของสมมติฐาน

3. แหล่งที่มาของสมมติฐาน

4. การเขียนสมมติฐาน

5. ความสำคัญของสมมติฐาน

Page 37: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความหมายของสมมติฐาน

37

สมมติฐาน คือ ข้อความที่คาดเดาเอาไว้ก่อนแล้วว่าจะเป็นคำตอบของปัญหาการวิจัย ตั้งขึ้นโดยอาศัยเหตุผล ทฤษฎี แนวคิด ประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษามา

Page 38: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

38

เพศหญิงใช้เวลาในการรับประทานอาหาร มากกว่าเพศชาย

ตัวแปร : เพศ ได้แก่ เพศชาย และ เพศหญิง

ผลที่เกิดขึ้น : ระยะเวลาที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ซึ่งจากสมมติฐานนี้คาดเดาคำตอบว่า

เพศหญิงจะใช้ระยะเวลารับประธานอาหาร มากกว่าเพศชาย

สมมติฐาน :

Page 39: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ลักษณะของสมมติฐาน

39

หมายถึง... ข้อความหรือคำอธิบายเฉพาะที่ผู้วิจัยคาดคะเน คำตอบ โดยคำตอบที่คาดไว้ล่วงหน้านี้อาจมาจากแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง เป็นข้อสมมติขึ้นมาชั่วคราวที่เป็นแนวทางค้นคว้าหาข้อเท็จจริง และสามารถทดสอบได้

Page 40: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ลักษณะของสมมติฐาน

40

สมมติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.  สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) 2.  สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

Page 41: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)

41

เป็นสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งขึ้น จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ที่มีเหตุ มีผลน่าเชื่อถือภายใต้ทฤษฎี และหลักวิชาการมาสนับสนุนสมมติฐานนั้น งานวิจัยที่มีการตั้งสมมติฐาน แสดงถึงผู้วิจัยมีความมั่นใจ ในข้อมูลที่ตนได้ศึกษาและได้มีการวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว ผลของงานวิจัยที่ออกมาอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ก็ได้ มีผู้วิจัยหลายคนคิดวิตกกังวลอย่างมากเมื่อผลงานวิจัยของตนออกมาแล้วไม่ตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ความจริงแล้ว ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร แต่ที่สำคัญ คือ ผู้วิจัยจะต้องไม่เอนเอียงที่จะทำให้ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตนตั้งเอาไว้ เช่น การเก็บข้อมูลก็พยายามเลือกเก็บ จากตัวอย่างที่คาดว่าจะตอบคำถามไปในทิศทางเดียวกันกับสมมติฐานที่ตั้ง การทำเช่นนี้ดูจะไม่เหมาะสมและผิดหลักของการทำวิจัย

Page 42: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)

42

สมมติฐานการวิจัยที่ 1 ความพึงพอใจในอัตราค่าจ้างที่ได้รับระหว่างพนักงาน กับผู้บริหารของบริษัท แตกต่างกัน

สมมติฐานการวิจัยที่ 2 ความพึงพอใจในอัตราค่าจ้างที่ได้รับระหว่างพนักงานกับผู้ บริหารของบริษัท ไม่แตกต่างกัน

สมมติฐานการวิจัยที่ 3 พนักงานมีความพึงพอใจในอัตราค่าจ้างที่ได้รับ มากกว่า

ผู้บริหารของบริษัท

สมมติฐานการวิจัยที่ 4 ผู้บริหารของบริษัทมีความพึงพอใจในอัตราค่าจ้างที่ได้รับ มากกว่า พนักงาน

วัตถุประสค์ของการวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในอัตราค่าจ้าง ที่ได้รับระหว่างพนักงานกับผู้บริหารของบริษัท

Page 43: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

43

เป็นสมมติฐานที่ใช้ในการทดสอบค่าทางสถิติ ซึ่งจะอธิบายในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ (การคำนวณค่าใดๆ ถ้าข้อมูล ที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง จะเรียกว่า ค่าสถิต ิแต่ถ้าข้อมูล ที่ได้มาจากประชากร ทั้งหมด จะเรียกว่า (ค่าพารามิเตอร์)

Page 44: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

44

ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) คือ ค่าต่างๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย , ค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ดังตารางแสดงสัญลักษณ์เปรียบเทียบระหว่างค่าสถิติที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง กับค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ กับประชากรทั้งหมด €

(µ)

(σ )

(ρ)

Page 45: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

45

แสดงสัญลักษณ์เปรียบเทียบระหว่างค่าสถิติ กับ ค่าพารามิเตอร ์

(σ )

สถิติที่ใช้ ค่าสถิติ (กลุ่มตัวอย่าง)

ค่าพารามิเตอร์ (ประชากรทั้งหมด)

ค่าเฉลี่ย (Mean)

ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

S ค่าความแปรปรวน (Variance) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพนธ์ (Correlation) r ค่าสัดส่วน (Proportion)

P

X

2S €

µ

σ

ρ

π

Page 46: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

46

แบ่งได้เป็นน 2 ประเภท ได้แก ่

1.  สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) 2.  สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis)

Page 47: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) : H0

47

ตัวอย่างคำอธิบายสัญลักษณ์ของสมมติฐานหลัก เช่น

0H : รายได้เฉลี่ยของชาวนาเท่ากับรายได้เฉลี่ยของชาวสวน

หรือ

0H : รายได้เฉลี่ยของชาวนาและชาวสวนไม่แตกต่างกัน

0H :1

µ =2

µ

กรณีค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน

Page 48: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) : H0

48

ตัวอย่างคำอธิบายสัญลักษณ์ของสมมติฐานหลัก เช่น

0H : ระดับรายได้เฉลี่ยไม่มีความสัมพันธก์ับอาชีพชาวนาและชาวสวน

หรือ

0H : ระดับรายได้เฉลี่ยไม่ขึ้นอยู่กับอาชีพชาวนาและชาวสวน

0H : ρ = 0

กรณีความสัมพันธ์เท่ากับศูนย์ หรือ ตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กัน

Page 49: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) : H1

49

สมมติฐานรองหรือสมมติฐานทางเลือก เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ H1 เป็นสมมติฐานที่จะเขียนไม่ให้มีความหมายเหมือน หรือเขียนให้มีความหมายตรงกันข้ามกับสมมติฐานหลัก สมมติฐานรองหรือสมมติฐานทางเลือก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.  สมมติฐานแบบไม่ระบุทิศทาง 2.  สมมติฐานแบบระบุทิศทาง

Page 50: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) : H1

50

0H :1

µ =2

µ

1.  สมมติฐานแบบไม่ระบุทิศทาง (Non-directional Hypothesis)

1H :1

µ ≠2

µ(สมมติฐานหลัก)

(สมมติฐานรองแบบไม่ระบุทิศทาง)

1H : ρ ≠ 0

หรือ

0H : ρ = 0 (สมมติฐานหลัก)

(สมมติฐานรองแบบไม่ระบุทิศทาง)

Page 51: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) : H1

51

0H :1

µ ≤2

µ2.  สมมติฐานแบบระบุทิศทาง (Directional Hypothesis)

(สมมติฐานหลัก)

เป็นสมมติฐานรองที่จะเขียนไม่ให้มีความหมายแบบระบุทิศทาง โดยต้องเขียนระบุให้ค่าใดค่าหนึ่งมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าอีกค่าหนึ่ง

ในที่นี้ สมมติฐานหลัก H0 กำหนดให้มีความหมายว่า ค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 1 มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 2 ดังนั้นสมมติฐานรองแบบระบุทิศทางในกรณีนี้ จะต้องเขียนระบุทิศทางที่ตรงกันข้ามดังนี้

1H :1

µ >2

µ (หมายถึง ค่าเฉลี่ยกลุ่ม 1 มากกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม 2)

Page 52: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) : H1

52

0H :1

µ ≥2

µ2.  สมมติฐานแบบระบุทิศทาง (Directional Hypothesis)

(สมมติฐานหลัก)

ในที่นี้ สมมติฐานหลัก H0 กำหนดให้มีความหมายว่า ค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 1 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 2 ดังนั้นสมมติฐานรองแบบระบุทิศทางในกรณีนี้ จะต้องเขียนระบุทิศทางที่ตรงกันข้ามดังนี้

1H :1

µ <2

µ (หมายถึง ค่าเฉลี่ยกลุ่ม 1 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม 2)

Page 53: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

หลักเกณฑ์สำคัญของการเขียนสมมติฐานทางสถิติ

53

0H :1

µ =2

µ

1.  สมมติฐานหลัก (H0) จะต้องเขียนให้ค่าพารามิเตอร์ หรือ ต้องมีเครื่องหมายเท่ากับ (=) เสมอ เช่น (เท่ากับ) หรือ (มากกว่าหรือเท่ากับ) หรือ (น้อยกว่าหรือเท่ากับ)

0H :1

µ ≥2

µ

1H :1

µ ≠2

µ

1H :1

µ <2

µ

0H :1

µ ≤2

µ

2.  สมมติฐานรอง (H1) จะต้องเขียนให้ค่าพารามิเตอร์ไม่ซำ้กับสมมติฐาน หลัก (H0) หรือ ต้องใส่เครื่องหมายต่อไปนี้เสมอ เช่น (ไม่ระบุทิศทาง) (ระบุทิศทาง) หรือ (ระบุทิศทาง)

1H :1

µ >2

µ

Page 54: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความสัมพันธ์ของการตั้งสมมติฐานการวิจัยกับสมมติฐานทางสถิติ

54

0H :µ ≠ 2,000

สมมติฐานการวิจัย : คนไทยมีรายได้เฉลี่ยปีละ 2,000 บาท สมมติฐานทางสถิติ (สมมติฐานหลัก) สมมติฐานทางสถิติ (สมมติฐานรอง)

อธิบาย สมมติฐาน (H0) ให้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2,000 บาท ส่วนสมมติฐานรอง (H1) จะให้ค่าเฉลี่ย ไม่เท่ากับ 2,000 บาท จึงเป็นการตั้งคำถามแบบไม่ระบุทิศทาง กรณีตัวอย่างนี้ สมมติฐานหลัก (H0) ตั้งเป็นสมมติฐานการวิจัย

0H :µ = 2,000

Page 55: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความสัมพันธ์ของการตั้งสมมติฐานการวิจัยกับสมมติฐานทางสถิติ

55

สมมติฐานการวิจัย : เพศชายและเพศหญิงใช้เวลาในการรับประทานอาหารไม่แตกต่างกัน สมมติฐานทางสถิติ (สมมติฐานหลัก) สมมติฐานทางสถิติ (สมมติฐานรอง)

อธิบาย สมมติฐาน (H0) ให้ค่าเฉลี่ยของเพศชายเท่ากับเพศหญิง (เท่ากับคือไม่แตกต่าง) สมมติฐานรอง (H1) จะให้ความหมายที่ตรงกันข้าม คือ ค่าเฉลี่ยของเพศชายไม่เท่ากับเพศหญิง จึงเป็นการตั้งสมมติฐานแบบไม่ระบุทิศทาง กรณีตัวอย่างนี้ สมมติฐานหลัก (H0) ตั้งเป็นสมมติฐานการวิจัย

1H :Men

µ ≠Wemen

µ

0H :Men

µ =Wemen

µ

Page 56: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความสัมพันธ์ของการตั้งสมมติฐานการวิจัยกับสมมติฐานทางสถิติ

56

สมมติฐานการวิจัย : เพศชายใช้เวลาในการรับประทานอาหารน้อยกว่าเพศหญิง สมมติฐานทางสถิติ (สมมติฐานหลัก) สมมติฐานทางสถิติ (สมมติฐานรอง)

อธิบาย การตั้งสมมติฐานลักษณะนี้เป็นแบบระบุทิศทาง ซึ่งระบุไว้ว่าเพศชายใช้เวลาในการรับประทานอาหารน้อยกว่าเพศหญิง ในกรณีนี้สมมติฐานหลัก (H0) ไม่สามารถตั้งให้เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยได้ ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า การตั้งสมมติฐานหลัก (H0) จะต้องมีเครื่องหมายเท่ากับ (=) ร่วมอยู่ด้วยเสมอ แต่สมมติฐานการวิจัย ตามตัวอย่างนี้ไม่มีความหมายเท่ากับ (ไม่แตกต่าง) อยู่เลย ดังนั้น สมมติฐานการวิจัยจึงเป็นสมมติฐานรอง (H1) แทน แล้วให้สมมติฐาน (H0) เป็นในส่วนตรงกันข้าม ซึ่งมีความหมายว่า เพศชายใช้เวลาในการรับประธานอาหารมากกว่า หรือเท่ากับเพศหญิง

1H :Men

µ <Wemen

µ

0H :Men

µ ≥Wemen

µ

Page 57: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สมมติฐานการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ ไม่สามารถนำมา ทดสอบสมมติฐานได้ด้วยตัวของมันเอง การทดสอบสมมติฐาน ทางสถิติเป็นตัวทดสอบแทน ดังนั้นการตั้งสมมติฐานการวิจัยและ สมมติฐานทางสถิติจึงต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะท้ายที่สุด ผู้วิจัย จะต้องสรุปให้ได้ว่าผลการวิจัยที่ออกมานั้นเป็นไปตามสมมติฐาน การวิจัยที่ตั้งไว้หรือไม ่

57

Page 58: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

แหล่งที่มาของสมมติฐาน

58

1.  ความรู้ของผู้วิจัย

2.  ประสบการณ์

3.  การใช้หลักเหตุผล

4.  การเปรียบเทียบ

5.  ความเชื่อและปรัชญา

6.  ผลการวิจัยของผู้อื่น

7.  ทฤษฎีและหลักการต่างๆ

Page 59: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

การเขียนสมมติฐาน

59

จำแนกตามรายข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์งานวิจัยสมมติฐานที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้

l  เป็นประโยคบอกเล่าที่ระบุทิศทางหรือความสัมพันธ์ของตัวแปร

l  มีความชัดเจน และเฉพาะเจาะจง

l  วัดได้ ทดสอบได้ด้วยข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้

Page 60: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ลักษณะสมมติฐานการวิจัยที่ดี

60

•  สมมติฐานที่ดีต้องอธิบาย หรือตอบคำถามได้หมด •  สมมติฐานที่ดีจะต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่รู้กันอยู่ ทั่วไป •  ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเข้าใจง่าย •  สมมติฐานที่ดีต้องสามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หรือหลักฐาน •  สมมติฐานที่ดีต้องสมเหตุสมผลตามทฤษฎี และความรู้พื้นฐาน •  สมมติฐานที่ดีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการวิจัย •  สมมติฐานที่ดีต้องมีอำนาจการพยากรณ์สูง

Page 61: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

สิ่งที่ควรคำนึงในการตั้งสมมติฐานการวิจัย

61

•  มีสมมติฐานการวิจัยว่าอย่างไร •  สมมติฐานการวิจัยนั้นมีทางเป็นไปได้ไหมโดยการตรวจสอบทางการ วิจัยและสถิติ •  สมมติฐานนั้นกล่าวไว้รัดกุม หรือชัดเจนเพียงใด •  สมมติฐานนั้นมีทางทดสอบได้หรือไม่ •  สมควรตั้งสมมติฐานเป็นประโยชน์บอกเล่า หรือเป็นคำถาม •  มีสมมติฐานที่จะต้องทดสอบจริง ๆ เท่าไร •  สมมติฐานแต่ละข้อมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหรือไม่

Page 62: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความสำคัญของสมมติฐาน

62

1.  ทำให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหางานวิจัยได้ชัดเจนขึ้น ทำให้รู้ว่าจะเลือกตัวแปรไหนเพื่อศึกษา มีตัวแปรอะไรบ้าง

2.  ทำให้จำกัดขอบเขตของการวิจัยลงได้ ช่วยให้กำหนดปัญหาในการวิจัยได้ชัดเจนขึ้น

3.  ทำให้มองเห็นภาพของข้อมูลต่างๆ และความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จะนำมาทดสอบสมมติฐานนั้นๆ ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงประเด็นประหยัดทั้งเวลาและเงินทุน

Page 63: ตัวแปร กรอบแนวคิด สมมติฐาน · 2011-12-20 · การแบ่งชนิดตัวแปร 7 2. การแบ่งตามบทบาท

ความสำคัญของสมมติฐาน

63

4.  ทำให้สามารถหาเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

ช่วยให้ผู้วิจัยรู้ว่าควรใช้การออกแบบการวิจัยแบบใด

ที่เหมาะสมกับปัญหาที่ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ

2.  ทำให้ผู้วิจัยเข้าใจตัวแปรอย่างชัดเจน เพราะการตั้งสมมติฐานเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่างแบบใด เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรในการทดสอบสมมติฐาน

3.  ช่วยชี้แนวทางในการแปลผลงานวิจัยและสรุปผลที่ได้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือเป็นเครื่องช่วยกำหนดโครงร่างหรือแผนงาน เพื่อสรุปผลให้ผู้วิจัยได้เป็นอย่างดี