13
1 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีท่ 1 ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554-พฤษภาคม 2554 ISSN 2228-8007 บทคัดย่อ ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สำคัญ ได้แก่ 1) รายได้ประชาชาติ ที่แท้จริง คือผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้ราคาปีฐานเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ 2) อัตราการเจริญเติบโต อย่างแท้จริงทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกิดจากประเทศนั้น ๆ มีการเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการ ผลิต รวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3) รายได้ประชาชาติต่อหนึ่งหน่วยประชากร แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการครองชีพของตัวแทนประชากรในประเทศต่าง ๆ 4) มูลค่าส่งออก เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความสามารถในการค้าระหว่างประเทศ 5) ดัชนีการพัฒนามนุษย์ แสดง ถึงความสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาล 6) ผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี เป็นการ แสดงออกถึงศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ 7) หนี้สาธารณะ เป็นการพิจารณาหนีภายในประเทศ และต่างประเทศที่รัฐบาลสร้างขึ้น ซึ่งเป็นการพิจารณานโยบายของภาครัฐ ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ Indicators of competitiveness of the country ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร คำสวัสดิ์* Asst.Prof. Praphatsorn Cumsawat *ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

1สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

บทคัดย่อ ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สำคัญ ได้แก่ 1) รายได้ประชาชาติ

ที่แท้จริง คือผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ

ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้ราคาปีฐานเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ2)อัตราการเจริญเติบโต

อย่างแท้จริงทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกิดจากประเทศนั้น ๆ มีการเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการ

ผลิต รวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3) รายได้ประชาชาติต่อหนึ่งหน่วยประชากร

แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการครองชีพของตัวแทนประชากรในประเทศต่าง ๆ 4) มูลค่าส่งออก

เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความสามารถในการค้าระหว่างประเทศ5)ดัชนีการพัฒนามนุษย์แสดง

ถึงความสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาล6) ผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี เป็นการ

แสดงออกถึงศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ 7) หนี้สาธารณะ เป็นการพิจารณาหนี้

ภายในประเทศ และต่างประเทศที่รัฐบาลสร้างขึ้น ซึ่งเป็นการพิจารณานโยบายของภาครัฐ

ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ Indicators of competitiveness of the country

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร คำสวัสดิ์* Asst.Prof. Praphatsorn Cumsawat

*ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี

Page 2: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

2 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

8)หนี้ต่างประเทศหมายถึงภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง9)การกระจาย

รายได้ของครัวเรือน เพื่อพิจารณาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ของภาคครัวเรือน พิจารณา

จากสัมประสิทธิ์จีนีซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้10)เส้นความยากจน

คือเครื่องมือในการกำหนดเกณฑ์ความต้องการขั้นพื้นฐานขั้นต่ำของบุคคล 11) ดัชนีบิ๊กแม็ค

เป็นการเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อของสินค้าพื้นฐานในแต่ละประเทศ

ประเทศไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันที่36จากทั้งหมด133ประเทศ

สาเหตุที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันต่ำลง ได้แก่ ปัญหาความมั่นคงของรัฐบาล ปัญหา

ความไม่มั่นคงในนโยบาย ความไม่มีประสิทธิภาพต่อระบบบริหารงานราชการ การคอร์รัปชั่น

และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

คำสำคัญ:การแข่งขัน,เศรษฐกิจ

ABSTRACT

Indicatorsofcompetitivenessofthecountryare1.Realgrossdomesticproduct(Real

GDP)orthesumofvalueoffinalgoodsandservicesproducedwithinacountry inany

periodoftimeusingbaseyearasthebasisforpricecalculations.2.Rateofrealeconomic

growthcausedbythatcountrywithenhancementfactorsofproductionincludingtechnological

progress. 3. National income per unit of population or GDP per capita demonstrating the

standardoflivingoftherepresentativepopulationinvariouscountries.4.Theexportearningis

a number indicating the ability of trade. 5. Human development index (HDI) indicating an

interest in human resource development of the government. 6. Technological achievement

displayingthepotentialproductiongoodsandservices.7.Publicdebt,referringtodomesticand

foreign debt government created which is the policy of the government. 8. Foreign debt,

referring to theburdenof repaymentof foreigndebtover time.9.Distributionofhousehold

incomebasedonGINIindextotheinequalityofhouseholdincome.10.Povertylinedetermining

thethresholdofminimumbasicneedsofindividuals.11.BigMacindexcomparinginflation

ratesofbasicgoodsineachcountry.

Thailand ranked36of 133countries incomptitiveness.Thedecline in thedegreeof

competitivenesswasduetoinsecurityproblemsofgovernmentandpoliciesandinefficientpublic

administrationsystem,corruption,andaccesstofinancialcapital.

Keywords:competitiveness.economy.

Page 3: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

3สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ความนำ บนเวทีเศรษฐกิจโลก ความสามารถในการแข่งขัน สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงขีดความ

สามารถและผลประกอบการในประเทศต่อการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การ

ประกอบกิจการประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงย่อมมีระดับความสามารถในการ

ผลิต (productivity) ที่สูง ทำให้สามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่าง

ยั่งยืน หน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินขีดความสามารถการแข่งขัน และจัดอันดับความสามารถใน

การแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เวิลด์อีโคนอมิคฟอรัม (World Economic Forum –

WEF)ซึ่งเป็นผู้เสนอรายงานนี้ตั้งแต่ปี1979

สำหรับการจัดอันดับในปี 2009-2010 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการจัดอันดับ 133

ประเทศโดยมีประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุด10อันดับแรกดังต่อไปนี้

อันดับที่1สวิตเซอร์แลนด์ 5.60(คะแนนเต็ม7)

อันดับที่2สหรัฐอเมริกา 5.59

อันดับที่3สิงคโปร์ 5.55

อันดับที่4สวีเดน 5.51

อันดับที่5เดนมาร์ก 5.46

อันดับที่6ฟินแลนด์ 5.43

อันดับที่7เยอรมัน 5.37

อันดับที่8ญี่ปุ่น 5.37

อันดับที่9แคนาดา 5.33

และอันดับที่10เนเธอร์แลนด์ 5.32

โดยที่ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่36(foodindustrythailand.com,2011,p.1)

ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันที่สำคัญได้แก่(nationmaster.com,2011,p.1)

1. รายได้ประชาชาติที่แท้จริง (real GDP)รายได้ประชาชาติเป็นตัวเลขที่ใช้วัดกิจกรรม

ทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะเวลา 1 ปี โดยมีที่มาจาก 3 แหล่ง (หรือ 3 ความหมาย)

ด้วยกันคือ (วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน และคณะ, 2536, หน้า 145) 1) รายได้ประชาชาติ

หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นมาในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

เรียกว่าเป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิตมวลรวมซึ่งจะคำนวณมาจากสาขาการ

ผลิต 11สาขาที่สำคัญ ได้แก่ สาขาเกษตรสาขาเหมืองแร่ สาขาอุตสาหกรรมสาขาก่อสร้าง

สาขาไฟฟ้าและประปา สาขาการคมนาคมและการขนส่ง สาขาการค้าส่งและค้าปลีก สาขาการ

ธนาคารประกันภัยและอสังหาริมทรัพย์สาขาที่อยู่อาศัยสาขาการบริหารราชการและป้องกัน

ประเทศและสุดท้ายสาขาการบริการ2)หมายถึงผลรวมของรายได้ประเภทต่างๆที่บุคคล

Page 4: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

4 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจได้รับในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการนำเอาผลตอบแทนจากการใช้

ปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร ของคนทั้งประเทศ ในระยะเวลา

1 ปีมารวมกัน เรียกว่าเป็นการคำนวณหารายได้ประชาชาติทางด้านรายได้มวลรวม และ 3)

รายได้ประชาชาติ หมายถึง ผลรวมของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บุคคลต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจได้

จ่ายไปในการซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ถือว่าเป็นการคำนวณ

หารายได้ประชาชาติด้านรายจ่ายมวลรวมโดยแท้จริงแล้วคำว่ารายได้ประชาชาติมีอยู่ด้วยกัน

6ชนิดแต่ที่มักจะคุ้นเคยกันได้แก่ตัวดัชนีที่เรียกว่าGDP

คำว่า GDP หรือ Gross Domestic Product ภาษาไทยใช้คำว่า ผลิตภัณฑ์ภายใน

ประเทศเบื้องต้น ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่คิดในราคาตลาดโดย

เฉพาะที่ผลิตขึ้นภายในประเทศภายในรอบระยะเวลา1ปีก่อนหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน

อันเนื่องมาจากการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา

คำถามที่ตามมา คือ การคำนวณหาค่าของ GDP ซึ่งคำนวณจากสินค้าและบริการ

ทั้งหมดที่ระบบเศรษฐกิจหนึ่ง(หรืออาจกล่าวได้ว่าประเทศหนึ่ง)ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามผลิต

ขึ้นมาได้ในรอบระยะเวลา1ปีใช่หรือไม่

คำตอบที่ถูกต้อง คือ ไม่ใช่สินค้าและบริการทุกชนิดที่ถูกผลิตขึ้นจะถูกนำมานับเป็น

ตัวเลขรายได้ประชาชาติในปีนั้น เพียงแต่สินค้าและบริการที่จะนำมาคำนวณรายได้ประชาชาติ

นั้น จะนับจากสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Final Product ซึ่ง

หมายถึง สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาแล้วถูกนำไปใช้ในการบริโภค ไม่ใช่สินค้าที่ถูกนำไปใช้

เป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตอื่น ๆ อีกในช่วงที่พิจารณา ในที่นี้สินค้าขั้นสุดท้ายจะนับรวม

ไปถึงยอดของสินค้าคงเหลือด้วย แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว คำนวณหาได้ยาก โดยเฉพาะ

ประเทศด้อยพัฒนา เพราะไม่อาจจำแนกได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าใดเป็นผลิตผลขั้นสุดท้ายที่

ผู้บริโภคซื้อไปแล้วนำไปอุปโภคโดยตรง หรือเป็นสินค้าที่เป็นผลิตผลซึ่งอยู่ในระหว่างการผลิต

เป็นสินค้าที่จะนำไปผลิตหรือขายต่อ ดังนั้นการเก็บตัวเลขรายได้ประชาชาติเฉพาะในส่วนของ

สินค้าขั้นสุดท้ายจึงทำได้ยาก และจะเกิดปัญหาที่เรียกว่าการนับซ้ำ จะทำให้ยอดตัวเลขรายได้

ประชาชาติสูงเกินกว่าความเป็นจริง ในทางปฏิบัติแล้ว การคำนวณหาตัวเลขรายได้ประชาชาติ

จะคำนวณจากผลผลิตเพิ่ม หรือมูลค่าเพิ่ม (value added) ที่เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการผลิต

ในแต่ละขั้นตอนโดยการหาผลรวมของมูลค่าที่เพิ่มจากการผลิตในแต่ละขั้นเพื่อขจัดปัญหาการ

นับซ้ำในผลผลิตที่ต้องผ่านการผลิตหลายขั้นตอน พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้เพื่อทำความเข้าใจ

เกี่ยวกับการหาค่าGDPสมมติว่าในระบบเศรษฐกิจมีหน่วยผลิตอยู่4แบบได้แก่ธุรกิจผลิต

เหล็กธุรกิจผลิตสินค้าทุน(เครื่องจักร)ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ธุรกิจผลิตยางรถยนต์

Page 5: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

5สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

และธุรกิจผลิตรถยนต์ แล้วขายให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือภาคครัวเรือน พิจารณาจาก

ตารางที่1การคำนวณหาค่าGDPในระบบเศรษฐกิจดังตารางที่1

ตารางที่1การคำนวณหาค่าGDP

สมมติว่าธุรกิจเหล็กผลิตเหล็กมูลค่า320,000บาทส่วนหนึ่ง(80,000บาท)แบ่งขาย

ให้กับธุรกิจผลิตเครื่องจักรและอีกสามส่วน (240,000 บาท) ขายให้กับธุรกิจผลิตรถยนต์

ถ้าธุรกิจเหล็กนำเหล็กมาจากเหมืองแร่ของตนเอง (คือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตด้วย) ดังนั้น

เงินจำนวนทั้งสิ้น 320,000 บาท จะเป็นมูลค่าเพิ่มหรือผลผลิตสุทธิของธุรกิจเหล็ก รายรับ

จำนวนดังกล่าวจะถูกจ่ายออกไปเป็นค่าจ้างและค่าเช่า หรือเป็นกำไรที่เหลือที่เกิดขึ้นของภาค

ครัวเรือนดังนั้นในสองแถวบนของช่องที่(7)จะมีค่าเท่ากับ320,000บาทหน่วยธุรกิจจะจ่าย

เงินจำนวน 320,000 บาท เพื่อซื้อเหล็ก แต่เหล็กมิใช่การใช้จ่ายสำหรับสินค้าขั้นสุดท้าย

แต่เหล็กถือว่าเป็นสินค้าขั้นกลางซึ่งจะนำมาใช้ในขั้นต่อไปของกระบวนการผลิต

ธุรกิจผลิตเครื่องจักรจ่ายเงิน80,000บาทเป็นค่าเหล็ก(วัตถุดิบในการผลิต)และขาย

เครื่องจักรให้กับธุรกิจผลิตรถยนต์ในราคา 160,000 บาท มูลค่าเพิ่มของเครื่องจักรจะเท่ากับ

160,000บาทหักออกด้วย80,000บาทเป็นค่าสินค้าขั้นกลางในการผลิต(ซึ่งก็คือค่าเหล็ก)

(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7)

สินค้า ผู้ขาย ผู้ซื้อ ราคาสินค้า มูลค่าเพิ่ม สินค้าขั้นสุดท้ายรายไดจ้ากการ

(หน่วย:บาท) ใช้ปัจจัยการผลิต

เหล็ก ธุรกิจเหล็ก ธุรกิจผลิต 80,000 80,000 - 80,000

เครื่องจักร

เหล็ก ธุรกิจเหล็ก ธรุกจิรถยนต์240,000 240,000 - 240,000

เครื่อง ธุรกิจผลิต ธรุกจิรถยนต์ 160,000 80,000 160,000 80,000

จักร เครื่องจักร

ยาง ธุรกิจผลิต ธรุกจิรถยนต์40,00040,000 - 40,000

รถยนต์ ยางรถยนต์

รถยนต์ ธุรกิจรถยนต์ ภาคครวัเรอืน 400,000120,000400,000 120,000

มูลค่าการค้ารวม 920,000

GDP 560,000 560,000 560,000

Page 6: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

6 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

รายได้สุทธิจะเท่ากับ80,000บาทซึ่งเป็นรายได้(ทางตรง)หรือกำไร(ทางอ้อม)ของภาค

ครัวเรือน

ในขณะที่ธุรกิจผลิตรถยนต์ได้นำเครื่องจักรมาใช้เป็นสินค้าขั้นสุดท้ายในลักษณะของ

สินค้าทุนของตน มูลค่า 160,000 บาท ดังแสดงไว้ในช่องที่ (6) เช่นเดียวกับธุรกิจเหล็ก

ธุรกิจผลิตยางรถยนต์ ผลิตสินค้าขั้นกลางคือยางรถยนต์ สมมติว่าในกรณีนี้ ธุรกิจผลิตยาง

รถยนต์ใช้วัตถุดิบของตนเองในการผลิต มูลค่าของสินค้า 40,000 บาท จะถือเป็นมูลค่าเพิ่ม

และเปลี่ยนเป็นรายได้ของภาคครัวเรือน (แต่ถ้าธุรกิจผลิตยางรถยนต์ต้องซื้อวัตถุดิบ (ยาง

พารา) มาจากบริษัทที่ผลิตยางในประเทศจะต้องมีการหักมูลค่าของยางที่เป็นวัตถุดิบที่ซื้อมา

ออกจากมูลค่าของยางรถยนต์ที่ผลิตได้ เพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่มของสินค้า และต้องมีการเพิ่มเนื้อที่

แถวในตารางขึ้นให้กับกิจกรรมธุรกิจผลิตยางพาราในการคำนวณด้วย)

ในส่วนสุดท้ายธุรกิจผลิตรถยนต์จ่ายเงิน80,000บาทเป็นค่าเหล็กและ40,000บาท

เป็นค่ายางรถยนต์ ทั้งสองส่วนถือเป็นสินค้าขั้นกลางที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตรถยนต์

ธุรกิจผลิตรถยนต์ขายรถยนต์ราคา 400,000 บาท ดังนั้นในการคำนวณจะต้องหัก 280,000

บาท (ค่าเหล็ก และค่ายางรถยนต์) ออกจากมูลค่าของรถยนต์จำนวน 400,000 บาท เป็น

มูลค่าเพิ่มของการผลิตรถยนต์และเป็นรายได้สุทธิที่จ่ายให้กับภาคครัวเรือนสำหรับการใช้ปัจจัย

การผลิต หรือในรูปของกำไร ท้ายที่สุด มูลค่าของรถยนต์ที่เท่ากับ 400,000 บาท จะเป็น

มูลค่าของสินค้าขั้นสุดท้ายที่ส่งมอบแก่ภาคครัวเรือน (และถือเป็นมูลค่าของการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

ของภาคครัวเรือนเช่นเดียวกัน)

ในตารางที่ 1 ในวงเล็บ(4)แสดงให้เห็นมูลค่าเบื้องต้น(thegrossvalue)ของสินค้า

ทั้งหมดเท่ากับ 920,000 บาท ซึ่งจะเห็นว่าเป็นมูลค่าที่สูงเกินจริง เมื่อพิจารณาว่าในระบบ

มีสินค้าขั้นสุดท้ายเพียงสองชนิดคือรถยนต์และเครื่องจักรที่เป็นสินค้าทุนของธุรกิจผลิตรถยนต์

จะเห็นว่ามูลค่า 240,000 บาท ที่ธุรกิจเหล็กได้รับจากการขายเหล็กให้กับธุรกิจผลิตรถยนต์

ได้ถูกรวมไว้แล้วในมูลค่าของรถยนต์การนับ240,000บาทเข้าไปด้วยจึงถือว่าเป็นการนับซ้ำ

ในวงเล็บที่ (5) แสดงให้เห็นถึงมูลค่าเพิ่มของแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต 560,000

บาท จึงเป็นมูลค่าของผลผลิตที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจโดยแต่ละหน่วยธุรกิจจะจ่ายผล

ตอบแทน (หรือรายได้สุทธิ) ให้กับภาคครัวเรือน ทั้งทางตรงโดยการนำปัจจัยการผลิตมาใช้

หรือทางอ้อมผ่านทางกำไรภาคครัวเรือนจึงได้รับรายได้รวมเท่ากับ560,000บาทในวงเล็บที่

(7) จะเห็นว่าถ้าเรารวมผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตและกำไรให้กับภาคครัวเรือนแล้ว

ค่าที่ได้ก็จะเท่ากับ GDP เช่นกัน ดังที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า ผลลัพธ์ของ GDP จะเท่ากันไม่ว่า

จะหาในกรณีของมูลค่าเพิ่มหรือหาจากสินค้าขั้นสุดท้าย ในกรณีนี้ภาคครัวเรือนจะซื้อรถยนต์

และธุรกิจผลิตรถยนต์ทำการซื้อเครื่องจักรเพื่อที่จะนำมาผลิตรถยนต์

Page 7: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

7สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาในแง่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว อาจกล่าวได้ว่า

กิจกรรมใดก็ตามที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว กิจกรรมนั้นได้ก่อให้เกิดผลผลิตใหม่ขึ้นในระบบเศรษฐกิจ

กิจกรรมนั้นจะถูกนับรวมอยู่ในบัญชีรายได้ประชาชาติแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใดก็ตามถึงแม้

จะมีมูลค่าเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่ถ้ากิจกรรมนั้นมิได้ก่อให้เกิดผลผลิตใหม่ขึ้นในระบบ

เศรษฐกิจ เราจะไม่นำตัวเลขเหล่านั้นมาพิจารณาในบัญชีรายได้ประชาชาติ ยกตัวอย่างเช่น

(กฤติยาตติรังสรรค์สุข, 2545,หน้า 146-148)การซื้อขายหุ้นออกใหม่ กิจกรรมนี้จะไม่ถูก

นับรวมอยู่ในบัญชีรายได้ประชาชาติ เพียงเพราะเป็นการโอนเงินจากผู้ซื้อหุ้นออกใหม่ไปยัง

บริษัทที่นำหุ้นออกขายยังไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดผลผลิตขึ้นมา(แต่ถ้าบริษัทที่ออกหุ้นใหม่นำเงิน

ที่ขายหุ้นได้ไปลงทุนซื้อเครื่องมือเครื่องจักรเครื่องใช้สำนักงานตัวเลขจะถูกนับรวมอยู่ในบัญชี

รายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย) หรือแม้กระทั่งการถูกลอตเตอรี่รางวัลใดก็ตาม เราถือเป็น

ค่าใช้จ่ายเงินโอนซึ่งผู้รับเงินได้รับเปล่าๆโดยไม่ได้ให้ผลผลิตสินค้าและบริการตอบแทนจึงไม่นับ

รวมอยู่ในบัญชีรายได้ประชาชาติ

นอกจากที่จะพิจารณาถึงผลผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะต้องเกิดขึ้นจริงแล้ว การ

เคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็มีผลต่อการแสดง

ศักยภาพที่แท้จริงในการผลิตสินค้าและบริการด้วยเช่นเดียวกัน พิจารณาตารางที่ 2 รายได้

ประชาชาติที่เป็นตัวเงินต่อไปนี้(กฤตยาตติรังสรรค์สุข,2545,หน้า39-40)

ตารางที่2รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน

สมมติให้การผลิตสินค้าชนิดหนึ่งของประเทศหนึ่ง ในแต่ละปีผลิตได้ ปีที่ 1 จำนวน 20

หน่วยปีที่2จำนวน20หน่วยส่วนในปีที่3ประเทศนี้ผลิตได้30หน่วยขณะที่ราคาสินค้า

ในปีที่1,2และ3เป็น10,12และ15หน่วยตามลำดับรายได้ประชาชาติจะเกิดขึ้นจาก

ผลคูณของราคาสินค้าและปริมาณสินค้าที่ผลิตในปีเดียวกัน เรียกรายได้ประชาชาติที่คิดจาก

ราคาสินค้าณเวลานั้นๆว่ารายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน(moneyGDP)ซึ่งจะได้เท่ากับ

200,240และ450หน่วยตามลำดับ

ปี ราคาสินค้า ปริมาณสินค้า รายได้ที่เป็นตัวเงิน

(P) (Q) MoneyGDP(PxQ)

1 10 20 200

2 12 20 240

3 15 30 450

Page 8: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

8 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ถ้าตัวเลขรายได้ประชาชาติแสดงถึงศักยภาพที่แท้จริงในการผลิตสินค้าและบริการของ

ประเทศสามารถตอบได้อย่างมั่นใจหรือไม่ว่า ในปีที่ 2ประเทศนี้มีศักยภาพในการผลิตสินค้า

มากกว่าปีที่1เมื่อพิจารณาจากตัวเลขรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้นเปรียบเทียบกัน

คำตอบที่ถูกต้องของคำถามนี้อยู่ที่ โดยแท้จริงแล้วประเทศนี้มีศักยภาพในการผลิตสินค้า

ในปีที่1เท่ากันกับปีที่2(ไม่เป็นไปตามย่อหน้าข้างต้น)สาเหตุก็เพราะถ้าพิจารณาให้ดีแล้วจะ

เห็นว่าในปีที่ 1 และ ปีที่ 2 ประเทศนี้ผลิตสินค้าได้จำนวนเท่ากันคือ 20 หน่วย แต่การที่

ตัวเลขรายได้ประชาชาติไม่เท่ากันนั้นมีสาเหตุมาจากราคาสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นซึ่ง

โดยแท้จริงแล้ว ราคาสินค้าหรือแม้กระทั่งราคาของปัจจัยการผลิต มิได้เป็นตัวบ่งบอกถึงการมี

ศักยภาพในการผลิตที่ดีขึ้นหรือต่ำลง ปัจจัยที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการผลิตก็คือ ปริมาณ

สินค้าที่ถูกสร้างขึ้นนั่นเอง (ซึ่งส่งผลมาจากการมีปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น หรือเทคโนโลยีการ

ผลิตที่ดีขึ้น)

ดังนั้นในการคำนวณหาตัวเลขรายได้ประชาชาติที่ถูกต้องและเหมาะสมในการนำไป

พิจารณาจึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดภาวะเงินเฟ้อออกเสียก่อนเพราะอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมาะสม

หรือผิดไปจากความเป็นจริง เนื่องจากค่าของราคาไม่คงที่ ซึ่งในการคำนวณรายได้ประชาชาติที่

ไม่นำการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในแต่ละช่วงระยะเวลามาพิจารณานี้ เราเรียกว่าการหา

รายได้ประชาชาติที่แท้จริงคำนวณได้จากสูตร(ประภัสสรคำสวัสดิ์,2552,หน้า49-51)

รายได้ประชาชาติที่แท้จริงRealGDP = รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน

ดัชนีราคา

ดังนั้น รายได้ประชาชาติที่แท้จริง ก็คือผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

ที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้ราคาในปีฐานเป็นเกณฑ์ในการ

คำนวณซึ่งจะขจัดความแตกต่างระหว่างปีต่าง ๆ อันเกิดจากการมีเหตุการณ์ผิดปกติจนทำให้

ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเป็นการวัด

มูลค่าของผลผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายของปีต่างๆโดยการปรับราคาของปีต่างๆให้มา

อยู่ในระดับเดียวกันกับราคาของปีฐานซึ่งเป็นปีที่มีเหตุการณ์ปกติ

2. อัตราการเจริญเติบโตอย่างแท้จริงทางเศรษฐกิจ (real growth rate) ในทาง

เศรษฐศาสตร์พิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งประเทศใด จะเกิดขึ้น

จากประเทศนั้น ๆมีการเพิ่มประสิทธิผลของปัจจัยการผลิต (ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน แรงงานทุน

หรือ ความสามารถของผู้ประกอบการ) รวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ประเทศนั้น

มีมากกว่าประเทศอื่น ๆ ปัจจัยทั้งสองนี้จะก่อให้เกิดผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมที่เคยผลิตได้

(หรืออาจก่อให้เกิดผลผลิตชนิดใหม่ๆ)ดังนั้นจะเห็นว่าการวัดความเจริญเติบโตอย่างแท้จริง

Page 9: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

9สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

สำหรับประเทศไทยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด10อันดับแรกได้แก่

1.เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ

2.รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ

3.อัญมณีและเครื่องประดับ

4.น้ำมันสำเร็จรูป

5.แผงวงจรไฟฟ้า

6.ยางพารา

7.ข้าว

8.เม็ดพลาสติก

9.เหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

10.ผลิตภัณฑ์ยาง

3. ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (human development index หรือ HDI) เป็นการ

พิจารณาศักยภาพของประชาชนในประเทศ (หรืออาจจะมองถึงความสนใจในการพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลว่าใส่ใจมากหรือน้อยเพียงใด) เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ

ความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่น ๆ ของประเทศ

ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและ

เยาวชน นักเศรษฐศาสตร์ใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ขององค์การสหประชาชาตินี้ในการระบุว่า

ประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศ

พัฒนาน้อยที่สุดดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปีค.ศ.1990ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความ

สำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์3ด้านหลักๆได้แก่

1.การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีซึ่งวัดได้จากอายุขัย

2.ความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็น 2 ใน 3 ส่วน) และอัตราส่วน

การเขา้เรยีนสทุธทิีร่วมกนัทัง้ระดบัประถมมธัยมและอดุมศกึษา(มนีำ้หนกัเปน็1ใน3สว่น)

3.มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gross

domestic product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power

parity-PPP)

ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะถูกจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับ

การจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มี

ความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ในทาง

เศรษฐกิจ) หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก อย่างไรก็ดี องค์การสหประชาชาติ

Page 10: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

10 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วยโดยการใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์(human

povertyindex)โดยที่ประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์มากที่สุดคือนอร์เวย์0.971และน้อย

ที่สุดคือไนเจอร์0.340อยู่ที่อันดับ181ส่วนประเทศไทย0.783อยู่ที่อันดับ87ประเทศใน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีHDIมากที่สุดคือสิงคโปร์0.944อยู่ที่อันดับ23

4. ผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี (technological achievement) เป็นการแสดงออกถึง

ศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราความเจริญเติบโตในระบบเศรษฐกิจ

โดยปกติประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะมีตัวเลขนี้อยู่ในเกณฑ์สูง เช่น ในปี 2008

สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 0.73 (เต็ม 1.00) ญี่ปุ่น 0.70ขณะที่ประเทศไทยตัวเลขผลสัมฤทธิ์

ทางเทคโนโลยีอยู่ที่0.34(nationmaster.com,2011,p.1)

5. หนี้สาธารณะ (public debt) เป็นหนี้สินที่รัฐบาลสร้างขึ้น โดยเป็นการพิจารณาหนี้

ภายในประเทศและหนี้ต่างประเทศ ซึ่งเป็นการพิจารณานโยบายของภาครัฐ ตามความหมาย

หนี้สาธารณะ จำกัดความโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกระทรวงการคลัง (2011, หน้า

1-2) หมายถึง การกู้ยืมเงินของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจำเป็นต้อง

กู้เงินมาใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนาการที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ

ก่อหนี้สาธารณะมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เมื่อภาวะเศรษฐกิจเกิดปัญหา

เช่นเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือการว่างงานที่มากเกินไป

2) เพื่ อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศ อันเนื่ องมาจาก

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเกิดการขาดดุล

3) เพื่อใช้จ่ายในกิจการฉุกเฉินหรือรายจ่ายที่มีลักษณะผิดแปลกไปจากรายจ่ายตาม

ปกติเช่นการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในการสงครามการบูรณะฟื้นฟูประเทศหลังเกิดภัยทางธรรมชาติ

ต่างๆเป็นต้น

4) เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล เมื่อรัฐบาลเก็บรายได้จากภาษีอากร การขาย

สิ่งของและบริการและจากรัฐพาณิชย์มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในงบประมาณ

5)เพื่อใช้ในการลงทุนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

6) เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า ในกรณีที่เมื่อถึงกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย

หากรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้สินรัฐบาลอาจใช้วิธีการกู้ยืมหนี้ใหม่เพื่อมาชำระหนี้

เก่า

6. หนี้ต่างประเทศ หมายถึง ยอดคงค้างหนี้สินส่วนที่มิใช่ทุนเรือนหุ้นที่ผู้มีถิ่นฐานใน

ประเทศก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศทั้งหนี้สินที่มีดอกเบี้ยหรือไม่มีดอกเบี้ยโดยมีภาระ

Page 11: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

11สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ผูกพันที่จะต้องชำระหนี้เงินต้น โดยรวมหนี้สินทุกสกุลเงินและทุกประเภทของการกู้ยืม โดยที่

ภาระหนี้ต่างประเทศ หมายถึง ภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ประกอบ

ด้วยเงินต้นของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระคืนและดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาว

7. การกระจายรายได้ของครัวเรือนพิจารณาจากGINIIndexเป็นดัชนีที่ใช้วัดความ

ไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือน สัมประสิทธิ์จีนี หรือ GINI Index

เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการ

กระจายรายได้หรือการกระจายความร่ำรวยถูกพัฒนาขึ้นโดยนักสถิติชาวอิตาลีชื่อคอร์ราโดจินี

สัมประสิทธิ์จีนี ถูกนิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 สัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำจะ

แสดงถึงความเท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ หากค่านี้สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงการกระจายรายได้ที่

เหลื่อมล้ำกันมากขึ้นสัมประสิทธิ์จีนีที่เท่ากับ0หมายถึงความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์(ทุก

คนมีรายได้เท่ากัน) และ 1 หมายถึงความเหลื่อมล้ำอย่างสมบูรณ์ (มีคนที่มีรายได้เพียงคน

เดียว ส่วนคนที่เหลือไม่มีรายได้เลย) การคำนวณสัมประสิทธิ์จีนีอยู่บนสมมติฐานว่าไม่มีใครมี

รายได้ต่ำกว่าศูนย์

8. เส้นความยากจน (poverty line)คือ เครื่องมือในการกำหนดเกณฑ์ความต้องการ

ขั้นพื้นฐานขั้นต่ำของบุคคลถ้าบุคคลใดมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนก็พิจารณาได้ว่าบุคคลนั้น

เป็นคนจน ในปี 2008 ประเทศที่มีประชากรต่ำกว่าเส้นความยากจนมากที่สุด คือ ประเทศ

ไลบีเรียประมาณ80%(จำนวนคนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนคือจำนวนคนจนหรือบุคคลที่

มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน)ส่วนประเทศไทยอยู่ที่อันดับ127(ประมาณ10%)

9. ดัชนีบิ๊กแม็ค (big mac index) เป็นการพิจารณาราคาของแฮมเบอร์เกอร์ประเภท

บิ๊กแม็คของประเทศต่างๆในรูปของU.S.dollarsซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับราคาสินค้าชนิดเดียวกัน

ในแต่ละประเทศหรืออาจหมายถึงอำนาจซื้อของประชาชนในแต่ละประเทศอาจกล่าวได้ว่าเป็น

การมองอัตราเงินเฟ้ออย่างง่ายๆโดยในปี2008ประเทศไอซ์แลนด์ขายบิ๊กแม็คในราคา6.67

ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา อันดับ 2 ประเทศนอร์เวย์ 6.06 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ในขณะที่

ประเทศไทยขายบิ๊กแม็คเมื่อเทียบเป็นราคาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาแล้วอยู่ที่ 1.51 ดอลลาร์

สหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายความว่า ถ้าชาวไอซ์แลนด์มาซื้อแฮมเบอร์เกอร์บิ๊กแม็คในประเทศไทย

เขาสามารถซื้อได้ถึง4ชิ้นครึ่ง(เมื่อเทียบกับที่ซื้อในประเทศของตนเอง)

ความสามารถในการแข่งขันของไทย(foodindustrythailand.com,2554,หน้า1)ไทย

ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 36 ตกลงมาสองอันดับจากปีที่แล้วเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกซบเซา

ประกอบกับปัญหาทางการเมือง เกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ จึงส่งผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจของประเทศซึ่งคาดว่าจะลดลงร้อยละ 3-4 ในปี 2009 ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหา

มากที่สุดต่อการทำธุรกิจในประเทศไทย ได้แก่ ประการที่หนึ่ง ปัญหาด้านความมั่นคงของ

Page 12: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

12 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

รัฐบาลและความเสี่ยงต่อการเกิดรัฐประหาร ประการที่สอง ความไม่มั่นคงในนโยบาย

ประการที่สามความไม่มีประสิทธิภาพต่อระบบบริหารงานราชการประการที่สี่ การคอร์รัปชั่น

และประการสุดท้าย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน จะเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับสถาบัน

และการบริหารงานส่วนของราชการทั้งสิ้น ซึ่งถ้าต้องการให้ประเทศเพิ่มระดับความสามารถใน

การแข่งขันให้สูงขึ้น มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ทุกฝ่ายควรจะหันหน้ามา

ร่วมมือกัน

สรุป ดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันของไทยที่สำคัญ ได้แก่ รายได้ประชาชาติที่แท้จริง

อัตราความเจริญเติบโตที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติต่อหนึ่งหน่วยประชากร

มูลค่าการส่งออกดัชนีการพัฒนามนุษย์ผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยีหนี้สาธารณะหนี้ภายนอก

จำนวนประชากรที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนและดัชนีบิ๊กแม็ค

ปัญหาที่ทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันต่ำลง ได้แก่ ปัญหาความมั่นคงของ

รัฐบาล ปัญหาความไม่มั่นคงในนโยบาย ความไม่มีประสิทธิภาพต่อระบบบริหารงานราชการ

การคอร์รัปชั่นและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ข้อเสนอแนะ จากดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันที่สำคัญข้างต้น จะเห็นได้ว่า การที่จะทำให้

ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ให้สูงขึ้นได้นั้น

ประการสำคัญอยู่ที่การพัฒนาศักยภาพทางด้านการผลิตให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การค้นคว้าและการสร้างเทคโนโลยีทางการผลิตใหม่ ๆ การส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศ

มีระดับความรู้ที่สูงขึ้น ตลอดจนปัจจัยทางด้านการเมือง ความสามัคคีของประชาชนในชาติ

การไม่แตกเป็นฝักฝ่าย และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมไปถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเอง

ที่จะต้องมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ตัวเลขดัชนีในแต่ละหัวข้อ

เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะสะท้อนไปถึงความสามารถในการแข่งขันของไทยที่จะอยู่ในอันดับที่สูงขึ้น

เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการค้าของโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

บรรณานุกรม กระทรวงการคลัง.(2554).หนี้สาธารณะ(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://www.mof.go.th/

pdmo/Publicdebt.pdf[2554,3มกราคม].

กฤตยาตติรังสรรค์สุข.(2545).เฉลยข้อสอบ วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น (ศ.212/

214) ของปี พ.ศ. 2534-2544.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Page 13: ตัวชี้วัดความสามารถในการ ... · 2014-07-08 · สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 1 ปีที่ 1

13สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ประภัสสรคำสวัสดิ์.(2552).มูลฐานเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีและนโยบาย เล่ม 1.ชลบุรี:

มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี.

วันรักษ์มิ่งมณีนาคินและคณะ.(2536).พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

foodindustrythailand.com.(2011).ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก(Online).

เข้าถึงได้จาก: http://www.foodindustrythailand.com/v17/index.php?option=

com_content&view=article%id[2554,2กุมภาพันธ์].

nationmaster.com.(2011).Thai Economy stats(Online).Available:

http://www.nationmaster.com/country/th-thailand/eco-ecnonmy[2011,February2].

____ .(2011).Economy Statistics>Technological achievement (most recent) by

country (Online). Available: http://www.nationmaster.com/graph/eco_tce_ach-

economy-Technological-achievement[2011,February2].