24
ค่มอวิถกระบวนกร การจดกระบวนการเรยนกระบวนเรยนร้ เพ่อการเปล่ยนแปลงและเพิ่มพลงชวิต

คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

คู่มือวิถีกระบวนกรการจัดกระบวนการเรียนกระบวนเรียนรู้

เพื่อการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพลังชีวิต

Page 2: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

คู่มือวิถีกระบวนกร

จัดทำ โดย

โครงการพัฒนาภาวะการนำ�ด้วยพุทธกระบวนทัศน์

มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

๒๕๖๒

สนับสนุนโดย�

สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ�(สสส.)

การจัดกระบวนการเรียนกระบวนเรียนรู้

เพื่อการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพลังชีวิต

Page 3: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

สารบัญ

วิถีกระบวนกร� 1

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม�� 4

ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม�� 6

จัดหมวดหมู่บทเรียน�� 9

บทบาทสมมติ� 11

กิจกรรมสำ�หรับฝึกจัดกระบวนการ�� 13

องค์ประกอบของชุมชนในอุดมคติ� 15

สถานะทางสังคม�(Rank)�� 16

สมาธิภาวนากับการจัดกระบวนการ�� 17

ธรรมชาติของความรู้�� 18

การคิดแบบองค์รวม�� 18

ข้อควรรู้อื่นๆ�สำ�หรับกระบวนกร 20

Page 4: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

1

กระบวนกร� หมายถึงผู้สร้างและดำาเนินกิจกรรมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่างจากวิทยากรที่เป็นผู้ให้ความรู้

วิถีกระบวนกรหมายถึงศาสตร์และศิลป์สำาหรับจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีพลังและเกิดการเรียนรู้เชิงลึกที่นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้ง

ในเชิงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนตลอดจนความสัมพันธ์ภายในกลุ่มหรือองค์กร

โปรแกรม๒๑วันของการฝึกตนและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เข้มข้นนี้จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวาและมีความหมายกับชีวิตอย่างแท้จริงโดยที่

คุณจะได้เห็นตัวคุณเองในแง่มุมที่ไม่เคยรู้จักคุณจะเกิดความมั่นใจที่ลึกซึ้งในการดำารงชีวิตและทำาหน้าที่การงานคุณจะค้นพบศักยภาพที่ซ่อน

เร้นอยู่ในตัวเองและสามารถนำามันออกมารับใช้เพื่อนมนุษย์อย่างมีความหมายคุณจะได้ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้คนอย่างมีชีวิตชีวาและ

เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ

ถ้าคุณเป็นครูอาจารย์อยู่แล้วคุณจะเดินกลับเข้าห้องเรียนด้วยพลังอย่างใหม่ที่นักเรียนนักศึกษาสามารถสัมผัสได้

ถ้าคุณเป็นกระบวนกร(Facilitator)อยู่แล้วหรือเริ่มต้นเป็นกระบวนกรความเชื่อมั่นของคุณจะหยั่งรากลึกนำาไปสู่การเพิ่มพลังให้แก่ผู้

เรียน

ถ้าคุณเป็นคนหน้าใหม่ผู้ไฝ่วิถีกระบวนกรคุณจะได้ฝึกจับหลักให้มั่นหยั่งรากสู่ภายในฝึกใช้ทักษะครั้งแล้วครั้งเล่า

ทุกท่านจะได้เดินทีละก้าวที่จะไว้ใจชีวิตและจักรวาลท่านจะเชื่อมั่นตนเองอย่างอ่อนน้อมและวางใจชีวิตและคนรอบๆตัวคุณอย่างมีสติ

สิ่งที่จะเรียนรู้จะไม่ใช่เพียงเทคนิควิธีจัดกระบวนอย่างนั้นอย่างนี้ที่สำาคัญกว่าคือภาวะชีวิตภายใน(Being)และหลักคิด(Principles)ที่มั่นคงที่

เป็นต้นธารของเทคนิควิธี(Howto)

การเรียนรู้ชัดนี้เหมาะสำ�หรับ�• ผู้ต้องการเป็นกระบวนกรอย่างมีพื้นฐานแน่นทั้งหัวใจหลักคิดและทักษะ

• ครูผู้ต้องการให้ห้องเรียนของตนสร้างแรงบัลดาลใจและความเชื่อมั่นให้ผู้เรียน

• ผู้ต้องการรู้จักตนเองและศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน

• ผู้ต้องการฝึกภาวะผู้นำาในตนเองเพื่อเพิ่มพลังให้คนที่ตนนำาได้เติบโตไปพร้อมๆกับความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน

วิถีกระบวนกร

Page 5: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

2

เป้าหมาย� กระบวนการเรียนรู้ใน๒๑วันนี้จะช่วยให้ครูนักฝึกอบรมกระบวนกรวิทยากรกระบวนการได้ก้าวผ่านการฝึกเป็นขั้นเป็นตอนทั้งด้าน

หัวใจหัวสมองและทักษะเพื่อเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีสติรู้เท่าทันตนตื่นรู้อยู่ในปัจจุบันขณะถึงพร้อมด้วยทักษะและจับหลักคิดได้

อย่างมั่นคงว่าจะจัดการเรียนรู้อะไรอย่างไรในแต่ละสถานการณ์ของผู้เรียนและผู้คนที่เกี่ยวข้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ๑.ด้านทัศนคติเมื่อเรียนรู้ชัดนี้แล้วผู้เรียนจะ

๑.๑. มีสติรู้เท่าทันตนมากขึ้นอยู่กับปัจจุบันขณะได้มากขึ้นลดละอัตตาให้น้อยลงได้ตามลำาดับ

๑.๒. หมั่นทบทวนใคร่ครวญตนเองอยู่เสมอยอมรับความจริงของตนเองด้วยใจเป็นกลางทั้งจุดอ่อนจุดแข็งรวมถึงลักษณะเฉพาะของตน

๑.๓. รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนเปราะบางได้และเชื่อมันในตนเองพร้อมกับมีความเข้มแข็งอยู่ภายในพร้อมๆกันไป

๑.๔. พร้อมฟังคำาวิจารณ์น้อมรับคำาท้าทาย

๑.๕. เชื่อในศักยภาพของทุกคน

๑.๖. เชื่อในการเรียนรู้ร่วมกันช่วยกันถอดบทเรียนสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน

๑.๗. เชื่อญาณหยั่งรู้ตนเองมากขึ้นตามลำาดับ

Page 6: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

๒.ด้านหลักคิดเมื่อเรียนรู้ชุดนี้แล้วผู้เรียนจะเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการต่อไปนี้ได้

๒.๑. หลักพื้นฐานการศึกษาแบบองค์รวม:การตัดสินใจคือการศึกษาความสัมพันธ์คือการศึกษาการฝึกตนคือคือการศึกษา

๒.๒. หลักการศึกษาแบบมีส่วนร่วม:การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การสร้างองค์ความรู้ร่วมกันสืบค้นร่วมกันถอดบทเรียนด้วยกันและ

สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำาหรับการเรียนรู้โยงกับการคิดแบบองค์รวม

๒.๓. หลักเกี่ยวกับธรรมชาติของการรู้:ความรู้ญาณหยั่งรู้ความเห็นการตีความการติดยึดความรู้(ทิฏฐุปาทาน)ทฤษฎีความรู้สองแบบ

ของอีเอฟชูม้าเกอสัจจะของผู้สอนเป็นเพียงสมมติฐานของผู้เรียน

๒.๔. เคารพตนเคารพความหลากหลายในกลุ่ม

๒.๕. การหาสมดุลสมองกายใจในการเรียนรู้

๒.๖. คิดอย่างมีวิจารณ์ญาณคิดแบบองค์รวมจัดระบบคิดจัดหมวดหมู่

๒.๗. การรู้จักตนเองสติกับการลดอัตตา

๒.๘. กระบวนกรในฐานะผู้นำาที่แท้

๓.ด้านทักษะ:เมื่อเรียนรู้ชุดนี้แล้วผู้เรียนจะสามารถฝึกใช้ทักษะเหล่านี้เป็น

๓.๑. ทักษะพื้นฐาน๗อย่างถามฟังพูดกระชับสรุปทวนคืนถามเจาะสังเคราะห์ประมวล

๓.๒. จัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเช่นใช้วงจรเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และถอดบทเรียนถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีตใช้

บทบาทสมมติและละครสั้นการสอนเนื้อหาหนักแบบมีส่วนร่วมฯลฯ

๓.๓. อ่านพลังกลุ่มประเมินกลุ่มจัดการกลุ่มเปลี่ยนแปลงออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับสถานการณ์เฉพาะหน้า

๓.๔. รับมือกับผู้เรียนที่ท้าทายและรับมืออย่างมีสติและกรุณา

๓.๕. จัดกิจกรรมท้าทายกลุ่ม/กิจกรรมสร้างหมู่คณะหลากหลายเช่นสี่เหลี่ยมแตกเดินตะปูตีบอลตาข่ายไฟฟ้า

๓.๖. จัดกิจกรรมรู้จักตนเองรู้จักเพื่อนเช่นข้ามเส้น(ใช่ฉันเลย)บาโรมิเต้อสี่ทิศที่ธาตุ

๓.๗. ใช้กิจกรรมพลังดาวสำาหรับการวิเคราะห์สังคมเบื้องต้น

๓.๘. คิดอย่างเป็นระบบคิดอย่างมีวิจารณ์ญาณ

๓.๙. การรู้จักฟังอย่างลึกซึ้ง

๓.๑๐. นำาภาวนาเบื้องต้น

๓.๑๑. สอนเป็นคณะ/สอนกับคนอื่น

๓.๑๒. การพูดในที่สาธารณะที่เราไม่คุ้นเคย

๓.๑๓. ออกแบบการเรียนรู้

Page 7: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

3

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม�

หลักสำาคัญที่อยู่เบื้องหลังแนวทางนี้คือกระบวนกรจะเตรียมการแต่ไม่ยึดติดพร้อมปรับเปลี่ยนตลอด

เวลาตามความเหมาะสมจึงต้องมีทักษะการออกแบบฉับพลันความรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนไม่ได้มาจากใครคน

ใดคนหนึ่งแต่มาจากทุกฝ่ายทั้งกระบวนกรและผู้เรียนผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากกันและกันแม้แต่ความผิดพลาด

ก็เป็นบทเรียนได้บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนจะต้องช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยที่จะแบ่งปันและแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์เคารพซึ่งกันและกันมีการรับฟังกันมีการสื่อสารด้วยความกรุณาและมีความไว้วางใจ

ตัวอย่างเกมที่�1�:��เกมเป็ดเจ้าปัญหา

กติกา:ผู้เรียนทุกคนยืนบนเบาะที่กระจายอยู่ทั่วห้องมีเบาะว่าง๑เบาะหนึ่งในทีมกระบวนกรรับหน้าที่

เป็นเป็ดหลังจากเคาะระฆังเป็ดจะเดินด้วยจังหวะปกติเพื่อชิงเบาะที่ว่างผู้เรียนมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เป็ดยืน

บนเบาะว่างได้โดยผู้เรียนสามารถย้ายเบาะได้ตลอดเวลาแต่มีข้อแม้ว่า๑คนครอบครองได้๑เบาะและเมื่อ

ออกจากเบาะใดจะกลับไปเบาะนั้นทันทีไม่ได้ต้องไปยืนบนเบาะอื่นก่อนทุกคนห้ามพูดคุยและส่งสัญญาณ

ใดๆต่อกัน

กระบวนกรจะจับเวลาหลายๆครั้งและให้ผู้เรียนสังเกตว่าเพราะเหตุใดเวลาจึงดีขึ้นหรือเลวลงในแต่ละ

ครั้ง

เกมนี้เป็นเครื่องมือที่นำาผู้เรียนไปสู่ความเข้าใจ๕ขั้นตอนการเรียนรู้(Praxis)ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการเรียนรู้(Praxis)การศึกษาไม่ได้หมายถึงระบบโรงเรียนแต่คือการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

จากแนวคิดของเปาโลแฟรร์(PauloFreire)เราต่างถูกกดขี่โดยระบบการศึกษาและบริโภคนิยมและเรา

จำาเป็นต้องปลดปล่อยตนเองออกจากระบบที่ลดทอนความเป็นมนุษย์เหล่านี้

วงจรการเรียนรู้ที่ใช้ในชุดการเรียนนี้มี๕ขั้นได้แก่ประสบการณ์ความรู้สึกการสังเกตบทเรียนและการนำา

ไปใช้

Page 8: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

ในกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผู้เรียนจะได้ผ่านประสบการณ์จากกิจกรรมต่างๆและลงมือปฏิบัติ

จริงขณะผ่านประสบการณ์จะมีความรู้สึกเกิดขึ้นเสมอในการศึกษาสมัยใหม่มักกำาจัดอารมณ์ความรู้สึกทิ้ง

กระบวนการเรียนรู้ของเราส่งเสริมให้ผู้เรียนรับรู้ทุกอารมณ์อย่างที่มันเป็นและแบ่งปันกับผู้อื่นเพราะอารมณ์

คือส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์การเข้าใจอารมณ์จะช่วยให้เราคิดได้ชัดขึ้นขั้นต่อมาคือการสังเกตผู้เรียนจะได้

ระดมความคิดเห็นร่วมกันว่าระหว่างทำากิจกรรมเกิดอะไรขึ้นบ้างสิ่งใดที่ทำาได้ดีสิ่งใดควรปรับปรุงจากนั้นจึง

สรุปเป็นบทเรียนร่วมกันขั้นตอนนี้สำาคัญอย่างยิ่งเพราะคือการเสริมสร้างพลังอำานาจแก่ผู้เรียนทำาให้ผู้เรียน

รู้สึกว่าเสียงของตนมีความหมายจากนั้นจึงเป็นขั้นสุดท้ายคือค้นหาว่าจะนำาสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันไปปรับใช้ใน

ชีวิตจริงอย่างไร

3

Page 9: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

4

ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม�

ได้แก่การตั้งคำาถามปลายเปิดการพูดให้กระชับการสรุปการฟังอย่างลึกซึ้ง

•�การตั้งคำ�ถามปลายเปิด คือเครื่องมือที่ช่วยดึงความรู้จากทุกคนไม่มีคำาตอบใดถูกหรือผิดทุกคนมีส่วนร่วมสร้างความรู้ได้

แม้ครูบอกว่าจริงแต่ก็เป็นเพียงสมมติฐานของครูเท่านั้นผู้เรียนไม่จำาเป็นต้องเชื่อ

•�การพูดให้กระชับ� หลักการพูดคือเลือกเรื่องที่เราสนใจเหมาะสมกับเวลากำาหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการนำา

เสนออะไรและผู้ฟังเป็นใครกระบวนกรอาจให้ผู้เรียน้ฝึกพูดให้กระชับโดยจับกลุ่มย่อยผลัดกันพูดและ

ฟังคนแรกพูด๕นาทีคนต่อไปสรุปสิ่งที่คนแรกพูด๒นาทีคนต่อไปสรุป๑นาทีและคนสุดท้ายสรุป๑

ประโยค

•�การสรุป� สรุปประเด็นสำาคัญโดยไม่อคติไม่ตีความและเชื่อมโยงความเห็นของทุกคนเข้าด้วยกัน

•�การฟังอย่างลึกซึ้ง� ฟังด้วยความเข้าอกเข้าใจและด้วยร่างกายทั้งหมดจดจ่ออยู่ที่ผู้พูดการฟังมี๓ระดับได้แก่ฟัง

ข้อมูลและเรื่องราวความรู้สึกความต้องการและคุณค่าหรือแก่นแท้การฟังอย่างลึกซึ้งจะช่วยให้ได้ยินสิ่งที่

ซ่อนอยู่เบื้องหลังคำาพูด

กระบวนการเหล่านี้พัฒนาได้โดยการเจริญสติและฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำาเสมอ

วิธีพูดให้กระชับ หลังจากได้ฝึกดังกล่าวไว้ข้างต้นผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนกันถึงวิธีช่วยให้พูดได้กระชับไว้ดังนี้

• แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน

• กำาหนดวัตถุประสงค์การพูดแล้วค่อยใส่รายละเอียดทีละข้อ

• อธิบายจากความรู้สึก

• วางโครงเรื่อง

• นำาเสนอประเด็นสำาคัญ

• เข้าใจผู้ฟังว่าต้องการอะไร

• เลือกหัวข้อที่เหมาะสมกับเวลาสถานที่และผู้ฟังและควรเป็นหัวข้อที่ตนสนใจ

Page 10: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

วิธีสรุป

•สรุปประเด็นสำาคัญ

•ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจชัดขึ้น

•รับฟังความคิดเห็นอย่างลึกซึ้งก่อนสรุปจดจ่อกับผู้พูดปล่อยวางเรื่องอื่นๆ

•ค้นหาแบบแผนของเรื่องราว

•ใช้คำาที่เป็นสากลทุกคนเข้าใจร่วมกัน

•อ่อนน้อมถ่อมตนระลึกว่าเราอาจสรุปผิดได้เช่นกัน

7

การกล่าวซ้ำ��(Paraphrasing)� เป็นทักษะพื้นฐานอีกข้อหนึ่งที่ต้องใช้จัดกระบวนการการกล่าวซ้ำาคือพูดสิ่งที่ผู้อื่นกล่าวไว้ด้วยภาษาของ

เราเองมีเป้าหมายเพื่อให้ประเด็นชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้นหรือเพื่อให้ผู้พูดตรวจสอบว่าเราเข้าใจประเด็นได้

ถูกต้องหรือยังแต่ไม่จำาเป็นต้องถอดความหรือกล่าวซ้ำาทุกครั้งถ้าคำาพูดนั้นดีอยู่แล้ว

การถามเจาะ�(Probing)� เพื่อให้ได้คำาตอบที่ชัดเจนขึ้นถ้าตั้งคำาถามได้ถูกจุดจะทำาให้การสนทนาลึกยิ่งขึ้นลักษณะของคำาถาม

เจาะได้แก่คำาถามเปิดถามด้วยอะไรทำาไมอย่างไรนำาไปสู่สิ่งที่ลึกและกว้างขึ้นถามประเด็นเฉพาะเจาะจง

วิธีที่จะช่วยให้ถามเจาะได้ดีคือฟังอย่างลึกซึ้งแล้วนำาประเด็นสำาคัญที่ได้ยินมาตั้งคำาถามต่อแต่ถ้าผู้พูดให้

ข้อมูลที่ละเอียดพอแล้วไม่จำาเป็นต้องถามเจาะทุกครั้งขณะที่ถามไม่ควรหลงลืมผู้เรียนคนอื่นๆ

การสังเคราะห์� คือการนำาบทสรุปที่ได้ไปผูกกับเนื้อหาหรือบทเรียนให้สมบูรณ์หรือผูกเข้ากับทฤษฎีต่างๆผู้เรียนได้แลก

เปลี่ยนว่าควรฝึกย่อเรื่องหรือสรุปความก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปสู่การสังเคราะห์ผู้ฝึกต้องจดจ่อและมีสมาธิกับ

เรื่องราวจับประเด็นสำาคัญหาสมดุลของเหตุผลและอารมณ์หมั่นฝึกฝนและหัดใช้ภาษาง่ายๆ

การจัดหมวดหมู่� หลังจากถอดบทเรียนแล้วการจัดหมวดหมู่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นกระบวนกรอาจจัดหมวด

หมู่เองหรือใช้รูปแบบที่มีผู้ทำาสำาเร็จไว้แล้วก็ได้ถ้าเนื้อหาเหมาะสมกับรูปแบบนั้นๆ

Page 11: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

วิธีแทรกแซงเมื่อผู้เรียนพูดมากเกินไป

นอกจากกระตุ้นให้มีส่วนร่วมแล้วสิ่งหนึ่งที่ท้าทายคือผู้เรียนที่ยึดพื้นที่สนทนาเพียงคนเดียวใน

ฐานะกระบวนกรจะรับมืออย่างไรผู้เรียนได้เสนอแนะไว้ดังนี้

• “ช่วยสรุปได้ไหมคะ”

• ตั้งกฎเช่นให้พูดคนละ๑นาทีถ้าต้องการพูดนานกว่านั้นให้รอรอบหน้า

• แทรกแซงอย่างตรงไปตรงมาแต่สุภาพ

• ใช้ภาษากายเช่นทำามือเพื่อบอกว่าหมดเวลา

• ขอให้เขียนก่อนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจประเด็นของตนได้ชัดเจนก่อนพูด

• ขอพักเรื่องนั้นไว้ก่อนถ้าผู้เรียนพูดออกนอกประเด็น

• ตั้งโจทย์สำาหรับพูดคุยให้ชัดเจน

นอกจากนี้ยังมีผู้กล่าวถึงกรณีที่ผู้เรียนอาจคิดเห็นแตกต่างกันว่ากระบวนกรควรทำาอย่างไรผู้เรียน

ได้เสนอแนะว่ากระบวนกรควรน้อมรับทุกมุมมองที่แตกต่างแต่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองอย่าง

ตรงไปตรงมาได้เช่นกัน

วิธีจูงใจให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

ผู้เรียนตั้งคำาถามว่าถ้าผู้สอนพร้อมให้มีส่วนร่วมแต่ผู้เรียนไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในฐานะ

กระบวนกรจะทำาอย่างไรทุกคนจึงเสนอวิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนพูดมากขึ้นดังนี้

• ไม่ต้องกลัวความเงียบบางครั้งความเงียบก็มีความหมายบางอย่างหากกระบวนกรไม่เท่าทันตัว

เองอาจทนอึดอัดไม่ได้ต้องหาทางให้ผู้เรียนพูดบางอย่าง

• สร้างพื้นที่ปลอดภัยเช่นไม่ทำาให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องใหญ่ไม่ชี้ถูกชี้ผิดเป็นต้น

• ตั้งคำาถามที่ท้าทายหรือทำาให้ผู้เรียนปั่นป่วน

• ทวนคำาถามใหม่ให้ชัดเจนและตรงประเด็นยิ่งขึ้นบางครั้งผู้เรียนก็เงียบเพราะไม่เข้าใจคำาถาม

• ให้เวลาใคร่ครวญ

• แบ่งกลุ่มย่อยหรือจับคู่เพื่อให้ผ่อนคลายในการแลกเปลี่ยนยิ่งขึ้น

• แทนที่จะแสดงความคิดเห็นของตนเองอาจเปลี่ยนให้จับคู่แลกเปลี่ยนกันแล้วบอกว่าเพื่อนพูดว่า

อะไรบ้าง

Page 12: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

9

จัดหมวดหมู่บทเรียน� ทักษะที่สำาคัญอีกประการของกระบวนกรคือการจัดหมวดหมู่เนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจภาพรวม

ได้ชัดเจนขึ้นผู้เรียนได้ฝึกจัดหมวดหมู่จากบทเรียนที่ร่วมกันจากเกมเป็ดจำาแนกได้ดังนี้

• สิ่งที่เห็นเช่นเช่นเกิดกลุ่มเฉพาะหน้าขึ้นมากล่าวคือผู้คนหลอมรวมกันได้เพราะพยายามแก้ไข

ปัญหาเดียวกันมีเป้าหมายร่วมกันคนในกลุ่มได้เรียนรู้ร่วมกันต่างมีบทบาทรับผิดชอบมีการใช้ยุทธศาสตร์

• แบบแผนหรือแผนผังความคิดถ้าไม่สามารถคิดแบบแผนใหม่ขึ้นมาจากเนื้อหาอาจใช้แบบแผน

ที่มีผู้คิดค้นไว้แล้วเช่นแบบแผนภูเขาน้ำาแข็งการคิดอย่างเป็นระบบ(SystemsThinking)จากเกมเดินตะปูผู้

เรียนเห็นว่าสามารถใช้แบบแผนของบุคลิกภาพเช่นผู้นำาผู้ตามนักวางแผน

• อภิทักษะหมายถึงทักษะที่พัฒนาจากด้านในอภิทักษะที่ปรากฏในการเดินตะปูคือสติความสงบ

ปัญญาญาณการสื่อสารด้วยความเงียบการอ่านพลังงานกลุ่ม

• คุณค่าหลักคือทุกคนสำาคัญในการเดินเป็นกลุ่มจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังกลุ่มจะเดินไปพร้อม

กันทีละก้าว

• โลกทัศน์คือการพึ่งพาอาศัยกันและความเป็นองค์รวม

• โครงสร้างหมายถึงกรอบกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆในเกมเป็ดกฎคือการสื่อสารด้วยความ

เงียบ

อย่างไรก็ตามอาจมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่สามารถจัดเข้าหมวดหมู่ได้ผู้ฝึกไม่จำาเป็นต้องพยายามจัด

ให้เข้าหมวดใดหมวดหนึ่งแต่สามารถแยกออกมาเป็นหมวดหมู่พิเศษและอธิบายเพิ่มเติมได้

Page 13: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

10

ตัวอย่างเกมที่�2�เกมเดินตะปู�

เริ่มจากคู่บัดดี้ทั้งสองคนจะผลัดเปลี่ยนกันคนหนึ่งปิดตาอีกคนเปิดตาเพื่อนที่เปิดตามีหน้าที่พา

เพื่อนเดินผ่านพื้นที่โรยด้วยตะปูไปยังฝั่งตรงข้ามโดยแต่ละคู่ต้องเลือกวิธีสื่อสาร๑วิธีถ้าใช้วิธีพูดห้ามสัมผัส

ตัวเด็ดขาดแต่ถ้าเลือกวิธีสัมผัสตัวห้ามพูดเด็ดขาดระหว่างเดินห้ามเขี่ยหรือกวาดตะปูออกจากทางเดินของ

ตนและบนพื้นนั้นนอกจากตะปูแล้วยังมีถ้วยหรือจานวางบนพื้นถ้าผู้เล่นสัมผัสจานหรือถ้วยนั้นจะต้องกลับ

ไปเริ่มต้นใหม่

หลังจากเสร็จสิ้นคู่บัดดี้กระบวนกรให้ผู้เรียนฝึกเดินตะปูเป็นกลุ่มโดยจับกลุ่มจากคู่บัดดี้สองคู่

รวมเป็นกลุ่มละ๔คน

การสร้างความไว้วางใจ

กระบวนกรสามารถใช้เกมเดินตะปูมาเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้คิดร่วมกันว่าจะสร้าง

ความไว้วางใจในกลุ่มได้อย่างไรเพราะเกมนี้ทุกคนจะได้เผชิญกับความกลัวของตนเองผู้ที่ปิดตาต้องยอมจะ

ต้องปล่อยวางความกลัวยอมจำานนและให้อำานาจแก่คนที่เปิดตาได้ดูแลเต็มที่เพราะถึงจะกลัวก็ไม่อาจช่วย

อะไรได้แต่ทำาให้ผู้ที่เปิดตาทำางานยากขึ้นไปอีกเพราะความเกร็งของคนปิดตาสิ่งที่จะช่วยให้เดินผ่านตะปู

ได้ง่ายขึ้นคือต่างรู้ข้อจำากัดของกันและกันเช่นรู้ว่าคนปิดตาไม่สามารถยืนด้วยขาซ้ายได้นานคนเปิดตาจึง

ต้องหาจุดที่เหมาะสมก่อนให้คนปิดตายกเท้าหรือคนที่ปิดตาเองก็ต้องรู้ว่าจะประคองน้ำาหนักตัวเองอย่างไรไม่

ให้คนเปิดตาแบกรับจนเกินไปเกมนี้ทำาให้ผู้เรียนได้ฝึกความอดทนต้องช้าลงกว่าปกติอีกทั้งยังได้ฝึกสื่อสาร

โดยไม่ใช้คำาพูดการสัมผัสอย่างอ่อนโยนและอวัจนภาษามีความหมายมากยิ่งกว่าถ้อยคำาเสียอีกเหล่านี้คือสิ่ง

ที่ช่วยสร้างความไว้วางใจได้

Page 14: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

บทบาทสมมติ

11

กระบวนกรสามารถใช้บทบาทสมมติเป็นกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้ตัวอย่างเช่นให้โจทย์ผู้เรียนให้

เล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงตัวอย่างการเรียนรู้๓รูปแบบดังนี้

กลุ่มที่๑สะท้อนบทบาทของผู้สอนที่ใช้อำานาจนักเรียนไม่มีสิทธิ์ออกความคิดเห็น(Authoritarian)

กลุ่มที่๒สะท้อนบทบาทของผู้สอนที่ให้โอกาสผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมใน

กระบวนการแต่ผู้สอนมีวาระซ่อนเร้นของตนอยู่แล้วจึงจบลงด้วยการสรุปความคิดเห็นของตนเองและไม่ให้

คุณค่าแก่ความคิดเห็นของผู้เรียน(Facipulation)

กลุ่มที่๓สะท้อนบทบาทของผู้สอนที่รับฟังผู้เรียนทุกคนเคารพทั้งความคิดเห็นและอารมณ์ความ

รู้สึกของผู้เรียน(ParticipatoryLearning)

หัวใจของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมคือการแบ่งปันอำานาจ(PowerSharing)ในระบบโรงเรียนครู

เป็นเสมือนผู้รู้ทุกสิ่งครูจะตัดสินว่าจะเรียนอะไรและเรียนอย่างไรและเป็นผู้พูดแต่ฝ่ายเดียวส่วนนักเรียนเป็น

เพียงผู้รับนี่คือแบบแผนของการใช้อำานาจเหนือและนักเรียนจะนำารูปแบบนี้ไปทำาซ้ำาในชีวิตของตนเองต่อไป

กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผู้เรียนมีส่วนในการกำาหนดได้ว่าจะเรียนอะไรอย่างไรเมื่อใดพื้นที่

ปลอดภัยคือสิ่งสำาคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนกล้ามีส่วนร่วมสร้างสรรค์ความรู้ผู้เรียนและกระบวนกรไม่จำาเป็นต้อง

เห็นตรงกันทุกครั้ง

บทบาทสมมุติคือเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการจัดกระบวนการผู้เรียนจะมีประสบการณ์กับมุมมองหรือ

สถานการณ์ที่แตกต่างกันโดยที่กระบวนกรไม่ต้องบรรยายมากทั้งยังสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานบางครั้ง

บทบาทสมมุติก็สามารถเปลี่ยนพลังงานกลุ่มได้วิธีใช้บทบาทสมมุติมีดังนี้

• รู้จักลักษณะของผู้เรียนว่าจำาเป็นต้องเรียนรู้ในระดับใด

• มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร

• เตรียมคำาสั่งให้ชัดเจนและกำาหนดเวลาให้เหมาะสม

• ให้ผู้เข้าร่วมได้ออกแบบบทบาทตนเอง

• ควรสลัดบทบาททุกครั้งหลังเล่นจบเพื่อไม่ให้รู้สึกคั่งค้าง

Page 15: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

วิธีถอดบทเรียนจากบทบาทบาทสมมุติกระบวนกรอาจตั้งคำาถามว่าเกิดความรู้สึกหรืออารมณ์

อย่างไรบ้างขณะรับบทบาททำาไมจึงรู้สึกเช่นนั้นมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้างในแต่ละมุมมองหรือบทบาทที่แสดง

ไปความเข้าใจที่มีต่อแต่ละบทบาทเป็นอย่างไรบ้างสิ่งที่สังเกตเห็นและสิ่งที่ได้เรียนรู้มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างบทเรียนจากกิจกรรมบทบาทสมมติ

• จากนั้นผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนกันว่าการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีลักษณะดังนี้

• ลักษณะของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

• ให้ความสำาคัญทั้งแก่กระบวนการและผลลัพธ์

• ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยที่จะบอกว่าไม่เห็นด้วย

• เชื่อในสติปัญญาของทุกคน

• ยืดหยุ่น

• มีพื้นที่สำาหรับความเปราะบางผู้เรียนสามารถเปิดเผยอารมณ์ความรู้สึกได้

• เปิดรับความหลากหลายไม่แบ่งแยก

• ทุกคนมีส่วนช่วยสร้างสรรค์ความรู้

• สร้างพลังงานกลุ่มที่ดี

12

Page 16: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

กิจกรรมสำ�หรับฝึกจัดกระบวนการ�

ผู้เรียนจับคู่กับบัดดี้และฝึกจัดกระบวนการร่วมกันภายในเวลา๒๐นาที๓๐นาที๔๕นาทีและ

๑ชั่วโมงตามลำาดับหลังจัดกระบวนการแต่ละครั้งกระบวนกรจะมีคำาถามว่าอะไรที่ผู้เรียนทำาได้ดีและอะไรที่

ต้องการปรับปรุงเพื่อให้ผู้เรียนทบทวนตนเองก่อนหลังจากนั้นกระบวนกรและผู้เรียนคนอื่นๆจะช่วยสะท้อน

และแนะนำาและระหว่างที่ผู้อื่นสะท้อนผู้เรียนจะรับฟังอย่างเดียวโดยไม่แก้ตัวใดๆทั้งสิ้นแม้บางครั้งอาจถูก

เข้าใจผิดก็ตามทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกอยู่กับสิ่งที่ไม่พอใจและมีสติกับภาวะภายในของตน

หลังจากฝึกวันแรกผู้เรียนได้ร่วมกันถอดบทเรียนร่วมกันไว้ดังนี้

• การจัดกระบวนการคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือทำา

• สามารถฝึกทักษะที่จำาเป็นได้ในชีวิตประจำาวันเช่นการจับประเด็นการตั้งคำาถามสามารถฝึกได้

แม้ในการสนทนากับเพื่อน

• ขณะที่กระบวนกรกำาลังฟังผู้เรียนคนหนึ่งไม่ควรหลงลืมคนที่เหลือถ้ามีกระบวนกรมากกว่าหนึ่ง

คนคนหนึ่งควรฟังอย่างลึกซึ้งอีกคนดูแลพลังกลุ่มสังเกตพลังของผู้เรียนทุกคนแม้ไม่ใช่คนที่กำาลังพูด

อยู่

• สำาหรับผู้ฝึกใหม่ที่ตื่นเต้นจนลนลานควรหัดดึงจังหวะให้ช้าลง

• มีความสุขกับการเรียนรู้

• ตั้งคำาถามให้ชัดเจนควรเตรียมคำาถามไว้ตั้งแต่ก่อนจัดกระบวนการแต่ไม่ต้องยึดติดสามารถปรับ

เปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ไม่ถามคำาถามที่ไม่จำาเป็น

• กระบวนกรไม่ควรยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลางการพูดคุยควรแบ่งพื้นที่แก่ผู้เรียนและกระบวนกร

ร่วมด้วย

• ไม่ต้องพยายามจำาทุกความคิดเห็นมาใช้ในการสรุปจำาเฉพาะประเด็นสำาคัญและรวบประเด็น

คล้ายกันไว้ด้วยกัน

• ไม่ยึดติดกับกระบวนการที่เตรียมไว้ลื่นไหลไปกับสถานการณ์แต่ขณะเดียวกันอาจคาดการณ์ไว้ก่อนว่า

อาจเกิดอะไรขึ้นบ้างและเตรียมรับมือเช่นถ้านำาเกมนี้ไปเล่นโดยทั่วไปผู้เรียนจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกระบวน

กรควรช่วยอย่างไรเป็นต้น

13

Page 17: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

ตัวอย่างกิจกรรมที่�3�เกมตาข่ายไฟฟ้า�

กระบวนกรนำาเชือกฟางมาผูกไว้กับเสาทำาเป็นตาข่ายที่มีช่องขนาดเล็กใหญ่ต่างๆกันผู้เรียนทั้งหมดจะ

ยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่งและจะต้องทุกคนลอดช่องในตาข่ายไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งโดยมีกติกาว่าทุกคนห้ามสัมผัสเชือก

ฟางแม้แต่น้อย

บทเรียนจากเกมตาข่ายไฟฟ้า

กระบวนกรได้ตั้งคำาถามให้ผู้เรียนทุกคนใคร่ครวญกับตนเองว่าขณะเล่นเกมนั้น

๑) เราได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตนเองบ้าง

๒) เรามีบทบาทใดบ้างในกลุ่มขณะเล่นเกม

จากกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะค้นพบตัวตนที่แตกต่างกันไปบางคนลุกขึ้นมานำากลุ่มทันทีโดยบอก

ว่าใครควรทำาอะไรบางคนไม่เสนอความคิดเห็นแต่พร้อมช่วยเหลือบางคนปลีกตัวออกจากกลุ่มและเฝ้า

สังเกตการณ์บางคนไม่ได้ช่วยในเกมโดยตรงแต่ช่วยด้วยการดูแลเช่นหาน้ำาดื่มให้ผู้อื่นเป็นต้นบางคนพอใจ

ที่ตนได้ช่วยบางคนรู้สึกผิดที่ตนไม่สามารถช่วยได้มากเนื่องจากอุปสรรคทางร่างกาย

ในสถานการณ์ที่กดดันภาวะการนำาของแต่ละคนจะแสดงออกต่างกันบางคนอาจเล่นบทใช้

อำานาจตะโกนสั่งผู้อื่นบางคนช่วยวางแผนบางคนช่วยหนุนเสริมฯลฯในฐานะกระบวนกรทุกบทบาทล้วน

สำาคัญทั้งผู้นำาและผู้ตามมีส่วนให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายแม้แต่ผู้ที่ไม่พูดก็มีบทบาทในฐานะที่ให้โอกาสผู้อื่น

ได้พูดมากกว่าเกมตาข่ายไฟฟ้าช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้เท่าทันตนเองว่ามีบุคลิกลักษณะและบทบาทอย่างไร

ข้อคิดจากเกมที่นำาไปใช้ได้ในชุมชนจริงคือชุมชนควรมีความร่วมมือมีความไว้วางใจและไม่ควรมีใครถูกทิ้ง

ไว้ข้างหลังเกมตาข่ายไฟฟ้ามีผู้เล่นหลายคนที่อาจใช้แรงได้ไม่เต็มที่แต่ทุกคนก็ต้องช่วยให้ผ่านตาข่ายไปให้ได้

ในชุมชนจริงๆก็มีกลุ่มผู้เปราะบางเช่นคนแก่ฯลฯคนเหล่านี้ก็ควรได้รับการดูแลเช่นกันส่วนผู้ที่แข็งแรงกว่าก็

ควรเท่าทันตนเองว่าบทบาทเปลี่ยนแปลงได้เสมอเราไม่จำาเป็นต้องสำาคัญตลอดเวลา

ชุมชนที่ดีไม่ใช่ชุมชนที่ไม่มีปัญหาแต่เป็นชุมชนที่เมื่อมีปัญหาสามารถเรียนรู้และถอดบทเรียนแล้วก้าว

ต่อไปได้

Page 18: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

องค์ประกอบของชุมชนในอุดมคติ จากบทเรียนข้างต้นสรุปได้ว่าในชุมชนหนึ่งๆควรมี๓เสาหลักได้แก่เป้าหมายกระบวนการความ

สัมพันธ์

15

จากบทเรียนข้างต้นสรุปได้ว่าในชุมชนหนึ่งๆควรมี๓เสาหลักได้แก่เป้าหมายกระบวนการความ

สัมพันธ์

• เป้าหมายของชุมชนคือสิ่งที่เป็นแรงผลักดันว่าเราควรมุ่งไปทางไหนทำาให้คนในชุมชนเป็นอันหนึ่งอัน

เดียวกัน

• กระบวนการคือสิ่งที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายเช่นกระบวนการการแบ่งปันอำานาจการมีส่วนร่วม

ความสัมพันธ์ที่ดีคือสิ่งที่จำาเป็นมากเพราะช่วยให้คนในชุมชนรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจกันรู้สึกว่าได้รับการช่วย

เหลือดูแลแม้จะมุ่งที่บรรลุเป้าหมายแต่คนในชุมชนก็ต้องเมตตากรุณาต่อกัน

การบ่มเพาะตัวตนของปัจเจกบุคคลก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้กล่าวคือขณะที่ชุมชนเติบโตปัจเจกบุคคล

ก็ต้องมีพื้นที่ให้เติบโตไปตามหนทางของตนเองด้วยเช่นมีเวลาให้สมาชิกไปวิปัสสนากรรมฐานได้เข้าร่วม

คอร์สพัฒนาศักยภาพตนเองได้เป็นต้นทั้งยังควรมีกลไกที่ช่วยให้มีการสื่อสารในชุมชนด้วยเช่นมีการฟัง

อย่างลึกซึ้งเป็นต้นนอกจากนี้ควรมีพิธีกรรมหรือกิจกรรมที่ช่วยเชื่อมมนุษย์เข้ากับสิ่งที่อยู่เหนือกว่าเพื่อการ

เติบโตทางจิตวิญญาณ

เชื่อมกับจิตวิญญาณ

ที่สูงกว่าการสื่อสาร

องค์ประกอบของชุมชนในอุดมคติ

Page 19: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

16

มองเกมตาข่ายไฟฟ้าด้วยมุมมองของกระบวนกร�

จากเกมตาข่ายไฟฟ้ากระบวนกรได้ตั้งคำาถามจากมุมมองใหม่ที่ต่างไปจากเดิมกล่าวคือโดยทั่วไปหลัง

เล่นเกมกระบวนกรจะถามว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างแต่ในเกมนี้กระบวนกรถามว่าในฐานะกระบวนกรเหตุใดจึง

นำาเกมตาข่ายไฟฟ้าเข้ามาใช้ณช่วงเวลานี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจในมิติของการจัดกระบวนการ

เหตุที่กระบวนกรนำาเกมนี้เข้ามาใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวเพราะต้องการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ

ทุกคนในระดับที่ลึกขึ้นเนื่องจากทุกคนรู้จักและผ่านกิจกรรมด้วยกันมาหลายวันแล้วสามารถเล่นเกมนี้ได้

เพราะตาข่ายไฟฟ้าใช้ร่างกายสัมผัสกันมากจำาเป็นต้องมีความไว้วางใจกันพอสมควรผู้เรียนจะต้องฝึกจัด

กระบวนการด้วยกันไปอีกหลายวันและผู้ฝึกหน้าใหม่สามารถทำาเรื่องผิดพลาดได้เสมอหลายคนอาจตื่นเต้น

สั่นพูดไม่รู้เรื่องหรือทำาเรื่องที่คิดว่าน่าอายเกมตาข่ายไฟฟ้าทำาช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนกล้าออก

จากพื้นที่สบายของตนกล้าเสี่ยงมากขึ้นในฐานะกระบวนกรจึงไม่ใช่เพียงนำาเกมมาให้ผู้เรียนเล่นแต่ต้องรู้

จังหวะและความเหมาะสมว่าช่วงเวลาใดควรใช้เกมใดกับผู้เรียน

สถานะทางสังคม�(Rank)� สถานะทางสังคมหรือRankคือสถานะความสามารถหรืออำานาจทางสังคมของบุคคลที่มาจาก

วัฒนธรรมชุมชนวุฒิภาวะหรืออำานาจทางจิตวิญญาณสิ่งเหล่านี้บุคคลอาจรู้ตัวว่ามีอยู่หรือไม่รู้ตัวก็ได้ใน

ทุกการจัดกระบวนการไม่สามารถแยกขาดจากอิทธิพลของRankได้เพราะทั้งกระบวนกรและผู้เรียนต่างมีสิ่ง

นี้ติดตัวมาและมันส่งผลต่อสนามพลังกลุ่มไม่มากก็น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่รู้เท่าทันตัวเองกระบวนกร

หรือผู้เรียนอาจเผลอใช้อำานาจเหนือผู้อื่นโดยทั่วไปผู้ที่อยู่ในสถานะสูงกว่ามักมองว่าสังคมเท่าเทียมแต่คนที่

อยู่ต่ำากว่าไม่รู้สึกเช่นนั้น

Rankอาจมาจากความสามารถทางภาษาอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติน้ำาหนักรูปลักษณ์ภายนอก

ประสบการณ์ความสนิทชิดเชื้อความเชื่อมโยงกับกลุ่มอายุความสามารถในการอธิบายความสร้างสรรค์

วัฒนธรรมทัศนคติความฉลาดความรู้บุคลิกภาพความกล้าความร่ำารวยเผ่าพันธุ์สีผิวความเชื่อฯลฯ

Rankไม่ใช่สิ่งตายตัวเราอาจอยู่สูงในสังคมหนึ่งแต่ในอีกสังคมอาจต่ำากว่าผู้อื่นหรือในบางสังคมก็อาจเท่า

เทียมเหล่านี้คือมายาคติในพุทธศาสนาเรียกว่ามานะคือกิเลสที่เทียบตนเองกับผู้อื่นไม่ว่าเราจะชอบสถานะ

ของตนเองหรือไม่มันก็ติดตัวเราไปเสมอเราจึงไม่สามารถกำาจัดหรือแสร้งว่าไม่มีRankได้แต่ควรตระหนักรู้

เท่าทันระวังการใช้มันในทางที่ผิดไม่ต้องยึดติดกับสถานะตลอดเวลาถ้าเราอยู่สูงควรฟังผู้อื่นให้มากเมตตาผู้

ที่อยู่ต่ำากว่า

Page 20: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

สมาธิภาวนากับการจัดกระบวนการ� การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพลังชีวิตจำาเป็นต้องมีสมาธิภาวนาเป็นส่วน

หนึ่งการภาวนามี๔ฐานได้แก่ฐานกายความรู้สึก(เวทนา)อารมณ์และความคิด

• กายภาวนาฐานกายคือการสังเกตลมหายใจและส่วนต่างๆของร่างกาย

• เวทนาคือการสังเกตความรู้สึกร้อนเจ็บคันเปียกผ่อนคลายสบายฯลฯที่เกิดขึ้นในร่างกาย

• ความรู้สึกคือการสังเกตอารมณ์ที่พอใจไม่พอใจและเฉยๆไม่ว่าจะเป็นความสุขความยินดีโกรธ

อยากอิจฉาฯลฯการเฝ้ามองอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นและดับไปจะช่วยให้ยึดติดและเจ็บปวดกับสิ่งที่เข้า

มากระทบน้อยลง

• ความคิดฐานนี้มักสัมพันธ์กับอารมณ์เมื่อความคิดหรือความทรงจำาผุดขึ้นมาอารมณ์จะตามมา

ด้วยความคิดนี่เองที่ทำาให้เราไม่อยู่กับปัจจุบันขณะ

ความสำาคัญของสมาธิภาวนาคือช่วยให้ฟุ้งซ่านน้อยลงมีพลังมากขึ้นพร้อมจะทำาสิ่งต่างๆได้

อย่างเหมาะสมรวมทั้งช่วยให้เข้าถึงญาณทัศนะได้ง่ายขึ้นในการจัดกระบวนการโดยเฉพาะเมื่อต้องออกแบบ

ฉับพลันญาณทัศนะมีประโยชน์มาก

สมาธิภาวนามี๒ระดับคือสมถะและวิปัสสนาสมถะช่วยให้ผู้ฝึกมีพลังใจส่วนวิปัสสนาเปลี่ยน

มุมมองที่มีต่อโลกสมถะเกิดเมื่อจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นลมหายใจอย่างต่อเนื่องได้ระยะหนึ่งจิต

จะเกิดสมาธิส่วนวิปัสสนาคือการเห็นตามความเป็นจริงมีเป้าหมายคือเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อตนเองโดย

ปกติเราจะคิดว่านี่คือใจของเรากายของเราสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของเราเมื่อฝึกสติเราจะมองสิ่งต่างว่าเป็นเพียง

ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติร่างกายนี้ทั้งเป็นของเราและไม่ใช่ของเราในเวลาเดียวกันคู่ฝึกเป็นของเราและ

ไม่ใช่ของเราในเวลาเดียวกันความรู้สึกนึกคิดเป็นทั้งของเราและไม่ใช่ของเราในเวลาเดียวกันการฝึกสติจึง

ช่วยปลดปล่อยเราจากการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

สมาธิกับระดับจิตสำ�นึก จิตสำานึกแบ่งได้๔ระดับได้แก่เบต้าอัลฟาธีต้าและเดลต้า

•เบต้า(Beta)คือจิตของคนทั่วไปขณะที่ร่างกายกำาลังตื่น

•อัลฟา(Alpha)เกิดขึ้นเมื่อร่างกายและจิตใจผ่อนคลายจิตอยู่ในภวังค์ภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น

•ธีต้า(Theta)เกิดขึ้นในขณะหลับแล้วฝันความรู้สึกตัวลดลงหรืออาจเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสมาธิระดับลึก

•เดลต้า(Delta)เกิดขึ้นในระดับที่ไม่เหลือความรู้สึกทางกายแล้วถ้าเป็นการหลับก็ไม่มีฝันเกิดขึ้นเลย

เมื่อฝึกสมาธิเป็นประจำาจิตจะผ่อนคลายและมีปัญญาคลื่นสมองจะเป็นระเบียบยิ่งขึ้นไม่เพียง

ช่วยบ่มเพาะอภิทักษะแต่ยังช่วยให้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

Page 21: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

ธรรมชาติของความรู้� อี.เอฟ.ชูมากเกอร์(EFSchumacher)กล่าวว่าความรู้มี๒รูปแบบได้แก่ความรู้แบบกว้างและ

ความรู้แบบแคบ

ความรู้แบบชั่งตวงวัดได้(ConvergentKnowledge)คือความรู้ที่วัดได้สะสมและพัฒนาได้เชื่อว่า

มีคำาตอบที่ถูกต้องแบบเดียวเป็นขั้นเป็นตอนเช่นความรู้ด้านเทคโนโลยี

ความรู้แบบชั่งตวงวัดไม่ได้(DivergentKnowledge)เช่นความรู้เรื่องความสัมพันธ์ความเข้าใจ

ตนเองความรู้ชนิดนี้เข้าถึงได้ด้วยหัวใจไม่ใช่ด้วยเครื่องมือ

โลกสมัยใหม่ให้ความสำาคัญเฉพาะความรู้แบบรวมเข้าแต่ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกจะแก้ได้

ต้องใช้ความรู้แบบกระจายเช่นการแก้ปัญหาคนจนคนเร่ร่อนหรือโสเภณีผู้วางแผนนโยบายต้องใช้ความ

รู้สึกและหัวใจถึงจะเข้าใจปัญหาของผู้เปราะบางเหล่านี้จึงจะสามารถออกแบบวิธีแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

การคิดแบบองค์รวม� การคิดอย่างเป็นระบบคือกรอบคิดอย่างหนึ่งที่กระบวนกรสามารถนำามาเป็นหลักในการสังเคราะห์

เนื้อหาที่มาจากบทเรียนของผู้เรียนไดดังตัวอย่างหลังจากผู้เรียนได้ทำาช่วยกันเก็บขยะบทหาดกระบวนกรได้

ถอดบทเรียนโดยใช้รูปแบบภูเขาน้ำาแข็งเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจในระดับที่ลึกขึ้น

Page 22: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

ในภูเขาน้ำาแข็งนี้แบ่งเป็น๕ชั้นได้แก่สิ่งที่มองเห็นแบบแผนโครงสร้างอุดมการณ์และความเชื่อ

จากรูปแบบข้างต้นสิ่งที่อยู่ชั้นบนสุดคือสิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนทุกคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในกรณี

นี้คือปัญหาขยะบนชายหาดถ้ามองลึกลงไปอีกระดับพบว่าแบบแผนที่ทำาให้เกิดปัญหาคือการใช้ครั้งเดียว

แล้วทิ้งการซื้อของในร้านสะดวกซื้อการขาดจิตสำานึกแบบแผนเหล่านี้มีที่มาจากโครงสร้างที่ขับเคลื่อนอยู่

เบื้องหลังได้แก่ระบบอุตสาหกรรมไม่มีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพโครงสร้างเหล่านี้ตั้งอยู่ได้เพราะมี

อุดมการณ์อย่างบริโภคนิยมและวัฒนธรรมสมัยใหม่เป็นตัวสนับสนุนและรากของมันก็คือสิ่งที่ฝังอยู่ในความ

คิดจิตใจขอบงทุกคนเพราะคนเชื่อว่าโลกพัฒนาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดทำาให้ทำาสิ่งต่างๆโดยไม่ตระหนักว่าส่ง

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

� ประโยชน์ของวิธีคิดแบบองค์รวม

• ช่วยให้คิดได้ลึกขึ้นบอกได้ว่ารากของปัญหาคืออะไร

• รู้ว่าเราควรจะช่วยในจุดใดได้บ้างถ้าไม่มองอย่างเป็นองค์รวมเราก็อาจช่วยแค่เก็บขยะบน

ชายหาดแต่ในระดับชีวิตกลับยังสนับสนุนแบบแผนบริโภคนิยมเช่นเดิม

• มองเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาต่างๆ

• ยกระดับจิตสำานึก

Page 23: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

ข้อควรรู้อื่นๆ�สำ�หรับกระบวนกร

การสร้างความเชื่อมั่น�(Empowerment)� เครื่องวัดความเชื่อมั่นคือการเคารพตนเองและเชื่อมั่นในตนเองการศึกษาในโลกสมัยให่ทำาให้คน

รู้สึกด้อยและไม่ดีพอกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจะต้องฟื้นฟูส่วนนี้เพื่อให้คนสามารถดูแลตนเองและ

ชุมชนได้อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ใครได้ทุกคนจะต้องเชื่อมั่นจากภายในสิ่งที่ทำาได้

คือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและช่วยบ่มเพาะพลังอำานาจภายในเช่นใช้โครงสร้างชุมชนที่ไม่ตัดสิน

กันสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและเป็นมิตรส่งเสริมให้พัฒนาศักยภาพเป็นต้น

การจัดการตนเอง� ระหว่างทำางานกระบวนเองก็มีโอกาสเผชิญกับสภาวะอารมณ์ของตนเองเช่นกันอาจจะโกรธ

เพราะผู้เรียนท้าทายหรือเพราะขัดแย้งกับเพื่อนกระบวนกรเป็นต้นเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งผิดเพราะอารมณ์คือส่วน

หนึ่งของมนุษย์แต่ในฐานะกระบวนกรอารมณ์ก็ไม่ควรรบกวนกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มกระบวนกรจึงควร

ฝึกสติอยู่เสมอกล่าวคือไม่กดข่มอารมณ์แต่รู้เท่าทันไม่รบกวนผู้อื่นหัดแยกอารมณ์ไว้ข้างๆทำางานให้จบ

กระบวนการแล้วค่อยกลับไปดูแลอารมณ์นั้นในภายหลังการเตรียมพร้อมรับมือกับอารมณ์อาจทำาได้โดยทำา

สมาธิภาวนาก่อนจัดกระบวนการทุกครั้งหรือหาสถานที่สงบเพื่อรวบรวมสติสมาธิท่องคำาบริกรรมหายใจเข้า

ออกอย่างรู้ตัวหรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อน

การอ่านพลังกลุ่ม นี่คือหนึ่งในอภิทักษะที่กระบวนกรควรมีพลังกลุ่มมีลักษณะที่หลากหลายมีทั้งพลังในระดับหัว

(ความคิด)ใจ(ความรู้สึกอารมณ์)และมือ(ร่างกาย)บางครั้งก็ชัดเจนบางครั้งไม่ชัดถ้าไม่ชัดกระบวนกร

อาจสังเกตจากพลังของตนเองเพราะพลังของปัจเจกบุคคลมักสัมพันธ์กับพลังกลุ่มสิ่งแวดล้อมรอบข้างเองก็

ส่งผลต่อพลังกลุ่มได้เช่นกัน

การดูแลพลังกลุ่มอาจทำาได้ดังนี้

• ถามผู้เข้าร่วมตรงๆว่ารู้สึกอย่างไร

• มีเครื่องมือช่วยเช็คอารมณ์เช่นให้ผู้เรียนทำาเครื่องหมายบนกระดานว่าอารมณ์อยู่ในระดับใด

• สังเกตสัญญาณต่างๆเช่นน้ำาเสียงการสบตา

• ใช้เกมสั้นๆเพื่อเปลี่ยนอารมณ์

• จัดกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

Page 24: คู่มือวิถีกระบวนกรhttps://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019-08-21 · คู่มือวิถีกระบวนกร

วิธีรับมือกับเสียงสะท้อนด้านลบ หลังจากฝึกจัดกระบวนการเมื่อวานผู้เรียนเกิดคำาถามว่าเมื่อต้องรับฟังคำาสะท้อนด้านลบควร

รับมืออย่างไรเพราะหลายคนรู้จักเจ็บปวดและโกรธเนื่องจากอัตตาโดนกระทบผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนกันไว้

ดังนี้

• ยิ้มรับเพราะยิ้มคือปฏิกิริยาทางร่างกายที่ช่วยให้ใจสงบขึ้นได้

• ขอคำาแนะนำาจากผู้ที่วิจารณ์ว่าในสถานการณ์นั้นๆควรจะทำาอย่างไร

• กลับไปอยู่กับความรู้สึกตัวตั้งสติอาจทำาด้วยการหายใจเข้าออกลึกๆนับ๑ถึง๑๐

• มองทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์แยกแยะให้ได้ว่าคำาวิจารณ์นั้นไม่ได้หมายถึงตัวเราทั้งหมดคนที่พูด

ไม่ได้โจมตีเราแต่พูดถึงกระบวนการ

• แผ่เมตตาและส่งความรักให้แก่ผู้วิจารณ์

• เปิดพื้นที่ให้คนได้พูดสิ่งที่จำาเป็นต้องพูด

การทำ�งานกับภาวะอารมณ์ของผู้เรียน� • ในสถานการณ์ที่ผู้เรียนแสดงอารมณ์รุนแรงขึ้นมาในชั้นเรียนกระบวนกรอาจรับมือดังนี ้

• ให้พื้นที่แก่ความรู้สึกนั้น

• หยุดกระบวนการของชั้นเรียนและหันมาให้ความสำาคัญแก่ผู้เรียนคนนั้น

• พูดคุยกับผู้เรียนนอกรอบ

• ไม่ตัดสิน

• ใช้อภิทักษะว่าควรแทรกแซงหรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียน

• ไม่จำาเป็นต้องแก้ไขหรือรักษาให้ผู้เรียนหายดีแค่เปิดพื้นที่และรับรู้สิ่งที่เป็นอยู่กับปัจจุบันขณะวาง

อุเบกขาอย่างเหมาะสม