14
8 วิสัญญีสาร ปีท่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555 วิศิษฐ์ ศิริภูวนันท์ พย.ม. (การพยาบาลขั้นสูง)* วิชัย ชื่นจงกลกุล พ.บ.** ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนวปฏิบัติจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ Abstract: The Efficacy of Applying Evidence Based Practice Guideline of Endotracheal Tube Cuff Pressure Blowing in General Anesthesia at Maharaj Nakorn Chiang Mai HospitalSiriphuwanun V, N.S., APN*, Churnjongkolkul W, M.D., FRCAT.** * Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chang Mai University, Chiang Mai, 50200 Background: Complications of endotracheal tube cuff in anesthetic patients are air leakage, sore throat, tracheal ischemia and tracheal stenosis. Aim of this study is to evaluate the effectiveness of applying evidence based practice guideline of endotracheal tube cuff pressure blowing in general anesthesia. Methods: 116 patients in general anesthesia with high volume, low pressure endotracheal tube cuff (Curity R ) were assigned into 2 groups. 1) a simple endotracheal blowing cuff techniques in general practice 2) evidence based practice technique. Fifty - eight anesthesia personals proposed problems, obstacles and recommendations about the guidelines. The data were collected information about cuff pressure, and * ชำนาญการพิเศษ การพยาบาลขั้นสูงสาขาการให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ** ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ _12-0350(008-021).indd 8 3/14/12 6:40:28 PM

ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

8 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

วิศิษฐ์ ศิริภูวนันท์ พย.ม. (การพยาบาลขั้นสูง)*

วิชัย ชื่นจงกลกุล พ.บ.**

ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ

โดยใชแ้นวปฏบิตัจิากการทบทวนหลกัฐานเชงิประจกัษ ์

ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาล

มหาราชนครเชียงใหม่

Abstract: The Efficacy of Applying Evidence Based Practice Guideline of Endotracheal Tube

Cuff Pressure Blowing in General Anesthesia at Maharaj Nakorn Chiang Mai

HospitalSiriphuwanun V, N.S., APN*, Churnjongkolkul W, M.D., FRCAT.**

* Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chang Mai University,

Chiang Mai, 50200

Background: Complications of endotracheal

tube cuff in anesthetic patients are air leakage,

sore throat, tracheal ischemia and tracheal

stenosis. Aim of this study is to evaluate the

effectiveness of applying evidence based practice

guideline of endotracheal tube cuff pressure

blowing in general anesthesia. Methods: 116

patients in general anesthesia with high volume,

low pressure endotracheal tube cuff (CurityR)

were assigned into 2 groups. 1) a simple

endotracheal blowing cuff techniques in general

practice 2) evidence based practice technique.

Fifty - eight anesthesia personals proposed

problems, obstacles and recommendations

about the guidelines. The data were collected

information about cuff pressure, and

* ชำนาญการพิเศษ การพยาบาลขั้นสูงสาขาการให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ** ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

_12-0350(008-021).indd 8 3/14/12 6:40:28 PM

Page 2: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 9

complications after surgery in 24 to 48 hours.

The data were analyzed by using descriptive

statistics, chi square or fisher’s exact test and

and t - test. Results: The average cuff pressure

was statistically significant difference between a

simple technique and evidence based practice

technique), average cuff pressure in evidence

based practice technique was 20.16 (S.D. = 8.85,

min = 8, max = 27). The group who did not use

evidence based practice technique, average cuff

pressure was 33.67 mmHg (S.D. = 21.66, min =

10, max = 120). Complications: in the recovery

room, no sore throat in the group using evidence

based practice technique; In ward, complications

in the group who did not using evidence based

practice technique were coughing and throat

irritation (13.79 %), sore throat and hoarseness

(12.07 %; In the group using evidence based

practice technique, coughing and throat

irritation (5.17 %), sore throat and hoarseness

(8.62 %). The problems of personals in practice,

were practical nurses and nurse’s aide

uncertain in the law to practice, they had not

enough material for measuring cuff pressure,

and patients stay in the difficult position for

measuring cuff pressure. Officer’s recommendations

that it would be have a material measuring cuff

pressure in a anesthesia work station, specify

that who was able to follow this guideline,

blowing or drawing air out of the cuff should be

a doctor or a nurse. Conclusion: improving the

practice guidelines from evidence best practice

for evaluations cuff pressure endotracheal tube

was advantage for work. Especially, the patient

prolonged intubation more than 2 hrs under

general anesthesia.

Keywords: Cuff pressure, Evidence based

practice technique, Blowing cuff

pressure, general anesthesia

Thai J Anesthesiology 2012; 38(1): 8-21.

บทนำ

การใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วย

ได้ยาระงับความรู้สึก เพื่อป้องกันอากาศหายใจรั่ว

และการสำลักเศษอาหารเข้าปอด แต่อาจเกิดภาวะ

แทรกซ้อน เช่น ใส่อากาศใน cuff น้อยเกินไป ทำให้

สำลักน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเข้าหลอดอากาศ

และอากาศหายใจรั่ว กรณีใส่อากาศมากเกินไปทำให้

เจ็บคอ หลอดคอขาดเลือดหรือทะลุ1 ในโรงพยาบาล

มหาราชนครเชียงใหม่ พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ

เจ็บคอหลังผ่าตัด ร้อยละ 12.32 การศึกษาที่ผ่านมา

พบความดันใน cuff เหมาะสม (20 - 25 ม.ม.ปรอท)

เพียงร้อยละ 13.33 - 18.331, 3 และบางแห่งพบ cuff

โป่งพองมากจนไปกดหลอดคอของผู้ป่วยทำให้

หลอดคอทะลุ2

การประเมินความดันใน cuff มีหลายวิธี เช่น

การใช้ประสาทสัมผัส เช่น การคลำความตึงตัวของ

กระเปาะที่เติมอากาศ การสัมผัสบริเวณหลอดคอ

การใช้หูฟังเสียงรั่วของอากาศหายใจ (subjective

assessment) การเติมอากาศปริมาณน้อยที่สุดจนไม่มี

เสียงอากาศหายใจเข้ารั่ว (just - seal technique)1 วิธี

ดังกล่าวจะไม่ทราบความดันใน cuff ที่แท้จริง การ

วัดความดันใน cuff เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัย

_12-0350(008-021).indd 9 3/14/12 6:40:28 PM

Page 3: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

10 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

ต่อผู้ป่วยมากที่สุด3, 4 แต่จากการแก้ปัญหาที่ผ่าน

มายังไม่สามารถลดปัญหาความดันใน cuff ได้ ซึ่ง

ปัญหาอาจเกิดจาก หลายสาเหตุ เช่น วิธีการใส่

อากาศภายใน cuff ประสบการณ์ที่ต่างกัน ชนิดของ

ยาดมสลบที่เลือกใช้ เช่น ไนตรัสออกไซด์ ทำให้

ความดันใน cuff สูงขึ้น5, 6

ปัจจุบันการบริการต้องมีคุณภาพ โดยมี

มาตรฐานการรับรองคุณภาพเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการ

ใส่อากาศใน cuff ควรมีแนวปฏิบัติที่ได้รับการ

ยอมรับและมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อให้ความดันใน

cuff ถูกต้อง ผู้ศึกษาจึงทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์

การใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยได้ยา

ระงับความรู้สึก จากแหล่งข้อมูล เช่น งานวิจัย

เอกสารทางวิชาการ ความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น

มาวิเคราะห์คุณภาพของหลักฐาน สรุปเนื้อหา

เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติการใส่อากาศใน cuff ที่ได้ผลลัพธ์

ดี เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติโดยผ่านการประเมินจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้ การศึกษาครั้งนี้

จึงต้องการศึกษาประสิทธิผลของการใส่อากาศโดย

ใชแ้นวปฏบิตัทิีพ่ฒันาขึน้ และศกึษาปญัหา อปุสรรค

และข้อเสนอแนะของบุคลากรทางวิสัญญีที่ใช้แนว

ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงแนวปฏิบัติให้

ได้ผลลัพธ์ดีและถูกต้อง ลดภาวะแทรกซ้อนจากการ

ใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจได้

วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study)

ครั้ งนี้ ผ่ านความ เห็นชอบจากคณะกรรมการ

จริยธรรมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล

มหาราชนครเชียงใหม่ และเก็บข้อมูลจากกลุ่ม

ตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มใช้แนวปฏิบัติแบบเดิม

คือ วิธีการประเมินตามเทคนิคของแต่ละบุคคล ที่

ปฏิบัติกันมาเป็นประจำ เช่น just seal technique,

การกะปริมาตรของอากาศที่เติม เป็นต้น 2) กลุ่ม

ควบคุมที่ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาจากการทบทวน

หลักฐานเชิงประจักษ์ รวม 116 ราย คำนวณหา

ขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณขนาด

ตัวอย่ าง เพื่อการเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่าง

ประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระกัน ได้ขนาดกลุ่ม

ตัวอย่าง กลุ่มละจำนวน 58 ราย เกณฑ์การเลือกกลุ่ม

ตัวอย่างเข้าสู่การศึกษา (inclusion criteria) คือ ผู้ป่วย

ที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป อายุ 18 ปีขึ้นไป

ที่มาผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไป ใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก

ชนิดปริมาตรสูง แรงดันต่ำ (ยี่ห้อ CurityR) ที่เตรียม

การไว้ล่วงหน้า (elective case) เกณฑ์การคัดออก

(exclusion criteria) คือ ผู้ป่วยที่ไม่ได้งดน้ำและ

อาหารก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยที่คาดว่าใส่ท่อช่วยหายใจ

ยาก(expected difficulty intubation) ผู้ป่วยหนักหรือ

ใส่ท่อช่วยหายใจมาจากหอผู้ป่วย ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ

ช็อกหรือความดันต่ำ ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ถูกคัดเลือก

เข้าสู่การศึกษาแล้วผู้ป่วยไม่สามารถถอดท่อช่วย

หายใจได้ภายใน 24 ชั่วโมง หรือผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วย

หายใจยากโดยไม่ได้คาดการไว้ล่วงหน้า (unexpected

difficulty intubation) ต้องถูกคัดออกจากการศึกษา

(drop out) และสอบถามปัญหา อุปสรรค และ

ข้อเสนอแนะของบุคลากรที่ช่วยประเมินความดัน

ภายใน cuff จำนวน 58 คน

เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ 1) แบบบันทึก ข้อมูล

ผู้ป่วย เป็นการบันทึกข้อมูลทั่วไป ค่าความดันใน

cuff และภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจ

2) แบบบันทึก ข้อมูลบุคลากรวิสัญญี ด้านความรู้

ความคิดเห็น อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ

การพัฒนาแนวปฏิบัติการใส่อากาศใน cuff ท่อ

ช่วยใจ

การพฒันาแนวปฏบิตัมิขีัน้ตอนดงันี ้1) ทบทวน

หลักฐานเชิงประจักษ์การใส่อากาศใน cuff ผู้ป่วยได้

_12-0350(008-021).indd 10 3/14/12 6:40:28 PM

Page 4: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 11

รับยาระงับความรู้สึก เพื่อสรุปข้อปฏิบัติที่ได้ผลลัพธ์

ดี 2) พัฒนาแนวปฏิบัติ ตามการควบคุมคุณภาพ

ของภาควิชาวิสัญญีวิทยา และการมีส่วนร่วมของ

บุคลากรระดับอาจารย์วิสัญญีแพทย์ แพทย์ใช้ทุน

พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และคณะกรรมการเฝ้าระวัง

ความเสี่ยง ปรับปรุงแก้ไขโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

ประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

และได้รับการรับรองจากศูนย์ประกันคุณภาพของ

โรงพยาบาลอากาศหาราชนครเชียงใหม่ แล้วนำไป

ทดลองใช้กับผู้ป่วย 3) ประดิษฐ์นัวตกรรมเครื่องวัด

ความดันใน cuff เพื่อใช้ในแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น

โดยตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัดความ

ดันใน cuff โดยหน่วยเครื่องมือแพทย์ สอบเทียบ

เครื่องกับเครื่องมือมาตรฐาน ซึ่งเป็นเครื่องวัดความ

ดันใน cuff ยี่ห้อ Hi-Lo Hand Pressure Gauge ของ

บริษัท Mallinckrodt medical และทดลองใช้

กับผู้ป่วย 30 ราย ความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.77 และ

นัวตกรรมได้รับอนุมัติจากศูนย์ประกันคุณภาพของ

โรงพยาบาล

การเก็บข้อมูล 1) เก็บข้อมูลก่อนนำแนว

ปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมาใช้ เป็นเวลา 3 เดือน 2) นำแนว

ปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น (แผนภูมิที่ 1) มาใช้ในหน่วยการ

ให้ยาระงับความรู้สึก ภาควิชาวิสัญญีวิทยา โดยให้

และทดสอบความรู้การใช้แนวปฏิบัติกับบุคลากร

วิสัญญี ระดับพยาบาลที่ช่วยแพทย์ใส่อากาศใน cuff

3) หลังนำแนวปฏิบัติมาใช้ ผู้ศึกษาเก็บข้อมูลกลุ่ม

ตัวอย่าง เป็นเวลา 3 เดือน มีรายละเอียดการเก็บ

ข้อมูลทั้งก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติดังนี้ 1) ผู้ป่วย

ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปและใส่ท่อช่วย

หายใจ ชนิด ปริมาตรสูง แรงดันต่ำ (ยี่ห้อ CurityR)

และวางแผนการให้ยาตามแผนการให้ยาระงับความ

รู้สึกของแพทย์ 2) กำหนดให้บุคลากรระดับพยาบาล

ของภาควิชาวิสัญญีวิทยา ช่วยแพทย์ใส่ท่อช่วย

หายใจ และใส่อากาศใน cuff ตามเทคนิคที่ใช้อยู่เป็น

ประจำของแต่ละบุคคล (ให้ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนา

ขึ้นในกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้แนวปฏิบัติ) 3)ให้

พยาบาลบันทึกข้อมูลทั่วไป และวัดความดันใน cuff

ภายใน 15 นาที หลังใส่ท่อช่วยหายใจ และทุก 1

ชั่วโมง (ถ้าความดันไม่เหมาะสมให้ปรับค่าความดัน

ให้อยู่ระหว่าง 20 - 25 มิลลิเมตรปรอทภายใต้การ

ควบคุมของแพทย์) 4) ติดตามภาวะแทรกซ้อนทาง

เดินหายใจใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด 5) ถามความ

คิดเห็นของบุคลากรที่ช่วยแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ

และใส่อากาศใน cuff

การวิจัยครั้งนี้ได้เลือกผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษา

(allocated) จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีจับฉลาก และ

ในการวิจัยได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์และวิธีการ

ปฏิบัติให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนการให้ยาดมสลบ และได้

ให้ผู้ป่วยเซนต์ใบยินยอมเข้าร่วมการวิจัยทุกราย และ

ผู้ป่วยสามารถปฏิเสธการเข้าร่วมงานวิจัยได้

รูปที่ 1 เครื่องมือวัดความดัน cuff

หมายเหตุ: ในกลุ่มควบคุมใช้แนวปฏิบัติการใส่

อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจ ที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ

ได้แก่กะปริมาณอากาศที่เติม การเติมอากาศปริมาณ

น้อยสุดที่ไม่มีเสียงหายใจรั่ว โดยไม่ได้ใช้เครื่องวัด

ความดันภายใน cuff

_12-0350(008-021).indd 11 3/14/12 6:40:29 PM

Page 5: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

12 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

ขนาดท่อช่วยหายใจ (ID) ตำแหน่งผ่าตัด ผู้ใส่ท่อช่วย

หายใจ และผู้ใส่อากาศใน cuff ไม่แตกต่างกันอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติ (p - value > 0.05) ประสิทธิผล

ของแนวปฏิบัติ (ตารางที่ 2) แสดงว่าความดันใน

cuff ภายใน 15 นาทีหลังใส่ท่อช่วยหายใจ แตกต่าง

กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) โดยกลุ่มใช้

แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ความดันเฉลี่ย

เท่ากับ 20.16 ม.ม.ปรอท (S.D. = 8.85, min = 8,

max = 27) กลุ่มควบคุม ความดันเฉลี่ยเท่ากับ 33.67

ม.ม.ปรอท (S.D. = 21.66, min = 10, max = 120)

จำนวนผู้ป่วยที่มีความดันใน cuff อยู่ระหว่าง 20 -

25 ม.ม.ปรอท แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(P < 0.001) โดยกลุ่มใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิง

ประจักษ์ ความดันเหมาะสม (20 - 25 ม.ม.ปรอท)

ร้อยละ 67.24 กลุ่มควบคุมมีความดันเหมาะสม

ร้อยละ 25.86 (รูปที่ 2)

แผนภูมิที่ 1 แนวปฏิบัติการใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกในกลุ่มทดลอง

การวิเคราะห์ทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม Stata โดยข้อมูล

ทั่วไปแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลการใส่ท่อช่วย

หายใจ หาค่าเฉลี่ย ร้อยละและเปรียบเทียบ 2 กลุ่มใช้

chi - square และ fisher’s exact test ใช้แบบทดสอบ

ความรู้ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย

ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ t - test

เปรียบเทียบประสิทธิผลก่อน-หลังใช้แนวปฏิบัติใช้

multivariate regression และ t - test การประเมิน

แนวปฏิบัติวิเคราะห์เป็นรายข้อ แจกแจงความถี่และ

ร้อยละ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะวิเคราะห์เชิง

เนื้อหา

ผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (ตารางที่

1) เพศ อายุ น้ำหนัก ASA physical status class

ประเมินระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ

เตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยเหลือวิสัญญีแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจโดยยึดหลักการปราศจากเชื้อ

วิสัญญีแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจได้ ให้แพทย์เป็นผู้ใส่หรือควบคุมการใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจ

ตามเทคนิคต่างๆ เช่น กะปริมาณอากาศที่เติม บีบหรือคลำ pilot balloon

เติมอากาศปริมาณน้อยสุดที่ไม่มีเสียงหายใจรั่ว

หลังใส่ท่อช่วยหายใจได้ หรือหลังการจัดท่า ให้วัดความดันภายใน cuff

โดยใช้เครื่องวัดความดันภายใน cuff ภายใน 15 นาทีเพื่อปรับค่าความดันให้เหมาะสม

ถ้าความดันใน cuff ไม่เหมาะสม

ให้แพทย์หรือพยาบาลปรับค่า

ให้อยู่ระหว่าง 20-25 ม.ม.ปรอท.

ในกรณีดมยานานกว่า 2 ชั่วโมง

ให้ประเมินความดันใน cuff

ทุก 45-60 นาที

ผู้ป่วยที่คาท่อช่วยหายใจหลังให้

ยาระงับความรู้สึกให้วัดความดัน

ใน cuff ก่อนออกจากห้องผ่าตัด

_12-0350(008-021).indd 12 3/14/12 6:40:29 PM

Page 6: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 13

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย

ลักษณะทั่วไป

กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ

(n1 = 58)

กลุ่มควบคุม

(n2 = 58) P - value

n (%) n (%)

เพศ: หญิง

ชาย

อายุ (ปี): median (min - max)

น้ำหนัก (kg): median (min - max)

ASA physical status class:

1

2

3

ตำแหน่งผ่าตัด:

Abdominal

OB - GYN

Laparoscopy

Breast

Kidney

ขนาดท่อช่วยหายใจ (ID):

7.0

7.5

8.0

ผู้ใส่ท่อช่วยหายใจ:

อาจารย์แพทย์

แพทย์ประจำบ้าน ปี 1

แพทย์ประจำบ้าน ปี 2

แพทย์ประจำบ้าน ปี 3

นักศึกษาแพทย์

ผู้ใส่อากาศใน cuff:

อาจารย์แพทย์

แพทย์ประจำบ้าน

วิสัญญีพยาบาล

นักศึกษาแพทย ์

40 (68.9)

18 (31.0)

49.05 (18 - 79)

55.94 (40 - 99)

29 (50.0)

26 (31.0)

3 (5.17)

21 (36.21)

25 (43.10)

2 (3.45)

5 (8.62)

5 (8.62)

4 (6.90)

37 (63.79)

17 (29.31)

4 (6.90)

31 (53.45)

13 (22.41)

3 (5.17)

7 (12.07)

0

18 (31.03)

40 (68.97)

0

40 (68.9)

18 (31.03)

47.10 (18 - 80)

59.24 (41 - 94)

19 (32.76)

36 (62.07)

3 (5.17)

17 (29.31)

35 (60.34)

0

5 (8.62)

1 (1.72)

3 (5.17)

37 (63.79)

18 (31.03)

0

27 (46.55)

15 (25.86)

9 (15.52)

7 (12.07)

2 (3.45)

8 (13.79)

47 (81.04)

1 (1.72)

1.000*

0.496**

0.091**

0.156*

0.151*

1.000**

0.122**

0.051**

* chi square ** t test unequal

_12-0350(008-021).indd 13 3/14/12 6:40:30 PM

Page 7: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

14 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

ตารางที่ 2 ช่วงความดันใน cuff ท่อช่วยหายใจ จำแนกตามการใช้แนวปฏิบัติ

ช่วงความดันใน cuff ท่อช่วยหายใจ

(ม.ม.ปรอท)

กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ

(n1 = 58)

กลุ่มควบคุม

(n2 = 58) P - value

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

< 20 ม.ม.ปรอท

20 - 25 ม.ม.ปรอท

> 25 ม.ม.ปรอท

18

39

1

31.03

67.24

1.72

14

25

29

24.14

25.86

50.00

< 0.001

ความดันเฉลี่ย: median (min - max) 20.16 (8 - 27) 33.67 (10 - 120) < 0.001

Fisher’s exact test or t – test

เมื่อวิเคราะห์ปัจจัย ผู้ใส่อากาศ ปริมาตร

อากาศที่ใส่ และวิธีการใส่อากาศใน cuff ของแต่ละ

บุคคลแล้ว ความดันใน cuff ยังแตกต่างกันอย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติ (p - value < 0.001) โดยกลุ่มใช้แนว

ปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความดันใน cuff

อยู่ช่วงปกติ ร้อยละ 67.74 กลุ่มควบคุม ความดันใน

cuff อยู่ช่วงปกติร้อยละ 31.71 (ตารางที่ 3) ผู้ป่วยที่

ใช้ไนตรัสออกไซด์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั่วโมง

ความดันใน cuff เฉลี่ยของ 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน แต่

กลุมที่ใชแนวปฏิบัติ

< 20 ม.ม.ปรอท 20-25 ม.ม.ปรอท > 25 ม.ม.ปรอท

454035302520151050

กลุมควบคุม1814

39

2529

1

รูปที่ 2 กราฟแท่งแสดงความดันใน cuff ของกลุ่มที่ใช้กับกลุ่มควบคุม

(กำหนดให้ค่าปกติเท่ากับ 20 - 25 ม.ม. ปรอท)

กลุ่มควบคุมมีแนวโน้มความดันเพิ่มขึ้นมากกว่า

ส่วนชั่วโมงที่ 4 และ 5 ความดันใน cuff เฉลี่ยของ 2

กลุ่มเพิ่มขึ้นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย

กลุ่มใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความ

ดันใน cuff เฉลี่ยลดลง กลุ่มควบคุมความดันใน cuff

เฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาก (รูปที่ 3)

ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจของ 2 กลุ่มไม่

แตกต่างกัน (p - value > 0.05) ระหว่างใส่ท่อช่วย

หายใจ กลุ่มใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์

_12-0350(008-021).indd 14 3/14/12 6:40:30 PM

Page 8: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 15

ใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดอาหาร ร้อยละ 1.72 เสียง

อากาศหายใจรั่ว ร้อยละ 3.45 กลุ่มควบคุมพบเสียง

ลมหายใจรั่ว ร้อยละ 1.72 ในห้องพักฟื้น กลุ่ม

ควบคุมพบว่า เจ็บคอ ร้อยละ 1.72 (1 ราย) ในหอ

ผู้ป่วย กลุ่มควบคุมมี ไอ ระคายคอ ร้อยละ 13.79

(8 ราย) เจ็บคอ และเสียงแหบ ร้อยละ 12.07 (7 ราย)

กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มี ไอ

ระคายคอ ร้อยละ 5.17 (3 ราย) เจ็บคอและเสียงแหบ

ร้อยละ 8.62 (5 ราย) (ตารางที่ 4)

จากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังใช้แนว

ปฏิบัติ โดยการแบ่งระดับคะแนนความรู้ก่อนและ

หลังใช้แนวปฏิบัติจากเกณฑ์การให้คะแนน พบว่า

แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value

< 0.001) คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังให้ความรู้

เท่ากับ 6.12 และ 7.59 ตามลำดับ ก่อนให้ความรู้

การใช้แนวปฏิบัติ บุคลากรมีความรู้ระดับดีถึงดีมาก

(ได้ระดับคะแนน 70% - 100%) ร้อยละ 35.59

หลังให้ความรู้ บุคลากรมีความรู้ระดับดีถึงดีมาก

ร้อยละ 81.35 ความคิดเห็นของบุคลากรในการใช้

แนวปฏิบัติ พบว่าบุคลากรเห็นด้วยมากเกี่ยวกับ

วัตถุประสงค์ที่นำแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิง

ประจักษ์มาใช้ (ร้อยละ 84.75) มีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้

แนวปฏิบัติ (ร้อยละ 77.97) ทีมสหสาขาวิชาชีพมี

ส่วนร่วมในการใช้แนวปฏิบัติชัดเจน (ร้อยละ 88.14)

และเกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ (ร้อยละ 81.35) มี

ทางเลือกสำหรับบุคลากรที่ใช้ (ร้อยละ 79.66) และ

พบปัญหาและอุปสรรคการใช้แนวปฏิบัติ ได้แก่

เครื่องมือวัดความดันใน cuff ไม่พอ ไม่มั่นใจการ

ปฏิบัติ ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่วัดความดันใน cuff ลำบาก

เช่น การผ่าตัดสมอง หู ตา คอ จมูก ข้อเสนอแนะ

ได้แก่ ควรมีเครื่องวัดไว้ประจำห้อง และระบุว่าใคร

สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ กรณีใช้ ไนตรัส-

ออกไซด์ ควรวัดความดันใน cuff ให้เร็วขึ้น หรือใส่

อากาศใน cuff ที่มีไนตรัสออกไซด์ผสม ผู้ใส่หรือดูด

อากาศออกจาก cuff ควรเป็นแพทย์หรือพยาบาล

และก่อนดูดควรประเมินว่าเหนือต่อ cuff มี content

อยู่หรือไม่ถ้ามีต้องดูดออกให้หมด

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบความดันใน cuff จำแนกตามขนาดท่อช่วยหายใจ ผู้ใส่อากาศ ปริมาตรอากาศที่ใส่

และวิธีการใส่อากาศใน cuff ในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติและกลุ่มควบคุม

ลักษณะและวิธีการ

กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ

(n1 = 58)

กลุ่มควบคุม

(n2 = 58)

P - value* < 20

ม.ม.ปรอท

n (%)

20 - 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

> 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

< 20

ม.ม.ปรอท

n (%)

20 - 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

> 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

ขนาดของท่อ

ช่วยหายใจ:

7.0

7.5

8.0

1 (25.00)

12(32.4)

5 (29.41)

3 (75.00)

25(67.57)

11 (64.71)

0

0

1 (5.88)

2 (66.67)

8 (21.62)

4 (22.23)

0

7 (18.92)

8 (44.44)

1 (33.33)

22 (59.46)

6 (33.33)

< 0.001

_12-0350(008-021).indd 15 3/14/12 6:40:31 PM

Page 9: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

16 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

ตารางที่ 3 (ต่อ)

ลักษณะและวิธีการ

กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ

(n1 = 58)

กลุ่มควบคุม

(n2 = 58)

P - value* < 20

ม.ม.ปรอท

n (%)

20 - 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

> 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

< 20

ม.ม.ปรอท

n (%)

20 - 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

> 25

ม.ม.ปรอท

n (%)

ผู้ ใส่อากาศเข้าใน

cuff:

อาจารย์แพทย์

แพทยป์ระจำบา้น

วิสัญญีพยาบาล

วิ ธี ก า ร ใ ส่ ล ม ใ น

cuff

ปริมาตรอากาศที่ใส่:

2-3 c.c.

4-5 c.c.

6-7 c.c.

0

7 (38.89)

11(29.03)

18 (31.03)

10 (71.43)

8 (20.51)

0

0

11(61.11)

28 (67.74)

39 (67.24)

4 (28.57)

30 (76.92)

5 (100.0)

0

0

1 (3.23)

1 (1.72)

0

1 (2.56)

0

1 (33.33)

1 (4.76)

12 (36.36)

14 (24.14)

3 (37.50)

10 (21.28)

1 (33.33)

1 (33.33)

14 (66.67)

0

15 (25.86)

2 (25.00)

13 (27.66)

0

1 (33.33)

6 (28.57)

21 (63.64)

29 (50.00)

3 (37.50)

2 (51.06)

2 (66.67)

< 0.001

< 0.001

0.018

* (chi square or fisher’s exact test)

รูปที่ 3 กราฟแสดงความดันใน cuff เฉลี่ย จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ไนตรัสออกไซด ์

ใชแนวปฏิบัติ

0 1 2 3 4 5 ชั่วโมง (hr.)0

10

20

30

40

50

60Cuff pressure (mmHg)

ไมใชแนวปฏิบัติ

_12-0350(008-021).indd 16 3/14/12 6:40:32 PM

Page 10: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 17

ตารางที่ 4 เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้แนว

ปฏิบัติการ ระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจ ในห้องพักฟ้ืนและหอผู้ป่วย

ภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจ

กลุ่มควบคุม

(n1 = 58)

กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ

(n2= 58) P - value*

n (%) n (%)

ระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจ:

ใส่ท่อเข้าหลอดอาหาร

ลมหายใจรั่วขณะช่วยหายใจ

ห้องพักฟื้น:

เจ็บคอ

หอผู้ป่วย:

ไอ ระคายคอ

เจ็บคอและเสียงแหบ

0

1 (1.72)

1 (1.72)

8 (13.79)

7 (12.07)

1 (1.72)

2 (3.45)

0

3 (5.17)

5 (8.62)

1.0087

0.3422

1.009

0.204

0.262

* chi square or fisher’s exact test หมายเหตุ: ตอบได้หลายข้อ

วิจารณ์ การใช้แนวปฏิบัติจากการทบทวนหลักฐาน

เชิงประจักษ์การใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจ ใน

ผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึก ทำให้ความดันใน cuff

ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความดันเหมาะสม

ร้อยละ 67.24 ส่วนกลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติ ความดัน

เหมาะสม ร้อยละ 25.86 และมีแนวโน้มสูงมากกว่า

ปกติ และบางรายสูงถึง 120 ม.ม.ปรอท สอดคล้อง

กับการศึกษาหลาย ๆ แห่งที่พบว่าการใส่อากาศใน

cuff โดยไม่ได้วัดค่าความดัน จะได้ความดันใน cuff

ทีเหมาะสมเพียงร้อยละ 20 - 30 3, 4, 7

การศึกษานี้ได้พิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อ

ความดันใน cuff เช่น ขนาด ชนิดยี่ห้อ ผู้ใส่อากาศ

ใน cuff ปริมาตรอากาศที่ใส่ และวิธีการประเมิน

ความดันใน cuff แล้วพบว่า ความดันใน cuff กลุ่ม

ใช้แนวปฏิบัติลดลง 12.71 ม.ม.ปรอท อย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติ โดยลดลงระหว่าง 6.563 - 18.859

ม.ม.ปรอท การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยต่าง ๆ

เหล่านี้ไม่มีผลต่อความดันใน cuff นอกจากมีเครื่อง

มือวัดความดันใน cuff ที่ถูกต้องเท่านั้น4, 6 - 9 แสดง

ว่าการใช้แนวปฏิบัติที่ใช้เครื่องวัดความดันใน cuff

สามารถลดความดันที่ไม่เหมาะสม ถึงแม้มีปัจจัย

อื่นๆมาเกี่ยวข้องก็ตาม ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติ

ตามหลักฐานเชิงประจักษ์นี้ที่ใช้เครื่องวัดความดัน

ใน cuff ทำให้แก้ปัญหาความดันที่ไม่เหมาะสมได้ดี

กว่าการใช้เทคนิคการประเมินโดยใช้ประสาทสัมผัส

(subjective assessment) เช่น การกะปริมาณอากาศที่

เติม การบีบหรือคลำดูความตึงตัวของ cuff ที่การเติม

อากาศ และการเติมอากาศปริมาณน้อยที่สุดจนไม่มี

เสียงอากาศหายใจเข้ารั่ว (just - seal technique)10, 11

ซึ่งมีโอกาสได้ความดันใน cuff ที่เหมาะสมน้อย7, 12

การใช้ไนตรัสออกไซด์ มีผลต่อการเพิ่มขึ้น

ของความดันใน cuff 13 การศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วย

ที่ใช้ในตรัสออกไซด์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั่วโมง

ความดันใน cuff เฉลี่ยไม่แตกต่างกัน แต่ความดันใน

cuff กลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วน

_12-0350(008-021).indd 17 3/14/12 6:40:32 PM

Page 11: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

18 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

ชั่วโมงที่ 4 และ 5 ความดันใน cuff เฉลี่ยของสอง

กลุ่มเพิ่มขึ้นต่างกัน โดยกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ ความดัน

ใน cuff เฉลี่ยลดลงเป็น 28.5 ± 9.58, 24 ± 5.65

ม.ม.ปรอท ตามลำดับ กลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติ ความ

ดันใน cuff เฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาก แสดงว่าการให้ยาระงับ

ความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ทำให้ความดันใน

cuff เพิ่มขึ้น การใช้แนวปฏิบัติที่วัดความดันใน cuff

เป็นระยะ ทุก 45 - 60 นาทีช่วยลดความดันใน cuff

ได้14 - 15 สอดคลอ้งกบังานวจิยัทีพ่บวา่ ไนตรสัออกไซด ์

เพิ่มความดันใน cuff ร้อยละ 20 - 4013 บางการศึกษา

ป้องกันโดยใช้ ไนตรัสออกไซด์, normal saline หรือ

lidocaine แทนการใส่ แทนการใส่อากาศใน cuff

16 - 18 หรอื ใชท้อ่ชว่ยหายใจม ีcuff ทีไ่นตรสัออกไซด์

ซึมผ่านไม่ได้ 17 และวัดความดันใน cuff ระหว่างให้

ยาระงับความรู้สึก13, 15, 19

ความรู้ของบุคลากร ก่อนและหลังการใช้แนว

ปฏิบัติแตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง

การให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการใส่อากาศใน

cuff เท่ากับ 6.12 และ 7.59 ตามลำดับ แสดงว่า

บุคลากรบางส่วนมีปัญหาด้านความรู้ที่ถูกต้องใน

การใส่อากาศใน cuff ซึ่งที่ผ่านมาปฏิบัติโดยใช้

ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส ประเมินความดัน

ภายใน cuff ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ปัจจัย

ที่มีผล เช่น มาตรฐานการปฏิบัติ ระดับการรับรู้

ประสาทสัมผัส ชนิดของยาสลบ เช่น ไนตรัส-

ออกไซด์ 6, 13, 17 สิ่งเหล่านี้ทำให้บุคลากรในทีมให้

ยาระงับความรู้สึกปฏิบัติต่อ ๆ กันมา และยังไม่มี

แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้น การพัฒนาแนว

ปฏิบัติเพื่อปรับปรุงวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมกับการ

ปฏิบัติงาน จึ่งจำเป็นต้องให้ความรู้ แก่บุคลากร เพื่อ

ให้สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นได้

ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ หลังใส่ท่อ

ช่วยหายใจ ห้องพักฟื้น และหอผู้ป่วย ทั้ง 2 กลุ่ม

ไม่แตกต่างกัน จึงยังไม่สามารถสรุปได้ทั้งหมด

เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ครอบคลุมปัจจัยอื่น ๆ

ที่มีผล เช่น ขนาดท่อช่วยหายใจ ประสบการณ์ผู้ใส่

ท่อช่วยหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจยาก เป็นต้น

ขณะที่ภาวะแทรกซ้อนส่วนหนึ่งเกิดจากความดันใน

cuff ไม่เหมาะสม เช่น ถ้ามากเกินไปทำให้เยื่อบุ

หลอดอากาศอักเสบ เจ็บคอ เยื่อบุหลอดคอขาด

เลือด6, 20 - 24 ปกติความดันบริเวณเยื่อบุหลอดคอ

ประมาณ 25 - 35 ม.ม.ปรอท25 ในกรณีใส่อากาศ

ใน cuff น้อยเกินไป ทำให้ผู้ป่วยสำลักน้ำย่อยใน

กระเพาะอาหารเข้าในหลอดอากาศ และอากาศ

หายใจรั่ว26 การศึกษาที่ผ่านมาพบความดันใน cuff

เหมาะสม (20 - 25 ม.ม.ปรอท) มีเพียงร้อยละ

13.33 - 18.332, 3 การใช้วิธีวัดความดันใน cuff เป็น

วิธีที่น่าเชื่อถือและปลอดภัยมากกว่า4 ดังนั้นแนว

ปฏิบัติที่มีการวัดความดันใน cuff เป็นวิธีการหนึ่ง

ที่ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหายใจ11

ในทางปฏิบัติบุคลากรส่วนใหญ่เห็นด้วยมาก

ทีน่ำแนวปฏบิตัทิีพ่ฒันาขึน้มาใช ้แตม่ปีญัหา อปุสรรค

เช่น เครื่องมือวัดความดันใน cuff ไม่พอ ไม่มั่นใจ

การปฏิบัติ ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่วัดความดันใน cuff

ลำบาก บุคลากรมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ให้มีเครื่องวัด

ไว้ประจำห้อง ควรระบุว่าใครที่ทำตามแนวปฏิบัติได้

กรณีใช้ ไนตรัสออกไซด์ ควรวัดความดันใน cuff ให้

เร็วขึ้น หรือใส่อากาศใน cuff ที่มีไนตรัสออกไซด์

ผสม ผู้ใส่หรือดูดอากาศออกจาก cuff ควรเป็น

แพทย์หรือพยาบาล และก่อนดูดควรประเมินว่า

เหนือต่อ cuff ไม่มี content ถ้ามีต้องดูดออกให้หมด

ซึ่งการพัฒนาคุณภาพงานวิสัญญีในการใส่อากาศใน

cuff ต้องอาศัยแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อป้องกัน

ภาวะแทรกซ้อนของการคาท่อช่วยหายใจให้น้อยลง

บทสรุป ก า ร พั ฒ น า แ น ว ป ฏิ บั ติ จ า ก ก า ร ท บ ท ว น

หลักฐานเชิงประจักษ์ ทำให้ผู้ปฏิบัติใส่อากาศใน

_12-0350(008-021).indd 18 3/14/12 6:40:33 PM

Page 12: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 19

cuff ได้ความดัน เฉลี่ย 20.16 ม.ม.ปรอท เมื่อเทียบ

กับกลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติ ที่มีความดัน cuff เฉลี่ย

33.67 ม.ม.ปรอท ดังนั้นการนำแนวปฏิบัติมาใช้ใน

หน่วยงานทำให้ได้แนวปฏิบัติที่ดี โดยเฉพาะผู้ป่วย

ที่ใส่ท่อช่วยหายใจภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึก

นานกว่า 2 ชั่วโมง

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ รศ.นพ.ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์

หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาราช

นครเชียงใหม่ ที่สนับสนุนงานวิจัยนี้ พยาบาล

วิสัญญีและเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่มีส่วนร่วมการพัฒนา

แนวปฏิบัติและการเก็บข้อมูลการวิจัย ขอขอบคุณ

โครงการทุนอุดหนุนการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ที่

ให้ทุนในการวิจัยครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง 1. ชัยชนะ สินเกื้อกูล, และทิพวรรณ มุกนำพร.

Evaluation of high Volume, Low Pressure

Endotracheal tube cuff for Appropriated

Intracuff Pressure by Nurse Anesthetists in

General Anesthesia. วิสัญญีสาร. 2540; 23(1):

45-53.

2. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา. สถิติผู้ป่วย. ภาควิชา

วิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์, 2550.

3. วิศิษฐ์ ศิริภูวนันท์. ความเที่ยงตรงของการคาด

คะเนความดันภายใน cuff ท่อช่วยหายใจชนิด

ปรมิาตรสงู แรงดนัตำ่ในการดมยา. พยาบาลสาร.

2549; 33(1): 112-21.

4. Fernandez R, Blanch L, Mancebo J, Bonsoms

N, Artigas A. Endotracheal tube cuff pressure

assessment: pitfalls of finger estimation and

need for objective measurement. Crit Care

Med. 1990; 18(12): 1423-6.

5. Kitamura A, Yamada K, Ishihara Y, Ogawa R.

[The intracuff pressure changes in N2O

gas-barrier cuff made of a special material].

Masui. 1993; 42(6): 826-30.

6. Tu HN, Saidi N, Leiutaud T, Bensaid S,

Menival V, Duvaldestin P. Nitrous oxide

increases endotracheal cuff pressure and the

incidence of tracheal lesions in anesthetized

patients. Anesth Analg. 1999; 89(1): 187-90.

7. Ganner C. The accurate measurement of

endotracheal tube cuff pressures. Br J Nurs.

2001; 10(17): 1127-34.

8. Parwani V, Hahn IH, Krieger P, Zajac P,

Arakaki D, Hoffman RJ. Assessing endotracheal

tube cuff pressure. Emerg Med Serv. 2006;

35(1): 82-4.

9. Hoffman RJ, Parwani V, Hahn IH. Experienced

emergency medicine physicians cannot safely

inflate or estimate endotracheal tube cuff

pressure using standard techniques. Am J

Emerg Med. 2006; 24(2): 139-43.

10. King K, Mandava B, Kamen JM. Tracheal tube

cuffs and tracheal dilatation. Chest. 1975;

67(4): 458-62.

11. Cicerone K, Scesi M, Compagnoni G, Cavallo

A, Ferrovecchio B, Cavallini G, et al.

[Endotracheal tube cuff pressure. Monitoring

during general anesthesia]. Minerva Anestesiol.

1999; 65(3): 75-9.

12. Swaiss I, Badran I. Anesthesia apparatus: Cuff

Mate-2, endotracheal cuff inflator and pressure

monitor. Middle East J Anesthesiol. 2003;

17(2): 311-8.

_12-0350(008-021).indd 19 3/14/12 6:40:33 PM

Page 13: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

20 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2555

13. Karasawa F, Takita A, Kodama M, Takahashi

T, Wada H, Ikemoto T, et al. Changes in gas

concentrations in the Brandt endotracheal tube

cuff during and after anaesthesia with nitrous

oxide. Eur J Anaesthesiol. 2003; 20(5): 391-5.

14. เบญจวรรณ อยูส่ำราญ, และ ธดิา เอือ้กฤดาธกิาร.

ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับดูดอากาศออกจาก

Cuff ท่อช่วยหายใจระหว่างให้ยาระงับความ

รู้สึก. วิสัญญีสาร; 2550: 33(1): 11-16.

15. Curiel Garcia JA, Guerrero-Romero F,

Rodriguez-Moran M. Cuff pressure in

endotracheal intubation: should it be routinely

measured. Gac Med Mex. 2001; 137(2): 179-82.

16. Navarro LH, Braz JR, Nakamura G, Lima RM,

Silva Fde P, Modolo NS. Effectiveness and

safety of endotracheal tube cuffs filled with air

versus filled with alkalinized lidocaine: a

randomized clinical trial. Sao Paulo Med J.

2007; 125(6): 322-8.

17. Karasawa F, Ohshima T, Takamatsu I, Ehata T,

Fukuda I, Uchihashi Y, et al. The effect

on intracuff pressure of various nitrous

oxide concentrations used for inflating an

endotracheal tube cuff. Anesth Analg. 2000;

91(3): 708-13.

18. ชัยชนะ สินเกื้อกูล, พิทูร ธรรมธรานนท์,

ทิพวรรณ มุกนำพร, พุ่มพวง กิ่งสังวาลย์, และ

เยาวเรศ สินเกื้อกูล. การป้องกันความดันเพิ่ม

ภายใน cuff ของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่วางยา

สลบด้วยไนตรัสออกไซด์กับออกซิเจน โดยการ

เติม cuff ด้วยการผสมของไนตรัสออกไซด์กับ

ออกซิเจนในความเข้มข้นเดียวกัน. วิสัญญีสาร.

2541; 24(1): 7-12.

19. Nseir S, Duguet A, Copin MC, De Jonckheere

J, Zhang M, Similowski T, et al. Continuous

control of endotracheal cuff pressure and

tracheal wall damage: a randomized controlled

animal study. Crit Care. 2007; 11(5): R109.

20. Suzuki N, Kooguchi K, Mizobe T, Hirose M,

Takano Y, Tanaka Y. [Postoperative hoarseness

and sore throat after tracheal intubation: effect

of a low intracuff pressure of endotracheal tube

and the usefulness of cuff pressure indicator].

Masui. 1999; 48(10): 1091-5.

21. Svenson JE, Lindsay MB, O’Connor JE.

Endotracheal intracuff pressures in the ED and

prehospital setting: is there a problem? Am J

Emerg Med. 2007; 25(1): 53-6.

22. Audu P, Artz G, Scheid S, Harrop J, Albert T,

Vaccaro A, et al. Recurrent laryngeal nerve

palsy after anterior cervical spine surgery: the

impact of endotracheal tube cuff deflation,

reinflation, and pressure adjustment. Anesthesiology.

2006; 105(5): 898-901.

23. Striebel HW, Pinkwart LU, Karavias T.

Tracheal rupture caused by overinflation of

endotracheal tube cuff. Anaesthesist. 1995;

44(3): 186-8.

24. Pelc P, Prigogine T, Bisschop P, Jortay A.

Tracheoesophageal fistula: case report and

review of literature. Acta Otorhinolaryngol

Belg. 2001; 55(4): 273-8.

25. David JS, Thomas JG. Airway management.

In: Miller RD, ed. Anesthetisia, 4th Ed. New

York: Churchill Livingstone; 1994.p.1412–4.

26. Seegobin RD, Van Hasselt GL. Aspiration

beyond endotracheal cuffs. Can Anaesth Soc J.

1986; 33(3): 273-9.

_12-0350(008-021).indd 20 3/14/12 6:40:33 PM

Page 14: ประสิทธิผลของการใส่อากาศใน Cuff ท่อช่วยหายใจ โดยใช้แนว ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458802260-02.pdf ·

Volume 38 Number 1 January – March 2012 Thai Journal of Anesthesiology 21

ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติจากการทบทวนหลักฐาน เชิงประจักษ์การใส่อากาศในCuff ท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับ ยาระงับความรู้สึกโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การใส่อากาศใน cuff ท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยได้ยาระงับความรู้สึก มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บคอ

อากาศหายใจรั่ว หลอดคอขาดเลือดหรือทะลุ เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ

การใส่อากาศใน cuff ที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ จะป้องกันภาวะ

แทรกซ้อนจากความดันใน cuff ได้ วิธีการศึกษา ในผู้ป่วยให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป 116 ราย ใส่ท่อ

ช่วยหายใจชนิดปริมาตรสูง แรงดันต่ำ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ใช้การประเมินความดันใน cuff

ที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ เช่น just seal technique เป็นต้น 2) กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาจากการทบทวน

หลักฐานเชิงประจักษ์ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของบุคลากรที่ใช้แนวปฏิบัติ จำนวน

58 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลความดันภายใน cuff ท่อช่วยหายใจ และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 24 - 48 ชั่วโมง

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา multivariate regression และ paired t-test ผลการศึกษา ความดัน

ใน cuff เฉลี่ยของ 2 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ มีความดันใน cuff

เฉลี่ย (median) เท่ากับ 20.16 ม.ม.ปรอท ม.ม.ปรอท ( min = 8, max = 27) และกลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติ ความดัน

เฉลี่ย (median) เท่ากับ 33.67 ม.ม.ปรอท (min = 10, max = 120) ห้องพักฟื้น ไม่มีเจ็บคอในกลุ่มใช้แนว

ปฏิบัติ หอผู้ป่วย กลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติ มีไอ ระคายคอ (13.79%) เจ็บคอ และเสียงแหบ (12.07%) กลุ่มใช้แนว

ปฏิบัติ มีไอ ระคายคอ (5.17%) เจ็บคอ และเสียงแหบ (8.62%) บุคลากรมีปัญหาและอุปสรรคการใช้แนว

ปฏิบัติ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานพยาบาลหรือพนักงานช่วยการพยาบาลไม่มีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย เครื่องมือวัด

ความดันไม่เพียงพอ ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่วัดความดันใน cuff ลำบาก บุคลากรมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ต้องมีเครื่อง

วัดประจำห้องให้ยาระงับความรู้สึก ควรระบุผู้ที่สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ และผู้ใส่หรือดูดอากาศ

ออกจาก cuff ควรเป็นแพทย์หรือพยาบาล บทสรุป การพัฒนาแนวปฏิบัติจากการทบทวนหลักฐานเชิง

ประจักษ์ มาใช้ให้เหมาะสมในหน่วยงาน ทำให้ได้แนวปฏิบัติที่ดี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจภายใต้

การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปนานกว่า 2 ชั่วโมง

คำสำคัญ: ความดันใน cuff, แนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์, การใส่อากาศใน cuff, การให้ยาระงับ

ความรู้สึก

_12-0350(008-021).indd 21 3/14/12 6:40:34 PM