2
แพทย์จุฬาฯ ... คะแนนสูงสุด 2557 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต” ปีท่ ๖ ฉบับที่ ๖ วันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดง ความยินดีกับ ชานน ธนิตกุล นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีท่ 6 จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บุตรชาย ศ.ดร.ศักดา ธนิตกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อ.ศิรรัตน์ ธนิตกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สอบเข้า คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ “คะแนนสูงสุดของประเทศ” โดยทำ คะแนนสอบได้ ร้อยละ 85.295 จากการคัดเลือกบุคคล เข้าศึกษาต่อของ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ( กสพท ) ประจำปีการศึกษา 2557 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับ นิสิตแพทย์ ประจำปี 2557 ทั้งหมด 308 คน โดยแบ่งเป็น นิสิตแพทย์ชาย จำนวน 175 คน นิสิตแพทย์หญิง จำนวน 133 คน โดยแบ่งออกเป็น 5 โครงการ คือ โครงการ แพทย์จุฬาฯ - รอบรู้คู่คุณธรรม จำนวน 197 คน โครงการ ผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 62 คน โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 17 คน โครงการโอลิมปิกวิชาการ ( ชีววิทยา ) จำนวน 3 คน และ โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 29 คน ชานน ธนิตกุล นิสิตแพทย์ ชั้นปีท่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา ประถมศึกษา : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ฝ่ายประถม มัธยมต้น : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554 ฝ่ายมัธยม มัธยมปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 การศึกษาปัจจุบัน : นิสิตแพทย์ ชั้นปีท่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคล็ดลับในการเรียน : “ตั้งใจเรียนในห้อง ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ อาจเรียนพิเศษบ้างตามสมควรในบางวิชาที่สำคัญ ไม่ควรหักโหมมาก เกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับ ประทานอาหารที่มีประโยชน์” ความมุ่งหวังในอนาคต : “มุ่งหวังว่าจะได้ประกอบอาชีพแพทย์ และ ได้นำความรู้ที่ศึกษามาช่วยเหลือผู้อื่น ได้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม อย่างเต็มความสามารถ และที่สำคัญเป็นคนดีของประเทศชาติ” แพทย์จุฬาฯ ในความคิด (ของคุณ) : “เป็นแพทย์ที่มีความรู้คู่คุณธรรม กล่าวคือ สามารถนำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาช่วยเหลือคนไข้ได้อย่างดี มีประสิทธิผล เข้าใจผู้ป่วยในทุกๆ ด้าน และมีจริยธรรมทางการแพทย์ ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ พร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อส่วนรวม”

แพทย์จุฬาฯ คะแนนสูงสุด 2557 · ( กสพท ) ประจำปีการศึกษา 2557 ... ( ชีววิทยา )3 คน

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แพทย์จุฬาฯ คะแนนสูงสุด 2557 · ( กสพท ) ประจำปีการศึกษา 2557 ... ( ชีววิทยา )3 คน

“ แพทย์จุฬาฯ ” ... คะแนนสูงสุด 2557

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต”

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖ วันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ชานน ธนิตกุล นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บุตรชาย ศ.ดร.ศักดา ธนิตกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อ.ศิรรัตน์ ธนิตกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สอบเข้า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ “คะแนนสูงสุดของประเทศ” โดยทำ คะแนนสอบได้ ร้อยละ 85.295 จากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อของ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ( กสพท ) ประจำปีการศึกษา 2557 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับ นิสิตแพทย์ ประจำปี 2557 ทั้งหมด 308 คน โดยแบ่งเป็น นิสิตแพทย์ชาย จำนวน 175 คน นิสิตแพทย์หญิง จำนวน 133 คน โดยแบ่งออกเป็น 5 โครงการ คือ โครงการ แพทย์จุฬาฯ - รอบรู้คู่คุณธรรม จำนวน 197 คน โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 62 คน โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 17 คน โครงการโอลิมปิกวิชาการ ( ชีววิทยา ) จำนวน 3 คน และ โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 29 คน

ชานน ธนิตกุล นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

การศึกษา ประถมศึกษา : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ฝ่ายประถม มัธยมต้น : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554 ฝ่ายมัธยม มัธยมปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 การศึกษาปัจจุบัน : นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคล็ดลับในการเรียน : “ตั้งใจเรียนในห้อง ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ อาจเรียนพิเศษบ้างตามสมควรในบางวิชาที่สำคัญ ไม่ควรหักโหมมากเกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์” ความมุ่งหวังในอนาคต : “มุ่งหวังว่าจะได้ประกอบอาชีพแพทย์ และได้นำความรู้ที่ศึกษามาช่วยเหลือผู้อื่น ได้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างเต็มความสามารถ และที่สำคัญเป็นคนดีของประเทศชาติ” แพทย์จุฬาฯ ในความคิด (ของคุณ) : “เป็นแพทย์ที่มีความรู้คู่คุณธรรม กล่าวคือ สามารถนำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาช่วยเหลือคนไข้ได้อย่างดี มีประสิทธิผล เข้าใจผู้ป่วยในทุกๆ ด้าน และมีจริยธรรมทางการแพทย์ ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ พร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม”

Page 2: แพทย์จุฬาฯ คะแนนสูงสุด 2557 · ( กสพท ) ประจำปีการศึกษา 2557 ... ( ชีววิทยา )3 คน

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected], [email protected] และ [email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th

http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/mdcu.page http://www.facebook.com/prmdcu.pr

http://www.twitter.com/prmdcu

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา อุดมศึกษา : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เกียรตินิยม พ.ศ. 2519 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2521 (รุ่นที่ 28) วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2524 สาขาอายุรศาสตร์ แพทยสภา วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 สาขาประสาทวิทยา แพทยสภา Fellowship Neurology & Neuroimmunology พ.ศ. 2529 Johns Hopkins University School of Medicine ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2528 ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชา “อายุรศาสตร์” พ.ศ. 2532 รางวัลและผลงานดีเด่น ได้รับเชิญให้เขียน Chapter ในตำราต่างประเทศหลายเล่ม รวมทั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2532-2550 Infections of the Central Nervous System (Scheld WM, Whitley RJ, Marra CM (editors) (2547), Harrison’s Principle of Neurological Infectious Diseases. (2547) และใน Current Neurology and Neuroscience Report (2549) คู่มือ Rabies แก่ American College of Physicians (2550) Member of WHO Expert Advisory Panel on Rabies พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน รางวัล “ผลงานวิจัยดีเด่น” จาก สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รางวัล “ผลงานวิจัยดีเยี่ยมเจ้าฟ้ามหิดล - บีบราวน์” พ.ศ. 2536 รางวัล “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ” จาก สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2537 รับเลือก “Who’s Who of the World Asian Pacific/ Science & พ.ศ. 2542-2550 Engineering/ Medicine & Health care/ International Man of the year” และอื่นๆ ได้รับเลือกเป็น “Member of American Neurological Association” พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน ได้รับเชิญจากบรรณาธิการ The Lancet เขียนบทความใน Lancet Neurology พ.ศ. 2545 และ Lancet Infectious Disease สัมภาษณ์ประวัติส่วนตัว ในวารสาร “The Lancet” ใน column “Life Line” พ.ศ. 2546 โครงการวิจัยดีเด่น 1 ใน 10 ของ สกว. พ.ศ. 2546 รางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ” พ.ศ. 2547 Member of Scientific committee, Institut Pasteur พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน ได้รับการแต่งตั้งเป็น “WHO Collaborating Center for Research and Training on Neurovirology of Emerging Zoonoses คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จาก องค์การอนามัยโลก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย ( ต.ม. ) พ.ศ. 2529 ตริตาภรณ์ช้างเผือก ( ต.ช. ) พ.ศ. 2531 ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย ( ท.ม. ) พ.ศ. 2533 ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก ( ท.ช. ) พ.ศ. 2537 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย ( ป.ม. ) พ.ศ. 2538 ประถมาภรณ์ช้างเผือก ( ป.ช. ) พ.ศ. 2541 มหาวชิรมงกุฏ ( ม.ว.ม. ) พ.ศ. 2544 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ( ม.ป.ช. ) พ.ศ. 2547

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้า โครงการวิจัยเรื่อง “บทบาทของสัตว์ แมลง ในการก่อโรค กลไกเชื้อและการรักษา” ได้รับ “ทุนนักวิจัยแกนนำ” ประจำปี 2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องโถง (ชั้น 1) สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

“ ทุนนักวิจัยแกนนำ ” ... 2556

บทบาทของสัตว์ แมลง ในการก่อโรค กลไกของเชื้อและการรักษา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และคณะ

ประเทศไทยจัดอยู่ในเขตอันตราย ทั้งที่เกิดโรคระบาดที่มีกำเนิดจากในประเทศเอง และที่มาจากอาณาเขตบริเวณใกล้เคียง จากการที่มีภูมิประเทศ อากาศเอื้ออำนวย และมีความหนาแน่นสูงของสัตว์ป่าและสัตว์เศรษฐกิจที่มีความใกล้ชิดเชื่อมโยงกับคน และความชุกชุมของแมลง เห็บ ไร ริ้น ซึ่งทั้งหมดนี้นำเชื้อมาสู่คนได้ ในช่วงเวลานับสิบปีที่ผ่านมาโรคที่เกิดขึ้นในประเทศตั้งแต่ ไข้ การติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ สมองอักเสบ สามารถสืบค้นสาเหตุได้เพียง 50% เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากวิเคราะห์เชื้อจะจำกัดอยู่ที่เชื้อที่มีชื่อระบุอยู่ในสารระบบเฝ้าระวัง แต่ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์สถิติของการเกิดโรคก็มีแนวโน้มต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการไม่เห็นความสำคัญของการรายงาน เพราะไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน โดยการที่มุ่งที่จะวิเคราะห์และศึกษาสาเหตุของอาการไข้แบบที่ไม่มีลักษณะจำเพาะ อาการของไข้หวัดใหญ่ทั้งที่มีและไม่มีอาการทางปอด รวมทั้งอาการของไข้เลือดออก ทั้งในโรงพยาบาลในส่วนกลางและในภูมิภาคต่างๆ และครอบคลุมผู้มีอาชีพใกล้ชิดสัมผัสกับสัตว์ การค้นหาเชื้อยังขยายขอบเขต ครอบคลุมในสัตว์ฟันแทะ ลิง ค้างคาว ปรสิต ที่เกาะตามผิวของสัตว์ แมลง ยุง ในภูมิลำเนาจำเพาะที่ปรากฏการระบาด รวมทั้งในเขตรอบตะเข็บชายแดน เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง การแพร่โรคสู่คนเชื้อที่อยู่ ในระบบวิเคราะห์มีตั้งแต่ แบคทีเรียโรคฉี่หนู( Leptospirosis) Rickettsia และ ไวรัส โดยวิธีที่พัฒนาขึ้นเพื่อครอบคลุมเชื้อได้กว้างขวาง ทั้งที่ทราบชนิดหรือไม่ทราบชนิด แต่มีการผ่าเหล่ารหัสพันธุกรรมเพี้ยนจากเดิม และที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน โดยในส่วนของไวรัสเป็นการตรวจครอบคลุม 24 ตระกูล การวางแผนประเมินความเสี่ยงยังมุ่งเป้าเป็นพิเศษไปยังค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค และแพร่เชื้อที่สำคัญนานาชนิด ทั้ง อีโบล่า ซาร์ ซาร์ใหม่ซึ่งระบาดในตะวันออกกลาง (ไวรัส MERS) นิปาห์สมองอักเสบ เป็นต้น โดยประมวลข้อมูล รัง และประชากรค้างคาว การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ประกอบกับฤดูกาล ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในพื้นที่ ในการวิเคราะห์ การกระจายและโอกาสที่ระบาดทั่วประเทศ บทบาทของไวรัสในการก่อโรคในเชิงลึก ยังทำการศึกษาพิสูจน์โครงสร้างพันธุกรรมว่าสามารถกำหนดความรุนแรงได้ โดยสร้างไวรัสพิษสุนัขบ้าที่มีรหัสพันธุกรรมผิดเพี้ยนไปจากเดิม ในตำแหน่งของยีนส่วนที่ไม่ถอดเพิ่มรหัส (non-coding region) ซึ่งพบก่อนหน้านี้ว่าไวรัสมีความรุนแรงและศึกษารูปแบบการเคลื่อนตัวของไวรัสพิษสุนัขบ้าที่ผ่านสายใยประสาทและการแสดงออกของยีนที่คุมการสร้างโปรตีน ว่ามีส่วนอธิบายการเกิดอาการพิษสุนัขบ้าแบบต่างๆ อย่างไร เป็นที่ทราบกันดีในขณะนี้ว่าไม่มีวิธีหรือกระบวนการรักษาใดๆ ที่ได้ผลในสุนัข-คนเมื่อไวรัสเข้าไปอยูในเส้นประสาทและระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ไวรัสที่สร้างขึ้นใหม่ (Professor Dietzschold) ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งวัคซีนในการป้องกันและ ขจัดไวรัสเมื่อเข้าระบบประสาทในหนู จะได้ทำการพิสูจน์ในสุนัขว่ามีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ทั้งนี้อาจเป็นวัคซีนทางเลือกใหม่ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในเอเชียและแอฟริกา โดยที่มีคนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการที่วัคซีนธรรมดาใช้ไม่ได้ผลในสุนัขเมื่อไวรัสพ้นจากกล้ามเนื้อเข้าประสาทแล้ว โครงการทั้งหมดเป็นการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบของแพทย์ สัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ป่า แมลง นิเวศวิทยา จะเพิ่มความตระหนักในวงการแพทย์ในโรคที่มาจากสัตว์สู่คน และทำให้ค้นหาสาเหตุได้ด้วยวิธีการที่กลับคืนสู่สามัญ (ด้วยการหา Virus Family) และเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ได้จากการรวบรวมพฤติกรรมสัตว์ในการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ความสามารถอันหลากหลายของแมลงในการเพาะบ่มเชื้อต่างๆ และกระบวนการของตัวไวรัสเองในการทำให้เกิดความรุนแรงของโรคในระดับต่างๆ กัน เพื่อนำไปในการป้องกัน รักษา ควบคุมโรคอย่างได้ผล

คณะผู้วิจัยและสังกัด 1. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ศ.นพ.ชนพ ช่วงโชติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. รศ.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. อ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 5. ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 6. นพ.ดร.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7. ผศ.พญ.กนิษฐา ภัทรกุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. อ.ดร.ประทีป ด้วงแค คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 9. นพ.เอนก มุ่งอ้อมกลาง โรงพยาบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 10. ดร.อุษาวดี ถาวระ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 11. พันเอกหญิง ดร.จริยาณาฏ เกวี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร 12. นายสัตวแพทย์ บุญเลิศ ล้ำเลิศเดชา สถานเสาวภา สภากาชาดไทย 13. อ.นพ.ปณต ประพันธ์ศิลป์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 14. ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์