682
- แผนพัฒนาสามป องค์การบรหารส่วนจังหวัดเชยงใหม่ (..2555 – 2557) ฝ่ายนโยบายและแผน กองแผนและงบประมาณ โทร. 0 – 5389 – 1500 – 6 ต่อ 212 , 225 27/06/54

องค์การบริหารส ่วนจังหวัด ...chiangmaipao.go.th/th/images/stories/pdf/plan/plan3year... · 2012-02-26 · ระเบียบกระทรวงมหาดไทย

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • -

    แผนพัฒนาสามปี

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

    (พ.ศ.2555 – 2557)

    ฝ่ายนโยบายและแผน กองแผนและงบประมาณ

    โทร. 0 – 5389 – 1500 – 6 ต่อ 212 , 225

    27/06/54

  • บสารบัญ

    หน้า

    ส่วนที่ 1 บทนํา 1

    ส่วนที่ 2 สภาพทั่วไปและขอ้มลูพื้นฐานที่สําคัญขององค์กรปกครองส่วน

    ท้องถิ่น 8

    ส่วนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นทีผ่่านมา 44

    ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามป ี 53

    ส่วนที่ 5 บัญชีโครงการพัฒนา บัญชีสรุป (โครงการขององคก์ารบริหารส่วนจังหวดัเชียงใหม)่ 78 รายละเอียดโครงการพัฒนา

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 84

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเทีย่ว 204 - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรพัยากรธรรมชาติและ

    สิ่งแวดลอ้ม

    232

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม 239

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ

    ชีวิต

    242

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ

    บ้านเมืองที่ดี

    332

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

    และการจัดระเบียบชุมชน สังคม

    411

  • หน้า

    บัญชีสรุป (โครงการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง) 427

    รายละเอียดโครงการพัฒนา - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

    และการจัดระเบียบชุมชน สังคม

    428

    บัญชีสรุป (โครงการของ อปท. (เทศบาล,อบต.)) 429 รายละเอียดโครงการพัฒนา

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 431 - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเทีย่ว 568 - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม 590

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ

    ชีวิต

    605

    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

    และการจัดระเบียบชุมชน สังคม

    620

    ส่วนที่ 6 การนําแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล 638

    ภาคผนวก ก. ............................................................................................................................................................. 643

    ภาคผนวก ข. ............................................................................................................................................................. 653

  • ส่วนที่ 1

    บทนํา

  • ส่วนที่ 1

    บทนํา

    ในการจัดทําแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากเพื่อให้บรรลุ

    วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรแล้ว การจัดทําแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

    จําเป็นท่ีจะต้องคํานึงถึงบริบทต่าง ๆ ท่ีเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาไปได้

    อย่างต่อเน่ืองในทิศทางท่ีเหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ แผนพัฒนา

    เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การ

    พัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การ

    บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2555 – 2559) องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ทบทวน

    แผนพัฒนาสามปีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2554 -2556) ข้ึนเพื่อให้สอดคล้องกับ

    แผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นท่ีจะดําเนินการพัฒนาองค์กรให้มี

    ประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนได้ตรงตาม

    สภาพความเป็นจริงในสังคมหรือตามบริบทท่ีเปล่ียนแปลง

    การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จะใช้แผนพัฒนาเป็นเคร่ืองมือในการบริหาร

    ซ่ึงแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีการกําหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย ยุทธศาสตร์และ

    แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นรวมท้ังการกําหนดโครงการ/กิจกรรมตัวช้ีวัดความสําเร็จของการพัฒนา

    ในระยะยาวอย่างต่อเน่ือง

    การจัดทําแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จะมีความสอดคล้องเช่ือมโยง

    กับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแนวทางในการพัฒนาในระดับต่าง ๆ และท่ีสําคัญองค์การบริหารส่วน

    จังหวัดเชียงใหม่จะได้นําแผนพัฒนาไปดําเนินการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่

    ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    พ.ศ. 2548 ข้อ 4

    “…แผนพัฒนา หมายความรวมถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี

    “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา” หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครอง

    ส่วนท้องถ่ิน ท่ีกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน

    จัดแสดงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

    และสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดินยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อําเภอและแผนชุมชน

  • - 2 -

    “แผนพัฒนาสามปี” หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมขององค์กรปกครอง

    ส่วนท้องถิ่น ท่ีสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอันมีลักษณะเป็นการกําหนดรายละเอียดแผนงาน/

    โครงการพัฒนาท่ีจัดทําข้ึนสําหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซ่ึงมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้า

    ครอบคลุมระยะเวลาสามปีโดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจําทุกป…ี”

    1.1 ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี

    แผนพัฒนาสามปีจะมีลักษณะเป็นการกําหนดรายละเอียดของโครงการพัฒนาภายใต้

    ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ในการจัดทําโครงการจะคํานึงถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ

    โดยคํานึงถึงสถานะทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และความจําเป็นเร่งด่วนที่ต้อง

    ดําเนินการ แผนพัฒนาสามปีเป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ มีหลักคิดท่ีว่าภายใต้

    ยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่ึง ๆ จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหน่ึงแนวทาง และภายใต้แนวทาง

    การพัฒนาหน่ึงจะมีโครงการ/กิจกรรมได้มากกว่าหน่ึงโครงการ / กิจกรรมท่ีจะต้องนํามาดําเนินการ

    เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายท่ีต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา ซ่ึงจะมีผลต่อ

    วัตถุประสงค์เป้าหมาย จุดมุ่งหมายการพัฒนาอย่างย่ังยืน และวิสัยทัศน์ในท่ีสุด

    นอกจากน้ัน แผนพัฒนาสามปีเป็นแผนท่ีมีความใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจําปี

    กล่าวคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ใช้การวางแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือในการจัดทํา

    งบประมาณรายจ่ายประจําปี โดยนําโครงการ/กิจกรรมจากแผนพัฒนาสามปีในปีท่ีจะจัดทํางบประมาณ

    รายจ่ายประจําปี ไปจัดทํางบประมาณเพื่อให้กระบวนการจัดทํางบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบและ

    ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน

    ดังน้ัน โครงการท่ีบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

    โดยเฉพาะในแผนประจําปีแรกของห้วงระยะเวลาสามปีน้ัน มีสภาพความพร้อม 2 ประการ คือ

    1. มีความแน่นอนของกิจกรรมท่ีจะดําเนินการ โดยมีการประเมินถึงความเป็นไปได้ของโครงการ/

    กิจกรรม รวมท้ังผลประโยชน์สาธารณะท่ีจะได้รับจากโครงการ/กิจกรรม

    2. กิจกรรมท่ีอยู่ในแผนประจําปีแรกของห้วงระยะเวลาสามปี มีความพร้อมในเรื่องรูปแบบและ

    รายละเอียดสามารถกําหนดรายการในแผนพัฒนาท่ีจะนําไปใช้จัดทํางบประมาณ รายจ่ายประจําปีต่อไป

  • - 3 -

    1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทาํแผนพัฒนาสามปีองค์การบริหารส่วนจงัหวดัเชียงใหม่

    (พ.ศ.2555 – 2557)

    1. เพื่อปรับปรุงทบทวนแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2554 – 2556) และจัดทําโครงการพัฒนา

    เพื่อขยายฐานการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในปี พ.ศ.2555 – 2557 ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

    2. เพื่อให้การจัดทําแผนพัฒนาสามปีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2555 –

    2557) มีการประสานและบูรณาการการจัดทําแผนพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยที่

    แผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่มีความสอดคล้องและเป็นไปตามกรอบ

    ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในเขตจังหวัดเชียงใหม่และสอดคล้องกับ

    ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจงัหวัด

    3. เพื่อเป็นการเตรียมโครงการต่าง ๆ ให้อยู่ในลักษณะท่ีพร้อมจะบรรจุในเอกสารงบประมาณ

    ประจําปีและนําไปปฏิบัติได้ทันทีเม่ือได้รับงบประมาณ

    4. เพื่อแสดงความสัมพันธ์และเช่ือมโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาสามปี

    และการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําป ี

    5. เพื่อแสดงจุดมุ่งหมายและแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

    1.3 ขัน้ตอนในการจัดทาํแผนพัฒนาสามป ี

    การจัดทําแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2555 – 2557

    ได้ดําเนินการจัดทําตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนท่ีสุด ท่ี มท 0810.2/ว 294 ลงวันท่ี 2

    กุมภาพันธ์ 2554 ท่ีได้ซักซ้อมแนวและหลักเกณฑ์การจัดทําและประสานแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.

    2555 – 2557) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกระบวนการจัดทําและประสานแผนพัฒนา

    สามป ี(พ.ศ. 2555 – 2557 ) ดังน้ี

    1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

    - คณะกรรมการพัฒนา อบจ. จัดเวทีประชุมร่วมระหว่าง

    คณะกรรมการประสานแผนฯ ระดับจังหวัด ผู้บริหาร อปท.

    ในเขตจังหวัดและประชาคมท้องถิ่น เพื่อกําหนดทิศทางการ

    ดําเนินงานในภาพรวมของ อปท. ในเขตจังหวัดท่ีสอดคล้องกับ

    กรอบยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด

    ภายในเดือน

    กุมภาพันธ ์2554

  • - 4 -

    2. คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด

    - จัดทํากรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. เพื่อให้ อปท.

    บูรณาการโครงการพัฒนาท่ีจะดําเนินการร่วมกันภายใต้

    กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. พร้อมแจ้งกรอบฯ

    ไปยังคณะกรรมการประสานแผนฯ ระดับอําเภอ

    ภายในเดือน

    กุมภาพันธ ์2554

    3. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

    - จัดประชุมประชาคมท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลและกําหนด

    ประเด็นการพัฒนา (สําหรับ อบจ. นํามาจากข้อ 1)

    ภายในเดือน

    กุมภาพันธ ์2554

    4. คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถ่ินระดับอําเภอ

    - แจ้งกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. ไปยัง อปท.

    ในเขตอําเภอ

    ภายในเดือน

    15 มีนาคม 2554

    5. องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน (อปท.)

    - คัดเลือกโครงการสําหรับการประสานของรับการบรรจ ุ

    ในแผนพัฒนาสามปีของ อบจ. โดยจัดทําเป็นบัญชีโครงการ

    เพื่อการประสานแผนพัฒนาของ อปท . เพื่ อ เสนอต่อ

    คณะกรรมการประสานแผนฯ ระดับจังหวัด

    ภายในเดือน

    มีนาคม 2554

    6. คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถ่ินระดับจังหวัด

    - พิจารณาบูรณาการโครงการจากขั้นตอนท่ี 5 และนําเสนอ

    บรรจุในแผนพัฒนาสามปีของ อบจ. พร้อมแจ้งให้ อปท. ท่ี

    เกี่ยวข้องทราบ

    ภายในเดือน

    เมษายน 2554

    7. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทําแผนพัฒนาท้องถ่ิน

    - จัดทําร่างแผนพัฒนาสามปี

    คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

    - พิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปี

    ภายในเดือน

    มีนาคม – มิถนุายน

    2554

    8. ผู้บริหารท้องถิ่น

    - พิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี

    ภายในเดือน

    มิถุนายน 2554

  • - 5 -

    สําหรับขั้นตอนในการจัดทําแผนพัฒนาสามปี ( พ.ศ. 2555 – 2557) ขององค์การบริหาร

    ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาสามป ี มีขัน้ตอนดังน้ี

    ขั้นตอนท่ี 1 การเตรียมการจัดทําแผนพฒันาสามปี

    ขั้นตอนท่ี 2 การจัดการประชุมประชาคมท้องถิ่น

    ขั้นตอนท่ี 3 การทบทวน / คัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา และซักซ้อมแนวทาง

    ในการจัดทําและประสานแผนพัฒนาสามป ี(พ.ศ.2555 – 2557)

    ขั้นตอนท่ี 4 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ขอ้มูล

    ขั้นตอนท่ี 5 การกาํหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา

    ขั้นตอนท่ี 6 การจัดทํารายละเอียดโครงการ / กิจกรรมการพฒันา

    ขั้นตอนท่ี 7 การจัดทําร่างแผนพัฒนาสามปี

    ขั้นตอนท่ี 8 การอนุมัติแผนและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี

  • - 6 -

    ขั้นตอนการจัดทําแผนพัฒนาสามปี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนา

    ขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ข้อ (17)

    - รวบรวมประเด็นหลักการพัฒนา ปัญหาความตอ้งการและข้อมูล

    - จัดทํารา่งแผนพัฒนาสามปี เสนอคณะกรรมการพัฒนาทอ้งถิ่น

    คณะกรรมการสนับสนุน

    การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น

    พิจารณาร่างแผนพัฒนาสามป ีเพ่ือเสนอผู้บริหารท้องถิ่น

    คณะกรรมการ

    พัฒนาท้องถิ่น

    คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

    และประชาคมท้องถิ่น กําหนดประเด็นหลักการพัฒนาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน ์

    พันธกิจและจุดมุ่งหมายเพ่ือ การพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์ฯ

    รวมทั้งสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของประชาคม

    และชุมชนโดยใหน้ําข้อมูลพืน้ฐาน ในการพัฒนาจากหน่วยงาน

    ต่างๆ และข้อมูลในแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการ

    จัดทําแผนพัฒนาสามปี

    - พิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี

    *** สําหรับองค์การบริหารส่วนตําบลให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอ

    ร่างแผนพัฒนาสามปีต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อให้

    ความเห็นชอบก่อนแล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและ

    ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปต่ีอไป

    ผู้บริหารท้องถิ่น

  • - 7 -

    ข้อ 18 แผนพฒันาสามปีให้จัดทาํและทบทวนให้แลว้เสร็จภายในเดือนมิถุนายนก่อน

    งบประมาณประจําป ี

    - ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจขยายเวลาการจัดทําแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วน

    จังหวัด

    - ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอํานาจให้นายอําเภอขยายเวลาการจัดทําร่างแผนพฒันาของเทศบาล

    และองค์การบริหารส่วนตําบล

    *** แผนพัฒนาสามปีเม่ือได้รับอนุมัติประกาศใช้แล้วให้แจ้งสภาท้องถ่ิน คณะกรรมการบริหารงาน

    จังหวัดแบบบูรณาการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด อําเภอ หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องและประกาศให้ประชาชน

    ในท้องถิ่นทราบโดยท่ัวกันภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศใช้และปิดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่า

    สามสิบวัน

    1.4 ประโยชน์ของการจัดทําแผนพัฒนาสามปี

    การจัดทําแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเคร่ืองมือท่ีจะช่วยให้

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาอย่างรอบคอบให้เห็นถึงความเช่ือมโยงระหว่างแนวทาง

    การดําเนินงานต่าง ๆ ท่ีมีความเช่ือมโยงและส่งผลท้ังในเชิงสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อกันเพื่อให้

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นํามาตัดสินใจกําหนดแนวทางการดําเนินงานและใช้ทรัพยากร

    การบริหารของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะสูงสุด

    ******************************

  • ส่วนที ่ 2 สภาพทั่วไปและข้อมูลพ้ืนฐานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

    2.1 ข้อมูลทั่วไป/ศักยภาพการพัฒนาของจังหวัดเชียงใหม่

    1) ที่ตั้งและขนาดพื้นที่

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 888 ถนนโชตนา ตําบลช้างเผือก อําเภอเมือง

    เชียงใหม่ ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2540 ซ่ึงได้กําหนด

    ให้มีหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถ่ินรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีฐานะเป็น

    นิติบุคคลและมีพื้นที่รับผิดชอบท่ัวทั้งจังหวัด

    จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทยอยู่สูงจากระดับน้ําทะเลประมาณ

    1,027 ฟุต (310 เมตร) ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 - 21 องศาเหนือ และเส้นแวงท่ี 98 - 99 องศา

    ตะวันออก พ้ืนที่ประมาณ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ อยู่ห่างจาก

    กรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ และประมาณ 720 กิโลเมตร

    โดยทางรถยนต์ เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพ ด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และ

    การลงทุน ตลอดจนมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและ

    วัฒนธรรม ซ่ึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากจังหวัดอ่ืน ๆ ทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรม อันดีงาม

    ตามคําขวัญของจังหวัด “ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามลํ้าค่านครพิงค์”

    2) อาณาเขตติดต่อ

    - ทิศเหนือ ติดประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า

    - ทิศตะวันออก ติดจงัหวัดเชียงราย จงัหวัดลําปาง และจังหวัดลําพูน

    - ทิศตะวันตก ติดอําเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    - ทิศใต้ ติดจงัหวัดลําพูน และจังหวัดตาก

    3) ลักษณะภูมิประเทศ

    โดยทั่วไปมีสภาพพ้ืนที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะมีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝ่ังแม่น้ําปิง

    มีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทย คือ “ดอยอินทนนท์” สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอําเภอจอมทอง

    นอกจากนี้ยังมีดอยอ่ืนๆ ที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,297 เมตร ดอยหลวง

    เชียงดาว สูง 2,195 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,678 เมตร สภาพพ้ืนที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

    พ้ืนที่ภูเขาส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพ้ืนที่ประมาณ

    80 % ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ําลําธาร

  • - 9 -

    พ้ืนที่ราบลุ่มน้ําและท่ีราบเชิงเขากระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ – ใต้

    ได้แก่ท่ีราบลุ่มน้ําปิง ลุ่มน้ําฝาง และลุ่มน้ําแม่งัด เป็นพ้ืนท่ีที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อ

    การเกษตร

    4) ลักษณะภูมิอากาศ มีสภาพอากาศเย็นเกือบตลอดปีมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12.5 – 38.0 oC แบ่งได้

    เป็น 3 ฤดู คือ

    - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.8 – 38.0 oC

    - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถนุายน ถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20.6 – 35.7 oC

    - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12.5 – 34.3 oC

    5) ประชากร

    จังหวัดเชียงใหม่มีจํานวนประชากรประมาณ 1,675,109 คน แยกเป็นชาย 818,407 คน

    คิดเป็นร้อยละ 48.85 เป็นหญิง 856,702 คน คิดเป็นร้อยละ 50.15 (ที่มา : www.dopa.go.th

    กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ข้อมูลประชากรและบ้าน) ณ วันที่ 31 มกราคม 2554)

    ส่วนประชากรบนพื้นที่สูง กระจายตัวอยู่ตามอําเภอต่าง ๆ โดยอําเภอที่มีประชากรบนพื้นที่สูง

    มากที่สุด ได้แก่ อําเภออมก๋อย อําเภอแม่แจ่ม อําเภอเชียงดาว อําเภอฮอด ตามลําดับ มีกลุ่มชนเผ่าแบ่งเป็น

    ชาวเขา ได้แก่ กะเหรีย่ง ม้ง เมี่ยน (เย้า) อาข่า (อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) ลีซอ (ลีซู) และลัวะ ชนกลุ่มน้อย

    ได้แก่ ปะหร่อง ไทยใหญ่ ไทยลื้อ จีนฮ่อ (ที่มา : www.chiangmai.go.th ข้อมูลจังหวัดเชียงใหม่)

    6) ลักษณะทางการปกครอง

    จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งการปกครองเป็น 25 อําเภอ 204 ตําบล 2,066 หมู่บ้าน ได้แก่

    1. เมืองเชียงใหม่ 10. แม่อาย 18. อมก๋อย

    2. จอมทอง 11. พร้าว 19. สารภี

    3. แม่แจ่ม 12. สันป่าตอง 20. เวียงแหง

    4. เชียงดาว 13. สันกําแพง 21. ไชยปราการ

    5. ดอยสะเก็ด 14. สันทราย 22. แม่วาง

    6. แม่แตง 15. หางดง 23. แม่ออน

    7. แม่รมิ 16. ฮอด 24. ดอยหล่อ

    8. สะเมิง 17. ดอยเต่า 25. กัลยาณิวัฒนา

    9. ฝาง

    โดยอําเภอกัลยาณิวัฒนา จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ

    เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นเขตการปกครองระดับอําเภอลําดับที่ 25

    ของจังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ประกอบด้วย 3 ตําบล คือ ตําบลแจ่มหลวง

    ตําบลบ้านจันทร์ และตําบลแม่แดด ให้มีเขตการปกครองตามเขตตําบลเดิม โดยให้ตั้งที่ว่าการ

    ที่ตําบลแจ่มหลวง

  • - 10 -

    มีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ดังนี้

    1. หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง จํานวน 166 หน่วยงาน

    2. หน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค จํานวน 34 หน่วยงาน

    3. หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จํานวน 211 แห่ง ประกอบด้วย

    - องค์การบรหิารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่)

    - เทศบาลนคร 1 แห่ง (เทศบาลนครเชียงใหม่)

    - เทศบาลเมือง 3 แห่ง (เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา,

    เทศบาลเมืองแม่โจ้, เทศบาลเมืองต้นเปา)

    - เทศบาลตําบล 93 แห่ง

    - องค์การบริหารส่วนตําบล 113 แห่ง

    7) การเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 10 เขต มีผู้แทน

    ได้เขตละ 1 คน โดยแต่ละเขต (ป ี2554) แบ่งได้ ดังน้ี

    เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย อําเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตําบลช้างเผือก ตําบลแม่เหียะ

    ตําบลสุเทพ ตําบลศรีภูมิ ตําบลช้างม่อย ตําบลพระสิงห์ ตําบลป่าตัน ตําบลหายยา และตําบลช้าง

    คลาน)

    เขตเลือกตั้งที ่2 ประกอบด้วย อําเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตําบลวัดเกต ตําบลฟ้าฮ่าม

    ตําบลหนองหอย ตําบลท่าศาลา ตําบลหนองป่าครั่ง และตําบลป่าแดด) และอําเภอสารภี

    เขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วย อําเภอดอยสะเก็ด อําเภอสันกําแพง และอําเภอแม่ออน

    เขตเลือกตั้งที่ 4 ประกอบด้วย อําเภอสันทราย อําเภอพร้าว และอําเภอแม่แตง (เฉพาะตําบล

    แม่หอพระ)

    เขตเลือกตั้งที่ 5 ประกอบด้วย อําเภอแม่อาย และอําเภอฝาง (ยกเว้นตําบลแม่ข่า)

    เขตเลือกตั้งที่ 6 ประกอบด้วย อําเภอเชียงดาว อําเภอเวียงแหง อําเภอไชยปราการและอําเภอฝาง

    (เฉพาะตําบลแม่ข่า)

    เขตเลือกตั้งที่ 7 ประกอบด้วย อําเภอแม่ริม อําเภอแม่แตง (ยกเว้นตําบลแม่หอพระ) และ

    อําเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตําบลสันผีเล้ือ)

    เขตเลือกตั้งที่ 8 ประกอบด้วย อําเภอหางดง อําเภอสันป่าตอง และอําเภอสะเมิง (เฉพาะ

    ตําบลสะเมิงใต้ และตําบลสะเมิงเหนือ)

    เขตเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วย อําเภอแม่วาง อําเภอจอมทอง อําเภอดอยหล่อ อําเภอกัลยาณิวัฒนา

    อําเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตําบลแม่นาจร) และอําเภอสะเมิง (เฉพาะตําบลยั้งเมิน ตําบลแม่สาบ และตําบลบ่อแก้ว)

    เขตเลือกตั้งที่ 10 ประกอบด้วย อําเภอแม่แจ่ม (ยกเว้นตําบลแม่นาจร) อําเภอฮอด อําเภอดอยเต่า

    และอําเภออมก๋อย ที่มา : ข่าวเผยแพร่สื่อมวลชน ฉบับที่ 36/2554 วันที่ 27 เม.ย. 54เร่ือง กกต. มีมติแบ่งเขตเลือกต้ัง ส.ส.เชียงใหม่

  • - 11 -

    8) ศาสนา ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาพุทธ 91.80 % ศาสนาอิสลาม 1.17 %

    ศาสนาคริสต์ 5.60 % ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกส์ 0.02 % ศาสนาอ่ืน ๆ 1.41 %

    - วัดตามหลักความเช่ือ (ช่ือเป็นศิริมงคล) ได้แก่ วัดหมื่นล้าน วัดหมื่นเงินกอง วัดหม้อคําตวง

    วัดดวงดี วัดลอยเคราะห์ วัดดับภยั วัดชัยพระเกียรติ

    - วัดที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว ได้แก่ วัดพระธาตุดอยสุเทพราช

    วรวิหาร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดแสนฝาง วัดพันเตา วัดพันอ้น ฯลฯ

    9) งานประเพณี เทศกาล

    - งานรม่บ่อสร้าง จัดข้ึนประมาณเดือนมกราคม บริเวณศนูย์หตัถกรรมรม่บ่อสร้าง อําเภอสันกําแพง

    มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน การประกวด และจําหน่ายผลิตภัณฑ์

    ต่าง ๆ

    - งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดข้ึนในเดือนกุมภาพันธ์ มีการจัดขบวนแห่รถบุปผาชาติ และ

    การประกวดพนัธ์ไม้ดอกไม้ประดับ

    - ประเพณีสงกรานต์ (ดําหัว) จัดข้ึนทกุปี ในระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน มีขบวนแห่พระ

    พุทธ-สิหิงค์ และขบวนแห่นางสงกรานต์ การขนทราย รดน้ําขอพรผู้ใหญ่ และการเล่นสาดน้ํา

    - ประเพณีเข้าอินทขิล ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน เปน็การประกอบพิธีบชูาอินทขิล

    ซ่ึงเป็นเสาหลักเมือง โดยการนําดอกไม้ ธูปเทียน มากราบไหว้

    - ประเพณีเดือนยีเ่ปง็ (ลอยกระทง) จัดข้ึนในเดือนพฤศจิกายน มีการจัดขบวนแห่รถและการ

    ประกวด

    10) การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดการศึกษาทุกระดับช้ัน ทุกสังกัด ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา

    อาชีวศึกษา โรงเรียนนานาชาติ สถาบันการศึกษาเอกชน และสถาบันการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ซ่ึงเป็น

    สถาบันที่มีชื่อเสียง เช่น

    - สถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

    ราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ สถาบันการพลศึกษา

    - สถาบันอาชีวศึกษา เช่น วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัย

    สารพัดช่างเชียงใหม่

    11) การคมนาคม การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพ

    มหานคร มีความสะดวก เพราะเป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรม

    จึงมีเส้นทางหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ

    - การเดินทางภายในจังหวัด จะมีรถโดยสาร เรียกว่า รถส่ีล้อแดง หรือ รถแดง คือรถโดยสาร

    รับจ้าง ในรูปแบบของรถสองแถวขนาดเล็กในตัวอําเภอเมืองเชียงใหม่ โดยผู้ขับรวมตัวในรูปสหกรณ์

    ช่ือสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จํากัด ลักษณะการว่ิงของรถจะไม่ประจําทาง โดยจะว่ิงในเส้นทางที่

  • - 12 -

    ผู้โดยสารต้องการคล้ายกับแท็กซ่ี แต่จะรับผู้โดยสารเพ่ิมเติมตลอดทาง และเปล่ียนเส้นทางตาม

    ผู้โดยสาร

    - การคมนาคมทางรถยนต์ ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ (สถานีขนส่งช้างเผือก)

    สําหรับขนส่งภายในตัวจังหวัดเช่ือมอําเภอต่าง ๆ และสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2

    (สถานีขนส่งอาเขต) เป็นสถานีขนส่งระหว่างจังหวัด

    - การคมนาคมทางรถไฟ มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือ

    สถานีรถไฟเชียงใหม่ มีรถไฟสายกรุงเทพ – เชียงใหม่ เปิดบริการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และ

    รถดีเซลรางปรับอากาศ

    - การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ เปิดบริการ

    ทั้งสายการบินภายในประเทศและสายการบินระหว่างประเทศ

    12) การสาธารณูปโภค

    การประปา จังหวัดเชียงใหม่อยู่ในพ้ืนที่การให้บริการของสํานักงานการประปาเขต 9 ซ่ึงมี

    สํานักงานในสังกัดที่ให้บริการพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้

    สํานักงาน หน่วยบรกิาร กําลังการผลิต

    (ลบ.ม./ชม.)

    แหล่งน้าํดิบ พื้นที่การให้บริการ

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาเชียงใหม ่

    แม่ขา่ยเชียงใหม ่ 4,110 แม่น้ําปงิ

    คลองชลประทานแม่แตง

    เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

    อ.เมือง , อ.สันทราย ,

    อ.ดอยสะเก็ด , อ.หางดง ,

    อ.สารภ ี

    หน่วยบริการยหุว่า

    (ไม่ได้ทําการผลติ

    รับน้ําจากแมข่่ายเชียงใหม)่

    20

    คลองชลประทานแม่แตง

    บ่อบาดาล

    อ.สันป่าตอง

    หน่วยบริการแม่วาง 50 บ่อบาดาล

    ลําห้วยแม่วาง

    อ.แม่วาง

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาฮอด

    แม่ขา่ยฮอด 100 แม่น้ําแม่แจม่ ต.หางดง , ต.บ้านแปะ

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาสันกําแพง

    แม่ขา่ยสันกําแพง 120 บ่อบาดาล เทศบาลตําบลสนักําแพง

    เทศบาลตําบลตน้เปา

    อบต.สันกําแพง

    อบต.แม่ปูคา

    อบต.สันกลาง (บางส่วน)

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาแมร่ิม

    แม่ขา่ยแมร่ิม 830 แม่น้ําปงิ

    ลําน้ําแม่สา

    อ.แม่ริม ,

    อ.เมือง (บางส่วน)

  • - 13 -

    สํานักงาน หน่วยบรกิาร กําลังการผลิต

    (ลบ.ม./ชม.)

    แหล่งน้าํดิบ พื้นที่การให้บริการ

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาแมแ่ตง

    แม่ขา่ยแมแ่ตง 140 แม่น้ําปงิ อ.แม่แตง

    หน่วยบริการเชียงดาว 50 แม่น้ําปงิ อ.เชียงดาว

    หน่วยบริการเมืองแกน

    พัฒนา

    100 คลองชลประทานเขื่อน

    แม่งดัสมบูรณ์ชล

    เทศบาลเมือง

    เมืองแกนพัฒนา

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาฝาง

    แม่ขา่ยฝาง 180 น้ําแมม่าว อ.ฝาง

    หน่วยบริการแม่อาย 50 แม่น้ําฝาง

    ลําห้วยแม่อาย

    อ.แม่อาย

    หน่วยบริการไชยปราการ 50 หนองควายตก อ.ไชยปราการ

    การประปา

    ส่วนภูมิภาค

    สาขาจอมทอง

    แม่ขา่ยจอมทอง 100 แม่น้ําปงิ อ.จอมทอง

    หน่วยบริการแม่แจ่ม 100 ลําน้ําแม่แจม่ อ.แม่แจม่

    ข้อมูลการประปา ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาค (www.pwa.co.th)

    การไฟฟ้า

    สํานักงาน พื้นที่ให้บริการ

    (อําเภอ)

    พื้นที่ให้บริการ

    (ตําบล)

    พื้นที่ให้บริการ

    (หมู่บ้าน)

    พื้นที่ให้บริการ

    (ครัวเรือน)

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม ่ 5 58 427 172,836

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอําเภอฝาง 3 19 233 44,598

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอําเภอสันทราย 2 23 212 52,108

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอําเภอแมร่มิ 5 39 371 65,907

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอําเภอสันป่าตอง 3 27 275 60,604

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอําเภอจอมทอง 6 34 333 50,395

    ข้อมูลการไฟฟ้า ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ (www.pea.co.th)

  • - 14 -

    13) การบริการสาธารณสุข

    สถานพยาบาล ปี พ.ศ.2552 มีสถานพยาบาลแผนปัจจุบัน ทั้งส้ิน 47 แห่ง จํานวน

    5,752 เตียง แบ่งเป็น

    - สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 23 แห่ง จํานวน 1,375 เตียง

    - สังกัดกระทรวงอื่น 10 แห่ง จํานวน 2,808 เตียง

    - เอกชน 14 แห่ง จํานวน 1,569 เตียง

    บุคลากรทางสาธารณสุข

    1. แพทย์ จํานวน 1,167 คน

    2. พยาบาล แยกเป็น

    - พยาบาลวิชาชีพ จํานวน 4,169 คน

    - พยาบาลเทคนิค จํานวน 165 คน

    3. เภสัชกร จาํนวน 155 คน

    4. ทันตแพทย์ จํานวน 155 คน ข้อมูลสาธารณสุข ที่มา : www.chiangmai.go.th ข้อมูลจังหวัดเชียงใหม ่

    ปัญหาผู้ติดเช้ือเอดส์และครอบครัว เด็กด้อยโอกาส และผู้พิการ ปัจจัยเส่ียงสําคัญที่ทําให้

    เกิดปัญหาผู้ติดเช้ือเอดส์ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากการป้องกันที่ถูกต้องและเหมาะสม

    การรักสนุก โดยไม่คํานึงถึงผลที่ตามมาไม่ว่ากับตัวเองหรือครอบครัว ด้านปัญหาเด็กด้อยโอกาส

    นอกจากความยากจนแล้ว ยังเป็นผลต่อเนื่องของการที่พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ เด็กต้องอาศัยอยู่กับ

    ญาติหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทํางานได้ โดยมีจํานวนผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว เด็กด้อยโอกาส และ

    ผู้พิการ ในจังหวัดเชียงใหม่แยกรายอําเภอ ดังนี้

    ลําดับที่ อําเภอ ปี 2553 (จํานวนคน)

    ผู้ติดเชื้อเอดส์ เด็กด้อยโอกาส ผู้พิการ

    1 แม่อาย - 6 164

    2 ฝาง 1 13 343

    3 เชียงดาว 13 7 297

    4 ไชยปราการ - 5 162

    5 เวียงแหง 1 2 44

    6 แม่แตง 26 30 317

    7 แม่ริม 18 17 239

    8 พร้าว 1 12 180

  • - 15 -

    ข้อมูลผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว เด็กด้อยโอกาส และผู้พิการ ที่มา : สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง

    ของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม ่(ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2554)

    14) ด้านเศรษฐกิจ

    ในปี 2553 (ม.ค. – ก.ย.) จังหวัดเชียงใหม่มีจํานวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมใน

    ภาคเหนือ จํานวน 18 โครงการ มีมูลค่าการลงทุน 857.4 ล้านบาท การจ้างงาน 1,693 คน โครงการ

    ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมบริการและ

    สาธารณูปโภค

    โครงการท่ีได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนของ

    ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ซ่ึงมีการลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท มีจํานวนทั้งส้ิน 55

    โครงการคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 79.7 ของโครงการท่ีได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยนักลงทุน

    ลําดับที่ อําเภอ ปี 2553 (จํานวนคน)

    ผู้ติดเชื้อเอดส์ เด็กด้อยโอกาส ผู้พิการ

    9 ดอยสะเก็ด 2 15 307

    10 สันทราย 1 13 379

    11 แม่ออน - 3 105

    12 สันกําแพง 5 25 291

    13 สารภี 4 16 403

    14 เมือง 2 8 473

    15 สะเมิง - 6 218

    16 หางดง 1 14 255

    17 แม่วาง 2 21 251

    18 สันป่าตอง 5 48 592

    19 ดอยหล่อ - 10 105

    21 จอมทอง - 11 448

    20 แม่แจ่ม 1 3 218

    22 ฮอด - 9 198

    23 อมก๋อย - 2 64

    24 ดอยเต่า 2 4 157

    25 กัลยาณิวัฒนา - - 21

    รวมทั้งสิ้น 85 300 6,231

  • - 16 -

    ในกลุ่มน้ีให้ความสนใจต่อการลงทุน อันเป็นผลของนโยบายส่งเสริม SMEs ไทย ที่ให้สิทธิประโยชน์

    สูงสุดและเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน สามารถขยายโอกาสทางตลาดผู้ประกอบการไทยมากข้ึน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจและการลงทุนภาคเหนือเชียงใหม ่ www.chiangmai.boi.go.th

    15) ด้านการเกษตร พ้ืนที่ทําการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่มีประมาณ 1,835,425 ไร่ แบ่ง

    ออกเป็น

    พ้ืนที่ปลูกข้าว 515,385 ไร่ พ้ืนที่ปลูกพืชไร่ 192,063 ไร่ พ้ืนที่ปลูกพืชสวน 536,697 ไร่ พ้ืนที่อ่ืน ๆ 367,105 ไร่

    โดยมีพ้ืนท่ีที่ได้รับน้ําจากชลประทาน ประมาณ 1,301,604 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80 ของพ้ืนที่

    การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่มีผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัด ได้แก่ ข้าว ลําไย ล้ินจี่ กระเทียม

    หอมแดง และหอมหัวใหญ่ (ที่มา : www.chiangmai.go.th ข้อมูลจังหวัดเชียงใหม่)

    16) ด้านแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่มีกาํลังแรงงาน ป ี2553 จาํนวน 995,868 คน คิดเปน็ร้อยละ

    59.45 ของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

    ข้อมูลแรงงาน ป ี2553 หมายเหตุ

    - แรงงานที่มงีานทํา (คน)

    - แรงงานที่ว่างงาน (คน)

    987,395

    8,473

    อัตราว่างงาน

    ร้อยละ 0.85

    - อัตราค่าจ้างแรงงาน 171 (บาท/วัน) ป ี2554

    180 (บาท/วัน)

    - แรงงานตา่งด้าว

    (1) สัญชาติพม่า (คน)

    (2) สัญชาตลิาว (คน)

    (3) สัญชาติกัมพูชา (คน)

    52,481

    68

    8 ข้อมูล

    (ต.ค. – ธ.ค. 53) สถานประกอบการ (แห่ง) 11,673

    ผู้ประกันตน (คน) 145,152

  • 17)

    เนื่องใ

    สิริรา

    และท

    ธันวา

    การเรี

    การ

    เพ่ือก

    ศึกษา

    อาชีพที่ต้อ

    1. อ

    2. อ

    3. อ

    4. อ

    5. อข้อมูลด้าน

    ด้านการท่อ

    - สวนเฉ

    ในวโรกาสที่

    าชสมบัติครบ

    ทรงเจริญพร

    าคม 2550

    รียนรู้พืชสวนโ

    จ ัดแสดงนิ

    การเรียนรู้สําห

    างานวิจัย แล

    องการแรงงา

    อาชีพสาขากา

    และของใช้ในค

    อาชีพสาขากา

    อาชีพสาขาโร

    อาชีพสาขากิจ

    อาชีพสาขากาแรงงาน ที่มา

    องเที่ยว มีสถ

    ฉลิมพระเกีย

    พระบาทสม

    บ 60 พรรษา

    ระชนมายุคร

    เป็นแหล่งท่อ

    โลก มีการจัด

    ทรรศการ

    หรับเยาวชนแ

    ละเป็นแหล่งพ

    านมากที่สุด

    ารขายส่ง กา

    ครัวเรือน

    ารผลิต

    รงแรมและภตั

    จการด้านอสั

    ารขนส่ง สถา: สํานักงานแร

    ถานทีท่่องเที่ย

    ยรติราชพฤ

    เด็จพระเจ้าอ

    าในวันที่ 9 มิ

    บ 80 พร

    องเที่ยวเชิงเก

    ดแสดงพันธุ์ไม้

    ด ้านการเก

    และประชาชน

    พบปะกันในก

    - 17

    5 ลําดับ ดัง

    ารขายปลีก ก

    ตตาคาร

    สังหาริมทรพัย

    านทีเ่กบ็สินค้รงงานจังหวัดเชี

    ยวในตัวเมือง

    ฤกษ์ จัดสร้าง

    อยู่หัว ทรงค

    มิถุนายน 25

    รรษา ในวันที

    กษตร ศูนย์ก

    ม้หลากหลายช

    ษตรและอ่ืน

    นทั่วไป เพ่ือก

    กลุ่มเกษตรก

    -

    สุเทพ ก่อ

    ล้านนาไ

    ประชาชน

    นมัสการ

    ครูบาศรีวิ

    ร่วมใจกัน

    ดอยสุเทพ

    และแล้วเ

    ไปถึงวัดพ

    -

    น้ี

    การซ่อมแซม

    ย์ การให้เช่า

    ค้า และการคชียงใหม ่

    งเชียงใหม่ทีน่ิ

    งข้ึน

    รอง

    549

    ที่ 5

    ลาง

    ชนิด

    น ๆ

    การ

    รภายในพ้ืนที

    - อนุสาวรีย์ค

    อนถึงน้ําตกห้

    ไทยผู้เป็นที่เค

    นโดยทั่วไป

    อนุสาวรีย์ครู

    วิชัยเป็นผู้ริเริ่

    นสร้างถนนจ

    พ โดยเริ่มลง

    เสร็จเมื่อป ีพ

    พระธาตุดอย

    ยามยนต์ ขอ

    และกิจกรรม

    มนาคม

    นิยมของนกัท่

    ที่มีการจัดภูมิ

    ครูบาศรีวิชัย

    ห้วยแก้ว ครูบ

    คารพศรัทธ

    ผู้ที่จะข้ึน

    รูบาศรีวิชัยเพื

    มชักชวนให้ป

    จากเชิงดอย

    งมือ เม่ือวันที่

    .ศ. 2478 ร

    สุเทพ 10 กิ

    องใช้ส่วนบุคค

    มทางธุรกิจ

    องเที่ยว เช่น

    มิสถาปัตย์อย่

    ัย ตั้งอยู่ตร

    บาศรีวิชัยเป็น

    ธาของชาวเชี

    นไปดอยสุเท

    พ่ือความเป็น

    ประชาชนชาวเ

    ยข้ึนไปสู่วัดพ

    ที่ 9 พฤศจิกา

    รวมระยะทาง

    กิโลเมตร

    คล

    ย่างสวยงาม

    รงทางข้ึนดอย

    นนักบุญแห่ง

    ชียงใหม่และ

    ทพมักจะแวะ

    นสวัสดิมงคล

    เหนอืรว่มแรง

    พระบรมธาตุ

    ายน 2477

    งจากเชิงดอย

    ตุ

    7

  • ดอยส

    เมือง

    มาก

    ฮิปโป

    หมีแพ

    แสดง

    สวนส

    ที่เป็น

    ความ

    เชียงใ

    อยู่ใน

    จําพว

    เฉพา

    เลือก

    เครื่อ

    เห็นอ

    อากา

    คนเดิ

    ต่างป

    สายท

    น้ําตก

    ป่าสน

    ราชา

    - สวนสัต

    สุเทพ บนถนน

    จังหวัดเชีย

    เช่น เม่น นก

    ปโปเตมัส ช้า

    พนด้า ช่วงช่ว

    งพันธุ์สัตว์น้ํา

    สัตว์เชียงใหม

    นวัดเพียงแห่ง

    มสามารถของ

    - ถนนคน

    ใหม่ เปิดเฉพ

    นบริเวณถนน

    วกเครื่องเงิน

    - ถนนค

    าะวันอาทิตย์

    กสรรมากมา

    งประดับตกแ

    อยู่โดยทั่วไป

    าศหนาว ๆ เดิ

    ดินที่ใหญ่ที่สุ

    ประเทศ

    จังหวัดเชี

    ทาง ได้แก่

    - เส้นทาง

    กแม่สา สวนพ

    - เส้นทาง

    น บ้านวัดจันท

    - เส้นทาง

    นุสรณ์ พระบ

    - เส้นทาง

    ตว์เชียงใหม่

    นห้วยแก้ว

    งใหม่ มีสัตว

    กยูง เสือโคร่

    าง หมี อีเห็น

    วง และ หลินฮุ

    ้า "เชียงใหม่

    ม่มีโบราณสถ

    งเดียวของเวีย

    งสัตว์เช่น นก

    นเดินเชียงใ

    พาะวันเสาร์

    นวัวลายเป็นส

    นอกจากนี้ยั

    นเดินท่าแพ

    เวลาประมา

    ายหลากหล

    แต่ง เส้ือผ้า

    รวมทั้งของกิ

    ดินเที่ยวกาด

    ดในเชียงใหม

    ชยงใหม่ยังมีส

    งหลวงหมายเ

    พฤษศาสตร์ส

    งหลวงหมายเล

    ทร์

    งหลวงหมาย

    บรมธาตุแสน

    งหลวงหมาย

    ม่ ตั้งอยู่บริ

    ตําบลดอยสุ

    ว์อยู่ในสวนสั

    ง เสือขาว ก

    น และยังมีส่ว

    ฮุ่ย จากประเท

    ซู อควาเรีย

    ถานที่ช่ือว่าวัด

    ยงเจ็ดลิน แล

    กมาคอลว์ นา

    ใหม่ (วันเสาร์

    เวลาประมาณ

    ส่วนใหญ่ เป็

    ยงัมีสินค้าพื้น

    พ (วันอาทิต

    าณ 17.00

    ายประเภท

    ของที่ระลึก

    กิน เช่น ขนม

    กลางคืน ถน

    ม่และได้รับค

    สถานที่ท่องเ

    เลข 1096 (

    สมเด็จพระน

    ลข 1095 (แม

    ยเลข 1322

    นไห วัดฟ้าเวี

    ยเลข 1269

    - 18

    เวณทางข้ึน

    เทพ อําเภอ

    สัตว์จํานวน

    กวาง แรด

    วนจัดแสดง

    ทศจีน ศูนย์

    ยม" ภายใน

    ดกู่ดินขาว

    ละมีการแสดง

    าก นกกระทงุ

    ร์) ตั้งอยู่ในเข

    ณ 17.00 -

    นที่ตั้งของหม

    นเมืองมากมา

    ตย์) อยู่บริเว

    - 22.00 น

    ทั้งสินค้าทา

    กระเป๋า ผ้าพ

    มจีนน้ําเง้ียว/น

    นนคนเดินเชีย

    ความสนใจอ

    ที่ยวในอําเภ

    แม่ริม-สะเมิ

    นางเจ้าสิริกิติ ์

    ม่มาลัย-ปาย

    (เมืองงาย-

    ยงอินทร์

    (หางดง-สะ

    -

    ง และมีส่วนจั

    ขตอําเภอเมือ

    - 22.00 น

    มู่บ้านทําเครื่

    ายให้เลือกสร

    วณประตูเมือ

    น. เป็นแหล่ง

    างวัฒนธรรม

    พันคอ โคมไ

    น้ํายา ของ ท

    ยงใหม่ก็เพลิด

    ย่างมาก

    อต่าง ๆ มีแห

    ง) เช่น สวน

    ) เช่น โป่งเดือ

    เวียงแหง) เช

    เมิง) เช่น โคร

    จัดแสดงเพนก

    ง อยู่ที่ถนนวั

    น. พ่อค้าแม่ค้

    องเงิน ซ่ึงทั้

    รร

    องท่าแพต่อไ

    งจําหน่ายสิน

    ม เช่น

    ไฟ ฯลฯ หรือ

    ทานเล่น โรตี

    ดเพลินไปอีก

    จากนักท่อง

    หล่งท่องเที่ย

    กล้วยไม้และ

    อดป่าแป๋ น้ําต

    ช่น พระสถูปส

    รงการหลวงห

    กวินและแมว

    วัวลาย ใกล้กั

    ค้าเป็นคนพ้ืน

    ั้งผลิตและจํา

    ไปยังถนนราช

    นค้าขนาดใหญ

    สินค้าพ้ืนเมื

    อจะเป็นสินค้า

    ฯลฯ หากมา

    กแบบหนึ่ง ซ่ึง

    เที่ยวทั้งชาวไ

    ยวที่หลากหล

    ะฟาร์มผีเส้ือ

    ตกหมอกฟ้า ด

    สมเด็จพระน

    ห้วยผักไห่

    วน้ํา

    กับประตูเมือง

    นเมืองที่อาศัย

    าหน่ายสินค้า

    ชดําเนิน เปิด

    ญ่ มีสินค้าให้

    มือง จําพวก

    าแฟช่ันก็มีให้

    าเยือนในช่วง

    งที่นี่เป็นถนน

    ไทยและชาว

    ลาย แบ่งตาม

    ฟาร์มงูแม่สา

    ดอยสามหมื่น

    นเรศวรมหา-

    ห้

    ห้

    -

  • - 19 -

    - เส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) เช่น พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ป่าเกี๊ยะหรือแม่ตะมาน

    ถ้ําเชียงดาว โครงการหลวงห้วยลึก ดอยอ่างข่าง ดอยผ้าห่มปก

    - เส้นทางหลวงหมายเลข 108 เช่น บ้านถวาย เวียงท่ากาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ทะเลสาบดอยเต่า

    - เส้นทางหลวงหมายเลข 1001 (เชียงใหม่-พร้าว) เช่น อุทยานแห่งชาติศรีลานนา น้ําตกบัวตอง

    และน้ําพุ เจ็ดสี วัดดอยแม่ปัง๋

    18) ด้านอุบัติเหตุจราจรทางบก (สถิติในป ี2553)

    แยกตามสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จํานวน 3,928 ราย ดังน้ี 1. ขับรถเร็วเกินกว่ากฏหมายกําหนด 1,221 ราย

    2. ตัดหน้าระยะกระชั้นชิด 491 ราย

    3. แซงรถอย่างผิดกฏหมาย 138 ราย

    4. ขับรถไม่เปิดไฟหน้า / ไม่ใช้แสงสว่างตามที่กําหนด 14 ราย

    5. ไม่ให้สัญญาณจอด / ชะลอ / เล้ียว 86 ราย

    6. ฝ่าฝืนป้ายหยุดและออกจากทางร่วมทางแยก 124 ราย

    7. ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ / เครื่องหมายจราจร 119 ราย

    8. ไม่ขับรถในช่องทางซ้ายสุดในถนนที่มี 4 ช่องทาง 9 ราย

    9. รถเสียไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณทีก่ําหนด 12 ราย

    10. บรรทกุเกินอัตรา 2 ราย

    11. ขับรถไม่ชํานาญ / ไม่เปน็ 65 ราย

    12. อุปกรณ์ชํารุด 9 ราย

    13. เมาสุรา 208 ราย

    14. หลับใน 10 ราย

    15. เสพสารออกฤทธิต์่อจิต หรือ ประสาท (ยาบ้า) 1 ราย

    16. สัตว์พาหนะว่ิงตัดหน้า เช่น วัว ควาย 22 ราย

    17. อ่ืน ๆ (ระบุ) - ประมาท 1,397 ราย

  • - 20 -

    แยกตามประเภทยานพาหนะ

    ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตจุราจรทางบก ป ี2553

    รายการ ชาย

    (คน)

    หญงิ

    (คน)

    รวม

    (คน)

    1. จํานวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 264 53 317

    1.1 เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ 199 26 225

    1.2 เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 65 27 92

    2. จํานวนผู้บาดเจ็บสาหัส 380 189 569

    3. จํานวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 2,206 950 3,156

    4. จํานวนผู้ต้องหา

    4.1 จับกุม 548 75 623

    4.2 หลบหนี 3 1 4