23
. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ 121 บทที10 การอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล (Digital Preservation) บทนํา ปจจุบันสารสนเทศผลิตออกมาในรูปของดิจิทัลมากขึ้น ทั้งสารสนเทศที่เกิดมาในรูปดิจิทัลโดยกําเนิด (Born digital) และสารสนเทศที่ถูกแปลงใหอยูในรูปดิจิทัล (Reborn Digital) และผลิตออกมาในหลายรูปแบบ ตั้งแตจดหมายอิเล็กทรอนิกส เว็บเพจ ไปจนถึงสื่อผสม ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีการพิมพ อิเล็กทรอนิกส เริ่มตั้งแตการใชโปรแกรมประมวลคํา (Word processor) มาใชในการพิมพ ผนวกกับ ความสามารถของ เครื่องแสกน และกลองดิจิทัล ซึ่งชวยใหการสรางเอกสารดิจิทัลทําไดงายและมีคุณภาพดีขึ้น ในราคาที่ถูกลงเรื่อย และเนื่องดวยขอดีหลาย ประการของขอมูลดิจิทัล อาทิ แกไขปรับปรุงงาย เผยแพรงาย ทั้งโดยผานเครือขายคอมพิวเตอรหรือโดยอาศัยสื่อบันทึกขอมูลรูปแบบตาง ที่นับวันจะมีขนาดเล็กลงแตมี ความจุมากขึ้น จัดเก็บไดหลากหลายรูปแบบไฟล (File format) ขึ้นอยูกับวัตถุประสงคและการนําไปใช รวมทั้ง ความพรอมของผูใช นอกจากนี้สารสนเทศที่อยูในรูปดิจิทัลยังเรียกดูขอมูลไดงาย ผูใชจะเรียกดูขอมูลจาก สวนใดของเอกสารก็ได และโดยอาศัยเครือขายคอมพิวเตอรผูใชสามารถเขาถึงสารสนเทศไดโดยไมมีขอจํากัด ดานเวลาและระยะทาง อยางไรก็ตาม จากการที่สารสนเทศดิจิทัล เปนทรัพยากรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูเสมอ ตามสิ่งแวดลอมดานเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาทั้งในสวนของฮารดแวร ซอฟตแวร และ สื่อบันทึกขอมูล ทําใหหองสมุดและหนวยงานตาง ที่เกี่ยวของกับการอนุรักษมรดกทางปญญาและวัฒนธรรม ของชาติ จะตองเผชิญกับคําถามและความทาทายในการหาวิธีการที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษา สารสนเทศดิจิทัลใหมีอายุการใชงานที่ยืนยาวและสามารถเรียกออกมาใชงานไดในอนาคต เมื่อตองยอมรับ ขอเท็จจริงที่วาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเหลานี้มีอายุการใชงานเพื่อใหบริการบนชั้น (Shelf life) ไมถึง 10 เราจะมั่นใจไดอยางไรวา สารสนเทศที่เราสรางขึ้นมาในวันนีจะสามารถเขาถึงและเรียกออกมาใชไดอยาง ครบถวนและสมบูรณในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง และเมื่อยุคของเรากลายเปนอดีตลูกหลานใน อนาคตจะสามารถเรียกใชขอมูลที่บรรพบุรุษสรางสรรคไวใหในวันนี้ไดอยางไร ขอเท็จจริงเหลานีแสดงถึงความ จําเปนเรงดวนที่ผูที่เกี่ยวของจะตองวางแผนเพื่อปองกันไมใหมรดกทางปญญาและวัฒนธรรมของชาติตอง สูญหายไปพรอมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล (Digital Preservation) คืออะไร ตามความหมายของคําวา อนุรักษ ซึ่งหมายถึง รักษาใหคงเดิม ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. ๒๕๒๕) ดังนั้นในที่นี้จึงใชคําวา อนุรักษ แทนคําวา “Preservation” ซึ่งเปนคําภาษาอังกฤษ Digital Preservation หรือการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัลเปนกิจกรรมที่เกี่ยวของกับการจัดการดานตาง เพื่อใหทรัพยากรสารเทศดิจิทัลสามารถเขาถึงและเรียกออกมาใชไดอยางสมบูรณ ตลอดไป ตราบเทาที่ตองการ และจําเปน ภายใตสภาวะการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของเทคโนโลยี (RLG/OCLC, WWW, 2001 and Digital Preservation Coalition, WWW, 2002) ซึ่งสารสนเทศดิจิทัลจะรวมทั้งสารสนเทศดิจิทัลโดยกําเนิด (Born digital) และสารสนเทศที่ถูกแปลงใหอยูในรูปดิจิทัล (Born digital or Digitization materials) เปาหมายของ Digital preservation หรือ การอนุรักษคือ เพื่อรักษาความสามารถในการแสดง (Display) การคนคืน (Retrieve) และการใชดิจิทัลคอลเล็คชั่น (Digital collection) ไดภายใตการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว

Digital Preservation

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Digital Preservation

Citation preview

Page 1: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

121

บทที่ 10 การอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล (Digital Preservation) บทนํา ปจจุบันสารสนเทศผลิตออกมาในรูปของดิจิทัลมากขึ้น ทั้งสารสนเทศที่เกิดมาในรูปดิจิทัลโดยกําเนิด (Born digital) และสารสนเทศที่ถูกแปลงใหอยูในรูปดิจิทัล (Reborn Digital) และผลิตออกมาในหลายรูปแบบ ตั้งแตจดหมายอิเล็กทรอนิกส เว็บเพจ ไปจนถึงส่ือผสม ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีการพิมพอิเล็กทรอนิกส เริ่มตั้งแตการใชโปรแกรมประมวลคํา (Word processor) มาใชในการพิมพ ผนวกกับความสามารถของ เครื่องแสกน และกลองดิจิทัล ซึ่งชวยใหการสรางเอกสารดิจิทัลทําไดงายและมีคุณภาพดีขึ้นในราคาที่ถูกลงเรื่อย ๆ และเนื่องดวยขอดีหลาย ๆ ประการของขอมูลดิจิทัล อาทิ แกไขปรับปรุงงาย เผยแพรงายทั้งโดยผานเครือขายคอมพิวเตอรหรือโดยอาศัยส่ือบันทึกขอมูลรูปแบบตาง ๆ ที่นับวันจะมีขนาดเล็กลงแตมีความจุมากขึ้น จัดเก็บไดหลากหลายรูปแบบไฟล (File format) ขึ้นอยูกับวัตถุประสงคและการนําไปใช รวมทั้งความพรอมของผูใช นอกจากนี้สารสนเทศที่อยูในรูปดิจิทัลยังเรียกดูขอมูลไดงาย ผูใชจะเรียกดูขอมูลจาก สวนใดของเอกสารก็ได และโดยอาศัยเครือขายคอมพิวเตอรผูใชสามารถเขาถึงสารสนเทศไดโดยไมมีขอจํากัดดานเวลาและระยะทาง อยางไรก็ตาม จากการที่สารสนเทศดิจิทัล เปนทรัพยากรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูเสมอตามส่ิงแวดลอมดานเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาทั้งในสวนของฮารดแวร ซอฟตแวร และ ส่ือบันทึกขอมูล ทําใหหองสมุดและหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการอนุรักษมรดกทางปญญาและวัฒนธรรมของชาติ จะตองเผชิญกับคําถามและความทาทายในการหาวิธีการที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลใหมีอายุการใชงานที่ยืนยาวและสามารถเรียกออกมาใชงานไดในอนาคต เมื่อตองยอมรับขอเท็จจริงที่วาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเหลานี้มีอายุการใชงานเพื่อใหบริการบนชั้น (Shelf life) ไมถึง 10 ป เราจะมั่นใจไดอยางไรวา สารสนเทศที่เราสรางขึ้นมาในวันนี้ จะสามารถเขาถึงและเรียกออกมาใชไดอยางครบถวนและสมบูรณในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง และเมื่อยุคของเรากลายเปนอดีตลูกหลานในอนาคตจะสามารถเรียกใชขอมูลที่บรรพบุรุษสรางสรรคไวใหในวันนี้ไดอยางไร ขอเท็จจริงเหลานี้ แสดงถึงความจําเปนเรงดวนที่ผูที่เกี่ยวของจะตองวางแผนเพื่อปองกันไมใหมรดกทางปญญาและวัฒนธรรมของชาติตอง สูญหายไปพรอมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล (Digital Preservation) คืออะไร

ตามความหมายของคําวา “อนุรักษ” ซึ่งหมายถึง รักษาใหคงเดิม (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) ดังนั้นในที่นี้จึงใชคําวา อนุรักษ แทนคําวา “Preservation” ซึ่งเปนคําภาษาอังกฤษ

Digital Preservation หรือการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัลเปนกิจกรรมที่เกี่ยวของกับการจัดการดานตาง ๆ เพื่อใหทรัพยากรสารเทศดิจิทัลสามารถเขาถึงและเรียกออกมาใชไดอยางสมบูรณ ตลอดไป ตราบเทาที่ตองการและจําเปน ภายใตสภาวะการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของเทคโนโลยี (RLG/OCLC, WWW, 2001 and Digital Preservation Coalition, WWW, 2002) ซึ่งสารสนเทศดิจิทัลจะรวมทั้งสารสนเทศดิจิทัลโดยกําเนิด (Born digital) และสารสนเทศที่ถูกแปลงใหอยูในรูปดิจิทัล (Born digital or Digitization materials)

เปาหมายของ Digital preservation หรือ การอนุรักษคือ เพื่อรักษาความสามารถในการแสดง (Display) การคนคืน (Retrieve) และการใชดิจิทัลคอลเล็คชั่น (Digital collection) ไดภายใตการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว

Page 2: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

122

ของเทคโนโลยี โครงสรางพื้นฐานและองคประกอบขององคกร ซึ่งประเด็นที่ตองศึกษาไดแก (Cornell University Library, WWW, 2003)

- การเก็บรักษาตัวเอกสาร รวมทั้ง Metadata สคริปตและ โปรแกรม ของเอกสาร (เชน ตองมั่นใจวา ส่ือที่บันทึกสารสนเทศ มีการทํา Back-up รวมทั้ง ฮารดแวรและซอฟตแวรที่จะใชเพื่ออาน สารสนเทศดังกลาว ตองไดรับการดูแลรักษาเชนกัน)

- การรักษาสภาพการใชของสารสนเทศดิจิทัล เชน สวนตอประสานกับผูใช หรือการติดตอกับผูใชตองเปนปจจุบัน ผูใชตองสามารถคนคืน และปรับแตงสารสนเทศเพื่อตอบสนองความตองการของตนได

- การรักษาความปลอดภัยของคอลเล็คชั่น เชน การกําหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิในการเขาใช คอลเล็คชั่น การพัฒนา การดูแลรักษาโปรแกรมการจัดการเรื่องสิทธิการเขาใชบริการที่มี คาธรรมเนียม

ซึ่งสอดคลองกับงานของ สตีเฟน แชปแมน (Stephen Chapman) ซึ่งอธิบายวา การเก็บรักษาทรัพยากรเพื่อใหผูใชสามารถเขาถึงไดนั้น ตองการมากกวาการเก็บรักษาตัววัสดุ แตยังตองการองคประกอบอีก 3 ดาน คือ การเก็บรักษาตัวเนื้อหาของสารสนเทศ (Preservation of the material or its "information content") การเก็บรักษาระบบ หรือเครื่องมือที่จําเปนตอการชี้ตําแหนง การคนคืน และ การแสดงทรัพยากร และผูใชที่สามารถใชขอมูลดังกลาวได (Chapman, WWW, 2003) แบบจําลองขององคกรทีท่ําหนาที่เก็บรักษาสารสนเทศดิจิทลั

OAIS Reference Model (Consultative for Space Data System, WWW, 2002)

OAIS (Open Archival Information System) อยูภายใตการดูแลของ ISO เปนรางมาตรฐานเกี่ยวกับระบบ หรือองคกรการเก็บรักษาขอมูลใหมีอายุการใชงานที่ยาวนาน และสามารถเรียกอกมาใชไดโดยผูใชที่เปนกลุมเปาหมายหลัก (Designated Community) OAIS จะนําเสนอรูปแบบขององคประกอบที่จําเปนตอการสรางระบบเพื่อสนับสนุนบริการเก็บรักษาขอมูล จําแนกหนาที่ในการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลออกเปน 7 ประการ ดังนี ้

1. Common Services เปนการเตรียมความพรอมเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานดานตาง ๆ ที่จะใชในการติดตอส่ือสาร และการทํางานรวมกัน ไดแก

• Operating system services เปนบริการในสวนของการดูแลระบบ และการจัดเตรียม สวนตอประสานเพื่อใหคอมพิวเตอรตางแพลตฟอรม หรือ คอมพิวเตอรที่ใชโปรแกรมประยุกตตางกันสามารถทํางานรวมกันได

• Network services เปนการเตรียมความพรอมดานเครือขายเพื่อการสื่อสารขอมูลผาน เครือขายคอมพิวเตอรระดับตาง ๆ เพื่อความสะดวกในการเขาถึงและเรียกใชขอมูลทั้งจากระยะใกลและไกล จากคอมพิวเตอรของผูใช รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยของเครือขาย ไดแก การเขาถึงขอมูล (Access) การพิสูจนตัวจริง (Authentication) การรักษาความลับ

Page 3: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

123

(Confidentiality) การรักษาบูรณภาพ (Integrity) การปฏิเสธการเขาใชไมได (Non-repudiation) และการควบคุมดูแลการสื่อสารระหวางผูสงและผูรับในเครือขาย

• Security services เปนบริการรักษาความปลอดภัยของขอมูล ซึ่งจะจําแนกระดับการรักษาความปลอดภัยตามความสําคัญของขอมูล เชน ผูจัดสงขอมูลเขามาในระบบตองไดรับการพิสูจนตัวจริง ผูที่จะเขาถึงขอมูลในระดับตาง ๆ ตองไดรับการพิสูจนตัวจริงและตรวจสอบสิทธิในการใชและการทํางาน ขอมูลที่จะจัดเก็บถาวร และขอมูลที่จัดสงใหผูใชตองมี บูรณภาพ เปนตน

2. Ingest หรือ การรับขอมูลเขา ทําหนาที่ ดังนี้ • ตรวจรับ Submission Information Package (SIP) หรือสารสนเทศที่จัดสงมาจากผูผลิตที่

เปนสมาชิกวาถูกตองสมบูรณหรือไม การจัดสงขอมูลเขามาอาจมาจากหลายวิธี เชน FTP, อาน จากสื่อบันทึกขอมูล เชน CD-ROM หรืออาจจัดสงเขามาทางไปรษณียในรูปแบบที่ ไมใชดิจิทัล

• การตรวจสอบคุณภาพของ SIP ที่จัดสงเขามา SIP ตองสามารถทํางานไดอยางสมบูรณ • นํา SIP ที่ตรวจสอบคุณภาพแลวมาจัดทํา Archival Information Package (AIP) หรือการ

จัดทําใหอยูในรูปแบบที่จะเก็บรักษาในระยะยาว เชน การแปลงใหอยูในรูปแบบไฟลมาตรฐานที่กําหนด จัดทํา Descriptive Information เพื่อบรรยายลักษณะเอกสารและใชประโยชนในการเขาถึงสารสนเทศ และจัดทํา Preservation Description Information ( หรือ Preservation Metadata) หรือขอมูลที่อธิบายหรือใหรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรักษาสารสนเทศดังกลาว โดยจะจัดทําขอมูลนี้แยกจากตัว SIP

3. Archival Storage เปนการจัดเก็บขอมูลเพื่อเก็บรักษาในระยะยาว ดังนี้ • ตรวจรับเพื่อนํา AIPs มาเก็บไวในสวนการจัดเก็บขอมูลถาวร • จัดลําดับความสําคัญของขอมูล เพื่อแบงลําดับชั้นของการจัดเก็บ การเรียกใชและการรักษา

ความปลอดภัย

Page 4: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

124

• เตรียมการสํารองขอมูล และขอมูลที่เกี่ยวของในการจัดทําขอมูลขึ้นมาใหม (Reproduce) หรือการโอนยายขอมูล เพื่อไมใหขอมูลสูญหาย และไมใหการทํางานเสียหาย

• การตรวจสอบขอผิดพลาดและเตรียมการแกไขขอผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น • การบันทึกขอมูลลงบนสื่อบันทึกขอมูลที่สามารถเคลื่อนยายได เชน Compact disc แตสามารถ

ทํางานผานระบบเครือขายได เพื่อความปลอดภัยของขอมูลกรณีที่เกิดภัยพิบัติ • จัดเตรียมขอมูลในรูปแบบที่ผูใชสามารถเขาถึงและนําไปใชได

4. Data Management ไดแก หนาที่ในการจัดการขอมูล ดังนี้ • Administer database ไดแก การทําหนาที่ดูแลบูรณภาพของการจัดการขอมูลในฐานขอมูล ซึ่ง

ขอมูลที่อยูในความดูแลไดแก Preservation Descriptive Information และ System information ซึ่งเปนขอมูลสนับสนุนการดําเนินงานเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล

• รับคําคน (Queries ) จากผูใชมาประมวลผลและสงผลการคนใหกับผูใช • จัดทํารายงานตามคําขอของงานตาง ๆ เชน Ingest, Access หรือ Administration • แกไขปรับปรุงขอมูล

5. Administration หรือการทําหนาที่ในสวนของการบริหารจัดการ ดังนี้ • ทําการเจรจาเพื่อหาขอตกลงรวมกันกับผูผลิตสารสนเทศ ในการจัดสงสารสนเทศ สิทธิในการ

จัดการและการเปนเจาของสารสนเทศ • ทําหนาที่ติดตามดูแลการทํางานของระบบการเก็บรักษาขอมูลทั้งระบบ เพื่อจัดทํานโยบายและ

มาตรฐานดานตาง ๆ เพื่อความสมบูรณของระบบ • ดูแลการแกไขปรับปรุงขอมูล • ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ • จัดทํานโยบายและมาตรฐานในการเก็บรักษาสารสนเทศ • ตรวจสอบความถูกตองของการนําขอมูลเขามาในระบบใหเปนไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว • ดูแลจัดการขอมูลใหพรอมใชตามการรองขอ • การเตรียมความพรอมในสวนของการบริการลูกคา เชน การจัดเก็บคาบริการ การรับขอคิดเห็น

จากลูกคา เปนตน 6. Preservation Planning หรือการวางแผนในการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล ดังนี้

• ติดตามการใชงานของกลุมผูใชหลัก และผูผลิต เพื่อปรับปรุงระบบใหสอดคลองกับความตองการและการใชงานของผูใช ทั้งในสวนของ คอมพิวเตอรแพลตฟอรม รูปแบบแฟมขอมูล และ ส่ือบันทึกขอมูล

• ติดตามเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในสวนของคอมพิวเตอรแพลตฟอรม (ฮารดแวร และซอฟตแวร) และมาตรฐานของขอมูล ทั้งนี้เพื่อสามารถเลือกวิธีการอนุรักษขอมูลที่เมาะสมที่สุด และวางแผนการเก็บรักษาขอมูลไดถูกตองเหมาะสม

• พัฒนาวิธีการและมาตรฐานในการอนุรักษขอมูล เพื่อสามารถตอบสนองความตองการของผูใชและเพื่อใหสอดคลองกับพัฒนาการของเทคโนโลยี

Page 5: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

125

• พัฒนารูปแบบของสารสนเทศ (Information packaging) วางแผนการโอนยายขอมูล เพื่อนํานโยบายจากฝายบริหารมาปฏิบัติ

7. Access เปนกิจกรรมการเตรียมความพรอมในการเขาถึงสารสนเทศ ดังนี้ • ประสานกิจกรรมการเขาถึงสารสนเทศของผูใช โดยการจัดเตรียมสวนตอประสานกับผูใช

ในการเขาใชสารสนเทศในระบบ • จัดทํา Deliver Information Package (DIP) หรือสารสนเทศฉบับที่จะจัดสงใหกับผูใช เพื่อความ

สะดวกในการจัดสงขอมูล และความสะดวกในการเรียกใชงานของผูใช • การจัดสงขอมูลใหกับผูใชทั้งในแบบออนไลนและออฟไลน ตามความตองการของผูใช

สรุปการทํางานของ OAIS ไดดังภาพ (Consultative for Space Data System, WWW, 2002)

Page 6: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

126

Page 7: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

127

วิธีการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล (Digital Preservation Strategies)

วิธีการเก็บรักษาขอมูลดิจิทัลสามารถทําไดหลายวิธี ไดแก Data Refreshing, Technology preservation, Technology emulation, Information Migration และ Encapsulation ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. Data Refreshing ไดแก การคัดลอก (Copy) ขอมูลจากสื่อบันทึกขอมูลหนึ่งไปจัดเก็บยังส่ือบันทึกขอมูลอีกตัวหนึ่ง

เมื่อส่ือบันทึกขอมูลเดิมลาสมัย หรือกอนที่ส่ือบันทึกขอมูลเดิมจะเสื่อมสภาพ หรือใชงานไมได เชน คัดลอกขอมูลจาก Floppy disk ไปเก็บใน CD-ROM หรือ คัดลอกขอมูลจาก CD-ROM ไปเก็บใน DVD เปนตน การ Refreshing จะเกี่ยวของเฉพาะการเปลี่ยนตัวส่ือที่ใชบันทึกขอมูลเทานั้น จะไมมีผลใด ๆ ตอรูปแบบ (Format) ของขอมูล จึงเปนวิธีการเก็บรักษาขอมูลที่ไมมีความเสี่ยงตอความเสียหายของสารสนเทศดิจิทัล สารสนเทศจะยังคงมีบูรณภาพ (Integrity) หรือ ครบถวนสมบูรณเหมือนเดิมทุกประการ อยางไรก็ตาม เนื่องจากสื่อบันทึกขอมูลดิจิทัลมีอายุการใชงานที่คอนขางสั้น ดังนั้นจึงจําเปนตองมีการยายขอมูลจากสื่อหนึ่งไปเก็บไวยังส่ือที่ ใหมกวาอยูตลอดเวลา และปญหาสําคัญคือ ไมสามารถกําหนดชวงเวลาที่แนนอนไดวาเมื่อใดควรมีการโอนยายขอมูลไปเก็บยังส่ือบันทึกขอมูลตัวใหมเพื่อความปลอดภัยไมสูญหายของขอมูล เนื่องจากหากทําชาไปอาจไมสามารถเรียกขอมูลออกมาใชไดเพราะเทคโนโลยีตกรุนไปแลว แตหากทําเร็วเกินไปก็จะส้ินเปลืองคาใชจาย Refreshing จึงยังไมใชวิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาขอมูลในระยะยาว

2. Technology Preservation ในการเก็บรักษาขอมูลมีหลักสําคัญคือ ขอมูลจะตองสามารถเรียกออกมาอานและนํามาประมวลผลได

ในอนาคต ซึ่งแนนอนวาจะตองอาศัยอุปกรณในการอานขอมูลจากส่ือบันทึกขอมูลดังกลาว เชน Disk drive ดังนั้น Technology preservation จึงไดแก การเก็บรักษาสิ่งแวดลอมดานเทคโนโลยีที่จะใชในการอานเอกสาร ดิจิทัล ทั้งในสวนของฮารดแวรและซอฟตแวร เชน ระบบปฏิบัติการ (Operating System) โปรแกรมเดิมที่ใชอานหรือสรางขอมูล (Original application software) ไดรฟที่ใชอานขอมูลจากสื่อบันทึกขอมูล (Media drives) เปนตน วิธีการนี้ จึงมีลักษณะคลายกับพิพิธภัณฑที่ตองเก็บรักษาทั้งฮารดแวรและซอฟตแวรที่ใชในการอานขอมูลที่เกิดขึ้นในแตละยุคสมัยไวอยางสมบูรณที่สุด ขอดีของวิธีการนี้คือ การรักษา “Look and Feel” ของสารสนเทศดิจิทัล เนื่องจากเปนการเรียกดูจากสภาวะแวดลอมเดิม ดังนั้น ส่ิงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ สําหรับสารสนเทศดิจิทัลบางประเภท Technology preservation อาจจะเปนวิธีการเก็บรักษาที่ดีที่สุดสําหรับการเก็บรักษาในระยะสั้น เนื่องจากวิธีการนี้จะรับรองไดวาสารสนเทศที่จัดเก็บไวจะสามารถเขาถึงและเรียกออกมาใชไดอยางแนนอน เนื่องจากมีการเก็บรักษาส่ิงแวดลอมดานเทคโนโลยีไวอยางสมบูรณเชนเดียวกับการเก็บรักษาตัวทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (Lee, Slattery, Lu, Tang and McCrary, 2002) อยางไรก็ตาม การอนุรักษดวยวิธีนี้มีส่ิงที่ตองพิจารณาคือ ปริมาณสถานที่หรือพื้นที่ที่จะตองใชในการจัดเก็บฮารดแวรและซอฟตแวรที่เกี่ยวของ และตนทุนที่จะเกิดขึ้นในการบํารุงรักษา เพื่อเก็บรักษาสภาพแวดลอมดานเทคโนโลยีเหลานี้ใหใชงานไดในอนาคต โดยเฉพาะในสวนของฮารดแวรซึ่งยอมเส่ือมสภาพไปตามกาลเวลา และอะไหลที่ใชในการซอมบํารุงซึ่งอาจเลิกการผลิตไปแลว ซึ่งเปนขอจํากัดที่สําคัญของการเก็บรักษาดวยวิธี Technology preservation

Page 8: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

128

3. Technology Emulation จะมีลักษณะคลายกับวิธี Technology preservation คือ จะมุงเนนที่การเก็บรักษาโปรแกรมดั้งเดิมที่

ใชสรางเอกสาร โดยมีแนวคิดหลักคือ การเลียนแบบ (Emulation) สภาพแวดลอมดานแพลตฟอรม (Platform) เพื่อใหสามารถอานเอกสารดิจิทัล โดยใชโปรแกรมดั้งเดิมที่ใชในการสรางขอมูลได โดยเปนการทํางานบน แพลตฟอรมใหมที่นํามาใชงานแทนแพลตฟอรมเดิม โดยจะพัฒนา Emulator Program ซึ่งเปนโปรแกรมจําลองสภาพแวดลอมดานแพลตฟอรมเดิมขึ้นมา ไดแก ฮารดแวร และระบบปฏิบัติการ ที่สามารถเรียกอานขอมูลจากโปรแกรมดั้งเดิมได เชน โปรแกรม Commoder 64 พัฒนาขึ้นมาใหสามารถเรียกใชงานโปรแกรมที่ทํางานบน PC ได (National Library of Autralia, WWW, 2002) ดังนั้น Technology emulation จึงไมรวมการจัดเก็บฮารดแวร และระบบปฏิบัติการเดิมไวดวยเปาหมายหลักของ Technology emulation ก็คือ นอกจากรักษาเนื้อหา (Content) แลวยังตองการรักษา “Look and Feel” ของสารสนเทศดิจิทัลใหคงลักษณะเหมือนเดิมทุกประการดวย ดังนั้น ส่ิงที่จําเปนสําหรับวิธีการนี้คือ การลอกแบบบริบทดานเทคนิคของทรัพยากรที่จะทําใหการเรียกใชสารสนเทศดิจิทัลในอนาคตทําไดอยางสมบูรณ และเมื่อมีแพลตฟอรมออกมาใหมก็ยอมตองสราง Emulation program ขึ้นมาใหมเสมอ อยางไรก็ตาม การคาดหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อสราง Emulation program ยังคงเปนส่ิงที่คาดการไดยาก และตองใชการลงทุนสูง (TASI, WWW, 2002) และดวย หลักการของ Technology emulation ทําใหนักวิจัยหลายคนเชื่อวา Technology emulation เปนวิธีการที่ดีที่สุดในการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลในระยะยาว (Deegan and Tanner, 2002; Ganger, WWW, 2000; Rothenenberg, WWW,1999; TASI, WWW, 2002) อยางไรก็ตาม เฮนดเลย (Hendley) ชี้วา Technology emulation นาจะเหมาะนํามาใชในกรณีที่ไมสามารถแปลง (Convert) ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลใหเปน Software independent format ได (Hendley, 1998) และในงานของแกงเกอร (Ganger) ที่ศึกษาถึงขอดีขอดอยของ Technology emulation ไดใหขอสรุปวา Technology emulation ไมใชวิธีการที่ดีที่สมบูรณที่สุดในการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล แตตองใชรวมกับวิธีการอื่น ๆ ขึ้นอยูกับความเหมาะสมของแตละสถานการณ (Ganger, WWW, 2000)

4. Information Migration วิธีการนี้จะแตกตางจาก 3 วิธีการแรก เนื่องจาก 3 วิธีแรกจะเนนที่เทคโนโลยีที่ใชในการเขาถึงและการ

เรียกใชสารสนเทศดิจิทัลโดยไมยุงเกี่ยวกับรูปแบบ (Format) ของตัวสารสนเทศ แต Information Migration จะเนนที่การโอนยาย (Transfer) สารสนเทศจากฮารดแวรและซอฟตแวรระบบหนึ่ง (HW/SW Configuration) ไปสูอีกระบบหนึ่ง หรือจากฮารดแวรและซอฟตแวรรุนหนึ่ง (HW/SW Generation) ไปยังอีกรุนหนึ่ง จุดมุงหมายหลักของ Information Migration คือ บูรณภาพ (Integrity) หรือการเก็บรักษาความถูกตองสมบูรณ ของสารสนเทศ ดิจิทัล และรักษาความสามารถในการคนคืน การแสดงผล และการนําขอมูลไปใชไดแมเทคโนโลยีจะมี การเปลี่ยนแปลงอยูเสมอ อยางไรก็ตาม วิธีการนี้มีขอดอยตรงที่ อาจทําใหเอกสารดิจิทัลสูญเสีย “Look and feel” หลังจากโอนยายขอมูล และที่สําคัญคือ อาจทําใหขอมูลบางสวนสูญหายระหวางการโอนยายขอมูล โดยเฉพาะขอมูลที่มีลักษณะซับซอน เชน เอกสารมัลติมีเดีย และเว็บเพจ เปนตน ส่ิงที่ตองพิจารณาสําหรับวิธีการ Migration คือ การกําหนดตารางเวลาที่เหมาะสมในการโอนยาย ขอมูล (Migrate) เนื่องจากการคาดการณถึงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเปนส่ิงที่ทําไดยาก และขณะที่การกําหนดระยะเวลาที่ขอมูลจะตองสามารถเขาถึงไดเปนประเด็นสําคัญที่ตองคํานึงถึงของวิธีการ Migration ยังมี

Page 9: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

129

อีกส่ิงหนึ่งที่ตองใหความสําคัญเชนกัน คือ การรักษาความถูกตองสมบูรณของขอมูลใหมีอยูตลอดอายุการ เก็บรักษาของสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อสามารถใชเปนหลักฐานอางอิงได โดยเฉพาะในการทําธุรกรรมตาง ๆ การ เก็บรักษาบูรณภาพของเอกสาร (Record integrity) ประกอบดวย ความนาเชื่อถือ (Reliable) ความสมบูรณของเอกสาร (Completeness) การมีความจริงแท (Authenticity) และ มีเนื้อหาถูกตอง (Possess sufficient context) (National Archives of Australia, WWW, 1997)

ความนาเช่ือถือ (Reliability) หมายถึง เอกสารตองเชื่อถือได ความนาเชื่อถือนี้พิจารณาจาก รูปแบบและกระบวนการสรางเอกสาร และความนาเชื่อถือของบุคคลที่เกี่ยวของกับการสรางเอกสารนั้น ๆ ซึ่งจะให ความเชื่อถือที่ตัวสถาบันมากกวาบุคคล ความสมบูรณ (Completeness) เอกสารที่สมบูรณ จะประกอบดวย การใหขอมูลเกี่ยวกับ เวลาและ สถานที่ในการรับ-สงเอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผูสงและผูรับ (ผูที่เอกสารจะถูกสงไปถึง) การลงลายมือชื่อ แสดงตัว การแจงชื่อเรื่อง หรือหัวขอของเอกสาร หรือการแสดงความจํานงของผูเขียน ความจริงแท (Authenticity) ความจริงแทของเอกสาร เปนความตองการในการเก็บรักษาประวัติความเปนมาในการสรางเอกสาร การโอนยายเอกสาร การใช และการเก็บรักษา ตั้งแตเริ่มตนการสรางจนถึงปจจุบัน และมีประเด็นหนึ่งที่ตองพิจารณาคือ เอกสารนั้นตองเปนเอกสารตนฉบับหรือไม ซึ่งในบริบทของเอกสารอิเล็กทรอนิกสจะตางจากเอกสารกระดาษ ซึ่งเอกสารกระดาษจะหมายถึงการเก็บรักษาตัวเลมของเอกสาร แตในบริบทของเอกสารอิเล็กทรอนิกส คําวา ตนฉบับ (Original) จะหมาถึง ตัวเนื้อหา (Content) โครงสราง (Structure) และ บริบท (Context) ของการทํางานเดิม ไมไดหมายความวาตองเก็บทุกคุณลักษณะของฮารดแวรและซอฟตแวรดั้งเดิม ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไมไดวา อาจมีการสูญหายบางสวนเกิดขึ้นในระหวางขั้นตอนของการทํา Migration จากซอฟตแวรรุนหนึ่ง (Version) ไปอีกรุนหนึ่ง หรือจากแพลตฟอรม (Platform) เกาไปยังแพลตฟอรมใหม ซึ่งการสูญหายนี้อาจจะยังสามารถยอมรับไดตราบใดที่ยังสามารถเก็บรักษาสิ่งที่แสดงถึงความถูกตอง หรือความจริงแทของเอกสารเอาไวได บริบท (Context) จะเกี่ยวของกับการเชื่อมโยงระหวางการทํางาน หรือ การเชื่อมโยงระหวางเอกสาร หรือตัวขอมูลกับกระบวนการในการบริหารจัดการที่เกี่ยวของ ตัวอยางเชน การเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นจํานวนมากระหวางการทํางานแตละครั้ง เชน ขอมูลของผูโดยสารที่เมื่อมาถึงสนามบิน จะเชื่อมโยงกับขอมูลของ กองตรวจคนเขาเมืองและหนวยงานดานการทองเที่ยว เปนตน

5. Encapsulation วิธีการ Encapsulation มีจุดมุงหมายเพื่อแกไขปญหาการตกรุนของเทคโนโลยีในสวนของรูปแบบ

แฟมขอมูล (File formats) โดยการจัดทํารายละเอียดเกี่ยวกับการแปล Digital object จัดรวมไวเปนสวนหนึ่งของ encapsulate information วิธีการนี้จะเกี่ยวของกับการสราง Original application เคยที่ใชสรางและเขาถึง ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลบนคอมพิวเตอรแพลตฟอรมในอนาคต สวนหนึ่งของกระบวนการนี้อาจตองทําการ Migration เพื่อใหตัวทรัพยากรอยูในรูปแบบไฟลที่จัดการไดงายขึ้น

Encapsulation ไดแก เทคนิคในการรวมตัวทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล และทุกอยางที่จําเปนตอการสรางและเขาถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล นั้น ๆ เขาไวดวยกันใน Container ที่สรางขึ้น ซึ่ง AOIS ไดอธิบายความหมายของวิธีการ encapsulation ไววา เปนการจัดเก็บตัวทรัพยากรสารสนเทศ (Information package) และขอมูลที่ใชอธิบายวิธีการจัดเก็บทรัพยากร (Preservation description หรือ Preservation metadata)

Page 10: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

130

ไวดวยกันใน Information packaging (OAIS, WWW, 2002) วิธีการ Encapsulation มีจุดมุงหมายเพื่อแกไขปญหาการตกรุนของเทคโนโลยีในสวนของรูปแบบแฟมขอมูล (File formats) เนื่องจากรายละเอียดของวิธีการแปล Digital bit ในทรัพยากรสามารถเปนสวนหนึ่งของ Encapsulated information วิธีการ Encapsulation จะสําเร็จไดก็โดยการใช Physical หรือ Logical structures ที่เรียกวา "Containers" หรือ "Wrappers" เพื่อสรางความสัมพันธระหวางทุกองคประกอบของสารสนเทศ เชน ตัวทรัพยากรกับขอมูลสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ Persistent identifier (การระบุตําแหนง/ที่อยูของสารสนเทศดิจิทัลอยางตอเนื่องแมเมื่อสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู ทั้งนี้เพื่อใหผูใชสามารถเขาถึงสารสนเทศได) Metadata และ Software specification สําหรับการทํา Emulation

วิธีการ Encapsulation อาจประกอบดวยทั้ง Analogue components และ Digital components ตัวอยางในสวนของ Analogue components จะเปนคําแนะนําที่มนุษยสามารถอานได เชน คําแนะนําที่เขียนไวบนตัวส่ือบันทึกขอมูล หรือ กลอง หรือ วัสดุที่หอหุมตัววัสดุสารสนเทศ โดยจะเปนคําแนะนําในการใช ส่ือบันทึกและวิธีการแปลขอมูลที่อยูในส่ือ (Carrier) โดยในสวนของ Analogue components อาจตองมีการเปลี่ยนหรือ Refresh

ประเภทของขอมูลสนับสนุน (Supporting information) ที่ตองเก็บรวมไวในการ Encapsulation (แตตองแยกออกไวตางหากกับตัวทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ไดมีการอธิบายไวใน OAIS ซึ่งอางอิงจากรายงานการศึกษาเรื่อง "Preserving Digital Information" from the Task Force on Archiving of Digital Information” อาจสรุปไดวา สารสนเทศเหลานี้ไดแก ขอมูลที่เปนตัวแทนที่จะใชในการแปลบิตที่เหมาะสมตอการเขาถึงขอมูลที่จะอธิบายแหลง (Source) ของวัสดุสารสนเทศดิจิทัล บริบทที่จะอธิบายความสัมพันธระหวางวัสดุสารสนเทศ ดิจิทัลสารสนเทศที่อยูภายนอก Container การอางอิงเพื่อชี้ไปยังที่อยูของวัสดุสารสนเทศ และ ขอกําหนดที่ แนนอนในการสรางเอกสารที่หามมีการเปลี่ยนแปลง

ทางเลือกในการจัดเก็บขอมูลที่เปนตัวแทนเพื่อใชในการถอดรหัส Bit stream ของวัสดุสารสนเทศ ดิจิทัลที่เก็บรักษาไว ก็คือ การจัดเก็บส่ิงที่จะบงชี้ไปยังตําแหนงที่จัดเก็บสารสนเทศแตละตัว ซึ่งควรจะจัดเก็บไวที่แหลงเดียวกัน (Repository) หรือ เก็บไวที่ศูนยกลาง

งานวิจัยที่เกี่ยวของ เชน การวิจัยเรื่อง “Bento container” ของ Apple computer เพื่อศึกษาการเพิ่มความสามารถในการเขากันได (Compatibility) ของขอมูลระหวางโปรแกรมคอมพิวเตอรแตละตัว โดย Bento จะเปนรูปแบบเฉพาะในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนตัวเนื้อหาที่มีลักษณะผสมผสาน และออกแบบมาเพื่อเปน แพลตฟอรมและเนื้อหาที่เปนกลาง ดังนั้น Bento จะสราง Container ที่สะดวกตอการขนสงขอมูลที่มีลักษณะผสมผสานทุกประเภทระหวางแพลตฟอรมที่หลากหลาย ในสวนงานวิจัยในปจจุบัน ผูที่สนับสนุนการใชวิธีการนี้ในการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล คือ เจฟ โรเธ็นเบิรก (Jeff Rothenberg) ในงานศึกษาเรื่อง "Avoiding Technological Quicksand" อีกคนหนึ่งคือ ไมเคิล เดย (Michael Day) แหง CEDARS (Metadata for Preservation CEDARS Project Document AIW01 Issues และ Approaches to Preservation Metadata) และ ทอม เชฟเพิรด(Tom Shepard) แหง UPF (Universal Preservation Format (UPF) ในงานเรื่อง Conceptual Framework (Lee, Slattery, Lu, Tang and McCrary, 2002)

อยางไรก็ตาม จะเห็นวา วิธีการ Encapsulation ดูคลายกับเปนวิธีการหนึ่งของ Information migration แมวาขอมูลที่เปนทางการเหลานี้จะชวยเลื่อนเวลาของการทํา Migration ออกไปบาง แตอยางไรก็ตาม Encapsulated information ก็ยังตองการการทํา Migration เชนเดียวกัน

Page 11: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

131

ประเด็นที่ตองพิจารณาในการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล ประเด็นดานที่เกี่ยวของกับการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล มี ดังนี้

1. Preservation Metadata Preservation metadata พัฒนาขึ้นมาเพื่อ สนับสนุนและอํานวยความสะดวกในการเก็บรักษา สารสนเทศดิจิทัลในระยะยาว หากจะพูดใหเจาะจงก็คือ Preservation metadata อาจจะนํามาใชใน การจัดการดิจิทัลคอลเล็คชั่น เชน จัดเก็บ ขอมูลเชิงเทคนิค (Technical information) ที่จะใชสนับสนุนการตัดสินใจและการปฏิบัติในการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล จัดเก็บขอมูลเกี่ยวกับการอนุรักษที่ทําผานมา บันทึกผลที่เกิดจากการอนุรักษขอมูลดวยวิธีการตาง ๆ แสดงถึงความมั่นใจดาน Authenticity ของทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัล แต Preservation metadata จะไมใชขอมูลเกี่ยวกับ การจัดการคอลเล็คชั่น (Collection management) และการจัดการดานสิทธิ (Management of rights) อาจกลาวโดยสรุปวา Preservation metadata คือ ขอมูลหรือรายละเอียดเชิงเทคนิคตาง ๆ ที่จําเปนตอการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล อาทิ รูปแบบไฟล โครงสรางของขอมูล วิธีการเรียกใชขอมูล ประวัติการอนุรักษที่ทําผานมา ทั้งในสวนของวิธีการและการตัดสินใจ ดังที่ กิลลิแลนด-สเว็ทแลนด (Gilliland-Swetland) กลาววา การที่ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจะถูกสรางขึ้นมาได และสามารถที่จะอยูรอดไดเพื่อใหสามารถเรียกกลับมาใชไดอีก โดยกระบวนการ Migration จากคอมพิวเตอรฮารดแวรและซอฟตแวรรุนหนึ่งไปยังอีกรุนหนึ่ง หรือโดยการลบออกมาแลวจัดสงไปยังระบบใหมทั้งหมดไดนั้น จําเปนจะตองอาศัย Metadata ที่จะบอกถึงวิธีการเขาถึงและเรียกใชขอมูลดังกลาว (Deegan and Tanner, 2002) ดังนั้น preservation metadata จึงมีความสําคัญในการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล ในฐานะที่เปนขอมูลในการจัดการการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลอีกที ขณะที่ Descriptive metadata schemas เชน MARC หรือ Dublin Core จะใชเพื่อ อธิบายลักษณะและการคนหาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล อาจกลาวไดวา Preservation metadata เปนเซ็ตยอยของ Administrative metadata เนื่องจากใหขอมูลในสวนของการจัดการสารสนเทศ และขอมูลในดานเทคนิค เกี่ยวกับวิธีการเขาถึงเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล รวมทั้ง Authenticity information เชน คุณลักษณะดานเทคนิค ประวัติการเก็บรักษา และขอมูลเกี่ยวกับสิทธิในการปกิบัติเพื่ออนุรักษขอสารสนเทศดิจิทัล (National Library of Australia. Preservation Services Branch, WWW, 2003)

งานวิจัยดาน Preservation metadata มีการศึกษาพัฒนาอยางกวางขวาง เพื่อหาแนวทางในการกําหนด Metadata elements set อยางเหมาะสม โดยหลายโครงการไดยึดการพัฒนา Preservation metadata ตามรูปแบบของ OAIS ทั้งนี้ เพื่อใหม่ันใจวาครอบคลุมขอมูลที่จําเปนตอการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัลไวทั้งหมด OAIS ไดจําแนกขอมูลที่เปนตอการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล ไว ดังนี้

- Content Information - Representation Information - Preservation Description Information (broken down into Reference, Context,

Provenance, and Fixity Information) - Packaging Information. กลุมที่ทําการบุกเบิกงานวิจัยดาน Preservation metadata ในกลุมของหองสมุด ไดแก CEDARS

(CURL Exemplars in Digital Archives), NEDLIB (The Network European Deposit Library) , PANDORA

Page 12: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

132

(Preserving and Accessing Networked Documentary Resources of Australia) ของ The National Library of Australia, OCLC/RLG Working Group on Preservation Metadata. ซึ่งไดพยายามพัฒนา Framework เพื่อนํา Preservation metadata ไปใชจริงในทางปฏิบัติ โดยยึดตาม OAIS reference model โดยทดลองกับทรัพยากรบางประเภท เชน จดหมายเหตุ ภาพถายที่แปลงใหอยูในรูปดิจิทัล (Digitised images) เปนตน

2. Authenticity and Integrity Authenticity ของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จะหมายถึง ระดับความเชื่อม่ันที่ผูใชจะไดรับจากทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลวา ทรัพยากรจะยังคงเหมือนเดิมกับที่มีการอางอิงไวหรือไม (เนื้อหาของทรัพยากรตองเปนอยางที่ควรจะเปน หรือเปนอยางที่แจงไว แสดงถึงความจริงแทของสารสนเทศ) Integrity หรือ บูรณภาพ คือ ความถูกตองสมบูรณของขอมูล ที่จะไมถูกทําใหเปล่ียนแปลงไมวากรณีใด ๆ การที่ตองใหความสําคัญดาน Authenticity เนื่องดวยสภาพแวดลอมแบบดิจิทัลมีความเอื้ออํานวยตอการแกไข การทําซ้ํา ทั้งการทําซ้ําในรูปแบบเดิมและการผลิตออกมาในรูปแบบใหม วิธีการที่ใชในการแปลง การจัดเก็บ และการโอนยาย หรือ การสรางวัสดุสารสนเทศดิจิทัลอาจทําใหสารสนเทศถูกตัดทอน หรือผิดเพี้ยนไป หรือขอมูลบางสวนสูญหายไป ดังนั้น ในกระบวนการของการ Migration จากระบบหนึ่งหรือ จากรูปแบบหนึ่ง ไปยังอีกระบบหนึ่งหรือรูปแบบหนึ่ง อาจทําใหขอมูลเปล่ียนไปจากเดิม ซึ่งขอมูลที่สูญหายไปก็เปนขอมูลหนึ่งที่ตองถูกเก็บรักษาไวเชนกัน การคาดหวังใหเอกสารสามารถทํางานไดจะขึ้นอยูกับซอฟตแวรและความสัมพันธกับเอกสารอื่น ๆ ซึ่งคุณลักษณะตาง ๆ เหลานี้มีความจําเปนตอการสรางความนาเชื่อถือดานความจริงแทของเอกสาร หรือ Authenticity นั่นเอง วิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาขอมูลเพื่อคงไวซึ่ง Authenticity ขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล วา Authenticity มีความสําคัญมากนอยเพียงใด และตองการรักษาไวในระดับใด วิธีการเหลานี้ อาทิ การะบุ URI การจัดทํา Metadata การระบุวันที่ การใสลายมือชื่อดิจิทัล เปนตน นอกจากนี้ การสราง Authenticity ยังสามารถใชวิธี Encapsulation และ Encryption หรือการ เขารหัสลับ ในกรณีของการใส Water mark อาจใชไดกับซอฟตแวรบางตัวเทานั้น และใชเพื่อปองกันการทําซ้ําเทานั้น สวนลายมือช่ือดิจิทัลจะใชเพื่อบันทึกความเปนเจาของและบงบอกถึงบาทของเจาของลายเซ็นที่มีตอเอกสาร

3. ตนทุน (Costs) แมวาคาใชจายในการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัลใหสามารถเขาถึงไดในระยะยาวจะประเมินไดยาก

อยางไรก็ตาม คาใชจาย หรือตนทุนนี้เปนส่ิงสําคัญประการหนึ่งที่ตองพิจารณา และควรทําการศึกษาเปรียบเทียบตนทุนของวิธีการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัลแตละวิธี เนื่องจากตนทุนในการดูแลและเก็บรักษาสารสนเทศ ดิจิทัลในระยะแรกจะสูงกวาสารสนเทศที่อยูในรูปกระดาษ (Phillips, WWW, 1999; Research Libraries Group, WWW, 1996) อยางไรก็ตาม จากบทความเรื่อง Digital Conversion of Research Library Materials สตีเฟน แชปอมน และ แอนเน เคนนี (Stephen Chapman and Anne Kenny) รายงานวา จากการศึกษาเปรียบเทียบเชิงเศรษฐศาสตรระหวางหองสมุดกระดาษกับหองสมุดดิจิทัล พบวา หองสมุดดิจิทัล มีตนทุน-ประสิทธิผล (Cost-effective) สูงกวาหองสมุดกระดาษ จากขอพิสูจน 4 ขอ คือ สถาบันสามารถใช ดิจิทัลคอลเล็คชั่นรวมกัน ดิจิทัลคอลเล็คชั่นสามารถตอบสนองความตองการของผูใชไดมากกวา การเขาถึง

Page 13: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

133

แบบอิเล็กทรอนิกสทําใหการเขาใชสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น และในระยะยาวดิจิทัลคอลเล็คชั่นจะไมเพิ่มตนทุน ทั้งในสวนของการดูแลรักษาและการจัดสงสารสนเทศ (Chapman and Kenny, WWW, 1996)

โทนี เฮนเลย (Tony Hendley) ไดเสนอแนะการวิเคราะหตนทุนของสารสนเทศดิจิทัลออกเปน 7 งาน ไดแก การสรางขอมล (Data creation), การคัดเลือกประเมินขอมูล (Data selection and evaluation), การ จัดการขอมูล (Data management), การแสดงทรัพยากร (Resource disclosure), การใชขอมูล (Data use), การอนุรักษขอมูล (Data preservation) และการจัดการสิทธิ (Rights management) (Hendley, www, 1998)

คาใชจายในการประเมินสารสนเทศดิจิทัล อาจประกอบดวย ตนทุนในการจัดการเอกสาร การนํากระบวนการในการเก็บรักษาทรัพยากรสารสนเทศ เชน การ Refreshing ไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อใหม่ันใจไดถึง บูรณภาพของเอกสาร การประเมินโครงสรางของขอมูลกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบไฟล การบีบอัด และการเขารหัส นอกจากนี้ตองคํานึงถึงตนทุนในการจัดเก็บขอมูล ซึ่งจะครอบคลุมถึงตนทุนในการทําสารสนเทศใหพรอมใช คือสามารถคนหาและเขาถึงได (Hendley, WWW, 1998)

แมวาการจัดเก็บทรัพยากรประเภทกระดาษและทรัพยากรประเภทอื่นที่ไมใชส่ือดิจิทัล จะมีตนทุนสูงและมีปญหาอยูบาง อยางไรก็ตาม ทรัพยากรกลุมนี้จะไมมีปญหาสําหรับการใชในระยะยาว ในทางตรงขามหากเปนสารสนเทศดิจิทัล จะตองทําการดูแลรักษาโปรแกรมสําหรับเรียกใชเอกสารดังกลาวไวดวยเพื่อที่จะสามารถเรียกใชงานไดในอนาคต ดังนั้นจึงจําเปนตองคํานึงตนทุนในการเก็บรักษาโปรแกรมเหลานี้ดวย

4. การคัดเลือก (Selection) เชนเดียวกับสารสนเทศในรูปแบบดั้งเดิมที่จะไมเก็บทุกอยาง แตจะคัดเลือกเก็บรักษาไวบางรายการ

เทานั้น สารสนเทศดิจิทัลก็ตองมีกระบวนการในการคัดเลือกเพื่อจัดเก็บเชนเดียวกัน เพียงแตสารสนเทศดิจิทัลจะมีกรอบระยะเวลาของการตัดสินใจที่ส้ันกวา เนื่องจากสื่อบันทึกขอมูลดิจิทัลมีอายุการใชส้ันและตกรุนเร็ว หอสมุดแหงชาติออสเตรเลียไดกําหนดหลักเกณฑในการอนุรักษทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเพื่อใหสามารถเขาถึงไดในระยะยาวไว ดังนี้ : “การเขาถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ควรจะอนุรักษใหมีไวตราบใดที่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นยังมีคุณคา หรือมีความสําคัญ ซึ่งอาจพิจารณาจากความสมดุลระหวางตนทุน และประโยชนที่ไดรับ รวมทั้งความตองการและความสนใจของผูใชในอนาคต” (National Library of Australia, www, 2003)

หนวยงานที่มีนโยบายในการคัดเลือกทรัพยากรไวในคอลเล็คชั่น ไดแก หองสมุด พิพิธภัณฑและหองแสดงภาพ ซึ่งนโยบายเหลานี้จะเปนจุดเริ่มตนอยางดีในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเพื่อทําการอนุรักษ สําหรับหอจดหมายเหตุเปนหนวยงานที่มีการพัฒนาแนวทางในการคัดเลือกและเก็บรักษาทรัพยากรสารสนเทศมานานแลว ซึ่งจะมีรายละเอียดที่คอนขางชัดเจนทั้งในสวนของเกณฑการคัดเลือกและการกําหนดอายุการเก็บรักษาทรัพยากร อยางไรก็ตาม หากจะนํามาใชกับสารสนเทศดิจิทัลควรตองพิจารณาถึงประเด็นตอนี้ดวย อาทิ ความนาเชื่อถือในเรื่องความจริงแทของขอมูล (Authenticity) ความสามารถในการเขาถึงไดเสมอ (Accessibility) และ บริบทแวดลอม (Context) อยางไรก็ตาม หลักการที่วา การเขาถึงทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัล ควรจะอนุรักษใหมีไวตราบใดที่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นยังมีคุณคา หรือมีความสําคัญนั้น ยังไมไดเปนที่ยอมรับโดยทั่วไป ตัวอยางเชน ในที่ประชุมการระดมความคิดเกี่ยวกับหนาที่ความรับผิดชอบในการอนุรักษทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลในสหราชอาณาจักรและไอแลนด มีขอคิดเห็นวา เมื่อทรัพยากรไดรับการคัดเลือกแลว

Page 14: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

134

วาจะตองทําการอนุรักษ ก็ควรที่จะไดรับการอนุรักษไวตลอดไป (Haynes, Streatfield, Jowett, and Blake, www,1997)

นอกจากนี้ยังมีปจจัยอื่น ๆ อาทิ ความเปนไปไดและตนทุนที่เกี่ยวของกับการอนุรักษการเขาถึงทรัพยากร ที่ควรนํามาเปนเกณฑในการพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรเชนเดียวกัน และสิ่งที่เกี่ยวของอื่น ๆ ไดแก รูปแบบแฟมขอมูลที่ใช การจัดการเอกสารที่ใช สิทธิ์ที่ติดมากับทรัพยากร ซึ่งจะมีผลตอการจัดหาทรัพยากรที่จะนํามาใชเพื่อการดูแลรักษาการเขาถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เมื่อคัดเลือกวัสดุสารสนเทศที่ตองเก็บรักษา ไดแลว ประเด็นตอมาที่ตองพิจารณาควบคูกันไปคือ องคประกอบของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่จะตอง เก็บรักษาไว เชน การเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น การทํางานรวมกับเอกสารอื่น บริบทที่เกี่ยวของหรือสนับสนุน และ 'Look and Feel' ซึ่งอาจสูญหายไประหวางกระบวนการเก็บรักษา ซึ่งในบางกรณีอาจเปนไปไมไดที่จะ เก็บรักษาองคประกอบเหลานี้ไว เกณฑการพิจารณาเพื่ออนุรักษการเขาถึงทรัพยากรเหลานี้อาจตองนํามาพิจารณาเพื่อปรับปรุงแกไขอีกครั้งเมื่อเวลาผานไป

การพิจารณาวาสารสนเทศใดที่ควรจะคัดเลือกเขามาเพื่อทําการเก็บรักษา ควรงมีการกําหนดวิธีการในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่มีคุณคา การพิจารณาความคุมคาในการเก็บรักษา และใครที่ตองเปนผูพิจารณา ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลบางรายการผูผลิตทรัพยากรเองจะเปนผูนํามาเสนอตอสถาบันบริการสารสนเทศ อยางไรก็ตาม สถาบันบริการสารสนเทศยังคงตองพิจารณาถึงกิจกรรมที่สามารถกระทํากับ สารสนเทศดังกลาวได โดยเฉพาะประเด็นดานกฎหมายที่เกี่ยวของกับเอกสารดิจิทัล

5. ความรวมมือ (Cooperation) ไดแกการทํางานรวมกันระหวางหอจดหมายเหตุกับหองสมุดดิจิทัล ในการแลกเปลี่ยนขอมูลและใช

ขอมูลรวมกันได โดยอาศัยส่ิงแวดลอมที่มีอยูคือ อินเทอรเน็ต รูปแบบและกระบวนการทํางานที่ไดมาตรฐานควรไดรับการพัฒนาอยางจริงจัง

ในสังคมดิจิทัลซึ่งการติดตอส่ือสารและทํางานรวมกันสามารถทําไดผานทางเครือขายคอมพิวเตอร บทบาทและความสัมพันธขององคกรที่เกี่ยวของไดเปล่ียนแปลงไป ผูออกแบบระบบสารสนเทศและผูจัดหา ผูสรางสรรคผลงาน สํานักพิมพ ผูเผยแพร ผูรวบรวม และผูใหบริการเขาถึงสารสนเทศ ตางตองมีบทบาทในการสรางความเชื่อม่ันวาสารสนเทศดิจิทัลจะสามารถเขาถึง หรือเรียกออกมาใชไดในระยะยาว เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแตละหนวยจะสงผลถึงหนวยอื่น ๆ ทั้งในปจจุบันและอนาคต ดังนั้น จึงควรมีการกําหนดบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของแตละฝายอยางชัดเจน เพื่อความสอดคลองในการทํางานรวมกัน ทั้งในสวนของการสราง การใช การจัดการ การเผยแพร และการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล

ลักษณะความรวมมือ อาจใชรูปแบบการกระจายความรับผิดชอบใหกับแตละหนวยงานซึ่งอาจแบงตามเนื้อหาของสารสนเทศที่รับผิดชอบ เนื่องจาก จะมีความเขาใจและเห็นถึงความสําคัญของสารสนเทศที่ จัดเก็บและใหบริการไดชัดเจนกวา จาก Statement of Principles for the Preservation of and Long-Term Access to Australian Digital Objects, ซึ่งจัดทําโดยหอสมุดแหงชาติออสเตรเลีย ไดกลาวถึงลักษะของความรวมมือไววา “การจัดหา การคัดเลือก การทํารายการ และการกําหนดอายุของสารสนเทศดิจิทัล จะประสบความสําเร็จมากที่สุดดวยความรวมมือในลักษณะการกระจายความรับผิดชอบใหกับแตละสถาบัน” (National Library of Australia, www, 2002)

Page 15: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

135

บทบาทของผูสรางสรรคผลงาน (Role of Creators) จากรายงานการศึกษาของ the (US) Task Force on Archiving of Digital Information เรื่อง

Preserving Digital Information: Final Report and Recommendations กลาววา “หากผูสรางสรรคผงาน/ ผูใหบริการ/เจาของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลยอมรับถึงความรับผิดชอบเบื้องตนในการเก็บรักษาผลงานของตนเอง พวกเขาจะเริ่มมองเห็นหลักการของการเปนสวนหนึ่งในการโอนยาย (Migration) ขอมูล รวมทั้ง กระบวนการอื่น ๆ ในการอนุรักษขอมูลในทั้งขั้นตอนของการสรางสรรคผลงาน และการจัดทํา Metadata ที่สําคัญและจําเปนตอการอนุรักษสารสนเทศซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศจะไดนําไปปฏิบัติตอไป ซึ่งหากไมมีความรวมมือนี้สถาบันบริการสารสนเทศอาจจะไมสามารถอนุรักษวิธีการเขาถึงทรัพยากรสารสนเทศเหลานี้ได แมวาตองการจะทําก็ตาม นอกจากนี้ หนวยงานขนาดใหญ เชน มหาวิทยาลัย ซึ่งเปนองคกรที่ผลิตสารสนเทศออกมาเปนจํานวนมาก หากตองการรวบรวมสารสนเทศของหนวยงานควรตองใหความสําคัญกับการกําหนดหนาที่ความรับผิดชอบในการอนุรักษสารสนเทศที่สรางขึ้นใหสามารถเขาถึงไดในระยะยาว (The Commission on Preservation and Access and The Research Libraries Group, WWW, 1996)

บทบาทของสํานักพิมพ (Role of Publishers) บทบาทของสํานักพิมพในการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล คือ การเก็บรักษาสารสนเทศของสํานักพิมพให

สามารถเขาถึงและเรียกออกมาใชงานไดในอนาคต และนอกจากนี้ในสวนของสํานักพิมพมีส่ิงที่ตองพิจารณาเพิ่มคือ การจัดเตรียมสารสนเทศดิจิทัลของสํานักพิมพใหอยูในรูปแบบที่เหมาะกับการใชงานในหองสมุดดวย เชน เปนรูปแบบ (Version) ที่สามารถผลิตซ้ําได เชน ในลักษณะของการพิมพออกทางเครื่องพิมพ การบันทึกลงส่ือบันทึกขอมูล การจัดสงทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส ภายใตการคุมครองดานลิขสิทธิ์

บทบาทภายในองคกร (Roles within Organizations) ทุกแผนกภายในองคกรที่เกี่ยวของกับการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัลใหสามารถเขาถึงไดในระยะยาว

ตองไดรับการมอบหมายหนาที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน บุคคลเหลานี้ เชน ผูจัดการฝายธุรกิจ เจาหนาฝายเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ และผูผลิตสารสนเทศแตละคน เปนตน ตัวอยางโครงการที่ทําการศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษสารสนเทศดิจิทัล (Lee, Slattery, Lu, Tang and McCrary, 2002)

1. Australian projects เริ่มทําการศึกษาเกี่ยวกับ Digital preservation ตั้งแตป 1994 โดยใหความสนใจศึกษาการจัดเก็บ

วัสดุดิจิทัลหลากหายประเภท อาทิ เอกสารอิเล็กทรอนิกส (Electronic records) ส่ิงพิมพออนไลน (Online publications) ขอมูลเสียงที่อยูในรูปดิจิทัล (Digital audio resources) วิทยานิพนธ (Theses) วัสดุแผนที่ (Cartographic materials) โครงการที่สําคัญไดแก

- The Victorian Electronic Records Strategy (VERS) ทําการพัฒนามาตรฐานในการจัดการและเก็บรักษาเอกสารอิเล็กทรอนิกส ซึ่งวิธีการที่ VERS แนะนําคือ การ Encapsulate ตัวเอกสารและบริบทที่ เกี่ยวของไวกับเอกสารโดยใช XML

Page 16: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

136

- The Preserving and Accessing Networked Documentary Resources of Australia (PANDORA) ของหอสมุดแหงชาติออสเตรเลีย ทําการศึกษาการจัดเก็บเอกสารเว็บ โดยมีวัตถุประสงคหลัก คือ ตองการเก็บรักษาสิ่งพิมพออนไลนใหสามารถเขาถึงไดในระยะยาว โดยวิธีการที่ใชคือ Migration โดยทดลองกับเอกสาร HTML โดยทําการทดลองเปลี่ยนแปลง Source code ของเอกสาร HTML โดยนําแท็กที่เลิกใชแลวออกไปและนําแท็กใหมเขามาแทนที่ ทั้งนี้เพื่อให เขากันไดกับเว็บบราวเซอรในอนาคต

2. CEDARS เปนโครงการของ The Consortium of University Research Libraries ซึ่งเปนการรวมตัวกันของ หองสมุดมหาวิทยาลัยและหอสมุดแหงชาติในสหราชอาณาจักรและไอแลนด โครงการนี้ใชรูปแบบของ OAIS ซึ่งเปนรูปแบบของงานจดหมายเหตุ โดยมีการเก็บรักษาขอมูลเปนระบบยอยรวมอยูดวย โดยโครงการลาสุดเปนการศึกษารวมกันระหวาง NEDLIB ในยุโรป CEDARS ในสหราชอาณาจักร และ PANDORA ในออสเตรเลีย CEDARS มีวัตถุประสงคเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาขอมูล ทั้งนี้เพื่อสามารถใหคําแนะนําแกหองสมุดในการเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังทําการศึกษาวิเคราะหถึงคาใชจายในการ เก็บรักษาขอมูล วิธีการที่ CEDARS สนใจศึกษาไดแก Migration, Emulation และ Data refreshing ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบระหวางวิธีการ Migration กับ Emulation ในการเก็บรักษา Older digital materials พบวาทั้งสองวิธีเหมาะกับวัสดุดิจิทัลตางประเภทกัน และเชื่อวาไมมีวิธีใดที่จะสามารถแกปญหาทุกอยางได การเลือกใชวิธีการอนุรักษเพื่อที่จะสามารถเขาถึงขอมูลไดอยางสมบูรณขึ้นอยูกับธรรมชาติของทรัพยากรแตละประเภท และวัตถุประสงคในการอนุรักษ นอกจากนี้ CEDARS ยังสนใจศึกษาในประเด็นการสูญเสียของขอมูล (Information loss) ที่เกิดจากการเก็บรักษาดวยวิธีตาง ๆ

3. CAMiLEON เปนโครงการที่ไดรับทุนสนับสนุนจาก Joint Information Systems Committee (JISC) ซึ่งอยูที่

สหราชอาณาจักร และ The National Science Foundation (NSF) ในสหรัฐอเมริกา โดยประเด็นที่สนใจศึกษาไดแก การนําเทคโนโลยี Emulation ไปปฏิบัติในการเก็บรักษาขอมูลดิจิทัล โดยสนใจในสวนของการศึกษา ศักยภาพของ Emulation ในการกําหนดอายุของฟงกชันการทํางานตาง ๆ และการรักษา Look and feel ของวัสดุสารสนเทศดิจิทัล มีจุดมุงหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือ (Tools) แนวทาง (Guide line) และตนทุนของวิธีการ Emulation โดยศึกษาเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ โดยทําการทดสอบกับผูใชทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลทั้งในส่ิงแวดลอมเดิมและสิ่งแวดลอมเสมือนที่สรางขึ้น โดยนําเสนอแนวทางในการใชวิธีการ Emulation และอภิปรายวา Emulation เปนวิธีการที่ใชไดกับทั้งวัสดุสารสนเทศดิจิทัลที่มีลักษณะซับซอน ซึ่งรวมแฟมขอมูลกระทําการ (Executable file) ไวดวย และวัสดุสารสนเทศที่กระบวนการจัดการไมไดอยูในรูปของอิเล็กทรอนิกส

4. NEDLIB ดําเนินการโดยคณะกรรมการถาวรของ the Conference of European National Libraries (CENL)

ในป 1998 โดยไดรับทุนสนับสนุนจาก European Commission’s Telematics Application Programme ซึ่งประกอบดวย หอสมุดแหงชาติในยุโรป 8 แหง หอจดหมายเหตุแหงชาติ 1 แหง และ สํานักพิมพชั้นนํา โดยผูนําของโครงการคือ หอสมุดแหงชาติเนเธอรแลนด มีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาโครงสรางรูปแบบการทํางานงาย ๆ

Page 17: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

137

และเครื่องมือพื้นฐานในการสรางระบบเพื่อเก็บรักษาสิ่งพิมพอิเล็กทรอนิกส นอกจากนี้ โครงการนี้ยังประยุกตใช OAIS Migration model ดวย วัตถุประสงคหลักของโครงการ NEDLIB คือ เพื่อทําความขาใจถึงขอดีและขอดอยของวิธีการเก็บรักษาขอมูลในระยะยาวแตละวิธี โดยทําการจําแนกลักษณะของสิ่งพิมพอิเล็กทรอนิกส และวัสดุสารสนเทศดิจิทัลกลุมอื่น ๆ การเก็บรักษาที่เกี่ยวของ และความตองการดานความจริงแท (Authenticity requirement) และเนนการศึกษาในดานตนทุน-ประสิทธิผล (Cost-effectiveness) ขอหามดานกฎหมาย ขอตกลงกับสํานักพิมพ และความตองการในการเขาถึงของผูใชสารสนเทศ เมื่อมีการนํานโยบายการเก็บรักษาขอมูลมาใช อยางไรก็ตาม โครงการนี้ไดมุงการศึกษาไปที่ประเด็นดานเทคนิคในการเก็บรักษาขอมูลดิจิทัลซึ่งผูที่ทําการศึกษาในระยะแรกคือ เจฟ โรเธนเบิรก (Jeff Rothenberg) โดยทดลองสราง Prototype ขึ้นมาเพื่อทดสอบวิธีการเก็บรักษาขอมูลตามวิธีการ Emulation โดยใช Commercial emulation tools เปนตัวทดสอบ ผลการทดลองพบวา Emulation นาจะทํางานไดตามทฤษฎี โดยสรุปวา Emulators ที่เหมาะสมสามารถใชแพลตฟอรมที่ตกรุนได

5. Kulturarw Heritage เปนโครงการของ Royal Library ในสวีเดน ทําการทดสอบทฤษฎีการรวบรวม (Collecting) การจัดการจดหมายเหตุ (Archiving) และ การจัดเตรียมความพรอมเพื่อการเขาถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกสของสวีเดน โดยใช Crawler หรือ Robot ในการรวบรวมเว็บเพจของสวีเดนแบบอัตโนมัติ แมวาในปจจุบันโครงการยังไมไดมุงเนน มาที่การเก็บรักษาขอมูล แตโครงการนี้กําลังขยายขอบเขตความรวมมือมายังหนวยงานในยุโรปตอนเหนือซึ่งอาจ ทําใหโครงการนี้เริ่มทําการศึกษาถึงวิธีการเก็บรักษาจดหมายเหตุเหลานี้ในระยะยาว

6. Library of Congress ปจจุบัน The Computer Science and Telecommunications Board (CSTB) แหง The National

Academies มอบหมายให The Committee on the Information Technology Strategies รวมกับ Library of Congress เพื่อใหคําแนะนําเกี่ยวกับการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล ในรายงานของคณะกรรมการไดรวม ขอเสนอแนะเกี่ยวกับการขยายโครงสรางพื้นฐานดานเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสวนของ เครือขาย ฐานขอมูล และการรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการนํารองของหอสมุดรับสภาอเมริกันที่ทํารวมกับ Internet Archive มีวัตถุประสงคเพื่อจัดการจดหมายตุที่เปนเอกสารเว็บโดยทําการเก็บรักษาเว็บไซตดานการเมืองทุกแขนง โดยใช Digital Library SunSITE Collection และ Preservation Policy ของ มหาวิทยาลัย แคลิฟอรเนียร เบรกลีย ซึ่งมีการรวบรวมขอมูลดิจิทัลหลายระดับ เปนแนวทาง

7. NARA: Persistent Archives and Electronic Records Management โครงการ NARA (National Archives and Records Administration) เปนโครงการที่ริเริ่มโดย

San Diego Supercomputer Center โดยไดรับทุนสนับสนุนจาก NARA มีจุดมุงหมายเพื่อพัฒนาการดําเนินงานหมายเหตุอยางตอเนื่อง ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการเลือกสรร การจัดเก็บ การคนพบ และการเก็บรักษา ดิจิทัลคอลเล็คชั่น โดยตองการที่จะเก็บรักษาโครงสรางของดิจิทัลคอลเล็คชั่นใหสอดคลองกับตัววัสดุสารสนเทศซึ่งเปนสวนหนึ่งของคอลเล็คชั่น เปาหมายที่สําคัญคือ การเก็บรักษาทั้งตัวขอมูลและบริบทแวดลอมที่จะใชในการอานขอมูล วัตถุประสงคของโครงการ คือ ตองการเก็บรักษาขอมูลดิจิทัลใหอยูไดเปนรอยป โดยการพัฒนา ส่ิงแวดลอมที่สนับสนุนการ Migrate คอลเล็คชั่นไปไวยังซอฟตแวรระบบใหม โครงสรางพื้นฐานที่วางไว

Page 18: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

138

ประกอบดวย ศูนยซุปเปอรคอมพิวเตอร หองสมุดดิจิทัล ส่ิงแวดลอมดานคอมพิวเตอรที่มีอยูทั่วไป และนํา XML มาเปนมาตรฐานในการจัดเก็บขอมูล เพื่อใหสามารถแลกเปลี่ยนขอมูลกันได

8. InterPARES โครงการ The International Research on Permanent Authentic Records Electronic Systems

(InterPARES) เปนโครงการวิจัยรวมระดับนานาชาติ โดยความรวมมือของนักวิชาการดานจดหมายเหตุ นักวิชาการดานวิศวกรรมคอมพิวเตอร สถาบันจดหมายเหตุแหงชาติ และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาองคความรูและทฤษฎีที่จําเปนตอการเก็บรักษาขอมูลใหมีอยูอยางถาวรโดยใชระบบอิเล็กทรอนิกส ขอบเขตการวิจัยประกอบดวย การจําแนกองคประกอบของเอกสารอิเล็กทรอนิกสที่จําเปนตองดูแลรักษา พัฒนาเกณฑในการพิจารณาคัดเลือกเอกสารที่ควรตองเก็บรักษา และสรางกฎในการพัฒนานโยบายการเก็บรักษา ขอมูลทั้งในระดับนานาประเทศ ระดับประเทศ และระดับองคกร โดยไดมีการจําแนกขอบเขตการวิจัยออกเปน 4 ดาน คือ ความจริงแท (Authenticity), การประเมินคา (Appraisal), การเก็บรักษา (Preservation), การวางแผนยุทธศาสตร (Strategies) โดยในสวนของ Authenticity มีวัตถุประสงคเพื่อ จําแนกองคประกอบของเอกสารอิเล็กทรอนิกสที่ตองมีการเก็บรักษา ในขณะที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพื่อรักษาความมีอยูจริงของเอกสาร โดยในขั้นที่หนึ่งจะทําการพัฒนาแนวทางในการวิเคราะหและประเมินเอกสารอิเล็กทรอนิกส โครงการนี้ตั้งอยูที่ School of Library, Archival and Information Studies, University of British Columbia ประเทศ แคนาดา

9. PRISM โครงการ The Preservation, Reliability, Interoperability, Security Metadata (PRISM) เปน

โครงการของ Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา เปนโครงการระยะ 4 ป ไดรับทุนสนับสนุนจาก Digital Library Initiative เพื่อศึกษาและพัฒนานโยบายและเทคนิคที่จําเปนตอการรักษาบูรณภาพของหองสมุดดิจิทัล โดยมุงเนนที่การศึกษาความสามารถที่จะอยูรอดในระยะยาวของสารสนเทศดิจิทัล ความเชื่อถือไดของทรัพยากร สารสนเทศและบริการสารสนเทศ การทํางานรวมกัน การรักษาความปลอดภัย และ Metadata ทิศทางปจจุบันของโครงการนี้มุงไปที่การติดตามบูรณภาพของทรัพยากรสารสนเทศประเภท Web-based และผลักดันนโยบายในการเก็บรักษาไปยังเจาของเว็บไซตและผูใชสารสนเทศ การติดตามทรัพยากรจะประกอบดวยการ Capture เว็บเพจแบบอัตโนมัติโดยอาศัย Crawler และการทํางานโดยมนุษยในการรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพขององคกรโดยเฉพาะในสวนของทรัพยากรสารสนเทศและคอลเล็คชั่น วัตถุประสงคที่สําคัญคือ การศึกษาในดาน ตนทุน-ประสิทธิผล และ Event-based metadata เพื่อใหผูใชเขาใจนโยบายในการเก็บรักษาและสามารถนําไปปฏิบัติได

10. Canadian Projects การศึกษาในเรื่อง E-preservation เปนการศึกษาภายใตความรวมมือของ หอสมุดแหงชาติแคนาดา

กับ Canadian Initiative on Digital Libraries (CIDL) โดยมีวัตถุประสงคเพื่อ (1) เพื่อใหชาวแคนาดาสามารถเขาถึงนโยบายไดงาย (2) เพื่อทําการวิจัยเกี่ยวกับการสราง การใช และการเก็บรักษาดิจิทัลคอลเล็คชั่น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดซื้อวัสดุดิจิทัล รูปแบบของสารสนเทศดิจิทัล และ Metadata

Page 19: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

139

11. Preservation Project at National Institute of Standard and Technology (NIST) โครงการของ NIST มีดังนี้ - Longevity testing ทําการศึกษาเกี่ยวกับผลของความรอนและความชื้น และแสง ตออายุการ

ใชงานของ Optical discs รวมทั้งศึกษาถึงความเสื่อมสภาพของ Optical discsซึ่งผลการศึกษาจะมีประโยชนทั้งตอการผลิต Optical discs ในอนาคต และการจําแนกประเภทของ Optical discs

- Testing of Interchangeability and Interoperability of Optical Disc for Use in High-density Storage Systems such as optical disc “Jukeboxes“ เปนการศึกษาความสามารถของ Optical disc กลุมที่จุขอมูลไดสูงโดยทําการศึกษาควบคูกับ Application และทําการศึกษา การนํา XML มาใชในการเก็บรักษาขอมูล โดยทําการศึกษารวมกับ High Density Storage Association (HDSA) โดยศึกษาความเหมาะสมของสื่อบันทึกกับการใชงานในลักษณะตาง ๆ ซึ่งรวมทั้งการเก็บรักษาขอมูลดวย

- Development of the Turbo Coding System การเก็บรักษาขอมูลดวยวิธี Turbo Cod System จะแตกตางจากการเก็บรักษาขอมูลวิธีอื่น ๆ ที่มุงเนนการเก็บรักษาขอมูลใหสามารถอานไดในระยะยาว แตเทคโนโลยีใหมมีจุดมุงหมายเพื่อพัฒนาวิธีการในการคนหา และซอมแซมสารสนเทศที่สําคัญจากสื่อบันทึกขอมูลที่เสียหาย หรือจากความผิดพลาดอื่น ๆ โปรแกรมนี้ทําการพัฒนาโดยความรวมมือกับ Carnegie-Mellon University ประเทสหรัฐอเมริกา

สรุป ในบทนี้ไดกลาวถึงความสําคัญองการเก็บรักษาขอมูลดิจิทัล ซึ่งเปนเรื่องเรงดวนที่หนวยงานที่เกี่ยวของควรเริ่มศึกษาเพื่อจัดเตรียมนโยบาย และวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาขอมูลเหลานี้ เพื่อใหมรดกทางปญญาที่เกิดขึ้นในวันนี้สามารถตกทอดไปถึงลูกหลานในอนาคต วิธีการเก็บรักษาขอมูลที่ไดนําเสนอขางตน ตางมีความเหมาะสมแตกตางกันไป Refreshing หรือการโอนยายขอมูลจากสื่อบันทึกขอมูลไปยังส่ือใหมที่ ทันสมัยกวา จะเหมาะสําหรับการเก็บรักษาขอมูลในระยะสั้น เปนการแกปญหาความเสื่อมสภาพ หรือการตกรุนของสื่อบันทึกขอมูล สวนวิธีการ Technology preservation เปนวิธีการที่ใชงบประมาณคอนขางมากทั้งในการ ดูแลรักษาฮารดแวรและซอฟตแวรใหพรอมใชในอนาคต ปญหาคือ จะทําอยางไรกับชิ้นสวนที่เลิกผลิตไปแลวในอนาคตหากฮารดแวรชํารุดเสียหาย นอกจากนี้ วิธีการนี้ยังมีคาใชจายที่คอนขางสูงในเรื่องของการเตรียมพื้นที่เพื่อจัดเก็บอุปกรณคอมพิวเตอรและอุปกรณตอพวงทั้งหมดใหอยูในสภาพดีพรอมใชงานได สวนวิธีการที่เหมาะสําหรับจัดเก็บขอมูลในระยะเวลาที่ยาวขึ้นไดแก Migration Emulation และ Encapsulation นั้น Emulation จะเปนวิธีการที่เหมาะสมในกรณีที่ทรัพยากรที่ตองเก็บรักษามีลักษณะซับซอน (Complex resource) และเปนโปรแกรมประยุกต (Application software) เชน เว็บเพจ เกม หรือโปรแกรมกระทําการ (Executable file) และ Emulation จะเปนทางเลือกที่ดีในกรณีที่ยังมีรูปแบบไฟล (File format) ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาสารสนเทศ ดิจิทัล และในกรณีที่ Look and Feel เปนส่ิงสําคัญในการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัล อยางไรก็ตาม Migration และ Encapsulation จะมีความเหมาะสมกวาในกรณีที่มีความรูเรื่องในเรื่องรูปแบบไฟลเพียงพอ หรือมีรูปแบบไฟลที่เหมาะสมในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือทรัพยากรจัดเก็บไวในรูปแบบไฟลที่เปนมาตรฐาน หรือมีการใชอยางแพรหลาย และในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศไมมีรูปแบบที่ซับซอน และในกรณีที่ยังมี

Page 20: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

140

การเรียกใช (Actively access) สวนวิธีการ Encapsulate จะเหมาะกับทรัพยากรที่ไมอยูในสถานการณที่สามารถเรียกขอมูลออกมาใชงานได ซึ่งการพิจารณาวาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาสารสนเทศ ดิจิทัล อาจพิจารณาจาก ประเภทและความซับซอนของสารสนเทศ การใชงานไดของรูปแบบแฟมขอมูล และการนําสารสนเทศดิจิทัลไปใชไปใช แผนภาพแสดงการเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (Lee, Slattery, Lu, Tang and McCrary, 2002)

ดังที่กลาวไวในตอนตนวา วัตถุประสงคของการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลในระยะยาวก็เพื่อใหม่ันใจวาจะสามารถเขาถึงสารสนเทศดิจิทัลที่จัดเก็บไวไดตลอดเวลา ผูใชในอนาคตจะสามารถเขาถึงทรัพยากร สารสนเทศดิจิทัลที่เก็บไวในหองสมุดดิจิทัลได โดยใชส่ิงแวดลอมดานคอมพิวเตอรของตนเอง หรือโดย Portable readable devices นั่นหมายความวาสารสนเทศดิจิทัลอาจจะตองถูก Migrate เพื่อสามารถเก็บรักษาไวไดในระยะยาว แมวาบางกรณีอาจตองใชวิธีการ Emulation ก็ตาม จะเห็นไดวาการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลในระยะยาวจะตองใชหลายวิธีรวมกันเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของการจัดเก็บสารสนเทศดิจิทัล และตองอาศัยความรวมมือของทุกสถาบัน เนื่องจากไมมีหนวยงานใดหนวยงานหนึ่งเพียงหนวยงานเดียวจะสามารถเก็บรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลไดทั้งหมด และดวยอินเทอรเน็ตทําใหหองสมุดดิจิทัลทั่วโลกสามารถติดตอและใช สารสนเทศรวมกันได นอกจากนี้ ในสวนของรูปแบบมาตรฐานสําหรับการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลควรจะไดรับการพัฒนาเชนเดียวกัน มาตรฐานจะตองสามารถทํางานรวมกันและแลกเปลี่ยนขอมูลกันได มีเครื่องมือใหผูพัฒนาสามารถแกไขปรับปรุงได มาตรฐานจะใชงานไดเสมอและใชงานไดนานกวาการแกไขแบบไมมีมาตรฐาน

ประเภท หรือความซับซอน

รูปแบบแฟมขอมูลท่ี

รจัก

ยังใชงานอยู

Emulation

Encapsulation

Migration

Yes

Yes

No

No

ทรัพยากรท่ีมีเน้ือหาซับซอน

โปรแกรมประยุกต

ทรัพยากรท่ีมีเน้ือหาไมซับซอน

Page 21: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

141

ดังที่กลาวในตอนตนวา การทํา Migration จากรูปแบบไฟลที่ไดมาตรฐานนั้นงายและถูกกวา และถูกตองกวารูปแบบไฟลที่ไมไดมาตรฐาน ซี่งมาตรฐานนี้ควรจะมีทั้งในสวนของ Emulation และ Encapsulation และควรจะอยูบน Encoding scheme ที่หลากหลายขึ้นอยูกับประเภทของทรัพยากรดิจิทัล ซี่งปจจุบันมีซอฟตแวรเพียงจํานวนนอยที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานนี้ได ดังนั้น จึงเริ่มมีการนํา XML มาใชในการเก็บรักษาสารสนเทศ ดิจิทัล เนื่องจากขอดีหลายประการของ XML โดยเฉพาะการไมมีขอจํากัดในประเด็นของฮารดแวรและซอฟตแวรที่จะใชในการดูขอมูล การสนับสนุนการทํางานของเว็บและอินเทอรน็ต ซึ่งการมีมาตรฐานกลางเพียงมาตรฐานเดียวเปนส่ิงที่พึงปรารถนาเมื่อมีการนําระบบการเก็บรักษาขอมูลมาปฏิบัติ

วิธีการเก็บรักษาสารสนเทศดิจิทัลที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดจะตองประกอบดวยการโอนยายขอมูลบนพื้นฐานของมาตรฐาน อยางไรก็ตาม การโอนยายขอมูลยังคงตองทําการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาในสวนของตนทุนที่เกี่ยวของ สรางตนแบบและการปฏิบัติที่ดีที่สุด นอกจากนี้ การใชการทดสอบเปนฐานเปนส่ิงจําเปนอีกส่ิงหนึ่งสําหรับการระบุวิธีการโอนยายขอมูล ซึ่งผลของการศึกษาจะเปนประโยชนในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการโอนยายทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลซึ่งมีรูปแบบแตกตางกัน

บรรณานุกรม

Besser, Howard. (2001). Digital preservation of moving image material?. [Online]. Available: http://www.gseis.ucla.edu/~howard/Papers/amia-longevity.html.

Chapman, Stephen. (2003). What is digital preservation? [Online]. Available: http://www.oclc.org/events/presentations/symposium/chapman.shtm.

Chapman, Stephen and Kenney, Anne R. (1996, October). Digital conversion of research library materials. D-Lib Magazine [Online]. Available: http://www.dlib.org/dlib/october96/cornell/ 10chapman.html.

The Commission on Preservation and Access and The Research Libraries Group. (1996). Preserving digital information : report of the task force on archiving of digital information. [Online]. Available: ftp://ftp.rlg.org/pub/archtf/final-report.pdf

Consultative for Space Data System. (2002). Reference model for an Open Archival Information System (OAIS). [Online]. Available: http://wwwclassic.ccsds.org/documents/pdf.

Cornell University Library/Research Department. (2003). Moving theory into practice digital imaging tutorial. [Online]. Available: http://www.library.cornell.edu/preservation/tutorial/preservation/ preservation-01.html.

Depot van Nederlandse Elektronische Publicaties. (2001). Long term preservation - research study. [Online]. Available: http://www.kb.nl/kb/ict/dea/ltp/ltpstudy-overview.pdf.

Digital Preservation Coalition. (2002). Definitions and concepts. [Online]. Available: http://www.dpconline.org/graphics/intro/definitions.html.

Page 22: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

142

Granger, Stewart. (2000). Emulation as a digital preservation strategy. D-Lib Magazine 6(10) [Online]. Available: http://www.dlib.org/dlib/october00/granger/10granger.html.

Hendley,T. (1998). Comparison of methods & costs of digital preservation. West Yorkshire: British Library Research and Innovation Center. [Online]. Available: http://www.ukoln.ac.uk/services/elib/papers/tavistock/hendley/hendley.html

Haynes, D., Streatfield, D., Jowett, T. and Blake, M., (1997). Responsibility for digital archiving and long term access to digital data. British Library Research and Innovation Report, 67. London: British Library Research and Innovation Centre. [Online]. Available: http://www.ukoln.ac.uk/services/papers/bl/jisc-npo67/digital-preservation.html.

Lawrence, Gregory W.; Kehoe, William R.; Rieger, Oya Y.; Walters, William H. and Kenney, Anne R. (2000). Risk management of digital information: a file format investigation. Washington, D.C: Council on Library and Information Resources. [Online]. Available: http://www.clir.org/pubs/reports/pub93/pub93.pdf

Lee, Kyong-Ho; Slattery, Oliver; Lu, Richang; Tang, Xiao and McCrary, Victor. (January–February 2002). The State of the art and practice in digital preservation. Journal of Research of the National Institute of Standards and Technology. 107(1). [Online]. Available: http://nvl.nist.gov/pub/nistpubs/jres/107/1/j71lee.pdf.

National Archives of Australia. (1997). Managing electronic record. [Online]. Available: http://www.naa.gov.au/recordkeeping/er/manage_er/contents.html.

National Library of Australia. (2002). Statement of principles for the preservation of and long-term access to Australian digital objects. [Online]. Available: http://www.nla.gov.au/preserve/ digital/princ.html.

National Library of Australia. Preservation services branch. (2003). Digital preservation strategies. [Online]. Available: http://www.nla.gov.au/padi/topics/18.html.

Phillipss, Magaret E. (1999, June). Ensuring long-term access to online publications. The Journal of Electronic Publishing 4(4) [Online]. Available: http://www.press.umich.edu/jep/04-04/phillips.html .

Research Libraries Group. (1996) Task force on archiving of digital information. [Online]. Available: http://www.rlg.org/ArchTF/tfadi.index.htm

Ross, Seamus. (2000). Changing trains at Wigan: digital preservation and the future of scholarship. Technology and Information Institute (HATII), University of Glasgow. [Online]. Available: http://www.bl.uk/services/preservation/occpaper.pdf.

Russell, Kelly. (2001). RLG/OCLC report on the attributes of a reliable digital archive for research repositories draft report. Research Libraries Group and OCLC. [Online]. Available: http://www.rlg.org/longterm.

Page 23: Digital Preservation

อ. นิศาชล จํานงศรี 204214 เทคโนโลยีในงานสารสนเทศ

143

Rothenberg, Jeff. (1999). Avoiding technological quicksand: finding a viable technical foundation for digital preservation (a report to the council on library and information resources), Washington, DC: Council on Library and Information Resources. [Online]. Available: http://www.clir.org/pubs/reports/rothenberg/pub77.pdf.

The State of digital preservation: an international perspective. (2002). Washington, D.C: Council on Library and Information Resources. [Online]. Available: http://www.clir.org/pubs/reports/pub107/pub107.pdf.

Technical Advisory Service for Images. (2002). Establishing a digital preservation strategy. [Online]. Available: http://www.tasi.ac.uk/advice/delivering/pdf/digpres2.pdf.