8

Helicobacter pylori - Takeda

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Helicobacter pylori - Takeda
Page 2: Helicobacter pylori - Takeda

เดิมเชื้อนีม้ีชื่อว่าCampylobacter pylori

ซึ่งเป็น gram negative (เชื้อแกรมลบ)ถูกค้นพบในปี 1982 โดยแพทย์

ชาวออสเตรเลียชื่อ Dr. Barry Marshall และ Dr. Robin Warren โดยพบว่าเชื้อนี้

มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดแผลในล�าไส้เล็กส่วนต้น แผลในกระเพาะอาหาร

และมะเร็งกระเพาะอาหาร

Helicobacter pylori(เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร)

คือ อะไร?

โดยผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

แต่อาจไม่มีอาการแสดงและพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกมีการติดเชื้อนี้ ในทางการเดินอาหารส่วนต้น

โดยประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกาจะพบการติดเชื้อได้มากกว่า

ประเทศทางตะวันตก

Helicobacter pylori2

Page 3: Helicobacter pylori - Takeda

ภัยเงียบที่ควรรู้ 3

H. pylori มีลักษณะรูปร่างเป็นเกลียว ความยาวประมาณ 3 ไมครอน มีเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ไมครอน และมีหนวด (4-6 flagella) ซึ่งเชื้อนี้จะเคลื่อนที่ได้รวดเรว็ด้วยหนวดดงักล่าว และสามารถสร้างด่างผ่านเอนไซม์ urease ท�าให้สามารถอยู่ในกระเพาะอาหารที่มีความเป็นกรดได้

H. pylori เป็นเช้ือทีต้่องการออกซเิจน แต่ในขนาดท่ีต�า่กว่าบรรยากาศท่ัวไป ตัวเช้ือ สามารถสร้างเอนไซม์ oxidase, catalase และ urease ได้ และมีได้หลากหลายพันธุ์ ซึง่สายพันธ์ุเอเชยีตะวันออกจะมียีนส์ทีมี่ความสมัพันธ์กันกบัการเกดิแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง การแพร่กระจายของเช้ืออาจมาจากการบริโภคอาหารหรือน�้าที่มีการปนเปื้อน ซึ่งอาจปนเปื้อนจากอุจจาระ

การติดเช้ือนี้เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระเพาะอาหารและล�าไส้เล็กส่วนต้น โดยการปลดปล่อยเอนไซม์และทอ็กซิน ซ่ึงไปกระตุน้ระบบภมูคิุม้กนัในร่างกายก่อให้เกิดการอักเสบที่ผนังกระเพาะอาหารและล�าไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ท�าให้กระเพาะอาหารและล�าไส้เล็กส่วนต้นมแีนวโน้มทีจ่ะถกูท�าลายด้วยกรดในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น

Page 4: Helicobacter pylori - Takeda

Helicobacter pylori4

คนที่ติดเชื้อนีจ้ะมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นแผลเพ็ปติกได้

ประมาณ 10-20 %โดยจะมีการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย

และมี โอกาสสูงที่จะเกิดแผลที่ล�าไส้เล็กส่วนต้น โดยเฉลี่ย

ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

ได้ 1-3 %

มีอาการอย่างไร ท�าให้เกิดโรคอะไรบ้าง?

การติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักท�าให้เป็นกระเพาะอาหารอักเสบ โดยมักมีอาการปวดท้องหรือคล่ืนไส้เป็นหลัก หลังจากนั้นจะพัฒนาเป็นการอักเสบเรื้อรัง ซ่ึงผู้ป่วย บางรายจะปรากฎอาการแบบ dyspepsia (ดีสเพ็ปเซีย) คอื ปวดท้อง บรเิวณกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ มีลมในท้อง ท้องอืด เรอ บางครั้งอาจมีอาเจียน บางรายอาจจะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร และมาพบแพทย์ด้วยอาการโลหิตจางหรือถ่ายด�า

Page 5: Helicobacter pylori - Takeda

ภัยเงียบที่ควรรู้ 5

ส�าหรับมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทยพบประมาณ 5 คน ต่อประชากร 1 แสนคน

แต่ ในภาคเหนือพบสูงถึง 14 คน ต่อประชากร 1 แสนคนซึ่งเทียบเท่าประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม

ปัญหาที่ส�าคัญของมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทย คือผู้ป่วยมักมาพบแพทย์

ด้วยอาการระยะลุกลาม มีการด�าเนนิของโรคที่รนุแรง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง(อัตราการอยู่รอดใน 5 ปี น้อยกว่า 10%)

และพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุและมีประวัติมะเร็งทางเดินอาหารในครอบครัว

Page 6: Helicobacter pylori - Takeda

Helicobacter pylori6

การวินจิฉัยสามารถท�าได้หลายวิธี ได้แก่

• การตรวจลมหายใจ (UBT – Urea Breath Test)

• การส่องกล้องกระเพาะอาหาร และตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ

• การตรวจทาง Serology

• การตรวจอุจจาระ (Stool Ag Test)

รู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อนี?้

ใครบ้างที่ต้องตรวจ และต้องได้รับการรักษา?

• หากท่านมีอาการที่เกี่ยวข้องกับแผลในกระเพาะอาหารและล�าไส้เล็ก หรือ เคยมีประวัติแผลในทางเดินอาหารมาก่อน

• หากไม่มีอาการใด ๆ แต่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติ เกี่ยวกับมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรพิจารณาตรวจ

• อย่างไรก็ดีควรปรึกษาเพื่อขอค�าแนะน�าจาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Page 7: Helicobacter pylori - Takeda

Zzzz

ภัยเงียบที่ควรรู้ 7

References :(1) https://en.wikipedia.org/wiki/Helicobacter_ pylori (2) https://thaigastriccancer.com/home/html(3) Clinical Practice in Gastroenterology ,3rd Edition, March 2014, p.29-40.

รักษาอย่างไร ? ผู้ท่ีมีประวัติการเป็นแผลในทางเดินอาหารซ่ึงสัมพันธ์กันกับการติดเชื้อน้ีควรได้รับการรักษา ซึ่งการรักษาในปัจจุบันต้องใช้ยาร่วมกัน คือยายับยั้งการหล่ังกรด และยาปฏชิวีนะ ท้ังน้ี ควรมาปรกึษาขอค�าแนะน�าจากแพทย์เพือ่ให้ได้รบัการรกัษาทีถ่กูต้องต่อไป

ค�าแนะน�าจากแพทย์• รักษาสุขอนามัย ความสะอาด

• ปรึกษาแพทย์ เมื่อพบว่า ... มีอาการเตือนที่ส�าคัญ เช่น ภาวะโลหิตจาง ปวดท้องนานเกิน 1 เดือน และน�้าหนักลดไม่ทราบสาเหตุ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นแผลในทางเดินอาหารหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวมีการติดเชื้อนี้

Page 8: Helicobacter pylori - Takeda

Helicobacter pylori8TH-TAK/2018-00043