2
บทวิเคราะห์ : ควบรวมกิจการ..ทางออกของธุรกิจ??? มีการกล่าวว่า ปี 2552 เป็นปีเผาจริง และธุรกิจต่างๆ อาจต้องเผชิญกับภาวะขาดสภาพคล่อง จนอาจถึงขั้นปิดตัวลง การแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจ จึงเป็นทางออกหนึ่งของนักธุรกิจที่ไม่อยากเผชิญกับภาวะขาดทุนในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยเอง ธุรกิจภาคเอกชนก็มีการควบรวมกิจการเกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย แต่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ จึงอาจเริ่มเห็นความชัดเจนของการควบรวมอีกครั้ง อย่างกรณีทีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่าจะควบรวมกิจการระหว่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) แต่แล้วในที่สุด ก็ไม่ควบรวมเนื่องจากเหตุผลว่า ทั้ง 2 องค์กรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น จึงเห็นควรเพิ่มบทบาทในการทำงานแยกจากกันให้ชัดเจน กระแสควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition) ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย หากแต่ในภูมิภาคอาเซียน พบว่าตัวเลขการควบรวมกิจการได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า และการควบรวมกิจการมักเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่มีจำนวนคู่แข่งขันมากเกินไป (Fragmented) อย่างสถาบันทางการเงิ หรือหมายความว่า การควบรวมกิจการจะเพิ่มขึ้นตามดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ราคาหุ้น ปริมาณซื้อขายหุ้น อย่างในช่วงครึ่งปีแรกของปี .. 2550 อันเป็นปีเริ่มต้นของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจทางการเงินเริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนมากขึ้น หนังสือพิมพ์ Financial Times ของอังกฤษ ได้รวบรวมตัวเลข บริษัทยักษ์ใหญ่ของยุโรป พบว่ามีการควบรวมกิจการ มากกว่าพันราย มูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.16 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 1.07 แสนล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 72% ทฤษฎีการควบรวมกิจการ (Merger &Acquisition) จึงถือได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดทฤษฎีหนึ่งในปัจจุบัน สำนักข่าวแห่งชาติ จึงได้ประมวล ข้อดีและข้อเสียของการควบรวมกิจการเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของนักธุรกิจในภาวะสุ่มเสี่ยงเช่นนีการควบรวมกิจการ สามารถทำได้โดยนำความสามารถของอีกองค์กรหนึ่งมารวมกับอีกองค์กรหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพร่วมกัน การรวมกิจการมักจะเป็นธุรกิจที่มีกำไรต่ำ ทำให้ต้องมีการลดต้นทุน และรักษาทรัพย์สินไว้ ในทางทฤษฎีแล้ว การควบรวมกิจการแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ การควบกิจการตามแนวนอน (Horizontal Merger) คือการรวมกิจการในธุรกิจประเภทเดียวกัน ถือเป็นวิธีการกำจัดคู่แข่งรายสำคัญอย่างรวดเร็ว และเพิ่มอำนาจต่อรองทางตลาด (Market Power) การควบรวมกิจการตามแนวดิ่ง (Vertical Merger) คือ การรวมกิจการที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบหรือเป็นผู้จัดจำหน่าย ซึ่งมักจะเกิดกับอุตสาหกรรมที่ต้องการลดความผันผวนของราคาซื้อหรือราคาขาย และ การควบรวมเพื่อกระจายธุรกิจออกจากธุรกิจหลัก (Diversify) มักเกิดกับบริษัทที่เป็น Holding Company ที่ใช้วิธีการเงินต่อเงินด้วยการกว้านซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร ข้อดีของการควบรวมกิจการ คือ การเข้าซื้อกิจการไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมบริษัท (amalgamation) หรือการควบรวมธุรกิจ แต่เป็นการรวมสินทรัพย์ของทุกบริษัทจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ (consolidation) แม้ว่าการเข้าซื้อกิจการจะมีการเปลี่ยนการเ ข้าควบคุมโดยสิ้นเชิง แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องอาจจะยังคงดำเนินการเป็นอิสระอยูแต่ต้องมีการควบคุมบริษัทร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุด การควบรวมจึงถือเป็นการลดความเสี่ยงของบริษัท ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรทางการเงินและการบริหารมากขึ้น รวมถึงช่วยให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ

บทวิเคราะห์m&a

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Merger ans Acquisition

Citation preview

Page 1: บทวิเคราะห์m&a

บทวิเคราะห์ : ควบรวมกิจการ..ทางออกของธุรกิจ???

มีการกล่าวว่า ปี2552เป็นปีเผาจริง และธุรกิจต่างๆ อาจต้องเผชิญกับภาวะขาดสภาพคล่อง จนอาจถึงขั้นปิดตัวลง

การแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจ จึงเป็นทางออกหนึ่งของนักธุรกิจที่ไม่อยากเผชิญกับภาวะขาดทุนในปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทยเอง ธุรกิจภาคเอกชนก็มีการควบรวมกิจการเกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย แต่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

จึงอาจเริ่มเห็นความชัดเจนของการควบรวมอีกครั้ง อย่างกรณีที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

เผยว่าจะควบรวมกิจการระหว่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์)

กับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) แต่แล้วในที่สุด ก็ไม่ควบรวมเนื่องจากเหตุผลว่า

ทั้ง2องค์กรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น จึงเห็นควรเพิ่มบทบาทในการทำงานแยกจากกันให้ชัดเจน

กระแสควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition)ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย หากแต่ในภูมิภาคอาเซียน

พบว่าตัวเลขการควบรวมกิจการได้เพิ่มขึ้นมากกว่า2เท่า

และการควบรวมกิจการมักเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่มีจำนวนคู่แข่งขันมากเกินไป(Fragmented)อย่างสถาบันทางการเงิ

น หรือหมายความว่า การควบรวมกิจการจะเพิ่มขึ้นตามดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ราคาหุ้น ปริมาณซื้อขายหุ้น

อย่างในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2550อันเป็นปีเริ่มต้นของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

ธุรกิจทางการเงินเริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนมากขึ้น หนังสือพิมพ์Financial Timesของอังกฤษ ได้รวบรวมตัวเลข

บริษัทยักษ์ใหญ่ของยุโรป พบว่ามีการควบรวมกิจการ มากกว่าพันราย มูลค่ารวมทั้งสิ้น2.16แสนล้านดอลลาร์

หรือ1.07แสนล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน72%

ทฤษฎีการควบรวมกิจการ (Merger &Acquisition)จึงถือได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดทฤษฎีหนึ่งในปัจจุบัน

สำนักข่าวแห่งชาติ จึงได้ประมวล

ข้อดีและข้อเสียของการควบรวมกิจการเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของนักธุรกิจในภาวะสุ่มเสี่ยงเช่นนี้

การควบรวมกิจการ สามารถทำได้โดยนำความสามารถของอีกองค์กรหนึ่งมารวมกับอีกองค์กรหนึ่ง

เพื่อเสริมสร้างศักยภาพร่วมกัน การรวมกิจการมักจะเป็นธุรกิจที่มีกำไรต่ำ ทำให้ต้องมีการลดต้นทุน และรักษาทรัพย์สินไว้

ในทางทฤษฎีแล้ว การควบรวมกิจการแบ่งเป็น3ประเภทใหญ่ๆ คือการควบกิจการตามแนวนอน (Horizontal

Merger)คือการรวมกิจการในธุรกิจประเภทเดียวกัน ถือเป็นวิธีการกำจัดคู่แข่งรายสำคัญอย่างรวดเร็ว

และเพิ่มอำนาจต่อรองทางตลาด(Market Power)การควบรวมกิจการตามแนวดิ่ง (Vertical Merger)คือ

การรวมกิจการที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบหรือเป็นผู้จัดจำหน่าย

ซึ่งมักจะเกิดกับอุตสาหกรรมที่ต้องการลดความผันผวนของราคาซื้อหรือราคาขาย

และการควบรวมเพื่อกระจายธุรกิจออกจากธุรกิจหลัก(Diversify)มักเกิดกับบริษัทที่เป็นHolding

Companyที่ใช้วิธีการเงินต่อเงินด้วยการกว้านซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร

ข้อดีของการควบรวมกิจการคือ การเข้าซื้อกิจการไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมบริษัท

(amalgamation)หรือการควบรวมธุรกิจ

แต่เป็นการรวมสินทรัพย์ของทุกบริษัทจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่(consolidation)แม้ว่าการเข้าซื้อกิจการจะมีการเปลี่ยนการเ

ข้าควบคุมโดยสิ้นเชิง แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องอาจจะยังคงดำเนินการเป็นอิสระอยู่

แต่ต้องมีการควบคุมบริษัทร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุด การควบรวมจึงถือเป็นการลดความเสี่ยงของบริษัท

ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรทางการเงินและการบริหารมากขึ้น รวมถึงช่วยให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ

Page 2: บทวิเคราะห์m&a

นอกจากนี้การรวมบริษัทจะทำให้เกิดการลดการแข่งขันได้ง่ายขึ้นจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินข้ามบริษัทในธุรกิ

จที่ได้กำไรน้อย เพื่อมุ่งหมายที่จะจำกัดการแข่งขันและการจัดการแบบต่างตอบแทนกับบริษัทที่รวมกันอื่นๆ

ในการซื้อและขายวัตถุดิบและผลผลิต

ข้อเสียของการควบรวมกิจการคือ

หากบริษัทพยายามที่จะจำกัดการแข่งขันโดยใช้สถานะทางการตลาดของตนเพื่อที่จะทำให้คู่แข่ง และคู่ค้าเสียเปรียบ

จะเกิดการกระจุกตัวของตลาดผู้ซื้อและตลาดผู้ขาย รวมถึงการผูกขาดในระยะยาว กล่าวคือ คู่แข่งหรือคู่ค้า

ที่ไม่มีตัวเลือกมากนักอย่างที่ผ่านมา

ทำให้ข้อต่อรองทางการตลาดส่งผลต่อคู่ค้าส่งผลให้เกิดปัญหาต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจและการจัดสรรทรัพยากรไม่เหมา

ะสมได้ ซึ่งประเด็นปัญหานี้ หลายประเทศที่มีกิจการที่ควบรวมกันมาก

จะมีการใช้กฎหมายการค้าที่เป็นธรรมหรือกฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Fair Trading or Antimonopoly

Law)เพื่อเข้าดูแลควบคุม นอกจากนี้หากไม่การจัดการดูแลอย่างเป็นระบบ ก็จะทำให้เกิดปัญหา

อย่างสายการบินอเมริกา เวสต์ และยูเอส แอร์เวยส์ ที่มีการควบรวมกิจการ

ภายหลังพบว่ายังคงมีเรื่องร้องเรียนสูงที่สุดในกลุ่ม20สายการบินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ

จากปัญหาการผนวกรวมระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงการควบรวมกิจการ

การควบรวมกิจการต่างมีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผู้ประกอบการควรต้องมีการศึกษาและการวางแผนระบบให้รัดกุม

สังเกตได้ว่าในประเทศที่มีการควบรวมกิจการมีการหามาตรการรวมถึงกฎหมายในการรองรับปัญหาที่อาจเกิดตามมาจาก

การควบรวมนี้ แม้ประเทศไทยยังคงไม่มีธุรกิจที่มีการควบรวมมากนัก

และเมื่อมองถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกบ้าง

แต่ยังคงประเมินได้ว่าไม่มีความรุนแรงถึงขั้นต้องเกิดการควบรวมกิจการต่างๆ

เข้าด้วยกันมากเหมือนธุรกิจทางการเงินในยุโรปและสหรัฐฯ อย่างที่ผ่านมา

หากรัฐบาลมีมาตรการเข้ามาดูแลแก้ไขอย่างถูกต้องและทันท่วงที เช่น

ในธุรกิจการท่องเที่ยวและการส่งออกที่มีผลกระทบมากที่สุด

จึงควรหามาตรการกระตุ้นด้วยการลดภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอื่น

อย่างอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ

การช่วยเหลือและหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างถูกทางจึงอาจเป็นหนทางหนึ่งในการประคับประคองธุรกิจต่างๆ

ต่อไป

by Mr. Weerapong Wasukaratana นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร