6
S pecial S coop For Quality December 2007 059 โครงการหลวงเป็นโครงการที่ได้เริ่มขึ้นเป็นกิจการที่เล็กๆ ซึ่งไม่เป็น โครงการ แต่เป็นการไปเที่ยวมากกว่า คือ ไปเที่ยวตามหมู่บ้านต่างๆ ก็ได้เห็นว่า ควรที่จะช่วยประชาชนในการอาชีพ จึงได้นำสิ่งของไปให้เขา เพื่อที่จะพัฒนาการ อาชีพของชาวบ้าน ต่อมาก็ได้เพิ่มขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานราชการได้เข้า มาช่วยและมีคนส่วนหนึ่งช่วย เพื่อที่จะให้เกิดการส่งเสริมความเป็นอยู่ของ ประชาชนดีขึ้น ต่อมามีการร่วมมือของทางองค์กรต่างประเทศตลอดจนรัฐบาล ต่างประเทศด้วย จึงขึ้นมาเป็นโครงการที่เรียกว่า “โครงการหลวง” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งที่พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 โครงการหลวงคือ โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีสาย พระเนตรอันยาวไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงของ >>> พรามร ศรีปาลวิทย์ โครงการหลวง โครงการส่วนพระองค์ของในหลวง

Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

Special Scoop

For Quality December 2007 059

Special Scoop

โครงการหลวงเป็นโครงการที่ได้เริ่มขึ้นเป็นกิจการที่เล็กๆ ซึ่งไม่เป็น

โครงการ แต่เป็นการไปเที่ยวมากกว่า คือ ไปเที่ยวตามหมู่บ้านต่างๆ ก็ได้เห็นว่า

ควรที่จะช่วยประชาชนในการอาชีพ จึงได้นำสิ่งของไปให้เขา เพื่อที่จะพัฒนาการ

อาชีพของชาวบ้าน ต่อมาก็ได้เพิ่มขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานราชการได้เข้า

มาช่วยและมีคนส่วนหนึ่งช่วย เพื่อที่จะให้เกิดการส่งเสริมความเป็นอยู่ของ

ประชาชนดีขึ้น ต่อมามีการร่วมมือของทางองค์กรต่างประเทศตลอดจนรัฐบาล

ต่างประเทศด้วย จึงขึ้นมาเป็นโครงการที่เรียกว่า “โครงการหลวง”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งที่พระตำหนัก

จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537

โครงการหลวงคือ โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีสาย

พระเนตรอันยาวไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงของ

>>>พรามร ศรีปาลวิทย์

โครงการหลวง โครงการส่วนพระองค์ของในหลวง

Page 2: Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

060 For Quality Vol.14 No.122

ประเทศ ทรงก่อตั้ง “โครงการหลวง” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับชาวนา ขจัดพื้นที่การ

ปลูกฝิ่น และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารในพื้นที่การปลูกฝิ่น

และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารในพื้นที่เทือกเขาทางตอนเหนือ

ของประเทศ ในโอกาสที่เป็นมหามงคลยิ่งนี้ วารสาร For

Quality ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้ทรงเกียรติซึ่งทำงานใต้-

เบื้องพระยุคลบาทในมูลนิธิโครงการหลวงมานานกว่า 30 ปี

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สันทัด โรจนสุนทร ราชบัณฑิต และหัวหน้าฝ่ายวิจัย

มูลนิธิโครงการหลวง อย่างน่าสนใจ

กำเนิดโครงการหลวง“หากกล่าวถึงโครงการหลวงแล้ว ขอย้อนหลังไปเมื่อกว่า 30 ปีที่

แล้ว เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานไป

จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนราษฎรตามยอดดอยต่าง ๆ

ซึ่งขณะนั้นการเดินทางเป็นไปอย่างยากเย็นมาก ทรงพบเห็นสภาพความ

เป็นอยู่ที่แร้นแค้น และความยากจนของชาวเขา ที่ดำรงชีพด้วยการปลูกฝิ่น

อย่างกว้างขวาง บุกรุกแพ้วถาง และเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ป่าต้นน้ำ-

ลำธารถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จึงมีพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือชาวเขา

เพื่อมนุษยธรรม ขจัดพื้นที่ปลูกฝิ่น และช่วยเหลือชาวพื้นราบด้วยการ

ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร และสภาพแวดล้อม

มูลนิธิโครงการหลวงถือว่าเป็นโครงการส่วนพระองค์ไม่ใช่โครงการ

พระราชดำริ เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่จะทรงช่วยเหลือ

ชาวเขา และพระองค์ได้ทรงชักชวน หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี มาร่วม

ดำเนินงานเป็นประธานมูลนิธิฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สันทัด โรจนสุนทร ราชบัณฑิต และหัวหน้าฝ่ายวิจัย มูลนิธิโครงการหลวง

Page 3: Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

Special Scoop

สิ่งที่พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นคือ การที่ชาวเขาปลูกฝิ่นและนำฝิ่น

ไปขายเป็นอยู่เช่นนี้เรื่อยไป ทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น และต่อมา

พระองค์ทรงเห็นต้นท้อพื้นเมืองที่เป็นไม้ผล น่าจะสามารถสร้างรายได้ให้

เกิดขึ้นได้มากกว่าการปลูกฝิ่นขาย ซึ่งการปลูกฝิ่นนั้นเมื่อซื้อขายกันใน

พื้นที่แล้วมีราคาที่ถูกมาก แต่เมื่อออกจากพื้นที่แล้วฝิ่นมีราคามหาศาล

คนที่ได้เงินไม่ใช่ชาวเขาแต่เป็นนายหน้าที่มาขอซื้อ พระองค์จึงทรง

เปลี่ยนแปลงให้ชาวเขาหันมาปลูกท้อพื้นเมืองเพื่อนำมาจำหน่ายแทน”

จากการสร้างรายได้ สู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง “สิ่งหนึ่งนอกเหนือจากการให้ชาวเขาปลูกไม้ผลเพื่อจำหน่ายแทน

การปลูกฝิ่นแล้ว ยังทรงเห็นว่าการปลูกไม้ผลจะมีผลให้ชาวเขาไม่ตัด

ต้นไม้ และไม่เกิดการย้ายถิ่นฐานบ่อยอีกด้วย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น

ในระยะแรกคือ การนำผลผลิตที่ได้ไปขาย การลำเลียงเพื่อการซื้อขาย

ต้องใช้สัตว์เป็นพาหนะขนย้าย ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายในขณะ

ขนย้าย ดังนั้น พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโรงงานทำกระป๋องขึ้น

ที่บ้านยาง บนดอยอ่างขาง เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีแหล่งน้ำที่ดี เหมาะแก่

การจัดตั้งโรงงาน จึงทรงให้มีการนำผลท้อและผลไม้พื้นเมืองมาบรรจุกระป๋อง

ทำให้ขนย้ายได้ง่ายขึ้น และให้ชาวเขาที่ปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ สามารถปลูกพืช

ส่งโรงงานเพื่อบรรจุกระป๋องได้”

เริ่มต้นความสำเร็จด้วยการวิจัย “โครงการหลวงเริ่มต้นทำงานด้วยงานวิจัยและ

ทดสอบ งานวิจัยต่าง ๆ ที่ได้ทำนั้นเพื่อคัดเลือกหาพันธุ์-

พืชพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งวิธีเพาะปลูก

และจัดการใหม่ก็ยังไม่เคยหยุดนิ่ง มีงานวิจัยใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

เรื่อย ๆ จำนวนนับร้อยโครงการ จากจุดเริ่มต้นที่จะเป็น

ศูนย์ในยุคเริ่มแรก เพราะพืชพันธุ์ส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นที่

รู้จักในประเทศไทยมาก่อน และส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจาก

ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่ง

ให้เริ่มต้นที่พืชก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นพืชพื้นเมือง

ที่มีอยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป

โดยหาต้นพืชพันธุ์ดีจากต่างประเทศมาต่อกับพันธุ์พื้นเมือง

ดั้งเดิม จากนั้นมาพืชผักเมืองหนาวและกึ่งหนาวหลายร้อย

ชนิด ผ่านการวิจัย ค้นคว้าและทดลองอย่างต่อเนื่องและ

ยาวนาน จนสามารถปรับปรุงพันธุ์ทั้งพืชและสัตว์ที่เหมาะสม

กับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในประเทศไทยได้

มากขึ้น สามารถคัดเลือกและผลิตสายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้

มากมายหลายชนิด ทั้งพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ พืชไร่ พืช

สมุนไพร รวมถึงพืชเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นชา หรือกาแฟ

For Quality December 2007 061

Page 4: Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

Special Scoop

062 For Quality Vol.14 No.122

ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

ในอดีต ปัจจุบันงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นต้น-

แบบของงานวิจัยการเกษตรที่สูง สร้างสมประสบการณ์

ทางวิชาการและเทคโนโลยีการปลูกพืชผัก และไม้ผล

เมืองหนาวอย่างหลากหลาย เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดู

งานของเกษตรกรและผู้สนใจในระดับภูมิภาคอย่างกว้าง

ขวาง”

ต่อยอดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน “เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการหลวงอยู่

บนเทือกเขาสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 700 เมตรขึ้นไป

ช่วงฤดูหนาวจะอากาศหนาวเย็น ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก และ

ฤดูร้อนก็ยังคงมีอากาศที่เย็นสบาย จึงมีความเหมาะสม

สำหรับการปลูกพืชเมืองหนาว พระบาทสมเด็จพระเจ้า-

อยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริให้หาพันธุ์พืชเหล่านี้มาวิจัย

และทดลอง ซึ่งจากผลสำเร็จของการวิจัย นำไปสู่การ

ถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมให้เกษตรกรนำพันธุ์พืช

พันธุ์สัตว์ และวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม ไปปลูก ไปเลี้ยง

และสอนเรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว จนกระทั่งเกิด

เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์

สำหรับบริโภคเองในครัวเรือน และจำหน่ายออกสู่ตลาด

ในที่สุด”

ส่งจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง “เนื่องจากความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาส่งผล

ให้ผลผลิตของโครงการหลวงมีจำนวนมากมายหลายร้อย

ชนิด ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะให้การดำเนินการนี้ประสบความ-

สำเร็จ นั่นคือ การส่งจำหน่ายสู่ตลาด ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการบริหาร

ทางการตลาดที่ดีด้วยเช่นกัน

ระบบการตลาดของโครงการหลวงเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2524 เพื่อ

นำผักกาดหอมห่อ และผลผลิตพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ของเกษตรกร

ออกไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค จากจุดเริ่มต้นมีเพียงไม่กี่ชนิด แต่ต่อมา

ได้พัฒนาจนกระทั่งมีมากกว่า 350 ชนิด ในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าการ

ดำเนินงานด้านการตลาดของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นระบบที่ครบวงจร

โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย เริ่มจากระบบการเก็บเกี่ยวที่มีประ-

สิทธิภาพ สามารถรองรับผลผลิตที่มีปริมาณมากและหลากหลายชนิดได้

การคัดบรรจุที่มีระบบการตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของผลิตผลเพื่อ

ให้เป็นไปตามมาตรฐานของมูลนิธิโครงการหลวง จากนั้นจึงบรรจุหีบห่อ

ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้าและกระจายไปสู่ลูกค้า

ทั่วประเทศผ่านช่องทางการจำหน่ายต่าง ๆ”

มาตรฐานความปลอดภัยระบบการจัดการด้านอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง

“ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงได้ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตผักให้

เข้าสู ่ มาตรฐานอาหารปลอดภัย หรือ Food Safety โดย การพัฒนา

ระบบการเพาะปลูกที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) จนได้รับ

การรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพระบบการผลิตและแหล่งพืชผักจาก

กรมวิชาการเกษตร สำหรับพืชผัก 70 ชนิด และผลไม้ 6 ชนิด และได้รับ

การรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตามมาตรฐานประเทศไทยจากกรมวิชา-

การเกษตรเช่นเดียวกัน

ผลผลิตที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทั้ง 37 แห่ง รวบรวมจาก

เกษตรกรในพื้นที่จะถูกส่งมายังโรงคัดบรรจุ และโรงงานอาหารแปรรูป

เชียงใหม่ ที่ได้รับ การรับรองระบบมาตรฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการ

ที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) จากสำนักงาน

มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ที่เน้นเรื่องการจัดการด้าน

สุขลักษณะของอาหารและสถานที่ผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

กับกระบวนการผลิต และยังได้รับ การรับรองระบบวิเคราะห์จุดวิกฤตที่

ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazards Analysis and Critical Control

Points System: HACCP) ตามมาตรฐาน CODEX จากแคมป์เดนและ

เชอร์รีวูด ประเทศอังกฤษ ที่กำหนด หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะ

ของอาหารที่ควรปฏิบัติ (Recommended International Code of

Practice: General Principle of Food Hygiene) ที่มุ่งเน้นการควบคุม

Page 5: Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

Special Scoop

For Quality December 2007 063

กระบวนการผลิต โดยเฉพาะขั้นตอนที่เป็นจุดวิกฤต นอกจากนี้ภายในเดือน

ธันวาคมนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังจะได้รับใบรับรองการตรวจประเมิน

มาตรฐานความปลอดภัยของอาหารในอุตสาหกรรมผัก และผลไม้ การ

รับรองมาตรฐานยูแรปแกป (EurepGAP) ของอียู ซึ่งเป็นมาตรฐาน

ควบคุมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีของผักและผลไม้อีกด้วย

ปัจจุบันโรงงานคัดบรรจุเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานตามมาตรฐาน

ทั้งสองระบบสอดคล้องกันเป็นอย่างดี เพื่อรักษามาตรฐานกระบวนการ

ผลิตผักสด ในระบบที่ป้องกันการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมี ด้านชีวภาพ

และด้านกายภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าที่สด สะอาด

และปลอดภัย นอกจากนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังปรับปรุงอาคารคัดบรรจุ

ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงให้ได้มาตรฐาน เพื่อทำให้พืชผักที่เกษตรกร

ส่งเข้ามายังศูนย์ฯ คงสภาพความสดให้นานที่สุดด้วยระบบเย็นเร็ว (Pre-

cooling) ทั้งระบบทำความเย็นด้วยน้ำ ระบบทำความเย็นด้วยลมเป่า ระบบ

ห้องเย็น และระบบเย็นเร็วแบบสุญญากาศ ที่ใช้หลักการที่น้ำเปลี่ยน

สถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ ในสภาวะความดันต่ำ ระบบทำความเย็น

ด้วยสุญญากาศ ผักจะมีความเย็นเท่ากันทั่วจนถึงแกนกลางของผัก

เนื่องจากความเย็นเกิดขึ้นภายในน้ำซึ่งอยู่ภายในเซลล์ของผัก ช่วยรักษา

ความสดของพืชผักได้นานมากกว่า 30 วัน”

ลูกค้าของมูลนิธิโครงการหลวง “มูลนิธิโครงการหลวง นอกจากจะมีร้านค้าที่จำหน่ายผลผลิต

ของตนเองในชื่อ “โครงการหลวง” แล้ว ยังมีช่องทางจำหน่ายกระจายไป

ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากมายที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนั้น

ยังมีช่องทางจำหน่ายที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ กลุ่มโรงแรม

ร้านอาหาร โดยลูกค้าที่สนับสนุนเป็นปริมาณมากและสม่ำเสมอ ได้แก่

ครัวการบินไทย และโรงแรมโอเรียนเต็ล”

การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งของ มูลนิธิโครงการหลวง

“ทุกวันนี้งานของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่ยอมรับ

ของหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ดำเนิน

การวิจัย พัฒนา และจำหน่ายนั้นเน้นหลักของความสด

สะอาด และปลอดภัยเป็นสำคัญ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้

บริโภคจำเป็นจะต้องพึงระวังในเรื่องเหล่านี้อย่างมาก ปัญ-

หาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นก็ยังคงจะมีอยู่บ้าง เช่น ปัญหา

ในเรื่องของสินค้าไม้ผลจากประเทศจีนที่เข้ามามีอิทธิพล

ต่อการตลาดในประเทศไทย เมื่อเข้ามาจำหน่ายก็ได้รับ

ความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงทำให้มูลนิธิโครงการ-

หลวงต้องมีการปรับตัว และปรับแผนการตลาดใหม่ ดังนั้น

จึงต้องมีการเร่งผลิตผลิตภัณฑ์ มีการนำไม้ผลมาวาง

จำหน่ายก่อน-หลังการนำเข้าจากประเทศจีน และต้องเน้น

ในเรื่องของคุณภาพ เลือกสรรเพาะปลูกแต่ไม้ผลที่มีคุณ-

ภาพ เพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ดีขึ้น นอกจากนี้

ยังเลือกที่จะปลูกไม้ผลที่ไม่มีการเพาะปลูกกันแพร่หลาย

มากนัก เช่น กีวีฟรุต อะโวควาโด เป็นต้น

สำหรับไม้ดอก จะเป็นผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโครง-

การหลวงที่ไม่ต้องเน้นในเรื่องความปลอดภัยมากนัก แต่

จะต้องมีการค้นคว้าพันธุ์ใหม่มาปลูกอยู่เสมอ แต่ที่สำคัญ

คือ จะต้องให้มีความสด ซึ่งดอกไม้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่

ดอกเบญจมาศ นอกจากนี้ ผัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ

มูลนิธิโครงการหลวงนั้นยังคงได้รับความนิยมและมียอด

จำหน่ายที่สูงที่สุด ดังนั้น จึงต้องเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งคุณภาพ ความสด สะอาด และปลอดภัย

ส่วนสมุนไพรนั้น เป็นการดำเนินงานที่เป็นไปได้

ด้วยดีเช่นกัน ทุกวันนี้มีผู้ให้ความสนใจในสมุนไพรของ

มูลนิธิโครงการหลวง เช่น โรสเมรี่ พาร์สลีย์ เป็นต้น

เครื่องกระป๋อง ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยม

ตัวอย่างเช่น น้ำเสาวรสกระป๋อง น้ำบ๊วย ข้าวโพดหวาน

เป็นต้น

กล่าวได้ว่ามูลนิธิโครงการหลวงถือเป็นโครงการ

แรกของโลกที่สามารถขจัดพื้นที่ปลูกฝิ่นด้วยวิธีการที่

Page 6: Special ScoopS · 2018-03-13 · Special S coop 062 For Quality Vol.14 No.122 ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่ขาดองค์ความรู้เรื่องพืชเมืองหนาว

Special Scoop

064 For Quality Vol.14 No.122

สร้างสรรค์ ด้วยแนวทางที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร-

ธรรมชาติบนที่สูงอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการใช้งาน

วิจัย ส่งเสริม และพัฒนาให้ชาวเขาหันมาปลูกพืชผัก

เมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่นได้เป็นผลสำเร็จอย่างงดงาม

ขณะเดียวกันยังส่งเสริมและพัฒนาทางด้านสังคมอีก

หลายด้าน เพื่อให้ประชากรชาวเขามีที่ทำกินอย่างมั่นคง

สามารถยืนอยู่ได้บนขาของตนเอง ส่งเสริมการพึ่งพา

ชุมชนเกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งขึ้น ประชาชนต่างได้รับ

ความสุข มีการพัฒนาในด้านการศึกษา การสาธารณสุข

มีจิตสำนึกที่รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ความสำเร็จของมูลนิธิโครงการหลวงทำให้ได้รับ

รางวัลแมกไซไซ สาขา International Understanding

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2531 และรางวัลโคลัมโบแพลน

จาก The Columbo Plan: Drug Advisory Program (DAP)

ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหายาเสพติดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในฐานะเป็นองค์กรเดียวของโลกที่แก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่น

ในเชิงสร้างสรรค์เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2546 ณ กรุง-

โคลัมโบ ประเทศศรีลังกา นอกจากนี้ มูลนิธิ World

Food Prize ยังได้ประกาศทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัล

Dr. Norman E. Borlaug Medallion แด่พระบาทสมเด็จ-

พระเจ้าอยู่หัวในระหว่างงานครบรอบ 20 ปี ของรางวัล

The World Food Prize เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2549

ที่เมือง Des Moines มลรัฐ Iowa สหรัฐอเมริกา ซึ่งเหรียญ-

รางวัล Dr. Norman E. Borlaug Medallion เป็นรางวัล

พิเศษที่มูลนิธิฯ จัดทำขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกในปีนี้ และ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระองค์แรกที่ได้รับ

รางวัลฯ นี้ ซึ่งแตกต่างจากรางวัล The World Food Prize

ที่มอบให้แก่ผู้ที่อุทิศตนเพื่อการพัฒนามนุษย์ระหว่าง

ประเทศในทุก ๆ ปี โดยผู้ที่จะได้รับเหรียญรางวัล Dr.

Norman E. Borlaug Medallion จะต้องเป็นบุคคล

นานาชาติระดับสูงสุดที่อุทิศตนเพื่อมนุษยธรรมในการ

ขจัดความหิวโหยและความยากจน รางวัลนี้ถูกก่อตั้งขึ้น

ในปี พ.ศ.2529 โดยนอร์แมน บอร์ล็อก (Norman

Borloug) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.

2513 และตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา ก็ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน

จากนักธุรกิจชื่อ จอห์น รวน รางวัลนี้มีการมอบเพื่อสดุดีการอุทิศตนต่อ

งานทุกด้านซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรอาหารของโลก อันได้แก่ วิทยา-

ศาสตร์และเทคโนโลยี การผลิต การตลาด โภชนาการ เศรษฐศาสตร์

การต่อสู้ความยากไร้ รวมถึงสังคมศาสตร์ ด้านอาหารและการเกษตร

นอกจากเป็นการสดุดีความสำเร็จส่วนบุคคลแล้ว บอร์ล็อกยังมอบรางวัล

ในฐานะหนทางหนึ่งในการสร้างต้นแบบอันจะเป็นแรงบันดาลใจต่อผู้อื่น

อีกด้วย”

ถวายพระพร “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ” “การที่ได้มาทำงานใต้เบื้องพระยุคลบาทถือว่าเป็นสิ่งสูงสุดใน

ชีวิต การทำงานที่ผ่านมาได้ดำเนินงานภายใต้ความสุขกายสุขใจ แม้ว่า

จะเป็นเพียงแค่อาสาสมัครที่เต็มใจมาปฏิบัติงานเท่านั้น แต่เมื่อได้ทำงาน

ภายใต้โครงการส่วนพระองค์ของพระองค์ท่านยิ่งทำให้เกิดความสุขยิ่งขึ้น

เมื่อได้ทราบว่าพระองค์ประชวรก็เกิดความรู้สึกที่เหมือนกับคนไทยทุกคน

คือ เป็นห่วง และอยากให้ทรงหายจากพระอาการประชวรเร็ว ๆ เมื่อเห็น

พระองค์ทรงออกจากโรงพยาบาลก็รู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง อยากให้

พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้นทกุ ๆ วัน และขอให้

พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ดังที่พระองค์เคยตรัสไว้ว่า “จะทรงมี

พระชนมายุถึง 120 ปี” ขอให้พระราชดำรัสที่ตรัสไว้จงเป็นจริงด้วยเทอญ”

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ