6

test111

Embed Size (px)

DESCRIPTION

weewewewvsfdrvavcsvczdvse

Citation preview

Page 1: test111
Page 2: test111

“พระพนัสบดีคู่บ้าน

จักสานคู่เมือง

ลือเลื่องบุญกลางบ้าน

ตำนานพระรถ-เมรี

ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด

เก่งกาจการทายโจ๊ก”

คำขวัญ อำเภอพนัสนิคม

จังหวัดชลบุร ี

Page 3: test111

เมืองพนัสนิคม

เมืองพนัสนิคม เป็นเมืองสำคัญเมือง

หนึ่งตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเคยรุ่งเรือง

เมื่อสมัย 1,000 ปี มาแล้ว หรือ

สมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจอยู่ใน

อาณาจักรสุวรรณภูมิ จากหลักฐานต่าง

ๆ น่าเชื่อถือว่าเมืองที่รุ่งเรืองดังกล่า

ว คือ เมืองพระรถ อำเภอพนัสนิคม

ตั้งขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่ง

เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระบรมราชโอง

การสถาปนาเมืองพนัสนิคมขึ้นเมื่อ พ.ศ.

2371 เป็นเมืองชั้นจัตวา ต่อมาเมื่อปี

พ.ศ. 2440 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุ

ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทร

งปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระ

เบียบการปกครองสิ่งใหม่เป็นมณฑลจัง

หวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปร

ดเกล้าให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอหนึ่ง

ของจังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2447

เมืองพนัสนิคมมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 12,000

คนเศษ ซึ่งประกอบไปด้วยชน 3 เชื้อชาติ คือชาวไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายลาว

ชาวพนัสนิคมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชย

กรรม และหัตถกรรมที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับ

ชาวพนัสนิคมเป็นอย่างมากคือ “การจักสาน”

เครื่องจักสานพนัสนิคมเป็นผลิตผลจากการใช้ไม้ไผ่มา

เป็นวัสดุในการจัดทำ สามารถสร้างสรรค์เป็นรูปทรง

และขนาดต่างๆ ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น

กระเป๋า ตะกร้า ฝาชี เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ ฯลฯ

Page 4: test111

ความเป็นมา

เมืองพนัสนิคมเป็นเมืองเก่ามีชุมชนที่มา

จากเชื้อชาติต่างๆ มาอยู่รวมกัน ทั้งคนไทย

ซึ่งอพยพมาตั้งแต่คราวกรุงศรีอยุธยาแต

ก ที่วัดโบสถ์ วัดหลวงและบ้านสวนตาล

นอกจาก นี้ ชุมชนเชื้อสายลาวซึ่งมาอยู่อาศัย

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ปัจจุบันคือ

บริเวณหมู่บ้านศรีวิชัย สำหรับชุมชนชาวจีนนั้น

มาอยู่ในคราวเมื่อมีการค้าขายแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ประเพณีบุญกลางบ้าน

ในแต่ละแห่ง จึงมีข้อรายละเอียดแตกต่าง

กันเล็กน้อย อันเนื่องมาจากความเชื่อและ

ประเพณีดั้งเดิมของเชื้อชาตินั้น ๆ

งานประเพณีบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักสาน

อย่างไรก็ งานบุญกลางบ้านนั้น มีมา

แล้วนับร้อยปี (อาศัยอายุจากผู้ให้ข้อมูล

คุณลุงมัย อายุ 85 ปี ท่านบอกว่า สมัยรุ่นบิดา

มารดา ของท่านทำกันมาก่อนแล้ว และยังคง

ดำรงสืบทอดต่อ ๆ กันมาโดยตลอด)

การกำหนดวัน กระทำในราวเดือน 3-6 โดยผู้เฒ่าผู้แก่

หรือชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ

โดยถือเอาวันว่างและสะดวก

Page 5: test111

งานประเพณีบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักสาน

วัตถุประสงค ์

ในการทำบุญกลางบ้านนี้

ไม่ว่าชุมชนเชื้อชาติใดก็ตาม ก็ถือ

คติการทำบุญที่คล้าย ๆ กันคือ

รำลึกถึงภูตผี เทวดา เพื่อ

- จะอยู่ดีมีแรง

- อยู่เย็นเป็นสุข

- สะเดาะเคราะห์

- เป็นสิริมงคล

- ร่มเย็นเป็นสุข

สิ่งที่ได้จากการทำงานบุญ

กลางบ้านทางอ้อมคือ ความสามัคคี

การไต่ถามสารทุกข์สุขดิบซึ่งกันและ

กัน มีปัญหาปรึกษาช่วยกันแก้ไข

และยังทำให้มีการแลกเปลี่ยนฝีมือ

การสารเครื่องจักรสารของชาวชุมชน

การใส่บาตร จะนำที่วางบาตรไว้โดยใช้ผ้าหรือทำที่ใส่บาตร โดยนำบาตรมาวางเรียงกันไว้

พอพระสวดพาหุง 8 ทิศ ชาวบ้านเริ่มใส่บาตรได้

ขอขอบคุณข้อมูล

http://www.nmt.or.th/chon-buri/phanat-muni/Lists/2550/AllItems.aspx

Page 6: test111

การดำเนินงาน

1. ตั้งปะรำปูพื้น ขึงผ้าม่าน พื้นในบาง

แห่งปูด้วยแผ่นไม้ บางแห่งใช้เสื่อ โดยเลือก

สถานที่ที่เป็นที่ว่างกลางหมู่บ้านหรือกลาง

ท้องนา ของชาวบ้าน

2. การกำหนดสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น

บางปีน้ำท่วมขังก็ย้ายที่ใหม่

3. จัดตั้งที่พระพุทธ ที่วางบาตรน้ำมนต์ บางสถานที่จะจัดตั้งศาลเพียงตา

บางแห่งจะใช้เพียง ต้นเสา 1 ต้น วางไม้พาดเป็นตัวที เรียกว่า ศาลเทวดา

ไว้สำหรับไหว้บรรพบุรุษหรือเจ้าที่ โดยส่วนใหญ่จะทำนอกปะรำพระสงฆ์

4. ตอนเย็นนิมนต์พระ 9 รูป หรือมากกว่านี้มาสวดมนต์เย็น

จะมีการตีฆ้อง 3 ครั้งหลังจากพระสวดจบ 1 บท หลังเลิกสวดมนต์แล้ว บางแห่งก็มีบางแห่งก็ไม่มี

การเล่นคือ หมอลำ ลิเกขี้เมา รำวง

5. เช้าวันรุ่งขึ้น พระจะมาฉันเช้า ชาวบ้านจะนำข้าวหม้อ แกงหม้อ มารวม ๆ

กันตักแบ่งถวายพระ ในบางแห่งจะมีการเผาข้าวหลาม ถวายพระด้วย

6. จะมีการทำกระทงด้วยใบตองใส่ลงไปในกระทงกาบกล้วยที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม

ใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนคนในบ้านรวมไปถึง

วัว ควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นด้วย ใส่เสื้อผ้าให้ด้วย นำกระทงนี้ไว้วางที่ทิศตะวันตก ในกระ

ทงนั้นบางแห่งใส่ชิ้นพร่าปลายำ พริกแห้ง เกลือ หัวหอม ข้าวดำ ข้าวแดง เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว

ท่านจะนำน้ำมาองค์ละ 1 แก้ว ยืนเป็นวงกลม แล้วสวดมนต์กรวดน้ำราดลงไปในกระทง

บางแห่งว่าอุทิศให้คนอยู่ บางแห่งว่าอุทิศให้คนตาย เสร็จแล้วชาวบ้านจะนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง

7. หลังเสร็จพิธี ชาวบ้านจะนั่งร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน โดยจะไต่ถามความเป็นอยู่

ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน