Transcript
  • 53 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    กรมแผนการชา่งกรมอูท่หารเรอืมหีนา้ที่สำรวจและตรวจสอบ วางแผนงาน อำนวยการกำกับการออกแบบกำหนดคุณลักษณะกำหนดราคามาตรฐาน กำหนดรายการพัสดุ และประมาณราคา จัดทำและควบคุมโครงการและงบประมาณที่ เกี่ยวกับแผนหลักในการซ่อมสรา้งดดัแปลงและปรบัปรงุเรอือปุกรณป์ระจำเรอื ยานรบ ที่ เกี่ยวข้อง เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องไฟฟ้า ในรอบปีที่ผ่านมากรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือ ได้จัดให้มีการเสวนาและ การสัมมนาทางวิชาการทั้ งภายในกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือและร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการระดมความคิด ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขบวนการในการทำงานของหน่วยงาน เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือและ

    การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ

    สามารถตอบสนองภารกิจหลัก ในการสร้างและซ่อมเรือของกรมอู่ทหารเรือ ตลอดจนสามารถสนับสนุนองค์ความรู้ และองค์บุ คคลให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในกองทัพเรือและหน่วยงานภายนอก

    หัวข้อการเสวนาและการสัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ จึงได้พิจารณาหัวข้อในการจัดเสวนาและสัมมนาที่มีความน่าสนใจ มีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยมีหัวข้อการเสวนาและสัมมนาดังนี้ 1. การนำมาตรฐานของClassificationSocietyมาใชใ้นการกำหนดStaffRequirement 2. การใชซ้อฟตแ์วร์Tribonบรหิารงานสร้างเรือ

    Tribon Shipbuilding System • Single Ship Model, multi-user concurrent access for design development and creation of production information

  • ารสารกรมอู่ทหารเรือ ประจำปี 2555ว54

    3. บทเรียนจากการปฏิบัติ งานของกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือในอดีต 4.มาตรฐานการออกแบบเรือและฐานข้อมูลการจัดซื้อ 5. การจดัทำงบประมาณและการจดัซือ้/จา้ง 6.การซ่อมทำเครื่องยนต์MTU 7.ระบบงานสีเรือของกองทัพเรือ 8.การปรับปรุงการซ่อมทำเรือแนวใหม่ จ ากหั วข้ อการ เสวนาและสั มมนาดังกล่าวกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินสำเร็จลุล่วงสำเร็จตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้โดยมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อดังนี้

    การนำมาตรฐานของ Classification Society มาใช้ในการกำหนด Staff Requirement เนื่องจากกองทัพเรือมีโครงการจัดหาและการปรับปรุงดัดแปลงเรือจำนวนหลายโครงการ ซึ่งกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือต้ อ ง ส นั บ ส นุ น ก ำ ลั ง พ ล ใ น ก า ร ร่ ว ม เ ป็ นคณะกรรมการต่างๆในภารกิจโครงการโดยเป็นผู้แทนของกรมอู่ทหารเรือ ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา พิจารณา กำหนด ควบคุม และตรวจสอบยุทโธปกรณ์ตลอดจนการทดสอบและติดตั้งให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรมการต่อเรือ โดยมีมาตรฐานต่าง ๆ เป็นข้อกำหนดที่มีหลากหลายให้เลือกใช้ จุดมุ่งหมายของการออกแบบเรือ คือทำให้เรือมีขีดความสามารถในการตอบสนองการปฏิบัติภารกิจ (Serve Operation) มีความปลอดภัยสูง (Safe Ship) และมีประสิทธิภาพในการใช้งาน (Effective Capability) ด้วยมาตรฐานที่เหมาะสมตามประเภทของเรือรวมทั้งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมาตรฐานต่าง ๆที่กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ใช้ในการออกแบบเรือมีดังนี้

    1. ม า ต ร ฐ า น ร ะ ดั บ น า น า ช า ติ(InternationalStandard)เช่นISO,IEC 2. มาตรฐานอุตสาหกรรม (IndustrialStandard)เช่นASTM,DIN,IEEE 3. ข้อกำหนดของสมาคมจัดชั้นเรือ(ClassificationSociety)เช่นABS,DNV,LR 4. มาตรฐานทางทหาร (MilitaryStandard)เช่นMIL,DStan การเลือกใช้มาตรฐานในระดับสากลมีแนวทางคล้ายคลึงกัน สำหรับเรือรบแล้วจะต้องพิจารณาความสำคัญในภารกิจทางทหารเป็นอันดับแรก ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เป็นลำดับถัดมาเพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ผลการสัมมนากรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือได้จัดทำคู่มือ“การเลือกใช้มาตรฐานในการออกแบบเรือ” ซึ่งครอบคลุม ทั้งด้านตัวเรือกลจักร และไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการนำมาตรฐานต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบให้เหมาะสมกับประเภทของเรือเพื่อให้เรือมีขีดความสามารถตรงกับความตอ้งการทางยุทธการมากที่สุด กรมอู่ทหารเรือ อนุมัติใช้เมื่อวันที่20ธันวาคมพ.ศ.2553

    การใช ้Software Tribon บรหิารงานสร้างเรือ โปรแกรม Tribon เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับการออกแบบเรือโดยเฉพาะ เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมีขีดความสามารถในการออกแบบเรือในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน วิศวกรออกแบบเรือฝ่ายต่าง ๆ สามารถมองเห็นการออกแบบของฝ่ายต่างๆได้ทำให้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนสามารถมองภาพในสามมิติ นำข้อมูลไฟล์ไปตัดชิ้นส่วนประกอบตัวเรือด้วยเครื่อง CNC ได้ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณปริมาณพัสดุในการสร้างเรือ

  • 55 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    ได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีใช้งานในอู่เรือชั้นนำของโลกหลายแห่ง จึงเป็นที่น่ายินดีที่กรมอู่ทหารเรือโดยกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือได้มีโอกาสใช้โปรแกรมที่ทันสมัยนี้ ในการสร้างเรือเศรษฐกิจพอเพียง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.991และ ต.994 การที่จะใช้โปรแกรมนี้ให้คุ้มค่า เป็นประโยชน์สูงสุดกับทางราชการอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีการวางแผนกำหนดแนวทางการใช้โดยเฉพาะการพัฒนากำลั งพลให้มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือจึงได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ “การใช้ SoftwareTribonบริหารงานสร้างเรือ” เพื่อระดมความคิดจากผูท้ีเ่กีย่วขอ้งในการกำหนดแนวทางการใชง้าน โปรแกรมนี้ต่อไปในอนาคต ผลจากการสัมมนาได้กำหนดแนวทางการใช้โปรแกรม Tribon ให้เป็นซอฟต์แวร์ในการออกแบบเรือของกรมอู่ทหารเรือต่อไป ทั้งนี้จำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานโปรแกรมอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ พัฒนาการใช้งานโปรแกรมให้เต็มศักยภาพ เช่น การนำข้อมูลไปใช้ในการตัดชิ้นส่วนประกอบเรือด้วยเครื่อง CNC ในส่วนของงานผลิต ต่อไปในอนาคตการขยายแบบสร้างตัวเรือก็จะลดระยะเวลาลงได้อย่างมาก

    บทเรียนจากการปฏิบัติงานในอดีต การเรียนรู้อดีตเพื่อ เป็นบทเรียนในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคต เป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเชิงรุกได้ดีอยู่เสมอ ที่ผ่านมาในแต่ละปีหน่วยงานต่าง ๆของกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ มีการปฏิบัติ งานที่ ต้องพบกับอุปสรรคข้อขัดข้องบางเหตุการณ์สามารถผ่านพ้น ไปได้ด้วยดี แต่บางเหตุการณ์นั้นกว่าจะผ่านพ้นไปได้ก็ต้องระดมความคิดพลังสมองของกำลังพลร่วมกันแก้ไข

    ปัญหา ดังนั้นกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือจึงได้คัดกรองประเด็นปัญหาที่ เกิดจากการปฏิบัติงานที่สมควรนำมาเป็นบทเรียนในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต โดยได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุความผิดพลาด แนวทางการแก้ไขที่ผ่านมาการดำเนินการด้วยหลักวิชาการที่ควรใช้และหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก จะมีแนวทางการแก้ไขปญัหาอยา่งไรซึง่หนว่ยตา่งๆไดน้ำเสนอบทเรยีน ที่สำคัญได้แก ่ 1. การประมาณการราคาเรือ (กรณีศึกษาการประมาณราคาค่าจัดส่งพัสดุและแบบรายละเอียดสำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง) 2. การระบุคุณลักษณะพัสดุเพื่อการจัดซื้อ 3. การจดัซือ้ชดุบำบดัของเสยี ประจำปีงบประมาณ2553 4. บทเรียนในการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของพัสดุ 5. การจัดหาสายไฟบกสนับสนุนให้กับเรือในกองทัพเรือ 6.ธรรมะกับกรณีศึกษา ผลการสัมมนาในแต่ละหัวข้อมีประเด็นที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้เป็นบทเรียนในการทำงานต่อไปในอนาคตได้ อีกทั้งได้นำหัวข้อธรรมะมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาบทเรียนต่างๆดังนี้

  • ารสารกรมอู่ทหารเรือ ประจำปี 2555ว56

    1. ให้นำบทเรียนต่าง ๆ จากหัวข้อการสัมมนามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแกไ้ขและใชใ้นการปฏบิตังิานทัง้นีใ้หย้ดึมาตรฐาน กฎ ระเบียบ และประโยชน์ต่อทางราชการเป็นสำคัญ 2. ให้นำหลักธรรมะมาประยุกต์ใช้กับการปฏบิตังิานของกรมแผนการชา่งกรมอูท่หารเรอื 3. ให้ร่วมกันปรึกษาหารือ หาหนทางในการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการออกแบบเรือ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการออกแบบเรือ ทั้งด้านตัวเรือกลจักรและไฟฟ้าการออกแบบเรือให้เรือมีความปลอดภัยเหมาะสมในการใช้งานและมีขีดสมรรถนะตามที่ต้องการ แตกต่างกันไปตามประเภท ภารกิจของเรือภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆทั้งงบประมาณทรัพยากรหรือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการออกแบบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรือที่ออกแบบนั้นมีคุณสมบัติตามที่กำหนดผู้ที่ เกี่ยวข้องในขั้นตอนการสร้างเรือปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไปในแนวทางเดียวกันในหัวข้อด้านมาตรฐานของกองออกแบบกลจักร ฯมาตรฐานของกองออกแบบต่อเรือ ฯ โดยวัตถุประสงค์ ของการสั มมนา เพื่ อ ให้ ฝ่ า ยออกแบบต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการออกแบบที่ใช้งานและได้ข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการกำหนดมาตรฐานในการออกแบบเรือร่วมกัน ผลจากการสัมมนามีแนวทางการใช้มาตรฐานการออกแบบเรือดังนี้ 1. มาตรฐานกองออกแบบกลจักร ฯให้ใช้ตามที่เจ้าของเรือต้องการจะใช้ข้อกำหนดของสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification Society)เช่นABS,DNV,LR

    2. มาตรฐานกองออกแบบตอ่เรอื ฯ จะนำมาตรฐานที่มีใช้ตามในข้อกำหนด 2.1 มาตรฐานระดับนานาชาติ(InternationalStandard)เช่นISO,IEC 2.2 ม า ต ร ฐ า นอุ ต ส า หก ร ร ม(IndustrialStandard)เช่นASTM,DIN,IEEE 2.3 ข้อกำหนดของสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification Society) เช่น ABS, DNV,LR 2.4 ม า ต ร ฐ า น ท า ง ท ห า ร(MilitaryStandard)เช่นMIL,DStan การจัดทำงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง การปฏิบัติงานของกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือ มีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากมีความผิดพลาดในการปฏิบัติย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าในกฎระเบียบเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้ซึ้งถึงกลวิธีของผู้ที่อาศัยช่องว่างกฎหมายในการหาผลประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางราชการ วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อให้กำลังพลของกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือมีความรู้ในการจัดทำงบประมาณและการจัดซื้ อจัดจ้ าง รวมทั้ งข้อควรระวั งข้อสังเกตต่าง ๆ จากผู้ เชี่ยวชาญ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ ร่วมกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ ทั้งโดยส่วนตัวและทางราชการต่อไป ผลจากการสัมมนาได้กรอบแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างและความรู้ต่างๆดังนี้ 1. การจัดซื้ อจัดจ้ างให้ปฏิบัติตามนโยบายกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือได้แก่ 1.1ถูกต้องตามกฎระเบียบ

  • 57 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    1.2ถูกหลักปฏิบัติทฤษฎี 1.3ต้องสำเร็จและสัมฤทธิ์ผล 1.4กองทัพเรือได้ประโยชน์ 1.5 ตรงตามความตอ้งการของผูใ้ช้ 2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆดังนี้ 2.1การจัดทำงบประมาณดังนี้ 2.1.1 หลักการและวิธีการงบประมาณโดยทั่วไป 2.1.2 กระบวนการงบประมาณแผ่นดิน 2.1.3 การบรหิารงบประมาณ 2.2การจัดซื้อ/จ้างดังนี้ 2.2.1 ระเบยีบการจดัซือ้/จา้ง 2.2.2 หลกัการจดัหาพสัดุ 2.2.3 ขั้นตอนการจัดหาพัสดุ

    การซ่อมทำเครื่องยนต์ MTU เรือต่าง ๆ ของกองทัพเรือใช้เครื่องยนต์ตราอักษร MTU อยู่ เป็นจำนวนมากหลายหน่วยงาน ในแต่ละปีต้องมีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องทั้งการซ่อมฉุกเฉินการซ่อมทำขั้นW1-6ซึ่งกรมอู่ทหารเรือเป็นหลักในการดำเนินการจึงจำเป็นต้องจัดหาอะไหล่และการบริการทางเทคนิคจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ MTU AsiaPte.Ltd.บริษัท เพาเวอร์เทค2004จำกัดและบริษัท ยูพีเอส เอ็นจิน เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัดการดำ เนิ นการดั งกล่ า วที่ ผ่ านมามีปัญหาข้อขัดข้องเกิดขึ้นทั้ งระเบียบขั้นตอนปฏิบัติและความไม่เข้าใจกัน ทั้งกรมอู่ทหารเรือและผู้ประกอบการจึงจัดการสัมมนาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และสร้างความร่วมมือระหว่างกันโดยมีผู้แทนหน่วยต่างๆเข้าร่วมได้แก่กรมอู่ทหารเรือกองเรือยุทธการ และผู้แทนผู้ประกอบการ ณโรงแรม ชาเตรียม สวีท กรุงเทพมหานคร วันที่28 เมษายน พ.ศ.2554 โดยมีวัตถุประสงค์

    เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความร่วมมือระหว่างกรมอู่ทหารเรือกับผู้ประกอบการ ผลจากการสัมมนากรมอู่ทหารเรือและMTUAsiaPte.Ltd.บริษัท เพาเวอร์เทค2004จำกัด และ บริษัท ยูพีเอส เอ็นจิน เซอร์วิสเซ็นเตอร์ จำกัด ได้ลงนามในเอกสารข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันโดยมีสาระสำคัญได้แก่ 1. ให้มีความร่วมมือกับกรมอู่ทหารเรืออย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านองค์บุคคล (การอบรมสัมมนา, การฝึกอบรมหลักสูตรการซ่อมบำรุงต่าง ๆ) ด้านองค์วัตถุ (การให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ อะไหล่ ตลอดจนการทดสอบต่างๆ) 2. จัดทำแผนการซ่อมทำและทำการสั่งอะไหล่ล่วงหน้า 4 เดือน (บางชิ้นส่วนอาจจะ8 เดือนแล้วแต่กรณี) หากตามสัญญากำหนดแล้วเสร็จ 180 วัน บริษัท ฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนภายใน150วัน 3. ผู้ประกอบการจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ งทั้ ง หมดร่ ว มประชุ มห า รื อ กั บกรมอู่ทหารเรือ และได้ทำบันทึกความเข้าใจในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การจัดซื้ออะไหล่ของกรมอู่ทหารเรือ สามารถส่งมอบได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว 4. บริษัทเพาเวอร์เทค2004จำกัดจะดำเนินการจัดส่งเอกสารทางเทคนิคและเอกสารรายงานวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์MTUให้เป็นวงรอบ 5. บริษัท เพาเวอร์เทค 2004 จำกัดจะจัดสัมมนาโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงจากหนว่ยตา่งๆเชน่กรมแผนการชา่งกรมอูท่หารเรอื หน่วยซ่อมของกรมอู่ทหารเรือ และหน่วยผู้ใช้เรือ(กองเรือยุทธการ) เข้าร่วมสัมมนาเพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค และข้อขัดข้องต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องยนต์MTU

  • ารสารกรมอู่ทหารเรือ ประจำปี 2555ว58

    ระบบงานสีเรือของกองทัพเรือ ในปัจจุบัน เรือที่ เข้ ารับการซ่อมทำมีสภาพตัวเรือผุกร่อนโดยเฉพาะตัวเรือใต้แนวน้ำซึ่ ง เป็นส่ วนที่ มี ความสำคัญที่ เ กี่ ย วข้ องกับความปลอดภัยและสมรรถนะของเรือ ในปัจจุบันสีทาเรือได้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพอายุการใช้งานมากยิ่งขึ้น กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือจึงได้จัดการสัมมนาเชงิวชิาการในหวัขอ้“ระบบงานสเีรอืของกองทพัเรอื”ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ห้องประชุมกรมอู่ทหารเรือ วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสีทาเรือกับกำลังพลของกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ และระดมความคดิ ขอ้เสนอแนะในการปรบัปรงุวธิกีาร เทคโนโลยีการทาสีเรือของกองทัพเรือให้ดียิ่งขึ้น

    ผลจากการสัมมนาได้แนวทางการทาสีเรือของกองทัพเรือดังนี้ 1. ระบบสีกันเพรียงเป็นตราอักษรเดียวกันทั้งระบบและเหมาะสมต่อการใช้งานตามประเภทเรือ 2. ระบบสีตัว เรือภายนอกทั้ งหมดต้องผ่านมาตรฐานIMOหรือMil 3. สีตัวเรือภายในท้องเรือต้องมีความเหมาะสมต่อการใช้งานในพื้นที่บริเวณน้ำท่วมขัง 4. กำหนดวงรอบการลอกสีและทำสีเรือใหม่ทุก10ปีควรให้ลอกสีถึงเนื้อเหล็ก 5. คุณสมบัติของสีสำหรับทาเรือได้รับมาตรฐาน IMO หรือมาตรฐานทางการทหารของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา หรือกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ 6. คุณสมบัติของสีดาดฟ้าบินต้องเป็นไปตามมาตรฐานMIL–PRF-24667LSA

    การบริหารงานซ่อมทำเรือของกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ.2554 กรมอู่ทหารเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานปรบัปรงุแนวทางการซอ่มทำเรอืของกรมอูท่หารเรอืเพื่ อ ให้ ก ารซ่ อมทำ เรื อของกองทัพ เรื อ มีประสิทธิภาพเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การบริหารงานซ่อมทำเรือของกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ.2554” โดยกำหนดการจัดประชุม ฯ จำนวน 2 วัน ระหว่าง

  • 59 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    วันที่ 6 – 7 กันยายน พ.ศ.2554 ณ อาคารนาวีภิรมย์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ กรมอู่ทหารเรือกองเรือยทุธการ และหนว่ยใชก้ำลงัในพืน้ทีต่า่ง ๆจำนวน77นาย วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางการซ่อมบำรุงเรือของกรมอู่ทหารเรือที่คณะทำงาน ฯ ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกรมอู่ทหารเรือ ตลอดจนผู้ บั งคั บบัญชาระดับสู งของหน่ วยผู้ ใช้ เรื อรบัทราบและขอรบัทราบความคดิเหน็ขอ้เสนอแนะ อื่นๆ เพื่อที่คณะทำงานฯจะได้นำมาสรุปเสนอกรมอู่ทหารเรือเพื่อขออนุมัติใช้งานต่อไป ผลจากการประชุมสัมมนาผู้ เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประโยชน์หลายประการและได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ 1. ทบทวนคู่มือการบริหารซ่อมทำเรือของกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ.2550 โดยการปรับปรุงวงรอบการซ่อมบำรุงเรือใหม่ตามขนาดและสภาพของเรือที่ใช้TimeAssessmentเป็นตัวกำหนด 2.ทบทวนการแบ่งมอบเรือให้กับหน่วยซ่อมเจ้าภาพ โดยการนำข้อมูลที่ตั้งปกติของเรือหรือพื้นที่ปฏิบัติการ ข้อมูล ขีดความสามารถWorkLoadของหน่วยซ่อมบำรุงมาพิจารณา 3. จั ดหาสี ท า เรื อที่ มี คุณภาพและการติดตั้งสังกะสีกันกร่อนที่ได้มาตรฐาน 4.หน่วยซ่อมบำรุงสำรวจและจัดทำรายละเอียดการซ่อมทำ/รายการอะไหล่ให้ชัดเจนโดยกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการกำหนดรูปแบบและแบบฟอร์มในการสำรวจเรือให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและนำระบบ UnitReplacementมาใช้ในการจัดหาอะไหล่

    ผลจากการจัดเสวนาและสัมมนาของกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ทำให้เกิดแนวความคิดการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการต่อไป และจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถตอบสนองภารกิจหลักในการสรา้งและซอ่มเรอืตลอดจนสามารถสนบัสนนุ องค์ความรู้และองค์บุคคลให้กับหน่วยงานอื่น ๆทั้งในกองทัพเรือและหน่วยงานภายนอก ซึ่งทำให้กรมอู่ทหารเรือมีศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ในฐานะหน่วยงานหลักด้านยุทธบริการของกองทัพเรือที่มีประวัติศาสตร์และผลงานยาวนาน ต่อเนื่องจนถึง122ป ีแห่งนี้

    วารสารกรมอู่ ปี 55 55วารสารกรมอู่ ปี 55 56วารสารกรมอู่ ปี 55 57วารสารกรมอู่ ปี 55 58วารสารกรมอู่ ปี 55 59วารสารกรมอู่ ปี 55 60วารสารกรมอู่ ปี 55 61


Recommended