Transcript
Page 1: “เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย”apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-19032556-114254-8s1RwC.pdf ·

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก สสค.

เมื่อฉบับที่แล้วเราคุยกันเรื่องสัมมาชีพ คุณหมอประเวศ วะสี

ราษฎรอาวุโส ท่านเตือนสติว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงเพื่อเศรษฐกิจนั้น

น่าจะผิดทาง เพราะหมายถึงเราหาเงินเพื่อเงินแต่มิใช่เพื่อคุณภาพชีวิต

และสังคมที ่ดีขึ ้น ในด้านการศึกษาก็น่าจะได้ข้อคิดทำนองเดียวกัน

“การศึกษาเพียงเพื่อการศึกษา” ก็หมายถึงเรียนเพื่อมุ่งหวังใบปริญญา

เท่านั้น โดยผู้ออกแบบการศึกษาอาจมองข้ามการตรวจสอบว่าการศึกษา

จะช่วยให้คุณภาพเด็กเยาวชนดีข้ึนหรือไม่ สังคมดีข้ึนหรือไม่ ประเทศชาติ

พัฒนาขึ้นจากผลของการศึกษาเพียงไร

การศึกษากับการพัฒนาจึงสัมพันธ์กัน หากปฏิรูปการศึกษาโดย

ต่อไม่ติดกับการพัฒนาประเทศจะน่าเสียดายโอกาสหรือไม่? ดังนั้นหากใช้

ตรรกะเริ่มต้นดังกล่าวเราคงต้องเริ่มด้วยการทบทวนว่า การศึกษาจะ

นำไปสู่การพัฒนาคน สังคมและประเทศได้อย่างไร? แต่พวกเราจำนวน

หนึ ่งอาจลืมโจทย์พื ้นฐานนี ้ หากแต่กระโดดข้ามไปออกแบบระบบ

การศึกษาเพื่อการศึกษาและละทิ้งสิ่งเชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับชีวิตจริง

ของเด็กเยาวชน

ชีวิตจริงของเด็กเยาวชนไทยในปจจุบันเป็นอย่างไร? คำถามนี้

น่าจะมีคำตอบได้หลากหลายมุมมองแต่โดยรวมๆ แล้วสุ ้มเสียงที ่

วิพากษ์กันออกจะโน้มไปข้างที่น่าห่วงใย ดร.รุ งนภา จิตรโรจนรักษ

นักวิชาการของเราได้ประมวลตัวเลขสถิติจากหลายหน่วยงานรวมถึง

ผลการสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2553 ที ่สำนักงานสถิติแห่งชาติ

รายงานไว้ ประมวลแล้วพอจะเห็นภาพชีวิตจริงของเด็กเยาวชนไทยใน

“ภาพใหญ่” ดังนี้

เส้นทางชีวิตของเด็กไทยที่เกิดปีละ 8 แสนคนเศษนั้น หากเทียบ

อัตราส่วน 1 ต่อ 80,000 จะเปรียบให้เห็นภาพง่ายขึ้นว่าหากประเทศไทย

มีเด็ก 10 คนแต่ละรุ่นที่เกิดในปีเดียวกัน เด็กสิบคนนี้จะมีเส้นทางการ

เดินทางตามระบบการศึกษาไทยโดยเดินไปบนเส้นทางได้ใกล้ไกลแตกต่างกัน

โดยจากจำนวนรวม 10 คนนั้น เด็ก 1 คน (หรือร้อยละ 13)

เรียนไม่จบ ม.3 (ไม่จบแม้แต่การศึกษาภาคบังคับ) เด็ก 3 คน (ร้อยละ 30)

ได้เรียนจนจบ ม.3 แล้วเลิกเรียน เด็ก 2 คน (ร้อยละ 21) เรียนจนจบ

ม.6/ปวช. แล้วไม่ได้เรียนต่ออุดมศึกษา เหลือเพียงเด็ก 4 คน (ร้อยละ

36) เรียนต่อขั้นอุดมศึกษา

ดูเผินๆ เด็กสี่คนที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยน่าจะมีโอกาสที่ดีกว่ามาก

แต่กลับพบสถิติว่าใน 4 คนนี้มีเพียง 3 คนที่เรียนได้จนจบอุดมศึกษา

ยิ่งกว่านั้นใน 3 คนที่ใช้เวลาเพิ่มอีก 4-8 ปีนั้นมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ได้

งานทำในปีแรกหลังจากจบปริญญา ส่วนที่เหลือ 2 คนจบแล้วต้องว่างงาน

ในระยะ 12 เดือนแรก

ผลการสำมะโนประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2553

ซึ่งมีความละเอียดกว่าการสุ่มตัวอย่างเพราะต้องเดินเข้าไปถามทุกบ้านนั้น

รายงานผลสอดคล้องกับข้อมูลที่วิเคราะห์ข้างต้น โดยพบว่าประชากร

อายุ 15-19 ปี ออกทำงานจำนวนมากถึง 1.2 ล้านคน หรือประมาณ

1 ใน 4 (ร้อยละ 26) เยาวชนวัยนี ้หากอยู ่ในระบบก็จะอยู่ระดับ

มัธยมปลาย ปวช. หรือเริ่มเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มผู้ทำงานจะมีอาชีพ ดังนี้

1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (41%) 2) งานพื้นฐาน เช่น แผงลอย

ทำความสะอาด ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (17%) 3) พนักงานบริการ/ขาย/

เสมียน (15%) 4) วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (14%) และ

5) ควบคุมเครื่องจักร (7%)

“เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย” จดหมายถงึเพือ่นสมาชกิ ฉบบัที ่105

Page 2: “เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย”apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-19032556-114254-8s1RwC.pdf ·

ในขณะที่เยาวชนอายุ 20-24 ปี ทำงานจำนวน 2.8 ล้านคน

(ร้อยละ 61) ไม่ทำงานจำนวน 1.7 ล้านคน (ร้อยละ 36) เยาวชนวัยนี้

หากอยู่ในระบบก็จะเป็นระดับอุดมศึกษา หรือสายอาชีพชั้นสูง ตัวเลข

สำมะโนจึงตรงกับตัวเลขเปรียบเทียบเด็กสิบคนข้างต้นว่ามีเพียง 4 ใน

10 คนเท่านั ้นที ่เร ียนต่อ สำหรับส่วนใหญ่ออกทำงานมีอาชีพดังนี ้

1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (27%) 2) พนักงานบริการ/ขาย/เสมียน

(20%) 3) วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (18%) 4) อาชีพงาน

พื้นฐาน เช่น แผงลอย ทำความสะอาด ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (14%)

และ 5) ควบคุมเครื่องจักร (11%)

บางท่านเห็นสถิตินี ้แล้วอาจรีบเสนอทางออกให้เพิ ่มที ่นั ่งใน

มหาวิทยาลัย แต่ข้อเท็จจริงนั้นอัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษาของไทยเมื่อ

เปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้วเราไม่ได้มีอัตราต่ำกว่าประเทศอื่นเลย

ไม่มีประเทศใดในโลกที่พยายามให้เด็กของตนเข้าเรียนอุดมศึกษาทั้งหมด

100% ยิ่งกว่านั้นจากสถิติของผลการเรียนมหาวิทยาลัยดังกล่าวมาแล้ว

ปัจจุบันเรามีผู้ที่เข้าเรียนแต่ไม่จบมากถึง 1 ใน 4 นี่ยังไม่รวมสภาพปัญหา

ที่เรียนจบแล้วตกงานอีกจำนวนมาก

โดยประชากรที่อายุ 25-29 ปี ประชากรวัยนี้ควรจะจบการศึกษา

ระดับสูงสุดของแต่ละคนแล้วและควรจะทำงานกันเกือบทั้งหมด แต่

ข้อมูลสำมะโนพบว่า ทำงานจำนวน 4.2 ล้านคน (ร้อยละ 84) และไม่ได้

ทำงานมากถึง 720,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 7 (ร้อยละ 15) สำหรับ

อาชีพนั้นมีการกระจายตัวดังนี้ 1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (24%) 2)

วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (23%) 3) พนักงานบริการ/ขาย/

เสมียน (22%) 4) อาชีพงานพื้นฐาน เช่น แผงลอย ทำความสะอาด

ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (13%) และ 5) ควบคุมเครื่องจักร (11%)

ระบบการศึกษาพื้นฐานได้จับเด็กเยาวชนเข้ามาอยู่ในโรงเรียน

ยาวนาน 12-15 ปี เด็กแต่ละรุ่นนั้นเมื่ออายุ 18 ปี จำนวนมากถึง 6 ใน

10 คนออกจากระบบการศึกษากันแล้ว วัยรุ ่นเหล่านี ้เมื ่อออกจาก

รั้วโรงเรียนก็จะต้องกลายเป็น “ผู้ใหญ่” โดยฉับพลัน พวกเขาต้องผจญ

ชีวิตจริง ต้องพึ่งตนเอง ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว และที่สำคัญคือ

ต้องมีงานทำ คำถามตัวโตก็คือในช่วงเวลา 12-15 ปีนั้นโรงเรียนได้

เตรียมให้เด็กพร้อมกับการผจญชีวิตจริงเพียงไร?

บนเส้นทางการศึกษานั้นไม่ว่าเด็กจะใช้เวลาเพียง 12 ปี 15 ปี

19-20 ปี หรือเท่าใดก็ตาม แต่สิ่งที่เขาควรจะได้รับเท่าเทียมกันน่าจะเป็น

ความพร้อม รวมถึงทักษะจำเป็นที่เขาจะใช้สู้ชีวิต มีอาชีพ พัฒนาตนเอง

และเป็นสมาชิกท่ีดีของสังคมไทย หากประกอบกับโอกาสท่ีเขาจะได้เรียนรู้

อย่างต่อเนื่องในวัยทำงานด้วยก็ย่อมหมายถึงการศึกษาที่เป็นประโยชน์

ต่อชีวิตจริง มิใช่เพียงการศึกษาเพื่อศึกษาหรือใบปริญญาเท่านั้น

สมาชิกสามารถติดตามข่าวสารความเคลื ่อนไหวของ สสค.

ได้ทาง www.QLF.or.th หรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ twitter

สสค. @QLFthailand และ Facebook ที่ www.facebook.com/

QLFthailand เช่นเคยครับ

สุภกร บัวสาย @supakornQLF 19 มีนาคม 2556

ขณะนี้ สสค. มีผู้รับจดหมายข่าวกว่า 23,000 คน สมัครเป็นสมาชิก สสค. เพิ่มเติม เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว ได้ที่ www.QLF.or.th


Recommended