2
สวสดครบเพอนสมาชก สสค. เมอฉบบทแลวเราคุยกนเรองสมมาชพ คณหมอประเวศ วะส ราษฎรอาวโส ทานเตอนสตวาการพฒนาเศรษฐกจเพยงเพอเศรษฐกจนน นาจะผดทาง เพราะหมายถงเราหาเงนเพอเงนแตมใชเพอคุณภาพชวต และสงคมทดขน ในดานการศกษากนาจะไดขอคดทำนองเดยวกน “การศกษาเพยงเพอการศกษา” กหมายถงเรยนเพอมงหวงใบปรญญา เทานน โดยผูออกแบบการศกษาอาจมองขามการตรวจสอบวาการศกษา จะช วยให คุณภาพเด กเยาวชนด นหร อไม งคมด นหร อไม ประเทศชาต พฒนาขนจากผลของการศกษาเพยงไร การศกษากบการพฒนาจงสมพนธกน หากปฏรูปการศกษาโดย ตอไมตดกบการพฒนาประเทศจะนาเสยดายโอกาสหรอไม? ดงนนหากใช ตรรกะเรมตนดงกลาวเราคงตองเรมดวยการทบทวนวา การศกษาจะ นำไปสการพฒนาคน สงคมและประเทศไดอยางไร? แตพวกเราจำนวน หนงอาจลมโจทยพนฐานน หากแตกระโดดขามไปออกแบบระบบ การศกษาเพอการศกษาและละทงสงเชอมโยงการศกษาเขากบชวตจรง ของเดกเยาวชน ชวตจรงของเดกเยาวชนไทยในปจจบนเปนอยางไร? คำถามน นาจะมคำตอบไดหลากหลายมุมมองแตโดยรวมๆ แลวสุมเสยงท วพากษกนออกจะโนมไปขางทนาหวงใย ดร.รงนภา จตรโรจนรกษ นกวชาการของเราไดประมวลตวเลขสถตจากหลายหนวยงานรวมถง ผลการสำรวจสำมะโนประชากร ป 2553 ทสำนกงานสถตแหงชาต รายงานไว ประมวลแลวพอจะเหนภาพชวตจรงของเดกเยาวชนไทยใน “ภาพใหญ” ดงน เสนทางชวตของเดกไทยทเกดปละ 8 แสนคนเศษนน หากเทยบ อตราสวน 1 ตอ 80,000 จะเปรยบใหเหนภาพงายขนวาหากประเทศไทย มเดก 10 คนแตละรุนทเกดในปเดยวกน เดกสบคนนจะมเสนทางการ เด นทางตามระบบการศ กษาไทยโดยเด นไปบนเส นทางได ใกล ไกลแตกต างก โดยจากจำนวนรวม 10 คนนน เดก 1 คน (หรอรอยละ 13) เร ยนไม จบ ม.3 (ไม จบแม แต การศ กษาภาคบ งค บ) เด ก 3 คน (ร อยละ 30) ไดเรยนจนจบ ม.3 แลวเลกเรยน เดก 2 คน (รอยละ 21) เรยนจนจบ ม.6/ปวช. แลวไมไดเรยนตออดมศกษา เหลอเพยงเดก 4 คน (รอยละ 36) เรยนตอขนอดมศกษา ดูเผนๆ เดกสคนทเขาเรยนมหาวทยาลยนาจะมโอกาสทดกวามาก แตกลบพบสถตวาใน 4 คนนมเพยง 3 คนทเรยนไดจนจบอุดมศกษา ยงกวานนใน 3 คนทใชเวลาเพมอก 4-8 ปนนมเพยง 1 คนเทานนทได งานทำในปแรกหลงจากจบปรญญา สวนทเหลอ 2 คนจบแลวตองวางงาน ในระยะ 12 เดอนแรก ผลการสำมะโนประชากรของสำนกงานสถตแหงชาต เมอป 2553 ซงมความละเอยดกวาการสุมตวอยางเพราะตองเดนเขาไปถามทุกบานนน รายงานผลสอดคลองกบขอมูลทวเคราะหขางตน โดยพบวา ประชากร อาย 15-19 ป ออกทำงานจำนวนมากถง 1.2 ลานคน หรอประมาณ 1 ใน 4 (รอยละ 26) เยาวชนวยนหากอยูในระบบกจะอยูระดบ มธยมปลาย ปวช. หรอเรมเขามหาวทยาลย กลุมผูทำงานจะมอาชพ ดงน 1) การเกษตร ปาไม ประมง (41%) 2) งานพนฐาน เชน แผงลอย ทำความสะอาด ซกรด สงของ เปนตน (17%) 3) พนกงานบรการ/ขาย/ เสมยน (15%) 4) วชาชพ ขาราชการ ชางฝมอ/เทคนค (14%) และ 5) ควบคุมเครองจกร (7%) “เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย” จดหมายถึงเพื่อนสมาชิก ฉบับที่ 105

“เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย”apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-19032556-114254-8s1RwC.pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: “เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย”apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-19032556-114254-8s1RwC.pdf ·

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก สสค.

เมื่อฉบับที่แล้วเราคุยกันเรื่องสัมมาชีพ คุณหมอประเวศ วะสี

ราษฎรอาวุโส ท่านเตือนสติว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงเพื่อเศรษฐกิจนั้น

น่าจะผิดทาง เพราะหมายถึงเราหาเงินเพื่อเงินแต่มิใช่เพื่อคุณภาพชีวิต

และสังคมที ่ดีขึ ้น ในด้านการศึกษาก็น่าจะได้ข้อคิดทำนองเดียวกัน

“การศึกษาเพียงเพื่อการศึกษา” ก็หมายถึงเรียนเพื่อมุ่งหวังใบปริญญา

เท่านั้น โดยผู้ออกแบบการศึกษาอาจมองข้ามการตรวจสอบว่าการศึกษา

จะช่วยให้คุณภาพเด็กเยาวชนดีข้ึนหรือไม่ สังคมดีข้ึนหรือไม่ ประเทศชาติ

พัฒนาขึ้นจากผลของการศึกษาเพียงไร

การศึกษากับการพัฒนาจึงสัมพันธ์กัน หากปฏิรูปการศึกษาโดย

ต่อไม่ติดกับการพัฒนาประเทศจะน่าเสียดายโอกาสหรือไม่? ดังนั้นหากใช้

ตรรกะเริ่มต้นดังกล่าวเราคงต้องเริ่มด้วยการทบทวนว่า การศึกษาจะ

นำไปสู่การพัฒนาคน สังคมและประเทศได้อย่างไร? แต่พวกเราจำนวน

หนึ ่งอาจลืมโจทย์พื ้นฐานนี ้ หากแต่กระโดดข้ามไปออกแบบระบบ

การศึกษาเพื่อการศึกษาและละทิ้งสิ่งเชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับชีวิตจริง

ของเด็กเยาวชน

ชีวิตจริงของเด็กเยาวชนไทยในปจจุบันเป็นอย่างไร? คำถามนี้

น่าจะมีคำตอบได้หลากหลายมุมมองแต่โดยรวมๆ แล้วสุ ้มเสียงที ่

วิพากษ์กันออกจะโน้มไปข้างที่น่าห่วงใย ดร.รุ งนภา จิตรโรจนรักษ

นักวิชาการของเราได้ประมวลตัวเลขสถิติจากหลายหน่วยงานรวมถึง

ผลการสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2553 ที ่สำนักงานสถิติแห่งชาติ

รายงานไว้ ประมวลแล้วพอจะเห็นภาพชีวิตจริงของเด็กเยาวชนไทยใน

“ภาพใหญ่” ดังนี้

เส้นทางชีวิตของเด็กไทยที่เกิดปีละ 8 แสนคนเศษนั้น หากเทียบ

อัตราส่วน 1 ต่อ 80,000 จะเปรียบให้เห็นภาพง่ายขึ้นว่าหากประเทศไทย

มีเด็ก 10 คนแต่ละรุ่นที่เกิดในปีเดียวกัน เด็กสิบคนนี้จะมีเส้นทางการ

เดินทางตามระบบการศึกษาไทยโดยเดินไปบนเส้นทางได้ใกล้ไกลแตกต่างกัน

โดยจากจำนวนรวม 10 คนนั้น เด็ก 1 คน (หรือร้อยละ 13)

เรียนไม่จบ ม.3 (ไม่จบแม้แต่การศึกษาภาคบังคับ) เด็ก 3 คน (ร้อยละ 30)

ได้เรียนจนจบ ม.3 แล้วเลิกเรียน เด็ก 2 คน (ร้อยละ 21) เรียนจนจบ

ม.6/ปวช. แล้วไม่ได้เรียนต่ออุดมศึกษา เหลือเพียงเด็ก 4 คน (ร้อยละ

36) เรียนต่อขั้นอุดมศึกษา

ดูเผินๆ เด็กสี่คนที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยน่าจะมีโอกาสที่ดีกว่ามาก

แต่กลับพบสถิติว่าใน 4 คนนี้มีเพียง 3 คนที่เรียนได้จนจบอุดมศึกษา

ยิ่งกว่านั้นใน 3 คนที่ใช้เวลาเพิ่มอีก 4-8 ปีนั้นมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ได้

งานทำในปีแรกหลังจากจบปริญญา ส่วนที่เหลือ 2 คนจบแล้วต้องว่างงาน

ในระยะ 12 เดือนแรก

ผลการสำมะโนประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2553

ซึ่งมีความละเอียดกว่าการสุ่มตัวอย่างเพราะต้องเดินเข้าไปถามทุกบ้านนั้น

รายงานผลสอดคล้องกับข้อมูลที่วิเคราะห์ข้างต้น โดยพบว่าประชากร

อายุ 15-19 ปี ออกทำงานจำนวนมากถึง 1.2 ล้านคน หรือประมาณ

1 ใน 4 (ร้อยละ 26) เยาวชนวัยนี ้หากอยู ่ในระบบก็จะอยู่ระดับ

มัธยมปลาย ปวช. หรือเริ่มเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มผู้ทำงานจะมีอาชีพ ดังนี้

1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (41%) 2) งานพื้นฐาน เช่น แผงลอย

ทำความสะอาด ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (17%) 3) พนักงานบริการ/ขาย/

เสมียน (15%) 4) วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (14%) และ

5) ควบคุมเครื่องจักร (7%)

“เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย” จดหมายถงึเพือ่นสมาชกิ ฉบบัที ่105

Page 2: “เด็กและเยาวชนบนเส้นทางระบบการศึกษาไทย”apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-19032556-114254-8s1RwC.pdf ·

ในขณะที่เยาวชนอายุ 20-24 ปี ทำงานจำนวน 2.8 ล้านคน

(ร้อยละ 61) ไม่ทำงานจำนวน 1.7 ล้านคน (ร้อยละ 36) เยาวชนวัยนี้

หากอยู่ในระบบก็จะเป็นระดับอุดมศึกษา หรือสายอาชีพชั้นสูง ตัวเลข

สำมะโนจึงตรงกับตัวเลขเปรียบเทียบเด็กสิบคนข้างต้นว่ามีเพียง 4 ใน

10 คนเท่านั ้นที ่เร ียนต่อ สำหรับส่วนใหญ่ออกทำงานมีอาชีพดังนี ้

1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (27%) 2) พนักงานบริการ/ขาย/เสมียน

(20%) 3) วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (18%) 4) อาชีพงาน

พื้นฐาน เช่น แผงลอย ทำความสะอาด ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (14%)

และ 5) ควบคุมเครื่องจักร (11%)

บางท่านเห็นสถิตินี ้แล้วอาจรีบเสนอทางออกให้เพิ ่มที ่นั ่งใน

มหาวิทยาลัย แต่ข้อเท็จจริงนั้นอัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษาของไทยเมื่อ

เปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้วเราไม่ได้มีอัตราต่ำกว่าประเทศอื่นเลย

ไม่มีประเทศใดในโลกที่พยายามให้เด็กของตนเข้าเรียนอุดมศึกษาทั้งหมด

100% ยิ่งกว่านั้นจากสถิติของผลการเรียนมหาวิทยาลัยดังกล่าวมาแล้ว

ปัจจุบันเรามีผู้ที่เข้าเรียนแต่ไม่จบมากถึง 1 ใน 4 นี่ยังไม่รวมสภาพปัญหา

ที่เรียนจบแล้วตกงานอีกจำนวนมาก

โดยประชากรที่อายุ 25-29 ปี ประชากรวัยนี้ควรจะจบการศึกษา

ระดับสูงสุดของแต่ละคนแล้วและควรจะทำงานกันเกือบทั้งหมด แต่

ข้อมูลสำมะโนพบว่า ทำงานจำนวน 4.2 ล้านคน (ร้อยละ 84) และไม่ได้

ทำงานมากถึง 720,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 7 (ร้อยละ 15) สำหรับ

อาชีพนั้นมีการกระจายตัวดังนี้ 1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (24%) 2)

วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (23%) 3) พนักงานบริการ/ขาย/

เสมียน (22%) 4) อาชีพงานพื้นฐาน เช่น แผงลอย ทำความสะอาด

ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (13%) และ 5) ควบคุมเครื่องจักร (11%)

ระบบการศึกษาพื้นฐานได้จับเด็กเยาวชนเข้ามาอยู่ในโรงเรียน

ยาวนาน 12-15 ปี เด็กแต่ละรุ่นนั้นเมื่ออายุ 18 ปี จำนวนมากถึง 6 ใน

10 คนออกจากระบบการศึกษากันแล้ว วัยรุ ่นเหล่านี ้เมื ่อออกจาก

รั้วโรงเรียนก็จะต้องกลายเป็น “ผู้ใหญ่” โดยฉับพลัน พวกเขาต้องผจญ

ชีวิตจริง ต้องพึ่งตนเอง ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว และที่สำคัญคือ

ต้องมีงานทำ คำถามตัวโตก็คือในช่วงเวลา 12-15 ปีนั้นโรงเรียนได้

เตรียมให้เด็กพร้อมกับการผจญชีวิตจริงเพียงไร?

บนเส้นทางการศึกษานั้นไม่ว่าเด็กจะใช้เวลาเพียง 12 ปี 15 ปี

19-20 ปี หรือเท่าใดก็ตาม แต่สิ่งที่เขาควรจะได้รับเท่าเทียมกันน่าจะเป็น

ความพร้อม รวมถึงทักษะจำเป็นที่เขาจะใช้สู้ชีวิต มีอาชีพ พัฒนาตนเอง

และเป็นสมาชิกท่ีดีของสังคมไทย หากประกอบกับโอกาสท่ีเขาจะได้เรียนรู้

อย่างต่อเนื่องในวัยทำงานด้วยก็ย่อมหมายถึงการศึกษาที่เป็นประโยชน์

ต่อชีวิตจริง มิใช่เพียงการศึกษาเพื่อศึกษาหรือใบปริญญาเท่านั้น

สมาชิกสามารถติดตามข่าวสารความเคลื ่อนไหวของ สสค.

ได้ทาง www.QLF.or.th หรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ twitter

สสค. @QLFthailand และ Facebook ที่ www.facebook.com/

QLFthailand เช่นเคยครับ

สุภกร บัวสาย @supakornQLF 19 มีนาคม 2556

ขณะนี้ สสค. มีผู้รับจดหมายข่าวกว่า 23,000 คน สมัครเป็นสมาชิก สสค. เพิ่มเติม เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว ได้ที่ www.QLF.or.th