Transcript

กรุงเทพมหานคร

มอเตอรเวย35,300 ลานบาท

รถไฟความเร็วสูง158,000 ลานบาท

เมืองใหม400,000 ลานบาท

สนามบินอูตะเภา215,000 ลานบาท ทาเรือมาบตาพุด

10,150 ลานบาท

รถไฟรางคู64,300 ลานบาท

ทาเรือแหลมฉบัง35,300 ลานบาท

ฉะเชิงเทรา

ชลบุรี

ระยอง

อุตสาหกรรม500,000 ลานบาท

ทองเที่ยว200,000 ลานบาท

เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ขั บ เ ค ลื่ อ น ด้ ว ย น วั ต ก ร ร ม

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรส่งเสริมกำรลงทุน555 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900โทรศัพท์ 0 2553 8111โทรสาร 0 2553 8315Website: www.boi.go.thE-mail: [email protected]

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรส่งเสริมกำรลงทุนwww.boi.go.th

การพัฒนาพื้นที่ EEC

รัฐบาลมีนโยบายในการสร ้างศูนย ์กลางการพัฒนาที่มีพลังและศักยภาพสูง โดยเริ่มจากพื้ นที่ระ เ บียง เศรษฐกิจพิ เศษ ภาคต ะวั นออก (Eas te rn Economic Corridor: EEC) บนพื้นที่กว่า 13,000 ตารางกิ โลเมตร ซึ่งประกอบไปด ้วยจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่น�าร่อง

รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งพัฒนาความพร้อมในทุกด้านเพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นท่ี ท้ังด้านสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการอ�านวยความสะดวกในรูปแบบ One Stop Service เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจให ้มีความสะดวกรวดเร็วท่ีสุด โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายให้พื้นที่ EEC เป็นมหานครแห่งอนาคต เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน การขนส่งของภูมิภาค เป็นประตูสู ่ เอเชีย และเป ็นเขต เศรษฐกิจพิ เศษท่ีส� า คัญท่ีสุด เพียบพร ้อมท่ีสุด และทันสมัยที่สุดในเอเชีย โดยพื้นที่ EEC มีความโดดเด่น ดังนี้

- เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของเอเชีย และเป็นฐานการผลิตยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ที่ส�าคัญของโลก

- มีท่าเรือน�้าลึก สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย

- เป็นแหล่งบุคลากรและแรงงานที่มีทักษะสูง- เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจรชั้นน�าของภูมิภาค

การพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนใหม่

รัฐบาลได ้พัฒนาเครื่องมือส ่งเสริมการลงทุนใหม ่ๆ โดยเฉพาะการจัดตั้ งกองทุน เพิ่ ม ขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศส�าหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในวงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา ได้มีการแก้ไข กฎหมายเพ่ือเพิ่มเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนใหม่ๆ ท่ีจะท�าให ้การดึงดูดการลงทุนที่มีคุณค่าสูง เ พ่ือเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะ การลงทุนในอุตสาหกรรมเป ้ าหมายที่ ใช ้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง หรือมีการวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงข้ึน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 15 ปี การสนับสนุนเงินทุน (Grants) จากกองทุน เพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศส�าหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เป็นต้น

Thailand 4.0 - โอกาสใหม่ส�าหรับทุกคน

จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 โดยการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพ่ือยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประ เทศ ผ ่ านมาตรการดึ งดู ดการลงทุ น ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตลอดจนการส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของภูมิภาค ถือว่าเป็นการพลิกโฉมประเทศไทยครั้งใหญ่ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้อย่างต่อเน่ือง ลดความเหลื่อมล�้าในสังคม สามารถสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต ท�าให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนชั้นน�าและเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอย่างแท้จริง

การอ�านวยความสะดวก ในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business)

รัฐบาลให้ความส�าคัญกับการยกร่างกฎหมายและแก้ไขกฎระเบียบ รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ของภาครัฐที่ เป ็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ ตั้งแต่กระบวนการจัดตั้งธุรกิจ เช่น การลดขั้นตอนและระยะเวลาในการจดทะเบียนบริษัท การขออนุมัติและอนุญาตต่างๆ การช�าระภาษีอากรทุกประเภท รวมทั้งการอ�านวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตท�างาน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

การเตรียมพร้อมด้านก�าลังคน

รัฐบาลมุ่งเตรียมความพร้อมด้านก�าลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป ้าหมาย และ Thai land 4.0 ท้ัง การเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในประเทศให้เป็นก�าลังส�าคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยคาดว่าในปี 2560 จะมีผู ้จบการศึกษาและเข้าสู ่ตลาด แรงงานในระดับอาชีวะประมาณ 140,000 คน และระดับปริญญาตรีประมาณ 400,000 คน ในแต่ละปีมีผู้ส�าเร็จ การศึกษาในระดับอาชีวะและอุดมศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างน้อย 250,000 คน นอกจากน้ี รัฐบาลยังได้เตรียมมาตรการอ�านวยความสะดวกเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความเช่ียวชาญเฉพาะด้านและมีทักษะสูง (Talents) จากต่างประเทศในสาขาที่ขาดแคลนมาเป็นก�าลังเสริมในการช่วยกันพัฒนาประเทศด้วย

วันนี้เป็นเวลาแห่งโอกาส การปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 ผ่านกลไก “ประชำรัฐ”ครั้งนี้ จะน�ามาซึ่ง “โอกำสทำงธุรกิจ” (Opportunity Thailand) อย่างมากมาย ปี 2560 น้ีจะเป็นปีแห่งการลงทุนขนาดใหญ่ส�าหรับอนาคต การขับเคลื่อนโครงการส�าคัญนี้จะเป็นหัวใจและรากฐานของการก้าวสู่ความเป็น Thailand 4.0 จึงขอเชิญชวนนักลงทุนท้ังไทยและต่างชาติมาร่วมเป็นหุ้นส่วน (Strategic Partnership) ในการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งนี้ (Transforming Thailand : Partnering for the Future)

อุตสาหกรรมยานยนตอิเล็กทรอนิกส

อุตสาหกรรมปโตรเคมี

การแพทยครบวงจร

อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุนยนต

อุตสาหกรรมอากาศยาน

อุตสาหกรรมชีวภาพ

การทองเที่ยวอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

ดิจิทัล

AEC

เนนภาคการผลิตสินคาเปนหลัก

การผลิตสินคา “โภคภัณฑ”

ขับเคลื่อนดวยทุนมนุษยเทคโนโลยี นวัตกรรมและ

ความคิดสรางสรรค

สินคาเชิง “นวัตกรรม”ที่สรางมูลคาเพิ่มไดสูง

เพิ่มบทบาทของภาคบริการที่มีมูลคาเพิ่มสูงใหมากขึ้น

ขับเคลื่อนประเทศดวยเงินทุนและทุนทางกายภาพ

Biotech

Bio-Med

Mechatronics

EmbededTechnology

Service Design & Technology

(Bio Diversity & Cultural Diversity) ให้เป็น “ความได ้ เปรียบใน เชิงแข ่งขัน” (Competit ive Advantage) โดยการเติมเต็มด้วย “วิทยำศำสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และควำมคิดสร ้ ำงสรรค ์” ดังน้ัน รัฐบาลจึงให้ความส�าคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ จ ะ เป ็นฐานส� าคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ จ ะขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต โดยเฉพาะ 5 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่

ขอเน้นย�้าว่า นี่ ไม่ ใช่การทิ้งอุตสาหกรรมเดิมและกระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างการเติบโตที่สมดุล (Balanced Growth) เพื่อพัฒนาประเทศ ท้ังด้านเศรษฐกิจและสังคม อย่างค่อยเป็นค่อยไป เกื้อกูลส่งเสริมกัน และก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างม่ันคง ท้ังน้ี เพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว และประชาชนมี สภาพความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

ปี 2560 นี้ถือเป็นห้วงเวลาส�าคัญยิ่งของประเทศไทย ภายใต้ภาวะความเปลี่ยนแปลงของหลายประเทศในเวทีโลกและภูมิภาค รัฐบาลไทยจึงเล็งเห็นถึงความจ�าเป็นและโอกาสที่จะปรับเปล่ียนและปฏิรูปการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในหลายมิติ โดยรัฐบาลได้ก�าหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งโอกาส (Opportunity Thailand) กล่าวคือ เป็นปีแห่งการลงทุน เพื่อวางรากฐานของความมั่นคง ม่ังคั่ง และยั่งยืน ส�าหรับทุกภาคส่วนในอนาคต

เอเชีย หัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

Opportunity Thailand ได ้ถูกก�าหนดขึ้นในบริบทที่ ป ั จจุ บันภูมิภาค เอ เ ชีย เป ็น ผู ้ น� าทาง เศรษฐกิจและ เป็นหัวรถจักรส�าคัญในการขับเคลื่อนโลก ท้ังด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายๆด้าน โดยมีประเทศญ่ีปุ่น จีน เกาหลี ใต้ อินเดีย รวมทั้งอาเซียนเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนดังกล่าว ด้วยประชากรรวมของเอเชียกว่า 3.5 พันล้านคน และ GDP คิดเป็น 32% ของ GDP โลก

ประ เทศ ไทย เป ็ นจุดศู นย ์กลำง ในกำร เ ชื่ อมต ่อกับ กลุ่มเศรษฐกิจในทวีปเอเชีย จากเหนือสู่ ใต้ ตั้งแต่จีนลงสู่อินโดนีเซีย ไปจนถึงเขตโอเชียเนีย จากตะวันออกมายังตะวันตก ตั้งแต่เวียดนามข้ามไปจนถึงเมียนมาร์ และ เป็นจุดยุทธศาสตร์ของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในด้านการผลิต การค้า การส่งออก และการขนส่ง ทั้งยังอยู ่กึ่งกลางระหว่างประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) ที่ก�าลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยจึงเป็นต�าแหน่งที่ดีที่สุดของ การลงทุนในอาเซียน เพื่อเชื่อมเอเชียและเชื่อมโลก

ยุ ท ธศ าสตร ์ ส� า คัญ ภ า ย ใ ต ้ ก า รน� า ข องรั ฐ บ า ล พลเอก ประยุทธ ์ จันทร ์ โอชา นายกรัฐมนตรี คือ การปฏิ รูปประ เทศ เพื่ อพัฒนา ไปสู ่ “ควำมมั่ นคง ค ว ำ ม มั่ ง ค่ั ง แ ล ะ ค ว ำ ม ยั่ ง ยื น ” ต า ม แ น ว ท า ง Thailand 4.0 ด้วยการสร้างคนและความเข้มแข็ง ด้านเทคโนโลยี ไปพร้อมๆกับการยกระดับโครงสร้าง พื้นฐาน ปฏิรูปกฎระเบียบท่ีเป็นอุปสรรค และขับเคลื่อน การลงทุนที่มุ ่งสร ้างฐานอุตสาหกรรมแห ่งอนาคต เพื่อเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศในระยะยาว

Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่จะน�าพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจาก 3 กับดักดังกล่าว พร้อมๆกับเปลี่ยนผ่าน (Transform) ประเทศไทยไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” ที่มีความม่ันคง ม่ังค่ัง และยั่งยืน โดยเป็น “เศรษฐกิจที่ขับเคล่ือนด้วยนวัตกรรม” (Innovation-driven Economy) ตามแนวทางท่ีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน (Local Economy) ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก สร้างเศรษฐกิจที่มีความสมดุลตามแนวคิด “หลักปรัชญำของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ ่านกลไก “ประชำรัฐ” คือ การบูรณาการความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมท�า ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา

ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 รัฐบาลได้มุ่งมั่นขับเคลื่อนให้เกิดกำรเปลี่ยนแปลงอย่ำงน้อย 3 มิติส�ำคัญ คือ

นวัตกรรม หัวใจขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่

Thailand 4.0 จึงเป ็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนกำรเติบโตทำงเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ กำรยกระดับอุตสำหกรรมท่ีเรำมีพื้นฐำนดีอยู่แล้ว ให้สำมำรถสร้ำงมูลค่ำเพิ่มด้วยนวัตกรรมมำกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเ ก ษ ต ร แ ล ะ อ า ห า ร ก า ร ท ่ อ ง เ ที่ ย ว ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี พร ้อมๆกับกำรสร ้ ำงอุตสำหกรรมใหม่ๆ ให้เกิดข้ึนเพิ่มเติม อีก 5 กลุ ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อากาศยาน ดิจิทัล อุตสาหกรรมชี วภาพ แล ะการแพทย ์ ครบวงจร ด้วยการแปลง “ความได ้ เปรียบเชิง เ ป รี ยบ เ ที ย บ ” (Compa ra t i v e Advantage) ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายเชิงชีวภาพและ คว า มหล า กหล า ย เ ชิ ง วัฒนธรรม

Thailand 4.0 จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่เป็นต้นน�้าเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน�้า และ Startups หรือ SMEs ต่างๆ ที่อยู่ปลายน�้า โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธ์ิภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า ซ่ึงจะเป็นการพัฒนา “ศักยภาพ” และสร้าง “โอกาส” ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน อย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรม

กลไกพลิกโฉมประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “Thailand 4.0” ให ้ประสบความส�า เร็จ รัฐบาลได ้ร ่วมกับทุกภาคส ่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ ภาควิชาการ และภาคประชาชน ด� า เ นินการพัฒนาแนวความคิด ยุทธศาสตร์การพัฒนา และการขับเคลื่อนทุกมิติหลัก อาทิ การลงทุน การสร้างคน การศึกษาและการส่งเสริมนวัตกรรม ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Logistics

รัฐบาลเร่งการลงทุนเพ่ือยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ท้ังการขนส่งสินค้าและขนส่งมวลชน เช่น การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และรถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพฯ กับเมืองบริวาร การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง การสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส ้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน การขยายเส ้นทางมอเตอร ์ เวย ์ การพัฒนาท ่า เ รือ แหลมฉบัง การปรับปรุงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา เป็นต้น เพื่อรองรับการเช่ือมโยงภายในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง East-West และ North-South Economic Corridor ซึ่งนอกจากจะท�าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคแล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่พื้นที่ต่างๆ ภายในประเทศด้วย

Thailand 4.0 เพื่อก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง

ในอดีตที่ผ ่านมา ประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเริ่มจาก “Thailand 1.0” ที่เน้นภาคเกษตรกรรม ไปสู่ “Thailand 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา โดยใช้ประโยชน์จากค่าจ้างแรงงานราคาถูกและทรัพยากรธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์ มุ ่งเน้น การผลิต เ พ่ือทดแทนการน� า เข ้ า เป ็นส� าคัญ จากนั้นประเทศไทยได ้ก ้าวสู ่ “Thailand 3.0” ในป ัจจุบัน ที่เน้นอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยดึงดูด การลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้มาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดโลก

อย่างไรก็ดี ภายใต้ “Thailand 3.0” นั้น แม้จะท�าให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญ กับดักส�าคัญที่ไม่อาจน�าพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ คือ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง”“กับดักความเหลื่อมล�้าของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่าน้ีเป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในปัจจุบัน จึงน� า ไปสู ่ การที่ รัฐบาลไทยเล็ง เห็น ถึงความจ� า เป ็น ใ น ก ารป ฏิ รู ป โ ครงสร ้ า ง เ ศรษฐกิ จ เ พื่ อ ก ้ า ว ข ้ า ม “Thailand 3.0” ไปสู่ “Thailand 4.0”

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital

รัฐบาลมุ่งส่งเสริมและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ซ่ึงจะเป็นปัจจัยส�าคัญท่ีสนับสนุนให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งครอบคลุมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงการใช้ดจิทิลัรองรบัภาคอตุสาหกรรมและการให้บรกิารของ ภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอ่ืนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนเพื่อยกระดับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การพัฒนานวัตกรรม และธุรกิจ e-Commerce

นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซ่ึงเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจังหวัดเจ้าของพ้ืนท่ี เพ่ือการพัฒนาเมืองโดยน�าเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ ใช้ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งดึงดูดนักท่องเที่ยวและเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยในระยะแรก ได้ก�าหนดพื้นท่ีเป้าหมายส�าหรับพัฒนาเป็น Smart City 3 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น

อีกทั้งยังมีแนวคิดในการพัฒนาเขตพื้นท่ีนิคมอุตสำหกรรมเพื่อสร้ำงสรรค์นวัตกรรมด้ำนดิจิทัล (Digital Park Thailand) ที่อ�าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างสรรค์งาน ด้านดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ อาทิ Application, Data Center และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ ์อัจฉริยะต ่างๆ ที่สามารถเช่ือมต่อกับอินเตอร์เน็ต (IoT) เป็นต้น เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านดิจิทัลและ เป็นชุมชนด้านดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย

รัฐบาลได้ก�าหนดนโยบายส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและ การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป ้ าหมายท่ี เป ็นฐานอุ ตส าหกรรมอนาคต ผ ่ า นกล ไกปร ะช ารั ฐ ทั้ ง การยกระดับอุตสาหกรรมเดิมที่ประเทศไทยมีพื้นฐานดีอยู ่แล้ว ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมมากยิ่ง ข้ึน โดยเฉพาะใน 5 กลุ ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร การท่องเท่ียว ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี นอกจากนี้ ยังต้องเร่งสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะเป็น New Growth Engines ของประเทศ ให้เกิดขึ้นเพิ่มเติมอีก 5 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อากาศยาน ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพ และการแพทย์ครบวงจร