120

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

Embed Size (px)

DESCRIPTION

หนังสือเล่มนี้ สั่งพิมพ์สำหรับแจก สามเณรนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ยศ.ทร. เมื่อ 5-9 เมษายน 2556 ซึ่งยังมีข้อบกพร่องอยู่ จะนำไปแก้ไขในการพิมพ์ครั้งต่อไป

Citation preview

Page 1: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
Page 2: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คำ�อนุโมทน�

ขออนุโมทนาในความตั้งใจดีของ พระธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ที่มีความ

วิริยะอุตสาหะได้รวบรวมเรียบเรียงหนังสือ“คุณธรรมจริยธรรมและสิ่งควรรู้”

เล่มนี้ เห็นว่าหนังสือนี้นอกจากเป็นประโยชน์แล้ว สามารถใช้เป็นคู่มือในการ

ดำาเนินชีวิต ด้วยมีทั้งหลักธรรมคำาสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และคำากลอนสอนใจได้เป็นอย่างดี

ขออำานาจคุณพระศรีรัตนตรัย บารมีพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระครู

ภาวนานุโยค(หลวงพ่อหอม)โปรดดลบันดาลให้พระธีรพิสิษฐ์จนฺทสาโรและ

ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาจนสำาเร็จสมประสงค์ จงมี

แต่ความสุขความเจริญในพระธรรมคำาสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใน

ทุกทิวาราตรีกาลเทอญฯ

(พระครูสันติบุรพทิศ)

เจ้าคณะตำาบลสำานักท้อน

เจ้าอาวาสวัดชากหมาก

Page 3: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

พระธีรพิสิษฐ์จนฺทสาโร

รวบรวม

Page 4: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
Page 5: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คำ�นำ�

คุณธรรมนำาใจให้ชาติสุข

ไร้ความทุกข์เสริมสวัสดิ์พิพัฒน์ผล

ล้วนสงบราบเรียบทั่วมณฑล

วิถีชนโชติช่วงชัชวาลย์

หากแม้นว่าคุณธรรมเริ่มถดถอย

เริ่มเหลือน้อยค่อยหายคล้ายอวสาน

ทั้งแก่งแย่งชิงเด่นดีอยู่ทุกกาล

อันดวงมานล้วนห่อเหี่ยวไม่เจริญ

โปรดเถิดเราเร่งรุดพัฒนาจิต

โปรดพินิจคิดดีให้สรรเสริญ

โปรดละเว้นคิดชั่วไม่จำาเริญ

โปรดก้าวเดินตามครรลองพุทธธรรม์

ด้วยเหตุนี้จึงคิดสร้างทางผู้กล้า

สร้างปัญญาสร้างความรู้สร้างสุขสันต์

เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมเอนกอนันต์

บรรจงพลันรวมเป็นเล่มดังนี้มา

ขอขอบคุณขอบใจในนำาจิต

ญาติสนิทมิตรสหายช่วยสรรหา

ทั้งแรงกายแรงใจแลเงินตรา

ขอบุญญาบารมีจงเกิดพลัน

พระธีรพิสิษฐ์จนฺทสาโร

๒๕๕๖

Page 6: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

บุญกุศลเหล่าใดอันเกิดแต่การสร้างหนังสือเล่มนี้

ข้าพเจ้าขอถวายบุญกุศลเหล่านั้นแด่พระไตรรัตน์

คุณบิดาคุณมารดาคุณครูพระอุปัชฌาย์อาจารย์เจ้ากรรมนายเวรทุกๆท่าน

และขอขอบใจขอบคุณขอบพระคุณ

โยมพ่อสกล–โยมแม่สุรางค์ศิริรัตน์ผู้ให้กำาเนิดข้าพเจ้า

โยมแม่เก๋ศศินรีย์พระบุญเรืองผู้ให้ทางปัญญาแก่ข้าพเจ้า

พระครูสันติบุรพทิศผู้ให้กำาเนิดข้าพเจ้าในบวรพระพุทธศาสนา

พระครูสังวรญาณวงศ์ผู้ให้คำาแนะนำาในการจัดทำาหนังสือเล่มนี้

โยมพี่พัชมณพรหมธนะโยมพี่พงศกรแสงนาค

ผู้จุดประกายความคิดให้กำาลังใจในการสร้างหนังสือเล่มนี้จนสำาเร็จ

โยมจุฑาทิพย์เจริญงามพิศ

โยมพิษณุชัยเรืองจันทึก

ผู้ช่วยจัดทำาต้นฉบับ

และญาติธรรมคณะอุบาสก–อุบาสิกาผู้มีศรัทธาร่วมสร้างหนังสือเล่มนี้

ขอให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญในพระธรรมคำาสั่งสอน

ขององค์สมเด็จพระทศพลญาณในทุกทิวาราตรีกาลเทอญฯ

Page 7: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ส�รบัญ

ภาค หน้า

๑ ความเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับสามเณร ๑

ตอนที่๑ความเป็นหน่อเนื้อสมณะ ๓

ตอนที่๒เสขิยวัตร:ข้อวัตรปฏิบัติสำาหรับพระภิกษุ–สามเณร ๑๐

๒ คุณธรรมนำาไทยใส่ใจพัฒนาข้าราชการ ๑๗

ตอนที่๑คุณธรรมนำาไทย ๑๙

ตอนที่๒คุณธรรมจริยธรรมสำาหรับข้าราชการที่ดี ๓๐

ตอนที่๓หลัก๑๐ประการตามรอยพระยุคลบาท ๓๕

ตอนที่๔หลักราชการที่ควรรู้ ๔๖

ตอนที่๕ลักษณะนิสัยคนไทย ๔๘

๓ คิหิปฏิบัติ:หลักพื้นฐานบางประการสำาหรับสาธุชน ๖๑

ตอนที่๑คิหิปฏิบัติ ๖๓

ตอนที่๒ธรรมที่น่าสนใจเพื่อพัฒนาตน ๗๘

๔ ทักษะชีวิตพิชิตตน ๘๓

ตอนที่๑คุณบิดา–มารดร ๘๕

ตอนที่๒การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ๘๙

ตอนที่๓การฝึกทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา ๙๑

ภาคผนวก ๙๗

บรรณานุกรม ๑๐๓

Page 8: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
Page 9: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ภ�ค ๑คว�มเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับส�มเณร

Page 10: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

อิณ�ท�นำ ทุกฺขำ โลเก

ก�รกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก

กู้เงินม�เพื่อใช้ ทำ�ทุน

อ�จเกิดผลเงินหมุน ไม่ช้�

กู้ที่ห่อนมีคุณ คือเล่น พนันแฮ

เป็นทุกข์ทำ�วุ่นว้� ดอกเบี้ยม�กม�ย

พุทธศาสนสุภาษิตคำาโคลง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

Page 11: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คว�มเป็นหน่อเนื้อแห่งสมณะ

พระศาสนาสืบด้วย วงศ์สงฆ์

น้อมรับธรรมพุทธองค์ ก่อเกื้อ

ประกอบกิจดำารง มุ่งปฏิ-บัตินา

เว้นแต่ชั่วดีเอื้อ อยู่ยั้งอวสาน

นับแต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของมนุษย์ เทวดามารพรหมทั้ง

หลายเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงมาได้๒๕๕๖ปีแล้วนั้นผู้ที่ทำาหน้าที่สืบทอดพระศาสนา

รักษาพระอมฤตธรรมให้ยั่งยืนสถาพรคือเหล่าพุทธบริษัท๔อันประกอบไปด้วยภิกษุ๑

ภิกษุณี๑อุบาสก๑และอุบาสิกาอีก๑นอกจากนี้ผู้ร่วมสืบทอดพระศาสนานี้ให้ดำารง

มั่นตราบจนครบ๕,๐๐๐ปียังรวมไปถึง“หน่อเนื้อแห่งสมณะ”อีกประเภทหนึ่งด้วย

คำาว่า“สมณะ”เป็นภาษาบาลี ในประเทศอินเดียใช้เรียกนักบวชในลัทธิต่างๆ

เช่น สมณโคดม อันหมายถึง นักบวชแห่งตระกูลโคตมะซึ่งชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลที่

มิได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาใช้เรียกขานแทนพระพุทธเจ้า ในพจนานุกรมพุทธศาสน์

ฉบับประมวลศัพท์ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)หน้า๓๙๓–

๓๙๔ ให้ความหมายไว้ว่า “ผู้สงบ หมายถึง นักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนาท่านให้

ความหมายจำาเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป

ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล”

ส่วนคำาว่า“หน่อเนื้อ”แปลได้ว่าเชื้อสายชาติพันธุ์ลูกหรือลูกชายฉะนั้น“หน่อ

เนื้อแห่งสมณะ”จึงหมายถึงเชื้อสายแห่งผู้สงบอันได้แก่สามเณรในปัจจุบันนั่นเอง

Page 12: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๔๒หน้า๑๑๗๗ให้ความหมายของ

คำาว่า“สามเณร”ไว้ดังนี้“ผู้ดำารงเพศอย่างภิกษุแต่สมาทานศีล๑๐เรียกสั้นๆว่าเณร”

ส่วนพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของ

สามเณรไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์หน้า๔๓๔–๔๓๕ว่า“เหล่ากอ

แห่งสมณะ. บรรพชิตในพระพุทธศาสนา ผู้ยังมิได้อุปสมบท เพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตร

สรณคมณ์ถือสิกขาบท๑๐และกิจวัตรบางอย่างตามปกติมีอายุยังไม่ครบ๒๐ปีบริบูรณ์”

การบรรพชาเณร ปรากฏครั้งแรกเมื่อ ราหุลกุมาร ติดตามพระนางยโสธรา

พระมารดา ทูลขอทรัพย์สมบัติตามคำาสั่ง พระพุทธเจ้าทรงดำาริว่า การให้ “อริยทรัพย์” ดี

กว่าให้ทรัพย์สินเงินทองหรือราชสมบัติใดๆจึงรับสั่งให้พระสารีบุตรบวชให้ราหุลกุมาร

สามเณรราหุลบวชมาแล้วก็อยู่ในความดูแลของพระอุปัชฌาย์ คือ พระสารีบุตร

ตามหน้าที่ในพระวินัย จนได้รับการยกย่องสรรเสริญถึงคุณสมบัติที่เป็นต้นแบบในทาง

สร้างสรรค์๓อย่างคือ

๑.เป็นผู้ว่าง่ายไม่ถือตัวว่าเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า

๒. เป็นผู้ใฝ่การศึกษาอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นใน

ด้านผู้ใฝ่การศึกษา

๓. เป็นผู้มีความเคารพและกตัญญูกตเวทีต่ออุปัชฌาย์อย่างยิ่ง เข้าตำาราโบราณที่

ว่า“ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น”

ด้วยเหตุนี้สามเณรราหุลจึงนับเป็น“บิดา”ของสามเณรทั้งหลายในปัจจุบัน

Page 13: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

วิธีก�รบรรพช�เป็นส�มเณร การอุปสมบทในสมัยพุทธกาลมีอยู่๘วิธีดังนี้

๑.เอหิภิกขุอุปสัมปทาอุปสมบทโดยพระพุทธองค์ตรัสให้บวชดังนี้“จงมาเป็นภิกษุมาเถิด

ธรรมอันเรากล่าวนั้นดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์และกระทำาให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เถิด”

๒.ติสรณคมนูปสัมปทาอุปสมบทโดยการขอถึงพระรัตนตรัยวิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

ให้พระสาวกบวชให้กุลบุตรได้เอง

๓.ญัตติจตุตถกรรมวาจา อุปสมบทโดยสงฆ์ ด้วยญัตติที่ ๔ (ได้แก่ญัตติแรก จะเป็นการ

ประกาศเพื่อขอญัตติ (คือความเห็นชอบ)จากสงฆ์และ๓ญัตติหลังจะเป็นการขอความ

เห็นชอบจากสงฆ์หากมีการคัดค้านแม้เพียงครั้งเดียวก็ถือว่าบวชไม่ได้)

วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงประทานให้เมื่อทรงเห็นว่ามีคณะสงฆ์จำานวนมากแล้ววิธีนี้

แสดงถึงความมีประชาธิปไตยอยู่ในพระดำาริของพระพุทธเจ้า

ภิกษุรูปแรกที่ได้บวชด้วยวิธีนี้คือราธพราหมณ์และมีพระอุปัชฌาย์รูปแรกคือ

พระสารีบุตร

๔.โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทาอุปสมบทโดยการรับโอวาท๓ข้อจากพระพุทธเจ้าวิธีนี้ทรง

บวชให้แก่พระมหากัสสปะมีดังนี้

-เธอจงมีความละอายและยำาเกรงในภิกษุทั้งที่แก่กว่าเสมอกันและอ่อนกว่า

-ธรรมใดที่เป็นกุศลธรรมเธอจงเงี่ยหูตั้งใจฟังธรรมนั้น

-เธอจงไม่ละสติออกจากกาย

๕.ปัญหาพยากรณูปสัมปทาอุปสมบทโดยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ทรงอนุญาต

แก่โสปากสามเณร

๖.ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทาอุปสมบทโดยการรับครุธรรม๘ประการทรงอนุญาตแก่

พระนางปชาบดีโคตมี

๗.ทูเตนะอุปสัมปทาอุปสมบทด้วยทูตคือตัวแทนทรงอนุญาตแก่อัฑฒกาสีภิกษุณีเรื่อง

มีอยู่ว่านางอัฑฒกาสี เดิมเป็นธิดาเศรษฐีแต่ต่อมาฐานะตกตำากลายเป็นนางคณิกา ในกรุง

ราชคฤห์เพราะผลแห่งวจีทุจริตในอดีตเมื่อนางได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์จึงออกบวชใน

สำานักภิกษุณีที่กรุงเวสาลีแล้วต่อมาได้เดินทางมาเพื่อขออุปสมบทในสำานัก

Page 14: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ของพระพุทธเจ้า แต่ทราบว่ามีผู้หมายทำาร้ายตนในระหว่างทาง จึงส่งเพื่อนภิกษุณีไป

กราบทูล พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ ภิกษุณีที่เป็นทูตนั้น กล่างคำาขอบวชต่อภิกษุสงฆ์

แทนอัฑฒกาสีภิกษุณี

๙.อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมจากสงฆ์๒ฝ่ายคือภิกษุสงฆ์

และภิกษุณีสงฆ์ทรงอนุญาตแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

ในปัจจุบันทางคณะสงฆ์ยังใช้อยู่๒วิธีคือติสรณคมนูปสัมปทาและญัตติจตุตถ

กัมมอุปสัมปทาเท่านั้นโดยที่วิธีติสรณคมณูปสัมปทาใช้สำาหรับการบรรพชาสามเณรและ

วิธีญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา สำาหรับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงการบรรพชาเท่านั้น

ในพระวินัยปิฎกเล่มที่๔มหาวรรคภาค๑ได้แสดงการบรรพชาสามเณรไว้ดังนี้

“[๑๑๘]………............

ลำาดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำาธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นใน

เพราะเหตุแรกเกิดนั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตการบวช

กุลบุตรเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์

วิธีให้บรรพช�

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบวชอย่างนี้:-

ชั้นต้นพึงให้โกนผมและหนวดแล้วให้ครองผ้าย้อมฝาดให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าให้

กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอน

ให้ว่าสรณคมน์ดังนี้:-

ไตรสรณคมน์

พุทฺธำสรณำคจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ธมฺมำสรณำคจฺฉามิข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

สงฺฆำสรณำคจฺฉามิข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

Page 15: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ทุติยมฺปิพุทฺธำสรณำคจฺฉามิ แม้ครั้งที่๒ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ทุติยมฺปิธมฺมำสรณำคจฺฉามิแม้ครั้งที่๒ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ทุติยมฺปิสงฺฆำสรณำคจฺฉามิแม้ครั้งที่๒ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

ตติยมฺปิพุทฺธำสรณำคจฺฉามิ แม้ครั้งที่๓ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ตติยมฺปิธมฺมำสรณำคจฺฉามิ แม้ครั้งที่๓ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ตติยมฺปิสงฺฆำสรณำคจฺฉามิ แม้ครั้งที่๓ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์นี้”

สิกข�บทของส�มเณร

สิกข�บท หมายถึง ข้อศีล , ข้อวินัย บทบัญญัติข้อหนึ่ง ๆ ในพระวินัยที่ภิกษุ

สามเณรพึงศึกษาปฏิบัติ

ในพระวินัยปิฎกเล่มที่๔มหาวรรคภาค๑ได้แสดงสิกขาบทของสามเณรไว้ดังนี้

“[๑๒๐]ครั้งนั้นสามเณรทั้งหลายได้มีความดำาริว่าสิกขาบทของพวกเรามีเท่าไร

หนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาค

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตสิกขาบท

๑๐แก่สามเณรทั้งหลายและให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท๑๐นั้นคือ

๑.เว้นจากการทำาสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป

๒.เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้

๓.เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์

๔.เว้นจากการกล่าวเท็จ

๕.เว้นจากการดื่มนำาเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความประมาท

Page 16: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๖.เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

๗.เว้นจากฟ้อนรำาขับร้องประโคมดนตรีและดูการเล่นที่เป็นข้าศึก

๘.เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้

อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว

๙.เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่

๑๐.เว้นจากการรับทองและเงิน

ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตสิกขาบท๑๐นี้แก่สามเณรทั้งหลายและให้

สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท๑๐นี้”

ประโยชน์แห่งก�รบรรพช�

ประโยชน์อันเกิดแต่การบรรพชานั้นมีมากทั้งในเชิงลึกหรือเชิงกว้างล้วนแต่แฝง

ความนัยแก่ผู้ที่ได้สัมผัสรสแห่งการบรรพชาให้เห็นเอง หากจะให้ประมวลมาแจกแจง คงจะ

พอได้ดังนี้

๑.การบรรพชาทำาให้ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟังจากคณาจารย์มากมาย

๒.การบรรพชาทำาให้ได้เลื่อนชั้นของตนทางภายในคือทางจิตทางวิญญาณ

๓.การบรรพชาทำาให้เพิ่มพูนทรัพย์ภายในแก่ตนอันหมายถึงอริยทรัพย์

๔. การบรรพชา ทำาให้ได้เตรียมตัวก่อนตาย เตรียมกายก่อนแก่ ถือว่าเป็นผู้ไม่

ประมาทในชีวิต

๕.การบรรพชาทำาให้ได้เป็นญาติกับพระศาสนาตามพระบรมพุทโธวาท

๖.การบรรพชาทำาให้ได้อ่านหนังสือหน้าที่๒คือหน้าแห่งชีวิตจิตและวิญญาณ

๗. การบรรพชา ทำาให้ได้เตรียมตัวเพื่อโลกเบื้องหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ

โลกุตรมรรคผลและพระนิพพาน

๘. การบรรพชา ทำาให้ได้ปิดอบายภูมิให้แก่ตน บิดา มารดา และญาติ ด้วยการ

ปฏิบัติ

๙.การบรรพชาทำาให้ได้ปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธบิดาตามพระบรมพุทโธวาท

Page 17: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๑๐. การบรรพชาทำาให้ได้เข้าโรงเรียนของชีวิต โรงเรียนของพระพุทธเจ้า ที่พระ

อริยเจ้าทั้งหลายจบออกมาหลายรุ่น

๑๑. การบรรพชา ทำาให้ได้เพิ่มพูนบารมีที่พร่องไป หรือยังไม่มี ให้บังเกิดมี และ

เต็มเปียม

๑๒.การบรรพชาทำาให้ได้หลักประกันชีวิตของตนภายหลังที่ล่วงลับจากโลกนี้ไป

แล้ว

๑๓.การบรรพชาทำาให้ได้ตรวจข้อบกพร่องที่อาจมีอยู่แล้วแก้ไขเฉกเช่นคนเรา

นำารถเข้าอู่เพื่อเช็คอัดฉีดใหม่

๑๔.การบรรพชาทำาให้ได้ฝึกตนไม่หลงผิดยึดติดในบ่วงแห่งมาร

๑๕.การบรรพชาทำาให้ได้เดินตามรอยที่พระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ได้เดินมา

แล้ว

ไม่เพียงเท่านี้ผู้ใดเป็นผู้รู้เป็นพหูสูตเป็นนักวิเคราะห์ลองพิจารณาเอาเถิดการ

บรรพชาจักได้ประโยชน์มากมายนานัปการอันไม่สามารถกล่าวได้หมดหรือจะกล่าวง่ายๆ

คือรู้เองเห็นเองปฏิบัติเองประเสริฐสุด

Page 18: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

เสขิยวัตร : ข้อวัตรปฏิบัติสำ�หรับพระภิกษุ – ส�มเณร

เสขิยวัตร คือ วัตรหรือข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษา ถือเป็นธรรมเนียมสำาหรับ

ฝึกฝนกิริยามารยาทของภิกษุให้ดูเรียบร้อยงดงามสมกับภาวะของสมณะยังความเลื่อมใส

ให้เกิดแก่ผู้พบเห็น ไม่เป็นชื่อของอาบัติ แต่ปรับอาบัติทุกกฎแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามในทุก ๆ

สิกขาบทเว้นแต่ไม่ได้ตั้งใจเผลอไม่รู้ตัวและอาพาธหนักไม่อาจทำากิจวัตรได้มีทั้งหมด๗๕

สิกขาบทแบ่งเป็น๔หมวดดังนี้

หมวดที่ ๑ ชื่อว่า สารูปะ ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปใน

หมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำารวมระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะ

สมมี๒๖สิกขาบท

หมวดที่ ๒ ชื่อว่า โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับ

บิณฑบาตและการฉันภัตตาหารมี๓๐สิกขาบท

หมวดที่ ๓ชื่อว่าธัมมเทสนาปฏิสังยุตว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่

ผู้อื่นมี๑๖สิกขาบท

หมวดที่ ๔ ชื่อว่าปกิณณกะว่าด้วยกิริยามารยาทในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

และบ้วนนำาลายมี๓สิกขาบท

เสขิยวัตรทั้ง๗๕สิกขาบทนี้ทรงกำาหนดให้สามเณรศึกษาและปฏิบัติตามด้วย

หมวดที่ ๑ ส�รูป ว่�ด้วยข้อประพฤติในเวล�เข้�บ้�น

ในสารูปหมวดที่๑มีทั้งหมด๒๖สิกขาบทจัดเป็นคู่ๆได้๑๓คู่ดังนี้

คู่ที่ ๑ (๑ – ๒) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักนุ่งห่มให้เรียบร้อย ไป – นั่ง ในบ้�น

นุ่งให้เรียบร้อยได้แก่นุ่งสบงให้ได้ปริมณฑลเบื้องบนสูงเพียงเอวให้ปิดสะดือชาย

เบื้องล่างให้อยู่ระดับประมาณครึ่งแข้งห่มให้เรียบร้อยได้แก่ห่มจีวรให้ได้ปริมณฑลทำามุม

ผ้าทั้ง๒ให้เสมอกันไม่ปล่อยให้ผ้าเลื้อยหน้าเลื้อยหลัง

๑๐

Page 19: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ธรรมเนียมในปัจจุบันถ้าอยู่ในบริเวณวัด ให้ห่มเฉวียงบ่า โดยปิดบ่าและแขนซ้าย

เปิดบ่าข้างขวาถ้าออกนอกวัด ให้ห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้ง๒ข้างสูงปิดหลุมคอชายอยู่

ระหว่างครึ่งแข้ง

คู่ที่ ๒ (๓ – ๔) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักปิดก�ยด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้�น

เมื่อนุ่งห่มเรียบร้อยแล้วเวลายืนเดินนั่งในบ้านต้องระมัดระวังอย่าให้ผ้าเลื่อนลง

ต้องคอยซักปกปิดอวัยวะที่กำาหนดให้ปิด

คู่ที่ ๓ (๕ – ๖) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จัดระวังมือเท้�ด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้�น

คือห้ามเล่นมือเล่นเท้าขณะอยู่ในบ้านเช่นกระดิกมือกระดิกเท้าเล่นเป็นต้น

ซึ่งส่อให้เห็นการไม่สำารวมใช้มือและเท้าทำาอย่างอื่นไม่ใช่เพื่อเล่นท่านอนุญาต

คู่ที่ ๔ (๗ – ๘) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักมีต�ทอดลง ไป – นั่ง ในบ้�น

คือทอดสายตาตำาลงห่างตัวประมาณหนึ่งวามิให้สอดส่ายสายตาหันมองโน่นมอง

นี่เหมือนขโมยซึ่งไม่เหมาะกับกิริยาของผู้สำารวม

คู่ที่ ๕ (๙ – ๑๐) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่เวิกผ้� ไป – นั่ง ในบ้�น

การเวิกผ้าคือการถกชายจีวรขึ้นพาดบ่าเปิดให้เห็นสีข้างดูไม่งาม

คู่ที่ ๖ (๑๑ – ๑๒) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่หัวเร�ะ ไป – นั่ง ในบ้�น

การหัวเราะเฮฮาหรือการกระซิกกระซี้เพื่อให้ครื้นเครงเป็นการเสียสังวร

คู่ที่ ๗ (๑๓ – ๑๔) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่พูดเสียงดัง ไป – นั่ง ในบ้�น

พูดเสียงปกติธรรมดาคือนั่งห่างกัน๖ศอก ได้ยินชัดเจนไม่ให้เปล่งเสียงดังหรือ

ตะโกนพูดไมค์ออกเสียงเพื่อแสดงธรรมไม่ผิด

คู่ที่ ๘ (๑๕ – ๑๖) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่โคลงก�ย ไป – นั่ง ในบ้�น

ห้ามไม่ให้โคลงกายไปมาเวลาเดินยืนหรือนั่งต้องตั้งตัวให้ตรงแต่มิใช่นั่งเบ่งตัว

เพื่ออวดตัวเอง

คู่ที่ ๙ (๑๗ – ๑๘) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่ไกวแขน ไป – นั่ง ในบ้�น

ห้ามกางแขนออกแกว่งไกว เพื่อแสดงตนให้ดูดี หรือเพื่อแสดงลีลานวยนาด ให้

ห้อยแขนแนบลำาตัวตามปกติถ้ากางแขนออกเพราะจำาเป็นไม่ต้องอาบัติ

๑๑

Page 20: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คู่ที่ ๑๐ (๑๙ – ๒๐) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่สั่นศีรษะ ไป – นั่ง ในบ้�น

ห้ามไม่ให้เดินหรือนั่งคอพับ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งต้องตั้งศีรษะให้ตรงการพยัก

หน้าในขณะพูดก็จัดเป็นการสั่นศีรษะเหมือนกัน

คู่ที่ ๑๑ (๒๑ – ๒๒) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่เอ�มือคำ�ก�ย ไป – นั่ง ใน

บ้�น

ห้ามไม่ให้เอามือเท้าสะเอว ไม่นั่งเท้าแขน ไม่เท้าศอกบนโต๊ะ หรือนั่งคำาคาง

เป็นต้นเพราะดูไม่งาม

คู่ที่ ๑๒ (๒๓ – ๒๔) ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่เอ�ผ้�คลุมศีรษะ ไป – นั่ง ใน

บ้�น

ห้ามไม่ให้เอาผ้าคลุมโพกหรือมัดศีรษะเหมือนฆราวาส

ข้อที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่เดินกระโหย่งเท้�ไปในบ้�น

คือห้ามเดินเขย่งเท้า ทำาตัวให้สูง รวมถึงการเดินอย่างอื่น ที่ไม่ใช่การเดินเหยียบ

ตามปกติเช่นการเดินตะแคงเท้าการเดินลากส้นเป็นต้น

ข้อที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำ�คว�มศึกษ�ว่� เร�จักไม่นั่งรัดเข่�ในบ้�น

ห้ามมิให้นั่งยองๆเอามือรัดเข่าหรือเอาผ้ารัดรอบเพราะดูไม่งาม

ข้อ๑–๒ต้องถือปฏิบัติทั้งในวัดและในบ้านตั้งแต่ข้อ๓–๒๖ต้องถือปฏิบัติ

เคร่งครัดในบ้านแต่ถ้าเขาจัดที่พักแรมในบ้านภิกษุจะปฏิบัติตนเหมือนอยู่ในวัดก็ได้

หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต ว่�ด้วยก�รรับและฉันภัตต�ห�ร

มีทั้งหมด๓๐สิกขาบทดังนี้คือ

๑.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพคือรับบิณฑบาตด้วยความ

เต็มใจไม่แสดงอาการดูหมิ่นดูแคลน

๒. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาตเราจักดูแลแต่ในบาตร คือ ในขณะที่รับ

บิณฑบาตห้ามมองดูหน้าทายกหรือมองไปทางอื่นให้มองดูแต่ในบาตรเท่านั้น

๑๒

Page 21: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๓.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอควรแก่ข้าวสุก เวลารับบิณฑบาตท่านห้าม

รับแต่รายที่มีกับข้าว โดยผ่านทายกผู้ใส่แต่ข้าวเปล่าไปเสีย และเวลารับกับข้าวก็ให้รับแต่

พอดีกับข้าวสุกรับอาหารมากกว่าข้าวไม่ควร

๔.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตรขอบบาตรนั้น

หมายเอาขอบล่างภิกษุรับเอาเกินขอบปากบาตร เพราะโลภเป็นอาบัติ ถ้ารับด้วยอาการ

รักษาศรัทธาหรือเพื่ออนุเคราะห์ด้วยเมตตาไม่ถือว่าวผิด

๕.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพคือฉันเพื่อยังชีพให้เป็นอยู่ไม่

แสดงอาการรังเกียจว่าเป็นของที่ไม่ดีไม่อร่อยไม่ชอบ

๖.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเมื่อฉันบิณฑบาตเราจักแลดูแต่ในบาตรคือขณะฉันห้ามแลดู

สิ่งอื่นเพราะการมองดูโน่นดูนี่ขณะกำาลังเคี้ยวอยู่ในปากเป็นกิริยาที่ไม่งาม

๗.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่งคือห้ามไม่ให้หยิบข้าวในที่เดียว

จนเป็นหลุมลึกลงไป

๘. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก คือ ห้ามไม่ให้ฉันเฉพาะ

แกงให้ฉันข้าวกับอาหารพอๆกันและไม่ฉันแบบตะกละตะกลาม

๙. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป คือ เมื่อมีข้าวพูนเป็น

ยอดต้องเกลี่ยให้เสมอกันแล้วจึงฉัน

๑๐. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้

มากคือเมื่อไปฉันในกิจนิมนต์ทายกจะคอยอังคาสคือเติมของฉันถวายห้ามมิให้เอาข้าว

สุกกลบแกง

๑๑.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน

มาฉันถ้าขอกับญาติหรือผู้ปวารณาได้หรือขอมาให้ภิกษุผู้อาพาธก็ได้เช่นกัน

๑๒. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ คือ ไม่แลดู

บาตรของภิกษุสามเณรอื่นด้วยคิดจะตำาหนิว่าฉันมาก ฉันมูมมาม เป็นต้น ถ้าแลดูด้วยคิด

จะให้ของฉันที่เขายังไม่มีควรอยู่

๑๓.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ทำาคำาข้าวให้ใหญ่นักของอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าวก็

ห้ามไม่ให้ทำาคำาใหญ่เพราะทำาให้ดูไม่งาม

๑๓

Page 22: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๑๔. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักทำาคำาข้าวให้กลมกล่อม คือ ทำาให้เป็นคำาขนาดพอดี

ปาก

๑๕.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เมื่อคำาข้าวยังไม่ถึงปากจักไม่อ้าปากไว้คอยท่าคือ ไม่ให้อ้า

ปากไว้ก่อนส่งข้าวเข้าปาก เมื่อยกคำาข้าวมาจ่อที่ปากแล้วจึงอ้ารับได้ และขณะที่เคี้ยวอยู่

ห้ามอ้าปากให้หุบปากเคี้ยว

๑๖.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเมื่อฉันอยู่เราจักไม่เอามือสอดเข้าปากคือห้ามเอานิ้วมือล้วง

เข้าไปในปากหรือดูดเลียนิ้วมือเพราะทำาให้ดูสกปรก

๑๗. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เมื่อคำาข้าวยังอยู่ในปาก เราจักไม่พูด ขณะที่เคี้ยวอาหารอยู่

ห้ามพูดเพราะจะทำาให้เห็นอาหารที่อยู่ในปากและอาหารอาจร่วงจากปากดูน่าเกลียด

๑๘.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่โยนคำาข้าวเข้าปากคือไม่โยนคำาข้าวแล้วอ้าปากรับ

เพราะเป็นกิริยาที่ซุกซน

๑๙.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันกัดคำาข้าวกัดของอื่นเช่นขนมแข็งหรือผลไม้ไม่

ห้ามข้อนี้บัญญัติเพื่อมิให้ฉันมูมมาม

๒๐.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันทำากระพุ้งแก้มให้ตุ่ยห้ามฉันอมไว้มากๆจึงเคี้ยว

เพราะเวลาเคี้ยวจะทำาให้แก้มตุ่ยออกมาดูไม่งาม

๒๑.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลางข้อนี้ท่านห้ามสะบัดมือเมื่อ

มีข้าวสุกติดมือให้ล้างด้วยนำา

๒๒. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว คือ ห้ามไม่ให้ทำาข้าวหกลงใน

บาตรหรือบนพื้น

๒๓.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันแลบลิ้นเพราะเป็นกิริยาที่น่าเกลียด

๒๔.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันดังจับๆ

๒๕.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันดังซูดๆขณะซดนำา

๒๖. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ คือแลบลิ้นเลียอาหารที่ติดมือ หรือติด

ซ้อนส้อมเข้าปาก

๑๔

Page 23: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๒๗. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร ข้าวเหลือน้อยไม่พอคำา ห้ามไม่ให้

ตะล่อมรวมเข้าฉัน

๒๘. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก หากเปือนให้ใช้ผ้าเช็ด หรือใช้นำา

ล้าง

๒๙.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่เอามือที่เปือนจับภาชนะนำาเพราะจะทำาให้ภาชนะ

เปือนไปด้วย

๓๐. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่เอานำาล้างบาตร ที่มีเมล็ดข้าวเทในบ้านแม้ไม่มี

เมล็ดข้าวก็ไม่ควรเท

หมวดที่ ๓ ธัมมเทสน�ปฏิสังยุต ว่�ด้วยก�รแสดงธรรม

มี๑๖สิกขาบทดังนี้

๑.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ

๒.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีไม้พลองในมือ

๓.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีอาวุธในมือ

๔.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีศัสตราในมือ

๕. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมเขียงเท้า คือ สวม

รองเท้ามีส้น

๖.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมรองเท้า

๗.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในยานคืออยู่ระหว่าง

เดินทางด้วยยานพาหนะ ถ้านั่งในรถ หรือเรือลำาเดียวกัน แสดงได้ แต่ถ้าไม่ได้นั่งในยาน

เดียวกันห้ามแสดง

๘.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน

๙.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งรัดเข่า

๑๐.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้พันศีรษะ

๑๑.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้คลุมศีรษะ

๑๒.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ

๑๓.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง

๑๔.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งอยู่

๑๕

Page 24: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๑๕.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า

๑๖.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปอยู่ในทาง

ทั้ง๑๖สิกขาบทนี้เป็นข้อห้ามไม่ให้ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้ไม่ทำาเคารพในพระธรรม

ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟือต้องอาบัติทุกกฎในทุกสิกขาบท

หมวดที่ ๔ ปกิณกะ ว่�ด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด

มี๓สิกขาบทดังนี้

๑.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ

๒. ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ

(เสมหะหรือเสลด,นำาลาย)ลงในของเขียวของเขียวในสิกขาบทนี้ได้แก่พืชผักหญ้าหรือ

ข้าวกล้า เป็นต้น ที่เขาปลูกไว้เพื่อนำาไปใช้ประโยชน์ ของเขียวที่คนไม่ต้องการ ไม่จัดเข้าใน

สิกขาบทนี้

๓.ภิกษุพึงทำาความศึกษาว่าเราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะบ้วนเขฬะลง

ในนำานำาในที่นี้หมายเอานำาที่เขาต้องใช้สอยนำาที่ไม่มีคนใช้ไม่เป็นอาบัติ

๑๖

Page 25: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ภ�ค ๒

คุณธรรมนำ�ไทย ใส่ใจพัฒน�ข้�ร�ชก�ร

๑๗

Page 26: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

จะพูดจ�ปร�ศรัยกับใครนั้น

อย่�ตะครั้นตะคอกให้เคืองหู

ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู

คนจะหลู่ล่วงล�มไม่ข�มใจ

แม้จะเรียนวิช�ท�งค้�ข�ย

อย่�ป�กร้�ยพูดจ�อัชฌ�สัย

จึงซื้อง่�ยข�ยดีมีกำ�ไร

ด้วยเข�ไม่เคืองจิตคิดระอ�

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมป�ก

จะได้ย�กโหยหิวเพร�ะชิวห�

แม้พูดดีมีคนเข�เมตต�

จะพูดจ�จงพิเคร�ะห์ให้เหม�ะคว�ม

สุนทรภู่

๑๘

Page 27: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรมนำ�ไทย

ในสถานการณ์ของสังคมปัจจุบัน มีข่าวน่าเศร้าสลดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ

ฆาตกรรมการโจรกรรมปัญหายาเสพติดการคอรัปชั่น ความประพฤติของเหล่าบุคคลใน

สังคมเหล่านี้ถือเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆของปัญหาสังคมในปัจจุบันเท่านั้นซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า

สังคมไทยกำาลังกำาลังก้าวเข้าสู่ “ภาวะวิกฤตทางคุณธรรม (Morality Crisis) ของบุคคลใน

ประเทศ กอปรกับการรับเอาวิถีวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาใช้ในการดำาเนินชีวิตประจำา

วัน รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ อันทันสมัย สะดวก ประหยัดเวลา โดยมิได้พินิจพิจารณาให้

ถี่ถ้วนถึงความสำาคัญ และความประสงค์เดิมของการนำามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นการ

นำามาใช้เพื่อตนทำาตามใจตนอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรับเอามาเพื่อประดับบารมีเพื่อยก

ระดับทางสังคมของตนจนนำาเข้าสู่การนำามาประพฤติปฏิบัติและใช้สอยอย่างมิชอบมีผู้รู้

กล่าวไว้ว่า

“เพราะสังคมประเมินค่าคนที่จนรวย

คนจึงสร้างเปลือกสวยได้สวมใส่

หากสังคมวัดค่าคนที่จิตใจ

คนจะสร้างนิสัยที่ใฝ่ดี”

แน่นอนว่ามิใช่เพียงที่กล่าวมาเท่านั้น ปัจจัยพื้นฐานของแต่ละบุคคล แต่ละครอบครอบครัว

ก็เช่นเดียวกันย่อมส่งผลกระทบโดนตรงต่อการเสื่อมสูญทางคุณธรรมได้เป็นอย่างดี เช่น

ลักษณะนิสัยส่วนตัว การสั่งสอนของบิดามารดา เพื่อน เป็นต้น แต่เมื่อใดเราได้หันกลับมา

มองดูตนสำารวจตรวจตราด้วยสติด้วยปัญญาอย่างแท้จริงแล้วยอมรับแก้ไขปรับปรุงใน

ส่วนที่ผิดเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดโดยน้อมนำาเอาหลักธรรมคำาสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรม

ศาสดาเจ้ามาเป็นเกณฑ์เป็นแนวทางปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เรากำาลังเผชิญอยู่นี้

ย่อมหายไปตราบจนนิรันดร์

๑๙

Page 28: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม คือ สิ่งใดกัน

“ถึงทรงศักดิ์อัครฐานสักปานใด

ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี

ถึงฉลาดขลาดเขลาปัญญาดี

ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ต ำาคน”

จากบทประพันธ์ขอกวีท่านหนึ่งในสังคมไทย ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนทีเดียวว่า ผู้

ใดก็ตามถึงมียศศักดิ์มีความรำารวยสวยหล่อหรือแม้ว่าจะโง่จะฉลาดสักปานใดแต่ถ้าขาด

คุณธรรมก็ตำาคนคำาว่า“ตำาคน”ตามบประพันธ์นั้นย่อมหมายถึงคนที่ไร้ศีลธรรมความ

ประพฤติมากไปด้วยทุจริต ติดอยู่ในอบาย ไม่ละอายในความคิด จิตแปรปรวนไม่แน่นอน

จนเป็นคนชั่วของสังคมไปแล้วคำาว่า“คุณธรรม”ล่ะคืออะไร

คำาว่า “คุณธรรม” อาตมาขอแยกเป็นสองคำา เพื่อให้เข้าใจพื้นความหมายของ

คำาได้ง่ายขึ้นคือคำาว่าคุณและธรรมะ โดยที่ คำาว่า“คุณ” แปลว่าความดีส่วนคำาว่า

“ธรรมะ” มีความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของคำานี้ ว่า

“ระบบประพฤติปฏิบัติ เพื่อความถูกต้องดีงามในทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของชีวิต”

และท่านยังให้ความหมายของธรรมะไว้อีก๔ประการหลักคือ

๑.ธรรมคือธรรมชาติ(Nature)

๒.ธรรมคือกฎของธรรมชาติ(LawofNature)

๓.ธรรมคือหน้าที่ของธรรมชาติ(DutyofNature)

๔.ธรรมคือผลแห่งธรรมชาติ(ResultofNature)

โดยรวมของทั้ง๔ความหมายนี้อาจกล่าวได้ว่าธรรมะก็คือสภาพอันไปเป็นของธรรมชาติ

นั่นเอง

พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)ได้ให้ความหมาย

ของคุณธรรมว่าธรรมที่เป็นคุณงามความดีสภาพที่เกื้อกูล

ส่วนพุทธทาสภิกขุ ผู้เป็นพระนักปราชญ์ กล่าวว่า คุณธรรม เป็นคุณสมบัติฝ่ายดี

โดยส่วนเดียวเป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุขของมนุษย์

๒๐

Theeraphisith
Highlight
เติม ท ด้วย ตามบทประพันธ์
Theeraphisith
Sticky Note
Theeraphisith
Highlight
ชิดขอบ
Page 29: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่าคุณธรรม (Virtue)หมายถึงสภาพอันเป็นธรรมชาติ

ของคุณงามความดีในจิตใจที่เกื้อกูลที่ยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคมถ้าหากกล่าวในเชิง

ของนามธรรมนั้น คุณธรรม เป็นจิตสำานึกของคน ที่ตระหนักในความผิดชอบชั่วดี ต่อการ

กระทำาอันเคยชินนั้นๆของตนโดยอิงหลักสำาคัญ๓ประการคือความรู้สึกผิดชอบชั่ว

ดีในส่วนตน๑วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นประวัติศาสตร์ทางสังคม๑และธรรมเนียม

ปฏิบัติอีก๑ซึ่งเป็นกรอบพื้นฐานของคุณธรรมในแต่ละบุคคล

แล้วคุณโยมล่ะคุณธรรมของคุณโยมคืออะไร???

คุณธรรม สำ�คัญไฉน

ในตอนนี้อาตมาใคร่ถามสักคำาหนึ่งว่าถ้ามีคำาให้เลือก๒คำาคือคำาว่าคน(Peo-

ple)และมนุษย์(Human)ท่านจะเลือกคำาใดที่บ่งบอกถึงตัวตนของท่านแน่นอนว่าท่าน

คงจะเลือกคำาว่ามนุษย์แต่ท่านแน่ใจแล้วหรือกับคำาๆนี้อาตมาขอกล่าวเป็นเบื้องต้นก่อน

ว่าคำาว่ามนุษย์ในภาษาบาลีเขียนว่ามนุสฺสมาจากมน(มะ-นะ)แปลว่าใจรวมกับคำาว่า

อุสฺสแปลว่าสูงมนุษย์จึงแปลว่าผู้มีใจสูงเป็นผู้ที่สูงส่งด้วยจิตใจมีคุณธรรมศีลธรรม

จริยธรรมประจำาใจประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควรส่วนคนก็เป็นแค่บุคคลทั่วไปดำาเนิน

ชีวิตไปตามครรลองของใจตนดีบ้างชั่วบ้างดังที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้เป็นบทกลอนสอน

ใจว่า

“เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน

ถ้าใจต ำาก็เป็นได้แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา

ใจสะอาดใจสว่างใจสงบ ถ้ามีครบควรเรียกมนุสสา

เพราะทำาถูกพูดถูกทุกเวลา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์จริง

ใจสกปรกมืดมัวและร้อนเร่า ใครมีเข้าควรเรียกว่าผีสิง

เพราะพูดผิดทำาผิดจิตประวิง แต่ในสิ่งทำาตัวกลั้วอบาย

คิดดูเถิดถ้าใครไม่อยากตก จงรีบยกใจตนรีบขวนขวาย

ให้ใจสูงเสียได้ก่อนตัวตาย ก็สมหมายที่เกิดมาอย่าเชือนเอยฯ”

๒๑

Page 30: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

เราท่านจะพิจารณาได้ว่า ท่านพุทธทาสมองเห็นความสำาคัญของการมีคุณธรรม

ศีลธรรมในจิตใจ ด้วยภาวะของการอยู่ในสังคมนี้ มีการแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ละโมบโลภ

มาก ต่อสิ่งยั่วยวนจิตใจ หากขาดคุณธรรม ปัญหายิ่งบานปลาย จากสังคมอันสงบสุขจะ

กลับกลายเป็นนรกเสมือนจริง อย่างไรล่ะที่ว่าเป็นนรกเสมือนจริง ประการต้นๆ เลยที่เห็น

ได้ชัดเจนที่สุดคือ “เป็นคนเหมือนไม่ใช่คน” ไร้คุณค่า ใส่หน้ากากเข้าประหัตประหารกัน

ไม่ซื่อสัตย์จริงใจ ไม่มีความเจริญในชีวิต มาถึงตรงนี้ ทำาให้ระลึกถึงพุทธศาสนสุภาษิตของ

สมเด็จพระทศพลญาณซึ่งปรากฏอยู่ในปราภวสูตรขุททกนิกายสุตตนิบาตว่า“ธมฺ

มกาโมภวำโหติธมฺมเทสฺสีปราภโว”แปลว่าผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญผู้เกลียดธรรมเป็นผู้

เสื่อม

ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้สนใจในการศึกษา และปฏิบัติตามธรรมนั้น ย่อมยังผลให้ไม่ตก

ไปสู่โลกที่ชั่ว กล่าวคือ อบายภูมิ อันประกอบไปด้วย เปรต สัตว์นรก อสุรกาย และสัตว์

เดียรัจฉาน มีความสบายกาย สบายใจ ไม่ทุกข์ร้อน ไม่เกิดวิปฏิสาร มีความสำาเร็จในชีวิต

และย่อมถึงบรมสุขเป็นเบื้องปลาย หากแต่ผู้เกลียดธรรม ไม่สนใจใคร่รู้ ถึงรู้ก็เพียงเปลือก

มิใช่แก่นของธรรม ไม่ปฏิบัติ ละเว้นในสิ่งที่ควรกระทำา ประกอบแต่สิ่งที่ควรละวาง อบาย

เป็นแหล่งที่ตั้งรอไว้ในเบื้องปลาย ยังผลให้มีแต่ความทุกข์ กระสับกระส่ายในการดำาเนิน

ชีวิตมีความผิดพลาดเป็นอารมณ์มีความล่มจมเป็นสถานพักพิงฉันใดผู้ไร้คุณธรรมประจำา

ใจก็เป็นผู้เสื่อมจากสังคมฉันนั้น

แล้วท่านล่ะคุณธรรมสำาหรับท่านสำาคัญหรือไม่

คุณธรรม ๔ ประก�ร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นนักปราชญ์

ในหลายๆแขนง ดังที่เราได้ยลยินอยู่เนืองๆ ทั้งด้านอักษรศาสตร์ ด้านปรัชญา ด้าน

เศรษฐศาสตร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งกว่ากษัตริย์เสียอีก เป็นพ่อที่ยิ่งกว่าพ่อของชาว

ไทยคำาสอนของพระองค์ท่านมีนับไม่ถ้วนยากจะยกมาได้หมดอาตมาจึงขอยกคำาสอนที่

๒๒

Page 31: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

เป็นหลักปฏิบัติทางด้านคุณธรรมที่สำาคัญที่สถาบันหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนยึดถือ

เป็นแนวทางการดำาเนินรอยตามพระองค์พอเป็นแนวสังเขปคือคุณธรรม๔ประการ

คุณธรรม ๔ ประการ เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย

เดชมหาราช ได้ทรงพระราชทานสำาหรับคนไทย ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบุรพ

มหากษัตริยาธิราชเจ้าณมณฑลพิธีท้องสนามหลวงเมื่อวันจันทร์ที่๕เมษายนพ.ศ.๒๕๒๕

เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ๒๐๐ปีความว่า

“...คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำามาปฏิบัติมีอยู่๔ประการ

ประการแรกคือการรักษาความสัจความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติ

ปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่ ๒ คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกฝนจิตใจตนเองให้ประพฤติ

ปฏิบัติอยู่ในสัจความดีนั้น

ประการที่๓คือการอดทนอดกลั้นและอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วง

ความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด

ประการที่ ๔ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละ

ประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรม๔ประการนี้ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำารุงให้มี

ความเจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้วจะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข

ความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดั่งประสงค์...”

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระราชทานคุณธรรม๔ประการอันเป็นแนวทาง

ปฏิบัติสำาหรับพสกนิกรชาวไทย ตามสายพระเนตรของพระองค์ที่ทรงทดพระเนตรเห็น

ในปัจจุบันว่า ลูกๆหลานๆของพระองค์ ขาดคุณธรรมใดก็ทรงพระราชทานข้อคิดเตือนใจ

ในสิ่งนั้น ซึ่งได้พระองค์พระราชทานไว้ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่เสด็จออกสีหบัญชร

พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่๙มิถุนายนพ.ศ.๒๕๔๙มีใจความสำาคัญสรุปได้ว่า

ประการแรกคือการที่ทุกคนคิดพูดทำาด้วยเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน

ประการที่สองคือการที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสานงาน

๒๓

Page 32: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำาสำาเร็จผลทั้งแก่ตนเองและกับประเทศชาติ

ประการที่สามคือการที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริตในกฎกติกา

และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน

ประการที่สี่คือการที่ต่างคนต่างพยายามทำาความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง

เที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุผล

หากเราสังเกตจะเห็นได้ว่าพระราชดำารัสของพระองค์นั้นทรงยึดมั่นในหลักธรรม

ทางพระพุทธศาสนา ทรงน้อมนำาเอาหลักธรรมอันสูงสุด มาประยุกต์ใช้ สอดแทรกในพระ

ราชดำารัสเพื่อสอนสั่งลูกๆ ของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันมีความแตกฉาน

ในพระธรรมคำาสั่งสอนของพระบรมศาสนาได้เป็นอย่างดี แล้วเราล่ะ ได้น้อมเอาพระราช

ดำารัสหรือได้ปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทหรือยัง

พระบรมร�โชว�ท

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลในโอกาสต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมและ

จริยธรรมในการทำางานทั้งสิ้นในที่นี้ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทที่น่าสนใจมาแสดงเล็กๆ

น้อยๆเพื่อน้อมใส่เกล้าใส่กระหม่อมเป็นบางองก์ดังนี้

“เมื่อทำางาน ต้องมุ่งถึงจุดหมายที่แท้ของงาน งานจึงจะสำาเร็จได้รับประโยชน์

ครบถ้วนทั้งประโยชน์ของผู้ทำาถ้าทำางานเพื่อจุดหมายอื่นๆเช่นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

แม้จะได้ผลมากมายเพียงใดงานก็ไม่สำาเร็จแต่ทำาให้เสียทั้งงานเสียทั้งคน”

“เกียรติและความสำาเร็จ เกิดจากผลการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตัวของแต่ละ

คน ที่สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบให้ได้ผลสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ และ

ปฏิบัติตัวให้สุจริตเที่ยงตรงพอควรพอดีแก่ตำาแหน่งหน้าที่ที่ดำารงอยู่”

๒๔

Page 33: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

เศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนี้พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งมิใช่จะใช้ได้

เฉพาะแต่ในแง่ของการจัดการทรัพย์สินของบ้านเมือง หรือของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

เท่านั้น แม้แต่ในหมู่ข้าราชการก็เป็นแนวคิดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่มีการล่วงสมัย

เป็นแนวดำาเนินชีวิตที่อาจตัดปัญหาที่จะนำาไปสู่การฉ้อราษฎร์บังหลวงได้เป็นอันมาก การ

ไม่ทะเยอทะยานอยากจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างหรูหราโอ่อ่าและใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มาสู่

คุณสมบัติประจำาบุคคลปรับตนเองให้พอกินพออยู่รู้จักประหยัดคือรู้จักใช้จ่ายทรัพย์ที่

หามาได้ในสิ่งที่จำาเป็นแก่การครองชีพไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยรู้จักพินิจพิจารณาว่าสิ่งใดควรซื้อ

หรือไม่ควรซื้อ รวมตลอดทั้งแบ่งปันรายได้ส่วนหนึ่งเก็บออมไว้ใช้จ่ายเมื่อคราวจำาเป็น จะ

ได้ไม่ต้องหยิบยืมผู้อื่นมาแก้ปัญหาหรือประพฤติมิชอบเพื่อให้พ้นจากภาระหนี้สินการถือ

เอาระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักดำาเนินชีวิตจะมีแต่ทางได้เท่านั้น

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้�ร�ชก�ร

ข้�ร�ชก�ร หมายถึง ข้ารองธุลีพระบาทในองค์พระมหากษัตริย์ ผู้รับ

สนองงานและกระทำางานที่ได้รับนั้นต่างพระเนตรพระกรรณโดยมีหน้าที่หลักคือเพื่อบำาบัด

ทุกข์ บำารุงสุขแก่ประชาชนแทนพระองค์ ซึ่งคุณลักษณะผู้เป็นข้าในพระองค์ควรประกอบ

ด้วย

๑.ทักษะการใช้ความคิด

๑.๑คิดภาพรวมลุ่มลึกและกว้างไกลไม่หยุดความคิด

๑.๒รู้จักปรับยืดหยุ่นไม่ว้าวุ่นเป็นเถรตรง

๑.๓คิดทำางานเชิงรุกไม่ขลุกอยู่กับที่

๑.๔คิดป้องกันดีกว่าอย่าวัวหายจึงล้อมคอก

๒.การทำางานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

๒.๑กระบวนทัศน์ต้องรู้ปรับไม่อยู่กับกระบวนเดิม

๒.๒สร้างเครื่องมือไว้ชี้วัดดีกว่าหัดนั่งดูเทียน

๒.๓เช้าชามเย็นชามขอให้งดจงกำาหนดเวลาแล้วเสร็จไว้

๒.๔อุทิศซึ่งเวลาไม่แสวงหาประโยชน์ตน

๒๕

Page 34: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๓.๑คำานึงถึงต้นทุนไม่คุ้มทุนจงอย่าทำา

๓.๒บริหารแบบประหยัดจงอย่าหัดเป็นหนี้เขา

๓.๓สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของอย่าเป็นทองไม่รู้ร้อน

๓.๔รู้จักบำารุงและรักษาอย่าดีแต่ใช้เครื่องเป็น

๔.ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร

๔.๑ใช้เทคโนโลยีใหม่ไม่ล้าสมัยไดโนเสาร์

๔.๒สร้างเครือข่ายให้กว้างขวางอย่าปล่อยวางเรื่องทีมงาน

๔.๓รู้จักพูดให้ได้ผลอย่าทำาตนเป็นเบื้อใบ้

๔.๔อดทนต่อถ้อยคำาไม่จดจำามาต่อกร

๔.๕แถลงเรื่องลึกลำาได้อย่าตอบง่ายไม่ศึกษา

๕.ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ

๕.๑ซื่อสัตย์สุจริตไม่คิดคอรัปชั่น

๕.๒พร้อมรับผิดชอบตรวจสอบได้

๕.๓สร้างศรัทธาประชาเงินตราไม่รับ

๕.๔ไม่เป็นอภิสิทธิชนเป็นคนของรัฐและประชาชน

๕.๕บริการยอดเยี่ยมคุณภาพเปียมล้น

๖.การมุ่งเน้นให้บริการ

๖.๑บริการแบบโปร่งใสพ้นสมัยเป็นความลับ

๖.๒คำานึงถึงลูกค้าให้มากกว่าคำานึงตน

๖.๓มุ่งผลอันสัมฤทธิ์คือผลผลิตและผลลัพธ์

๖.๔เสมอภาคและเป็นธรรมไม่ห่วงยำาแต่พวกพ้อง

๖.๕บริการประชาชนไม่ทำาตนเป็นนายเขา

๗.จริยธรรม

๗.๑มีศีลธรรมพฤติกรรมเป็นแบบอย่าง

๗.๒คำานึงประโยชน์ราษฎร์อย่าฉลาดเอาแต่ได้

๗.๓ร่วมทำากิจขจัดจิตเห็นแก่ตัว

๒๖

Page 35: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๗.๔ตระหนักถึงครอบครัวไม่พึงมั่วด้วยโลกีย์

๗.๕ไม่ก่อมลภาวะแต่ควรจะพิทักษ์และรักษา

๘.ความสามารถในการปฏิบัติงาน

๘.๑รู้จริงรู้ลึกรู้กว้างไม่รู้อย่างงูๆปลาๆ

๘.๒ทำางานวางแผนได้ไม่ทำาตามอำาเภอใจ

๘.๓อธิบายชี้แจงได้ไม่ผลักไสให้ผู้อื่น

๘.๔สร้างองค์ความรู้ใหม่ไม่ใส่ใจแต่ของเดิม

๙.การแก้ปัญหา

๙.๑ยิ้มสู้ปัญหาไม่เบือนหน้าหนี

๙.๒แก้ปัญหาด้วยปัญญาไม่รอช้าหาคนช่วย

๙.๓พบปัญหาก็รู้แก้ไม่ยอมแพ้วิ่งหาแพะ

๙.๔เห็นปัญหาเป็นโอกาสไม่ขลาดเห็นเป็นอุปสรรค

๑๐.การทำางานเป็นทีม

๑๐.๑มีมนุษย์สัมพันธ์ไม่แบ่งกันเป็นก๊กเหล่า

๑๐.๒ร่วมคิดร่วมทำาไม่นำาตนไปโดดเดี่ยว

๑๐.๓แบ่งปันซึ่งความรู้ไม่ใส่ตู้รู้ผู้เดียว

๑๐.๔ให้อภัยเมื่อพลั้งพลาดไม่คาดโทษให้แก่กัน

๑๑.ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์

๑๑.๑ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญไม่รำาคาญหาความรู้

๑๑.๒คุ้มค่าด้วยการใช้ไม่เก็บไว้ประดับห้อง

๑๑.๓ถนอมใช้ด้วยระวังไม่ตึงตังให้แตกหัก

๑๑.๔บำารุงและรักษาไม่เรียกหาแต่ของใหม่

๒๗

Page 36: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

จริยธรรมในฐ�นะผู้ใต้บังคับบัญช�

จริยธรรมต่อตนเอง

๑.เป็นผู้มีศีลธรรมและประพฤติตนเหมาะสม

๒.ซื่อสัตย์

๓.มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง

จริยธรรมต่อหน่วยงาน

๑.สุจริตเสมอภาคปราศจากอคติ

๒.ทำางานเต็มความสามารถรวดเร็วขยันถูกต้อง

๓.ตรงต่อเวลา

๔.ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด

จริยธรรมต่อผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน

๑.ร่วมมือช่วยเหลือแนะนำาทำางานเป็นทีม

๒.เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง

๓.สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่

๔.สุภาพมีนำาใจมีมนุษยสัมพันธ์

๕.ละเว้นการนำาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

จริยธรรมต่อประชาชนและสังคม

๑.ให้ความเป็นธรรมเอื้อเฟือมีนำาใจสุภาพอ่อนโยน

๒.ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป

๓.ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัย

จากผู้มาติดต่อ

๒๘

Page 37: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

จริยธรรมในฐ�นะหัวหน้�ง�น

จริยธรรมพื้นฐานของหัวหน้างานมี๔ประการคือ

๑.ความซื่อสัตย์ต่อหน่วยงานแม่

๒.ความซื่อสัตย์ต่อหน่วยงานของตน

๓.ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

๔.ความเสียสละ

๕.รับผิดชอบในความสำาเร็จและความล้มเหลวของหน่วย

๖.ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

๗.สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในหน่วย

๘.สั่งงานไม่เกินขีดความสามารถของหน่วยรอง

๙.ตรงไปตรงมา

๑๐.ยุติธรรม

๑๑.ไม่เห็นแก่ตัว

จริยธรรมในฐ�นะฝ่�ยบริก�ร และสนับสนุน

๑.พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

๒.ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ

๓.มีความรับผิดชอบ

๔.พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ

๕.ประหยัดทรัพยากรของหน่วยงาน

๖.ดำารงชีพให้เหมาะสมกับฐานะไม่ฟุ่มเฟือยไม่สุรุ่ยสุร่าย

๗.รักษาจรรยาวิชาชีพที่กำาหนดไว้อย่างเคร่งครัด

๘.มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับทุกคน

๒๙

Page 38: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม สำ�หรับข้�ร�ชก�รที่ดี

สมเด็จพระวันรัต(เฮงเขมจารี)กล่าวว่าข้าราชการคือผู้ปฏิบัติราชการต่าง

พระเนตรพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับความพึง

พอใจและยินดีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายข้าราชการที่ดีจึงจะ

ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม๙๐ประการดังนี้

๑. จงแสดงความสามารถให้ปรากฏ

๒. อย่ากล้าจนเกินพอดี

๓. อย่าขลาดจนเสียราชการ

๔. อย่าประมาทให้ระมัดระวังอยู่เป็นนิตย์

๕. ต้องมีคุณสมบัติทั้งความประพฤติ ความรู้ ความสะอาด ในการปฏิบัติ

งานในหน้าที่ให้วางใจได้

๖. รักษาความลับราชการเท่าชีวิต(อย่าให้เกิดการระแวงสงสัย)

๗. พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตใจ

๘. พึงปฏิบัติหน้าที่ให้สำาเร็จโดยเที่ยงธรรม

๙. ต้องฉลาดในหน้าที่ราชการใหญ่น้อยทุกอย่าง

๑๐. ต้องกล้าหาญในการสั่งงาน ไม่หวาดหวั่นต่อหน้าที่เกิดขึ้นทุกขณะ มี

ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้สำาเร็จได้โดยฉับพลัน

๑๑. ให้รู้จักลดตัวเมื่อติดตามไปกับผู้ใหญ่ (อย่าเดินบนลาดพระบาท แม้

อนุญาตก็ไม่บังควร)

๑๒. อย่าใช้สอยสมบัติทัดเทียมผู้ใหญ่

๑๓. ควรเดินตามหลังผู้ใหญ่(ยกเว้นกรณีนำาทาง)

๑๔. ควรปฏิบัติให้ดูต ำากว่าผู้ใหญ่(อย่าให้เกินหน้าผู้ใหญ่)

๑๕. เสื้อผ้าเครื่องประดับอย่าใช้ทัดเทียมผู้ใหญ่

๑๖. อากัปกิริยาและการพูดจาควรระมัดระวังอย่าให้กำาเกิน

๓๐

Page 39: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๑๗. อย่าล้อเลียนผู้ใหญ่ให้รู้จักลดตัว(ไม่ตีตนเสมอ)

๑๘. ในขณะที่ผู้ใหญ่เล่น(พักผ่อน)หากมีสตรีฝ่ายในอยู่อย่าทอดสนิท

๑๙. อย่าเป็นคนฟุ้งซ่าน

๒๐. อย่าแสดงอาการของคนพอง(เบ่ง)

๒๑. อย่าคะนองกายวาจาให้เสียจริยาข้าราชการ

๒๒. ต้องรู้จักรักษาวินัยของข้าราชการ

๒๓. ต้องรู้จักระวังมิให้เกิดราคีในหน้าที่ราชการ

๒๔. อย่าปราศรัยและเล่นหัวกับสตรีฝ่ายในของผู้ใหญ่

๒๕. อย่าลักลอบเบิกของหลวงไปใช้ส่วนตัว

๒๖. อย่าหลับนอนหรือเกียจคร้านในเวลาราชการ

๒๗. อย่าปล่อยให้หน้าที่ราชการเสียหาย

๒๘. อย่าดื่มสุราจนเมามายทำาให้ขายหน้าผู้บังคับบัญชา

๒๙. อย่าเบียดเบียนสัตว์ที่ผู้ใหญ่ให้อภัย

๓๐. อย่าตีเสมอผู้ใหญ่ในทุกกรณี(แม้เพียงที่นั่งที่นอนเป็นต้น)

๓๑. ต้องเข้าใจหน้าที่ราชการโดยรอบด้าน

๓๒. ต้องมีไหวพริบในภาคปฏิบัติอันเนื่องด้วยผู้ใหญ่

๓๓. อย่าห่างเหินผู้ใหญ่เกินไปและอย่าใกล้ผู้ใหญ่เกินไป

๓๔. อย่าชะล่าใจว่าผู้ใหญ่คือเพื่อน

๓๕. เมื่อผู้ใหญ่ยกย่องในระดับ“ราชบัณฑิต”หรือ“ที่ปรึกษา”อย่าชะล่า

ใจและหลงตัวว่ายิ่งใหญ่เป็นอันขาดภัยจะตามมา

๓๖. เมื่อได้รับความไว้วางใจเป็นฝ่ายในมากเพียงใด ให้มีสติดำารงตนให้

รอบคอบอย่าประมาทแม้แต่น้อย

๓๗. อย่าเพ็ดทูลคุณหรือโทษผู้ใกล้ชิดผู้ใหญ่

๓๘. อย่าขัดหรือตัดลาภของเพื่อนร่วมงาน

๓๙. ต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว

๔๐. ไม่ควรพูดให้เสียราชการงานเมือง

๓๑

Page 40: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๔๑. อย่ามักใหญ่เห็นแก่ได้จนเกินไป

๔๒. ไม่พูดจาแบบหาเรื่องจงพูดเฉพาะที่เป็นประโยชน์

๔๓. อย่าเบียดบังราชการโดยใช้จ่ายให้ฟุ่มเฟือย

๔๔. พึงสอดส่องและดูแลรักษาหน้าที่ราชการไม่ให้ผิดต่อจารีตประเพณี

๔๕. ต้องกล้าที่จะเผชิญอุปสรรคและสามารถแก้ไขข้อขัดข้องได้

๔๖. ไม่ควรมัวเมาเรื่องเพศจนเกินไปจนทำาให้เสียงานในหน้าที่

๔๗. ควรเพิ่มพูนปัญญาในการทำางานสมรรถภาพจะสูงขึ้น

๔๘. อย่าพูดมากนิ่งเสียเลยก็ไม่ชอบให้พูดพอประมาณไม่พร ำาเพรื่อ

๔๙. ต้องอดทนไม่เป็นคนฉุนเฉียวโกรธง่าย

๕๐. อย่าพูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยเป็นที่น่ารำาคาญแก่ผู้อื่น

๕๑. ให้รักษาสัจจะ

๕๒. ให้ระวังถ้อยคำา

๕๓. เป็นคนละเอียดสุขุม

๕๔. พูดแต่ถ้อยคำานุ่มนวลควรดื่มไว้ในใจ

๕๕. ไม่เป็นคนยุแหย่ส่อเสียดไม่สร้างความบาดหมาง

๕๖. ไม่พูดเพ้อเจ้อไม่ทำาตนเป็นคนเหลวไหล

๕๗. ต้องบำารุงเลี้ยงดูบิดามารดาให้ผาสุก

๕๘. ผู้ใหญ่ในสกุลจะต้องเกื้อหนุนนบนอบให้ชอบธรรม

๕๙. มีหิริโอตัปปะเป็นกัลยาณชน

๖๐. มีมโนธรรมสูงพร้อมทั้งประพฤติให้เป็นแบบอย่างด้วย

๖๑. ต้องมีอาจารสมบัติได้รับการฝึกหัดไว้อย่างดี

๖๒. ต้องมีศิลปวิทยาและมีความสามารถในหน้าที่

๖๓. รู้จักข่มใจไม่ทำาตนให้วิปริตเพราะขาดสังวรต่อหน้าที่

๖๔. มีความสามารถด้านวิชาการและจริยธรรม

๖๕. เป็นผู้คงเส้นคงวาไม่แปรผันในคราวมีสมบัติและวิบัติ

๖๖. มีอัธยาศัยอ่อนโยนไม่เย่อหยิ่ง

๓๒

Page 41: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๖๗. ไม่ประมาทในหน้าที่ราชการ

๖๘. มีความประพฤติสุจริตไม่มัวหมอง(คอรัปชั่น)

๖๙. ขยันเอาใจใส่ต่อหน้าที่ราชการ

๗๐. ควรปฏิบัติราชการด้วยความอ่อนน้อมเคารพมีสัมมาคารวะเรียบร้อย

ทั้งกายและวาจาให้ผู้มาติดต่อมีความสุข

๗๑. พึงปฏิบัติให้ดีเยี่ยมในราชการอันเนื่องด้วย “วงการทูต” ระหว่าง

ประเทศเรื่อง“ลับสุดยอด”ต้องเข้าใจและเอาใจใส่ให้ดี

๗๒. พึงเข้าสมาคมโดยเคารพแม้ในสมณะชีพราหมณ์ผู้มีศีลทานบริจาคที่

เคยปฏิบัติพึงรักษาไว้มิให้เสื่อมคลายแม้ในพวกวณิพก

๗๓. พึงสอดส่องให้ตระหนักในหน้าที่ราชการ

๗๔. มีความสุขุมรอบคอบไม่บกพร่อง

๗๕. มีความฉลาดหลักแหลมในหน้าที่ราชการ ให้ดำาเนินไปด้วยความ

เรียบร้อย

๗๖. รู้กาลรู้สมัยว่าควรปฏิบัติอย่างไร

๗๗. ปฏิบัติราชการให้สำาเร็จทันกาลทันสมัยนั้นๆ

๗๘. ไม่ตั้งอยู่ในฐานะที่ประมาทพร้อมสอดส่องในหน้าที่ที่จะต้องจัด

๗๙. มีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้านปฏิบัติหน้าที่ให้สำาเร็จลุล่วงด้วยดี

๘๐. ต้องสำารวจเครื่องอุปโภค บริโภค ภายในบ้านเรือนให้รู้ไว้ พร้อมทั้ง

อุปกรณ์ใช้สอยในงานอย่างครบถ้วนมิให้บกพร่อง

๘๑. อย่าเห็นแก่ญาติวงศ์วานที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลาจารวัตร ไม่ควรยกย่องให้

เป็นใหญ่ปกครองหมู่คณะจะเสียความเป็นธรรมในหน้าที่

๘๒. แม้ทาสหรือกรรมกรที่ตั้งอยู่ในศีลธรรมมีความขยันหมั่นเพียร ควร

ยกย่องให้ปรากฏและให้ปกครองหมู่คณะได้

๘๓. พึงตั้งอยู่ในศีลาจารวัตรไม่อสัตย์ไม่ละโมบเห็นแก่ได้

๘๔. ไม่ควรเอาใจออกห่างจากหน้าที่ประพฤติตามผู้ใหญ่ไม่เข้ากับคนผิด

๘๕. มีความจงรักภักดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๘๖. ต้องรู้จักราชนิยมรัฐนิยมของแผ่นดินและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

๓๓

Page 42: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๘๗. ในบางโอกาสต้องทำาเป็นโง่ให้เป็น(โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยาก)

๘๘. ในบางครั้งอาจถูกกริ้วกราดให้มีความอดทนอย่าโกรธตอบ

๘๙. ผู้หวังความเจริญแก่ตน เขายังทำาอัญชลีแม้เพียงหม้อนำาและนกแอ่นลม

ได้ผู้ใหญ่เหนือหัวซึ่งให้ได้ทั้งคุณและโทษเราจึงควรสักการะไว้ในที่สูงอย่างแท้จริง

๙๐. จริยธรรมสำาหรับข้าราชการ ดังได้บรรยายมานี้เป็นคุณธรรมน้อมนำา

ประโยชน์ให้ท่านได้รับความโปรดปรานจากผู้ใหญ่ ให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการยิ่งๆ

ขึ้นไปไม่หยุดยั้งและจะมีความสุขโดยส่วนเดียว

๓๔

Page 43: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

หลัก ๑๐ ประก�ร ต�มรอยพระยุคลบ�ทดร.สุเมธตันติเวชกุลเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาและ

ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

หลัก ๑๐ ประการ เป็นหลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้เรา

ดู และสำานักงาน ก.พ. ได้ประมวลหลักทั้ง ๑๐ ประการที่เราคิดว่าอย่างน้อยที่สุดการเป็น

ข้าราชการที่ดีนั้นมันน่าจะมีอะไรบ้าง แต่หลักนี้ก็สามารถใช้ได้กับทุกอาชีพ ทุกคน ขอให้

นั่งทบทวนดูเราจะปฏิบัติได้ไหม แล้วพระเจ้าอยู่หัวแสดงให้เราดู ปฏิบัติให้เราดู ทรงปฏิบัติ

อย่างไร

๑. คว�มรู้

“...ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก

การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิดหรือด้วยสมองกล เพราะถึงโลกเราในปัจจุบันจะ

วิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด สามารถขบคิดแก้ไข

ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติ

รู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทพลาดผิดและอคติต่าง ๆ มิให้เกิดขึ้น

ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำาให้เห็นเหตุเห็นผลที่

เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน และวินิจฉัยได้ถูกต้องว่าปัญหา

ที่แท้อยู่ตรงไหนจะปฏิบัติแก้ไขได้โดยวิธีใดส่วนการปฏิบัติได้ถูกนั้นก็คือปฏิบัติแก้ไขได้ถูก

ต้องตามหลักการหลักวิชาการหลักเหตุผลและหลักธรรมการคิดได้ดีปฏิบัติได้ถูกนี้ เป็น

เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลประกอบกัน และส่งเสริมสนับสนุนกัน เป็นปัจจัยที่สำาคัญในการแก้ไข

ปัญหาทั้งในการดำารงชีวิตและในการปฏิบัติกิจการงาน...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่๑สิงหาคม๒๕๓๙

๓๕

Page 44: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

พระราชดำารัสตอนหนึ่งที่เคยรับสั่งเอาไว้รู้รักสามัคคีคำาแรกที่ทรงสอนเอาไว้“รู้”

การดำารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือใครก็ตาม จะทำาอะไรขอให้เริ่มที่ความรู้เสียก่อน

บ้านเมืองทะเลาะกันทุกวันนี้น่าเศร้าใจที่สุดนั้น ก็เพราะเอาคำาว่า “น่า” ใส่เข้าไป ทุกอย่าง

คิดว่ามันน่าจะดีขึ้น มันน่าจะเป็นอย่างนั้น มันน่าจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็เข้าไปขัดแย้งกันพื้น

ฐานความรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆประชาธิปไตยพูดกันเยอะแยะกำาลังฟุ้งกำาลังบ้าประชาธิปไตย

กันอย่างมาก แล้วเข้าใจคำาเดียวคือคำาว่า “เลือกตั้ง” คิดว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย

ประชาชนเป็นใหญ่ สิ่งแวดล้อมอนุรักษ์ ชอบพูดเสียจริง คำาที่เชยที่สุด “อนุรักษ์” แปลว่า

ไม่ต้องทำาอะไรห้ามแตะห้ามทำาห้ามอะไรทั้งสิ้นคืออนุรักษ์มีของเก่าเก็บเอาไว้ เข้าใจอยู่แค่

นั้นแต่การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้มันดีขึ้นอย่างไรจะใช้ให้ยั้งยืนได้อย่างไรวิธีบำารุง

ป่าให้ถูกหลักป่าต้นนำาลำาธารเป็นอย่างไรป่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไรไม่มีใครพูดไม่มีใครอยาก

เข้าไปทำาเพราะมันยาก มันยุ่ง แต่ถ้าอนุรักษ์ไว้ดีไม่ต้องทำาอะไร พอพูดคนเฮ ตบมือ การ

อนุรักษ์เป็นกิจกรรมหนึ่งเท่านั้น แต่มีสิ่งที่ใหญ่กว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเริ่ม

เห็นไหมครับ ทดลองทดสอบในวังก่อน ทรงใช้สระว่ายนำาของพระองค์ที่สวนอัมพรมาเลี้ยง

ปลา ทรงเห็นว่าเป็นของหรูหราฟุ่มเฟือยไม่ค่อยได้ใช้ว่ายนำา เลี้ยงปลาดีกว่า ปลาหมอเทศ

เกิดที่นั่น ทรงแจกจ่ายกระจายไปทั่วเลย พระองค์ไม่เสวยปลาหมอเทศ พระองค์รับสั่งว่า

เหมือนลูก เพราะพระองค์ทรงเริ่มเพาะแล้วก็เริ่มแจกจ่ายไปทั่ว เวลานี้แปรพันธุ์เป็นปลา

นิล ปลาอะไรต่อมิอะไร เป็นโปรตีนราคาถูกให้กับทุกคนแล้ว แล้วความรู้จริงมีผลงานเป็นที่

ประจักษ์นั้นจะต้องแสดงให้เห็นเห็นไหมครับวันที่๔ธันวาคมเมื่อ๒-๓ปีที่แล้วพระองค์

ทรงใช้กระดานบนเวทีเพื่ออธิบายว่านำามันมาอย่างไร เรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่ง

ไปไล่เลยตรงนี้เป็นอย่างไร เป็นการสอนให้พวกเราได้รู้ซะก่อน ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะทำา

อะไรนั้นต้องเริ่มจากรู้เสียก่อน พระท่านก็บอกว่าต้องมีสติ และที่มีสติก็ไม่ใช่เป้าหมายของ

ท่านหรอก ไม่ใช่ทางพระ แต่มีสติที่เกิดขึ้นจะทำาให้มีสิ่งที่สูงกว่า นั่นคือ ปัญญา ปัญญา

คืออะไร ปัญญาคือความรู้ ฉะนั้นสิ่งแรกก็คือ ต้องเป็นผู้รู้จริงในการทำางาน พระองค์ทรง

มีเอกสาร ศึกษาวิธีทำาแต่ละเรื่อง ทรงศึกษาอย่างละเอียด ก่อนจะตัดสินพระทัยลงไปช่วย

พัฒนาประชาชนนั้นศึกษาก่อนเตรียมก่อนพระองค์ทรงรับสั่งศึกษาแผนที่ศึกษาช่องทาง

นำาศึกษาเรื่องกระบวนการพัฒนาจะเป็นอย่างไรและเมื่อพร้อมแล้วพระองค์ถึงจะลงไปทำา

๓๖

Page 45: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๒. คว�มอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ และคว�มถูกต้อง

“...การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้อง

ใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทนเสียสละ แต่สำาคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่

ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำามันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือ

ดูมันครึ ทำาดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำาให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผล

แน่นอนในความอดทนของตน ในความเพียรของตนต้องถือว่า วันนี้เราทำายังไม่ได้ผล อย่า

ไปท้อ บอกว่าวันนี้เราทำาแล้วก็ไม่ได้ผล พรุ่งนี้เราจะต้องทำาอีก วันนี้เราทำา พรุ่งนี้เราก็ทำา

อาทิตย์หน้าเราก็ทำาเดือนหน้าเราก็ทำาผลอาจได้ปีหน้าหรืออีกสองปีหรือสามปีข้างหน้า...”

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักเรียนนักศึกษาครูและอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ

วันที่๒๗ตุลาคม๒๕๑๖

ชีวิตเราเหมือนกันทุกคน ไม่มีชีวิตใครที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะรอดมาถึง

ขนาดนี้ บางครั้งถูกความกดดัน บางครั้งถูกเกลียดชัง บางครั้งมีอุปสรรคอย่างมโหฬาร

ฉะนั้นความอดทนต้องมีตั้งแต่ปลายปี๒๔๙๓มาจนถึงวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานปริญญาไปแล้วรวมนำาหนักทั้งสิ้น๒๒๐ตันอยากรู้ว่าเหนื่อยแค่ไหนวันนี้กลับ

บ้านหาของ๓ขีดมานั่งยกส่งไปมา๒,๔๐๐ทีจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าขนาดไหนประทับ

อยู่ในป่าในดงมืดค่ำาแมลงบินมาส่องไฟแมลงบินเข้าตาหมดทากต่อยทรงดึงออกปล่อยไป

นั้นคือพระองค์ รู้สึกกันไหม ไม่รู้สึกพวกเราอะไรๆก็ผ่านตาไปโดยไม่มีสติ ยึดสติ คงสติ

เอาไว้ แล้วจะทำาอะไรอย่างดีอย่างถูกต้อง คุณสมบัติที่สำาคัญของข้าราชการนั้นต้องอดทน

ควรอ่านหนังสือพระมหาชนก ชีวิตข้าราชการต้องว่ายไป จะได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ

เปล่าก็ไม่รู้จะเป็นอธิบดีหรือเปล่าก็ไม่รู้ ใครเห็นฝังบ้างตอนเริ่มชีวิตราชการไม่มีใครเห็นฝัง

หรอกแต่ก็ต้องว่ายไม่เห็นฝังก็ต้องว่ายเพราะไม่ว่ายก็จมนำาตายอาชีพอื่นก็เหมือนกันต้อง

ฝ่าฟันอุปสรรคกันไปในระหว่างทาง ปลาดุร้ายมัน กัดก็มี สัตว์ร้ายมาตอดก็มี อันนี้คือชีวิต

๓๗

Page 46: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

บางครั้งก็มีสัตว์บางประเภทคอยเอื้ออารี มาคอยช่วยเหลือ พยุงเราให้เราหยุดพักเหนื่อย

พวกเราอายุราชการอย่างมากก็๔๐ปีรับราชการอายุ๒๐เกษียณอายุ๖๐เพราะฉะนั้น

เรื่องความอดทนนั้นขอให้มองพระเจ้าอยู่หัวแล้วพยายามทำาตามให้ได้ ธรรมะ ความถูกต้อง

ทรงถือยิ่งกว่าสิ่งใด

๓. คว�มอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่�ย และประหยัด

“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้

ประหยัดเองและครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้าการประหยัดดังกล่าว

นี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้นยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

พระราชดำารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

วันที่๓๑ธันวาคม๒๕๐๒

การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรของพระองค์ทรงโน้มพระวรกายหาประชาชน ในขณะที่

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของเราเดินก๋าเหมือนภาพที่เห็นคนใหญ่คนโตระดับเจ้ากระทรวงเดินผูก

ผ้าขาวม้า เดินตรวจราชการลอยไปลอยมาเฉียดหัวชาวบ้าน พระองค์ทรงน้อมพระวรกาย

ไปหาประชาชนคุกเข่าหน้าประชาชนถามทุกข์สุข ปรึกษาหารือกับเขาเป็นชั่วโมง ๆบางที

ประทับนั่งพับเพียบ ประชาชนนั่งพับเพียบ พระองค์ผ่านก็ทรงทรุดพระวรกายนั่งพับเพียบ

เสมอบนพื้นเดียวกัน แต่พวกเราเป็นใคร เป็นข้าราชการ พวกเราเป็นใคร ทำาไมทำายากทำา

เย็นอย่างนั้นหรือ ผมเห็นน้อยครั้งเหลือเกินที่จะมีภาพประทับตาอย่างนั้นเกิดขึ้น ทำาเถิด

ครับ ความน่ารัก น่าบูชา น่าเคารพ ไม่เสื่อมเสียเกียรติยศอะไรทั้งสิ้น ยิ่งอยู่สูงเท่าไหร่ก็ยิ่ง

ต้องลงตำามากเท่านั้นสุภาษิตไทยเขาบอกว่าเหมือนรวงข้าวที่เต็มไปด้วยเมล็ดข้าวนั้นจะต้อง

โน้มลงไปสู่แผ่นดินฉันใด คนก็ต้องเป็นอย่างนั้น มีแต่คนบ้ายศบ้าอย่างเท่านั้นที่เกิดในชีวิต

ไม่เคยเลยไม่เคยรู้เลยว่าเกียรติคืออะไรตำาแหน่งคืออะไรพอได้มาก็ก๋าไม่บอกว่าเป็นใครมี

ตัวอย่างเยอะในสังคมของเราเพราะฉะนั้นประหยัดอ่อนน้อมถ่อมตนเรียบง่ายเป็นสิ่งที่

พวกเราควรยึดถือทำาได้ครับทำาทันทีแล้วผู้คนจะเคารพบูชา

๓๘

Page 47: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๔. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

“...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสง

หามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำาไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือ

ด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่นความเจริญที่แท้นี้มีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์เพราะ

อำานวยประโยชน์ถึงผู้อื่นและส่วนรวมด้วย ตรงกันข้ามกับความเจริญอย่างเท็จเทียม ที่เกิด

ขึ้นมาด้วยความประพฤติไม่เป็นธรรมของบุคคล ซึ่งมีลักษณะเป็นการทำาลายล้าง เพราะให้

โทษบ่อนเบียนทำาลายผู้อื่นและส่วนรวม การบ่อนเบียนทำาลายนั้น ที่สุดก็จะกลับมาทำาลาย

ตน ด้วยเหตุที่เมื่อส่วนรวมถูกทำาลายเสียแล้ว ตนเองก็จะยืนตัวอยู่ไม่ได้ จะต้องล่มจมลงไป

เหมือนกัน...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร

ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่๑๐กรกฎาคม๒๕๑๘

จะทำาอะไรนี่ขจัดความเห็นแก่ตัวออกไปได้ไหมมุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งนั้น

คือประโยชน์ของแผ่นดิน พระองค์ท่านได้ดำาเนินการตลอดชีวิตของการทรงงาน ทรงยึดถือ

ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งตลอด ไม่เคยนึกถึงพระวรกายแม้แต่น้อย เคยเข้าไปขอ

พระราชทานพรบอกว่าวันนี้วันเกิดพระพุทธเจ้าข้าเจ้าค่ะขอพระราชทานพรพระราชทาน

ว่าอย่างไร “ขอให้มีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อสามารถทำาประโยชน์ให้กับคนอื่นเขาได้ ขอให้มี

ความสุขจากการทำางาน และขอให้ได้รับความสุขจากผลสำาเร็จของงานนั้น” ไม่มีเลยของ

ส่วนตัว แข็งแรงก็ไม่ใช่ส่วนตัว แข็งแรงเพื่อไปรับใช้คนอื่นเขา ความสุขก็ไม่ใช่ความสุขจะไป

เต้นดิสโก้ที่ไหน ความสุขคือการทำางาน ทำางานให้คนอื่นเขา ความสุขที่เกิดขึ้นมามันสำาเร็จ

แล้วเรามีความสุข เห็นไหมทั้ง ๓ ประโยคนี้ แม้กระทั่งตั้งแต่ร่างกายจนกระทั่งการกระทำา

ของเราไปเพื่อคนอื่นๆผลที่สุดสิ่งที่เราได้รับนั้นคือความสุข

๓๙

Page 48: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

๕. รับฟังคว�มเห็นของผู้อื่น เค�รพคว�มคิดที่แตกต่�ง

“สามัคคีหรือการปรองดองกันไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง คนอื่น

ต้องพูดเหมือนกันหมดลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมายต้องมีความแตกต่างกันแต่ต้องทำางาน

ให้สอดคล้องกันแม้จะขัดกันบ้างก็ต้องสอดคล้องกัน”

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

วันที่๔ธันวาคม๒๕๓๖

บ้านเมืองที่ทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี้เพราะเราไม่รับฟังความเห็นของคนอื่นมองต่าง

มุมเป็นแฟชั่นเอ็งมองอย่างนี้ข้าต้องมองอย่างนั้นมันเก๋ดีแล้วก็เฮตบมือกันบางครั้งมองดู

แล้วมันสะท้อนความบัดซบของสังคมออกมาให้เห็นแต่เราไม่ค่อยรู้ตัวก็ตามกระแส เหมือน

ม็อบเฮอะไรไม่รู้ เคยจับกลุ่มกันเยอะ ๆ ไฟไหม้ตะโกนออกไปวิ่งกันแล้ว ถามว่าอะไรไหม้

กระดาษนิดเดียววิ่งกันแล้วเพราะฉะนั้นทำาอะไรให้นึกถึงบ้านเอาไว้คำาว่าบ้านนั้นกินความ

ถึงองค์กรที่ท่านอยู่ กรมที่ท่านอยู่ สำานักที่ท่านอยู่ แม้นกระทั้งบ้านที่ท่านอยู่ การทะเลาะ

เบาะแว้งกันล้วนแล้วแต่ทำาให้ท่ีหน่ึงซ่ึงเป็นท่ีของท่านและท่านต้องอาศัยอยู่พังไปแน่นอน

ที่สุด เพราะฉะนั้นให้ความเคารพ แต่ละคนไม่เหมือนกัน ลองมานั่งดูซิว่าเหตุผลที่ดีที่สุด

น่ายอมรับที่สุดคืออะไรผลสุดท้ายก็ตกลงกันได้อันนั้นสิเป็นหนทางของมนุษย์ที่มีสติปัญญา

เขาทำากันไม่ใช่ความคิดของกูที่เป็นที่ตั้งจะเอาอย่างนี้ใครอย่าเถียงอันนี้ไม่ได้นี่ก็คนเถื่อน

แล้วไม่ใช่คนมีสติปัญญา

๖. มีคว�มตั้งใจและคว�มขยันหมั่นเพียร

“...ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จะกำาจัด

ความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะ

สร้างสรรค์ความดีความเจริญให้เกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความ

เพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำาคัญแก่การปฏิบัติตนปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนใน

ชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม

ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ประเทศชาติของเราก็จะสามารถรักษาความเป็นปรกติมั่นคง

พร้อมกับพัฒนาให้เจริญรุดหน้าไปได้ดังปรารถนา...”

๔๐

Page 49: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

พระราชดำารัสในการเสด็จออกมหาสมาคมเนื่องในงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

ณท้องสนามหลวงวันที่๗มิถุนายน๒๕๓๙

พระเจ้าอยู่หัวเวลาทำาอะไรทรงมุ่งมั่นมาก เรื่องความขยันไม่ต้องพูด ทรงงาน

ไม่มีวันเสาร์วันอาทิตย์ ไม่มีเวลากลางวันกลางคืนจำาได้ไหม ๒-๓ ปีที่นำาท่วม ทรงอึดอัด

พระทัย พระองค์ท่านก็ไม่ใช่หน่วยงานจะไปสั่งเขาได้อย่างไร รัฐบาลก็ไม่ใช่ จะทำากันทีก็จัด

ประชุม นำามาแล้วนะ แล้วก็ดุนะครับ พระองค์ไม่รับสั่งอย่างเจ้าขุนมูลนายของเราชอบสั่ง

กันชอบพูดกันนำามาแล้วพวกเราไปทำาไม่พระองค์อธิบายนี่นำาท่วมมันมาวินาทีละเท่านั้น

ระหว่างทางมันเติมกี่ลูกบาศก์เมตร เคลื่อนย้ายด้วยความเร็วเท่านั้น นับวันเวลาที่เท่านั้นจะ

ถึงกรุงเทพฯพอดี รับพระราชกระแสมาพรุ่งนี้เช้าจะเริ่มดำาเนินการ ไม่ใช่พรุ่งนี้เช้าต้อง

เดี๋ยวนี้ ๆ เพราะนำาไม่มีหยุด ไม่ใช่หยุดก่อนแล้ว โอเค รอพรุ่งนี้เช้าถึงจะทำาได้แล้วค่อยมา

ทำาเผอิญนำาเขาไม่ได้หยุดอย่างนั้นเขามาของเขาตลอดเราต้องรีบทำาคืนนี้เลยฉะนั้นจำาไว้

อย่างหนึ่งในฐานะข้าราชการ งานประชาชนรอไม่ได้ สวมวิญญาณ ลองสวม ถ้าเราเป็นเขา

บ้างบอกพรุ่งนี้รอก็ได้แต่เขากำาลังจะตายณวันนั้นณชั่วโมงนั้นจะให้เขารอต่อได้อย่างไร

เราต้องทำาทันทีสวมวิญญาณเขาอยู่ตลอดเวลาเขามาติดต่อเรื่องที่ดินขาดเอกสารอะไรนอก

หนึ่ง เอื้อกันได้ก็ช่วย ไม่ใช่กลับไปแล้วพรุ่งนี้มาอีก ความยากลำาบากของเขาแค่ไหน เพราะ

ฉะนั้นเซอร์วิสมายด์ ปัญญาหรือว่าจิตสำานึกในการบริการ ผมคิดว่าพวกเราต้องมี ไม่อย่าง

นั้นอย่ารับราชการเลยไปทำาธุรกิจ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่มีสติปัญญารวยหรอกพวกเรา เพราะทำา

ธุรกิจไม่เป็น ที่รวยเพราะอาศัยข้าราชการ พูดถึงบางคนนะ คนดีย่อมมีมากกว่าคนชั่ว ไม่

อย่างนั้นบ้านเมืองพังไปนานแล้ว

๗. มีคว�มสุจริตและคว�มกตัญญู

“...ท่านมีหน้าที่อันสำาคัญผูกพันอยู่ที่จะต้องตอบแทนคุณของทุกฝ่ายที่ได้

อุปการะช่วยเหลือการทดแทนคุณนั้นมิใช่สิ่งที่ยากนักถ้าท่านประพฤติตนดีมีสัมมา

อาชีวะเป็นหลักฐานเป็นที่เชิดชูวงศ์ตระกูลก็เป็นการได้ทดแทนคุณบิดามารดาถ้าท่าน

หมั่นศึกษาค้นคว้าวิชาการให้มีความรู้ความสามารถเหมาะแก่กาลสมัยก็เป็นการได้

๔๑

Page 50: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ทดแทนคุณ ครูบาอาจารย์ และในประการสุดท้าย ถ้าท่านตั้งใจทำางานทุกอย่างโดยถือ

ประโยชน์ส่วนรวม ยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตัวแล้ว ก็เป็นการได้ทดแทนคุณประชาชนคนไทย

ทุกคน...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่๒๖ธันวาคม๒๕๑๑

ความสุจริตเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็น ไม่ใช่เพราะความกตัญญู เห็นได้ชัดกับสมเด็จ

พระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงแสดงให้เห็นเลยความกตัญญู ความกตัญญูต่อแผ่นดิน

ความกตัญญูต่อสิ่งต่างๆที่เป็นประโยชน์ถ้าเป็นเรื่องของส่วนรวมนั้นพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง

แสดงให้เราดูและทรงเตือนพวกเราด้วย ให้ยึดถือสิ่งนี้ไว้เพราะเป็นเรื่องจำาเป็น เป็นเรื่องที่มี

ความสำาคัญเป็นเรื่องที่มีคุณค่า

๘. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนเก่ง

“...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำาให้ทุกคนเป็นคนดีได้

ทั้งหมดการทำาให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทำาให้ทุกคนเป็นคนดีหาก

แต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมืองและคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำานาจ ไม่ให้ก่อ

ความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”

พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่6

ณค่ายลูกเสือวชิราวุธอำาเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี

วันที่๑๑ธันวาคม๒๕๑๖

พึ่งตนเองคือเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้พระเจ้าอยู่หัวบอกว่า คำาที่

สำาคัญที่สุดในเรื่องราวที่อธิบายมานี้ คือคำาว่า “พอ” ทุกคนต้องกำาหนดเส้นความพอให้

ตนเองให้ได้ และยึดเส้นนั้นไว้เป็นมาตรฐานของตนเอง คำาว่าพอนั้นก็ต้องดูตนเอง ดูขีด

ความสามารถของตนเองและขีดเส้นนั้นให้เหมาะสมไม่ใช่เห็นเพื่อนเขามีอย่างนั้นฉันอยาก

มีบ้าง เห็นเขาขี่รถเราอยากมีบ้าง ไม่มีเงินก็ไปกู้หนี้ยืมสิน ไปกู้สหกรณ์อะไรต่อมิอะไรสอง

รอบสามรอบขึ้นมาแล้ว ผลสุดท้ายอย่างไร ทุกข์ ๆ เพราะฉะนั้นอย่าเอา ให้กลับไปอยู่ที่

ความพอดี

๔๒

Page 51: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่กลับไปปลูกถั่วปลูกงาทำาเกษตรไม่ใช่แต่ถ้ามีที่ก็เชิญเถอะ

แต่เศรษฐกิจพอเพียงคือการวางเส้นทางชีวิตของตนเอง ตั้งวิถีชีวิต ตั้งวิถีชีวิตให้เป็นวิถีชีวิต

แบบไทยๆซะวิถีชีวิตที่เรียบง่ายธรรมดาเดินเส้นทางสายกลางท่านสอนมาตลอดเพียง

แต่เราลืมไป เราละไปอยู่เรื่อยๆธรรมดาไม่เห็นว่ามีปมด้อยอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการ

พึ่งตนเองนั้นเป็นสิ่งสำาคัญ

เรื่องการส่งเสริมคนดีคนเก่ง อย่าไปอิจฉาเพื่อนร่วมงาน ใครเก่งนี้สนับสนุนครับ

มีนายบางคนไปอิจฉาลูกน้อง ไอ้นี่จะลำาหน้าแล้วหรือไรแล้ว เป็นความคิดที่ตำาช้าที่สุด ตรง

ข้ามถ้าเขาเก่งจริงสนับสนุนเขาเลยนี่คือสิ่งที่ควรทำา

๙. รักประช�ชน

“ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือ

กันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำาคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่

รอดเป็นอิสระและเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน”

พระราชดำารัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในวันขึ้นปีใหม่

พุทธศักราช๒๕๓๒

ตอนหนึ่งพระองค์ท่านรับสั่งให้ผมไปจดมูลนิธิชัยพัฒนา ผมไปที่ กทม. (ศาลา

ว่าการกรุงเทพมหานคร) เราไม่อยากใช้อภิสิทธิ์อะไรทั้งสิ้น เพราะยิ่งอยู่ใกล้เจ้านายยิ่ง

ต้องทำาตัวให้ธรรมดาตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ก็ไปแจ้งเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป ก็

มีเจ้าหน้าที่ของ กทม. เขามาสอบสวนถามบอกทำาไมนายกฯ ไม่มาเอง ผมก็บอกนายกฯ

งานเยอะมาไม่ได้เลยมอบฉันทะมา บ้านอยู่อำาเภออะไร บอกอยู่อำาเภอดุสิต บ้านเลขที่

เท่าไหร่ไม่รู้ เขาก็เอ๊ะ อะไรบ้านไม่มีหลักแหล่ง แล้วมาตั้งมูลนิธิได้อย่างไร สอบสวนผม

ไล่ผมต่อ ไล่ไปเรื่อย ทำาอาชีพอะไรบอกไม่รู้จริง ๆ ว่าอาชีพอะไร แต่เห็นทำาหลายอย่าง

ก็ตอบไปอย่างนั้น เจ้าหน้าที่เขาก็บอกอะไรบ้านก็ไม่มีเป็นหลักเป็นแหล่ง อาชีพก็ไม่มี

แล้วตาก็เหลือบไปเรื่อยจนกระทั้งไปเห็นชื่อผู้ยื่นจริง ๆ และผมก็เป็นแค่ตัวแทนเท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมอบอำานาจมา อุ๊ย อย่าให้ท่านมานะยุ่งตายเลย ขออย่ามา

เลย จัดการให้เสร็จ ค่าจดทะเบียนสามสิบบาทขอบริจาคเป็นคนแรกได้ไหม แล้วตกลงวัน

๔๓

Page 52: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

นั้นฟรีสามสิบบาทแกควักออกมาด้วยความตกอกตกใจมากเลยก็กลับมากราบบังคมทูลนี่

พอเขาถามว่าอาชีพอะไรข้าพระพุทธเจ้าตอบไม่ได้

พระองค์ท่านทรงรักประชาชน ทำางานเพื่อประชาชน คนที่รับราชการถือว่ารับ

งานของราชะมาทำาต่อสิ่งแรกที่ต้องทำาคือรักประชาชนทำางานเพื่อประชาชน

พระองค์ท่านตอบว่า คราวหลังถ้าเขาถามว่าฉันทำาอาชีพอะไร ให้ตอบว่า “ทำา

ราชการ”ผมเล่าตรงนี้เพื่อมาสู่พวกเราขณะที่พระองค์ทำาราชการพวกเรานี้ทำาอะไร“รับ

ราชการ”ใช่หรือเปล่ารับจากพระองค์มาเพื่อทำาต่อ

๑๐. ทำ�ง�นเพื่อประช�ชน

“...จิตใจที่จะเผื่อแผ่ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันนี้ก็ไม่ต้องเสียสตางค์ใด ๆ ก็ช่วย

กันได้อันนี้จะเป็นสิ่งที่ดีงามที่สุดสำาหรับบุคคลและดีงามที่สุดสำาหรับส่วนรวมเหมือนกันที่

จะเพาะความเอ็นดูสงสารซึ่งกันและกันเมตตาซึ่งกันและกันและช่วยซึ่งกันและกันอย่างนี้

ทำาให้บ้านเมืองมีความเจริญบ้านเมืองมีความสงบสุขอย่างดีที่สุด...”

พระราชดำารัสในโอกาสที่ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ

นำาคณะกรรมการมูลนิธิประจำาจังหวัดเฝ้าทูลเกล้าฯถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล

ตามพระราชอัธยาศัย

วันที่๒๗ตุลาคม๒๕๒๔

พระพุทธเจ้าสอนว่า ปลูกมะม่วงแล้วได้ลูกมะม่วง ไม่ใช่ปลูกมะม่วงแล้วได้ลูก

ทุเรียนไม่ใช่คุณปลูกความดีคุณได้ความรักกลับมาแน่นอนที่สุด

เรารับราชการเราต้องรักผู้มารับบริการ ถ้าเราขาดความรักตรงนี้ รู้รักสามัคคีก็

มีคำาว่า “รัก” อยู่ด้วย ถ้าเราไม่มีจิตสำานึกอันนี้ ป่วยการ เราเป็นข้าราชการที่ดีไม่ได้หรอก

ประชาชนมาถึงหน้าเคาน์เตอร์เห็นหน้าเราก็หงิกไปแล้ว โธ่เขากลัวเราอยู่แล้ว สถานที่

ราชการใครก็ตัวสั่น ไปเจอการต้อนรับที่แย่ รีบกลับไปเลย จะพึ่งใครได้ ว้าเหว่แค่ไหน ปิย

วาจารักประชาชนก็แสดงออกทั้งกายวาจาใจทั้งหมดแล้วบุญกุศลนี่มีจริงเชื่อผมสิ

ผมสั่งเจ้าหน้าที่ในสำานักงานผมเสมอ เวลาใครมาติดต่อกับเรา เขาจะได้หรือไม่ได้

อะไรจากเราแต่หลักอย่างหนึ่งที่เขาจะได้คือเขาจะต้องเดินยิ้มออกจากสำานักงาน

๔๔

Page 53: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ของเราถึงแม้จะปฏิเสธเขา ไม่ให้เขาก็ให้เขาเดินยิ้มออกไป ไม่ต้องไปด่าทอ ไม่ต้องไปกระ

แนะกระแหนอะไรทั้งสิ้นมันก่อประโยชน์อะไรเล่าฝึกซะให้ชินแล้วก็ทำาได้

นี่แหละครับหลัก๑๐ประการที่ทางก.พ.ได้รวบรวมไว้ลองนำา๑๐คำานี้เขียนใส่

กระดาษท่องไว้เขียนตัวโตๆหน่อยวันจันทร์ก็เอาเสียบไว้อันหนึ่งวันอังคารเสียบไว้อีกอัน

หนึ่งแล้วเดี๋ยวพอหมุนครบ๑๐วันเอาอีกอันเสียบต่อให้มันฝังเข้าไปในหัวเลย

๔๕

Page 54: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

หลักร�ชก�รที่ควรรู้

ความเชื่อที่ว่า “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงวินิจฉัยมาว่าไม่ถูกทั้งหมด

เพราะถ้ารู้วิชาแล้วดีกว่าอย่างอื่นอย่างนั้นครูก็จะเจริญก้าวหน้ากว่าศิษย์เสมอและความ

คิดความเชื่อดังกล่าวจะทำาให้เราประมาทไม่หาความรู้เพิ่มเติมหลังจากที่เราสำาเร็จการศึกษา

มาแล้วนั่นเอง

พระองค์ยังเน้นอีกว่า ระวัง” มีวิชาท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” โดยหลักราชการทั้ง

๑๐ประการได้แก่

๑. คว�มส�ม�รถ

หมายถึง ทักษะความชำานาญงาน ทักษะด้านการบริหารงาน บริหารคน รวมทั้ง

ทักษะในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงมีแนวคิดเรื่อง สมรรถนะ ข้าราชการตั้งแต่เกือบร้อย

ปีมาแล้วก่อนฝรั่งจะคิดเรื่องสมรรถนะ(Competency)เสียอีก

๒. คว�มเพียร

ข้าราชการจะต้องมีความพยายามในการทำางาน ไม่ย่อท้อในการทำางานสนองพระ

เดชพระคุณด้วยความเพียร

๓. ไหวพริบ

ต้องมีความเฉลียวนอกเหนือจากความฉลาด(วิชา)การสังเกตต่างๆ

๔. ก�รรู้เท่�ทันเหตุก�รณ์

อันจะทำาให้เราทันต่อความเป็นไปของสถานการณ์

๕. คว�มซื่อตรงต่อหน้�ที่

หมายถึง เรื่องความตรงไปตรงไม่ ไม่เข้าใครออกใคร หรือ หลักธรรมาภิบาล

นั่นเอง

๖. คว�มซื่อตรงต่อคนทั่วไป

ไม่คดโกงเบียดบังผลประโยชน์ของราษฎร

๗. คว�มรู้จักนิสัยคน

ต้องสังเกตและปรับตัวเพื่อเข้ากับคนได้ทำางานแบบได้ผลและคนเป็นสุขข้อ

นี้จะเรียกว่า People Oriented Behaviors คือ พฤติกรรมที่มุ่งเน้นการทำางาน

๔๖

Page 55: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ร่วมกับคนอื่นอย่างดี ถ้าเป็นลูกค้าก็เรียก Customer Focus Behaviors ซึ่งหน่วยงาน

ราชการหลายแห่งก็นำาเรื่องนี้มาเป็นองค์ประกอบของสมรรถนะข้าราชการด้วย

๘. คว�มรู้จักผ่อนผัน

ไม่เถรตรงแต่ก็ไม่ศรีธนญชัยใช้ช่องโหว่

๙. คว�มมีหลักฐ�น

ต้องเป็นผู้ที่มีบ้านช่องเป็นของตนเองมีครอบครัวมั่นคงมีการตั้งตนไว้ชอบซึ่งข้อ

นี้ก็ทันสมัยไม่น้อย คือเน้นเรื่องความสมดุลของงานและชีวิตส่วนตัว และแถมเรื่องการเป็น

มืออาชีพคือตั้งตนไว้ชอบอีกด้วย

๑๐. คว�มจงรักภักดี ต่อสถ�บัน คว�มรักช�ติ

ต้องเป็นผู้ที่มีความรักสถาบัน รักความเป็นชาติ เข้าใจความเหนื่อยยากของ

บรรพบุรุษผู้สั่งคมความเป็นปึกแผ่นของชาติและสามารถยอมสละตนเพื่อสถาบันและชาติ

ได้

๔๗

Page 56: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ลักษณะนิสัยคนไทย

ลักษณะของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะนิสัย ใจคอ ทั้งแบบส่วนตัว หรือว่า

ส่วนรวม ถ้าจะให้อาตมาบอกกล่าวแถลงไข ค่อนข้างยากอยู่นะ เพราะคนเรามีหลากหลาย

ประเภทชั่ว –ดี ปนกันไปแล้วแต่ลักษณะพื้นฐานทางนิสัยส่วนตัว ครอบครัว และสังคม

โดยรอบแต่เมื่อปีที่แล้วอาตมาได้อ่านหนังสือX-RAYคนไทย๓๖๐องศาเขียนโดยคุณ

โยมพงษ์ผาวิจิตร ซึ่งได้รวบรวมจากเวปไซต์ต่างๆประมวลมาได้น่าทึ่งน่าสนใจมากพอ

อ่านแล้วรู้สึกว่าใช่เลยแต่จะมีผู้ใดยอมเป็นอัศวินกล้าจะยอมรับมันหรือไม่เท่านั้นเองลอง

พิจารณาดูกันทีละข้อๆ

๑. มีแต่คำ�ด่� ไม่เคยมีคำ�เสนอแนะ

เราจะพบมากทีเดียวในสายงานต่างๆ สมัยก่อนอาตมาจะมาบวช ก็เคยเจอเช่น

กันสั่งงานมาให้ทำาบอกแค่งานจริงๆนอกนั้นไปทำามาเองเราก็ทำาไปตามความเข้าใจของเรา

นะพอไปส่งมาเลยเป็นชุดแต่คำาแนะนำาควรจะทำาแบบนั้นเพิ่มตรงนี้ตัดตรงโน้นไม่เคยมี

ตอนนี้มาคิดดูดีๆไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์นะก็เพราะคำาด่านี่แหละทำาให้เราเก่งขึ้นเก่งอย่างไร

ก็ได้รู้ทัศนคติของแต่ละคน ช่วยเปิดมุมมองด้านอื่นที่เราคาดไม่ถึงเป็นอย่างดี หากมีแต่คำา

แนะนำา เท่ากับว่าเราเดินทางตามเส้นที่ขีดไว้ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีการสร้างสรรค์

งานใหม่ลองเปิดใจให้กว้างดูสิ

๒. ป�กไม่ตรงกับใจ ทำ�อย่�งหนึ่ง แต่ป�กด่�อีกอย่�ง

เป็นลักษณะเหมือนกับใจชอบนะ แต่ปากต้องบ่น หรือบ่ายเบี่ยง เพื่อกลบเกลื่อน

ความรู้สึกภายในที่ซ่อนเร้นไว้หากเปิดเผยออกมาจะเสียหน้าเสียฟอร์มต้องวางมาดไว้ก่อน

๓. ชอบทำ�ต�มกระแส

ประการนี้เห็นบ่อย เห็นได้ชัดเจนทีเดียว ลองดูสิ เพลงเกาหลี หนังเกาหลี

สไตล์การแต่งตัว แม้กระทั่งการเรียนภาษาก็ยังเกาหลี มาเร็วมาก ถึงขั้นหลงเสียทีเดียว

๔๘

Page 57: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๔๙

ถ้าเมื่อก่อนก็ญี่ปุ่นกำาลังดังไม่เพียงเท่านี้ยังมีพวกคำาพูดการใช้ภาษาเกมส์ราวกับว่าคน

ไทยมีนิสัยตื่นตัวมีฟองนำาอยู่รอบตัวพร้อมจะซึมซับรับเอากระแสต่างๆได้อย่างทันท่วงที

๔. ไม่มีใครรุกร�นก็จะตีกันเอง แต่ถ้�มีใครม�รุกร�นก็จะรวมใจกันเป็นหนึ่ง

สมัยอาตมาเป็นเด็ก ต้องร้องเพลงๆ หนึ่ง หากถามว่าตอนนี้ยังจำาได้ไหม จำาได้

แน่นอนมันฝังลงไปแล้วท่านล่ะเคยร้องไหมที่ว่า

“หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย

หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ได้ฤา

เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย

ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย

ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น

เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละสิ้นแล

เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงามฯ”

เพลงสยามานุสสตินี้บ่งบอกความเป็นไทยในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี สมัยนี้คงไม่ต้องกล่าว

ดูเอาเถิด

๕. วัวห�ยล้อมคอก

วัวหายล้อมคอก เป็นสำานวนไทย มีความหมายว่า ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน

หรือ เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงจะคิดแก้ไข อาตมาขอถามว่า ไม่สายไปหรือ แน่นอน สายมากที

เดียวและก็เป็นเช่นนี้จริงๆซึ่งยึดถือคำาว่า“ไม่เป็นไรหรอก”เป็นสรณะพอเกิดเรื่องขึ้นมา

ก็ตามระเบียบโวยวายฟูมฟายมาอันดับแรกเกิดอาการมืดแปดด้านสุดท้ายก็ต้องปล่อยไป

เพราะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้สนั่นเอง

๖. ไม่ม�ทวงก็เพิกเฉย

ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นผู้มีนำาจิตนำาใจเป็นอย่างมาก ระหว่างผู้ให้ กับ

ผู้ยืม ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ข้าวของ เครื่องใช้ ผู้ให้ก็ดีแสนดี เป็นพ่อพระ แม่พระ คิดเสีย

ว่า เดี๋ยวเขาก็คงมาคืนเอง นานๆเข้าเริ่มไม่ไหว แต่ก็เกรงใจ กลัวเสียเพื่อน ส่วนผู้หยิบยืมก็

Page 58: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๐

สบายไปไม่มาทวงก็ไม่คืนสงสัยเพื่อนไม่เอาคืนแล้วจึงเกิดกระบวนการ“ยึด”ขึ้นตกลงว่า

จะทำาเยี่ยงไรล่ะเลิกแล้วต่อกันนะแต่อย่ามามีครั้งที่สองนะอด!

๗. เมื่อมีปัญห�ก็มักไปกร�บไหว้บนบ�นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

อาตมามีเพื่อนคนหนึ่ง มีปัญหาเรื่องสอบปลายภาค เพราะไม่ได้อ่านหนังสือ เช้า

มานี่พูดง่ายๆ คือเต็มยศ พวงมาลัย ดอกไม้ ของหอม ผลไม้อีกด้วย เต็มหน้าศาลโรงเรียน

อาตมาก็ไปถามว่าทำาอะไรคำาตอบง่ายมากที่ได้รับกลับมาก็อ่านหนังสือไม่ทันกะจะมาตาย

เอาดาบหน้า ขอให้พระท่านช่วย อาตมาคิดในใจเลยนะ ถ้าท่านพูดได้ คงบอกไปแล้วล่ะว่า

“มีเวลาหนังสือก็ไม่อ่านเอาแต่เที่ยวทีแบบนี้จะมาขอให้ช่วยเรียนเราก็ไม่ได้เรียนด้วยแล้ว

เราไปช่วยจะตอบถูกไหมนี่”

๘. ไม่ค่อยสงสัย หรือสงสัยก็ไม่ถ�ม แต่ติ-วิจ�รณ์เก่ง

เคยเป็นไหมคุณโยม เวลาเข้าประชุม อบรม สัมมนา ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนจบ

จะพบกับคำาถามสุดฮิตเลย“ท่านใดสงสัยหรือมีคำาถามในส่วนใดให้ยกมือถามได้เลย” เมื่อ

จบคำาถาม ทุกคนใช้เวลาประมวลผลความรู้ที่นั่งฟังมาทั้งหมดอยู่ ๒ วินาที แล้วมีปฏิกิริยา

โต้ตอบทันควันคือส่ายหน้า วิทยากรก็ยิ้มแสดงว่า เราเก่งพูดไปบรรยายไป เมามันมาก

ทุกคนเข้าใจหมดเลยพอออกจากที่ประชุมเท่านั้นคำาถามมาจากไหนไม่รู้มากมายเลยแถม

ติวิทยากรอีกด้วยเช่นพูดเร็วจังฟังไม่ทันทำาไมวิทยากรพูดศัพท์เฉพาะแล้วไม่แปลไม่เข้าใจ

เลย บางคนถามเพื่อนตั้งแต่ต้นเลยก็มี ส่วนวิทยากรยิ้มสบายใจไปไหนต่อไหนแล้ว ไม่รู้ตัว

เสียเลยว่ากำาลังโดนวิพากษ์วิจารณ์อยู่น่าสงสารนะ

๙. ห�กจำ�เป็นจริงๆ ก็ทำ�จนได้ แต่ต้องมีผู้นำ�ที่กล้�คิด กล้�ทำ� นำ�หน้�ก่อน

อาตมาได้ยินคำาๆหนึ่งว่า“หัวไม่ส่ายหางไม่กระดิก”แสดงว่าภาวะผู้นำาไม่มีมี

แต่ภาวะผู้ตามต้อยๆ เท่านั้นหรือ นอกจากนี้ยังมีอาการ “เกี่ยง” เธอนำาสิ เธอเป็นหัวหน้า

เลยเดี๋ยวฉันช่วยเธอทำาเถอะเดี๋ยวฉันไปร่วมทีหลังเป็นต้นแต่ถ้าอาตมาถามว่าใครอยาก

ปรับเงินเดือนคงมีคนยกมือมากมายแต่ให้ทำางานล่ะคงรู้คำาตอบนะ

Page 59: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
Page 60: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ประวัติผู้รวบรวม

ชื่อพระธีรพิสิษฐ์ ฉายาจนฺทสาโร นามสกุลศิริรัตน์

อายุ๒๘ปี พรรษา ๔ วิทยฐานะน.ธ.เอก

สังกัดวัดชากหมากตำาบลสำานักท้อนอำาเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

Page 61: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

พระธีรพิสิษฐ์จนฺทสาโรประพันธ์

ทนฺโตเสฏฺโฐมนุสฺเสสุ

ในหมู่มนุษย์ผู้ฝึกตนประเสริฐสุด

ขุ.ธ.๒๕/๓๓

ก�พย์ห่อโคลง

หมู่มนุษย์ผู้เริ่ม ฝึกฝน

กอปรกายจิตแห่งตน หัดได้

เร่งผลาญกิเลสร้อนรน ราบเรียบมลายนา

พระศาสดาตรัสไว้ ฝึกได้แสนประเสริฐ

มนุษย์ผู้ฝึกตน ละร้อนรนในสังสาร

ปลดเปลื้องเครื่องบ่วงมาร ย่อมรู้กาลควรเป็นไป

รู้เหตุมาจากกรรม แล้วน้อมนำามาแก้ไข

ฝึกฝนทั้งกายใจ ฝึกฝนในทางสายกลาง

โปรดละอกุศล ในทุกหนค่อยสะสาง

โลภโกรธหลงอำาพราง ในทุกทางสร้างความดี

โปรดละซึ่งตัณหา ตัวนำาพาหมดราศรี

ใคร่อยากทุกนาที ดุจชลธีให้ว่ายวน

โปรดสร้างทางปัญญา อุเบกขาควรฝึกฝน

ซื่อสัตย์แลอดทน ก่อกุศลขจรไกล

เมตตาควรเชี่ยวชาญ อธิษฐานเป็นนิสัย

ควรกอปรจิตอำาไพ หลักธงชัยพิชิตมารฯ

แง่คิดพ

ิชิตม�ร

Page 62: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
Page 63: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๑

๑๐. มีคว�มยืดหยุ่นสูง ให้อภัยกันเสมอ

ความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการอะลุ้มอล่วยแก่กัน เมื่อเกิดการผิดพลาดก็ให้

อภัย ไปแก้ไขอันนี้เป็นข้อดีนะถ้อยทีถ้อยอาศัยแต่ถ้ามากไปงานจะเดินหน้าไหมสำาเร็จ

สมประสงค์ไหมนั่นแหละปัญหาที่ตามมา

๑๑. ถ้�บอกว่�ผิดเดี๋ยวคนนั้นว่�คนนี้ว่�

ประการนี้กลัวโดนดุโดนว่าเพราะผิดพลาดถ้าลองคิดในมุมกลับกันล่ะถ้าโดนดุ

โดนว่าแล้วทำาให้เราเก่งเราพัฒนาได้จะดีแค่ไหนหากประสบการณ์เรามากขึ้นเราจะสอน

คนให้เป็นงานได้อีกมากมายเหมือนบทกวีของคุณโยมพ.อ.นเรศร์จิตรักษ์ชื่อ“ผิดเป็น

ครู”ลงในคอลัมน์“ธรรมะสะกิดใจ”หน้าพระเครื่องของหนังสือพิมพ์“คมชัดลึก”เมื่อ

เดือนมีนาคม๒๕๕๐ที่ว่า

“ผิดเป็นครูรู้ไว้นำาใจตั้ง ถ้าพลาดพลั้งผิดหลักเสียศักดิ์ศรี

ผิดบ่อยบ่อยพลอยเสียไม่มีดี ผิดทุกทีเหลวแน่แย่เหลือเกิน

ผิดครั้งแรกผิดบ้างระวังคิด มิให้ผิดถึงสองต้องสรรเสริญ

ถ้าผิดบ่อยร้อยหนชอบกลเกิน ก็ยับเยินอย่างว่า...ระอาใจ...”

๑๒. อย�กทำ�เท่ ต้องซื้อรุ่นใหม่สุด กินขวดใหญ่สุด

เหตุผลง่ายๆ ของข้อนี้ คือ ความมีหน้ามีตาในวงสังคม กลัวอายเพื่อนฝูง จนไม่

เป็นไรแต่ขอให้ได้หน้าตาไว้ก่อนค่อยอดเอาตอนปลายเดือน

๑๓. มีคู่แข่งเปิดร้�นม�ตัดร�ค�แย่งลูกค้�คุณ

กรณีนี้ เป็นของผู้มีอาชีพค้าขาย ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เวลาไปซื้อของอะไรสักอย่าง

เราจะไม่เดินลิ่วๆ ไปร้านที่มีของนั้นขายเลยในทันที แต่เราจะใช้เวลาสักพัก ดูร้านนั้น ร้าน

นี้ เปรียบเทียบราคา แม่ค้าพ่อค้าก็แข่งกันลดราคา แจกของแถมเป็นการใหญ่ เพื่อให้

ขายได้เท่านั้น แต่ถ้าท่านเชื่อว่าของเราดีจริง ไม่หลอกลวง จะกลัวทำาไม กำาไรไม่ได้ แต่

ขาดทุนลอยมาให้เห็นแต่ไกล ทำาให้อาตมานึกถึงคำาสอนของพระพุทธเจ้าผุ้เป็นบรมครู

ของเรา ท่านเปรียบเทียบการปฏิบัติตนกับพิณสามสาย กรณีเช่นเดียวกัน ถ้าหากท่าน

ดึงดันจะขายในราคาที่ตั้งไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พอใจซื้อก็ไม่ขาย ก็อาจเปรียบได้กับพิณที่

ตึงเกินไป ดีดไปก็ขาด แต่หากว่าท่านโอนอ่อนผ่อนตามลูกค้าตลอด ซื้อใจลูกค้าแต่ตัวเอง

Page 64: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๒

ขาดทุน ทำาให้ลำาบาก ก็เปรียบได้กับพิณที่มีสายหย่อน ดีด ไปเสียงก็เพี้ยนไม่ไพเราะเสนาะ

หูหากว่าท่านพินิจพิจารณาสิ่งใดยอมได้แต่ไม่ถึงกับลำาบากก็จงให้แต่สิ่งใดถ้ายอมแล้วเรา

ขาดทุนเกิดหนี้สินก็ต้องละเว้นถือสายกลาง เปรียบได้กับพิณที่สายไม่ตึงไม่หย่อนดีดแล้ว

เกิดเสียงสำาเนียงเสนาะหูเหล่านี้เป็นธรรมะที่เรามองข้ามกันมากลองพิจารณาดูใหม่สิท่าน

จะสุขใจสบายกายขึ้นทีเดียวอาตมามั่นใจ

๑๔. มักนิยมแบ่งชนชั้น

ข้อนี้ อาตมานึกได้ ๒ คำา ไฮโซ๑ และ โลโซ อีก๑หรือ ที่เห็นมานานนมคือ

คนจน กับ คนรวย เขาจะไม่ยุ่งกัน เดียดฉันกันเอง แม้ว่าเราจะเป็นคนไทยด้วยกัน การ

ประสานงานใดๆก็ตาม จะเห็นได้ชัดเจน คนรวย และบุคคลประเภทไฮโซ ย่อมได้รับการ

ปฏิบัติที่ดีกว่าแม้จะบอกว่ามีความเท่าเทียมกันในสังคมก็ตาม

๑๕. ไทยมุง ต้องเล่�ให้ใหญ่เป็นเท่�ตัวกว่�เหตุที่เกิดขึ้น จะได้ตื่นตัวเร็วขึ้น

ประการนี้คงไม่ต้องพูด แต่อาตมาบอกแค่ว่า เวลา มีอุบัติเหตุรถชนคนตายคา

ที่ เราจะมองเห็นอะไรเป็นอันดับแรกแน่นอนคนล้อมรอบไปเต็มไปหมด เผลอๆทำาเป็นผู้

ใจบุญด้วยช่วยเก็บของที่ตกหล่นไปใช้สอยให้อีกด้วย

๑๖. ซิกแซ๊ก

ใช่ อภิสิทธิ์ ไม่ได้หมายถึงอดีตนายกรัฐมนตรี แต่หมายถึง สิทธิพิเศษที่คนไทยมี

ใช้อยู่ทั่วไปทุกหย่อมหญ้าเพื่อความรวดเร็วความสะดวกของตนสิ่งใดโค้งได้ก็โค้งหลบได้ก็

หลบเห็นได้จากถนนของบ้านเรามีทางลัดเต็มไปหมดจะสื่ออะไรให้เห็นหนอ

๑๗. ชอบหลอกเด็กๆถึงเรื่องผีๆ จับกลุ่มกันก็พูดถึงเรื่องผี ชอบดูหนังเกี่ยวกับผี

อันดับต้นๆเลยถ้าพูดถึงผีก็จะนึกผีปอบผีกระสือจนเด็กกลัวไม่กล้าออกนอก

บ้านในเวลากลางคืนเฉพาะเด็กเล็กๆเป็นการสร้างนิสัยในทางที่ผิดไม่มีเหตุผลแต่ถ้าถาม

ว่าอาตมาไม่กลัวหรือกลัวสิก็อาตมาโดนแบบนี้มาเหมือนกันอย่านอนดึกนะเดี๋ยวฝีปอบ

จะมากินตับไตไส้พุงแต่ถ้าอยู่ในกลุ่มเพื่อนๆชอบจังเรื่องผีๆกลัวแต่อยากฟังอาตมา

สับสน

Page 65: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๓

๑๘. ชอบของฟรี

ของฟรีใคร ๆ ก็ชอบ เวลาไปห้างสรรพสินค้า มีชิมฟรีตรงไหน มีไทยมุงตรงนั้น

หรือมีของแถมสินค้านั้นจะขายดีเป็นพิเศษหรือแม้แต่ของรุ่นต่อรุ่นและของบริจาคไม่ต้อง

เสียเงินซื้อใหม่รับหมดถ้าจะให้ซื้อสิ่งจำาเป็นรอไปก่อนนะตอนนี้ของที่มีอยู่ยังใช้ได้ซ่อม

นิดซ่อมหน่อยก็ใช้ได้อีกนานจริงไหม

๑๙. แก้ย�ก ขี้โกงก็หนึ่งล่ะ ไม่ชอบเสียเปรียบคนอื่นก็อีกหนึ่งล่ะ

เป็นธรรมดาของโลก เพราะคำาว่าผลประโยชน์ ย่อมไม่เข้าใครออกใคร ใคร ๆ ก็

อยากจะได้ทั้งนั้นเข้ากับคำาของผู้ใหญ่ที่ชอบพูดบ่อยๆว่า“ของของตัวไม่ให้ใครแต่ของคน

อื่นจะเอา” ถ้าจะแก้ ควรเริ่มจากตัวเอง ซื่อสัตย์กับตัวเองให้ได้ก่อน จึงขยายผลไปสู่บุคคล

รอบข้างพูดน่ะง่าย

๒๐. ชอบ และพร้อมที่จะเชื่อเรื่องเสียห�ยก่อนเสมอทำ�ให้เร�สะใจ

อาตมามีหนังสือมาให้สองเล่ม เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือเรียนอีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือ

นิยาย อาตมามั่นใจ คนไทย ร้อยละ ๙๙ เลือกที่จะหยิบหนังสือนิยาย เพราะสนุก เบา

สมองไม่ปวดหัวก็เช่นเดียวกับหัวข้อนี้ใครบ้างอยากจะฟังความดีของคนอื่นเดี๋ยวจะอิจฉา

เปรียบได้กับหนังสือเรียน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง มีเหตุผลบนหลักการ มันน่าเบื่อ แต่ถ้าเรื่อง

เสียหายน่ะชอบมันมีเรื่องให้พูดต่อเสริมเติมความเท็จได้อีกสนุกปากก็เหมือนหนังสือนิยาย

ที่แต่งขึ้นตามจินตนาการนั่นแหละจะใส่สีตีไข่อย่างไรก็สนุก

๒๑. ขี้อิจฉ� คิดว่�คว�มเห็นของตัวเองดีและถูกทุกอย่�ง ไม่ชอบเห็นใครประสบคว�ม

สำ�เร็จหรือดีเกินตัวเอง

อาตมาจำาบทประพันธ์ของหลวงวิจิตวาทการ เรื่อง จงทำาดีแต่อย่าเด่น ได้ ช่าง

เหมาะกับข้อนี้จริงๆมีเนื้อความว่า

“อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี

แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้

จงทำาดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย

ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน”

Page 66: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๔

๒๒. ม�ส�ย นัดแล้วไม่ตรงเวล�

ขึ้นชื่อว่า เวลามันมีแต่จะเดินหน้า ไม่มีวันเดินถอยหลัง เมื่อมาสายผลกระทบจะ

เกิดมากมายมหาศาลอย่างที่กล่าว คนไทยชอบอะลุ้มอล่วย ให้อภัยเสมอต่อให้มาสายบ่อย

แค่ไหนก็ “ไม่เป็นไร” หากเป็นพวกอเมริกันชน เวลาต้องเป็นเวลา หากไม่ตรงเวลา แสดง

ว่าคุณใช้ไม่ได้ ไม่ซื่อสัตย์ในการทำาธุรกิจ ก็จริงของเขานะ ในทางพระพุทธศาสนา องค์พระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงพุทธภาษิตไว้บทหนึ่งว่า “กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺ

ตนา” กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวของมันเองซึ่งปรากฏมาในคัมภีร์ขุททก

นิกายชาดกทุกนิบาตกล่าวง่ายๆคือเมื่อเวลามันเดินไปเราย่อมเสียมันไปด้วยไม่สามาถ

ย้อนกลับมาทำาในสิ่งที่ตั้งใจได้แม้นว่าจะทำาทดแทนเพียงไรก็ไม่สามารถทำาให้เหมือนได้เช่น

กัน

๒๓. หัวเร�ะแบบแห้งๆ “ฮะ ๆ” เพร�ะไม่รู้จะพูดอะไร หัวเร�ะหรือยิ้มไว้ก่อน

อาการแบบนี้เป็นลักษณะของคนที่คิดไม่ออกคิดไม่ทันหรือไม่รู้จะอธิบายอย่างไร

ดีไม่มีข้อมูลใดๆอยู่ในหัวเลยเป็นไหมอาตมายอมรับว่าเคยนะพรรษาแรกเอางานไปให้

หลวงพ่อลงนามท่านถามย้อนกลับมาถึงขั้นเอ๋อหัวเราะแห้งๆตอบไปเพราะอะไรล่ะใช่

แล้ว เพราะเราไม่แน่นในข้อมูล ไม่ศึกษาให้ดี ให้รอบคอบ พูดง่าย ๆ สุกเอาเผากิน นั่น

แหละ

๒๔. ช่�งหัวมันเถอะ

คำานี้มีสองความหมายทางอารมณ์ประการหนึ่งปล่อยๆ ไปเถอะ ใส่อารมณ์นิด

หน่อยอาจจะขำาขันเล็กน้อยถึงปานกลาง อีกประการอารมณ์เสีย ไม่ถูกใจ โกรธมากถึง

ขั้นตัดเป็นตัดตายก็ว่าได้เป็นกิริยาอาการของคนที่ไม่อยากสนใจกับคนๆนั้นอีกแล้วแต่ถ้า

หากมองในด้านดีก็คงจะเทียบได้กับบทกวีของท่านพุทธทาสที่ว่า

“เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา

จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่

เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู

ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย

จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว

Page 67: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๕

อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย

เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย

ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง”

๒๕. ได้แต่นึกจะเอ�เปรียบ แต่พอเข�จับได้ก็ม�โวยว�ย

ประการนี้ห้ามไม่ได้แน่เพราะคนเราไม่ว่าชาติใดชนใดก็ต้องการความสบาย

ความก้าวหน้าท่านสุนทรภู่ได้ประพันธ์กลอนบทละครเรื่องพระอภัยมณีสอนใจมนุษย์

เราไว้ว่า

“จึงสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์

มันแสนสุดลึกลำาเหลือกำาหนด

ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด

ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในนำาใจคน”

๒๖. ยิ่งห้�มยิ่งยุ

อาตมาอยากทราบว่าสมัยท่านเป็นเด็กๆท่านเคยผิดกฎบ้านกฎโรงเรียนไหม

หากท่านใดมีบุตร–ธิดาท่านห้ามอย่าวิ่งนะลูกไปโรงเรียนอย่าเกเรนะลูกห้ามมีเรื่องชก

ต่อยนะห้ามไปเล่นเกมนะเขาปฏิบัติตามไหมไม่แน่นอนยิ่งห้ามเขายิ่งอยากลองอยากรู้

ในสิ่งที่ห้ามน่ะมันเป็นอย่างไรถึงได้ห้ามกันนักหนาบางรายห้ามกันด้วยอารมณ์เลยก็มียิ่ง

ทำาให้เด็กขาดเหตุผลแล้วก็ฝังลึกกลายมาเป็นนิสัยจวบจนปัจจุบันยากจะขุดจะถอนให้ขึ้น

มาได้ถ้าเป็นอาตมาจะยุส่งเลยดูสิจะกล้าไหม

๒๗. คิดแต่จะค้�น คิดแต่จะจับผิด

ประการนี้ขอแจงเป็นสองทางทางแรกมือไม่พายเอาเท้ารานำาทางที่สองติ

เพื่อก่อท่านโปรดพินิจพิจารณาเอาเถิดว่าคนไทยชอบเดินทางไหนกัน

๒๘. รอคนอื่นยกมือก่อนแล้วค่อยยกมือต�ม

เคยได้ยินคำานี้ไหมLeadershipหรือภาวะผู้นำาข้อนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยขาด

ภาวะการเป็นผู้นำาชอบสวมบทบาทผู้ตามแต่อันที่จริงเมื่อคิดดีๆแล้วไม่ใช่เพราะคนไทย

ฉลาดไม่แพ้ชาติใดในโลกแต่เราขาดความกล้าที่จะแสดงออกแสดงความคิดเห็นเมื่อเป็น

บ่อยเข้าก็จะกลายเป็นไม่ถามไม่สงสัยดังข้อข้างต้นที่กล่าวมานั่นเอง

Page 68: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๖

๒๙. ใครอย่�ได้พล�ดม�เชียว ไม่ว่�จะโกหกหรือไม่โกหก ก็โดนทับถมอยู่ดี ดีแต่ตัว ชั่ว

ยกให้คนอื่น

ใครๆก็ไม่อยากให้มีคนเด่นเกินตัวเราก็อยากเป็นที่รักทำาทุกทางไม่ว่าจะดีหรือ

ผิดก็ตามทำาหมดแต่บุคคลประเภทนี้จะมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งช่างสังเกตมีความคิดใน

ทางสร้างสรรค์ รอบคอบกล้าหาญที่จะรับงานทุกประเภทแต่สำาเร็จหรือไม่ ไม่รู้ ที่สำาคัญ

สิ่งที่บุคคลเหล่านี้เก่งที่สุดคือการหลบหลีกเลี่ยงต่อความผิดพลาดของงานไม่ยอมรับกับ

ความผิดที่ตนก่อตามด้วยซำาเติมกับคนที่พลาดท่าเห็นใครล้มก็ชอบข้ามน่าสงสารนะแสดง

ว่าเขาเป็นเด็กมีปมด้อยมีพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิสร

ในโคลงโลกนิติสอนใจได้ชัดเจนทีเดียวว่า

“โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง เมล็ดงา

ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น

โทษตนเท่าภูผา หนักยิ่ง

ป้องปิดคิดซ่อนเร้น เรื่องร้ายหายสูญ”

๓๐. ไม่พกพวกต�ร�งเดินรถ แผนที่ เวล�ไปไหนม�ไหน ถ�มช�วบ้�นหรือพนักง�น

ตลอด

“เอ่ออันนี้อาตมาไม่ขอกล่าวนะเพราะว่า...อาตมาก็เป็นแถมหลงทางตลอดด้วย

อาตมางง!”

๓๑. จะสงวนลิขสิทธิ์ก็ไม่ได้ เพร�ะยังไงก็ต้องมีคนก๊อปอยู่ดี

อาตมาได้กล่าวไปแล้วว่าคนไทยชอบของฟรีกรณีนี้ก็เช่นเดียวกันต่อให้มีมาตรา

การเข้มแค่ไหนคนไทยก็สามารถก๊อปได้สบายๆไหนๆใครว่าคนไทยไม่เก่ง

๓๒. ผลัดวันประกันพรุ่ง ขออีกนิด ขออีกหน่อย อีกแปป

“ลูกตื่นนอนได้แล้วเดี๋ยวไปโรงเรียนสาย”“ขออีก๑๐นาทีนะครับ”“ลูกตื่นๆๆ

สายโด่งแล้วเดี๋ยวจะโดนตีแล้วนะ”“ครับๆ ๆ ๆ ”(แต่ก็ยังอยู่ใต้ผ้าห่มอุ่นๆ)“ไอ้ลูกคนนี้แก

จะตื่นได้ยังห๊าจะนอนกินบ้านกินเมืองหรอพระอาทิตย์แยงก้นแกแล้ว”เปี๊ยะโครมตุ๊บตั๊บ

ๆขนาดเด็กยังเป็นแบบนี้แล้วอนาคตล่ะ

Page 69: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๗

๓๓. พ่อแม่ทำ�ไม่ได้ เลยฝ�กคว�มหวังไว้กับลูก

ใช่เลย อาตมาก็เป็น แต่ไม่ใช่พ่อกับแม่นะ แต่เป็นน้าสาว พ่อกับแม่แค่บอกว่า

ตั้งใจเรียนจบมาจะได้ทำางานดีๆเป็นเจ้าคนนายคนแต่น้าสาวไม่ใช่เช่นนั้นท่านขวนขวาย

หามาให้อยากเรียนคอมพิวเตอร์ส่งให้เรียนหนังสือดีๆภาษาอังกฤษเอยแบบฝึกเอยก็

หามาให้ปากกาดินสอยางลบไม้บรรทัดดีๆสวยๆก็หามาให้พร้อมกับคำาพูดประจำา

ตัวเลยว่า “น้าดื้อ เกเร ไม่ค่อยเรียน ต้องมาลำาบาก เสียดายที่มาคิดตอนนี้ น้าอยากให้เรา

ตั้งใจเรียนอย่าให้เหมือนน้าพยายามเรียนให้ดีให้เก่งๆเข้าไว้”แต่เชื่อไหมอาตมาไม่ค่อย

รักษาของของน้าเท่าไหร่ หายตลอด น่าเสียดายนะ ตอนนี้มานั่งนึก ถ้าเราเป็นน้าคงเสียใจ

แต่นี่ยังดีที่น้าไม่ได้อยากให้เป็นนั่นเป็นนี่แต่ลูกศิษย์ของอาตมาหลายๆคนเป็นแบบนั้นถูก

ตั้งความหวังไว้สูงจนตัวเองแบกรับไม่ไหวก็มีสงสารลูกๆบ้างนะเด็กก็เครียดเป็นถ้าจะตั้ง

ความหวังแค่นี้ดีไหม

“เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้

เมื่อยามไข้หมายเจ้าช่วยรักษา

เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา

หวังลูกช่วยปิดตาคราสิ้นใจฯ”

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องวิวาห์พระสมุทร

๓๔. บังคับให้เรียนรู้ไม่ได้ ต้องหลอกล่อให้สนุก ให้คว�มสะดวกสบ�ย

อาตมาเคยเป็นครูมาก่อนจะบวชอยู่หลายปีสอนทั้งเด็กประถมและมัธยมความ

เป็นครูก็อยากจะให้นักเรียนเรียนเก่ง ได้เกรดดี เอาไปใช้ได้ อาตมาเคยเรียนมาแบบไหนก็

สอนแบบนั้นแต่ผลที่ได้กลับไม่ใช่อย่างที่คิดเลยพอลองเอาเกมส์เพลงนิทานมากลับสนุก

กันใหญ่และได้ผลเสียด้วยแปลกพอมาเป็นพระก็ยังไปสอนบ้างหากิจกรรมทำากิจกรรม

ให้เด็กได้ลงมือทำาเอง ต้องอำานวยความสะดวกทุกอย่าง แต่ไปสนุกสนานเหมือนตอนเป็น

ฆราวาสไม่ได้ อดสนุกกับเด็ก บางโรงเรียนก็เอาวิธีนี้มาใช้นะ เปิดห้องเรียนพิเศษ ติดแอร์

เปลี่ยนเก้าอี้โต๊ะไม่เหลือเค้าเดิมเลยสะดวกสบายจริงๆ

Page 70: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๘

๓๕. เดี๋ยวก็ลืม

“โกรธง่ายหายเร็ว”เป็นลักษณะที่บ่งบอกข้อนี้ได้ดีที่สุดลืมๆไปเถอะแต่ไม่เพียง

เท่านี้ ถ้าบอกว่าคนไทยขี้ลืม น่าจะตรงกว่า แบบที่สุดของที่สุด ราวกับว่าคนไทยมีอะไรให้

คิดมากมายอาตมาให้ไม่เกิน๕นาทีลืมแล้วรวมถึงเรื่องปัญหาส่วนตัวด้วยแต่ยกเว้นเรื่อง

หนึ่งนะข่าวเสียๆหายๆของคนอื่นไม่ว่าจะจริงหรือเท็จทำาไมหนอลืมยากแท้จริงหนอ

๓๖. ไม่ชอบคนที่รวยกว่� ไม่ยอมรับคว�มจริง ชอบเชียร์มวยรอง หมดปัญญ�

ไม่ชอบคนรวยกว่าเพราะอิจฉาอยากมีเหมือนเขาไม่ยอมรับความจริงแม้ความ

จริงเป็นไม่ตายก็เพราะความจริงมันเสียดแทงจิตใจ ชอบเชียร์มวยรอง เพราะมวยรองมัน

ง่าว มันกว่าเยอะ แต่ที่จริง มวยรองก็เรานั่นแหละ หมดปัญญา เพราะ ไม่พินิจพิจารณา

ปัจจัยภายนอกและภายในให้ดีสักแต่ว่าอยากทำาอยากลองมีความอยากเป็นตัวนำาเหลว

ทุกราย

๓๗. มักง่�ย เห็นแก่ตัว บ�งคนนึกจะจอดรถตรงไหนก็จอด

ท่านมีอาการเหล่านี้ไหม

ก.ชอบเอาความสะดวกเข้าว่า

ข.ชอบฝากเพื่อนส่งงานสำาคัญๆ

ค.เพื่อนทำาการบ้านอยู่ดึงสมุดเพื่อนไปลอก

ง.ชอบทิ้งขยะไม่เป็นที่ตรงไหนหมกได้ก็หมก

จ.ชอบยืมของใช้เพื่อนทั้งๆที่ของตนก็มี

ฉ.เวลาทำางานไม่ตรวจสอบเอาเร็วเข้าว่าเพราะงานอื่นรออยู่

ช.เบี่ยงซ้ายป่ายขวา

หากมีอาการตามตัวอย่างที่ยกมาเกินครึ่งข้อนี้แหละใช่เลย

๓๘. นินท�ว่�ร้�ย ชอบยุ่งชอบแส่ง�นคนอื่น เพร�ะอิจฉ�

นินทากาเลเกมือนเทนำา เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา ในพระนิพนธ์

โคลงโลกนิติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิสรได้พระนิพนธ์ไว้ว่า

Page 71: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๕๙

“ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน

ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้

ห้ามอายุให้ทัน คืนเล่า

ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา”

๓๙. ต้นตระกูลของก�รปฎิเสธ

“ต้นตระกูลไทยใจท่านเหี้ยมหาญรักษาดินแดนไทยไว้ให้ลูกหลาน...”ไม่เกี่ยวๆ

ข้อนี้พูดง่ายก็บ่ายเบี่ยงคำาถาม คำาสั่ง นั่นเอง “นายโจ้ เธอเอาโครงการเลือกซื้อของมือสอง

ไปทำานะ”“เอ่อคือว่าผมมีโครงการที่ต้องทำาอยู่แล้วยังมีงานนี่นั่นโน่นอีกให้คนอื่นได้

ไหม”

๔๐. ชอบพูดคำ�ว่� “ไม่” ก่อนจะทันได้ใช้สมองคิดเสียอีก

“เธอทำาอะไรอยู่”

“ไม่ครับ”ทั้งๆที่ในมือถือหนังสือการ์ตูนอยู่

๔๑. ทั้งที่รู้ตัวว่�ทำ�ผิด แต่พอคนม�พูดก็ตีคว�มว่�เป็นคำ�ด่� ไม่ยอมรับแก้ตัวส�รพัด

โยนคว�มผิดให้คนอื่น

จะว่าไปข้อนี้เหมือนคนวิกลจริตนิด ๆ กลัวความผิดตนจะกระจายออก ปฏิเสธ

พัลวัน เหมือนเอาเกือบทุกข้อข้างต้นมา มารวมไว้ก็ไม่ปาน ท่านเคยเป็นไหมล่ะ พอเราทำา

พลาดไปเกิดการเสียหายเจ้านายรู้ก็เรียกมาดุมาว่าแต่ไม่ได้ไล่ออกนะเรานี่แบบลิ้นพันกัน

เลยทีเดียว แก้ตัว บางครั้งนำามันขุ่นแล้วก็ยังจะกวนให้ขุ่นอีก พอเพื่อนร่วมงานมาพูดด้วยก็

พาลโกรธประเภทนี้เข้าข่ายแล้วห่างๆดีกว่าไหม

ทั้งหมดนี้ที่อาตมายกมากล่าวอ้างอาตมาก็เข้าข่ายหลายข้อเหมือนกันคุณโยมล่ะ

เข้าข่ายกี่ข้อที่จริงแล้วคนไทยมีนิสัยใหญ่ๆไม่กี่อย่างเท่านั้นแต่สามารถแตกแยกเป็นสาขา

ย่อยๆได้มากมายสำาหรับสายตาเด็กๆอย่างอาตมาที่พอจะรู้โลกมาเกือบ๓๐ปีคิดว่าคน

ไทยมีนิสัยจริงเพียง๔ข้อเท่านั้น

๑.หน้าใหญ่ใจโต

๒.รับชอบไม่รับผิด

Page 72: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๐

๓.กายวาจาใจไม่สัมพันธ์กัน

๔.ชอบอะไรก็ได้ที่ง่ายๆสนุกๆเพลินๆและไม่เสียเงินถ้าไม่จำาเป็น

แต่อย่างไรคนไทยก็ยังมีนำาจิตนำาใจ เอื้อเฟือเผื่อแผ่ สมัครสมานสามัคคี มีนิสัย

แบบชนบทในสมัยก่อนให้เห็นอยู่ แม้ว่าปัจจุบันจะเหลือน้อยก็ตามที เพราะปัญหาการทำา

มาหากินรุมเร้าเคล้าวัฒนธรรมใหม่ให้ไหลหลงได้ง่าย

เพราะฉะนั้นคนก็คือคนย่อมมีนิสัยแตกต่างกันไปเหมือนคำาพูดที่ได้ยินบ่อยๆว่า

“คนเราไม่มีใครดี๑๐๐เปอร์เซ็นต์และก็ไม่มีใครชั่ว๑๐๐เปอร์เซ็นต์หรอก”ชั่วบ้างดีบ้าง

คละเคล้ากันไปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ

ไว้บทหนึ่งอันจะขอยกมาดังนี้

“ฝูงชนกำาเนิดคล้าย คลึงกัน

ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง

ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด

ยกแต่ชั่วดีกระด้าง อ่อนแก้ฤาไหว”

แล้วคุณโยมคิดเห็นเช่นไรกับนิสัยคนไทยเปิดใจพิจารณาดูสิ

Page 73: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๑

ภ�ค ๓คิหิปฏิบัติ : หลักพื้นฐ�นบ�งประก�ร

สำ�หรับส�ธุชน

Page 74: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๒

เห็นกันอยู่เมื่อเช้� ส�ยต�ย

ส�ยอยู่สุขสบ�ย บ่�ยม้วย

บ่�ยรื่นชื่นรวยร�ย เย็นดับ ชีพแฮ

เย็นเล่นกับลูกด้วย ค่ำ�ม้วยอ�สัญ

พระบ�ทสมเด็จพระจุลจอมเกล้�เจ้�อยู่หัว

Page 75: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๓

คิหิปฏิบัติ

คิหิปฏิบัติตัดบทเป็นคิหิแปลว่าคฤหัสถ์หมายถึงผู้อยู่ครองเรือนซึ่งไม่ใช่ผู้บวช

ปฏิบัติแปลว่าธรรมเป็นเครื่องดำาเนินหมายถึงธรรมหรือหน้าที่อันเป็นหลักที่ควรทำาก็มีที่

ควรเว้นก็มีเมื่อรวมเข้าเป็น

คิหิปฏิบัติแปลว่าธรรมเป็นเครื่องดำาเนินของคฤหัสถ์หมายความว่าคฤหัสถ์ควร

ปฏิบัติคือทำาตามหรือเว้นธรรมอันเป็นหลักในหมวดต่างๆ

ฆร�ว�สธรรม : ธรรมเพื่อชีวิตและครอบครัว

ธรรมทั้ง ๔ ประการที่เป็นไปเพื่อชีวิตและครอบครัว ชื่อว่า ธรรมของฆร�ว�ส

แปลว่า หน้าที่ของผู้ครองเรือน เพราะเป็นข้อปฏิบัติโดยตรงของฆราวาส ถ้าฆราวาสคน

ใดขาดธรรม๔อย่างนี้ การดำารงชีวิตจะไม่มีความราบรื่น ไม่มีความสงบสุข แต่ถ้าฆราวาส

คนใดยึดธรรมทั้ง๔ข้อนี้ เป็นหน้าที่จำาต้องปฏิบัติการครองเรือนก็จะราบรื่น มีแต่ความสุข

ความเจริญไพบูลย์และตั้งตระกูลให้ถาวรสืบไปได้ละโลกนี้ไปแล้วก็ไม่ต้องเศร้าโศก

ธรรมเหล่านี้แม้บรรพชิตก็ควรน้อมนำาไปปรับปรุงปฏิบัติได้ทุกข้อจึงจะเหมาะสม

แต่มิใช่ข้อปฏิบัติโดยตรงของบรรพชิต

๑.สัจจะสัตย์ซื่อแก่กัน

๒.ทมะรู้จักข่มจิตของตน

๓.ขันติอดทน

๔.จ�คะ สละให้ปันสิ่งของๆตนแก่คนที่ควรให้ปัน

๑.สัจจะแปลว่าความซื่อสัตย์แก่กันหมายถึงคว�มซื่อสัตย์ต่อบุคคลระหว่างบิดามารดา

กับบุตรธิดา อาจารย์กับศิษย์ มิตรกับมิตร สามีกับภรรยา นายกับบ่าว พระกับชาวบ้าน

ตลอดถึงพี่กับน้องญาติกับญาติเพื่อนบ้านกับเพื่อนบ้านเป็นต้นทุกคนต้องมี

Page 76: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๔

ความซื่อสัตย์ไม่คดโกงไม่หลอกลวงไม่บิดพลิ้วกะกันและกันเมื่อต่างคนต่างมีสัจจะต่อกัน

ก็เป็นที่ไว้วางใจกันได้ย่อมมีความสุขความเจริญร่วมกันตามควรแก่

๒. ทมะแปลว่าความรู้จักข่มจิตของตนหมายความว่าบังคับจิตไว้มิให้เห่อเหิมใฝ่สูงเกิน

ขอบเขตเกินประมาณและรู้จักบังคับจิตของตนไม่ให้โลภอยากได้ในทางทุจริตผิดศีลธรรม

ในเรื่องเย้ายวนชวนให้เกิดความโลภ ไม่ให้โกรธเคือง ไม่ให้คิดอาฆาตจองเวรในคนที่ก่อกวน

ชวนให้เกิดความโกรธเคืองอาฆาตพยาบาทจองเวรไม่ให้หลงในรูปในเสียงเป็นต้นที่ชวน

ให้เกิดความหลงไม่ให้มัวเมาในอบายมุขในวัยในความไม่มีโรคในชีวิตอันเป็นเรื่องที่ชวน

ให้เกิดความมัวเมา

อีกอย่างหนึ่งทมะ แปลว่า ความรู้จัก ฝึกจิต ของตน หมาย-ความว่า ฝึกจิตให้

สามารถรู้จักเข้าใจทำางานต่างๆตามหน้าที่ให้เป็นและฝึกจิตให้สามารถหยุดได้ยับยั้งได้ไม่

ให้ถลำาไปสู่ความชั่วความผิดต่างๆเปรียบเหมือนคนฝึกขับรถให้แล่นไปตามถนนสายต่างๆ

ที่ต้องการได้นี้ชื่อว่าฝึกจิตให้เป็นงานเป็นการได้แต่ยังไม่พอต้องฝึกหยุดรถให้ได้ด้วยไม่ขับ

ไปโดยไม่รู้จักหยุดนี้ชื่อว่าฝึกจิตให้หยุดยับยั้งไว้ได้ไม่ปล่อยจิตให้เตลิดไปไม่มีที่สิ้นสุดผู้ขับ

รถให้แล่นไปไม่รู้จักหยุดต้องได้รับอันตรายฉันใดผู้ปล่อยจิตให้เตลิดไปไม่รู้จักหยุดยั้งก็ต้อง

ได้รับอันตรายฉันนั้นด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้ทมะ ฝึกจิตให้สามารถทำาการงานให้เป็นด้วยให้

สามารถหยุดได้ยับยั้งได้ด้วย

๓. ขันติ แปลว่า ความอดทน หมายถึงความอดทนต่อฝ่ายไม่ดี เพื่อยืนหยัดอยู่ในทาง

ที่ดีให้ได้ เป็นลักษณะความเข้มแข็งของจิตในการถอนตัวออกจากความชั่ว และในการ

พยายามทำาความดี มิใช่หมายความว่า ใครตกอยู่สภาพอย่างไร ก็ทนอยู่ในสภาพเดิม

อย่างนั้นตลอดไป เช่นเป็นคนยากจนแล้ว ก็ทนอยู่ในความยากจนนั้นต่อไปไม่พยายาม

ขวนขวายหาทรัพย์ หรือเป็นคนเกียจคร้าน งานการไม่ทำาแม้จะถูกคนอื่นโขกสับ เสียดสี ก็

ไม่มียางอาย ทนได้ ทนอย่างนี้ไม่ใช่ขันติแต่เป็นลักษณะของคนดื้อด้าน หน้าด้าน ความ

อดทนมี ๓ ประเภท คือ ๑. อดทนต่อความลำาบากตรากตรำา ๒. อดทนต่อทุกขเวทนา

๓. อดทนต่อความเจ็บใจ บางแห่งท่านว่าความอดทนมี ๔ ประเภท โดยเพิ่ม อดทนต่อ

อำ�น�จกิเลส เข้ามาอีก ๑ หมายถึงอดทนต่ออารมณ์ข้างฝ่ายเพลิดเพลิน เช่นความสนุก

Page 77: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๕

การเที่ยวเตร่การได้ลาภอันพึงใจเป็นต้นต้องอดทนไว้อย่าเพลิดเพลินนักเพราะสนุกนักมัก

จะได้ทุกข์

๔. จ�คะแปลว่าสละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน

ความต่างกันระหว่างทานกับจาคะ

ก. ท�นแปลว่า“การให้“เป็นการให้โดยหวังผลตอบแทน.

ข. จ�คะแปลว่า“การเสียสละ“เป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน

ค. ท�นถ้ามาคู่กับจาคะทานหมายถึงการให้วัตถุภายนอกจาคะหมายถึงการ

สละสิ่งที่เป็นข้าศึกภายในคือกิเลส

ง. จ�คะ ถ้ามาศัพท์เดียว หมายความได้ทั้ง ๒ อย่าง คือหมายถึง การสละวัตถุ

ภายนอกก็ได้หมายถึงการสละสิ่งที่เป็นข้าศึกภายในก็ได้

สุขของคฤหัสภ์ : ธรรมเพื่อคว�มอยู่ดีท�งเศรษฐกิจ

สุขทั้ง๔อย่างนี้ชื่อว่าเป็นสุขของคฤหัสถ์ หมายความว่าเป็นความสบายใจของ

ชาวบ้านผู้ครองเหย้าครองเรือนถ้าไม่มีทรัพย์หรือใช้ทรัพย์ไม่ถูกหลักหรือกู้หนี้หรือทำางาน

ที่มีโทษ ก็ไม่เป็นสุข จุดสำาคัญขั้นแรกต้องมีทรัพย์พอใช้ในครอบครัว ถ้าไม่มีทรัพย์ก็เดือด

ร้อนทันที เมื่อมีทรัพย์แล้วต้องรู้จักจับจ่ายใช้สอยให้ถูกหลักถ้าจ่ายไม่ถูกก็เดือดร้อนเมื่อ

ใช้สอยถูกหลักก็ไม่ต้องกู้หนี้ถ้ากู้หนี้ก็เดือดร้อนเมื่อมีทรัพย์พอบริโภคถูกหลักไม่กู้หนี้ก็ไม่

จำาเป็นต้องประกอบการงานที่มีโทษ ถ้าประกอบการงานมีโทษก็มีทุกข์เดือดร้อน ประกอบ

ด้วย

๑.สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์

๒.สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

๓.สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

๔.สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

๑. สุขเกิดแต่ก�รมีทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์โดยตรง ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่

อาศัย ยาแก้โรค เพาะเป็นสิ่งจำาเป็นของมนุษย์ขาดเสียมิได้ ทรัพย์โดยอ้อมคือ เงินทอง

ของใช้แลกเปลี่ยนกับทรัพย์โดยตรง ทรัพย์ทั้งสองประเภทนี้ เป็นสิ่งจำาเป็นของคฤหัสถ์

Page 78: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๖

คฤหัสถ์ต้องหมั่นทำางานใช้กำาลังแขนขา อาบเหงื่อต่างนำาให้ได้มาโดยทางที่ถูกต้อง ไม่ลักฉก

ฉ้อโกง ปล้นจี้เอาของผู้อื่นมา ได้มาแล้วต้องรู้จักรักษา รู้จักจ่ายให้พอสมควรแก่ฐานะ ประ

คับประคองให้ทรัพย์มีอยู่เสมอมิให้ขาด ก็ย่อมมีความสุข ความอิ่มใจว่า “ทรัพย์เรามีอยู่

สบาย”

๒.สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภคหมายความว่าเมื่อได้ทรัพย์แล้วต้องรู้จักแบ่งเป็นส่วนๆ

ตามที่ทรงแสดงไว้ในสิงคาลกสูตรว่า

จตุธาวิภเชโภเค สเวมิตฺตานิคนฺถติ

เอเกนโภเคภุญฺเชยฺย ทฺวีหิกมฺมำปโยชเย

จตุตฺถญฺจนิธาเปยฺย อาปทาสุภวิสฺสติ

คฤหัสถ์ได้ทรัพย์แล้ว พึงแบ่งทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน ย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอยโภค

สมบัติด้วยทรัพย์ส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยทรัพย์ ๒ ส่วน พึงเก็บทรัพย์ส่วนที่ ๔

ไว้ใช้ในยามมีอันตราย และพึงใช้สอยด้วย ทำาบุญด้วย ตามอันนนาถสูตร ก็ย่อมมีความสุข

ความอิ่มใจว่า“เราจ่ายทรัพย์สบาย”

๓.สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้หมายความว่าเมื่อได้แบ่งทรัพย์ออกเป็นส่วนๆใช้เองบ้าง

ทำาบุญบ้างลงทุนประกอบอาชีพบ้างเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินบ้างก็เป็นไทไม่ตกเป็นทาสใคร

ไม่ต้องกู้หนี้ใครมองเห็นโทษในการกู้หนี้ตามพระบาลีว่าอิณาทานำทุกฺขำโลเก

การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลกเมื่อตนไม่มีหนี้ติดตัวก็ย่อมมีความสุขอิ่มใจว่า“เราไม่มีหนี้สบาย”

๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ หมายความว่า เมื่อมีทรัพย์จับจ่ายเพียงพอ

และไม่ต้องเป็นหนี้ ก็ไม่ต้องดิ้นรนประกอบการงานที่มีโทษ เช่น โจรกรรม หรือมิจฉาชีพ

หรืออเนสนากรรมด้วยกาย วาจา หรือแม้ด้วยใจ ตั้งใจประกอบการงานที่ไม่มีโทษด้วยกาย

วาจาและใจก็ย่อมมีความสุขความอิ่มใจว่า“การงานของเราปราศจากโทษสบาย”

สุขทั้ง ๓ อย่างข้างต้น เป็นสุขเกี่ยวกับทรัพย์ที่คฤหัสถ์จะพึงได้ด้วยการเว้น

กรรมกิเลส ๔ อบายมุข ๔ หรือ ๖ และประกอบด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ส่วนสุข

Page 79: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๗

ข้อ ๔ เป็นสุขที่เกี่ยวกับศีลธรรม อันจะพึงได้ด้วยธรรมอันเป็นเหตุสมหมาย ๔ มีสัทธา

สัมปทาเป็นต้นฉะนั้นสุข๓อย่างข้างต้นมีผลไม่ถึงเสี้ยวที่๑๖ของสุขอย่างที่๔

ทิศ ๖ : ธรรมเพื่อคว�มสัมพันธ์ในสังคม

บุคคล๖จำาพวกมีมารดาบิดาเป็นต้นได้ชื่อว่าทิศ๖เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนำาเข้าไปเปรียบด้วยทิศใหญ่ทั้ง๖ในทางโลกโดยเป็นทิศอันกุลบุตร(คือลูกที่ดี)พึงไหว้

เมื่อได้ไหว้แล้วก็ชื่อว่าเป็นทิศที่ได้ปิดไว้จึงเป็นที่เกษมปลอดภัยไม่มีภัยแต่ถ้าว่าเมื่อยังมิได้

ไหว้ทิศใหญ่ทั้ง๖ ในทางธรรมถึงแม้ว่าได้ไหว้ทิศทั้ง๖ ในทางโลก เหมือนสิงคาลกมาณพ

ลุกขึ้นแต่เช้ามีผมเผ้าผ้าผ่อนเปียกชุ่มด้วยนำาประนมมือไหว้ทิศใหญ่ทั้ง๖ตามคำาของบิดา

เมื่อใกล้จะตายได้สั่งไว้ก็ชื่อว่ายังมิได้ไหว้ทิศใหญ่ทั้ง๖เลยเพราะว่ายังมิได้ปิดกั้นอันตราย

ที่จะพึงเกิดมีมาแต่ทิศเหล่านั้น ทิศเหล่านั้น ยังไม่เป็นที่เกษมปลอดภัย ยังมีภัย ส่วนบุคคล

ทั้ง ๖ เหล่านี้ ที่เปรียบด้วยทิศใหญ่เมื่อกุลบุตรได้ไหว้ให้ถูกวิธีแล้ว ย่อมเป็นทิศที่ถูกปิดกั้น

อันตรายเป็นทิศที่เกษมสวัสดีไม่มีภัยฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าทิศ๖ในอริยวินัยคือในทางธรรม

อันเป็นข้อแนะนำาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

ประกอบด้วย

๑.ปุรัตถิมทิสคือทิศเบื้องหน้ามารดาบิดา

๒.ทักขิณทิสคือทิศเบื้องขวาอาจารย์

๓.ปัจฉิมทิสคือทิศเบื้องหลังบุตรภรรยา

๔.อุตตรทิสคือทิศเบื้องซ้ายมิตร

๕.เหฏฐิมทิสคือทิศเบื้องตำาบ่าว

๖.อุปริมทิสคือทิศเบื้องบนสมณพราหมณ์

๑. ปุรัตถิมทิสคือทิศเบื้องหน้าหรือทิศตะวันออกทางธรรมหมายถึงมารดา-บิดาเพราะ

ท่านทั้งสองเป็นผู้มีอุปการคุณแก่เราผู้เป็นบุตร-ธิดาก่อนกว่าคนอื่นๆ

๒. ทักขิณทิสคือทิศเบื้องขวาหรือทิศใต้ทางธรรมหมายถึงอาจารย์รวมทั้งอุปัชฌาย์และ

ครูผู้สั่งสอนทุกระดับ เพราะท่านได้แนะนำาพรำาสอนชี้ผิดชี้ถูกให้แก่ศิษยานุศิษย์ เปรียบดัง

มือข้างขวาที่ต้องทำางานประจำาที่สำาคัญของเรา

Page 80: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๘

๓. ปัจฉิมทิส คือ ทิศเบื้องหลัง หรือทิศตะวันตก ทางธรรม หมายถึง บุตร-ภรรยา (สามี)

เพราะเป็นผู้ที่ตามมาภายหลังตัวเราเอง

๔. อุตตทิสคือทิศเบื้องซ้ายหรือทิศเหนือทางธรรมหมายถึงมิตรสหายผู้ร่วมสุขร่วม

ทุกข์กันเปรียบด้วยมือซ้ายเพราะได้ช่วยเหลือเราเมื่อคราวจำาเป็น

๕. เหฏฐิมทิส คือ ทิศเบื้องตำา หรือทิศเบื้องล่าง ทางธรรม หมายถึง คนที่ยอมตัวเป็นคน

รับทำางาน ช่วยเหลือกิจการต่าง ให้เรา เพราะไม่คิดค่าจ้าง สุดแล้วแต่เราจะให้รางวัล ใน

ปัจจุบันมีระบบลูกจ้างก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้

๖. อุปริมทิส คือ ทิศเบื้องบน หรือเบื้องสูง ทางธรรม หมายถึง สมณพราหมณ์ผู้สงบจาก

บาปผู้ประพฤติประเสริฐได้แก่ภิกษุและสามเณรเพราะเป็นผู้สูงโดยเพศและโดยคุณธรรม

สมควรที่จะได้รับการเคารพนับถือบูชาจากเราผู้เป็นคฤหัสถ์ซึ่งเป็นเพศตำา

วิธีไหว้ทิศ ๖

อันผู้จะไหว้ทิศ๖ทางธรรมมีมารดาบิดาเป็นต้นนั้นต้องทำากิจในเบื้องต้นคือละ

กรรมกิเลส๔อคติ๔อบายมุข๖รวม๑๔อย่างเสียก่อนเมื่อละได้แล้วจึงไหว้ทิศ๖ก็ย่อม

จะเป็นผู้ปิดกั้นอันตรายจากทิศ๖ เสียได้และย่อมปฏิบัติเพื่อชนะโลกทั้งสองคือ โลกนี้๑

โลกหน้า๑ก็ย่อมจะได้รับความสุขในโลกนี้ด้วยครั้นตายไปก็ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ด้วย

ฉะนั้นควรไหว้ทิศ๖คือปฏิบัติตามหลักธรรมอันเป็นหน้าที่ประจำาตัวบุคคลต่อไปนี้

๑. ปุรัตถิมทิส คือ ทิศเบื้องหน้�มารดาบิดาเป็นหน้าที่ของบุตรอันบุตรพึงไหว้

คือบำารุงด้วยสถาน๕คือ

๑.ท่านได้เลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ(ด้วยความกตัญญูกตเวที)

๒.ทำากิจของท่าน(คือเมื่อกิจการเกิดขึ้นก็ช่วยเหลือไม่เฉยเมย)

๓.ดำารงวงศ์สกุล(คือรักษาเกียรติ-ขนบธรรมเนียมของสกุลไว้มิให้

เสื่อม)

๔.ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก(คือไม่ประพฤติเป็นคน

เสเพล)

Page 81: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖๙

๕.เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำาบุญอุทิศให้ท่าน(ด้วยความกตัญญู

กตเวที)

มาดาบิดาได้รับบำารุงฉะนี้แล้วย่อมไหว้คืออนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน๕

๑.ห้ามมิให้ทำาความชั่ว(คือชี้ให้รู้จักผิด-ชั่วแล้วห้ามมิให้ทำาผิด-ชั่ว)

๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี (คือสอนให้รู้จักดี ส่งเสริมให้ทำาดี ทำาดีให้ดูเป็น

ตัวอย่างด้วย)

๓.ให้ศึกษาศิลปวิทยา(คือสละทรัพย์ให้ศึกษาจนมีวิชาพาตัวรอดได้)

๔.หาภรรยา(หรือสามี)ที่สมควรให้(คือเมื่อถึงเวลาก็แนะนำาให้บุตร

รู้จักสตรี-บุรุษซึ่งเป็นคนดีอันสมควรจะแต่งงานก็มอบทรัพย์ให้)

๕.มอบทรัพย์ให้ในสมัย(เช่นคราวแต่งงานก็มอบทรัพย์ให้เป็นทุน

สำาหรับตั้งตัวเป็นต้น)

๒. ทักขิณทิส คือ ทิศเบื้องขว� อาจารย์เป็นหน้าที่ของศิษย์อันศิษย์พึงไหว้คือ

บำารุงด้วยสถาน๕

๑.ลุกขึ้นยืนรับ(คือคอยต้อนรับหรือตามส่งเมื่อท่านมาหรือไป)

๒.เข้าไปยืนคอยรับใช้(คือเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือการงานของท่านแม้

ท่านจะใช้หรือมิได้ใช้ให้ทำาถ้าเห็นเป็นการสมควรก็ทำา)

๓.เชื่อฟัง(คือตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน,ว่าง่ายสอนง่าย,ไม่ดื้อ)

๔.อุปัฏฐาก(คือยามท่านเจ็บป่วยก็ช่วยรักษาพยาบาลบีบนวด

เป็นต้น)

๕.เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ(คือเคารพศิลปวิทยาและผู้สอนไม่ดู

หมิ่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจริงๆ)

อาจารย์ได้รับบำารุงฉะนี้แล้วย่อมไหว้คืออนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน๕

๑.แนะนำาดี(คือสั่งสอนให้ทำาดีให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรมไม่สอนในทาง

ชั่ว)

๒.ให้เรียนดี(คือให้เรียนวิชาที่ช่วยให้ตั้งตัวได้ดีในโลกทั้ง๒)

Page 82: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๐

๓.บอกศิลปให้สิ้นเชิง(คือไม่ปิดบังอำาพรางศิลปบางอย่างไว้มิให้ศิษย์รู้)

๔.ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง(คือให้รางวัลหรือประกาศเกียรติคุณ)

๕.ทำาความป้องกันในทิศทั้งหลาย(คือจะไปทางทิศไหนก็ไม่ให้อดอยาก

โดยฝากฝังเพื่อนหรือผู้ใดผู้หนึ่งให้อำานวยความสะดวกและให้มีความปลอดภัย)

๓. ปัจฉิมทิส คือ ทิศเบื้องหลัง ภรรยา เป็นหน้าที่ของสามี อันสามีพึงไหว้ คือ

บำารุงด้วยสถาน๕

๑. ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา (คือเลี้ยงดูให้มีความสุข ไม่ขัดใจกัน ให้

รางวัลหรือสรรเสริญตามสมควร)

๒.ไม่ดูหมิ่น(คือไม่พูดจาดูถูกให้เจ็บชำานำาใจไม่นินทาให้ใครฟัง)

๓.ไม่ประพฤติล่วงใจ(คือไม่คบหาหญิงอื่นในทางชู้สาว)

๔.มอบความเป็นใหญ่ให้(คือมอบให้เป็นอิสระในกิจการภายในบ้าน)

๕. ให้เครื่องแต่งตัว (คือหาเครื่องแต่งตัวมาให้ หรือให้ทรัพย์ไปหาเอง

ตามชอบใจในโอกาสต่างๆ)

ภรรยาได้รับบำารุงฉะนี้แล้วย่อมไหว้คืออนุเคราะห์สามีด้วยสถาน๕

๑.จัดการงานดี (คือฉลาดสามารถจัดระเบียบการงานในบ้านให้ดียิ่งๆ

ขึ้น)

๒.สงเคราะห์คนข้างผัวดี(คือให้ความช่วยเหลือพ่อแม่มิตรสหายญาติ

ของผัวด้วยความเต็มใจไม่รังเกียจ)

๓.ไม่ประพฤติล่วงใจผัว(คือไม่นอกใจไปคบชายอื่นในทางชู้สาว)

๔.รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้(คือเก็บไว้และใช้จ่ายพอสมควรไม่

สุรุ่ยสุร่ายไม่ผลาญทรัพย์ด้วยอบายมุขทุกประเภทและต้องสงวนบูรณะของใช้ให้มั่นคง)

Page 83: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๑

๕.ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง(คือเอาใจใส่ทำางานทั้งภายใน

บ้านทั้งภายนอกบ้านตามหน้าที่ไม่เกียจคร้านสันหลังยาวเอาแต่นอนหรือแต่งตัวเที่ยวคุย

ตลอดวัน)

๔. อุตตรทิศ คือ ทิศเบื้องซ้�ย มิตรเป็นหน้าที่ของกุลบุตรอันกุลบุตรพึงไหว้คือ

บำารุงด้วยสถาน๕

๑.ให้ปัน(คือมีใจกว้างแบ่งของของตนปันให้แก่มิตรตามสมควร)

๒.เจรจาด้วยคำาไพเราะ(คือพูดจาแต่ถ้อยคำาดีมีประโยชน์และถูก

กาลเทศะ)

๓.ประพฤติประโยชน์(คือทำาพูดคิดช่วยเหลือมิตรตามกำาลังและ

โอกาส)

๔.เป็นผู้มีตนสม่ำาเสมอ(คือเมื่อตนได้ดีมีลาภยศก็ไม่หยิ่งมิตรตกอับก็

ไม่ทับถมประคองตนให้เสมอต้นเสมอปลาย)

๕.ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง(คือมีความซื่อสัตย์ต่อมิตร

ไม่คิดคดทรยศหักหลังมิตรไม่อิจฉาริษยาต่อมิตร)

มิตรได้รับบำารุงฉะนี้แล้วย่อมไหว้คืออนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน๕

๑.รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว(คือเมื่อมิตรเลินเล่อหลงผิดก็หาทางให้

ถอนตัวกลับมาในทางถูกเช่นให้เลิกจากเป็นนักเลงเล่นการพนันเป็นต้น)

๒.รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว(คือเมื่อมิตรหลงผิดเช่นติดการ

พนันเป็นต้นจนต้องขายทรัพย์สมบัติก็ช่วยซื้อไว้ก่อนแล้วขายคืนให้ภายหลังโดยไม่คิด

กำาไร)

๓.เมื่อมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำานักได้(คือเมื่อมิตรประสบอัคคีภัยเป็นต้นก็

ยินดีช่วยเหลือเกื้อกูลให้มิตรรู้สึกเย็นใจในยามเดือดร้อน)

๔.ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ(คือไม่เมินเฉยในยามมิตรตกทุกข์ได้ยาก)

๕.นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร(คือเคารพนับถือให้เกียรติไม่เหยียด

หยามมิตรตลอดถึงเทือกเถาเหล่ากอของมิตร)

Page 84: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๒

๕. เหฏฐิมทิศ คือ ทิศเบื้องตำ�บ่าว,ลูกจ้างเป็นหน้าที่ของนาย,นายจ้างอันนาย,

นายจ้างพึงไหว้คือบำารุงด้วยสถาน๕

๑.จัดการงานให้ทำาตามสมควรแก่กำาลัง(คือให้งานพอดีกับกำาลังความรู้

ความสามารถและเวลา)

๒.ให้อาหารและรางวัล(คือตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยด้วยข้าวปลา

อาหารหรือทรัพย์ค่าอาหารเป็นต้นและให้รางวัลเป็นพิเศษตามสมควร)

๓.รักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้(คือมีสวัสดิการถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยก็

ช่วยเหลือรักษามิใช่ว่า“ดีแต่ใช้เจ็บไข้ไม่รักษา“)

๔. แจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน (คือหาของดีมีรสแปลกมาแจก

คนใช้หรือลูกจ้างให้เขาได้กินบ้างในบางคราว)

๕.ปล่อยให้สมัย(คือปล่อยให้เขาพักผ่อนหย่อนใจในสมัยเทศกาลต่าง

ๆหรือในเมื่อเขาสามารถแล้วลาออกไปประกอบอาชีพส่วนตัวก็ปล่อยไป)

บ่าวหรือคนใช้และลูกจ้างได้บำารุงฉะนี้แล้วย่อมไหว้คืออนุเคราะห์นาย-นายจ้าง

ด้วยสถาน๕

๑.ลุกขึ้นทำางานก่อนนาย(คือมีใจกว้าง,รักงาน,รักนาย-นายจ้าง,ขยัน

ลุกขึ้นทำางานก่อนนาย-นายจ้างหรือก่อนเวลาที่กำาหนดไว้)

๒.เลิกการงานทีหลังนาย-นายจ้าง(คือไม่เลิกงานก่อนนาย-นายจ้าง

หรือไม่เลิกงานก่อนเวลาที่กำาหนดไว้,แต่เลิกทีหลังนาย-นายจ้างหรือเลิกหลังเวลาที่กำาหนด

ไว้)

๓.ถือเอาแต่ของที่นาย-นายจ้างให้(คือไม่มักง่ายมือไวหยิบฉวยเอา

ของที่นาย-นายจ้างยังไม่อนุญาตให้)

๔.ทำาการงานให้ดีขึ้น(คือใช้ปัญญาปรับปรุงการทำางานให้เสร็จ

เรียบร้อยและรวดเร็วขึ้นทำางานให้ได้มากยิ่งขึ้นประหยัดเวลาได้มากเข้า)

๕.นำาคุณของนาย-นายจ้างไปสรรเสริญในที่นั้นๆ(คือไปที่ใดๆก็นำา

เอาความดีของนาย-นายจ้างไปสรรเสริญพูดยกย่องแต่ไม่ควรนำาเอาความไม่ดีของนาย-

นายจ้างไปนินทาเป็นอันขาด)

Page 85: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๓

๖. อุปริมทิส คือ ทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์เป็นหน้าที่ของกุลบุตรอันกุลบุตร

พึงไหว้คือบำารุงด้วยสถาน๕

๑.กายกรรมคือทำาอะไรๆประกอบด้วยเมตตา

๒.วจีกรรมคือพูดอะไรๆประกอบด้วยเมตตา

๓.มโนกรรมคือคิดอะไรประกอบด้วยเมตตา

๔. ไม่ปิดประตู (คือไม่ห้ามมิให้เข้าบ้านเรือน, แต่อนุญาตกล่าวคือยินดี

ต้อนรับอาราธนาให้เข้าบ้านได้)

๕.ให้อามิสทาน(คือถวายปัจจัย๔ที่จำาเป็นในชีวิต)

สมณพราหมณ์ได้รับบำารุงฉะนี้แล้วย่อมไหว้คืออนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน๖

๑.ห้ามไม่ให้กระทำาความชั่ว(คือสอนให้รู้จักความชั่วให้เห็นโทษของ

ความชั่วแล้วห้ามมิให้ทำาความชั่ว)

๒.ให้ตั้งอยู่ในความดี(คือสอนให้รู้จักความดีให้เห็นผลดีของความดี

แล้วแนะนำาให้ตั้งตนอยู่ในความดี)

๓.อนุเคราะห์ด้วยนำาใจอันงาม(คือมีความหวังดีมีเมตตาจิตแนะนำาใน

การประกอบอาชีพที่ไม่มีโทษทางกฎหมายและทางศาสนา)

๔.ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง(คือนำาเรื่องที่เป็นประโยชน์เรื่องใหม่ๆมา

เล่าให้ฟังปลุกใจให้ตื่นทันต่อเหตุการณ์)

๕.ทำาสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง(คือสอนให้ละเอียดลออให้เข้าใจแจ่ม

แจ้งตามความจริงของสิ่งนั้นๆไม่สอนให้คลุมเครือ)

๖.บอกทางสวรรค์ให้(คือสอนให้ปฏิบัติถึงพร้อมด้วยศรัทธาศีลจาคะ

ปัญญาอันเป็นทางไปสุคติโลกสวรรค์)

เมื่อกุลบุตรมาไหว้ทิศ ๖ ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรม อันเป็นหน้าที่ประจำา

ตัวอย่างนี้ย่อมชื่อว่าได้ปิดทิศ๖สกัดกั้นอันตรายมิให้เกิดมีมาแต่ทิศทั้ง๖นั้น

Page 86: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๔

อบ�ยมุข : ธรรมที่คฤหัสถ์ควรหลีกเว้น

อบ�ยมุข ตัดบทเป็น อบ�ย แปลว่า ความเสื่อม ความฉิบหาย ส่วนคำาว่า มุข

แปลว่าทางหรือเหตุเมื่อรวมความอบ�ยมุขจึงหมายถึงเหตุเครื่องฉิบหาย๖โทษทั้ง๖

ประการมีดื่มนำาเมาเป็นต้นเหล่านี้ชื่อว่าอบายมุขเพราะเป็นเหตุแห่งความเสื่อมโภคทรัพย์

ชื่อเสียงกระทั่งร่างกายและชีวิตผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์และความสุขสวัสดีในชีวิต

พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย๖ประการนี้เสียได้แก่

๑.ดื่มนำาเมา ๒.เที่ยวกลางคืน

๓.เที่ยวดูการเล่น ๔.เล่นการพนัน

๕.คบคนชั่วเป็นมิตร ๖.เกียจคร้านทำาการงาน

๑. ดื่มนำ�เม�คือการดื่มสุรา-เมรัยและการเสพยาเสพติดให้โทษต่างๆมีโทษไม่น้อยกว่า

๖อย่าง

เฮโรอินฝินกัญชากะแช่เหล้า

ใครเสพเข้าเต็มที่ย่อมมีหวัง

หนึ่งเสียทรัพย์ฉิบหายขายเรือนรัง

สองอาจพังเหตุทะเลาะเพราะมึนเมา

สามเกิดโรคแรงร้ายหลายสถาน

สี่ถูกประจานหน้าม่อยเที่ยวหงอยเหงา

ห้าเปลื้องผ้าไม่อายหญิงชายเมา

หกโง่เขลาหมดท่าปัญญาทราม

๒. เที่ยวกล�งคืนคือการเที่ยวไปในตรอกในช่องในซอยต่างๆเวลากลางคืนด้วยความ

คึกคะนองเยี่ยงชายหนุ่มผู้ประมาทมัวเมามีโทษไม่น้อยกว่า๖อย่าง

ยามค ำาคืนเที่ยวไปในตรอกซ่อง

มีแต่ต้องเสียหายหลายสถาน

หนึ่งไม่รักษาตัวกลั้วภัยพาล

สองใจซ่านไม่สมัครรักษ์ลูกเมีย

สามไม่มีใจข้องครองทรัพย์สิน

Page 87: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๕

สี่ถูกติฉินสงสัยเป็นภัยเสีย

ห้ามักถูกใส่ความโทษลามเลีย

หกอ่อนเพลียลำาบากทุกข์มากนัก

๓. เที่ยวดูก�รเล่น คือ การเที่ยวดูมหรสพ การเล่นรื่นเริงประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง

ความกำาหนัดลุ่มหลงมัวเมาเพลิดเพลิน ดูแล้วก็ติดใจ อยากไปดูอีก มีมหรสพที่ไหนก็ไปที่

นั่นเมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีแต่เสียเช่นเสียเวลาทำางานเสียเวลาพักผ่อนหลับนอนเสียค่าพาหนะ

เสียค่าผ่านประตู เสียค่าของกินจุบจิบ ดูคนเดียวไม่สนุก ต้องมีเพื่อนด้วยต้องจ่ายค่าต่าง ๆ

ให้เพื่อนด้วย เพื่อนเพศเดียวกันไม่สนุก ต้องมีเพื่อนต่างเพศก็ต้องเสียทรัพย์พิเศษต่อไปอีก

แม้เสียทรัพย์มากก็ไม่เสียดาย เพราะผีการเล่นเข้าสิงอยู่ในจิตเสียแล้วจึงอดไม่ได้ มีการเล่น

ที่ไหนพอจะไปดูได้ก็ไป จึงต้องมีโทษเสียหายหลายแห่ง ตามจำานวนที่เที่ยวไปดูไม่น้อยกว่า

๖แห่ง

ไปเที่ยวดูการเล่นเป็นเหตุชั่ว

จิตเมามัวหลงใหลไปทุกหน

หนึ่งฟ้อนรำาระบำารื่นชื่นกมล

สองมีคนขับร้องต้องไปฟัง

สามดีดสีตีเป่าดูเข้าท่า

สี่เสภาเสนาะจิตไม่ผิดหวัง

ห้าเพลงมีที่ไหนชอบใจจัง

หกกระทั่งเถิดเทิงรื่นเริงรมย์

๔. เล่นก�รพนันคือการเล่นพนันขันต่อมิได้มีเสียทรัพย์เช่นเล่นไพ่เล่นโปเล่นม้าเล่นมวย

เล่นหวยเล่นเบอร์เป็นต้นมีโทษไม่น้อยกว่า๖อย่าง

การเล่นพนันมีฤทธิ์ใครติดแล้ว

ย่อมไม่แคล้ววอดวายเสียหายใหญ่

หนึ่งเมื่อชนะเพื่อนปองจองเวรภัย

สองเมื่อแพ้เสียใจไปอีกนาน

สามเสียทรัพย์ยับสิ้นดินไม่เหลือ

Page 88: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๖

สี่คนไม่เชื่อถ้อยคำาทีพรำาขาน

ห้าถูกตำาหนิติฉินหมิ่นประจาน

หกแต่งงานได้ยากมากคนชัง

๕. คบคนชั่วเป็นมิตร คือ ร่วมพรรคร่วมพวกกับคนพาลเกเร ย่อมถูกคนชั่วชักจูงไปในทาง

ชั่วมีโทษตามบุคคลที่คบไม่น้อยกว่า๖อย่าง

คบคนชั่วเป็นมิตรผิดถนัด

สารพัดฉิบหายหลายวิถี

หนึ่งนำาเป็นนักพนันบั่นชีวี

สองนำาให้ริคบชู้ผิดคู่ครอง

สามนำาเป็นขี้เมาเผาทรัพย์สิน

สี่นำาปลิ้นปลอกพร้อมปลอมสิ่งของ

ห้านำาลวงซึ่งหน้าท่าขู่มอง

หกให้ลำาพองหัวไม้ไส้ระกำา

๖. เกียจคร้�นทำ�ก�รง�น คือ ไม่ขยันทำาการงานตามเวลาและหน้าที่ปล่อยงานให้ล่วงเลย

เวลาคั่งค้างอากูล ทำาไม่ให้เหมาะเจาะ ไม่ทำา หรือทำาเยาะแหยะย่อหย่อน ชอบนอนตาม

สบายในกลางวัน ไม่ขยันทำาในกลางคืน พระอาทิตย์ไม่โผล่ทอแสงแยงตาก็หาลุกขึ้นไม่ เขา

ปลุกให้ลุกขึ้นทำางานแต่เช้าก็กล่าวอ้างว่า หนาวนัก กระดูกจะแตกอยู่แล้วพวกแกไปก่อน

เถอะฉันจะไปทีหลังแล้วก็นั่งผิงไฟไม่ยอมทำางานนี้เป็นตัวอย่างของคนเกียจคร้านชอบอ้าง

เลศแล้วไม่ทำางานเมื่อบุคคลมัวประมาทมักอ้างเลศแบบนักเลงอยู่อย่างนี้ทรัพย์ที่ยังไม่เกิด

ย่อมไม่เกิดขึ้นที่เกิดมีอยู่แล้วย่อมจะเสื่อมสิ้นไปก็ไม่อาจตั้งตัวได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า

อติสีตำอติอุณฺหำ อติสายมิทำอหุ

อิติวิสฏฺฐกมฺมนเตอตฺถาอจฺเจนฺติมาณเว

ประโยชน์คือทรัพย์ย่อมล่วงเลยบุคคลผู้มักอ้างเลศว่าหนาวนัก

ร้อนนักเป็นต้นแล้วละทิ้งการงาน

Page 89: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๗

จึงเป็นอันว่า ผู้เกียจคร้านทำาการงานมีโทษคือ ยากจน เพราะมัวอ้างเลศไม่น้อย

กว่า๖อย่าง

คนเกียจคร้านครวญครางมักอ้างเหตุ

เอาเป็นเลศงดงานพาลไถล

หนึ่งหนาวนักกระดูกจักแตกหักไป

สองไม่ไหวร้อนเกินเดินก็เพลีย

สามยังเช้ามืดเกินเดินไม่เห็น

สี่ย่ำาเย็นมากแล้วแก้วตาเสีย

ห้าหิวนักจักตายกายอ่อนเพลีย

หกละเหี่ยแทบวายกระหายนัก

Page 90: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๘

ธรรมที่น่�สนใจ เพื่อพัฒน�ตน

จักรวรรดิวัตร ๑๒

ธรรมะ อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำาหรับพระมหาจักรพรรดิ พระราชาเอกใน

โลก ทั้งนี้โดยพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชน ทรงถือและอาศัยธรรมะข้อนี้เป็นธงชัย

อันมี๑๒ประการคือ

๑)ควรอนุเคราะห์คนในราชสำานักและคนภายนอกให้มีความสุขไม่ปล่อยปะ

ละเลย

๒)ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น

๓)ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์

๔)ควรเกื้อกูลพราหมณ์คหบดีและคหบดีชนคือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ใน

เมือง

๕)ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท

๖)ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล

๗)ควรจักรักษาฝูงเนื้อนกและสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์

๘)ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรมและชักนำาด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศล

สุจริต

๙)ควรเลี้ยงดูคนจนเพื่อมิให้ประกอบการทุจริตกุศลและอกุศลให้แจ้งชัด

๑๐)ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาปกุศลและอกุศลให้แจ้งชัด

๑๑)ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ

๑๒)ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้

Page 91: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๗๙

ร�ชสังคหวัตถุ ๔

พระราชจริยานุวัตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงเคราะห์ยึดหน่วงนำาใจประชาชนมี

๑.สสฺสเมธความที่ทรงพระปรีชาในการบำารุงธัญญาหารให้บริบูรณ์

๒.ปุริสเมธความที่ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี

๓.สมฺมาปาสความที่ทรงพระปรีชาในการบำาบัดทุกข์บำารุงสุขของราษฎร

๔.วาจาเปยฺยหรือวาชเปยการตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้นโดยควร

แก่ฐานะและภาวะธรรม

อกุศลมูล ๓

อกุศลมูลคือรากเหง้าของความชั่วมี๓ประการคือ

๑)โลภะ ความอยากได้

๒)โทสะความคิดประทุษร้ายเขา

๓)โมหะ ความหลงไม่รู้จริง

อธิษฐ�นธรรม ๔

อธิษฐานธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิจ เพื่อเป็นเครื่องน้อมนำา

จิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริงรู้จักเสียสละและบังเกิดความสุขมี๔ประการ

๑.ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้

๒.สัจจะความจริงคือประพฤติสิ่งไรก็ให้ได้จริงไม่ทำาอะไรจับจด

๓.จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือสละความเกียจคร้าน ความ

หวาดกลัวต่อความทุกข์ยากลำาบาก

๔.อุปสมะสงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือยับยั้งจิตใจมิให้ปันป่วนไป

ตามความพอใจรักใคร่และความขัดเคืองเป็นต้น

Page 92: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๐

นิวรณ์ ๕

นิวรณธรรมเป็นธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีมี๕ประการ

๑.กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่พอใจมีในรูปเป็นต้น

๒.พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

๓.ถีนมิทธะความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม

๔.อุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและรำาคาญ

๕.วิจิกิจฉาความลังเลไม่ตกลงใจได้

ผู้จำากัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้ย่อมได้อานิสงส์๕ประการคือไม่ข้องติดอยู่ในกาย

ตนหรือผู้อื่นจนเกินไป๑มีจิตเมตตาประกอบ๒มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี๓มี

ความพินิจและอดทนในการงาน๔และตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง๕

เวส�รัชชกรณธรรม ๕

เวสารัชชกรณธรรมเป็นธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้นมี๕ประการคือ

๑)ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ

๒)ศีลประพฤติกายวาจาให้เรียบร้อย

๓)พาหุสัจจะความเป็นผู้ศึกษามาก

๔)วิริยารัมภะตั้งใจทำาความพากเพียร

๕)ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้

อริยทรัพย์ ๗

อริยทรัพย์คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐมี๗ประการคือ

๑)ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ

๒)ศีลประพฤติกายวาจาให้เรียบร้อย

๓)หิริความละอายต่อบาปทุจริต

๔)โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต

๕)พาหุสัจจะความเป็นผู้ศึกษามากเคยได้ยินได้ฟังมามาก

Page 93: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๑

๖)จาคะการให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้

๗)ปัญญาความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นโทษ

สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรมเป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี(ผู้ประพฤติชอบ)มี๗ประการ

๑.ธัมมัญญุตาความเป็นผู้รู้จักเหตุ

๒.อัตถัญญุตาความเป็นผู้รู้จักผล

๓.อัตตัญญุตาความเป็นผู้รู้จักตน

๔.มัญตัญญุตาความเป็นผู้รู้จักประมาณ

๕.กาลัญญุตาความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร

๖.ปุริสัญญุตาความเป็นผู้รู้จักสังคม

๗.ปุคคลปโรปรัญญุตาความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคน

พระพุทธโอว�ท ๓

โอวาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือน หลัก หรือ รากแก้วของ

พระพุทธศาสนาได้แก่เว้นจากทุจริตประกอบสุจริตและทำาใจตนให้บริสุทธิ์สะอาด

ไตรสิกข� คือข้อที่ต้องสำาเหนียก๓ประการคือศีลสมาธิและปัญญา

Page 94: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๒

Page 95: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๓

ภ�ค ๔

ทักษะชีวิต พิชิตตน

Page 96: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๔

คว�มรักเหมือนโรค� บันด�ลต�ให้มืดมน

ไม่ยินและไม่ยล อุปสัคคะใดใด

คว�มรักเหมือนโคถึก กำ�ลังคึกผิขังไว้

ก็โลดจ�กคอกไป บ่ยอมอยู่ในที่ขัง

ถึงห�กจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำ�ลัง

ยิ่งห้�มก็ยิ่งคลั่ง บ่หวลคิดถึงเจ็บก�ย

มัทนะพ�ธ�

พระร�ชนิพนธ์ ร.๖

Page 97: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๕

คุณบิด� – ม�รดร

พระคุณพ่อเลิศฟ้ามหาสมุทร

พระคุณพ่อสูงสุดมหาศาล

พระคุณพ่อเลิศหล้าสุธาธาร

ใครจะปานพ่อฉันนั้นไม่มี

เปรียบพ่อ–แม่เช่นโคมทองของชีวิต

ช่วยชี้ทิศนำาทางช่วยสร้างสรรค์

ให้ความรักให้ความรู้ชูชีวัน

ช่วยปลอบขวัญจนขาดใจสิ้นวายปราณ

(จากหนังสือพ่อพระในบ้าน)

คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา

คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง

คุณพี่พร่างศิขรา เมรุมาศ

คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร

(ประชุมโคลงโลกนิติ)

เมื่อล้มกลิ้งใครหนอวิ่งเข้ามาช่วย

และปลอบด้วยถ้อยคำาที่รับขวัญ

หรือจูบที่เจ็บชะมัดปัดเป่าพลัน

ท่านผู้นั้นที่แท้แม่ฉันเอง

(พระราชธรรมนิเทศ)

Page 98: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๖

เมื่อรักวัวกลัวทำาไมท่านให้ผูก

ถ้ารักลูกก็อย่าปล่อยค่อยว่าขาน

หากพ่อแม่พะนอลูกไม่ถูกกาล

ก็เหมือนหว่านพืชฉิบหายในสกุล

(สุนทรภู่)

ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ เมียตน

เมียแล่พันฤาดล แม่ได้

ทรงครรภ์คลอดเป็นคน ฤาง่ายเลยนา

เลี้ยงยากนักท้าวไท้ ธิราชผู้มีคุณ

(ลิลิตพระลอ)

แม่เอ๋ยเคยสอนให้อ่อนหวาน พ่อเอ๋ยสอนให้หาญให้เข้มแข็ง

แม่เอ๋ยสอนให้สันทัดรู้จัดแจง พ่อเอ๋ยสอนความแกร่งแห่งจิตใจ

แม่เอ๋ยสอนให้ทำากรรมถูกต้อง พ่อเอ๋ยสอนสอดส่องในนิสัย

แม่เอ๋ยให้ใฝ่ธรรมละกรรมใด พ่อเอ๋ยให้สัตย์ซื่อถือวาจา

แม่เอ๋ยสอนให้รักในศักดิ์หญิง พ่อเอ๋ยให้ทำาสิ่งยิ่งคุณค่า

แม่เอ๋ยสอนทำาดีมีเมตตา พ่อเอ๋ยให้รักษาคุณค่าคน

แม่เอ๋ยพรำายำาสั่งเฝ้าฝังปลูก พ่อเอ๋ยสอนสั่งลูกปลูกเหตุผล

แม่เอ๋ยให้ปัญญารักษาตน พ่อเอ๋ยเฝ้าฝึกฝนจนลูกดี

แม่เอ๋ยให้รักนวลสงวนศักดิ์ พ่อเอ๋ยสอนให้รักในศักดิ์ศรี

แม่เอ๋ยแม่ของลูกผูกชีวี พ่อเอ๋ยพ่อลูกไม่มีที่ลืมคุณ

(วันเนาว์ยูเด็น)

แม่แม่แม่คำานี้มีความหมาย มีพระคุณมากมายหลายสถาน

แม่เป็นได้หลายสิ่งหลายประการ เป็นธนาคารเป็นพระพรหมเป็นร่มไทร

เป็นผู้ให้กำาเนิดเกิดลูกรัก เป็นผู้ให้ที่พักพิงอาศัย

เป็นผู้ให้ความอบอุ่นทั้งกายใจ เป็นผู้ให้อะไรไม่รามือ

Page 99: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๗

ลูกเจ็บไข้แม่ก็ให้การรักษา ลูกโตมาแม่ก็ส่งเรียนหนังสือ

ลูกต้องการตำาราแม่หาซื้อ ลูกปรึกษาหารือแม่ยินดี

ลูกคนใดกระทำากรรมแก่แม่ สุดเลวแท้ชั่วช้าสิ้นราศี

ลูกด่าแม่ลูกตีแม่ลูกกาลี ลูกไม่ดีทำาแม่ชำานำาตาริน

นำาตาแม่รินไหลเมื่อลูกร้าย นำาตาแม่เป็นสายเมื่อลูกหมิ่น

นำาตาแม่หลั่งลงรดแผ่นดิน เมื่อได้ยินลูกเสเพเนรคุณ

โอ้แม่จ๋าพระคุณแม่แผ่ปกเกล้า โอ้แม่จ๋าผู้เฝ้าเข้าเกื้อหนุน

โอ้แม่จ๋าผู้เมตตาผู้การุณ โอ้แม่จ๋าผู้คำาจุนไม่ห่างไกล

ดวงใจแม่สะอาดแท้กว่าทุกสิ่ง ดวงใจแม่สะอาดยิ่งกว่าสิ่งไหน

ดวงใจแม่สะอาดเกินกว่าสิ่งใด ดวงใจแม่มีไว้เพื่อลูกเอย

(ทยาลุ)

สดุดีม�รด�

แม่จ๋า พระคุณนั้นสุดจะหาสิ่งใดเหมือน

นำาใจแม่โชติช่วงดั่งดวงเดือน เตือนให้ลูกกตัญญูมิรู้วาย

รักอะไรหรือจะแท้เท่าแม่รัก ผูกสมัครสายเลือดไม่เหือดหาย

รักอื่นยังประจักษ์ว่ารักกลาย จืดจางง่ายไม่จีรังดั่งมารดา

ตั้งแต่เล็กอุปถัมภ์คำาชูลูก ให้ความสุขถนอมนักเลี้ยงรักษา

ยามกินแม่เคยป้อนโภชนา ยามนิทรากล่อมเห่ใส่เปลไกว

ยามเจ็บไข้ยากเย็นแม่เป็นทุกข์ ลูกมีสุขแม่จึงปลื้มลืมทุกข์ได้

รักลูกแสนแหนหวงเหมือนดวงใจ ตีด่าไปก็เพื่อให้ลูกได้ดี

เฝ้าอบรมจรรยามารยาท ไม่ประมาทกลัวลูกรักจักเสียศรี

ให้เล่าเรียนวิชาหาความดี สุดที่จะกล่าวสรรพรรณนา

จะเปรียบเทียบสิ่งใดย่อมไม่ได้ พระคุณแม่นั้นไซร้มากนักหนา

เมื่อแม่อยู่อุ่นใจลูกทุกเวลา ได้เห็นหน้าแสนชื่นระรื่นใจ

ยามสายัณห์ดวงตะวันเลื่อนลาลับ พรุ่งนี้จะกลับขึ้นมาใหม่

อกเอ๋ยกรรมจำาพรากแม่จากไป สักเท่าไรแม่จึงฟืนคืนชีวิต

Page 100: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๘

สุดที่จะแลเหลียวเปล่าเปลี่ยวนัก กำาพร้าแม่ลูกรักว้าเหว่ใจ

แม่จ๋า เลี้ยงลูกมาตั้งแต่น้อยจนใหญ่

แสนลำาบากยากเย็นเป็นพ้นไป บุญคุณใครฤาจะเท่าคุณมารดา

โอ้ว่ามฤตยูเจ้าเอ๋ย กระไรเลยโหดร้ายไม่ไว้หน้า

ยังมิได้สนองคุณที่มีมา ให้สมกับกรุณาแก่ลูกนี้

ลูกขอให้วิญญาณของแม่นั้น สู่สวรรค์ชั้นฟ้าเกษมศรี

พระคุณแม่จะมั่นไว้ในฤดี กว่าชีวีลูกจะลับดับตามเอยฯ

(ป.อินทรปาลิต)

พ่อแม่ก็แก่เฒ่า จำาจากเจ้าไม่อยู่นาน

จะพบจะพ้องพาน เพียงเสี้ยววารของคืนวัน

ใจจริงไม่อยากจาก เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน

แต่ชีพมิทนทาน ย่อมร้าวรานสลายไป

ขอเถิดถ้าสงสาร อย่ากล่าวขานให้ชำาใจ

คนแก่ชะแรวัย คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน

ไม่รักก็ไม่ว่า เพียงเมตตาช่วยอาทร

ให้กินและให้นอน คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ

เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย

ร้องให้ยามป่วยไข้ ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน

เฝ้าเลี้ยงจนโตใหญ่ แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน

หวังเพียงจะได้ผล เติบโตจนสง่างาม

ขอโทษถ้าทำาผิด ขอให้คิดทุกทุกยาม

ใจแท้มีแต่ความ หวังติดตามช่วยอวยชัย

ต้นไม้ที่ใกล้ฝัง มีหรือหวังอยู่นานได้

วันหนึ่งคงล้มไป ทิ้งฝังไว้ให้วังเวง

(อ.สุนทรเกตุ)

Page 101: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๘๙

ก�รอยู่ร่วมกันอย่�งมีคว�มสุข

เราต้องมีสติรู้ทันความโกรธรู้ว่าความโกรธเกิดขึ้นแล้วสิ่งใดหรือใครทำาให้เรา

โกรธเมื่อโกรธแล้วใจเราเป็นอย่างไรเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วสงบหรือเร่าร้อนวุ่นวาย

พิจารณาให้รู้ให้เข้าใจแล้วพยายามที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเราด้วย

ปัญญาเมื่อดับความโกรธได้ให้พิจารณามองผู้อื่นในแง่ดีดังที่ว่าทุกคนย่อมแตกต่างกัน

แม้ว่ามือที่วาดลงบนกระดาษยังไม่เท่ากันดังนั้นหากจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในที่นี้...

ในสังคม...ในโลก...จงมองแต่แง่ดีเถิด

ขอให้ผู้สามเณรสำารวจตนเองว่า“ใช่”หรือ“ไม่ใช่”โดยขีดเครื่องหมาย√ใต้ข้อความ

ใช่ไม่ใช่

๑.คิดว่าตนเองมีความสามารถ O O

๒.มองตนเองว่าเป็นคนมีค่า O O

๓.มักเกิดความเครียดบ่อยๆ O O

๔.โยนความผิดให้คนอื่นในบางครั้ง O O

๕.ไม่กล้าเป็นผู้นำา O O

๖.โมโหหรือไม่พอใจผู้อื่นบ่อยครั้ง O O

๗.ขี้อายไม่กล้าแสดงตน O O

๘.ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ดี O O

๙.ตัดสินใจด้วยตนเองได้ถูกต้อง O O

๑๐.ถ้าต้องการอะไรจะพยายามทำาจนสำาเร็จ O O

๑๑.คิดว่าตนเองมีความดีมากกว่าความไม่ดี O O

๑๒.ตั้งใจว่าชีวิตนี้จะเอาดีให้ได้ O O

Page 102: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๐

ดังนั้น บุคคลแต่ละคนในสังคมนี้ย่อมมีความแตกต่างกันไป การที่แต่ละคน

สามารถค้นหาและเข้าใจตนเอง เช่นรู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการและสิ่งที่ไม่

ต้องการของตนเอง จะช่วยให้ควบคุมตนเอง เวลาเผชิญหน้ากับความเครียด ความโกรธ

หรือความขัดแย้งต่างๆรวมทั้งการที่เราสามารถรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้นจะส่ง

ผลให้เราสามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเราและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

Page 103: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๑

ก�รฝึกทักษะก�รตัดสินใจ และแก้ปัญห�

การตัดสินใจและการแก้ปัญหา เป็นกลไกที่ทำาให้เกิดการเคลื่อนของการดำาเนิน

ชีวิตหากการทำาสิ่งใดเมื่ออยู่ในภาวะที่ต้องตัดสินใจแล้วไม่สามารถตัดสินใจได้จะทำาให้ไม่

สามารถเคลื่อนหรือก้าวไปได้

การตัดสินใจและแก้ปัญหาประกอบด้วยการวิเคราะห์๔ด้านคือ

๑. การวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการพิจารณาถึงสภาพของสถานการณ์ หรือ

ปัญหาที่ต้องแก้ไข หากมีหลายปัญหาที่ต้องดำาเนินการ เราต้องจัดลำาดับความสำาคัญ เพื่อที่

จะดูว่าต้องทำาอะไรก่อนอะไรหลัง

๒.การวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งปัญหาเพื่อการแก้ไขปัญหาให้ตรงสาเหตุ

๓.การวิเคราะห์วิธีแก้ปัญหาปัญหาหนึ่งอาจมีทางออกหลายทางต้องวิเคราะห์

แล้วเลือกวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา

๔.การวิเคราะห์วิธีป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นและเตรียมการแก้ไขปัญหาใน

อนาคตปัญหาบางอย่างเราอาจทราบว่าหากพบเจอสภานการณ์แบบนี้ต้องเกิดปัญหาขึ้น

อย่างแน่นอนต้องเตรียมแก้ปัญหาไว้เมื่อปัญหานั้นเกิดขึ้นจะแก้ไขได้ทันท่วงที

ขอให้สามเณรลองนั่งหลับตาพินิจพิจารณานึกย้อนไปถึงการดำาเนินชีวิตของเรา

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแล้วปฏิบัติดังนี้

๑. ขอให้ทุกคนเขียนปัญหาที่ตนเองได้พบมาแล้ว หรืออาจเป็นปัญหาที่กำาลังเกิด

ขึ้นในปัจจุบันที่ทำาให้กลุ้มใจหรือมีความทุกข์โดยให้เขียนคนละ๑ปัญหา

ปัญหาที่พบคือ.......................................................................................

..............................................................................................................................................

..............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

Page 104: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๒

๒.จากนั้นให้ทุกคนเขียนวิธีแก้ปัญหาของตนเอง

แก้ได้ โดย...............................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

แก้ไม่ได้เพราะ.......................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

..............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

มีสถานการณ์หลายสถานการณ์ท่ีเป็นปัญหาเก่ียวข้องกับการที่สามเณรถูกชักชวน

ล่อลวงให้ทำาในสิ่งที่ผิด จากบุคคลใกล้ชิด หรือคนแปลกหน้า หากสามเณรได้รับการฝึก

ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่ถูกต้อง จะทำาให้สามเณรสามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา

และมีแนวทางปฏิบัติสำาหรับตนเองและเพื่อนเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงเหล่านี้ได้

ดังนั้น เพื่อให้สามเณรเข้าใจ ลองอ่านกรณีศึกษาต่อไปนี้ แล้วลองตัดสินใจ แก้ไข

ปัญหาโดยเลือกทางที่ดีที่สุด

กรณีศึกษ� : น�ยนที บุญนำ�พ�

นายนทีบุญนำาพาเป็นนักเรียนจ่าชั้นปีที่๑อายุ๑๙ปีแม่ของเขาหย่ากับพ่อ

ไปมีสามีใหม่นทีอาศัยอยู่กับพ่อซึ่งมีอาชีพรับจ้างทวงหนี้พ่อมีรายได้ไม่แน่นอนต่อมา

พ่อมีภรรยาใหม่และมีลูกอีก๑คนแม่เลี้ยงมักยักยอกเงินบางส่วนของพ่อไว้ไม่ให้นทีนที

มักมีปากเสียงทะเลาะวิวาทกับแม่เลี้ยงบ่อยๆเวลาที่เขาขอเงินแม่

Page 105: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๓

เลี้ยงไปทำากิจกรรมที่โรงเรียนหรือใช้จ่ายส่วนตัวที่จำาเป็นจนเพื่อนๆต่างรู้ว่านทีมีปัญหา

เรื่องเงินเป็นประจำา

วันหนึ่งกิตติพงศ์เพื่อนชั้นปีเดียวกับนทีแนะนำาให้นทีหาเงินโดยหลอกนักศึกษา

หญิงไปร่วมหลับนอน และถ่ายวีดิโอเทปเพื่อรีดไถเงิน และชักชวนให้ขายและเสพยาบ้า

เพื่อให้มีเงินมาแต่งตัวให้หล่อและเพิ่มพลังทางเพศจะได้มีเงินใช้จ่ายโดยไม่ต้องขอจากแม่

เลี้ยง ใจหนึ่งนทีก็อยากเอาชนะแม่เลี้ยง แต่อีกใจหนึ่งนทีก็รู้ว่าสิ่งที่กำาลังจะกระทำาเป็นสิ่ง

ไม่ดี

ถ้าสามเณรเป็นนทีจะตัดสินใจแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

๑)กำาหนดปัญหาปัญหาของนทีคือ..............................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

๒)สาเหตุของปัญหาคือ..................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

กำาหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาของนทีมี..............ทางเลือกคือ

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

๓)วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกทุกทางเลือก

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

Page 106: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๔

๔)นทีควรตัดสินใจเลือกทางเลือก

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

๕)การแก้ไขข้อเสียของทางเลือกที่ตัดสินใจ

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

การแก้ไขก็ต้องถือหลักของพระพุทธเจ้า ที่ท่านวางหลักไว้ให้เราพิจารณา ๔

ประการ คือ รู้ตัวปัญหา รู้เหตุของปัญหารู้ว่าปัญหาเป็นเรื่องแก้ได้ แล้วแก้ได้โดยวิธีใด นั้น

เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ต่อไป ต้องศึกษาต่อไป ถ้าเรารู้เราเข้าใจอย่างนี้ เราก็จะแก้ปํญหาได้

ปัญหานั้นมันก็หลุดไปเปลาะหนึ่งแล้ววันอื่นมีปัญหาอย่างอื่นเราก็ทำาอย่างนั้นคิดอย่างนั้น

อย่าไปเที่ยวโทษสิ่งใดในภายนอก อย่าไปโทษดวงชะตาราศีอะไรต่ออะไร แต่โทษ

ตัวเองเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องนึกว่า“เราคงจะทำาผิดอะไรสักอย่างแล้ว”คงจะคิดผิดพูดผิด

ทำาผิดคบคนผิดหรือไปสู่สถานที่ผิดจึงได้เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นแล้วก็ค้นหาที่ตัวนั่นแหละแก้ไข

ที่ตัวนั่นแหละ

ดังนั้น เด็กและเยาวชนเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับตนเอง ต้องวิเคราะห์ไตร่ตรองให้

รอบคอบหากไม่มั่นใจว่าเราตัดสินใจถูกหรือไม่ควรปรึกษาผู้ใหญ่พ่อแม่ครูอาจารย์ฯลฯ

เปลวเทียนละลายแท่ง เพื่อเปล่งแสงอันอำาไพ

ชีวิตมลายไป เหลือสิ่งใดทิ้งไว้แทน

ชีวิตไร้สาระขณะนี้ ยังไม่สายเกินที่จะแก้ไข

Page 107: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๕

แม้ชีวิตเหลือน้อยลงเพียงใด ควรภูมิใจที่ได้ทำาดีทัน

มีคนเห็นหรือไม่เป็นไรเล่า ควรเลือกเอาความดีที่สร้างสรรค์

มีใครเห็นหรือไม่ไม่สำาคัญ ใจเรานั้นรู้ว่าดีเท่านี้พอ

Page 108: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๖

Page 109: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๗

ภ�คผนวก

Page 110: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๘

พฤษภก�สร อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำ�คัญหม�ยในก�ยมี

นรช�ติว�งว�ย มล�ยสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลก�

สมเด็จกรมพระปรม�นุชิตชิโนรส

Page 111: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๙๙

คำ�อนุโมทน�วิธี

อนุโมทน�วิธี

สัพพีติโยวิวัชชันตุ สัพพะโรโควินัสสะตุ

มาเตภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโกภะวะ

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจังวุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโรธัมมาวัฑฒันติ อายุวัณโณสุขังพะลังฯ

อ�ฏ�น�ฏิยะปะริตตัง (ย่อ)

สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต

สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโตจะตุวังภะวะ

สัพพีติโยวิวัชชันตุ สัพพะโรโควินัสสะตุ

มาเตภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโกภะวะ

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจังวุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโรธัมมาวัฑฒันติ อายุวัณโณสุขังพะลังฯ

Page 112: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๐๐

คำาพิจารณาอาหาร

(นำา)หันทะมะยังตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปิณฑะปาตังภะณามะเส

(รับ)ปะฏิสังขาโยนิโสปิณฑะปาตังปะฏิเสวามิ,เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว

ฉันบิณฑบาต,

เนวะทะวายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

นะมะทายะ, ไม่ให้เป็นเพื่อความเมามันเกิดกำาลังพลัง

ทางกาย,

นะมัณฑะนายะ. ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,

นะวิภูสะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะอิมัสสะกายัสสะฐิติยา, แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ, เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา, เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำาบากทางกาย,

พรัหมะจะริยานุคคะหายะ, เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติปุราณัญจะเวทะนังปะฏิหังขามิ, ด้วยการทำาอย่างนี้,เราย่อมระงับเสียได้

ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว,

นะวัญจะเวทะนังนะอุปปาเทสสามิ, และไม่ทำาทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาตฺราจะเมภะวิสสะติอะนะวัชชะตาจะผาสุวิหาโรจาติ,

อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้ด้วย

ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,และความเป็นอยู่

โดยผาสุกด้วย,จักมีแก่เราดังนี้

Page 113: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๐๑

คำ�ขอขม�กรรม

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะฯ

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะฯ

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะฯ

กายกรรม๓วจีกรรม๔มโนกรรม๓กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้สบประมาทพลาด

พลั้งต่อบิดามารดาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้มีอุปการะคุณทั้งหลายทั้งต่อหน้าก็ดีลับหลัง

ก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี บัดนี้ข้าพเจ้าได้กระทำาการขอ

ขมาลาโทษลับหลังต่อหน้าพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ขอบิดามารดาครูอุปัชฌาย์

อาจารย์ผู้มีอุปการะคุณทั้งหลายจงอดโทษอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าไม่ให้เป็นบาปเป็น

เวรเป็นกรรมต่อไปในภายภาคหน้าด้วยเทอญฯ

คำ�ล�สิกข�

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

ทะสะสิกขังปัจจักขามิ ข้าพเจ้าขอลาศีล๑๐ไว้แต่เพียงเท่านี้

พุทธะมามะกะกะโรติ ข้าพเจ้าขอเป็นพุทธมามกะ

และถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

Page 114: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๐๓

บรรณ�นุกรม

หนังสือ – เอกส�ร

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,สมเด็จพระมหาสมณเจ้า.(๒๕๔๕).นวโกวาทหลักสูตร

นักธรรมชั้นตรี(พิมพ์ครั้งที่๗๙).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช-

วิทยาลัย.

กระทรวงวัฒนธรรม.กรมการศาสนา.(๒๕๕๓).หลักสูตรศาสนศึกษาสำาหรับผู้บวช

ระยะสั้น(๓๐วัน).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

(ร.ส.พ.).

แก้วชิดตะขบ.(๒๕๔๖).อธิบายวิชาธรรมสำาหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี.

กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา.

เทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี,สมเด็จพระ.(๒๕๓๑).พุทธศาสนสุภาษิต

คำาโคลง.กรุงเทพฯ:มูลนิธิธรรมกาย.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต).(๒๕๔๖).พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวล

ศัพท์(พิมพ์ครั้งที่๑๐).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสอินฺทปญฺโญ.(๒๕๔๒).หัวข้อธรรมในคำากลอน(พิมพ์ครั้งที่๒).กรุงเทพฯ:

สำานักพิมพ์สุขภาพใจ.

วัดมหาโลก.สาระธรรมจากวัดมหาโลก.(ม.ป.ป.).ม.ป.ท.:ม.ป.พ.

สุชีพปุญญานุภาพ.(๒๕๓๙).พระไตรปิฎกฉบับสำาหรับประชาชน(พิมพ์ครั้งที่๑๖).

กรุงเทพฯ:คณะเทิดทูนธรรม.

สุวิทย์มูลคำา.(๒๕๔๒).ครบเครื่องเรื่องวิทยากร(พิมพ์ครั้งที่๔).กรุงเทพฯ:บริษัทที.

พี.พริ้นท์จำากัด.

Page 115: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๐๔

Internet

http://www.oknation.net/blog/hrd/2009/09/23/entry-1

http://sergeant.fix.gs/index.php?topic=98.0

http://www.oknation.net/blog/Nittaya/2009/02/13/entry-9

http://www.fact.or.th/fact/index.php/2008-12-15-07-26-59/175--10-

.html

http://navakovartvinaya.com/11/กัณฑ์ที่-๙-เสขิยวัตร-๗๕.html

http://www.thammapedia.com/dhamma/parean.php

http://www.nkgen.com/buddhist/buddhist.htm

http://atcloud.com/stories/75713

http://never-say.exteen.com/20090122/entry-6

Page 116: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

พระครูสังวรญาณวงศ์ ๕,๐๐๐บาท

พระธีริสิษฐ์จนฺทสาโร ๒,๐๐๐บาท

คุณพงศกรแสงนาค ๒,๐๐๐บาท

คุณมัลลิกาล่องสกุล ๑,๐๐๐บาท

คุณธีรสินชัยเลิศประภาภรณ์ ๑,๐๐๐บาท

คุณบุญมาศรีสมนึก ๑,๐๐๐บาท

คุณชยุตกิติวัฒนากร ๑,๐๐๐บาท

คุณสมจิตรกิติวัฒนากร ๑.๐๐๐บาท

คุณสมพรกิติวัฒนากร ๑,๐๐๐บาท

คุณสมควร–คุณสมศรีอุดมเดช ๑,๐๐๐บาท

คุณอัครเดชภาพนำา ๑.๐๐๐บาท

คุณนาวินไชยรัตน์ ๑,๐๐๐บาท

คุณศศินรีย์พระบุญเรือง ๑,๐๐๐บาท

คุณสุรางค์ศิริรัตน์ ๑,๐๐๐บาท

คุณสุวัฒน์–คุณมะลิวัลย์กิ่งแก้ว ๑,๐๐๐บาท

คุณวิภาวรรณพันธ์งาม ๕๐๐บาท

คุณรัชฎาพรเลี้ยงสว่าวงศ์ ๕๐๐บาท

คุณปัทมาทองประไพ ๕๐๐บาท

คุณจัณท์จริณท์นันต์นวรัตนกุล ๕๐๐บาท

คุณเซี่ยมไน้แซ่ตั้ง ๕๐๐บาท

คุณสมบูรณ์กิติวัฒนากร ๕๐๐บาท

คุณธนกิจธีระกาญจน์ ๕๐๐บาท

คุณณัฐวิวัฒน์ธัญนวณัฐฐ์ ๕๐๐บาท

คุณฐิตินันท์แดงงาม ๕๐๐บาท

พระพงศธรกมฺมสุทฺโธวัดราชบรรทม๕๐๐บาท

คุณนวลพรรณรุ่งโรจน์ ๕๐๐บาท

คุณสมจิตเฉิดฉาย ๕๐๐บาท

ผศ.สุรีย์ไวยกุฬา ๕๐๐บาท

คุณสังวรณ์แพดิษฐ ๕๐๐บาท

คุณสำารวย–คุณทองปลิวแพดิษฐ๕๐๐บาท

คุณเยาวลักษณ์กิตติพิชัย ๕๐๐บาท

พ.อ.พิเศษพุทธิชัย–คุณอาภรณ์ ๕๐๐บาท

แสงนาค

คุณมณย์ศักดิ์จันทานุรักษ์ ๔๕๐บาท

คุณศันศนีย์กลิ่นอุบล ๔๕๐บาท

คุณสุพัตราพงศ์กลำา ๔๐๐บาท

คุณจรรยาตีช่วย ๓๐๐บาท

คุณทำาเนียบทองเต็ม ๓๐๐บาท

คุณพัชมณพรหมธนะ ๓๐๐บาท

คุณพิธุอ่อนละมูล ๓๐๐บาท

คุณกิมซุยคุณละเอียดคุณบังอร๓๐๐บาท

คุณนำาอ้อยคุณองอาจคุณบุญเอก

สร่างทุกข์

คุณสมปองศรีชัย ๒๕๐บาท

คุณพรพจน์เหลืองอร่าม ๒๕๐บาท

คุณนิลัมพรบุญสร้าง ๒๕๐บาท

คุณอุทุมพรอุดม ๒๕๐บาท

คุณสนิมชนะพล ๒๐๐บาท

คุณยุทธนาสุนทรเดช ๒๐๐บาท

คุณดวงพรแสงรื่น ๒๐๐บาท

คุณกิติมาสิงห์เกิด ๒๐๐บาท

คุณยงยุทธ์ไม้พันธ์ ๒๐๐บาท

คุณจารุพันธ์เพิ่มพูน ๒๐๐บาท

คุณสุพจน์อินทร์กาย ๒๐๐บาท

ร้านโฟโตมาญดิ์ ๒๐๐บาท

คุณธนิสรเฟืองเกษม ๒๐๐บาท

คุณสุรเชษฐศรีเดช ๒๐๐บาท

คุณวิไลรัตน์ญัตติณรงค์ ๒๐๐บาท

คุณโอฬารสุขสำาราญ ๑๕๐บาท

คุณณัฐนันท์อุดม ๑๕๐บาท

คุณดวงใจเอี่ยมสอาด ๑๐๐บาท

คุณพีรพงษ์วงศ์บุตร ๑๐๐บาท

ร�ยน�มผู้ร่วมสร้�งหนังสือ “คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้”

๑๐๕

Page 117: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

คุณพอเจตน์สันทราย ๑๐๐บาท

คุณราเมศร์อินทรวงศา ๑๐๐บาท

คุณสุธีรดลคำานาง ๑๐๐บาท

คุณบรรจงสวัสดิ์ ๑๐๐บาท

คุณอรวรรณศรีปลั่ง ๑๐๐บาท

คุณมารินทร์เหลืองเลิศวันชัย ๑๐๐บาท

คุณทองดีดังก้อง ๑๐๐บาท

คุณสมฤทัยเธียรไทย ๑๐๐บาท

คุณบุษกรเปลี่ยนสมัย ๑๐๐บาท

คุณวรณัฐสุโฆษสมิต ๑๐๐บาท

คุณละอองดาวธนะสูตร ๑๐๐บาท

คุณกรกมลเอื้อวิวัฒน์สกุล ๑๐๐บาท

คุณมลทิพย์ระวังเหตุ ๑๐๐บาท

คุณอำาภาผ่องใส ๑๐๐บาท

คุณสุพจีนวะมะรัตน ๑๐๐บาท

คุณพสชนันท์ปานใจทัศน์ ๑๐๐บาท

คุณจารุณีจันทรรักษ์ ๑๐๐บาท

คุณวาสนาองค์วงศ์สกุล ๑๐๐บาท

คุณทิพวรรณคงชัย ๑๐๐บาท

คุณมนตรีญาณธรรม ๑๐๐บาท

คุณยุพยงค์สุทธิประภา ๑๐๐บาท

คุณธนิฏฐาไทรทอง ๑๐๐บาท

คุณนิธิกาญจน์สร้อยสุข ๑๐๐บาท

คุณณัฐพรคูหาเรือง ๑๐๐บาท

คุณเชนิยาอนันต์ ๑๐๐บาท

คุณพชรอานมณี ๑๐๐บาท

คุณรชตอานมณี ๑๐๐บาท

คุณเหลี่ยงอนันต์ ๑๐๐บาท

คุณกรองอนันต์ ๑๐๐บาท

คุณเสาวรสชโลธรนฤมิต ๖๐บาท

คุณสุวิมลเฉิดฉิม ๕๐บาท

คุณแพรวาคำาดวง ๕๐บาท

คุณชุติมาศิริพจนาวรรณ ๕๐บาท

คุณรัชนีอินสว่างวงศ์ ๕๐บาท

คุณวนิดาสถิตพรพรหม ๕๐บาท

คุณรังศิญาพรทิพยธร ๕๐บาท

คุณพนมกรแซ่หุ่น ๕๐บาท

คุณพูนสุขศิริวีระเจริญ ๕๐บาท

คุณอดุลย์ไล่ประกอบทรัพย์ ๕๐บาท

คุณนฤมลเงาะอาศัย ๕๐บาท

คุณจิโรจจิรักษา ๒๐บาท

๑๐๖

Page 118: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
Page 119: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

สพฺพท�นำ ธมฺมท�นำ ชิน�ติ

ก�รให้ธรรมย่อมชนะก�รให้ทั้งปวง

สพฺพรสำ ธมฺมรโส ชิน�ติ

รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

Page 120: คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

ดอกบัวงามอร่ามล้นชลธี ล้วนขจีแจ่มแจ้งแถลงไข

แม้เกิดแต่เหง้าตมระทมใจ ครั้นเติบใหญ่สล้างสดปลดราคิน

เฉกเช่นมนุษย์สุดประเสริฐ ล้วนย่อมเกิดดุจบัวหลากสีศิลป์

ฝึกกายใจใสสะอาดเป็นอาจิณ แม้นชีวินเจริญวัยล้วนได้ดี

จนฺทสาโรภิกฺขุ

ประพันธ์