3

Click here to load reader

1.3 กระบวนการกลุ่ม

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 1.3 กระบวนการกลุ่ม

ใบความรู้ที่ 1.3 เรื่อง กระบวนการกลุ่ม

บทน า ในการท าโครงงาน นักเรียนอาจเลือกท าเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มก็ได้ แต่การท างานเป็นกลุ่มมี

ข้อดีตรงที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะ และมีประสบการณ์ในการท างานกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับสภาพชีวิตของนักเรียนทั้งในห้องเรียน และการประกอบอาชีพในอนาคต

กระบวนการกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม (Group Process) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้น

ไป โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกันสู่ความส าเร็จของกลุ่มหรือของงานการลงมือปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวเป็นกระบวนการที่อาศัยการร่วมแรงกาย แรงใจ ความคิดและความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม

ลักษณะของการท างานกลุ่มจะต้องประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ ดังนี้ 1. มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สู่ความส าเร็จร่วมกัน 2. สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการด าเนินงาน 3. มีการร่วมมือประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่ม 4. มีการตัดสินใจร่วมกัน 5. สมาชิกทุกคนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

องค์ประกอบของการท างานกลุ่ม องค์ประกอบของการท างานกลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หัวหน้าโครงงาน หัวหน้าโครงงาน ต้องมีคุณลักษณะต่างๆ มากมายหลายประการซึ่งยากท่ีมีได้ครบถ้วนในบุคคลคน

เดียวกัน อย่างไรก็ตามคุณลักษณะของหัวหน้าโครงงานที่ดีนั้นสามารถฝึกฝนให้เกิดข้ึนในตัวบุคคลได้ ลักษณะของหัวหน้าโครงงานที่ดี ได้แก่ 1. มีความรับผิดชอบ 2. รู้เป้าหมายแห่งความส าเร็จของการท าโครงงาน 3. สามารถโน้มน้าวผู้ร่วมทีมให้ช่วยกันคิด ช่วยกันท างาน และร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆ

เพ่ือให้โครงงานประสบความส าเร็จ

Page 2: 1.3 กระบวนการกลุ่ม

4. มีความม่ันใจในตนเอง และกล้าตัดสินใจในเรื่องที่ส าคัญ 5. สามารถวางแผนการท างาน ควบคุมให้มีการปฏิบัติในขอบเขตวางแผนไว้ ตรวจสอบความถูกต้อง

และติดตามความก้าวหน้าในการท างานตามแผนที่วางไว้ 6. รู้จักจัดประชุมเป็นครั้งคราว เพ่ือให้งานก้าวหน้า และส าเร็จ 7. รู้และเข้าใจกฎเกณฑ์เรื่องความปลอดภัยต่างๆ ผู้ร่วมโครงงาน ผู้ร่วมโครงงาน เป็นผู้ร่วมในการท างาน โดยมีความรับผิดชอบต่องานนั้นร่วมกัน เพ่ือประโยชน์ร่วมกัน

ของกลุ่ม ผู้ร่วมโครงงานที่ดีจะมีผลต่อการด าเนินงานของกลุ่ม เพราะจะท าให้งานส าเร็จตามเป้าหมาย ในเวลาที่ก าหนดไว้

ลักษณะของผู้ร่วมโครงงานที่ดี 1. รู้บทบาทหน้าที่ของตน และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 2. มุ่งม่ันสู่ความส าเร็จในการท าโครงงาน 3. รายงานปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดข้ึน 4. ยินดีร่วมมือและช่วยเหลืองานในส่วนอื่นๆ เมื่อได้รับการร้องขอ 5. เสนอความคิดในโอกาสต่างๆ รับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืน รู้จักใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ยอมรับ

มติกลุ่ม รู้จักประสานผลประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนเข้าด้วยกัน 6. รู้และเข้าใจกฎเกณฑ์เรื่องความปลอดภัย

บทบาทเก่ียวกับการท างานที่สมาชิกกลุ่มพึงกระท า เพ่ือให้งานของกลุ่มส าเร็จตามเป้าหมาย 1. ผู้ริเริ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาของกลุ่ม 2. ผู้แสวงหาข้อมูล ถามเพ่ือให้เกิดความกระจ่างในการท างาน 3. ผู้ให้ข้อมูล ตอบหรือให้ข้อเท็จจริงต่างๆ 4. ผู้ชี้แจงแสดงเหตุผล ให้ข้อคิดเห็นเพื่อให้เกิดความชัดเจน 5. ผู้สรุปประเมนผล สรุปและประเมินความก้าวหน้าของงานเป็นระยะๆ

อาจารย์ท่ีปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทในการให้ค าแนะน าเกี่ยวกับการก าหนดหัวเรื่องโครงงาน การวางแผน

ด าเนินงาน แนวทางในการแก้ปัญหา และหนทางในการท าให้โครงงานประสบความส าเร็จ ลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี

1. เป็นต้นแบบที่ดีทั้งในด้านค่านิยม ทัศนคติ และความประพฤติ 2. มีความสามารถทางวิชาการ 3. มีความสนใจในการท างานร่วมกับนักเรียน

Page 3: 1.3 กระบวนการกลุ่ม

4. ยินดีให้เวลากับการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา 5. ให้ความเป็นกันเองในการให้ค าแนะน าปรึกษา 6. ให้ค าแนะน าที่ท้าทายหรือท าให้เกิดการเรียนรู้ และน าไปสู่การคิดเองท าเอง 7. ใช้ค าถามท้าทายหรือส่งเสริมการใช้ศักยภาพความคิด และจินตนาการ 8. ตอบค าถามที่น าไปสู่ความคิดระดับสูง 9. แนะน าผู้ท าโครงงานให้สามารถแก้ปัญหาได้เอง หรือท าให้เห็นหนทางที่เป็นไปได้ในการคิดหรือ

แก้ปัญหา

กระบวนการในการท างานกลุ่ม กระบวนการในการท างานกลุ่ม เป็นขั้นตอนและวิธีด าเนินงานของกลุ่มซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้ว

ประกอบด้วยขั้นตอนที่ส าคัญ ดังนี้ 1. การก าหนดจุดมุ่งหมายในการท างาน 2. การวางแผนในการท างาน 3. การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 4. การประเมินผลและการปรับปรุงงาน 5. สรุปผล ดังนั้นทักษะการท างานกลุ่มเป็นทักษะที่จ าเป็นอีกทักษะหนึ่งที่จะต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนได้กระท าจนมี

ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีก่อนที่จะน าไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมต่างๆ ในการท างานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องท าหน้าที่ช่วยเหลือกลุ่มดังนี้ 1. ผู้สนับสนุนกระตุ้นให้เพ่ือนๆ ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 2. ผู้ควบคุมการสนทนา ควบคุมการสนทนาไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง 3. ผู้ประนีประนอมและผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยสร้างบรรยากาศท่ีดีด้วยวิธีการต่างๆ 4. ผู้สังเกตการณ์ให้ค าติชม คอยสังเกตกระบวนการท างานของกลุ่มและประเมินประสิทธิภาพของ

การท างานด้วยกัน