11
ปี ที3 ฉบับที2 กุมภาพันธ์ 2560 กำลังดึงเอำนักวิชำกำรมำบริหำรประเทศมำกขึ้น และควำมถดถอยของสหรัฐฯ ในฐำนะมหำอำนำจโลก ไปอวกำศ !

World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

ปีท่ี 3 ฉบบัท่ี 2 กมุภาพนัธ์ 2560

ก ำลังดงึเอำนักวิชำกำรมำบริหำรประเทศมำกขึ้น

และควำมถดถอยของสหรัฐฯ ในฐำนะมหำอ ำนำจโลก

ไปอวกำศ!

Page 2: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

i | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

ยุวดี คาดการณ์ไกล

อรุณ สถิตพงศ์สถาพร

ปลายฟ้า บุนนาค

ปาณัท ทองพ่วง

อุสมาน วาจิ

ปลายฟ้า บุนนาค

https://fruitofadventure.com/2012/01/

https://www.studenthousing.org/img/

EHS_slideShow_photo_NewYorker_9.jpg

สถาบันคลงัปญัญาดา้นยทุธศาสตรช์าติ

วทิยาลัยรฐักจิ มหาวิทยาลัยรงัสติ

637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว

แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

http://rsu-brain.com/

Tel. (+66) 2938 8826

Fax. (+66) 2938 8864

ขึ้น แต่ยังคงเนื้อหาสาระไว้เช่นเดิม ในฉบับนี้ท่านจะพบเนื้อหาเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความส าคัญของชนชั้นกลางต่อเศรษฐกิจ

โลก ในบทความเรื่อง ชนชั้นกลางซูปเปอร์เซฟเศรษฐกิจโลก เรื่องความเคลื่อนไหวของจีน ทั้งในการดึงนักวิชาการเข้ามา

บริหารประเทศมากขึ้น การแสดงบทบาทที่โดดเด่นในเวทีสิ่งแวดล้อมโลก

นโยบาย

สหรัฐอเมริกาผู้เลื่องชื่อ ต่ออ านาจของสหรัฐอเมริกาในยุคประธานาธิบดีทรัมป์

บรรณาธกิาร

ผูช้ว่ยบรรณาธกิาร

กองบรรณาธกิาร

ออกแบบปกและรปูเล่ม

ภาพปก

ภาพปกใน

เผยแพร ่

CONTACT US

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| ii

สวัสดีท่านผู้อ่าน World Think Tank Monitor ของเราได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นให้มีรูปลักษณ์น่าติดตามมาก

ขึ้น แต่ยังคงเนื้อหาสาระไว้เช่นเดิม ในฉบับนี้ท่านจะพบเนื้อหาเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความส าคัญของชนชั้นกลางต่อเศรษฐกิจ

โลก ในบทความเรื่อง ชนชั้นกลางซูปเปอร์เซฟเศรษฐกิจโลก เรื่องความเคลื่อนไหวของจีน ทั้งในการดึงนักวิชาการเข้ามา

บริหารประเทศมากขึ้น การแสดงบทบาทที่โดดเด่นในเวทีสิ่งแวดล้อมโลก COP-22 ที่โมรอคโค และมิติด้านอวกาศของ

นโยบาย One Belt One Road และสุดท้ายคือบทความที่ว่าด้วยข้อวิพากษ์ของ Noam Chomsky นักวิจารณ์

สหรัฐอเมริกาผู้เลื่องชื่อ ต่ออ านาจของสหรัฐอเมริกาในยุคประธานาธิบดีทรัมป์

เชิญติดตามเนื้อหาด้านในได้เลยค่ะ

ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ

มุมมอง

Chomsky

9

ต่อทรัมป ์

ชนชั้นกลาง

ซูปเปอรเ์ซฟเศรษฐกิจโลก

1

4

จีนดึงนักวิชาการ

ช่วยบรหิารประเทศ

One Belt

One Road

11

ไปอวกาศ

จีนในเวที

COP 22

7 สถาบันคลังปัญญาฯ

13

Page 3: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

1 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

Homi Kharas นักวิชาการด้านเศรษฐกิจโลก

และการพัฒนาของสถาบัน Brookings ได้เผยแพร่

ผลงานเรื่ อ ง How a Growing Global Middle

Class Could Save the World’s economy

ซึ่ งในเนื้ อหาได้กล่าวถึงการเกิดของชนชั้นกลางและ

ผลกระทบของชนชั้นกลางที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

โดยเฉพาะในแง่เศรษฐกิจ

ชนชั้ น กลา ง เกิ ด ขึ้ นภ ายหลั ง จ ากกา รปฏิ วั ติ

อุตสาหกรรมในอังกฤษปี 1851 เม่ือเกิดการปฏิวัติดังกล่าว

สังคมอังกฤษแบบเดิมไม่เอื้อต่อการท างาน จึงเกิดการ

เปลี่ยนแปลงในการท างานของสังคมอังกฤษขึ้น มีงาน

ใหม่ๆ เกิดขึ้น มีการจ้างงานมากขึ้น มีบริการภาครัฐ เช่น

รถไฟและไปรษณีย์ที่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม

คนที่จะท างานต้องมีทักษะมากขึ้น ทั้งการอ่าน เขียนและ

ต้องเข้าใจเลขด้วย อาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นเปลี่ยนโครงสร้าง

เศรษฐกิจและสังคม คนกลุ่มนี้ออมเงินและลงทุนเพื่อ

อนาคต ต้องการให้บุตรหลานได้รับการศึกษา พยายาม

ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนและครอบครัวให้ดีขึ้น คนกลุ่ม

นี้ถูกเรียกว่า “ชนชั้นกลาง”

ชนชั้นกลางกลายเป็นชนชั้นบริโภคและเป็นผู้

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากที่มีชนชั้นกลางเฉพาะ

ในประเทศพัฒนาแล้ว ก็ค่อยๆ ขยายตัวไปสู่ประเทศ

เศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและละติน

อเมริกา ปัจจุบัน ชนชั้นกลางกลายเป็นก าลังหลักในการค้ า

ท่ีมา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c3/

Hartmann_Maschinenhalle_1868_(01).jpg

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| 2

จุนเศรษฐกิจโลก ในปี 2015 ชนชั้นกลางประมาณ 3

พันล้านคนทั่วโลกได้ใช้จ่ายเป็นเงิน 33 ล้านล้านเหรียญ

สหรัฐ ซึ่งนับเป็นจ านวนเงินสองในสามของการใช้จ่าย

ทั้งหมดของผู้บริโภคทั่วโลก

เมื่อชนชั้นกลางทั่วโลกขยายตัวอย่างรวดเร็วจึงเกิด

ค าถามตามมาว่า ชนชั้นกลางจะให้ประโยชน์อะไรกับ

เศรษฐกิจโลกบ้าง เราจะท าให้การเติบโตทางเศรษฐกิจและ

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นไปอย่างสมดุลได้

อย่างไร และจะจัดการกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ

การเมืองได้อย่างไร ค าตอบของค าถามเหล่านี้ มีโอกาสที่จะ

เป็นตัวก าหนดทิศทางอนาคตโลกและความมั่นคงทางการ

เงินของคนหลายพันล้านคน

การที่จะตอบค าถามเหล่านั้นได้ อย่างแรกเราต้องรู้

สถานะของชนชั้นกลางทั่วโลก ซึ่งขณะนี้ก าลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

ชนชั้นกลางส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกลุ่ม BRICs และ

ประเทศก าลังพัฒนา การใช้จ่ายของชนชั้นกลางในประเทศ

เหล่านี้เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ในขณะที่ในประเทศ

พัฒนาแล้วเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.4 ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็น

ว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น และ

ยุโรป ก าลังชะลอตัว

IMF คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2020 จีนและอินเดียจะ

มีชนชั้นกลางกว่า 1,500 ล้านคน ส่วนบราซิล เม็กซิโก

และปากีสถาน จะมีชนชั้นกลางมากกว่า 100 ล้านคน ใน

ฟิลิปปินส์และไทย ชนชั้นกลางอาจขยายตัวเท่าชนชั้นกลาง

ในสหรัฐ ฝรั่งเศส หรืออิตาลี แม้ประเทศที่กล่าวมาเหล่านี้

อาจจะยังหนีไม่พ้นความยากจน แต่จะกลายเป็นตลาด

ผู้บริโภคขนาดใหญ่ทีเดียว ส่วนบริษัทที่ปรึกษา McKin-

sey & Co คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

ในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้สูงกว่าในนิวยอร์ก โตเกียว หรือ

ลอนดอนอีกด้วย

ในช่วง 150 ปีของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ผ่าน

มา สะท้อนความส าคัญของชนชั้นกลางได้อย่างดี การที่

เศรษฐกิจเติบโตเพราะชนชั้นกลางเป็นกลไกส าคัญในการ

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังกล่าว

หนึ่งในความท้าทายที่เราต้องให้ความส าคัญเมื่อโลก

มีชนชั้นกลางมากขึ้นนั่นคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพ

ภูมิอากาศ เนื่องจากกลุ่มชนชั้นกลางเป็นกลุ่มที่บริโภค

โปรตีนและสินค้าจากโรงงานจ านวนมาก มีไลฟ์สไตล์ที่ต้อง

ใช้พลังงานมาก ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองกว่ากลุ่มคนยากจน

และมีจ านวนมาก แต่แทนที่จะมองชนชั้นกลางในแง่ลบ

ควรมองชนชั้นกลางในฐานะกลุ่มที่เป็นก าลังส าคัญที่จะช่วย

ลดการปล่อยคาร์บอน หากผู้หญิงในชนชั้นกลางได้รับ

การศึกษาและท างานมากขึ้น มีขนาดครอบครัวเล็กลง มีลูก

น้อยลง จะท าให้อัตราการเติบโตชะลอตัว ซึ่งส่งผลต่อการ

ปล่อยคาร์บอนและการบริโภคทรัพยากรที่ลดลง หากเป็นไป

ในทิศทางนี้จริง ปี 2050 โลกจะมีประชากรน้อยกว่าที่เคย

ประมาณไว้กว่า 600 ล้านคน

ดังนั้น รัฐจึงต้องออกนโยบายสนับสนุนการศึกษา

โดยเฉพาะในสตรี ตัวอย่างเช่น ในบราซิล การเพิ่มจ านวน

ของประชากรขณะนี้มีอัตราน้อยกว่าร้อยละ 1 เนื่องจากชน

ชั้นกลางได้รับการศึกษามากขึ้นและมีความเป็นเมืองมากขึ้น

นอกเหนือจากเศรษฐกิจโลกและสิ่งแวดล้อมแล้ว

ชนชั้นกลางยังส่งผลต่อสังคมและการเมืองอีกด้วย จากการ

ส ารวจในประเทศก าลังพัฒนา พบว่า ครอบครัวชนชั้นกลาง

ต้องการให้รัฐอุดหนุนเงินส าหรับที่อยู่อาศัย การศึกษา เงิน

บ านาญ การขนส่ง และยังต้องการความมั่นคงในชีวิตและ

อนาคตส าหรับตัวเขาและลูกๆ แต่พวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่

ยอมจ่ายภาษีมากขึ้น แม้จะมีความต้องการให้รัฐสนับสนุน

มากก็ตาม

แต่จากหลักฐานที่มี ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่ายิ่งมีชนชั้นกลาง

มาก จะยิ่ งสนับสนุนให้ เกิ ดประชาธิปไตยมากตาม

ตัวอย่างเช่น ชนชั้นกลางในอียิปต์หรือไทย สนับสนุนรัฐบาล

ที่ให้ความมั่นคงแก่ชีวิตตนได้ แม้ผู้น าจะเป็นอดีตผู้น าทาง

ทหารก็ตาม

ภาพ : ชนชั้นกลางในจีน

ที่มาภาพ : http://i.dailymail.co.uk/i/pix/2012/12/10/article-2245987-165DD882000005DC-500_634x435.jpg

Page 4: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

3 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

ปัญหาที่โลกศตวรรษที่ 21 ก าลังเผชิญคือความ

ขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างประเทศก าลังพัฒนาและ

ประเทศพัฒนาแล้ว เราจึงต้องออกแบบทิศทางโลกาภิวัตน์

ใหม่ ให้ได้ประโยชน์กับชนชั้นกลางทั้งในประเทศก าลัง

พัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

กับประเทศก าลังพัฒนาก าลังมองหาวิธีการเข้าไปมีส่วนร่วม

ในการก าหนดกฎระเบียบโลกเพื่อให้ประเทศของตนได้รับ

ผลประโยชน์ที่ดีขึ้น และโพลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ความ

เชื่อมั่นในสถาบันพหุภาคีนั้นลดลง และองค์กรเหล่านี้ไม่ได้

ถูกมองว่าเป็นตัวแสดงส าคัญที่จะเป็นผู้ป้องกันความเสี่ยงที่

อาจเกิดจากโลกาภิวัตน์อีกต่อไปแล้ว

ผู้เขียนบทความดังกล่าว ต้องการให้ทุกประเทศ

ตระหนั กและปรั บตั ว เ ข้ า กั บความจริ งที่ ว่ า ความ

เจริญรุ่งเรืองของโลกขึ้นอยู่กับโลกาภิวัตน์ เราจึงจ าเป็นต้อง

มีการจัดการโลกาภิวัตน์ที่ดีกว่าเดิม และผู้น าต้องตระหนัก

ถึงการตอบสนองต่อความคาดหวังของชนชั้นกลาง ซึ่งก าลัง

จะกลายเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของโลก โดยรวมแล้ว

อนาคตของเศรษฐกิจโลกและความมั่นคงทางการเงินของ

คนหลายพันล้านคนขึ้นอยู่กับผู้ก าหนดนโยบาย ผู้ออก

กฎหมาย และผู้น าประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจ ภาคประชา

สังคมและภาคการศึกษา ผู้น าเหล่านี้ เป็นผู้ที่สามารถ

เปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้ โดยการออกแบบนโยบายที่ท า

ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น ให้คนได้มีการศึกษามาก

ขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิง หากท าได้ตามเงื่อนไขเหล่านี้

เศรษฐกิจโลกและชนชั้นกลางทั่วโลกจะเติบโตขึ้น และจะ

เป็นโอกาสที่ดีมากของโลกที่จะมีอนาคตอันรุ่งโรจน์ร่วมกัน

แปลและเรียบเรียงโดย ปลายฟ้า บุนนาค

ภาพ : แผนภาพแสดงการใชจ้่ายของชนชั้นกลาง

แบ่งเป็นภูมิภาค

ที่มาภาพ : https://qz.com/43411/

the-worlds-middle-class-will-

number-5-billion-by-2030/

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| 4

ในบทความเรื่อง Chinese think tanks: A new “revolving door” for elite

recruitment ของสถาบัน Brookings เขียนโดย Cheng Li และ Lucy Xu กล่าวถึงกระแส

ใหม่ในจีนเวลานี้ว่า สีจิ้นผิงก าลังพยายามดึงเอานักคิดนักวิชาการเข้ามาสู่ต าแหน่งระดับสูงในพรรคและรัฐ

มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านช่องทางของ Think Tank

ภาพ:https://www.brookings.edu/wp-content/uploads/2017/02/chinapartycongress0011.jpg

Page 5: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

5 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงให้ความส าคัญมากกับการดึง

นักวิชาการเข้ามาอยู่ในต าแหน่งสูงของพรรคและรัฐ เพื่อให้

รัฐจีนเป็นรัฐที่มีภูมิปัญญา มีวิชาการ บริหารประเทศด้วย

ความรู้ความสามารถระดับสูง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา สีย้ า

ตลอดถึงความจ าเป็นที่จะต้องพัฒนาและส่งเสริม Think

Tank ในประเทศจีนให้เข้มแข็ง ในการปราศรัยครั้งหนึ่ง

เมื่อเดือนเมษายน 2016 สีกล่าวว่าเขาพร้อมที่จะดึงคน

จาก Think Tank เขามาเป็นผู้น าพรรคมากขึ้น เขายังมี

วิสัยทัศน์ที่จะรวบรวมคนเก่งไว้ในบรรดาสถาบันวิจัยต่างๆ

ที่มีอยู่มากมายในจีน และทลายข้อจ ากัดขององค์กร

เพื่อที่จะโยกย้ายถ่ายเทคนเก่งระหว่างภาคเอกชน รัฐบาล

ราชการ และ Think Tank ให้คล่องแคล่วขึ้น เขาพูด

ชัดเจนว่าจีนควรเอาแบบต่างชาติ (โดยเฉพาะตะวันตก)

ในเรื่องที่มีการหมุนเวียนคนเก่งในวงวิชาการกับผู้ตัดสินใจ

ทางนโยบายระดับสูง หรือที่เรียกว่า revolving doors

ในสหรัฐอเมริกานั้น นักวิชาการใน Think Tank

มักจะหมุนเวียนออกไปรับต าแหน่งในรัฐบาล ส่วนอดีต

เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลก็เวียนเข้ามาอยู่ใน Think

Tank คนที่เรารู้จักกันดีอย่าง Henry Kissinger ก็

เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อนมาเป็น

National Security Advisor และรัฐมนตรีว่าการ

ทรวงการต่างประเทศ แต่ในประเทศจีนที่ผ่านมา โดยทั่วไป

การหมุนเวียนนี้เกิดขึ้นเพียงทางเดียว คือมีแต่ผู้บริหาร

พรรคและรัฐระดับสูงที่หมดวาระแล้วไปด ารงต าแหน่งใน

Think Tank แต่ยังไม่มีการดึงเอานักวิชาการ นักคิดเข้า

มาเป็นผู้บริหารระดับสูงในพรรคและรัฐ ทั้งนี้ ประสบการณ์

ในการน าในระดับมณฑลและท้องถิ่นยังคงเป็นหลักเกณฑ์ที่

ส าคัญส าหรับผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้น าระดับสูงในพรรค

แต่ในยุคสี ธรรมเนียมนี้ก าลังได้รับการอะลุ่มอล่วย

สีพยายามดึงนักวิชาการเข้ามาเป็นชนชั้นน าในพรรคและรัฐ

เพิ่มขึ้น Wang Huning กับ Liu He คือตัวอย่างของ

คนข้างกายส าคัญของสีสองคนที่เติบโตมาจากสายวิชาการ

และมีโอกาสที่จะก้าวขึ้นสู่ต าแหน่งผู้น าระดับสูงของพรรคใน

การประชุมสมัชชาสมัยหน้ า คือสมัยที่ 19 Wang

Huning ซึ่ ง ปั จ จุ บั น เ ป็ น ส ม า ชิ ก ก ร ม ก า ร เ มื อ ง

(Politburo) และผู้อ านวยการส านักวิจัยนโยบายประจ า

คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นที่ปรึกษา

ที่คอยติดตามประธานาธิบดีจีนมาถึงสามคน คือ เจียงเจ๋อห

มิน หูจิ่นเทา และสีจิ้นผิงไปในทุกที่ ก็เติบโตมาจากสาย

วิชาการ เช่นเดียวกับ Liu He ที่ปัจจุบันด ารงต าแหน่ง

ที่มาภาพ : https://jamestown.org/wp-content/uploads/2014/04/

Wang_Huning__right_has_been_given_a_crucial_role_running_one_of_Xis_new_central_leadin

g_groups_Credit_Chinatimes.com_.jpg

ภาพ : สีจิ้นผิงและหวังฮู่หนิง

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| 6

ผู้ อ า น ว ย ก า ร Central Economic Leading

Group ประจ าคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์

จีน ก็เคยท างานใน State Information Center

แ ล ะ the State Council’s Development

Research Center (DRC) มาก่อน ในสมัชชา 19

ที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้น Wang Huning อยู่ในข่ายที่มี

โอกาสที่จะก้าวไปเป็นสมาชิกกรมการเมืองประจ าของพรรค

ส่วน Liu He ก็มีโอกาสจะก้าวไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี

และสมาชิกกรมการเมือง โดยสรุป การที่คนอย่าง

Wang และ Hu เข้ามาอยู่ในวงในแห่งอ านาจของจีนได้

โดยอาศัยความสามารถในการเป็นนักคิดและผู้ ให้

ค าปรึกษา และโดยที่ต่างไม่เคยด ารงต าแหน่งน าในระดับ

มณฑลหรือท้องถิ่นมาก่อน เป็นสัญญาณว่าจีนก าลังเปิด

โอกาสให้นักปราชญ์ขึ้นมาร่วมเป็นผู้น าประเทศมากขึ้น

ควบคู่ไปกับการเอานักปราชญ์เข้ามาน าประเทศมาก

ขึ้นนั้น คือ การเอา “นักเรียนนอก” เข้ามาบริหารประเทศ

มากขึ้นด้วย เพราะนักวิชาการที่โดดเด่นของจีนจ านวนไม่

น้อยเป็นผู้ ที่ ได้ รับการศึกษาจากตะวันตก Wang

Huning เคยเป็นศาสตราจารย์เยี่ยมเยือน (Visiting

Professer) ที่มหาวิทยาลัยไอโอวาและแคลิฟอร์เนีย

เบิร์กลีย์ ส่วน Liu He ได้รับปริญญาโทด้านบริหารรัฐกิจ

(MPA) จ า ก Kennedy School of Govern-

ment ของฮาร์วาร์ด ไม่เพียงแต่สองคนนี้ Chen Xi รู

มเมทของสีจิ้นผิงครั้งเรียนในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันด ารง

ต าแหน่งรองผู้อ านวยการ Organization Depart-

ment ประจ าคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็

เคยเป็นนักวิชาการเยี่ยมเยือนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

มาก่อน ส่วน Fang Xinghai รองประธาน Securi-

ties Regulatory Commission ซึ่งก าลังมีบทบาท

ส าคัญในการควบคุมการปฏิรูปการเงินของจีนอยู่ในเวลานี้

ก็จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ข้อคิดจากเรื่องนี้คืออะไร? ประการแรก

เราได้เห็นว่าจีนในยุคสีก าลังปฏิรูปเรื่องหนึ่งที่ส าคัญยิ่งยวด

ต่อพรรค และต่อประสิทธิภาพในการบริหารและสร้างความ

เจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศจีน คือ เรื่องโครงสร้างการ

คัดเลือกผู้น า ไปในทางที่ให้มีสัดส่วนของนักปราชญ์-

นักวิชาการ ผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้จากภายนอกประเทศ

จีนเข้ามามากขึ้น คิดต่อไป เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสังคมจีน

เป็นสังคมที่เล่าปี่ตามหาขงเบ้ง คือผู้มีอ านาจเห็นคุณค่าและ

พยายามหาที่ทางให้นักปราชญ์-ผู้ทรงภูมิปัญญาเข้ามามี

บทบาทในการก าหนดทิศทางประเทศชาติ ส าหรับไทยเราก็

มีนักปราชญ์ มีผู้ทรงภูมิปัญญามากมาย แต่ที่ผ่านมาเล่าปี่

มักไม่ค่อยตามหาขงเบ้ง กลับเป็นฝ่ายขงเบ้งที่ต้องไล่ตาม

เล่าปี่ คือผู้มีอ านาจยังไม่พยายามคิดระบบและโครงสร้าง

เพื่อไปดึง ไปสนับสนุน ไปควานเอาคนเก่งให้มาอยู่ใน

ต าแหน่งที่สามารถใช้ความเก่งของเขาให้เป็นประโยชน์กับ

ชาติบ้านเมืองได้เท่าที่ควร เราคนไทยจึงควรน าเรื่องนี้มา

ไตร่ ตรองให้ ดี และเรี ยนรู้ จ ากตั วอย่ า งของจี น ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งการปฏิรูปนี้

แปลและเรียบเรียงโดย ปาณัท ทองพ่วง

ภาพ : หลิวเหอ ผู้อ านวยการ Central Economic

Leading Group ประจ าคณะกรรมการกลางของพรรค

คอมมิวนิสต์จีน

ที่ ม า ภ า พ : https://si.wsj.net/public/

r e s o u r c e s / i m a g e s / P 1 -

BN430_crefor_G_20131006185959.jpg

Page 6: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

7 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

สี่ย เจิ้นหัว ผู้แทนด้านการจัดการภูมิอากาศผันผวนของจีนได้ให้ค ามั่นในที่ประชุม COP 22 ณ

ประเทศโมรอคโคว่าจีนจะเป็นผู้น าในการแก้ปัญหา

ภูมิอากาศผันผวนปรวนโดยร่วมมือกับประเทศซีกโลก

ใต้ที่ส่วนใหญ่เป็นประเทศก าลังพัฒนา ซึ่งจะท าให้

ข้อตกลงปารีสในการประชุม COP 21 อันมี

เนื้ อความว่ า ชาติ ต่ า งๆ จะลดการปล่ อยก๊ า ซ

คาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ตามเป้าหมายนั้นเข้าใกล้

ความจริงมากขึ้น

“นับแต่ปีนี้เป็นต้นไป จีนจะร่วมมือ

กับประเทศก าลังพัฒนาเพื่อจัดตั้ง

10 พื้นที่ต้นแบบคาร์บอนต่ า ริเริ่ม

100 โครงการลดก๊าซคาร์บอน

และการฝึกอบรมส าหรับคนกว่า

1,000 คน มาตรการเหล่านี้เป็น

ส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ

พิเศษเพื่อแก้ปัญหาภูมิอากาศผัน

ผวนที่ชื่อ 10, 100, 1000”

ที่มาภาพ : https://www.moroccoworldnews.com/wp-content/uploads/2016/09/cop22-640x336.png

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| 8

การให้ค ามั่นสัญญาของจีนในครั้งนี้ได้รับ

การชื่นชมจากที่ประชุมเป็นอย่างมาก โดย เดวิด

นาบาร์โร ที่ปรึกษาพิเศษประจ าส านักเลขาธิการ

สหประชาชาติกล่าวว่าจีนได้เพิ่มขีดศักยภาพใหม่

ให้กับประเทศซีกโลกใต้ในการร่วมมือกันเพื่อ

แก้ปัญหานี้

ในปัจจุบันปัญหาที่เกิดในทวีปแอฟริกาซึ่ง

สืบเน่ืองจากภาวะภูมิอากาศผันผวนน้ันอยู่ในขั้นร้ายแรง

สหประชาชาติประเมินว่าในแต่ละปีต้องใช้เงินราว 200

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น

เช่น ภาวะแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโยที่กระทบ

ความมั่นคงทางอาหารของประชากรกว่า 30 ล้านคน

และหลายประเทศเองก็ไม่มีความพร้อมที่จะลดก๊าซ

คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภูมิอากาศผัน

ผวนได้ ฉะนั้นความช่วยเหลือจากประเทศที่มีความ

พร้อมมากกว่าจึงเป็นเรื่องจ าเป็น โดยในปี 2015

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ให้ค ามั่นว่าจะมอบเงินกว่า

3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนประเทศในซีก

โลกใต้ในการแก้ปัญหาภูมิอากาศผันผวนและคาดว่า

ภายในปี 2025 จะมีกว่า 25 ประเทศที่ ได้ รับ

ประโยชน์จากเงินช่วยเหลือนี้ ไม่เพียงแต่เงินทุน

สนับสนุนเท่านั้น จีนยังพร้อมที่จะสนับสนุนเทคโนโลยี

ต่าง ๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูธรรมชาติอีกด้วย เช่น การฟื้นฟู

ป่าไม้ที่จีนประสบความส าเร็จอย่างสูง

นอกจากนี้จีนยังแสดงบทบาทเป็นผู้สนับสนุน

การประชุม COP 22 ด้วยการสนับสนุนรถบัสไฟฟ้า

กว่า 50 คันเพื่อใช้ล าเลียงผู้เข้าร่วมประชุม และยังมี

แผนจะตั้งโรงงานผลิตรถบัสไฟฟ้าในประเทศโมรอคโค

เพื่อจ าหน่ายไปยังตลาดแอฟริกาและยุโรปต่อไปใน

อนาคต อีกทั้งจีนยังมอบเงินสนับสนุนการจัดการ

ประชุม COP ครั้ งที่ 23 แก่ประเทศฟิจิซึ่ งเป็น

เจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมครั้งดังกล่าวอีกด้วย

แปลและเรียบเรียงโดย อุสมาน วาจิ

ภาพ : เส่ีย เจ้ินหัว

ที่มาภาพ : http://www.scmp.com/news/china/article/2047040/china-tells-trump-climate-change-not-hoax

Page 7: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

9 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมปีที่แล้วราวหนึ่ ง เดือน

ภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ Democ-

racy Now! ซึ่งเป็นองค์กรสื่ออิสระที่มุ่งหวังการสร้าง

ค่านิยมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคมได้จัดงานสัมมนา

เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีขององค์กร โดยหนึ่งใน

อ ง ค์ ป า ฐ ก ข อ ง ง า น นี้ คื อ Noam Chomsky

นักวิชาการเลื่องชื่อจากสถาบัน MIT ที่ได้แสดงทรรศนะ

ต่อการขึ้นมาสู่อ านาจของ โดนัล ทรัมป์ และความ

ถดถอยของสหรัฐฯ ในฐานะมหาอ านาจโลกไว้อย่าง

น่าสนใจ โดยสามารถสรุปโดยรวมได้ดังนี้

ในปัจจุบันโลกก าลังประสบกับปัญหาหลาย

ประการด้วยกันที่แยกไม่ออกจากกระแสโลกาภิวัตน์ ยิ่ง

ไปกว่านั้นยังเป็นปัญหาซึ่ งไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อนใน

ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ซึ่งมนุษยชาติทั้งมวลอัน

รวมถึงปัจเจกแต่ละคนต่างไม่อาจหลีกเลี่ยงจากปัญหา

เหล่านี้ได้เลย

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนปีที่แล้วโลกได้ตกอยู่

ภายใต้ความตระหนกพอสมควรภายหลังผลการเลือกตั้งชี้

ชัดว่า โดนัล ทรัมป์ จะได้เป็นประธานาธิบดีคนถัดไปของ

สหรัฐฯ ซึ่ งในวันเดียวกันนี้ เองที่การประชุมสุดยอด

เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ

COP ครั้งที่ 22 ที่มีตัวแทนมากกว่า 200 ชาติที่เข้า

ร่วม การประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างข้อตกลงว่า

ชาติต่าง ๆ จะร่วมกันด าเนินตามกรอบของการประชุม

COP ครั้งที่แล้วอย่างไรเพ่ือให้มาตรการลดปัญหาสภาพ

ภูมิอากาศนั้นถูกปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อาจจะกล่าวได้

ว่าผลของการประชุมครั้งนี้มีอิทธิพลต่อชะตากรรมของโลก

มากกว่าผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ เสียอีก แต่กลับไม่ได้รับ

ความสนใจจากสื่อมากนัก และน่าเศร้าใจที่นับแต่การ

ประชุมครั้งที่ 21 ที่สหรัฐฯ ในฐานะชาติมหาอ านาจที่

ร่ ารวยที่สุดและทรงอ านาจที่สุดในประวัติศาสตร์ของ

มนุษยชาติกลับปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงที่มีผลผูกมัด

เนื่องจากสภาคองเกรซที่ เป็นริพับลิกันนั้นไม่รับรอง

ข้อตกลงดังกล่าว และในการประชุม COP ครั้งที่ 22

นี้ก็มีแนวโน้มที่สหรัฐฯ จะมีท่าทีเช่นเดิมอีกครั้งเพราะ

ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ นั้นแสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่

เชื่อในวิกฤติภาวะโลกร้อน ปัญหานี้หาใช่ปัญหาของชาติ

ใดชาติหนึ่ง หากแต่เป็นปัญหาซึ่งจะกระทบผู้คนทั้งโลก

แม้ว่าเขาผู้นั้นจะมีส่วนในการสร้างปัญหาหรือไม่ก็ตาม

หากโลกยังคงมีอุณหภูมิสูงอยู่เช่นนี้จนท าให้ระดับน้ าทะเล

สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกไม่นานเราจะพบคลื่นการอพยพ

ครั้งใหญ่ที่ผู้ลี้ภัยหลายสิบล้านคนต้องอพยพออกจากที่อยู่

อาศัยชายฝั่งเนื่องจากถูกน้ าทะเลท่วมถึง การอพยพ

ดังกล่าวนั้นจะเป็นปัญหาใหญ่มากที่ชาติต่าง ๆ ต้อง

ช่วยกันรับมือ โดยเฉพาะชาติที่ก่อมลพิษมากที่สุดอย่าง

สหรัฐฯ จ าต้องรับผู้อพยพหลายล้านคนให้ได้ ปัญหาจาก

สิ่งแวดล้อมไม่เพียงจะกระทบต่อมนุษย์โดยตรงเท่านั้น

แต่ยังก็ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีก เช่น สงคราม

ระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่จ าเป็นต่อการ

ด ารงชีวิตของมนุษย์ และสงครามนี้จะยิ่งเลวร้ายไปอีก

หากชาติเหล่านั้นเป็นชาติที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ซึ่ง

เป็นภัยต่อมนุษยชาติโดยรวมอย่างย่ิง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างความฉงนที่สุดในการ

ประชุม COP ครั้ งที่ 22 นั้นคือการที่จีนได้แสดง

บทบาทอย่างชัดเจนว่าจะช่วยลดวิกฤติการณ์โลกร้อน

นอกจากจะลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากภายในประเทศเองแล้ว

ก็ยังให้ค ามั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือชาติอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| 10

จีนซึ่งปกครองโดยระบอบเผด็จการกลายเป็นผู้ที่โลก

ฝากความหวังแทนสหรัฐฯ ในฐานะผู้น าโลกเสรีไปเสีย

แล้ว

การล่าถอยออกจากเวทีโลกของสหรัฐฯ นั้น

ไม่ได้มีเพียงในมิติของสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมไปถึงมิติ

ทางเศรษฐกิจและการทหารที่เป็นจุดแข็งของชาติด้วย

เช่นกัน แม้แต่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่เปรียบดั่งหลัง

บ้านของสหรัฐฯ ก็ยังด าเนินนโยบายที่เป็นอิสระมากขึ้น

และพึ่งพาสหรัฐฯ น้อยลง ในปัจจุบันฐานทัพสหรัฐฯ

และกองทุน IMF ที่เป็นดั่งตัวแทนด้านการเงินของ

สหรัฐฯ ถูกผลักออกไปจากภูมิภาคเป็นที่เรียบร้อย

และเมื่อมองไปไกลกว่านั้นยังภูมิภาคเอเชียก็ยิ่งเห็นถึง

ความถดถอย เมื่อข้อตกลงการค้า TPP ที่สหรัฐฯ ได้

จูงใจให้ชาติเอเชียกลับมาพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้นเพื่อโดด

เดี่ยวจีนนั้นถูกยกเลิก ในทางกลับกันข้อตกลงทาง

การค้ าและกองทุนที่ จี น เป็นผู้ ริ เ ริ่ มกลับประสบ

ความส าเร็จที่จะดึงพันธมิตรของสหรัฐฯ เช่น อังกฤษ

ออสเตรเลียและญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมจนกลายเป็น

สหรัฐฯ ที่ถูกโดดเดี่ยวแทน และหากมองเหตุการณ์ที่

เกิดขึ้นในยุโรปก็จะเห็นว่ารัสเซียเริ่มแผ่อิทธิพลมากขึ้น

โดยที่สหรัฐฯ หมดความสามารถที่จะต้านทาน

แม้อิทธิพลของสหรัฐฯ จะถดถอยลง แต่ใช่ว่า

สหรัฐฯ จะตามหลังชาติอื่น ๆ จนเสียอ านาจในการ

ชี้น าโลกไปเสียหมด แม้ปัจจุบันความมั่งคั่งของสหรัฐฯ

จะลดลงมาก เมื่ อมองจากปี 1945 ภายหลั ง

สงครามโลกครั้งที่สองซึ่งชาติต่าง ๆ ได้บอบช้ าจาก

สงครามท าให้สหรัฐฯ ปราศจากคู่แข่งทางการค้าและ

สามารถครอง GDP ราวครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งตลอด

หน้าประวัติศาสตร์ไม่เคยมีมหาอ านาจใดท าได้มาก่อน

แต่นับตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา GDP ของสหรัฐฯ

ได้ลดลงเหลือราว 1 ใน 4 ของโลกเท่านั้นเนื่องจาก

ชาติอื่น ๆ เริ่มฟื้นตัวตามล าดับ อย่างไรก็ตามในยุค

โลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่เช่นปัจจุบัน อิทธิพลของรัฐ

ค่อย ๆ ลดลงแต่อิทธิพลของบรรษัทข้ามชาตินั้นค่อย ๆ

เพิ่มขึ้นตามล าดับ และเมื่อมองบรรษัทข้ามชาติที่ร่ ารวย

แล้วจะพบว่ากว่าครึ่ งหนึ่ งนั้นเป็นสัญชาติสหรัฐฯ

แน่นอนว่าบรรษัทย่อมต้องค านึงถึงผลประโยชน์ของผู้

ถือหุ้นเป็นที่สุด แต่ก็พอจะเป็นตัวชี้วัดได้บ้างว่าสหรัฐฯ

มิได้สูญเสียต าแหน่งผู้น าเศรษฐกิจโลกเสียทีเดียว ส่วน

ในด้านการทหารนั้นแม้จะลดบทบาทลงเนื่องจาก

เศรษฐกิจที่ถดถอย แต่ก็สหรัฐฯ ก็ยังมีก าลังทหารที่

เข้มแข็งกว่ามหาอ านาจชาติอื่น ๆ อยู่มากจนยากจะมี

ใครมาเทียบเคียงได้ในอนาคตอันใกล้ เพียงแต่อ านาจ

ในการชี้น าจะลดน้อยลงและชาติอื่น ๆ จะมีบทบาทใน

การร่วมก าหนดทิศทางโลกมากข้ึนเท่าน้ันเอง

แปลและเรียบเรียงโดย อุสมาน วาจิ

Democracy Now! https://www.youtube.com/

watch?v=Yp74MQBGMnk

- ที่มาภาพ : http://www.dailystormer.com/wp-

content/uploads/2014/07/noam-chomsky-

005.jpg

Page 8: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

11 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

า กั น ว่ า One Belt One Road ห รื อ

Belt and Road ของจีน ซึ่งประกอบด้วยสองส่วน

ส าคัญ คือเส้นทาง “Belt” ทางบก วิ่งขึ้นเหนือผ่าน

เอเชียกลาง และรั ส เซี ยไปสู่ ยุ โ รป กับ เส้นทาง

“Road” ทางทะเล มุ่งลงใต้ผ่านเอเชียตะวันออกเฉียง

ใต้ เอเชียใต้ และแอฟริกาด้านตะวันออก นั้นเป็นอะไร

ที่ “เล่นใหญ่” สุดๆ แล้ว เพราะกินพื้นที่ไปแล้วครึ่ง

โลก อย่างไรก็ตาม มาวันนี้ พื้นที่ด าเนินการของ One

Belt One Road จะขยับไปอีกขั้น คือลามออกไปสู่

อวกาศด้วย

รายงานเรื่อง China’s ‘One Belt, One

Road’ Takes to Space ของหนังสือพิมพ์ Wall

Street Journal ของสหรัฐ เปิดเผยถึงมิติด้าน

อวกาศของอภิมหาโครงการนี้ โดยอ้างเอกสารนโยบาย

(policy paper) เรื่องนโยบายด้านอวกาศ ที่ออก

โดยส านักข่าวสารประจ าคณะมนตรีแห่งรัฐของจีน

(State Council Information Office) เมื่อ

วันที่ 27 ธันวาคม 2559 ซึ่ งกล่ าวว่ าจี นจะใช้

เทคโนโลยีอวกาศของตนไปสนับสนุนการเชื่อมโยงของ

โครงการอันยิ่งใหญ่บนแผ่นดินและทะเล (OBOR)

และร้อยรัดประเทศสมาชิกบนเส้นทางเหล่านั้นเข้ากับ

แผนงานโครงการ OBOR ของจีนให้มากข้ึนได้อย่างไร

ตัวอย่างหนึ่งในเวลานี้คือ การประกาศใน

เอกสารดังกล่าวว่า ภายในปี 2018 ผู้คนในประเทศ

ต่างๆ ที่เข้าร่วม OBOR ทั้งทางบกและทางทะเล จะ

เป็นกลุ่มแรกที่เข้าถึงบริการของโครงข่ายน าร่องทาง

ดาวเทียม (Satellite Navigation) ใหม่ล่าสุดของ

จีน ชื่อ Beidou-2 ที่จะแผ่ไปถึง และให้บริการ

เครือข่ายบริการด้านต่างๆ ทางดาวเทียม เช่น การเชื่อม

ข้อมูลสารสนเทศ การส ารวจพื้นผิวโลก การสื่อสาร

ฯลฯ

ส าหรับเครือข่ายดาวเทียม Beidou ของจีน

ซึ่งเริ่มด าเนินการมาตั้งแต่ปี 2013 นั้น ในขณะนี้มี

ดาวเทียมในสังกัด 14 ดวง และมีขอบเขตของโครงข่าย

ดาวเทียมแผ่ครอบคลุมเพื่อนบ้านใกล้เคียงของจีนแล้ว

ปัจจุบันประเทศอย่างไทยกับเวียดนามก็ใช้บริการ

โครงข่ายดาวเทียม Beidou อยู่ในการน าส่งข้อมูลด้าน

ก า ร น า ร่ อ ง (navigational data) โค ร ง ข่ า ย

ดาวเทียม Beidou ก าลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ทั้ง

ขอบเขตการให้บริการ และจ านวนดาวเทียม โดยตาม

แผนจะเพิ่มจ านวนดาวเทียมให้เป็น 35 ดวงภายในปี

2020 ในภาพรวม Wall Street Journal กล่าว

ว่า ภายในปี 2018 จีนต้องการให้โครงข่ายดาวเทียม

Beidou และ Beidou-2 นี้ มาเป็นทางเลือกของ

โ ค ร ง ข่ า ย ด า ว เ ที ย ม ส า ร ส น เ ท ศ ข อ ง โ ล ก ที่

นอก เหนื อ ไปจาก ระบบ Global Positioning

System (GPS) ของรัฐบาลสหรัฐ และช่วยในการ

เชื่อมโยงทางดิจิทัลระหว่างโครงการต่างๆ บนบกและใน

ทะเลของ OBOR ไม่ว่าทางรถไฟ ถนน ท่าเรือ และ

นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017| 12

ในภาพรวม เอกสารนโยบายฉบับนี้จึงแสดงให้

เห็นว่า นอกเหนือไปจากการเชื่อมโยงด้านโครงสร้าง

กายภาพ ราง ถนน เรือ การเชื่อมโยงทางระเบียบ

กติกาทางการค้า การภาษีและศุลกากร และการ

เชื่อมโยงทางวัฒนธรรมแล้ว อภิมหาโครงการ OBOR

ของจีนยั งมีมิติ ของการเชื่ อมโยงทางเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีอวกาศด้วย

เรียกได้ว่า เป็นอภิมหายุทธศาสตร์ที่รอบด้าน เอาทุก

ทางอย่างแท้จริง

แปลและเรียบเรียงโดย ปาณัท ทองพ่วง

http://blogs.wsj.com/

chinarealtime/2016/12/28/chinas-one-belt-

one-road-takes-to-space/

ภาพ : จรวดก าลังน าดาวเทียมสองดวงขึ้นไปเพิ่ม

ในระบบดาวเทียม Beidou

ที่มาภาพ : Xie Qiyong/European

Pressphoto Agency

Page 9: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

13 | WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017

สถาบันคลังปัญญาฯ ขอแนะน ารายงานวิจัย

เรื่อง แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก

ในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบ

ต่อประเทศไทยและความเป็นไปในสังคมไทย โดย

ผศ.ดร.วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ อาจารย์ประจ าคณะ

รั ฐศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ยสุ โ ขทั ยธ ร รมาธิ ร า ช

ด าเนินการวิจัยภายใต้สถาบันคลังปัญญาด้าน

ยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

แนวโน้มและทิศทางการเปล่ียนแปลงของโลก

ในอนาคต (Global Trend) ท่ีอาจส่งผลกระทบ

ต่อประเทศไทยและความเป็นไปในสังคมไทย

กล่ า วถึ ง เทรนด์ ส าคัญๆ ของโลกในอนาคต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดคะเนถึงการเปลี่ยนแปลง

ในการเมืองระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม และ

เทคโนโลยี ที่จะมีผลต่อโลกและประเทศไทย

ดาวน์โหลดรายงานวิจัยได้จากเว็บไซต์สถาบันคลัง

ปัญญาฯ www. Rsu-brain.com

WORLD THINK TANK Monitor FEBUARY 2017 | 14

ในปัจจุบันภาวะ Islamophobia หรือความ

หวาดกลัวอิสลาม(และมุสลิม)ได้กระจายไปยังหลายพื้นที่

ทั่วโลก สาเหตุส าคัญประการหนึ่งคือกระแสการก่อการ

ร้ายที่สร้างความหวั่นวิตกให้แก่ผู้คนโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ

แม้แต่ประเทศมหาอ านาจก็มิอาจปกป้องประชาชนของตน

จากการตกเป็นเหยื่อได้ ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายที่มีอิทธิพล

และเป็นที่หวั่นเกรงมากที่สุดในปัจจุบันคงไม่มีกลุ่มไหน

นอกจาก “ขบวนการรัฐอิสลาม” อีกแล้ว แต่เพราะเหตุ

ใดกันคนกลุ่มนี้จึงลุกขึ้นมาจับอาวุธเพื่อท าในสิ่งที่คน

ทั้งหลายต่างประณามว่าเป็นความเลวร้ายโดยไม่หวั่น

เกรงว่าต้องสูญเสียกระทั่งชีวิตตนเอง แน่นอนว่าไม่มีสิ่ง

ใดที่ เกิดขึ้ นโดยไร้มูลเหตุ หนังสือ “ขบวนการรั ฐ

อิสลาม” จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อหาสาเหตุ แนวโน้ม และ

แนวทางแก้ไขของวัฏจักรการก่อการร้ายที่คุกคาม

สันติภาพของโลกมาโดยตลอด โดยมีจุดประสงค์หลักคือ

การท าความเข้าใจปรากฏการณ์อันซับซ้อนนี้มากกว่าจะให้

เพียงค าพิพากษาว่าใครเป็นคนผิด

Page 10: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

ไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

บูรพาภิวัตน์ ศ.ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์

จีนมุ่งลงใต้ อินเดียมุ่งตะวันออก ศ.ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์

เพ่งประชาธิปไตยโลก

พิศประชาธิปไตยไทย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ขบวนการรัฐอิสลาม(Islamic State) อาทิตย์ ทองอินทร์

Coming soon

สั่งซื้อได้ที่ ... 1 ) ร้านหนังสือออนไลน์ : CPWIBOOKS.lnwshop.com 2) เบอร์โทรศัพท์ 02-938-8826 (ในเวลาราชการ) 3) Facebook Page : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ

วิทยาลัย

รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 จากด าริของ

ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยความเห็นชอบและสนับสนุน

จาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เนื่องด้วยความ

ปรารถนาที่ต้องการให้เป็นคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีพันธกิจ

ดังนี้

เพื่อการพัฒนา

ประเทศอย่างมีสุขภาวะท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคบูรพาภิวัตน ์

ระหว่างสถาบันทาง

วิชาการต่างๆ ในประเทศให้เกิดการเชื่อมโยงศึกษาต่อย่อยประเด็นวิชาการเพื่อการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์

เพื่อร่วมระดมความคิด หาทางออกและชี้แนะแนวทางยุทธศาสตร์

เพ่ืออภิวัฒน์ประเทศไทย

ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้

และแลกเปลี่ยนความคิดอย่างสร้างสรรค์

ผ่านช่องทางสื่อสาธารณะเพื่อให้สาธารณะสามารถเข้าถึงเพื่อการเรียนรู้

กับสังคมในวงกว้าง

สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้ริเริ่มจัดท าโครงการ คลังปัญญาเพื่อการอภิวัฒน์ประเทศไทย มีชื่อ

ภาษาอังกฤษว่า “Klangpanya” โดยการสนับสนุนของส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

มีความปรารถนาที่จะเป็นคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ โดยรวบรวมนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และผู้น าที่มี

ประสบการณ์ มาระดมความคิด เพื่อกรองประเด็นออกมาเป็นทั้งความรู้และข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์ ผ่านการจัดเวที

การประชุมต่างๆ เช่น เวทียุทธศาสตร์ ที่มีการจัดมาอย่างต่อเน่ือง

Page 11: World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560

สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสติ

637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว

แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

Website: www.furd-rsu.org

Tel. (+66) 2938 8826 Fax. (+66) 2938 8864