11

ใบงานที่5 บทความและสารคดี

Embed Size (px)

Citation preview

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้นเรยีกว่า

พระองค์ด า เป็นพระราชโอรสในสมเดจ็พระมหาธรรมราชาและพระวิ

สุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเดจ็พระศรีสุริโยทัยและสมเด็จ

พระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่

พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ พระ

สุพรรณกัลยา ทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์

ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเดจ็พระศรีสุริโยทัย

ตลอดระยะเวลาในทรงพระเยาว์ของพระนเรศวรทรงใชช้ีวติอยู่ใน

พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยก

ทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธริาชเจ้าเมือง

พิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวด ีและท าให้พิษณุโลกต้องแปร

สภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดไีม่ขึ้นต่อกรุงศรอียธุยา พระเจ้า

บุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ท าให้

พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9

พรรษา

พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีน้ าพระทัยเป็นนักรบมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มี

ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมีน้ าพระทัยกว้างขวางสมกับที่เป็นเชื้อสาย

ของสมเด็จ พระศรีสุริโยทัย แม้พระนเรศวรจะถูกน าไปเป็นตัว

ประกันถึงหงสาวดี แต่ตลอดระยะเวลาพระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว

ครั้งที่อยู่ในเมืองหงสาวดีก็ได้แสดงความปรีชาสามารถให้ปรากฏ

หลายต่อหลาย ครั้ง ท าให้พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ของหงสาวดี

รู้สึกหวาดหวั่น เกรงว่าต่อไปภายหน้าอาจรวบรวมแผ่นดินอยุธยาได้

เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็น

กบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหง

สาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง

พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่

อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระ

เจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพ

หลวงไปปราบ

ในการณ์นี้ได้ส่ังให้เจ้าเมืองแปรเจ้า

เมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่

รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยก

ทัพไปช่วยทางไทย สมเด็จพระมหา

ธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระ

นเรศวรยกทัพไปแทน

สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ า เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126

พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จส้ินไปก่อน ท าให้พระเจ้าหงสาวดีนันท

บุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษา

กรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ ต้อนรับและหาทางก าจัดเสีย และพระองค์ได้ส่ังให้พระยามอญ

สองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และท านองจะเป็น

ผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมอืงแครง อันเป็นชายแดนติดต่อ

กับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสส่ังเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระ

มหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมก าลงัเข้าตกีระหนาบทาง

ด้านหลัง ช่วยกันก าจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยารามเมือ่ไปถึงเมืองแครง

แล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหา เถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับ

แผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรเคยรู้จักชอบพอกันมา

ก่อน

ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยาราม

กลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวร

เสด็จยกทัพข้ามแม่น้ าสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาว

ดีมีชัยชนะได้เมืองอังวะแลว้ ก าลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์

ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกัน

เที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพ กลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมา

ประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง

ตลอดรัชสมัยของ พระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ท า

สงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง

ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา

งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดนิแดนข้าศึก ได้ชัย

ชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการน าทัพ ทรงริเริ่มน ายุทธวิธีแบบใหม่

มาใช้ในการท าสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก

และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบารสงครามกับพม่าครั้งส าคัญที่ท าให้พม่าไม่กล้า

ยกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ

สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีน าโดยพระมหาอุป

ราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา อีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็น าทัพ

ออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัด

กาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระท ายุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา

จนกระทั่งสามารถเอาพระ แสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง

สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง

ไม่ระบชุื่อผูแ้ตง่. สรุปประวัตขิองพระนเรศวร แบบพอสงัเขบ. สือค้นเมือ่วนัที ่

5/9/2559. [ออนไลน]์ ที่มาจาก:

https://sujinjonjarenpang.wordpress.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%

B8%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%

B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9

E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A

8%E0%B8%A7/