คู่มือ การสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital ... ·...

Preview:

Citation preview

คู่มือ

การสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)

โดย

คณะท างานจัดการความรู ้

ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริาช เพชรบุร ี

ประจ าปีงบประมาณ 2562

1

แนวปฏิบัติที่ด ีเร่ือง การเพ่ิมประสิทธิภาพการให้บริการสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)

ความเป็นมาและความส าคัญ ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรี เป็นหน่วยงานหนึ่งในมาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีกระบวนการ

ท างานของหน่วยงาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. กระบวนการหลัก (Core Process) ประกอบด้วย 5 กระบวนการท างาน ดังนี้

1.1 บริการการศึกษาแก่นักศึกษา และประชาชน

1.2 สนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของ มสธ.

1.3 สร้างความร่วมมือและเครือข่ายการให้บริการการศึกษาทางไกล

1.4 บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม

1.5 อนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. กระบวนการสนับสนุน (Support Process) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ

2.1 งานอ านวยการและธุรการ บริการด้านสถานที่และสิ่งอ านวยความสะดวก (วัสดุ

อุปกรณ์ในการให้บริการ) ความสะดวกในการเดินทางมารับบริการและอาคารสถานที่)

2.2 งานบริการสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา บริการห้องสมุด ระบบสารสนเทศ

คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

คณะท างานการจัดการความรู้ของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรี ได้เล็งเห็นความส าคัญเกี่ยวกับงาน

ภารกิจสนับสนุนคืองานบริการสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา จึงได้มีมติให้จัดการความรู้ในประเด็นการเพ่ิม

ประสิทธิภาพกระบวนการให้บริการสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC) ที่ประชุมจึงมีมติที่จะ

จัดการความรู้ประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการให้บริการสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection

(TDC) เนื่องจากกระบวนการให้บริการสืบค้นข้อมูล เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการตอบค าถามและช่วยการ

ค้นคว้า ของห้องสมุดศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นกระบวนงานที่มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก

เป็นบริการที่ช่วยเหลือผู้ใช้โดยตรง เพ่ือให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการในเวลารวดเร็ว รวมทั้งเป็น

การส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรของห้องสมุดเพ่ิมมากข้ึน และมีส่วนส าคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดี

ระหว่างห้องสมุดกับผู้ใช้บริการประกอบด้วย โดยเฉพาะฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC) ซึ่งเป็น

ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และบทความที่รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ทั่วปะเทศไทย ซึ่งเป็นการเพ่ิมประสิทธิภาพในการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น อีกท้ังยังได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง

และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ

2

ดังนั้นคณะท างานการจัดการความรู้ของศูนย์จึงรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากวิทยากรและจากการ

ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลความรู้อ่ืนมาจัดท าเป็นคู่มือ เรื่อง การสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection

(TDC) เพ่ือเป็นแนวทางให้กับบุคลากรของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรีและผู้สนใจได้น าไปประยุกต์ใช้กับการ

ปฎิบัติงาน สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการได้

การสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)

TDC หรือ Thai Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS มีเป้าหมายเพ่ือให้บริการ

สืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความวารสาร

เอกสารจดหมายเหตุ และหนังสือหายากที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ ในประเทศไทยที่

เป็นสมาชิกของเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (ThaiLIS) สามารถสืบค้นได้ ดังนี้

1. ข้ันตอนการสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)

1.1 เข้าเว็บเบราเซอร์และไปที่ https://tdc.thailis.or.th/tdc/

1.2 หรือเข้าผ่านเว็บไซต์ส านักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไปที่

http://library.stou.ac.th

3

1.2.1 จากนั้น เลือก “สื่อการศึกษา” (หมายเลข 1) และคลิก “ฐานข้อมูล”(หมายเลข 2)

1.2.2 คลิก url ของฐานข้อมูล Thai Digital Collection http://tdc.thailis.or.th/tdc

4

1.3 หน้าเว็บไซต์ฐานข้อมูลThai Digital Collection ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

1.4. การสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (ThaiLIS) มี 4 รูปแบบ ดังนี้

หมายเลข 1 การสืบค้นแบบด่วน เป็นการสืบค้นที่สามารถพิมพ์ค าค้นได้ทันที โดยไม่มี

ขอบเขตและเงื่อนไขใด ๆ ให้เลือก ผลการสืบค้นที่ได้จะกว้างมาก ๆ

หมายเลข 2 การสืบค้นแบบง่าย (Basic Search) เป็นการสืบค้นที่สามารถพิมพ์ค าค้นและมี

ขอบเขตของข้อมูลให้เลือก เช่น ขอบเขตข้อมูล มหาวิทยาลัย/สถาบัน ชนิดของเอกสาร

หมายเลข 3 การสืบค้นแบบละเอียด (Advance Search) เป็นการสืบค้นที่สามารถจ ากัด

ขอบเขตการค้นหาหรือค้นหาแบบเจาะจงได้มากขึ้นเพ่ือให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมาก

ที่สุด มีการคัดกรองผลการสืบค้นโดยการพิมพ์ค าค้น เพ่ิมเงื่อนไข เลือกเขตข้อมูล เลือกมหาวิทยาลัย/

สถาบัน เลือกชนิดของเอกสาร ระบุปีพิมพ์หรือเงื่อนไขอ่ืน ๆ

หมายเลข 4 การสืบค้นแบบไล่เรียง (Browse) เป็นการสืบค้นหรือการเรียกดูรายการแบบไล่

เรียง ให้แสดงผลตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น หัวเรื่อง ชื่อเรื่อง ชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ชื่อสถาบันการศึกษา เป็นต้น

5

1.5 การสืบค้นแบบด่วน สามารถท าได้โดยพิมพ์ค าค้น และคลิก Submit

1.5.1 ตัวอย่างผลการสืบค้นจากการสืบค้นแบบด่วน

หมายเลข 1 จ านวนผลการสืบค้น หมายเลข 2 เลือกชนิดเอกสาร/หน่วยงาน

6

1.6 การสืบค้นแบบง่าย (Basic Search)

หมายเลข 1 พิมพ์ค าค้น หมายเลข 2 เลือกเขตข้อมูล

หมายเลข 3 เลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน หมายเลข 4 เลือกชนิดเอกสาร

1.6.1 ตัวอย่างการใส่ค าค้นและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการสืบค้นแบบง่าย

7

1.6.2 ตัวอย่างผลการสืบค้นจากการสืบค้นแบบง่าย

1.7 การสืบค้นแบบละเอียด (Advance Search)

หมายเลข 1 พิมพ์ค าค้น หมายเลข 2 เลือกเขตข้อมูล

หมายเลข 3 เลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน หมายเลข 4 เลือกชนิดเอกสาร

หมายเลข 5 เพิ่ม/ลบ เงื่อนไขการสืบค้น หมายเลข 6 จ ากัดปีของเอกสาร

หมายเลข 7 จ ากัดภาษาของเอกสาร หมายเลข 8 เรียงล าดับการแสดงผล

8

1.7.1 ตัวอย่างการเพ่ิมเงื่อนไขการสืบค้น ของการสืบค้นแบบละเอียด เป็นการสืบค้นโดยใช้

ตรรกะบูลีน (Boolean Logic) คือ การใช้ค าเชื่อม AND, OR เพ่ือช่วยก าหนดขอบเขตค าค้นที่ต้องการให้แคบ

ลงหรือกว้างข้ึน

- AND (และ) ใช้เชื่อมค าค้นเพ่ือจ ากัดหรือลดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง ระบบจะสืบค้น

เฉพาะเอกสารที่มีค าแรกและค าท่ีสอง

- OR (หรือ) ใช้เชื่อมค าค้นเพ่ือขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น ระบบจะสืบค้นเอกสารทั้งหมดที่มี

ค าแรกและค าที่สอง หรือมีค าใดค าหนึ่งปรากฏอยู่

หมายเลข 1 กด + เพื่อเพ่ิมเงื่อนไข กด – เพ่ือลบเงื่อนไข

หมายเลข 2 เลือกค าเชื่อม และ, หรือ ก าหนดขอบเขตค าค้นที่ต้องการให้กว้างขึ้นหรือแคบลง

1.7.2 ตัวอย่างการใส่ค าค้นและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการสืบค้นแบบละเอียด

9

1.7.3 ตัวอย่างผลการสืบค้นจากการสืบค้นแบบละเอียด

1.8 การสืบค้นแบบไล่เรียง (Browse) มี 7 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การสืบค้นแบบไล่เรียง (Browse)

รูปแบบที่ 2 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากชนิดเอกสาร (Browse By Document type)

รูปแบบที่ 3 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากหน่วยงาน/สถาบัน (Browse By Institute)

รูปแบบที่ 4 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากผู้สร้างผลงาน (Browse By Creator)

รูปแบบที่ 5 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน (Browse By Contributor)

รูปแบบที่ 6 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากหัวเรื่อง (Browse By Subject)

รูปแบบที่ 7 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากสาขา/วิขา (Browse Thesis Descripline)

10

1.8.1 รูปแบบการสืบค้นแบบไล่เรียง (Browse) สืบค้นโดยเลือกตัวอักษร A-Z, ก-ฮ หรือ

พิมพ์ค าค้นที่ต้องการสืบค้นเพ่ือแสดงรายการ ดังนี้

หมายเลข 1 สืบค้นจากหัวเรื่อง หมายเลข 2 สืบค้นจากชื่อเรื่อง

หมายเลข 3 สืบค้นจากผู้สร้างสรรค์ผลงาน หมายเลข 4 สืบค้นจากผ้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน

หมายเลข 5 สืบค้นจากรายการตามเงื่อนไข

1.8.2 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากรายการตามเงื่อนไข มีเงื่อนไขให้เลือก ดังนี้

หมายเลข 1 เลือกชนิดเอกสาร หมายเลข 2 เลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน

หมายเลข 3 จ ากัดปีของเอกสาร หมายเลข 4 จ ากัดภาษาของเอกสาร

หมายเลข 5 จ ากัดระดับปริญญา หมายเลข 6 จ ากัดชื่อปริญญา

หมายเลข 7 จ ากัดสาขาวิชา หมายเลข 8 เรียงล าดับการแสดงผล

11

1.8.3 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากชนิดเอกสาร (Browse By Document type) สืบค้นโดย

เลือกชนิดข้อมูล และ/หรือระบุค าค้นในช่องค้นหา

12

1.8.4 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากหน่วยงาน/สถาบัน (Browse By Institute) สืบค้นโดย

เลือกหน่วยงาน/สถาบัน และ/หรือระบุค าค้นในช่องค้นหา โดยสามารถเลือกชนิดเอกสารได้จากแถบเงื่อนไข

ด้านซ้ายของหน้าจอแสดงผล

1.8.5 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากผู้สร้างผลงาน (Browse By Creator) สืบค้นโดยระบุชื่อผู้

สร้างสรรค์ผลงานในช่องค้นหา

13

1.8.6 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน (Browse By Contributor) สืบค้น

โดยระบุชื่อผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานในช่องค้นหา

1.8.7 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากหัวเรื่อง (Browse By Subject) สืบค้นโดยระบุหัวเรื่องใน

ช่องค้นหา

14

1.8.8 การสืบค้นแบบไล่เรียงจากสาขา/วิขา (Browse Thesis Descripline) สืบค้นโดยระบุ

สาขา/วิชาในช่องค้นหา

2. การเรียกดูเอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)

2.1 หลังจากพบผลการสืบค้นแล้วเลือกคลิกที่ชื่อเรื่องเอกสารที่ต้องการเพ่ือการเรียกดูเอกสารฉบับ

เต็ม

15

2.2 หน้าจอแสดงผลจะปรากฏรายละเอียดทางบรรณานุกรมของเอกสาร พร้อมเอกสารฉบับเต็ม

(Fulltext ) ให้ดาวน์โหลด

2.3 หากเราต้องการบรรณานุกรมก็สามารถ คลิกท าเครื่องหมาย ใน หลังปุ่ม “ปิดรายการ

Fulltext” เพ่ือแสดงรายการบรรณานุกรมแบบ APA ของเอกสาร

16

2.4 คลิกปุ่มแสดงรายการ fulltext เพ่ือแสดงไฟล์เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext ) จะแสดงรายการ

ไฟล์เอกสารให้เลือกดาวน์โหลด และคลิกที่ชื่อไฟล์เอกสารที่ต้องการดาวน์โหลด

2.5 คลิกท าเครื่องหมาย ในช่อง “ยอมรับเงื่อนไขการ Download” (หมายเลข 1) แล้ว

คลิก Download จาก ThaiLIS (หมายเลข 2)

17

2.6 จะปรากฏเอกสารเต็มในรูปแบบไฟล์ pdf. จากนั้นก็สามารถท าการบันทึกลงอุปกรณ์ของเราได้

ตามปกติ

การเข้าใช้งานฐานข้อมูล Thai Digital Collection ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะสะดวกต่อการดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มมากกว่าการสมัครด้วยตนเอง

เพราะไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่ ไม่ต้องกรอก Username และ Password และการสมัครรายบุคคลจะ

สามารถดาวน์โหลดได้ไม่เกิน 5 ชื่อเรื่องต่อวัน แต่หากเข้าใช้งานผ่านมหาวิทยาลัยจะสามารถดาวน์โหลดได้ไม่

จ ากัดชื่อเรื่อง ซึ่งหากต้องการเข้าใช้งานจากเครือข่ายภายนอกศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.เพชรบุรีหรือภายนอก

มหาวิทยาลัย ก็สามารถเข้างานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผ่าน VPN

(Virtual Private Network)

3. การเข้าใช้งาน VPN

เป็นการเข้างานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผ่าน VPN (Virtual

Private Network) จากเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีข้ันตอนดังนี ้

3.1 ใช้งานผ่าน เว็บเบราเซอร์ ที่ https://vpn.stou.ac.th

3.2 จากนั้นจะปรากฏหน้าเว็บไซต์ “การเข้าใช้งานเครือข่ายและสารสนเทศ มสธ. จากภายนอก”

18

3.3 กรอก Username และ Password ตัวเดียวกับ ระบบ Webmail ดังนี้

ช่อง Userame = กรอก E-mail ของมหาวิทยาลัย เท่านั้น (xxxxx.xxx@stou.ac.th

ส าหรับบุคลากร หรือ xxxxx.xxx@mystou.net ส าหรับนักศึกษา)

ช่อง Password = กรอกรหัสผ่าน จากนั้นให้คลิกปุ่ม Login

3.4 จะปรากฏหน้าจอเบราเซอร์ที่มีช่องส าหรับพิมพ์ url และมีลิงค์ web bookmarks ให้คลิกท่ี

ลิงค์ STOU e-library เพ่ือไปยังหน้าเว็บไซต์ส านักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือพิมพ์

url https://tdc.thailis.or.th/tdc/ ที่ช่อง url เพ่ือไปยังฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)

19

3.5 หากต้องการยกเลิกการเข้าใช้งานระบบ VPN ให้คลิกปุ่ม Logout (ในวงรีสีแดง)

4. ปัญหาในการสืบค้น

4.1 ไม่ทราบว่าต้องการค้นเรื่องอะไร

4.2 ไม่ทราบค าท่ีจะค้น

4.3 ไม่ทราบว่าจะค้นจากแหล่งข้อมูลใดหรือใช้เครื่องมือใดช่วยค้น

4.4 ไม่ทราบวิธีการค้น

5. วิธีการสืบค้นอย่างมีประสิทธิภาพ

5.1 ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการค้นคว้าข้อมูลเรื่องใด และก าหนดขอบเขตของเรื่อง

5.2 หาแหล่งข้อมูลหรือเครื่องมือช่วยค้น

5.3 ก าหนดค าท่ีจะใช้ค้นจากเรื่องที่ต้องการ โดยน าเฉพาะค านามมาใช้ค้น เช่น What (อะไร)

Where (ท่ีไหน) When (เม่ือไร) How (อย่างไร) Why (ท าไม)

5.4 ก าหนดแนวทางในการสืบค้นว่าจะค้นโดยใช้ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือค าส าคัญ

5.5 สืบค้นสารสนเทศโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น

5.6 ก าหนดขอบเขตของค าค้นไม่ให้กว้างหรือแคบเกินไป

5.7 หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูดและตัวเลข

20

6. เทคนิคการก าหนดค าสืบค้น

6.1 การค้นหาด้วยค าหรือวลีที่ก าหนดขึ้นมาเพ่ือใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา ค าส าคัญจะมีลักษณะ

สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย อาจจะปรากฏอยู่ในชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือส่วนหนึ่งส่วน

ใดของรายการนั้นก็ได้ เช่น รายงานการวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของครูต่อพฤติกรรมคุณธรรมและการ

บริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ผู้ค้นจะต้องดึงค าส าคัญท่ี

อยู่ในขื่องเรื่องออกมาเพ่ือใช้ค้นหาจากชื่อเรื่อง ซึ่งมีคีย์เวิร์ดหลักอยู่หลายค า คือ การบริหารโรงเรียน, คร,ู

ความพึงพอใจของครู, การบริหารงาน เป็นต้น

6.2 การก าหนดหัวข้อที่ต้องการ เป็นการระบุหัวเรื่องของข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีเนื้อหา

อยู่ในขอบเขตของหัวเรื่องที่เราก าหนด เช่น ต้องการค้นหาข้อมูลรายงานการวิจัย เนื่อง ความพึงพอใจของครู

ต่อพฤติกรรม

Recommended