8
74 ภาพโดย ปรีดา ขาวบอ

แวง พลังวรรณ

Embed Size (px)

DESCRIPTION

ฮีตคอง,อิ่มแล้วพาน้องไปเล่นวัด,แวง พลังวรรณ

Citation preview

Page 1: แวง พลังวรรณ

74ภาพโ

ดย ป

รีดา ขา

วบอ

Page 2: แวง พลังวรรณ

75

แวง พลังวรรณ

อิม่แลว...พานองไปเลนวัด

ประโยคคำสั่งนี้ดังกึกกองในสังคม-ชุมชนอีสานเมื่อราว ๔๐ ป และดังกองในหวงคำนึงของคนอีสานทุกผูทุกนามที่มีอายุเกิน ๕๐ ป

อิ่มแลว... พานองไปเลนวัด

Page 3: แวง พลังวรรณ

76

อิ่มแลว...พานองไปเลนวัด ประโยคน้ีใหสิ่งที่เปนคุณคาแกคนอีสานมากกวาอรรถหรือพยัญชนะ อิ่มแลว โดยอรรถ หมายถึง อิ่มจากการรับประทานมื้อเย็น ซึ่งเปนม้ือท่ีเย็นจริง ๆ คือ ขาวไมรอน เพราะยังไมถึงเวลาอุนขาว เน่ืองจากยังไมเย็นมาก ... ยังไมถึงยามแลง-ยามงาย เปนชวงที่พอ-แมยังวุนอยูกับงาน ยังไมถึงเวลาท่ีจะตองหุงหาอาหาร เปนการกินเพ่ือรองทอง มากกวาจะกินเอาอิ่มเอาออก และสะทอนใหเห็นวา ภารกิจนำนองไปวัดน้ันตองใชเวลา และใชพลังงานมาก จึงตองรองทองใหมีแรงกอน

ภารกิจในวัด หมายถึงกิจกรรมท่ีเดิ่นวัด หรือลานวัด ซึ่งในอดีต ลานวัดอีสาน สำหรับเด็กคือ สนามเด็กเลนอันมโหฬารท่ีจุเด็กในหมูบานไดทั้งหมด ในยุคนั้น เด็ก ๆ หาใครไมไปเลนที่วัดเปนไมมี ใครที่ไมไปเลนที่วัดถือวาเปนเด็กพิกล

อิ่มแลว...พานองไปเลนวัด เปนประโยคที่ยิ่งใหญในหัวใจเด็กอีสานเม่ือไมนาน เปนประโยคท่ีใหความอบอุน ความสุข ใหความคิดคำนึง ใหความย่ิงใหญของอีสาน และยิ่งใหญเกินกวาอีสานในยุคนี้มากนัก

Page 4: แวง พลังวรรณ

77

การไปเลนท่ีลานวัด ยังสะทอนใหเห็นถึงความยิ่งใหญของวัดอีสาน วัดอีสานมิไดเปนเพียงท่ีประกอบสังฆกิจ หรือเปนที่ทำบุญทำทานของญาติโยมเทานั้น แตมันคือสมบัติของเด็กๆ ดวย ความสนิทแนบแนนกับวัดของคนอีสานในยุคกอนมันเกินจะอธิบายใหคนยุคนี้เขาใจ-เขาถึง... อิ่มแลว...พานองไปเลนวัด กวาจะเปนประโยคนี้ขึ้นมาได สังคมอีสานตองถูกกลอมเกลาอยูรวมพันป และอีสานก็คือ คนในกลุมไต-ไทย-ลาว ซ่ึงในอดีตกอนเกิดรัฐชาติ มิอาจแยกกันไดวา ใผเปนใผ (ผูเขียนใช “ใผ” มิใช “ไผ” เพราะคำนี้มาจาก “ผูใด”) ตอมาเมื่อบานเมืองแตกสะลุผุพายแตกพายพลัดพรากกันน่ีดอก จึงชี้หนากันวา ใผเปนไทย ใผเปนลาว และใผเปนไต และเวลานับพันป นับแตป ๑๒๗๒ ทำใหคนกลุมนี้ผูกพันกันเปนชาติ สิ่งท่ีเกาะเกี่ยวคนกลุมนี้มิใชเพียงสงครามกับตางชาติที่ทำใหตองผนึกกำลังกันสูศึกเทานั้น ยังมีสายใยเสนสำคัญ ที่แมตอมาจากตองพลัดพรากกันแลว สิ่งนี้ยังคงฝงแนนในใจและในสังคมคนไต-ไทย-ลาวอยูจนบัดนี้

Page 5: แวง พลังวรรณ

78

สิ่งท่ีเปนเสมือนรหัสพันธุกรรมของไต-ไทย-ลาว คือ ฮีต และคอง

ฮีตและคอง หรือรูจักกันทั่วไปวา ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ นั้น มิใชสิ่งที่คร่ำครึพนสมัยอยางที่ลูกหลานเชื้อสายไต-ไทย-ลาว เขาใจ หากมันเปนส่ิงที่สมสมัย และเปนเคร่ืองยืนยันแสดงวา ไต-ไทย-ลาวนั้นยิ่งใหญเพียงใด

ฮีต คำน้ี นักปราชญลาวและอีสานมักวากันวา มาจากคำวา “จาริตะ” ในภาษาบาลี สันสกฤตวา “จาริตระ” หมายถึง ขนบธรรมเนียม แบบแผน ความประพฤติท่ีดีงาม (ปรีชา พิณทอง. ๒๕๓๔ : ๕๗) ซึ่งผูเขียนคิดแยงอยูในใจ และอยากบอกสิ่งท่ีอยูในใจออกมาดัง ๆ วา คำวา ฮีต ไมไดมาจากไหน หากมันคือคำไต-ไทย-ลาว คือ คำวา ฮีต และคำน้ีเปนคำเกา คำวาคำเกา หมายถึงคำที่อาจใชรวมกันในยุคตน ๆ ที่ภาษาไม ไดหลากหลาย เชน คำวา อมตะ กับ immortal หรือพวกวิภัติ-ปจจัย (prefix หรือ suffix) หรือคำที่ตอเติมขางหนาหรือขางหลังเพ่ือใหความ

Page 6: แวง พลังวรรณ

79

หมายเปลี่ยน เชน คำวา อ (แปลวา ไม) ส (แปลวา มี) เชน มตะ แปลวาตาย เติม อ ขางหนาเปนอมตะ คือ ไมตาย ในภาษาอังกฤษมีคำพวกนี้อยูมาก เชน a, un, in, im เปนตน คำพวกนี้ถาอยูหนาคำใด ความหมายก็จะเปลี่ยนเปนไปในทางตรงขาม เชน comfortable (แปลวาสะดวกสบาย) เมื่อเติม uncomfortable ก็แปลวา ไมสะดวกสบาย เปนตน

คำวา ฮีต ก็อาจเปนเชนเดียวกัน คือ อาจเปนคำเกาที่มีอยูเดิม ซึ่งคำวา ฮีต ภาษาอังกฤษใชวา rite (รีต) ซึ่งผูเขียนไมเช่ือวา คำวา “rite” น้ีจะมีที่มาจากคำวา จาริตฺต หรือจาริตร หรืออีกอยางหน่ึงก็คือ ทั้งคำวา ฮีต จาริตฺต จาริตร และ rite อาจเปนคำที่มาจากที่เดียวกัน ไมมีใครยืมของใคร ท้ังนี้ สาเหตุที่ ผูเขียนเช่ือเชนนี้ก็เน่ืองจากวา คำ หรือภาษาไต-ไทย-ลาว ในยุคนั้น ไมมีที่ใดหยิบยืมมาจากบาลี-สันสกฤตเลย จะเห็นไดจากช่ือคนและช่ือตำแหนงในยุคนั้น เชน เจาฟาฮวม เจาขุนลอ ขุนซวา ขุนซวย ขุนคำ ขุนฮุง ขุนคุม เปนตน ซึ่งชื่อคนน้ัน เปนดานหนาที่ปะทะกับภาษาตางประเทศ เปนดานแรกท่ีจะตองถูก

Page 7: แวง พลังวรรณ

80

กระทบ และถูกแปรไปตามอิทธิพลทางภาษา หากชื่อคนไมไดมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตแลว คำท่ีใช ๆ กันในสังคมก็ไมนาจะมาจากบาลี-สันสกฤต ดังจะเห็นไดจาก ชื่อคนไทย ซึ่งเปนชนชาติเดียวท่ีมีพลวัตท่ีสุด คือ เปลี่ยนแปรไปตามกระแสและอิทธิพลอยางยิ่ง กอนนี้เรารับอิทธิพลแขก ก็ใชชื่ออยางแขก เชน สมศักด์ิ สมบัติ นิรุตติ์ เปนตน แตเมื่อไดรับอิทธิพลฝรั่งเขา ก็แปรไปเปนฝรั่งตาม เชน แม็ค เชอรี่ เปล แหมม แตภาษาที่คนไทยใชกันในชีวิตประจำวันกลับยังใชภาษาเดิมของตน เปนตน

ที่วามาเสียยืดยาวก็เพียงเพ่ือจะอธิบายวา ฮีต เปนคำไต-ไทย-ลาว หรือคำโบราณที่ใชกันทั่วไปของมนุษยในยุคนั้น เพราะหากฮีตมาจากภาษาบาลี-สัน สกฤต ชื่อคนไต-ไทย-ลาวในยุคนั้นตองเปลี่ยนตาม

การคัดคาน (ในใจ) ของผูเขียนที่เขียนออกมา ดัง ๆ เชนน้ี ก็สะทอนแนวการศึกษาเรื่องฮีต-คอง ของผูเขียนดวยเชนกัน ซึ่งเปนการศึกษาแบบตีความและวิเคราะห โดยเฉพาะเน้ือหาของฮีต-คอง เปนเรื่องท่ี

Page 8: แวง พลังวรรณ

81

มีความหมายอยางมาก โดยพยายามเคนความรูทางภาษา โดยไมติดอยูกับภาษาไทยและลาว หากเลยไปถึงภาษาไต และทางดานกฎหมาย ตลอดจนใชจริตและวิถีชีวิตท่ีผูเขียนดำรงอยูในสังคมอีสาน อันนาจะสะทอนหรือเปนตัวแทน (กลุมตัวอยาง) ของคนไต-ไทย-ลาว ไดไมมากก็นอย

นับแตนี้เปนตนไป... เราจะดำด่ิงสูภูมิปญญาของบรรพบุรุษ เพื่อจะไดรูวา คำวา “บานดีเมืองดี” นั้นเปนเชนไร การจะทำใหบานดี-เมืองดี-คนดี นั้นตองทำอยางไร

และจะไดรูวา ฮีต-คอง มิใชของคร่ำครึอยางที่เขาใจ

บรรณานุกรม

ปรีชา พิณทอง. ประเพณีโบราณ. ๒๕๓๔