10
4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที ่ ๗๗ ตอนที่ ๒ เดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔ ธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ และธงประจำพระตำแหน่งผู้บัญชาการพิเศษ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วันดี สืบค้น ปวงประชาเป็นสุขศานต์ กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.อ.หญิง ผศ.ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ ๑๐ “เกียรติ” ชีวิตที่สองของทหาร ศ.ศิลาแลง ๑๖ เรื่องเล่า จาก อดีต สู่ ปัจจุบัน From Thailand to USA พล.ท.รศ.ธวัชชัย ศรีวัฒนะ ๑๙ “วิถีแห่งสันติ” ยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย พ.อ.ศิขรัชฐ์ เอมโกษา ๒๘ มีของดีมาฝาก นาย ผอส กศัจ-ปร ๓๗ ความต้องการในการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายของนักเรียนนายร้อย ๔ เหล่า NEEDS FOR SPORTS AND EXERCISE MANAGEMENT OF STUDENTS IN ROYAL THAI CADET ACADEMIES อาทิตย์ษณีย์ เจริญรัตน์ และชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ ๔๑ ปัญหาการโยกย้ายข้าราชการกับการเมือง นนร.อัครพล มณีวัลย์ ๕๒ เหตุการณ์สำคัญในอินโดจีน พ.ท.สมบัติ พิมพี ๕๖ ภาษาอังกฤษทหาร (๕) MILITARY ENGLISH บ.ต.ช. ๖๕ ๗๐ ปีการรบท่บ้านพร้าว พ.อ.รศ.ดร.พีรพล สงนุ้ย ๖๙ มหัศจรรย์รำลึก ตึกยาว ๑๐๐ ปี ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ “คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ” พ.ท.สุดชาย พลอยประดับ ๗๕ เขื่อนป่าสักชลสิทธิพล.อ.โอภาส โพธิแพทย์ ๗๘ อดข้าวดอกนะเจ้าชีวาวาย “ลาบดิบ” ๘๔ คุณผู้หญิงรู้ได้อย่างไรว่าเข้าสู่วัยทองแล้ว (คุณผู้ชายก็ควรทราบ) พ.อ.นพ.ยรรยงค์ อิ่มสุวรรณ ๘๘ เคล็ดลับเกร็ดความรูพ.อ.หญิง สุทธิลักษณ์ เกิดสวัสดิ๙๕ ใคร อะไร ที่ไหน กองกำลังพล รร.จปร. ๙๘ สนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึก เสนาศึกษา เสนาศึกษา กษา เสนาศึกษา เสนาศ เสนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึกษา

file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

4

สารบัญเสนา ศึกษา เล่ม ที่ ๗๗ ตอน ที่ ๒ เดือน เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

๏ธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ และธงประจำพระตำแหน่งผู้บัญชาการพิเศษ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วันดี สืบค้น ๑

๏ปวงประชาเป็นสุขศานต์ กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.อ.หญิง ผศ.ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ ๑๐

๏“เกียรติ” ชีวิตที่สองของทหาร ศ.ศิลาแลง ๑๖

๏เรื่องเล่า จาก อดีต สู่ ปัจจุบัน From Thailand to USA พล.ท.รศ.ธวัชชัย ศรีวัฒนะ ๑๙

๏“วิถีแห่งสันติ” ยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย พ.อ.ศิขรัชฐ์ เอมโกษา ๒๘

๏มีของดีมาฝาก นาย ผอส กศัจ-ปร ๓๗

๏ความต้องการในการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายของนักเรียนนายร้อย ๔ เหล่า NEEDS FOR SPORTS AND EXERCISE MANAGEMENT OF STUDENTS IN ROYAL THAI CADET ACADEMIES

อาทิตย์ษณีย์ เจริญรัตน์ และชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ ๔๑

๏ปัญหาการโยกย้ายข้าราชการกับการเมือง นนร.อัครพล มณีวัลย์ ๕๒

๏เหตุการณ์สำคัญในอินโดจีน พ.ท.สมบัติ พิมพี ๕๖

๏ภาษาอังกฤษทหาร (๕) MILITARY ENGLISH บ.ต.ช. ๖๕

๏๗๐ ปีการรบที่บ้านพร้าว พ.อ.รศ.ดร.พีรพล สงนุ้ย ๖๙

๏มหัศจรรย์รำลึก ตึกยาว ๑๐๐ ปี ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ “คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ” พ.ท.สุดชาย พลอยประดับ ๗๕

๏เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พล.อ.โอภาส โพธิแพทย์ ๗๘

๏อดข้าวดอกนะเจ้าชีวาวาย “ลาบดิบ” ๘๔

๏คุณผู้หญิงรู้ได้อย่างไรว่าเข้าสู่วัยทองแล้ว (คุณผู้ชายก็ควรทราบ) พ.อ.นพ.ยรรยงค์ อิ่มสุวรรณ ๘๘

๏เคล็ดลับเกร็ดความรู้ พ.อ.หญิง สุทธิลักษณ์ เกิดสวัสดิ์ ๙๕

๏ใคร อะไร ที่ไหน กองกำลังพล รร.จปร. ๙๘

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 2: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

1เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

เสนาศึกษา

ธงชาติไทยธงประจำพระองค์

และธงประจำพระตำแหน่งผู้บัญชาการพิเศษ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าวันดีสืบค้น

ด้วยในวันอังคารที่๓พฤษภาคมพุทธศักราช๒๕๕๔เวลา๐๗.๓๐-๐๘.๐๐น.พล.อ.หญิงสมเด็จ

พระเทพรตันราชสุดาฯสยามบรมราชกมุารีจะเสดจ็ฯมาทรงรบัการถวายความเคารพจากแถวนกัเรยีนนายรอ้ย

เนื่องในโอกาสเปิดภาคการศึกษาที่๑ประจำปีการศึกษา๒๕๕๔ณลานหน้ากองบัญชาการโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า และทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายธงประจำพระตำแหน่งผู้บัญชาการพิเศษโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า

พ.อ.ธัชพล ไม้รอด รองเสนาธิการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในฐานะบรรณาธิการ “เสนา

ศึกษา” มอบให้ผู้เขียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสำคัญของธงทุกประเภทที่เกี่ยวกับ

ประเทศไทยซึ่งในเรื่องนี้ผู้เขียนได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากพ.อ.กิตติศักดิ์บุญสุขผู้อำนวยการกองระเบียบ

การกรมเสมียนตราสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมนายเกียรติกมลจังโสเจ้าหน้าที่สำนักงานเสริมสร้าง

เอกลกัษณ์ของชาติสำนกังานปลดัสำนกันายกรฐัมนตรีและเจา้หนา้ที่หอสมดุโรงเรยีนนายรอ้ยพระจลุจอมเกลา้

ดังนี้

๑.พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกรมศิลปากรพ.ศ.๒๕๓๐

๒.ธงไทยเล่ม๑ของกรมศิลปากรพ.ศ.๒๕๔๕

๓.ธงสำคญัของชาติของสำนกังานเสรมิสรา้งเอกลกัษณ์ของชาติสำนกังานปลดัสำนกันายกรฐัมนตรี

พ.ศ.๒๕๔๘

๔.ธงไทยเล่ม๒ของกรมศิลปากรพ.ศ.๒๕๔๙

๕.ธงชาติไทยของกองทัพบกพ.ศ.๒๕๕๐

๖.ธงสยามไทยเมินฝรั่งมองของพฤฒิพลประชุมพลพ.ศ.๒๕๕๓

๗.คู่มือธงไตรรงค์ ธำรงไทย ของ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนัก

นายกรัฐมนตรีพ.ศ.๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 3: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

2 เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

พระราชบัญญัติธงพ.ศ.๒๕๒๒ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่๓๐เมษายนพุทธศักราช

๒๕๒๒และใช้มาจนถึงปัจจุบันแบ่งเนื้อหาเป็น๑๐หมวด๕๖มาตราและมีจำนวน๗๙ธงดังนี้

หมวด๑ ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย

หมวด๒ ธงพระอิสริยยศ(ธงประจำพระองค์)

หมวด๓ ธงทหาร

หมวด๔ ธงพิทักษ์สันติราษฎร์

หมวด๕ ธงกองอาสารักษาดินแดนและกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด

หมวด๖ ธงคณะลูกเสือแห่งชาติและธงลูกเสือจังหวัด

หมวด๗ ธงราชการทั่วไป

หมวด๘ ธงแสดงตำแหน่งทั่วไป

หมวด๙ การใช้ชักหรือแสดงธง

หมวด๑๐บทกำหนดโทษ

ในหนังสือ“ธงชาติไทย”หน้า๑๓กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของธงที่มีความหมายถึงประเทศไทย

และชาติไทยไว้ว่า

“...จดหมายเหตุของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ในรัชกาลสมเด็จ

พระนารายณ์มหาราช มีเรือฝรั่งเศสแล่นเข้ามาสู่ปากน้ำเจ้าพระยา

เมื่อเรือแล่นเข้ามาถึงป้อมของไทย ไทยชักธงชาติฮอลันดาขึ้นรับเรือ

ฝรั่งเศส เพราะไม่มีธงชาติเป็นของตนเอง แต่เรือฝรั่งเศสไม่ยอม

ยิงปืนสลุตรับธงฮอลันดา เพราะเคยเป็นคู่อริกันมาก่อน และถือว่า

ไม่ใช่ธงชาติไทย ฝ่ายไทยจึงแก้ไขโดยนำธงแดงชักขึ้นแทนธงชาติ

เรอืฝรัง่เศสจงึยอมสลตุคำนบัตัง้แต่นัน้มาธงแดงจงึกลายเปน็ธงประจำ

ชาติของไทย...”

สว่นหนงัสอื“คูม่อืธงไตรรงค์ธำรงไทย”หนา้๓กลา่ววา่สมเดจ็พระเจา้บรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง

ราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์เกี่ยวกับการใช้ธงชาติไทยสมัยอยุธยาตอนปลายไว้ในเชิงอรรถพระราชพงศาวดาร

กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่๒ความว่า

ธงสำหรับชาติไทยที่ใช้ในเรือ แต่ก่อนจะใช้ธงอย่างไร ข้าพเจ้าได้ตรวจค้นในหนังสือที่ฝรั่งแต่งไม่พบ มาพบในหนังสือจดหมายเหตุทูตไทยที่ลังกาทวีปเมื่อคราวพระอุบาลีออกไปให้อุปสมบทแก่ชาวสิงหลในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศว่า ใช้ธงพื้นแดงสีเดียวจึงเห็นว่าจะใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาแต่โบราณ

ในสมยักรงุรตันโกสนิทร์ตอนตน้พระบาทสมเดจ็พระพทุธยอดฟา้จฬุาโลกทรงพระราชดำริวา่เรอืหลวง กับเรือราษฎรใช้ธงสีแดงเหมือนกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปจักรสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชวงศ์ติดไว้กลางธงแดง ใช้ชักบนเรือหลวงหรือกำปั่นหลวงเท่านั้น ส่วนเรือของราษฎรทั่วไปยังคงใช้ ธงแดงเกลี้ยงเหมือนเดิม

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 4: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

3เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

ต่อมาในรัชกาลที่๒ได้ช้างเผือกมาสู่พระบรมโพธิสมภารถึง

๓เชือกกล่าวคือ

พระยาเศวตกุญชรได้มาจากเมืองโพธิสัตว์เมื่อพ.ศ.๒๓๕๕

พระยาเศวตไอยราได้มาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อพ.ศ.๒๓๕๗

พระยาเศวตคชลักษณ์ได้มาจากเมืองน่านเมื่อพ.ศ.๒๓๖๐

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเผือกสีขาวอยู่ในกลางวงจักรที่พื้นธงเป็น

สีแดงสำหรบัเรอืหลวงสว่นเรอืของราษฎรยงัคงใช้ธงสีแดงเกลีย้งจนถงึ

รัชกาลที่๔

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการทำ

สัญญาเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตก มีเรือกำปั่นของชาวยุโรปและ

อเมริกาเข้ามาค้าขายมากขึ้นชาติต่างๆเหล่านี้มีสถานกงสุลตั้งอยู่ใน

กรุงเทพฯ ซึ่งต่างก็ชักธงประจำชาติของตนเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงเกิด

ความจำเป็นที่จะต้องมีธงชาติไทยขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงช้างซึ่งประดิษฐ์ขึ้น

ในสมัยรัชกาลที่๒ เป็นธงชาติแต่ให้เอารูปจักรออกเสีย เพราะจักร

เป็นเครื่องหมายเฉพาะสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ให้คงมีแต่รูปช้างเผือก

อยู่กลางธงแดง และใช้เป็นธงชาติไทยมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุง

รัตนโกสินทร์ นอกจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำธงรูป

ช้างเผือกบนพื้นธงสีขาบ(หมายถึงสีน้ำเงินแก่ แต่ปัจจุบันหมายถึง

สีน้ำเงินอมม่วง)สำหรับใช้ชักที่หน้าเรือหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วยแบบอย่างธงสยามเป็น

ฉบบัแรกเมือ่รตันโกสนิทรศก๑๑๐(พ.ศ.๒๔๓๔)กำหนดใช้ธงสำหรบั

เรือหลวงใหม่เป็นธงพื้นแดงกลางธงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น

ที่มุมธงข้างบนมีจักรสำหรับชักที่ท้ายเรือพระที่นั่ง และเรือรบหลวง

ทั้งปวงเรียกชื่อในขณะนั้นว่าธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น

ธงเรือหลวงสร้างในรัชกาลที่๑

ธงเรือหลวงสร้างในรัชกาลที่๒

ธงชาติสร้างในรัชกาลที่๔

ธงเรือหลวงสร้างในรัชกาลที่๔

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 5: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

4 เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

ธงเรือหลวงได้ถูกเปลี่ยนแบบตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติธง

รัตนโกสินทรศก ๑๑๖(พ.ศ. ๒๔๔๐) คือมีลักษณะเป็นธงพื้นแดง กลาง

ธงเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าเสา ตัดรูปจักรสีขาวที่

มุมธงออก ใช้สำหรับชักขึ้นในเรือหลวง ที่ป้อมและที่พักทหารซึ่งสังกัดอยู่

ในกรมทหารเรือ ธงเรือหลวงนี้ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ธงราชการ ตามที่

กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก๑๒๙(พ.ศ.๒๔๕๓)

ตอ่มาพระบาทสมเดจ็พระมงกฎุเกลา้เจา้อยู่หวัทรงพระราชดำริวา่

เมือ่มองธงชาติซึง่ใช้อยู่ในขณะนัน้แต่ไกลจะมีลกัษณะไม่ตา่งจากธงราชการ

เทา่ไรและรปูชา้งที่อยู่กลางธงก็ไม่งดงามจงึทรงพระกรณุาโปรดเกลา้ฯให้

ออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก๑๒๙ เมื่อ

วนัที่๒๑พฤศจกิายนพ.ศ.๒๔๕๙แก้ลกัษณะธงชาติเปน็“ธงพืน้แดงกลาง

เป็นรูปช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่นหน้าเข้าข้างเสา” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่

วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจา้อยู่หวัทรงพระราชดำริวา่ธงที่ได้แกไ้ขไปแลว้เมือ่พ.ศ.๒๔๕๙นัน้ยงัไม ่

สง่างามเพียงพอสมควรเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสีเพราะราษฎรต้องสั่งซื้อ

ธงผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศและหากเป็นธงแถบสีราษฎรสามารถ

ทำธงใช้เองได้และแก้ปัญหาการติดผิดพลาด

หลังจากทดลองใช้ธงริ้วขาวแดงติดอยู่ที่สนามเสือป่าหลายวัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

ตราพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๘

กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ยกเลิกธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิม ลักษณะ

ของธงชาติใหม่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง

๒ส่วนยาว๓ส่วนมีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง๑ใน๓ของความกว้างของ

ธงอยู่กลางมีแถบสีขาวกว้าง๑ใน๖ของความกว้างของธงข้างละแถบแล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาว

ประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบและพระราชทานนามว่า“ธงไตรรงค์”

การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ธงสามสีหรือธงไตรรงค์ขึ้นแทนธงช้างนั้น ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ามีพระราชประสงค์จะให้เหมือนหรือทัดเทียมกับธงของประเทศในยุโรป ดังกระแส พระราชปรารภในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธงพุทธศักราช๒๔๖๐ที่ว่า

“ให้เป็นสามสีตามลักษณะของชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยามได้ใช้อยู่โดยมากนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมทุกข์สุขและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ช่วยกันกระทำการปราบปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลกให้พินาศประลัยไป”

ความหมายของสีธงไตรรงค์คือสีแดงหมายถึงชาติและความสามัคคีของคนในชาติสีขาวหมายถึง ศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของ

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 6: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

5เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

ประเทศดังบทพระราชนิพนธ์พรรณนาไว้ในหนังสือ“ดุสิตสมิต”ฉบับพิเศษพ.ศ.๒๔๖๐หน้า๔๒ดังนี้

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย

แห่งสีทั้งสามตามถนัด

ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์

และธรรมะคุ้มจิตไทย

แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้

เพื่อรักษะชาติศาสนา

น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา

ธโปรดเป็นของส่วนองค์

จัดริ้วเข้าเป็นทิวไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง

ที่รักแห่งเราชาวไทย

ทหารอาวตารนำไป ยงยุทธวิชัย

วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ

การเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเป็นธงไตรรงค์นั้นยังมีบุคคลชั้นนำหลายคนในสังคมสมัยนั้นไม่เห็นพ้อง

ด้วย โดยคำนึงความเป็นตำนานของชาติจะสูญหายไป ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เสด็จประพาสทวีปยุโรป๒ครั้งทำให้นานาชาติรู้จักและยอมรับธงช้างในฐานะธงชาติสยามกันอย่างกว้างขวาง

ในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงแบบ

ธงชาติมาหลายครัง้แต่ธงไตรรงค์ยงัไม่เปน็ที่รูจ้กัของนานาประเทศโดยทัว่ไปอยา่งแพร่หลายเชน่ธงชา้งจงึทรง

พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีพระราชบันทึกพระราชทานไปยังองคมนตรีเพื่อฟังความเห็นว่าจะคงใช้ธงไตรรงค์

ดั่งที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไปหรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทนหรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติกับวิธีใช้

ธงไตรรงค์อย่างไร ปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้น

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไปตามพระราชวินิจฉัยลงวันที่๒๕พฤษภาคม

พ.ศ.๒๔๗๐

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้มีการตราพระราชบัญญัติธง

พ.ศ. ๒๔๗๙ ซึ่งยังคงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติเช่นเดิม แต่ได้อธิบายลักษณะธงชาติเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาด

กว้าง ๖ ส่วน ยาว๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ ใน๖ ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบต่อจากแถบสีขาบออกไปสองข้าง

ข้างละ๑ส่วนใน๖ส่วนเป็นแถบสีขาวต่อจากสีขาวออกไปทั้ง๒ข้างเป็นแถบสีแดง

ปัจจุบันลักษณะของธงชาติไทยปรากฏตามความในหมวด๑มาตรา๕(๑)แห่งพระราชบัญญัติธง

พ.ศ.๒๕๒๒กำหนดไว้ว่าธงชาติมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง๖ส่วนยาว๙ส่วนด้านกว้างแบ่ง

เป็น๕แถบตลอดความยาวของผืนธงตรงกลางเป็นสีน้ำเงินแก่กว้าง๒ส่วนต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออก

ไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้าง เป็นแถบสีแดงกว้าง

ข้างละ๑ส่วน

“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ

ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราชและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย”

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 7: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

6 เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

เพลงชาติไทย

เนื้อร้อง พันเอกหลวงสารานุประพันธ์

ทำนอง พระเจนดุริยางค์

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัยชโย

ธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า ธงจอมเกล้า เนื่อง

ด้วยทรงพระราชดำริว่าเวลาเสด็จฯทางชลมารคมีเรือขบวนหลายลำ

คนทั่วไปไม่มีที่สังเกตว่าประทับอยู่เรือลำใด จึงทรงพระกรุณาโปรด-

เกล้าฯ ให้ทำธงประจำพระองค์ขึ้นมีลักษณะคือพื้นนอกสีแดงพื้นใน

สีขาบกลางรูปเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎมีเครื่องสูง๗ชั้นอยู่สองข้าง

ใช้สำหรับชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่งเป็นเครื่องหมายว่าเสด็จฯโดยเรือลำนั้นและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ชักขึ้นบนเสาในพระบรมมหาราชวังด้วย

ในรชัสมยัพระบาทสมเดจ็พระจลุจอมเกลา้เจา้อยู่หวัได้ใช้ธงจอมเกลา้นี้ตอ่มาแต่เพิม่รปูแบบดงัปรากฏ

ลักษณะอยู่ในพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรกของไทย ลงวันที่

๒๕มีนาคมรัตนโกสินทรศก๑๑๐(พ.ศ.๒๔๓๔)คือพื้นนอก

สีแดง พื้นในสีขาบ กลางธงเป็นรูปโล่ตราแผ่นดิน มีจักรและตรี

ไขว้กันอยู่บนโล่ มีพระมหาพิชัยมงกุฎสวมอยู่บนจักรและตรีอีกที

หนึ่งสองข้างโล่เป็นรูปเครื่องสูง๗ชั้นภายในโล่ตราแผ่นดินแบ่ง

เปน็๓ชอ่งชอ่งบนเปน็รปูไอยราพตสามเศยีรบนพืน้เหลอืงหมาย

ถึงดินแดนสยามเหนือกลางและใต้ช่องล่างข้างขวาเป็นรูปช้าง

เผือกบนพื้นสีชมพู หมายถึง ประเทศลาว ช่องล่างข้างซ้ายเป็น

รปูกรชิสองอนัไขว้กนับนพืน้แดงหมายถงึดนิแดนฝา่ยมลายูมีแทน่

รองรปูโล่และเครือ่งสงู๗ชัน้สีเหลอืงเรยีกธงนี้วา่ธงบรมราชธวชั

มหาสยามินทร์ ซึ่งในภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น

ธงมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ตราพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ประกาศลงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ และให้ยกเลิก

พระราชบญัญตัิธงฉบบักอ่นหนา้นี้ทัง้หมดพระราชบญัญตัิธงฉบบันี้ได้เปลีย่นลกัษณะธงประจำพระองค์พระมหากษตัรยิ์

และพระราชวงศ์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าธงอิสริยยศซึ่งปรากฏหลักฐานการใช้ในปัจจุบันดังนี้

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 8: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

7เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

ธงมหาราช-ธงประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ใช้ประดับหน้าพระราชพาหนะ และเหนือพระราชมณเฑียรที่ประทับ

ลักษณะเป็นธงสีเหลืองมีตราพระครุฑพ่าห์สีแดง

นอกจากธงมหาราชแล้ว ผู้เขียนยังพบข้อมูลในหนังสือ

“สารานุกรมไทยฉบับกาญจนาภิเษก”หน้า๔๓๐-๔๓๑และในหนังสือ

“ธงไทยเล่ม๑”หน้า๒๗-๒๘กล่าวถึงธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัย

พระครฑุพา่ห์เปน็ธงประจำพระองค์พระมหากษตัรยิ์สมยัโบราณสำหรบั

แห่เชิญไปในกองทัพ ใช้แห่นำเสด็จในกระบวนพยุหยาตรา และในการ

ตรวจพลสวนสนามมาจนทุกวันนี้

ธงชัยราชกระบี่ยุทธมีรูปวานรทรงเครื่องบนพื้นผ้าแดง

ธงชัยพระครุฑพ่าห์มีรูปครุฑสีแดงบนพื้นผ้าเหลือง

เมื่อพ.ศ.๒๔๗๒จากพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าบรม-

วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธควร

อยู่ด้านซ้าย ธงชัยพระครุฑพ่าห์ควรอยู่ด้านขวา โดยถือหลักประเพณีเดิม

ซึ่งปรากฏอยู่ในตอนหนึ่งของโคลงพระราชพิธีทวาทศมาส พระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กระทรวงวังถือเป็น

หลักปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน

ธงชัยพระครุฑพ่าห์เป็นธงสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นแพรสีเหลืองปักรูป

พระครฑุพา่ห์ในทา่เบอืนดว้ยไหมสีแดงยอดธงเปน็ปลายหอกที่คอคนัธงเปน็

ซองทำด้วยโลหะเสียบหางนกยูง และประกอบแผ่นโลหะสำริดรูปนารายณ์

ทรงครุฑติดประกบที่ซองเสียบหางนกยูง

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 9: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

8 เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ เป็นธงสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นแพรสีแดง ปัก

รูปหนุมานในท่าเหาะด้วยไหมสีขาว ยอดธงเป็นปลายหอก ที่คอคันธงเป็น

ซองทำด้วยโลหะเสียบหางนกยูง และประกอบแผ่นโลหะสำริดรูปหนุมาน

ติดประกบที่ซองเสียบหางนกยูงเช่นเดียวกัน

ธงราชินี- ธงประจำพระองค์ สมเด็จพระบรมราชินี ใช้ประดับ

หน้าพระราชพาหนะลักษณะเหมือนธงมหาราช ต่างที่ตัดปลายเป็นรูปหาง

นกแซงแซว ใช้เฉพาะกรณีที่สมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระองค์เดียว หาก

โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะประดับเฉพาะธงมหาราช

ธงเยาวราช- ธงประจำพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

สยามมกุฎราชกุมารลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นธงมี๒สีรอบนอก

เปน็สีขาวรอบในเปน็สีเหลอืงขนาดความกวา้งยาวเปน็ครึง่หนึง่ของรอบนอก

มีรปูพระครฑุพา่ห์อยู่ตรงกลางใช้ประดบัพระราชพาหนะและเหนอืที่ประทบั

ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร

ธงเยาวราชฝ่ายใน- ธงประจำพระองค์ พระวรชายาในสมเด็จ

พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร ลักษณะเหมือนธงเยาวราช

แต่ปลายตัดเป็นรูปหางนกแซงแซวใช้ประดับหน้าพระพาหนะ ปัจจุบันเป็น

ธงประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายาใน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร

ธงพระราชวงศ์ฝ่ายใน-ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ ลักษณะคล้าย

ธงพระราชวงศ์ฝา่ยหนา้แต่ปลายตดัเปน็หางนกแซงแซวปจัจบุนัเปน็ธงประจำ

พระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จ

พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี

มีคำถามว่า ธงประจำพระตำแหน่ง ผู้บัญชาการพิเศษโรงเรียน

นายร้อยพระจุลจอมเกล้าเคยมีปรากฏหลักฐานมาก่อนหรือไม่

จากการสืบค้นข้อมูลในหนังสือประวัติโรงเรียนนายร้อยพระ

จุลจอมเกล้าครบรอบ๘๐ปี๑๐๐ปี๑๒๐ปีและหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

กับ รร.จปร. ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขณะเดียวกัน ผู้เขียนกลับ

พบข้อมูลที่น่าสนใจในหนังสือ “ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

๘๐ปี”ว่ากรมยุทธศึกษาทหารบกโดยจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อครั้งทรงดำรง

ตำแหน่งเสนาธิการทหารบก(พ.ศ. ๒๔๖๓- ๒๔๖๙) ทรงเป็นประธาน

ในการน้อมเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์และเครื่องทรงตำแหน่งผู้บังคับการ

พิเศษโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคมพ.ศ. ๒๔๖๓ต่อมาในรัชสมัยพระบาท

สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาธิการทหารบกก็ทรงเป็นประธานใน

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ

ธงราชินี

ธงเยาวราช

ธงเยาวราชฝ่ายใน

ธงพระราชวงศ์ฝ่ายใน

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 10: file๏ ปัญหา การ โยก ย้าย ข้าราชการ กับ การเมืองนนร.อัคร พล มณี วัลย์ ๕๒

,

9เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๔

การน้อมเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์และเครื่องทรง

ตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษโรงเรียนนายร้อยทหารบก

แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่

๑๗กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๔๖๘หลังจากกรมยุทธศึกษา

ทหารบกรวมโรงเรยีนนายรอ้ยชัน้ประถมและโรงเรยีน

นายร้อยชั้นมัธยมเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก

อาจมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วทำไม

รร.จปร. จึงไม่น้อมเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์และ

เครือ่งทรงตำแหนง่ผู้บญัชาการพเิศษรร.จปร.เหมอืน

ดังที่เคยปฏิบัติมา

คำตอบก็คือ ขณะนี้ พล.อ.หญิง สมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง

รบัราชการในตำแหนง่ศาสตราจารย์โรงเรยีนนายรอ้ย

พระจุลจอมเกล้า ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบ

พลเอกเหมือนข้าราชการอื่นๆ ในกองทัพบก ดังนั้น

เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

พล.อ.หญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้า

มหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงเป็นผู้บัญชาการพิเศษโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้าตั้งแต่วันที่๔สิงหาคมพ.ศ.๒๕๕๓โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจึงได้จัดพิธีทูลเกล้าฯ

ถวายตำแหน่งผู้บัญชาการพิเศษ รร.จปร. และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา(ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น)

เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสำเนาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ตรงกับวัน

พระราชทานกำเนดิโรงเรยีนนายรอ้ยพระจลุจอมเกลา้ครบรอบ๑๒๓ปีตอ่มาในวนัที่๑๖กนัยายนพ.ศ.๒๕๕๓

ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษาในจังหวัดนครนายก รวมทั้งนักเรียนนายร้อยและนักเรียน

เตรียมทหารประมาณ๒,๐๐๐คน เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายของที่ระลึกเพื่อแสดงความปลื้มปีติยินดี และ

สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณณหอประชุมรร.จปร.หลังจากนั้นในงานรำลึกวันเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด

โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการ

ทหารบกกราบบงัคมทลูดว้ยอาเศยีรวาทราชสดดุีแสดงความสำนกึในพระมหากรณุาธคิณุที่พล.อ.หญงิสมเดจ็

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงสอนนักเรียนนายร้อยติดต่อกันเป็นเวลา ๓๐ ปี

(๒๔ธันวาคม๒๕๕๓)

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Administrator
Typewritten Text
กลับหน้าสารบัญ
Administrator
Typewritten Text
Administrator
Typewritten Text