106
พุทธวิธีในการสอน © พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ISBN 974-7891-64-6 ชื่อเดิม: เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า พิมพ์ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๓๐ พิมพ์ครั้งที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๐ (พิมพ์ครั้งแรก ในชื่อใหม“พุทธวิธีในการสอน”) พิมพ์ครั้งที่ 18 มีนาคม ๒๕๕6 (ข้อมูลสถิติการพิมพ์อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเก่า ครั้งที่พิมพ์ที่ระบุนี้เป็นการประมาณขั้นตำ่า เท่าที่มีข้อมูลปรากฏในปัจจุบัน) พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิหากท่านใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่ วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐ http://www.watnyanaves.net พิมพ์ทีบริษัท พิมพ์สวย จำากัด ถนนเทศบาลรังสฤษฎ์เหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๙๕๓-๙๖๐๐ แฟ็กซ์ ๐-๒๙๕๓-๙๖๐๖

พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

  • Upload
    others

  • View
    15

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พทุธวิธีในการสอน © พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)ISBN 974-7891-64-6

ช่ือเดิม: เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้าพิมพ์ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๓๐พิมพ์ครั้งที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๐(พมิพ์คร้ังแรก ในช่ือใหม่ “พุทธวิธีในการสอน”)พิมพ์ครั้งท่ี 18 มีนาคม ๒๕๕6

(ข้อมูลสถิติการพิมพ์อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเก่า ครั้งที่พิมพ์ที่ระบุนี้เป็นการประมาณข้ันตำ่า เท่าที่มีข้อมูลปรากฏในปัจจุบัน)

พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธ์ิหากท่านใดประสงค์จัดพิมพ์โปรดตดิต่อขออนุญาตท่ี วดัญาณเวศกวนัต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐http://www.watnyanaves.net

พิมพ์ที่ บริษัท พมิพ์สวย จำากัดถนนเทศบาลรังสฤษฎ์เหนือแขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐โทร. ๐-๒๙๕๓-๙๖๐๐ แฟ็กซ์ ๐-๒๙๕๓-๙๖๐๖

Page 2: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

อนุโมทนา

Page 3: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

สารบญั

พทุธวิธีในการสอน.................................................................๑๑. ปรัชญา�ชญาพืญาพื้นฐาน.................................................................๓๒. คุณส�ณสมบั�ติบัติผูติผู้สอน..............................................................๑๐

ก. บุคล�คลิุคลิกภาพ ๑๐ข. ค�ณธรรม ๑๓ พระปัญญาค�ณ ๑๓ พระวุคลิส�ทธุคลิค�ณ ๑๘ พระกร�ณาค�ณ ๒๕

๓. หลักทั�กทั�กทั่วไปในการัชญาสอน......................................................๓๓ก. เก เกี่ยวกับุคลเนืบเนื้อหา หรบอเรบเกี่องท เกี่สอนื ๓๓ข. เก เกี่ยวกับุคลตัวัผูัวผู้เร ยนื ๓๕ค. เก เกี่ยวกับุคลตัวัการสอนื ๔๑

๔. ลักทั)ลักทัาการัชญาสอน...................................................................๔๖๕. วบัติธี)สอนแบับัติบบต่างๆ...........................................................๔๗

แบุคลบุคลสากัจฉา หรบอสนืทนืา ๔๗แบุคลบุคลบุคลรรยาย ๔๗แบุคลบุคลตัอบุคลปัญหา ๔๘แบุคลบุคลวางกฎขวผู้อบัุคลงคับุคล ๕๑

Page 4: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

๖. กลักทัวบัติธี)แลักทัะอ�บัายปรัชญาะกอบัการัชญาสอน........................................๕๒การยกอ�ทาหรณ์แลิะการเลิา่นืุคลิทานืประกอบุคล ๕๒การเปร ยบุคลเท ยบุคลดวผู้วยขวผู้ออ�ปมา ๕๒การใชวผู้อ�ปกรณ์การเร ยนืการสอนื ๕๓การทำาเปนนืตััวอยา่ง ๕๕การเลิ่นืภาษา เลิน่ืคำา แลิะใชวผู้คำาในืความหมายใหม่ ๕๖อ�บุคลายเลิบอกคนื แลิะการปฏุคลิบัุคลตัุคลิรายบุคล�คคลิ ๕๗การรัวผู้จักจังหวะแลิะโอกาส ๕๙ความยบดหย�่นืในืการใชวผู้วุคลิธ การ ๖๐การลิงโทษแลิะใหวผู้รางวัลิ ๖๒กลิวุคลิธ แกวผู้ปัญหาเฉพาะหนืวผู้า ๖๔

นิเทศอาทิตตปริยายสูตร....................................................๗๓ติอน ๑ เนญาพื้อเรัชญาญกทั่อง.................................................................๗๓

ท เกี่มา ๗๓ความย่อ ๗๔การบัุคลชาไฟ ๗๕ใจความของพระสตััร ๗๘

ติอน ๒ คุณสำาอธีบัติบัายเชบัติงวบัติจารัชญาณ<..................................................๘๑ในืแง่วุคลิธ สอนื ๘๑ในืแง่สาระสำาคัญหรบอหลิักธรรม ๘๙สุคลิเกี่งสำาคัญท เกี่พงงระลิงก ๑๐๐

Page 5: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน∗

พระนามอยางหนึ่งของพระพุทธเจา ท่ีปราชญไดขนานถวายและพุทธศาสนิกชนนิยมกลาวเรียกเสมอ คือคํ าวา พระบรมศาสดา หรือ พระบรมครู ซ่ึงแปลวา พระศาสดาผูยอดเยี่ยม หรือ ผูเปนยอดของครู

ในภาษาบาลีก็มีบทพุทธคุณถวายพระเกียรติวา สตฺถาเทวมนุสฺสานํ แปลวา พระศาสดาของทวยเทพและมนุษยท้ังหลายและมีคํ าเสริมพระคุณวา อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ แปลวา เปนสารถีฝกคนไดไมมีใครยิ่งกวา

พระนามเหลานี้ แสดงความหมายอยูในตัววา ปราชญและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคารพบูชาและยกยองเทอดทูนพระองค ในฐานะทรงเปนนกัการสอนทีย่ิง่ใหญท่ีสดุ ทรงมพีระปรชีาสามารถอยางยอดเยี่ยมในการอบรมสัง่สอน และไดทรงประสบความส ําเรจ็ในงานนีเ้ปนอยางดี

ความยิ่งใหญและพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจาในดานการสอนนั้น ถาจะพูดใหเห็นดวยอาศัยประจักษพยานภายนอกก็ ∗ บรรยายสรปุ ณ วทิยาลยัครธูนบรีุ เมือ่ ๑ ตลุาคม ๒๕๑๓ ครัง้ด ํารงสมณศกัดิท์ีพ่ระศรวีสิทุธโิมลีหมายเหตุ: เขียนในเวลากระชั้นชิด การศึกษาความหมายและตีความหลักธรรมบางขอตอง

กระท ําในเวลาเรงรัดเกินไป จึงขอใหถือเปนเพียงขั้นริเริ่ม เผื่อถามีโอกาสก็จะไดทํ าใหชัดเจนถองแทตอไป หลักบางขอยังหาตัวอยางประกอบไวนอยและบางตัวอยางเพยีงอางไว ยังมิไดคนหลักฐานนํ ามาแสดงใหเต็มที่

Page 6: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๒

เปนเรื่องไมยาก เพราะเพียงพิจารณาเผินๆ จากเหตุผลงายๆ ตอไปน้ี ก็จะนึกไดทันที คือ:-

๑ . พระพุทธเจาเสด็จอุบัติในยุคที่ชมพูทวีปเปนถิ่นนักปราชญ เต็มไปดวยศาสดาจารยเจาลัทธิตางๆ เปนอันมาก แตละทานลวนมีช่ือเสียงและมีความสามารถ ผูท่ีมาเผชิญพระองคน้ัน มีท้ังมาดีและมาราย มีท้ังที่แสวงหาความรู มาลองภูมิ และที่ตองการมาขมมาปราบ แตพระองคสามารถประสบชัยชนะในการสอน จนมีพระนามนํ าเดนมาถึงปจจุบัน

๒. คํ าสอนของพระองค ขัดแยงกับคํ าสอนในศาสนาเดิมและแยงกับความเชื่อถือความประพฤติปฏิบัติท่ีแพรหลายอยูในสังคมสมัยนั้น เชน การทํ าลายความเชื่อถือเรื่องวรรณะ เปนตน ทรงจัดตั้งระบบคํ าสอนและความเชื่อถืออยางใหมใหแกสังคม การกระทํ าเชนนี้ใหเปนที่ยอมรับอยางกวางขวาง ยอมเปนงานยากอยางยิ่ง

๓. ขอบเขตงานสอนของพระองคกวางขวางมาก ท้ังโดยเทศะและระดับชนในสังคม ตองเสด็จไปสั่งสอนในหลายถิ่นแควน พบคนทุกชั้นในสังคม ซ่ึงมีระดับความเปนอยู ความเชื่อถือ การศึกษาอบรม นิสัยใจคอ และสติปญญาแตกตางกัน ทุกแบบทุกชนิด ทรงสามารถสอนคนเหลานั้นใหเขาใจได และยอมเปนศิษยของพระองค นับแตพระมหากษัตริยลงมาทีเดียว

Page 7: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓

๔. พระพุทธศาสนาที่เจริญมาไดตลอดเวลานับพันๆ ปแพรหลายเปนที่นับถืออยูในประเทศตางๆ และคณะสงฆผูสืบตอพระศาสนา ซ่ึงเปนสถาบันใหญและสํ าคัญในสังคมดังที่ปรากฏอยูในปจจุบัน เปนผลงานยิ่งใหญของพระองค ยืนยันถึงพระปรีชาสามารถอยางประจักษชัดโดยไมตองอธิบาย

ในเมื่อประจักษพยานภายนอกแสดงใหเห็นแลวเชนนี้ ยอมชวนใหพิจารณาสืบคนตอไปถึงเนื้อธรรมคํ าสอน หลักการสอนและวิธีการสอนของพระองควาเปนอยางไร ยิ่งใหญและประเสริฐสมจริงเพียงใด

เนื้อพระธรรมคํ าสอน หลักการสอน และวิธีการสอนของพระพุทธองคน้ัน ปรากฏอยูแลวในพระไตรปฎก และคัมภีรอธิบายมีอรรถกถาเปนตนแลว แตคัมภีรเหลานั้นมีเนื้อหามากมาย มีขนาดใหญโต๑ เกินกวาจะสํ ารวจเนื้อหา รวบรวมความ นํ ามาสรุปแสดงใหครอบคลุมท้ังหมดในเวลาอันสั้น ในที่น้ีจึงขอนํ ามาแสดงเพียงใหเห็นรูปลักษณะทั่วไปเทานั้น.

๑. ปรัชญาพื้นฐานกอนจะพูดถึงหลักการสอนและวิธีสอน สมควรกลาวถึง

ปรัชญาที่เปนพื้นฐานเสียกอน เพราะหลักการสอนยอมดํ าเนินไป ๑ พระไตรปฎกบาลีอักษรไทย จํ านวน ๒๒,๓๗๙ หนา อรรถกถาและคัมภีรเฉพาะที่พิมพเปนเลมแลว ๒๘,๓๑๘ หนา

Page 8: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๔

จากจุดเริ่ม ตามแนวทาง และสูจุดหมายตามที่ปรัชญากํ าหนดใหอยางไรก็ดี เมื่อมองในแงปรัชญาการศึกษา พุทธธรรมก็เปนเรื่องกวางขวางมากอีก เพราะพุทธธรรมทั้งหมด เปนเรื่องของระบบการศึกษาระบบหนึ่งนั่นเอง ในที่น้ี จึงขอนํ ามากลาวเฉพาะที่เกี่ยวกับการสอนแตสั้นๆ

ตามหลักพระพุทธศาสนาถือวา ในการดํ ารงชีวิตของมนุษยน้ัน ความขัดของปรวนแปร ความเดือดรอนลํ าบาก ความเจ็บปวดความสูญเสีย ความพลัดพราก และปญหาชีวิตตางๆ ซ่ึงทางพุทธศาสนาเรียกรวมวาความทุกขน้ัน เปนสิ่งที่มีอยู มนุษยจะตองเขาไปเกี่ยวของและไดประสบแนนอน ไมวามนุษยจะตองการหรือไมตองการ จะยอมรับวามันมีอยูหรือไมยอมรับ หรือแมจะเบือนหนาหนีอยางไรก็ตาม เมื่อเปนเชนนี้ หากมนุษยตองการมีชีวิตอยูอยางดีท่ีสุด มนุษยจะตองยอมรับความจริงอันนี้ จะรับรูสูหนา และพรอมท่ีจะจัดการแกไขปญหาที่เกิดขึ้นใหดีท่ีสุด

ชีวิตที่เปนอยูอยางดีและมีความสุขที่สุด คือ ชีวิตที่กลารับรูตอปญหาทุกอยาง ตั้งทัศนคติท่ีถูกตองตอปญหาเหลานั้น และจัดการแกไขดวยวิธีท่ีถูกตอง การหลีกเลี่ยงที่จะรับรูก็ดี การนึกวาดภาพใหเปนอยางที่ตนชอบก็ดี เปนการปดตาหรือหลอกตนเอง ไมชวยใหพนจากความทุกข ไมเปนการแกปญหา และใหไดพบความสุขอยางแทจริง อยางนอยก็เปนการฝงเอาความกลัว ซ่ึงเปนเชื้อแหงความทุกขเขาไวในจิตใจอยางลึกซึ้ง

ดวยเหตุน้ี สิ่งที่พระพุทธศาสนาสอนเปนขอแรก ก็คือ ความทุกข อันเปนปญหาที่มนุษยพึงรับรูและจัดการแกไขโดยถูกตอง

Page 9: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕

และถือวาภารกิจของพระพุทธศาสนาและระบบการศึกษาของพระพุทธศาสนา ก็คือ การชวยมนุษยใหแกปญหาของตนได

ความทุกข ความเดือดรอน และปญหาชีวิตนานาประการของมนุษยน้ัน เกิดจากตัณหา คือ ความอยาก ความตองการความเห็นแกตัว ซ่ึงทํ าใหมนุษยมีทัศนคติตอสิ่งตางๆ เคลื่อนคลาดจากที่มันเปนจริง และเปนไปในรูปตางๆ กันตามระดับความอยากและความยึดของตนตอสิ่งนั้นๆ เมื่อมีทัศนคติท่ีเคลื่อนคลาดไป ก็ทํ าใหเกิดความขัดแยงขึ้นในตนเอง และความขัดแยงระหวางตนกับผูอื่น แลวปฏิบัติหรือจัดการกับสิ่งนั้นๆ ดวยอํ านาจความอยากและความยึดของตน คือ ไมจัดการตามที่มันควรจะเปนโดยเหตุผลแทๆ เมื่อเปนเชนนี้ ก็ยอมเปนการสรางปญหาใหเกิดขึ้น เกิดความขัดของขัดแยง และความทุกข ท้ังแกตนและผูอื่น ตามระดับของตัณหา และขอบเขตของเรื่องที่ปฏิบัติ

ตัณหานั้น เกิดจากความไมรู ไมเขาใจ ไมมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเปน มีทัศนคติตอสิ่งทั้งหลายอยางไมถูกตอง ซ่ึงเรียกวา อวิชชา จึงเปนเหตุใหไมจัดการกับสิ่งนั้นๆ ตามที่มันควรจะเปนโดยเหตุผลบริสุทธิ์ การที่จะแกปญหาหรือแกความทุกข จึงตองกํ าจัดอวิชชา สรางวิชชาใหเกิดขึ้น

โดยนัยนี้ ภารกิจสํ าคัญของการศึกษาก็คือ การฝกอบรมบุคคลใหพัฒนาปญญา ใหเกิดความรูความเขาใจในขอเท็จจริงและสภาวะของสิ่งทั้งหลาย มีทัศนคติตอสิ่งทั้งหลายอยางถูกตองปฏิบัติและจัดการกับสิ่งทั้งหลายตามที่ควรจะเปน เพื่อใหเกิดเปนประโยชนตน คือ ความมีชีวิตอยูอยางสํ าเร็จผลดีท่ีสุด มีจิตใจเปน

Page 10: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๖

อิสระ มีสุขภาพจิตสมบูรณ และประโยชนผูอื่น คือ สามารถชวยสรางสรรคประโยชนสุขแกชนทั้งหลายที่อยูรวมกันเปนสังคมได

จากขอความที่กลาวมา มีขอท่ีควรกํ าหนด คือ:-๑. ภารกิจสํ าคัญของการศึกษา ไดแก การชวยใหบุคคล

เกิดทัศนคติท่ีถูกตอง คือ รูจักมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเปน และสามารถจัดการกับสิ่งเหลานั้นตามที่ควรจะเปน ใหเกิดเปนประโยชนท้ังแกตนและสังคม ไมใหมองเห็นและจัดการสิ่งทั้งหลายตามอํ านาจกิเลสตัณหา

๒. ทัศนคติท่ีถูกตอง และความสามารถจัดการดังกลาวนั้นเกิดขึ้นไดดวยการพัฒนาปญญา และปญญาเปนความรูความเขาใจที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นเองเทานั้น ผูอื่นจะนํ ามายัดเยียดใหหรือบังคับใหรับเขาไวไมได

๓. ในเมื่อปญญาตองเกิดจากความรูความเขาใจที่พัฒนาข้ึนในตัวบุคคลเอง ภารกิจของผูสอนและใหการศึกษาท้ังหลาย จึงเปนเพียงผูช้ีนํ าทางหรืออํ านวยโอกาส ชวยใหผูเรียนหรือผูรับการศึกษาอบรม ดํ าเนินเขาสูปญญาสิ่งที่ดีท่ีสุดที่ผูสอนที่ดีจะทํ าไดก็คือ ตั้งใจชวยเหลือพยายามสรรหาอุบาย กลวิธี และอุปกรณตางๆ ท่ีจะมาชวยผูเรียนใหเขาถึงปญญาอยางไดผลดีท่ีสุด อยางที่สํ านวนบาลีเรียกวา เปนกัลยาณมิตร

๔. โดยเหตุผลเดียวกัน ในระบบการศึกษาเชนนี้ ผูเรียนเปนผู มีบทบาทสํ าคัญในฐานะเปนผูสรางปญญาใหเกิดแกตน จึงตองเปนผูมีสวนรวมและเปนผูไดลงมือ

Page 11: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๗

กระทํ าใหมากที่สุดเทาที่จะชวยใหตัวเขาเกิดปญญานั้นข้ึนได และโดยนัยนี้ ความสามารถ ความถนัด อุปนิสัยตางๆ ของผูเรียน จึงเปนสิ่งที่ผูสอนจะตองคํ านึงอยางสํ าคัญ เพื่อจัดสภาพการเรียนและกลวิธีสอนตางๆเปนตน ใหผูเรียนเรียนอยางไดผลดีท่ีสุด

๕ . ในเมื่อปญญาเปนของยัดเยียดบังคับใหรับเอาไมได การเรียนการสอนจึงตองใชวิธีการแหงปญญา คือ ผูเรียนตองเปนอิสระในการใชความคิด และในการที่จะซักถามโตตอบสืบเสาะคนหาความจริงตางๆ ใหไดรับความรูความเขาใจขึ้นในตน ในระบบการศึกษาแบบนี้จึงมีการปฏิบัติอยาง กาลามสูตร ไมมีการบังคับใหเชื่อความเชื่อหรือศรัทธาในระบบการศึกษานี้ หมายเพียงความเชื่อมั่นในหลักการ วิธีการและสมมติฐานตางๆ ท่ีตนไดตั้งขึ้น โดยมีเหตุผลเปนฐานรองรับอยางเพียงพอแลววาจะนํ าใหดํ าเนินไปสูจุดหมายไดอยางแทจริง และเปนสิ่งที่จะพิสูจนไดตอไปตามลํ าดับในระหวางดํ าเนินไปสูเปาหมายนั้น

วางเปนขอสรุปท่ีเกี่ยวกับการสอน ดังนี้:-๑. ปญญาเปนสิ่งสรางสรรคข้ึนภายในตัวผูเรียนเอง๒. ผูสอนทํ าหนาที่เปนกัลยาณมิตร ชวยชี้นํ าทางการเรียน๓. วิธีสอน อุบาย และกลวิธีตางๆ เปนสื่อหรือเปนเครื่อง

ผอนแรงการเรียนการสอน

Page 12: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๘

๔. อิสรภาพในทางความคิด เปนอุปกรณสํ าคัญในการสรางปญญา

อน่ึง โดยที่ปญญาเปนสวนสํ าคัญยิ่งในระบบการศึกษานี้เชนที่กลาวมาแลว จึงสมควรทํ าความเขาใจเกี่ยวกับเรื่องปญญาท่ีมักแปลกันวา ความรู ไวเพื่อกันความสับสนสักเล็กนอย

ความรูในที่น้ี ควรแยกเปน ๒ ประเภท คือ:-๑. สุตะ คือ ความรูจากการสดับตรับฟง หรือ เลาเรียน

อาน รับถายทอดจากแหลงความรูอื่น การสั่งสมความรูประเภทนี้ไวไดมาก เรียกวา พาหุสัจจะ แปลวา ความเปนพหูสูต คือ ความเปนผูคงแกเรียน หรือไดเรียนรูมาก เปนความรูประเภทประมวลหรือรวบรวมสิ่งอันจะพึงรู ทํ าตนใหเปนคลังเก็บความรู ซ่ึงถือวาเปนคุณสมบัติท่ีดีของบุคคลอยางหนึ่ง เปนอุปกรณสํ าหรับนํ าไปใชทํ าประโยชนตางๆ ไดมาก แตไมถือเปนองคธรรมแกนในระบบการศึกษา

๒. ปญญา คือ ความรูประเภทเขาใจสภาวะ รูคิด รูเลือกคัดวินิจฉัย และรูท่ีจะจัดการ เปนความรูประเภทที่มุงหมายและเปนสวนสํ าคัญในระบบการศึกษานี้ ปญญาน้ีมีไวพจนมากมาย เชน ญาณ วิชชา ปริญญาปฏิสัมภิทา วิปสสนา สัมมาทิฏฐิ เปนตน ซ่ึงแสดงถึงความหมายในแงตางๆ และขัน้ตางๆ ของปญญานัน่เอง

สิ่งที่ควรทํ าความเขาใจอีกอยางหนึ่ง ไดแกลักษณะงานสอนซ่ึงแตกตางกันตามประเภทวิชา อาจแยกไดเปน ๒ ประเภท คือ

Page 13: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙

วิชาประเภทชี้แจงขอเท็จจริง เชน ภูมิศาสตร และประวัติศาสตรเปนตน การสอนวิชาประเภทนี้ หลักสํ าคัญอยูท่ีทํ าใหเกิดความเขาใจในขอเท็จจริง การสอนจึงมุงเพียงหาวิธีการใหผูเรียนเขาใจตามท่ีสอนใหเกิดพาหุสัจจะเปนใหญ

สวนวิชาอีกประเภทหนึ่ง ซ่ึงเกี่ยวดวยคุณคาในทางความประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะวิชาศีลธรรม และจริยธรรมทั่วไป การสอนที่จะไดผลดี นอกจากใหเกิดความเขาใจแลว จะตองใหเกิดความรูสึกมองเห็นคุณคาและความสํ าคัญ จนมีความเลื่อมใสศรัทธาที่จะนํ าไปประพฤติปฏิบัติดวย

สํ าหรับวิชาประเภทนี้ ผลสํ าเร็จอยางหลังเปนสิ่งสํ าคัญมากและมักทํ าไดยากกวาผลสํ าเร็จอยางแรก เพราะตองการคุณสมบัติขององคประกอบในการสอนทุกสวน นับแตคุณสมบัติสวนตัวของผูสอนไปทีเดียว

ยิ่งในงานประดิษฐานพระศาสนาที่จะใหคนจํ านวนมากยอมรับดวยวิธีการแหงปญญาดวยแลว ก็ยิ่งเปนเรื่องสํ าคัญมาก

ฉะนั้น การพิจารณาหลักการสอนของพระพุทธเจา จึงจะเริ่มแตคุณสมบัติของผูสอนไปทีเดียว.

Page 14: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

๒. คุณสมบัติของผูสอนในที่น้ีจะแสดงตามแนวพุทธคุณ และเห็นควรแยกเปน ๒

สวน คือ เปนคุณสมบัติท่ีปรากฏออกมาภายนอก อันไดแกบุคลิก-ภาพอยางหนึ่ง และคุณสมบัติภายใน อันไดแกคุณธรรมตางๆอยางหนึ่ง

ก. บุคลิกภาพในดานบุคลิกภาพ จะเห็นวา พระพุทธเจาทรงมีพระลักษณะ

ท้ังทางดานความสงางามแหงพระวรกาย พระสรุเสยีงทีโ่นมนํ าจติใจและพระบุคลิกลักษณะอันควรแกศรัทธาปสาทะทุกประการ ดังจะเหน็จากตวัอยางทีท่ราบกนัทัว่ไป และทีบั่นทกึไวในคมัภรีตางๆ เชน:-

๑. ทรงมีพระมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีพระวรกายสงางามอยางที่มีผูชมวา

“พระสมณโคดม มีพระรูปงาม นาดู นาเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผองยิ่งนัก วรรณะและพระสรีระดุจดังพรหม นาดูนาชมนักหนา”๑๒. ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ และตรัสพระวาจาสุภาพสละ

สลวย อยางคํ าชมของจังกีพราหมณท่ีวา“พระสมณโคดม มีพระวาจาไพเราะ รูจักตรัสถอย

คํ าไดงดงาม มีพระวาจาสุภาพ สละสลวย ไมมีโทษ ยังผู

๑ จังกีสูตร, ม.ม.๑๓/๖๕๐

Page 15: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๑

ฟงใหเขาใจเนื้อความไดชัดแจง”๑และคํ าของอุตรมาณพที่วา

“พร ะสุร เสียงที่ เปล งก องจากพระโอษฐ นั้นประกอบดวยคุณลักษณะ ๘ ประการ คือ แจมใส ๑ชัดเจน ๑ นุมนวล ๑ ชวนฟง ๑ กลมกลอม ๑ ไมพรา๑ ซึ้ง ๑ กังวาน ๑”๒หรือตามมหาบุรุษลักษณะขอท่ี ๒๙ วา

“มีพระสุรเสียงดุจพรหม ตรัสมีสํ าเนียงใสไพเราะดุจนกการเวก”๓๓ . ทรงมีพระอากัปกิริยามารยาททุกอยางที่งดงามนา

เลื่อมใส เริ่มแตสมบัติผูดี และมารยาทอันเปนที่ยอมรับของสังคมตลอดจนพระบุคลิกลักษณะที่เปนเสนหทุกประการ พรอมไปดวยความองอาจ ความสงางาม ความสงบเยือกเย็น การแสดงธรรมของพระองค นอกจากแจมแจงดวยสัจธรรมแลว ยังกอใหเกิดความรูสึกเพลิดเพลินสุขใจ ชวนใหอยากฟงอยากใกลชิดพระองคอยูไมวาย อยางคํ าชมของบุคคลตางๆ เชน:-

“นี่ ทานปงคิยานี มองเห็นสารประโยชนอันใด จึงเลื่อมใสในพระสมณโคดมถึงเพียงนี้”

“ทานผูเจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผูอ่ิมในรสอันเลิศแลว ยอมไมปรารถนารสอื่นๆ ที่เลว ฉันใด บุคคลฟง

๑ จังกีสูตร, ม.ม.๑๓/๖๕๐๒ พรหมายุสูตร, ม.ม. ๑๓/๕๘๙; ที.ม. ๑๐/๑๙๘, ๒๑๘๓ ที.ม. ๑๐/๒๙; ฯลฯ

Page 16: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๑๒

ธรรมของพระสมณโคดมพระองคนั้น โดยลักษณะใดๆจะโดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ หรือโดยอัพภูตธรรมก็ดี ยอมไมปรารถนาวาทะของสมณะเปนอันมากเหลาอ่ืน โดยลักษณะนั้นๆ เลย ฉันนั้น

เปรียบเหมือนบุรุษผูหิวและออนเพลีย มาไดรวงผ้ึง ก็พึงลิ้มรส ยอมไดรสแทแสนชุมชื่น ฉันใดบุคคลฟงธรรมของทานพระโคดมพระองคนั้น...ยอมไดรับความดีใจ ปลาบปลื้มใจ ฉันนั้น

เปรียบเหมือนบุรุษ ไดไมจันทน เปนจันทนเหลืองหรือจันทนแดง จะสูดกลิ่นตรงที่ใด จะเปนราก ลํ าตนหรือที่ยอด ก็ยอมไดกลิ่นหอมสนิทเปนกลิ่นแท ฉันใดบุคคลฟงธรรมของทานพระโคดมพระองคนั้น...ก็ยอมไดปราโมทย ไดความโสมนัส ฉันนั้น

เปรียบเหมือนบุรุษอาพาธ เจ็บปวด เปนไขหนักนายแพทยผูฉลาดพึงบํ าบัดอาพาธเขาไดฉับไว ฉันใดบุคคลฟงธรรมของทานพระโคดมพระองคนั้นแลว...ความโศกเศรา ปริเทวนาการ ความทุกขโทมนัส และความคับแคนใจของเขา ยอมหมดไป ฉันนั้น

เปรียบเหมือน สระใหญมีนํ้ าใส เย็น จืดสนิท นาเจริญใจ มีทาราบเรียบนารื่นรมย บุรุษผูรอนดวยแสงแดด ถูกแดดแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เดินมาถึง เขาลงไปอาบ ด่ืม ในสระนํ้ านั้น พึงระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเรารอนทั้ง

Page 17: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๓

ปวงได ฉันใด บุคคลฟงธรรมของทานพระโคดมพระองคนั้นแลว...ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเรารอนของเขา ก็ยอมระงับไปไดหมดสิ้น ฉันนั้น”๑

“ชนทั้งหลาย ที่ทานพระโคดมทรงชี้แจงใหเห็นแจง ใหสมาทาน ใหอาจหาญ ใหราเริงดวยธรรมีกถาแลว เมื่อลุกไปจากที่นั่งก็ยังเหลียวหลังกลับมามองดวยไมอยากจะละจากไป”๒

ข.คุณธรรมพระพุทธคุณในแงคุณธรรมมีมาก ไมอาจแสดงไดครบทุก

นัย จึงขอเลือกแสดงตามแนวพระคุณ ๓ คือ:-๑. พระปญญาคุณ พระปญญาคุณที่เกี่ยวกับงานสอน ขอ

ยกมาแสดง ๒ อยาง คือ ทศพลญาณ และปฏิสัมภิทา๑) ทศพลญาณ คือ พระญาณอันเปนกํ าลังของพระตถาคต

ท่ีทํ าใหพระองคสามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาไดมั่นคง จะแสดงความหมายที่เปนพุทธคุณแท กับความหมายที่ผูสอนท่ัวไปพึงนํ ามาใชไดดังนี้:-

๑ การณปาลีสูตร, องฺ.ปฺจก. ๒๒/๑๙๓๒ พรหมายุสูตร, ม.ม. ๑๓/๕๘๙

Page 18: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๑๔

ทศพลญาณ๑

๑. ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรูฐานะ และอฐานะ คือรูกฎธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายวา อะไรเปนไปได อะไรเปนไปไมไดและแคไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแงความสมัพนัธระหวางเหตุกบัผล และกฎเกณฑทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคลซึ่งจะไดรับผลกรรมที่ดีและชั่วตางๆ กัน

๒. กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรูผลของกรรม สามารถกํ าหนดแยกการใหผลอยางสลับซับซอนระหวางกรรมดีกับกรรมชั่วที่สัมพันธกับปจจัยแวดลอมตางๆ มองเหน็รายละเอยีดและความสัมพันธภายในกระบวนการกอผลของกรรมอยางชัดเจน.

ความหมายสวนที่ผูสอนทั่วไปพอจะปฏิบัติได

๑. มคีวามรูเขาใจในเนื้อหา และขอบเขตของกฎเกณฑ และหลกัการตางๆ ที่เกี่ยวของและที่จะนํ ามาใชในการสอนอยางชัดเจน ตลอดจนรูขีดข้ันความสามารถของบุคคลที่มีพัฒนาการอยู ในระดับตางๆ

๒. มีความรูความเขาใจในกระ-บวนพฤติกรรมตางๆ ของมนษุยเปนอยางดี.

๑ ม.มู. ๑๒/๑๖๖; องฺ.ทสก. ๒๔/๒๑; อภิ.วิ. ๓๕/๘๓๙–๘๔๘; วิภงฺค.อ. ๕๒๐, ๕๕๐–๖๐๗ การศึกษาเปรียบเทียบนี้เปนครั้งแรก จึงยังอาจไดความหมายไมครอบคลุมครบถวน ขอใหถือเปนจุดเริ่มตนไวกอน

Page 19: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๕

๓ . สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู ขอปฏิบัติที่จะนํ าไปสูคติทั้งปวง (คือสูสุคติทุคติหรือพนจากคติ) หรือปรีชาหยั่ง รู ข อปฏิบัติที่จะนํ าไปสู อรรถประโยชนทั้งปวง (จะเปนทฏิฐธัมมิกัตถะ หรือสัมปรายิ-กัตถะ หรือปรมัตถะ ก็ตาม) รูวาเมือ่ตองการเขาสูจดุหมายใดจะตองทํ าอะไรบาง มีรายละเอียดวธิปีฏิบัติอยางไร.

๔. นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรูสภาวะของโลกอันประกอบ ดวยธาตุตางๆ เปนเอนก รูสภาวะของธรรมชาติทั้งฝาย อุปาทินนกสังขาร และอนุ-ปาทนินกสังขาร เชนในเรื่องชวีติ ก็ทราบองคประกอบตางๆสภาวะขององคประกอบ เหลานัน้ พรอมทั้งหนาที่ของมนั เชน การปฏิบัติหนาที่ของขันธ อายตนะและธาตุตางๆในกระบวนการรับรู เปนตนและรูเหตุแหงความแตกตางกนัของสิง่ทั้งหลายเหลานั้น.

๓ . รู วิ ธีการและกลวิธีปฏิบั ติตางๆ ที่จะนํ าเขาสูเปาหมายทีต่องการ.

๔ มีความรู ในวิชาสรีรวิทยา และจติวิทยา อยางนอยใหทราบองคประกอบตางๆ และการปฏิบัติหน าที่ขององค ประกอบเหลานั้นในกระบวนการเรียนรูของบุคคล และถาเปนไปได ควรมีความรูทั่วไปอยางกวางขวาง โดยเฉพาะในทางวิทยาศาสตร เพื่อรูจักสภาวะของสิ่งทั้งหลาย และมทีศันคตทิีถ่กูตองตอส่ิงเหลานัน้ อันจะเปนเครื่องเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนใหไดผลดียิ่งขึ้น.

Page 20: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๑๖

๕. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรูอธิมุติ (คือรูอัธยาศัย ความโนมเอียง แนวความสนใจฯลฯ) ของสัตวทั้งหลาย ที่เปนไปตางๆ กัน

๖ . อิ นท ริ ย ป โ รป ริ ยั ต ตญาณ ปรีชาหยั่งรูความยิ่งและหยอนแหงอินทรียของสัตวทั้งหลาย รูวา สัตวนั้นๆ มีแนวความคิดความรู ความเขาใจ แคไหนเพยีงใด มกีเิลสมาก กเิลสนอยมอิีนทรียออนหรือแกกลา สอนงายหรอืสอนยาก มคีวามพรอมทีจ่ะเขาสูการตรัสรูหรือไม.

๗. ฌานาทสัิงกเิลสาทญิาณ ปรีชาหยั่ง รู เหตุที่จะทํ าใหฌาน วโิมกข และสมาบัติเสื่อม หรือเจริญ คลองแคลวจัดเจน หรือกาวหนายิ่งขึ้นไป.

๘ . ปุพ เพนิ วาสานุสส ติญาณปรีชาหยั่งรูระลึกชาติภพในหนหลังได

๕ . รู ความแตกต างระหว างบุคคล ในดานความโนมเอียงแนวความสนใจ และความถนัดโดยธรรมชาติ

๖ . รู ความแตกต างระหว างบุคคลในดานระดบัสติปญญาความสามารถ พัฒนาการดานตางๆ และความพรอมที่จะเรียนรู.

๗. รูปจจัยตางๆ ที่เปนอุปสรรคถวง หรือสงเสริมเพิ่มพูนผลสํ าเร็จของการเรียนรูและการฝกอบรมในระดับตางๆ กับรูจักใชเทคนิคตางๆเขาแกไข หรือสงเสริม นํ าการเรียนรูและการฝกอบรมใหดํ าเนินกาวหนาไปดวยดี.

๘. รูประวัติพื้นเพเดิม และประสบการณในอดีตของผู เรียน.

Page 21: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๗

๙. จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรูจติุ และอุบัติของสัตวทั้งหลายอันเปนไปตามกรรม.

๑๐. อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรูความสิ้นไปแหงอาสวะทั้งหลาย

๙. พจิารณาสังเกตดูผูเรียน ในขณะที่ เขามีบทบาทอยู ในชวีติจริง ภายในกลุมชนหรือสังคม สามารถรูเทาทัน และเขาใจพฤติกรรมตางๆ ที่เขาแสดงออกในขณะนั้นๆ วาเปนผูมีปญหาหรือไมอยางไร มองเห็นสาเหตุแหงปญหานัน้ และพรอมที่จะเขาชวยเหลือแกไขไดทันที.

๑๐. รูชัดเขาใจแจมแจง และแนใจวา ผลสัมฤทธิ์ที่เปนจุดหมายนัน้ คืออะไร เปนอยางไรและตนเองสามารถกระทํ าผลสัมฤทธิ์นั้นใหเกิดขึ้นไดจริงดวย.

๒) ปฏิสัมภิทา คือ ปญญาแตกฉานในดานตางๆ ซ่ึงมีท่ัวไปแกพระมหาสาวกทั้งหลายดวย ดังนี้:-

๑. อรรถปฏิสัมภิทา ความเขาใจแจมแจงในความหมายของถอยคํ า ขอความหรือขอธรรมตางๆ สามารถขยายความแยกแยะออกไปไดโดยพิสดาร แมนไดเห็นเหตุใดๆ ก็สามารถคิดเชื่อมโยงแยกแยะกระจายความคิด

Page 22: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๑๘

ออกไปลวงรูถึงผลตางๆ ท่ีจะเกิดขึ้นได แปลสั้นๆ วาปญญาแตกฉานในอรรถ

๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ความเขาใจแจมแจงในหลักหรือขอธรรมตางๆ สามารถจับใจความของคํ าอธิบายที่กวางขวางพิสดาร มาตั้งเปนกระทูหรือหัวขอได เมื่อมองเห็นผลตางๆ ท่ีปรากฏ ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุไดแปลสั้นๆ วา ปญญาแตกฉานในธรรม

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรูแตกฉานในภาษา รูภาษาตางๆ และรูจักใชถอยคํ าชี้แจงแสดงอรรถและธรรมใหคนอื่นเขาใจ และเห็นตามได แปลสั้นๆ วา ปญญาแตกฉานในนิรุกติ

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความมีไหวพริบ สามารถเขาใจคดิเหตผุลไดเหมาะสมทนัการ และมคีวามรูความเขาใจชัดในความรูตางๆ วามีแหลงที่มา มีประโยชนอยางไรสามารถเชื่อมโยงความรูท้ังหลายเขาดวยกัน สรางความคิดและเหตุผลข้ึนใหมได แปลสั้นๆ วา ปญญาแตกฉานในปฏิภาณ

๒. พระวิสุทธิคุณ ความบริสุทธิ์เปนพระคุณสํ าคัญยิ่งเชนกันที่จะทํ าใหประชาชนเชื่อถือและเลื่อมใสในพระพุทธเจา ความบริสุทธิ์น้ีอาจมองไดจากลักษณะตางๆ ดังนี้:-

ก. พระองคเองเปนผู บริสุทธิ์หลุดพนจากอาสวกิเลสทั้งปวง ไมกระทํ าความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไมมีเหตุท่ีใครจะยกขึ้นตํ าหนิได

Page 23: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๙

ข. ทรงทํ าไดอยางที่สอน คือ สอนเขาอยางไร พระองคเองก็ทรงประพฤติปฏิบัติอยางนั้นดวย อยางพุทธพจนท่ีวาตถาคตพูดอยางใดทํ าอยางนั้น จึงเปนตัวอยางที่ดี และใหประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในคุณคาของคํ าสอนได

ค. ทรงมีความบริสุทธิ์พระทัยในการสอน ทรงสอนผูอื่นดวยมุงหวังประโยชนแกเขาอยางเดียว ไมมีพระทัยเคลือบแฝงดวยความหวังผลประโยชนสวนตน หรืออามิสตอบแทนใดๆ

พระวิสุทธิคุณเหลานี้ จะเห็นไดจากคํ าสรรเสริญของบุคคลตางๆ ในสมัยพุทธกาล เชน:-

“ดูกรนาคิตะ ขออยาใหเราตองของเกี่ยวกับยศเลย และขออยาใหยศมาของเกี่ยวกับเราดวย บุคคลผูใดไมไดโดยงายซึ่งความสุขอันเกิดจากเนกขัมมะ ความสุขอันเกิดจากวิเวก ความสุขอันเกิดจากความสงบ ความสุขอันเกิดจากความตรัสรู เหมือนอยางที่เราได บุคคลผูนั้นจึงจะยินดีความสุขแบบอาจม ความสุขที่เกิดจากการหลับ และความสุขที่เกิดจากลาภ สักการะ สรรเสริญ”๑จากคํ ากลาวของพระสารีบุตรวา:-

“ทานทัง้หลาย พระตถาคตมกีายสมาจาร วจีสมา-จาร มโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิไดมีความประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่พระองคจะตอง

๑ นาคิตสูตร, องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๑๓

Page 24: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๒๐

ปกปดรักษาไว โดยตั้งพระทัยวา ขอคนอื่นๆ อยาไดรูถึงความประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจของเราเลย”๑

“ดูกรโมคคัลลานะ เราเปนผูมีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญาณไดวาเปนผูมีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผองแผว ไมเศราหมอง บรรดาสาวกไมตองคอยรักษาเราโดยศีล และเราก็ไมตองคิดหวังใหสาวกชวยรักษาเราโดยศีลเรามีอาชีวะบริสุทธิ์ มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ มีไวยากรณบริสุทธิ์ มีญาณทัศนะบริสุทธิ์...ไมตองคิดหวังใหสาวกชวยรักษา (คือชวยระมัดระวังปกปดความเสียหายในเรื่องเหลานั้น)”๒ภิกษุท้ังหลายเคยแสดงความรู สึกของตนตอพระผู มีพระ

ภาคในเรื่องการทรงสั่งสอนธรรมวา:-“ขาแตพระองคผูเจริญ พวกขาพระองคไมมีความ

ดํ าริในพระผูมีพระภาคเลยวา พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมเพราะเหตุ(ปรารถนา)จีวร บิณฑบาต เสนาสนะหรือเพราะเหตุหวังสุขในการไดเปนอยางนั้นอยางนี้”

“พวกขาพระองคมีความดํ าริในพระผูมีพระภาคอยางนี้วา พระผูมีพระภาคผูทรงอนุเคราะห ทรง

๑ สังคีติสูตร, ที.ปา. ๑๑/๒๒๘๒ กกุธสูตร, องฺ.ปฺจก. ๒๒/๑๐๐

Page 25: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๑

ปรารถนาประโยชนเกื้อกูล อาศัยความกรุณา จึงทรงแสดงธรรม”พระผูมีพระภาคจึงตรัสวา

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะการที่เธอทั้งหลายมีความดํ าริตอเราอยางนี้ ฉะนั้น ธรรมเหลาใดที่เราแสดงแลวแกเธอทั้งหลาย เพ่ือความรูยิ่ง...เธอทั้งปวงพึงพรอมเพรียงกัน บันเทิงใจ ไมวิวาท ศึกษาอยูในธรรมเหลานั้นเถิด”๑ในอุทุมพริกสูตร พระพุทธเจาตรัสวา

“พระผูมีพระภาคนั้น เปนพุทธะ (คือตรัสรู) เองแลว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู, พระองคเปนผูฝกเองแลว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อความฝก, พระองคเปนผูสงบระงับแลว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบ,พระองคเปนผูขามพนไปไดแลว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อความขามพน, ทรงเปนผูดับเย็นแลว จึงทรงแสดงธรรมเพ่ือความดับเย็น”

“เรากลาวดังนี้วา บุรุษผูเปนวิญูชน ไมโออวดไมมีมารยา เปนคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยางที่ไดรับคํ าสั่งสอนแลว จักกระทํ าใหสํ าเร็จซึ่งประโยชนอันยอดเยี่ยม อันเปนที่ปรารถนาของกุลบุตรผูออกบวช อันเปนจุดหมายแหงพรหมจรรยได ดวยปญญาอันยิ่งดวยตนเอง ในปจจุบัน

๑ ม.อุ. ๑๔/๔๒-๔๔

Page 26: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๒๒

ชาตินี้เอง โดยใชเวลา ๗ ป... ๖ ป... ๕ ป... ๔ ป... ๓ป... ๒ ป... ปเดียว... ๗ เดือน...๖ เดือน... ๕ เดือน...-๔ -๓ - ๒ - ๑ เดือน... กึ่งเดือน... ๗ วัน เทานั้น”

“บางทีทานอาจคิดวา พระสมณโคดมตรัสอยางนี้เพราะใครไดศิษย ขอนั้นทานไมพึงเห็นอยางนั้น อาจารยผูใดของทานเปนอยางนี้ ขอใหผูนั้นแหละคงเปนอาจารยของทาน... เรากลาวอยางนี้ เพราะใครไดศิษยก็หาไมตองการใหทานถอนตัวจากอุเทศของตนก็หาไม ตองการใหทานถอนตัวจากอาชีวะของทานก็หาไม ตองการใหทานเขาไปติดอยูในธรรมที่จัดวาเปนอกุศลตามลัทธิฝายอาจารยของตนก็หาไม ตองการใหทานเคลื่อนคลาดไปจากธรรมที่จัดวาเปนกุศลตามลัทธิฝายอาจารยของตนก็หาไม

“หากแตวา อกุศลธรรมที่ทํ าใหเกิดความเศราหมองที่สรางชาติสรางภพ มีแตความเรารอนกระวนกระวาย ใหผลเปนทุกข ชักนํ าชาติชรามรณะมาใหเรื่อยไป ซึ่งทานยังละไมไดนั้นมีอยู เราแสดงธรรมก็เพ่ือใหกํ าจัดอกุศลเหลานี้ได เมื่อทานปฏิบัติตาม สิ่งที่เปนเหตุกอความเสื่อมเสียทั้งหลายก็จะถูกกํ าจัดหมดไป และสิ่งที่เสริมสรางความถูกตองผองแผวก็จะพัฒนายิ่งๆ ขึ้นทานก็จักไดรูยิ่งเห็นจริง ไดบรรลุความบริสุทธิ์แหง

Page 27: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๓

ปญญา และความไพบูลยดวยตนเอง ตั้งแตในปจจุบันทีเดียว”๑เมื่อครั้งทานสีหะ เสนาบดีแหงแควนเวสาลี ผูเปนศิษย

นิครนถนาฏบุตร มาเฝาทูลถามปญหาพระพุทธเจา และบังเกิดความเลื่อมใส กลาวคํ าปฏิญาณตนเปนอุบาสก พระพุทธเจาไดตรัสเตือนวา

“ทานจงใครครวญใหดีเสียกอน การใครครวญเสียกอนแลวจึงทํ า เปนความดีสํ าหรับคนผูมีชื่อเสียงอยางทาน”ครั้นทานเสนาบดียืนยันวา เขาเลื่อมใสขอเปนอุบาสกแน

นอนแลว พระองคไดตรัสอีกวา“ทานสีหะ ตระกูลของทานเปนเสมือนบอนํ้ าของ

นิครนถทั้งหลายมาชานาน (ตอไปนี้) เมื่อนิครนถมาหาทานก็พึงใสใจในเรื่องที่จะถวายบิณฑบาตดวย”๒

เหตุการณคลายคลึงกันนี้ ไดเกิดแกอุบาลีคฤหบดีผูเปนศิษยนิครนถนาฏบุตรเชนเดียวกัน๓

อีกแหงหนึ่งวา“ภิกษุทั้งหลาย ถาวาบุคคลเหลาอ่ืนจะดาบริภาษ

โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบตถาคตในการประกาศจตุราริยสัจนั้น ตถาคตก็ไมมีความอาฆาต ไมมี

๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐–๓๑๒ วินย. ๕/๗๘; องฺ.อฏก. ๒๓/๑๐๒๓ ม.มู. ๑๓/๗๒–๗๓

Page 28: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๒๔

ความโทมนัส ไมมีจิตยินราย; ถาวาชนเหลาอ่ืนจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตในการประกาศจตุราริยสัจนั้น ตถาคตก็ไมดีใจ ไมเกิดโสมนัส ไมมีใจเยอหยิ่งในสักการะเปนตนเหลานั้น”๑นอกจากทรงพระคณุนีเ้องแลว ยงัทรงสอนภกิษุสาวกไวดวยวา

“ภิกษุทั้งหลาย...ธรรมเทศนาของภิกษุเชนไร ไมบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของภิกษุเชนไร บริสุทธิ์?

“ภิกษุรูปใดมีความคิดวา ‘ขอใหชนทั้งหลายฟงธรรมของเรา ครั้นฟงแลว พึงเลื่อมใสธรรม ขอใหคนทั้งหลายที่เลื่อมใสแลว แสดงอาการของผูเลื่อมใสแกเรา’ธรรมเทศนาของภิกษุเชนนี้ ไมบริสุทธิ์;

“สวนภิกษุรูปใด มีความคิดวา ‘พระธรรมนี้เปนของตรสัไวดีแลว เปนสนัทฏิฐกิะ เปนอกาลกิะ เปนโอปนยกิะวิญูชนพึงรูประจักษจํ าเพาะตน ขอใหชนทั้งหลายฟงธรรมของเรา ครั้นฟงแลว ขอใหเขาเขาใจธรรม ครั้นเขาใจชัดแลว ขอใหปฏิบัติใหไดอยางนั้น’ ดังนี้ แลวแสดงธรรมแกคนอ่ืน โดยเหตุที่ธรรมนั้นเปนของดีของถูกตองโดยเหตุที่มีความการุณย โดยเหตุที่มีความเอ้ือเอ็นดูแสดงดวยอาศัยความอนุเคราะห ธรรมเทศนาของภิกษุทั้งหลายเชนนี้ ชื่อวาบริสุทธิ์”๒

๑ ม.มู. ๑๒/๒๘๖๒ สํ.นิ. ๑๖/๔๗๒-๓

Page 29: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๕

๓. พระกรุณาคุณ อาศัยพระมหากรุณาธิคุณ พระพุทธเจาจึงไดเสด็จออกประกาศพระศาสนา โปรดสรรพสัตว ทํ าใหพระคุณ๒ อยางแรก คือ พระปญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ เปนที่ปรากฏและเปนประโยชนแกชาวโลกอยางแทจริง เสด็จไปชวยเหลือแนะนํ าสั่งสอนมนุษยท้ังที่เปนกลุมชนและที่เปนรายบุคคล โดยไมเห็นแกความเหนื่อยยากลํ าบากของพระองคเอง พระมหากรุณาธิคุณเหลานี้ พึงเห็นตามคํ าสรรเสริญและคุณธรรมอื่นๆ ท่ีแสดงออกเชน:-

“(พระสมณโคดม) ไมทรงดํ าริเพ่ือเบียดเบียนพระองคเอง ไมทรงดํ าริเพ่ือเบียดเบียนผูอ่ืน ไมทรงดํ าริเพ่ือเบียดเบียนทั้งสองฝาย ทรงดํ าริแตสิ่งที่เปนประโยชนแกพระองค สิ่งที่เปนประโยชนแกผูอ่ืน สิ่งที่เปนประโยชนทั้งสองฝาย และสิ่งที่เปนประโยชนแกชาวโลกทั้งปวง”๑

“พึงทราบการวางสติ ๓ ประการที่พระอริยเจาปฏิบัติ ซึ่งเมื่อปฏิบัติแลว จึงควรเปนศาสดาสั่งสอนหมูชน...

๑. ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเปนผูอนุเคราะห แสวงประโยชนเกื้อกูล อาศัยเมตตา จึงแสดงธรรมแกสาวกทั้งหลายวา สิ่งนี้จะใหประโยชนเกื้อกูลแกพวกเธอ สิ่งนี้จะใหความสุขแกพวกเธอ แตเหลาสาวกของศาสดานั้น

๑ พรหมายุสูตร, ม.ม. ๑๓/๕๘๙

Page 30: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๒๖

ยอมไมตั้งใจฟง ไมเงี่ยโสตลงสดับ ไมตั้งจิตรับรู และประพฤติหลีกเลี่ยงคํ าสอนของศาสดา ในกรณีนั้นตถาคตจะไดมีความยินดีก็หาไม จะไดบังเกิดความพึงพอใจก็หาไม ทั้งจะไดขัดเคืองขุนมัวก็หาไม ยอมมีสติสัมปชัญญะดํ ารงอยู...

๒. อีกประการหนึ่ง... เหลาสาวกของศาสดานั้นบางพวกก็ไมตั้งใจฟง... บางพวกยอมตั้งใจฟง เงี่ยโสตลงสดับ ตั้งจิตรับรู ไมประพฤติเคลื่อนคลาดจากคํ าสอนของศาสดา ในกรณีนั้น ตถาคตจะไดมีความยินดีก็หาไมจะไดบังเกิดความพึงพอใจก็หาไม จะไดมีความไมพอใจก็หาไม จะไดบังเกิดความไมพอใจก็หาไม ตัดไดทั้งความพอใจและความไมพอใจทั้งสองอยาง เปนผูอุเบกขา คงมีสติสัมปชัญญะอยู...

๓. อีกประการหนึ่ง...เหลาสาวกของศาสดานั้น(ทั้งหมด) ยอมตั้งใจฟง เงี่ยโสตลงสดับ ตั้งจิตรับรู ไมประพฤติเคลื่อนคลาดจากคํ าสอนของศาสดา ในกรณีนั้น ตถาคตยอมเปนผูชื่นชม บังเกิดความพึงพอใจ แตก็หากระหยิ่มเหิมใจไม ยังคงมีสติสัมปชัญญะ ดํ ารงอยู”๑จากขอความตอนนี้ พึงสังเกตดวยวา ความกรุณาที่แสดง

ออกอยางไดผลดีน้ัน ตองอาศัยมีอุเบกขา และสติสัมปชัญญะเขา

๑ สฬายตนวิภังคสูตร, ม.อุ. ๑๔/๖๓๖

Page 31: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๗

ประกอบดวย ในกรณีตางๆ และในกรณีน้ันๆ จะตองเขาใจความหมายของอุเบกขาใหถูกตองดวย

นอกจากนี้ ความกรุณาที่แสดงออกในการอบรมสั่งสอนยอมเปนสวนประกอบสํ าคัญใหเกิดคุณลักษณะของผูสอนอยางที่เรียกวา องคคุณของกัลยาณมิตร ซ่ึงมี ๗ ประการ ดังตอไปนี้:-

๑. ปโย - นารัก (ในฐานเปนที่วางใจและรูสึกสนิทสนม)๒. ครุ - นาเคารพ (ในฐานใหเกิดความรูสึกอบอุนใจ เปนที่

พึง่ได และปลอดภัย)๓. ภาวนีโย - นายกยอง (ในฐานทรงคุณคือความรูและภูมิ

ปญญาแทจริง)๔. วตฺตา - รูจักพูด (คอยใหคํ าแนะนํ าวากลาวตักเตือน

เปนที่ปรึกษาที่ดี)๕. วจนกฺขโม - อดทนตอถอยคํ า (พรอมท่ีจะรับฟงคํ าซัก

ถามตางๆ อยูเสมอ และสามารถรับฟงไดดวยความอดทนไมเบื่อ)

๖. คมฺภีรฺจ กถํ กตฺตา - (กลาวชี้แจงแถลงเรื่องตางๆ ท่ีลึกซึ้งได)

๗. โน จฏาเน นิโยชเย - (ไมชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย)๑พึงสังเกตไว ณ ท่ีน้ีดวยวา พระพุทธศาสนาถือวา ความ

สัมพันธของผูสอนที่มีตอผูเรียนนั้น อยูในฐานะเปนกัลยาณมิตรคือ เปนผูชวยเหลือแนะนํ าผูเรียนใหดํ าเนินกาวหนาไปในมรรคา

๑ สขสูตร, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๓๔

Page 32: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๒๘

แหงการฝกอบรม๑ องคคุณทั้ง ๗ น้ี เปนคุณลักษณะที่ผูสอนหรือครูผูมีความกรุณาโดยทั่วไปจะมีได ไมจํ ากัดเฉพาะพระพุทธเจาเทานั้น

พระมหากรณุาธคิณุของพระพทุธเจา ท่ีพระองคทรงอนเุคราะหชาวโลกนั้น แสดงออกในพุทธกิจประจํ าวันหรือกิจวัตรประจํ าวันของพระองค ซ่ึงเห็นไดชัดวา วันเวลาที่ผานไปแตละวัน เปนไปเพื่อประโยชนของคนอื่นๆ ท้ังนั้น และใหเห็นการรูจักทํ างานเปนเวลาของพระมหาบุรุษ พุทธกิจประจํ าวันนั้น แบงเปน ๕ ดังนี้:-๑. ปุเรภัตตกิจ พุทธกิจภาคเชาหรือภาคกอนอาหาร ไดแก ทรงตื่นบรรทมแตเชา เสด็จออกบิณฑบาต เสวยแลว ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนในที่น้ันๆ เสด็จกลับพระวิหาร รอใหพระสงฆฉันเสร็จแลว เสด็จเขาพระคันธกุฏี

๒. ปจฉาภัตตกิจ พุทธกิจภาคบายหรือหลังอาหาร ระยะที่ ๑ เสด็จออกจากพระคันธกุฏี ทรงโอวาทภิกษุสงฆ เสร็จแลวพระสงฆแยกยายกันไปปฏิบัติธรรมในที่ตางๆ พระองคเสด็จเขาพระคันธกุฏี อาจทรงบรรทมเล็กนอยแลว ถึงระยะที่ ๒ ทรงพิจารณาตรวจดูความเปนไปของชาวโลก ระยะที่ ๓ ประชาชนในถิ่นนั้นมาประชุมในธรรมสภา ทรงแสดงธรรมโปรด

๓. ปุริมยามกิจ พุทธกิจยามที่ ๑ (ของราตรี) หลังจากพุทธกิจภาคกลางวันแลว อาจทรงสนานแลวปลีกพระองคอยูเงียบๆ พัก

๑ พึงระลกึถึงฐานะของผูสอนอนัสัมพันธกับความตอนนี ้ทีพ่ระพุทธเจาตรสัไววา “อกฺขาตาโรตถาคตา - ตถาคตเปนเพียงผูบอกทางให” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๐) และเรื่องที่ทรงแจงแกพราหมณวาพระองคเปนเพียงผูช้ีทาง ใน ม.อุ. ๑๔/๑๐๑ ดวย

Page 33: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๙

หนึ่ง จากนั้นพระภิกษุสงฆมาเฝา ทูลถามปญหาบาง ขอกรรมฐานบาง ขอใหทรงแสดงธรรมบาง ทรงใชเวลาตลอดยามแรกนี้สนองความประสงคของพระสงฆ

๔. มัชฌิมยามกิจ พุทธกิจในมัชฌิมยาม เมื่อพระสงฆแยกยายไปแลว ทรงใชเวลายามทีส่องตอบปญหาพวกเทพทัง้หลายทีม่าเฝา

๕. ปจฉิมยามกิจ พุทธกิจในปจฉิมยาม ทรงแบงเปน ๓ ระยะระยะแรก เสด็จดํ าเนินจงกรมเพื่อใหพระวรกายไดผอนคลายระยะที่ ๒ เสด็จเขาพระคันธกุฏี ทรงพระบรรทมสีหไสยาสนอยางมีพระสติสัมปชัญญะ ระยะที่ ๓ เสด็จประทับน่ังพิจารณาสอดสองเลือกสรรวา ในวันตอไปมีบุคคลผูใดที่ควรเสด็จไปโปรดโดยเฉพาะเปนพิเศษ เมื่อทรงกํ าหนดพระทัยไวแลว ก็จะเสด็จไปโปรดในภาคพุทธกิจท่ี ๑ คือ ปุเรภัตตกิจ๑การทรงใหความสนพระทัยชวยเหลือโปรดบุคคลผูสมควร

เปนสวนเฉพาะบุคคลๆ เชนนี้ ผูไดรับการโปรดอาจเปนคนชั้นสูงช้ันตํ่ า เปนเด็ก เปนผูใหญ ก็ไดท้ังสิ้น เชน เสด็จไปโปรดสิงคาลก-

๑ ที.อ. ๑/๖๑; สํ.อ. ๑/๒๘๕; องฺ.อ. ๑/๖๖; ใน สุตฺต.อ. ๑/๑๖๖ ทานแบงพุทธกิจไวเพียง๒ อยาง คือ ปุเรภัตตกิจ กับ ปจฉาภัตตกิจ โดยรวมเอาพุทธกิจที่ ๓-๔-๕ เขาไวในปจฉาภัตตกิจดวย; ใน สวดมนตฉบับหลวง ทานแตงเปนคาถาไวเพ่ือจํ างายวา:-

ปุพฺพณฺเห ปณฺฑปาตฺจ สายณฺเห ธมฺมเทสนํปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ อฑฺฒรตฺเต เทวปฺหนํปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ.

เชาเสด็จไปบิณฑบาต บายทรงแสดงธรรม ค่ํ าประทานโอวาทแกภิกษุ กลางคืนตอบปญหาเทวดา เวลาจวนสวาง ตรวจดูผูที่ควรและยังไมควรตรัสรู

Page 34: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๓๐

มาณพผูไหวทิศ๑ เสด็จไปโปรดเด็กชายมัฏฐกุณฑลีท่ีกํ าลังนอนเจ็บหนัก๒ เปนตน

นอกจากนี้ ยังทรงเอาพระทัยใสในความเปนอยู ทุกข สุขของพระภิกษุสงฆท่ัวไป เชน เสด็จไปเยี่ยมภิกษุปวย๓ และพยาบาลภิกษุปวยไขท่ีไมมีคนพยาบาลดวยพระองคเอง๔

ความกรุณาเชนนี้ เปนเหตุนํ าความเลื่อมใสศรัทธา เปนประโยชนในการสอน ทรงสอนคนไดโดยไมตองใชอํ านาจบังคับ ไมตองใชการลงโทษ และทรงไดรับความเคารพบูชาสูงสุดดวยความจริงใจ

ยกตัวอยางใหเห็นไดชัดจากดํ ารัสของพระเจาปเสนทิโกศล กษัตริยแหงแควนโกศล ท่ีเสด็จมาเฝาแสดงความเลื่อมใสศรัทธาอยางสูงสุดในพระพุทธเจาและทูลไว มีความตอนหนึ่งวา:-

“ขาแตพระองคผูเจริญ อีกประการหนึ่ง หมอมฉันเปนขัตติยราช ไดรับมูรธาภิเษกแลว ยอมสามารถสั่งฆาคนที่ควรฆาได จะใหริบคนที่ควรริบได จะใหเนรเทศคนที่ควรเนรเทศก็ได เมื่อหมอมฉันนั่งอยูในที่วินิจฉัยความ ก็ยังมีคนพูดสอดขึ้นในระหวางบาง...

“แตหมอมฉันไดเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ในสมัยใด พระผูมีพระภาคทรงแสดงธรรมแกที่ประชุมคน

๑ สิงคาลกสูตร, ที.ปา. ๑๑/๑๗๒–๒๐๖๒ ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑๓ ดู สํ.ข. ๑๗/๒๑๕–๒๑๘; สํ.สฬ. ๑๘/๘๘, ๙๐; องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๒๗๔ วินย. ๕/๑๖๖

Page 35: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๑

หลายรอย ในที่ประชุมนั้น สาวกของพระผูมีพระภาคไมมีเสียงไอเสียงจามเลย...

“หมอมฉันเกิดความคิดขึ้นมาวา นาอัศจรรยจริงไมเคยมีมากอน พระผูมีพระภาคทรงฝกอบรมชุมชนไดดีถึงเพียงนี้โดยไมตองใชอาชญา (อํ านาจบังคับและการลงโทษ) โดยไมตองใชศาสตรา หมอมฉันไมเคยเห็นชุมชนอ่ืนที่ฝกไดดีอยางนี้นอกจากธรรมวินัยนี้ แมขอนี้ก็เปนความเล่ือมใสในธรรม ในพระผูมีพระภาค ของหมอมฉัน...”

“อีกประการหนึง่ ชางไม ๒ คน คนหนึง่ชือ่อสิทินัตะคนหนึ่งชื่อปุราณะ กินอยูของหมอมฉัน ใชยวดยานของหมอมฉัน หมอมฉันใหเครื่องเลี้ยงชีพแกเขา ใหยศแกเขา แตถึงกระนั้น เขาจะไดแสดงความเคารพนบนอบในหมอมฉันเหมือนในพระผูมีพระภาคก็หาไม

“เรื่องเคยมี คราวเม่ือหมอมฉันยกกองทัพออกไปคิดจะทดลองชางไมอิสิทันตะและชางไมปุราณะนี้ดู จึงเขาพักอยูในที่พักอาศัยอันคับแคบแหงหนึ่ง โอ ขาแตพระองคผูเจริญ คราวนั้น นายชางเหลานี้ใชเวลากลาวธรรมกันจนดึก ไดทราบวา พระผูมีพระภาคประทับอยูทิศใด เขาก็ผินศีรษะไปทางทิศนั้น นอนเหยียดเทามาทางหมอมฉัน

“หมอมฉันมีความคิดวา นาอัศจรรยแท ไมเคยมีมากอนเลย นายชางเหลานี้ กินอยูของเรา...ถึงกระนั้น

Page 36: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๓๒

เขาจะไดมีความเคารพนบนอบในเรา เหมือนในพระผูมีพระภาคก็หาไม คนทั้งสองนี้ คงจะไดรูสิ่งที่เปนคุณความดีพิเศษยิ่งกวาเดิม ในศาสนาของพระผูมีพระภาคพระองคนั้น เปนแน แมขอนี้ ก็เปนความเลื่อมใสในธรรม ในพระผูมีพระภาค ของหมอมฉัน”๑

ในที่น้ี จะขอสรุปพระคุณสมบัติท่ีควรสังเกตไวดังนี้:-๑. ทรงสอนสิ่งที่จริง และเปนประโยชนแกผูฟง๒. ทรงรูเขาใจสิ่งที่สอนอยางถองแทสมบูรณ๓. ทรงสอนดวยเมตตา มุงประโยชนแกผูรับคํ าสอนเปนที่ตั้งไมหวังผลตอบแทน

๔. ทรงทํ าไดจริงอยางที่สอน เปนตัวอยางที่ดี๕. ทรงมีบุคลิกภาพโนมนาวจิตใจใหเขาใกลชิดสนิทสนมและพึงพอใจไดความสุข

๖. ทรงมหีลกัการสอนและวธิสีอนยอดเยีย่ม ดงัจะกลาวตอไป

๑ ธรรมเจติยสูตร, ม.ม. ๑๓/๕๖๕, ๕๖๘

Page 37: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

๓. หลักทั่วไปในการสอน

ในเรื่องหลักทั่วไปของการสอนนี้ จะขอแบงเปน ๓ หมวด คือท่ีเปนขอควรคํ านึงตางๆ เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอนพวกหนึ่งเกี่ยวกับตัวผูเรียนพวกหนึ่ง และที่เกี่ยวกับตัวการสอนเองพวกหนึ่งและจะบรรยายเพียงโดยสรุป เพราะไดกินเนื้อท่ีมามากแลวในสองหัวขอกอน:-

ก. เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอน๑. สอนจากสิ่งที่รูเห็นเขาใจงายหรือรูเห็นเขาใจอยูแลว ไป

หาสิ่งที่เห็นเขาใจไดยาก หรือยังไมรูไมเห็นไมเขาใจ ตัวอยางที่เห็นชัด คือ อริยสัจจ ซ่ึงทรงเริ่มสอนจากความทุกข ความเดือดรอนปญหาชีวิตที่คนมองเห็นและประสบอยูโดยธรรมดา รูเห็นประจักษกันอยูทุกคนแลว ตอจากนั้นจึงสาวหาเหตุท่ียากลึกซึ้ง และทางแกไขตอไป

๒. สอนเนื้อเรื่องที่คอยลุมลึกยากลงไปตามลํ าดับช้ัน และตอเนื่องกันเปนสายลงไป อยางที่เรียกวา สอนเปนอนุบุพพิกถา ตัวอยางก็คือ อนุบุพพิกถา ไตรสิกขา พุทธโอวาท ๓ เปนตน

๓. ถาสิ่งที่สอนเปนสิ่งที่แสดงได ก็สอนดวยของจริง ใหผูเรียนไดดู ไดเห็น ไดฟงเอง อยางที่เรียกวาประสบการณตรง เชนทรงสอนพระนันทะที่คิดถึงคูรักคนงาม ดวยการทรงพาไปชมนางฟา นางอัปสรเทพธิดา ใหเห็นกับตา เรื่องอาจารยทิศาปาโมกขให

Page 38: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๓๔

หมอชีวกทดสอบตัวเอง๑ เรื่องนามสิทธิชาดก๒ หรืออยางที่ใหพระเพงดูความเปลี่ยนแปลงของดอกบัว เปนตน

๔. สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยูในเรื่อง มีจุด ไมวกวน ไมไขวเขว ไมออกนอกเรื่อง

๕. สอนมเีหตผุล ตรองตามเหน็จรงิได อยางทีเ่รยีกวา สนิทานํ๖. สอนเทาที่จํ าเปนพอดีสํ าหรับใหเกิดความเขาใจ ใหการ

เรียนรูไดผล ไมใชสอนเทาที่ตนรู หรือสอนแสดงภูมิวาผูสอนมีความรูมาก

เหมือนอยางที่พระพุทธเจา เมื่อประทับอยูในปาประดูลายใกลเมืองโกสัมพี ไดทรงหยิบใบไมประดูลายเล็กนอยใสกํ าพระหัตถ แลวตรัสถามภิกษุท้ังหลายวา ใบประดูลายในพระหัตถ กับในปา ไหนจะมากกวากัน ภิกษุท้ังหลายกราบทูลวา ในปามากกวาจึงตรัสวา สิ่งที่พระองคตรัสรูแตมิไดทรงสอน เหมือนใบประดูลายในปา สวนที่ทรงสั่งสอนนอยเหมือนใบประดูลายในพระหัตถ และตรัสแสดงเหตุผลในการที่มิไดทรงสอนทั้งหมดเทาที่ตรัสรูวา เพราะสิ่งเหลานั้นไมเปนประโยชน มิใชหลักการดํ าเนินชีวิตอันประเสริฐไมชวยใหเกิดความรูถูกตองที่จะนํ าไปสูจุดหมาย คือนิพพานได๓

๗. สอนสิ่งที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรียนรูและเขาใจ เปนประโยชนแกตัวเขาเอง อยางพุทธพจนท่ีวา พระองคทรงมีพระ

๑ วินย. ๕/๑๒๙๒ ชา.อ. ๒/๒๔๘๓ ดู สํ.ม. ๑๙/๑๗๑๒

Page 39: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๕

เมตตา หวังประโยชนแกสัตวท้ังหลาย จึงตรัสพระวาจาตามหลัก๖ ประการ คือ:-

๑) คํ าพูดที่ไมจริง ไมถูกตอง, ไมเปนประโยชน, ไมเปนที่รักท่ีชอบใจของผูอื่น - ไมตรัส

๒) คํ าพูดที่จริง ถูกตอง, แตไมเปนประโยชน, ไมเปนที่รักท่ีชอบใจของผูอื่น - ไมตรัส

๓) คํ าพูดที่จริง ถูกตอง, เปนประโยชน, ไมเปนที่รักที่ชอบใจของผูอื่น - เลอืกกาลตรัส

๔) คํ าพูดที่ไมจริง ไมถูกตอง, ไมเปนประโยชน, ถึงเปนที่รักท่ีชอบใจของผูอื่น - ไมตรัส

๕) คํ าพูดที่จริง ถูกตอง, แตไมเปนประโยชน, ถึงเปนที่รักท่ีชอบใจของผูอื่น - ไมตรัส

๖) คํ าพูดที่จริง ถูกตอง, เปนประโยชน, เปนที่รักที่ชอบใจของคนอื่น - เลือกกาลตรัส๑

ลักษณะของพระพุทธเจาในเรื่องนี้ คือ ทรงเปนกาลวาทีสัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธรรมวาที วินัยวาที

ข. เกี่ยวกับตัวผูเรียน๑. รู คํ านึงถึง และสอนใหเหมาะตามความแตกตางระหวาง

บุคคล อยางในทศพลญาณขอ ๕ และขอ ๖ ท่ีอธิบายมาแลว เชนคํ านึงถึงจริต ๖ อันไดแก ราคจริต โทสจริต โมหจริต ศรัทธาจริต

๑ ม.ม. ๑๓/๙๔; เทียบ ที.ปา. ๑๑/๑๑๙

Page 40: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๓๖

พุทธิจริต และวิตกจริต๑ และรูระดับความสามารถของบุคคลอยางที่พระพุทธเจาไดทรงพิจารณาเมื่อกอนเสด็จออกประกาศพระศาสนาวา

“เหลาสัตวที่มีธุลีในดวงตานอยก็มี ที่มีกิเลสในดวงตามากก็มี ที่มีอินทรียแกกลาก็มี ที่มีอินทรียออนก็มี ที่มีอาการดีก็มี มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนใหรูไดงายก็มี ที่จะสอนใหรูไดยากก็มี บางพวกที่ตระหนักถึงโทษภัยในปรโลกอยูก็มี ทั้งนี้อุปมาเหมือนดังในกออุบลกอประทุม หรือกอบุณฑริก”๒ตอจากนั้นไดทรงยกบัว ๓ เหลาขึ้นมาเปรียบ ในที่น้ีจะนํ าไป

เทียบกับบุคคล ๔ ประเภท ท่ีพระองคตรัสไวในที่อื่น ดังนี้:-ก. บุคคลผูรูเขาใจไดฉับพลัน แตพอยกหัวขอข้ึนแสดงเทา

น้ัน เรียกวา อุคฆฏิตัญู เทียบกับบัวพนนํ้ า แตพอรับสัมผัสรัศมีตะวัน ก็จะบาน ณ วันนั้น

ข. บุคคลผูสามารถรูเขาใจได ตอเมื่อทานอธิบายความพิสดารออกไป เรียกวา วิปจิตัญู เทียบกับบัวปริ่มน้ํ าจักบานตอวันรุงขึ้น

ค . บุคคลผู พอจะหาทางคอยชี้แจงแนะนํ าใชวิธีการยักเยื้องใหเขาใจไดตอๆ ไป เรียกวา ไนยยะ เทียบกับบัวงามใตพื้นนํ้ า จักบานในวันตอๆ ไป

๑ ดู วิสุทธิมรรค ปริเฉทที่ ๓๒ วินย. ๔/๙

Page 41: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๗

ง. บุคคลผูอับปญญา มีดวงตามืดมิด ยังไมอาจใหบรรลุคุณวิเศษไดในชาติน้ี เรียกวา ปทปรมะ เทียบกับบัวจมใตน้ํ า นาจักเปนภักษาแหงปลาและเตา๑

๒. ปรับวธิสีอนผอนใหเหมาะกบับุคคล แมสอนเรือ่งเดยีวกนัแตตางบุคคล อาจใชตางวิธี ขอน้ีเกี่ยวโยงตอเนื่องมาจากขอท่ี ๑

๓. นอกจากคํ านึงถึงความแตกตางระหวางบุคคลแลว ผูสอนยังจะตองคํ านึงถึงความพรอม ความสุกงอม ความแกรอบแหงอินทรีย หรือญาณ ท่ีบาลีเรียกวา ปริปากะ ของผูเรียนแตละบุคคลเปนรายๆ ไปดวย วาในแตละคราว หรือเมื่อถึงเวลานั้นๆ เขาควรจะไดเรียนอะไร และเรียนไดแคไหนเพียงไร หรือวาสิ่งที่ตองการใหเขารูน้ัน ควรใหเขาเรียนไดหรือยัง เรื่องนี้จะเห็นไดชัดในพทุธวธิสีอน วาพระพทุธเจาทรงคอยพจิารณาปรปิากะของบคุคล เชน

คราวหนึง่พระพทุธเจาประทบัหลกีเรนอยูในทีส่งดั ทรงด ํารวิา“ธรรมเครื่องบมวิมุตติของราหุลสุกงอมดีแลว ถา

กระไรเราพึงชวยชักนํ าเธอในการกํ าจัดอาสวะใหยิ่งขึ้นไปอีก” ดังนี้

๑ บัว ๓ เหลามาใน วินย. ๔/๙; ม.มู. ๑๒/๓๒๑; ม.ม. ๑๓/๕๐๙ บัว ๔ มาในอรรถกถาคือ ที.อ. ๒/๘๓; ม.อ. ๒/๒๔๒; สํ.อ. ๑/๒๓๔; ๒/๕, ๓/๖๓; ฯลฯ บุคคล ๔ พวก มาใน องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๓๓

หมายเหตุ พึงสังเกตวา ปทปรมะ น้ัน มิไดหมายความวาสอนไมไดเลยทีเดียว แตหมายถึงบุคคลที่ชวยไดอยางมากเพียงใหรูพยัญชนะ แตไมอาจเขาใจอรรถ เปนผูที่พระพุทธศาสนาไมทอดทิ้ง เพราะถือวา แมเขาไมสามารถบรรลุธรรมไดในชาติน้ี แตก็ยังเปนการส่ังสอนอบรมเพ่ือประโยชนในอนาคตตอไป จึงควรตองชวยใหดีที่สุดเทาที่จะชวยได

Page 42: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๓๘

ครั้นเมื่อเสด็จไปบิณฑบาต เสวยเสร็จแลว จึงตรัสชวนพระราหุลใหโดยเสด็จไปพักผอนกลางวันในปาอันธวัน เมื่อถึงโคนไมแหงหนึ่ง ก็ไดประทับน่ังลงและทรงสอนธรรมดวยวิธีสนทนา วันน้ันพระราหุลก็ไดบรรลุอรหัตตผล๑

อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อคราวประทับอยู ๒ องคกับพระเมฆิยะณ จาลิกบรรพต พระเมฆยิะทลูลาไปบณิฑบาตในหมูบานชนัตคุามในระหวางทางกลับจากบิณฑบาตมาถึงฝงลํ านํ้ ากิมิกาฬา ทานไดเห็นสถานที่ในปาอัมพวันนารื่นรมย เกิดความคิดวาเปนสถานที่เหมาะแกการบํ าเพ็ญเพียร ครั้นกลับถึงจาลิกบรรพต จึงเขาไปเฝาพระพุทธเจา กราบทูลขออนุญาตลาไปบํ าเพ็ญเพียร ณ ปาริมฝงน้ํ านั้น

พระพุทธองคทรงทราบวา ญาณของพระเมฆิยะยังไมสุกงอมพอที่จะไปบํ าเพ็ญเพียรอยูผูเดียวใหเกิดผลสํ าเร็จกาวหนาขึ้นไปได แตก็จะทรงใหพระเมฆิยะไดบทเรียน จึงมิไดทรงหามทีเดียวแตทรงทัดทานวา “รอกอนเถิดเมฆิยะ เราอยูคนเดียว เธอจงรอจนกวาจะมีภิกษุรูปอ่ืนมาเสียกอน”

การที่ตรัสดังนี้ ก็เพื่อใหรูสึกวาพระองคมีพระทัยเยื่อใยเมตตาตอพระเมฆิยะอยู เปนแรงคอยโนมนาว เมื่อพระเมฆิยะมีเหตุขัดของอะไรขึ้น จะไดกลับมาเฝาพระองค ครั้นพระเมฆิยะทูลคะยั้นคะยอ พระองคก็ทรงอนุญาต

๑ สํ.สฬ. ๑๘/๑๘๗-๘

Page 43: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๙

ฝายพระเมฆิยะ เมื่อไปอยูท่ีปาอัมพวันผูเดียวแลว ตอมาก็เกิดมีอกุศลวิตกขึ้น เพราะญาณของตนยังไมแกกลาสุกงอม ไมสามารถแกไขได จึงกลับมาเฝาพระพุทธเจา และกราบทูลใหทรงทราบ พระองคจึงตรัสสอนเรื่องธรรม ๕ อยางที่ชวยใหเกิดปริปากะแกเจโตวิมุตติ ท่ียังไมแกกลา

ธรรมเหลานี้คือ ความมีกัลยาณมิตร ๑ ความมีศีล ๑ การมีโอกาสไดยินไดฟง ไดรวมสนทนาอยางสะดวกสบายในเรื่องตางๆท่ีชวยชํ าระจิตใจใหปลอดโปรงผองใส เชน เรื่องความเพียร ศีลสมาธิ ปญญา วิมุตติ เปนตน ๑ การบํ าเพ็ญเพียรสรางกุศลธรรมอยางหนักแนนจริงจัง ๑ และความมีปญญา ๑

โดยเฉพาะทรงเนนวา ความมีกัลยาณมิตรนั้นเปนพื้นเบื้องตนอันสํ าคัญ ท่ีจะชวยใหไดท้ังศีล ใหไดฟงเรื่องที่ดีงาม ใหไดบํ าเพ็ญเพียร และใหไดปญญา๑

เปนอันวา ขณะนั้นพระเมฆิยะยังไมมีปริปากะ ยังไมพรอมท่ีจะออกไปบํ าเพ็ญเพียรผูเดียวอยางที่ตนประสงค ยังตองพึ่งอาศัยกัลยาณมิตรอยู

๔. สอนโดยใหผูเรียนลงมือทํ าดวยตนเอง ซ่ึงจะชวยใหเกิดความรูความเขาใจชัดเจน แมนยํ าและไดผลจริง เชน ทรงสอนพระจูฬปนถกผูโงเขลาดวยการใหนํ าผาขาวไปลูบคลํ า เปนตน

๑ องฺ.นวก. ๒๓/๒๐๗; ขุ.อุ. ๒๕/๘๕–๘๙

Page 44: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๔๐

๕. การสอนดํ าเนินไปในรูปท่ีใหรูสึกวาผูเรียนกับผูสอนมีบทบาทรวมกัน ในการแสวงความจริง ใหมีการแสดงความคิดเห็น โตตอบเสรี

หลกันีเ้ปนขอส ําคญัในวธิกีารแหงปญญา ซ่ึงตองการอสิรภาพในทางความคิด และโดยวิธีน้ี เมื่อเขาถึงความจริง ผูเรียนก็จะรูสึกวาตนไดมองเห็นความจริงดวยตนเอง และมีความชัดเจนมั่นใจ

หลักนี้พระพุทธเจาทรงใชเปนประจํ า และมักมาในรูปการถามตอบ ซ่ึงอาจแยกลักษณะการสอนแบบนี้ไดเปน:-

ก. ลอใหผูเรียนแสดงความคิดเห็นของตนออกมา ช้ีขอคิดใหแกเขา สงเสริมใหเขาคิด และใหผูเรียนเปนผูวินิจฉัยความรูน้ันเอง ผูสอนเปนเพียงผูนํ าชี้ชองทางเขาสูความรู

ในการนี้ ผูสอนมักกลายเปนผูถามปญหา แทนที่จะเปนผูตอบ

ข. มีการแสดงความคิดเห็น โตตอบอยางเสรี แตมุงหาความรู ไมใชมุงแสดงภูมิ หรือขมกัน

๖. เอาใจใสบุคคลที่ควรไดรับความสนใจพิเศษเปนรายๆ ไปตามควรแกกาละเทศะและเหตุการณ เชน

ชาวนาคนหนึ่งตั้งใจไวแตกลางคืนวาจะไปฟงพุทธเทศนา บังเอิญวัวหาย ไปตามไดแลวรีบมา แตกวาจะไดก็ชามาก คิดวาทันฟงทายหนอยก็ยังดี ไปถึงวัดปรากฏวาพระพุทธเจายังทรงประทับรออยูน่ิงๆ ไมเริ่มแสดง ยิ่งกวานั้นยังใหจัดอาหารใหเขารับประทานจนอิ่มสบาย แลวจึงทรงเริ่มแสดงธรรม หรือ

Page 45: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๔๑

เรื่องเด็กหญิงชาวบานลูกชางหูกคนหนึ่ง อยากฟงธรรม แตมีงานมวนกรอดายเรงอยู เมื่อทํ าเสร็จจึงเดินจากบานเอามวนดายไปสงบิดาที่โรง ผานโรงธรรมก็แวะหนอยหนึ่ง น่ังอยูแถวหลังสุดของที่ประชุม พระพุทธองคก็ยังทรงเอาพระทัยใสหันไปรับสั่งใหเขาไปนั่งใกลๆ ทักทายปราศรัย และสนทนาใหเกียรติใหเด็กนั้นพูดแสดงความเห็นในที่ประชุม และทรงเทศนาใหเด็กนั้นไดรับประโยชนจากการมาฟงธรรม

๗. ชวยเหลือเอาใจใสคนที่ดอย ท่ีมีปญหา เชน เรื่องพระจูฬปนถกที่กลาวแลว เปนตน

ค. เกี่ยวกับตัวการสอน๑. ในการสอนนั้น การเริ่มตนเปนจุดสํ าคัญมากอยางหนึ่ง

การเริ่มตนที่ดีมีสวนชวยใหการสอนสํ าเร็จผลดีเปนอยางมาก อยางนอยก็เปนเครื่องดึงความสนใจ และนํ าเขาสูเนื้อหาได

พระพุทธเจาทรงมีวิธีเริ่มตนที่นาสนใจมาก โดยปกติพระองคจะไมทรงเริ่มสอนดวยการเขาสูเนื้อหาธรรมทีเดียว แตจะทรงเริ่มสนทนากับผูทรงพบหรือผูมาเฝา ดวยเรื่องที่เขารูเขาใจดี หรือสนใจอยู เชน เมื่อทรงสนทนากับควาญชาง ก็ทรงเริ่มสนทนาดวยเรื่องวิธีฝกชาง พบชาวนาก็สนทนาเรื่องการทํ านา พบพราหมณก็สนทนาเรื่องไตรเพท หรือเรื่องธรรมของพราหมณ

บางทีก็ทรงจี้จุดสนใจ หรือเหมือนสะกิดใหสะดุง เปนการปลุกเราความสนใจ เชน เมื่อเทศนโปรดชฎิลผูบูชาไฟ ทรงเริ่มตน

Page 46: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๔๒

ดวยคํ าวา “อะไรๆ รอนลุกเปนไฟหมดแลว” ตอจากนั้นจึงถามและอธิบายตอไปวาอะไรรอน อะไรลุกเปนไฟ นํ าเขาสูธรรม

บางทีก็ใชเรื่องที่เขาสนใจ หรือท่ีเขารูน่ันเอง เปนขอสนทนาไปโดยตลอด แตแทรกความหมายทางธรรมเขาไวให

๒. สรางบรรยากาศในการสอนใหปลอดโปรง เพลิดเพลินไมใหตึงเครียด ไมใหเกิดความอึดอัดใจ และใหเกียรติแกผูเรียน ใหเขามีความภูมิใจในตัว เชน เมื่อพราหมณโสณทัณฑะกับคณะไปเฝา ทานโสณทัณฑะครุนคิดวิตกอยูในใจวา

“ถาเราถามปญหาออกไป หากพระองคตรัสวา‘พราหมณ ปญหาขอนี้ทานไมควรถามอยางนี้’ ที่ประชุมก็จะหมิ่นเราได

“ถาพระสมณโคดมจะพึงตรัสถามปญหาเรา ถาแมเราตอบไมถูกพระทัย หากพระองคตรัสวา ‘พราหมณปญหาขอนี้ ทานไมควรตอบอยางนี้ ที่ถูกควรแกอยางนี้’ที่ประชุมก็จะหมิ่นเราได

“ถากระไร ขอใหพระสมณโคดมถามปญหาเราในเรื่องไตรเพท อันเปนคํ าสอนของอาจารยเราเถดิ เราจะตอบใหถกูพระทยัทเีดียว”พระพุทธเจาทรงทายใจพราหมณได ทรงดํ าริวา

“โสณทัณฑะนี้ลํ าบากใจอยู ถากระไร เราพึงถามปญหาเขาในเรื่องไตรเพท อันเปนคํ าสอนของอาจารยฝายเขาเองเถิด”

Page 47: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๔๓

แลวไดตรัสถามถึงคุณสมบัติของพราหมณ ทํ าใหพราหมณน้ันสบายใจ และรูสึกภูมิใจท่ีจะสนทนาตอไปในเรื่องซึ่งตัวเขาเองถือวาเขารูชํ านาญอยูเปนพิเศษ และพระองคก็ทรงสามารถชักนํ าพราหมณน้ันเขาสูธรรมของพระองคได ดวยการคอยทรงเลือกปอนคํ าถามตางๆ กะพราหมณน้ัน แลวคอยสนับสนุนคํ าตอบของเขาตอนเขาสูแนวที่พระองคทรงพระประสงค๑

ในทํ านองเดียวกัน เมื่อพบนิโครธปริพาชก ก็ทรงเปดโอกาสเชิญใหเขาถามพระองคดวยปญหาเกี่ยวกับลัทธิฝายเขาทีเดียว๒

๓. สอนมุงเนื้อหา มุงใหเกิดความรูความเขาใจในสิ่งที่สอนเปนสํ าคัญ ไมกระทบตนและผูอื่น ไมมุงยกตน ไมมุงเสียดสีใครๆ๓

แมเมื่อมีผูมาทูลถามเรื่องคํ าสอนของเจาลัทธิตางๆ วาของคนใดผิดคนใดถูก พระองคก็จะไมทรงตัดสิน แตจะทรงแสดงหลักธรรมใหเขาฟง คือใหเขาคิดพิจารณาตัดสินเอาดวยตนเอง

ยกตัวอยาง เชน คราวหนึ่ง พราหมณ ๒ คน เขาไปเฝาทูลถามวา ทานปูรณกัสสป เจาลัทธิหนึ่ง กับทานนิครนถนาฏบุตร อีกเจาลัทธิหนึ่ง ตางก็ปฏิญาณวาตนเปนผูท่ีรูท่ีสุดดวยกัน วาทะเปนปฏิปกษกัน ใครจริง ใครเท็จ พระพุทธเจาตรัสตอบวา

“อยาเลยพราหมณ ขอที่ทั้งสองนี้ตางพูดอวดรู มีวาทะเปนปฏิปกษกันนั้น ใครจะจริง ใครจะเท็จ พักไว

๑ ที.สี. ๙/๑๘๔–๑๙๔๒ ที.ปา. ๑๑/๒๒๓ เปนองคคุณอยางหนึ่งของธรรมกถึก องฺ.ปฺจก. ๒๒/๑๕๙

Page 48: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๔๔

เถิด เราจักแสดงธรรมใหทานทั้งสองฟง ขอใหทานตั้งใจฟงเถิด”๑เรื่องเชนนี้มีปรากฏหลายแหงในพระไตรปฎก๒ แมเมื่อแสดง

ธรรมตามปกติในที่ประชุมสาวก ก็ไมทรงยกยอ และไมทรงรุกรานท่ีประชุม ทรงชี้แจงใหรูเขาใจชัดเจนไปตามธรรม๓

๔. สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ดวยความรูสึกวา เปนเรื่องจริงจัง มีคุณคา มองเห็นความสํ าคัญของผูเรียนและของงานสั่งสอนนั้น ไมใชสักวาทํ า หรือเห็นผูเรียนโงเขลา หรือเห็นเปนชั้นตํ่ าๆอยางพระพุทธจริยาที่วา

“ภิกษุทั้งหลาย ถาแมตถาคตจะแสดงธรรมแกภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยอมแสดงโดยเคารพ ไมแสดงโดยไมเคารพ ถาแมจะแสดงแกภิกษุณี แกอุบาสกอุบาสิกาแกปุถุชนทั้งหลาย โดยที่สุดแมแกคนขอทานและพรานนก ก็ยอมแสดงโดยเคารพ หาแสดงโดยขาดความเคารพไม”๔๕. ใชภาษาสุภาพ นุมนวล ไมหยาบคาย ชวนใหสบายใจ

สละสลวย เขาใจงาย อยางที่วา

๑ องฺ.นวก. ๒๓/๒๔๒๒ เชน ม.มู. ๑๒/๓๕๓๓ ม.ม. ๑๓/๕๘๙๔ องฺ.ปฺจก. ๒๒/๙๙

Page 49: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๔๕

“พระสมณโคดมมีพระดํ ารัสไพเราะ รูจักตรัสถอยคํ าไดงดงาม มีพระวาจาสุภาพ สละสลวย ไมมีโทษ ยังผูฟงใหเขาใจเนื้อความไดชัดแจง”๑กอนจบตอนนี้ ขอนํ าพุทธพจนแหงหนึ่ง ท่ีตรัสสอนภิกษุผู

แสดงธรรม เรียกกันวา องคแหงพระธรรมกถึก มาแสดงไว ดังนี้:-“อานนท การแสดงธรรมใหคนอ่ืนฟง มิใชสิ่งที่

กระทํ าไดงาย ผูแสดงธรรมแกคนอ่ืน พึงตั้งธรรม ๕อยางไวในใจ คือ:-๑. เราจักกลาวชี้แจงไปตามลํ าดับ๒. เราจักกลาวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงใหเขาใจ๓. เราจักแสดงดวยอาศัยเมตตา๔. เราจักไมแสดงดวยเห็นแกอามิส๕. เราจักแสดงไปโดยไมกระทบตนและผูอื่น” ๒

๑ ม.ม. ๑๓/๖๕๐๒ องฺ.ปฺจก. ๒๒/๑๕๙

Page 50: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

๔. ลีลาการสอน

เมื่อมองกวางๆ การสอนของพระพุทธเจาแตละครั้ง จะดํ าเนินไปจนถึงผลสํ าเร็จ โดยมีคุณลักษณะซึ่งเรียกไดวาเปนลีลาในการสอน ๔ อยาง ดังนี้:-

๑. สันทัสสนา อธบิายใหเหน็ชดัเจนแจมแจง เหมอืนจงูมอืไปดูเห็นกับตา

๒. สมาทปนา จูงใจใหเห็นจริงดวย ชวนใหคลอยตาม จนตองยอมรับและนํ าไปปฏิบัติ

๓. สมุตเตชนา เราใจใหแกลวกลา บังเกิดกํ าลังใจ ปลุกใหมีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจวาจะทํ าใหสํ าเร็จได ไมหวั่นระยอตอความเหนื่อยยาก

๔. สัมปหังสนา ชโลมใจใหแชมช่ืน ราเริง เบิกบาน ฟงไมเบื่อ และเปยมดวยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชนท่ีจะไดรับจากการปฏิบัติ

อาจผูกเปนคํ าสั้นๆ วา แจมแจง จูงใจ หาญกลา ราเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน

Page 51: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

๕. วิธีสอนแบบตางๆ

วธิสีอนของพระพทุธเจา มหีลายแบบหลายอยาง ท่ีนาสงัเกตหรือพบบอย คงจะไดแกวิธีตอไปนี้:-

๑. แบบสากัจฉา หรือสนทนา วิธีน้ีนาจะเปนวิธีท่ีทรงใชบอยไมนอยกวาวิธีใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อผูมาเฝาหรือทรงพบนั้น ยังไมไดเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ยังไมรู ไมเขาใจหลักธรรม

ในการสนทนา พระพทุธเจามกัจะทรงเปนฝายถาม นํ าคูสนทนาเขาสูความเขาใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด

แมในหมูพระสาวก พระองคก็ทรงใชวิธีน้ีไมนอย และทรงสงเสริมใหสาวกสนทนาธรรมกัน อยางในมงคลสูตรวา “กาเลน ธมฺม-สากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - การสนทนาธรรมตามกาล เปนมงคลอันอุดม” ดังนี้

๒. แบบบรรยาย วิธีสอนแบบนี้ นาจะทรงใชในที่ประชุมใหญในการแสดงธรรมประจํ าวัน ซ่ึงมีประชาชน หรือพระสงฆจํ านวนมาก และสวนมากเปนผูมีพื้นความรูความเขาใจ กับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยูแลว มาฟงเพื่อหาความรูความเขาใจเพิ่มเติมและหาความสงบสุขทางจิตใจ นับไดวาเปนคนประเภทและระดับใกลเคียงกัน พอจะใชวิธีบรรยายอันเปนแบบกวางๆ ได

ลักษณะพิเศษของพุทธวิธีสอนแบบนี้ ท่ีพบในคัมภีรบอกวาทุกคนที่ฟงพระองคแสดงธรรมอยูในที่ประชุมน้ัน แตละคนรูสึกวา

Page 52: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๔๘

พระพุทธเจาตรัสอยูกับตัวเองโดยเฉพาะ ซ่ึงนับวาเปนความสามารถอัศจรรยอีกอยางหนึ่งของพระพุทธเจา

๓. แบบตอบปญหา ผูท่ีมาถามปญหานั้น นอกจากผูท่ีมีความสงสัยของใจในขอธรรมตางๆ แลว โดยมากเปนผูนับถือลัทธิศาสนาอื่น บางก็มาถามเพื่อตองการรูคํ าสอนทางฝายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคํ าสอนในลัทธิของตน บางก็มาถามเพื่อลองภูมิ บางก็เตรียมมาถามเพื่อขมปราบใหจน หรือใหไดรับความอับอาย

ในการตอบ พระพุทธองคทรงสอนใหพิจารณาดูลักษณะของปญหา และใชวิธีตอบใหเหมาะกัน

ในสังคีติสูตร๑ ทานแยกประเภทปญหาไวตามลักษณะวิธีตอบเปน ๔ อยาง คือ:-

๑) เอกังสพยากรณียปญหา ปญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว พระอรรถกถาจารยยกตัวอยาง เชน ถามวา“จักษุเปนอนิจจังหรือ” พึงตอบตรงไปไดทีเดียววา “ถูกแลว”

๒) ปฏิปุจฉาพยากรณียปญหา ปญหาที่พึงยอนถามแลวจึงแก ทานยกตัวอยาง เชนเขาถามวา “โสตะก็เหมือนจักษุหรือ” พึงยอนถามกอนวา “ท่ีถามนั้นหมายถึงแงใด” ถาเขาวา “ในแงเปนเครื่องมองเห็น” พึงตอบวา “ไมเหมือน” ถาเขาวา “ในแงเปนอนิจจัง” จึงควรตอบรับวา

๑ ที.ปา. ๑๑/๒๕๕

Page 53: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๔๙

“เหมือน”๓) วิภัชชพยากรณียปญหา ปญหาที่จะตองแยกแยะตอบ

เชนเมื่อเขาถามวา “สิ่งที่เปนอนิจจัง ไดแก จักษุใชไหม?” พึงจํ าแนกความออกแยกแยะตอบวา “ไมเฉพาะจักษุเทานั้น ถึงโสตะ ฆานะ ฯลฯ ก็เปนอนิจจัง” หรือปญหาวา “พระตถาคตตรัสวาจาซึ่งไมเปนที่รักที่ชอบใจของคนอื่นไหม?” ก็ตองแยกตอบตามหลักการตรัสวาจา ๖ หรือปญหาวา “พระพุทธเจาทรงติเตียนตบะทั้งหมดจริงหรือ”๑ ก็ตองแยกตอบวาชนิดใดติเตียน ชนิดใดไมติเตียน ดังนี้เปนตน

๔) ฐปนียปญหา ปญหาที่พึงยับยั้งเสีย ไดแก ปญหาที่ถามนอกเรื่อง ไรประโยชน อันจักเปนเหตุใหเขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปลา พึงยับยั้งเสีย แลวชักนํ าผูถามกลับเขาสูแนวหรือเรื่องที่ประสงคตอไป

ทานยกตัวอยาง เมื่อถามวา “ชีวะอันใด สรีระก็อันน้ันหรือ?” อยางนี้เปนคํ าถามประเภทเก็งความจริง ซ่ึงถึงอธิบายอยางไรผูถามก็ไมอาจเขาใจหรือพบขอยุติ เพราะไมอยูในฐานะที่เขาจะเขาใจได พิสูจนไมได ท้ังไมเกิดประโยชนอะไรแกเขาดวย

๑ องฺ.ทสก. ๒๔/๙๔

Page 54: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๕๐

นอกจากนี้ ทานยังสอนใหคํ านึงถึงเหตุแหงการถามปญหาดวย ในเรื่องนี้ พระสารีบุตร อัครสาวก เคยแสดงเหตุแหงการถามปญหาไววา

“บุคคลผูใดผูหนึ่ง ยอมถามปญหากะผูอ่ืน ดวยเหตุ ๕ อยาง อยางใดอยางหนึ่ง หรือทั้ง ๕ อยาง คือ:-๑) บางคน ยอมถามปญหาเพราะความโงเขลา เพราะ

ความไมเขาใจ๒) บางคน มีความปรารถนาลามก เกิดความอยากได จึง

ถามปญหา๓) บางคน ยอมถามปญหา ดวยตองการอวดเดนขมเขา๔) บางคน ยอมถามปญหาดวยประสงคจะรู๕) บางคน ยอมถามปญหาดวยมีความดํ าริวา เมื่อเราถาม

แลว ถาเขาตอบไดถกูตองกเ็ปนการด ี แตถาเราถามแลวเขาตอบไมถูกตอง เราจะไดชวยแกใหเขาโดยถูกตอง”๑

ในการตอบปญหา นอกจากรูวิธีตอบแลว ถาไดรูซ้ึงถึงจิตใจของผูถามดวยวา เขาถามดวยความประสงคอยางใด ก็จะสามารถ

๑ องฺ.ปฺจก. ๒๒/๑๖๕; ในที่น้ีขอใหเทียบพุทธธรรมดา หรือพุทธประเพณีในการตรัสถามคํ าถาม ซึ่งมีดังนี้

“ตถาคตทั้งหลาย ทั้งที่ทรงทราบอยู ยอมตรัสถามก็มี, ทั้งที่ทรงทราบอยู แตไมตรัสถามก็มี, ทรงกํ าหนดทราบกาลอันเหมาะสมแลวจึงตรัสถาม, ทรงกํ าหนดทราบกาล(ไมเหมาะ)แลวจึงไมตรัสถาม, พระองคตรัสถามแตส่ิงที่เปนประโยชน, ไมตรัสถามส่ิงที่ไมเปนประโยชน, ในเรื่องที่ไมเปนประโยชน ทรงปดทางเสียทีเดียว; พระพุทธเจาทั้งหลายยอมทรงสอบถามภิกษุดวยอาการ ๒ แบบ คือ จะทรงแสดงธรรมหรือจะทรงบัญญัติสิกขาบทแกสาวกทั้งหลาย” (ดู วินย. ๕/๔๙ เปนตน)

Page 55: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕๑

กลาวแกไดเหมาะแกการ และตอบปญหาไดตรงจุด ทํ าใหการสอนไดผลดียิ่งขึ้น

๔. แบบวางกฎขอบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทํ าความผิดอยางใดอยางหนึ่งขึ้นเปนครั้งแรก พระสงฆหรือประชาชนเลาลือโพนทนาติเตียนกันอยู มีผูนํ าความมากราบทูลพระพุทธเจา พระองคก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ สอบถามพระภิกษุผูกระทํ าความผิด

เมื่อเจาตัวรับไดความเปนสัตยจริงแลว ก็จะทรงตํ าหนิ ช้ีแจงผลเสียหายที่เกิดแกสวนรวม พรรณนาผลรายของความประพฤติไมดี และคุณประโยชนของความประพฤติท่ีดีงาม แลวทรงแสดงธรรมกถาที่สมควรเหมาะสมกันกับเรื่องนั้น

จากนั้นจะตรัสใหสงฆทราบวา จะทรงบัญญัติสิกขาบท โดยทรงแถลงวัตถุประสงคในการบัญญัติใหทราบ แลวทรงบัญญัติสิกขาบทขอน้ันๆ ไว โดยความเห็นชอบพรอมกันของสงฆ ในทามกลางสงฆ และโดยความรับทราบรวมกันของสงฆ

ในการสอนแบบนี ้พงึสงัเกตวาพระพทุธเจาทรงบญัญตัสิกิขา-บทโดยความเห็นชอบของสงฆ ซ่ึงบาลีใชคํ าวา “สงฺฆสุฏุตาย”แปลวา “เพื่อความรับวาดีแหงสงฆ”

ทานอธิบายความหมายวา ทรงบัญญัติ โดยชี้แจงใหเห็นแลววาถาไมรับจะเกิดผลเสียอยางไร เมื่อรับจะมีผลดีอยางไร จนสงฆรับคํ าของพระองควา ดีแลว ไมทรงบังคับเอาโดยพลการ๑

๑ ดู วินย.อ. ๑/๒๖๒

Page 56: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

๖. กลวิธีและอุบายประกอบการสอน

๑. การยกอุทาหรณ และการเลานิทานประกอบ การยกตัวอยางประกอบคํ าอธิบาย และการเลานิทานประกอบการสอน ชวยใหเขาใจความไดงายและชัดเจน ชวยใหจํ าแมน เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน ทํ าใหการเรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น

ตัวอยางเชน เมื่อจะอธิบายใหเห็นวา คนมีความปรารถนาดีอยากชวยทํ าประโยชน แตหากขาดปญญา อาจกลับทํ าลายประโยชนเสียก็ได ก็เลานิทานชาดกเรื่อง ลิงเฝาสวน๑ หรือ คนขายเหลา๒ เปนตน

พระพุทธเจาทรงใชอุทาหรณและนิทานประกอบการสอนมากมายเพียงใด จะเห็นไดจากการที่ในคัมภีรตางๆ มีอุทาหรณและนิทานปรากฏอยูท่ัวไป เฉพาะคัมภีรชาดกอยางเดียวก็มีนิทานชาดกถึง ๕๔๗ เรื่อง

๒. การเปรียบเทียบดวยขออุปมา คํ าอุปมาชวยใหเรื่องที่ลึกซึ้งเขาใจยาก ปรากฏความหมายเดนชัดออกมา และเขาใจงายขึ้นโดยเฉพาะมักใชในการอธิบายสิ่งที่เปนนามธรรม เปรียบใหเห็นชัดดวยสิ่งที่เปนรูปธรรม หรือแมเปรียบเรื่องที่เปนรูปธรรมดวยขออุปมาแบบรูปธรรม ก็ชวยใหเนื้อความหนักแนนเขา เชน ๑ ชา.อ. ๒/๒๓๒ ชา.อ. ๒/๒๖

Page 57: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕๓

“ภูเขาศิลาลวน เปนแทงทึบ ยอมไมหว่ันไหวดวยแรงลม ฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ยอมไมหว่ันไหวเพราะคํ านินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น”๑

“คนผูเรียนรูนอย ยอมแกลงเหมือนโคถึก เนื้อของเขาเจริญขึ้น แตปญญาหาเจริญไม”๒

“เมื่อพระอาทิตยจะอุทัย มีแสงเงินแสงทองปรากฏขึ้น เปนนิมิตมากอน ฉันใด ความมีกัลยาณมิตรก็เปนเบ้ืองตน เปนนิมิตหมายแหงการบังเกิดขึ้นของโพชฌงค ๗ ฉันนั้น”๓

ฯลฯการใชอุปมานี้ นาจะเปนกลวิธีประกอบการสอนที่พระพุทธ

องคทรงใชมากที่สุด มากกวากลวิธีอื่นใด๓. การใชอุปกรณการสอน ในสมัยพุทธกาล ยอมไมมี

อุปกรณการสอนชนิดตางๆ ท่ีจัดทํ าขึ้นไวเพื่อการสอนโดยเฉพาะเหมือนสมัยปจจุบัน เพราะยังไมมีการจัดการศึกษาเปนระบบขึ้นมาอยางแพรหลายกวางขวาง หากจะใชอปุกรณบาง กค็งตองอาศยัวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ หรือเครื่องใชตางๆ ท่ีผูคนใชกันอยู

อีกประการหนึ่ง คํ าสอนของพระพุทธเจาที่มีบันทึกไวก็มักเปนคํ าสอนที่ตรัสแกผูใหญ และเปนเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรม ท้ังสอนเคลื่อนที่ไปในดินแดนแวนแควนตางๆ อยางอิสระ ชนิดที่ผู ๑ ขุ.ธ. ๒๕/๑๖๒ สํ.ม. ๑๙/๕๑๖๓ ขุ.ธ. ๒๕/๒๑

Page 58: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๕๔

สอนไมมีทรัพยสมบัติติดตัว ดวยเหตุน้ี ความจํ าเปนที่จะใชอุปกรณจึงมีนอย และโอกาสที่จะอาศัยอุปกรณก็เปนไปไดยาก

นอกจากนั้น การใชขออุปมาตางๆ ก็สะดวกกวา และใหความเขาใจชัดเจนอยูแลว แมเมื่อใชของจริงเปนอุปกรณ ก็มักใชในแงอุปมาอีกนั่นเอง จึงปรากฏวาคํ าสอนในแงอุปมามีมากมายแตไมคอยปรากฏการใชอุปกรณการสอน

อยางไรก็ดี มีตัวอยางการที่พระพุทธเจาทรงใชอุปกรณการสอน ในกรณีสอนผูเรียนที่อายุนอยๆ ซ่ึงเขาใจจากวัตถุไดงายกวานามธรรม โดยทรงใชเครื่องใชท่ีมีอยู จึงปรากฏเรื่องที่พระองคทรงสอนสามเณรราหุลเมื่ออายุ ๗ ขวบวา:-

วันหนึ่งพระผูมีพระภาคเสด็จมา ณ ท่ีอยูของสามเณรราหุลสามเณรมองเห็นแลว ก็ปูลาดอาสนะ และจัดนํ้ าลางพระบาทไวพระผูมีพระภาคลางพระบาทแลว ทรงเหลือน้ํ าไวในภาชนะหนอยหนึ่ง เมื่อสามเณรถวายบังคมนั่งเรียบรอยแลว

พระองคไดตรัสถามวา “ราหุล เธอเห็นนํ้ าที่เหลืออยูหนอยหนึ่งในภาชนะนี้หรือไม” สามเณรราหุลทูลวา เห็น จึงตรัสวา “คนที่พูดเท็จท้ังที่รูอยู ก็มีคุณธรรมของสมณะเหลืออยูนอยเหมือนอยางน้ัน”

เสร็จแลวทรงเทนํ้ านั้นเสีย ตรัสถามวา “เธอเห็นเราเทนํ้ าหนอยหนึ่งนั้นทิ้งไปแลวไหม” สามเณรทูลวา เห็น ตรัสวา “คนที่ไมมีความละอายในการกลาวเท็จท้ังที่รูอยู ก็เปนผูเทคุณธรรมของสมณะออกทิ้งเสียเหมือนอยางนั้น”

Page 59: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕๕

แลวทรงควํ่ าภาชนะลง ตรัสถามวา “เธอเห็นภาชนะนี้ควํ่ าลงแลวไหม” สามเณรทูลวา เห็น ตรัสวา “คนที่ไมมีความละอายในการพูดเท็จท้ังรูอยู คุณธรรมของสมณะของเขาก็ช่ือวาควํ่ าไปแลวเหมือนอยางนั้น”

แลวทรงหงายภาชนะขึ้น ตรัสถามวา “เธอเห็นภาชนะนี้วางเปลาไหม” สามเณรทูลวา เห็น จึงตรัสวา “คนที่ไมมีความละอายในการพูดเท็จ ท้ังที่รูอยู คุณธรรมแหงสมณะของเขาก็วางเปลาเหมือนอยางนั้น”

ตรัสถามวา “ราหุล แวนมีประโยชนอยางไร?”ทูลตอบวา “มีประโยชนสํ าหรับสองดู พระเจาขา”ตรัสวา “อันนั้นเหมือนกัน ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสีย

กอน จึงกระทํ ากรรมดวยกาย วาจา และใจ”๑ในการสอนสามเณรนี้ บางทีก็ทรงใชวิธีทายปญหา ซ่ึงคงจะ

ชวยใหเกิดความรูสึกสนุกสํ าหรับเด็ก อยางเรื่องสอนธรรมยากๆดวยสามเณรปญหาวา “อะไรเอย มีอยางเดียว, อะไรเอย มีสองอยาง, อะไรเอย มีสามอยาง” ฯลฯ๒

๔. การทํ าเปนตัวอยาง วิธีสอนที่ดีท่ีสุดอยางหนึ่ง โดยเฉพาะในทางจริยธรรม คือการทํ าเปนตัวอยาง ซ่ึงเปนการสอนแบบไมตองกลาวสอน เปนทํ านองการสาธิตใหดู แตท่ีพระพุทธเจาทรงกระทํ านั้นเปนไปในลักษณะที่ทรงเปนผูนํ าที่ดี

๑ จูฬราหุโลวาทสูตร, ม.ม. ๑๓/๑๒๕–๑๒๙๒ ขุ.ขุ. ๒๕/๔

Page 60: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๕๖

การสอนโดยทํ าเปนตัวอยาง ก็คือพระจริยาวัตรอันดีงามที่เปนอยูตามปกติน่ันเอง แตท่ีทรงปฏิบัติเปนเรื่องราวเฉพาะก็มี เชน

คราวหนึ่ง พระพุทธเจา พรอมดวยพระอานนทตามเสด็จขณะเสด็จไปตามเสนาสนะที่อยูของพระสงฆ ไดทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง อาพาธเปนโรคทองรวง นอนจมกองมูตรและคูถของตน ไมมีผูพยาบาลดูแล จึงเสด็จเขาไปหา จัดการทํ าความสะอาด ใหนอนโดยเรียบรอย เสร็จแลวจึงทรงประชุมสงฆ ทรงสอบถามเรื่องนั้น และตรัสตอนหนึ่งวา

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไมมีมารดา ไมมีบิดา ผูใดเลาจะพยาบาลพวกเธอ ถาพวกเธอไมพยาบาลกันเองใครเลาจักพยาบาล ผูใดจะพึงอุปฐากเรา ขอใหผูนั้นพยาบาลภิกษุอาพาธเถิด”๑๕. การเลนภาษา เลนคํ า และใชคํ าในความหมายใหม การเลน

ภาษาและเลนคํ า เปนเรื่องของความสามารถในการใชภาษาผสมกับปฏิภาณ ขอน้ีก็เปนการแสดงใหเห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจาที่มีรอบไปทุกดาน

เมื่อผูใดทูลถามมาเปนคํ ารอยกรอง พระองคก็ทรงตอบเปนคํ ารอยกรองไปทันที ทํ านองกลอนสด

บางทีเขาทูลถามหรือกลาวขอความโดยใชคํ าที่มีความหมายไปในทางไมดีงาม พระองคก็ตรัสตอบไปดวยคํ าพูดเดียวกันน้ันเอง แตเปนคํ าพูดในความหมายที่ตางออกไปเปนฝายดีงาม

๑ วินย. ๕/๑๖๖

Page 61: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕๗

คํ าสนทนาโตตอบแบบนี้ มีรสอยูแตในภาษาเดิม แปลออกสูภาษาอื่นยอมเสียรสเสียความหมาย ยกตัวอยางใหเห็นงายๆ เชนในภาษาไทยวา “ปากกาหัก” “ฟนตาตกนํ้ า” อาจใชในความหมายตางกันไดในภาษาไทย แตเมื่อแปลเปนภาษาอื่นยอมเสียรส

บางครัง้ ผูมาเฝา บริภาษพระองคดวยค ําพดูตางๆ ท่ีรุนแรงยิง่ พระองคทรงยอมรับคํ าบริภาษเหลานั้นทั้งหมด แลวทรงแปลความหมาย อธิบายเสียใหมใหเปนเรื่องที่ดีงาม เชน กรณีของเวรัญชพราหมณ๑ และสีหเสนาบดีผูรับแผนมาจากนิครนถนาฏ-บุตร๒ เปนตน

แมในดานการสอนหลักธรรมทั่วไป พระองคก็ทรงรับเอาคํ าศัพทท่ีมีใชอยูแตเดิมในลัทธิศาสนาเกามาใช แตทรงกํ าหนดความหมายใหใหม ซ่ึงเปนวิธีการชวยใหผูฟงผูเรียนหันมาสนใจ และกํ าหนดคํ าสอนไดงาย เพียงแตมาทํ าความเขาใจเสียใหมเทานั้นและเปนการชวยใหมีการพิจารณาเปรียบเทียบไปในตัวดวยวาอยางไหนถูก อยางไหนผิดอยางไร

จึงเห็นไดวา คํ าวา พรหม พราหมณ อริยะ ยัญ ตบะ ไฟบูชายัญ ฯลฯ ซ่ึงเปนคํ าในลัทธิศาสนาเดิม ก็มีใชในพระพุทธศาสนาดวยทั้งสิ้น แตมีความหมายตางออกไปเปนอยางใหม

๖. อุบายเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเปนอุบายสํ าคัญในการเผยแพรพระศาสนา ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจา เริ่มแตระยะแรกประดิษฐานพระพุทธศาสนา จะเห็น ๑ วินย. ๑/๒; องฺ.อฏก. ๒๓/๑๐๑๒ วินย. ๕/๗๘; องฺ.อฏก. ๒๓/๑๐๒

Page 62: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๕๘

ไดวาพระพุทธเจาทรงดํ าเนินพุทธกิจดวยพระพุทโธบายอยางที่เรียกวา การวางแผนที่ไดผลยิ่ง ทรงพิจารณาวาเมื่อจะเขาไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใครกอน

เมื่อตรัสรูใหมๆ ไดเสด็จไปโปรดเบญจวัคคียผูท่ีอยูใกลชิดพระองคเมื่อครั้งออกแสวงธรรมกอน ขอน้ีพิจารณาไดท้ังในแงท่ีเบญจวัคคียเปนผูใฝธรรม มีอุปนิสัยอยูแลว หรือในแงท่ีเปนผูเคยมีอุปการะกันมา หรือในแงท่ีวาเปนการสรางความมั่นใจ ทํ าใหผูเคยเกี่ยวของหมดความคลางแคลงในพระองค ตัดปญหาในการที่ทานเหลานี้อาจไปสรางความคลางแคลงใจขึ้นแกผูอื่นตอไปดวย

ครั้นเสร็จสั่งสอนเบญจวัคคียแลว ก็ไดโปรดยสกุมาร พรอมท้ังเศรษฐีผูบิดา และญาติมิตร และเมื่อจะเสด็จเขาแควนมคธ พระองคก็เสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่นอง พรอมท้ังบริวารทั้งพัน เริ่มดวยชฎิลคนพี่ใหญเสียกอน แลวนํ าชฎิลเหลานี้ ผูกลายเปนสาวกแลวเขาสูนครราชคฤห ประกาศธรรม ณ พระนครนั้น ไดราชาเปนสาวก

เปนอันวา พอเริ่มตนประกาศพระศาสนา ก็ไดท้ังนักบวชผูใหญ เศรษฐี และราชา ซ่ึงเปนคนชั้นสูงสมัยนั้นเปนสาวก เปนการทํ าทางเสด็จเผยแผใหปลอดโปรงตอไป

ในการทรงสั่งสอนคนแตละถิ่น หรือแตละหมูคณะ ก็มักทรงเริ่มตนที่บุคคลผูเปนประมุข เชนพระมหากษัตริย หรือหัวหนาของชนหมูน้ันๆ ทํ าใหการประกาศพระศาสนาไดผลดีและรวดเร็ว และเปนการยืนยันพระปรีชาสามารถของพระองคดวย

Page 63: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕๙

ในการบํ าเพ็ญพุทธกิจประจํ าวัน พระองคก็ทรงสอดสองพิจารณาบุคคลผูควรโปรดในวันนั้นตั้งแตเวลาจวนรุงสาง และเสด็จไปโปรดในเวลาเชา เปนการใหความสนพระทัยสงเคราะหบุคคลเปนรายๆ ซ่ึงใหผลดใีนการสอนยิง่กวาการสอนแบบสาดๆ ไป

แมเมื่อแสดงธรรมในที่ประชุม ก็ทรงกํ าหนดบุคคลที่ควรเอาพระทัยใสพิเศษในคราวนั้นๆ ไวดวย กับท้ังแสดงธรรมโดยวิธีการที่จะทํ าใหทุกคนในที่ประชุมไดรับผลประโยชนไปอยางเปนที่นาพอใจ ใหเกิดความรูสึกแกทุกคนวา พระพุทธเจาตรัสอยูกับตน ดังกลาวมาแลว

๗. การรูจักจังหวะและโอกาส ผูสอนตองรูจักใชจังหวะและโอกาสใหเปนประโยชน เมื่อยังไมถึงจังหวะ ไมเปนโอกาส เชน ผูเรียนยังไมพรอม ยังไมเกิดปริปากะแหงญาณหรืออินทรีย ก็ตองมีความอดทน ไมชิงหักหาญหรือดึงดันทํ า แตก็ตองตื่นตัวอยูเสมอเมื่อถึงจังหวะหรือเปนโอกาส ก็ตองมีความฉับไวที่จะจับมาใชใหเปนประโยชน ไมปลอยใหผานเลยไปเสียเปลา

แมในการเผยแพรธรรมแกคนสวนใหญ พระพุทธเจาก็ทรงปฏิบัติตามจังหวะและโอกาสดวย เชน

ในระยะแรกประกาศพระศาสนา ณ วันมาฆบูรณมี หลังตรัสรู ๙ เดือน เมื่อประทับอยู ณ เวฬุวัน พระสงฆสาวกมาชุมนุมพรอมกัน ณ ท่ีน้ัน และเปนโอกาสเหมาะ พระพุทธเจาก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกขสํ าหรับเปนหลักยึดถือรวมกันของสงฆ ท่ีจะแยกยายกันไปบํ าเพ็ญศาสนกิจ

Page 64: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๖๐

เมื่อคราวนิครนถนาฏบุตรสิ้นชีวิต เกิดความแตกแยกในหมูนิครนถ พระสารีบุตรถือเหตุการณน้ันเปนตัวอยาง ช้ีใหภิกษุสงฆเห็นความสํ าคัญในการรอยกรองธรรมวินัย ชักชวนพระสงฆใหพรอมใจกันทํ าสังคายนา และทานไดทํ าสังคายนาเปนตัวอยางโดยแสดงสังคีติสูตรไว๑

๘. ความยดืหยุนในการใชวธิกีาร ถาผูสอนสอนอยางไมมอีตัตาตัดตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียได ก็จะมุงไปยังผลสํ าเร็จในการเรียนรูเปนสํ าคัญ สุดแตจะใชกลวิธีใดใหการสอนไดผลดีท่ีสุด ก็จะทํ าในทางนั้น ไมกลัววาจะเสียเกียรติ ไมกลัวจะถูกรูสึกวาแพ บางคราวเมื่อสมควรก็ตองยอมใหผูเรียนรูสึกตัววาเขาเกง บางคราวสมควรขมก็ขม บางคราวสมควรโอนออนผอนตาม ก็ยอมตาม สมควรขัดก็ขัด สมควรคลอยก็คลอย สมควรปลอบก็ปลอบ มีพุทธพจนวา

“เรายอมฝกคนดวยวิธีละมุนละไมบาง ดวยวิธีรุนแรงบาง ดวยวิธีที่ทั้งออนละมุนละไม และทั้งรุนแรงปนกันไปบาง”๒คนบางคน จะใหเขายอมไดดวยการที่ยอมใหเขารูสึกวาตัว

เขามีเกียรติหรือเกง หรือไดสมใจกอน ผูสอนจับจุดไดก็ใชวิธีสนองความตองการแลวดึงเขาสูท่ีหมายไดตามประสงค เชน คราวที่เวรัญชพราหมณบริภาษพระพุทธเจา พระองคก็ทรงรับสมอางตามคํ าบริภาษนั้นใหสมใจพราหมณ แลวจึงคอยชี้แจงแกไข ใหเขายอมรับตามพระองคภายหลัง ๑ ที.ปา. ๑๑/๒๒๑–๓๖๓๒ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๑๑

Page 65: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๖๑

เมื่อเผชิญอาฬวกยักษผูดุราย พระองคเสด็จเขาไปในที่อยูของอาฬวกะ อาฬวกะสั่งพระองคใหเสด็จออกไป พระองคก็เสด็จออกตามสั่ง อาฬวกะสั่งพระองคใหเสด็จเขาไปอีก พระองคก็เสด็จเขาอีก อาฬวกะสั่งใหพระองคเสด็จเขาเสด็จออกอยางนี้ ซ่ึงพระองคก็ทรงปฏิบัติตามอยางวางายถึง ๓ วาระ ใหเขารูสึกสมใจในอํ านาจของตนกอน ตอจากนั้นจึงทรงเปลี่ยนกลวิธีและก็ไดโปรดอาฬวกะลงเปนสาวกสํ าเร็จ๑

อีกตัวอยางหนึ่ง พราหมณคนหนึ่งเปนคนมีมานะ นิสัยแข็งกระดาง ไมไหวแมแตมารดา บิดา อาจารย และพี่ชาย วันหนึ่งขณะพระผูมีพระภาคทรงแสดงธรรมอยูในที่ประชุม เขาคิดวาจะลองเขาไปเฝา

“ถาพระสมณโคดมตรัสกะเรา เราก็จะพูดกับทานถาพระสมณโคดม ไมตรัสกะเรา เราก็จะไมพูดกับทาน”แลวเขาไปยืนอยูขางหนึ่ง พระผูมีพระภาคก็ทรงเฉยเสีย ไม

ตรัสดวย พราหมณทํ าทาจะกลับออกไปโดยคิดวา“พระสมณโคดมองคนี้ไมมีความรูอะไร”

พระผูมีพระภาคทราบความในใจของเขาอยู ถึงตอนนี้จึงตรัสคาถาวา

“พราหมณเอย ความถือตัวไมชวยใหใครไดดีอะไรเลย ใครมาเพื่อประโยชนใด ก็ควรเสริมสรางประโยชนนั้นเสีย”

๑ ขุ.สุ. ๒๕/๓๑๐

Page 66: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๖๒

เมื่อตรัสพระดํ ารัสน้ี ในจังหวะนี้ ก็ไดผล ทํ าใหพราหมณชะงักคิดวา “พระสมณโคดมรูใจเรา” ถึงยอมทรุดลงนั่งแสดงคารวะ ทํ าใหท่ีประชุมงงงวยประหลาดใจวา

“นาอัศจรรยจริง พราหมณนี้ไมไหวแมแตมารดาบิดา อาจารย พ่ีชาย แตพระสมณโคดมทรงทํ าใหคนอยางนี้นอบนบไดเปนอยางดี”จากนั้นพระองคจึงไดทรงเชิญใหเขานั่งบนอาสนะแลวตอบ

ปญหาธรรมแกเขา จนลงทายเขาไดประกาศตนเปนอุบาสก๑๙. การลงโทษและใหรางวัล มีคํ าสรรเสริญพระพุทธคุณที่ยก

มาแสดงขางตนแลววา“พระผูมีพระภาคทรงฝกอบรมชุมชนไดดีถึงเพียง

นี้ โดยไมตองใชอาชญา”๒ซ่ึงแสดงวา การใชอํ านาจลงโทษ ไมใชวิธีการฝกคนของพระ

พุทธเจา แมในการแสดงธรรมตามปกติพระองคก็ทรงแสดงไปตามเนื้อหาธรรม ไมกระทบกระทั่งใคร อยางที่วา

“ทรงแสดงธรรมในบริษัท ไมทรงยอบริษัท ไมทรงรุกรานบริษัท ทรงชี้แจงใหบริษัทเห็นแจง ใหสมาทาน ใหอาจหาญ ใหราเริงดวยธรรมิกถา”๓และวา

๑ สํ.ส. ๑๕/๖๙๔–๗๐๐๒ ม.ม. ๑๓/๕๖๕๓ ม.ม. ๑๓/๕๘๙

Page 67: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๖๓

“พึงรูจักการยกยอ และการรุกราน ครั้นรูแลวไมพึงยกยอ ไมพึงรุกราน พึงแสดงแตธรรมเทานั้น”๑ขอน้ี ตีความไปไดถึงวา ไมใชท้ังวิธีลงโทษและใหรางวัล แม

วาพระพุทธเจาจะทรงใชการชมเชยยกยองบาง ก็เปนไปในรูปการยอมรับคุณความดีของผูน้ัน กลาวชมโดยธรรม ใหเขามั่นใจในการกระทํ าความดีของตน แตไมใหเกิดเปนการเปรียบเทียบขมคนอื่นลง

บางทีทรงชมเพื่อใหถือเปนตัวอยาง หรือเพื่อแกความเขาใจผิด ใหตั้งทัศนคติท่ีถูก เชน ทรงชมพระนันทกะ๒ ชมพระนวกะรูปหนึ่ง๓ ชมพระสุชาต๓ ชมพระลกุณฏกภัททิยะ๓ ชมพระวิสาข-ปญจาลบุตร๓ และตํ าหนิเตือนพระนันทะ๓ เปนตน

อยางไรก็ดี การลงโทษนาจะมีอยูแบบหนึ่ง คือ การลงโทษตนเอง ซ่ึงมีท้ังในทางธรรม และทางวินัย

ในทางพระวินัย ถือวามีบทบัญญัติความประพฤติอยูแลวและบทบัญญัติเหลานี้พระพุทธเจาทรงตราไว โดยความเห็นชอบรวมกันของสงฆ พรอมท้ังมีบทกํ าหนดโทษไวเสร็จ เมื่อผูใดลวงละเมิดก็เปนการกระทํ าผิดตอสวนรวม ตองไถถอนความผิดของตน มิฉะนั้นจะเปนผูไมเปนที่ยอมรับของสงฆคือหมูคณะทั้งหมด

สวนในทางธรรม ภิกษุท่ีเหลือขอจริงๆ สอนไมได ก็กลายเปนผูท่ีพระพุทธเจาและเพื่อนพรหมจารีท้ังปวงไมถือวาเปนผูท่ีควร ๑ ม.อุ. ๑๔/๖๕๘๒ องฺ.นวก. ๒๓/๒๐๘๓ สํ.นิ. ๑๖/๖๙๖–๗๑๒

Page 68: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๖๔

จะวากลาวสั่งสอน โดยวิธีน้ี ถือวาเปนการลงโทษอยางรุนแรงที่สุด๑

พิจารณาจากพระพุทธคุณตอนตนของขอน้ี จะเห็นวา การสอนโดยไมตองลงโทษ เปนการแสดงความสามารถของผูสอนดวย

ในระดับสามัญ สํ าหรับผูสอนทั่วไป อาจตองคิดคํ านึงวาการลงโทษ ควรมีหรือไม แคไหน และอยางไร แตผูท่ีสอนคนไดสํ าเร็จผลโดยไมตองใชอาญาโทษเลย ยอมช่ือวาเปนผูมีความสามารถในการสอนมากที่สุด

๑๐. กลวิธีแกปญหาเฉพาะหนา ปญหาเฉพาะหนาที่เกิดข้ึนตางครั้งตางคราว ยอมมีลักษณะแตกตางกันไปไมมีท่ีสุด การแกปญหาเฉพาะหนายอมอาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกตหลัก วิธีการ และกลวิธีตางๆ มาใชใหเหมาะสม เปนเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป

อยางไรก็ดี การไดเห็นตัวอยางการแกปญหาเชนนี้ อาจชวยใหเกิดความเขาใจในแนวทางที่จะนํ าไปใชปฏิบัติไดบาง

ในการประกาศพระศาสนา พระพุทธเจาไดทรงประสบปญหาเฉพาะหนาตลอดเวลา และทรงแกสํ าเร็จไปในรูปตางๆ กันตัวอยางเชน:-

พราหมณคนหนึ่งในเมืองราชคฤห ตนไมไดนับถือพระพุทธศาสนา แตภรรยาเปนผูมีศรัทธาในพระพุทธเจาอยางแรงกลา มักเปลงอุทานวา “นโม ตสฺส”

๑ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๑๑

Page 69: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๖๕

คราวหนึ่ง นางพราหมณีผูภรรยา ขณะนํ าอาหารมาใหสามีกาวพลาดลง จึงอุทานวา “นโม ตสฺส”

พราหมณสามีไดยินก็ไมพอใจ จึงวา “นางตัวรายนี่ชอบพูดสรรเสริญแตความดีของพระหัวโลนองคน้ันอยูเรื่อย เดี๋ยวเถอะ นังตัวดี ขาจะไปปราบวาทะศาสดาของแก”

นางพราหมณีตอบวา “แนะ พอพราหมณ ฉันมองไมเห็นวาจะมีใครในโลกไหนๆ มาปราบวาทะของพระผูมีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจาได เอาซิ พอพราหมณ จะไปก็เอา ไปแลวก็จะรูเอง”

ฝายพราหมณ ท้ังโกรธอยูน้ัน ก็ไปเฝาพระพุทธเจา เมื่อน่ังเรียบรอยแลว ก็ทูลถามเปนคํ ารอยกรองวา “ฆาตัวอะไรเสียได จึงจะนอนเปนสุข ฯลฯ”

พระพุทธเจาตรัสตอบวา “ฆาความโกรธเสียได ก็จะนอนเปนสุข ฯลฯ” และทํ าใหพราหมณเลื่อมใสได๑

อีกเรื่องหนึ่ง พราหมณอีกคนหนึ่ง รูขาววาพราหมณตระกูลเดียวกับตนออกบวชอยูกับพระพุทธเจา ก็โกรธ จึงไปเฝาพระพุทธเจา ไปถึงก็บริภาษพระองคดวยคํ าหยาบคายตางๆ พระพุทธเจาทรงปลอยใหพราหมณน้ันบริภาษพระองคเรื่อยไป จนพราหมณหยุดไปเอง

๑ สํ.ส. ๑๕/๖๒๖–๖๓๐

Page 70: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๖๖

เมื่อพราหมณบริภาษจนพอแกใจ หยุดแลว พระองคจึงตรัสถามวา “ขอถามหนอยเถิดทานพราหมณ พวกญาติมิตรแขกเหรื่อท้ังหลายนะ มีมาหาทานบางหรือเปลา?”

พราหมณทูลวา “ก็มีเปนครั้งคราว”พระพทุธเจาตรสัถามวา “แลวทานจดัอาหารของรบัประทาน

มาใหเขาบางหรือเปลา?”พราหมณทูลวา “ก็จัดบาง”พระพุทธเจาตรัสถามวา “ก็ถาคนเหลานั้นเขาไมรับสิ่งของ

เหลานั้นเลา ของจะเปนของใคร?”พราหมณกราบทลูวา “ถาเขาไมรับ มนักเ็ปนของฉนัเองนะซ”ีพระพุทธเจาตรัสตอบ ความวา “เอาละ เรื่องนี้ก็เหมือนกัน

ท่ีทานมาดาเรานะ เราไมขอรับคํ าดาของทานละ ขอใหเปนของทานเองก็แลวกัน” จากนั้น จึงไดทรงสนทนากับพราหมณตอไปจนพราหมณเลื่อมใสยอมเปนสาวก๑

อีกเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจาเสด็จไปบิณฑบาตที่บานอุทัยพราหมณ วันแรกพราหมณเอาขาวมาใสบาตรถวายจนเต็ม วันที่สอง พระพุทธเจาเสด็จไปอีก พราหมณก็ถวายอีก

วันที่สาม พระพุทธเจาเสด็จไปอีก พราหมณก็ถวายอีก แตคราวนี้ พอถวายแลว ก็กลาววา “พระสมณโคดมองคน้ีติดใจจึงมาบอยๆ”

๑ สํ.ส. ๑๕/๖๓๑–๖๓๔ (แปลตัดรวบรัดความ)

Page 71: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๖๗

พระพุทธเจาไดตรัสตอบรอยกรองเปนคาถาเลนคํ าโดยปฏิภาณ เปนทํ านองเตือนพราหมณโดยนัยวา ไฉนจะทอถอยเสียการกระทํ าสวนมากจะใหไดผลก็ตองทํ าบอยๆ ดังนี้

“กสิกรก็หวานพืชบอยๆ ฝนก็ตองตกบอยๆชาวนาก็ตองไถนาบอยๆ รัฐจึงมั่งมีธัญญาหารบอยๆคนมาขอบอยๆ คนใหใหไปบอยๆคนใหครั้นใหบอยๆ ก็ไดพบสวรรคบอยๆคนรีดนมก็ยอมรีดบอยๆ ลูกวัวก็หาแมบอยๆยอมตองเหนือ่ยตองดิน้รนบอยๆ (สวน) คนเขลาเขาหาครรภบอยๆแลวก็เกิดก็ตายบอยๆ ตองหามไปปาชาบอยๆมีปญญาพบทางไมเกิดบอย จึงไมตองเกิดบอยๆ(หรอื : คนฉลาดถงึเกดิบอยๆ กเ็พือ่พบทางไมตองเกดิบอย).๑อีกเรื่องหนึ่งคลายๆ กันวา พระพุทธเจาเสด็จไปในบริเวณที่

เขาเตรียมหวานขาวทํ านา ขณะเขากํ าลังเลี้ยงดูกันอยู พระองคไดเสด็จไปประทับยืนอยูดานหนึ่ง พราหมณเจาของนาเห็น ก็คิดวาพระองคมาขอบิณฑบาต จึงกลาววา

“ทานสมณะ ขาพเจายอมไถนา หวานขาว ครั้นแลวจงึไดบริโภค แมทานกจ็งไถนา จงหวานขาว แลวจงบรโิภคเอาเถดิ”

พระพุทธเจาตรัสตอบวา “ดูกอนพราหมณ แมเราก็ไถ ก็หวานเหมือนกัน เมื่อไดไถหวานแลว จึงไดบริโภค”

๑ สํ.ส. ๑๕/๖๗๗–๖๘๑ (คํ าบาลีบางคํ าในที่น้ีตีความอยางอื่นไดดวย คํ าแปลในที่น้ี จึงไมอาจไดอรรถรสบริบูรณ)

Page 72: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๖๘

พราหมณทูลวา “ทานสมณะ ขาพเจาไมเห็นทานมีแอก มีไถมีผาล มีปฏัก หรือโคเลย ไฉนทานจึงมากลาววา ‘แมเราก็ไถก็หวาน เสร็จแลวจึงไดบริโภคเหมือนกัน’” แลวก็สนทนาเปนกลอนสด ซ่ึงพระพุทธเจาก็ไดตรัสตอบเปนคาถาเชนกันวา

“เรามีศรัทธาเปนพืช ความเพียรเปนฝน ปญญาเปนแอกและไถ ฯลฯ เราไถนาอยางนี้แลว ยอมไดอมฤตเปนผล ทํ านาอยางนี้แลว ยอมพนจากทุกขทั้งปวง”๑ขอจบเรื่องนี้ โดยนํ าเอาดํ ารัสของพระเจาปเสนทิโกศล มา

เปนคํ าสรุป ดังนี้:-“ขาแตพระองคผูเจริญ อีกประการหนึ่ง หมอม

ฉันไดเห็นกษัตริยบัณฑิตบางพวก ผูมีปญญาสุขุมสามารถปราบวาทะฝายปรปกษได มีปญญาเฉียบแหลมดุจจะยิงขนทรายได ทานเหลานั้น เหมือนจะเที่ยวไดเอาปญญาไปทํ าลายหลักทฤษฎีทั้งหลายของคนอื่นๆ

“พอไดยินขาววาพระสมณโคดมจักเสด็จมายังบานหรือนิคมโนนๆ กษัตริยเหลานั้นก็พากันเตรียมปญหาไว ดวยตั้งใจวา พวกเราจักพากันเขาไปหาพระสมณโคดมแลวถามปญหา ถาพระสมณโคดมถูกพวกเราถามไปอยางนี้ ตอบแกมาอยางนี้ พวกเราจะปราบวาทะของพระองคอยางนี้ ถาพระสมณโคดมถูกพวกเรา

๑ สํ.ส. ๑๕/๖๗๑–๖๗๕; ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๗–๓๐๐

Page 73: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๖๙

ถามอยางนี้ ตอบแกมาอยางนี้ พวกเราก็จะปราบวาทะของพระองคเสียอยางนี้

“ครั้นไดทราบขาววาพระสมณโคดมเสด็จมาถึงบานหรือนิคมโนนแลว ก็พากันไปเฝาพระผูมีพระภาคถึงที่ประทับ พระผูมีพระภาคทรงชี้แจงใหกษัตริยเหลานั้นเขาใจชัด ใหเห็นตาม ใหแข็งขัน ใหบันเทิง ดวยธรรมี-กถาแลว กษัตริยเหลานั้นก็มิไดทูลถามปญหากะพระผูมีพระภาค ที่ไหนเลยจะมาปราบวาทะพระองคไดเลา ที่แทกลับพากันมาสมัครตัวเปนสาวกของพระผูมีพระภาค ขาแตพระองคผูเจริญ แมขอนี้ ก็เปนความเลื่อมใสอันเนื่องดวยธรรมของหมอมฉัน ที่มีตอพระผูมีพระภาค

“ขาแตพระองคผูเจริญ อีกประการหนึ่ง หมอมฉันไดเห็นพราหมณบัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีบัณฑิต...สมณบัณฑิตบางพวก ผูมีปญญาสุขุม สามารถปราบวาทะฝายปรปกษได มีปญญาเฉียบแหลม ดุจจะยิงขนทรายได ทานเหลานั้น เหมือนจะเที่ยวไดเอาปญญาไปทํ าลายหลักทฤษฎีทั้งหลายของคนอื่นๆ

“พอไดยินขาววา พระสมณโคดมจักเสด็จมายังบานหรือนิคมโนนๆ สมณะเหลานั้นก็จะพากันเตรียมปญหาไว...พากันไปเฝาพระผูมีพระภาคถึงที่ประทับ พระผูมีพระภาคทรงชี้แจงใหสมณะเหลานั้นเขาใจชัด ใหเห็นตาม ใหแข็งขัน ใหบันเทิงดวยธรรมีกถาแลว สมณะเหลานั้นก็มิไดทูลถามปญหากะพระผูมีพระภาค ที่ไหน

Page 74: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๗๐

เลยจะปราบวาทะของพระองคไดเลา ที่แทก็พากันทูลขอโอกาสกะพระผูมีพระภาคเพ่ือออกบวชเปนบรรพชิต พระผูมีพระภาคก็ทรงบรรพชาให

“ครั้นไดบรรพชาแลวเชนนั้น ทานก็ปลีกตัวออกไปอยูสงัด เปนผูไมประมาท มีความเพียรมุงมั่นเด็ดเดี่ยวไมนานเลยก็ไดรูยิ่งเห็นจริง กระทํ าสํ าเร็จซึ่งประโยชนสูงสุด อันเปนจุดหมายแหงพรหมจรรย อันเปนที่ปรารถนาของกุลบุตรผูออกบวชทั้งหลาย ดวยตนเอง ในปจจุบันชาตินี้เอง

“ทานเหลานั้นพากันกลาววาดังนี้ ‘ทานผูเจริญทั้งหลาย พวกเราไมพินาศแลวสิหนอ แตกอนนี้ พวกเราทั้งที่มิไดเปนสมณะจริงเลย ก็ปฏิญาณวาตนเปนสมณะทั้งที่มิไดเปนพราหมณจริงเลย ก็ปฏิญาณวาตนเปนพราหมณ ทั้งที่มิไดเปนพระอรหันตจริงเลย ก็ปฏิญาณวาตนเปนพระอรหันต บัดนี้พวกเราเปนสมณะจริงแลวเปนพราหมณจริงแลว เปนพระอรหันตจริงแลว’

“แมขอนี้ก็เปนความเลื่อมใสอันเนื่องดวยธรรมของหมอมฉัน ที่มีตอพระผูมีพระภาค...”๑ฯ.

๑ ม.ม. ๑๓/๕๖๗-๘

Page 75: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงลุกเปนไฟไปหมดแลว...ลุกเปนไฟเพราะอะไร...เพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ...เพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัสอุปายาส...”

(วินย. ๔/๕๕/๖๒)

Page 76: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ
Page 77: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

นิเทศอาทิตตปริยายสูตร∗

ในการพิจารณาพระสูตรนี้ เพื่อทํ าความเขาใจใหเปนประโยชนในการสอน เห็นควรแยกพิจารณาเปน ๒ ตอน คือ วาดวยเนื้อเรื่องตอนหนึ่ง และคํ าอธิบายเชิงวิจารณตอนหนึ่ง ดังนี้:-

ตอน ๑ เนื้อเรื่องที่มา :

อาทิตตปริยายสูตร เปนพระธรรมเทศนา ซ่ึงพระพุทธเจาทรงแสดงหลังจากตรัสรูแลว เปนพระสูตรที่ ๓ ในพระไตรปฎกบาลีมีท่ีมา ๒ แหง คือ:-

๑. พระวินัยปฎก มหาวรรค มหาขันธกะ (วินย. ๔/๕๕/๖๒; ตรงกับฉบับภาษาไทย ๖/๕๕/๗๘)

๒. พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (สํ.สฬ.๑๘/๓๑/๒๓; ตรงกับฉบับภาษาไทย ๒๗/๓๑/๒๔)

∗ บรรยายในการประชุมทางวิชาการเรื่อง ธรรมะที่อธิบายยาก ในหลักสูตรวิชาศีลธรรมช้ัน มศ.ปลาย ณ หองศรีคุรุ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ ๒๗ ตุลาคม๒๕๑๓

Page 78: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๗๔

ความยอ:เมื่อพระพุทธเจาตรัสรูแลว ณ ควงไมโพธิ์ ใกลฝงแมน้ํ า

เนรัญชรา ตํ าบลอุรุเวลา ในแควนมคธ ในปมีพระชนมายุได ๓๕พรรษา พระองคเสด็จประทับอยู ณ ตํ าบลน้ัน เปนเวลา ๗ สัปดาห

จากนัน้จงึไดเสดจ็ไปยงัปาอสิิปตนมฤคทายวนั แขวงเมอืงพาราณสี ในเขตแควนกาสี ไดทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัป-ปวัตตนสูตร โปรดภิกษุเบญจวัคคียบรรลุอรหัตตผล

ระหวางที่ประทับจํ าพรรษาแรกอยู ณ ปาอิสิปตนะนี้ พระองคไดโปรดพระยสะ บิดา มารดา ภรรยาเกา และสหายของพระยสะ ท่ีเปนชาวเมอืงพาราณสี ๔ คน ชาวชนบท ๕๐ คน ตามลํ าดับ จนมีภิกษุสาวกจํ านวน ๖๐ รูป

จากนั้น ไดทรงสงพระสาวกทั้ง ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนา สวนพระองคเอง ไดเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหวางทางไดโปรดคณะสหายภัททวัคคียจํ านวน ๓๐ รูป

ครั้นเสด็จถึงตํ าบลอุรุเวลาแลว ไดเสด็จไปยังอาศรมของทานอุรุเวลกัสสป ซ่ึงเปนหัวหนาชฎิลผูบูชาไฟ จํ านวน ๕๐๐ คนแลวไดทรงขอพักอาศัยอยู ณ ท่ีน้ัน

ในคราวนั้น ไดทรงโปรดอุรุเวลกัสสป ผูถือตนวาเปนพระอรหันต และเขาใจวาพระพุทธองคไมไดเปนพระอรหันต โดยทรงแสดงปาฏิหาริยตางๆ เปนอันมาก จนในที่สุด อุรุเวลกัสสปชฎิลคลายทิฏฐิมานะ ยอมตนเปนสาวก ละทิ้งการบูชาไฟของตน ขอบรรพชาอุปสมบท กับท้ังชฎิลผูนองชื่อนทีกัสสปะพรอมดวยบริวาร๓๐๐ คน และคยากัสสปะ พรอมดวยบริวาร ๒๐๐ คน ก็ไดทูลขอ

Page 79: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๗๕

บรรพชาอุปสมบทดวยหลังจากนั้น พระพุทธเจาไดทรงนํ าพระภิกษุสงฆคณะใหม

ท้ังพันรูป เสด็จไปยังตํ าบลคยาสีสะ และ ณ ตํ าบลน้ี พระองคไดทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแกพระภิกษุปุราณชฎิลท้ัง ๑ พันรูปและดวยพระสูตรนี้ พระภิกษุเหลานั้นก็ไดบรรลุอรหัตตผล

ในเรื่องนี้ มีความที่ควรทราบเปนพิเศษ ๒ อยาง คือ การบชูาไฟ อนัเปนลทัธท่ีินับถอือยูเดมิของชฎลิ อยางหนึง่ และใจความในอาทิตตปรยิายสตูร ท่ีทํ าใหชฎิลผูยอมละทิ้งลัทธิเดิมของตนมาสมัครเปนสาวกของพระพุทธเจา ไดบรรลุอรหัตตผล อยางหนึ่งการบูชาไฟ

การบูชาไฟ เปนพิธีกรรมสํ าคัญ มีมาแตโบราณ ซ่ึงจะเห็นไดในลัทธิศาสนายุคแรกๆ ท้ังหลาย เชน การบูชายัญของคนปาในถิ่นตางๆ และในศาสนาโซโรอัสเตอร เปนตน

แมศาสนาพราหมณ ซ่ึงเปนศาสนาของชมพูทวีปสมัยที่พระพุทธเจาเสด็จอุบัติข้ึน ก็ถือวาการบูชาไฟ และการบูชายัญ เปนพิธีกรรมที่สํ าคัญอยางยิ่ง

ศาสนาพราหมณถือวา ประชาบดี เปนเทพเจาผูสรางสัตวโลกทั้งหลาย แรกทีเดียวนั้น มีเทพประชาบดีอยูแตพระองคเดียวพระองคไดทรงพระดํ าริท่ีจะกอกํ าเนิดสัตวท้ังหลาย จึงไดทรงบํ าเพ็ญตบะ และไดทรงประทานกํ าเนิดแกเทพอัคนีออกจากพระโอษฐของพระองค

เพราะเหตุท่ีเทพอัคนีเกิดจากพระโอษฐของพระองค อัคนีจึง

Page 80: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๗๖

เปนเทพผูเสวยอาหาร และเพราะเหตุท่ีเปนเทพองคแรกที่ประชาบดีทรงสรางขึ้น จึงไดนามวา อัคนี (อัคร → อัคริม = เกิดกอน มีกอน → อัคนี)๑

บทบัญญัติในศาสนาพราหมณกํ าหนดใหศาสนิกชน โดยเฉพาะพราหมณ ตองประกอบยัญพิธี และการเซนสรวงสังเวยอยูเปนประจํ า โดยเฉพาะการบูชาไฟ คือ อัคคิหุตตะ ในภาษาบาลีหรืออัคนิโหตระ ในภาษาสันสกฤต จะตองบูชาทุกวัน เมื่อเริ่มตนหรือสิ้นสุดวันและคืนหนึ่งๆ และในวันเดือนเพ็ญเดือนดับ เปนตน๒

ไฟ หรือ อัคนี มีบทบาทสํ าคัญยิ่งในยัญพิธีท้ังปวง ในพิธีกรรมตางๆ เมื่อถึงตอนสํ าคัญทุกตอน จะตองมีการถวายเครื่องสังเวย หรือสวดออนวอนแกอัคนีเทพ เพราะถือวาอัคนี เปนทูตของเทพทั้งหลาย หรือเปนสื่อกลางนํ าประดาเครื่องเซนสรวงสังเวยขึ้นไปถึงเทพทั้งหลาย

เมื่อใสเครื่องสังเวยเขาในไฟนั้น ถือวาไดใสลงในโอษฐของอัคนีเทพ เมื่อเปลวและควันไฟพลุงขึ้น ก็หมายความวาองคอัคนีเทพ ทรงนํ าเอาเครื่องเซนสรวงสังเวยขึ้นไปบนสวรรคท่ีตามนุษยมองไมเห็น

เมื่อข้ึนไปถึงสวรรคแลว องคอัคนีเทพก็ทรงปอนเครื่องเซนสรวงสังเวยนั้นแกทวยเทพผูเปนภราดรทั้งหลาย ดวยโอษฐของ

๑ ศตปถพราหมณะ, S.B.E. XLL.322๒ ดู มนูธรรมศาสตร, S.B.E. XXV.132 เปนตน

Page 81: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๗๗

พระองค ดุจดังแมนกปอนเหยื่อแกลูกนก ฉะนั้น๓

ไฟมีบทบาทสํ าคัญอยางนี้ จึงมีคํ าสรรเสริญไวในคัมภีรพราหมณวา

“อัคนิโหตร (การบูชาไฟ) เปนประมุขแหงยัญทั้งหลาย”๑ และวา

“การเซนสรวง (แดอัคนี) เปนกรรมประเสริฐสุดในบรรดายัญทั้งหลาย”๒ผูบูชาไฟยอมไดผลานิสงสเปนอันมาก เชน จะสมบูรณดวย

โภคทรัพย ฝูงปศุสัตว และเพียบพรอมดวยบุตรหลาน เผาพันธุ จนถึงอยางที่คัมภีรพราหมณวา

“ผูใดบูชาอัคนิโหตร ดวยความเขาใจความหมายโดยถองแท บาปทั้งปวงของผูนั้นยอมถูกเผาผลาญหมดไป”๓ชฎิลท้ังพันรูป มีอุรุเวลกัสสปเปนหัวหนา ซ่ึงเปนผูถือลัทธิ

บูชาไฟ ก็คงมุงหวังผลเหลานี้ ดังนั้น หลังจากที่ทานมาบวชเปนพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแลว เมื่อพระพุทธเจาตรัสถามในที่ประชุม อันมีพระเจาพิมพิสารเปนประมุข ในเขตพระนครราชคฤหวา

๓ ดู Heinrich Zimmer, Philosophies of India, Meridian Books, New York,1956, p. 71 เปนตน๑ ศตปถพราหมณะ, S.B.E. XLIV.502๒ ภควัทคีตา, S.B.E. VIII.353๓ ฉานโทคยอุปนิษัท, S.B.E. I.91

Page 82: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๗๘

“ทานผูอยูในอุรุเวลามานาน เคยเปนอาจารยสั่งสอนหมูชฎิลผูผอมเพราะกํ าลังพรต ทานเห็นเหตุอันใดจึงละเลิกไฟที่เคยบูชาเสียเลา”ทานจึงตอบวา

“ยัญทั้งหลายยอมกลาวขวัญ ใหฝนใฝถึงแตเรื่องรูป รส เสียง กามสุข และอิสตรีทั้งหลาย ขาพเจาไดทราบแลววา สิ่งเหลานี้เปนมลทินในอุปธิทั้งหลาย จึงมิไดติดใจในการเซนสรวงบูชา”๑

ใจความของพระสูตรความในพระสูตรนี้ อาจสรุปไดเปน ๔ ตอน ดังนี้:-๑. สภาพที่เปนปญหา พระพุทธองคทรงเริ่มพระสูตรดวยพระ

ดํ ารัสวา “สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ” แปลวา “ภิกษุท้ังหลาย สิ่งทั้งปวงลุกเปนไฟหมดแลว”

จากนั้น ตรัสขยายความตอไปวา สิ่งทั้งปวงที่วาลุกเปนไฟไปหมดแลวนั้น คืออะไรบาง ซ่ึงเมื่อสรุปแลว สิ่งที่พระองคตรัสวาลุกเปนไฟ มีดังตอไปนี้:-

๑) จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส จักขุสัมผัสสชา-เวทนา

๒) โสตะ (หู) เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส โสต-สัมผัสสชาเวทนา

๑ วินย. ๔/๕๗/๖๖

Page 83: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๗๙

๓) ฆานะ (จมูก) กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ฆาน-สัมผัสสชาเวทนา

๔) ชิวหา (ลิ้น) รส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส ชิวหา-สัมผัสสชาเวทนา

๕) กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส กาย-สัมผัสสชาเวทนา

๖) มนะ (ใจ) ธรรมะ (ความคิดคํ านึงตางๆ) มโนวิญญาณมโนสัมผัส มโนสัมผัสสชาเวทนา๑

พูดใหสั้นลงไปอีกก็วา อายตนะทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ, รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ ตลอดถึงการรับรู ความเกี่ยวของ และความรูสึกทั้งหลายที่เกิดจากอายตนะเหลาน้ัน ไดถูกไฟไหมหมดแลว หรือพูดอีกนัยหนึ่งวา กระบวนการรับรูและความคิดคํ านึงทั้งหมดนั่นเอง ถูกไฟลามติดไปทั่วแลว

๒. สาเหตุ เมื่อกํ าหนดตัวปญหาได และเขาใจสภาพของปญหาแลว ก็คนหาสาเหตุใหเกิดไฟหรือตัวไฟที่เผาผลาญนั้นตอไป ไดความวา สิ่งที่กลาวมานั้น ลุกไหมดวยไฟกิเลส ๓ อยาง คือ:-

๑) ราคะ ความอยากได ความใคร ความติดใจ ความกํ าหนัดยินดี

๑ คํ าที่อาจเขาใจความหมายไมชัดแจงคือ วิญญาณ หมายถึงความรูอารมณที่ผานเขามาทางประสาททั้ง ๕ หรือที่เกิดข้ึนในใจ เชน จักขุวิญญาณ = การเห็น โสตวิญญาณ =การไดยิน เปนตน; สัมผัส หมายถึงการมาบรรจบกันของอายตนะและวิญญาณ เชนจักขุสัมผัส = การบรรจบกันของตา รูป และจักขุวิญญาณ; เวทนา หมายถึงความรูสึกสุข ทุกข หรือเฉยๆ ที่เกิดจากสัมผัสน้ันๆ

Page 84: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๘๐

๒) โทสะ ความโกรธ ความขัดใจ ความเดือดแคนชิงชังไมพอใจตางๆ

๓) โมหะ ความหลง ความไมรู ไมเขาใจสภาพของสิ่งทั้งหลายตามความเปนจริง

และยังถูกเผาลนโหมดวยไฟความทุกขอีกมากมายหลายอยาง เชน ความเกิด ความแก ความเจ็บ ความตาย ความโศกเศรา ความครํ่ าครวญรํ่ าไร ความทุกขโทมนัส และความคับแคนใจตางๆ

๓. ขอปฏิบัติเพื่อแกไข พระพุทธองคตรัสตอไปอีกวา อริย-สาวกผูไดเรียนรูแลว เมื่อเห็นอยูอยางนี้ ยอมหนายในอายตนะภายใน ภายนอก ตลอดถึงเวทนาทั้งหมดเหลานั้น เมื่อหนายก็ยอมไมยึดติด

๔. ผล เมือ่ไมยดึตดิ กห็ลดุพน เมือ่หลดุพน กเ็กดิญาณหยัง่รูวาหลดุพนแลว เปนอนัสิน้ชาตภิพ อยูจบพรหมจรรย ทํ าสิง่ทีจ่ะตองทํ าเสร็จสิ้นแลว สิ่งที่จะตองทํ าเพื่อเปนอยางนี้ ไมมีเหลืออีกเลย.

Page 85: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

ตอน ๒ คํ าอธิบายเชิงวิจารณ

ในการอธิบายเพิ่มเติมและวิจารณความในพระสูตรนี้ เห็นควรพิจารณาเปน ๒ แง คือ ในแงวิธีสอน อยางหนึ่ง และในแงสาระสํ าคัญ หรือหลักธรรม อยางหนึ่งในแงวิธีสอน

พระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร ท่ีทรงแสดงแกชฎิล มีขอควรสังเกตในแงการสอน ท่ีเปนขอสํ าคัญ ๒ อยาง คือ:-

๑. ทรงสอนใหตรงกับความถนัดและความสนใจของชฎิล พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจา ไมวาจะทรงแสดงที่ใดและแกใครยอมมีจุดหมายเปนแนวเดียวกัน คือ มุงใหเกิดความรูความเขาใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเปนจริง แลวใหมีทัศนคติและปฏิบัติตอสิ่งเหลานั้นอยางถูกตอง ในทางที่เปนประโยชนท้ังแกตนและบุคคลอื่น แตเนื้อเรื่องและวิธีการสอน ยอมยักเยื้องตางกันไปตามอุปนิสัย ความถนัด และความสนใจของผูฟง สุดแตเรื่องใด วิธีใด จะชวยใหเขาเขาใจธรรมไดดี

ในกรณีของอาทิตตปริยายสูตรนี้ก็เชนเดียวกัน ชฎิลท้ังหลายเปนผูบูชาไฟ มีชีวิตเกี่ยวของกับไฟมาโดยตลอด ประสบการณและความคิดคํ านึงตางๆ ก็พัวพันอยูกับเรื่องไฟบูชายัญ แมเมื่อเลิกบูชาไฟแลว เรื่องพิธีกรรม กิจวัตร ท่ีเกี่ยวกับไฟ ก็ยังคงเต็มอยูในความทรงจํ า เมื่อพระพุทธเจาตรัสเรื่องเกี่ยวกับไฟ เกี่ยวกับการลุกไหมเผาผลาญ ก็เปนที่สนใจ และชักจูงใจของชฎิลใหเพลินคิดเห็นไปตามกระแสพระธรรมเทศนาไดงาย

Page 86: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๘๒

ยิ่งกวานั้น ยังไดทรงเราความสนใจใหมากขึ้น โดยมิไดตรัสเรื่องกองไฟบูชายัญที่ชฎิลจํ าเจอยูและเบื่อหนายทิ้งมาแลว แตทรงกระตุกความรูสึกเหมือนใหสะดุงขึ้นวา

- ไฟนั้นมิไดลุกไหมอยูนอกกายไกลตัวเลย แตไฟนั้นลุกไหมเต็มอยูภายในตัวทั่วกายไปหมดแลว

- เปนไฟที่ลุกลามไหมอยูตลอดเวลา รุนแรงกวาไฟภายนอก ควรหันมาสนใจไฟนี้มากกวา และ

- แทนที่จะใหบํ ารุงบํ าเรอ ใหเติมเชื้อ กลับตรัสใหไมมีเยื่อใยยินดี เปนทํ านองใหดับเสียดวยซํ้ า

โดยนัยนี้ พึงตระหนักวา การทรงแสดงเรื่องไฟ เรื่องการลุกไหม เรื่อง อาทิตต หรือ อาทิตย น้ี เปนวิธีการยักเยื้องพระธรรมเทศนาใหตรงกบัอปุนิสยั ตรงกบัความประพฤตท่ีิไดสัง่สมฝกอบรมมา เพื่อผลในดานความสนใจ และความรูความเขาใจงายเปนสํ าคัญ

สวนสาระสํ าคัญก็คงมุ งที่จะใหรู ใหเขาใจเรื่องของชีวิตนี้ แลวใหมีทัศนคติและปฏิบัติตอมันอยางถูกตอง เชนเดียวกันกับพระธรรมเทศนาเรื่องอื่นๆ

ในขอน้ี หากเทียบกับการทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรและอันธภูตสูตรดวย ก็จะเขาใจชัดยิ่งขึ้น

ธรรมจักรน้ัน พระพุทธองคทรงแสดงแกพระภิกษุเบญจ-วัคคีย พระภิกษุเบญจวัคคียน้ัน แตเดิมมีใจยึดมั่นอยูกับการบํ าเพ็ญทุกรกิริยาวาคนจะบรรลุธรรมไดตองทรมานกายอยางรุนแรง ยิ่งทํ าไดยิ่งยวดเทาใด ก็ยิ่งนาเลื่อมใสสํ าหรับตนมากเทานั้น

Page 87: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๘๓

และรังเกียจความเปนอยู อยางสะดวกสบายวาเปนสิ่งเสียหายลามก ท่ีละทิ้งพระพุทธเจาเมื่อคราวทุกรกิริยา ก็เพราะไดเห็นพระองคเลิกทรมานพระกาย เมื่อพระพุทธเจาทรงแสดงธรรมจักร จึงทรงเริ่มตนดวยเรื่อง ท่ีสุดสองอยาง และมัชฌิมาปฏิปทา เปนการกระทบตรงความในใจของทานเหลานั้น

สวนในอันธภูตสูตร๑ ผูอานจะไดพบขอความที่เกือบจะตรงขามกับอาทิตตปริยายสูตรทีเดียว คือ เริ่มตนวา:- “สพฺพํ ภิกฺขเวอนฺธภูตํ” แปลวา ภิกษุท้ังหลาย ทุกสิ่งทุกอยางมืดมิดไปหมดแลวแลวตรัสตอไปวา อะไรคือทุกสิ่งที่มืดมิด ก็ไดคํ าตอบวา จักษุ รูปฯลฯ อยางเดียวกับในอาทิตตปริยายสูตรนั่นเอง ท่ีมืดมิดไปหมดแลว ดังนี้เปนตน เปนการยักเยื้องพระธรรมเทศนา ชักนํ าความสนใจและจูงเขาสูธรรมอีกแบบหนึ่ง.

๒. ทรงสอนใหตรงกับระดับสติปญญา และระดับชีวิตของชฎิลขอสํ าคัญยิ่งอยางหนึ่ง ท่ีพระพุทธเจาทรงคํ านึงถึงในการทรงสอนคือ ความยิ่ง และหยอน แหงอินทรียของผูฟง ทรงพิจารณาวา ผูฟงมีสติปญญาอยูในระดับใด ไดรับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากนอยเพียงไหน ดํ ารงชีวิตอยูอยางไร จะตองแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรูเขาใจ สามารถนํ าไปใชเปนคุณประโยชนแกชีวิตของเขาได

ดังนั้น เรื่องราวที่คลายคลึงกัน แตแสดงแกตางคน นอกจากตางวิธีสอนแลว เนื้อหาสาระก็ตางขั้นตางระดับกันดวย

๑ สํ.สฬ. ๑๘/๓๒/๒๕

Page 88: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๘๔

ในกรณีของอาทิตตปริยายสูตร ชฎิลท้ังหลายเปนนักบวชสละโลกียวิสัยออกมาแลว มุงหนาประพฤติปฏิบัติเพื่อเขาถึงจุดหมายสูงสุดของศาสนาอยางเดียว และเปนผูไดศึกษาอบรมทางศาสนามาอยางดี เปนที่เคารพนับถือของประชาชนทั้งหลาย เรียกไดวาเปนปญญาชนระดับสูงสุดในสมัยนั้น และในเวลาที่ฟงพระสูตรนี้ ก็ไดอุปสมบทเปนพระภิกษุในพุทธศาสนาแลวดวย เมื่อพระพุทธเจาทรงแสดงธรรมจึงทรงชี้แจงหลักธรรมที่ลึกซึ้ง ท่ีตองพิจารณาดวยสติปญญาอันละเอียดออน อาศัยพื้นฐานการศึกษาอบรมมาพอสมควร เหมาะสํ าหรับผูดํ ารงชีวิตเปนบรรพชิต และใหเกิดความรูความเขาใจถึงขั้นกํ าจัดกิเลสาสวะไดท้ังหมด

เรื่องนี้ จะเห็นไดชัดเจนยิ่งขึ้น ถาไดเทียบกับพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องไฟที่ไดทรงแสดงแกคนอื่นๆ เชน อัคคิสูตร๑ ท่ีทรงแสดงแกอุคคตสรีรพราหมณ เปนตน

ในกรณีของอัคคิสูตร อุคคตสรีรพราหมณ เปนพราหมณครองเรือน คราวหนึ่ง พราหมณผูน้ีตระเตรียมพิธีบูชายัญ ไดสั่งใหจัดโคผู ลูกโคผู ลูกโคเมีย แพะ และแกะ อยางละ ๕๐๐ ตัวมาผูกไวกับเสาหลักบูชายัญ เตรียมพรอมท่ีจะบูชายัญ

พราหมณรูสึกปติยินดีในบุญกุศลที่ตนจะไดจากการบูชายัญตามแบบของพราหมณ จึงไดเขาไปเฝาพระพุทธเจา ทูลวา ตามที่เขาไดเรียนรูมา การกอกองไฟบูชายัญ และการปกเสาหลักบูชา มีผลมีอานิสงสมาก และทูลขอความเห็นจากพระพุทธองคในเรื่องนี้

๑ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๔

Page 89: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๘๕

พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจาทรงแสดงครั้งนี้ เปนเรื่องเกี่ยวกับไฟเหมือนกัน แตมีเนื้อหาและระดับคํ าสอนตางออกไปอีกอยางหนึ่งคือ ในอัคคิสูตรนั้น ทรงแสดงหลักธรรมสํ าหรับการครองชีวิตของคนทั่วไปที่ยังครองเรือนอยู เพราะพราหมณผูทูลถามยังเปนคฤหัสถครองชีวิตอยูในโลกียวิสัย

ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจาทรงแสดงไฟ ๗ อยาง๑ ท่ีควรไดรับการปฏิบัติเอาใจใสตางๆ กัน โดยยึดเอาความรูสึกและถอยคํ าตางๆ ของพราหมณมาทรงแสดงในแนวใหม ไฟ ๗ อยางนั้น แบงเปน ๓ ประเภท ดังนี้:-

๑. ไฟที่ควรดับ หรือควรหลีกเวน ๓ อยาง คือ๑) ไฟราคะ๒) ไฟโทสะ๓) ไฟโมหะเหตุท่ีควรดับควรเวน เพราะคนถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบ

งํ ายํ่ ายีจิตใจแลว ยอมประพฤติทุจริตทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจได เมื่อประพฤติทุจริตแลวก็เปนเหตุใหไดรับความทุกข ไปเกิดในอบายทุคติ

พึงสังเกตวา ในอาทิตตปริยายสูตร ก็มีไฟ ๓ อยางนี้เหมือนกัน แตในอัคคิสูตร พระพุทธเจาทรงแสดงในแบบงายๆ เทาที่เกี่ยวกับความประพฤติของคนในโลกทั่วๆไป มิใหประพฤติการทุจริต

๑ ตามหลักศาสนาพราหมณวา อัคนีเทพ มีล้ิน ๗ แฉก

Page 90: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๘๖

เทานั้น สวนในอาทิตตปริยายสูตร ทรงแสดงในเงท่ีตองพิจารณาลึกซึ้ง ซ่ึงเหมาะแกการศึกษาของนักปรัชญาและนักจิตวิทยา

๒. ไฟที่ควรบํ ารุง ๓ อยาง สํ าหรับไฟหมวดนี้ พระพุทธเจาทรงนํ าเอาชื่อไฟศักดิ์สิทธิ์ท่ีมีอยูเดิมในศาสนาพราหมณ มาทรงใชในความหมายใหม และเรียงลํ าดับใหม (ตางแตของพราหมณเปนภาษาสันสกฤต ของพุทธเปนภาษาบาลีเทานั้น) ซ่ึงเทากับเปนการลมเลิกคํ าสอนเดิมของศาสนาพราหมณ และทรงประทานคํ าสอนใหมไปดวยพรอมกัน จะใหไวท้ังความหมายเดิมของพราหมณและความหมายใหมของพุทธศาสนาเพื่อเทียบกัน ดังนี้:-

๑) คารหปตยัคนี (ไฟเจาบาน) คือไฟที่เจาบานรับสืบทอดตอจากบิดาของตน และสงทอดตอไปยังบุตรหลาน ไฟน้ีเจาบานตองบํ ารุงไวใหติดไมขาดสาย และสังเวยเปนประจํ า เมื่อจะประกอบพิธีบูชายัญ ก็จุดไฟบูชายัญไปจากไฟนี้; พระพุทธเจาทรงประทานความหมายใหมในช่ือภาษาบาลีและจัดเปนลํ าดับท่ีสองวา

๒) คหปตัคคิ (ไฟเจาบาน) หมายถึง บุตร ภรรยา คนรับใชและคนงาน

๒) อาหวนียัคนี (ไฟอันควรแกของเซนสรวง) คือ ไฟสํ าหรับรับเครื่องสังเวยในยัญพิธี ซ่ึงจุดตอออกมาจากคารห-ปตยัคนี เมื่อจะประกอบพิธีบูชายัญ และตั้งไวทางขวาของคารหปตยัคนี; พระพุทธเจาทรงประทานความหมายใหมในภาษาบาลี และจัดเปนลํ าดับท่ี ๑ วา

Page 91: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๘๗

๑) อาหุไนยัคคิ (ไฟอันควรแกของคํ านับ) หมายถึงมารดาบิดา

๓) ทักษิณาคนี (ไฟดานใต) คือ ไฟที่จุดตอจากคารหปต-ยัคนี และจัดตั้งไวทางทิศใตของแทนบูชายัญ ใชสํ าหรับรับเครื่องสังเวยที่อุทิศใหแกผีปศาจและบุรพบิดา ในยัญพิธี; พระพุทธเจาทรงประทานความหมายใหมในภาษาบาลีวา

๓) ทักขิไณยัคคิ (ไฟที่ควรแกทักษิณา) หมายถึง สมณพราหมณ ผูประพฤติดีประพฤติชอบ

ไฟ ๓ อยางนี้ พระพุทธเจาตรัสวา ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา จัดการบํ ารุงใหเปนสุขดวยดี

ขอสังเกตสํ าหรับไฟหมวดที่สองนี้ คือ พระพุทธเจาทรงสอนใหเลิกการเซนสรวงบูชายัญ อันเหลวไหลเสีย หันมาเอาใจใสกับพันธะทางสังคม ใหปฏิบัติหนาที่ดูแลทํ านุบํ ารุงบุคคลที่เกี่ยวของกับตนใหดี เพราะบุคคลเหลานี้ก็เทียบไดกับไฟ ซ่ึงตองคอยเอาใจใสเติมเชื้อ บํ ารุงใหดี จึงจะเกิดคุณประโยชนดีงาม แตหากปฏิบัติไมดี ก็ใหโทษ เปนไฟเผาผลาญไดมากเชนเดียวกัน

๓. ไฟที่ควรจุดควรดับควรระวังตามสมควร ๑ ไดแก กัฏฐัคคิ(ไฟเกิดแตไม หรือไฟที่กอข้ึนจากเชื้อสํ าหรับใชหุงตม เปนตน) ไฟอยางนี้ควรกอข้ึน กอแลวควรเอาใจใสระมัดระวัง เสร็จแลวควรดับแลวควรเก็บไวตามกาละที่สมควร

Page 92: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๘๘

จะเห็นไดวา ในอัคคิสูตรน้ี พระพุทธเจาทรงสอนเรื่องไฟในแง คํ าแนะนํ าสั่งสอนสํ าหรับผู ครองชีวิตมีเหยามีเรือนอยู ในฆราวาสวิสัย

ในกรณีอื่นอีก เมื่อตรัสถึงการบูชาไฟ พระพุทธเจาตรัสสอนคติท่ีควรยึดถือปฏิบัติสํ าหรับสังคมทั่วไปวา:-

“ถึงหากบุคคลผูใดจะไปบูชาไฟอยูในปาเปนเวลาตั้งรอยป การบูชาคนที่ฝกอบรมตนแลวชั่วขณะเดียว ก็ยังประเสริฐกวาการบูชาไฟนั้น การบูชาไฟตั้งรอยปจะมีประโยชนอะไร”๑ขอน้ี หมายความวา พระพุทธองคทรงแนะนํ าใหสังคมหันมา

ชวยกันยกยองใหเกียรติคนดี เพราะเปนสิ่งที่ใหคุณประโยชนรักษาคุณธรรมของสังคมไว ดีกวาจะมัวไปหลงใหลในการเซนสรวงสังเวย อันเปนเรื่องไรเหตุผล อันเปนการกระทํ าที่มุงผลประโยชนสวนตัวเปนสํ าคัญ ท้ังยังเปนทางใหเกิดความเสื่อมเสียขึ้นในสังคมได ในเมื่อผูคนมุงประโยชนสวนตน คอยพะเนาพะนอเอาใจเทวดาท่ีชอบเครื่องเซน เปนเหตุใหมีแตเทวดาประเภทนี้มาคอยคุมครองและแสดงอิทธิพลในหมูมนุษย

เมื่อมนุษยคบหาใหกํ าลังแกเทวดาประเภทนักเลง ประเภทชอบลาภสักการะ ก็เปนธรรมดาอยูเอง ท่ีเทวดาผูตั้งอยูในคุณธรรม ผูใหความคุมครองโดยธรรมโดยสงบยอมจะเสื่อมถอยกํ าลัง

๑ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘/๒๙

Page 93: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๘๙

และปลีกตนหลบลี้ออกไปอยูโดยสงบ ไมเปนที่ปรากฏ ซ่ึงเปนเรื่องธรรมดาในสังคมมนุษย มองเห็นไดไมยาก

เมื่อเขาใจวิธีสอนธรรมของพระพุทธเจา ท่ีแตกตางกันไดแมในเรื่องคลายกัน โดยสัมพันธกับสติปญญาและการดํ ารงชีวิตของผูฟงเชนนี้แลว จะไดขอเตือนใจวา ในขณะที่อานหรือกลาวถึงอาทิตตปริยายสูตร จะตองรํ าลึกถึงเหตุผลในแงการสอนใหเหมาะสมกับระดับสติปญญาและการศึกษาอบรมไวดวย และจะตองตระหนักในใจเสมอวา ตนกํ าลังอานหรือกลาวถึงหลักธรรมที่โดยปกติเปนขอสํ าหรับถกเถียงและพิจารณาศึกษา ของนักปรัชญาและนักจิตวิทยาทั้งหลาย

นอกจากนี้ เมื่อวาตามเปนจริง ในปจจุบันนี้ นักปรัชญาและนักจิตวิทยาทั้งหลาย ก็กํ าลังศึกษาคนควาถกเถียงวุนวายอยูกับเรื่องเหลานี้น่ีเอง หาพนไปไดไม.ในแงสาระสํ าคัญหรือหลักธรรม

หลักธรรมท่ีเปนสาระสํ าคัญของพระสูตรนี้ เปนเรื่องละเอียดลึกซึ้ง และกวางขวางอยางยิ่ง ในการอธิบาย จะรวบรัดสรุปใหเหลือเล็กนอยเปนขอสั้นๆ ก็ได หรือจะอธิบายใหเชื่อมโยงสัมพันธกับเรื่องอื่นๆ พิสดารออกไป อยางที่แทบจะกลาวไดวา ไมมีท่ีสิ้นสุด ก็ได สุดแตจะใชกลวิธียักเยื้องอธิบายอยางไร

ในที่น้ีจะพยายามอธิบายสักแนวหนึ่ง โดยสัมพันธกับใจความที่ไดสรุปไวขางตน

๑. สภาพที่เปนปญหา สิ่งที่เปนตัวการ หรือเปนทุกสิ่งทุกอยางในพระสูตรนี้ ไดแก อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ

Page 94: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๙๐

ผัสสะ และเวทนาทั้งหลาย ท่ีเกิดสืบเนื่องมาจากผัสสะเหลานั้น สิ่งเหลานี้ก็คือกระบวนการรับรูและการคิดคํ านึงทั้งหมดของบุคคล

ชีวิตทั้งหมดเทาที่บุคคลรูสึกก็ดี โลกทั้งโลกเทาที่ปรากฏแกบุคคลก็ดี ความรูความเขาใจทุกอยางที่เกิดมีข้ึนแกบุคคลโดยปกติก็ดี ยอมอยูในขอบเขตของกระบวนการรับรูและการคิดคํ านึงนี้เมื่อกลาวในแงหนึ่ง สิ่งเหลานี้จึงเปนทุกสิ่งทุกอยางสํ าหรับบุคคล

ขอท่ีวา ถูกไฟลามติดลุกไหมอยู ยอมหมายความวา สิ่งเหลานี้หรือกระบวนการนี้ ตกอยูในภาวะรุมรอน ดิ้นรนกระวนกระวาย มิไดปฏิบัติหนาที่ไปโดยปกติตามสภาพของมัน เพราะมีไฟราคะ โทสะ โมหะ เปนตน ท่ีจะกลาวในตอนสาเหตุ มาเผาลนใหพลาน ใหกระสับกระสาย ใหพราใหสับสน จนปรากฏอาการออกมาเปนปญหาตางๆ ท้ังหยาบทั้งละเอียด ท้ังเบาทั้งรุนแรง ท้ังท่ีเปนเรื่องสวนตัว และปญหารวมกันของสังคม

พูดในมุมกลับวา ปญหาตางๆ ท้ังมวลของมนุษย ท้ังสวนบุคคลและสังคม สืบสาวตนตอลงไปไดถึงการที่ถูกไฟเหลานี้เผาลนอยู กลาวโดยรวบรัดวา:-

ก. ในแงบุคคล ในขั้นรุนแรง คนถูกราคะ โทสะ โมหะ เขาแผดเผา กลุมรุม ผลักดัน จึงกระทํ าการทุจริต หรือแมกรรมชั่วรายแรงตางๆ ท่ีโดยปกติกระทํ าไมได และทํ าใหเกิดความทุกขความเดือดรอนตางๆ แกตนเองติดตามมา และเกี่ยวพันถึงสังคมในขอตอไป

ในขั้นละเอียดออน แมโดยปกติมนุษยปุถุชนยอมถูกไฟเหลาน้ี บังคับบัญชาการกระทํ า คํ าพูด ความคิด ตลอดจนทัศนคติตางๆ

Page 95: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙๑

อยูแลว ท่ีเห็นไดงายๆ คือ ปกติคนมีความอยากได ก็ถูกความอยากไดดึงไป หรือถาพูดใหเปนไฟก็คือเผาใหทนอยูไมได เที่ยววิ่งพลานทะยานหาสิ่งที่ตองการ เมื่อยังไมได หรือไมได หรือไดไมเทาท่ีหวัง ก็เกิดความขุนมัวอัดอั้น หรือขัดใจ เปนทุกข ไดสมหวังแลวก็ปรารถนาตอๆ ไป ยิ่งๆ ข้ึนไป

ถาเปนไปในกระบวนการนี้โดยไมมีการควบคุมหรือรูเทาทัน คือปลอยสุดแตมันจะเปนไป ก็คือการมีชีวิตอยูอยางคลุมคลั่งกระหายและทุรนทุราย อยางถูกไฟลุกไหมเผาลนอยูตลอดเวลาน่ันเอง

อีกอยางหนึ่ง คนถูกไฟเหลานี้เผาลน ถูกควันไฟรุมใหมัวยอมไมรูไมเขาใจ ไมใช ไมปฏิบัติตอสิ่งทั้งหลายอยางถูกตอง ไมสามารถใชประโยชนจากสิ่งทั้งหลายใหถูกทาง หรือใหเทาคาของมันได

ยกตัวอยางในขั้นหยาบๆ ท่ีเห็นไดงายๆ เชน เกาอี้มีไวสํ าหรับน่ัง เกิดความโกรธขึ้น กลับเอามาใชทํ ารายกัน; เห็นของสวยงาม หรือของมีราคาที่เขานํ ามาเสนอขาย อยากได ความอยากไดรุนแรงทํ าใหไมไดพินิจพิจารณา ถูกเขาหลอกลวงเอาไดงาย; บางทีขัดใจอะไรตอนเชานิดเดียว ไมรูจักพิจารณาปลงใจอารมณเสียไปทั้งวัน; บางทีพบคนที่ไมเคยรูจักมากอน เขาแสดงอะไรผิดพลาดนิดเดียว เกิดทัศนคติผิดพลาด มองเขาไปในทางไมดีตลอด ไมไดพิจารณาใหลึกซึ้ง; หรือมีความลุมหลง ยามีไวใชรักษาโรค กลับนํ ามาพลาชีวิตตนเองเสีย ดังนี้เปนตน

Page 96: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๙๒

ไฟเหลานี้เปนปฏิปกษกับปญญา เมื่อถูกไฟเหลานี้กลุมรุมแผดเผาแลว ก็ทํ าใหเกิดทัศนคติผิด ตัดสินใจผิด และปญญาความรูความเขาใจตามความเปนจริงก็ไมเกิด

พิจารณาใหลึกซึ้ง คนเราถูกไฟเหลานี้บังปญญา ทํ าใหเขาใจผิด เกิดทัศนคติท่ีผิด ตัดสินใจผิดๆ กระทํ าการตางๆ ท่ีปราศจากเหตุผล ท่ีแมแตตนเองนึกขึ้นมาภายหลัง ก็รูสึกละอายหรือเห็นนาขํ าอยูเสมอทั่วๆ กันทุกคนอยูแลว มากนอยตามขนาดของไฟที่แตละคนปลอยใหลุกลามอยูในตัวของตัว

ข. ในแงสังคม ความขัดแยง การแยงชิง การรังแก ขมเหงเอารัดเอาเปรียบ ประทุษรายกันระหวางมนุษย เกิดจากไฟเหลานี้เปนตัวการสํ าคัญ

คนอยากไดของสิ่งเดียวกัน เกิดผิดใจกัน แตกแยกและแยงชิงกัน คนชอบใจทํ าคนละอยาง ก็แตกแยกกัน ไปดวยกันไมได คนเห็นแกตัวอยากไดไมมีท่ีสิ้นสุด ก็หาทางเอาเปรียบ ทํ าลายผูอื่น;บุคคลผูเดียว ในหมูคณะหนึ่ง ไปกระทํ าผิดพลาดตอคนในอีกหมูคณะหนึ่งเปนกรณีสวนบุคคล แรงราคะตอฝายตนและโทสะฝายอื่น ทํ าใหไมพิจารณาสอบสวนใหเห็นความจริง เกิดเปนกรณีขัดแยง รบราฆาฟนระหวางหมูคณะ; พอแมรักและหลงลูก จนเลี้ยงลูกผิดๆ ใหลูกเสียก็มาก ฯลฯ

ในแงความกาวหนาทางปญญา กลุมชนที่มีความเชื่อถือผิดๆ ยึดถือลัทธิทฤษฎีตางๆ โดยโมหะ ก็ทํ าใหไมสามารถพิจารณาสอบสวนคนควาเห็นความจริง หรือเห็นเหตุเห็นผลของธรรมชาติได เปนอุปสรรคตอความเจริญกาวหนาทางสติปญญา

Page 97: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙๓

แมวิทยาศาสตร วิทยาการ วิธานวิทยาตางๆ ท่ีเจริญกาวหนามากมายทั้งหลาย ถามนุษยนํ ามาใชตามแรงผลักดันของไฟเหลานี้ ก็เปนไปเพื่อหายนะของหมูมนุษยน่ันเอง

สรุปวา อายตนะทั้งหลายที่เปนเครื่องเชื่อมตอระหวางขันธ๕ ท่ีเปนภายใน กับขันธ ๕ ท่ีเปนโลกภายนอก ใหเกิดการรับรู และความรูตางๆ ตามกระบวนของมันนั้น ขณะนี้มิไดปฏิบัติหนาที่ไปตามกระบวนการแทๆ หรือตามสภาวะอาการลวนๆของมัน แตถูกไฟตางๆ เผาลนอยูตลอดเวลา

เมื่อกระบวนการนี้ถูกไฟลุกไหม ก็เกิดความระสํ่ าระสายปฏิบัติหนาที่เคลื่อนคลาดจากปกติ ความรูตางๆ ท่ีไดรับก็บิดเบือนตวับคุคลกไ็มเปนตวัของตวัเอง เกดิความสบัสนวุนวาย ถกูครอบง ําหรือลากจูงใหเอนเอียงไปบาง ถูกรมใหมืดหนามัวตาบาง ไมสามารถกลัน่กรองวนิิจฉยัขอเทจ็จริงโดยถกูตอง เทีย่ววิง่แลนไปตามแหลงของการรับรูท่ีถูกไฟไหม ถูกชักพาไปตามสายของการรับรูน้ันๆ เกิดความยึดติดพัวพัน ตกเปนทาส ไมเปนอิสระ เกิดทัศนคติผิดพลาด ตัดสินผิดพลาด และปฏิบัติผิดพลาดตอสิ่งทั้งหลาย

เมื่อตนเองเดือดรอนวุนวายแลว ก็แผขยายความเดือดรอนวุนวายนั้นไปใหแกผูอื่นดวย บุคคลที่มีปญหาในตัวเอง ก็ยอมเปนเหตุสรางปญหาแกผูอื่นขึ้นดวย คนที่มีแตความรุมรอนกระวนกระวายในตัว แกปญหาในตัวเองไมได จะอยูกับชาวโลกสงบเรียบรอยไมกอปญหาเลยไมได

๒. สาเหตุ ในดานสาเหตุยอมอธิบายไดท้ังในขั้นตื้นๆ และในขั้นลึกซึ้ง

Page 98: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๙๔

เมื่ออธิบายอยางตื้นๆ สาเหตุของปญหานี้ ก็คือการถูกไฟกิเลสเผาลนใหระสํ่ าระสายวุนวาย อยางที่กลาวแลวในตอนสรุปขอ ๑

แตเมื่ออธิบายลึกซึ้งละเอียดลงไป ก็ตองสืบคนถึงพื้นฐานซ่ึงพอจะเห็นแนวทางดังนี้:-

ชีวิตนั้น เปนกระบวนการอันหนึ่ง เกิดจากการรวมตัวกันเขาของสวนประกอบตางๆ ซ่ึงโดยสรุปไดแกนามและรูป หรือขยายออกไปไดแกขันธ ๕

สวนประกอบเหลานี้ แตละอยางมีการเปลี่ยนแปลง ท่ีตอเนื่องและสัมพันธกันเปนกระบวนการ ทํ าใหคุมรูปกันอยูดูเหมือนเปนตัวเปนตน

แตในเมื่อเปนกระบวนและมีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดทุกขณะ ก็ยอมไมมีตัวแกนแทท่ีคงที่แนนอน และในกระบวนการอันนี้เองที่มนุษยเขาไปยึดถือวาเปนตัวตนของตน และเขาไปตั้งความปรารถนาไวในทุกขั้นทุกระดับ หวังจะใหเปนอยางนั้นอยางนี้ในรูปท่ีจะใหมีตัวตนใหจงได

การดิ้นรนหวังใหมีตัวตนนี้ ไดปรากฏผลเปนการดิ้นรนไมเฉพาะในชีวิตของคนธรรมดาสามัญ แตปรากฏตลอดประวัติศาสตรวิชาปรัชญาทีเดียว

เมื่อไมมีตัวตน มนุษยก็พยายามที่จะสรางตัวตนใหมีข้ึนในรูปใดรูปหนึ่ง ตั้งแตการทํ ามัมมี่ เพื่อรักษารางกายไวใหชีวภตูกิลบัมาเขารางดงัเดมิของชาวอยีปิตโบราณ จนถงึปรชัญาของนักปรัชญาฝรั่งเศสชื่อเดคารทส แหงคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ผูพยายาม

Page 99: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙๕

พสิจูนใหมตีวัตนใหได อยางวาทะของเขาทีว่า “Cogito, ergo sum”ซ่ึงแปลวา “ฉนัคดิ เพราะฉะนัน้ ฉนัจงึม”ี ซ่ึงไมพนไปจากทฏิฐิท่ีพระพุทธเจาตรัสสอนใหไถถอนมานานกวา ๒๕๐๐ ปแลว

เมื่อมนุษยมีความหลงผิดยึดถือและปรารถนาใหมีตัวตนอยูเชนนี้ ในขณะเดียวกันนั่นเอง กระบวนการแหงชีวิต ก็ตกอยูในกฎแหงไตรลักษณ อันเปนกฎธรรมชาติท่ีแนนอนวา ทุกสิ่งไมคงที่ ไมทนอยูในสภาพเดิม ไมอยูในอํ านาจ และไมมีตัวตนที่แท

กฎนี้แสดงแกชีวิตในรูปแหงชาติ ชรา มรณะ เปนตน ท้ังแบบหยาบตื้น และแบบลึกละเอียด จึงกลายเปนอาการที่ขัดกัน หรือฝนความปรารถนา พูดเปนภาพพจนวา ความยึดถือ กับกฎธรรมชาติเกิดขัดสีกันขึ้น ลุกเปนไฟ

อาการขัดสี หรือฝนนี้ ทํ าใหบุคคลเสริมซ้ํ ายํ้ าความยึดถือและความปรารถนาใหเหนียวแนนและรุนแรงมากยิ่งขึ้น แตเปนความยึดถือดวยความปรารถนาแบบกระวนกระวาย และแสดงออกทั้งในระดับท่ีรูสึกได อันเปนขั้นหยาบ และขั้นที่ไมรูสึก อันเปนข้ันละเอียด ซับซอน อยูในจิตใตสํ านึก

เมื่อสืบคนลงไปในกระบวนการของจิตอยางละเอียด จนถึงจิตไรสํ านึก ก็จะพบเงื่อนงํ าวา ความกลัวตอชาติ ชรา มรณะเปนตนนี้ มีซับซอนแฝงอยูในจิตใจของมนุษย และคอยบัญชาพฤติกรรมตางๆ ของมนุษยอยู โดยที่มนุษยเองไมรูสึกตัว ความกลัวนี้เริ่มจากจุดที่มนุษยไมรูไมเขาใจในสภาพที่แทจริงแหงชีวิตของตน

จากจุดของความไมรูน้ี กระบวนการก็ดํ าเนินไปตามแนวทางแหงหลักปฏิจจสมุปบาท และขั้นตอนที่สํ าคัญก็คือความขัด

Page 100: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๙๖

แยงระหวางความหลงผิดวาเปนตัวตน กับกระแสความเปลี่ยนแปลงตามกฎธรรมชาติหรือไตรลักษณ ผลักดันตัณหาใหแสดงตัวออกในกระบวนการรับรูน้ัน ซ่ึงหมายความเลยไปถึงวา ไฟความทุกข มีชาติ ชรา มรณะ เปนตน เปนตัวผลักดันไฟกิเลส ราคะโทสะ โมหะ ใหออกหนา และแสดงฤทธิ์วุนวาย

พูดอีกอยางหนึ่งวา ไฟทุกขเกิดจากการปะทะระหวางกฎธรรมชาติ (ไตรลักษณ) กับความหลงผิดยึดถือวาเปนตัวตน เมื่อปะทะกันแลว ไฟทุกขขับไฟกิเลส พลุงออกมาแสดงฤทธิ์เผาผลาญจนปรากฏผลเปนปญหาตางๆ ดังกลาวมาขางตน

ตราบใดที่ยังไมรูไมเขาใจ และไมเขาไปจัดการกับกระบวนการและไฟเหลานี้อยางถูกตอง ก็เทากับวามนุษยพาเอากองไฟหรืออาจจะถึงกับเปนไฟนรกขุมหนึ่งติดไปกับตัวดวยตลอดเวลา และเมื่อไฟติดอยูกับตัวประจํ าเชนนี้ ก็ยอมไมสามารถประสบความสุขที่แทจริงยั่งยืนได

๓. การแกไข หนทางแกไขปรากฏชัดอยูแลวในพุทธดํ ารัสน้ีวา “อริยสาวกผูไดเรียนรูแลว เมื่อเห็นอยูอยางนี้” คํ าวาเห็นอยูอยางนี้ หมายถึงการรูการเขาใจตามความเปนจริง ซ่ึงกระบวนการอยางที่เปนอยูเชนนั้น เริ่มแตเขาใจสภาพของปญหา

การเขาใจสภาพของปญหา หรือการมองเห็นตัวปญหานั่นเอง ยอมเปนจุดเริ่มตนที่สํ าคัญอยางยิ่ง

เมื่อมองเห็นปญหาที่ตนเขาประสบอยูแลว ก็สามารถถอนตัวออกมาตั้งหลักได อยางที่ตรัสวา “ยอมหนาย” จากนั้นก็ไมยึดติด หลุดพนเปนอิสระ แตท่ีกลาวนี้เปนขั้นลึกซึ้ง

Page 101: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙๗

ในที่น้ี จะลองกลาวถึงวิธีแกไขจัดการ ท่ีลึกซึ้งไปตามลํ าดับข้ัน

๑) ข้ันตน เมื่อมองเห็นโทษของไฟเหลานี้แลว ก็ควรควบคุมใหอยูในขอบเขต ไมใหลุกลามรุนแรงถึงขั้นประพฤติทุจริตตางๆ หรือทํ าใหเกิดความทุกขความเดือดรอนแกตนเองและสังคม

๒) ข้ันกลาง รูจักฝกฝนอบรมจิตใจ รูจักวิธีทํ าใหไฟเหลานี้สงบนิ่งอยางนอยเปนครั้งคราว เหมือนอยางไฟที่ไมมีควันกลุมรุม ไมมีเปลวที่แลบโฉบพึ่บพั่บ อยูในสภาพสงบนิ่ง ยอมทํ าใหมองเห็นสิ่งตางๆ ไดชัดเจนขึ้น

การทํ าจิตใหสงบนิ่ง ปราศจากการรบกวนของไฟเหลานี้ไดแมช่ัวคราว ยอมชวยใหมีสมาธิ อันเปนกํ าลังเสริมใหเกิดปญญาและทํ าการตางๆ เชน การศึกษาเลาเรียน เปนตน ใหไดผลสํ าเร็จอยางดี

ถาฝกอบรมใหยิ่งๆ ข้ึนไป ก็สามารถทํ าสิ่งที่คนธรรมดาเห็นเปนสิ่งวิเศษอัศจรรยได ท่ีเห็นไดงายและวิทยาศาสตรปจจุบันก็ทํ ากันไดแลว ก็คือ ในการสะกดจิต เมื่อจิตอยูในสภาพที่แนวแนตออารมณอันเดียวปราศจากสิ่งรบกวน คนที่ถูกสะกดจิต ก็สามารถทํ าสิ่งท่ีตัวเขาไมเคยสามารถทํ าไดในยามปกติ

๓) ข้ันสูงสุด หมายถึงขั้นที่เปนใจความในพระสูตร ไดแกข้ันที่เกิดความรูความเขาใจในสภาพของกระบวนการเหลานั้นอยางถองแทสมบูรณ ทํ าใหสามารถถอนตัว

Page 102: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๙๘

ออกมาตั้งหลักอยูไดเปนอิสระ ไมยึดติดหลงผิดวากระบวนการที่ลุกไหมอยูน้ันเปนตัวตน ไมตกเปนทาสถูกฉุดลากไปตางๆ แตกลับเปนนาย รูจักที่จะปลอยใหกระบวนการนั้นปฏิบัติหนาที่ของมันไปอยางถูกตอง ไดรับความรูท่ีไมบิดเบือน และสามารถเขาไปจัดการใชแตในทางที่จะเปนประโยชน

ขอน้ีเหมือนกับการที่มนุษยจะเปลี่ยนฐานะจากการเปนทาสของธรรมชาติ กลับเปนนายของธรรมชาติได ก็ดวยการรูความจริง รูสภาพ เขาใจกฎเกณฑกระบวนการแหงเหตุผลของมันเสียกอน จากนั้นก็สามารถรวมมือกับธรรมชาติ รูวิธีจัดการควบคุมใหธรรมชาติดํ าเนินไปตามกฎของมันเอง แตเปนไปตามแนวทางที่เรากํ าหนดใหมันได เรียกกันเปนสํ านวนวากลับเปนนายของธรรมชาติ

ในขั้นสุดทายนี้ ความรูความเขาใจตางๆ ท่ีไดรับเขามายอมเปนไปตามสภาพที่มันเปนจริง และการเขาเกี่ยวของจัดการก็ยอมเปนไปตามอํ านาจปญญา หรือตามเหตุผล ไมใชตามอํ านาจตัณหาอยางแตกอน

๔. ผล ผลท่ีไดจากการปฏิบัติตามวิธีแกไข ยอมเปนไปตามลํ าดับของขั้นนั้นๆ

ในขั้นตน เมื่อมนุษยควบคุมไฟใหอยูในขอบเขตที่สมควร ก็ทํ าใหสังคมมีศีลธรรมอยูรมเย็นเปนสุข ตัวบุคคลเองก็มีจิตใจสงบรมเย็นตามควร

Page 103: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙๙

ในขั้นกลาง ยอมชวยใหมนุษยประสบสัมฤทธิ์ผลในงานตางๆ ดวยดียิ่งขึ้น และมีจิตใจที่เขมแข็งมั่นคงยิ่งขึ้น มีความสุขที่ประณีตขึ้น

ในขั้นสูงสุด ทํ าใหมนุษยหลุดพนจากความเปนทาสของความหลงผิด ทาสของกิเลส ทาสของจิตใจตน เปนอิสระ กลับเปนนาย ในขั้นนี้เรียกตามพุทธดํ ารัสวา อยูจบพรหมจรรย ทํ าสิ่งที่ตองทํ าเสร็จสิ้นแลว หมดกิจท่ีจะตองทํ าเพื่อใหไดเปน(อิสระ)อยางนี้อีกท่ีหมดกิจก็เพราะไดรู ไดเขาใจถูกตองหมดแลว เปนอิสระแลว มีทัศนคติพื้นฐานถูกตองดีแลว

ตอจากนี้ไป กระบวนการรับรูตางๆ ก็จะดํ าเนินไปตามจังหวะหนาที่ตามสภาวะอาการที่แทของมัน ความรูท่ีเกิดขึ้นก็จะถูกตองตรงตามสภาวะที่เปนจริง การปฏิบัติและจัดการกับสิ่งทั้งหลายก็จะเปนไปตามแนวทางของเหตุผลบริสุทธิ์ เปนไปในทางที่กอประโยชนอยางเดียว เปนอันไมตองมาคิดแกไขควบคุมและดับไฟกันอีก

ถาเทยีบตามหลกัโอวาทปาตโิมกข ข้ันตนกค็งเปน สพพฺปาปสสฺอกรณํ - ไมทํ าชั่วทั้งปวง ข้ันกลางคงเปน กุสลสฺสูปสมฺปทา - ทํ าความดีใหพรั่งพรอม และขั้นสุดทายเปน สจิตฺตปริโยทปนํ - ทํ าจิตใจใหบริสุทธิ์

Page 104: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๑๐๐

สิง่สํ าคัญที่พึงระลึก๑. เรื่องอาทิตตปริยายสูตรน้ี อยูในวิชาพุทธประวัติ หรืออยู

ในวิชาพระพุทธศาสนาสวนที่เปนประวัติของพระพุทธเจาพุทธประวัติสวนที่นอกเหนือจากพระชีวประวัติสวนพระองค

ของพระพทุธเจาแลว กเ็ปนบนัทกึเรือ่งราวเกีย่วกบัการบ ําเพญ็พุทธกิจ หรือประวัติการทรงทํ างานสั่งสอนของพระพุทธเจา บุคคลที่พระพุทธเจาทรงสั่งสอนนั้นมีมากมายทุกชั้นทุกประเภท วาโดยระดับสติปญญาก็มีตั้งแตฉลาดที่สุด ถึงโงท่ีสุด

ตามปกติ พุทธประวัติที่เลาเรียนกัน โดยเฉพาะที่ยอๆ ยอมจะกลาวถึงเฉพาะงานสั่งสอนครั้งสํ าคัญๆ เทานั้น

บุคคลที่พระพุทธเจาทรงผจญในงานสอนครั้งนั้นๆ มักเปนช้ันคณาจารย หรืออยางนอยก็มีประสบการณในการคนคิดทางปรัชญามาก สิ่งที่ทรงสอนก็เปนเรื่องละเอียดออนลึกซึ้ง เหมาะสํ าหรับปญญาและประสบการณของทานเหลานั้น และผลจากการสั่งสอนครั้งนั้นๆ ก็สูงถึงขึ้นบรรลุญาณวิเศษ โดยเฉพาะอรหัตตผล

ผูท่ีอานหรือเรียนพุทธประวัติตอนเหลานี้ จะตองสมมติตนเปนนักปราชญช้ันคณาจารย หรือเปนนักบวชเหลานั้น ขบคิดเนื้อธรรมดวยสตปิญญา และอยูในบรรยากาศแหงการสอนครัง้นัน้ดวยตนเอง จึงจะเขาถึงรสอันเปนแกนธรรม ซ่ึงเปนเรื่องที่ทํ าไดยาก

ถาจะเทียบใหมองเห็นงายๆ อีกแงหนึ่ง เพียงปรัชญาของโสเครตีส พลาโต และอริสโตเติล หากจัดใหนักเรียนชั้น ม.ศ. ๔-๕เรียน เราจะหวังใหเขาเขาใจไดสักเทาใด

Page 105: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๐๑

ขอเปรียบเทียบนี้อาจไมตรงกันทีเดียว เพราะคํ าสอนของนักปราชญเหลานั้น เปนเรื่องของนักคิด สวนคํ าสอนของพระพุทธเจาเปนเรื่องราวการประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง แตในแงระดับสติปญญาของผูฟง ก็นาจะพอเทียบไดไมไกลกันนัก

เมื่อเปนอยางที่วามานั้น ถายังเรียนพุทธประวัติกันในลักษณะนี้ ก็จะตองตระหนักถึงความยาก ท้ังแกผูสอน และแกผูเรียน พรอมท้ังชี้แจงใหนักเรียนเขาใจถึงสาเหตุแหงความยากนั้นกบัท้ังควรหาโอกาสน ําเอาเรือ่งราวและค ําสอนในระดบัสามญัทีง่ายๆมาสอนแทรกตามสมควร

๒. ในการสอน ดานประวัติ ควรเลาโยงไปถึงภูมิหลังของสังคมแหงชมพูทวีป ตั้งแตกอนที่พระพุทธศาสนาอุบัติข้ึน ใหเห็นว าคนยุคนั้นมีความเชื่อถือและเปนอยู ตามหลักของศาสนาพราหมณ เชนเรื่องพระพรหม เทพเจา ระบบวรรณะ การบูชายัญเปนตน อยางไร

จากนั้นก็ช้ีใหชัดวาพระพุทธศาสนาสอนตางออกไป และทํ าใหเกิดการเปลี่ยนแปลงอยางไร โยงมาถึงอาทิตตปริยายสูตรน้ี

ถาผูเรียนมองเห็นแงน้ี เรื่องราวก็จะนาสนใจ นักเรียนก็จะเขาใจชัด และการเรียนก็จะมีชีวิตชีวาขึ้น

สวนในดานเนื้อหา หากอธิบายใหนักเรียนสามารถเขาใจไดเต็มบริบูรณตามความหมายของพระสูตร ก็เปนการดี แตถาไดอธิบายประยุกตในแงท่ีนักเรียนจะนํ าไปใชประโยชนได หรือเลาใหนักเรียนไดทราบคํ าสอนแนวเดียวกัน หรือเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้ท่ีพระพุทธเจาตรัสสอนแกคนอื่นๆ ซ่ึงเปนคํ าสอนขั้นเบื้องตน และ

Page 106: พุทธวิธีในการสอน...การยกอทาหรณ แล ะการเล าน คล ทาน ประกอบ คล ๕๒ การเปรยบ

พุทธวิธีในการสอน๑๐๒

เหมาะสํ าหรับการดํ ารงชีวิตในขั้นตนๆ ไวดวย ก็จะบังเกิดเปนคุณประโยชนแกตัวของนักเรียนมากขึ้น และจะชวยใหเกิดความเขาใจดีข้ึนดวย

๓. อยางไรก็ตาม แมคํ าสอนของพระพุทธเจาจะแตกตางกันเปนหลายระดับ แตสาระสํ าคัญที่เปนแกนกลาง ก็เปนแนวเดียวกัน คือ การดํ ารงชีวิตอยูดวยปญญา หรือมีชีวิตอยูอยางผูรูจักชีวิตรูเทาทันกระแสโลก ไมงมงายปลอยตัวตกเปนทาสของกิเลสและความทุกข แลวถูกฉุดลากจูงไปตามกระแส แตสามารถมีชีวิตจิตใจท่ีเปนอิสระ อยางนอยก็รูจักที่จะกลับไปเปนนายบังคับควบคุมกิเลสของตนไวในแนวทางที่พึงปรารถนาไดบาง โดยระลึกถึงพุทธภาษติทีว่า “ปญฺาชวี ึชีวติมาห ุเสฏฐํ” ซ่ึงแปลวา ปราชญท้ังหลายกลาววา ชีวิตของผูเปนอยูดวยปญญา เปนชีวิตที่ประเสริฐสุด.